05.05.2015 Views

ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน - Thoresen Thai Agencies PCL

ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน - Thoresen Thai Agencies PCL

ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน - Thoresen Thai Agencies PCL

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เรือขุดเจาะแบบ Jack-up<br />

เรือขุดเจาะแบบ Jack-up สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานขุดเจาะได้จากตัวเรือ<br />

โดยตรง ประกอบไปด้วย ขา 3 ขา ที่ยืนอยู่บนพื้นท้องทะเลเพื่อใช้ยกตัวเรือให้ลอยสูงจากระดับน้ำทะเลขณะปฏิบัติการขุดเจาะ<br />

และเมื่อต้องการย้ายตำแหน่งในการปฏิบัติงานจะกระทำได้โดยลดระดับเรือให้ลอยอยู่บนน้ำทะเล แล้วทำการเคลื่อนย้ายตัว<br />

เรือไปยังตำแหน่งที่ต้องการโดยอาศัยเรือที่ใช้ส่งกำลังบำรุงลากไป <br />

<br />

เรือขุดเจาะแบบ Jack-up รุ่นใหม่มีคานสำหรับไว้เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ขุดเจาะตามตำแหน่งท่อต่างๆ บนหลุม<br />

ที่จะทำการขุดเจาะ โดยไม่ต้องย้ายการติดตั้งอุปกรณ์ขุดเจาะหรือตัวเรือ เรือขุดเจาะแบบ Ultra Premium Jack-up มีขีด<br />

ความสามารถปฏิบัติงานได้ในที่น้ำทะเลลึกมากกว่า 300 ฟุต<br />

<br />

เรือขุดเจาะแบบ Semi-submersible<br />

เรือขุดเจาะแบบ Semi-submersible เป็นแท่นขุดเจาะที่ลอยอยู่เหนือน้ำมีระบบปรับระดับกินน้ำลึกของเรือ<br />

เพื่อใช้ปฏิบัติการที่ระดับความลึกของน้ำทะเลต่างๆ ได้โดยใช้ถังถ่วงน้ำอับเฉาในการปรับแต่ง และเพื่อเป็นการช่วยลด<br />

ผลกระทบจากคลื่นลมในทะเลและช่วยการทรงตัวของเรือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังสามารถปรับระดับกินน้ำลึกให้เหลือ<br />

เพียง 50-80 ฟุต ขณะที่ปฏิบัติการขุดเจาะตามบ่อต่างๆ ได้ เรือขุดเจาะแบบ Semi-submersible สามารถติดตรึงอยู่กับ<br />

ที่ขณะปฏิบัติงานขุดเจาะโดยใช้การทิ้งสมอหลายๆ ตัวเพื่อยึดตัวเรือ หรือระบบคอมพิวเตอร์ปรับแต่งตำแหน่งเรือผ่านสัญญาณ<br />

ดาวเทียม (Dynamic Positioning) เรือขุดเจาะแบบ Semi-submersible บางรุ่นมีเครื่องจักรที่ใช้ในการขับเคลื่อนตัวเองไปยัง<br />

ตำแหน่งใหม่ได้ ถึงแม้ว่าเรือขุดเจาะส่วนใหญ่ต้องอาศัยเรือส่งกำลังบำรุงในการลากจูง<br />

<br />

เรือขุดเจาะแบบ Drillships<br />

เรือขุดเจาะแบบ Drillships เป็นเรือที่มีเครื่องจักรเคลื่อนตัวเอง รูปร่างคล้ายเรือบรรทุกสินค้าทั่วไป สามารถ<br />

เคลื่อนย้ายไปปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างๆ ได้มากกว่าเรือขุดเจาะชนิดอื่นๆ การปฏิบัติงานขุดเจาะจะดำเนินการโดยผ่านจาก<br />

ช่องใต้ท้องเรือที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เรือแบบ Drillships จะมีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและบรรทุกน้ำหนักได้<br />

มากกว่าเรือขุดเจาะแบบ Semi-submersible และเหมาะสำหรับการขุดเจาะนอกชายฝั่งและพื้นที่ห่างไกล เนื่องจาก<br />

ความสามารถในการบรรทุกน้ำหนักได้มากกว่าและความสามารถในการเคลื่อนย้าย การตรึงตัวเรือขณะปฏิบัติงานขุดเจาะ<br />

ใช้วิธีการทิ้งสมอหลายตัว หรือระบบคอมพิวเตอร์ปรับแต่งตำบลที่เชื่อมอัตโนมัติผ่านสัญญาณดาวเทียมเฉกเช่นเดียวกันกับเรือ<br />

ขุดเจาะแบบ Semi-submersible<br />

<br />

การปฏิบัติงานสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งจะกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก<br />

จึงทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเรือขุดเจาะจากภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกภูมิภาค แต่ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและจำนวนเรือที่ว่าง<br />

อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของปริมาณเรือขุดเจาะและความต้องการใช้เรือขุดเจาะในบางภูมิภาค แต่ความแตกต่างระหว่าง<br />

ภูมิภาคจะไม่นานเนื่องจากเรือขุดเจาะสามารถเคลื่อนย้ายได้<br />

<br />

การขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่งส่วนมากยังเป็นการขุดเจาะในบริเวณน้ำตื้น การขุดเจาะในสภาพแวดล้อมที่ยาก<br />

ลำบากยังมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 7 ของการขุดเจาะทั่วโลก ในขณะที่การขุดเจาะในน่านน้ำลึกมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 <br />

<br />

มีการสำรวจและผลิตแหล่งขุดเจาะในทะเลลึกในอัตรา<br />

การเติบโตที่สูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้<br />

การสำรวจสามารถทำได้ในค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม บริเวณที่มีความ<br />

เป็นไปได้ในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ อัฟริกา<br />

ตะวันตก แถบทวีปอเมริกาใต้ (ประเทศบราซิล) แถบอ่าวเม็กซิโก<br />

แอตแลนติกเหนือ/ทะเลเหนือ ทะเลบาห์เรน เกาะแซคคาลิน (ทาง<br />

ตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น) แคนนาดาตะวันออก/กรีนแลนด์<br />

และออสเตรเลีย<br />

<br />

42 : รายงานประจำปี 2549 Menu<br />

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!