30.11.2016 Views

Better Health magazine

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

รศ.นพ.สมศักดิ์ เชาว์วิศิษฐ์เสรี<br />

ผู้อำนวยการด้านการแพทย์<br />

Contributing Editor<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> นิตยสารสำหรับผู้มีอุปการคุณของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กลับมาพบกันครั้งนี้<br />

เป็นฉบับที่36 พร้อมๆ กับการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 36 ปีของการก่อตั้งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

พอดีครับ ดังนั้นนอกเหนือจากสาระเพื่อสุขภาพเช่นเคยแล้ว เราขออนุญาตใช้พื้นที่ในฉบับนี้นำเสนอ<br />

บทความพิเศษว่าด้วยเรื่องราวของโรงพยาบาลนับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันเพื่อให้คุณได้รู้จักกับเรา<br />

มากขึ้นกว่าเดิม<br />

สำหรับบทความอื่นๆ นั้น เรามีเรื่องของสุขภาพหัวใจโดยเฉพาะผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่ง<br />

แพทย์พบว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันผลข้างเคียงของโรคซึ่งมีความรุนแรงได้ส่วนจะเป็นอะไรนั้น<br />

ติดตามได้ในหน้า 12 ครับ นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการออกกำลังกายในฟิตเนสให้ปลอดภัย การเลือก<br />

รับประทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาล และคอลัมน์ประจำที่อัดแน่นไปด้วยสาระดีๆ อีกเช่นเคย<br />

และหากคุณผู้อ่านมีคำแนะนำหรือคำติชมใดๆ กรุณาส่งมาที่ betterhealth@bumrungrad.com<br />

เรายินดีน้อมรับด้วยความขอบคุณ<br />

12<br />

สารบัญ<br />

4<br />

Special<br />

Scoop<br />

36 ปีบำรุงราษฎร์<br />

เชิดชูอดีต เฉลิมฉลองปัจจุบัน<br />

ก้าวย่างสู่อนาคต<br />

Cardiac Arrhythmias<br />

ผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

กับนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า<br />

16 Sports Medicine<br />

ฟิตเนส เล่นอย่างไรไม่ให้บาดเจ็บ<br />

20 The Case<br />

เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน<br />

วันร้ายที่คาดไม่ถึงของ คุณทศพร หงสนันทน์<br />

22 M.D. Focus<br />

รู้จักกับแพทย์บำรุงราษฎร์<br />

26 <strong>Health</strong> Briefs<br />

28 Q & A<br />

30 Bumrungrad News<br />

นิตยสาร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> เป็นนิตยสารรายสี่เดือนของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อแจกจ่ายเป็นการภายใน<br />

จัดทำและจัดพิมพ์โดย บริษัท เนทีฟ มีเดีย จำกัด เลขที่10/162 อาคารเดอะเทรนดี้ ชั้น 20 ห้อง 2001C ซ. สุขุมวิท 13 (แสงจันทร์) แขวงคลองเตยเหนือ<br />

เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร. 0 2168 7624 www.nativemedia.co.th<br />

2016 ข้อเขียนและรูปภาพทุกชิ้นในนิตยสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ห้ามพิมพ์ซ้ำหรือกระทำการใดๆ<br />

ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) โทร. 0 2667 1000<br />

ข้อความในเนื้อที่โฆษณาของนิตยสารฉบับนี้ที่มิได้เป็นของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ถือเป็นความเห็นส่วนตัวของ<br />

เจ้าของผลิตภัณฑ์และบริการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ไม่มีเจตนาให้การรับรองคุณภาพสินค้า บริการ หรือข้อความที่ปรากฏแต่อย่างใด<br />

ติดต่อโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

โทรศัพท์: 0 2667 1000<br />

โทรสาร: 0 2667 2525<br />

นัดแพทย์: 0 2667 1555<br />

เว็บไซต์: www.bumrungrad.com


+++++ Special Scoop<br />

36 ปีบำรุงราษฎร์<br />

เชิดชูอดีต เฉลิมฉลองปัจจุบัน ก้าวย่างสู่อนาคต<br />

17 กันยายน 2523 เป็นวันที่โรงพยาบาลเอกชนเล็กๆ แห่งหนึ่ง<br />

เปิดตัวขึ้นภายในซอยสุขุมวิท 3 ด้วยเป้าหมายเพียงเพื่อต้องการ<br />

เป็นโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล มีบริการที่น่า<br />

พึงพอใจ และเป็นทางเลือกสำาหรับผู้ป่วยในช่วงเวลาที่ประเทศไทยยังมี<br />

โรงพยาบาลเอกชนเพียงไม่กี่แห่ง และประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพา<br />

บริการด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลของรัฐ<br />

คงเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่า 36 ปีต่อมา โรงพยาบาลเล็กๆ<br />

แห่งนั้นจะกลายเป็นศูนย์การแพทย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกและ<br />

เป็นความหวังของผู้ป่วยนับล้านคนในแต่ละปี<br />

จากจุดเริ่มต้น<br />

ชื่อ “บำารุงราษฎร์” หมายถึง “การดูแลประชาชน" อันเป็นชื่อที่<br />

คณะผู้ร่วมก่อตั้งเห็นพ้องต้องกันว่ามีความไพเราะและตรงกับความตั้งใจ<br />

ในการดำาเนินกิจการโรงพยาบาล<br />

ในระยะแรก บำารุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียงที่มีเพียง<br />

อาคาร 7 ชั้น 1 อาคารสำาหรับให้บริการในแผนกอายุรกรรม ศัลยกรรม<br />

และสูตินรีเวช โดยมีแพทย์ประจำาเพียง 4 คนกับเจ้าหน้าที่อีกไม่กี่คน<br />

ในแต่ละแผนก และมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาหลัก<br />

ร้อยคนต่อวัน<br />

แต่ด้วยความเชี่ยวชาญของแพทย์และบุคลากร<br />

ทางการแพทย์ การดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยดุจญาติมิตร<br />

ความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือทางการ<br />

แพทย์ รวมถึงการให้บริการที่เป็นเลิศ ภายในเวลา<br />

เพียงไม่กี่ปี โรงพยาบาลก็เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก<br />

อย่างกว้างขวาง<br />

ในปี 2532 โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ได้เข้า<br />

จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย<br />

ภายใต้ชื่อ บริษัท โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ จำากัด<br />

(มหาชน) ด้วยความตั้งใจที่จะดำาเนินธุรกิจให้<br />

เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการดูแลผู้คน<br />

ในสังคมอันเป็นลักษณะเฉพาะของธุรกิจการ<br />

ให้บริการด้านสุขภาพที่ไม่สามารถคำานึงถึง<br />

ผลประโยชน์ทางธุรกิจแต่เพียงด้านเดียวได้<br />

ต่อมาเมื่อมีผู้เข้าใช้บริการเพิ่มมากขึ้น อาคาร<br />

4


7 ชั้นก็เริ่มคับแคบ แม้จะได้มีการเพิ่มจ ำนวนเตียง<br />

ผู้ป่วยเป็น 400 เตียงแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เพียงพอ<br />

ต่อการให้บริการ แผนการก่อสร้างอาคารหลังใหม่<br />

จึงเริ่มต้นขึ้น และวันที่ 15 มกราคม 2540 ก็ได้<br />

กลายเป็นวันแห่งความปลื้มปีติอย่างสูงสุดของชาว<br />

บำรุงราษฎร์ เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิด<br />

อาคารหลังใหม่ของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นอาคาร<br />

ขนาดใหญ่สูง 12 ชั้น มีพื้นที่มากถึง 70,262 ตร.ม.<br />

ฝ่าวิกฤติ<br />

เช่นเดียวกับเรื่องราวความสำเร็จของหลาย<br />

ธุรกิจที่ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป เส้นทางการเติบโต<br />

ของบำรุงราษฎร์ก็มีบททดสอบให้ต้องก้าวผ่านอยู่<br />

เป็นระยะ และบททดสอบที่ยากลำบากที่สุดก็<br />

เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อก่อนเข้าสู่ทศวรรษที่สองของ<br />

โรงพยาบาลนั่นเอง เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่<br />

หนักหนาสาหัสขึ้นภายในประเทศและลุกลามไป<br />

ยังอีกหลายประเทศในทวีปเอเชีย<br />

วิกฤติครั้งนั้นทำให้โรงพยาบาลมีหนี้สินเพิ่มขึ้น<br />

เป็นเท่าตัวและต้องยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไม่<br />

ต่างจากธุรกิจอื่นๆ แต่ในขณะที่หลายบริษัท<br />

เลือกที่จะหยุดขยายงานและปลดพนักงานเพื่อ<br />

ลดต้นทุน ผู้บริหารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กลับ<br />

ขอให้พนักงานใช้ช่วงเวลาที่จำนวนผู้ป่วยภายใน<br />

ประเทศลดลงในการฝึกฝนภาษาอังกฤษ และ<br />

เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับตลาดต่างประเทศ<br />

ซึ่งได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่ลดลงอย่างมาก<br />

มีการเสริมทีมแพทย์ให้แข็งแกร่ง โดย ศ.นพ.สิน<br />

อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่ม<br />

ได้เริ่มชักชวนแพทย์ไทยในต่างประเทศที่มีความ<br />

เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้กลับมาร่วมงานกับ<br />

บำรุงราษฎร์ ในขณะเดียวกันก็นำเอาเทคโนโลยี<br />

ทางการแพทย์ใหม่ๆ เข้ามาเสริมมากขึ้น<br />

วิกฤติการณ์ทางการเงินในช่วงปี 2540<br />

จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญและเป็นการ<br />

กำหนดทิศทางใหม่ที่ชัดเจนและสร้างความ<br />

แตกต่างให้กับบำรุงราษฎร์จนทุกวันนี้<br />

ก้าวสู่เวทีโลก<br />

เพียง 2 ทศวรรษโดยประมาณหลังการก่อตั้ง<br />

บำรุงราษฎร์เริ่มได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ<br />

และได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับ<br />

สากลตามมาตรฐานของ Joint Commission<br />

International (JCI) แห่งสหรัฐอเมริกาในปี 2545<br />

นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับ<br />

มาตรฐานนี้<br />

การยอมรับนี้ถูกตอกย้ำในการประชุมระดับ<br />

นานาชาติหลายๆ ครั้ง ครั้งหนึ่ง มร.เคิร์ท ชโรเดอร์<br />

อดีตผู้อำนวยการด้านบริหารของบำรุงราษฎร์<br />

ได้รับเชิญให้เป็นองค์ปาฐกพิเศษในการประชุม<br />

5


“ การยึดเอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง<br />

เพื่อมอบบริการทางการแพทย์ที่<br />

ดีที่สุด คือปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง<br />

การเติบโตอย่างมั่นคงของ<br />

บำรุงราษฎร์”<br />

นพ.นำ ตันธุวนิตย์<br />

Council of Teaching Hospitals and <strong>Health</strong><br />

Systems ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ตั้ง<br />

คำถามต่อที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร<br />

สถาบันทางการแพทย์ชั้นนำของโลกกว่าร้อยชีวิต<br />

ว่ามีใครบ้างที่เคยได้ยินชื่อของโรงพยาบาล<br />

บำรุงราษฎร์<br />

“ปรากฏว่าผู้ฟังเกือบทั้งหมดยกมือ ซึ่งเป็น<br />

เรื่องน่าทึ่งที่คนเหล่านี้รู้จักโรงพยาบาลจาก<br />

ประเทศไทยที่มีชื่ออ่านยากสำหรับชาวต่างชาติ<br />

และน่าทึ่งยิ่งกว่าเมื่อได้สนทนากับผู้บริหารระดับ<br />

สูงหลายท่านและพบว่าโรงพยาบาลของเราเป็นที่<br />

รู้จักมากเพียงใด” นั่นคือสิ่งที่อดีตผู้บริหารของ<br />

บำรุงราษฎร์บันทึกไว้ในนิตยสาร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong><br />

เมื่อปี 2553<br />

เติบโตอย่างมั่นคง<br />

บำรุงราษฎร์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2554<br />

อาคารผู้ป่วยนอกสูง 21 ชั้นเริ่มเปิดให้บริการแก่<br />

ผู้ป่วยจำนวนนับล้านคนจากทุกมุมโลก ผู้ป่วย<br />

เหล่านี้ส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคที่มีความซับซ้อนและ<br />

เดินทางมาด้วยความเชื่อมั่นว่าจะได้รับบริการ<br />

ทางการแพทย์ที่ดีเช่นเดียวกันกับบริการจาก<br />

โรงพยาบาลชั้นนำของโลก<br />

ยิ่งผู้ป่วยมีมากขึ้น แพทย์ก็มีโอกาสต่อยอด<br />

ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาได้ลึกซึ้งมากขึ้น ผลคือ<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์สามารถให้บริการทาง<br />

การแพทย์ที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้นเรื่อยๆ<br />

ในทศวรรษที่ 3 ของบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาล<br />

ได้รับการจัดอันดับจากเว็บไซต์ชั้นนำให้เป็น 1 ใน<br />

10 ของโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลก การยอมรับนี้<br />

มีความสำคัญไม่เฉพาะกับบำรุงราษฎร์เท่านั้น แต่<br />

ยังช่วยให้ความพยายามของภาครัฐและเอกชน<br />

ที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง<br />

ทางการแพทย์ระดับโลก หรือ Medical Hub<br />

ในช่วงเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาก่อเกิดผลสำเร็จ<br />

เป็นรูปธรรม<br />

นพ.นำ ตันธุวนิตย์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร<br />

ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สรุปปัจจัยที่อยู่<br />

เบื้องหลังการเติบโตอย่างมั่นคงของโรงพยาบาล<br />

ว่าเกิดจากวัฒนธรรมองค์กรที่ได้รับการปลูกฝัง<br />

มานับตั้งแต่วันแรกของการก่อตั้งนั่นคือ การยึด<br />

เอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพื่อมอบบริการทางการ<br />

แพทย์ที่ดีที่สุด<br />

ปัจจุบันบำรุงราษฎร์มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกว่า<br />

1,300 คนครอบคลุมศาสตร์การรักษาเฉพาะทาง<br />

มากกว่า 55 สาขา มีศูนย์แพทย์เฉพาะทางกว่า<br />

30 ศูนย์ที่มีความชำนาญในการรักษา มีเทคโนโลยี<br />

ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย<br />

ไม่ว่าจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูล<br />

อัจฉริยะไอบีเอ็มวัตสันเพื่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง<br />

(IBM Watson for Oncology) การใช้แขนกล<br />

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Arm Assisted Joint<br />

Replacement Surgery) หรือการลงทุนในศูนย์<br />

ฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยด้วยสถานการณ์เสมือนจริง<br />

(Simulation Training Center)<br />

เหนือสิ่งอื่นใด คือการทำงานร่วมกันอย่างเป็น<br />

ระบบของแพทย์และบุคลากรในทุกสายงานเพื่อ<br />

ให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมและ<br />

มีประสิทธิภาพมากที่สุด และเป็นการให้บริการ<br />

ด้วยอัธยาศัยไมตรีอันเป็นคุณลักษณะพิเศษ<br />

ของคนไทยที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ป่วย<br />

มาโดยตลอด<br />

สู่อนาคตที่ยั่งยืน<br />

ภายในเวลาอีกไม่กี่ปีนับจากนี้ บำรุงราษฎร์จะ<br />

มีอาคารใหม่ๆ ที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น<br />

ศูนย์การแพทย์หลายศูนย์มีขนาดใหญ่ขึ้น มีคลินิก<br />

นอกสถานที่ทั้งในและต่างประเทศ มีจำนวน<br />

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรในสาขาต่างๆ เพิ่ม<br />

มากขึ้นและหลากหลายสาขายิ่งขึ้น เทคโนโลยี<br />

ทางการแพทย์ที่ทันสมัยมากมายล้วนอยู่ใน<br />

แผนการดำเนินงาน<br />

บำรุงราษฎร์อาจเปลี่ยนแปลงไปในทางกายภาพ<br />

แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่และจะไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ<br />

ความมุ่งมั่นที่จะให้บริการทางการแพทย์ที่ดีที่สุด<br />

ด้วยความเอื้ออาทรและยึดถือหลักคุณธรรมแก่<br />

ผู้ป่วยของเราทุกคน ซึ่งเป็นพันธกิจที่โรงพยาบาล<br />

ยึดถือมาตลอดระยะเวลา 36 ปี<br />

6


17 กันยายน 2523<br />

เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ<br />

2537<br />

เปิดอาคารแม่และเด็กสูง 16 ชั้น<br />

(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอาคาร BH Residence)<br />

2540<br />

เปิดให้บริการ ณ อาคารใหม่สูง 12 ชั้น<br />

ซึ่งมีพื้นที่รวมมากถึง 70,262 ตารางเมตร<br />

2532<br />

เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในชื่อ<br />

บริษัท โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ จำากัด (มหาชน)<br />

2542<br />

โรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย<br />

ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันรับรองคุณภาพ<br />

โรงพยาบาลไทย (Hospital Accreditation Thailand)<br />

บางส่วนของเหตุการณ์<br />

และรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ<br />

ตลอด 36 ปีที่ผ่านมา<br />

8<br />

2553<br />

+ ได้รับรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น<br />

ประเภท Best Service Provider 2010<br />

+ ได้รับรางวัลสถานพยาบาลดีเด่นด้านการส่งเสริม<br />

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย<br />

+ ได้รับการรับรองมาตรฐานการรักษาเฉพาะโรคหลอดเลือด<br />

สมองตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง<br />

และโรคเบาหวานจาก JCI แห่งสหรัฐอเมริกา<br />

2555<br />

+ ได้รับการยกย่องให้เป็น “1 ใน 50<br />

องค์กรต้นแบบด้านความรับผิดชอบ<br />

ต่อสังคม” จัดทำาข้อมูลโดยสถาบันไทยพัฒน์<br />

+ ได้รับรางวัล Trusted Brand Award จากรีดเดอร์ ไดเจสท์<br />

2552<br />

ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ<br />

“สถานประกอบกิจการดีเด่น<br />

ด้านแรงงานสัมพันธ์และ<br />

สวัสดิการแรงงาน”<br />

ติดต่อกันทุกปีจนถึงปัจจุบัน<br />

2556<br />

+ ได้รับรางวัล “องค์กรยอดเยี่ยม<br />

ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม”<br />

และได้รับต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบัน<br />

2557<br />

+ นำาระบบคอมพิวเตอร์<br />

ประมวลผลข้อมูลอัจฉริยะ<br />

IBM Watson for Oncology<br />

มาใช้ในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง<br />

+ ได้การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์<br />

ตามโครงการ Westgard Sigma Verification<br />

+ ได้รับรางวัลบริษัทจดทะเบียนที่มีผลการดำาเนินงานดีเด่น<br />

จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


2543<br />

โรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย<br />

ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ<br />

ระบบงานองค์กร หรือ ISO 9000<br />

2546<br />

ได้รับรางวัล “บริษัทที่มีเงินลงทุนขนาดเล็กยอดเยี่ยม” และ<br />

“บริษัทบริหารจัดการยอดเยี่ยม” จากนิตยสารเอเชียมันนี่<br />

และยังได้รับการรับรางวัลอีกครั้งในปี 2551<br />

2549<br />

ผ่านการรับรองมาตรฐานการรักษา<br />

โรคหลอดเลือดสมองตีบ<br />

และโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน<br />

2545<br />

+ โรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล<br />

ระดับสากลตามมาตรฐานของ JCI แห่งสหรัฐอเมริกาและได้รับการ<br />

รับรองต่อเนื่องในปี 2548, 2551, 2554 และ 2557 จนถึงปัจจุบัน<br />

+ ได้รับรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่นประเภท Outstanding Private Hospital<br />

2548<br />

+ ปรับชื่อใหม่เป็น<br />

โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล<br />

+ ได้รับการเผยแพร่ทางรายการ “60 MINUTES”<br />

ทางสถานีโทรทัศน์ CBS ในสหรัฐอเมริกา<br />

2551<br />

+ เปิดอาคารผู้ป่วยนอกบำารุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก<br />

+ รับรางวัล AMDIS จาก Association of Medical Directors<br />

of Information Systems<br />

+ เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ได้รับรางวัลการบริหาร<br />

สู่ความเป็นเลิศจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ<br />

+ ได้รับการโหวตจากผู้อ่านนิตยสาร Asian Wall Street Journal<br />

ให้เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำาในประเทศไทย<br />

+ ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์<br />

ISO 15189:2003<br />

2558<br />

+ เปิดอาคาร Bumrungrad Residence and Office<br />

+ ได้รับการรับรอง “คุณภาพโรงพยาบาลและ<br />

บริการสุขภาพขั้นก้าวหน้า” (A-HA Advance<br />

Hospital Accreditation)<br />

+ ได้รับรางวัล Thailand Corporate<br />

Excellence Awards 2015 ในสาขา<br />

ความเป็นเลิศด้านความรับผิดชอบต่อสังคม<br />

+ เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ได้รับรางวัลส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ<br />

จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย<br />

+ ได้รับรางวัล “องค์กรที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย”<br />

จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ<br />

2559<br />

+ ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI เฉพาะโรคด้านการผ่าตัดข้อเข่าเทียม<br />

+ เปิดคลินิกกายภาพบำาบัดบำารุงราษฎร์ ณ อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์<br />

+ เปิดบำารุงราษฎร์ คลินิก ย่างกุ้ง<br />

9


Bumrungrad<br />

by the<br />

numbers<br />

บำ<br />

รุงราษฎร์ได้ชื่อว่าเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ และมี<br />

อาคารผู้ป่วยนอกที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยมีพื้นที่ให้บริการเฉพาะ 2 อาคาร มากถึง<br />

127,468 ตร.ม. แต่นั่นเป็นเพียงตัวเลขบางส่วนของการเติบโตและพัฒนาทางกายภาพในช่วงเวลา 36 ปี<br />

เพราะยังมีตัวเลขที่น่าสนใจอีกมากมายที่ควรค่าแก่การบันทึกไว้ใน <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้<br />

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา >1,300 คน<br />

พยาบาลชำนาญการ<br />

>1,000 คน<br />

พนักงานทั้งหมด 4,800 คน<br />

บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ >300 คน<br />

เจ้าหน้าที่ภาษาพิเศษ >150 คน<br />

ให้บริการ 14 ภาษา<br />

จำนวนผู้ป่วย<br />

3,372 คนต่อวัน<br />

1,230,780 ล้านคนต่อปี<br />

สำนักงานตัวแทน<br />

33 แห่งใน 18 ประเทศ<br />

ผู้ป่วยต่างชาติ<br />

520,000 คนต่อปี<br />

จาก 190 ประเทศทั่วโลก 33 ศูนย์รักษาเฉพาะทาง<br />

580 เตียงผู้ป่วยใน<br />

>100 สาขาความชำนาญเฉพาะทาง<br />

275 ห้องตรวจ ทารกเกิดใหม่<br />

>2,000 รายต่อปี<br />

10


+++++ Cardiac Arrhythmias<br />

ผู้ป่วยภาวะหัวใจ<br />

เต้นผิดจังหวะ<br />

กับนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า<br />

รู้จักกับสองเทคโนโลยีล่าสุดในการป้องกันผลข้างเคียงจาก<br />

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งได้แก่ การใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจ<br />

ห้องบนซ้าย เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง<br />

ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว และการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สาย<br />

สำหรับผู้ป่วยหัวใจเต้นช้าผิดจังหวะเพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว<br />

ภ<br />

าวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ<br />

ที่ควบคุมกลไกการเต้นของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจของคนเราเต้นไม่เป็น<br />

ไปตามจังหวะธรรมชาติซึ่งมีอัตราการเต้นอยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้ง<br />

ต่อนาที โดยอาจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือเต้นเป็นจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ<br />

ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่เป็นอันตรายจำเป็น<br />

ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะโรคนี้ไม่เพียงทำให้การสูบฉีดเลือดไปยัง<br />

ส่วนต่างๆ ของร่างกายด้อยประสิทธิภาพลงเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเป็น<br />

โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้พูดคุยกับ นพ.โชติกร คุณวัฒน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ เกี่ยวกับ<br />

นวัตกรรมล่าสุดในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายสองประเภท ได้แก่<br />

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation) และหัวใจเต้นช้าผิดจังหวะ (bradycardia)<br />

ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของโรคได้<br />

อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจ<br />

หัวใจสั่นพลิ้วเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง<br />

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบมากที่สุดและจ ำเป็น<br />

ต้องได้รับการรักษาคือ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ซึ่งเป็น<br />

ภาวะที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือเร็วกว่า 350 ครั้งต่อนาที<br />

โดยมักพบในผู้สูงอายุ มีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือความดัน<br />

โลหิตสูง ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีภาวะหยุดหายใจ<br />

ขณะหลับ (sleep apnea) ซึ่งเป็นภาวะที่กระตุ้นให้เกิด<br />

พังผืดในห้องข้างบนของหัวใจ ส่งผลให้การเดินไฟฟ้า<br />

ของหัวใจผิดปกติ ขณะเดียวกันผู้ป่วยอายุน้อยที่เป็น<br />

โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษก็มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจห้องบน<br />

สั่นพลิ้วได้เช่นกัน<br />

“การที่หัวใจห้องบนบีบตัวเร็วเกินไปนั้น นอกจากจะ<br />

ทำให้หัวใจอ่อนแรงแล้ว ยังทำให้เลือดที่อยู่บริเวณห้อง<br />

ข้างบนของหัวใจไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ และมี<br />

เลือดบางส่วนที่ไม่เคลื่อนไหวไปรวมค้างอยู่บริเวณรยางค์<br />

หัวใจห้องบนด้านซ้าย (left atrium appendage: LAA)<br />

ซึ่งมีลักษณะเป็นกระเปาะขนาดเล็กแล้วเกิดเป็นลิ่มเลือดได้<br />

หากลิ่มเลือดหลุดออกจากหัวใจเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด<br />

ก็อาจไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้สมองขาดเลือดและ<br />

เกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ได้” นพ.โชติกร อธิบาย<br />

รู้จักกับ อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจ<br />

เนื่องจากผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมีโอกาสเป็น<br />

โรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนปกติถึง 5 เท่า การรักษา<br />

เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจึงมีความจำเป็นโดยขั้นตอน<br />

ในการรักษาจะเริ่มด้วยการหาสาเหตุของการเกิดโรคเพื่อ<br />

แก้ไขที่ต้นเหตุก่อน จากนั้นจึงเป็นการให้ยาคุมจังหวะ<br />

12


การเต้นของหัวใจไม่ให้เต้นเร็ว หรือไม่ให้เต้น<br />

ผิดจังหวะ และการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดเพื่อ<br />

ลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง<br />

นพ.โชติกร อธิบายว่า ปัจจุบันแพทย์มีแนวทาง<br />

ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือด 2 แนวทาง ได้แก่<br />

+ การใช้ยาละลายลิ่มเลือด เช่น ยาในกลุ่ม<br />

แอสไพริน วาร์ฟาริน หรือยาละลายลิ่มเลือด<br />

กลุ่มใหม่ (novel oral anticoagulants: NOAC)<br />

+ การใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย<br />

(left atrial appendage closure)<br />

“ข้อจำกัดของยาละลายลิ่มเลือดคือ ยาอาจมีผล<br />

ข้างเคียงที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถใช้ติดต่อ<br />

กันได้เป็นเวลานานหรือไม่สามารถใช้ยาละลาย<br />

ลิ่มเลือดได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดเลือดออก<br />

ได้ง่าย อาทิ ผู้ป่วยที่มีเกล็ดเลือดต่ำมาก ผู้ป่วย<br />

ตับวาย ไตวาย ผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตสูง<br />

ได้ไม่ดี ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมอง<br />

มาก่อนขณะรับประทานยาละลายลิ่มเลือด หรือ<br />

ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารอยู่บ่อยๆ<br />

และไม่สามารถหาจุดเลือดออกได้ ในกรณีเช่นนี้<br />

การใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจห้องบนซ้ายก็เป็น<br />

ทางเลือกใหม่ที่เข้ามาทดแทนการใช้ยาละลาย<br />

ลิ่มเลือดได้” นพ.โชติกร กล่าว<br />

“ ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว<br />

มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมอง<br />

สูงกว่าคนปกติถึง 5 เท่า”<br />

นพ.โชติกร คุณวัฒน์<br />

ห้องขวาบน<br />

สายสวน<br />

ห้องซ้ายบน<br />

ห้องซ้ายล่าง<br />

ห้องขวาล่าง<br />

สำหรับขั้นตอนของการใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์<br />

หัวใจห้องบนซ้ายนั้น แพทย์จะใส่อุปกรณ์ซึ่งมี<br />

ลักษณะคล้ายร่มเล็กๆ ขนาดประมาณ 27 มิลลิเมตร<br />

ด้วยสายสวนผ่านหลอดเลือดดำที่ต้นขาไปยังหัวใจ<br />

ด้านซ้าย เมื่ออุปกรณ์เข้าที่ แพทย์จะปล่อยให้<br />

อุปกรณ์เข้าไปปิดผนึกบริเวณรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย<br />

และเมื่อเวลาผ่านไป เนื้อเยื่อหัวใจจะเจริญหุ้ม<br />

อุปกรณ์ และรยางค์ดังกล่าวจะถูกปิดผนึกอย่างถาวร<br />

โดยขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง<br />

Pacemaker ไร้สาย<br />

ทางเลือกใหม่เมื่อหัวใจเต้นช้า<br />

สำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด<br />

เต้นช้าผิดปกติ และผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย<br />

วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม หมดสติ หรือความดันตก<br />

ถ้าไม่สามารถหาสาเหตุที่แก้ไขได้แพทย์อาจ<br />

พิจารณาใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือ pacemaker<br />

เพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งเสี่ยงต่อการ<br />

เสียชีวิต<br />

“การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจเป็นวิธีที่ใช้กันอย่าง<br />

แพร่หลายมานานกว่า 50 ปี วิธีการคือ แพทย์จะ<br />

ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจไว้ใต้ผิวหนังบริเวณ<br />

ใต้กระดูกไหปลาร้า และสอดสายสื่อสัญญาณ<br />

ไฟฟ้าไปยังหัวใจ โดยเครื่องจะทำการตรวจจับ<br />

จังหวะการเต้นของหัวใจ และสายสื่อสัญญาณ<br />

ไฟฟ้าจะเป็นตัวควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้น<br />

เร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี ้ยงส่วนต่างๆ ของ<br />

ร่างกายได้” นพ.โชติกร อธิบาย<br />

อย่างไรก็ตาม การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ<br />

เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สาย<br />

ขั้วบวก<br />

ขั้วลบ<br />

แบบใส่สายสื่อสัญญาณนี้ อาจทำให้เกิดภาวะ<br />

แทรกซ้อนในผู้ป่วยบางราย เช่น มีเลือดออกหรือ<br />

มีก้อนเลือดคั่งอยู่ใต้ผิวหนัง มีการติดเชื้อบริเวณ<br />

ที่ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ สายสื ่อสัญญาณ<br />

ไฟฟ้าหลุดเลื่อนจากตำแหน่งเดิม รวมถึงความ<br />

รู้สึกไม่สบายตัวและไม่สวยงามที่เกิดจากการฝัง<br />

เครื่องส่งสัญญาณ<br />

นี่จึงเป็นที่มาของเทคโนโลยีล่าสุดที่ออกแบบ<br />

มาเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว โดยมีการริเริ่ม<br />

นำเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สาย (leadless cardiac<br />

pacemaker) เข้ามาใช้ในการรักษาผู้ป่วย<br />

หัวใจเต้นช้าผิดจังหวะ ซึ่งเทคโนโลยีใหม่นี้จะรวม<br />

เอาตัวส่งสัญญาณกระตุ้นหัวใจและสายสื่อสัญญาณ<br />

ไฟฟ้าไว้ในแคปซูลขนาดเล็กที่มีความยาวเพียง<br />

26 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 6.7 มิลลิเมตร<br />

และหนักเพียง 1.75 กรัม โดยแพทย์จะส่งแคปซูล<br />

ด้วยสายสวนผ่านหน้าขาเข้าไปฝังบริเวณผนัง<br />

หัวใจห้องล่างขวาเพื่อทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการ<br />

เต้นของหัวใจ<br />

“การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สายเป็น<br />

ทางเลือกที่เหมาะกับผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะ<br />

ผู้ป่วยที่ต้องการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจเฉพาะ<br />

ห้องข้างล่างขวาเท่านั้น เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ หรือ<br />

เป็นโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วย<br />

ยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้<br />

สะดวกและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม<br />

เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สายนี้อาจมีข้อจำกัด<br />

และไม่สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยบางราย ซึ่งแพทย์จะ<br />

พิจารณาเป็นกรณีไป” นพ.โชติกร กล่าวทิ้งท้าย<br />

14


+++++ Sports Medicine<br />

16<br />

ฟิตเนส<br />

เล่นอย่างไรไม่ให้บาดเจ็บ<br />

ค<br />

วามสะดวกสบายและความครบครันที่สามารถตอบสนองทุกความต้องการ<br />

ของคนรักสุขภาพ ทำาให้สถานออกกำาลังกายที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ฟิตเนส<br />

ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเฉพาะกับกลุ่มคนวัยทำางาน<br />

ในเมืองใหญ่ที่หาโอกาสเล่นกีฬาหรือออกกำาลังกายกลางแจ้งได้ยาก<br />

แต่ถึงแม้จะเป็นการออกกำาลังกายในร่มที่ไม่มีการปะทะ และฟิตเนสส่วนใหญ่<br />

มีเทรนเนอร์ประจำา หลายคนยังคงต้องมาพบแพทย์เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บจากการ<br />

เล่นฟิตเนส อาการเหล่านี้มีอะไรบ้าง จะมีวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นอย่างไร และจะป้องกัน<br />

ไม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong> ฉบับนี้มีคำาตอบจากคุณธิดารัตน์ อร่ามวัฒนชัย<br />

นักกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มาฝากกัน<br />

4 ลักษณะของการบาดเจ็บ<br />

“การบาดเจ็บที่พบในฟิตเนสเกิดได้ทั้งจากการออกกำาลังกายประเภทคาร์ดิโอที่<br />

เน้นพัฒนาระบบไหลเวียนโลหิต หัวใจ และปอดอย่างการปั่นจักรยานไฟฟ้าหรือวิ่งบน<br />

ลู่วิ่ง และการออกกำาลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างการเล่นเวท<br />

โดยส่วนใหญ่มักเป็นการบาดเจ็บในเรื่องของโครงสร้างร่างกายที่เกิดจากการใช้งาน<br />

มากเกินไปหรือหนักเกินไป” คุณธิดารัตน์อธิบาย<br />

การบาดเจ็บที่พบส่วนใหญ่ซึ่งมักแบ่งออกได้เป็น<br />

4 ลักษณะ ได้แก่<br />

1. กล้ามเนื้ออักเสบ เป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อ<br />

เมื่อเกิดฉีกขาดจากการใช้งานหนัก<br />

2. เส้นเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นการอักเสบของ<br />

เส้นเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก<br />

(tendon)<br />

3. เส้นเอ็นยึดข้อฉีกขาด เป็นการอักเสบของเส้นเอ็น<br />

ที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก (ligament)<br />

4. กระดูกรับน้ำหนักมากเกินไป หรือมีแรงเครียด<br />

ต่อกระดูกมากเกินไป เช่น กระดูกขาหักแบบ<br />

เป็นรอย (stress fracture) จากการวิ่งอย่าง<br />

หนักและเกิดแรงกระแทกซำ้ำๆ<br />

เจ็บแล้ว ต้องทำอย่างไร<br />

หากคุณไม่ได้ออกกำาลังกายมานานพอสมควร<br />

เมื่อกลับมาออกกำาลังอีกครั้งและรู้สึกปวดเมื ่อย<br />

เนื้อตัว อาการแบบนี้ไม่ถือว่าเป็นการบาดเจ็บ<br />

แต่เป็นกลไกตอบสนองของร่างกายตามปกติ<br />

เพื่อจะบอกว่า การออกกำาลังกายนั้นหนักเกินไป<br />

กล้ามเนื้อยังไม่คุ้นเคยและมีอาการกล้ามเนื้อชำ้ำ<br />

เกิดขึ้น ซึ่งอาการนี้จะหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน<br />

โดยไม่จำาเป็นต้องทำาอะไรเลย<br />

แต่หากเป็นการบาดเจ็บจริงๆ ซึ่งจะต้อง<br />

ประกอบด้วยอาการปวด บวม ผิวบริเวณที่เจ็บมี<br />

สีแดง และเมื่อแตะแล้วรู้สึกร้อนกว่าบริเวณ<br />

ใกล้เคียง ให้สันนิษฐานว่ามีการอักเสบเกิดขึ้น<br />

หลักการดูแลตัวเองเบื้องต้นที่คุณสามารถทำาได้<br />

ทันทีคือ PRICER ซึ่งประกอบด้วย<br />

P = Protection ป้องกันไม่ให้ส่วนที่บาดเจ็บ<br />

ขยับเขยื้อน<br />

R = Rest พักการใช้งานส่วนที่บาดเจ็บ<br />

I = Ice ประคบเย็นด้วยนำ้ำแข็งภายใน 24 ชั่วโมง<br />

หลังเกิดการบาดเจ็บเพื่อลดอาการบวม<br />

C = Compression คือการกด โดยทำาควบคู่<br />

ไปกับการใช้นำ้ำแข็ง อาจใช้แผ่นเย็นประคบ<br />

แล้วพันให้กระชับ<br />

E = Elevation คือยกอวัยวะส่วนที่เจ็บให้สูงไว้<br />

เพื่อให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจและ<br />

ลดอาการบวม<br />

R = Referral ในกรณีที่บาดเจ็บมาก หรือมี<br />

อาการผิดปกติอื่นๆ แนะนำาให้พบแพทย์ทันที


นอนน้อย<br />

ทำให้น้ำหนักขึ้น!<br />

สาเหตุหลักๆ ที่ทำาให้น้ำาหนักขึ้นคง<br />

หนีไม่พ้นพฤติกรรมการกินของตัวเอง และ<br />

ความขี้เกียจออกกำาลังกาย ส่วนพฤติกรรม<br />

การนอนหลับก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำาคัญที่<br />

ส่งผลต่อน้ำาหนักตัวเช่นกัน เพราะการนอน<br />

เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่ควบคุมความรู้สึก<br />

อยากอาหาร 2 ตัว คือ เกรลิน(Ghrelin)<br />

เป็นฮอร์โมนกระตุ้นความหิวและ เล็ฟติน<br />

(Leptin) ฮอร์โมนที่ทำาให้รู้สึกอิ่ม และเพิ่ม<br />

อัตราการเผาผลาญ<br />

เคยมีการทดลองพบว่า คนที่นอน<br />

ประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวันจะมีระดับฮอร์โมน<br />

เกรลินสูงกว่าคนที่นอน 8 ชั่วโมงต่อวันมากถึง<br />

15% และมีเล็ปตินต่ำากว่าประมาณ 15%<br />

ส่งผลให้คนที่นอนน้อยมักจะหิวบ่อย กินเยอะ<br />

แถมมีโอกาสเป็นโรคอ้วนถึงร้อยละ 73 รวมถึง<br />

มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ<br />

โรคความดันโลหิตสูง โรคไตและโรคอื่นๆ อีก<br />

มากมาย เมื่อนอนน้อยก็จะเบิร์นน้อยตามไปด้วย<br />

นักวิจัยพบว่าคนที่นอนไม่พอจะใช้พลังงาน<br />

ในร่างกายน้อยลงกว่าคืนที่นอนเต็มอิ่ม 5%<br />

และหลังจากกินอาหารอิ่มจัดแล้ว ร่างกาย<br />

จะใช้พลังงานลดลงอีก 20% ซึ่งก็เป็นเหตุ<br />

ให้ดูอ่อนเพลีย ไม่กระปรี้กระเปร่านั่นเอง<br />

ถ้าหากนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงร่างกาย<br />

จะหลั่งฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็น<br />

ฮอร์โมนที่จะกระตุ้นให้คุณรู้สึกหิวทันทีอาหาร<br />

ที่อยากทานก็จะเป็นพวกแป้ง น้ำาตาล และ<br />

อาหารรสหวานทุกชนิด เพราะร่างกายต้องการ<br />

เพิ่มน้ำาตาลในกระแสเลือด เพื่อให้ร่างกาย<br />

สดชื่นขึ้น<br />

เมื่อนอนน้อยก็จะกินเยอะขึ้น หาก<br />

คืนไหนที่สาวๆ ทั้งหลายนอนพักผ่อนเพียง<br />

แค่ 4 ชั่วโมง ในวันรุ่งขึ้นคุณจะมีแนวโน้มกิน<br />

อาหารที่มีแคลอรี่เพิ่มขึ้นอีกถึง329 กิโลแคลอรี่<br />

ส่วนผู้ชายจะกินเพิ่มขึ้น 263 กิโลแคลอรี่<br />

โดยประมาณ เห็นแบบนี้แล้ว มาพักผ่อนให้<br />

เพียงพอกันดีกว่า เราควรนอนอย่างน้อย<br />

7-8 ชั่วโมง และควรนอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อเปิด<br />

โอกาสให้โกรทฮอร์โมนได้ทำาหน้าที่ฟื้นฟู<br />

ซ่อมแซร่างกายได้อย่างเต็มที่หากทำาอย่างนี้<br />

ได้นอกจากจะไม่อ้วนแล้ว ผิวพรรณยังสวยใส<br />

เปล่งปลั่งอีกด้วย การพักผ่อนให้เพียงพอ<br />

ควบคู่ไปกับการออกกำาลังกายพร้อมให้<br />

vivosmartHR เป็นผู้ช่วยส่วนตัวในการ<br />

ติดตามการนอนและวางแผนออกกำาลังกาย<br />

รับรองว่าคุณจะมีสุขภาพดีอย่างแน่นอน<br />

Garmin vivosmartHR นอกจาก<br />

ฟังก์ชันหลักๆ ที่สามารถนับก้าว ระยะทาง<br />

แคลอรี่ รวมถึงวัดอัตราการเต้นหัวใจ ยังมี<br />

การติดตามการนอนตลอดคืนอีกด้วย(ติดตาม<br />

การนอนทั้งหมดทั้งช่วงที่เคลื่อนไหวหรือ<br />

หลับสนิท) เพื่อให้เราสามารถดูบันทึกคุณภาพ<br />

การนอนของเราว่าหลับสนิทแค่ไหน พักผ่อน<br />

เพียงพอหรือไม่ในแต่ละคืน ทำาให้เราเกิด<br />

การเรียนรู้จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมตัว<br />

เอง ทำาให้เกิดการปรับปรุงลักษณนิสัย ช่วย<br />

เพิ่มระยะเวลานอนหลับให้ดีขึ้นอีกด้วย<br />

vivosmartHR 5,990 บาท (รองรับภาษาไทย)<br />

ข้อมูลเพิ่มเติม / สั่งซื้อออนไลน์<br />

www.GPSsociety.com<br />

สอบถามโทร 02-266-9944


“ระหว่างที่ยังบาดเจ็บอยู่ ไม่ควรทำกิจกรรมที่<br />

จะทำให้บาดเจ็บซ้ำที่เดิม เพราะจะทำให้โอกาส<br />

หายน้อยลงหรือต้องใช้เวลานานขึ ้นกว่าจะหาย<br />

ฉะนั้น ควรรอให้อาการหายสนิทแล้วจริงๆ แต่<br />

คุณก็ยังสามารถออกกำลังกายในส่วนอื่นๆ ที่ไม่<br />

บาดเจ็บได้ เช่น เจ็บแขนก็ให้เลือกออกกำลังกาย<br />

ที่ใช้ขาแทน หรือเจ็บขาก็ยกเวทแขนไปก่อน<br />

เป็นต้น” คุณธิดารัตน์แนะนำ<br />

การบาดเจ็บ ป้องกันได้<br />

อย่างไรก็ตาม การป้องกันตัวเองจากอาการ<br />

บาดเจ็บย่อมดีกว่าการรักษาตัว ซึ่งนักกายภาพ<br />

บำบัดของเรามีคำแนะนำที่คุณสามารถนำไป<br />

ปฏิบัติได้ไม่ยาก ดังนี้<br />

+ เข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มโปรแกรม<br />

ออกกำลังกายหากคุณเป็นผู้หญิงอายุมากกว่า<br />

55 ปี หรือผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปี โดยเฉพาะ<br />

ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว<br />

+ อบอุ่นร่างกายก่อน (warm up) และหลัง (cool<br />

down) การออกกำลังกายทุกครั้ง โดยใช้เวลา<br />

อย่างละ 5-10 นาที<br />

+ ระหว่างการ warm up และ cool down ให้ยืด<br />

กล้ามเนื้อร่วมด้วย โดยใช้เวลาประมาณ 3 นาที<br />

เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ<br />

+ ค่อยๆ เพิ่มระดับแรงต้าน ระยะเวลา และ<br />

ความถี่ของการออกกำลังกาย เพื่อให้เวลา<br />

ร่างกายปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป<br />

+ สลับชนิดการออกกำลังกายในแต่ละวัน เพื่อ<br />

ไม่ให้ร่างกายแต่ละส่วนถูกใช้งานมากเกินไป<br />

+ รู้จุดด้อยของตัวเอง เช่น หากเคยบาดเจ็บไหล่<br />

หรือเข่ามาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ให้มั่นใจ<br />

ว่าสามารถออกกำลังกายในส่วนนั้นๆ ได้<br />

อย่างปลอดภัย<br />

+ ไม่ออกกำลังหนักและต่อเนื่องเป็นเวลานาน<br />

เพราะจะทำให้ร่างกายล้าเกินไป<br />

+ พักจากการออกกำลังบ้างสัปดาห์ละ 1-2 วัน<br />

เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว<br />

+ ปรึกษาเทรนเนอร์ นักกายภาพบำบัดหรือ<br />

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนลองเทคนิคการออก<br />

กำลังกายใหม่ๆ<br />

+ แต่งกายให้เหมาะสมกับประเภทของการ<br />

ออกกำลังกาย<br />

+ ดื่มน้ำให้เพียงพอก่อน ระหว่าง และหลังการ<br />

ออกกำลังกาย รวมถึงไม่ปล่อยให้ท้องว่าง<br />

ด้วยการรับประทานอาหารว่างเบาๆ ก่อน<br />

ออกกำลังอย่างน้อย 30 นาที<br />

+ มีเป้าหมายในการออกกำลังกายที่ชัดเจน<br />

เป็นไปได้ และใช้เทคนิคที่ถูกต้องเพื่อให้บรรลุ<br />

เป้าหมาย<br />

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถออกกำลังกายใน<br />

ฟิตเนสได้อย่างปลอดภัยและห่างไกลจากอาการ<br />

บาดเจ็บอย่างแน่นอน<br />

คลินิกกายภาพบำบัดบำรุงราษฎร์ คลินิกกายภาพบำบัดใกล้ๆ คุณ<br />

อ<br />

าการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก การเล่นกีฬา และการบำบัดก่อนและหลังการ<br />

ระบบประสาท รวมถึงการบาดเจ็บจากการ ผ่าตัดเกี่ยวกับข้อและกระดูกด้วยเครื่องมือรักษา<br />

เล่นกีฬาจาเป็นต้องได้รับการบาบัดรักษาและ ทางกายภาพบำบัดที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน<br />

ฟื้นฟูตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างครบถ้วน ในการให้บริการ<br />

และต่อเนื่อง คลินิกกายภาพบาบัดบารุงราษฎร์ นอกจากนี้ คลินิกกายภาพบำบัดบำรุงราษฎร์<br />

จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสาหรับผู้ที่ไม่สะดวก ยังมีพื้นที่ออกกำลังกายที่เป็นสัดส่วนพร้อมบริการ<br />

เข้ามารับการกายภาพบาบัดในโรงพยาบาล ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายและจัด<br />

คลินิกกายภาพบำบัดบำรุงราษฎร์ เป็นคลินิก โปรแกรมการออกกำลังกายเฉพาะบุคคลสำหรับ<br />

กายภาพบำบัดของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ณ บุคคลทั่วไปโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ<br />

อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ เปิดให้บริการด้าน เฉพาะทางของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

การกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ<br />

การกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่ คลินิกกายภาพบำบัดบำรุงราษฎร์<br />

เกิดจากการทำงาน การกายภาพบำบัดระบบ ณ อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ ได้ที่<br />

ประสาท การกายภาพบำบัดอาการบาดเจ็บจาก โทร 0 2667 1305<br />

18


+++++ The Case<br />

เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน<br />

วันร้ายที่คาดไม่ถึง<br />

ของ คุณทศพร หงสนันทน์<br />

“ ตรวจสุขภาพทุกปีครับ ผมเป็นนักบินด้วย ต้องตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเพื่อต่อใบอนุญาตอยู่แล้ว”<br />

“ ถ้ามีเวลาว่าง ต้องออกกำลังกายทันที ว่ายน้ำ เข้ายิม ขี่จักรยาน ทุกคนสงสัยกันหมดว่า<br />

ออกกำลังกายขนาดนี้ทำไมยังเป็นโรคหัวใจ”<br />

“ ตอนนั่งอยู่ที่ศูนย์หัวใจ บำรุงราษฎร์ ผมคิดว่าเรามาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร”<br />

<strong>Better</strong> <strong>Health</strong> กับ คุณทศพร หงสนันทน์<br />

นักธุรกิจหนุ่มใหญ่ที่รักการออกกำาลังกายเป็นชีวิตจิตใจ ทำาให้ยังดูแข็งแรง<br />

นี่คือบางส่วนของบทสนทนาระหว่าง<br />

และมีรูปร่างที่ดีแม้ในวัยขึ้นเลขหก และหากไม่บอกก็คงไม่มีใครรู้ว่า<br />

คุณทศพรเพิ ่งผ่านช่วงเวลาวิกฤตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมาได้<br />

เพียง 2 เดือนเท่านั้น<br />

ชีวิตที่ไม่เคยหยุดนิ่ง<br />

“ผมออกกำาลังกายมาตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน เล่นรักบี้ ยูโด ดำานำ้ำมาตั้งแต่อายุ 16<br />

จนทุกวันนี้ก็ยังเป็นผู้ฝึกสอนให้กับครูดำานำ้ำ (scuba diving instructor trainer)<br />

ผมว่ายนำ้ำสมำ่ำเสมอครั้งละ 1,000-1,200 เมตร เข้ายิมวันละชั่วโมงกว่า แล้วก็ยังชอบ<br />

ปั่นจักรยานโดยเฉพาะปั่นระยะไกล 60-70 กิโลเมตร เรียกว่าเล่นกีฬาต่อเนื่องมา<br />

ทั้งชีวิตไม่เคยหยุด” คุณทศพร เริ่มต้นเล่าถึงความชื่นชอบในการออกกำาลังกาย<br />

และนอกจากกีฬาแล้ว คุณทศพรยังมีไลฟ์สไตล์ที่กระตุ้นจังหวะการเต้นของ<br />

หัวใจอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการขี่จักรยานยนต์ทางไกลข้ามประเทศ หรือการขับ<br />

เครื่องบินส่วนบุคคลซึ่งการจะขึ้นบินได้นั้นต้องผ่านขั้นตอนการตรวจร่างกายและ<br />

การทำางานของสมองอย่างละเอียดในส่วนของการมองเห็นและการได้ยินอย่างน้อย<br />

ปีละ 2 ครั้งตามกฎข้อบังคับของสถาบันเวชศาสตร์การบิน<br />

“ผมคิดว่าตัวเองดูแลสุขภาพสมำ่ำเสมอนะ พยายามทำาตัวให้แข็งแรง ถึงจะไม่ได้<br />

เคร่งครัดเรื่องอาหารมากแต่ก็ควบคุมนำ้ำหนักไม่ให้นำ้ำหนักเพิ่มขึ้น ทำางานก็มี<br />

เครียดบ้างไม่เครียดบ้างตามปกติ แล้วอยู่ๆ ก็เกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมา” คุณทศพรพูดถึง<br />

“ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน” หนึ่งใน<br />

กลุ่มอาการของโรคหัวใจที่ทั้งชีวิตนี้ไม่เคยคิด<br />

มาก่อนว่าตัวเองจะเป็น<br />

ไร้สัญญาณบอกเหตุ<br />

วิกฤตสุขภาพครั้งนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณ<br />

เตือนใดๆ “วันนั้นเป็นวันที่ผมตั้งใจจะไปนอนที่วัด<br />

เพื่อเตรียมตัวอุปสมบทในสัปดาห์ถัดไป แต่พอ<br />

ไปถึงก็เริ่มมีอาการปวดแปลบๆ บริเวณด้านซ้าย<br />

ของหัวใจเยื้องขึ้นไปทางไหล่ แล้วก็จุกแน่นแต่<br />

ซักพักก็หายไป เช้ามืดวันถัดมาก็ปวดอีก ตอนนั้น<br />

ยังไม่แน่ใจว่าเป็นอะไรแต่คิดว่าไม่ค่อยดีแล้ว<br />

เลยขออนุญาตกลับบ้านก่อน กลับมาถึงบ้านสัก<br />

พักใหญ่ก็ปวดที่ตำาแหน่งเดิมอีกแล้วยังมีอาการ<br />

ชาที่ปลายนิ้วร่วมด้วย คราวนี้ผมเก็บของเลย<br />

บอกคนที่บ้านว่าจะเข้าโรงพยาบาล เพราะค่อน<br />

ข้างแน่ใจแล้วว่าต้องเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ”<br />

ภายในเวลาไม่ถึง 10 นาทีหลังจากที่คุณทศพร<br />

มาถึงโรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ เขาได้รับการ<br />

วินิจฉัยจากนพ.วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต ว่ามีภาวะ<br />

20


“สำคัญที่สุดคือ ต้องวินิจฉัยได้เร็ว”<br />

ใ นการรักษาผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

ตายเฉียบพลันนั้น นพ.วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต<br />

อายุรแพทย์โรคหัวใจยืนยันว่าการวินิจฉัยโรค<br />

อย่างแม่นยำาและรวดเร็วคือหัวใจสำาคัญที่จะช่วย<br />

ให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด<br />

ผู้ป่วยมาถึงด้วยอาการอย่างไร<br />

ผู้ป่วยมีอาการเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอก<br />

ด้านซ้าย โดยเริ่มเจ็บตั้งแต่วันก่อนที่จะเข้ามา<br />

รักษา พอเราทราบอาการก็ทำาการตรวจคลื่นไฟฟ้า<br />

หัวใจทันที ซึ่งสามารถทำาได้ภายในเวลาไม่ถึง 10<br />

นาทีนับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึง ผลจากกราฟหัวใจบ่งชี้<br />

ว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เนื่องจาก<br />

มีลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดแบบถาวร ทำาให้<br />

เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้และส่งผลให้เซลล์<br />

กล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด<br />

ในภาวะเช่นนี้ การวินิจฉัยที่รวดเร็วมีความ<br />

สำาคัญมาก เพราะหากล่าช้าเกินไปอาจทำาให้<br />

ผู้ป่วยสูญเสียกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ<br />

เมื่อประสิทธิภาพในการบีบตัวลดลงก็จะส่งผลให้<br />

หัวใจเต้นผิดจังหวะและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวใน<br />

อนาคตได้ และหากมีการอุดตันของหลอดเลือด<br />

ขนาดใหญ่ที่ทำาให้กล้ามเนื้อตายเป็นบริเวณกว้าง<br />

ก็อาจทำาให้เสียชีวิตได้เช่นกัน โดยโรคนี้มีความเสี่ยง<br />

ในการเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 10 ซึ่งถือว่าสูงมาก<br />

สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร<br />

และมีวิธีการรักษาอย่างไร<br />

ผู้ป่วยมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ มีความ<br />

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและต้องเข้ารับ<br />

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนทันที<br />

“คุณหมอตรวจวินิจฉัยแบบตรงประเด็น<br />

ชัดเจน และรวดเร็วมาก พอทราบผล เคสผมก็<br />

กลายเป็นเคสฉุกเฉินทันที มีเจ้าหน้าที่หลายคน<br />

เข้ามาดูแล ทุกคนทำางานแข่งกับเวลา เพียงระยะ<br />

เวลาหนึ่งชั่วโมงทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี สามารถ<br />

ทราบถึงตำาแหน่งที่ผิดปกติและทำาการรักษาได้<br />

อย่างทันท่วงที ซึ ่งผมต้องชมเชยจริงๆ เพราะ<br />

ถ้าช้ากว่านี้ผมคงแย่”<br />

แข็งแรงช่วยได้<br />

หลังทำาบอลลูนเรียบร้อย คุณทศพรใช้เวลาพัก<br />

ในโรงพยาบาล 3 วันก่อนจะกลับไปบวชอีก 3<br />

สัปดาห์ตามที่ตั้งใจไว้ และเมื่อสึกแล้วก็เริ่มออก<br />

เสี่ยงจากการสูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง<br />

นำ้ำตาลในเลือดสูง และมีไขมันที่พอกเป็นตะกรัน<br />

(plaque) เกาะตามผนังหลอดเลือด เมื่อ plaque<br />

แตกตัวก็ทำาให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด<br />

ผู้ป่วยจึงเริ่มเจ็บหน้าอกแต่เจ็บแบบไม่ต่อเนื่อง<br />

เพราะลิ่มเลือดยังอุดกั้นไม่หมด แต่พอเวลา<br />

ผ่านไปลิ่มเลือดมีมากขึ้นจนอุดตันถาวร อาการ<br />

เจ็บจึงไม่หายอีก เนื่องจากไม่มีเลือดไปเลี้ยง<br />

กล้ามเนื้อหัวใจ<br />

กรณีนี้เราต้องเปิดหลอดเลือดให้เร็วที่สุดเพื่อ<br />

ให้เลือดกลับไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้น เป็นการ<br />

หยุดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งโชคดีที่ผู้ป่วย<br />

รายนี้มาถึงโรงพยาบาลเร็ว กล้ามเนื้อหัวใจยัง<br />

ไม่ถูกทำาลายมากนัก หลังจากที่เราฉีดสีเพื่อให้<br />

ทราบตำาแหน่งที่หลอดเลือดอุดตันแล้วก็ขยาย<br />

กำาลังกายตามปกติอีกครั้ง “ตอนนี้รู้สึกสดชื่นขึ้น<br />

แข็งแรงขึ้น ว่ายนำ้ำได้ระยะทางไกลขึ้น เหนื่อย<br />

น้อยลง นี่ก็กำาลังเตรียมตัวจะไปขี่จักรยานยนต์<br />

ทางไกลอีกแล้ว” คุณทศพรเล่าอย่างอารมณ์ดี<br />

ประสบการณ์ผ่านความเป็นความตายจาก<br />

โรคร้ายครั้งนี้ คุณทศพรมีข้อคิดหลายประการ<br />

มาแบ่งปันกัน นั่นคือ การออกกำาลังกายช่วยให้<br />

ร่างกายมีแรงพอที่จะรับมือกับโรคได้ แต่อย่า<br />

เชื่อมั่นเกินไปว่าตัวเองแข็งแรงแล้วจะไม่เป็น<br />

โรคร้าย ขณะเดียวกันก็ควรมีความรู้พื้นฐานใน<br />

การดูแลตัวเองเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน มีสติ<br />

และไม่ประมาท โดยเฉพาะในกรณีของภาวะ<br />

หัวใจขาดเลือด เพราะโรคสามารถพัฒนาจาก<br />

อาการเพียงเล็กน้อยไปจนรุนแรงและถึงขั้น<br />

เสียชีวิตได้<br />

หลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดถ่างขยาย<br />

(stent) ทำาให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ดังเดิม<br />

คุณทศพรฟื้นตัวเร็วเพราะร่างกายแข็งแรงดี<br />

อยู่แล้ว สามารถเดินเหิน ทำากิจกรรมได้ตามปกติ<br />

ปัจจุบันผู้ป่วยมีอาการอย่างไร<br />

ตอนนี้หัวใจทำางานแทบจะปกติ ก่อนออกจาก<br />

โรงพยาบาล เราตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อน<br />

อีกครั้งซึ่งผลออกมาค่อนข้างดี แต่ยังต้องเฝ้า<br />

ระวังเพราะโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้อีก และกรณี<br />

คุณทศพรก็ยังมีหลอดเลือดตีบประมาณร้อยละ<br />

50-60 อยู่อีกตำาแหน่งหนึ่ง ซึ่งยังไม่จำาเป็นต้องทำา<br />

อะไร เพียงแต่ต้องรับประทานยาต้านเกล็ดเลือด<br />

และยาลดไขมันในเลือดอย่างต่อเนื่อง เพราะการ<br />

ควบคุมไขมันได้ดีจะทำาให้โอกาสเกิดภาวะหัวใจ<br />

ขาดเลือดน้อยลงไปถึงกว่าร้อยละ 30<br />

ต้องทำอย่างไรเมื่ออยู่ในกลุ่มเสี่ยง<br />

โรคนี้เป็นได้ทุกวัย แต่ถ้าคุณเป็นผู้หญิงวัย<br />

หมดประจำาเดือน มีประวัติครอบครัวเป็นโรค<br />

หัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือมี<br />

พฤติกรรมเสี่ยง เช่น ไม่ออกกำาลังกาย เครียด<br />

สูบบุหรี่ ทั้งหมดนี้ก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะกล้าม<br />

เนื้อหัวใจตายได้สูง ฉะนั้น ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง<br />

ว่ามีอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ หรือเจ็บแน่น<br />

หน้าอกเวลาออกแรงหรือไม่ ถ้ามี ก็ควรเข้ารับ<br />

การตรวจประเมินสุขภาพเพื่อให้แพทย์ดูว่ามี<br />

ความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน และจะป้องกันหรือ<br />

ลดความเสี่ยงนี้ได้อย่างไร<br />

21


+++++ M.D. Focus<br />

รู้จักกับ<br />

แพทย์บำรุงราษฎร์<br />

ส่วนหนึ่งของทีมแพทย์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่มากด้วยทักษะ<br />

และประสบการณ์ซึ่งพร้อมจะดูแลคุณอย่างรอบด้าน<br />

ผศ.พญ.ธรรมบวร เนติ<br />

วิสัญญีแพทย์<br />

ผศ.พญ.ธรรมบวร สำเร็จการศึกษาจากคณะ<br />

แพทยศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) ศิริราชพยาบาล<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนไปศึกษาต่อที่ University<br />

of California Los Angeles ประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

ในสาขาการระงับความรู้สึกสำหรับการผ่าตัดหัวใจ<br />

ผู้ใหญ่และการผ่าตัดเด็กหัวใจพิการแต่กำเนิด<br />

แล้วจึงกลับมาเป็นอาจารย์ที่ศิริราชราว 10 ปี<br />

ก่อนจะย้ายมาร่วมงานกับบำรุงราษฎร์ คุณหมอ<br />

เป็นหนึ่งในทีมแพทย์ผู้อยู่เบื้องหลังการผ่าตัดรักษา<br />

โรคหัวใจให้กับเด็กๆ กว่า 700 คนภายใต้โครงการ<br />

รักษ์ใจไทยมาโดยตลอด ปัจจุบันคุณหมอยังดำรง<br />

ตำแหน่งหัวหน้ าแผนกวิสัญญีของบำรุงราษฎร์อีกด้วย<br />

บทบาทและองค์ความรู้ที่จำเป็น<br />

ของวิสัญญีแพทย์<br />

บทบาทหลักคือทำงานร่วมกับศัลยแพทย์ในการ<br />

นำพาผู้ป่วยผ่านการผ่าตัดไปได้อย่างปลอดภัย<br />

และมีภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด โดยต้องมีความรู้<br />

ทางอายุรกรรม มีความรู้ว่าการผ่าตัดจะมีผล<br />

กระทบต่อผู้ป่วยอย่างไร ต้องเลือกเทคนิควิธีระงับ<br />

ความรู้สึก ชนิดและปริมาณยาที่ใช้อย่างละเอียด<br />

ต้องมีความรู้ในการเฝ้าระวังเพื่อประคับประคอง<br />

ให้ทุกๆ อวัยวะได้รับเลือดและออกซิเจนอย่าง<br />

เพียงพอ มีความรู้ด้านเวชบำบัดวิกฤต มีทักษะ<br />

ขั้นสูงสุดของการช่วยฟื้นคืนชีพ รู้กายวิภาคทาง<br />

หายใจ กระดูกสันหลัง และทางเดินของเส้นประสาท<br />

ต่างๆ ที่จะทำการระงับความรู้สึก<br />

การรักษาที่รู้สึกประทับใจ<br />

เคยมีผู้ป่วยรายหนึ่งเป็นนักศึกษาหญิงประสบ<br />

อุบัติเหตุกระดูกสันหลังคอหักแขนขาทั้ง 2 ข้างขยับ<br />

ไม่ได้เลยในทันที เพียงแต่หายใจได้และพูดได้<br />

ซึ่งการบาดเจ็บรุนแรงขนาดนี้ โอกาสที่ผู้ป่วยจะ<br />

กลับมาขยับแขนขาได้มีต ่ำมาก และมักเสียชีวิต<br />

ในเวลาต่อมา แม้จะลำบากใจแต่แพทย์จำเป็น<br />

ต้องให้ข้อมูลแก่คุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อซึ่งเป็นผู้<br />

ขับรถในครั้งนั้นถึงกับร้องไห้ออกมาต่อชะตากรรม<br />

ของลูกสาว<br />

การผ่าตัดซ่อมยึดกระดูกคออย่างเร็วที่สุดเป็น<br />

โอกาสเดียวแม้ความหวังจะริบหรี่ในยามนั้นจำได้<br />

ว่าตัวเองคิดถึงลูกสาวที ่มีอายุใกล้เคียงกับผู้ป่วย<br />

และเข้าใจถึงหัวอกของคุณพ่อคุณแม่ การผ่าตัด<br />

ผ่านไปด้วยดี อีก 1 ปีต่อมาผู้ป่วยกลับมาหา<br />

คุณหมอผ่าตัด เป็นหญิงสาวสวยแทบไม่เหลือ<br />

ความผิดปกติอยู่เลย<br />

มีเหตุการณ์มากมายในชีวิตการทำงานที่ทำให้<br />

คิดเสมอว่า การทุ่มเทในวิชาชีพของเราเป็นการได้<br />

สะสมบุญทุกๆ วัน ไม่ต้องไปทำบุญที่อื่น ทำในที่<br />

ทำงานของเรานี่แหละ<br />

ปรัชญาในการทำงาน<br />

ผู้ป่วยต้องมาก่อนเสมอค่ะ สิ่งนี้อยู่ในใจตลอด<br />

เวลา บำรุงราษฎร์มีโครงสร้างการบริหารที่ให้ความ<br />

สำคัญต่อคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย<br />

เป็นอันดับแรก ซึ่งตรงกับปรัชญาการท ำงานของตัวเอง<br />

ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี ่ยวชาญด้าน<br />

ประสาทวิทยา – โรคพาร์กินสัน<br />

หลังสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจาก<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.รุ่งโรจน์ ได้รับ<br />

วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญและปริญญาบัตรผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

สาขาอายุรศาสตร์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์<br />

แห่งกรุงลอนดอนและสาธารณรัฐไอร์แลนด์<br />

รวมถึงได้รับวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตวิทยา<br />

22<br />

และประสาทวิทยาจากประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

ปัจจุบัน ศ.นพ.รุ่งโรจน์เป็นอาจารย์พิเศษทั้งที่<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, University of California,<br />

Los Angeles และ Juntendo University Hospital<br />

ประเทศญี่ปุ่น<br />

เหตุใดจึงสนใจสาขา movement disorder<br />

สมัยนั้นสาขานี ้เป็นสาขาที่ค่อนข้างท้าทาย<br />

เพราะยังใหม่มาก หลายคนยังคิดว่าพาร์กินสัน<br />

เป็นโรคที่น่ากลัว ถ้าเป็นแล้วอีกไม่กี่ปีก็ต้องนอน<br />

ติดเตียง ยารักษาก็มีไม่กี่ตัว แต่ผมกลับรู้สึก<br />

อยากเรียน เพราะว่าเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลง<br />

ของผู้ป่วยอย่างชัดเจนว่าถ้าคุณรักษาเขาได้ดี<br />

เขาจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้<br />

ปัจจุบันวิธีการรักษาเปลี่ยนแปลง<br />

ไปอย่างไร<br />

เมื่อก่อนหากผู้ป่วยตัวสั่นเพียงเล็กน้อยแพทย์มัก<br />

จะบอกว่ายังไม่ต้องรักษา รอให้มีอาการเยอะๆ แล้ว<br />

ค่อยให้ยา แต่ในช่วง 10 ปีมานี้แนวทางการรักษา<br />

โรคพาร์กินสันมีประสิทธิภาพมากขึ้น มียาจำนวน<br />

มากขึ้น มีเทคนิคการผ่าตัดอย่างการผ่าตัดสมอง<br />

ส่วนลึกที่ก้าวหน้าแม้จะยังเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด<br />

แต่ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพได้นาน<br />

กว่า 20 ปี จากเมื่อก่อน 5 ปีก็ต้องนั่งรถเข็นแล้ว<br />

หลักคิดในการทำงาน<br />

ต้องมุ่งมั่นและจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตัวเองอยาก<br />

จะทำ แต่ก่อนที่จะมีความมุ่งมั่น คุณต้องมีความ<br />

ชอบในสิ่งนั้นอย่างจริงจังก่อน ถ้าคุณไม่ชอบ<br />

คุณก็ไม่อยากทำ ไม่อยากจะจดจ่อกับสิ่งนั้น<br />

ความคิดสร้างสร้างสรรค์ก็ไม่เกิด และทำให้ไม่มี<br />

ผลงานในที่สุด ผมโชคดีที่ได้เจอในสิ่งที่ชอบ<br />

แล้วพยายามหาโอกาสที่จะได้ทำสิ่งนั้น ที่สำคัญ<br />

คือต้องขยัน ผมเชื่อว่าอาชีพแพทย์ต้องขยัน<br />

ต้องทำจนเชี่ยวชาญ อะไรที่ยังไม่รู้ก็ต้องถามผู้รู้


พญ.รสนีย์ วัลยะเสวี<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบ<br />

ต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม<br />

พญ.รสนีย์จบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์<br />

ศิริราชพยาบาล ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 ก่อนจะ<br />

ไปทำงานวิจัยและศึกษาต่อทางด้านโรคระบบ<br />

ต่อมไร้ท่อที่ Howard University Hospital และ<br />

Mayo Clinic รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา เมื่อจบ<br />

งานวิจัยแล้วจึงสอบอเมริกันบอร์ดและกลับมา<br />

ร่วมงานกับบำรุงราษฎร์ในปี 2546 หลังใช้เวลา<br />

ในต่างประเทศนานถึง 14 ปี<br />

ผศ.พญ.ศริญญา ภูวนันท์<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ –<br />

ภาวะหัวใจล้มเหลวและปลูกถ่ายหัวใจ<br />

หลังสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต<br />

(เกียรตินิยม) และแพทย์ประจำบ้านสาขา<br />

อายุรศาสตร์ทั่วไป จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์<br />

ผศ.พญ.ศริญญาได้เลือกศึกษาต่อเฉพาะทาง<br />

ในสาขาอายุรศาสตร์หัวใจ ที่คณะแพทยศาสตร์<br />

ศิริราชพยาบาล สาขาคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ<br />

จาก Mayo Clinic และ Cleveland Clinic<br />

สหรัฐอเมริกา และสาขาภาวะหัวใจล้มเหลวและ<br />

อายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจ จาก University<br />

of Florida สหรัฐอเมริกา นับเป็นแพทย์เพียง 1 ใน<br />

การทำงานของแพทย์โรคระบบต่อมไร้ท่อ<br />

แพทย์ในปัจจุบันต้องหมั่นอัพเดทความรู้และ<br />

ตามโรคให้ทัน และเนื่องจากเบาหวานเป็นโรค<br />

เรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยจึงต้องต่อเนื่อง และผู้ป่วย<br />

ก็ต้องให้ความร่วมมือ การรักษาจึงจะได้ผลดี<br />

ในการรักษาหมอจะซักประวัติ รูปแบบการใช้<br />

ชีวิต และประวัติการใช้ยาอย่างละเอียด จากนั้น<br />

จะอธิบายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แผนการ<br />

รักษา รวมทั้งผลข้างเคียงหรือข้อควรระวังของยา<br />

ที่สั่งจ่าย และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม บางท่าน<br />

มาตอนที่ยังไม่มีโรคแทรกซ้อน หมอจะบอกเลยว่า<br />

หมอตั้งใจรักษานะ ขอให้คุณร่วมมือเพื่อช่วยลด<br />

ภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ หรือต้องตัดขา<br />

ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเข้าใจและให้ความร่วมมือ<br />

การรักษาที่รู้สึกประทับใจ<br />

ไม่ได้เป็นผู้ป่วยของแผนกต่อมไร้ท่อแต่เป็นเคส<br />

ชาวต่างชาติ อายุประมาณ 18-19 ปี มาประสบ<br />

อุบัติเหตุรถชนทางภาคใต้ โดยที่เขาเป็นโรค<br />

ฮีโมฟิเลีย (โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก) อยู่ก่อน<br />

ทำให้เลือดออกภายในช่องท้องเยอะมาก แต่<br />

เนื่องจากโรงพยาบาลต่างจังหวัดไม่มีสารที่ท ำให้เลือด<br />

4 ของประเทศไทยที่ผ่านการฝึกอบรมทางคลินิก<br />

เฉพาะทางด้านนี้<br />

แรงบันดาลใจและการทำงาน<br />

จุดเริ่มต้นที่ทำให้สนใจเรียนต่อในสาขาภาวะ<br />

หัวใจล้มเหลวและการปลูกถ่ายหัวใจเกิดขึ้นช่วงที่<br />

ยังเรียนอยู่ศิริราช มีนักศึกษาแพทย์ปี4 เกิดภาวะ<br />

หัวใจล้มเหลวชนิดมีภาวะหัวใจอักเสบแล้วช็อก<br />

ต้องเข้า CCU ในวันที่อยู่เวรพอดี อาการของน้อง<br />

รุนแรงมากแต่ตอนนั้นเรายังไม่มีแพทย์ที่มีความ<br />

เชี่ยวชาญทางด้านนี้ หากไม่ได้เครื่องช่วยพยุง<br />

หัวใจ (VAD) ไว้ก็คงไม่รอด ทำให้คิดว่าบ้านเรายัง<br />

ขาดแคลนแพทย์สาขานี้อยู่มาก<br />

ส่วนสาขาอายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจก็เช่น<br />

เดียวกันคือยังไม่มีแพทย์ทางด้านนี้มากนัก ที่ผ่าน<br />

มาการปลูกถ่ายหัวใจมักเริ่มต้นและอยู่ภายใต้การ<br />

ดูแลของศัลยแพทย์ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาจะ<br />

เป็นการดูแลร่วมกันระหว่างอายุรแพทย์โรคหัวใจ<br />

กับศัลยแพทย์หัวใจ โดยอายุรแพทย์โรคหัวใจจะ<br />

เป็นผู้ประเมินว่าผู้ป่วยจ ำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่าย<br />

หรือเปลี่ยนหัวใจหรือไม่ก่อนจะส่งต่อให้ศัลยแพทย์<br />

หัวใจ ซึ่งคิดว่าเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยอย่างมาก<br />

แข็งตัว เมื่อผ่าตัดเลือดก็ออกไม่หยุด จนผู้ป่วย<br />

ช็อกและมีช่วงที่หัวใจหยุดเต้น ญาติทางอเมริกา<br />

จึงติดต่อผ่าน Mayo Clinic ซึ่งมีเครือข่ายของ<br />

แพทย์ซึ่งเป็นศิษย์เก่าอยู่ทั่วโลก และหมอก็ได้รับ<br />

การติดต่อให้ช่วย<br />

เวลานั้นเป็นช่วงค่ำๆ ของวันเสาร์ เราส่ง air<br />

ambulance ไปเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาที่ห้องฉุกเฉิน<br />

ในเวลาเพียง 45 นาที มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึง<br />

9 ท่านเข้ามาดูแลผู้ป่วย ทั้งคุณหมอ ICU คุณหมอ<br />

โรคหัวใจ คุณหมอทางโรคเลือดภาวะโรคฮีโมฟีเลีย<br />

คุณหมอไต คุณหมอโรคติดเชื้อและศัลยแพทย์<br />

เจ้าหน้าที่ทุกคนช่วยกันดูแลจนกระทั่งผู้ป่วย<br />

สามารถเดินทางกลับสหรัฐอเมริกาได้อย่าง<br />

ปลอดภัย แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของ<br />

บำรุงราษฎร์ที่สามารถช่วยผู้ป่วยในทุกๆ ด้าน<br />

การร่วมงานกับบำรุงราษฎร์<br />

บำรุงราษฎร์มีบุคลากรที่มีความสามารถและ<br />

เครื่องมือที่ทันสมัย เราทำงานกันเป็นทีมทำให้การ<br />

ทำงานง่ายขึ้นและผลดีตกอยู่กับผู้ป่วย ทุกฝ่าย<br />

ให้การสนับสนุน ปัญหาต่างๆ ได้รับการใส่ใจแก้ไข<br />

ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น<br />

การดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว<br />

การดูแลผู้ป่วยต้องอาศัยการประเมินของ<br />

แพทย์ที่แม่นยำและการติดตามที่ใกล้ชิด ปัจจุบัน<br />

การรักษามีความก้าวหน้ามาก นอกจากยาแล้ว<br />

ยังมีการรักษาด้วยเครื่องช่วยการทำงานของหัวใจ<br />

ต่างๆ การผ่าตัดใส่เครื่องพยุงหัวใจและการผ่าตัด<br />

ปลูกถ่ายหัวใจ อย่างไรก็ตาม ความรู้ความเข้าใจ<br />

และการปฎิบัติได้จริงเกี่ยวกับการดูแลตัวเองของ<br />

ผู้ป่วยมีความสำคัญมากที่สุด เช่น การชั่งน้ำหนัก<br />

ทุกวันเพื่อติดตามสภาวะน้ำคั่ง การรับประทาน<br />

อาหารที่โซเดียมต่ำ การออกกำลังกาย การทราบ<br />

อาการที่ต้องระวัง ความสำคัญของยา และการ<br />

มาพบแพทย์ตามนัด เป็นต้น<br />

การร่วมงานกับบำรุงราษฎร์<br />

บำรุงราษฎร์มีระบบการจัดการที่ดี มีอุปกรณ์<br />

การแพทย์ที่ทันสมัยและรองรับการท ำงานของแพทย์<br />

ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ มีการดูแลผู้ป่วย<br />

เป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพโดยที่ทุกฝ่ายสนับสนุน<br />

การทำงานของกันและกัน เรียกว่าสมบูรณ์แบบมาก<br />

ตัวเองรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ทำงานที่นี่ค่ะ<br />

23


พื้นที่ประชาสัมพันธ์พิเศษ<br />

ฟิตร่างกาย<br />

เติมความแอคทีฟ<br />

และอ่อนเยาว์ให้ตนเอง<br />

แม้ไม่มีใครสามารถย้อนเวลากลับไปได้<br />

แต่เราทุกคนสามารถทำให้เข็มนาฬิกาแห่งอายุ<br />

เดินช้าลงได้ไม่ยาก เพียงแค่...ออกกำลังกาย<br />

ก<br />

ารออกกำาลังกายเป็นประจำาเป็นสิ่ง<br />

จำาเป็น หากคุณอยากมีสุขภาพแข็งแรง<br />

มีพลัง และดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ<br />

“ธรรมชาติสร้างคนเรามาให้ต้องมีการเคลื่อนไหว<br />

คนที่ออกแรงและเคลื่อนไหวอยู่เสมอมีแนวโน้ม<br />

ที่จะบริหารจัดการนำ้ำหนักของตัวเองได้ดีกว่า<br />

อีกทั้งการออกกำาลังกายยังช่วยลดผลกระทบจาก<br />

โรคประจำาตัวและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ช่วยเสริม<br />

สร้างความคล่องแคล่ว ยืดหยุ่น ทนทานให้กับ<br />

ร่างกาย และช่วยกระตุ้นสมอง ซึ่งจะเป็นเกราะ<br />

ป้องกันอาการความจำาเสื่อม การลดลงของระดับ<br />

การรับรู้ทางสติปัญญา และภาวะสมองเสื่อม<br />

อีกด้วย” พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ แพทย์ด้าน<br />

เวชศาสตร์ชะลอวัย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์<br />

อธิบายถึงประโยชน์มากมายของการออกกำาลังกาย<br />

อย่ากลัวที่จะเริ่มต้น<br />

สำาหรับใครที่ห่างหายจากการออกกำาลังกาย<br />

ไปนาน สิ่งที่ยากที่สุดมักเป็นการหา ‘จุดเริ่มต้น’<br />

ในการออกกำาลังกายนั่นเอง ซึ่งพญ.วรรณวิพุธ<br />

แนะนำาว่าอย่ากลัวที่จะเริ่มต้น และหากยังไม่ทราบ<br />

หรือไม่มั่นใจว่าตนควรจะออกกำาลังกายอย่างไร<br />

ก็อาจลองเริ่มจากโปรแกรมสอนออกกำาลังกาย<br />

ที่ได้รับความนิยม เช่น T25, The seven-minute<br />

workout หรือ The 10,000 steps ก่อนได้<br />

ส่วนผู้ที่ต้องการเริ่มต้นอย่างมั่นใจศูนย์ส่งเสริม<br />

สุขภาพไวทัลไลฟ์มีโปรแกรมการออกกำาลังกาย<br />

เฉพาะบุคคลที่ออกแบบมาให้ผู้เข้ารับคำาปรึกษา<br />

ทำาตามได้อย่างสะดวกใจและง่ายดาย โดย<br />

พญ.วรรณวิพุธ กล่าวว่า “ขั้นตอนแรกซึ่งสำาคัญ<br />

ที่สุดคือ การพูดคุยทำาความรู้จักกับผู้ที่เข้ามา<br />

ปรึกษาก่อน เพื ่อทำาความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพ<br />

ร่างกายและวิถีชีวิตของเขา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูก<br />

นำาไปวิเคราะห์หาจุดแข็งและจุดอ่อนเฉพาะบุคคล<br />

ก่อนนำามาสร้างแผนการสร้างเสริมสมรรถภาพ<br />

ทางร่างกายให้เหมาะสมกับแต่ละคนโดยเฉพาะ”<br />

ออกกำลังกายด้วยวิถีผสมผสาน<br />

เมื่อเริ่มต้นออกกำาลังกายแล้ว พญ.วรรณวิพุธ<br />

แนะนำาว่า ควรออกกำาลังกายให้หลากหลายรูปแบบ<br />

เพราะนอกจากจะช่วยไม่ให้เบื่อหน่ายแล้ว ยังเป็น<br />

การเสริมสร้างสมรรถภาพของร่างกายให้รอบด้าน<br />

อีกด้วย เช่น เล่นฟิตเนสเพื ่อเผาผลาญไขมัน<br />

ส่วนเกินและเสริมความแข็งแกร่งให้แก่กล้ามเนื้อ<br />

พร้อมกับออกกำาลังกายอย่างอื่นเพื่อสร้างความ<br />

ทนทานรวมถึงความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อไปด้วย<br />

เช่น ปั่นจักรยาน วิ่งจ็อกกิง ขณะที่การว่ายนำ้ำหรือ<br />

เดินก็เหมาะสมและปลอดภัยกว่าสำาหรับผู้ที่มี<br />

อาการบาดเจ็บ ปวดข้อกระดูก หรือผู้ที่มีนำ้ำหนัก<br />

ตัวค่อนข้างมาก<br />

“อีกหนึ่งรูปแบบของการออกกำาลังกายที่ลืม<br />

ไม่ได้คือ การทำางานบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำาสวน<br />

ล้างรถ หรือการปัดกวาดเช็ดถูต่างๆ ก็นับเป็น<br />

การออกกำาลังกายด้วยเช่นกัน”<br />

สร้างแรงบันดาลใจ<br />

สำาหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มออกกำาลังกาย การออก<br />

กำาลังกายอย่างไม่มีจุดหมายอาจบั่นทอนความ<br />

ตั้งใจและกำาลังใจลงไปได้มาก ดังนั้นควรตั้ง<br />

เป้าหมายในการออกกำาลังกาย เช่น เพื่อลด<br />

นำ้ำหนัก ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ<br />

ลดความดันโลหิต เพื่อสร้างแรงบันดาลให้กับ<br />

ตัวเองและพยายามทำาให้สำาเร็จ<br />

“นอกจากนี้ เรายังสามารถทำาให้การออก<br />

กำาลังกายเป็นกิจกรรมกลุ่มหรือเป็นพื้นที่ของการ<br />

พบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูงหรือสมาชิกในครอบครัว<br />

ซึ่งวิธีนี้ก็จะช่วยให้การออกกำาลังกายน่าสนใจ<br />

มากขึ้นได้” พญ.วรรณวิพุธ แนะนำาในท้ายที ่สุด<br />

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)<br />

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ www.vitallife-international.com หรือโทร 0 2667 2340<br />

24


+++++ <strong>Health</strong> Briefs<br />

9 ใน 10 ของโรคหลอดเลือดสมอง<br />

ป้องกันได้<br />

หลายคนทราบดีว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็น<br />

สาเหตุลำดับต้นๆ ของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ<br />

ของประชากรทั่วโลก แต่คุณทราบหรือไม่ว่าอันที่<br />

จริงแล้ว ร้อยละ 90 ของโรคนั้นสามารถป้องกันได้<br />

โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากสาเหตุหลักๆ 10<br />

ประการ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไม่ออกกำลังกาย<br />

ไขมันในเลือดสูง รับประทานอาหารไม่ถูกหลัก<br />

โภชนาการ น้ำหนักเกิน สูบบุหรี่ เป็นโรคหัวใจ<br />

โรคเบาหวาน แอลกอฮอล์ และความเครียด ซึ่ง<br />

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ทั้งสิ้น<br />

น่าสนใจว่าหากไม่มีสาเหตุเหล่านี้ โอกาสการเกิด<br />

โรคหลอดเลือดสมองจะลดลงได้มากน้อยเพียงใด<br />

นี่จึงเป็นที่มาของงานวิจัยที่สถาบันการแพทย์<br />

หลายแห่งทั่วโลกร่วมกันทำขึ้นภายใต้ชื่อ INTER-<br />

STROKE โดยเป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง<br />

จำนวนเกือบ 27,000 คนจาก 32 ประเทศทั่วโลก<br />

ซึ่งผลปรากฏว่าความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยง<br />

ที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง<br />

หากกำจัดสาเหตุนี้ได้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของ<br />

การเกิดโรคได้ถึงร้อยละ 48 และหากกำจัดได้ทั้ง<br />

10 สาเหตุ ก็เท่ากับลดโอกาสของการเป็นโรค<br />

หลอดเลือดสมองได้ถึงร้อยละ 90.7 ทีเดียว<br />

งานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า<br />

การปรับเปลี ่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเป็นการ<br />

ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ต้นเหตุซึ่งได้ผลดี<br />

ที่สุดอย่างแน่นอน<br />

26<br />

ไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ<br />

อย่าปล่อยให้ตัวเองเหงา<br />

บทความล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Heart<br />

ของอังกฤษระบุว่า ความโดดเดี่ยวอ้างว้างและ<br />

แยกตัวจากสังคมนั้นอาจทำให้คุณเป็นโรคหัวใจ<br />

และโรคหลอดเลือดสมองได้<br />

นักวิจัยจาก University of York ประเทศ<br />

อังกฤษ ใช้วิธีวิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรม<br />

การเข้าสังคมจำนวน 23 ชิ้นครอบคลุมกลุ่ม<br />

ตัวอย่างมากถึง 181,000 คน และพบว่าเมื่อเวลา<br />

ผ่านไป คนที่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือชอบปิดกั้นตัวเอง<br />

จากโลกภายนอกมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจ<br />

มากกว่าร้อยละ 29 และมีโอกาสป่วยเป็นโรค<br />

หลอดเลือดสมองมากกว่าร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับ<br />

คนที่มีเพื่อนมากและชอบสังสรรค์ ซึ่งเป็นตัวเลข<br />

ความเสี่ยงที่ใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่หรือเป็น<br />

โรคอ้วนเลยทีเดียว<br />

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาพจิตใจนั้นส่งผลต่อ<br />

สุขภาพร่างกายโดยตรง โดยเฉพาะความเหงาซึ่ง<br />

นอกจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองแล้ว<br />

ยังเคยมีการศึกษากันว่าอาจเป็นสาเหตุให้ภูมิ<br />

คุ้มกันโรคอ่อนแอลง และทำให้ความดันโลหิต<br />

เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย<br />

สมองหดตัวได้<br />

หากไม่เริ่มออกกำลังกาย<br />

เชื่อหรือไม่ว่าความเฉื่อยชาในช่วงวัยกลางคนนั้น<br />

ส่งผลต่อสมองยามสูงวัยของคุณได้อย่างคาดไม่ถึง<br />

งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารNeurology<br />

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยง<br />

ระหว่างพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ที่มีอายุ<br />

อยู่ในวัยกลางคนกับการหดตัวของสมองเมื่ออายุ<br />

มากขึ้น โดยนักวิจัยได้ติดตามกลุ่มตัวอย่างที่มี<br />

อายุเฉลี่ย 40 ปีจำนวน 1,100 คนเป็นเวลายาวนาน<br />

ถึง 20 ปี และพบว่าคนที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย<br />

ในวัยกลางคนนั้นมีเนื้อสมองที่หดเล็กลงเมื่อเทียบ<br />

กับคนที่ใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง<br />

ทั้งนี้ นักวิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีประวัติ<br />

ป่วยเป็นโรคหัวใจหรือมีภาวะสมองเสื่อมมาก่อน<br />

และให้ทุกคนเข้ารับการทดสอบความอดทนของ<br />

ระบบหายใจและไหลเวียนโลหิตด้วยการวิ่งบน<br />

สายพานไฟฟ้าแล้วจึงเก็บข้อมูลไว้เพื่อเปรียบเทียบ<br />

กับการทดสอบแบบเดียวกันกับคนกลุ่มเดียวกัน<br />

ในอีก 20 ปีต่อมา แต่ในครั้งหลังนี้นักวิจัยได้เพิ่ม<br />

การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และ<br />

ทดสอบการทำงานของสมองร่วมด้วย<br />

เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ก็มีงานวิจัย<br />

ที่ระบุว่าการออกกำลังกายแบบปานกลางอาจ<br />

เกี่ยวข้องกับการที่สมองแก่ตัวช้าลง<br />

ชัดเจนอย่างนี้แล้ว ลุกไปออกกำลังกายกันเถอะ


่<br />

+++++ Q & A<br />

ปัญหาสุขภาพจำเป็นต้องได้รับคำตอบจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ<br />

เฉพาะทางเท่านั้น ไม่ว่าปัญหาของคุณคืออะไร <strong>Better</strong> <strong>Health</strong><br />

มีคำตอบที่คุณวางใจในความถูกต้องได้เสมอ<br />

Q: อยากขอคำแนะนำจากคุณหมอเกี่ยวกับการเลือกรับประทานสารให้ความหวาน<br />

แทนน้ำตาล เนื่องจากครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวาน จึงอยากระวังไว้ก่อนค่ะ<br />

A: การใส่ใจดูแลเรื่องการรับประทานอาหารในกรณีที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรค<br />

เบาหวานเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่อันที่จริงแล้วอาหารของผู้ป่วยเบาหวานกับอาหารของผู้ที<br />

ไม่ได้เป็นเบาหวานคืออาหารแบบเดียวกัน หลักการอยู่ที่ต้องรู้จักเลือกรับประทาน เช่น<br />

ไม่รับประทานแป้งกับน้ำตาลมากเกินไป แต่ให้<br />

เน้นผัก ส่วนผลไม้ถ้าหวานมากก็รับประทาน<br />

น้อยชิ้น หรือแบ่งเป็นส่วนๆ วันละ 3-4 ครั้ง<br />

ไม่รับประทานทีเดียวในปริมาณมาก<br />

ส่วนสารให้ความหวานหรือที่เราเรียกว่าน้ำตาล<br />

เทียมนั้นเป็นวัตถุให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน<br />

หรือให้น้อยมาก โดยตัวของมันเองสามารถ<br />

รับประทานได้โดยไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้น<br />

เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือมีโอกาสเสี่ยง<br />

จะเป็นเบาหวาน ปัจจุบันมีให้เลือกใช้หลายชนิด<br />

เช่น แซ็กคาริน (saccharin), แอสปาร์เทม<br />

(aspartame), ซูคราโลส (sucralose) และ<br />

หญ้าหวาน (stevia)‎ แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและ<br />

รสชาติแตกต่างกันไป ให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม<br />

เช่น ใส่ในชา กาแฟ เพียงเล็กน้อย ข้อควรระวัง<br />

เช่น ใช้ปรุงอาหารพวกขนมหวานแล้วเข้าใจว่า<br />

รับประทานแล้วไม่อ้วน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด<br />

เพราะในอาหารนั้นยังมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น<br />

แป้งรวมอยู่ด้วย รับประทานแล้วก็อาจทำให้<br />

น้ำหนักเพิ่มหรือน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้<br />

พญ.รสนีย์ วัลยะเสวี<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบต่อมไร้ท่อ<br />

และเมตะบอลิสม<br />

Q: คุณพ่อวัย 75 ปี เริ่มมีอาการมือสั่นอย่างเห็นได้ชัด<br />

อาการแบบนี้เป็นปกติของผู้สูงอายุหรือเปล่าครับ?<br />

A: อาการสั่นที่เห็นได้ชัดเจนและมีอาการต่อเนื่อง<br />

เป็นเวลานาน ไม่มีอาการไหนที่ถือว่าปกติ ต้องดูว่า<br />

อาการสั่นนั้นเกิดจากโรคอะไร เพราะมีโรคในผู้สูงอายุ<br />

หลายโรคที่มีอาการสั่นซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นโรค<br />

พาร์กินสันเสมอไป<br />

อาการสั่นในโรคพาร์กินสันจะสังเกตได้ง่าย คือ<br />

จะเริ่มสั่นข้างเดียวก่อน โดยร้อยละ 70 เริ่มที่มือ<br />

อีกร้อยละ 30 เริ่มที่ขา บางรายริมฝีปากหรือคางสั่น<br />

แต่จะไม่สั่นทั้งศีรษะ นอกจากนี้อาการสั่นจะเกิด<br />

เฉพาะเวลาที่ผู้ป่วยอยู่เฉยๆ ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย<br />

เช่น ขณะนั่งดูโทรทัศน์ แต่เมื่อขยับร่างกายยกมือขึ้น<br />

ปรากฏว่าอาการสั่นหายไป ซึ่งช่วงแรกๆ ผู้ป่วย<br />

อาจจะยังไม่รู้ตัว ฉะนั้นผู้สูงอายุที่มีอาการสั่นจน<br />

ตักอาหารรับประทานไม่ได้ ตักแล้วหก กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน<br />

ถ้าคุณพ่อมีอาการนานกว่า 6 เดือนแล้ว และอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ควรพาท่าน<br />

มาพบแพทย์โดยด่วนครับ<br />

ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ<br />

อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา<br />

28


+++++ Bumrungrad News<br />

ผู้ป่วยโรคหัวใจชาวเวียดนามได้รับชีวิตใหม่ที่บำรุงราษฎร์<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ประสบความสำเร็จในโครงการ ‘ผ่าตัดผู้ป่วย<br />

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดผู้ยากไร้ชาวเวียดนาม’ ซึ่งเป็นโครงการคัดเลือก<br />

ชาวเวียดนามที่มีฐานะยากจนและป่วยเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดมาเข้ารับการ<br />

ผ่าตัดหัวใจที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี<br />

รวมถึงเพื ่อเป็นการเฉลิมฉลอง 40 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทาง<br />

การทูตระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและในโอกาสที่<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ดำเนินการมาครบ 36 ปี โดยคัดเลือกชาวเวียดนาม<br />

ผู้ยากไร้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำนวน 5 รายเพื่อเข้ารับการผ่าตัด<br />

ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในช่วงเดือนกรกฎาคม 2559<br />

ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยทุกรายมีอาการดีขึ้นตามลำดับ และเดินทางกลับ<br />

ประเทศโดยสวัสดิภาพเป็นที่เรียบร้อยโดยสายการบินแอร์เอเชีย<br />

Mother’s Day 2016<br />

เป็นพ่อแม่ มหัศจรรย์ของการให้ชีวิต<br />

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จัดงาน "Mom Little Secret"<br />

เป็นพ่อแม่ มหัศจรรย์ของการให้ชีวิต โดยเชิญคุณพ่อคุณแม่<br />

เข้าร่วมรับฟังเทคนิคการดูแลคุณแม่มือใหม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์<br />

จากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาล พร้อมพูดคุย<br />

แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณลิเดีย-ศรัณรัชต์ ดีน และคุณโน้ต<br />

ณัฐกานต์ เตชะรัตนไชย (ประสพสายพรกุล) โดยภายในงานมี<br />

หัวข้อน่าสนใจที่คุณแม่ควรรู้ อาทิ การเตรียมตัว 40 สัปดาห์<br />

แห่งครรภ์คุณภาพ การคลอดธรรมชาติ-ผ่าคลอด วิธีไหนดีกับแม่<br />

และปลอดภัยกับลูก วิธีดูแลผิวพรรณคุณแม่ท้องให้สดใสและ<br />

ออกกำลังกายอย่างไรให้คุณแม่ฟิตแอนด์เฟิร์ม<br />

บำรุงราษฎร์ คลินิก ย่างกุ้ง เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว<br />

บำรุงราษฎร์ คลินิก ย่างกุ้ง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเป็นที่<br />

เรียบร้อยแล้ว โดยในระยะแรกเป็นการให้บริการ 5 ด้านด้วยกัน คือ บริการ<br />

ด้านสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ การตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน บริการถ่ายภาพ<br />

ทางรังสี บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และบริการนัดหมายแพทย์<br />

สำหรับผู้ที่จะเดินทางเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

กรุงเทพฯ ทั้งนี้การดูแลผู้ป่วยทุกขั้นตอนเป็นไปตามมาตรฐานของบำรุงราษฎร์<br />

ทุกประการ<br />

สำหรับงานเปิดคลินิกอย่างเป็นทางการ บำรุงราษฎร์ คลินิก ย่างกุ้ง<br />

ได้รับเกียรติจากคุณพิษณุ สุวรรณะชฏ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง<br />

คุณเดนนิส บราวน์Corporate CEO (ตำแหน่งขณะนั้น) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์<br />

พร้อมด้วย Dr. Mo Nyan Kyaw (Marcus) และคุณ Bruce Mo Ye Kyaw<br />

ผู้บริหารบริษัท ย่างกุ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคอล เซอร์วิส พร้อมแขก<br />

ผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก<br />

30

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!