30.07.2015 Views

๑๐๐ ปีศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบ

๑๐๐ ปีศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบ

๑๐๐ ปีศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบ

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบราณคดีไทย จัดทำโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรภูมิหลัง| ประวัติ |ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2455 ที่ตำบลวังไม้ขอนอำเภอเมือง จังหวัดสวรรคโลก (ต่อมาในปี พ.ศ.2460 อำเภอเมืองเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอวังไม้ขอน อีก 20 ปีต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองสวรรคโลก) เป็นบุตรชายคนแรกของนายเชย และนางชอุ่ม อยู่ดี (สกุลเดิม เอมะสุวรรณ) ในปี พ.ศ.2482 ทางราชการได้ยุบจังหวัดสวรรคโลก แล้วโอนอำเภอเมืองสวรรคโลกไปขึ้นกับจังหวัดสุโขทัย และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสวรรคโลก) เนื่องจากนายเชย อยู่ดี บิดาเดิมรับราชการในตำแหน่งเสมียน หอทะเบียนที่ดินจังหวัดสวรรคโลกต่อมาย้ายไปรับราชการที่หอทะเบียนจังหวัดจันทบุรีในตำแหน่งเสมียนเอก| การศึกษา |พ.ศ. 2462 เริ่มเข้าศึกษาที่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดจันทบุรี คือ “โรงเรียนศรียานุสรณ์” พ.ศ. 2464 ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัด “เบญจมราชูทิศ” จบชั้นมัธยมปีที่ 6 พ.ศ. 2471 เข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สอบมัธยมปีที่ 8 เมื่อพ.ศ. 2473 จากนั้นก็เริ่มศึกษาด้วยตนเองจนสอบได้ประกาศนียบัตรครู ป.ป. และประกาศนียบัตร ประโยคครูมัธยม (พ.ม.) พ.ศ. 2481 ศึกษาด้วยตนเองโดยการซื้อคำบรรยายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองไปศึกษาแล้วเข้าสอบข้อเขียนและปากเปล่าทุกวิชา เมื่อจบชั้นอนุปริญญาแล้วเข้าสอบวิชารวมด้วยปากเปล่าจนศึกษาจบชั้นปริญญาตรี ซึ่งคณะอาจารย์จะเลือกถามวิชาใดก็ได้สอบได้ครบแล้วจะมีการอบรมอีก 1 วัน พ.ศ. 2491ได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองพ.ศ. 2496-97 ได้รับทุนรัฐบาลและทุนขององค์การศึกษาฯ สหประชาชาติ ไปศึกษาและฝึกอบรมวิชาโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์และการขุดค้น ณ ประเทศอินเดีย-ดูงานการสงวนรักษาสมบัติทางวัฒนธรรม ณ ประเทศกัมพูชา เวียดนาม อินเดีย ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์พ.ศ. 2489ได้รับเลือกให้เป็นภาคีของสมาคมโบราณชีววิทยาและประเทศอินเดีย


๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบราณคดีไทย จัดทำโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรชีวิตการทำงานที่กรมศิลปากร| ประสบการณ์และงานที่ปฏิบัติระหว่างที่รับราชการกองโบราณคดี |• งานดูแลพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร (พ.ศ.2495-2499)• สำรวจทางด้านโบราณคดีในภาคต่างๆ และควบคุมดูแลการบูรณะโบราณสถานที่จังหวัดสุโขทัย นครเมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมืองกำแพงเพชร(พ.ศ.2494-2512) ปราสาทหินพนมรุ้ง, ควบคุมการบูรณะโบราณสถานในเกาะเมืองและบริเวณใกล้เคียงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2495-2504 กับดูแลการบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.2517-2518• เป็นหัวหน้าฝ่ายไทยของคณะสำรวจก่อนประวัติศาสตร์ไทย-เดนมาร์ก และขุดค้นในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี ระหว่าง พ.ศ.2503-2505 ผลทำให้ทราบว่ามีคนก่อนประวัติศาสตร์ แต่สมัยหินเก่า สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่และยุคโลหะอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี ซึ่งปรากฏอยู่ในรายงานการสำรวจ 4 เล่ม ซึ่งทางเดนมาร์กจัดพิมพ์ขึ้น• ร่วมสำรวจไทยเชื้อสายชอง ในท้องที่อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี กับนายยอชคองโดมินาส ชาวฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาชั้นสูงในวิชาสังคมศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์เอกสารและวิจัย เรื่องเอเชียอาคเนย์ประเทศฝรั่งเศส• เมื่อ พ.ศ. 2505 ร่วมสำรวจวัฒนธรรมภาคใต้กับคณะสำรวจมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ อันประกอบด้วยนาย Charles Morris นาย TimChappel และนาย Stewart Wavell ได้รวบรวมผลการสำรวจบางส่วนและพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ The Naga King’s Daughter เมื่อ พ.ศ. 2507 เป็นหนังสือที่เขียนทำนองสารนิยาย• ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งภัณฑารักษ์พิเศษ(พ.ศ. 2500-2516) ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ทำหน้าที่นำประมุขต่างประเทศ รัฐมนตรีของประเทศต่างๆ หรือบุคคลสำคัญซึ่งเป็นแขกของรัฐบาลเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร อาทิ พระเจ้าซิมอนที่ 2 แห่งบัลกาเรีย,ฯพณฯ ศรีวราศิริวังกฏคิรี ประธานาธิบดีประเทศอินเดีย, สมเด็จพระสังฆราชแห่งราชอาณาจักรลาว, สุลต่านแห่งรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย, เจ้าชายคาลกุสตาฟ มกุฎราชกุมาร เจ้าหญิงมาเกรเธอ มกุฎราชกุมารี แห่งประเทศเดนมาร์ก, ฯพณฯ เหงียนไฮทาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมประเทศเวียดนามใต้,ฯพณฯ อิกาโอ กุราชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ญี่ปุ่น, คณะทูตวัฒนธรรมประเทศโซเวียตรัสเซีย, มาดามเฮลมุต ชมิดส์ ภริยารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีตะวันตก ฯลฯ• ร่วมสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีหินใหญ่ (Megalithic site) และแหล่งโบราณยุคเหล็กที่จัทท์แลนด์ ประเทศเดนมาร์ก นับเป็นคนไทยคนแรกที่ขุดค้นที่ประเทศเดนมาร์ก


๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบราณคดีไทย จัดทำโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรความสนใจในงานโบราณคดีศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ให้เหตุผลว่างานโบราณคดีมีความสำคัญไม่แพ้งานอื่น เพราะงานโบราณคดีช่วยเปิดเผยเรื่องของคนในอดีต ที่ไม่มีผู้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยอาศัยตีความจากสิ่งโบราณที่ทำขึ้นไว้ และสิ่งแวดล้อม เรื่องราวของคนตั้งแต่สมัยนับแสนนับหมื่นปี ก็ทราบด้วยการศึกษา ค้นคว้าโบราณคดี ความรุ่งเรืองในอดีต ก็ทราบได้จากการสำรวจขุดค้น และการตีความด้วยความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆโบราณวัตถุ โบราณสถาน และหลักฐานโบราณคดีอื่นๆ ที่สำรวจและขุดค้นพบเป็นสิ่งที่ช่วยก่อให้เกิดความภูมิใจในความรักชาติ ความหวงแหนดินแดนผืนนี้ของชนชาตินั้นๆ ขณะนี้คนไทยภูมิใจที่ดินแดนของประเทศไทย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของคนมาอย่างน้อยประมาณ 600,000 ปี คนโบราณเหล่านี้มีความเจริญไม่แพ้คนในประเทศอื่นเพราะพบว่าเครื่องปั้นดินเผามีมาราว 8,000 ปี มีการเลี้ยงวัวเมื่อประมาณ 5,500 ปีมาแล้ว มีการหล่อสำริดได้ดี เมื่อหลายพันปีมาแล้ว เครื่องปั้นลายเขียนสีวัฒนธรรมของบ้านเชียงงามไม่แพ้เครื่องปั้นลายเขียนสีในแดนอื่น


๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบราณคดีไทย จัดทำโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรผลงานทางวิชาการและเกียรติคุณผลงานทางวิชาการของท่านนั้นมีอยู่มากมายไม่เพียงเฉพาะสาขาโบราณคดีก่อนประวัติศาตร์เท่านั้น ได้ทำหน้าที่ทั้งผู้ควบคุมงานขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานต่างๆ ในจังหวัดสุโขทัยกำแพงเพชร และพระนครศรีอยุธยา ได้สำรวจทางโบราณคดีและขุดค้นเป็นจำนวนมากงานที่สำคัญเป็นหัวหน้าฝ่ายประเทศไทยของกรมศิลปากรร่วมคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก ในการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในท้องที่กาญจนบุรีและราชบุรี นอกจากนี้ยังมีงานสำคัญอื่นๆ เช่น การขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี การร่วมสำรวจชาติพันธุ์วิทยา (เผ่าชอง) ในท้องที่อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีกับนักชาติพันธุ์วิทยาชาวฝรั่งเศส ฯลฯ ท่านได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาโบราณคดี จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม2517และได้รับพระราชทานปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 26กรกฎาคม 2527 ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องนับถือในวงการนักวิชาการทางด้านโบราณคดีทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ทางด้านโบราณคดีและวิชาก่อนประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ท่านได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและมีผลงานสอนทางด้านโบราณคดีและวิชาก่อนประวัติศาสตร์ตลอดมา ซึ่งนับว่ามีคุณค่าต่อวิชาการด้านโบราณคดีเป็นอย่างยิ่ง ท่านมีส่วนสำคัญที่ทำให้วิชาการโบราณคดีของไทยเจริญก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ และเป็นที่นับถืออย่างสูงว่า เป็นปูชนียบุคคลที่ยิ่งใหญ่ทางโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ของไทยท่านหนึ่ง


๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบราณคดีไทย จัดทำโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรผลงานทางวิชาการ2495 “เครื่องแต่งกายไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 6, เล่ม 6(พ.ย.), หน้า 77 - 82.2495 “เครื่องแต่งกายไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 6, เล่ม 7(ธ.ค.), หน้า 77 - 82.2496 “เครื่องแต่งกายไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 6, เล่ม 8 (ม.ค.), หน้า 96 - 102.2496 “เครื่องแต่งกายไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 6, เล่ม 9 (ก.พ.), หน้า 96 - 99.2496 “เครื่องแต่งกายไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 6, เล่ม 10 (มี.ค.), หน้า 84 - 89. 2496 “เครื่องแต่งกายไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 6, เล่ม 11 (เม.ย.), หน้า 86 - 92. 2496 “เครื่องแต่งกายไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 7, เล่ม 4 (ก.ย.), หน้า 64 - 68.2500 “เครื่องมือหินในประเทศไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 1, เล่ม 1 (พ.ค.), หน้า 48 - 58.2500 “ยุคโลหะในประเทศไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 1, เล่ม 3(ก.ย.), หน้า 50 - 59.2501 “หินใหญ่.” ศิลปากร. ปีที่ 1, เล่ม 5 (ม.ค.), หน้า 37 - 45.2501 “เศษหม้อก่อนประวัติศาสตร์ในเมืองเรา.” ศิลปากร. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (พ.ค.), หน้า 45 - 49.2502 “ขวานหินทำเลียนแบบขวานสัมฤทธิ์และหินตั้งในเมืองไท.” ศิลปากร. ปีที่ 3, ฉบับที่ 4 (พ.ย.), หน้า 33 - 38.2504 “มนุษย์สมัยหินใหม่ที่บ้านเก่า.” ศิลปากร. ปีที่ 5, เล่ม 1 (พ.ค.), หน้า 44 - 53.2505 “ผลงานของคณะสำรวจเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ไทย-เดนมาร์ก.” ศิลปากร. ปีที่ 6, เล่ม 2 (ก.ค.), หน้า 43 - 49.2505 “ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำในเมืองไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 6, เล่ม 3 (ก.ย.), หน้า 26 - 37.2505 “ถ้ำรูปเขาเขียว.” ดวงประทีป. มิ.ย., บริษัทเอสโซ่ แสตนดาร์ด อีสเทอน จำกัด. 2506 “ของก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.” ศิลปากร. ปีที่ 6, เล่ม 6 (มี.ค.), หน้า 58 - 61.2502 “เกียรติมุข.” ศิลปากร. ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (ก.ค.), หน้า 37 - 41.2507 “ภาคผนวก ประเทศไทยกับเรื่องก่อนประวัติศาสตร์.” ศิลปากร. ปีที่ 8, ฉบับที่ 3 (ก.ย.), หน้า 74 - 77.2508 “วัฒนธรรมหินใหญ่ในประเทศไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 8, เล่ม 6 (มี.ค.), หน้า 62 - 67.2509 “ดร. สไทน์ คัลเลนเพลล์.” ศิลปากร. ปีที่ 10, ฉบับที่ 3 (ก.ย.), หน้า 88 - 91.2510 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. พระนคร: กรมศิลปากร.2510 “เราได้อะไรบ้างจากนิทานท้องถิ่น.” อสท. ปีที่ 8, เล่มที่ 5.2511 “นักโบราณคดีรู้อย่างไรว่าจะขุดตรงที่ใด.” โบราณคดี. ปีที่ 1, ฉบับที่ 3 (ม.ค. - มี.ค.), หน้า 2 - 3.2512 “กลองมโหระทึก.” โบราณคดี. ปีที่ 2, ฉบับที่ 4 (เม.ย.-มิ.ย.), หน้า 48 - 67.2512 “Rock Painting and Rock Engravings.” โบราณคดี. ปีที่ 3, ฉบับที่ 1.2512 คนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร (พิมพ์ถวายพระภิกษุและสามเณร ซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และหอสมุดแห่งชาติในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ. 2512)2514 “วิชาก่อนประวัติศาสตร์.” วารสารครู. ปีที่ 5, (ม.ค.).2514 “ข้าวจากหลักฐานโบราณคดีในไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 15, ฉบับที่ 2 (ก.ค.), หน้า 39 - 45.2514 “สัตว์ยุคหินในประเทศไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 15, ฉบับที่ 3 (ก.ย.), หน้า 53 - 59.2514 “ส่วนสูงของคนยุคหินในประเทศไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 15, ฉบับที่ 4 (พ.ย.), หน้า 34 - 36.2515 “อายุของคนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 16, ฉบับที่ 1 (พ.ค.), หน้า 53 - 55.2518 “การกำหนดอายุโบราณสถานโบราณวัตถุ.” ศิลปากร. ปีที่ 19, ฉบับที่ 1 (ธ.ค.), หน้า 56 - 59.2518 “โบราณคดีเมืองราชบุรี.” อสท. ปีที่ 15 เล่ม 8.2519 “คนก่อนประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ออกทะเล.” โบราณคดี. ปีที่ 6, ฉบับที่ 4 (มิ.ย.), หน้า 27 - 30.2521 “มีแล้วแต่อดีต = Nothing is new.” เมืองโบราณ. ปีที่ 4, ฉบับที่ 4 (ก.ค. - ก.ย.), หน้า 7 - 16.2521 “ขวานหินขัดในภาคใต้.” อสท. ปีที่ 18 เล่ม 9.2527 กระดูกคนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. 50 ปี ราชบัณฑิตยสถาน 31 มี.ค.


๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบราณคดีไทย จัดทำโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรผลงานทางวิชาการ| หนังสือ |• สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (2510)• คนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (2512)• โบราณวัตถุสถานทั่วพระราชอาณาจักร• วัฒนธรรมบ้านเชียงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (2516)• อดีต : รวมเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ (2517)| งานแปล |ชิน อยู่ดี (แปล)2501 “บันทึกเกี่ยวกับเมืองถลาง เมืองภูเก็ตและท้าวเทพกษัตรีย์.” ศิลปากร. ปีที่ 2, ฉบับที่ 3 (ก.ย.), หน้า 56 - 57. แปลจาก เจอรินี, โคโลเบล จี.อี, “Historical retrospect of Junkceylon Island.”2510 “สำริดรุ่นแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 11, ฉบับที่ 4(พ.ย.), หน้า 49 - 60. แปลจาก Wilhelm G. Solheim. “Early Bronze in Northeastern Thailand” ซุงฉีชู, ปรินซตัน, ชิน อยู่ดี(แปล)2511 “เรื่องมูลกำเนิดของคนชวง.” ศิลปากร. ปีที่ 12, ฉบับที่ 2 (ก.ค.), หน้า 80 - 88.2511 “มูลกำเนิดของคนไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 12, ฉบับที่ 4 (พ.ย.), หน้า 53 - 59.| งานเขียนร่วมกับผู้อื่น |ชิน อยู่ดี และจำรัส เกียรติก้อง2501 “จิตรกรรมในถ้ำ ศิลป จ. ยะลา รายงานเรื่องภาพจิตรกรรมเขียนสี.” ศิลปากร. ปีที่ 2, ฉบับที่ 3 (ก.ย.), หน้า 33 - 39.ชิน อยู่ดี และแทน ธีระพิจิตร์.2507 “ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์พบในประเทศไทย.” ศิลปากร. ปีที่ 8, ฉบับที่ 4 (พ.ย.), หน้า 40 - 51.ชิน อยู่ดี และพิสิฐ เจริญวงศ์2515 “สมบัติเดิมของบ้านเชียง.” โบราณคดี. ปีที่ 4, ฉบับที่ 1 (ก.ค.), หน้า 18 - 34.ชิน อยู่ดี และ ไสว มงคลเกษม.2516 “การประชุมขั้นเตรียมการเรื่องการบูรณะและฟื้นฟูแหล่งประวัติศาสตร์ โดยมุ่งประสงค์ที่จะจัดตั้งศูนย์วิจัยประยุกต์ว่าด้วยโบราณคดี และวิจิตรศิลป์ ณ กรุงพนมเปญ พ.ศ. 2515.”ศิลปากร. ปีที่ 17, ฉบับที่ 1 (พ.ค.), หน้า 48 - 64.2516 “การประชุมขั้นเตรียมการเรื่องการบูรณะและฟื้นฟูแหล่งประวัติศาสตร์ โดยมุ่งประสงค์ที่จะจัดตั้งศูนย์วิจัยประยุกต์ว่าด้วยโบราณคดี และวิจิตรศิลป์ ณ กรุงพนมเปญ พ.ศ. 2515.”ศิลปากร. ปีที่ 17, ฉบับที่ 2 (ก.ค.), หน้า 85 - 105.2516 “การประชุมขั้นเตรียมการเรื่องการบูรณะและฟื้นฟูแหล่งประวัติศาสตร์ โดยมุ่งประสงค์ที่จะจัดตั้งศูนย์วิจัยประยุกต์ว่าด้วยโบราณคดี และวิจิตรศิลป์ ณ กรุงพนมเปญ พ.ศ. 2515.” ศิลปากร. ปีที่ 17, ฉบับที่ 3 (ก.ย.), หน้า 97 - 112.ชิน อยู่ดี, สุด แสงวิเชียร และวัฒนา สุภวัน.2520 “ความสำคัญของหม้อสีแดงลายดำ.” ศิลปากร. ปีที่ 21, ฉบับที่ 2 (ก.ค.), หน้า 14 - 17.วิสุทธิ์ อินทาระ และชิน อยู่ดี2502 “ถาม-ตอบเมืองและค่ายโบราณ.” ศิลปากร. ปีที่ 2, เล่ม 5 (ม.ค.), หน้า 76 - 80.


๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบราณคดีไทย จัดทำโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรเดินตามรอยเท้า “ครูชิน อยู่ดี”| บ้านเก่า |งานขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจบุรี เป็นงานบุกเบิกที่สำคัญในด้านก่อนประวัติศาสตร์ไทย แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนตั้งแต่เมื่อ ๔๐๐๐ ปีมาแล้ว มีโบราณวัตถุที่โดดเด่นคือหม้อสามขา• โครงการวิจัยการสำรวจและขุดค้นวัฒนธรรมยุคหินที่พบในถ้ำบริเวณตำบลบ้านเก่าจังหวัดกาญจนบุรี โดยอาจารย์สุรินทร์ ภู่ขจรและคณะ ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำการขุดค้นสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีถ้ำหีบถ้ำเขาทะลุ และถ้ำเพชรคูหา ในบริเวณตำบลบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี (๒๕๒๐-๒๒)ยี่สิบหกปีหลังจากที่ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ได้ล่วงลับไปแล้ว งานโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้เติบโตและมีความก้าวหน้าทั้งในด้านองค์ความรู้ แนวคิดทฤษฏี และวิธีวิทยาจนมีการเรียนการสอนระดับปริญญาโท สาขาวิชาโบราณคดี โดยภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ในที่นี้ขอกล่าวถึงตัวอย่างของงานค้นคว้าวิจัยด้านก่อนประวัติศาสตร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก “ครู” และมีการสืบสานต่อโดยลูกศิษย์ที่ทำงานในกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากร• โครงการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย โดยอาจารย์สุรินทร์ ภู่ขจรและคณะ ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (๒๕๒๐-๒๖) ทำการวิจัยเฉพาะในฝั่งตะวันตกจากภาคกลางถึงภาคเหนือ • โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคกลาง) ดำเนินการโดยฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๒๕-๓๐• โครงวิจัยเรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมบริเวณลุ่มแม่น้ำตอนล่าง จังหวัดกาญจนบุรี โดย อาจารย์รัศมี ชูทรงเดช มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีถ้ำแล่งกำนัน และแหล่งโบราณคดีไร่อานนท์ บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี (๒๕๓๓-๓๔)• โครงการศึกษาแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเก่าและที่เกี่ยวข้อง โดยนางสาวศุภมาศ ดวงสกุล จากสำนักงานศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี กรมศิลปากร (๒๕๔๖-๕๕)| บ้านเชียง |งานค้นคว้าเรื่องวัฒนธรรมบ้านเชียงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแหล่งโบราณคดีในการศึกษาเรื่องโลหกรรมโบราณในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้• โครงการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นความร่วมมือระหว่างไทย-อเมริกัน โดยอาจารย์พิสิฐ เจริญวงศ์ จากฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร- ดร. เชสเตอร์กอร์มัน จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ดำเนินการขุดค้นและวิเคราะห์ระหว่างพ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๒๕• โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ดำเนินการโดยสถาพรขัวญยืน อำพัน กิจงาม นิติ แสงวัณณ์ สุพจน์ พรหมมาโนช ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๒๕-๓๐


๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบราณคดีไทย จัดทำโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรเดินตามรอยเท้า “ครูชิน อยู่ดี”| ดอนตาเพชร |การขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร พ.ศ.๒๕๑๗เป็นงานวิจัยที่สำคัญที่แสดงเห็นการติดต่อระยะแรกระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะเวียดนาม• โครงการวิจัยเรื่องการค้าแรกเริ่มระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยศาสตราจารย์เอียน โกรปเวอร์ จากสถาบันโบราณคดี มหาวิทยาลัยลอนดอนประเทศสหราชอาณาจักร ร่วมกับนายนวรัตน์ มงคลคำนวณเขตต์ จากกรมศิลปากร ทำการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ระหว่างพ.ศ. ๒๕๒๗-๒๘• โครงการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรเพื่อจัดทำพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ โดยสำนักศิลปากรที่ ๒จังหวัดสุพรรณบุรี (๒๕๔๓)| โบราณโลหวิทยา |งานเขียนเรื่องยุคโลหะ ได้สะท้อนความคิดเห็นในเรื่องพัฒนาการของโลหกรรมในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนและกระจายไปยังภาคกลางภายหลัง• โครงการวิจัยเรื่องการศึกษาแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์กับการใช้โลหะในบริเวณจังหวัดราชบุรีและบริเวณใกล้เคียง โดย ผศ.ชาติชาย ร่มสนธิ์และคณะมหาวิทยาลัยศิลปากร (๒๕๓๐-๓๑)• โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ดำเนินการโดยฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๒๕-๓๐• โครงการวิจัยเรื่องโบราณโลหวิทยา โดยเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย(สุรพล นาถะพินธุและดร.วินเซนต์ พิกก๊อทท์ ดำเนินการสำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีในจังหวัดลพบุรีและเลย ระหว่างปีพ.ศ.| ภาพเขียนสี |ความสนใจเกี่ยวกับภาพเขียนสีเริ่มจากการทำงานร่วมกับคณะสำรวจเดนมาร์ก เมื่อค้นพบแหล่งโบราณคดีถ้ำรูป เขาเขียวในจังหวัดกาญจนบุรีเป็นครั้งแรก และต่อมาพบหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจารย์เขียนรวมเป็นบทความเรื่อง ภาพเขียนสีผนังถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์• โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ดำเนินการโดยฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๒๕-๓๐ นักโบราณคดีที่ค้นคว้าอย่างต่อเนื่องคือพเยาว์ เข็มนาค และอาจารย์พิสิฐ เจริญวงศ์• โครงการวิจัยเรื่องภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศาสตราจารย์ปรีชา กาญจนาคม ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (๒๕๒๑)• โครงการจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับศิลปะถ้ำในภาคต่างๆ โดยฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดีกรมศิลปากร ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๑-๓๕ | ชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดี |งานค้นคว้าทางด้านชาติพันธุ์ที่โดดเด่น คือเรื่องเผ่าชอง ในจังหวัดจันทบุรี และมูลกำเนิดของคนชวง ในประเทศจีน• โครงการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย (ภาคเหนือ) และการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดี ชนกลุ่มน้อยมลาบรีหรือผีตองเหลือง จังหวัดน่าน โดย ศาสตราจารย์ ดร. สุรินทร์ ภู่ขจร จากภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร (๒๕๒๗-๓๒)• โครงการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย (ภาคใต้) และการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดี ชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไก จังหวัดตรัง โดย ศาสตราจารย์ ดร. สุรินทร์ ภู่ขจร จากภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร(๒๕๓๔-๓๘)• โครงการศึกษาชาติพันธุ์วรรณนาทางโบราณคดีของกลุ่มคนบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (เป็นโครงการย่อยภายใต้การดูแลของโครงการโบราณคดีบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะทีสอง) โดยอุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูลปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(๒๕๔๖-๔๙)


๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี บูรพาจารย์แห่งโบราณคดีไทย จัดทำโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี“บิดาแห่งวิชาก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย”“ปรมาจารย์แห่งวิชาก่อนประวัติศาสตร์ไทย”(คำยกย่องของกรมศิลปากร ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกและเชี่ยวชาญในวิชาก่อนประวัติศาสตร์ไทย ๒๕๒๙)ปราชญ์สามัญชน“อ.ชิน ไม่ใช่สมบัติของกรมศิลปากร หรือของมหาวิทยาลัยศิลปากรเท่านั้น แต่งานของท่านเป็นสมบัติของไทย, ของประชาคมอาเซียน, และของชุมชนวิชาการโลก” (สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวยกย่องศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ว่าเป็นปราชญ์สามัญชนชาวสยาม ในมติชนรายวัน เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ )ใฝ่รู้“คุณชิน อยู่ดี มิใช่แต่จะเรียนรู้อย่างผู้อยากรู้อยากเห็น แต่มีความตั้งใจจริงที่จะบุกเบิกขุดคุ้ยเอาความรู้พร้อมทั้งวัตถุที่เป็นหลักฐานและสิ่งประจักษ์พยานชองเรื่องก่อนประวัติศาสตร์บรรดามีอยู่ในประเทศไทย”(ธนิต อยู่โพธิ์ เขียนถึง ชิน อยู่ดี เนื่องในโอกาสเชิดชูเกียรติในฐานะปรมาจารย์แห่งวิชาก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘)ใจกว้างถ่อมตัว“บางครั้ง ครูเอาเรื่องเก่าๆ มาอ่านยังอายตัวเอง”(พิสิฐ เจริญวงค์ เขียนถึงศาสตราจารย์ชิน อยู่ดีในคำนำหนังสือ อดีต, ๒๕๑๗)“ความคิดเห็นทางวิชาการเปลี่ยนแปลงไปได้ตามข้อมูล แนวความคิด เทคนิควิธีการที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบ ตามความเหมาะสมในช่วงเวลานั้นๆ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ครูพูด ครูสอนขณะนี้อาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริงในอนาคต สิ่งที่ครูต้องการคือให้ทุกคนมีความคิดความเห็นเป็นของตัวเอง…อย่าเชื่อครู”ครูอ้างอิง:ชิน อยู่ดี: บิดาแห่งวิชาก่อนประวัติศาสตร์ไทย. พิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชทานเพลิงศพในวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ,๒๕๒๙ อดีต : รวมเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ :ฝ่ายวิชาการนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๑๗.“ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี มิใช่เป็นนักวิชาการที่ตื่นตัวกับวิชาเท่านั้น แต่ท่านยังได้ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ที่ท่านมีและได้มาจากการศึกษาต่อคนภายนอกอีกด้วยทางหนึ่งโดยการสอน ในฐานะ “ครู” และอีกทางหนึ่งด้วยการเขียนให้อ่านง่าย....”(คำนำหนังสือ ชิน อยู่ดี บิดาแห่งวิชาก่อนประวัติศาสตร์ไทย, ๒๕๒๙)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!