29.11.2018 Views

AW_Philippines_excerpt-2

  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ศึกษาการสร้างประวัติศาสตร์แห่งชาติของชาติต่างๆ ในเอเชียตะวัน­<br />

ออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการประวัติศาสตร์พม่า หรือ<br />

คณะกรรมการค้นคว้าและเขียนประวัติศาสตร์ชาติลาว และแม้<br />

กระทั่งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยเองตามหลังมาอย่าง<br />

ไม่ตกขบวนแน่เทียว<br />

แม้การเขียนประวัติศาสตร์แห่งชาติในช่วงหลังการได้รับเอกราช<br />

จะถูกจารขึ้นโดยการพยายามก้าวข้ามกรอบการเขียนประวัติศาสตร์<br />

แบบเส้นตรงของอาณานิคมมาแล้วก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปแบบ<br />

และกลิ่นอายของการเขียนแบบอาณานิคมนั้น ยังคงติดมากับปลาย<br />

ปากกาของนักประวัติศาสตร์ชาวฟิลิปีโนอยู่ไม่น้อย บางครั้งก็อาจจะ<br />

โดยไม่รู้สึกตัวประหนึ่ง “อารมณ์ค้าง” ที่ได้รับมรดกตกทอดมาจาก<br />

ระบอบอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตสร้างชุดความรู้ทาง<br />

ประวัติศาสตร์ของ “คณะกรรมาธิการประวัติศาสตร์แห่งชาติฟิลิป­<br />

ปินส์” ที่ยึดโยงอย่างแนบแน่นอยู่กับวีรบุรุษของชาติหรือเรื่องราวของ<br />

รัฐส่วนกลาง (มะนิลา) จึงยังคงเป็นรูปแบบการเขียนที่ดำเนินอยู่กับ<br />

กรอบโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์ของเจ้าอาณานิคมอย่างสนิทเสน่หา<br />

เพราะกลุ่มคนที่ก้าวเข้ามามีบทบาทในการเขียนประวัติศาสตร์แห่งชาติ<br />

ฟิลิปปินส์สมัยใหม่ต่อจากเจ้าอาณานิคมคือ เหล่าบรรดาชนชั้นนำผู้<br />

มีการศึกษาตาสว่าง ซึ่งน้อมเกล้ารับเอาจารีตการเขียนประวัติศาสตร์<br />

แบบเจ้าอาณานิคมมาสร้างความชอบธรรมให้แก่สถานะและบทบาท<br />

ของตนในฐานะตัวแสดงนำในการขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ของชาติ<br />

การละเลยบทบาทของเหล่ามวลชนคนชั้นล่างในกรณีแบบเรียน<br />

ประวัติศาสตร์แห่งชาตินั้นได้ก่อให้เกิดข้อถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนขึ้น<br />

ในแวดวงประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ กระทั่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง<br />

ทั้งในเชิงคำอธิบายและในเชิงวิธีวิทยา ดังที่งานชิ้นนี้ของสิริฉัตรได้<br />

9

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!