16.08.2016 Views

Better Health magazine

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

รศ.นพ.สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี<br />

ผู้อำนวยการด้านการแพทย์<br />

Contributing Editor<br />

สารบัญ<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> นิตยสารสำหรับผู้มีอุปการคุณของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กลับมาพบกันอีกครั ้ง<br />

พร้อมด้วยเรื่องราวดีๆ เพื่อสุขภาพที่ดีเช่นเคยครับ<br />

ฉบับนี้เราเปิดเล่มกันด้วยเรื่องความเสื่อมของข้อและทางเลือกในการรักษา โดยเฉพาะการผ่าตัด<br />

เปลี่ยนข้อเทียมซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้ป่วยได้มากขึ้น นอกจากนี้<br />

ยังมีบทความเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการลงแข่งขัน “ไตรกีฬา” กีฬาที่หลายคนกำลังชื่นชอบ<br />

ตามด้วยความรู้เกี่ยวกับโรคงูสวัดที่มักเกิดในผู้สูงวัย และคอลัมน์ประจำอื่นๆ ที่อัดแน่นไปด้วยสาระเช่นเคย<br />

และที่พิเศษสำหรับฉบับนี้คือ บทสัมภาษณ์หนึ่งในคณะแพทย์ผู้ทำหน้าที่ผ่าตัดรักษาโรคหัวใจให้กับ<br />

เด็กกว่า 700 รายตลอดระยะเวลา 13 ปีของโครงการรักษ์ใจไทยซึ่งเมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมาเราได้จัด<br />

แคมเปญพิเศษ Against All Odds (หัวใจต้องสู้) เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคหัวใจพิการหรือผิดปกติ<br />

ในเด็ก และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ โดยท่านสามารถดูรายละเอียดได้ที่<br />

www.bumrungrad.com ครับ<br />

และหากคุณผู้อ่านมีคำแนะนำหรือคำติชมใดๆ กรุณาส่งมาที่ betterhealth@bumrungrad.com<br />

เรายินดีน้อมรับด้วยความขอบคุณ<br />

4<br />

Special<br />

Scoop<br />

13 ปีรักษ์ใจไทย<br />

กับหัวใจ 735 ดวง<br />

8<br />

Osteoarthritis and<br />

Joint Replacement<br />

แค่หาย อาจยังไม่พอ<br />

โรคข้อเสื่อมกับทางเลือกใหม่ในการรักษา<br />

10 The Case<br />

ชั่วโมงชีวิต<br />

ของครอบครัวธนารัตน์สุทธิกุล<br />

14 Sports Medicine<br />

คุณพร้อมแค่ไหนกับ “ไตรกีฬา”<br />

18 Staying <strong>Health</strong>y<br />

โรคงูสวัด รู้เท่าทัน ป้องกันได้<br />

20 M.D. Focus<br />

รู้จักกับแพทย์บำรุงราษฎร์<br />

22 The Nutrition Experts<br />

กินอย่างไร ให้กระดูกและข้อแข็งแรง<br />

26 <strong>Health</strong> Briefs<br />

28 Q & A<br />

30 Bumrungrad News<br />

นิตยสาร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> เป็นนิตยสารรายสี่เดือนของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อแจกจ่ายเป็นการภายใน<br />

จัดทำและจัดพิมพ์โดย บริษัท เนทีฟ มีเดีย จำกัด เลขที่10/162 อาคารเดอะเทรนดี้ ชั้น 20 ห้อง 2001C ซ. สุขุมวิท 13 (แสงจันทร์) แขวงคลองเตยเหนือ<br />

เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร. 0 2168 7624 www.nativemedia.co.th<br />

2016 ข้อเขียนและรูปภาพทุกชิ้นในนิตยสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ห้ามพิมพ์ซ้ำหรือกระทำการใดๆ<br />

ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) โทร. 0 2667 1000<br />

ข้อความในเนื้อที่โฆษณาของนิตยสารฉบับนี้ที่มิได้เป็นของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นความเห็นส่วนตัวของ<br />

เจ้าของผลิตภัณฑ์และบริการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ไม่มีเจตนาให้การรับรองคุณภาพสินค้า บริการ หรือข้อความที่ปรากฏแต่อย่างใด<br />

ติดต่อโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

โทรศัพท์: 0 2667 1000<br />

โทรสาร: 0 2667 2525<br />

นัดแพทย์: 0 2667 1555<br />

เว็บไซต์: www.bumrungrad.com


+++++ Osteoarthritis and joint replacement<br />

แค่หาย อาจยังไม่พอ<br />

โรคข้อเสื่อม<br />

กับทางเลือกใหม่ในการรักษา<br />

รู้จักกับโรคข้อเสื่อม แนวทางการรักษา<br />

และเทคโนโลยีการผ่าตัดข้อเทียมที่มุ่งหวัง<br />

ให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาที่ตรงกับ<br />

ความคาดหวังมากที่สุด<br />

โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก<br />

โดยเฉพาะโรคข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมซึ่งทำาให้ผู้ป่วยจำานวนมากต้องใช้ชีวิต<br />

อยู่กับความเจ็บปวดทุกครั้งที่เคลื่อนไหว ไม่สามารถทำากิจกรรมต่างๆ ในชีวิต<br />

ประจำาวันได้ตามปกติ และสูญเสียบุคลิกภาพที่ดีไป<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้พูดคุยกับ นอ.พิเศษ นพ.จำรูญเกียรติ ลีลเศรษฐพร ศัลยแพทย์<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ ถึงสาเหตุ อาการ และหลากหลายแนวทาง<br />

ในการรักษาโรคข้อเสื่อมที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง<br />

ข้อเสื่อมเกิดจากอะไร<br />

“โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่มาพร้อมกับวัย เพราะเมื ่อใช้งานไปนานๆ ข้อต่อย่อมเกิด<br />

การสึกหรอ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งอายุเฉลี่ยของประชากรเพิ่มมากขึ้น จำานวน<br />

ผู้ป่วยก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย” นอ.พิเศษ นพ.จำารูญเกียรติ เริ่มต้นอธิบาย “โดยทั่วไป<br />

อาการของข้อเข่าเสื่อมจะเริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่อายุประมาณ 45-50 ปี และพบ<br />

ได้บ่อยในวัย 65 ปีขึ้นไป ส่วนข้อสะโพกเสื่อมจะเกิดช้ากว่า คือเกิดที่อายุประมาณ<br />

60-75 ขึ้นไป”<br />

นอกจากอายุแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เร่งให้เกิดโรคข้อเสื่อมเร็วขึ้น อาทิ ภาวะ<br />

นำ้ำหนักเกิน กระดูกและกระดูกอ่อนไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อรอบข้อไม่แข็งแรงรวมถึง<br />

มีพฤติกรรมการใช้ข้อที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งยอง นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และ<br />

นั่งคุกเข่า เป็นต้น<br />

จะทราบได้อย่างไรว่าข้อเสื่อม<br />

เนื่องจากโรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ผู้ป่วยจึงไม่รู้สึกถึงอาการของ<br />

โรคในทันทีและมักมาพบแพทย์เมื่อเกิดอาการมากแล้ว ซึ่ง นอ.พิเศษ นพ.จำารูญเกียรติ<br />

ได้ให้ข้อสังเกตถึงอาการของโรคไว้ว่า “ในกรณีของโรคข้อเข่าเสื่อม อาการที่ชัดเจนที่สุด<br />

4


คือมีเสียงดังในข้อและเป็นเสียงที่สัมพันธ์กับการ<br />

เคลื่อนไหว เกิดขึ้นต่อเนื่อง ไม่ได้เกิดครั้งเดียว<br />

แล้วหายไป ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดข้อ ซึ่งหากปวดมาก<br />

เข่าจะบวมเนื่องจากเกิดการอักเสบภายในข้อ<br />

เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์บางท่านอาจรักษาด้วยการ<br />

ดูดนำ้ำในข้อออกซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยหายปวดได้ แต่<br />

ไม่ได้หมายความว่าข้อเข่าจะหายเสื่อม”<br />

ในกรณีที่ข้อเข่าเสื่อมมาก เข่าจะเริ่มผิดรูป<br />

คือเริ่มโก่ง อาจเป็นการโก่งออกหรือโก่งเข้าใน<br />

ลักษณะของเข่าชนกันก็ได้ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวด<br />

ทุกครั้งที่เดิน เนื่องจากกระดูกอ่อนที่ทำาหน้าที่<br />

รองรับแรงกระแทกและช่วยให้เคลื่อนไหวได้อย่าง<br />

ลื่นไหลมีความหนาลดลงจนกระทั่งหมดไป<br />

กระดูกจึงชนกันทำาให้เจ็บมาก<br />

สำาหรับข้อสะโพกเสื่อมนั้น จะเห็นอาการบวม<br />

ได้ไม่ชัดเจนเพราะเป็นข้อที่อยู่ลึก แต่ผู้ป่วยจะรู้สึก<br />

ปวดขณะเคลื่อนไหว เช่น ขณะลุกขึ้นยืน เมื่อข้อ<br />

สะโพกเสื่อมมากขึ้น ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวไม่คล่อง<br />

และทำาได้ในวงแคบลง นั่นคือเริ่มเดินแบบก้าว<br />

สั้นๆ ซึ่งหากปล่อยไว้ ข้อสะโพกที่เสื่อมจะเริ่มติด<br />

ทำาให้ขยับได้ลำาบากมากขึ้น<br />

การรักษาโรคข้อเสื่อม<br />

เพราะไม่มีวิธีการรักษาใดที ่จะเปลี่ยนข้อที่<br />

เสื ่อมแล้วให้กลับมาเป็นข้อที่แข็งแรงดังเดิมได้<br />

จุดมุ่งหมายของแพทย์จึงเป็นความพยายามที่จะ<br />

รักษาสภาพข้อเข่ากับข้อสะโพกของผู้ป่วยเอาไว้ให้<br />

นานที่สุด ซึ่งในเบื้องต้นแพทย์จะแนะนำาให้แก้ไข<br />

ที่สาเหตุของโรคและรักษาอาการควบคู่กันไป<br />

เช่น ลดนำ้ำหนัก ปรับท่าทางการนั่ง หมั่นบริหาร<br />

กล้ามเนื้อบริเวณข้อสะโพกกับข้อเข่า รวมถึงดูแล<br />

ร่างกายให้กระดูกแข็งแรง และเมื่อมีอาการปวด<br />

ก็จะรักษาด้วยการใช้ยาก่อน ซึ่งในระยะแรกนี้<br />

ยาที่ใช้มักประกอบด้วย<br />

+ ยารักษาตามอาการ เช่น อาการอักเสบ อาการ<br />

ปวด อาการกล้ามเนื้อเกร็งตัว เป็นต้น<br />

+ ยาบำารุงหรือช่วยยับยั้งการทำาลายของกระดูก<br />

อ่อนภายในข้อ เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต<br />

กลูโคซามีนผสมคอนดรอยติน และไดอะเซอรีน<br />

ซึ่งจำาเป็นต้องได้รับคำาแนะนำาจากแพทย์ก่อน<br />

รับประทาน<br />

“นอกจากนี้ยังมีการฉีดนำ้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม<br />

เพื่อให้ข้อเสียดสีน้อยลง แต่หากพยายามทุกทาง<br />

แล้วอาการของผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้น หรือผู้ป่วยยัง<br />

รู้สึกรับกับสภาพที่เป็นอยู่ไม่ได้ ก็จะนำามาสู่การพิจารณาแนวทางการ<br />

รักษาขั้นต่อไป ซึ่งก็คือการผ่าตัด”<br />

อย่างไรก็ดี นอ.พิเศษ นพ.จำารูญเกียรติ อธิบายว่าในการผ่าตัดนั้น<br />

แพทย์จำาเป็นต้องพิจารณาข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้ประกอบด้วย คือ<br />

1. ผู้ป่วยต้องมีอาการที่ได้พยายามรักษาโดยไม่ผ่าตัดแล้ว แต่ไม่เป็นผล<br />

2. เมื่อเอกซเรย์แล้วพบว่าข้อนั้นอยู่ในขั้นที่ต้องผ่า เพราะแม้ผู้ป่วยจะ<br />

ปวดมากแต่หากข้อยังไม่เสื่อมสภาพจนถึงขั้นผ่า แพทย์อาจไม่<br />

พิจารณาผ่าให้<br />

3. อายุของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เนื่องจากข้อเทียมมีอายุการ<br />

ใช้งานประมาณ 10-20 ปี หากผู้ป่วยมีอายุน้อย ก็มีความเป็นไปได้<br />

ที่จะต้องผ่าตัดแก้ไขอีกครั้ง ดังนั้น แพทย์จึงมักไม่ผ่าตัดให้กับผู้ป่วย<br />

ที่อายุตำ่ำกว่า 50 ปี เพราะนอกจากอายุน้อยแล้วผู้ป่วยกลุ่มนี้ยัง<br />

อยู่ในวัยที่ต้องใช้งานข้อหนักและยิ่งทำาให้ข้อเทียมสึกหรอเร็วขึ้น<br />

ทั้งนี้ อาจมีผู้ป่วยบางประเภทที่จำาเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแม้จะ<br />

มีอายุน้อย เช่น ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น<br />

เมื่อต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม<br />

ในการผ่าตัดรักษาโรคข้อเสื่อมนั้นสามารถทำาได้ 2 กรณี คือ กรณี<br />

ไม่ใช้ข้อเทียม เช่น การตัดต่อกระดูกเพื่อแก้ไขอาการขาโก่งโดย<br />

ไม่เปลี่ยนข้อ และกรณีใช้ข้อเทียม ซึ่งทำาได้หลายวิธี ได้แก่<br />

+ การผ่าตัดด้วยวิธีดั้งเดิม (conventional surgery) เป็นกระบวนการ<br />

ผ่าตัดที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ผู้ทำาการผ่าตัด<br />

เนื่องจากอาจมีโอกาสคลาดเคลื่อนซึ่งจะส่งผลต่ออายุการใช้งาน<br />

ของข้อเทียมได้<br />

+ การผ่าตัดด้วยเทคนิคที่มีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก (minimally invasive<br />

surgery) เป็นการผ่าตัดที่กระทบต่อกล้ามเนื้อรอบๆ น้อยลง ขนาดแผล<br />

เล็กลง และผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีผ่าตัดแบบดั้งเดิม<br />

5


“ ปัจจุบัน ผู้ป่วยมีความคาดหวัง<br />

มากขึ้น ไม่ใช่แค่หายปวด<br />

แต่ผลลัพธ์ต้องออกมา<br />

ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด”<br />

นอ.พิเศษ นพ.จำรูญเกียรติ ลีลเศรษฐพร<br />

+ การผ่าตัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (computerassisted<br />

surgery) สำาหรับการผ่าตัดข้อเข่า<br />

โดยคอมพิวเตอร์จะทำาหน้าที่ประมวลข้อมูล<br />

และวิเคราะห์ผลแบบ real time ช่วยให้แพทย์<br />

สามารถวางตำาแหน่งข้อเทียมหลังการผ่าตัด<br />

ได้แม่นยำาถึงร้อยละ 94 ขณะที่การผ่าตัด<br />

ด้วยวิธีปกติมีความแม่นยำาเพียงร้อยละ 78<br />

นอกจากนี้ยังช่วยให้การปรับสมดุลของ<br />

กล้ามเนื้อบริเวณข้อเข่าในขณะผ่าตัดทำาได้<br />

ละเอียดแม่นยำาขึ้น<br />

+ การผ่าตัดโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด<br />

(MAKOplasty®) ใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ<br />

เข่าเทียมด้านเดียวและการผ่าตัดเปลี่ยน<br />

สะโพกเทียม ช่วยให้แพทย์วางตำาแหน่งข้อเทียม<br />

ได้อย่างแม่นยำาและไม่เสียกระดูกจากการ<br />

ตัดแต่งผิวกระดูกโดยไม่จำาเป็น ข้อเทียมจึง<br />

มีอายุการใช้งานยืนยาวอย่างที่ควรจะเป็น<br />

และเนื่องจากเป็นผ่าตัดแผลเล็ก ผู้ป่วยจึง<br />

ฟื้นตัวได้เร็ว<br />

สำคัญที่ “ความคาดหวัง”<br />

ในการเลือกวิธีผ่าตัดข้อเทียมนั้น นอกเหนือ<br />

จากการประเมินอาการแล้ว แพทย์ยังจำาเป็นต้อง<br />

ทราบถึงความคาดหวังของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด<br />

อีกด้วย “ปัจจุบัน เราพบว่าผู้ป่วยมีความคาดหวัง<br />

มากขึ้น ไม่ใช่แค่หายปวด ขาหายโก่ง หรือ<br />

แค่เดินได้ แต่ผลลัพธ์ต้องออกมาใกล้เคียง<br />

ธรรมชาติมากที่สุด เคยเล่นกีฬาได้ก็ต้องเล่นได้<br />

เหมือนเดิม ซึ่งจากการศึกษาพบว่าราวร้อยละ 20<br />

ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมไม่พอใจ<br />

กับผลการผ่าตัดเพราะไม่เป็นไปตามที่หวังไว้”<br />

นอ.พิเศษ นพ.จำารูญเกียรติ กล่าว<br />

ด้วยเหตุนี้ แพทย์จึงต้องหาวิธีการที่จะทำาให้<br />

ผลการผ่าตัดเป็นไปตามความคาดหวังของผู้ป่วย<br />

ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคในการผ่าตัด หรือการเลือกใช้<br />

ข้อเข่าเทียมที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับการ<br />

ใช้งานของผู้ป่วย<br />

นอกจากนี้ แพทย์ยังต้องวางแผนการรักษา<br />

สำาหรับอนาคตไว้ให้ผู้ป่วยอีกด้วย เช่น ในกรณี<br />

ที่ข้อเสื่อมไม่หมดก็ไม่จำาเป็นต้องเปลี่ยนทั้งข้อ<br />

แต่เลือกผ่าตัดเปลี่ยนเฉพาะบางส่วนซึ่งนอกเหนือ<br />

จากจะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงธรรมชาติมาก<br />

กว่าแล้ว หากผู้ป่วยต้องเปลี่ยนข้ออีกในอนาคต<br />

ก็เปลี่ยนทั้งหมดได้ไม่ยาก แต่ถ้าตัดสินใจเปลี่ยน<br />

ทั้งข้อทั้งที่ทำาบางส่วนได้ ในอนาคตการแก้ไขจะ<br />

ทำาได้ยากกว่าและมีค่าใช้จ่ายสูง<br />

“เราไม่ได้มองว่าการเปลี่ยนข้อเทียมเป็น<br />

การแก้ปัญหาเฉพาะวันนี ้ ต้องมองว่าใน 5 ปี<br />

10 ปีข้างหน้า ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาเราจะช่วยเขา<br />

ได้อย่างไรด้วย” นอ.พิเศษ นพ.จำารูญเกียรติ<br />

กล่าวทิ้งท้าย<br />

ปัจจุบัน การผ่าตัดข้อเทียมที่ประสบความ<br />

สำาเร็จจึงไม่ได้หมายถึงการผ่าตัดที่มีความปลอดภัย<br />

สูงสุดเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการผ่าตัดที่ช่วยให้<br />

ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีดังที่คาดหวังทั้งในวันนี้<br />

และวันหน้าอีกด้วย<br />

เกี่ยวกับศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

ศู<br />

นย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ เป็นศูนย์การแพทย์ที่ได้รับการรับรอง<br />

มาตรฐานระดับสากล (JCI) เฉพาะโรคด้านการผ่าตัดข้อเข่าเทียม (Clinical Care Program<br />

Certification of Knee Replacement) จึงนับเป็นศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมที่ให้บริการทางการแพทย์<br />

ด้วยมาตรฐานเทียบเท่ากับโรงพยาบาลชั้นนำาของโลก<br />

ศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ให้บริการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมโดยคณะแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์<br />

สหสาขาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย โดยเน้น<br />

มาตรฐานการรักษาระดับสากลตั้งแต่การลงทะเบียนซักประวัติผู้ป่วยไปจนถึงการติดตามผลการรักษา<br />

หลังผ่าตัด เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือ ให้ผู้ป่วยหายจากการเจ็บปวด สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำาวัน<br />

ได้ตามปกติ ข้อเทียมมีอายุการใช้งานยาวนาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม<br />

6


+++++ Special Scoop<br />

13 ปีรักษ์ใจไทย<br />

กับหัวใจ 735 ดวง *<br />

“<br />

โลกของเด็กทั่วไปคือบ้านกับโรงเรียน แต่โลกของผมคือโรงพยาบาล<br />

ผมป่วยเป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่เกิด คนเป็นโรคนี้จะเหนื่อยง่าย<br />

แต่คนที่เหนื่อยมากกว่าผมน่าจะเป็นแม่มากกว่า<br />

...ตั้งแต่จำความได้ ผมเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ แม่ต้องขาดงานบ่อย<br />

เพื่อพาผมไปหาหมอ จนหัวหน้าแม่ไม่ค่อยพอใจ และครั้งนี้เป็นครั้งที่<br />

ผมอยู่โรงพยาบาลนานที่สุด แม่ลาออกจากงาน เพื่อมาเฝ้าผมหลังจากที่<br />

หมอตรวจพบว่าโรคหัวใจพิการของผมลุกลามจนไปทำให้ลิ้นหัวใจติดเชื้อด้วย<br />

...บ้านเราไม่ค่อยมีตังค์ แล้วจะเอาเงินที่ไหนมารักษา แต่แม่ไม่ยอมแพ้<br />

ในเมื่อแม่สู้ตาย ผมก็สู้ตายเหมือนกัน สู้เท่าที่ร่างกายของผมจะสู้ไหว<br />

หมอบอกว่าผมต้องผ่าตัดหัวใจและคงอยู่ได้อีกไม่เกิน 2 ปี<br />

...แต่แล้วเราก็โชคดีที่ความช่วยเหลือมาถึงทันเวลา ตอนนี้หัวใจของผม<br />

แข็งแรงแล้ว ของแม่ก็เหมือนกัน”<br />

นี่คือเรื่องราวจากภาพยนตร์สั้น “หัวใจต้องสู้” ที่สร้างจากชีวิตจริงของ<br />

ด.ช.ศรายุธ สัมฤทธิ์ หนึ่งในผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำาเนิดที่ได้รับชีวิตใหม่<br />

หลังการผ่าตัดโรคหัวใจในโครงการ “รักษ์ใจไทย”<br />

ในแต่ละปีมีเด็กไทยป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำาเนิดมากถึง 8,000 คน<br />

ในจำานวนนี้ครึ่งหนึ่งจำาเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ไม่เช่นนั้นเด็กจะเสียชีวิต<br />

หรือเติบโตด้วยร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ เด็กๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดในครอบครัว<br />

ที่มีฐานะยากจน และแม้จะมีโอกาสได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลของรัฐ<br />

แต่ก็ต้องใช้เวลารอนานหลายปี เนื่องจากยังมีผู้ป่วยเด็กที่รอรับการผ่าตัด<br />

อีกมากมายและมีจำานวนสะสมเพิ่มขึ้นทุกปี<br />

ด้วยเหตุนี้โครงการรักษ์ใจไทย โดยมูลนิธิโรงพยาบาลบำารุงราษฎร์และ<br />

โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์จึงได้เริ่มต้นขึ้นเพื่อช่วยผ่าตัดเด็กด้อยโอกาสที่ป่วย<br />

ด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำาเนิดโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายและได้เริ่มดำาเนินการมาตั้งแต่<br />

ปี พ.ศ.2546 <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้มีโอกาสพูดคุยถึงความเป็นมาและความ<br />

คืบหน้าของโครงการฯ กับ นพ.ปรีชา เลาหคุณากร กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน<br />

โรคหัวใจเด็ก หนึ่งในคณะแพทย์ผู้ทำาหน้าที่ผ่าตัดรักษาโรคหัวใจให้กับเด็กๆ<br />

กว่า 700 ชีวิต ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong>: โครงการรักษ์ใจไทยมีความเป็นมาอย่างไร<br />

นพ.ปรีชา: อย่างที่ทราบกันดีว่าเมื่อก่อนนี้โอกาสเข้าถึงการผ่าตัดหัวใจมีน้อย<br />

เพราะมีเด็กป่วยกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการ<br />

ผ่าตัดมีไม่กี่แห่ง ทำาให้เด็กต้องรอคิวผ่าตัดนาน ซึ่งโรคบางโรคนั้นรอไม่ได้<br />

นพ.ปรีชา เลาหคุณากร และ ผศ.พญ.ธรรมบวร เนติ<br />

อย่างโรคที่ทำาให้เส้นเลือดในปอดเสียหาย ถ้าเรารอนานจนเส้นเลือด<br />

เสียหายมากการผ่าตัดก็ช่วยชีวิตเด็กไว้ไม่ได้<br />

ขณะนั้น ศ.นพ.บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ ซึ่งเป็นประธาน<br />

คณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จ<br />

พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส<br />

ราชนครินทร์ เห็นว่าโรงพยาบาลเรามีศักยภาพพอที่จะช่วยเหลือ<br />

มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ได้ เนื่องจากโรคหัวใจในเด็กจำาเป็นต้อง<br />

อาศัยความรู้เฉพาะทางและการทำางานร่วมกันของบุคลากรอย่าง<br />

เป็นระบบ ท่านจึงเสนอเรื่องเข้ามาซึ่งคณะผู้บริหารของโรงพยาบาล<br />

บำารุงราษฎร์ขณะนั้น นำาโดย ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์ ผู้อำานวยการ<br />

ด้านการแพทย์ และ ศ.พญ.อรดี จันทวสุ หัวหน้าแผนกกุมารเวช<br />

ก็เห็นชอบ โครงการรักษ์ใจไทยจึงเกิดขึ้นและได้ร่วมงานกับ<br />

มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ตั้งแต่นั้นมา<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong>: โครงการรักษ์ใจไทยช่วยมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ<br />

อย่างไรบ้าง<br />

นพ.ปรีชา: นอกจากจะช่วยให้เด็กได้รับการผ่าตัดเร็วขึ้นและ<br />

จำานวนเด็กที่รอการผ่าตัดลดลงแล้ว ทางโครงการฯ ยังช่วยได้มาก<br />

8<br />

*ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2559


9


+++++ The Case<br />

ชั ่วโมงชีวิต<br />

ของครอบครัวธนารัตน์สุทธิกุล<br />

ความรู้ ความไม่ประมาท และความมีสติในสถานการณ์<br />

ฉุกเฉิน ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านพ้น<br />

ช่วงเวลาวิกฤติของชีวิตไปได้<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> มีนัดพูดคุยกับ<br />

คุณประไพ กิตติพัฒน์วงศ์ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาล<br />

บ่ายวันเสาร์ของต้นเดือนมิถุนายน<br />

บำารุงราษฎร์ ซึ่งมาพร้อมกับบุตรสาว คุณอรนุช ธนารัตน์สุทธิกุล หรือ<br />

คุณบี เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การเผชิญหน้ากับโรคที่หลายคนเรียกกันว่า<br />

“ฆาตกรเงียบ”<br />

“วันนั้นทุกอย่างปกติหมด ตื่นมาก็ทำางานบ้านเล็กๆ น้อยๆ แต่พอสักบ่ายกว่าๆ<br />

ก็รู้สึกเวียนศีรษะแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ยืนอยู่แล้วจะเซต้องเกาะโต๊ะเอาไว้<br />

เลยโทรศัพท์ไปหาลูกสาว บอกเขาว่าแม่รู้สึกมึนๆ ไม่รู้เป็นอะไร ลูกก็บอกว่าแม่<br />

อย่านอนนะ นั่งนิ่งๆ ก่อน เราก็ตอบรับแล้ววางสาย แต่พอจะยกแขนขวาขึ้นปรากฏ<br />

ว่ายกไม่ได้ ไม่รู้แรงไปไหนหมด ตอนนั้นแหละที่รู้สึกตกใจมาก” คุณประไพ<br />

ซึ่งปัจจุบันอายุ 65 ปี ย้อนเหตุการณ์ของบ่ายวันที่ 19 มกราคม 2559 ให้ฟัง<br />

ด้านคุณบีที่ขณะนั้นขับรถอยู่แถวสี ่แยกราชประสงค์ เล่าว่าระหว่างที่คุยกันนั้น<br />

เธอคิดว่าคุณแม่ของเธอน่าจะมีอาการของโรค<br />

หลอดเลือดสมอง หรือ stroke “นำ้ำเสียงแม่ฟังดู<br />

แปลกๆ เหมือนคนลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด พอดีเคย<br />

อ่านบทความสุขภาพแล้วจำาได้ว่าอาการแบบนี้<br />

ใกล้เคียงกับโรคหลอดเลือดสมอง เลยโทรศัพท์<br />

ถามเพื่อนที่ทำางานอยู่บำารุงราษฎร์ว่าจะมีวิธีดูแล<br />

ตัวเองเบื้องต้นอย่างไร คือเรารู้แค่ว่าน่าจะเป็น<br />

stroke แต่ไม่รู้ว่าจะต้องรีบไปให้ถึงมือแพทย์<br />

ตอนนั้นตั้งใจว่าทำาธุระเสร็จแล้วจะกลับไปดูแม่<br />

แต่เพื่อนบอกว่าไม่ต้องไปไหนแล้ว ให้หยุด<br />

ทุกอย่างแล้วเรียกรถพยาบาลเดี๋ยวนี้เลย”<br />

ภายในเวลาเพียง 20 นาทีโดยประมาณ คุณบี<br />

เล่าว่าเธอกลับไปถึงบ้านย่านสุทธิสารพร้อมกับ<br />

ที่รถพยาบาลของบำารุงราษฎร์มารับคุณแม่พอดี<br />

ภาพที่เห็นตอนนั้นเธอบอกว่า “หัวใจตกไปอยู่ที่<br />

ตาตุ่ม” เนื่องจากคุณประไพมีอาการอ่อนแรงมาก<br />

ไม่สามารถลุกยืนได้เอง และมุมปากตกลงข้างหนึ่ง<br />

ซึ่งแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินที่มารับผู้ป่วยบอก<br />

กับเธอว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรค<br />

หลอดเลือดสมอง<br />

ระหว่างที่อยู่ในรถพยาบาล คุณประไพเล่าว่า<br />

รู้สึกตัวดี แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือความกลัว กลัวเป็น<br />

อัมพฤกษ์อัมพาต ยกแขนขาไม่ได้อีก ขณะที่<br />

คุณบีเสริมว่า “วันนั้นโชคดีมากจริงๆ ที่รถไม่<br />

ติดเลย ระหว่างที่ขับรถตามไปโรงพยาบาลก็ได้รับ<br />

โทรศัพท์จากคุณหมอฤกษ์ชัยเรื ่องอาการของ<br />

คุณแม่และยาที่ต้องฉีด คือช่วงเวลาจากที่รับ<br />

คุณแม่ไปถึงโรงพยาบาลและวินิจฉัยนั้นใช้เวลา<br />

เพียง 45 นาทีเท่านั้นเอง”<br />

ผ่านพ้นวิกฤติ<br />

คุณประไพเล่าว่าเมื่อถึงโรงพยาบาล กระบวนการ<br />

ตรวจเป็นไปอย่างรวดเร็ว หลังจากเอกซเรย์สมอง<br />

แล้วคุณหมอบอกว่าไม่มีเลือดออกในสมองแต่มี<br />

หลอดเลือดตีบเพราะมีลิ่มเลือดไปอุดตันและต้อง<br />

ฉีดยา คุณหมออธิบายทุกอย่างเรียบร้อยดีแล้ว<br />

บอกว่า ใจเย็นๆ หมอใช้ยาตัวนี้แล้วจะดีขึ้น<br />

หลังจากเฝ้าระวังในห้องไอซียู 1 คืน เช้าวัน<br />

รุ่งขึ้นคุณประไพก็สามารถยกแขนขวาขึ้นได้แต่<br />

ยังไม่มากนัก และค่อยๆ ทำาได้ดีขึ้นในวันถัดมา<br />

“ตอนนั้นดีใจมาก สบายใจว่าไม่เป็นอัมพาตแล้ว<br />

เราไม่อยากนอนให้ลูกต้องมาคอยดูแลเพราะ<br />

เขาต้องทำางาน”<br />

10


12


+++++ Sports Medicine<br />

คุณพร้อมแค่ไหนกับ<br />

“ไตรกีฬา”<br />

ไตรกีฬากำาลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มของคน<br />

รักการออกกำาลังกายที่ต้องการความท้าทายมากกว่าเดิม<br />

ถ้าคุณกำาลังวางแผนจะเข้าร่วมแข่งขันไตรกีฬา การเตรียม<br />

ความพร้อมของร่างกายเป็นสิ่งที่ต้องคำานึงถึงเป็นอันดับแรก แต่จะ<br />

เตรียมอย่างไรนั้น <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้มีคำาตอบมาฝากกัน<br />

ว่าย ปั่น วิ่ง วิถีคนเหล็ก<br />

ไตรกีฬา หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า “กีฬาคนเหล็ก”<br />

เป็นการแข่งขันกีฬาสามประเภทต่อเนื่องกัน เริ่มจากว่ายนำ้ำ<br />

ปั่นจักรยาน และสิ้นสุดที่การวิ่ง โดยกีฬาแต่ละประเภทจะมีระยะทาง<br />

และเวลาตัดตัว (cut-off time) กำาหนดไว้ซึ่งจะแตกต่างกันไปตาม<br />

รูปแบบหรือระยะทางของการแข่งขัน<br />

“เสน่ห์ของไตรกีฬาไม่ได้อยู่ที่การได้ทดสอบความแข็งแกร่งของ<br />

ร่างกายและจิตใจเท่านั้น แต่ไตรกีฬายังเป็นกีฬาเพียงไม่กี่ประเภท<br />

ที่ให้โอกาสผู้เข้าแข่งขันทุกคนอย่างเสมอภาค ไม่ว่าจะมือใหม่หรือ<br />

นักกีฬาระดับโลกก็ต้องลงแข่งขันในสนามเดียวกัน ทุกคนได้รับการ<br />

ยอมรับในฐานะของนักกีฬา ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ดี” นพ.วิญญู รัตนไชย<br />

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ พูดถึงกีฬาที่หลายคน<br />

อยากลองสัมผัส<br />

นอกจากนี้ ไตรกีฬายังให้ประโยชน์มากมายกับผู้เล่น ไม่ว่าจะเป็น<br />

ระบบหัวใจและหลอดเลือดที่แข็งแรง กล้ามเนื้อที่ถูกฝึกและพัฒนา<br />

ให้เต็มศักยภาพ หรือสภาพจิตใจที่เข้มแข็ง<br />

ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค และเหนือสิ่งอื่นใดคือ<br />

ความภาคภูมิใจที่สามารถพาตัวเองเข้าสู่เส้นชัย<br />

ได้ในที่สุด<br />

ฝึกได้ ถ้าใจรัก<br />

แม้จะเป็นการออกกำาลังกายที่หนักหน่วง<br />

แต่ไตรกีฬากลับเป็นกีฬาระดับปานกลางที่<br />

สามารถฝึกฝนได้ไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าใด โดย<br />

ไม่จำาเป็นต้องมีทักษะเป็นเลิศทั้งสามประเภทกีฬา<br />

“เราสามารถเอากีฬาที่ถนัดและทำาเวลาได้<br />

ดีที่สุดไปชดเชยกีฬาอีกสองประเภทได้ เช่น<br />

เอาเวลาของจักรยานไปชดเชยการวิ่งหรือว่ายนำ้ำ<br />

แต่ถ้าไม่ถนัดอะไรเป็นพิเศษก็ควรจะว่ายนำ้ำให้ได้<br />

750 เมตร ปั่นจักรยานได้ 20 กิโลเมตร และวิ่งได้<br />

5 กิโลเมตร จากนั้นจึงมาดูเวลาที่กำาหนดในแต่ละ<br />

การแข่งขัน ค่อยๆ ปรับแต่งเวลาให้ดีขึ้น ซึ่งจะ<br />

ใช้เวลานานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของ<br />

แต่ละคน” นพ.วิญญูแนะนำา<br />

โดยทั่วไปแล้ว นักกีฬาที่เคยลงแข่งขันมาบ้าง<br />

หรือฝึกซ้อมอย่างสมำ่ำเสมอจะใช้เวลาประมาณ<br />

14


2-3 สัปดาห์ในการเตรียมลงแข่งขัน แต่หาก<br />

ไม่เคยฝึกหรือลงแข่งมาก่อน อาจต้องใช้เวลาไม่<br />

ต่ำกว่า 6 สัปดาห์สำหรับการแข่งระยะสั้น โดยมี<br />

วิธีเตรียมตัวง่ายๆ คือ เริ่มจากลองจับเวลาที่ใช้<br />

ในกีฬาแต่ละประเภท เช่น ถ้าสามารถวิ่งระยะ<br />

1 กิโลเมตรได้ภายใน 9-10 นาทีโดยไม่เหนื่อย<br />

มากนักก็ถือว่าใช้ได้<br />

สำหรับผู้ที่ไม่มั่นใจว่าร่างกายจะแข็งแรงพอ<br />

ควรเข้ารับการทดสอบการทำงานของหัวใจ<br />

ขณะออกกำลังกายเพื่อหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

ขาดเลือดหรือการตรวจหัวใจโดยการเดินสายพาน<br />

(exercise stress test หรือ EST) ที่โรงพยาบาล<br />

ก่อนการออกกำลังกายหนัก<br />

และถ้าคุณสงสัยว่าตัวเองจะสามารถเข้าร่วม<br />

การแข่งขันไตรกีฬาโดยใช้เวลาไม่เกินกำหนดได้<br />

หรือไม่ นพ.วิญญูมีเกณฑ์คร่าวๆ สำหรับการ<br />

ประเมินสภาพร่างกายตัวเองคือ “สำหรับการ<br />

ลงแข่งในระยะ sprint (ไตรกีฬาระยะใกล้) คุณควร<br />

ว่ายน้ำต่อเนื่อง 100 เมตรได้ภายใน 3 นาที<br />

ปั่นจักรยานได้ประมาณ 23 กิโลเมตรต่อชั่วโมง<br />

และวิ่ง 1 กิโลเมตรโดยใช้เวลา 8-9 นาที”<br />

อาการบาดเจ็บและการป้องกัน<br />

เมื่อเทียบกับกีฬาชนิดอื่นๆ แล้ว ไตรกีฬาเป็น<br />

กีฬาที่พบอาการบาดเจ็บค่อนข้างน้อย เนื่องจาก<br />

16<br />

“ การเตรียมร่างกายให้พร้อม<br />

คือการป้องกันการบาดเจ็บ<br />

ที่ดีที่สุด”<br />

นพ.วิญญู รัตนไชย<br />

ไม่มีการปะทะ ไม่มีคู่ต่อสู้ การบาดเจ็บส่วนใหญ่<br />

จึงมักเกิดจากร่างกายที่ไม่พร้อมของนักกีฬาเอง<br />

ที่พบได้บ่อยคืออาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหรือ<br />

เส้นเอ็นจากการวิ่ง โดยมักเกิดบริเวณเข่า เช่น<br />

เอ็นใต้ลูกสะบ้าอักเสบ (patellar tendinitis)<br />

เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรงพอ ทำให้<br />

เส้นเอ็นรับแรงกระชากได้ไม่ดีเท่าที่ควร<br />

นอกจากนี้ยังมีอาการปวดด้านนอกบริเวณ<br />

เหนือหัวเข่า หรือ iliotibial band (ITB) syndrome<br />

ซึ่งจะเจ็บจากใต้สะบ้ามาทางด้านนอกราว 45<br />

องศาจากลูกสะบ้า มักเกิดกับผู้ที่มีกล้ามเนื้อ ITB<br />

ตึงอยู่ก่อนหรือไม่เคยเป็นนักวิ่งมาก่อน ซึ่งการ<br />

ฝึกยืดกล้ามเนื้อ ITB จะช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บ<br />

ในลักษณะนี้ได้<br />

“การเตรียมร่างกายให้พร้อมคือการป้องกันการ<br />

บาดเจ็บที่ดีที่สุด ดังนั้นการฝึกซ้อมจึงสำคัญมาก<br />

การซ้อมจะช่วยให้เรารู้ว่าจะต้องใช้กล้ามเนื้อ<br />

ส่วนไหนเพื่อจะฝึกส่วนนั้นให้แข็งแรงทนทาน<br />

ประเภทของการแข่งขันไตรกีฬา<br />

ระยะ ว่ายน้ำ (เมตร) จักรยาน (กิโลเมตร) วิ่ง (กิโลเมตร)<br />

Team relay (ผลัด) 250-300 5-8 1.5-2.0<br />

Super sprint distance 250-500 6.5-13.0 1.7-3.5<br />

Sprint distance ไม่เกิน 750 ไม่เกิน 20 ไม่เกิน 5<br />

Standard distance<br />

(Olympic distance)<br />

1,500 40 10<br />

Middle distance 1,900-3,000 80-90 20-21<br />

Long distance<br />

+ Half Ironman (Ironman 70.3)<br />

+ Ironman<br />

ที่มา: สมาคมกีฬาไตรกีฬาแห่งประเทศไทย<br />

1,000-4,000<br />

1,900<br />

3,800<br />

เมื่อใดก็ตามที่คุณฝึกซ้อมจนเกิดความปวดเมื่อย<br />

นั่นหมายถึงสมรรถนะของร่างกายกำลังไต่ระดับ<br />

สูงขึ้น คุณสามารถฝึกไปจนถึงจุดที่เกือบจะ<br />

บาดเจ็บได้ แล้วร่างกายจะซ่อมแซมตัวเองและ<br />

ปรับตัวตาม ที่สำคัญคือต้องพักผ่อนให้เพียงพอ<br />

และฝึกอย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะปรับตัวดีขึ้น<br />

เรื่อยๆ”<br />

อย่างไรก็ตาม การฝึกซ้อมนั้นต้องระวังอย่าให้<br />

บาดเจ็บเสียก่อน “ถ้าซ้อมหนักจนบาดเจ็บ<br />

สภาพร่างกายจะถดถอย ฉะนั้น ถ้ารู้สึกเจ็บต้อง<br />

หยุดทันที ปรับความเร็วให้ช้าลงเพราะไตรกีฬา<br />

เน้นความทนทานไม่ใช่ความเร็ว” นพ.วิญญู<br />

กล่าวในที่สุด<br />

ไตรกีฬาอาจให้ภาพของกีฬาสำหรับยอดมนุษย์<br />

ที่มีร่างกายแข็งแกร่งกว่าคนทั่วไป แต่ใครจะรู้...<br />

คุณก็อาจเป็นคนหนึ่งที่วิ่งเข้าเส้นชัยได้เช่นกัน<br />

หากให้เวลากับการฝึกซ้อม มีร่างกายที่พร้อม<br />

และมีจิตใจที่มุ่งมั่นพอ<br />

100-200<br />

90<br />

180<br />

10.0-42.2<br />

21<br />

42


+++++ Staying <strong>Health</strong>y<br />

โรคงูสวัด<br />

รู้เท่าทัน ป้องกันได้<br />

โรคงูสวัดเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการ<br />

เจ็บป่วยเฉียบพลันในผู้สูงอายุ แต่คุณสามารถ<br />

ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของการเกิดโรคได้<br />

กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า<br />

ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา อุบัติการณ์โรคงูสวัดในประเทศไทย<br />

ตัวเลขล่าสุดจากสำนักระบาดวิทยา<br />

มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มอายุที่พบอัตราป่วย<br />

สูงสุดคือ กลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป สอดคล้องกับข้อมูลจากภาควิชา<br />

เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลที่จัดให้<br />

โรคงูสวัดเป็น 1 ใน 3 โรคติดเชื้อที่สำคัญร่วมกับไข้หวัดและปอดบวม<br />

ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากการติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในผู้ที่มีอายุ<br />

มากกว่า 60 ปี โดยพบได้ราวร้อยละ 20-30 ในประชาชนทั่วไป และ<br />

เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 ในผู้ที่มีอายุถึง 85 ปี<br />

โรคงูสวัดจึงไม่เพียงเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดทรมานให้แก่ผู้ป่วย<br />

เท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายมากกว่าที่คิด<br />

รู้จักกับโรคงูสวัด<br />

พญ.ลิลลี่ ชัยสมพงษ์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ<br />

อธิบายถึงสาเหตุของการเกิดโรคงูสวัดว่าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส<br />

ชนิดเดียวกันกับไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใส เมื่อโรคอีสุกอีใสหายแล้ว<br />

เชื้อไวรัสนี้จะหลบซ่อนอยู่ตามปมประสาทต่างๆ เมื่อใดก็ตามที่ร่างกาย<br />

อ่อนแอ ไวรัสก็จะกำเริบขึ้นมาได้อีก<br />

“เมื่อภูมิต้านทานไม่แข็งแรง ไม่ว่าจะเกิดจากวัยที่เพิ่มมากขึ้น หรือจาก<br />

ปัจจัยอื่นๆ เช่น เป็นโรคเรื้อรัง โรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน หรือโรคที่ต้อง<br />

รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง โอกาส<br />

ที่จะเป็นงูสวัดก็เพิ่มมากขึ้น” พญ.ลิลลี่ กล่าว<br />

18


“ ผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสทุกคน<br />

มีความเสี่ยงต่อการเป็น<br />

โรคงูสวัด หากภูมิคุ้มกัน<br />

ในร่างกายไม่แข็งแรงพอ”<br />

พญ.ลิลลี่ ชัยสมพงษ์<br />

ทั้งนี้ ลักษณะของโรคงูสวัดจะแตกต่างจาก<br />

โรคอีสุกอีใสซึ่งเป็นตุ่มแดงอักเสบเห่อขึ้นมา<br />

ทั้งตัว แต่งูสวัดจะเป็นตุ่มหรือผื่นขึ้นเฉพาะตาม<br />

ปมประสาทที่ไวรัสซ่อนตัวอยู่ โดยขึ้นเป็นแถบ<br />

ตามแนวเส้นประสาทไม่กระจายตัว เริ่มจากเกิด<br />

ตุ่มแดงแล้วจึงกลายเป็นตุ่มนูน ตุ่มใส ในที่สุด<br />

จะแตกและตกสะเก็ด พบได้บ่อยตามลำตัว เอว<br />

หลัง รวมถึงบริเวณใบหน้าและดวงตาซึ่งเป็นกรณี<br />

ที่อันตรายและอาจทำให้ตาบอดได้<br />

อาการปวดแสบปวดร้อน<br />

อาการที่เด่นชัดของโรคงูสวัดนอกเหนือจาก<br />

ตุ่มหรือผื่นผิวหนังก็คือ อาการปวดเส้นประสาทที่<br />

เรียกว่า neuropathic pain คือปวดแสบปวดร้อน<br />

ตามแนวเส้นประสาท บางรายปวดเหมือนโดน<br />

ไฟช็อต รวมถึงเจ็บตามตุ่มเนื่องจากการอักเสบ<br />

“ผู้สูงอายุบางท่านมีอาการปวดมากตั้งแต่เริ่ม<br />

มีตุ่มแดง บางท่านยังไม่มีตุ่มขึ้นเลยแต่มีอาการ<br />

ปวดนำก่อน ยิ่งมีตุ่มมากก็ยิ่งปวดมาก เรียกว่าแค่<br />

สัมผัสกับเสื้อผ้าบางๆ ก็ปวดแล้ว บางท่านนอน<br />

ไม่ได้เพราะนอนท่าไหนก็ปวด เรียกว่าเป็นโรค<br />

ที่ค่อนข้างทรมาน” พญ.ลิลลี่ กล่าวเสริม<br />

นอกจากนี้แล้ว ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะ<br />

แทรกซ้อนของโรคเกิดขึ้นได้ อาทิ การอักเสบติด<br />

เชื้อที่ตุ่มหรือผื่นผิวหนัง และอาการปวดตามแนว<br />

เส้นประสาทหลังเป็นงูสวัดหรือ postherpetic<br />

neuralgia ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้มากถึงร้อยละ<br />

70-80 ในผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป* โดยผู้ป่วย<br />

*ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม<br />

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

จะมีอาการปวดค้างอยู่แม้จะหายจากโรคแล้ว<br />

ก็ตาม โดยอาจปวดเป็นเดือน เป็นปี หรือปวด<br />

ตลอดชีวิต<br />

“อาการปวดตามแนวเส้นประสาทเป็นได้กับ<br />

ทุกคน แต่เราพบมากในผู้สูงอายุเนื่องจากเป็น<br />

กลุ่มที่ป่วยเป็นโรคงูสวัดมากที่สุด เป็นภาวะ<br />

แทรกซ้อนที่รบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย<br />

อย่างมาก เพราะหมดความสุขสบายในชีวิต<br />

บางรายต้องรับประทานยาแก้ปวดชนิดออก<br />

ฤทธิ์แรงซึ่งอาจทำให้ง่วงได้ พอง่วงก็จะหกล้ม<br />

และเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา”<br />

การรักษาและป้องกัน<br />

ในรายที่อาการไม่รุนแรงและไม่มีภาวะแทรกซ้อน<br />

โรคงูสวัดอาจหายได้ภายในหนึ่งสัปดาห์จากการ<br />

รักษาตามอาการ อย่างไรก็ตาม เมื่อทราบว่าเป็น<br />

โรคงูสวัดอย่าปล่อยทิ้งไว้แต่ควรรีบมาพบแพทย์<br />

เพราะยิ่งได้รับยาต้านเชื้อไวรัสเร็วก็จะยิ่งลดความ<br />

รุนแรงของโรคลงได้แม้จะไม่ทั้งหมด<br />

“ผู้ป่วยสูงอายุหลายท่านไม่ทราบว่าตัวเองเป็น<br />

อะไร คิดว่าแพ้หรือเป็นตุ่มแมลงกัดต่อย กว่าจะ<br />

มาพบแพทย์ก็ผ่านไป 3-4 วันแล้วซึ่งอาการจะ<br />

เริ่มรุนแรง กรณีนี้ลูกหลานหรือผู้ดูแลต้องหมั่น<br />

สังเกต หากพบว่ามีตุ่มหรือผื่นบริเวณผิวหนัง<br />

ร่วมกับอาการปวด ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็น<br />

โรคงูสวัด”<br />

และเนื่องจากการรักษาโรคงูสวัดไม่สามารถ<br />

ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ 100% การป้องกัน<br />

โรคจึงเป็นทางเลือกที่แพทย์แนะนำ นั่นคือเข้ารับ<br />

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดซึ่งมีให้บริการแล้ว<br />

ในประเทศไทยและพบว่าสามารถลดอุบัติการณ์<br />

ของโรคได้ถึงร้อยละ 51.3 ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ<br />

ระหว่าง 60-70 ปี*<br />

สำหรับอายุที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนคือ<br />

60 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีของผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือ<br />

มีโรคอื่นๆ ที่ทำให้ภูมิต้านทานไม่แข็งแรง ผู้ป่วย<br />

อาจเข้ารับการฉีดวัคซีนก่อนอายุ 60 ปีก็ได้เช่นกัน<br />

ปัจจุบันวัคซีน 1 เข็มมีประสิทธิภาพในการป้องกัน<br />

โรคได้ดีที่สุดคือประมาณ 10 ปีนับจากวันที่ฉีด<br />

“การฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดนั้นไม่ได้<br />

หมายความว่าจะทำให้ไม่เป็นโรคเลย แต่เป็นการ<br />

ช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคได้กว่าครึ่งและ<br />

ลดความรุนแรงของโรคลงได้” พญ.ลิลลี่ กล่าว<br />

ในท้ายที่สุด<br />

วัคซีนสุขภาพดี<br />

เ<br />

ทางเลือกเพื่อสุขภาพผู้สูงวัย<br />

พราะการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา<br />

คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์ โรงพยาบาล<br />

บำรุงราษฎร์ ปรารถนาให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพ<br />

ดีด้วย โปรแกรมวัคซีนสุขภาพดีสำหรับ<br />

ผู้สูงวัย ซึ่งประกอบไปด้วยวัคซีนที่จำเป็น<br />

ต่อการป้องกันโรคที่พบบ่อยในผู้สูงวัย<br />

อันได้แก่<br />

+ วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด แนะนำให้ฉีด<br />

วัคซีนโรคงูสวัด 1 เข็ม ในผู้ที่มีอายุ<br />

ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป<br />

+ วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก แนะนำให้<br />

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก 1 เข็ม<br />

โดยส่วนใหญ่จะมีภูมิต้านทานอยู่<br />

ประมาณ 10 ปี<br />

+ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แนะนำ<br />

ให้ฉีดเป็นประจำทุกปีในช่วงปลาย<br />

ฤดูฝนถึงช่วงฤดูหนาว<br />

+ แพ็กเกจวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ<br />

แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอด<br />

อักเสบ 2 ชนิด คือ ชนิดคอนจูเกต<br />

13 สายพันธุ์ 1 เข็ม และชนิดโพลี<br />

แซคคาไรด์ 23 สายพันธุ์ 1 เข็ม<br />

ทั้งนี้ คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์<br />

พร้อมให้คำแนะนำในการรับวัคซีนจากแพทย์<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุและ<br />

บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ<br />

เฉพาะทาง<br />

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม<br />

โทร 0 2667 2000<br />

19


+++++ M.D. Focus<br />

รู้จักกับแพทย์บำรุงราษฎร์<br />

เพราะมุ่งมั่นที่จะมอบการดูแลที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

จึงไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเองเพื่อดำรงและสร้างสรรค์ความเป็นเลิศในการ<br />

ให้บริการด้านการแพทย์ และนี่คือส่วนหนึ่งของทีมแพทย์ที่มากด้วยทักษะ<br />

และประสบการณ์ซึ่งพร้อมจะดูแลคุณอย่างรอบด้าน<br />

นพ.สิร สุภาพ<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต<br />

นพ.สิรจบการศึกษาเกียรตินิยมจากคณะ<br />

แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล ก่อนจะไปศึกษาต่อด้านอายุรกรรมโรคไต<br />

ที่ St. John’s Episcopal Hospital และ Emory<br />

University Hospital สหรัฐอเมริกาตามลำดับ<br />

จากนั้นจึงเข้าร่วมงานกับบำรุงราษฎร์ในปี 2544<br />

การรักษาที่รู้สึกประทับใจ<br />

ขอยกตัวอย่าง 2 เคส เคสแรกเมื่อ 10 กว่า<br />

ปีก่อน ผมดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอยู่คน<br />

หนึ่งอายุกว่า 70 ปีแล้ว ผู้ป่วยอยากกลับบ้านมาก<br />

อยากไปเห็นหน้าหลาน แต่ตอนนั้นยังไม่มีแพทย์<br />

ICU และเป็นวันหยุดพอดี ผมก็เอารถโรงพยาบาล<br />

ไปส่งแก นั่งไปกับพยาบาล บีบอุปกรณ์ช่วยหายใจ<br />

ไปตลอดทาง อยู่ที่บ้านกัน 15 นาที มีหลานเล็กๆ<br />

มานั่งร้องไห้ไม่อยากให้กลับไปโรงพยาบาล แต่เรา<br />

อยู่ไม่ได้เพราะที่บ้านไม่มีอุปกรณ์การแพทย์<br />

แต่แค่นั้นผู้ป่วยก็ดีใจมากแล้ว นาทีนั้นผมรู้สึกเลย<br />

ว่าการเป็นหมอเป็นสิ่งที่ดีในชีวิตของผม<br />

เคสที่2 เป็นช่วงที่เกิดเหตุการณ์สึนามิปลายปี<br />

2547 มีผู้ป่วยถูกส่งตัวมาที่บำรุงราษฎร์เยอะ<br />

บางครอบครัวมาเที่ยว 10 คนแต่เหลือรอดเพียง<br />

คนเดียว เป็นเรื่องที่สะเทือนใจมากแต่ก็ได้รับรู้ถึง<br />

ความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรในโรงพยาบาล<br />

เพราะทุกแผนกระดมกำลังมาช่วยกันดูแลผู้ป่วย<br />

อย่างดีมาก ทำให้รู้สึกประทับใจจนถึงทุกวันนี้<br />

การร่วมงานกับบำรุงราษฎร์<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลที่มี<br />

ความพร้อมมาก และเพื่อนร่วมงานเก่งมากทุกคน<br />

ซึ่งการได้ร่วมงานกับคุณหมอเก่งๆ ในหลายสาขา<br />

ทำได้เราได้ความรู้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บำรุงราษฎร์<br />

ยังเปิดโอกาสให้ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการ<br />

รักษาผู้ป่วยและสนับสนุนให้แพทย์ทำงานวิจัย<br />

ผมเองก็สนใจในการทำวิจัยเรื่องใหม่ๆ เช่น<br />

เรื่องสารพิษในประเทศไทย ซึ่งจะมีการตีพิมพ์<br />

เร็วๆ นี้ เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยชาวไทยมีสารพิษ<br />

ตกค้างในร่างกายมากและข้อมูลเหล่านี้ไม่มี<br />

ในต่างประเทศ การทราบสาเหตุก็อาจช่วยเพิ่ม<br />

ทางเลือกในการรักษาได้<br />

ปรัชญาในการทำงาน<br />

สนุกกับงานที่ทำ อย่าเครียดเพราะชีวิตคนเรา<br />

สั้นนัก และต้องมีหิริโอตตัปปะคือมีความละอาย<br />

และเกรงกลัวต่อบาป ซึ่งเป็นหลักธรรมที่จะช่วย<br />

ให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข<br />

ผศ.พญ.พนิดา ดุสิตานนท์<br />

กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตในเด็ก<br />

หลังจบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์<br />

ศิริราชพยาบาล ผศ.พญ.พนิดาได้เดินทางไป<br />

ศึกษาต่อยังประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ<br />

นานถึง 11 ปีก่อนจะกลับมาสอนที่ศิริราช โดย<br />

คุณหมอเป็นแพทย์ไทยที่สอบได้ทั้งอเมริกันบอร์ด<br />

และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่ง<br />

สหราชอาณาจักร (Membership of the Royal<br />

Colleges of Physicians of the United Kingdom)<br />

และได้รับวุฒิบัตรในสาขากุมารเวชศาสตร์ทั้งสอง<br />

สถาบัน ปัจจุบันคุณหมอดำรงตำแหน่งหัวหน้า<br />

ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

การร่วมงานกับบำรุงราษฎร์<br />

หมอร่วมงานกับบำรุงราษฎร์มากว่าสิบปีแล้ว<br />

ที่ตัดสินใจมาก็เพราะงานที่นี่ท้าทาย บำรุงราษฎร์<br />

มีผู้ป่วยต่างชาติค่อนข้างมากและบางรายมีความ<br />

ซับซ้อนสูง เป็นโอกาสดีที่จะได้เอาประสบการณ์<br />

ที่เคยเรียนจากต่างประเทศมาใช้<br />

เหตุใดจึงเลือกเป็นหมอเด็ก<br />

สำหรับหมอแล้ว การได้ติดตามดูพัฒนาการ<br />

ของเด็กๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่<br />

ที่มีคุณภาพถือเป็นความสุข คือไม่ใช่แค่การตรวจ<br />

รักษาแล้วก็จบไปแต่เป็นความผูกพันที่ยาวนาน<br />

หมอมีผู้ป่วยเด็กหลายคนที่ดูแลกันมาตั้งแต่<br />

เขาเกิด จนเรียนจบ แต่งงาน มีครอบครัวแล้วก็ยัง<br />

พาลูกมาหาหมออีก บางคนไปเรียนต่อต่างประเทศ<br />

เวลาไม่สบายก็โทรศัพท์ทางไกลมาปรึกษา<br />

หลายคนแวะเวียนมาไถ่ถามทุกข์สุข ซึ่งเป็นความ<br />

ชื่นใจที่เขายังนึกถึงเรา<br />

หลักคิดในการทำงาน<br />

ผู้ป่วยไม่ใช่ลูกค้าที่เราจะหากำไร และการดูแล<br />

เด็กนั้นต้องให้ความสำคัญกับพ่อแม่ผู้ปกครอง<br />

ด้วย คือต้องมีความจริงใจกับพ่อแม่พูดความจริง<br />

บอกข้อดี ข้อเสียของการรักษา เมื่อเราจริงใจเขา<br />

จะรับรู้และวางใจ แล้วผลการรักษาก็จะออกมาดี<br />

20


ผศ.นพ.วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบ<br />

ต่อมไร้ท่อ (เบาหวาน) และเมตาบอลิสม<br />

ผศ.นพ.วราภณ หัวหน้าหน่วยต่อมไร้ท่อ<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จบการศึกษาจากคณะ<br />

แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้น<br />

ได้เลือกศึกษาต่อเฉพาะทางในสาขาโรคระบบ<br />

ต่อมไร้ท่อ เบาหวาน และเมตาบอลิสม ที่University<br />

of California, Davis School of Medicine<br />

ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนจะกลับมาสอนนิสิต<br />

แพทย์จุฬาฯ กว่า 6 ปี และแม้จะร่วมงานกับ<br />

บำรุงราษฎร์อย่างเต็มตัวตั้งแต่ปี2548 แต่คุณหมอ<br />

ก็ยังคงปลีกเวลาไปทำหน้าที่อาจารย์พิเศษจนถึง<br />

ทุกวันนี้<br />

การทำงานของแพทย์<br />

โรคระบบต่อมไร้ท่อ<br />

โรคหลักๆ ที่เราดูแลอยู่ในขณะนี้เป็นโรค<br />

เบาหวานร้อยละ 60 อีกร้อยละ 20 เป็นเรื่องของ<br />

ไทรอยด์ ส่วนที่เหลือก็เป็นโรคที่เกี่ยวกับต่อม<br />

ใต้สมอง ต่อมหมวกไต เช่น เรื่องความสูง<br />

ความอ้วน กระดูกบาง กระดูกพรุน ดังนั้น ผู้ป่วย<br />

ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องดูแลกันต่อเนื่อง<br />

เป็นเวลานาน บางคนดูแลกันจนอายุ 90 กว่าก็มี<br />

ซึ่งจำเป็น เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาภาวะ<br />

แทรกซ้อน อย่างเบาหวานก็มักจะมาพร้อมกับ<br />

โรคอ้วน ความดัน ไขมันในเลือดสูง บางรายมี<br />

โรคหัวใจ โรคสมองซ่อนอยู่ เมื่อตรวจละเอียดถึง<br />

ได้พบ หลายครั้งที่พบว่ามีเนื้องอกของลำไส้ ปอด<br />

เต้านมร่วมด้วย ซึ่งถ้าไม่ได้ดูกันต่อเนื่องก็อาจจะ<br />

ไม่ได้ตรวจ<br />

การร่วมงานกับบำรุงราษฎร์<br />

ที่นี่เราทำงานเป็นทีม มีทั้งแพทย์ พยาบาล<br />

ด้านโรคเบาหวานโดยเฉพาะ มีโภชนากร เภสัชกร<br />

และนักกายภาพบำบัดมาช่วยกันดูแลผู้ป่วย ซึ่ง<br />

เราทำกันมานานและได้รับการรับรองมาตรฐาน<br />

(Clinical Care Program Certification: CCPC)<br />

ในการรักษาโรคเบาหวานจากองค์กร Joint Commission<br />

International (JCI) สหรัฐอเมริกา เป็นครั้งที่<br />

3 ติดต่อกันแล้วจากการตรวจสอบมาตรฐาน<br />

ทุกๆ 3 ปี ถ้าไม่มีทีมงานที่ดีคงผ่านมาไม่ได้<br />

หลักคิดในการทำงาน<br />

วิชาชีพนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ฉะนั้นต้อง<br />

ทำงานอย่างรอบคอบที่สุดและคิดเสมอว่าเรา<br />

ดูแลผู้ป่วยเหมือนญาติพี่น้องของเราคนหนึ่ง<br />

นอกจากนี้ยังต้องหมั่นหาความรู้เพิ่มเติม เพราะ<br />

สิ่งที่เราเคยรู้ถึงตอนนี้อาจจะล้าสมัยไปแล้ว<br />

สุดท้ายคือต้องเปิดใจรับฟังผู้ป่วย ถ้าเราไม่ฟัง<br />

ก็จะไม่สามารถช่วยเขาได้อย่างเต็มที่<br />

ผศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน<br />

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์<br />

มะเร็งวิทยา<br />

เมื่อพูดถึงแพทย์ผู้ชำนาญการรักษาผู้ป่วย<br />

มะเร็งเต้านม ชื่อของผศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน<br />

เป็นอีกชื่อหนึ่งที่มักได้ยินอยู่เสมอเพราะนอกจากจะ<br />

ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่บำรุงราษฎร์แล้ว คุณหมอ<br />

ยังเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาศัลยศาสตร์เต้านม<br />

และต่อมไร้ท่อ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล<br />

รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งให้การรักษา<br />

และผลิตแพทย์ฝีมือดีจำนวนมากอีกด้วย<br />

การทำงานในฐานะศัลยแพทย์<br />

ด้านมะเร็งเต้านม<br />

การรักษาผู้ป่วยมะเร็งไม่เหมือนการผ่าตัด<br />

รักษาโรคอื่น เพราะเมื่อผู้ป่วยทราบว่าตัวเอง<br />

เป็นมะเร็ง เขาจะรู้สึกว่าแผนการที่วางไว้ในชีวิต<br />

ถูกทำลายไปหมด สภาพจิตใจย่ำแย่ทันที ซึ่ง<br />

แพทย์ต้องมีวิธีจัดการตรงนี้ คือต้องค่อยๆ คุย<br />

หมอจะบอกผู้ป่วยหลายคนว่าในความโชคร้าย<br />

ยังมีโชคดี คือโชคร้ายที่เป็นมะเร็ง แต่โชคดีที่<br />

เป็นมะเร็งเต้านม เพราะวิธีการรักษาในปัจจุบัน<br />

เปลี่ยนไปมากแล้ว ไม่ได้น่ากลัวเหมือนในอดีต<br />

วิธีการรักษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร<br />

สมัยก่อน เมื่อพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม แพทย์<br />

มักจะตัดเต้านมทิ้ง แต่หมอได้มีโอกาสคุยกับ<br />

ผู้ป่วยรายหนึ่งซึ่งเล่าให้ฟังว่าตั้งแต่ตัดเต้านมไป<br />

ความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยาก็ห่างเหินเพราะ<br />

สามีรู้สึกว่าเขาพิการ ตอนนั้นต้องเรียกว่าเป็น<br />

จุดเปลี่ยนของหมอเลย คือคิดว่าต้องทำอะไร<br />

สักอย่าง เลยไปเวิร์คช็อปช่วงสั้นๆ ที่อิตาลีซึ่ง<br />

มีชื่อเสียงเรื่องการเสริมเต้านม และกลายเป็นที่มา<br />

ของการพยายามผ่าตัดแบบเก็บเต้านม ส่วนใน<br />

รายที่เก็บไม่ได้ก็จะทำเต้านมใหม่เสริมให้ใน<br />

คราวเดียว เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น<br />

ปรัชญาในการทำงาน<br />

ประการแรกคือต้องซื่อสัตย์ซื่อตรงในวิชาชีพ<br />

อย่างมะเร็งเต้านม หมอจะบอกว่าถ้าเก็บเต้านม<br />

ได้ให้เก็บ ถ้าเก็บไม่ได้จำเป็นต้องตัด ก็ต้องคุย<br />

กับผู้ป่วยว่าจะเสริมหรือไม่ เราจะไม่ชักชวนให้ตัด<br />

แล้วค่อยเสริมเอา เพราะเป็นการทำเรื่องใหญ่<br />

โดยไม่จำเป็นโดยที่ผลการรักษาใกล้เคียงกัน<br />

ประการที่สองคือในการรักษาต้องมองไปที่ตัว<br />

ผลลัพธ์ว่าสุดท้ายแล้วผู้ป่วยควรจะเป็นอย่างไร<br />

แล้วกำหนดแผนการรักษาตามนั้น สุดท้ายคือ<br />

หมอเชื่อเรื่องการสร้างคน จะพยายามถ่ายทอด<br />

ความรู้หรือเทคนิคการผ่าตัดให้กับทีมงานและ<br />

แพทย์ด้วยกันให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้มาช่วยกัน<br />

ช่วยเหลือผู้ป่วยอีกต่อหนึ่ง<br />

21


+++++ The Nutrition Experts<br />

กินอย่างไร<br />

ให้กระดูกและข้อแข็งแรง<br />

แ<br />

ม้ว่าปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อส่วนใหญ่จะพบได้ทั่วไปในกลุ่มผู้สูงอายุ<br />

แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญหาเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของความชราที่<br />

ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพราะไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด คุณก็ยังสามารถปกป้องกระดูก<br />

และข้อให้คงความแข็งแรงได้ ซึ่งวิธีที่แพทย์แนะนำาคือ สะสมมวลกระดูกให้ได้<br />

มากที่สุดในช่วงวัย 30 และลดการสูญเสียมวลกระดูกให้ได้มากที่สุดหลังจากนั้น<br />

อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจเลยวัยสะสมมวลกระดูกไปแล้ว การออกกำาลังกาย<br />

แบบลงนำ้ำหนักอย่างการเดินหรือวิ่งเหยาะๆ เป็นประจำา ร่วมกับการรับประทาน<br />

อาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีในปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด<br />

เ<br />

เมื่อต้องเสริมแคลเซียม<br />

นื่องจากในแต่ละช่วงวัย ร่างกายหรือสภาวะโรคต่างๆ มีความต้องการแคลเซียม<br />

ไม่เท่ากัน ดังนั้นเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด ควรปฏิบัติดังนี้<br />

+ ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนว่าคุณมีความจำาเป็นต้องได้รับแคลเซียม<br />

จากแหล่งอื่นเพิ่มเติมจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน<br />

+ เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีอนุมูลแคลเซียมเพียงพอและเหมาะสมทั้งรูปแบบและ<br />

ปริมาณ เนื่องจากในท้องตลาดมีหลายรูปแบบ<br />

- เลือกรูปแบบที่เหมาะสม ทั้งแบบที่เป็นชนิดเม็ด ชนิดแคปซูล และเม็ดฟู่<br />

ละลายนำ้ำเหมาะสำาหรับผู้มีปัญหาในการรับประทาน<br />

- เลือกปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอและเหมาะสม ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์มี<br />

ความแตกต่างในรูปของเกลือของแคลเซียมชนิดต่างๆ เช่น แคลเซียม<br />

คาร์บอเนต แคลเซียมซิเทรต ไตรแคลเซียมฟอสเฟต แคลเซียมกลูโคเนต<br />

และแคลเซียมแล็กเทต เป็นต้น แต่ละชนิดจะให้ปริมาณแคลเซียม<br />

แตกต่างกัน และมีการดูดซึมแตกต่างกัน ซึ่งแพทย์และเภสัชกรควรจะต้อง<br />

เป็นผู้คำานวณให้และเลือกอย่างเหมาะสม<br />

- ผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินดีอยู่ด้วยจะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย<br />

มากขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ วิตามินดีทำาหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมน เพราะจะ<br />

คอยควบคุมสมดุลของแคลเซียมในร่างกายให้เป็นปกติ ซึ่งมีความสำาคัญ<br />

ต่อการทำางานของกล้ามเนื้อต่างๆ เมื่อใดที่แคลเซียมในเลือดลดตำ่ำ<br />

วิตามินดีจะทำางานโดยกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารหรือการ<br />

สลายแคลเซียมจากกระดูก<br />

ในการชดเชยเนื้อกระดูกที่สูญเสียไป โดยปริมาณความต้องการ<br />

แคลเซียมและวิตามินดีที่เพียงพอต่อวันจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย<br />

ทั้งนี้อาหารที่ให้แคลเซียมสูง ได้แก่ นม โยเกิร์ต ชีส ปลาตัวเล็กทอด<br />

กุ้งแห้ง ผักคะน้า ใบยอ ดอกแค เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง และงาดำา<br />

ส่วนวิตามินดีนั้นนอกจากจะได้รับจากแสงแดดแล้ว ยังพบได้ในนม<br />

เสริมวิตามินดี นำ้ำมันตับปลา ไข่แดง และปลาทะเลชนิดต่างๆ<br />

เพราะปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อนั้นบั่นทอนคุณภาพชีวิตของ<br />

ผู้ป่วยอย่างมาก การเสริมสร้างกระดูกและข้อให้แข็งแรงจึงสำาคัญ<br />

และจำาเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่ว่าคุณจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและมี<br />

ความสุขในทุกช่วงวัย<br />

ปริมาณแคลเซียมและวิตามินดีที่ควรได้รับในแต่ละวัน สำหรับคนไทย<br />

ช่วงอายุ<br />

(ปี)<br />

แคลเซียม<br />

(มิลลิกรัม/วัน)<br />

วิตามินดี<br />

( IU/วัน)<br />

1 - 3 500 200<br />

4 - 8 800 200<br />

9 - 18 1,000 200<br />

19 - 50 800 200<br />

51 ปีขึ้นไป 1,000 400<br />

ที่มา: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข<br />

+ ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมมีข้อควรระวังที่สำาคัญในการรับประทาน<br />

ดังนี้<br />

- ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมจะลดการดูดซึมของยาบางชนิดเมื่อ<br />

ได้รับพร้อมกันหรือห่างกันน้อยกว่า 2 ชั่วโมง เช่น ยาปฏิชีวนะ<br />

ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุบางชนิด ยาลดความดัน เป็นต้น<br />

- อาจทำาให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารและทำาให้ท้องผูกได้<br />

จึงควรรับประทานพร้อมผักและผลไม้ที่มีกากใย พร้อมทั้งดื่มนำ้ำ<br />

ตามมากๆ<br />

การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมที่ปริมาณมากเกินไปหรือ<br />

รูปแบบไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย ดังนั้นไม่ควรซื ้อ<br />

รับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งและปฏิบัติ<br />

ตามอย่างเคร่งครัด<br />

22


พื้นที่ประชาสัมพันธ์พิเศษ<br />

โรคอ้วน<br />

ดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิต<br />

ของคนไทย<br />

วิ<br />

ถีชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบันเป็นปัจจัยหนึ่ง<br />

ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คน<br />

เป็นอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน<br />

คือการเพิ่มขึ้นของจำานวนผู้ป่วยโรคอ้วนในช่วงปี<br />

พ.ศ. 2551-2555 โดยพบว่าในกลุ่มคนทำางาน<br />

อายุระหว่าง 20-29 ปี มีผู้ป่วยโรคอ้วนเพิ่มขึ้น<br />

เฉลี่ยราวร้อยละ 36 ในกลุ่มผู้ชาย และร้อยละ 47<br />

ในกลุ่มผู้หญิง<br />

ปัจจุบันการรักษาโรคอ้วนที่ได้รับความนิยม<br />

ได้แก่ ศัลยกรรม การดูดไขมัน และการลดนำ้ำหนัก<br />

แบบหักโหม อย่างไรก็ตาม วิธีเหล่านี้เป็นเพียง<br />

การแก้ปัญหาโรคอ้วนในระยะสั้นเท่านั้น แต่การ<br />

เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดโรคตลอดจนระบบ<br />

การเผาผลาญและการทำางานของร่างกายอย่าง<br />

ถ่องแท้นั้นจะทำาให้สามารถแก้ปัญหาโรคอ้วนได้<br />

ในระยะยาวและมีผลกระทบต่อร่างกายน้อยที่สุด<br />

“ผู้ป่วยที่เข้ามาปรึกษาเรื่องสุขภาพนั้นมี<br />

มากกว่าครึ่งที่มาเพราะโรคอ้วนและต้องการที่จะ<br />

ลดความอ้วน โดยมีจำานวนเพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่า<br />

เมื่อเทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมา ขณะที่อายุเฉลี่ย<br />

ของผู้ป่วยน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด” นพ.สมบูรณ์<br />

รุ่งพรชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์<br />

ชะลอวัย สูตินรีเวชวิทยา เวชศาสตร์การกีฬา<br />

เพื่อสุขภาพและการลดน้ำหนัก ศูนย์ส่งเสริม<br />

สุขภาพไวทัลไลฟ์ กล่าว<br />

นอกจากนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังมีปัญหาในเรื่อง<br />

ของสัดส่วน สมรรถภาพและการเคลื่อนไหวร่วมด้วย<br />

“ดังนั้น เราจึงนำาปัจจัยทุกอย่างมารวมกันเพื่อ<br />

วิเคราะห์ถึงสาเหตุและแก้ไขปัญหาให้กับผู้ป่วย<br />

อย่างตรงจุด โดยพัฒนาเป็นโปรแกรมลดนำ้ำหนัก<br />

เพื่อสุขภาพสำาหรับผู้ป่วยแต่ละรายที่สามารถ<br />

แก้ปัญหาเรื่องความอ้วนได้ทั้งในระยะสั้นและ<br />

ระยะยาว” นพ.สมบูรณ์ กล่าวเสริม<br />

สำาหรับการตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุของ<br />

โรคอ้วนนั้น จะเริ่มด้วยโปรแกรมการตรวจร่างกาย<br />

อย่างละเอียดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนที่ส่งผลต่อ<br />

นำ้ำหนักของผู้ป่วย เช่น ฮอร์โมนอินซูลินและ<br />

ฮอร์โมนเอสโตรเจน ก่อนจะจัดโปรแกรมสุขภาพ<br />

แบบองค์รวม (holistic approach) ที่ผสมผสาน<br />

การป้องกันและรักษาทั้งในด้านการควบคุมอาหาร<br />

และออกกำาลังกายเข้าไว้ด้วยกัน ควบคู่ไปกับการ<br />

รับประทานอาหารเสริมและแร่ธาตุจำาเป็นต่างๆ<br />

เช่น โครเมียม วาเนเดียม ไฟเบอร์ ในปริมาณ<br />

ที่เหมาะสมเพื่อการลดปริมาณไขมันสะสมใน<br />

ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ<br />

“หมอจะแนะนำาให้ผู้ป่วยออกกำาลังกายแบบ<br />

เผาผลาญไขมันในระยะสั้น 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์<br />

เพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนอินซูลินให้เป็นปกติ<br />

รวมถึงแนะนำาให้รับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ฉีดสาร<br />

เร่งโตและผักผลไม้ปลอดสารพิษเพื่อหลีกเลี่ยง<br />

สารเคมีที่จะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน<br />

ในร่างกาย และทำาให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทำางาน<br />

ได้อย่างเป็นปกติ”<br />

ทั้งนี้ โปรแกรมสุขภาพแบบองค์รวมจะช่วย<br />

ให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงสุขภาพที่ดีขึ้นได้ตั้งแต่เดือนแรก<br />

และจะดีขึ้นเรื่อยๆ ในอีก 2 เดือนถัดมา ซึ่งจะช่วย<br />

สร้างกำาลังใจให้กับผู้ป่วยในการควบคุมนำ้ำหนัก<br />

ในระยะยาว<br />

นพ.สมบูรณ์ ยังกล่าวต่อไปอีกว่า “ปัญหาเรื่อง<br />

โรคอ้วนของคนไทยที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันนั้น ขึ้นอยู่<br />

กับวิถีการดำาเนินชีวิตของแต่ละคน ทั้งนี้การปรับ<br />

เปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องของการรับประทาน<br />

อาหารและการออกกำาลังกายอาจเป็นเรื่องยาก<br />

ดังนั้นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบ<br />

ของการดำาเนินชีวิตที่มีต่อสุขภาพและแนวทาง<br />

การแก้ปัญหาอาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้คน<br />

หันมาใส่ใจเรื่องนำ้ำหนักและสุขภาพของตัวเอง<br />

ได้มากขึ้น”<br />

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)<br />

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ www.vitallife-international.com หรือโทร 0 2667 2340<br />

24


+++++ <strong>Health</strong> Briefs<br />

วิ่งทน วิ่งไกล<br />

ช่วยให้กระดูกแข็งแรง<br />

นักวิจัยจากสเปนวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการ<br />

ฝึกวิ่งระยะไกลที่มีต่อความแข็งแรงของกระดูก<br />

และพบว่ายิ่งวิ่งไกล ยิ่งส่งผลดีต่อกระดูก<br />

สำหรับผู้ที่สุขภาพดีนั้น การจะดูว่ากระดูก<br />

แข็งแรงหรือไม่ต้องดูจากความหนาแน่นของ<br />

กระดูกซึ่งแตกต่างกันด้วยปัจจัย เช่น เพศ อายุ<br />

เชื้อชาติ และการรับประทานอาหาร และสามารถ<br />

พัฒนาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น<br />

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ<br />

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร European Journal<br />

of Applied Physiology นำโดยนักวิจัยจาก<br />

มหาวิทยาลัย Camilo José Cela University<br />

(UCJC) ศึกษานักวิ่งที่เตรียมตัวลงแข่งวิ่งระยะไกล<br />

(10 กิโลเมตรขึ้นไป) เปรียบเทียบกับกลุ่มคนวัย<br />

เดียวกันที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย พบว่าคุณสมบัติ<br />

เชิงกล อันได้แก่ ความแข็งแรง ความทนทาน<br />

และความยืดหยุ่นของผู้ที่เข้ามาฝึกซ้อมเตรียมวิ่ง<br />

ระยะไกลเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นโดยวัดจากค่า<br />

ความหนาแน่นของกระดูก<br />

วิธีออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมวลกระดูกตามที่เรา<br />

ทราบกันดีก็คือ การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก<br />

หรือการออกกำลังกายแบบที่มีแรงกระแทกสูง<br />

อย่างเช่น การกระโดด แต่การวิ่งระยะไกลอย่าง<br />

ต่อเนื่องยาวนานก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ซึ่งต้องมี<br />

การศึกษาต่อไปว่าเพราะเหตุใดการวิ่งระยะไกลจึง<br />

ช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้ทั้งๆ ที่ไม่มีการลงน้ำหนัก<br />

หรือใช้แรงกระแทกสูงแต่อย่างไร<br />

26<br />

ภาวะซึมเศร้าของแม่<br />

มีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อย<br />

นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Florida<br />

Atlantic University ได้ทำการศึกษาเรื่องภาวะ<br />

ซึมเศร้าในคุณแม่มือใหม่โดยศึกษาความเชื่อมโยง<br />

ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับระดับฮอร์โมนออกซิโทซิน<br />

หรือ ‘ฮอร์โมนแห่งความรัก’<br />

นักวิจัยตามศึกษากลุ่มตัวอย่างนับตั้งแต่<br />

ตั้งครรภ์จนถึง 6 เดือนหลังคลอด โดยไปเก็บข้อมูล<br />

ที่บ้าน ศึกษาตัวอย่างปัสสาวะของแม่และลูก และ<br />

พบว่าระดับฮอร์โมนออกซิโทซินในแม่และลูกน้อย<br />

มีความสอดคล้องกันนั่นคือ หากแม่มีฮอร์โมน<br />

ดังกล่าวสูง ลูกก็จะมีฮอร์โมนในระดับสูงด้วย<br />

เช่นกัน ทั้งนี้เป็นผลจากการสัมผัส ป้อนนม และ<br />

มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน<br />

ในแง่นี้หากแม่มีภาวะซึมเศร้าก็ส่งผลถึงลูกด้วย<br />

นักวิจัยยืนยันเรื่องนี้ด้วยการวัดคลื่นสมองของ<br />

ทารก ดูการสื่อสารกันของสมองทั้งสองซีกซึ่ง<br />

เกี่ยวข้องกับอารมณ์และการเรียนรู้ สิ่งที่ค้นพบคือ<br />

กิจกรรมของสมองในทารกเหล่านี้มีรูปแบบ<br />

คล้ายคลึงกันกับของแม่ที่มีภาวะซึมเศร้า นั่นคือ<br />

ติดอยู่กับอารมณ์ด้านลบและไม่ตอบสนองต่อ<br />

สิ่งกระตุ้น<br />

งานวิจัยชิ้นนี้ยืนยันว่าคุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้า<br />

จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม แม้ว่า<br />

ภาวะซึมเศร้าอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยแต่<br />

ทั้งหมดก็สามารถแก้ไขและรักษาได้<br />

สมองอ่อนวัย<br />

เพราะหัวใจแข็งแรง<br />

คุณทราบหรือไม่ว่าการออกกำลังกายไม่เพียง<br />

ดีกับหัวใจเท่านั้น แต่ยังดีกับสมองอีกด้วย<br />

งานวิจัยล่าสุดได้เผยความเชื่อมโยงของสมอง<br />

และหัวใจในผู้สูงอายุกล่าวคือ การมีสุขภาพหัวใจ<br />

และหลอดเลือดดีช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้<br />

เพราะการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นแรง<br />

ขึ้นนั้นนอกจากจะทำให้สมองได้รับออกซิเจน<br />

มากขึ้นแล้ว ยังช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเซลล์<br />

และหลอดเลือดใหม่ภายในสมองอีกด้วย<br />

ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Neurology<br />

อ้างอิงข้อมูลจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ<br />

ตั้งแต่65 ปีขึ้นไปกว่า 800 ราย ระบุว่าระดับความ<br />

แข็งแรงของหัวใจเกี่ยวพันกับความสามารถใน<br />

การคิด ความทรงจำ การเคลื่อนไหว และความ<br />

สามารถในการจัดการ ขณะที่งานวิจัยอีกชิ้น<br />

จากวารสาร Neuroimage ให้กลุ่มตัวอย่างเข้า<br />

เครื่องสแกนสมอง functional MRI ซึ่งตรวจจับ<br />

การตอบสนองของสมองขณะใช้งาน พบว่าผู้ที่มี<br />

หัวใจแข็งแรงมีสัญญาณความเชื่อมโยงของสมอง<br />

ชัดเจนกว่า โดยเฉพาะบริเวณสมองส่วนหน้าที่<br />

เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ<br />

หากคุณมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปและมีปัญหา<br />

สุขภาพ พยายามออกกำลังกายเท่าที่พอจะทำได้<br />

เพื่อสุขภาพหัวใจและสมองที่สดใสของคุณเอง


+++++ Q & A<br />

Q: หลานสาวเพิ่งเข้าโรงเรียนอนุบาล มีปัญหา<br />

ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ จะมีทาง<br />

ป้องกันได้หรือไม่คะ<br />

A: ปัญหานี้พบได้บ่อยในเด็กเล็กที่เพิ่งไปโรงเรียน<br />

โดยเฉพาะในเด็กผู้หญิงซึ่งมีความแตกต่างทาง<br />

สรีระ เพราะเมื่อเด็กไม่คุ้นเคยกับห้องน้ ำ เขาจะกลั้น<br />

ปัสสาวะ ยิ่งถ้าห้องน้ำไม่สะอาดเหมือนที่บ้านก็จะ<br />

ยิ่งรังเกียจแล้วไม่ยอมเข้า บางคนพยายามดื่มน้ำ<br />

น้อยๆ เพื่อจะได้ไม่ปวดปัสสาวะซึ่งทำให้ติดเชื้อ<br />

ได้ง่าย หรือบางครั้งเด็กยังไม่รู้จักวิธีท ำความสะอาด<br />

หลังขับถ่ายทำให้หมักหมมเกิดการติดเชื้อตามมาได้<br />

วิธีป้องกันคือต้องบอกเด็กว่าสาเหตุของโรค<br />

เกิดจากอะไร สอนว่าอย่ากลั้นปัสสาวะและต้อง<br />

ดื่มน้ำให้มากขึ้น หลังการขับถ่ายก็ต้องชำระล้าง<br />

ให้ถูกวิธีจะได้ไม่ต้องมาหาหมออีก ซึ่งส่วนใหญ่<br />

เด็กจะเข้าใจ ส่วนผู้ปกครองก็ควรอาบน้ ำให้เด็กทันที<br />

ที่ถึงบ้าน อย่าปล่อยให้หมักหมมต่อ เท่านี้ก็จะช่วย<br />

ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ค่ะ<br />

ผศ.พญ.พนิดา ดุสิตานนท์ กุมารแพทย์<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตในเด็ก<br />

ปัญหาสุขภาพจำเป็นต้องได้รับคำตอบจากแพทย์และผู้เชี ่ยวชาญ<br />

เฉพาะทางเท่านั้น ไม่ว่าปัญหาของคุณจะเป็นอะไร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong><br />

มีคำตอบที่คุณวางใจในความถูกต้องได้เสมอ<br />

Q: ทราบว่าปัจจุบันแพทย์สามารถผ่าตัดรักษา<br />

มะเร็งเต้านมพร้อมๆ กับเสริมเต้านมใหม่ได้<br />

ในคราวเดียว ไม่ทราบว่าวิธีนี้มีข้อจำกัดหรือ<br />

มีผลข้างเคียงในระยะยาวหรือไม่คะ<br />

A: ก่อนอื่นต้องเรียนว่า การเสริมเต้านมให้กับ<br />

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมนั้นทำได้ 2 วิธีคือ ใช้เนื้อตัวเอง<br />

เช่น บริเวณท้องน้อยหรือหลัง กับการใช้ซิลิโคน<br />

ซึ่งทั้งสองวิธีก็มีข้อจำกัดต่างกัน เช่น การใช้เนื้อ<br />

บริเวณท้องน้อยไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัว<br />

มากเกินไปจนเป็นโรคอ้วน เป็นโรคเบาหวาน<br />

หรือมีปัญหาหลอดเลือด เพราะอาจเกิดอาการ<br />

แทรกซ้อนได้ หรือกรณีใช้เนื้อที่หลัง ถ้าคนผอม<br />

มากมักจะได้เนื้อมาน้อยทำให้รูปร่างไม่สมดุล<br />

ส่วนการใช้ซิลิโคนนั้นไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีก้อน<br />

มะเร็งขนาดใหญ่ มีขนาดเต้านมใหญ่ หรือผู้ป่วย<br />

ที่มีข้อบ่งชี้ว่าต้องฉายแสงหลังการผ่าตัด ในบาง<br />

รายอาจจำเป็นต้องใช้เนื้อตัวเองร่วมกับซิลิโคน<br />

ส่วนผลข้างเคียงนั้น เนื่องจากเป็นการผ่าตัด<br />

ใหญ่ที่ใช้เวลานานกว่าปกติ โอกาสติดเชื้อหรือมี<br />

เลือดออกก็จะมากตามไปด้วย ดังนั้นจึงไม่เหมาะ<br />

กับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายโรค หรือผู้ป่วย<br />

สูงอายุ และในกรณีของการใช้ซิลิโคนนั้น ในระยะ<br />

ยาวอาจมีปัญหาพังผืดเช่นเดียวกับการเสริม<br />

เต้านมเพื่อความงาม นอกจากนี้ การที่ต้องตัดเนื้อ<br />

เต้านมของผู้ป่วยออกทั้งหมดทำให้เหลือผิวหนัง<br />

ค่อนข้างบาง เมื่อใส่ซิลิโคนเข้าไปก็จะไม่ได้<br />

รูปลักษณ์และสัมผัสที่เป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม<br />

ผู้ป่วยต้องเข้าใจว่าหลักการของเราคือ ความ<br />

ปลอดภัยจากโรคมะเร็งต้องมาก่อนความสวยงาม<br />

ผศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน ศัลยแพทย์<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา<br />

Q: ผมเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจุบันไม่ได้<br />

อ้วนมาก แต่คุณหมอก็บอกให้ลดน้ำหนัก ซึ่งผม<br />

ยังลดไม่ได้สักที ถ้าปล่อยให้น้ำหนักเกินต่อไป<br />

จะเป็นอันตรายหรือไม่ และถ้าลดจะต้องลดลง<br />

มากแค่ไหนครับ<br />

A: ไม่ได้อ้วนมากก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจว่าไม่มี<br />

ปัญหานะครับ เพราะบางครั้งไขมันก็อยู่ในพุง<br />

ซึ่งอันตรายกว่าไขมันส่วนอื่นเสียอีก เพราะฉะนั้น<br />

คนอ้วนลงพุงจะอันตรายกว่าคนอ้วนที่สะโพก เช่น<br />

มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่า<br />

การที่คุณหมอแนะนำให้ลดน้ำหนักก็แสดงว่า<br />

น้ำหนักเกิน ซึ่งเป็นบ่อเกิดของโรคมากมาย เช่น<br />

โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคสมอง โรคไขมัน<br />

ในเลือด โรคความดันโลหิตสูง ไขมันเกาะตับ<br />

ทำให้ตับแข็ง ตามมาด้วยโรคข้อ ปวดเมื่อยเนื้อตัว<br />

เรียกว่าความอ้วนนำพามาได้ทุกโรค แต่จะต้อง<br />

ลดลงแค่ไหนก็ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป<br />

การแก้ไขโรคอ้วนต้องอาศัยพลังใจของ<br />

ผู้ป่วยเอง คนรอบข้างจะบอกจะบังคับอย่างไร<br />

ก็ไม่มีทางสำเร็จถ้าผู้ป่วยไม่ตั้งใจจริง แต่ถ้า<br />

ตั้งใจจริงและต้องการคนช่วย แพทย์ช่วยได้<br />

แน่นอนครับ เรามีโปรแกรมลดน้ำหนักเพื่อป้องกัน<br />

โรคเบาหวานและความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ<br />

มีเครื่องมือที่จูงใจให้ผู้ป่วยปฏิบัติตาม ซึ่งเมื่อ<br />

เริ่มทำได้ก็จะมีกำลังใจที่จะทำต่อไป<br />

ผศ.นพ.วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบต่อมไร้ท่อ<br />

(เบาหวาน) และเมตาบอลิสม<br />

28


+++++ Bumrungrad News<br />

บำรุงราษฎร์จัดกิจกรรม<br />

“<strong>Health</strong>y Joint (ข้อเข่าคืนสุข)”<br />

นอ.พิเศษ นพ.จำรูญเกียรติ ลีลเศรษฐพร ผู้อำนวยการศูนย์ผ่าตัด<br />

เปลี่ยนข้อเทียมและประธานโครงการผ่าตัดข้อเข่าเทียมฯ นพ.นำ<br />

ตันธุวนิตย์ ผู้อำนวยการด้านบริหารและกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาล<br />

บำรุงราษฎร์ พร้อมด้วยคณะแพทย์และผู้บริหารโรงพยาบาลฯ ร่วมจัด<br />

กิจกรรม “<strong>Health</strong>y Joint (ข้อเข่าคืนสุข)” ให้ความรู้แก่ประชาชน<br />

เรื่องข้อเข่าเสื่อม ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อสานต่อ<br />

“โครงการผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และแขน<br />

หุ่นยนต์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี ทรงพระชนมายุ 60 พรรษา” ซึ่งเป็นหนึ่งใน<br />

โครงการตอบแทนสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้เป็น<br />

ไปอย่างมีประสิทธิภาพ หายจากความเจ็บปวด และสามารถกลับไปใช้<br />

ชีวิตประจำวันได้ดังเดิม พร้อมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึง<br />

อันตรายจากโรคข้อเข่าเสื่อมและวิธีปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคดังกล่าว<br />

ทั้งนี้โรงพยาบาลฯ เปิดรับสมัครผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อม<br />

เข้าร่วมโครงการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย<br />

บุคคลในภาพ (จากซ้ายไปขวา) 1,2 ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่เข้าร่วมโครงการ 3. พล.ท. นพ.ด ำรงค์<br />

ธนะชานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมอาวุโส โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

4. นอ.พิเศษ นพ.จำรูญเกียรติ ลีลเศรษฐพร ผู้อำนวยการศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม และ<br />

ประธานโครงการผ่าตัดข้อเข่าเทียมฯ 5. นพ.นำ ตันธุวนิตย์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร<br />

และกรรมการมูลนิธิ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 6. ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่เข้าร่วมโครงการ<br />

7. รศ.นพ.สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์<br />

บำรุงราษฎร์จัดงาน<br />

“<strong>Health</strong> Fair 2016: A <strong>Better</strong> You”<br />

เมื่อเร็วๆ นี้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้จัดงาน “<strong>Health</strong><br />

Fair 2016: A <strong>Better</strong> You” ขึ้น ณ บริเวณชั้น G อาคาร<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และชั้น 10 Sky Lobby อาคาร<br />

บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก โดยภายในงาน<br />

ประกอบด้วยนิทรรศการให้ความรู้ การบรรยายเคล็ดลับ<br />

เพื่อสุขภาพจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ‬ในสาขาต่างๆ<br />

การแนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการรักษา พร้อมนำเสนอ<br />

แพ็กเกจตรวจสุขภาพแบบเอ็กซ์คลูซีฟและบริการ‎ตรวจ<br />

สุขภาพเบื้องต้น‬โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ในช่วง<br />

สัมมนาเรื่องประโยชน์ของนมแม่ต่อคุณแม่และลูกน้อย<br />

คุณเปิ้น ธันยาธนัส วงษ์สวัสดิ์ปภา (คุณเปิ้ล ภารดี) ดารา<br />

นักแสดง ยังได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในฐานะคุณแม่<br />

มือใหม่อีกด้วย‬<br />

“เดวิด ฟอสเตอร์” เยือนบำรุงราษฎร์<br />

เพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด<br />

เดวิด ฟอสเตอร์ ศิลปินนักร้องระดับโลก เยือนโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในโอกาสที่<br />

โรงพยาบาลครบรอบ 36 ปี พร้อมให้กำลังใจเด็กยากไร้ที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจภายใต้โครงการ<br />

“รักษ์ใจไทย” โดยมูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ร่วมกับ<br />

มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา<br />

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 เป็นต้นมา มีเด็กที่ป่วยด้วย<br />

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำนวนมากถึง 735 รายได้รับชีวิตใหม่จากการผ่าตัดรักษาโรค<br />

ภายใต้โครงการ “รักษ์ใจไทย”<br />

นพ.นำ ตันธุวนิตย์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า แม้การ<br />

มาเยือนประเทศไทยครั้งนี้จะมีกำหนดการที ่แน่นมาก แต่เดวิดก็ยินดีสละเวลามาเยี ่ยมน้องๆ<br />

ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดหัวใจที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ รวมถึงน้องๆ ที่ผ่านการผ่าตัดและ<br />

กลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติกับครอบครัว พร้อมกับได้พบปะพูดคุยกับทีมแพทย์หลากสาขา<br />

ในโครงการ ได้แก่ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจในเด็ก กุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและ<br />

ปริกำเนิด ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก วิสัญญีแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญทุกฝ่ายอีกด้วย<br />

30

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!