01.12.2015 Views

Better Health 29 th

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

The magazine for patients and friends of Bumrungrad International Hospital, Thailand.

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

p2 Ad <strong>Heal<strong>th</strong></strong>y Maxx


W e l c o m e<br />

พบกันอีกครั้งกับ นิตยสารสำาหรับ<br />

ผู้มีอุปการคุณของโรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ อินเตอร์<br />

เนชั่นแนล<br />

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในความรับรู้ของหลายคนอาจดูเหมือน<br />

ไม่มีพิษมีภัย แต่ในความเป็นจริงแล้วหัวใจที่เต้นผิดจังหวะอาจมี<br />

สาเหตุมาจากความผิดปกติบางประการของหัวใจซึ ่งหากปล่อยไว้โดย<br />

ไม่ดูแลก็อาจนำาไปสู่ภาวะที่รุนแรงต่อไปได้ ฉบับนี้<br />

มีเรื่องราวของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมาให้คุณอ่านกันเริ่มตั้งแต่หน้า 4<br />

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้พัฒนาไปมาก ปัจจุบัน<br />

แพทย์สามารถรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดให้หายได้<br />

ต้องขอบคุณความรู้เรื่องสรีรวิทยากระแสไฟฟ้าของหัวใจซึ่งคุณจะ<br />

อ่านได้ในหน้า 6 พลิกไปหน้า 10 ตรวจดูกันว่า ยังมีเรื่องอะไร<br />

อีกบ้างที่คุณอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคหัวใจ<br />

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดยังคงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต<br />

ของคนไทยและคนทั่วโลกในอันดับต้น ๆ บทความของเราในหน้า<br />

16 จะบอกคุณได้ว่าการสังเกตตัวเองและรีบไปพบแพทย์โดยไม่รอช้า<br />

จะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร และเช่นเคย หากคุณมีข้อแนะนำา<br />

หรือคำาติชมใด ๆ ส่งมาได้ที่ betterheal<strong>th</strong>@bumrungrad.com<br />

เรายินดีน้อมรับด้วยความขอบคุณ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดี<br />

โดยทั่วกัน<br />

C o n t e n t s<br />

4 Cardiac arrhy<strong>th</strong>mia<br />

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ รู้ทัน รับมือได้<br />

6 Electrophysiology study<br />

สรีรวิทยาไฟฟ้ารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

10 Heart disease my<strong>th</strong>s<br />

5 เรื่องเกี่ยวกับโรคหัวใจที่คุณอาจเข้าใจผิด<br />

12 Q & A<br />

14 M.D. Focus<br />

รู้จักกับแพทย์บำารุงราษฎร์<br />

16 Heart attack<br />

ใช่หรือไม่? กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด<br />

20 <strong>Heal<strong>th</strong></strong> Briefs<br />

22 News from Bumrungrad International<br />

พญ. จิตรา อนุราษฎร์<br />

รองผู้อำานวยการด้านการแพทย์อาวุโส<br />

Senior-Associate Medical Director<br />

4 10 16<br />

นิตยสาร เป็นนิตยสารรายสี่เดือนของบริษัท โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ จำากัด (มหาชน) เพื่อแจกจ่ายเป็นการ<br />

ภายใน จัดทำาและจัดพิมพ์โดย บริษัท โอกินส์ แอนด์ สโตน จำากัด เลขที่ 16 อโศกคอร์ท ห้อง 2A ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก)<br />

แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โทร. 0 2261 1211 www.oakinsandstone.com<br />

2014 ข้อเขียนและรูปภาพทุกชิ้นในนิตยสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ จำากัด (มหาชน) ห้ามพิมพ์ซ้ำา<br />

หรือกระทำาการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บริษัท โรงพยาบาล<br />

บำารุงราษฎร์ จำากัด (มหาชน) โทร: 0 2667 1000<br />

ข้อความในเนื้อที่โฆษณาของนิตยสารฉบับนี้ที่มิได้เป็นของบริษัท โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ จำากัด (มหาชน) ถือเป็นความเห็นส่วนตัว<br />

ของเจ้าของผลิตภัณฑ์และบริการ โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ฯ ไม่มีเจตนาให้การรับรองคุณภาพสินค้า บริการ หรือข้อความ<br />

ที่ปรากฏแต่อย่างใด<br />

ติดต่อโรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล<br />

โทรศัพท์: 0 2667 1000<br />

โทรสาร: 0 2667 2525<br />

นัดแพทย์: 0 2667 1555<br />

เว็บไซต์: www.bumrungrad.com


CARDIAC ARRHYTHMIA<br />

ทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ<br />

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

วูบ ใจสั่น เหนื่อยง่าย รู้สึกคล้ายจะเป็นลม อาจเป็นอาการ<br />

ธรรมดาสามัญที่หลายคนไม่ให้ความสนใจ แต่คุณทราบ<br />

หรือไม่ว่า นี่อาจเป็นอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

หนึ่งในโรคหัวใจที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่งซึ่งไม่เพียงบั่นทอนคุณภาพชีวิต<br />

แต่ยังเป็นภัยคุกคามให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้อีกด้วย<br />

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด มีอาการโดย<br />

ละเอียดอย่างไร และจะรักษาได้หรือไม่ ฉบับนี้<br />

พูดคุยกับนพ. โชติกร คุณวัฒน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อหา<br />

คำาตอบมาฝากคุณ<br />

ช้าไป เร็วไป ไม่สม่ำาเสมอ<br />

โดยทั่วไปแล้วอัตราการเต้นของหัวใจคนเราจะอยู่ที่ประมาณ 60 - 100<br />

ครั้งต่อนาที มีจังหวะการเต้นสม่ำาเสมอ โดยหัวใจห้องข้างบนและข้างล่าง<br />

จะเต้นในจังหวะที่สัมพันธ์กัน แต่เมื่อใดก็ตามที่หัวใจเต้นช้า เต้นเร็ว<br />

เต้นเป็นจังหวะไม่สม่ำาเสมอ ไม่สัมพันธ์กัน มีหยุดบางช่วง นั่นหมายถึงว่า<br />

เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้น<br />

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยทุกกลุ่มวัย โดยเกิดจาก<br />

สาเหตุที่แตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งนพ. โชติกรสรุปสาเหตุ<br />

สำาคัญ ๆ ไว้ดังนี้<br />

หัวใจเต้นปกติ<br />

หัวใจห้องบนขวา<br />

หัวใจห้องบนซ้าย<br />

จุดกำาเนิด<br />

ไฟฟ้าหัวใจ<br />

รับและส่ง<br />

กระแสไฟฟ้า<br />

ลงไปยัง<br />

หัวใจห้องล่าง<br />

หัวใจเต้นพลิ้ว<br />

ความผิดปกติตั้งแต่กำาเนิด เช่น มีผนังหัวใจหนามาก ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้น<br />

ผิดจังหวะที่อายุน้อย ๆ มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติมาตั้งแต่กำาเนิด<br />

ความผิดปกติทางร่างกายที่มีผลต่อการทำางานของหัวใจ อาทิ เบาหวาน<br />

ความดันโลหิต ไขมันในเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง<br />

ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ซึ่งมักพบในผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นผู้สูงอายุ<br />

อาหารบางอย่าง เช่น ชา กาแฟ น้ำาอัดลม ช็อกโกแลต<br />

ยารักษาโรคบางชนิด อาทิ ยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน<br />

ยารักษาโรคหอบหืด<br />

ความผิดปกติอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการทำางานของหัวใจ อาทิ ภาวะต่อม<br />

ไทรอยด์ทำางานผิดปกติ อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายผิดปกติ เช่น<br />

แมกนีเซียม โพแทสเซียม เป็นต้น<br />

ความเครียดและความวิตกกังวล<br />

ปัจจัยทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อระบบไฟฟ้าในหัวใจ ทำาให้กระแสไฟฟ้า<br />

ในหัวใจเปลี่ยนไป เกิดคลื่นไฟฟ้าหมุนวน หรือทำาให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรใน<br />

ห้องหัวใจที่ทำาให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ซึ่งหากเป็นการเต้นเร็วผิดปกติ<br />

จากหัวใจห้องบนแบบเต้นพลิ้วก็อาจทำาให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ซึ่งถ้า<br />

ลิ่มเลือดนี้หลุดไปที่สมองก็มีโอกาสทำาให้เป็นอัมพาตได้ หรือถ้าหัวใจ<br />

ห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติก็จะทำาให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่ดี และหาก<br />

ปล่อยไว้นานหัวใจก็อาจจะเต้นพลิ้วและอาจจะหยุดเต้นได้<br />

อย่างไรก็ตาม นพ. โชติกรอธิบายว่า อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น<br />

ไม่ได้เป็นอันตรายไปเสียทั้งหมด “เมื่อเกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้น<br />

แพทย์จะวิเคราะห์ว่าเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดใด เช่น หากเป็นการเต้น<br />

แทรกธรรมดาจากห้องข้างบนหรือห้องข้างล่างของหัวใจ แต่ตรวจแล้วไม่<br />

พบสัญญาณของหลอดเลือดอุดตัน หรือ หัวใจอ่อนแรง ก็ไม่เป็นอันตราย<br />

แต่ถ้าเป็นหัวใจเต้นพลิ้ว หรือ Atrial Fibrillation ซึ่งมักพบในผู้ป่วย<br />

สูงอายุ พวกนี้เป็นอันตรายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำ าตัว<br />

เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง”<br />

วินิจฉัยอย่างละเอียด<br />

ผู ้ป่วยที ่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางรายมาพบแพทย์ด้วยอาการใจสั ่น<br />

หน้ามืด หายใจขัด เป็นลมหมดสติ บางรายมาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก<br />

4


ในขณะที่บางรายไม่มีอาการเลย แต่เป็นการตรวจพบภายหลัง<br />

ดังนั้นการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดจึงสำาคัญอย่างยิ่ง โดย<br />

แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติผู้ป่วยเพื่อคัดแยกว่าอาการ<br />

ที่ผู้ป่วยประสบนั้นคือหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ซึ่งแพทย์<br />

จะต้องคัดกรองโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเต้นของ<br />

หัวใจเสียก่อน<br />

“ในขั้นแรกแพทย์จะตรวจร่างกายดูว่ามีการเต้นของ<br />

หัวใจที่ผิดปกติ เสียงหัวใจผิดปกติ หรือขนาดหัวใจโต<br />

หรือไม่ ตรวจเลือด ตรวจสารต่าง ๆ ในร่างกาย ตรวจดู<br />

การทำางานของต่อมไทรอยด์ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ”<br />

นพ. โชติกรอธิบาย “การที่ตรวจไม่เจอ ณ ขณะนั้น ไม่ได้<br />

แปลว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็น เพราะบางครั้งอาการอาจเกิดขึ้น<br />

ชั่วขณะแล้วหายไป ในช่วงเวลาที่ปกติก็ตรวจไม่พบอะไร กรณีแบบนี้ต้อง<br />

ตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจมอนิเตอร์ 24 ชั่วโมง โดยจะติดเครื่องตรวจ<br />

ให้ผู้ป่วยนำากลับบ้านไปแล้วค่อยกลับมาพบแพทย์อีกทีภายใน 24 ชั่วโมง<br />

เพื่อวิเคราะห์ดูว่ามีหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ เป็นต้น ส่วนอีกกรณี คือ<br />

ผู้ป่วยเป็นนาน ๆ ครั้ง เราก็มีเครื่องมือที่เรียกว่า Event Monitor ให้ผู้ป่วย<br />

พกกลับบ้าน เมื่อรู้สึกว่ามีอาการก็กดปุ ่มและนำามาแนบหน้าอกเพื่อบันทึก<br />

อาการผิดปกติ”<br />

นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความ<br />

ถี่สูง (Echocardiogram) ซึ่งเป็นการตรวจที่ช่วยให้แพทย์เห็นโครงสร้าง<br />

หัวใจ โดยดูว่ามีลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจบีบตัวไม่ปกติ หัวใจอ่อนแรงหรือไม่<br />

ผู้ป่วยอาจต้องวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test) เพื่อวัดความผิดปกติของ<br />

หัวใจเมื่อถูกกระตุ้นให้ทำางานหนักซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะไล่เรียงตรวจ<br />

เพื่อให้แน่ใจที่สุด รวมทั้งวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

ชนิดใดและมีอันตรายหรือไม่<br />

หลอดเลือดดำา<br />

ใต้กระดูก<br />

ไหปลาร้า<br />

สายสื่อ<br />

กระตุ้นไฟฟ้าสองห้อง<br />

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ<br />

วงจรกำาเนิด<br />

ชีพจร/ตัวเครื่อง<br />

สายสื่อห้อง<br />

ข้างบนขวา<br />

สายสื่อห้อง<br />

ข้างล่างขวา<br />

กระตุ้นไฟฟ้าหนึ่งเดียว<br />

กระตุ้นไฟฟ้าสามห้อง<br />

เส้นเลือดดำา<br />

ของหัวใจ<br />

สายสื่อห้อง<br />

ข้างล่างซ้าย<br />

รักษาที่ต้นเหตุ<br />

สำาหรับการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น จะเป็นการรักษาตามสาเหตุ<br />

ของโรคเนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ผู้ป่วยที่มี<br />

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการรับประทานยาบางชนิด แพทย์อาจ<br />

พิจารณาให้หยุดยาก่อน ในรายที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะเนื่องจากต่อมไทรอยด์<br />

ผิดปกติ แพทย์ก็จะรักษาความผิดปกติของไทรอยด์นั้น หรือบางกรณีเกิด<br />

จากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ก็อาจต้องรักษาโดยทำาบายพาส หรือใส่<br />

ขดลวดเพื่อขยายหลอดเลือด เป็นต้น<br />

“กรณีที่ผู้ป่วยมีหัวใจเต้นผิดปกติแบบเต้นเร็วบางชนิด มีอาการอยู่<br />

บ่อย ๆ แต่ไม่อยากรับประทานยาไปตลอด แพทย์อาจแนะนำาให้รักษาด้วย<br />

การจี ้ไฟฟ้า โดยการสอดสายสวนเข้าไปยังตำาแหน่งที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของ<br />

ความผิดปกติโดยสอดเข้าจากทางหน้าขาผ่านเข้าไปทางหลอดเลือดดำา<br />

เข้าสู่หัวใจที่ปลายสายสวนจะมีจุดปล่อยกระแสไฟฟ้า ซึ ่งจะปล่อยกระแส<br />

ไฟฟ้าไปทำาลายจุดที่ทำาให้หัวใจเต้นผิดปกติ” นพ. โชติกรกล่าว<br />

ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นช้าโดยไม่ได้เกิดจากยาหรือ<br />

ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ การรักษาอาจทำาได้โดยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือ<br />

Pacemaker แต่หากเป็นกรณีหัวใจอ่อนแรงแล้วรักษาด้วยยาไม่ดีขึ้น<br />

การปล่อยไว้จะทำาให้หัวใจเต้นผิดจังหวะแล้วอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้<br />

ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจต้องใส่เครื่องช่วยกระตุกหัวใจ (Defibrillator) ที่จะคอย<br />

กระตุกให้หัวใจกลับมาทำางานปกติทุกครั้งที่ได้รับสัญญาณผิดปกติ<br />

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีอาการหัวใจอ่อนแรงและน้ำาท่วมปอดอยู่บ่อย ๆ<br />

แพทย์จะมีวิธีช่วยคือการใส่เครื่องช่วยรักษาที่เรียกว่า Cardiac Resynchronization<br />

Therapy ซึ่งเป็นเครื่องช่วยการบีบตัวของห้องข้างล่างหัวใจ<br />

ที่รวมเอาเครื่องช่วยกระตุกหัวใจไว้ด้วยทำาให้หัวใจห้องข้างล่างทำางาน<br />

สัมพันธ์กันและช่วยให้บีบตัวได้มากขึ้นและทำาให้ไม่เกิดภาวะน้ำาท่วมปอด<br />

รู้ทัน รับมือได้<br />

“ ตามปกติแล้วอัตราการเต้นของ<br />

หัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 60 - 100<br />

ครั้งต่อนาที มีจังหวะการเต้น<br />

สม่ำาเสมอ โดยหัวใจห้องข้างบน<br />

และข้างล่างจะเต้นในจังหวะ<br />

ที่สัมพันธ์กัน ”<br />

นพ. โชติกร คุณวัฒน์<br />

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที ่ไม่ได้เป็นมาตั ้งแต่กำาเนิดนั ้น สามารถป้องกัน<br />

ได้ด้วยการหมั่นดูแลสุขภาพอย่างสม่ำาเสมอ เข้ารับการตรวจร่างกาย<br />

ประจำาปีเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติของสารต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึง<br />

ดูการทำางานของต่อมไทรอยด์ และถ้าเมื่อไรที่มีอาการผิดปกติ อาทิ ใจสั่น<br />

หัวใจเต้นไม่สม่ำาเสมอ มีอาการเหนื่อย เจ็บหน้าอก หน้ามืด เป็นลม หรือ<br />

รู้สึกได้ว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุ<br />

ที่แท้จริงต่อไป<br />

5


6


ELECTROPHYSIOLOGY STUDY<br />

EP Study กับการวินิจฉัย<br />

และรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

ความรู้และเทคนิคใหม่ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

เป็นความหวังของผู้ป่วยอย่างแท้จริง<br />

ห<br />

ากจะกล่าวว่าภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นถือได้ว่าเป็นภัยเงียบ<br />

ก็คงไม่ผิดนัก เพราะอาการของผู้ป่วยอาจเกิดขึ้นเพียงบางช่วง<br />

เวลา หลายรายไม่แสดงอาการขณะแพทย์ทำาการตรวจวินิจฉัย<br />

ทำาให้ผู้ป่วยบางส่วนไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้การตรวจวินิจฉัยหา<br />

สาเหตุของความผิดปกติอย่างตรงจุด รวมทั้งการรักษาให้มีประสิทธิภาพ<br />

สูงสุดต้องอาศัยประสบการณ์ของแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยร่วมกัน<br />

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีสาเหตุมาจากกระแสไฟฟ้าในหัวใจที่<br />

ควบคุมกลไกการเต้นของหัวใจเกิดความผิดปกติ หรือเรียกได้ว่าไฟฟ้า<br />

หัวใจลัดวงจร ปัจจุบันการแพทย์มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก การศึกษา<br />

ด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ หรือ Electrophysiology Study (EP Study) เข้ามา<br />

6<br />

“ การระบุตำาแหน่งต้นตอ<br />

ของความผิดปกติจะช่วย<br />

ให้เราทำาการรักษาที่<br />

สาเหตุได้อย่างแท้จริง ”<br />

นพ. กุลวี เนตรมณี<br />

มีบทบาทสำาคัญในการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะทั่วโลก<br />

ได้รับเกียรติจากนายแพทย์กุลวี เนตรมณี อายุรแพทย์<br />

โรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ และมีประสบการณ์ด้านการ<br />

รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมากว่า 30 ปี ทั้งในประเทศไทยและสหรัฐ<br />

อเมริกามาตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ EP Study และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

“ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึงการที่หัวใจเต้นอย่างไม่สม่ำาเสมอ<br />

โดยอาจเต้นเร็วเกินไป เต้นช้าเกินไป หรือเต้นแล้วเว้นจังหวะไปก็เป็นได้”<br />

นพ. กุลวีเริ่มอธิบาย “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด ซึ่งหลายชนิด<br />

ไม่เป็นอันตราย แต่สำาหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทอาจเป็น<br />

อันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาทันทีเช่น หัวใจห้องล่างเต้นรัว<br />

(Ventricular Tachycardia) หรือหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว<br />

(Atrial Fibrillation) ซึ่งเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่พบมาก<br />

ที่สุดและจำาเป็นต้องได้รับการรักษา”<br />

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือ Atrial Fibrillation ที่พบ<br />

ได้บ่อยนั ้นมักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมาก<br />

กว่า 75 ปีซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าคนอายุน้อยหรือไม่เกิน 50 ปี<br />

ถึง 13 เท่า นพ. กุลวีอธิบายต่อว่า “สาเหตุของภาวะหัวใจ<br />

เต้นผิดจังหวะมีมากมาย โดยอาจจะเป็นภาวะผิดปกติของ<br />

หัวใจที่เป็นมาแต่กำาเนิด หรือปัจจัยบางประการที่ส่งผลให้<br />

กายภาพของหัวใจเปลี่ยนแปลงไป อาทิ ภาวะหลอดเลือด<br />

หัวใจตีบ หัวใจวาย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

ภาวะความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หรือ<br />

แม้แต่การสูญเสียเกลือแร่มากเกินไปก็เป็นสาเหตุทำาให้ระบบ<br />

ไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติได้”


p7 Ad Eucerin


อาการที่พึงสังเกตของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว<br />

เหงื่อออก มีอาการคล้ายจะเป็นลม “เมื่อมีอาการดังกล่าว อย่างน้อยก็<br />

ควรมาพบแพทย์รับการตรวจดูสักครั้ง” นพ. กุลวีกล่าว “ส่วนตัวแพทย์เอง<br />

การจะดูว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดใดเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือไม่นั้นต้อง<br />

พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ยกตัวอย่างเช่นผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิด<br />

จังหวะรายหนึ่งมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอร่วมด้วย ขณะที่อีกรายมี<br />

หัวใจเต้นผิดจังหวะก็จริง แต่โครงสร้างของหัวใจปกติดีทุกอย่าง ผู้ป่วย<br />

สองรายนี้ย่อมเผชิญความเสี่ยงต่อชีวิตไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการรักษาก็<br />

ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป”<br />

EP Study กับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

ในการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติและตรวจสอบ<br />

ว่าการรักษาแบบใดจะเหมาะสมที่สุดสำาหรับผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์จำาเป็น<br />

ต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ว่าหัวใจเต้นผิด<br />

จังหวะ หรือผู้ที่เสี่ยงว่าหัวใจจะหยุดเต้นโดยกะทันหัน ด้วยความก้าวหน้า<br />

ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งภาพถ่ายทางการแพทย์ ซอฟต์แวร์ ประกอบกับ<br />

ประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำางานของหัวใจ<br />

ของแพทย์ ทำาให้การสาขาสรีรวิทยาไฟฟ้าในหัวใจ หรือ EP Study มีความ<br />

ก้าวหน้ามากขึ้น<br />

“EP Study เป็นการศึกษา วินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของ<br />

ระบบไฟฟ้าหัวใจซึ่งเป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ” นพ. กุลวีกล่าว<br />

“โดยระหว่างการตรวจ EP Study จะมีการติดแผ่นรับสัญญาณไฟฟ้าที่<br />

หน้าอกของผู้ป่วยเพื่อเฝ้าดูอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ จากนั้น<br />

แพทย์จะสอดสายสวนเข้าไปในร่างกาย เมื่อสายสวนเข้าไปถึงหัวใจจะส่ง<br />

สัญญาณไฟฟ้ากลับมา แพทย์อาจทดสอบโดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าไป<br />

กระตุ้นหัวใจเพื่อเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ หรือทำาการทดสอบอย่างอื่นต่อ<br />

ในกรณีที่จำาเป็น”<br />

ข้อมูลเรื่องกระแสไฟฟ้าของหัวใจที่ได้จาก EP Study จะถูกนำามา<br />

เชื่อมโยงผ่านซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื ่อสร้างเป็นภาพสามมิติเพื่อวินิจฉัย<br />

หาสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้อย่างแม่นยำา “การระบุตำาแหน่ง<br />

ต้นตอของความผิดปกติจะช่วยให้เราทำาการรักษาที่สาเหตุได้อย่างแท้จริง”<br />

นพ. กุลวีกล่าว<br />

“ภาพกายวิภาคของหัวใจที่จำาลองขึ้นมาจากการเชื่อมโยงกระแสไฟฟ้า<br />

ของหัวใจ ทำาให้แพทย์มองเห็นกลไกการเต้นของหัวใจแบบ real time<br />

โดยเราสามารถหมุนภาพหัวใจนี้ดูได้โดยรอบ ขณะเดียวกันก็บันทึกข้อมูล<br />

ของกระแสไฟฟ้าในหัวใจไปด้วย เมื่อพบความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าที่<br />

จุดใดก็จะกำากับตำาแหน่งไว้ด้วยรหัสสี และปล่อยพลังงานความร้อนจาก<br />

ปลายของสายสวนเพื่อจี้เนื้อเยื่อที่ผิดปกติ แก้ไขกระแสไฟฟ้าหัวใจที่<br />

ผิดปกติให้เป็นปกติได้ในทันที”<br />

หัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษาหายได้<br />

การวินิจฉัยและรักษาด้วย EP Study สำาหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

บางชนิดเรียกได้ว่าเป็นความหวังสำาหรับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก “ผู้ป่วยบางราย<br />

ที่ไม่มีปัญหาโรคหัวใจอื่น ๆ อาจหายขาดจากภาวะหัวใจเต้น<br />

ผิดจังหวะได้ เนื่องจากการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย<br />

EP Study นั้นเป็นการรักษาที่ต้นตอของปัญหา แต่มีผู้ป่วย<br />

บางรายที่มีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน<br />

(heart attack) ซึ่งมักก่อให้เกิดแผลเป็นที่บริเวณหัวใจ และ<br />

มักเป็นอุปสรรคต่อกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ผู้ป่วยกลุ่มนี้แม้จะได้<br />

รับการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแล้ว แต่ก็อาจมีภาวะ<br />

หัวใจเต้นผิดจังหวะที่จุดอื่น ๆ เกิดขึ้นได้อีก” นพ. กุลวีกล่าว<br />

ทั้งนี้นพ. กุลวีเน้นว่า “การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ<br />

ด้วยการจี้ด้วยพลังงานความร้อนอาจช่วยให้ผู้ป่วยหลาย ๆ<br />

รายหายจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและมีชีวิตดีขึ้นมาก<br />

ก็จริง แต่ไม่ได้เปลี่ยนปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยมีอยู่แล้ว<br />

และส่งผลต่อโรคหัวใจ หากผู้ป่วยเริ่มต้นด้วยการมีภาวะ<br />

ความดันโลหิตสูง มีหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือมีพังผืดที่หัวใจ ผู้ป่วยก็ยัง<br />

คงมีความเสี่ยงซึ่ง EP Study เปลี่ยนปัจจัยเหล่านั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น<br />

แม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาจนหายจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ผู้ป่วย<br />

ก็ยังต้องระมัดระวัง ควบคุมปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อหัวใจอย่างสม่ำาเสมอ<br />

ด้วยตัวเอง”<br />

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้นเป็นบางขณะและมีความเป็นไปได้สูง<br />

ที่จะถูกละเลย ทำาให้ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาซึ่งในหลาย ๆ กรณีก็<br />

สร้างความเสียหายอย่างถาวรให้กับหัวใจ หากพบว่าตนเองมีอาการผิด<br />

ปกติ เช่น รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็ว มีเหงื่อออกมาก วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม<br />

อย่าลืมขอคำาปรึกษาจากแพทย์<br />

8


p9 Ad Arrow Bedding


HEART DISEASE MYTHS<br />

5 เรื่องเกี่ยวกับโรคหัวใจ<br />

ที่คุณอาจเข้าใจผิด<br />

ความเข้าใจผิดหลายประการเกี่ยวกับโรคหัวใจ<br />

อาจทำาให้คุณเสี่ยงชีวิตโดยไม่รู้ตัว<br />

ใ<br />

นรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่พัฒนา<br />

ไปมากช่วยให้เรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคได้มากกว่าเดิม<br />

แต่ทั้งนี้ใช่ว่าทุกคนจะมีโอกาสได้ติดตามข่าวคราวความคืบหน้า<br />

อย่างสม่ำาเสมอ ความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค<br />

หัวใจบางประการอาจยังคงได้รับการบอกเล่าสืบกันมา<br />

รวบรวมความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคหัวใจที่ได้ยินบ่อย ๆ มาฝากคุณกัน<br />

1<br />

เป็นโรคหัวใจ<br />

ไม่ควรออกแรง<br />

การได้รับการวินิจฉัยว่า<br />

เป็นโรคหัวใจอาจทำาให้ใคร<br />

หลายคนเกิดความลังเลที่จะใช้ชีวิต<br />

อย่างกระฉับกระเฉง ด้วยเกรงว่า<br />

กิจกรรมต่าง ๆ นั้นอาจเป็นอันตราย<br />

ต่อหัวใจ แต่ความจริงคือ การนั่ง ๆ<br />

นอน ๆ หลีกเลี่ยงกิจกรรมทาง<br />

ร่างกายกลับเป็นอันตรายกับหัวใจ<br />

มากกว่า เพราะการออกกำาลังกายอย่างเหมาะสมนั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยหรือ<br />

แม้แต่ผู้ไม่ป่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อหัวใจได้ อาทิ ภาวะ<br />

ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้นอีกด้วย<br />

2ความดันโลหิตสูง เป็นเรื่องธรรมดา<br />

ของคนสูงวัย<br />

จริงอยู่ที่ว่าความดันโลหิตมักจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อคนเราอายุ<br />

มากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าคุณควรจะนิ่งนอนใจ ทั้งนี้เพราะหลอดเลือด<br />

มักสูญเสียความยืดหยุ่นไปตามวัย และการที่ผนังหลอดเลือดเริ่มแข็งขึ้น<br />

หมายความว่าหัวใจต้องสูบฉีดเลือดหนักขึ้นเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ<br />

ส่งผลให้กล้ามเนื ้อหัวใจเสื ่อมประสิทธิภาพลง ขณะที ่ผนังหลอดเลือดต้อง<br />

รับแรงกระทำามากขึ้นจากการที่หัวใจสูบฉีดแรง ผนังหลอดเลือดจึงถูก<br />

ทำาลายและมีไขมันมาเกาะได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง ความดันโลหิตสูงจึงเป็น<br />

ปัจจัยเสี ่ยงที ่สำาคัญของภาวะกล้ามเนื ้อหัวใจขาดเลือดและหลอดเลือดสมอง<br />

3เป็นโรคหัวใจควรรับประทานไขมัน<br />

ให้น้อยที่สุด<br />

การจำากัดและเลือกบริโภคไขมันบางชนิดเป็นทางเลือก<br />

ที่ฉลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว และ<br />

10<br />

ไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อหลอดเลือดหัวใจ<br />

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าไขมันจะเป็นผู้ร้ายไปเสียทั้งหมด<br />

ควรเลือกบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมัน<br />

ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ซึ่งพบได้ในน้ำามันและอาหาร<br />

จากพืช เช่น น้ำามันพืช ถั่ว และเมล็ดพืช<br />

จัดเป็นไขมันที่ดี รวมทั้งกรดไขมัน<br />

โอเมก้า 3 ที่พบในปลาทะเลน้ำาลึก<br />

ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด<br />

4<br />

รับประทานยาลดไขมันแล้ว ก็ไม่ต้อง<br />

กังวลเรื่องคุมอาหารอีก<br />

แหล่งที่มาของคอเลสเตอรอลนั้นมีอยู่สองทาง คือ สร้าง<br />

ขึ้นเองภายในร่างกายโดยตับ และได้รับจากอาหารที่เรา<br />

รับประทานเข้าไป การรับประทานอาหารโดยไม่ระมัดระวังเพราะชะล่าใจ<br />

ว่ายาจะช่วยได้ทั้งหมดนั้นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะยากลุ่ม Statin หรือ<br />

ที่รู้จักในนามยาลดคอเลสเตอรอลนั้นมุ่งจัดการกับคอเลสเตอรอลที่<br />

ผลิตโดยตับ แต่ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงคอเลสเตอรอลในส่วนที่ร่างกาย<br />

ได้รับจากการบริโภคอาหาร แพทย์จึงมักจะแนะนำาให้ผู้ป่วยรับประทานยา<br />

ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารด้วยเสมอเพื่อดูแลให้ระดับคอเลสเตอรอล<br />

โดยรวมลดลง ลดโอกาสในการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด<br />

5<br />

เมื่อทำาการสวนหัวใจหรือทำา<br />

บายพาสแล้ว ก็ไม่มีอะไรต้องกังวลอีก<br />

หัตถการอย่างเช่นการสวนหัวใจ<br />

หรือการทำาบายพาสหัวใจอาจช่วยให้<br />

หัวใจของผู้ป่วยทำางานได้ดีขึ้น ผู้ป่วยจะหายเจ็บ<br />

หน้าอกและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ภาวะ<br />

หลอดเลือดแดงแข็งตัวซึ่งเป็นสาเหตุสำาคัญของ<br />

โรคหัวใจยังคงอยู่ และมีโอกาสที่จะเกิดภาวะ<br />

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ทุกเมื่อ รวมถึงอาจ<br />

เกิดการตีบซ้ำาบริเวณเดิมหรือ<br />

มีรอยตีบใหม่เกิดขึ้น ดังนั้น<br />

ผู้ป่วยยังจำ าเป็นต้องควบคุม<br />

ปัจจัยเสี่ยงของโรค<br />

หัวใจอย่างเคร่งครัด<br />

เช่นเดิม<br />

รศ.นพ.สุวัจชัย พรรัตนรังสี<br />

อายุรแพทย์โรคหัวใจ


p11 Ad La Roche


Q & A<br />

โ รคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่สร้างความทุกข์กายและกังวลใจให้กับผู้ป่วยและคน<br />

รอบข้าง มาหาคำาตอบกับปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจกัน เพื่อหลีกเลี่ยงความ<br />

เสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้รู้จักกับอาการบางอย่างของโรค และทราบถึงโปรแกรมการฟื้นฟู<br />

ภายหลังการรักษาโรค<br />

Q: ยาคุมกำาเนิดเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจจริงหรือไม่คะ<br />

A: ยาคุมกำาเนิดที่มีส่วนผสม<br />

ของฮอร์โมนเอสโตรเจน อาจเพิ่ม<br />

โอกาสในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน<br />

ซึ ่งจะไปเพิ ่มความเสี ่ยงต่อการเกิด<br />

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้<br />

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงดังกล่าว<br />

มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี ่ยงต่อ<br />

โรคหัวใจประการอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่า<br />

จะเป็นวัย โรคความดันโลหิตสูง<br />

โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน หรือการสูบบุหรี่<br />

ดังนั้น หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เป็นโรคลิ่มเลือดอุดตัน โรคความดัน<br />

โลหิตสูง โรคหลอดเลือดดำาอักเสบ หรือเป็นโรคหัวใจบางชนิดอยู่แล้ว อาทิ<br />

ลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ<br />

ควรขอรับคำาแนะนำาจากแพทย์ก่อน เพราะ<br />

ปัจจุบันก็มียาคุมกำาเนิดที่ใช้ฮอร์โมนอื่นที่<br />

ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน<br />

เช่นกัน สำาหรับผู้หญิงที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม<br />

เสี่ยงต่อโรคหัวใจดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้<br />

ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์<br />

ยาคุมกำาเนิดที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมน<br />

เอสโตรเจนก็ค่อนข้างที่จะปลอดภัย<br />

Q: ภาวะหัวใจโตคืออะไร มีอาการและเป็นอันตรายอย่างไรคะ<br />

A: ภาวะหัวใจโตเป็นอาการหนึ่งที่เกิดได้ในหลายโรค ไม่ว่าจะเป็น<br />

โรคหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ลิ้นหัวใจผิดปกติ<br />

ความดันโลหิตสูง หรือภาวะไทรอยด์<br />

เป็นพิษ ซึ ่งส่งผลให้หัวใจต้อง<br />

ทำางานหนักกว่าปกติ<br />

ทำาให้ประสิทธิภาพ<br />

การทำางานของหัวใจ<br />

ลดลง<br />

อาการที่พบได้คือ<br />

หายใจหอบ เหนื่อยง่ายเวลา<br />

ออกแรงหรือนอนราบ ไอบ่อยตอนกลางคืน ใจสั่น ขาบวม ในบางราย<br />

อาจไม่ปรากฏอาการให้เห็นชัด ดังนั้นแพทย์จึงต้องตรวจเพิ่มเติม<br />

ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography)<br />

เพื่อพิสูจน์ว่า<br />

มีภาวะหัวใจโตหรือไม่ และจาก<br />

สาเหตุใด ส่วนจะเป็นอันตราย<br />

หรือไม่นั้น แพทย์จะพิจารณา<br />

จากประวัติสุขภาพ ร่วมกับการ<br />

นพ. ชัยอนันต์ ชัยยามานนท์<br />

สังเกตอาการอื่น ๆ ก่อนจะให้<br />

การรักษาตามสาเหตุต่อไป<br />

Q: การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจคืออะไร ใครที่จำาเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูบ้าง<br />

A: การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเป็นกระบวนการต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลังจากที่แพทย์ทำาการ<br />

รักษาจนสามารถควบคุมโรคได้แล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยที่อาจยังไม่กลับคืนสู่ภาวะปกตินักได้กลับมามีคุณภาพ<br />

ชีวิตที่ดี มีความมั่นใจ และยังเป็นการลดโอกาสในการเกิดโรคซ้ำา<br />

โปรแกรมในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจมักประกอบด้วยการตรวจ<br />

ติดตามโรคอย่างสม่ำาเสมอ การให้คำาแนะนำาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม<br />

ในการดำาเนินชีวิต และการออกกำาลังกายที ่เหมาะสมสำาหรับผู ้ป่วยแต่ละคน<br />

โดยโปรแกรมดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกันของบุคลากรทางการแพทย์<br />

หลากหลายสาขาวิชา อาทิ อายุรแพทย์โรคหัวใจ แพทย์สาขาเวชศาสตร์<br />

ฟื้นฟู และนักโภชนาการเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างรอบด้าน จึงเป็น พญ. ธนพร ลาภรัตนากุล<br />

โปรแกรมที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจทุกคน<br />

หากคุณมีข้อสงสัยเรื ่องสุขภาพ ส่งคำาถามของคุณมาที ่: บรรณาธิการนิตยสาร ฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ<br />

โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล 33 สุขุมวิท ซอย 3 กรุงเทพฯ 10110<br />

12


p13 Ad Bromsgrove<br />

13


HEART ATTACK<br />

ใช่หรือไม่? กล้ามเนื้อหัวใจขาด<br />

ในช่วงนาทีวิกฤติ การตัดสินใจอย่างรวดเร็วช่วยรักษาชีวิตไว้ได้<br />

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน หรือที่เรียกกันอย่าง<br />

คุ้นปากกว่าหัวใจวายนั้นเป็นสาเหตุสำาคัญของการเสียชีวิตของ<br />

คนไทยเช่นเดียวกับคนทั ่วโลก โดยข้อมูลจากสถาบันโรคทรวงอก<br />

ระบุว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 คนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจต้องนอน<br />

โรงพยาบาลวันละ 1,185 รายต่อวัน โดยในจำานวนนี้เป็นกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

ขาดเลือดถึงประมาณ 470 รายต่อวัน แม้ว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด<br />

“ เมื่อเกิดลิ่มเลือดอุดตันใน<br />

หลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วย<br />

มักมีอาการแน่นหน้าอก<br />

เป็นอาการเตือนที่<br />

สำาคัญ ”<br />

นพ. ชัยอนันต์ ชัยยามานนท์<br />

เฉียบพลันจะร้ายแรง แต่การรู้ ระวัง เข้าใจ และตอบสนองอย่างฉับไว<br />

สามารถช่วยลดโอกาสในการเสียชีวิตลงไปได้มาก ฉบับนี้<br />

จึงพาคุณไปคุยกับนายแพทย์ชัยอนันต์ ชัยยามานนท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ<br />

เพื่อทำาความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดให้มากกว่าเดิม<br />

สาเหตุและอาการ<br />

“ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน” นพ.ชัยอนันต์กล่าว<br />

“โดยกลไกการเกิดนั้นมาจากลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจ<br />

ตีบแคบอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้ ไม่มีใครทำานาย หรือบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร<br />

ผมพบผู้ป่วยหลายรายที ่กลางวันไปตีกอล์ฟ สังสรรค์กับเพื่อนก็ดูแข็งแรงดี<br />

แต่กลับมาบ้านตอนกลางคืนกลับมีอาการแน่นหน้าอก”<br />

แม้จะไม่มีใครบอกได้ว่าหลอดเลือดจะอุดตันเมื่อไร และกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

จะขาดเลือดตอนไหน “เมื่อเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วย<br />

มักมีอาการแน่นหน้าอกเป็นอาการเตือนที่สำาคัญ” นพ. ชัยอนันต์อธิบาย<br />

“ผมขอใช้คำาว่าแน่นหน้าอกนะครับไม่ใช่เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกส่วนมาก<br />

จะเป็นตรงกลาง เป็นนานเกินกว่าหนึ่งนาทีขึ้นไป และมีอาการปวดร้าวขึ้น<br />

ไปที่กรามหรือที่ไหล่ร่วมด้วยโดยเฉพาะไหล่ซ้าย ค่อนข้างมั่นใจได้เลยครับ<br />

ว่าน่าจะมีปัญหา ผู้ป่วยบางรายไม่มีปัญหาเรื่องของอาการแน่นหน้าอก<br />

แต่จะมาด้วยอาการเหนื่อย ซึ่งถ้ามีเหงื่อแตกร่วมด้วยก็ต้องสงสัยไว้ก่อนว่า<br />

อาจจะเกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเข้าแล้ว”<br />

นพ. ชัยอนันต์อธิบายต่อว่ามีปัจจัยหลาย ๆ ประการที่ทำาให้เกิดกล้ามเนื้อ<br />

หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และ<br />

ไขมันในเลือดสูง ซึ่งพบได้บ่อยและต้องระมัดระวังให้มาก โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้<br />

จำาเป็นต้องได้รับการตรวจหัวใจด้วย นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ยังได้แก่<br />

การสูบบุหรี่ และภาวะกรนรุนแรงหรือภาวะหยุดหายใจระหว่าง<br />

หลับซึ ่งมีหลักฐานชัดเจนแล้วว่าทำาให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจน<br />

เป็นผลให้หลอดเลือดเสื่อมเร็วและสามารถกระตุ้นให้เกิด<br />

ลิ่มเลือดอุดตันได้ง่าย<br />

นอกจากผู้ป่วยด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบ<br />

เฉียบพลันจากลิ่มเลือด ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มที่ต้องระวัง คือ<br />

กลุ่มที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งยังไม่ได้มีลิ่มเลือดอุดตัน<br />

“ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการเฉพาะเมื่อหัวใจต้องทำางานหนัก คือ<br />

ตอนที่ออกแรง และหัวใจเต้นเร็วมาก ๆ มีภาวะติดเชื ้อจาก<br />

ไข้หวัดใหญ่ มีไข้สูง ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องอาศัยการควบคุมปัจจัย<br />

เสี่ยงควบคู่ไปกับการใช้ยาซึ่งมักจะได้ผลดี หรือในกรณี<br />

ที่เป็นมาก อาจต้องพิจารณาทำาบอลลูนขยายหลอดเลือด<br />

หัวใจ หรือกรณีที่หลอดเลือดตีบหลายเส้นก็อาจต้องพิจารณา<br />

ทำาบายพาส<br />

แต่ที่ต้องยอมรับคือ กล้ามเนื้อหัวใจที่เคยแข็งแรงอาจอ่อนแรงลง<br />

ซึ ่ง ณ จุดที ่คุณสูญเสียกล้ามเนื ้อบางส่วนไปแล้วคุณจะไม่กลับมาฟิต<br />

เหมือนเดิมอีก ถ้าต้องการรักษาโรคหัวใจโดยอยากให้หัวใจกลับมา<br />

แข็งแรงเหมือนสมัยอายุน้อย ๆ ก็ต้องรักษาตั้งแต่แรก ๆ อย่ากลัวที่<br />

จะหาหมอ และหาหมอให้ถูกโรค สิ่งที่เราเรียนรู้ได้ในกรณีแบบนี้คือ<br />

16


p17 Ad Lotus Bedding


หากทราบก่อนหรือรีบมาตรวจและรับการรักษาก็จะลดโอกาสที่จะต้อง<br />

ทำาการผ่าตัดใหญ่ลงไปได้” นพ. ชัยอนันต์กล่าว<br />

ทุกนาทีคือชีวิต<br />

เมื่อมีเกิดอาการที่น่าสงสัย สิ่งที่ควรทำาเป็นอันดับแรก คือ การรีบไป<br />

พบแพทย์ทันทีโดยไม่รอช้า “ในทางการแพทย์มีการพิสูจน์แล้วว่าเมื่อผู้ป่วย<br />

มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อรับการ<br />

รักษาอย่างถูกต้องนั้น ช่วยชีวิตได้จริง ๆ” นพ. ชัยอนันต์กล่าว “เวลา<br />

เป็นสิ่งที่สำาคัญมาก ทุกนาทีที่เสียไปบ่งบอกว่าอนาคตของผู้ป่วยจะ<br />

เป็นอย่างไร”<br />

เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีหลัก<br />

ปฏิบัติสำาหรับการรับมือกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ชัดเจน กล่าวคือ<br />

ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการแน่นหน้าอก หรือว่ามีอาการเหนื่อย สงสัยว่าจะมี<br />

การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวด<br />

ปัญหาของหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยจากการทำา<br />

คลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อยืนยันข้อสงสัยได้ภายใน 5 นาที “ที่นี่เรากำาหนด<br />

Golden Period หรือระยะเวลาที่จำาเป็นต้องให้การช่วยเหลือให้ทันภายใน<br />

60 นาที หมายความว่า เมื่อเกิดอาการแน่นหน้าอกเฉียบพลันแล้ว เราจะ<br />

สามารถเปิดหลอดเลือดของผู้ป่วยได้ภายใน 60 นาที” นพ. ชัยอนันต์กล่าว<br />

“เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ สงสัย และรีบมาพบแพทย์จนสามารถเปิด<br />

ใส่บอลลูน/ขดลวดเข้าสู่หลอดเลือด<br />

ขยายบอลลูน/ขดลวดในตำาแหน่งหลอดเลือดตีบตัน<br />

นำาบอลลูนออก คงขดลวดที่ขยายไว้<br />

หลอดเลือดหัวใจได้เร็ว เราก็สามารถรักษากล้ามเนื้อหัวใจไว้ได้มาก ผู้ป่วย<br />

กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่รอดพ้นจากภาวะหัวใจโตและภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง<br />

สามารถกลับมามีชีวิตใกล้เคียงปกติมาก หรือดีขึ้นกว่าเดิมโดยเฉพาะผู้ป่วย<br />

ที่มีหลอดเลือดตีบมานาน”<br />

ยอมรับความจริง<br />

ในช่วงเวลาวิกฤติ ทุกคนทราบดีว่าวิธีรับมือที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์<br />

หรือส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด แต่ปัญหาก็คือเมื่อเกิดเหตุจริง ๆ<br />

หลายคนอาจไม่ทันคิดจนทำาให้การตอบสนองนั้นไม่รวดเร็วเท่าที่ควร<br />

“การตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเป็นเรื่องสำาคัญมากโดยเฉพาะในนาที<br />

วิกฤติ ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าถ้าเรายอมรับความจริง และตอบสนองต่อความ<br />

จริงนั้นด้วยความสัตย์ซื่อ กล่าวคือ เมื่อมีอาการน่าสงสัย ประกอบกับทราบ<br />

ปัจจัยทางสุขภาพของตัวเองอยู่แล้ว อย่าหยุดแค่สงสัยแล้วไม่ทำาอะไร<br />

แต่ต้องหาข้อพิสูจน์ให้ได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรานั้นเป็นปัญหาหรือไม่<br />

เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยไม่ใช่โชคลาง ความจริงเท่านั้นจะทำาให้คุณ<br />

ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เรื่องการรักษาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย<br />

แน่นอน เช่น มีอาการเหนื่อย ไม่แน่ใจ มาคุยกับหมอได้ เรามีวิธีการแยกแยะ<br />

จนทราบได้ว่าเกิดจากอะไร กลุ่มไหนรอได้ กลุ่มไหนต้องตรวจเพิ่มเติม<br />

อย่าเชื่อแบบปากต่อปาก ไปหาอะไรมารับประทานเสริมเพราะคิดว่าจะ<br />

ช่วยได้ ตรงนี้เท่ากับการยื้อเวลาไม่ให้เราได้ทราบความจริงและประวิงเวลา<br />

ที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งหมดนี้ส่งผลมากต่อ<br />

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด”<br />

นพ. ชัยอนันต์กล่าวตอนท้าย<br />

18


p19 Ad Modernform

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!