30.06.2020 Views

006 Seangdhamma June 2020 Fully

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ทุกชีวิตมีปัญหา พระพุทธศาสนามีทางแก้

แสงธรรม

วารสารธรรมะรายเดือนที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกา

Saeng Dhamma

ปีที่ ๔๕ ฉบับที่ ๕๔๒ ประจำาเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓

Vol. 45 No.542 June 2020

ฉบับ

มุทิตาสักการะ

๙๕ ปี หลวงตาชี


ศีลธรรมกลับมาเถิด

¾Ø·¸·ÒÊÀÔ¡¢Ø

กลับมาเถิด ศีลธรรมกลับมาเถิด

ในโลกเกิด กลียุค อย่างฉุกเฉิน

หลงวัตถุ บ้าคลั ่ง เกินบังเอิญ

มัวเพลิดเพลิน สิ ่งกาลี มีกำลัง

กลับมาเถิด ศีลธรรมกลับมาเถิด

กำลังเกิด ภัยร้าย อันใหญ่หลวง

แก่สัตว์โลก ทั่วถิ่น จักรวาลปวง

น่าเป็นห่วง ความพินาศ ฉกาจเกิน

กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด

ความเลวร้าย ลามเตลิด จวนหมดหวัง

รีบกลับมา ทันเวลา พาพลัง

มายับยั ้ง โลกไว้ ให้ทันกาลฯ

บทกลอนอันนี

เป็นอุดมการณ์ในการเผยแพร่ธรรมของหลวงพ่อชีวานันทะ


สื่อส่องทาง สว่างอำไพ

แสงธรรม

ทุกชีวิตมีปัญหา พระพุทธศาสนามีทางแก้

วารสารธรรมะรายเดือนที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกา

ปีที่ 45 ฉบับที่ 542 ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 Vol.45 No.542 June, 2020

OBJECTIVES

To promote Buddhist activities.

To foster Thai culture and tradition.

To inform the public of the temple’s activities.

To provide a public relations center for

Buddhists living in the United States.

เจ้าของ : วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.

ที่ปรึกษา : พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)

กองบรรณาธิการ : คณะสงฆ์วัดไทยฯ ดี.ซี.

SAENG DHAMMA Magazine

is published monthly by

Wat Thai Washington, D.C. Temple

At 13440 Layhill Rd., Silver Spring, MD 20906

Tel. (301) 871-8660, (301) 871-8661

E-mail: watthaidc2013@gmail.com

Facebook: www.facebook/watthai.dc

Homepage: www.watthaidc.org

Radio Network: www.watthai.iirt.net

2,500 Copies

วารสาร “แสงธรรม”

SAENG DHAMMA Magazine

Vol. 45 No. 542 June, 2020

Wat Thai Washington, D.C.

13440 Layhill Rd.,Silver Spring, MD 20906

Permit No.1388

Ruangrit Thaithae Executive Director & Editor

Srisuporn Kamnon, Assistant & Advertising Editor

สารบัญ

Contents

The Buddha’s Words ......................................... 1

กวีมุทิตา ๙๕ ปี พระราชมงคลรังษี........................... 2

Good Question, Good Answer By Ven.S. Dhammika 3

Texts from Major Religions Concerning

Aspects of the Religious Life by Du Wayne Engelhart 4

ปุจฉา - วิสัชนา โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ............. 8

สารธรรมจาก...พระไตรปิฎก .................................. 11

มุทิตาสักการะ ๙๕ ปี หลวงตาชี พาชี้ทางสร้างความดี13-18

รายนามผู้บริจาคออมบุญประจ ำปีและเจ้าภาพภัตตาหารเช้า.....20

อนุโมทนาพิเศษ/Special Thanks............................ 21

แจ้งข่าว งดปฏิบัติธรรมประจำเดือนมิถุนายน 22

เสียงธรรมจากวัดไทย...พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) 23

ประมวลภาพกิจกรรมทำบุญ................................. 30-31

เสียงธรรม...จากหลวงตาชี ..................................32-39

ภูฏาน : ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า โดย ดร.พระมหาถนัด 40

สรุปข่าวเดือนพฤษภาคม โดย ทีมแสงธรรม...........44

May’s Donation By Ven.Sarawut.......................45

ประกาศแจ้งข่าวบุญกุศล วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. 62

Photos taken by

Ven. Khumtan, Ven. Srisuporn

Mr. Kevin & Mr. Pirojn

Ms. Pheerarat & Mr. Suchart

& Ms. Vorakamol


ถ้อยแถลง

เป็นชาวพุทธสุดนิยมอบรมจิต รู้ถูกผิดคิดชอบกอปรกุศล

ไตรสิกขาน้อมมาอบรมตน ย่อมเกิดผลสุขสันต์อันอำไพ

เป็นชาวพุทธสุดเยี่ยมต้องเตรียมจิต หมั่นพินิจถึงศีลทานงานยิ่งใหญ่

ภาวนาเสริมคุณค่ารักษาใจ หมั่นกราบไหว้พระไตรรัตน์สวัสดี

(หลวงตาชี...ชี้ทางธรรม)

แสงธรรมฉบับเดือนมิถุนายน นับได้ว่าเป็นเดือนที่มีความสำคัญกับศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณ

พระราชมงคลรังษี หรือ หลวงตาชี ของทุก ๆ คน เพราะในหลาย ๆ ปี ที่ผ่านมาทางคณะกรรมการวัดไทยกรุง

วอชิงตัน, ดี.ซี. พร้อมด้วยบรรดาลูกศิษย์ พร้อมใจกันจัดงานบุญใหญ่เพื่อแสดงมุทิตาจิตเนื่องในโอกาสวันเกิด

ของหลวงตา บรรดาพระสงฆ์และญาติโยมจากทั้งเมืองไทยและในสหรัฐอเมริกาต่างพากันมาร่วมงานด้วยใบหน้า

ยิ้มแย้มเปี่ยมไปด้วยความสุข ภาพความประทับใจยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของทุกคนอย่างมิเสื่อมคลาย

แต่ปีนี้เนื่องจากเกิดการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ซึ่งแพร่กระจายไปทั่วทั้งโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศ

สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงเป็นอันดับ ๑ ของโลก ส่งผลให้ทุกคนต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ ปฏิบัติ

ตามคำแนะนำของหมอด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคดังกล่าว และวิธีการสำคัญที่สุด คือ Social

Distancing การเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ด้วยเหตุผลนี้เองทางวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.

จึงไม่สามารถจัดงานเพื่อแสดงมุทิตาสักการะต่อหลวงตา ซึ่งจะครบรอบ ๙๕ ปี ในวันที่ ๗ มิถุนายนนี้

ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถจัดงานเพื่อแสดงมุทิตาจิตต่อหลวงตาได้ แต่ก็ขอให้ศิษยานุศิษย์ทุกคนที่ระลึก

ถึงหลวงตา ได้นำธรรมะของหลวงตาไปใช้ในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ประชาชน

ส่วนใหญ่กำลังรู้สึกเครียดกับสถานการณ์ที่ประสบอยู่ วารสารแสงธรรมก็ยังอยู่เป็นเพื่อนร่วมเดินหน้าไปพร้อม

กับทุก ๆ ท่าน โดยมีธรรมะของหลวงตาเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ สร้างขวัญกำลังใจ ซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งที่จะทำให้

เราทุกคนสามารถก้าวผ่านวิกฤติในครั้งนี้ได้ และมาร่วมใจกันจัดงานมุทิตาจิตให้หลวงตาอีกครั้งในปี ๒๕๖๔ ซึ่ง

พระเดชพระคุณหลวงตาชี จะมีอายุครบ ๘ รอบ ๙๖ ปี

สุดท้ายนี้ขอให้ญาติโยมผู้ติดตามอ่านวารสารแสงธรรมทุกท่านมีสุขภาพกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็งเบิก

บาน ปลอดภัยจากโรคโควิด ๑๙ ด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ

คณะผู้จัดทำ


แสงธรรม 1 Saeng Dhamma

The Buddha’s Words

พุทธพจน์

ตุมฺเหติ กิจฺจํ อาตปฺปํ

ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ

อกฺขาตาโร ตถาคตา

ฌายิโน มารพนฺธนา ฯ ๒๗๖ ฯ

พวกเธอจงพยายามทําความเพียรเถิด พระตถาคต เป็นเพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้น

ผู้บําเพ็ญฌานเดินตามทางสายนี้ ก็จะพ้นจากเครื่องผูกของพญามาร

You yourselves should make an effort, the Tathagatas can but show the Way.

The meditative ones who walk this path are released from the bonds of Mara.

พุทธวจนะในธรรมบท

แปลโดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก


แสงธรรม 2 Saeng Dhamma

มงคลวาร งานวันเกิด ประเสริฐค่า

“เก้าสิบห้า” อายุวัฒน์ จ ารัสศรี

“รัตตัญญู” ผู้ชี้น า ธรรมเภรี

“หลวงตาชี” ศรีศาสน์พุทธ พิสุทธิ์ญาณ

หนึ่งชีวิต สัมฤทธิ์ผล บนทางฝัน

จากวันนั้น ถึงวันนี้ ที่สืบสาน

พุทธบุตร สุดแกล้วกล้า ปรีชาชาญ

ปณิธาน งานสอนธรรม พระสัมมา

พระนักสู้ ครูแนวหน้า วาจาสิทธิ์

พระนักคิด นักเขียน เทียนส่องหล้า

ภูมิธรรมแจ่ม แจ้งชัด วิปัสสนา

ภูมิปัญญา กล้าคม สมเมธี

พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป ป.ธ.๙

มุทิตา ๙๕ ปี พระราชมงคลรังษี

“เมธีสงฆ์ธ ารงธรรม”

“พระราชมงคลรังษี” มณีสงฆ์

“ผู้ธ ารง พุทธธรรม” น าวิถี

เกียรติคุณ เกริกฟ้า บารมี

“ชีวิตพลี เพื่อธรรม” อันอ าไพ

“เก้าสิบห้า ชีวานันโท” ร่มโพธิ์ศรี

อีกหนึ่งปี ทวีคุณ บุญยิ่งใหญ่

“เย็นร่มธรรม” ฉ่ าดวงจิต ศิษย์ใกล้ไกล

ณ “วัดไทยฯ ดี.ซี.” ปลื้มปรีดา

ขออ านาจ พระไตรรัตน์ พิพัฒน์ผล

บันดาลดล ให้ชนม์ชื่น ยืนพรรษา

ศูนย์รวมจิต มวลศิษย์พร้อม น้อมสักการ์

มุทิตา “วุฒาจารย์” สุขศานต์เทอญฯ

ร้อยกรองถวาย ในนามคณะศิษยานุศิษย์


แสงธรรม 3 Saeng Dhamma

What is Buddhism?

Good Question, Good Answer

By Ven. S. Dhammika

QUESTION: What is Buddhism?

ANSWER: The name Buddhism comes from the

word ‘budhi’ which means ‘to wake up’ and thus

Buddhism is the philosophy of awakening. This

philosophy has its origins in the experience of the

man Siddhata Gotama, known as the Buddha, who

was himself awakened at the age of 36.

Buddhism is now 2,500 years old and has

about 300 million followers world-wide. Until a

hundred years ago, Buddhism was mainly an Asian

philosophy but increasingly it is gaining adherents

in Europe and America.

QUESTION: So Buddhism is just a philosophy?

ANSWER: The word philosophy comes from two

words ‘philo’ which means ‘love’ and ‘sophia’

which means ‘wisdom’. So philosophy is the love

of wisdom or love and wisdom, both meanings

describing Buddhism perfectly. Buddhism teaches

that we should try to develop our intellectual

capacity to the fullest so that we can understand

clearly. It also teaches us to develop love and

kindness so that we can be like a true friend to all

beings. Thus Buddhism is a philosophy but not just

a philosophy. It is the supreme philosophy.

QUESTION: Who was the Buddha?

ANSWER: In the year 563 B.C. a baby was born

into a royal family in northern India. He grew up in

wealth and luxury but eventually found that worldly

comfort and security do not guarantee happiness.

He was deeply moved by the suffering he saw

all around and resolved to find the key to human

happiness. When he was 29 he left his wife and child

and set off to sit at the feet of the great religious

teachers of the day to learn from them. They taught

him much but none really knew the cause of human

suffering or how it could be overcome. Eventually,

after six years study and meditation he had an

experience in which all ignorance fell away and

he suddenly understood. From that day onwards

he was called the Buddha, the Awakened One. He

lived for another 45 years in which time he traveled

all over northern India teaching others what he had

discovered. His compassion and patience were

legendary and he made thousands of followers. In

his eightieth year, old and sick, but still happy and

at peace, he finally died.

QUESTION: Wasn’t it irresponsible for the

Buddha to walk out on his wife and child?

ANSWER: It couldn’t have been an easy thing

for the Buddha to leave his family. He must have

worried and hesitated for a long time before finally

leaving. But he had a choice, dedicating himself

to his family or dedicating himself to the whole

world. In the end, his great compassion made him

give himself to the whole world. And the whole

world still benefits from his sacrifice. This was not

irresponsible. It was perhaps the most significant

sacrifice ever made.


แสงธรรม 4 Saeng Dhamma

Texts from Major Religions

Concerning Aspects of the Religious Life

(Working Draft)

Compiled, with Notes, by Du Wayne Engelhart

Not Harming Anyone

Islam, Qur’an

“Whatever ye are given (here)

Is (but) as convenience

Of this Life: but that

Which is with Allah

Is better and more lasting:

(It is) for those who believe

And put their trust

In their Lord;

Those who avoid the greater

Crimes and shameful deeds,

And, when they are angry

Even then forgive;

Those who harken

To their Lord, and establish

Regular prayer; who (conduct)

their affairs by mutual

Consultation;

Who spend out of what

We bestow on them

For Sustenance;

And those who, when

An oppressive wrong is inflicted

On them, (are not cowed

But) help and defend themselves.

The recompense for an injury

Is an injury equal thereto

(In degree): but if a person

Forgives and makes reconciliation,

His reward is due

From Allah: for (Allah)

Loveth not those who

Do wrong.

But indeed if any do help

And defend themselves

After a wrong (done)

To them, against such

There is no cause

Of blame.

The blame is only

Against those who oppress

Men with wrongdoing

And insolently transgress

Beyond bounds throughout the land,

Defying right and justice:

For such there will be

A Penalty grievous.

But indeed if any

Show patience and forgive

That would truly be

An exercise of courageous will

And resolution in the conduct

Of affairs.” 1

Note. This passage is quite revealing as

regards the notion of not harming in Islam. (1) A

virtuous person should maintain a balance between

egoism, on the one hand, and self-effacement

on the other: He or she should exercise “mutual

consultation” (What is with Allah “[i]s better and

more lasting: / It is for those . . . / who (conduct) /

their affairs by mutual / consultation [wa-ʾamruhum

shūrā baynahum].” This practice applies to all

1 Qur’an, ‘Ali translation, 42:36-43, pp. 1256-58.


levels of society. 2 In each case a person should

make decisions with consideration of others’

viewpoints. He or she should not lord it over others,

but solicit and respect the opinions of others. The

idea of mutual consultation could be interpreted as

extending even to the relations between nations. It

is always better to settle disputes between nations by

diplomacy rather than by hostile action. What would

diplomacy be if not mutual consultation, which

avoids hostility? (2) Mutual consultation includes

the notion that a person does not submit without

protest (idiomatically speaking, does not become

a “doormat” but has a healthy sense of self) when

oppressed (“And those who, when / An oppressive

wrong is afflicted / On them, [are not cowed / But]

help and defend / themselves”). 3 So Islam finds

fault with the Christian teaching of the Gospels of

turning the other cheek, 4 a teaching the translator

of the Qur’an calls the “monkish doctrine.” 5 Such

2 See Qur’an, ‘Ali translation, translator’s footnotes 4578-79, p.

1257: “Consultation . . . is the keyword of the Sūrah [42], and suggests

the ideal way in which a good man should conduct his affairs,

so that, on the one hand, he may not become too egotistical, and, on

the other, he may not lightly abandon the responsibilities which devolve

on him as a Personality whose development counts in the sight

of Allah . . . Modern representative government is an attempt . . . to

apply this principle in State affairs . . . / “[C]onduct in life [of those

who want to serve Allah] is open and determined by mutual Consultation

between those who are entitled to a voice, e.g., in private domestic

affairs, as between husband and wife . . .; in affairs of business

. . .; and in State affairs, as between rulers and ruled, or as between

different departments of administration, to reserve the unity of administration

. . . .”

3 See Qur’an, ‘Ali translation, translator’s footnote 4580, p. 1257:

the four possible situations in which a person might have to assert

himself or herself in the face of oppression.

4 See Matthew 5:38-42 NAB, for instance: “ ‘You have heard that it

was said, “An eye for an eye and a tooth for a tooth.” But I [Jesus]

say to you, offer no resistance to one who is evil. When someone

strikes you on [your] right cheek, turn the other one to him as well.

If anyone wants to go to law with you over your tunic, hand him your

cloak as well. Should anyone press you into service for one mile, go

with him for two miles. Give to the one who asks of you, and do not

turn your back on one who wants to borrow.’ ”

5 See Qur’an, ‘Ali translation, translator’s footnotes 4581, p. 1257:

“But this active righting of wrongs, whether by physical or by moral

or spiritual means, which are commended as better, is an antithesis to

the monkish doctrine, when you are smitten on one cheek, to turn the

other also. This would not suppress, but encourage wrongdoing. It

is practiced by none by poltroons [cowards], and is preached only by

hypocrites, or men who want to make slaves or [sic] others by depriving

them of the power of self-defense. It occurs in two of the

four canonical Gospels (Matt. 5:39, and Luke 6:29), but we need not

therefore assume that it was preached by Jesus.” But despite this

แสงธรรม 5 Saeng Dhamma

a criticism is understandable within the context of

Islam insofar as the religion has no ascetic ideal

such as the one preached by Jesus. In Islam there is

no monasticism as in the Christian tradition; there

is no going into homelessness as in the Theravāda

Buddhist tradition. 6 The ascetic religious life is,

as it were, collapsed in Islam into the lay religious

life—the opposite of what has occurred in original

Christianity interpreted in terms of strict adherence

to the practice of nonviolence. As a further

consideration, while Islam, surely, promotes the

virtue of love, it does not have the Christian notion

of agapē, unselfish, benevolent love for the welfare

rather harsh assessment of “turning the other cheek,” isn’t this teaching,

though mentioned only twice in the Gospels, part and parcel of

Jesus’s overall message? Consider the following relevant passages:

Matthew 18:3-4 (entering the kingdom of heaven by becoming like

a humble little child) (Compare Matthew 19: 13-14, Mark 9:33-37,

and Luke 9:46-50); John 13:2-17 (Jesus, like a servant, washing the

feet of his disciples, and telling them to act in a similar way); Matthew

6:26-34 (trusting in God to satisfy our physical needs for tomorrow,

just as He satisfies the needs of the birds—worrying more

about our souls than about our bodies). And reflect on John 1:36

(Jesus as the “Lamb of God”) (Compare 1 Peter 1:19 [Jesus, like a

lamb, killed for the sins of men]); Matthew 21:1-11 (the “Suffering

Servant”) (Compare Zechariah 9:9, Isaiah 42:1-9 and 52:13-15);

John 10:11 (Jesus as a good shepherd giving up his life for his sheep);

and John 15:13 (Jesus’s great love as giving up his life for his

friends). In light of all these passages, why would one not assume

that the lesson about turning the other cheek was taught by Jesus?

6 The words from Sūrah 42, “Those who avoid the greater / Crimes and

shameful deeds, / And, when they are angry/ Even then forgive,” suggest that

there are degrees of perfection within the life of the person of Islam. Compare

Qur’an, ‘Ali translation, translator’s footnote 4577, p. 1256: “Here we are

speaking of the ordinary man or woman who tries to follow Allah’s Law; he

or she is not perfect, but at least eschews the major breaches of conduct. For

those higher in spiritual degree there is of course a stricter standard. But all

are entitled to the blessing of Islam, whatever their degree.” Nevertheless,

granted these degrees of perfection within the Islamic lay life, there would be

no transition to an ascetic form of life.

I leave aside the question as to what extent Sufism differs from Islam

proper in respect of a monastic life (Consider, for instance, Sufi believers living

together in a zawiya, or “lodge).

It is noteworthy that the Sikh religion is similar to Islam as regards the lack

of an ascetic lifestyle. See W. Owen Cole and Piara Singh Sambhi, The Sikhs:

Their Religious Beliefs and Practices (2nd revised ed.; Portland: Sussex Academic

Press, 1998), p. 142: “It is as a householder (grihasthi), a member of a

family, not as one who has withdrawn from the world either to become a

student or a hermit, that a Sikh should explore the meaning of God-realization.

Again the Guru [Nanak] said, ‘The householder who gives all that can

be afforded to charity is as pure as the water of the Ganges’ ([Sri Guru Granth

Sahib] 952). / Putting the principles into practice is difficult because the requirement

to live like a lotus in a dirty pond, to be in the world but not attached

to it, to radiate beauty and remain pure, is hard. It is easier to turn

away from the social responsibilities but asceticism and renunciation are rejected

[Compare Sri Guru Granth Sahib 939, quoted in the book].”


of another. 7 This agapē originates in God, who sent

His only Son into the world to redeem men from

their sins. 8 The idea of selfless redemptive love is

foreign to Islam. So while Jesus, the Son of God,

seeks out sinners, Allah shuns them. 9 As the sūrah

says, “[F]or (Allah) / Loveth not those who / Do

wrong.” (3) In Islam persons who are injured have

a right to compensation equal in degree to the injury

suffered; they have a right to defend themselves

(“The recompense for an injury / Is an injury equal

thereto / [In degree]”; “But indeed if any do help /

And defend themselves / After a wrong [done] / To

them, against such / There is no cause / Of blame”).

They can appeal to the legal authorities, or they

can act within the bounds of the law to correct the

offense. 10 (4) The preferable way for a person of

Islam to deal with injury is the moral or spiritual

way of patience and forgiveness (“But indeed if any

/ Show patience and forgive / That would be / An

exercise of courageous will / And resolution in the

conduct / Of affairs”). So if mutual consultation

is the best way to avoid conflict, patience and

forgiveness are the best way to resolve conflict if it

has occurred. This is the ideal way: “But the ideal

mode is not to slake your thirst for vengeance, but

to follow better ways leading to the reform of the

offender or his reconciliation . . . . You can take

steps to prevent repetition, by physical or moral

means; the best moral means would be to turn hatred

into friendship by forgiveness and love. In that case

the compensation or reward . . . is infinitely greater,

แสงธรรม 6 Saeng Dhamma

for it wins the good pleasure of Allah.” 11 In sum,

though in some cases there may be no way for one

to defend oneself against harm except by force, and

though sometimes it might be necessary to resort to

legal means to correct a wrong (recompensation),

the ideal, however, would be to gently change the

heart of the one doing harm through patience and

forgiveness—all the while maintaining one’s selfassertion

as someone of importance in the eyes of

Allah. 12

Islam, Qur’an

“Fight in the cause of Allah

Those who fight you,

But do not transgress limits;

For Allah loveth not transgressors.

And slay them

Wherever ye catch them,

And turn them out

From where they have

Turned you out;

For tumult and oppression

Are worse than slaughter;

And fight them not

At the Sacred Mosque,

Unless they (first)

Fight you there;

But if they fight you,

Slay them.

For such is the reward

7 See Institute of Islamic Studies of the Evangelical Alliance in Germany,

Austria, and Switzerland, Fritz Goerling, “ ‘Love’ in the Bible

and the Qur’an,” https://www.islaminstitut.de/en/2010/der-begriffder-liebe-gottes-in-der-bibel-und-im-koran/,

accessed April 5, 2020.

8 See 1 John 4:16 NAB: “God is love [agapē], and whoever remains

in love remains in God and God in him.”

9 Contrast Mark 2:14 NAB (“Jesus . . . said . . ., ‘Those who are well

do not need a physician, but the sick do. I did not come to call the

righteous but sinners’ ”) with, for example, Qur’an 30:44-45 (Those

who reject Faith / Will suffer from that rejection . . . / For He [Allah]

loves not those / Who reject Faith”). One of the 99 names of Allah is

indeed Al Wadud (the Loving One, the One full of loving-kindness)

(Qur’an 11:90 and 85:14, ‘Ali translation, pp. 535 and 1629), but this

love is not extended to all persons without exception.

10 See Qur’an, ‘Ali translation, translator’s footnote 4581, p. 1257.

11 See Qur’an, ‘Ali translation, translator’s footnote 4581, p. 1257.

See, also, the translator’s footnote 4586, p. 1258. Compare Qur’an,

41:34, ‘Ali translation, pp. 1238-39; and 23:96, ‘Ali translation, p.

859, referred to in footnote 4581.

12 Compare Qur’an 3:159, ‘Ali translation, p. 169. This verse from

Sūrah 3 provides a good summing-up statement of how, following

the example of Muḥammad, people of Islam should act to conform as

much as possible to the Islamic ideal: “It is part of the Mercy / Of

Allah that thou [Muḥammad] deal / gently [here linta, ‘gentle’: not

hilm, ‘gentleness’] with them. / Wert thou severe / or harsh-hearted,

/ They would have broken away / From about thee: so pass over /

(Their faults), and ask / for Allah’s forgiveness / For them; and consult

[shāwir] / Them in affairs (of moment). / Then, when thou hast

/ Taken a decision, / Put thy trust in Allah, / For Allah loves those /

Who put their trust (in Him).” Note the qualities of gentleness, patience

(sābr) (“pass over ‘[Their faults]”), forgiveness (asked for

from Allah), consultation, and trust in Allah, who reciprocates with

His love toward a believer.


Of those who repress faith.” 13

Note. What is the Islamic outlook toward

war? Islam is many times taken to be a religion

of the sword, but it is not. As the lines from Sūrah

2 indicate, the only war justified in Islam is a war

of defense, and there are limits imposed (“Fight in

the cause of Allah / Those who fight you, / But do

not transgress limits”). The translator comments as

follows: “War is permissible in self-defense, and

under well-defined limits. . . . [I]t must be pushed

with vigor (but not relentlessly), but only to restore

peace and freedom for the worship of Allah. In any

case strict limits must not be transgressed: women,

children, old and infirm men should not be molested,

nor trees and crops cut down, nor peace withheld

when the enemy comes to terms.” 14 If the war is

“pushed with vigor” (“And slay them, / wherever

you catch them”; “Slay them. / For such is the reward

/ Of those who repress faith”), the purpose is only

to enable the faithful to practice their religion (“For

tumult and oppression / Are worse than slaughter”).

And is the “vigor” expressed here regarding war

against oppression any more excessive than that

shown in Saint Thomas Aquinas’s second condition

13 Qur’an 2:190-91, ‘Ali translation, pp. 76-77 (The italics are

mine).

14 Qur’an, ‘Ali translation, footnote 204, p. 76. Compare Huston

Smith, The World’s Religions: Our Great Wisdom Traditions (New

York: HarperSanFrancisco, 1991), pp. 254-57.

แสงธรรม 7 Saeng Dhamma

for a just war? 15 When Saint Thomas speaks about

“punishment” (righting wrong), the Qur’an is

speaking about “righteousness and piety”: “And let

not the hatred / Of some people / In (once) shutting

you out / Of the Sacred Mosque / Lead you to

transgression/ (and hostility on your part). / Help ye

one another / In righteousness and piety, / But help

ye not one another in sin and rancor.” 16

Wat Thai Washington, D.C.

May 19, 2020

15 See New Advent, Saint Thomas Aquinas, Summa Theologiae

(Summa Theologica), Secunda Secundae Partis, Question 40, Article

1: “Secondly, a just cause is required [to wage war], namely that

those who are attacked, should be attacked because they deserve it on

account of some fault. Wherefore Augustine says (QQ. in Hept., qu.

x, super Jos.): ‘A just war is wont to be described as one that avenges

wrongs, when a nation or state has to be punished, for refusing to

make amends for the wrongs inflicted by its subjects, or to restore

what it has seized unjustly.’ ”

16 Qur’an 5:3, ‘Ali translation, p. 244. So the translator says in footnote

690, p. 244: “. . . [W]e must not retaliate or return evil for evil.

The hatred of the wicked does not justify hostility on our part. We

have to help each other in righteousness and piety, not in perpetuating

feuds of hatred and enmity. We may have to fight and put down

evil, but never in a spirit of malice or hatred, but always in a spirit of

justice and righteousness.”

Happy Birthday to Mr. Du Wayne Engelhart

กลุ่มพลังบุญ รวมปัจจัยทำบุญค่ าน้ำ-ค่าไฟ ถวายเพลพฤษภาคม $470


แสงธรรม 8 Saeng Dhamma

ปุจฉา-วิสัชนา

https://qaphrapaisal.wordpress.com/

ปุจฉา : กราบนมัสการพระอาจารย์ไพศาลค่ะ โยม

กราบขออนุญาตถามค่ะว่า การที่พระสงฆ์ที่มา

บิณฑบาตบ้านโยมตอนเช้าเกือบทุกวันได้ขอเข้าห้องน ้ำ

บ้านโยมเกือบทุกอาทิตย์เป็นการเหมาะสมหรือไม่ ถ้าไม่

เหมาะสมโยมควรพูดว่าอย่างไร หรือถ้าไม่เป็นไรโยมก็ให้

พระสงฆ์เข้าห้องน้ำได้ต่อไป กราบขอบพระคุณพระ

อาจารย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ

วิสัชนา : ที่จริงการทำเช่นนั้น พระวินัยไม่ได้ห้ามไว้

แต่หากท่านไม่ได้เจ็บป่วยหรือไม่ได้มีเหตุจำเป็นจริง ๆ

การทำเช่นนั้นเป็นอาจิณย่อมไม่เหมาะ เนื่องจากคุณมิใช่

เป็นโยมที่ท่านคุ้นเคยหรือได้ปวารณาเอาไว้ และหาก

คุณอยู่บ้านคนเดียว การท ำเช่นนั้นก็ยิ่งไม่เป็นการเหมาะสม

หากท่านมาขอเข้าห้องน้ำบ้านของคุณอีก ควรถาม

ท่านก่อนว่า ท่านเจ็บป่วยหรือไม่ พร้อมกับบอกว่าหาก

ท่านเจ็บป่วย โยมก็ยินดีให้ใช้ห้องน้ำในบ้าน แต่ถ้าท่าน

ไม่เจ็บป่วย ก็บอกท่านว่า ถ้านาน ๆ ใช้ที ก็ไม่เป็นไร แต่

ถ้าใช้เป็นประจำ โยมไม่สะดวก การพูดเพียงเท่านี้ก็ย่อม

เพียงพอแล้วที่ท่านจะเข้าใจได้ว่าการกระทำของท่าน

เป็นการรบกวนเจ้าของบ้าน

ปุจฉา : กราบนมัสการพระอาจารย์ที่เคารพ บิดา

มารดาของโยมเป็นชาวพุทธที่ทำบุญตักบาตร เข้าวัด

ทำบุญ แต่ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของศีล หาก

อยากชักชวนให้พ่อแม่ถือศีล ๕ ด้วยนั้น ควรจะมีวิธีการ

ชักชวนอย่างไรถึงจะเหมาะสม กราบขอบพระคุณพระ

อาจารย์เจ้าค่ะ

วิสัชนา : ควรชี้ให้ท่านเห็นว่าการทำบุญเช่น ใส่บาตร

เป็นสิ่งดี น่าอนุโมทนา แต่จะดียิ่งขึ้นหากละเว้นการ

ทำบาปหรือการเบียดเบียนด้วย หาไม่จะได้บุญน้อย

หลวงพ่อชา สุภัทโท กล่าวว่า “การละบาปนี้สำคัญกว่า

การทำบุญ ไม่ละบาป ไม่ละความชั่ว จิตไม่ผ่องใส

หรอก” การละบาปนั้นทำได้ด้วยการถือศีล ๕ เป็นเบื้องต้น

หากท่านเห็นว่าเป็นเรื่องยาก เพราะทำเป็นนิสัยแล้ว

ก็ควรเริ่มจากการถือศีลอาทิตย์ละครั้ง คือทุกวันพระ หาก

ทำบ่อย ๆ ก็เป็นการง่ายที่จะทำทุกวันจนเป็นอาจิณ

ปุจฉา : กราบนมัสการพระอาจารย์ไพศาลค่ะ โยม

เป็นคนที่ หากมีเรื่องใดที่กระทบใจ มักจะคิดวนเวียนถึง

เรื่องนั้นไม่เลิก ไม่สามารถสลัดออกจากใจได้ รู้สึกเป็น

ทุกข์มากเจ้าค่ะ ไม่ทราบว่าโยมควรทำอย่างไรดีเจ้าคะ

วิสัชนา : วิธีแก้ปัญหานี้แบบเฉพาะหน้า ก็คือ หา

อะไรทำ อย่าอยู่นิ่ง ๆ เพราะถ้าอยู่เฉย ๆ จิตจะเวียนวน

อยู่กับเรื่องนั้น วันหนึ่ง ๆ คุณคงมีงานหลายอย่างที่ต้อง

ทำอยู่แล้ว เมื่อมีอะไรกระทบใจ ก็เอางานเหล่านั้นมาทำ


จดจ่อใส่ใจอยู่กับสิ่งนั้น จะเป็นงานบ้าน งานอาชีพ หรือ

กิจวัตรประจำวัน ก็ได้ทั้งนั้น จะช่วยให้ลืมหรือวางเรื่อง

เหล่านั้นลงไปได้

ในระยะยาว ปัญหานี้จะแก้ได้ก็ด้วยการมีสติรู้ทัน

ความคิดและอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยามถูกกระทบ ถ้า

รู้ทันเมื่อไหร่ มันก็จะจางหายไปเมื่อนั้น สติช่วยให้ใจอยู่

กับปัจจุบัน ไม่ไหลไปอดีต ลอยไปอนาคต หรือจมอยู่ใน

อารมณ์ ดังนั้นคุณควรหมั่นเจริญสติอยู่เป็นนิจ ทำอย่าง

น้อยวันละ ๑๐ นาทีเป็นอย่างน้อย

ขณะเดียวกันเวลาทำอะไร ก็ให้ใจอยู่กับสิ่งนั้น อย่า

เพิ่งไปคิดถึงสิ่งอื่น แม้แต่กิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ

ล้างหน้า ถูฟัน ขณะที่ทำสิ่งนั้น ใจก็อย่าเพิ่งไปคิดถึง

อะไรที่จะทำต่อไปหลังจากนั้น การทำเช่นนี้เป็นนิสัยจะ

ช่วยให้สติของคุณว่องไว เวลาเผลอคิดถึงเรื่อง

กระทบใจ สติก็จะช่วยให้รู้ทัน และปล่อยวางความคิด

หรืออารมณ์ที่เกิดขึ้น

ปุจฉา : กราบนมัสการพระอาจารย์ไพศาลเจ้าค่ะ

การทานยาถ่ายพยาธิ ถือว่าผิดศีลหรือไม่เจ้าคะ โยมมิได้

มีเจตนาในการฆ่า แต่ก็รู้ว่าการทานยาจะทำให้พยาธิ

ตายด้วย หากเราตั้งจิตว่าจะทานยาถ่ายพยาธิเพื่อการ

รักษาสุขภาพ (นานๆ ทานที) จะได้ไหมคะ หรือควรจะทำ

อย่างไรดีเจ้าคะ กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

วิสัชนา : จะผิดศีลหรือไม่ อยู่ที่เจตนา เช่น ถ้ามี

เจตนาหรือความตั้งใจว่า อยากกำจัดพยาธิให้หมดไป

อย่างนี้ก็ผิดศีลข้อ ๑ แต่ถ้ามีเจตนาว่า ทำเพื่อให้มี

สุขภาพดี (แม้ในส่วนลึกของใจ มีความอยากให้พยาธิ

ตาย) ก็ไม่ผิด หรือถึงผิดก็เล็กน้อยกว่ากรณีแรกมาก

ปุจฉา : กราบนมัสการพระอาจารย์ไพศาลครับ โยม

กราบขออนุญาตถามดังนี้ครับ ความทุกข์ของพระ

โสดาบันเหลือเพียงเมล็ดถั่วเมล็ดงา นั้นหมายถึงอย่างไร

ครับ กราบขอบพระคุณพระอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ

วิสัชนา : หมายความว่า ความทุกข์ของท่านเหลือ

น้อยมาก เนื่องจากได้ละสังโยชน์หรือกิเลส ๓ ประการได้

อย่างสิ้นเชิง อันได้แก่ ความเห็นว่ารูปกับนามเป็นตัวตน

แสงธรรม 9 Saeng Dhamma

(สักกายทิฏฐิ) ความลังเลสงสัย (วิจิกิจฉา) และความถือ

มั่นในศีลพรตหรือข้อวัตร (สีลัพพตปรามาส)

อีกเหตุผลหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกันก็คือ พระโสดาบันนั้น

จะเกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ ความทุกข์ที่เกิดกับท่านจึงนับว่า

เล็กน้อยมากเมื ่อเทียบกับปุถุชนซึ่งต้องเกิดอีกนับครั้งไม่

ถ้วน (ทุกข์ของปุถุชนนั้นท่านเปรียบเหมือนแผ่นดิน)

ปุจฉา : กราบนมัสการพระอาจารย์ไพศาลที่เคารพ

โยมสังเกตว่า กับคนอื่นๆ โยมจะใจเย็น มีเหตุผล เข้าอก

เข้าใจ และเมื่อมีสิ่งใดมากระทบจะวางได้ไม่ยาก แต่กับ

คนใกล้ตัว โยมกลับใจร้อน สิ่งใดที่ขัดใจก็จะไม่ยอม ไม่

ปล่อยผ่านแม้เรื่องเล็กน้อย ไม่ทราบว่าโยมควรจะ

วางใจอย่างไร หรือมีอุบายในการพิจารณาแบบใดเพื่อให้

สามารถก้าวข้ามสิ่งนี้ได้เจ้าคะ กราบขอบพระคุณเป็น

อย่างสูงค่ะ

วิสัชนา : คุณควรหมั่นฝึกสติให้รู้ทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น

เวลามีอะไรมากระทบ และรู้สึกขัดใจหรือขุ่นเคืองใจ สติ

ที่รู้ทันอาการดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยให้ปล่อย

วางมันได้อย่างรวดเร็ว อย่างน้อยก็ช่วยลดความรุนแรง

เข้มข้นของอาการดังกล่าว ทำให้หักห้ามใจไม่เผลอพูด

หรือทำอะไรในทางที่ไม่ถูกต้อง

ความยึดติดถือมั่นในความคิดของตน อยากให้ทุก

อย่างเป็นไปตามใจตน (รวมทั้งอยากให้ถูกต้องตามแบบ

ของตน) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณขุ่นเคืองใจเวลาเห็น

สิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นดั่งใจ คุณควรตระหนักว่านี่เป็นอาการ

อย่างหนึ่งของอัตตา หรือความยึดติดถือมั่นใน “ตัวกู

ของกู” ซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ ดังนั้นจึงควรคลายความยึด

ติดดังกล่าวลงบ้าง เช่น เตือนตนอยู่เสมอว่าเป็นไปไม่ได้ที่

จะได้ดั่งใจในทุกสิ่ง เผื่อใจไว้ล่วงหน้าว่าความผิดพลาด

เป็นเรื่องธรรมดา

เวลามีอะไรมากระทบ แล้วรู้สึกขุ่นเคืองใจ ก็ให้รู้ว่า

“ตัวกู ของกู”กำลังอาละวาดแล้ว ควรชี้หน้าด่ามันบ้าง

อย่าปล่อยให้มันผยองหรือบงการจิตใจของคุณ อีกวิธี

หนึ่งก็คือ เมื่อเจอสิ่งขัดใจ ก็อย่าเพิ่งโกรธ ควรมองว่ามัน

เป็นแบบฝึกหัดที่ช่วยขัดใจให้กิเลสเบาบาง หรือลดอัตตา


ให้น้อยลง

สุดท้ายก็คือ เวลาทำอะไร ลองทำให้ช้าลง ใจอยู่กับ

ปัจจุบัน อาจทำให้คุณใจเย็นลงบ้าง และมีสติรู้ตัวได้ไวขึ้น

เวลามีอะไรมากระทบ ทั้งหมดที่พูดมามิได้

หมายความว่า คุณควรปล่อยให้ความไม่ถูกต้องผ่านไป

โดยไม่ทำอะไรเลย การทักท้วง ตักเตือนเพื่อแก้ไขสิ่งผิด

ให้ถูกต้อง เป็นเรื่องที่ควรทำ แต่คุณไม่จำเป็นต้องทำด้วย

ความโกรธ ซึ่งมีแต่จะเผาลนใจคุณให้เป็นทุกข์ คุณควร

ทำด้วยใจที่สงบ มีสติ นั่นคือ ทำกิจ และทำจิต ไปควบคู่

กัน ซึ่งจะเกิดผลดีทั้งต่อตัวเอง ผู้อื่นและส่วนรวม

ปุจฉา : กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ แม่ของเพื่อน

ป่วยเป็นโรคร้ายแรง และมักจะคอยโทษตัวเองว่า ตัวเอง

เป็นสาเหตุทำให้คนอื่นต้องเดือดร้อน และไม่มีความสุข

กลายเป็นว่าป่วยกายแล้วก็พาลป่วยใจไปด้วย โยมใน

ฐานะคนนอก จะสามารถช่วยให้กำลังใจกับเพื่อน

และแม่เพื่อนได้อย่างไรเจ้าคะ

วิสัชนา : มีหลายคนที่แม้เจ็บป่วยด้วยโรคร้าย แต่มี

ความสุข ไม่โอดครวญ ตัดพ้อต่อว่าคนอื่น หรือโทษ

ตนเอง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

เช่น ลูก หรือคนรัก เป็นไปด้วยดี ลูกและคนรักต่างดูแล

เอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด มีหลายครอบครัวที่ความ

สัมพันธ์กระชับแน่นมากขึ้นเมื่อคนใดคนหนึ่งป่วยหนัก

หรืออยู่ในระยะสุดท้าย ทั้งนี้เพราะความเจ็บป่วยนั้น

แสงธรรม 10 Saeng Dhamma

ชักนำทุกคนในครอบครัวให้มาช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่

เมื่อใดก็ตามที่ลูกเห็นว่านี่เป็นโอกาสดีที่ได้ตอบแทน

บุญคุณแม่อย่างเต็มที่ ลูกจะมีความสุขและภาคภูมิใจใน

การดูแลแม่แม้จะเหน็ดเหนื่อยเพียงใดก็ตาม หลายคนใช้

โอกาสนี้บอกรักแม่ กอดแม่ทุกวัน บางคนถึงกับกล่าว

ว่าการได้ดูแลแม่ในระยะสุดท้ายของท่านคือสิ่งที่ดีที่สุด

ของชีวิตที่ได้ทำ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าท่าทีดังกล่าวของลูก

ย่อมทำให้ผู้ป่วยมีความสุขด้วย การตัดพ้อผู้อื่นหรือโทษ

ตนเองแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย

ความสุขและความภาคภูมิใจในการดูแลผู้ป่วยเป็นสิ่ง

สำคัญ แต่หากทำไปด้วยความทุกข์แล้ว (เพราะ

เหน็ดเหนื่อย ท้อแท้หรือเพราะยอมรับชะตากรรมของผู้

ป่วยไม่ได้ก็แล้วแต่) มีแต่จะทำให้บรรยากาศที่ห้อมล้อมผู้

ป่วยหม่นหมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยพลอยเป็นทุกข์ และรู้สึก

ว่าตนเป็นภาระของคนอื่น ทำให้อยากตายเร็วขึ้น

หากมีโอกาสคุณควรแนะนำให้เพื่อนตระหนักว่านี่

เป็นโอกาสทองที่ลูกจะได้ทำสิ่งดี ๆ ให้กับแม่ เป็นโอกาส

ดีที่จะมีความสุขร่วมกัน อย่ามัวแต่กลัดกลุ้มเพราะ

นึกถึงแต่ความตายที่กำลังจะมาถึง ในขณะที่แม่ยังมีชีวิต

อยู่ ลูกควรใช้เวลาที่กำลังเหลือน้อยลงให้เกิดประโยชน์

และคุณค่าอย่างเต็มที่ อาตมาเชื่อว่าหากทำได้เช่นนี้ ทั้ง

ลูกและแม่จะพบว่านี่คือช่วงเวลาที่มีความสุขมากที่สุด

ครอบครัวสถิรพรพงศ์ ทำบุญอุทิศให้คุณเจษฎา สถิรพรพงศ์ คุณชูศรี กอร์ ทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลให้คุณจิมมี่ GORE


แสงธรรม 11 Saeng Dhamma

สารธรรม จาก...พระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๘๗๗ - ๙๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิก าย สคาถวรรค สักกสังยุตต์

อารัญญกสูตร : กลิ่นของศีลหอมหวนสำหรับเทวดา

สุภาสิตชยสูตร

(877-883) พระสูตรนี้กล่าวถึงสงครามระหว่าง

เทวดากับอสูร ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเล่าให้ภิกษุทั้งหลาย

ฟัง เป็นตอนท้าทายกันระหว่างท้าวสักกะกับท้าวเวปจิตติ

ว่าใครจะมีวาจาสุภาษิตมากกว่ากันโดยมีกรรมการตัดสิน

ท้าวเวปจิตติเป็นฝ่ายเริ่มก่อนใจความของวาทะเหมือน

กับคำกล่าวระหว่างมาตลิเทวบุตรกับท้าวสักกะในเวปจิตติ

สูตรทุกประการ ผลปรากฏว่า กรรมการตัดสินให้ท้าว

สักกะเป็นฝ่ายชนะ เพราะเป็นคำกล่าวที่ไม่อิงความ

รุนแรงด้วยเรื่องโทษทัณฑ์ (อาชญา) และอาวุธ ไม่เป็นไป

เพื่อการแก่งแย่งทะเลาะวิวาทกัน

กุลาวกสูตร

(884-886) พระสูตรนี้กล่าวถึงพระพุทธดำรัสเล่า

เรื่องสงครามระหว่างเทวดากับอสูรอีกตอนหนึ่ง คราว

นี้พวกเทวดาเป็นฝ่ายปราชัย พวกเทวดาถูกไล่ต้อนหนี

ขึ้นไปทางทิศอุดร เมื่อไปถึงป่างิ้ว (สิมฺพลึ) ท้าวสักกะ

รับสั่งมาตลิเทวบุตรให้เลี้ยวรถกลับ เพราะในป่างิ้วนั้น

มีรังนก (หมายถึงลูกครุฑ) อยู่ ทรงพร้อมสละชีพดีกว่า

จะทำให้ลูกนกไร้รัง มาตลิเทวบุตรต้องหันหัวรถเทียม

ม้าอาชาไนยพันตัวกลับทางเดิม พวกอสูรเห็นก็คิดว่า

ท้าวสักกะฮึดสู้อีกรอบหนึ่ง พากันตื่นกลัวแตกกระเจิง

กลับเข้าเมืองอสูรดังเดิม พระพุทธองค์ตรัสกะภิกษุทั้ง

หลายว่า สงครามครั้งนี้ ท้าวสักกะเป็นฝ่ายมีชัยด้วย

ธรรมแท้ๆ

(ตำแหน่งของมาตลินั้น เรียกว่า สังคาหกเทวบุตร

หมายถึงเทพสารถี-Charioteer)

นทุพภิยสูตร

(887-889) อีกคราวหนึ่ง ที่(วัดเชตวัน) กรุงสาวัตถี

พระพุทธองค์ทรงเล่าเรื่องท้าวสักกะให้ภิกษุทั้งหลายฟัง

ว่า ครั้งหนึ่งท้าวสักกะทรงคิดว่า ไม่ควรที่จะประทุษร้าย

แม้ต่อข้าศึก ท้าวเวปจิตติหยั่งทราบในความคิดนั้นจึง

เข้าไปหาถึงที่ประทับ ท้าวสักกะสั่งให้หยุดอยู่ตรงนั้น

เพราะเท่ากับรุกล้ำมาให้จับได้เอง ท้าวเวปจิตติทวงถาม

ว่าลืมความคิดเมื่อสักครู่แล้วหรือ? เรื่องนี้จบลงโดยท้าว

สักกะให้ท้าวเวปจิตติสาบานว่าจะไม่เป็นฝ่ายประทุษร้าย

พระองค์อีก (คำเรียกท้าวสักกะในคำสาบาน ท้าวเวปจิตติ

ใช้คำว่า ท้าวสุชัมบดี)

วิโรจนอสุรินทสูตร

(890-894) เวลากลางวัน ณ วันหนึ่ง ขณะที่พระพุทธ

องค์ประทับพักผ่อนอยู่ในวัดเชตวัน ท้าวสักกะกับท้าว

วิโรจนะ (จอมอสูร) เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ด้วยกัน โดย

ยืนพิงบานประตูพระคันธกุฎีองค์ละบาน แล้วกล่าวคาถา

แลกเปลี่ยนความเห็นทางธรรมต่อกัน สรุปได้ว่า ทรง

เห็นตรงกันว่า ประโยชน์ของคนอยู่ที่ความสำเร็จ แต่ท้าว

สักกะมีความเห็นเสริมว่า ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ชนิดใด

ก็ตาม ก็ไม่ยิ่งไปกว่าขันติได้

อารัญญกสูตร

##

กลิ่นของศีลหอมหวนสำหรับเทวดา

(895-898) ที่ (วัดเชตวัน) กรุงสาวัตถี พระพุทธองค์

ทรงเล่าเรื่องท้าวสักกะกับท้าวเวปจิตติเข้าไปหาฤาษีผู้

ประพฤติดีประพฤติชอบ ซึ่งอยู่เป็นหมู่มากรูปตามกุฏิมุง

ใบไม้ในราวป่า ท้าวเวปจิตตินั้นเข้าไปใกล้ฤาษีห่างไม่ถึงวา


โดยยังสวมรองเท้าหลายชั้นทั้งสะพายดาบและมีผู้กั้นร่ม

ให้ ต่างจากท้าวสักกะซึ่งถอดฉลองพระบาท ประทาน

พระขรรค์ให้ผู้อื่นถือให้ รับสั่งให้ลดฉัตรลง เสด็จเข้าไปทาง

ประตูเข้าออกของอาศรม และประนมอัญชลีอยู่ทางใต้ลม

ฤาษีกล่าวกะท้าวสักกะว่า พวกฤาษีบำเพ็ญพรตมานาน

กลิ่นกายไม่สะอาดอบอวลไปตามลม ขอให้ทรงอยู่ห่างๆ

เข้าไว้ ท้าวสักกะทรงตอบว่า พวกพระองค์ (เหล่าเทวดา)

กลับหวังจะได้กลิ่นของผู้ทรงศีล ไม่ต่างอะไรกับอยากจะได้

มาลัยดอกไม้อันงดงามไว้เหนือเกล้า เทวดาไม่เคยคิดว่า

กลิ่นของผู้ทรงศีลเป็นสิ่งสกปรกเลย (ฤาษีเรียกท้าวสักกะ

ว่า ท้าวสหัสสเนตร - สหัสสเนตร แปลว่า พันตา)

สมุททกสูตร

(899-904) ที่วัดเชตวัน พระพุทธองค์ทรงเล่าเรื่องใน

อดีตเรื่องหนึ่งให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ระหว่างเกิดสงคราม

ในหมู่เทวดากับอสูรครั้งหนึ่ง มีฤาษีผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

พวกหนึ่งบำเพ็ญพรตอยู่ตามกุฏิใบไม้ที่ฝั่งทะเล ได้เล็ง

เห็นว่า พวกเทวดาเป็นฝ่ายธรรม พวกอสูรเป็นฝ่าย

อธรรม เกรงว่าพวกอสูรจะเป็นภัยแก่พวกตน จึงพากัน

(ไปด้วยฤทธิ์) เข้าพบท้าวสัมพร จอมอสูร เพื่อขออภัย

ทาน ถูกท้าวสัมพรปฏิเสธ บอกว่าฤาษีเป็นพวกชั่วช้า

คบหาอยู่กับท้าวสักกะ จะให้ได้ก็แต่ภัยเท่านั้น พวกฤาษี

ได้กล่าวสาปแช่งจอมอสูรว่าขอให้ได้รับผลกรรมที่ทำไว้

ผลก็คือ คืนนั้นท้าวสัมพรนอนสะดุ้งถึง 3 ตลบ

(สัมพร เป็นชื่อหนึ่งของจอมอสูร (อสุรินทร์) เช่น

เดียวกับชื่อเวปจิตติและชื่อวิโรจนะ อรรถกถากล่าวว่า

จอมอสูรได้ชื่อว่าเวปจิตติตั้งแต่คราวนี้ มีความหมายว่า

เกิดอาการหวาดสะดุ้งจนไข้จับ)

จบปฐมวรรคแห่งสักกสังยุตต์ (10 พระสูตร)

ทุติยวรรค

ปฐมเทวสูตร

##

วัตตบท 7 ประการของท้าวสักกะ

(905-907) ครั้งหนึ่งที่วัดเชตวัน พระพุทธองค์ตรัส

เล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า เมื่อเป็นมนุษย์ ท้าวสักกะได้ถือ

แสงธรรม 12 Saeng Dhamma

ปฏิบัติวัตตบท 7 ประการ คือ

1. เลี้ยงมารดาบิดาตลอดชีวิต

2. ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต

3. พูดจานุ่มนวลอ่อนหวานตลอดชีวิต

4. ไม่พูดจาส่อเสียดตลอดชีวิต

5. บำเพ็ญทานตลอดชีวิต

6. พูดคำสัตย์ตลอดชีวิต

7. หักห้ามใจไม่ให้เกิดความโกรธตลอดชีวิต

วัตตบททั้ง 7 ประการนี้ทำให้พระองค์ได้เกิดเป็นท้าว

สักกะจอมเทพแห่งดาวดึงส์

ทุติยเทวสูตร

(908-911) ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสถึงที่มาของ

ชื่อต่างๆ ของท้าวสักกะให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า พระองค์

เคยเป็นมาณพชื่อมฆะจึงได้ชื่อว่ามฆวา เคยเป็นผู้ให้ทาน

จึงได้ชื่อว่าปุรินททะ เคยให้ทานด้วยความเคารพเอื้อเฟื้อ

จึงได้ชื่อว่าสักกะ เคยให้ที่พักอาศัยจึงได้ชื่อว่าวาสวะ ทรง

คิดอ่านได้คราวละพันเรื่องจึงได้ชื่อว่าสหัสสักขะ(หรือ

สหัสสเนตร, สหัสสนัยน์) ทรงได้อสุรกัญญา (ลูกสาวอสูร)

นามว่าสุชาเป็นปชาบดี (มเหสี) จึงได้ชื่อว่าสุชัมบดี ทรง

เป็นจอมเทพชั้นดาวดึงส์ จึงได้ชื่อว่าเทวานมินทะ (นาม

ว่าพระอินทร์ มาจากคำนี้)

คุณศิริพรรณ ใช้วัฒน์ จากนิวยอร์ก ถวายปลาหลายลัง

ร่วมมุทิตาสักการะงานวันเกิดหลวงตาชีทุกปี


แสงธรรม 13 Saeng Dhamma


แสงธรรม 14 Saeng Dhamma

ประธานจัดงานวันเกิดหลวงตาชี

พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๖๔

พุทธางกูร :ร้อยกรอง

โมทนา “บรรดาศิษย์” จิตสุขศานต์

“เป็นประธานงานวันเกิด” ล ้าเลิศค่า

“พระราชมงคลรังษี” ผู้ปรีชา

จาก “แปดห้าถึงเก้าหก” ศกแห่งปี

(๘๕ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓)

“สามครอบครัว” ตัวอย่างดี “ปีห้าสาม”

สง่างาม ตามต่อบุญ หนุนราศี

มงคลวาร “แปดสิบห้า-หลวงตาชี”

สดุดี “ศรีแห่งสงฆ์ ธ ารงไทย”

“รพีพันธ์-ปรางข า-เดชติศักดิ์”

“ประธานหลัก” รักเคารพ นบเลื่อมใส

“กตัญญู บูชาธรรม” ผ่องอ้าไพ

ซาบซึ งใจ ในพระคุณ “อุ่นเมตตา”

(๘๖ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔)

“แปดสิบหก” อายุมั่น ขวัญชีวิต

“สานุศิษย์” จากรัฐไกล ใจหรรษา

“ไมอามี” เป็น “ประธานงานหลวงตา”

น้อมสักการ์ พาชื่นชม ประณมกร

“รวมน าใจใฝ่ธรรม” น้าวิถี

ต่างเปรมปรีดิ์ สุขสันต์ มั่นสั่งสอน

“เมตตาธรรม-กรรมฐาน” ประทานพร

ยังสะท้อน ทุกห้องใจ ไม่เสื่อมคลาย

(๘๗ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕)

“นายแพทย์อรุณ-คุณสุมนา สวนศิลป์พงศ์”

จิตมั่นคง ด้ารงธรรม น้าจุดหมาย

“หลวงตาชี” ชี “แสงธรรม” น้าสบาย

น้อมใจกาย บูชา น่าชื่นชม

“แปดสิบเจ็ด” พรรษา มหาดิถี

โชคชีวี “เป็นประธาน” งานสุขสม

พร้อมญาติมิตร ทั่วทิศมา ร่วมปรารมภ์

ได้กราบก้ม “บูชาคุณ” อุ่นฤทัย


แสงธรรม 15 Saeng Dhamma

ประธานจัดงานวันเกิดหลวงตาชี

พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๖๔

พุทธางกูร :ร้อยกรอง

(๘๘ ปี พ.ศ. ๒๕๕๖)

“ศิษย์หลวงตา” มาท าบุญ หนุนชีวิต

“ถวายเช้าเพล” เป็นนิจ จิตผ่องใส

“แปดสิบแปด” ปีกาล กังวานไกล

“ประชุมใหญ่สมัชชาฯ” ทั่วธานี

“ศิษย์รุ่นเก่า รุ่นใหม่ รุ่นใหญ่” ด้วย

ต่างมาช่วย “เป็นประธาน” งานศักดิ์ศรี

“ร าภูไทย” ใจสุขล้น ทั้งดนตรี

“เปิดอาคารหลวงตาชี” ที่ตระการ

(๘๙ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗)

“ศิษย์เก่า มจร. วอชิงตัน”

ศรัทธามั่น อุดมการณ์ งานสืบสาน

“แปดสิบเก้า” ปีตรง มงคลวาร

“อุปถัมภ์น าจัดงาน” ชื่นบานกมล

“สุขา สังฆัสสะ สามัคคี”

น้อมคุณงาม ความดี ทุกปีหน

พระธรรมทูต ทั้งเทศไทย ได้เยี่ยมยล

สาธุชน “เชิดชู ผู้สร้างงาน”

(๙๐ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘)

“คุณครุฑ-คุณสอางค์ สมบัติใหม่”

ฉลองใหญ่ “เก้าสิบปี” ที่กล่าวขาน

ศรีสง่า “หลวงตาชี” ปรีชาชาญ

“สี่สิบปี” ดิถีกาล “งานวัดไทยฯ”

“ร้านอาหารทูมินิส-ฟลอริดา”

“รวมศรัทธา สานุศิษย์” ทิศไกลใกล้

น้อมถวาย มุทิตา ด้วยมาลัย

“ประธานใหญ่” ใฝ่ท าบุญ หนุนดวงจินต์


แสงธรรม 16 Saeng Dhamma

ประธานจัดงานวันเกิดหลวงตาชี

พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๖๔

พุทธางกูร :ร้อยกรอง

(๙๑ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙)

“นายแพทย์กรีฑา อภิบุณโยภาส”

“วงศ์เครือญาติ” ประกาศคุณ บุญถวิล

“เป็นประธานงานฉลอง” ผ่องชีวิน

“เก้าสิบเอ็ด” เพชรมุนินทร์ ปิ่นเมธา

“หลวงตาชี ชี้ธรรม” น าความคิด

“ให้รู้ถูก รู้ผิด” จิตสูงค่า

สร้างประโยชน์ โสตถิผล ชนวันทา

ศิษย์ทั่วหล้า มาบูชิต จิตการุณย์

(๙๒ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐)

“คุณประสาร มานะกุล” สร้างบุญใหญ่

“พร้อมครอบครัว” หัวใจ ใฝ่เกื้อหนุน

“จัดสาธยาย ไตรปิฎก” สาธกคุณ

“นานาชาติ” ศาสน์ค้ าจุน อบอุ่นธรรม

งานวันเกิด “เก้าสิบสอง” ครองชีวิต

“เป็นประธาน” ประสานศิษย์ จิตชื่นฉ่ า

“เปี่ยมเมตตาหลวงตาชี” คอยชี้น า

งามเลิศล้ า “บ าเพ็ญวัตร พัฒนา”

(๙๓ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑)

“กลุ่มพลังบุญ” หนุนชาติ ศาสน์กษัตริย์

รวมมนัส จัดฉลอง ธรรมส่องหล้า

“เก้าสิบสาม-หลวงตาชี” เปรมปรีดา

ปาโมกข์สงฆ์ ทรงคุณค่า น่ายินดี

“พระราชมงคลรังษี” มุนีแก้ว

งามเพริศแพร้ว อักษรา ภาษาศรี

“วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.”

“ยอดกวี” ชี้ธรรม ค ากลอนเตือน


แสงธรรม 17 Saeng Dhamma

ประธานจัดงานวันเกิดหลวงตาชี

พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๖๔

พุทธางกูร :ร้อยกรอง

(๙๔ ปี พ.ศ. ๒๕๖๒)

“คุณศิริพร เกรซเซอร์” เลื่อมใสนัก

“ประธานหลัก” พร้อม “คุณนกและเพื่อนๆ

“มหาทาน” เตรียมงานใหญ่ ไม่แชเชือน

ผ่านหลายเดือน เคลื่อนเป็นปี ด้วยดีงาม

“เก้าสิบสี่” พรรษา มหาสมัย

“บารมี ที่ยิ่งใหญ่” ให้เกรงขาม

“เผยแผ่ธรรม น าความสุข” ทุกเขตคาม

คือนิยาม แห่งคนดี ที่ชื่นชม

(๙๕ ปี พ.ศ. ๒๕๖๓)

“โควิด-ไนน์ทีน” ปีนข้ามโลก

วิปโยค โศกเศร้าใจ ไม่สุขสม

“ศิษยเก่า มจร.” ก็ระดม

“สมาคมไทยอีสาน” ร่วมงานบุญ

“เก้าสิบห้า” มหากาล “งานยิ่งใหญ่”

“ต้องเลื่อนไป ปีหน้า” ฟ้าอบอุ่น

แต่ความดี ไม่มีร้าง ต่างเพิ่มทุน

“บูชาคุณ หลวงตาชี” ผู้ชี้ธรรม์

(๙๖ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔)

“กลุ่มรวมใจใฝ่ธรรม” สัมมาชอบ

“ครบแปดรอบ” กอปรความดี ที่สุขสันต์

“เก้าสิบหก” ยอยกคุณ บุญอนันต์

น้อมใจยิ่ง มิ่งขวัญ “กตัญญุตา”

คุณพระพุทธพิสุทธิ์ล าน าปกปัก

คุณพระธรรมน าพิทักษ์คอยรักษา

คุณพระสงฆ์ทรงคุณเยี่ยมเปี่ยมบุญญา

ให้หลวงตา ผาสุก ทุกกาลเทอญฯ

ตั งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป พระมหาค าตัล พุทฺธงฺกุโร ป.ธ.๙

(ยังไม่มีเจ้าภาพ) ร้อยกรอง : ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓


แสงธรรม 18 Saeng Dhamma


แสงธรรม 19 Saeng Dhamma

พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) ท ำบุญบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลให้โยมน้องชาย

พระวิเทศรัตนาภรณ์ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้พี่สาว ประทิน อินธิแสน

พิธีบังสุกุลอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้คุณพ่อยูรวัฒน์ คาดหมาย

พิธีทำบุญสังฆทานอุทิศส่วนกุศลให้คุณวิรัตน์ รื่นอารมณ์

คุณแม่คำแพง และคุณสมพอดี ทำบุญถวายภัตตาหารเพล

คุณโจ-คุณแอน แก้วจินดา ซื้ออาหารมาถวายวัด ในช่วงโควิด


แสงธรรม 20 Saeng Dhamma

รายนามผู้บริจาคออมบุญ ประจำปี ๒๕๖๓

คุณย่าฉวีวรรณ ปานานนท์ 150.00

คุณวันชัย - คุณนิพรรณ พริ้งประยูร 120.00

คุณชัยรัตน์-คุณจารุพันธ์-คุณชัชวาล ทรัพย์เกษม 100.00

Srintip and Peter Kowl 60.00

ครูลูกหมี-ครูหนู ครูประจำการ ๑ ปี ช่วยกิจกรรมของวัด

แม่ชีเมย์ บาร์ตัน ท ำบุญถวายสังฆทานอุทิศ กตัญญูบูชา

พระคุณพ่อแม่ แม้ไม่สามารถเดินทางไปไทย ในช่วงโควิด-19

รายนามเจ้าภาพถวายภัตตาหารเช้าประจำ

วันจันทร์ ที่ ๑ ของเดือน ร้าน THAI HOUSE RESTAURANT

วันจันทร์ ที่ ๒ ของเดือน คุณอุไร นามบุญมี และคณะ

วันจันทร์ ที่ ๓ ของเดือน คุณจิรา นาวินทรานนท์,คุณประวงศ์เปรมะวัต, คุณยุพิน สงวนทรัพย์,คุณติ๋ม-คุณบุญหลง-คุณนาริน-คุณเอมอร

วันจันทร์ ที่ ๔,๕ ของเดือน คุณจิรา นาวินทรานนท์, คุณวณี ฤทธิ์ถาวร, คุณวัชรี, คุณติ๋ม-คุณบุญหลง-คุณนาริน-คุณเอมอร

วันอังคารที่ ๑ ของเดือน คุณฉัวชิน พัวตระกูล / คุณเกศิณี ศรีบุญเรือง / คุณแชร์ / คุณจิตรา จันทร์แดง

วันอังคารที่ ๒ ของเดือน คุณแขก-คุณกระต่าย-คุณกระแต-คุณตี๋-คุณน้อย และคณะ

วันอังคารที่ ๓ ของเดือน คุณกุลชลี อนันต์สุขศรี - คุณแม่บะเกีย แซ่แต้ -คุณประพจน์-คุณศิริพร คุณวงศ์

วันอังคารที่ ๔ ของเดือน คุณอำพัน(ติ๋ม) เอี่ยมบำรุง / คุณจิตรา จันทร์แดง / ครอบครัวเอี่ยมเหล็ก / คุณแนนซี่ และคณะ

วันพุธ

คุณพยุง-คุณจินตนา งามสอาด, คุณวนิดา, คุณวรชัย-คุณครูแต็ก คุณอัน-คุณขวัญ ร้าน Thai Market พร้อมคณะ

วันพฤหัสบดี คุณยุพิน เลาหะพันธ์ ร้าน BANGKOK GARDEN, คุณวนิดา, คุณเหมียว, คุณบรรจง, คุณดวงพร

วันศุกร์

คุณป้านิด มาแตง ป้าน้อย Ruan Thai Rest. / คุณบรรจง-คุณวนิดา-คุณแอนนิต้า-คุณเล็ก-คุณครูเพชร

วันเสาร์ คุณมาลินี(เต้น) คุณลิลลี่, คุณธิติวัฒน์, คุณเชอรี่, คุณสุกานดา-คุณต้อย-คุณย้งค์-คุณหงษ์

คุณเกลี้ยง ชูเต - คุณสมบูรณ์ จรรยาทรัพย์กิจ - คุณปรียา องค์พัฒนาวุฒิคุณ - คุณอารีย์ - คุณคะแนน

วันอาทิตย์ คุณนก, คุณกุหลาบ, คุณชูนินทร์-Duwayne Engelhart, ครอบครัววิริยะ, ครอบครัวตั้งตรงวานิช

ครอบครัวสิทธิอ่วม, คุณนุกูล คุณบรรจง, คุณวาสนา น้อยวัน, คุณกษิมา, คุณหน่อย

หมายเหตุ: ขออนุโมทนาพิเศษแด่ คุณจิรา, คุณวนิดา, คุณเล็ก, คุณแต๋ว ป้านิด ป้าน้อย, คุณอุไร, คุณแสงทอง

คุณพนมรัตน์ มุขกัง-คุณหมุย และท่านอื่นๆ ที่มาทำอาหารถวายพระภิกษุสงฆ์ ในวันที่เจ้าภาพหลักมาถวายไม่ได้


แสงธรรม 21 Saeng Dhamma

SPECIAL THANKS

คณะสงฆ์และคณะกรรมการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ขออนุโมทนาบุญแด่สาธุชนทุกๆ ท่าน ที่มีจิตศรัทธาถวาย

ภัตตาหารเช้า-เพล บริจาคสิ่งของ เสียสละแรงกาย แรงใจ กำลังสติปัญญา และความสามารถเท่าที่โอกาสจะอำนวยมา

ช่วยเหลือกิจกรรมของวัดด้วยดีเสมอมา ทำให้วัดของเรามีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ามาโดยลำดับ โดยเฉพาะท่านที่

มีส่วนร่วมในงานวันสำคัญต่างๆ ของทางวัด จึงขอประกาศอนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้

ตั้งจิตถวายทานการกุศล เกิดมงคลคุณค่ามหาศาล ดุจบันไดเสริมสร้างทางนิพพาน กุศลทานแผ่ไปใจอิ่มบุญ

ขออนุโมทนาสาธุกับคณะจิตอาสา ลูกศิษย์วัดไทยฯ ดี.ซี. ร่วมใจอุปถัมภ์ช่วยกันท ำอาหารถวายเช้าเพล อิ่มกายอิ่มใจ

เจ้าภาพน้ำดื่มถังใหญ่ - ค่าไฟ ถวายประจำทุกเดือน

คุณแม่สงวน เกิดมี คุณจารุณี พิทโยทัย คุณชัยยุทธ-คุณยุพา สมเขาใหญ่

คุณทัฬห์ อัตวุฒิ คุณบุณณ์ภัสสร คุณศรสวรรค์ พงศ์วรินทร์ คุณแม่บัวไหล สมประสิทธิ์

น.พ. อรุณ คุณสุมนา สวนศิลป์พงศ์ คุณทองพูน คุณสุนันทา เฮนเซ้น

คุณบุญเลิง วิสีปัตย์ คุณยายรำไพ ราชพงษ์ คุณชูศรี กอร์ คุณจิตร์ ไวยะวงษ์


แสงธรรม 22 Saeng Dhamma

ขอเชิญทุกท่านร่วมนมัสการหลวงพ่อพุทธมงคลวิมลดีซี และหลวงพ่อด ำ

หลวงพ่อดำ (ประดิษฐานที่อาคารหลังใหม่)

๑.

You all are cordially invited to Wat Thai, D.C., Temple

to pay respect to or simply view the Black Buddha

on display in the New Building.

งดกิจกรรมปฏิบัติธรรมประจำเดือนมิถุนายน

วิปัสสนา ฝึกจิต เพื่อความเบิกบาน...สดชื่น...ตื่น...รู้...สู่ความสมดุลแห่งชีวิต

สอนโดย.. พระมหาสุรตาล สิทฺธิผโล และคณะ

ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.00 -10.30 น. (วันใดวัดมีกิจกรรมทำบุญ เปลี่ยนเป็นวันเสาร์)

๒. ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม ทุกวันอาทิตย์ เริ่มเวลา ๗.๐๐ น.

๓. ธรรมสากัจฉา-สารธรรมจากพระไตรปิฎก ทุกวันเสาร์ เวลา 19.30 น.

๔. Meditation & Dharma Workshop at Wat Thai, D.C.

Ven. Dr. Thanat Inthisan, Arry Berrigan & Matt Reagan

Saturday / 9:00 a.m. - 12:00 p.m.

January 4, February 1, March 7, April 4, May 2, June 20, July 11,

August 1, September 5, October 3, November 7, December 19,


แสงธรรม 23 Saeng Dhamma

เสียงธรรม...จากวัดไทย

พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)

โย พาโล มัญญะตี พาละยัง ปัณฑิโต วาปิ เตนะ โส

พาโล จะ ปัณฑิตะมานี สะ เว พาโลติ วุจจะติ.

ผู้ใดเป็นคนพาล รู้ตัวว่าเป็นคนพาล ผู้นั้นก็

เป็นบัณฑิตได้ เพราะความรู้ตัวนั้น แต่ผู้ใดเป็นคน

พาล แต่สำคัญตัวเป็นบัณฑิต ผู้นั้นก็เป็นคนพาล

ตลอดชีวิต เพราะความสำคัญผิดนั้น

พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ในวัดพระ

เชตวัน ทรงปรารภโจร ๒ คนผู้เป็นสหายกัน ได้

พากันไปสู่พระเชตวันพร้อมกับมหาชนทั้งหลายผู้

ไปฟังธรรม โจรคนหนึ่งตั้งใจฟังธรรม แต่โจรคน

หนึ่งสอดส่องมองดูสิ่งของที่ตนจะลักขโมยจะถือ

เอา ในบรรดาโจรทั้ง ๒ คนนั้น โจรคนที่ตั้งใจ

ฟังธรรม ได้บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนโจรคนที่มอง

หาช่องเพื่อจะขโมยสิ่งของ ก็ได้ทรัพย์ประมาณ ๕

มาสกที่พกไว้ในชายผ้าของอุบาสกคนหนึ่ง ทรัพย์

ที่เขาขโมยไปนั้นได้ใช้จ่ายเป็นค่าอาหารในบ้านของ

เขาและภรรยา แต่ว่าโจรคนที่สำเร็จโสดาบัน ไม่ได้

ค่าอาหารอะไร

ครั้งนั้น โจรคนที่ขโมยทรัพย์กับภรรยาของตน

เมื่อจะเย้ยหยันโจรผู้เป็นโสดาบันนั้นจึงกล่าวว่า

“ท่านไม่ได้แม้แต่อาหารในบ้านของตน เพราะ

อวดตนว่าฉลาด” สหายผู้เป็นโสดาบันคิดว่า “เจ้า

คนนี้ สำคัญผิดคิดว่าตนเป็นบัณฑิต ทั้งๆ ที่ตน

เป็นคนพาลแท้ๆ”เพื่อกราบทูลเรื่องนี้แด่พระ

ศาสดาจึงไปสู่วัดเชตวันพร้อมกับญาติทั้งหลาย

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ

พระศาสดาเมื่อทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงตรัส

พระคาถาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น“โง่เป็น

ปราชญ์-ฉลาดเป็นพาล” ตามตัวอย่างที่กล่าวอ้าง

มาข้างต้น มีคนสองคนเป็นเพื่อนกัน มีอาชีพใน

ทางทุจริตคือเป็นโจรเป็นผู้ร้าย สหายทั้งสองคน

นั้น พากันทำโจรกรรมเลี้ยงชีวิตมาเป็นเวลาหลาย

ปี ต่างก็มีครอบครัวกันตามประเพณีของชาวโลก

ทั้งสองต้องมีความรับผิดชอบในครอบครัวของตน


อยู่มาวันหนึ่ง สองสหายใช้อุบายแห่งความเป็นโจร

ซ่อนไว้ภายในจิตใจ ปะปนไปกับมหาชนที่พากันไป

วัดเพื่อฟังธรรม ในบรรดาโจรทั้งสองคนนั้น เผอิญ

โจรคนหนึ่งเกิดมีความสำนึกในความเป็นโจรของ

ตนขึ้นมาได้ เลยเปลี่ยนใจในการที่จะทำโจรกรรม

กลับตั้งใจฟังธรรมด้วยความสงบ พอจบธรรม

เทศนาก็ได้ดวงตาเห็นธรรม มองเห็นกรรมที่ตนทำ

ไว้เพราะนิสัยเป็นโจรนั้นไม่ดี วิถีชีวิตของเขาก็เข้า

ถึงกระแสแห่งพระธรรม มีความไม่ตกต่ำเป็นของ

ธรรมดา เพราะมองเห็นว่า กรรมชั่วไม่ทำเสียเลย

นั่นแหละดี

ก่อนหน้านี้เขาเป็นคนพาล เป็นคนโง่แต่เขา

ก็รู้ตัวว่าตนเป็นคนโง่ เป็นคนพาล จึงเลิกการ

กระทำโจรกรรม เปลี่ยนมาฟังธรรมจนได้บรรลุ

มรรคผล กลายเป็นคนฉลาดเป็นปราชญ์ผู้มีปัญญา

นี่แหละคือที่มาของคำว่า “โง่เป็นปราชญ์” เพราะ

ว่าเขามีความสำนึกในความโง่ ในความเป็นโจรของ

เขาแท้ๆ จึงแก้นิสัยแห่งความเป็นโจรได้ กลายเป็น

นักปราชญ์บัณฑิต เพราะจิตเข้าถึงพระธรรม“โง่

เป็นปราชญ์”

“ฉลาดเป็นพาล”ส่วนเพื่อนของเขาคือโจร

อีกคนหนึ่ง มีความสำคัญผิดคิดว่าตัวเองเป็นคน

ฉลาด เพราะสามารถขโมยเงินของอุบาสกคนหนึ่ง

ได้ในขณะที่กำลังนั่งฟังธรรม เขาทำโจรกรรมได้เงิน

ไป ๕ มาสก พอกลับถึงบ้านก็ให้ภรรยาไปจัดการ

ซื้ออาหารด้วยเงินที่ตนขโมยมานั้น แล้วพากันกิน

อาหารที่ปรุงเสร็จแล้วด้วยความอิ่มหนำสำราญ ใน

ขณะเดียวกัน ก็กล่าวเย้ยหยันเพื่อนคนที่ฟังธรรม

จนสำเร็จโสดาบันว่าเป็นคนพาล เป็นคนโง่ สู้เขา

ไม่ได้ที่เป็นคนฉลาดสามารถทำโจรกรรมได้อย่าง

อาจหาญ ด้วยอาการที่เขาเป็นโจร แต่สำคัญผิดคิด

แสงธรรม 24 Saeng Dhamma

ว่าตัวเองเป็นคนฉลาดนี้เองเขาจึงได้สมญานามว่า

“ฉลาดเป็นพาล” ตามพุทธบรรหารข้างต้นที่ว่า

โย พาโล มัญญะตี พาละยัง ปัณฑิโต วาปิ เตนะ โส

พาโล จะ ปัณฑิตะมานี สะ เว พาโลติ วุจจะติ.

ผู้ใดเป็นคนพาล รู้ตัวว่าเป็นคนพาล ผู้นั้นก็เป็น

บัณฑิตได้เพราะความรู้ตัวนั้น แต่ผู้ใดเป็นคนพาล

แต่สำคัญตัวเป็นบัณฑิต ผู้นั้นก็เป็นคนพาลตลอด

ชีวิต เพราะความสำคัญผิดนั้น

มนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาที่ยังหนาไปด้วยกิเลส

ก็เป็นเหตุให้มีความสำคัญผิด คิดผิด เห็นผิด และ

เข้าใจผิด เป็นนิสัยสันดาน เป็นคนพาล เป็นคนโง่

แทนที่จะยอมรับในฐานะและภาวะของตนว่าเป็น

คนโง่ เป็นคนพาล กลับมีอาการอวดตัวว่าเป็นนัก

ปราชญ์ เป็นบัณฑิต เพราะคนชนิดนี้มีกันมาทุก

ยุคทุกสมัย ในสมัยพุทธกาลมีเจ้าลัทธิคณาจารย์

คนหนึ่งชื่อสญชัยปริพพาชก เขาก็ตกอยู่ในลักษณะ

เป็นคนพาล เป็นคนโง่ แต่กลับอวดตัวว่า เป็นผู้

ฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต เพราะความ

สำคัญผิดของเขา จึงเป็นคนโง่เง่าตลอดไป

มีเรื่องเล่าประกอบว่าอุปติสสะและ

โกลิตะ สองสหายได้ออกบวชในสำนักครูสญชัย ได้

ศึกษาค้นคว้าลัทธิคำสอนของท่านในด้านทฤษฎี

จบแล้ว ก็ทดสอบปฏิบัติตามหลักทฤษฎีนั้น จน

อาจารย์ไม่มีอะไรจะให้ศึกษาและปฏิบัติอีกแล้ว ก็

เห็นพ้องต้องกันว่า การอยู่ในสำนักของอาจารย์

ที่ไม่มีคุณธรรมอะไรสูงกว่าตนที่มีอยู่ ขืนอยู่ไป

ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร จึงควรออกไปแสวงหา

คุณธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ในที่แห่งอื่นดีกว่า แล้ว

ก็พากันออกแสวงหาโมกขธรรม ตามสำนักต่างๆ

จนอ่อนใจ แต่ก็ยังไม่พบอาจารย์ท่านใดที่สูงด้วย

คุณธรรม จึงพากันกลับมายังสำนักของครูสญชัย


แล้วได้ให้สัจจะปฏิญญา ทำกติกากันว่า ถ้าใครได้

บรรลุโลกุตตรธรรมก่อน ต้องย้อนกลับมาแจ้งให้

อีกคนหนึ่งทราบด้วย

แสงธรรม 25 Saeng Dhamma

ประทับประกาศพระศาสนาอยู่ที่วัดเวฬุวันแห่งกรุง

ราชคฤห์นั้น ประชาชนทุกเพศทุกวัย ทุกชั้น ทุก

วรรณะ ตั้งแต่นักบวช กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี

เมื่อสหายได้ทำกติกาเช่นนั้น ก็ประจวบกัน

กับระยะเวลาที่พระบรมศาสดาเสด็จถึงกรุง

ราชคฤห์พอดี พระองค์ได้ทรงเทศนาธรรมโปรด

พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวารให้ตั้งอยู่ใน

ธรรมดำเนินชีวิตตามแบบอย่างในทางพระพุทธ

ศาสนา พระเจ้าพิมพิสารทรงมีพระราชศรัทธา

และทรงเลื่อมใส จึงได้ทรงอุทิศถวายสวนไม้ไผ่ให้

เป็นที่ประทับของพระศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์

บริวารทรงประทานนามว่า “วัดเวฬุวัน” อันเป็น

วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา วัดเวฬุวันได้กลาย

เป็นศูนย์กลางแห่งการประกาศพระศาสนาคำ

สอนของพระพุทธเจ้าในสมัยนั้น เนื่องจากคำสอน

ของพระองค์เป็นของใหม่ ประกอบไปด้วยเหตุผล

ประชาชนต่างก็ให้ความสนใจกันอย่างกว้างขวาง

ขณะที่พระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก

เศรษฐี ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ต่างก็สนใจ

ในแนวการสอนของพระองค์กันอย่างแพร่หลาย

เช้าวันหนึ่ง พระอัสสชิเถระ พระสาวกรุ่นแรกได้

เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ตามอริยประเพณี

ก็พอดีอุปติสสะมาณพได้มาพบกับพระเถระเข้าใน

ระหว่างทาง เห็นกิริยาท่าทางของท่านมีอาการอัน

น่าเลื่อมใส จึงติดตามท่านไปห่างๆ เมื่อพระเถระ

ได้อาหารบิณฑบาตพอสมควรแล้วท่านก็กลับออก

ไปสู่ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเห็นว่าเหมาะพอที่จะนั่ง

ฉันอาหารได้ ท่านก็ฉันอาหารด้วยอาการสำรวม

เมื่อท่านฉันอาหารเสร็จแล้ว อุปติสสะได้โอกาสจึง

เข้าไปหาแล้วเรียนถามท่านว่า “ข้าแต่พระคุณเจ้า

ผู้เจริญ อินทรีย์คือผิวพรรณของท่านผ่องใสนัก

ท่านบวชในสำนักของใคร ใครเป็นพระศาสดา

สอนธรรมแก่ท่าน และท่านชอบใจพอใจในคำ


สอนของใคร กรุณาแจ้งไขให้กระผมทราบด้วย

เถิดพระคุณเจ้า?”

พระเถระกล่าวตอบด้วยอาการอันสงบว่า

“ขอเจริญสุข! ท่านผู้คงแก่เรียน อาตมภาพบวช

ในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์

นั้นแลเป็นพระศาสดาผู้สอนธรรมแก่อาตมา

และอาตมภาพก็ชอบใจพอใจในคำสอนของพระ

ศาสดาพระองค์นั้น ”

อุปติสสะ: “พระคุณเจ้าผู้เจริญ! พระศาสดา

ของท่านสอนว่าอย่างไร สอนให้ทำอะไร กรุณา

แถลงไขแก่กระผมด้วยเถิด พระคุณเจ้า?

พระเถระ: “ท่านผู้คงแก่เรียน! อาตมภาพเป็น

ผู้บวชใหม่ในพระธรรมวินัย ยังไม่แตกฉานในพระ

คัมภีร์และทฤษฎีต่างๆ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่าน

โดยพิสดารได้ จักแสดงแต่โดยย่อพอได้ใจความ

จะเป็นการสมควรหรือไม่ประการใดโปรดอภัยให้

แก่อาตมาด้วย

อุปติสสะ: พระคุณเจ้าผู้เจริญ! ขอพระคุณเจ้า

กล่าวธรรมกถาตามความสามารถเถิด จะกล่าวมาก

หรือกล่าวน้อยก็ตาม เรื่องนั้นขอให้เป็นภาระหน้าที่

ของกระผม เพื่อรู้แจ้งแทงตลอดตามความเป็นจริง

พระอัสสชิเถระได้แสดงธรรมแก่อุปติสสะโดย

ย่อว่า

เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโต

เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ เอวัง วาที มะหาสะมะโณ.

ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด(เกิดแต่เหตุ)

พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านั้น

และเหตุดับแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย พระมหาสมณ

เจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้แล

ข้อความตามธรรมภาษิตนี้ชี้ให้เห็นว่าคำสอน

ของพระพุทธเจ้าทั้งหมด สรุปลงในคำว่า “สรรพ

แสงธรรม 26 Saeng Dhamma

สิ่งทั้งหลายในโลก เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุ”

ตัวอย่างเช่น ความทุกข์ที่เกิดจากเหตุ ตัณหาและ

อวิชชาเป็นเหตุให้ทุกข์ การที่ความทุกข์จะดับไป ก็

ต้องดับเหตุเสียก่อน คือดับตัณหาและอวิชชา เมื่อ

ตัณหาและอวิชชาดับ ทุกข์ก็ดับ นี่คือความหมาย

ของคำว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก“เกิดเพราะเหตุ

แล้วก็ดับเพราะเหตุ”

อุปติสสะฟังธรรมโดยย่อจากพระเถระแล้ว

ก็ได้รับความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่า ในทาง

พระพุทธศาสนาสอนว่า “ธรรมทั้งหลายเกิดเพราะ

เหตุ และจะสงบระงับดับไปก็เพราะเหตุดับก่อน

พระศาสดาทรงสอนให้ปฏิบัติเพื่อระงับเหตุแห่ง

ธรรมเป็นเครื่องให้เกิดทุกข์” เมื่อทราบความจริง

เช่นนี้ อุปติสสะก็รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งหลาย

ว่า “สิ่งหนึ่งสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่ง

นั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” นี่คือ

ความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก เมื่อท่าน

อุปติสสะได้ดวงตาเห็นธรรม ทำให้แจ้งซึ่งมรรคผล

ขั้นต้นแล้วก็เรียนถามพระเถระว่าพระบรมศาสดา

ของเราเสด็จประทับอยู่ที่ไหนพระคุณเจ้า

พระเถระแจ้งให้ทราบว่า “ท่านผู้คงแก่เรียน!

ขณะนี้พระบรมศาสดาของเรากำลังประทับอยู่ที่

เวฬุวันอันพระเจ้าพิมพิสารทรงถวายพร้อมกับพระ

สงฆ์บริวารหมู่ใหญ่”

อุปติสสะเรียนพระเถระว่า “ถ้าเช่นนั้น ขอ

นิมนต์พระคุณเจ้ากลับไปก่อนเถิด กระผมจะกลับ

ไปแจ้งข่าวอันเป็นมหามงคลนี้แก่เพื ่อนคนหนึ่ง

แล้วจึงจักพากันไปเฝ้าพระศาสดาในภายหลัง”

ครั้นพระเถระกลับไปแล้ว อุปติสสะก็กลับไป

ยังสำนักของสญชัยปริพพาชก ได้บอกธรรมแก่

โกลิตะผู้สหาย ตามที่ได้ทำกติกาสัญญากันไว้ พอ


โกลิตะได้ฟังธรรมที่อุปติสสะนำมาบอกอีกต่อหนึ่ง

จิตใจก็เข้าถึงกระแสแห่งธรรมสำเร็จเป็นโสดาบัน

เช่นเดียวกันกับอุปติสสะผู้สหาย โกลิตะจึงถาม

ว่า “เพื่อนรัก ขณะนี้ พระศาสดาเราประทับอยู่

ที่ไหน”

อุปติสสะตอบว่า “เพื่อนเอ๋ย! ข่าวอันเป็นมหา

มงคลนี้ พระอัสสชิเถระ พระอาจารย์ของเราบอก

ว่า พระศาสดาผู้เป็นครูของเทพยดาและมนุษย์ทั้ง

หลายประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน ในเขตกรุงราชคฤห์

มหานครนี้เอง”

โกลิตะเร่งเร้าว่า “ถ้าอย่างนี้ เราอย่ารอช้า รีบ

พากันไปเฝ้าพระศาสดาเดี๋ยวนี้เถิด ช้าไม่ทันกาล

นานไม่เป็นคุณ เรื่องบุญ เรื่องกุศล เรื่องมรรคผล

นิพพานต้องรีบๆ ทำ อย่าปล่อยให้เนิ่นช้า ถ้า

ทำความดีช้าๆ อยู่ จิตจักน้อมไปสู่ความชั่ว”

สหายทั้งสองคนชวนครูสญชัยไปเฝ้าพระ

ศาสดา ก็ธรรมดาอุปติสสะนั้น เป็นบุคคลผู้มีจิตใจ

หนักแน่นในความกตัญญูบูชาคุณอาจารย์ในกาล

ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้น เขาจึงกล่าวกะโกลิตะว่า

“เพื่อนรัก เราจักบอกอมตธรรม ที่เราทั้งสองได้

บรรลุแล้วแก่ท่านสญชัยปริพพาชกผู้เป็นอาจารย์

ของเราบ้าง ถ้าท่านมีปัญญาก็จะรู้แจ้งแทงตลอด

ซึ่งอมตธรรมนั้น แต่ถ้าไม่รู้แจ้งแทงตลอดในขณะนี้

ถ้าท่านเชื่อพวกเรา ก็จักพาไปเฝ้าพระศาสดาสดับ

พระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์แล้ว ก็จักรู้แจ้ง

ซึ่งมรรคผลนิพพานในที่สุด”

เมื่อตกลงกันแล้ว สองสหายก็พากันไปหาท่าน

อาจารย์สญชัย ท่านอาจารย์สญชัยพอเห็นศิษย์คน

โปรดทั้งสองเข้ามาหาก็ถามว่า “เป็นไง ได้ข่าวว่า

พากันออกแสวงหาทางแห่งอมตธรรมพบกันแล้ว

ที่ไหนหรือยัง?”

แสงธรรม 27 Saeng Dhamma

สหายทั้งสองจึงเรียนว่า “ท่านอาจารย์ขอรับ

นับว่าเป็นลาภอันประเสริฐของพวกเรา เมื่อเช้า

กระผมได้พบกับพระสาวกรูปหนึ่งของพระพุทธเจ้า

พระคุณเจ้ารูปนี้มีอาการกิริยาน่าเลื่อมใสไปเสีย

ทุกอย่าง ท่านได้แสดงธรรมให้กระผมฟังแต่โดย

ย่อ พอกระผมฟังแล้วก็เกิดความสว่างขึ้นในดวงใจ

หายความสงสัยในธรรมทั้งปวง แล้วกระผมได้กลับ

มาตามที่สัญญาไว้กับโกลิตะ ได้บอกธรรมะนั้นแก่

เขาอีกต่อหนึ่ง เขาก็เข้าถึงบทแห่งอมตธรรมนั้น

เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้กระผมทั้งสองจึงพร้อมกัน

มาเชิญท่านอาจารย์ไปเฝ้าฟังธรรมของพระศาสดา

พระองค์นั้น ที่วัดเวฬุวันมหาวิหาร ท่านอาจารย์

จะเห็นสมควรหรือไม่ประการใด ขอรับ?”

ครูสญชัย: ได้บอกกับศิษย์ทั้งสองว่า “เธอทั้ง

สองอยู่กับฉันต่อไปไม่ได้หรือ เพราะฉันถือว่า เธอ

ทั้งสองเป็นความหวังของฉันในอนาคต ถ้าเธอทั้ง

สองไปแล้ว ใครเล่าจะทำหน้าที่แทนฉัน อยู่กับฉัน

ต่อไปไม่ได้หรืออุปติสสะ โกลิตะ”

สองสหาย: “ท่านอาจารย์ ขอรับ! กรุณา

อย่าพูดเช่นนั้นขอรับ เพราะเหตุไรท่านอาจารย์จึง

ปฏิเสธคำเชิญของศิษย์ผู้หวังดีเล่า”

สญชัย: เธอทั้งสองก็รู้อยู่เต็มใจว่า ฉันเป็น

อาจารย์ของมหาชนมาเป็นเวลานานมีบริวาร

จำนวนมากมาย มีคนทั้งหลายพากันมาสมัครเป็น

ศิษย์ทั่วสารทิศในชมพูทวีป แล้วมันเรื่องอะไรให้ฉัน

ไปมอบกายถวายชีวิตเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้ากัน

เล่า ไม่เอา...ไม่เอา...ฉันไม่ยอม การยอมตนเป็น

ศิษย์ของคนอื่น ก็เหมือนกับจระเข้อยู่ในตุ่ม มัน

สมศักดิ์ศรีของฉันที่ไหนไปกันเถอะ เธอทั้งสองอย่า

มาขอร้องฉันเลย

สองสหาย: ท่านอาจารย์ที่เคารพ! จำเดิม


แต่กาลที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก มหาชนทั้ง

หลายต่างก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยกันทั้งนั้น

บรรดานักบวชในสำนักต่างๆ ที่อ้างตัวว่าเป็นพระ

อรหันต์ด้วยความสำคัญผิด ก็คิดแก้ไขพากันไปเฝ้า

พระศาสดาฟังธรรมเทศนาของพระองค์แล้วยอม

ตนเป็นสาวก ตัวอย่างเช่น ชฎิล ๓ พี่น้องเป็นต้น

ก็มีคนเคารพเลื่อมใสศรัทธาจำนวนมากมาย ภาย

หลังเห็นว่าลัทธิเดิมของตนไม่มีสาระแก่นสาร ลอย

บริขารแล้วเข้ามาบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

แทนที ่จะเสื่อมศักดิ์ศรีกลับทวีความเลื่อมใสศรัทธา

มากยิ่งขึ้น นี่แหละท่านอาจารย์ การที่เราเข้าเฝ้า

ฟังธรรมของพระศาสดานั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดความ

เสียหายและเสื่อมศักดิ์ศรีอะไร มีแต่ได้กำไรอัน

มหาศาล ท่านอาจารย์จะตัดสินใจอย่างไร

สญชัย: เอาละ! ฉันขอถามปัญหาสุดท้ายกะ

เธอทั้งสองว่า ในโลกนี้มีคนฉลาดมากหรือว่ามีคนโง่

มาก?

สองสหาย: ท่านอาจารย์ โลกที่เราอาศัยกัน

อยู่นี้ มีคนโง่เขลาเบาปัญญาเป็นทาสของกิเลส

ตัณหานั้นแหละมาก ส่วนคนฉลาดปราดเปรื่องใน

เรื่องปัญญา ไม่เป็นทาสของกิเลสตัณหามีเพียง

จำนวนน้อยเท่านั้นเอง

สญชัย: ดีแล้ว...ดีแล้ว...ถ้าเช่นนั้นพวกคน

ฉลาดๆ ทั้งหลาย จงพากันไปสู่สำนักของพระ

ศาสดาให้หมดเถิด ส่วนพวกทุมเมโธโง่เหมือนไอ้

ทุย จงพากันมายังสำนักของฉันให้หมดเกลี้ยง ฉัน

จะเลี้ยงพวกคนโง่ไว้ดูเล่นเป็นการทำบุญไปในตัว

เธอทั้งสองเป็นคนฉลาดไปกันเถอะ ฉันมันโง่ไม่ไป

ด้วยละ

สองสหาย: เรียนเตือนว่า “ท่านอาจารย์! ไม่

ช้าไม่นานท่านก็จะรู้ด้วยตัวท่านเองว่า อะไรเป็น

แสงธรรม 28 Saeng Dhamma

อะไร กรรมชั่วก็จะปรากฏแก่ตัวของคนทำ” ว่า

แล้วสหายทั้งสองก็จากไป ปล่อยให้ท่านสญชัย

ว้าเหว่อยู่คนเดียว เมื่อทั้งสองสหายไปกันแล้ว

บริวารของครูสญชัยก็แตกแยกกัน สำนักก็ค่อย

ว่างจากผู้คน ก็เกิดวิตกกังวลอย่างหนักจนกระอัก

ออกมาเป็นเลือด เพราะเดือดที่ลูกศิษย์คนโปรด

ตีจากไปอย่างไม่อาลัยไยดี

เรื่องที่กล่าวมานี้ เป็นการชี้ให้เห็นในข้อที่ว่า

“โง่เป็นปราชญ์ ฉลาดเป็นพาล” ได้เป็นอย่างดี

อุปติสสะ โกลิตะสองสหายรู้ตัวว่าตนเป็นคนโง่ เป็น

คนพาล จึงพากันแสวงหาอาจารย์ผู้สูงด้วยปัญญา

และคุณธรรมจนกระทั่งได้พบกับท่านพระอัสสชิ

เถระ ผู้เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกของพระพุทธเจ้า

ได้ฟังธรรมจากท่านแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จ

โสดาบันด้วยกันทั้งสองสหาย ภายหลังพากันไป

เฝ้าพระพุทธเจ้าบวชในสำนักของพระองค์หลัง

จากบวชแล้วอุปติสสะได้นามว่า “พระสารีบุตร”

บำเพ็ญเพียรเจริญสมณธรรมอยู่ ๑๕ วัน จึงได้

สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ส่วนโกลิตะบวชแล้วได้

สมญานามว่า “พระโมคคัลลานะ” บำเพ็ญเพียร

เจริญสมณธรรมอยู่ ๗ วัน จึงได้เป็นพระอรหันต์

ขีณาสพทั้งสองได้รับยกย่องจากพระศาสดาเป็น

พระอัครสาวก ยกพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวก

เบื้องขวา เพราะเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ยกพระ

โมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เพราะ

เป็นผู้เลิศด้วยฤทธิ์ ก่อนหน้านี้ท่านทั้งสองเป็นคน

ธรรมดาผู้หนาไปด้วยกิเลส แต่ทั้งสองก็รู้ตัวว่าตน

เป็นทาสของกิเลส จึงเป็นเหตุให้แสวงหาคุณธรรม

นำมาพัฒนาจิตใจ ให้เกิดความสงบ ความสะอาด

ความสว่าง อันเป็นทางก่อให้เกิดปัญญา นำมา

ทำลายกิเลสตัณหาให้หมดไปเหลือไว้แต่จิตใจอัน


บริสุทธิ์สะอาด ทั้งสองก็เลยกลายเป็นนักปราชญ์

เพราะรู้ตัวว่าตนเป็นคนโง่ เป็นคนพาลด้วยประการ

ฉะนี้

ส่วนครูสญชัย เมื่อศิษย์ทั้งสองชวนไปเข้าเฝ้า

พระพุทธเจ้า กลับมีมานะทิฏฐิหยิ่งผยองมองดูตัว

เองว่าเป็นบุคคลสำคัญ เป็นพระอรหันต์เช่นเดียว

กับพระพุทธเจ้า แม้ลูกศิษย์ทั้งสองจะอ้อนวอน

ขอให้ถอนความสำคัญผิด แต่ครูสญชัยก็ไม่คิดใน

การกลับตัว เพราะกลัวจะเสื่อมศักดิ์ศรี นี่แหละ

คือความฉลาดของคนพาล ตัวเองเป็นคนโง่เขลา

เบาปัญญา เป็นทาสของกิเลสตัณหาอารมณ์ฝ่าย

ต่ำ กลับสำคัญผิดคิดว่าตัวเองฉลาด ก็เลยเป็นคน

ประมาท ไม่สามารถนำตนให้พ้นจากความเป็น

“คนพาล” ด้วยอาการอย่างนี้

ครูสญชัยเกิดมาเป็นคนประมาท เขาก็เลยเป็น

คนพาลตลอดชาติ เพราะความฉลาดไม่ถูกทาง

ตกลงคนเรานี้มีวิธีแก้ไขพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า

ได้ด้วยอุบายแห่งการ “ยอมรับ” คือยอมรับใน

สภาพความเป็นจริงของตน ตนอยู่ในฐานะและ

ภาวะอย่างไร ก็ยอมรับในฐานะและภาวะของตน

อย่างนั้น แล้วหาวิธีแก้ไขพัฒนาฐานะและภาวะ

ของตนให้ดีขึ้นให้เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่าเป็นคน

อวดดีหยิ่งผยองเข้าทำนองที่ว่า

อวดดีเป็นสมบัติของคนบ้า

อวดกล้าเป็นสมบัติของคนขลาด

อวดฉลาดเป็นสมบัติของคนโง่

อวดโก้เป็นสมบัติของคนจน

ถ้าลงอะไรๆ ก็มีแต่ “อวด” ก็เห็นจะชวดตลอด

กาล เช่น คนพาล คนโง่ อวดฉลาดก็เป็นคนพาล

คนโง่ตลอดชาติ คนชั่ว คนเลว อวดดี ก็เป็นคน

อัปรีย์ตลอดไป คนไหนอวดดีในเรื่องใดๆ ก็เอาดี

แสงธรรม 29 Saeng Dhamma

ไม่ได้ในเรื่องนั้นๆ เพราะความอวดดีเป็นลักษณะ

ของความประมาท ความประมาทเป็นทางแห่ง

ความตาย คนประมาทก็เหมือนกับคนตายแล้ว ที่

จะหาอุบายมาพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้านั้น

อย่าคิด มีแต่จมมิดอยู่ในความประมาทตลอดกัป

ตลอดกัลป์ ดังนั้นคนเราจึงไม่ควรมีกิเลสประเภท

สาเถยยะ โอ้อวด และมานะถือตัว เพราะมันเป็น

ความชั่วที่กดเราให้ต่ำลงให้เลวลงตลอดเวลา ถ้า

เราโง่ ยอมรับในความโง่ของตน ก็เป็นคนดีได้

เช่นเดียวกัน ข้อสำคัญให้ยอมรับได้ก่อน ตอนต่อ

ไปก็หาวิธีแก้ไขให้มันดีขึ้น คนบาปสำนึกในการ

ทำบาปของตนได้ แล้วไม่ทำบาปอีกต่อไป บาป

มันก็หมดไปเพราะการไม่ทำบาป บาปไม่มีแก่คน

ไม่ทำ คนผิดสำนึกผิด สารภาพในความผิดของ

ตน แล้วไม่ทำความผิดซ้ำอีกหน เขาก็เป็นคนพ้น

ผิด นี่คือ “ปรัชญาชีวิต” ที่เราทุกคนควรจดจำ

แล้วนำไปใช้ในการแก้ไขพัฒนาตนเองให้พ้นจาก

ความเป็นคนโง่คนพาล

โย จะ ปุพเพ ปะมัชชิตะวา ปัจฉา โส นัปปะมัชชะติ

โสมัง โลกัง ปะภาเสติ อัพภา มุตโต วะ จันทิมา.

บุคคลใดประมาทในกาลก่อน ตอนหลังเป็นคน

ไม่ประมาท บุคคลนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างเหมือน

พระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ยังโลกให้สว่างฉะนั้น.


แสงธรรม 30 Saeng Dhamma

สมาคมศิษย์เก่า มจร กรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. และสมาคมไทยอีสาน กรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ประธานจัดงาน “ทำบุญสมโภชอายุวัฒนมงคล

๙๕ ปี พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)” ในวันที่ ๖-๗ มิถุนายน ๒๕๖๓ แต่ต้องยกเลิกเพราะ COVID 19


แสงธรรม 31 Saeng Dhamma

กลุ่มรวมใจใฝ่ธรรม นำโดยคุณยงยุทธ - ศิริพรรณ เนตรทองคำ จากเมืองไมอามี รัฐฟลอลิด้า ประธานจัดงาน “ทำบุญ

สมโภชอายุวัฒนมงคล ๙๖ ปี พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)” ในวันที่ ๕ -๖ มิถุนายน ๒๕๖๔


แสงธรรม 32 Saeng Dhamma

เสียงธรรม... จากหลวงตาชี

ครูสี - หลวงตาสอน

ศรัทธา (ต่อ)

ครูสี: หลวงตาครับ... เรื่องของ “กัมมสัทธา”

เชื่อกรรม คือการกระทำ ตามที่หลวงตาได้อธิบาย

มานั ้นผมเข้าใจดีแล้ว ประเด็นต่อไป ขอนิมนต์

หลวงตาอธิบายเรื่อง “วิปากสัทธา” เพื่อเพาะปลูก

ปัญญาให้ผมด้วยครับหลวงตา

หลวงตา: ครูสี! เรื่องของ “วิปากสัทธา”

เชื่อผลของกรรมนั้น ถ้าครูสีเข้าใจเรื่องของ “กัมม

สัทธา” เชื่อกรรม คือการกระทำได้ดีแล้ว ก็ไม่น่า

จะมีปัญหาอะไรในเรื่องของ “วิปากสัทธา” เชื่อ

ผลของกรรมเพราะทำอะไรลงไป ก็ย่อมได้รับผล

อย่างนั้น ดังประพันธ์พุทธภาษิตว่า

ยาทิสัง วะปะเต พีชัง ตาทิสัง ละภะเต ผะลัง

กัลยาณะการี กัลยาณัง ปาปะการี จะ ปาปะกัง.

บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้

กระทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้

รับผลชั่ว

พืชพันธุ์ธัญญาหารนานาพันธุ์ ที่คนเราพากัน

หว่านพากันปลูกตามไร่ตามนา ตามเรือกสวนล้วน

มีหลายประเภทหลายอย่างต่างๆ กันไป เราหว่าน

พืชชนิดไหน ปลูกต้นไม้ประเภทใด มันก็ผลิดอก

ออกผลไปตามประเภทและชนิดที่เราหว่านเราปลูก

นั้น ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่นไปได้ ปลูกลำใยผลมัน

ก็ออกมาเป็นลำใย จะไพล่ไปเป็นผลลิ้นจี่ย่อมไม่มี

ทาง ปลูกมะม่วง ก็ไม่ต้องห่วงว่าผลจะเป็นมะปราง

ตัวอย่างเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าหว่านพืชเช่นไรย่อมได้ผล

เช่นนั้น ไม่แปรผันไปเป็นอย่างอื่น ปลูกพืชอื่นก็มี

นัยเช่นเดียวกันนี้

เรื่องของกรรมก็ทำนองเดียวกัน ทำกรรมชนิด

ไหน ประเภทไหน ก็ได้รับผลของกรรมตามชนิด

นั้น และประเภทที่ทำลงไปนั้น ทำบาปก็ต้องได้

รับบาป ทำบุญก็ต้องได้บุญ ทำชั่วก็ได้ชั่ว ทำดีก็

ต้องได้ดี ไม่มีอำนาจอะไรจะมาเปลี่ยนแปลงได้ ทั้ง

ในทางกฎหมายและทางศีลธรรม เช่น การฆ่าคนก็

ให้ผลในทางผิดกฎหมาย ในการทำลายชีวิตของคน

อื่นได้รับโทษตามฐานานุรูปของการกระทำ ในทาง

ศีลธรรมก็ทำให้กระทบกระเทือนทางจิตใจ ทำให้ใจ

เศร้าหมองขุ่นมัว ผลชั่วที่ตามไปในกาลข้างหน้า ไม่

ว่าจะเกิดในชาติใดๆ ก็ทำให้อายุสั้นกลับตายไว คน

ทำบาปเองก็เศร้าหมองเอง


อะถะ ปาปานิ กัมมานิ กะรัง พาโล นะ พุชฌะติ

เสหิ กัมเมหิ ทุมเมโธ อัคคิทัฑโฒวะ ตัปปะติ.

คนพาลมีปัญญาทราม ทำบาปกรรมอยู่ ก็ไม่รู้

สึกตัว ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือน

ถูกไฟลนฉะนั้น

นี่คือการทำความชั่ว ทำบาป ทำอกุศล ก็ส่ง

ผลให้ได้รับความเดือดร้อน เหมือนถูกไฟสุมร้อน

รุ่มตลอดเวลา ทำกรรมอย่างไร ก็ได้ผลอย่างนั้น

เราฆ่าเขา เขาก็ฆ่าเรา เราเบียดเบียนเขา เขาก็

เบียดเบียนเรา เราลักของเขา เขาก็ลักของเรา เรา

ด่าเขา เขาก็ด่าเรา เราหลอกลวงเขา เขาก็หลอก

ลวงเรา มันเป็นกงกรรมกงเกวียนเวียนกันอยู่อย่างนี้

ในฝ่ายกรรมดี เรามีเมตตาต่อเขา เขาก็มีเมตตาต่อ

เรา เราไม่เบียดเบียนเขา เขาก็ไม่เบียดเบียนเรา เรา

พูดดีกับเขา เขาก็พูดดีกับเรา เรารักเขา เขาก็รักเรา

เราซื่อสัตย์ต่อเขา เขาก็ซื่อสัตย์ต่อเรา เราช่วยเหลือ

เขา เขาก็ช่วยเหลือเรา ทำอย่างไรก็ได้ผลอย่างนั้น

วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ก็คือว่าเชื่อผลที่เรา

ได้รับอยู่นั้น ทั้งในฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี มันเป็นผลที่

เกิดจากการกระทำของเราเอง ไม่ใช่เป็นผลบันดาล

จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือผู้มีฤทธิ์บันดาลอะไรทั้งนั้น ทำ

ดีก็เกิดผลดี ทำชั่วก็เกิดผลชั่ว ทำบาปผลออกมาก็

เป็นบาป ทำบุญผลออกมาก็เป็นบุญ นี่แหละครูสี

เรื่อง “วิปากสัทธา” เชื่อผลของกรรมมีความหมาย

เช่นนี้ แล้วครูสีมีความเห็นอย่างไร เข้าใจหรือไม่

เข้าใจ ไหนลองว่ามาให้ฟังหน่อยซิ

ครูสี: หลวงตาครับ! เรื่องของ “วิปากสัทธา”

เชื่อผลของกรรม ตามที่หลวงตาได้อธิบายมาทั้งหมด

แสงธรรม 33 Saeng Dhamma

นี้ในส่วนตัวของผมแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอะไรที่ทำให้

เคลือบแคลงสงสัย ผมเข้าใจตามที่หลวงตาได้ชี้แจง

มาทุกอย่าง แต่ก็มีคนบางคนบางเหล่าที่เขาไม่

เข้าใจกัน เพราะพวกเขาเห็นคนบางคนทำความ

ชั่วแล้ว ไม่เห็นเขาจะได้รับความทุกข์ความเดือด

ร้อนอะไร กลับได้ดิบได้ดีมีเงินมีทอง และได้รับการ

ยกย่องในสังคม ส่วนคนทำความดี กลับมีความเป็น

อยู่ฝืดเคือง เรื่องเช่นนี้มีให้เห็นกันอยู่ทั่วไปในสังคม

ปัจจุบัน จะว่าทำกรรมอย่างไร ได้ผลเช่นนั้นได้

อย่างไร ขอให้หลวงตาหาตัวอย่างมารับรองในเรื่อง

ของ “วิปากสัทธา” เชื่อผลของกรรมให้กระจ่าง

แจ้ง แสดงเหตุผลยืนยันทั้งในฝ่ายกรรมชั่วและกรรม

ดี เพื่อชี้ให้เห็นคนยอมจำนนต่อหลักฐานในด้านที่

ว่าทำกรรมเช่นไร ได้รับผลเช่นนั้นต่อไป ครับผม

หลวงตา

หลวงตา: แหม! ครูสีนี่ เอาแต่เรื่องหนักๆ

มาถวายหลวงตานะ ไม่สงสารคนแก่กันบ้างหรือ

อย่างไร... ความจริงในเรื่องนี้เราก็ได้พูดมาแล้วใน

คราวก่อนตอนที่ว่า “ทำดีได้ความดี ทำชั่วได้

ความชั่ว” ขอให้ทบทวนเรื่องนี้กันให้ดี ก็มีทาง

ที่จะเข้าใจในเรื่องของ “วิปากสัทธา” เชื่อผลของ

กรรมได้ดี เพราะมีเหตุมีผลสมบูรณ์แล้วทุกประการ

ไม่มีเหตุผลอะไรจะนำมาคัดค้านได้ ทำกรรมเช่นไร

ก็ต้องได้ผลเช่นนั้น มันชัดๆ อยู่แล้ว ทำชั่วก็ต้อง

เดือดร้อน ทำดีก็ต้องมีความสุข ไม่น่าจะมีความ

สงสัยอะไรกัน แต่การที่มีคนบางพวกบางเหล่าเข้าใจ

ผิดกันนั้น ก็เพราะไปมองผลลัพธ์กันแต่ในทางวัตถุ

ไม่มองผลในทางจิตใจ อีกอย่างหนึ่งกรรมชั่ว และ


กรรมดี บางอย่างที่ทำอยู่ในปัจจุบันมันยังไม่ให้ผล

คนก็เข้าใจผิดคิดกันว่า คำสอนในเรื่อง “ทำดีได้ดี

ทำชั่วได้ชั่ว” นั้น มันเป็นไปไม่ได้ เพราะคนทำชั่ว

ได้ดีมีถมไป คนทำดีได้ดีมีที่ไหน ในเรื่องนี้ ก็ขอให้

ตั้งใจฟังเรื่อง “ทำดีแล้วได้ดี” อันมีเหตุผลน่าคิด

ดังต่อไปนี้

พระศาสดาทรงปรารภอนาถบิณฑิกเศรษฐี

บริจาคทรัพย์สร้างวัดเชตวันมหาวิหาร และบริจาค

ทานในพระศาสนาเป็นเนืองนิตย์ จนทรัพย์สินหมด

สิ้นไปโดยลำดับ ถึงอย่างนั้นก็ยังคงบริจาคอยู่เสมอ

ไม่เลิกไม่หยุดในการทำความดี จนมีเทพยดาผู้สิง

อยู่ที่ซุ้มประตูของท่าน มาห้ามให้หยุดการบริจาค

ทานเสีย แต่เศรษฐีท่านก็ไม่ฟัง กลับขับไล่เทพยดา

ไม่ให้อยู่ในที่นั้น เทพยดารู้สึกว่าตนมีความผิดที่ไป

ห้ามเศรษฐีไม่ให้บริจาคทาน ต้องการขออภัย จึง

ไปหาเทพยดาทั้งหลาย ตลอดถึงท้าวสักกะเทวราช

วิงวอนให้ช่วยพาไปขอโทษเศรษฐี ท้าวสักกะเทว

ราชจึงแนะอุบายวิธีว่า ให้นำทรัพย์อันหาเจ้าของ

มิได้ไปให้เศรษฐีแล้วจึงจะขอขมาโทษ เทพยดาก็ได้

ทำตามอุบายวิธีนั้น เมื่อเศรษฐีจะรับการขอขมาโทษ

จึงนำเทพยดานั้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จึง

ประทานโอวาทสอนเศรษฐีและเทพยดา แล้วตรัส

พระคาถาว่า

ปาโปปิ ปัสสะติ ภัทรัง ยาวะ ปาปัง นะ ปัจจะติ

ยะทา จะ ปัจจะตี ปาปัง อะถะ ปาปานิ ปัสสะติ.

แม้คนทำบาปย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดเวลาที่

บาปยังไม่ให้ผล แต่เมื่อใดกรรมชั่วให้ผล เมื่อนั้น

คนทำชั่วจึงจะเห็นว่าบาปเป็นความชั่ว

แสงธรรม 34 Saeng Dhamma

ภัทโรปิ ปัสสะตี ปาปัง ยาวะ ภัทรัง นะ ปัจจะติ

ยะทา จะ ปัจจะตี ภัทรัง อะถะ ภัทรานิ ปัสสะติ.

ฝ่ายคนทำดี ย่อมเห็นดีว่าชั่ว ตลอดเวลาที่

กรรมดี ยังไม่ให้ผล แต่เมื่อใด กรรมดีให้ผล เมื่อ

นั้นคนทำดี จึงจะเห็นว่ากรรมดีเป็นกรรมดี.

ตามพุทธภาษิตนี้ชี้ให้เห็นว่า การที่คนบางพวก

บางเหล่า พากันเข้าใจผิดว่า ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่ว

ไม่ได้ชั่วนั้น ก็เพราะพวกเขาพากันมองการทำดีทำ

ชั่วแต่เพียงผิวเผิน ไม่ได้มองให้ลึกซึ้งจนถึงส่วนลึก

ของการกระทำ และก็มองแต่ผลได้ในทางวัตถุ ไม่

ได้มองผลได้ในทางจิตใจ ก็เลยทำให้เกิดความไขว้

เขวลังเลสงสัย เข้าใจผิดคิดว่าทำอย่างหนึ ่งได้ผล

อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผลที่ได้ไม่ตรงกับการกระทำ พวก

ทำชั่วกลับได้ดี พวกทำดีกลับได้ชั่ว มันไม่ชัวร์ตาม

ทฤษฎี อย่างนี้จะให้เชื่อได้อย่างไร คนส่วนใหญ่มัก

จะเข้าใจกันในทำนองนี้

ความจริง ถ้าอ่านหรือฟังตัวอย่างข้างต้นนั้นให้ดี

จะไม่มีความลังเลสงสัยในเรื่อง “ทำดีได้ดี ทำชั่ว

ได้ชั่ว” กันเลย เพราะตามตัวอย่างข้างต้นบ่งชัดว่า

ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว แต่ในขณะที่กรรมชั่ว

มันยังไม่ให้ผล คนเราก็เข้าใจผิดคิดว่า ความชั่วเป็น

ความดี คือเห็นคนทำกรรมชั่ว ทำบาปอกุศล ได้รับ

ผลดีกันอยู่แต่หารู้ไม่ว่า ขณะนั้น เวลานั้น ผลของ

ความชั่วของกรรมชั ่วของบาปมันยังไม่แสดงอาการ

ปรากฏออกมา แต่เมื่อใดกรรมชั่วให้ผลนั่นแหละ

คนทำชั่วจึงจะรู้ว่าความชั่วเป็นบาป โปรดทราบกัน

ว่า ทำชั่วต้องได้ชั่วโดยไม่ต้องสงสัย ทำกรรมเช่นไร

ย่อมได้ผลเช่นนั้น ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่นไปได้


ในฝ่ายกรรมดีก็เหมือนกัน ตราบใดที่กรรมดียัง

ไม่ให้ผล คนก็มองกรรมดีว่าเป็นความชั่ว เพราะตัวผู้

ทำดี ยังไม่ได้รับผลดีตามที่ตนทำในขณะนั้น ก็เลย

เหมาเอาว่าทำดีไม่ได้ดี ต่อเมื่อใด กรรมดีให้ผลนั่น

แหละ คนทำดีจึงจะมองเห็นว่า กรรมดีเป็นความดี

เรื่องนี้ควรถือท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นตัวอย่าง

เศรษฐีได้บริจาคทรัพย์สร้างวัดเชตวัน และบริจาค

ทานในการทำสาธารณกุศลอย่างอื่นอีกมากมายจน

กลายเป็นเศรษฐีตกยาก แต่ถึงกระนั้นท่านเศรษฐี

ก็ไม่ยอมหยุดไม่ยอมเลิก ในการทำความดี แม้จะ

มีเทพยดาผู้หวังดีมาบอกให้หยุดให้เลิก ท่านกลับ

ตะเพิดให้ออกจากซุ้มประตูบ้าน เพราะการห้าม

คนอื่นไม่ให้ทำความดี เป็นการผิดธรรมเนียมคน

ดี คือบัณฑิต เทพยดาคิดได้ในภายหลัง จึงหวังจะ

ขออภัย ท้าวสักกะเทวราชจึงแนะให้นำทรัพย์อัน

หาเจ้าของมิได้มาให้ท่านเศรษฐีเสียก่อน แล้วจึงขอ

แสงธรรม 35 Saeng Dhamma

ขมาโทษต่อภาย

หลัง เทพยดา

ได้ทำตามอุบาย

ของท้าวสักกะ

เทวราชทุก

อย่าง เศรษฐีได้

พาเทพยดาไป

เฝ้าพระพุทธเจ้า

พระองค์จึงทรง

สอนเศรษฐีและ

เทวดา ดังกล่าว

มาแล้วนั้น

เรื่องนี้ชี้ให้

เห็นว่า คนทำดีต้องมีความอดทน แม้จะไม่เห็นผล

ในทันทีทันใด ก็ต้องอดใจเอาไว้ อย่าไปเข้าใจผิดคิด

ว่า การทำดีไม่ได้ดี ดูเศรษฐีเป็นตัวอย่าง บริจาค

ทานต่างๆ จนทรัพย์สมบัติแทบไม่เหลือจวนจะสิ้น

เนื้อประดาตัวเพราะทำดี แต่เศรษฐีก็ไม่หยุดไม่เลิก

ในการทำดี ถ้าเป็นคนสมัยนี้คงโทษว่าทำดีไม่ได้ดี

แต่ท่านเศรษฐีไม่มีความคิดเช่นนี้ ทำความดีเรื่อย

ไป แล้วความดีที่ท่านทำไว้ก็กลับให้ผลในกาลต่อมา

ทันตาเห็นไม่เป็นอย่างอื่นไปได้ แต่ต้องอาศัยเวลา

อย่าเลิกทำความดี ให้ยึดอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็น

ตัวอย่าง แม้ทรัพย์จะร่อยหรอ ก็ไม่หยุดการทำความ

ดี มีคนมาห้ามให้หยุดก็ไม่หยุด ผลที่สุดท่านเศรษฐี

ก็ได้รับผลดีตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ทำกรรม

ดีย่อมได้รับผลดี” ดังนี้

นี่แหละครูสี คือเหตุผลในเรื่องของ “วิปาก


สัทธา” นำมาชี้แจงแสดงให้เห็นว่า ทำกรรมเช่น

ไรย่อมได้รับผลเช่นนั้น ปลูกข้าวก็ได้ข้าว ปลูกแตง

ก็ได้แตง ปลูกมะนาวก็ออกผลเป็นมะนาว ปลูก

มะพร้าวก็ออกลูกเป็นมะพร้าว ปลูกขนุนก็ได้ผล

ขนุน ทำบุญก็ได้บุญ ทำบาปก็ต้องได้บาป เชื่อ

อย่างนี้แหละเรียกว่า “วิปากสัทธา” เชื่อผลของ

กรรม ครูสีมีความเห็นอย่างไรต่อไป มีความเข้าใจ

ตามนัยที่หลวงตาอธิบายมานี้หรือไม่ หรือว่ามีความ

สงสัยในประเด็นไหนต่อไป

ครูสี: ตามตัวอย่างที่หลวงตากล่าวอ้างนั้น มัน

ทำให้ผมเข้าใจในเรื่องของ “วิปากสัทธา” ได้อย่าง

สว่างแจ่มแจ้ง เหมือนกับมองเห็นเดือนเห็นดาว

บนท้องฟ้าอันปราศจากเมฆฉะนั้น หลวงตาอุปมา

อุปไมยในเรื่องนี้ได้ดีมาก เอาละ หลวงตา เรื่องของ

“วิปากสัทธา” เชื่อผลของกรรมก็เห็นว่าผ่านไปได้

ประเด็นต่อไป ขอนิมนต์หลวงตาอธิบายถึงเรื่องของ

“กัมมัสสกตาสัทธา” เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรม

เป็นของๆ ตน เรื่องนี้มีความสับสนอยู่มากจึงอยาก

นิมนต์หลวงตาช่วยเสริมสร้างปัญญาให้แก่ผู้ยังอ่อน

ในเรื่องปัญญาด้วย

หลวงตา: กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์ทั้ง

หลายมีกรรมเป็นของๆ ตนนั้น ก็ให้พิจารณาตาม

ลักษณะของกรรมดังต่อไปนี้ คือ

กัมมัสสะโกมหิ เรามีกรรมเป็นของๆ ตน

กัมมะทายาโท เรามีกรรมเป็นทายาท

กัมมะโยนิ เรามีกรรมเป็นแดนเกิด

กัมมะพันธุ เรามีกรรมเป็นพวกพ้องเผ่าพันธุ์

กัมมะปะฏิสะระโณ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

แสงธรรม 36 Saeng Dhamma

ยัง กัมมัง กะริสสามิ เราจักทำกรรมใดไว้

กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ดีหรือชั่ว

ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ เราจักเป็นผู้รับผลของ

กรรมนั้น

สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน นั้น

หมายความว่า เมื่อเราทำกรรมอะไรลงไปแล้ว

กรรมนั้นก็เป็นของๆ ตน จะปฏิเสธไม่ยอมรับว่าไม่

ใช่ของๆ ตน ย่อมไม่ได้ และกรรมที่ตนทำไว้นั้นจะ

ติดตามไปทุกหนทุกแห่ง แม้จะตายไปแล้ว กรรม

ที่ตนทำไว้แล้วนั้นก็ติดตามไปด้วย ไม่มีอำนาจอะไร

จะมาแยกกรรมให้พรากจากคนทำกรรมได้

ทรัพย์สมบัติภายนอกเป็นแต่เพียงสิ่งที่เราอาศัย

ใช้ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อตายไปแล้วไม่มีอะไรติดตาม

ไปด้วย ยากดีมีจน มีล้นฟ้าล้นแผ่นดิน เวลาสิ้นลม

หายใจ ก็นำเอาติดตัวไปไม่ได้สักชิ้น หรือเคยเห็น

ใครนำเอาอะไรติดตัวไปบ้าง แม้แต่ร่างเขาก็ยังเผา

ให้เป็นเถ้าถ่านละลายหายไปหมด นอกจากกรรมดี

กรรมชั่ว ที่ตนทำไว้แล้วเท่านั้น ที่จะติดตามไปทุก

ภพ ทุกชาติ ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร สมบัติคนเรา

จริงๆ ก็คือกรรมที่ตัวทำไว้แล้วเท่านั้น หาใช่สมบัติ

ภายนอกอะไรกันไม่ ดังนั้น คนที่รักตัวกลัวความ

ทุกข์ ก็ควรทำแต่กรรมที่ดีๆ อันจะนำสุขมาให้

เรามีกรรมเป็นทายาท คือเป็นผู้รับมรดกแห่ง

กรรมนั้น ได้แก่เราเป็นทายาทอันชอบธรรม มี

สิทธิ์ที่จะรับมรดกแห่งกรรมนั้นอันเราทำแล้วอย่าง

แน่นอน เพราะว่ามันเป็นของๆ เรา จะยกให้คน

อื่นรับแทนไม่ได้ ผิดวิสัยและกฎเกณฑ์ของกฎแห่ง

กรรมใครทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับมรดกแห่งกรรม


แสงธรรม 37 Saeng Dhamma

เช่นนั้น ไม่มีทางหลีกเลี่ยงเถียงก็ไม่ได้ เพราะมัน

เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมในข้อที่ว่า “ใครทำกรรม

เช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น” ส่วนมรดกภายนอก

อย่างนั้น เช่น มรดกในเรื่องทรัพย์สินเงินทองที่คน

อื่นจะยกให้ ก็เป็นของไม่แน่นอนอะไร ยกให้และ

อาจจะทวงกลับคืน ไม่มีหลักประกันแน่นอนอะไร

ไม่มีอะไรมาลบล้างได้ เราต้องได้รับผลกรรมอย่าง

แน่นอน เพราะมันเป็นมรดกอันชอบธรรมของเรา

จะมอบให้คนอื่นรับแทนไม่ได้ ตัวอย่างเช่น เวลา

เจ็บไข้ได้ป่วย ได้รับความเจ็บปวดทุกขเวทนาแสน

สาหัส ญาติพี่น้องบริวารคนที่มีความรักใคร่ ไม่มี

ใครช่วยแบ่งเบารับเอาความเจ็บปวดทุกขเวทนาจาก

เราไปได้ ได้แต่พากันนั่งเฝ้าดูด้วยความสงสาร ถ้า

หากญาติพี่น้องช่วยเหลือแบ่งเบารับเอาความเจ็บ

ปวดไปได้ ก็คงจะช่วยกันคนละนิดคนละหน่อยโรค

ภัยไข้เจ็บก็คงจะหายวันหายคืน แต่มันฝืนกรรมไม่

ได้ เพราะเรามีกรรมเป็นของๆ ตน ทุกคนต้องรับ

มรดกแห่งกรรม ใครทำกรรมอย่างใดไว้ จึงต้องรับ

ผลกรรมอย่างนั้น ญาติพี่น้องพวกพ้องบริวารไม่อาจ

แบ่งผลกรรมไปได้ นี่คือความหมายที่ว่า เรามีกรรม

เป็นทายาท คือเป็นผู้รับมรดกแห่งกรรม

เรามีกรรมเป็นแดนเกิด หมายความว่ามนุษย์

ทุกรูปทุกนามเกิดขึ้นมาตามแรงผลักดันแห่งกรรม

ของตน คือเรายังเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่นี้ เพราะ

ยังมีกรรมเป็นแดนเกิด “กัมมัง เขตตัง กรรมเป็น

แดนเกิด, วิญญาณัง พีชัง วิญญาณเป็นเมล็ด

พืช, ตัณหา สิเนหัง ตัณหาเป็นเชื้อ” เมื่อเมล็ด

พืชยังมีเชื้อ(ยาง)อยู่ ย่อมเพาะงอกขึ้นได้ ตามเหตุ

ตามปัจจัยฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่ยังมีกรรมเป็นแดน

เกิด ก็ย่อมถือกำหนดขึ้นมาเพราะกรรมบันดาล มี

วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นเชื้อ ฉันนั้น ผล

แห่งกรรมชักนำให้วิญญาณเข้าปฏิสนธิในภพใหม่

ต่างๆ กันไปตามภาวะวิสัยที่เหมาะแก่กรรมของตน

คนที่หมดกรรมแล้ว ได้แก่บรรดาพระอรหันต์ทั้ง

หลายตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก เพราะไม่มีกรรมเป็น

แดนเกิด ไม่มีวิญญาณเป็นเมล็ดพืช ไม่มีแดนเกิด


(กรรม) ไม่มีเมล็ดพืช(วิญญาณ) ไม่มีเชื้อ ยาง(ตัณหา)

จะมีอะไรเกิดอีกเล่า ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว

ส่วนปุถุชนคนยังมีกิเลส เป็นเหตุให้ทำกรรม

คนจำพวกนี้ก็ยังมีภพมีชาติกันอีกต่อไป ต้องอาศัย

กรรมเป็นแดนเกิด จะเกิดดี เกิดมี เกิดจนอะไร ก็

สุดแล้วแต่กรรมของตนจะดลบันดาล เลือกสถานที่

เอาเองไม่ได้ มารดาบิดาเป็นเพียงที่อยู่อาศัยให้คน

ที่ยังมีกรรมอยู่เกิดขึ้นมาเท่านั้น มารดาบิดาจะบัน

ดาลให้ลูกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ตามความปรารถนา

ของตนไม่ได้ ลูกที่เกิดมาในไส้ก็ต้องเป็นไปตาม

กรรมของเขาที่ได้ทำมาแล้ว ด้วยเหตุผลข้อนี้ชี้ให้

เห็นว่าตระกูลของมารดาบิดา บางตระกูลดีแสนดี

แต่ลูกเกิดมาเป็นอวชาตบุตร คือบุตรที่เลวกว่าพ่อ

แม่ นี้แลคือผลแห่งกรรมของใครของมัน แบ่งปันให้

แก่กันไม่ได้เหมือนวัตถุสิ่งของ พ่อแม่ทุกคนต้องการ

แสงธรรม 38 Saeng Dhamma

ให้ลูกเป็นคนดี แต่บางทีก็ช่วยลูกไม่ได้ ก็ได้แต่ปลง

อนิจจัง โธ่! ลูกเอ๋ย ทำไมเจ้าจึงเกิดมาเป็นคนเลว

เช่นนี้ นี่แหละ

คือสัตว์ทั้งหลาย

มีกรรมเป็นของ

ตน มีกรรมเป็น

แดนเกิด ดังนั้น

คนเราจึงควรทำ

แต่กรรมที่ดีๆ มี

ให้ทาน รักษา

ศีล ฟังธรรม

อันเป็นกรรมที่

ดีมีประโยชน์ทั้ง

ในปัจจุบัน และ

อนาคตกำหนดให้

วิถีชีวิตดำเนินไปสู่ความสุขความเจริญ ขอเชิญทำแต่

กรรมดีๆ กันเถิด กรรมชั่วไม่ทำเสียเลยนั่นแหละดี

เรามีกรรมเป็นพวกพ้องเผ่าพันธุ์ พวกพ้องเผ่า

พันธุ์ของเรานั้น ก็ได้แก่ญาติพี่น้องทั้งฝ่ายมารดา

บิดา ญาติพี่น้องที่เกิดร่วมท้องมารดาบิดาเดียวกัน

นั้น พึ่งพาอาศัยกันได้ก็มี พึ่งพาอาศัยกันไม่ได้ก็มาก

เป็นมิตรกันบ้าง เป็นศัตรูกันบ้าง ช่วยเหลือเกื้อกูล

ก็มี เบียดเบียนล้างผลาญกันก็มาก จากกันไปอยู่

คนละทิศคนละทาง ห่างกันคนละประเทศคนละ

ทวีป เวลามีความทุกข์ความเดือดร้อนเกิดขึ้นก็ช่วย

เหลือกันได้ไม่ทันท่วงที หรือบางครั้งหากจะช่วย

เหลือได้ ก็ช่วยได้ในเฉพาะวิสัยที่จะช่วยได้เท่านั้น

ถ้าพ้นวิสัยแล้วก็ช่วยไม่ได้ เรียกว่า “สุดวิสัย” ที่


จะช่วยเหลือได้ ญาติพี่น้องของเราแท้ๆ ก็ช่วยเรา

ได้เฉพาะสิ่งภายนอกเท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องภายใน

จิตใจเรื่องบุญกุศลก็ช่วยเหลือไม่ได้ เพราะมันเป็น

ของภายในเฉพาะตัวใครตัวมัน พวกพ้องเผ่าพันธุ์

ที่แท้จริงของคนเรา เป็นญาติที่อยู่ใกล้ชิดสนิทกับ

เราตลอดเวลา คอยคุ้มครองรักษาอารักขาเราทุก

เวลานาทีทั้งกลางวันและกลางคืน ทั้งในเวลาตื่น

และเวลาหลับ คอยช่วยเหลือเกื้อกูลเราจริงๆ ไม่

ปล่อยทิ้งในยามวิบัติ ขจัดทุกข์บำรุงสุข สุขก็สุข

ด้วยกัน ทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกัน นั่นก็คือกรรมของเรา

เอง กรรมคือการกระทำเป็นญาติพี่น้องพวกพ้อง

ที่แท้จริงของคนเรา ด้วยเหตุนี้ทุกคนจึงควรพากัน

ทำกรรมที่ดี สร้างแต่บุญกุศลอันจะส่งผลให้เรามี

พวกพ้องเผ่าพันธุ์ที่ดีตามกฎแห่งกรรม

เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย หมายความว่าคนเรา

ทุกคนต้องพึ่งพาอาศัยกรรมเป็นของตนเอง ที่พึ่งอื่น

ของเราไม่มี ญาติพี่น้องพวกพ้องมิตรสหายพึ่งพา

อาศัยกันได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว มารดาบิดาก็พึ่งพา

ท่านได้ในเวลาที่ยังเป็นเด็ก พอโตขึ้นมาศึกษาเล่า

เรียนมีวิชาความรู้ ทำการทำงานเป็นหลักเป็นฐาน

มีบ้านมีเรือนแล้ว จะพึ่งพาท่านทั้งสองต่อไปก็ดูไม่

เหมาะเพราะจะถูกตำหนิเอาว่า “เลี้ยงไม่โต” ดัง

นั้น ที่พึ่งอันแท้จริงของคนเราจึงได้แก่กรรม กรรม

คือการกระทำของเราทั้งนั้น จักเป็นที่พึ่งอันแท้จริง

ท่านทั้งหลายจงอยู่อย่างที่มีที่พึ่งเถิด อย่าอยู่อย่าง

ไม่มีที่พึ่งเลย การอยู่อย่างมีที่พึ่งเป็นสุขในโลก

ส่วนการอยู่อย่างไม่มีพึ่ง เป็นทุกข์ในโลก

เพื่อเป็นการสร้างที่พึ่งอันประเสริฐ เกิดมาได้มี

แสงธรรม 39 Saeng Dhamma

ความสุขความเจริญตลอดอายุขัย เวลาจากไปจะ

ได้ไปสู่สุคติ ทุกคนจึงควรดำริสร้างแต่ที่พึ่งอันเกษม

สร้างแต่ที่พึ่งอันอุดม สร้างแต่ที่พึ่งอันประเสริฐด้วย

การฝึกฝนอบรมจิตใจให้เจริญด้วยศีล สมาธิและ

ปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจธรรม อันจะนำไป

สู่ความสิ้นทุกข์ในที่สุด นี่คือที่พึ่งอันแท้จริงของคน

เรา กรรมคือการกระทำด้วย กาย วาจา ใจ จะ

เป็นที่พึ่งตลอดไปจนกาลอวสาน นี่แหละครูสี คือ

เรื่องของ “กัมมัสสกตาสัทธา” เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลาย

มีกรรมเป็นของๆ ตน มีเหตุผลตามที่กล่าวมานี้ ครู

สีมีความเห็นว่าอย่างไร

ครูสี: หมดปัญหาข้อสงสัย แล้วครับ หลวงตา

ความสว่างแห่งปัญญาได้ปรากฏขึ้นมาภายในจิตใจ

เหมือนน้ำใสที่ปราศจากตะกอน ขอบพระคุณเป็น

อย่างสูงครับ หลวงตา โอกาสหน้าผมจะขอพึ่งบารมี

ในส่วนแห่งเมตตาธรรมจากหลวงตาอีกตามเคย ผม

ขอถือโอกาสกราบนมัสการลาครับหลวงตา


แสงธรรม 40 Saeng Dhamma

ภูฏาน : ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า

บรรยายและถ่ายภาพโดย... พระวิเทศรัตนาภรณ์ (ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี)

t_inthisan@hotmail.com

##

ป้อมปราการเมืองทิมพู (Tashicho Dzong) แห่ง

ศาสนาที่รุ่งโรจน์

วันนี้ตื่นนอนทำภารกิจส่วนตัวแล้ว ลงไปพร้อม

กันที่ห้องอาหารของโรงแรมที่พัก (Panden Hotel) ไกด์

ผู้นำทัวร์แต่ละวันพร้อมด้วยลูกศิษย์ที่ติดตามรู้หน้าที่ใน

การจัดโต๊ะที่จะถวายภัตตาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน ที่

จะต้องหามุมที่เหมาะไม่มีคนเดินผ่านพลุกพล่าน ได้จัด

โต๊ะพิเศษถวายซึ่งมีพระไปด้วยกัน ๓ รูปนั่งฉันที่โต๊ะ

เดียวกัน ภัตตาหารในวันนี้เป็นอาหารพื้นเมืองแบบ

ภูฏานแท้ๆ ซึ่งก็ไม่ต่างจากอาหารแถบประเทศแถวภูเขา

หิมาลัย ซึ่งมีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นชาว

ทิเบต ชาวเนปาล(ที่เมืองดาร์จีลิ่งที่เคยพำนักด้วย) ดังนั้น

ในเรื่องอาหารพื้นเมืองจึงไม่ใช่ปัญหาเลย สามารถฉันได้

ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นแกงดาล(แกงถั่วเหลือง) หรือมันอาลู

(มันฝรั่งต้มให้สุกแล้วไปผัดกับน้ำมันใส่หัวหอมแดงเครื่อง

เทศเป็นหลัก) แต่ว่าญาติโยมหลายท่านที่ไม่คุ้นเคยก็จะ

ต้องนำเอาอาหารที่เตรียมไปจากเมืองไทยออกมาแบ่งกัน

จ้าละหวั่น ไม่ว่าจะเป็นหมูหยอง หมูแผ่น น้ำพริกเผา

เป็นต้น

เสร็จภัตตกิจแล้วนัดพร้อมกันที่เคาวน์เตอร์ของ

โรงแรม ซึ่งวันนี้จะได้นำคณะออกเที่ยวชมสถานที่สำคัญ

ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงทิมพู เป็นเมืองหลวงของภูฏาน

ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เริ่มแรกเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ในสมัย

ซับดรุง นัมเกล เมื่อเป็นเมืองหลักจึงมีประชากรมากขึ้น

เมืองทิมพูตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำวัง เป็นเมืองหลวง

แห่งเดียวในโลกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ใช้ตำรวจจราจร

โบกมือให้สัญญาณเท่านั้น

ป้อมปราการที่สำคัญของเมืองนี้มีชื่อเป็นทางการ

ในภูฏานว่า “ตาชิโชซอง” หรือทิมพูซอง เป็นศูนย์กลาง

การปกครองและศาสนาและเป็นสัญลักษณ์ประจำเมือง

ภายในแบ่งแยกเป็นเขตฆราวาสคือที่ทำการของรัฐบาล

และเขตสังฆาวาสคือสถานที่ประกอบพิธีกรรม รวมทั้งที่

อยู่ของพระสงฆ์ และลานอเนกประสงค์ ซึ่งใช้จัดการ

แสดงเซชูในเทศกาลสำคัญ สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 12

โดยลามะจากทิเบตจนถึง พ.ศ. 2184 ซับดรุง นัมเกลจึง

เข้ามายึดครองและตั้งชื่อใหม่ว่า ตาชิโชซอง แปลว่า

ปราการของศาสนาที่ยิ่งใหญ่ หรือปราการแห่งความ

รุ่งโรจน์แห่งศาสนา ภายหลังเกิดไฟไหม้จึงถูกทิ้งร้างไป

มาซ่อมแซมใหม่ในสมัยสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี

ดอร์จิ วังชุก

เมื่อใครเดินทางมาภูฏานถ้าไม่ได้เข้าชม Dzong

หรือ ป้อมปราการ ซึ่งเป็นสถานที่ราชการ เป็นกอง


บัญชาการของรัฐบาลถือว่ามาเที่ยวไม่ครบสถานที่แห่ง

เมืองนั้นๆ พวกคณะจาริกบุญมีกำหนดการเข้าชมป้อม

ปราการนี้ในเวลาเย็นๆของวันนี้ Thimpu Dzong หรือ

ชื่อทางการว่า “ตาชิโช ซอง”(Tashicho Dzong) หรือที่

แปรพระราชฐานฤดูร้อนทั้งของพระพระมหากษัตริย์

และสมเด็จพระสังฆราช มีลักษณะเป็นป้อมปราการ

ขนาดใหญ่ ซึ่งภายในป้อมยังเป็นที่ตั้งของพระอาราม

หลวง สำนักพระราชวัง ทำเนียบรัฐบาล ห้องประชุม

รัฐสภาแห่งชาติ

Tashichhoedzong เป็นวัดฝ่ายวัชรยานทาง

พุทธศาสนา และป้อมปราการของราชการ เป็นที่ตั้งของ

ที่ทำการรัฐบาล ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองทิมพู และ

อยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวังชู ทั้งยังเคยเป็นที่ประทับ

ของท่าน Druk Desi (หรือ”เทพราชา”) หัวหน้ารัฐบาล

พลเรือนของภูฏานสมัยโบราณ และเป็นที่ตั้งของ

สำนักงานที่ทำการของรัฐบาลมาจนถึงปัจจุบัน

ตั้งแต่มีการรวมอำนาจโดยพระมหากษัตริย์ที่มี

การปกครองโดยระบบพระมหากษัตริย์ในปี 1907 และ

เมืองทิมพูได้กลายมาเป็นเมืองหลวงฤดูร้อนของประเทศ

ในเอกสารเก่าของอังกฤษเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Tassisudon

ที่ถูกสร้างขึ้นโดยธรรมราชาองค์แรก(พระลามะ) ผู้

ก่อตั้งนิกาย Lho-drukpa ของศาสนาพุทธนิกายวัชร

ยานซึ่งยังคงเป็นนิกายที่โดดเด่นของภูฏานมาจนถึง

ปัจจุบัน การเรียกชื่อทับศัพท์ที่ถูกต้องของชื่อท้องถิ่น

แสงธรรม 41 Saeng Dhamma

คือ Bkrashis-chhos-rdzong หมายถึง “ป้อมปราการ

แห่งหลักคำสอนที่เป็นมงคล” เป็นตามที่ Dr. Graham

Sandberg, ได้ให้ความหมายไว้

##

ประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งการรวมวังและวัด

ไว้ด้วยกัน

ในประวัติศาสตร์ของภูฏานมีการสร้างวังของ

กษัตริย์ และวัดในพระพุทธศาสนาไว้ด้วยกัน ในปีค.ศ.

1216 Lama Gyalwa Lhanangpa ได้สร้างป้อมปราการ

ชื่อ Dho-Ngen (หินสีน้ำเงิน) Dzong บนเนินเขาเหนือ

เมืองทิมพูซึ่งปัจจุบันคืออาคารของราชการ Dechenphodrang

ตั้งอยู่ เมื่อท่านลามะ Zhabdrung Ngawang

Namgyal บุกมาถึงภูฏานในศตวรรษที่ 17 ป้อมปราการ

ชื่อ lhapas ได้ถูกทำลายลงอย่างราบคาบและ

Dho-Ngen Dzong ตกอยู่ในมือของท่าน Zhabdrung

ในปีค.ศ.1641 ท่านลามะ Zhabdrung ได้สร้าง

Dho Ngon Dzong (ป้อมปราการหินสีน้ำเงิน) จาก

Lhapa Kagyu ซึ่งท่านได้ทำการพิจารณาใหม่และเปลี่ยน

ชื่อเป็น Tashicho Dzong ที่ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่

ประทับหลักของผู้นำทางจิตวิญญาณของพุทธศาสนา

นิกาย Drukpa Kagyu และเป็นที่พักอาศัยในฤดูร้อนของ

คณะสงฆ์หรือกุฏิสงฆ์ (Sangha) โครงสร้างหลักของ

อาคารสีขาวคืออาคารสองชั้นที่มีหอคอยสามชั้นที่แต่ละ

มุมทั้งสี่มีหลังคามุงด้วยทองสามชั้น นอกจากนี้ยังมี

หอคอยกลางขนาดใหญ่ ในด้านสถาปัตยกรรม ถือว่า

ตาชิโซซอง มีลักษณะเด่นของศิลปะภูฏาน ซึ่งมีหลังคามุง

กระเบื้องลดหลั่นเหมือนยอดปราสาท และเป็นกลุ่ม

อาคารที่สร้างเหมือนกำแพงล้อมรอบที่แน่นหนา เป็นทั้ง

อาคารที่ทำการ และเป็นป้อมปราการที่ยากจะมีศัตรูเข้า

รุกรานได้ง่ายๆ เพราะจะสร้างบนที่สูง หรือ ที่มีกำแพง

ประตูที่แน่นหนามาก

ในปี ค.ศ.1694 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ขยายให้

ใหญ่เพิ่มเติมขึ้นโดยท่าน Desi Tenzin Rabgye ที่ 4 แต่

ในช่วงรัชสมัยของท่าน Desi Gedun Chophel ที่ 5 ใน

ปี ค.ศ. 1698 ป้อมปราการหินสีน้ำเงินได้ถูกไฟไหม้


อาคารหลายหลังเสียหายเป็นจำนวนมาก ต่อมาท่าน

Desi Mipham Wangpo ที่ 10 ได้สร้างอาคาร Kagyu

lhakhang ขึ้นภายในป้อมปราการแห่งศาสนาอันรุ่งโรจน์

นี้ จึงยังคงเหลือหลักฐานและรักษารูปแบบเดิมไว้

ในปี ค.ศ.1747 Dzong ป้อมปราการแห่งศาสนา

อันรุ่งโรจน์ ได้ถูกสร้างขึ้นโดยการขยายจากแนวความคิด

ริเริ่มของท่าน Desi Chogyal Sherab Wangchuk ที่ 3

และในช่วงรัชสมัยของ Desi Sonam Lhendup ที่16

และในรัชสมัยของท่าน Je Khenpo Yonten Thaye ที่

13 ป้อมปราการนี้ (Dzong) ได้ถูกไฟไหม้เป็นครั้งที่สอง

ซึ่งต่อมาท่านทั้งสองเสนอให้สร้าง Dzong ขึ้นมาใหม่ในที่

ตั้งปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1777 ในช่วงเวลาแห่งการปกครอง

ของท่าน Desi Jigme Singye ที่ 18 อาคาร Kunre แห่ง

Dzong ได้รับการปรับปรุงเนื่องจากอาคารภายในมืด

สนิท ได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมโดยท่าน Desi Pema

Cheda ที่ 25 Desi Phurgyal ที่ 32nd ได้ติดตั้งรูปปั้น

และปฏิมากรใหม่ๆ มากมาย รูปปั้นรูปเคารพในพระพุทธ

ศาสนามากมาย จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1869 ป้อมปราการ

แห่งศาสนาที่รุ่งโรจน์ (Dzong) ได้ถูกไฟไหม้อีกครั้งซึ่งได้

รับความเสียหายมากมาย ในระหว่างนั้นจึงได้รับการ

ซ่อมแซมอย่างกว้างขวางขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จนต่อมาอดีต

กษัตริย์ Jigme Dorje Wangchuck ได้ทำการปฏิสังขรณ์

Dzong ขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1962 - 1969 และสร้าง

อาคารใหม่ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของภูฏานสืบมา

หลังจากเมืองหลวงเก่าได้ย้ายมาจาก เมือง Punakha ไป

ยังเมือง Thimphu Dzong ปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ให้

เป็นที่ทำการของรัฐบาลตามแผนที่แตกต่างจากของ

ดั้งเดิม มีเพียงหอคอยกลาง Utse, Lhakhang Sarp (วัด

ใหม่) และGongkhang วิหารประธาน (วิหารคุ้มครอง)

ยังคงอยู่จาก Dzong ก่อนหน้านี้ หลังจากเสร็จสิ้นในปี

2511 Tashicho Dzong ใหม่ได้รับการอุทิศโดยท่าน

Je Khenpo Yonten Tarchin ที่ 66 และท่าน Karmapa

ที่ 16, ท่าน Rangjung Rigpai Dorje; รวมถึงท่าน

แสงธรรม 42 Saeng Dhamma

Je Kudre, Jamyang Yeshe อีกด้วย นับว่าเป็นป้อม

ปราการที่มีอายุยาวนานและได้รับการสร้างเสริมเติมต่อ

มาเรื่อยๆ Tashicho Dzong (ป้อมปราการแห่งศาสนา

อันรุ่งโรจน์) จัดเป็นที่ทำการถาวรของรัฐบาลภูฏานตั้งแต่

ปี พ.ศ. 2511 ถึงปัจจุบัน ทั้งเป็นที่ตั้งของห้องบัลลังก์

(ที่ออกว่าราชการและทำพิธี) และสำนักงานของพระมหา

กษัตริย์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และกระทรวง

กิจการบ้าน รวมถึงสำนักงานด้านการเงิน หน่วยงาน

รัฐบาลอื่น ๆ บางแห่งตั้งอยู่ในอาคารทางใต้ของ Dzong

และแผนกอื่น ๆ ในอาคารใหม่ในทิมพู ทางตะวันตกของ

Dzong เป็นหอคอยเล็ก ๆ ของเนย์คังลางคังซึ่งเป็นที่ตั้ง

ของรูปปั้นของพระศากยมุนีพุทธเจ้าและมีเทพเจ้าผู้ปก

ปักษ์รักษา อีกด้วย ในปี 1953 ราชวงศ์ได้มาพักอาศัยใน

เขตวัง Dechencholing ที่สร้างขึ้นใหม่ วัดและวิหารใน

Tashicho Dzong มีวัดสามสิบแห่งวิหารและศาลบูชา

เทพเจ้าอยู่ภายในกำแพงอันสูงใหญ่ซึ่งเป็นอาคารล้อม

รอบทั้งสี่ด้าน

การแสดงเซชู ที่ลานเอนกประสงค์ของ Dzong

เป็นการแสดงในวันที่ 10 ของเดือนเพื่อระลึกถึงคุรุริน

โปเช ปัทมสัมภวะโดยจะจัดขึ้นตามเมืองต่างๆ ปีละครั้ง

ไม่ตรงกัน การแสดงที่สำคัญในเทศกาลนี้คือ การแสดง

ระบำหน้ากากชุดต่างๆ ในลานอเนกประสงค์ของซอง ผู้

แสดงเป็นพระลามะ หรือฆราวาสที่ได้รับการฝึกฝนมา

อย่างดี ผู้รำจะแต่งกายด้วยชุดกระโปรงบานเป็นชั้นๆ ทำ

ด้วยผ้ามีสีสันสดใส สวมหน้ากากเป็นรูปภูตผีปีศาจ สัตว์

หรือเทพเจ้า ใช้เครื่องประดับที่ทำจากกระดูกสัตว์ จุด

ประสงค์ของการรำเพื่อขับไล่มารหรือภูตผีปีศาจที่ชั่วร้าย

ชุดการแสดงมีหลายชุด องค์การยูเนสโกได้ประกาศ

ให้การเต้นระบำหน้ากากนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของ

โลกเมื่อ พ.ศ. 2548

เมื่อจบการเต้นระบำแล้ว งานเทศกาลสิ้นสุดด้วย

การทอดผ้าขาวบูชาพระบฏหรือธังกาซึ่งเป็นผืนผ้าที่

เขียนรูปปัทมสัมภวะ บางวัดจะมีลามะมาเทศน์และแจก

ด้ายสีแดงเป็นสิริมงคลอีกด้วย


##

ธงคาถา และกงล้อธรรมจักร

จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของชาวพุทธแบบวัชรยาน

(ภูฏาน)บนภูเขาสูง ตามหน้าวัด หรือ พระเจดีย์ คือธง

คาถา (จารึกคำสอนด้วยภาษาทิเบต) มองไปทางไหนจะ

เห็นธงต่างๆที่นำขึ้นมาปัก และแขวนเป็นธงราว เต็มไป

หมด มีสีแดง, สีขาว, สีเขียว, สีเหลือง และสีน้ำเงิน แทน

ธาตุทั้ง ๕ คือ น้ำ เหล็ก ไฟ ลม และดิน ธงเหล่านี้จะได้รับ

การปลุกเสกจากพระลามะก่อนจะนำไปปักหรือแขวน

หรือบางครั้งก็ห้อยไว้บนต้นไม้สูงโดยเฉพาะที่ยอดเขา

ของเมืองทิมพูที่ประดิษฐานพระพุทธรูปใหญ่นั้นจะมีธง

คาถานี้เต็มไปหมดเพื่อถวาย เป็นพุทธบูชาคล้ายกับการ

สวดมนต์ และมีคติความเชื่อ ว่าเมื่อมีลมพัดธงคาถานี้

โบกสะบัดไป ทางทิศใดก็จะได้นำแต่สิ่งที่เป็น สิริมงคลไป

สู่ทิศนั้น นำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย

บริเวณรอบๆ วัดหรือองค์เจดีย์ของวัดในนิกาย

ลามะ จะมีกงล้อจารึกมนตรา หรือ บทสวดเป็นคาถาว่า

“โอม มณี ปัทเม หุม” รอบ ๆมีลักษณะเป็นแท่งกลม

ขนาดต่างๆ กัน มีทั้งเล็กและใหญ่แล้วแต่สถานที่ เคยเห็น

บางวัด เช่นที่พระเจดีย์กลางเมือง จะเป็นกงล้อขนาด

ใหญ่มากต้องออกแรงหมุนอย่างแรงและจะมีระฆังใบเล็ก

ๆแขวนไว้ข้างๆ แท่งกงล้อ ข้างในมีกระดาษเขียนมนตรา

ม้วนอยู่นับพันบท แกนกลางและแท่นยึดอยู่ด้านล่าง

สามารถหมุนได้รอบ เมื่อหมุนครบ ๑ รอบระฆังจะดัง เขา

ให้หมุนครบ ๓ รอบ หรือ มากเท่าไหร่แล้วแต่อธิษฐานจิต

บนแท่งกลมนี้เขาจะทาสีแดง หรือไม่ก็เคลือบ

ด้วยแผ่นทองเหลือง มีอักษรจารึกมนตราเป็นสีดำ ผู้คน

ที่มาสักการะจะเดินทักษิณาวรรตหมุนกงล้อนี้ไปเรื่อยๆ

เหมือนกับไปสวดมนต์หลายพันบท บางหมู่บ้านจะทำ

กงล้อมนตราขนาดใหญ่บนทางน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา

ใช้ความแรงของสายน้ำเป็นพลังหมุนกงล้อ เพื่อให้เวทย์

มนต์กระจายคุ้มครองหมู่บ้านได้ไม่รู้จบสิ้น

ลมพัดธงมนตรายามฟ้าสวย

ดลใจด้วยตั้งจิตอธิษฐาน

ให้โลกมีสันติสุขทุกวันวาร

แสงธรรม 43 Saeng Dhamma

ไม่ร้าวฉานรบรามุ่งฆ่าฟัน

หมุนกงล้อพระธรรมจบรอบทิศ

ขอให้จิตสมมาตรปรารถนา

โลกสดสวยด้วยคนมีเมตตา

ไม่บีฑาเบียดเบียนหมุนเวียนไป

ขอสายน้ำที่ไหลลงหมุนกงล้อ

ช่วยสืบต่อพระธรรมนำสุขศานต์

ให้มนุษย์มีธรรมะทุกคืนวัน

เพิ่มสุขสันติ์ให้โลกนิจนิรันดร.

ความเชื่อเหล่านี้ ชาวตะวันตกอาจจะมองเห็นว่า

งมงายไร้สาระไม่มีเหตุผล แต่ความเชื่อและความลึกซึ้ง

ทางด้านวัฒนธรรมของชาวตะวันออกเป็นเรื่องงดงาม

ละเอียดอ่อน เป็นอุบายสอนคนอย่างหนึ่ง การอาศัยลม

และน้ำวัตถุธาตุสำคัญที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต

ถ่ายทอด บทสวดมนต์ไปยังสรรพสัตว์ทั่วทุกทิศไม่มีที่สิ้น

สุดไม่มีประมาณ เป็นเรื่องน่าประทับใจ และมองเห็นถึง

ความเมตตากรุณาในจิตใจของชาวพุทธ และการทำอย่าง

นี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ เป็นจิตวิทยาชั้นสูง

ที่ใช้ได้กับทุกชุมชน ให้มีศูนย์รวมใจเป็นหนึ่งเดียว อย่าง

น้อยการใฝ่ใจกับ การสวดมนต์ภาวนาก็ช่วยนำความ

สงบเย็นมาสู่จิตใจ ขจัดความคิดฟุ้งซ่าน และลืมความ

ทุกข์ยากไปได้ ไม่ต้องอาศัยยาเสพติด ยากล่อมประสาท

เหมือนคนในสังคมที่เจริญ(ด้านวัตถุ)แล้วอย่างเช่นใน

ปัจจุบัน


สรุปข่าว

แสงธรรม 44 Saeng Dhamma

พฤษภาคม

โดย... ทีมแสงธรรม

##

งดจัดกิจกรรมทำบุญธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคล

๙๕ ปี พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) ปี ๒๕๖๓

คณะกรรมการอำนวยการวัดไทยฯ ดี.ซี. และ

สมาคมศิษย์เก่า มจร., สมาคมไทยอีสาน กรุงวอชิงตัน,

ดี.ซี. ประธานจัดงานทำบุญธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคล

๙๕ ปี พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) ในวันอาทิตย์ที่

๖-๗ มิถุนายน ๒๕๖๓ ได้ประชุมปรึกษาหารือกันและมี

มติให้งดจัดกิจกรรมทำบุญวันเกิดหลวงตาชี เนื่องด้วย

โรคโควิด ๑๙ ยังระบาดหนักที่สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการ

รักษาสุขภาพของหลวงตาชี และเพื่อให้ทุกคนปลอดภัย

จากโรคโควิด แม้รัฐบาลจะอนุญาตให้ศาสนสถานเปิดให้

สาธุชนเข้ามากราบไหว้บูชาพระ หรือทำพิธีกรรมทาง

ศาสนาได้ โดยไม่ให้เกิน ๑๐ คน แต่ก็ยังให้ทุกคนใส่

หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม อย่างไร

ก็ตาม สานุศิษย์ของหลวงตาทั้งใกล้และไกลที่ยังรำลึก

นึกถึงหลวงตา ก็ได้ส่งปัจจัยหรือคำอำนวยพรมาถวาย

หลวงตาเหมือนที่เคยทำมา จึงขออนุโมทนาบุญกับทุกๆ

ท่าน มา ณ โอกาสนี้

##

โรงเรียนวัดไทยฯ ดี.ซี. ช่วง Covid 19

ในช่วง social distancing ครูศศิษยนันท์ รัตนภพ

(ครูลูกหมี) จัดการเรียนการสอนดนตรีไทยออนไลน์ผ่าน

โปรแกรม zoom เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะทางด้าน

ดนตรีอย่างต่อเนื่อง โดยจัดชั้นเรียนตามวันเวลาที่สะดวก

และเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละระดับชั้นส่วนวิชาภาษาไทย

ครูนลชนก พิมพ์เพี้ยน (ครูหนู) ได้จัดการเรียนการสอน

ออนไลน์ โดยจัดส่งไฟล์แบบฝึกหัดให้นักเรียนได้ฝึกฝน

เป็นประจำทุกสัปดาห์ พร้อมตรวจทาน แก้ไข และให้คำ

แนะนำเป็นรายบุคคล เมื่อวันที่ ๙-๑๐ พฤษภาคม ที่ผ่าน

มา ได้มีการจัดสอบออนไลน์ปิดภาคเรียนผ่านโปรแกรม

zoom ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและนักเรียน

เป็นอย่างดี โดยการสอบแบ่งตามระดับชั้นที่นักเรียนได้

ลงทะเบียนไว้ และทำข้อสอบภายในระยะเวลาที่กำหนด

ซึ่งครั้งนี้ได้ความอนุเคราะห์จากคุณครูลูกหมีเป็นกรรมการ

ช่วยคุมสอบ ทำให้การจัดสอบเป็นไปอย่างราบรื่น


แสงธรรม 45 Saeng Dhamma

รายนามผู้บริจาคประจำเดือนพฤษภาคม

รายนามผู้บริจาคทำบุญ กิจกรรมวัดไทยฯ ดี.ซี.

Chairat and Sukanda Jetabut 1,000.00

Chusri Gore 789.00

Prabhassara Agkrasa 500.00

Keriang Chauteh 500.00

Pasini Coxsey 500.00

Sanan Suesataya 500.00

Vilai and Lynda Chobchean 300.00

Suwimon Clogston 300.00

Ryan and Nantana Ritthaworn 300.00

Angkana and Paiboon Uthikamporn 300.00

Pipakdee Suwannachairob 250.00

Edward and Siriporn Gresser 240.00

Malee Barlee 200.00

Vilai and Prasert Chivavibul 200.00

Payoong Ngamsaad and Chintana Kertgate 200.00

Suchart Nuntasunti 200.00

Boonpassorn Phongwarinr and Tun Atthavuth 200.00

Ryan and Nantana Ritthaworn 200.00

Ahttiya and Joseph Smail 200.00

Narttaya and Richard Tinker 200.00

Anita Yuthasastrkosol 200.00

Thavorn and Monthakan Natrakul 200.00

Patchara Tannouse 195.00

Dr. Somporn Puangsuvan 175.00

Lamai and David Bowden 150.00

Dokmai Brushwood 150.00

Varapat and Natinee Chensavasdijai 150.00

Vuthy and Surosavadee Iem 150.00

Sandra P. Keetachiva 150.00

Utaivan Poonsapaya 150.00

Sutida and Win Somboonsong 150.00

Anut Manekul and Shirley McDonald 115.00

Meechai Pakapumpisuth 105.00

Ka Ming Ting 100.00

Ruk Mae Inc. 100.00

Sathiraponpong Family 100.00

Kreuwan Aekachote 100.00

Jutaporn Bang 100.00

Sukanda Booppanon 100.00

Punthip Chindalat 100.00

Arporn Chongolnee 100.00

Punnee and Kovit Choochan 100.00

Jantana Cornell 100.00

Supaporn Cowham 100.00

Pongsak Denpattanapitak 100.00

Viroon and Nareeratana Eiamchim 100.00

Prapaporn Hongsittee 100.00

Pontipa and John Joines 100.00

Kosa and Sunipa Kaotira 100.00

Ungkana Kelly 100.00

Pensiri Kruapradit 100.00

Puntipa and Poonyoth Kurpradit 100.00

Doungporn Leong 100.00

Paphasi Manickam 100.00

Amy Mcwilliams 100.00

Phon and Khankeo Mounivong 100.00

Vipada S. Musick 100.00

Baungorn and Kittipong Ngamsnga 100.00

Valee Niyomtes 100.00

Pranee M. Okuhara 100.00

Niparat Pitchayanonnetr and Dennis Sippy 100.00

Nisakorn Praisaengpetch 100.00

Kanya Sastura and Michael Asuncion 100.00

Supannee Sattawatrakul 100.00

Wacharee Seeherunvong 100.00

Chongrak Stringer 100.00

Sanan Suesataya 100.00

Sudarat Tanotrongwanit 100.00

Pranee Teptarakun 100.00

Angkana Thaweechote 100.00

Sirikunya Thumprasert 100.00

Malinee Vangsameteekul 100.00


Atcha Wong 100.00

Duangpranee and Boondharm Wongananda 100.00

Rin Wongsaphom 100.00

Theuang and Chanpheng Sombat 90.00

Jarunee Pitayothai 80.00

Vilai and Prasert Chivavibul 78.00

Palungboon Group 75.00

Debabrata and Jantipa Patnaik 75.00

Palungboon Group 60.00

Phongsri Calfee 60.00

Praeploy and George Rhoades 60.00

David and Sally Wee 60.00

Boonyarut and Daniel Lynch 55.00

Chitra Israngkura Ayudhya 50.00

Kannikar Baker 50.00

Jittima and Pravat Bhusiri 50.00

Nuanchan Carpenter 50.00

Niti Crupiti, Attorney 50.00

Chai and Chavivan Dharapak 50.00

Montha Falk 50.00

Supasri and Kittisanti Keochinda 50.00

Sureerat and Donald Loewecke 50.00

Prasarn and Puangtip Manakul 50.00

Ausanee Pananon 50.00

Ming and Rungruedee Phlerdphlao 50.00

Veena Preissler 50.00

Robert Pudelka 50.00

Chujit Chantana Richards 50.00

Surapol Sarintip Singsanong 50.00

Vises and Piengphen Suanpan 50.00

Annop Tantisunthorn 50.00

Pranee Teptarakun 50.00

Latda Toscano 50.00

Sudjit Shirley 45.00

Wat Thai D.C.’s Member 40.00

Peerarat Amornkitwanit 40.00

Chatana Damrongsri 40.00

Outis and Supharerk Pekananth 40.00

Chaichana and Eomporn Yahirun 40.00

แสงธรรม 46 Saeng Dhamma

Keriang Chauteh 35.00

Boonta and Alan Boyle 30.00

Vina Chang 30.00

Maj Carlton Clark 30.00

Orasa M. and Thomas C. Garland 30.00

Pusadee Nitisalsilp 30.00

Samarn and Nouphiane Outsa 30.00

Rujira and James Perry 30.00

Suwadee Sopharatna 30.00

Sriwan and Casimir Stankovitz 30.00

Ampol and Sunantha Thongkhajorn 30.00

Decha and Ratana Viriya 30.00

Wanphen Winkler 30.00

Imtip and Danu Gesornsuvan 25.00

Tassane and David Iadonisi 25.00

Supasri and Kittisanti Keochinda 25.00

Kaimook and Jerry Keys 25.00

Nisakorn Praisaengpetch 25.00

Boonlua Ratanawongsa 25.00

Orathai Srikalle 23.00

Vilailaksana and Sukree Agkrasa 20.00

Bussaba Bevans 20.00

Ratee Brown 20.00

Saisunee Suchai Chanpimol 20.00

Sangchun and Phillip Herr 20.00

Sripen Komsatayapongvudhi 20.00

Tian and Michael Mullinix 20.00

Pranee Roongsetter 20.00

Hataya Sathira 20.00

Rachanee Somkhaoyai 20.00

Jongkol and Mongkon Tongvibulaya 20.00

John and Pong Levenson 15.00

Joy Houston 14.00

Chuanpit Schirmer and Leeann Turner 10.00

Sureeaha and Robert Zeigler 9.00

Naruemol Wendlinger 6.00


แสงธรรม 47 Saeng Dhamma


แสงธรรม 48 Saeng Dhamma


แสงธรรม 49 Saeng Dhamma

Helping Hands

Household Staffing Agency

ข่าวดี สำหรับคนไทย ที่ต้องการทำงาน

1. เลี้ยงเด็ก (Nannies)

2. ทำความสะอาดบ้าน (Housekeepers)

3. แม่(พ่อ) ครัว ในบ้าน (Personal Chefs/Cooks)

มีงานแบบ Live-in, Live-out, Full-time, Part-time

# คุณสมบัติที่ต้องมี

1. ต้องมีใบเขียว (Green Card)

2. อายุต่ำกว่า 60 ปี

3. มีประสบการณ์

สนใจกรุณาติดต่อ คุณแอ๊ด (วิไลวรรณ)

เบอร์โทรศัพท์ (703) 508-6983

อีเมล์ wsoundara@hotmail.com

by Helping Hands


แสงธรรม 50 Saeng Dhamma

University Valero Auto Service

Specializing in Foreign & Domestic with All Electrical Service

Diagnostic by Scanner

and General Repair

รับซ่อมรถทุกประเภท

ตรวจเช็คด้วยระบบคอมพิวเตอร์

ราคามิตรภาพ

3700 University Blvd. W. Kensington, MD 20853

Tel. 301-946-0604 - 05 Golf

459 AUTOMOTIVE INC

# 100 N STONESTREEL AVE., ROCKVILLE, MD 20850

Tel. 240-907-2995

# 4904 BUCHANAN ST. HYATTSVILLE, MD 20781

Tel. 240-770-3077

REPAIR - AMERICAN - FOREIGN - BRAKES - OIL CHANGE - A/C

- TUNE-UPS - FLEET MAINT

- COMPUTER DIAGNOSTIC


แสงธรรม 51 Saeng Dhamma

Boonyong P. Thada MD

6821 Reisterstown Rd,

Baltimore, MD 21215

รับบริการตรวจโรคทั่วไป

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

Tel. 410-358-6450

พ.ญ. เพชรไพลิน อัมราลิขิต

แพทยศาสตร์ ศิริราช

อายุรศาสตร์ รามาธิบดี

Internal Medicine: PG Hospital Center

. Family Immediate Care.

เปิดให้บริการแล้วที่ Herndon, VA ใกล้สนามบิน Dulles

Primary Care + Urgent Care

Walk-in Clinic ไม่ต้องนัดเวลา

รักษาโรคทั่วไป ทุกวัย ทุกเพศ

ตรวจสุขภาพประจ าปี ตรวจภายในสตรี school/sport physical

ปวดหัว ปวดข้อ เป็นไข้ ไอ เจ็บคอ ตาแดง ติดเชื้อ ท้องเสีย ท้องผูก

ไมเกรน ไทรอยด์ ความดัน เบาหวาน ผ่าฝี เย็บแผล ภูมิแพ้และอื่นๆ

. 420 Elden St. Herndon, VA 20170 .

ในเวิ้ง K-Mart อยู่ใกล้ๆกับ MOM’s Organic

Tel: 571-353-1899

www.familyimmediatecare.com


แสงธรรม 52 Saeng Dhamma


แสงธรรม 53 Saeng Dhamma

สำนักงานทนายความ ครุปิติ

Crupiti

Law office

NITI CRUPITI, ATTORNEY

AMY CRUPITI, ATTORNEY

อย่าลืมสอบถามกฎหมายอิมมิเกรชั่นใหม่สุด

NEW IMMIGRATION LAW

DON’T MISS OUT CALL FOR DETAILS

Tel: (301) 949-1622

email: niticrupiti@crupitilaw.com

- immigration (กฎหมายอิมมิเกรชั่น) - Car Accident (อุบัติเหตุรถยนต์)

- Worker’s Compensation (อุบัติเหตุในระหว่างทำงาน)

- Family Law (กฎหมายครอบครัว, คดีหย่าร้าง)

- Criminal/DUI (คดีอาญา) - Bankruptcy (ปัญหาล้มละลาย, ปัญหาหนี้สิน)

- Commercial/Business Transaction (กฎหมายธุรกิจ, เปิดบริษัท หรือขาย

กิจการบริษัท) - Will & Estate Planning (พินัยกรรม)

600 Jefferson Plaza Suite 308 Rockville, Maryland 20852

(Westfield Wheaton North Building)


แสงธรรม 54 Saeng Dhamma

ส่งของกลับเมืองไทยเรียกใช้

ลานนา

1(800) 22-LANNA

(225-2662)

เปิดบริการ 9:00-5:30 จันทร์-ศุกร์

LannaShippingNY.com

รับส่งของไปเมืองไทยและทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น

ของใช้ส่วนตัว หรือรถยนต์ ถึงจุดหมายปลายทาง

ปลอดภัย และตรงต่อเวลา จัดทำเอกสารที่ถูกต้อง

ส่งถึงบ้านทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด และบริการ

ด้วยความเชื่อถือจากลูกค้า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980

มี Storage Room ให้เช่าเป็นรายเดือน

DC

687 Lofstrand Lane Unit F

Rockville, MD 20850

Fax (301) 417-4193 / Tel. (301) 417-4180

www.LannaDC.com /

Email: info@lannadc.com

สปป. ลาว

ลานนาเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องใช้

ไฟฟ้า ระบบ 220v-50Hz ที่มีคุณภาพ

ราคาย่อมเยาของยี่ห้อชั้นนำในอเมริกา

เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า

เครื่องล้างจาน เตาแก๊ส ทีวี วิดีโอ

สเตอริโอ โฮมเธียเตอร์ ฯลฯ

LANNA SHIPPING CORP.

WWW.LANNAUSA.COM

69-40 GARFIELD AVE. WOODSIDE, NY 11377

Tel. (718) 507-1400 / Fax (718) 899-6099


แสงธรรม 55 Saeng Dhamma

บริษัท สินนาวา ชิปปิ้ ง จ ากัด บริการรับส่งของกลับเมือง ไทย-ลาว

ส่งให้ถึงหน้าบ้านทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย และ สปป.ลาวทุกจังหวัด

บริการส่งเป็ นกล่อง, พาเลท, หรือส่งเป็ นตู ้คอนเทนเนอร์

ระยะเวลาการจัดส่งที่แน่นอน, ในราคาประหยัดและสินค้ามีความปลอดภัย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่...

Tel…703-494-3794, 757-818-3887, 202-446-7069

และตัวแทนบริษัทฯ ในแต่ละรัฐใกล้บ้านท่าน

(ขอขอบคุณลูกค้าผู ้ที่ใช้บริการและ ผู ้ที่ให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมาทุกท่าน)

EASTLAND

FOOD CORPORATION

Serving the Best from the Orient

8305 Stayton Drive,

Jessup, MD 20794

Tel. 1-800-645-0769,

Fax. 410-381-2079

www.eastlandfood.com


แสงธรรม 56 Saeng Dhamma

LAW OFFICE OF MORRIS TOPF

3 Bethesda Metro CenterSuite 530,

Bethesda, MD 20814

Tel. 301-654-6285 Fax. 301-656-6794

Legal Assistant

บูรณ์ Tel : 301-785-0807

กฎหมายครอบครัวและคดีหย่าร้าง SEPARATION

AGREEMENT, CUSTODY, CHILD SUPPORT, WILLS

อุบัติเหตุรถยนต์, DWI/DUI (DRUNK DRIVER),

TRAFFIC VIOLATIONS, MVA HEARINGS

ก่อตั้งธุรกิจ BUSINESS, CORPORATE LAW, BUY &

SELL AGREEMENTS, CONTRACTS และคดีอาญา

พิเศษ!!! รับปรึกษาปัญหาเกี่ยว

กับกฎหมายต่างๆ

รับซ่อมบ้าน ห้องน้ำ ประตู หน้าต่าง

หลังคา ไฟฟ้า ประปา Deck และต่อเติมบ้าน

ราคากันเอง รับประกันคุณภาพ

สำหรับท่านที่ต้องการทัศนศึกษาในสถานที่ต่างๆ มีรถบริการ

ให้เช่าพร้อมคนขับรถและนำเที่ยว

สนใจติดต่อ... คุณสุรเดช พานเงิน (สงค์)

Tel : (301) 942-0055,

(301) 442-8523

Benjawan’s

Tel. 410-708-1955

Flowering Plants, Hanging

Baskets Annual, Perenials,

Herbs, Cut Flowers,

Vegetables & Produce

Every Weekend At: Wat Thai Washington DC.

13440 Layhill Rd, Silver Spring, MD 20906

Complete, Remodeling, Decks, Kitchens,

Basement, Bathrooms, Siding, Roofing,

Garages, Deck

$$$ Free Estimates $$$

Home : 301-949-2593.

Cell : 202-528-1674

UTOPIA REALTY

Wanchai Panasethaned

Principal Broker in MD, NC & VA

B.A. & M.A. in Economics - US

Office: 42725 Toulouse Ter

Ashburn, VA 20147

Email: wanchaiptc@yahoo.com

Tel: 703-342-6607

Selling Your 1 % Listing Home? Broker Sell for 3.4%

Selling your home?

Total Commission

Pay $195 admin. Sell fee to for be 1 refunded % at closing.

including Selling Homes the seller’s in Kensington-Rockville, agent & buyer’s MD since agent 1983 fee.

Jumpee’s Draperies

Prefessional Custom Made Draperies Designer

Valances Swage and Balloon Shade

รับเย็บ ติดตั้งผ้าม่านตามบ้านและที่ทำงานต่างๆ

ราคายุติธรรม ติดต่อได้ที่...

Jumpee Stafford 9804 Piscaytaway Road,

Clinton, MD 20735

Tel. 301-856-1444 (Office)

“ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน”

รับบริการซ่อม ตรวจเช็ค

Airconditioning, Heating, ไฟฟ้า,

ประปา และ Thai TV

สนใจติดต่อ..คุณถนัด สิทธิอ่วม

Home. 301-942-0346. Cell. 301-675-9387


Ruang Khao Thai Cuisine

ต้นตำรับอาหารไทย ที่รสชาติไม่เคยเปลี่ยน

สุดยอดของความอร่อย...ต้องรวงข้าว

บริหารงานโดย... คุณจิ๋ม - คุณแป้น

Tel. 301-589-5341

939 Bonifant St. Silver Spring, MD 20910

Ruan Thai Restaurant

อาหารไทยรสเยี่ยม ที่คุณสามารถพิสูจน์ มีอาหารตามสั่ง

มากมาย อร่อยแบบไทยๆ ราคาแบบไทยๆ รับจัดอาหารตาม

งานต่างๆ ในราคาพิเศษ เป็นกันเอง

เปิดบริการ

จันทร์ - เสาร์

แสงธรรม 57 Saeng Dhamma

11:30 am - 10:00 pm

วันอาทิตย์ และวันหยุด 4:00 pm - 10.00 pm

บริหารโดย ป้านิด มาแตง

ไทยช่วยไทย.. ให้เรือนไทย..ช่วยบริการคุณ

11407 Amhrest Ave. Wheaton, MD 20902

Tel. 301-942-0075

หากคุณมีปัญหาเหล่านี้...

izennet.net ช่วยคุณได้

1. Website จะช่วยหาลูกค้าเพิ่มได้อย่างไร 2. ยังไม่มี Website เหมือนร้านอื่น

3. มี Website แล้ว แต่ไม่รู้จะดูแลอย่างไร 4. Website ไม่สวยงาม ไม่ทันสมัย

5. ไม่มีใครดูและปรับปรุง Website ให้ 6. ต้องการมี Website แต่ราคาแพง

7. คนที่ทำ Website ให้ไม่สนใจ ไม่ดูแล ไม่บริการ 8. ไม่มีใครให้คำปรึกษาในการทำ

Website และ Computer

เราช่วยคุณได้... โทรหาเราสิคะ

ไม่คิดราคาเป็นชั่วโมง ไม่แพงอย่างที่คิด

ติดต่อ: Sam : 757-332-0883

Jee Jeey : 703-433-9552

www.izennet.net, Email: sam@izennet.com,

Samanya@izennet.com

ข่าวดี...ข่าวด่วน !

งานเล็ก - ใหญ่ ไม่สำคัญ

ปรึกษาฟรี ! ประสบการณ์กว่า 20 ปี

Carpets, Hardwood Floors, Tile, Vinyl, Installations

and Repairs ปรึกษาได้ไม่แพงอย่างที่คิด!

Ofc : Tel: 703-913-5590

Cell. 703-402-5212, Fax. 703-913-5590

ไก่ อภัยวงศ์ / Kai Apaiwong

S & S Construction

Samorn Namsawat

13006 Pacific Ave. Rockville, MD 20853

Roofing, Siding, Drywall plastering, Door,

Carpeentry, Finished, Basement, Deck,

Blumbing, Painting (Inside & Outside) Jajor

Remodeling Additions.

Home : 301-933-1208, Cell : 301-518-2714

E-mail : ss_remodeling@hotmail.com

IIRT NETWORK

Your Service Provider

P.O.BOX. 1487

Ellicott City, MD 21041-1487

แวะเข้าไปชมที่ http://Advancein.com

http://www.iirt.com

E-mail: sales@advancein.com

TOKU SUSHI RESTAURANT

โดย คุณเอก

1301 U St NW,

Washington, DC 20009

Tel. (202) 462-1333


แสงธรรม 58 Saeng Dhamma

เปิดบริการแล้ว / Tik Hair Stylist

ติ๊ก แฮร์ สไตล์

รับตัดผม ชาย - หญิง เกล้าผม ทำสี

ทำไฮไลท์ ยืดผมถาวร

Call Now : 240-678-3935

E-mail:

tik_pen@hotmail.com

Salon Plaza Congressional Plaza

North 1527 Rockville Pike, Rockville, MD 20850

Bangkok Garden Restaurant

Traditional Thai Food Restaurant

อาหารไทย รสชาติแบบไทยๆ

ที่กำลังรอให้คุณพิสูจน์ด้วยตนเอง

Bangkok Garden was voted “The Best Asian Food”

in 2002 by The Readers of Columbia Magazine

โดย คุณยุพิน อ๊อด เล็ก เลาหพันธ์ุ

4906 St. Elmo Ave. Bethesda, MD 20814

Tel. 301-951-0670-1


A TECH Heating and

Air Conditioning,Inc.

License In MD,VA,DC

รับบริการติดตั้ง ตรวจเช็คและซ่อม เครื่อง

ทำความร้อน เครื่องทำความเย็น ไฟฟ้า ประปา

สนใจติดต่อ

703-300-4590, 703-300-4591

ราคากันเอง รับประกันคุณภาพ

ตัวแทนจำหน่าย

และติดตั้งเครื่องรับทีวีไทย

ASIAN SATELLITE

ครบชุดราคา $250 - $350

ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่

O คุณมิมี่ (301) 417-9630

O คุณนิตยา (301) 683-5882

TruAge products and business

opportunities introducing you to a

chance to win free a dream vacations

will be given away by drawing on the

first Wednesday of every month each

drawing could potentially produce up

to 4 winners, totaling $7,200

Free register go to:

https://www.truage.com/37353

Sawan Kongpat, Cell: 443-992-1492,

email: Sawan37353@gmail.com

Please visit my website@ https://www.morinda.com/37353

แสงธรรม 59 Saeng Dhamma

DANNY’S AUTO BODY AND REPAIR CENTER

“Your satisfaction is our guarantee”

รับซ่อมงาน Insurance ทุกชนิด

ALL Foreign and Dometic General

Mechanical Repairs

4068 S.Four Mile Run Dr. “Bay F”

Arlington, VA 22206

Tel. 703-379-7002

Fax. 703-379-7018

Our customers are our testimony

NEW FAR EAST RICE NOODLE

1232 Mount Olivet Rd, N.E.

Washington, D.C. 20002

Tel. 202-546-8033 / Fax. 202-546-8335

Nava Thai Restaurant

“ก๋วยเตี๋ยวรสเด็ด เผ็ดถึงใจ”

11301 Fern St. Wheaton, MD 20902

Tel. 240-430-0495

NEW IDEA?

FREE

PATENT

SEARCH

New Idea or Invention?

CALL DAN O’CONNOR PATENTS

(301) 933-2404


แสงธรรม 60 Saeng Dhamma

รับให้คำปรึกษา แนะนำ

และรับบริการนวดตัว

นวดหน้า อโรมา ขัดผิว Waxing

แต่งหน้าเจ้าสาว และงานพิธีต่าง ๆ

ติดต่อโดย

ปณิชา สาครพานิช “อุ๋ม”

Certified Master Esthetician License

Certified Wax Technician License

3 Pooks Hill Rd,

# 302 Bethesda, MD 20814

Cell: 240-271-9279

THAI HOUSE

RESTAURANT

“อาหารไทยรสเด็ด”

รอคุณอยู่ที่นี่!

รับสมัครพ่อครัว-แม่ครัว, พนง.เสริฟ,

Delivery รายได้ดี! สนใจติดต่อ.. 301-906-1493

8369 Snouffer School Road,

Gaithersburg, MD 20879

บริหารงานโดย...

คุณแจ็ค - คุณเอ้


แสงธรรม 61 Saeng Dhamma

CTI commercial Transport

International (U.S.A.) Inc.

Smit Intarapuvasak สมิทธิ์ อินทรภูวศักดิ์

Vice President

ส่งของกลับเมืองไทย ติดต่อ คุณ PAT

39 Stringham Avenue Valley Stream, NY 11580, U.S.A.

Phone: 718-917-7779

ext. 118 / Fax: 516-837-3580

Email: smit@cticargo.com / http://www.cticargo.com

นายแพทย์ชิงชัย วณิชย์วรนันต์

ตรวจ-รักษาโรคทั่วไป ผู้ใหญ่ เด็ก ๑๓ ขวบขึ้นไป

สาขา Silver Spring เปิดแล้ว ถนน Randolph

บ้านสีเหลือง ใกล้ Korean Korner

3901 Randolph Road (ตัดกับ Atherton)

Silver Spring, Maryland 20906

Open : Wednesday & Thursday

8.00 AM - 6.00 PM

Phone (301) 949-4994

(703) 387-0999


แสงธรรม 62 Saeng Dhamma

แจ้งข่าวบุญข่าวกุศล

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา

-------------------------------------

เจริญพร คณะกรรมการ และมวลสมาชิกวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ทุกท่าน

คณะกรรมการอ านวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. มีมติให้งดหรือยกเลิกการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในวัดไทยกรุง

วอชิงตัน, ดี.ซี. ตั ้งแต่เดือนมีนาคมเป็ นต้นมา และยังไม่ทราบว่าจะต้องงดกิจกรรมต่างๆ ต่อไปอีกกี่เดือน เพื่อเป็ นการปฏิบัติ

ตามประกาศของทางรัฐบาลท้องถิ่น และรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกา ในการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาด

ของเชื ้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ (Covid-19) จนกว่าจะมีประกาศของทางรัฐบาลท้องถิ่น และรัฐบาลกลางของ

สหรัฐฯ ออกมาอีกครั ้ง แต่ว่ากิจวัตรของพระสงฆ์ก็ยังคงปฏิบัติตามปกติ เช่น ท าวัตรเช้า ท าวัตรเย็น ทุกวัน ลงฟังปาติโมกข์

ทุกกึ ่งเดือน และลงฉันภัตตาหารเช้า-เพล ปกติ

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๓ ท าบุญวันวิสาขบูชา ทางวัดไม่มีการจัดกิจกรรมท าบุญเหมือนทุกๆ ปี

แต่พระสงฆ์ยังมีการไหว้พระสวดมนต์ เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา เพื่อให้ทุกท่านเกิดความร่มเย็นเป็ นสุข ผ่านพ้นอุปสรรค

และปลอดภัยจากโรคาพาธในครั ้งนี ้ไปด้วยดี และขอให้ญาติโยมได้บ าเพ็ญบุญกุศล-ปฏิบัติธรรม-ไหว้พระสวดมนต์อยู่ที่

บ้าน เพื่อถวายเป็ นพุทธบูชาในโอกาสวันส าคัญนี

อนึ่ง วันอาทิตย์ที่ ๗ เดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ วันท าบุญธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคล ๙๕ ปี พระราชมงคลรังษี

(หลวงตาชี) คณะกรรมการอ านวยการวัดไทยฯ ดี.ซี. มีมติยกเลิกการจัดงานท าบุญประจ าปี นี้ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ

ของพระเดชพระคุณหลวงตา ตามค าแนะน าของแพทย์ผู ้ดูแล และเพื่อเป็ นการปฏิบัติตามประกาศของทางรัฐบาลท้องถิ่น

และรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ในภาวะฉุกเฉินของการแพร่ระบาดของเชื ้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)

จึงแจ้งข่าวมายังมวลสมาชิกที่ให้การอุปถัมภ์บ ารุงวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ด้วยดีมาตลอด หากท่านใดมีความ

ประสงค์จะร่วมบริจาคอุปถัมภ์บ ารุงวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ขอเชิญบริจาคได้ตามก าลังศรัทธา ซึ ่งทางวัดมีค่าใช้จ่าย

ประจ าทุกเดือน จึงขออนุโมทนาขอบคุณมา ณ โอกาสนี

ขออ านาจคุณพระศรีรัตนตรัย และอ านาจบุญกุศลคุณงามความดีที่ท่านได้บ าเพ็ญไว้ดีแล้ว จงมารวมกันเป็ นตบะ

เดชะปกป้องคุ้มครองให้ท่านและครอบครัว จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ ความปลอดภัยในชีวิต ปราศจากโรคภัย

เบียดเบียน มีความเจริญรุ่งเรืองในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดกาลนานเทอญ

ขอเจริญพร

(พระวิเทศรัตนาภรณ์)

ประธานคณะกรรมการอ านวยการ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.

วันที่ ๑ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓


All are cordially invited to participate

in the meditation programs and Buddhist activities at

Wat Thai Washington, D.C.

Objectives

1. To promote Buddhist activities.

2. To foster Thai culture and traditions.

3. To inform the public of the monastery’s activities.

4. To maintain and promote brotherhood/sisterhood.

5. To provide a public relations center for Buddhists living in the

United States.

6. To promote spiritual development and positive thinking.

7. To help acquire and inner peace.

8. Wat Thai Washington, D.C. temple is non-political.

Activity

Day

Time

1. Chanting

2. Dhamma Talk and Meditation (in Thai)

3. Meditation and Dhamma Discussion

(in Thai)

4. Meditation Workshop

(in English)

5. Thai Language Classes-Adults

6. Yoga – Meditation

7. Thai Music Classes

8. Thai Dance Classes

9. Thai Language Classes-Children

Daily Morning and

Evening

Every Saturday

Every Sunday

Every 2nd, 4th Saturday of the month

Every Monday and Wednesday

Every Wednesday

Every Saturday and Sunday

Every Saturday

Every Saturday and Sunday

6:00 – 6:45 A.M.

6:00 – 6:45 P.M.

2:30 – 4:30 P.M.

7:00 – 9:00 A.M.

9:00 – 11:00 A.M.

7:30 – 9:00 P.M.

7:30 – 9:00 P.M.

9:30 – 4:00 P.M.

1:30 – 4:30 P.M.

9:30 – 4:00 P.M.

All activities are held at the upper or lower level of the main temple. For further information

Please contact Wat Thai Washington, D.C. 13440 Layhill Rd., Silver Spring, MD 20906

Facebook: www.facebook/watthai.dc; www.facebook/Wat Thai, D.C. School

Homepage: www.watthaidc.org

Radio Network: www.watthai.iirt.net E-mail: watthaidc2013@gmail.com

Tel. (301)871-8660, (301)871-8661


WAT THAI WASHINGTON, D.C.

13440 Layhill Rd

Silver Spring MD 20906-3201

Change Service Requested

NON PROFIT ORG.

US POSTAGE

PAID

SUBURBAN, MD

PERMIT NO.1388

Attention: Subscriber if you are moving, please forward your new address to Wat Thai Washington,D.C. 13440 Layhill Rd. Silver Spring, MD 20906 -3201

ประกาศ

เพื่อปฏิบัติตามประกาศของรัฐแมรี่แลนด์ในมาตรการป้องกัน

และควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า(COVID-19)และ

ปฏิบัติตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการวัดไทยกรุงวอชิงตัน,

ดี.ซี. ดังนั้น ทางวัดไทยฯ ดี.ซี. จึงขอยกเลิกการเรียนการสอน

โรงเรียนวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ภาคฤดูร้อน ประจำาปี ๒๕๖๓

Notice of Cancellation

Due to ongoing concerns with COVID-19, Wat Thai

Summer Programs for 2020 are canceled.

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!