29.11.2018 Views

AW_Philippines_excerpt-2

  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

อาการตาสว่างกับอารมณ์ค้างแบบหลังอาณานิคม<br />

<strong>Philippines</strong> Historiography<br />

and the Searching for the<br />

Destiny of the Nation<br />

สิริฉัตร รักการ


ตะเกียงแห่งกาลายาอันในคืนกาฬปักษ์


กา<br />

ร ขึ้นสู่อำนาจของนายโรดริโก ดูเตอร์เต (Rodrigo Duterte)<br />

และโจเซฟ เอสตราดา (Joseph E. Estrada) ได้ทำให้ความ<br />

สนใจเรื่องเจ้าพ่อและผู้มากบารมีกลับมามีชีวิตชีวาคึกคักขึ้นมาในวง<br />

วิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาและฟิลิปปินส์ศึกษา โดย<br />

เฉพาะหนังสือรวมบทความเรื่อง An Anarchy of Families: State and<br />

Family in the <strong>Philippines</strong> ซึ่งบรรณาธิการโดย อัลเฟร็ด แม็คคอย<br />

(Alfred W. McCoy) ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 1993 โดยศูนย์เอเชียตะวัน­<br />

ออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้ถูกนำมาตีพิมพ์ซํ้าอีก<br />

ครั้งทั้งในอเมริกาและในฟิลิปปินส์เอง ส่วนในโลกวิชาการไทยนั้น<br />

ความสนใจต่อเรื่องนี้ได้นำไปสู่การแปลบทความอันทรงอิทธิพลสูงยิ่ง<br />

ต่อการทำความเข้าใจปรากฏการณ์การเมืองฟิลิปปินส์ร่วมสมัยเรื่อง<br />

“Cacique Democracy in the <strong>Philippines</strong>: Origins and Dreams” ของ<br />

ศาสตราจารย์เบเนดิคต์ แอนเดอร์สัน ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกอยู่ใน New<br />

Left Review เมื่อ 1988 และถูกนำไปตีพิมพ์ซํ้าอยู่ในหนังสือหลายเล่ม<br />

5


รวมทั้ง The Spectre of Comparisons: Nationalism, Southeast Asia and<br />

the World (1993) โดยมีชื่อในฉบับพากย์ไทยว่า “ประชาธิปไตยแบบ<br />

เจ้าพ่อท้องถิ่นในฟิลิปปินส์” สำนวนแปลอันหมดจดโดยอาทิตย์<br />

เจียมรัตตัญญู ตีพิมพ์อยู่ใน ชุมทางอินโดจีน (2559)<br />

สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ปรากฏการณ์ทางการเมืองเหล่านี้กลับทำให้<br />

หวนรำลึกถึงภาพยนตร์ฟิลิปปินส์จำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่อง “Fight<br />

for Us” ของลีโน บร็อคคา (Lino Brocka) ซึ่งนำออกฉายครั้งแรกเมื่อ<br />

1989 อันเป็นเรื่องราวของบาทหลวงหนุ่มผู้หนึ่ง (แสดงโดย ฟิลลิป<br />

ซัลวาดอร์ (Phillip Salvador)) ถูกส่งเข้ามาเผยแผ่พระวจนะและแสง<br />

สว่างของพระเป็นเจ้าอยู่ในหัวเมืองชนบท ด้วยการเข้ามาทำงานท่าม​<br />

กลางมวลชนคนชั้นล่างที่ลุกขึ้นมาขบถ สาธุคุณรูปนี้จึงถูกบีบคั้นให้<br />

ต้องเผชิญหน้ากับอำนาจมืดที่ครอบงำเมืองอยู่ อันนำไปสู่การต่อสู้<br />

ฟาดฟันกันอย่างดุเดือดเลือดพล่านเพื่อโค่นล้มอิทธิพลเถื่อน และจบ<br />

ลงด้วยชัยชนะของเหล่าคนทุกข์เข็ญ ในฉากจบของภาพยนตร์ สาธุ­<br />

คุณผู้บังเกิดดวงตาเห็นธรรมของเทววิทยาแห่งการปลดปล่อย ก็ได้<br />

อุ้มเด็กน้อยอยู่ในวงแขนเดินออกมาจากซากความพินาศหลังการต่อสู้<br />

ในฉากอันเต็มไปด้วยความรุนแรงและได้รับความใหลหลงอย่าง<br />

สูงในหมู่ผู้คนทั่วไปในสังคมฟิลิปปินส์เหล่านี้ ตัวเอกของเรื่องถูกบีบ<br />

คั้นให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับอำนาจมืด อิทธิพล และความอยุติธรรมอัน<br />

ชั่วร้ายนานัปการที่พากันดาหน้าเข้ามาเหยียบยํ่าซํ้าเติมชีวิตของคน<br />

ทุกข์ยากให้ลำเค็ญยิ่งขึ้นไปอีก ภาพยนตร์เช่นนี้หลายเรื่องเป็นที่รู้จัก<br />

กันดีและแสดงนำโดยพระเอกขวัญใจคนยากอย่างโจเซฟ เอสตราดา<br />

แน่ละ เอสตราดาไม่ได้คิดว่าตัวเขาเล่นบทบาทดังกล่าวอยู่เฉพาะแต่<br />

ในโลกของแสงและเงาเท่านั้น เพราะในโลกแห่งการเมืองแล้ว เอส­<br />

ตราดาก็ประกาศตนอย่างชัดเจนว่าต้องการเป็นตัวแทนของอันเดรส<br />

6


โบนิฟำ ซิโอ (Andres Bonifacio) ผู้เป็น “ซูพรีโม” (ผู้นำสูงสุด) ของ<br />

ขบวนการกาตีปูนันที่ลุกขึ้นจับอาวุธต่อสู้เพื่อปลดแอกจากการเป็น<br />

อาณานิคมของสเปนเมื่อ 1896 อันนำไปสู่การจัดตั้งสาธารณรัฐที่ 1<br />

ของฟิลิปปินส์ในปี 1898 ก่อนจะถูกยึดครอง “อย่างการุญ” โดย<br />

อเมริกาในช่วงสิ้นศตวรรษ<br />

กล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว ผู้นำทางการเมืองเหล่านี้ ทั้งเอสตราดา,<br />

ดูเตอร์เต และก่อนหน้านั้นคือ รามอน แมกไซไซ (Ramon Magsaysay)<br />

ต่างก็ตระหนักถึงสงครามการต่อสู้ทางการเมืองระหว่าง “ชนชั้นนำ<br />

ผู้มีการศึกษา” (ilustrado) กับมวลชนคนชั้นล่างผู้ถูกมองว่าโง่เขลา<br />

เบาปัญญา (ignoramus) ดังที่แมกไซไซได้ประกาศว่าตนเองคือ “คน<br />

ของมวลชนคนชั้นล่าง” (man of the masses) โดยกระแสธารแห่งการ<br />

ต่อสู้ทางการเมืองดังกล่าวนี้ได้เผยให้เห็นอย่างชัดเจนในสิ่งที่ข้าพเจ้า<br />

ใคร่ขอเรียกว่า “สงครามประวัติศาสตร์นิพนธ์ฟิลิปปินส์สองกระแส”<br />

งานวิชาการด้านฟิลิปปินส์ศึกษาในโลกวิชาการภาษาไทยที่ผ่านมา<br />

โดยเฉพาะการศึกษาประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่มักเดินตาม<br />

ตำราประวัติศาสตร์กระแสหลักของฟิลิปปินส์ไปอย่างเชื่องๆ หากไม่<br />

เงยหน้าขึ้นมาจากงานกระแสหลัก ก็มักจะละเลยข้อถกเถียงในแวดวง<br />

ประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์ หรือไม่ก็แสดงอาการรังเกียจงานเขียน<br />

ของนักประวัติศาสตร์แนววิพากษ์หรือนักประวัติศาสตร์ฝ่ายซ้าย รวม<br />

ถึงการไม่สนใจจะหยิบขึ้นมาพิจารณาด้วยซํ้าว่างานเหล่านั้นกำลังเสนอ<br />

ข้อถกเถียงหรือคำอธิบายประการใด บางคนอาจไม่ทันได้ตระหนัก<br />

ด้วยซํ้าว่างานต่างๆ ที่ตัวเองหยิบมาใช้นั้นดำเนินอยู่ในแนวทางอัน<br />

แตกต่างชนิดอยู ่ร่วมโลกกันได้ยากและกำลังหํ้าหั่นกันอยู่ อย่างไร<br />

ก็ตาม ข้อยกเว้นอาจจะมีอยู่บ้างในงานศึกษาประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์<br />

บางเรื่อง แต่นั่นก็นับได้ไม่เกินไปกว่ านิ้วมือข้างเดียว ซึ่งหนึ่งในบรรดา<br />

7


งานไม่กี่ชิ้นที่ว่านั้นคืองานของสิริฉัตร รักการ<br />

“ประวัติศาสตร์นิพนธ์ฟิลิปปินส์กับชะตากรรมของชาติ: อาการ<br />

ตาสว่างกับอารมณ์ค้างแบบหลังอาณานิคม” เป็นหนังสือที่ไม่เพียง<br />

แต่จะเผยให้เห็นถึงข้อถกเถียงของเหล่านักประวัติศาสตร์ฟีลีปีโนที่<br />

พยายามก้าวให้พ้นจากประวัติศาสตร์แบบเส้นตรงและสถาปนาความ<br />

ทรงจำร่วมของชาติขึ้นมาใหม่เท่านั้น หากแต่ยังเผยให้เห็นถึงการ<br />

ขับเคี่ยวต่อสู้กันในวิถีการครอบงำและการผลิตสร้างความรู้ทาง<br />

ประวัติศาสตร์ ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์ชาติ<br />

ให้กับพลเมืองฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขอันพอจะเทียบเคียงกัน<br />

ได้บ้างของ “อาการตาสว่าง” และ “อารมณ์ค้าง” ดังกล่าว ชาติอื่นๆ<br />

ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เกิดปรากฏการณ์ในทำนอง<br />

คล้ายคลึงกันอยู่ เนื่องด้วยชาติเกิดใหม่ทั้งหมายล้วนเคยเป็นดินแดน<br />

อาณานิคมของจักรวรรดินิยมตะวันตกด้วยกันทั้งสิ้น เช่น พม่ า ลาว<br />

เวียดนาม หรืออินโดนีเซีย ซึ่งฟิลิปปินส์มิได้ประสบอยู่เพียงชาติ<br />

เดียวในเวลานั้น อาจยกเว้นกรณีนี้ให้กับชาติไทยที่ไม่เคยตกเป็น<br />

อาณานิคมอย่างเป็นทางการของใคร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะ<br />

สามารถหนีพ้นจากการมี “อารมณ์ค้าง” ไปได้ ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละ<br />

ชาติย่อมมีปัจจัยและบริบทของชาติตนแตกต่างกันออกไป กล่าวอย่าง<br />

รวบรัดเลยก็คือ หนังสือของสิริฉัตรเล่มนี้จะเป็นหมุดหมายสำคัญอีก<br />

หมุดหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเข้าใจต่อการสร้างประวัติศาสตร์แห่ง<br />

ชาติ อย่างน้อยก็ต่อชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งยังคง<br />

มีงานศึกษาจริงจังทั้งในภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่มากไปกว่า<br />

หนึ่งโหลอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยความหวังเช่นนี้ โดยเริ่มนับจากหมุด<br />

หมายหมุดนี้ เราจึงน่าจะได้เห็นงานศึกษาที่น่าตื่นเต้น เต็มไปด้วย<br />

ข้อสนเทศแปลก ใหม่และมีการวิพากษ์ที่ลึกซึ้งรอบด้านเกี่ยวกับการ<br />

8


ศึกษาการสร้างประวัติศาสตร์แห่งชาติของชาติต่างๆ ในเอเชียตะวัน­<br />

ออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมาธิการประวัติศาสตร์พม่า หรือ<br />

คณะกรรมการค้นคว้าและเขียนประวัติศาสตร์ชาติลาว และแม้<br />

กระทั่งคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยเองตามหลังมาอย่าง<br />

ไม่ตกขบวนแน่เทียว<br />

แม้การเขียนประวัติศาสตร์แห่งชาติในช่วงหลังการได้รับเอกราช<br />

จะถูกจารขึ้นโดยการพยายามก้าวข้ามกรอบการเขียนประวัติศาสตร์<br />

แบบเส้นตรงของอาณานิคมมาแล้วก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปแบบ<br />

และกลิ่นอายของการเขียนแบบอาณานิคมนั้น ยังคงติดมากับปลาย<br />

ปากกาของนักประวัติศาสตร์ชาวฟิลิปีโนอยู่ไม่น้อย บางครั้งก็อาจจะ<br />

โดยไม่รู้สึกตัวประหนึ่ง “อารมณ์ค้าง” ที่ได้รับมรดกตกทอดมาจาก<br />

ระบอบอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตสร้างชุดความรู้ทาง<br />

ประวัติศาสตร์ของ “คณะกรรมาธิการประวัติศาสตร์แห่งชาติฟิลิป­<br />

ปินส์” ที่ยึดโยงอย่างแนบแน่นอยู่กับวีรบุรุษของชาติหรือเรื่องราวของ<br />

รัฐส่วนกลาง (มะนิลา) จึงยังคงเป็นรูปแบบการเขียนที่ดำเนินอยู่กับ<br />

กรอบโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์ของเจ้าอาณานิคมอย่างสนิทเสน่หา<br />

เพราะกลุ่มคนที่ก้าวเข้ามามีบทบาทในการเขียนประวัติศาสตร์แห่งชาติ<br />

ฟิลิปปินส์สมัยใหม่ต่อจากเจ้าอาณานิคมคือ เหล่าบรรดาชนชั้นนำผู้<br />

มีการศึกษาตาสว่าง ซึ่งน้อมเกล้ารับเอาจารีตการเขียนประวัติศาสตร์<br />

แบบเจ้าอาณานิคมมาสร้างความชอบธรรมให้แก่สถานะและบทบาท<br />

ของตนในฐานะตัวแสดงนำในการขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ของชาติ<br />

การละเลยบทบาทของเหล่ามวลชนคนชั้นล่างในกรณีแบบเรียน<br />

ประวัติศาสตร์แห่งชาตินั้นได้ก่อให้เกิดข้อถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนขึ้น<br />

ในแวดวงประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ กระทั่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง<br />

ทั้งในเชิงคำอธิบายและในเชิงวิธีวิทยา ดังที่งานชิ้นนี้ของสิริฉัตรได้<br />

9


แจกแจงให้เห็น แต่หากกล่าวในบริบทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้­<br />

ศึกษาแล้ว การศึกษาบทบาทของมวลชนคนชั้นล่างโดยทั่วไปแยก<br />

จากกันไม่ออกจากการศึกษาขบวนการชาตินิยมและการตื่นขึ ้นของ<br />

จิตสำนึกความเป็นชาติ อันนำไปสู่ขบวนการต่อสู้ปลดแอกอาณานิคม<br />

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 กระนั้นก็ดี แทบจะทันทีที่นักประวัติ­<br />

ศาสตร์กำหนดความหมายของความเป็นชาติและการเป็นองค์ประธาน<br />

ผู้กระ ทำการทางประวัติศาสตร์ สถานะของมวลชนคนชั้นล่างก็หล่น<br />

วูบหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ เนื่องจากถูกมองว่าโง่เขลา “ยังไม่<br />

พร้อม” ไร้จิตสำนึกและอุดมการณ์ทางการเมือง พฤติการณ์ทั้งหลาย<br />

ของคนเหล่านี้จึงถูกมองว่าเป็นเพียงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์<br />

เฉพาะหน้า หาได้มีจุดมุ่งหมายและโครงการทางการเมืองเป็นของ<br />

ตัวเองแต่อย่างใดไม่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษานั้น งานชิ้น<br />

บุกเบิกในการศึกษาการเคลื่อนไหวของมวลชนคนชั้นล่างในฐานะผู้<br />

กระทำการทางการเมือง ซึ่งพยายามหาหนทางอธิบายว่า สิ่งที่มวล ชน<br />

เหล่านี้คิดและกระทำนั้นดำเนินอยู่ในขอบเขตของความเป็นเหตุผล/<br />

ความเป็นการเมือง มิใช่ดำรงอยู่ในภาวะก่อนความเป็นการเมืองหรือ<br />

ยังคงดำรงอยู่ใต้อิทธิพลของกรอบคิดทางศาสนา โดยปราศจากเหตุ​<br />

ผลและความสุกงอมด้านจิตสำนึกทางการเมือง คือ งานของกลุ่มนัก<br />

ประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ นับตั้งแต่เตโอโดโร อากอนซิลโล (Teodoro<br />

Agoncillo), เรนาโต คอนสตันติโน (Renato Constantino) และเรย์นัล­<br />

โด อีเลโต้ (Reynaldo Ileto) ส่วนงานขึ้นหิ้งอันได้รับการคารวะอย่าง<br />

สูงกรณีการศึกษาขบวนการชาวนาในชวาของสารโตโน การโตดิรโจ<br />

(Sartono Kartodirdjo) นั้นแม้ยังคงมองว่าการเคลื่อนไหวของชาวนา<br />

เหล่านี้ยังคงดำเนินอยู่ในกรอบของภาวะก่อนความเป็นการเมือง แต่<br />

ก็ควรค่าแก่การเอ่ยถึง การสำรวจภูมิทัศน์ของบทสนทนาในประวัติ­<br />

10


ศาสตร์นิพนธ์ฟิลิปปินส์ของสิริฉัตร รักการ จึงเป็นประหนึ่งตะเกียง<br />

ที่ถูกจุดขึ้นในอันธกาล ซึ่งมิใช่แต่เพียงจะช่วยสาดแสงลงไปในดินแดน<br />

แห่ง “กาลายาอัน” ของชาวลูซอนเท่านั้น แต่ยังอาจช่วยส่องทางให้<br />

แก่เราในการพยายามค้นหาหนทางแห่งการเขียนประวัติศาสตร์<br />

สำหรับมวลชนคนชั้นล่างในสังคมไทย ซึ่ง ณ ชั ่วโมงนี้ก็ยังไร้ที่ยืน<br />

เร้นลึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ โดยมิพักจะต้องพูดถึงสถานะการ<br />

เป็นองค์ ประธานของผู้คนจำนวนมากบนแผ่นดินแต่อย่างใด<br />

แน่ละ งานชิ้นนี้ย่อมจะมีข้อด้อยอยู่อีกไม่น้อย ความตระหนัก<br />

อย่างอ่อนน้อมเช่นนี้คือสิ่งอันควรที่นักวิชาการผู้มีโยนิโสมนสิการ<br />

และยังให้ความนับถือตนเองอยู่บ้างทั้งหลาย จะต้องเตือนตัวเองให้<br />

พิจารณาถึงช่องว่างทางความรู้ที่จะต้องช่วยกันถมให้เต็ม อาทิ หาก<br />

ผู้เขียนสามารถนำเอางานนิพนธ์ของกลุ่มต่อต้านอำนาจส่วนกลาง<br />

อย่างเช่นงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ของโลกมินดาเนามาพิจารณา<br />

เปรียบเทียบอย่างจริงจัง เราก็คงได้อ่านงานที่ลุ่มลึกซับซ้อนยิ่งขึ้นไป<br />

อีก อย่างไรก็ตาม งานซึ่งเติบโตงอกงามขึ้นมาจากวิทยานิพนธ์ระดับ<br />

มหาบัณฑิตเล่มหนึ่ง แค่นี้ก็มีคุณูปการอย่างสูงยิ่งต่อการศึกษาประ­<br />

วัติศาสตร์ฟิลิปปินส์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสังคมไทย<br />

แลเป็นงานซึ่งเราควรเปิดหมวกให้เกียรติเป็นการต้อนรับเล่มหนึ่ง<br />

ทวีศักดิ์ เผือกสม และคณะ<br />

11


สารบัญ<br />

ตะเกียงแห่งกาลายาอันในคืนกาฬปักษ์<br />

โดย ทวีศักดิ์ เผือกสม และคณะ<br />

4<br />

กิตติกรรมประกาศ<br />

12<br />

บทนำ<br />

20<br />

บทที่ 1 การเขียนฟิลิปปินส์:<br />

การสร้างความรู้เกี่ยวกับฟิลิปปินส์ในยุคอาณานิคม<br />

44<br />

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์แห่งชาติฟิลิปปินส์<br />

ในยุคหลังอาณานิคม (1):<br />

ชะตากรรมของเฟอร์ดินาน มาร์คอส<br />

108


บทที่ 3 ประวัติศาสตร์นิพนธ์ฟิลิปปินส์<br />

ในยุคหลังอาณานิคม (2):<br />

การเมืองในการเขียนประวัติศาสตร์ขอ<br />

งคณะกรรมาธิการประวัติศาสตร์แห่งชาติฟิลิปปินส์<br />

152<br />

บทที่ 4 ประวัติศาสตร์จากจุดยืนของประชาชน:<br />

สถาบันประวัติศาสตร์แห่งชาติฟิลิปปินส์<br />

กับการเล่าเรื่องท้องถิ่นของชาติ<br />

198<br />

บทสรุป<br />

258<br />

ภาคผนวก<br />

264<br />

บรรณานุกรม<br />

282

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!