18.01.2022 Views

สารบัญ บทนำ และบางส่วนของบทที่ 1 ของหนังสือ 'เมื่อโลกซึมเศร้า

สารบัญ บทนำ และบางส่วนของบทที่ 1 ของหนังสือ 'เมื่อโลกซึมเศร้า: Mark Fisher โลกสัจนิยมแบบทุน และลัดดาแลนด์' ของ สรวิศ ชัยนาม

สารบัญ บทนำ และบางส่วนของบทที่ 1 ของหนังสือ 'เมื่อโลกซึมเศร้า: Mark Fisher โลกสัจนิยมแบบทุน และลัดดาแลนด์' ของ สรวิศ ชัยนาม

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

เมื่อโลกซึมเศร้า<br />

Mark-Fisher, โลกสัจนิยมแบบทุน และลัดดาแลนด์<br />

สรวิศ ชัยนาม เขียน<br />

สุชานาฎ จารุไพบูลย์ แปล<br />

Illuminations<br />

Editions<br />

3


For JNKM


คำเตือน: ผมมีช่วงเวลที่รู้สึกแย่ๆ บ้ง แต่ไม่เคยได้รับคำวินิจฉัย<br />

ว่เป็นโรคซึมเศร้และไม่เคยกินยต้นเศร้ เพระฉะนั้นผมไม่มี<br />

ประสบกรณ์ส่วนตัวมเล่ให้คุณฟัง ถ้คุณกะว่จะได้อินไปกับ “เรื่องจริง<br />

จกผู้ป่วยโรคซึมเศร้” ก็คงจะต้องผิดหวัง แล้วผมก็ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชญ<br />

ด้นกรแพทย์ด้วย ผมเป็นอจรย์สอนรัฐศสตร์ ถ้อยกอ่นงนวิจัย<br />

ทงกรแพทย์ชิ้นล่สุดเกี่ยวกับเรื่องควมซึมเศร้ หนังสือเล่มนี้คงไม่ใช่<br />

เล่มที่คุณตมห นี่เป็นหนังสือเกี่ยวกับกรเมืองและวัฒนธรรมสมัยนิยม<br />

(popular culture) ซึ่งเขียนขึ้นเพื่อสร้งควมเป็นกรเมืองให้กับ<br />

สุขภพจิตเสียใหม่ (to re-politicize mental health) ในฐนะที่เป็น<br />

ส่วนหนึ่งของกรต่อสู้ทงชนชั้น ถ้ท้องไส้คุณปั่นป่วนเวลที่มีใคร<br />

เอ่ยถึงกรต่อสู้ทงชนชั้นหรือกรต่อต้นทุนนิยม ผมแนะนำให้วง<br />

มันลงซะ เก็บเงินของคุณไว้และค่อยๆ ‘หนี’ กลับสู่ควมเป็นจริงแบบ<br />

ดิสโทเปียที่ถูกทำให้ดูเป็นเรื่องปกติไปแล้วอย่งเงียบๆ จะดีกว่


สรบัญ<br />

<strong>บทนำ</strong><br />

11<br />

I. Mark Fisher และโลกสัจนิยมทุนนิยม<br />

21<br />

II. เลิกทำให้ปัญหสังคมกลยเป็นเรื่องของใคร<br />

ของมัน หรือหยุดลงโทษตัวเองได้แล้ว<br />

91<br />

III. อย่ไปกลัวผี<br />

189<br />

โรคซึมเศร้กับอำนจทงสังคม<br />

235


<strong>บทนำ</strong>า<br />

ภาพยนตร์ช่วยทำาให้เราเห็นภาพว่าทุนทำาลายชีวิต ร่างกายและ<br />

จิตใจของเราได้อย่างไร โดยให้กรอบที่เราสามารถใช้ตีความและ<br />

มีปฏิสัมพันธ์กับความเป็นจริงของโลกทุนนิยม และเชื่อมโยงผู ้คน<br />

ที่มีกรอบความคิดเดียวกันเข้าไว้ด้วยกัน ยิ่งถ้าเป็นภาพยนตร์แนว<br />

ดิสโทเปียและแนวสยองขวัญด้วยแล้ว ยิ่งช่วยให้เรา ‘เห็น’ ทุนนิยม<br />

ได้แจ่มชัดเป็นพิเศษ พูดอีกอย่างก็คือ หนัง ซึ ่งเป็นเรื ่องแต่ง หรือ<br />

“เรื่องลวง” บอกเล่าความจริงเกี่ยวกับทุนนิยมได้ดีกว่างานวิชาการ<br />

ส่วนใหญ่ซะอีก ในงานเขียนเล่มก่อนๆ ผมพยายามคลี่ประเด็นทาง<br />

การเมืองที่แสดงออกว่าต่อต้านทุนนิยม และพยายามปลดปล่อย<br />

เป็นอิสระซึ่งสื่อออกมาในหนังฮอลลีวูดแนวดิสโทเปียหลายเรื่อง<br />

เช่น In Time, The Snowpiercer และ The Lobster วัฒนธรรมสมัยนิยม<br />

ก็เป็นพื้นที่ที่การต่อสู้เพื่อล้มล้างทุนนิยมสามารถเกิดขึ้นได้<br />

11


เหมือนกัน และต้องเป็นพื้นที่ให้เกิดสิ่งนี้ได้ด้วย ไม่ใช่แค่ใน<br />

การเมืองและเศรษฐศาสตร์เท่านั้น ไม่มีอาณาบริเวณใดในชีวิต<br />

ที่ทุนยังรุกลำ้าไปไม่ถึง ใน ดิสโทเปียไม่สิ ้นหวัง ผมเน้นประเด็นที่<br />

1<br />

ว่าทุนกำาลังทำาลายโลกและได้เปลี่ยนอนาคตของเราให้กลายเป็น<br />

ฝันร้ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เรายังคงต่อกรกับมันได้ ใน ทำาไม<br />

ต้องตกหลุมรัก? ผมเสนอว่าทุนนิยมเป็นศัตรูของความรักและ<br />

2<br />

กำาลังทำาลายชีวิตรักของเรา ส่วนในหนังสือเล่มบางๆ เล่มนี้ ผมจะ<br />

แสดงให้เห็นว่าทุนนิยมยุคปลายกำาลังทำาลายสุขภาพจิตของเรา<br />

อย่างรุนแรง นอกจากนี้ผมจะเปลี่ยนไปวิเคราะห์ภาพยนตร์<br />

สยองขวัญแทนหนังดิสโทเปีย โดยยึดตามข้อสังเกตของ Mark<br />

Fisher และ Mark Steven และใช้แนวคิดของทั้งสองในการตีความ<br />

ภาพยนตร์เรื่อง ลัดดาแลนด์ (กำากับโดยโสภณ ศักดาพิศิษฐ์<br />

ออกฉายปี 2011) ซึ่งกลายเป็นหนังฮิตติดอันดับบ็อกซ์ออฟฟิศ<br />

กวาดรายได้ไปกว่าร้อยล้านบาท และยังคว้ารางวัลสุพรรณหงส์<br />

1<br />

สรวิศ ชัยนาม, ดิสโทเปียไม่สิ้นหวัง: ภาพยนตร์ฮอลลีวูดและการเมือง<br />

โลก, กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ แปล (กรุงเทพฯ: ศยามปัญญา, 2561).<br />

2<br />

สรวิศ ชัยนาม, ทำาไมต้องตกหลุมรัก? Alain Badiou ความรัก และ<br />

The Lobster, สุชานาฎ จารุไพบูลย์ แปล (กรุงเทพฯ: Illuminations Editions,<br />

2562).<br />

12


ประจำาปี 2012 ไปหลายสาขา รวมทั้งรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Fisher<br />

กล่าวไว้ว่า “การบรรยายทุนแบบที่กอทิก ที่สุดก็คือการบรรยายที่<br />

3<br />

ใกล้เคียงความจริงที่สุด ทุนเป็นปรสิตในเชิงนามธรรม เป็นแวมไพร์<br />

ที่ไม่มีวันดูดเลือดอิ่ม และเป็นผู้สร้างซอมบี้” 4 Steven บอกว่า “ทุนนิยม<br />

เป็นหนังเลือดสาด (splatter film) ที่น่าขนลุก น่าขยะแขยงที ่สุดที ่เรา<br />

จะได้เห็น” และเสริมว่า “เราทุกคนต่างอยู ่ในหนังเลือดสาดเรื่อง<br />

5<br />

เดียวกันและเราก็ควรรังเกียจมันถึงที่สุด” 6<br />

แม้จะไม่ใช่หนังประเภทเลือดสาด แต่ ลัดดาแลนด์ ก็แสดง<br />

ให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่าทุนนิยมต่างหากที่เป็นความสยดสยอง<br />

ที่แท้จริง ไม่ใช่พวกผีที่ออกมาให้เราเห็นแค่ประปราย และทุนนิยม<br />

เปลี่ยนเราให้เป็น ‘ปีศาจร้าย’ ได้อย่างไร หนังเรื่องนี้สื่อออกมาว่า<br />

ต้านทุนนิยมอย่างค่อนข้างชัดเจน และยังทำาได้ดีมากในการทำาให้<br />

เราเห็นหรือนึกถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างสองด้าน โดยด้านหนึ่ง<br />

3<br />

ในความหมายที่ว่ามืดหม่น น่าสะพรึงกลัว ประหลาดพิสดาร<br />

4<br />

Mark Fisher, Capitalist Realism: Is There No Alternative? (Winchester:<br />

Zero Books, 2009), 15.<br />

5<br />

Mark Steven, Splatter Capital: A Guide for Surviving the Horror<br />

Movie We Collectively Inhabit (London: Repeater Books, 2017), 45.<br />

6<br />

Ibid., 46.<br />

13


คือความเหลื่อมลำ้าทางชนชั้น ความมีขึ้นมีลงของระบบทุนนิยม<br />

และความเพ้อฝันเรื่องการโยนความรับผิดชอบไปที่ปัจเจก (selfresponsibilization)<br />

ซึ่งสร้างแรงปรารถนาต่างๆ ำ้าจุนระบบทุนนิยม ที่ค<br />

เอาไว้ กับอีกด้านหนึ่งคือภาวะบีบคั้นทางจิต คนที่ซึมเศร้า คนที่<br />

หมดไฟ คนที่ฆ่าตัวตาย และฆาตกรสังหารหมู่ต่างหากที่เป็นสิ่งที่<br />

แสดงออกชัดว่าเรากำาลังอยู่ในทุนนิยมยุคปลาย ไม่ใช่พวกศาสดา<br />

พยากรณ์จอมปลอมที่เครื่องจักรชวนเชื่อของทุนนิยมป่าวประกาศ<br />

ว่าเป็นนักคิดค้น ผู้ประกอบการ และ ‘ผู้นำาทางความคิด’ อันที่จริง<br />

แล้ว ผู้มีภาวะซึมเศร้าสามารถบอกความจริงเกี่ยวกับทุนนิยมที่<br />

ไม่มีใครกล้าพูดถึงได้ดีกว่าผู้นำาทางความคิดเสียอีก<br />

อย่างแรกเลยก็คือ การถามว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากความไม่<br />

สมดุลทางเคมีในสมองหรือปัจจัยด้านสังคมกันแน่นั้นเป็น<br />

คำาถามที่ผิด นี่เป็นเรื่องที่เราไม่อาจลดทอนให้เหลือแค่เลือกอย่างใด<br />

อย่างหนึ่งได้ ในประเด็นเรื่องโรคซึมเศร้า Mark Fisher กล่าวว่า<br />

‘เรื่องส่วนตัวไม่เคยใช่เรื่องส่วนตัวจริงๆ’ (The personal is impersonal) 7<br />

โดยหมายความว่าเรื่องส่วนตัวนั้นเป็นเรื่องของส่วนรวมด้วย<br />

7<br />

Mark Fisher, Ghosts of My Life: Writings on Depression, Hauntology<br />

and Lost Futures (Winchester: Zero Books, 2013), 28.<br />

14


เพราะฉะนั้นปัญหา ‘ส่วนตัว’ จึงอาจแพร่หลายหรือพบได้ทั่วไป<br />

เราอาจอธิบายแบบนี้ก็ได้ว่า เรื่องส่วนตัวนั้นมีความแยกย่อย เต็ม<br />

ไปด้วยความขัดแย้ง และไม่ใช่ว่าปราศจากความย้อนแย้งภายใน ก<br />

ไม่ได้เท่ากับ ก แล้วใน ก ยังมีส่วนที่ไม่ใช่ ก อยู่ด้วย นี่เป็นเพราะว่า<br />

8<br />

เรื ่องส่วนตัวมักมีสิ ่งที ่ไม่ใช่เรื ่องส่วนตัวแทรกอยู ่ระหว่างกลางเสมอ<br />

บอกได้ยากว่าอันหนึ่งเริ่มตรงไหนและอีกอันสิ้นสุดที่ใด เราเป็น<br />

สิ่งมีชีวิตที่จำาต้องต้องขัดแย้งในตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และมีทั้งสิ่ง<br />

ที่เป็นส่วนตัวและไม่เป็นส่วนตัวในตัวเรา สุขภาพจิตตั้งอยู่บน<br />

พรมแดนระหว่างสิ่งที่อยู ่ภายใน/ความเป็นส่วนตัวและสิ่งที ่อยู่<br />

ภายนอก/ความไม่เป็นส่วนตัว ไม่อาจลดทอนให้เหลือแค่สิ่งที่<br />

อยู่ภายในหรือสิ่งที่อยู่ภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่เป็นผล<br />

จากการปะทะของทั้งสองบริเวณ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่สามารถ<br />

ละเลย ‘เบื ้องหลัง’ ที่เป็นทุนนิยมได้แม้ในตอนที่เราพูดถึงเรื่อง<br />

‘ส่วนตัว’ เราปะทะกับเบื้องหลังนี้อยู่ตลอดเวลา ซึ ่งทำาให้ใคร<br />

หลายๆ คนประสบความทุกข์ทรมานทางจิตได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ<br />

8<br />

ดูโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Todd McGowan, Emancipation After Hegel:<br />

Achieving a Contradictory Revolution (New York: Columbia University<br />

Press, 2019), Chapter 1.<br />

15


พูดอีกอย่างก็คือ ทุนได้เข้ามาดำาเนินการอยู่ในระดับจิตใจของ<br />

บุคคลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โครงสร้างทางสังคมและอำานาจสามารถ<br />

พบได้ ‘ภายใน’ ตัวของเราเอง เมื่อใดที่เรามองข้ามเบื้องหลังนี้ไป<br />

ก็จะเห็นว่ามีแต่ปัจเจกเท่านั้นที่เป็นผู้ต้องรับผิดชอบและสมควร<br />

ถูกตำาหนิ เมื่อปัญหาสังคมไม่ว่าจะเรื่องอะไรถูกทำาให้เป็นปัญหา<br />

ของใครของมัน ทางแก้แต่ละทางก็จะถูกกำาจัดความเป็นการ<br />

เมืองออกไป (de-politicized) และเอื้อเฟื้อต่อทุน เราอาจเรียก<br />

กระบวนการนี้ว่า ‘การป้ายสีให้เป็นปีศาจ’ (demonization) ซึ่ง<br />

ทำาให้คนยิ่งกล่าวโทษตัวเองและซึมเศร้าหนักขึ้นไปอีก เราจะเห็น<br />

กระบวนการนี้เกิดขึ้นใน ลัดดาแลนด์ น่าเสียดายที่ตอนจบของหนัง<br />

ความรู้สึกรังเกียจทุนนิยม ซึ่งสามารถใช้ส่งเสริมการเมืองเพื่อ<br />

การปลดปล่อย กลับถูกแทนที่ด้วยความโล่งใจและความปรองดอง<br />

และการวิเคราะห์เชิงระบบถูกแทนที่ด้วยการวิจารณ์บุคคลรายตัว<br />

ไปซะเฉยๆ ข้อบกพร่องตรงนี้ทำาให้หนังมีความสอดคล้องกับ ‘โลก<br />

สัจนิยมแบบทุน’ คือ ถึงแม้จะมีลักษณะต่อต้านทุนนิยม แต่ท้าย<br />

ที่สุดหนังก็ช่วยยืนยันว่าทุนนิยมเป็นเส้นขอบฟ้าที่เราไม่อาจข้าม<br />

ผ่านไปได้<br />

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ส่วนแรก<br />

เป็นการอรรถาธิบายแนวคิดเรื่องโลกสัจนิยมแบบทุนของ Mark<br />

16


Fisher ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ของเรา โดยเน้นไปที่<br />

ความพยายามของ Fisher ในการสร้างความเป็นการเมืองให้กับ<br />

สุขภาพจิตเสียใหม่ในบริบทของอัตราความเจ็บป่วยทางจิตที่เพิ่ม<br />

สูงขึ้นทั่วโลก Fisher ไม่ได้จะบอกว่าความเจ็บป่วยทางจิตทั้งหมดมี<br />

สาเหตุมาจากทุนนิยม เขาไม่ใช่พวกที่มีทรรศนะแบบลดทอนทาง<br />

เศรษฐกิจ (economic reductionist) หรือนิยัตินิยม (determinist)<br />

แต่ประเด็นที่เขาจะบอกมีอยู่ว่า การมองว่าความเจ็บป่วยทางจิตไม่มี<br />

ความเกี่ยวข้องกับทุนนิยมเลยนั้น เป็นฐานคติที่ใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น<br />

การรักษาอาการเจ็บป่วยทางจิตจึงไม่อาจไม่เกี่ยวกับการเมืองที่<br />

ต่อต้านทุนนิยมและการเมืองเพื ่อการปลดปล่อย กล่าวอีกอย่างก็คือ<br />

ความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะรักษาโรคซึมเศร้าโดยไม่เผชิญหน้า<br />

กับทุนนิยมเป็นได้เพียงการเลี้ยงไข้หรือทำาให้อาการแย่ลง (ซึ่งยิ่ง<br />

ทำาให้บริษัทยายักษ์ใหญ่รวยขึ้น อะไรแบบนี้) เท่านั้น ในส่วนที่สอง<br />

ผมนำางานของนักวิชาการท่านอื่นๆ มาเสริมแนวคิดของ Fisher<br />

ในเรื่องที่ว่า ทำาไมความเหลื่อมลำ้าทางเศรษฐกิจ การงาน และ<br />

ความเพ้อฝันเรื่องการโยนความรับผิดชอบไปที่ปัจเจกล้วนเป็น<br />

สาเหตุหลักๆ ที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า สิ่งที่ต้องการจะสื่อ<br />

ในส่วนนี้ก็คือ การประเมินคุณค่าของงานเสียใหม่ การลดชั่วโมง<br />

ทำางานลงขนานใหญ่ การเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมใน<br />

17


ด้านการจัดสรรกระจายทรัพยากรและความมั่งคั่งกลับสู่สังคม<br />

(redistributive justice) และการจัดตั้งการต่อสู้เพื่อล้มล้างทุนนิยม<br />

ล้วนเป็นยาต้านเศร้าที่เรานำามาใช้ได้ทั้งสิ้น ในส่วนสุดท้าย ผมจะ<br />

วิเคราะห์ ลัดดาแลนด์ ผ่านกรอบของโลกสัจนิยมแบบทุนและความ<br />

ทุกข์ทรมานทางจิต โดยถอดสารที่แสดงความต่อต้านทุนนิยม<br />

ออกมาพร้อมๆ กับชี้ให้เห็นถึงข้อจำากัดของหนัง<br />

18


I. Mark Fisher และโลกสัจนิยมทุนนิยม<br />

นักทฤษฎีวัฒนธรรมและอาจารย์ประจำา Goldsmiths College<br />

ผู้ล่วงลับ Mark Fisher (1968-2017) เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากบล็อก<br />

ชื่อ ‘K-punk’ ที่โด่งดังของเขา (หลายปีก่อนที่ Facebook, Twitter<br />

หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่คล้ายกันจะทำาให้คนเลิกเขียนบล็อก)<br />

และหนังสือที่ชื่อ Capitalist Realism ทั้งนี้ Fisher ไม่ได้เป็นคนแรก<br />

ที่คิดคำาว่า capitalist realism (โลกสัจนิยมแบบทุน) ขึ้นมา แต่เป็น<br />

เขานี่แหละที่เปลี่ยนคำาคำานี้ให้เป็นแนวคิดเชิงวิพากษ์สำาหรับการ<br />

วิเคราะห์ในเชิงทฤษฎีและเพื่อเปลี่ยนโลก โลกสัจนิยมแบบทุน<br />

บรรยายทั้งสภาพที่เป็นวัตถุวิสัยและอัตวิสัย ดังที่ได้มีนักวิชาการ<br />

สองท่านตั้งข้อสังเกตไว้ แนวคิดนี้ทำาให้เราสามารถเห็น “(1) ความ<br />

รุนแรงซึ่งก่อโดยทุนนิยมซึ่งคอยแต่หาโอกาสจะเพิ่มแหล่งทุนและ<br />

ยุทธศาสตร์การสะสม (2) ความไม่มั ่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและ<br />

21


อารมณ์ของสังคม ความเสี่ยงจากความเป็นเจ้าของกิจการ (entrepreneurial<br />

risk society) ที่เป็นอยู่ และ (3) วิธีการที่สิ่งต่างๆ เหล่านี้<br />

หลอมรวมกันเป็น ‘สามัญสำานึก’ … ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ซึ่ง<br />

ระบบทุนนิยมแบบกาสิโน หรือระบบที่ผู้ชนะได้ไปทั้งหมดอย่างไม่<br />

ยุติธรรม ดูจะได้รับความเห็นชอบจากคนทั่วไป” ที่สำาคัญไม่แพ้กัน<br />

1<br />

ก็คือ มันทำาให้เราเห็นจุดที่จะเข้าไปดำาเนินการแทรกแซงต่างๆ ซึ ่ง<br />

อาจรบกวนพิกัดของความเป็นจริงของเราได้ เรายังสามารถโค่นล้ม<br />

โลกสัจนิยมแบบทุนลงได้ เพราะมันไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดมาตาม<br />

ธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่ตายตัวไม่มีวันเปลี่ยน อนาคตหลังยุค<br />

ทุนนิยมหรือแบบคอมมิวนิสม์ยังคงเป็นไปได้อยู่ ดังที่ Fisher<br />

เขียนอธิบายไว้ “การเมืองเพื่อการปลดปล่อยจะต้องคอยทำาลาย<br />

ภาพลักษณ์ที่ว่ามันเป็น ‘ระเบียบทางธรรมชาติ’ ลงซะ ต้อง<br />

เปิดโปงว่าสิ่งที่เราถูกพร่ำาบอกว่าจำาเป็นต้องเป็นแบบนี้และไม่มี<br />

ทางเลี่ยงได้นั ้น ที่จริงแล้วเป็นแค่ความเป็นไปได้แบบหนึ่ง และ<br />

จะต้องเปลี่ยนสิ่งที่ก่อนหน้านี้ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ให้กลายเป็น<br />

1<br />

Alison Shonkwiler and Leigh Claire La Berge, “Introduction: A<br />

Theory of Capitalist Realism” in Reading Capitalist Realism, eds. Alison<br />

Shonkwiler and Leigh Claire La Berge (Iowa City: University of Iowa<br />

Press, 2014), 7.<br />

22


สิ่งที่เราสามารถทำาสำาเร็จได้ด้วยเช่นกัน” 2<br />

Capitalism Realism ตีพิมพ์ขึ้นในปี 2009 ซึ่งก็คือหลังวิกฤตการณ์<br />

ทางการเงินครั้งใหญ่ในช่วงปี2007-08 อย่างไรก็ดี พวกตัวการที่เป็น<br />

ต้นเหตุของวิกฤตการณ์ครั้งนั้นซึ่งทำาให้คนจำานวนมากต้องตกงาน<br />

เสียบ้าน และจบชีวิตไป ไม่เคยถูกนำาตัวมาดำาเนินคดีแต่อย่างใด<br />

ยิ่งไปกว่านั้น ธนาคารยังกลับได้รับการช่วยเหลือให้รอดพ้นจาก<br />

วิกฤตด้วยเงินภาษีของประชาชน เนื ่องจากสถาบันเหล่านี้ “ใหญ่เกิน<br />

กว่าจะยอมให้ล้มไปได้” กลุ่มคณาธิปไตยทางการเงินระดับโลก<br />

เพียงไม่กี่คนกลับยิ่งรวยและเรืองอำานาจกว่าเก่า เสรีนิยมใหม่<br />

สูญเสียความน่าเชื่อถือลงไป แต่ยังเดินโซเซต่อไปข้างหน้าได้<br />

ไม่มีใครพยายามสำารวจทางเลือกอื ่นๆ ที ่ไม่ใช่ทุนนิยมอย่างจริงๆ จังๆ<br />

แม้กระทั่งพวกฝ่ายซ้าย ไม่นานต่อมา ทุกอย่างก็กลับสู่สภาพเดิม<br />

โดยไม่มีอะไรเปลี่ยน Peter Fleming ตั้งข้อสังเกตว่า “ขณะที ่ชนชั ้น<br />

ปกครองของโลกเกือบถูกกวาดออกไปเรียบตอนช่วงเศรษฐกิจ<br />

ตกต่ำาในทศวรรษ 1930 (หลังวิกฤตการเงินปี 2007-08) พวกเขา<br />

กลับร่ำารวยขึ้นอย่างมหาศาล ผ่านการผูกขาดหรือการมีผู้เล่น<br />

2<br />

Fisher, Capitalist Realism, 17.<br />

23


น้อยรายในตลาด (oligopolization) เป็นต้น” 3 Fisher พยายามเสนอ<br />

บทวิพากษ์ทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์ที่จะอธิบายว่าทำาไม<br />

วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งล่าสุดจึงไม่สามารถตอกฝาโลงให้<br />

ทุนนิยมแบบเสรีนิยมใหม่ได้ เขาเขียน Capitalist Realism ด้วย<br />

สไตล์ที่กระตุ้นความคิดและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่ง — ดังที่คำาประกาศ<br />

ภารกิจของ Zero Books ผู้ทำาให้หนังสือเล่มนี้โด่งดังระบุไว้ —<br />

“มีความเป็นปัญญาชนโดยไม่เป็นวิชาการ และเป็นที่นิยมโดยไม่ได้<br />

พยายามเอาใจคนส่วนใหญ่” เอาสั ้นๆ ก็คือ Fisher เขียนงานทฤษฎี<br />

ที่อ่านเข้าใจง่ายสำาหรับ ‘คนทั่วไป’ โดยไม่ได้ดูถูกคนอ่าน<br />

Fisher เป็นที่ชื่นชอบมากเป็นพิเศษในหมู่ฝ่ายซ้ายและ<br />

นักเคลื่อนไหวรุ่นหลังๆ คนเหล่านี้เป็นคนรุ่นแรกที่เกิดในยุคของ<br />

สัจนิยมแบบทุน ในโลกที่ “มีการขยับไปทางขวาครั้งใหญ่” โดยทั่วไป<br />

4<br />

แล้ว กลุ่มมิลเลนเนียลในโลกตะวันตกจะมีการศึกษาสูงกว่าและ<br />

3<br />

Peter Fleming, The Death of Homo Economicus: Work, Debt and the<br />

Myth of Endless Accumulation (London: Pluto Press, 2017), 47.<br />

4<br />

François Cusset, How the World Swung to the Right: Fifty Years of<br />

Counterrevolutions, trans. Noura Wedell (South Pasadena: Semiotext(e),<br />

2018), 15.<br />

24


ทำางานหนักกว่ารุ่นพ่อแม่5 หลายๆ คน ‘ได้รับการเตรียมพร้อม’<br />

มาตั้งแต่เด็กเพื่อให้ประสบความสำาเร็จ กระนั้น หลายคนกลับไม่<br />

สามารถหางานประจำาที่จ่ายค่าตอบแทนดีได้ หรือบางคนก็เลิก<br />

หางานแบบนี้ด้วยซำ้า ด้วยเหตุนี้ กลุ่มคนเหล่านี้จึงเลื่อนฐานะลง<br />

และมีความเปราะบางทางสังคมยิ่งกว่ารุ่นพ่อแม่อันเป็นผลมาจาก<br />

การที่พวกเสรีนิยมใหม่ได้ทำาลายรัฐสวัสดิการไปแล้ว นอกจากนี้<br />

กลุ่มคนเหล่านี้ยังมีแนวโน้มที่จะวิตกกังวลและซึมเศร้ามากกว่า<br />

อัตราการใช้สารเสพติด การพึ่งพิง และการตายจากการเสพยา<br />

เกินขนาดของกลุ่มมิลเลนเนียลจึงสูงกว่าคนรุ่นพ่อแม่ ไม่น่าแปลกใจ<br />

ที่พวกมิลเลนเนียลหัวก้าวหน้าจึงสนใจโลกสัจนิยมแบบทุนและ<br />

หันไปพึ่งแนวคิดสังคมนิยมแทน (ส่วนมิลเลนเนียลนักปฏิกิริยาหัน<br />

ไปซบลัทธิฟาสซิสม์ [fascism] แนวคิดความสูงส่งของคนขาว [white<br />

supremacism] และแนวคิดสุดโต่งทางศาสนา [religious fanaticism]<br />

แต่ลัทธิฟาสซิสม์ที่ว่าเป็นฟาสซิสม์แบบใหม่ซึ่งเป็นอาการที่แสดง<br />

ออกว่าเรากำาลังอยู่ในโลกสัจนิยมแบบทุน เป็นลัทธิฟาสซิสม์<br />

สำาหรับคนที่เหนื่อยล้า ถูกกระทำาให้ขายหน้า และต้องการล้างแค้น<br />

5<br />

Malcolm Harris, Kids These Days: Human Capital and the Making<br />

of Millennials (New York: Little, Brown and Company, 2017).<br />

25


ดังที่ Franco Berardi ตั้งข้อสังเกตไว้ “ลัทธิฟาสซิสม์ยี่ห้อใหม่ไม่ได้<br />

ถือกำาเนิดขึ้นมาจากความเคลิบเคลิ้มไปกับแนวคิดฟิวเจอร์ริสม์<br />

แบบคนหนุ่มสาว แต่มาจากความหดหู่ซึมเศร้าที่รู้สึกกันไปทั่วและ<br />

ความมุ่งมั่นของผู้ไร้กำาลังอำานาจที่ต้องการจะแก้แค้น”) 6<br />

ทุนนิยมไม่ได้มีมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ที่จริงแล้วมันอยู่มาเพียง<br />

500-600 ปีเท่านั้น ซึ่งนับว่าค่อนข้างสั้นถ้ามองจากประวัติศาสตร์<br />

ของมนุษยชาติตั้งแต่แรกเริ่ม ระยะที่เป็น ‘สัจนิยม’ นั้นเพิ่งเริ่ม<br />

ไม่กี่ทศวรรษมานี้เอง จุดบ่งชี้ที่สำาคัญก็อย่างเช่นการสิ้นสุดของ<br />

สงครามเย็น การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการประกาศ<br />

‘จุดจบของประวัติศาสตร์’ โดย Francis Fukuyama ซึ่งบอกว่า ประชา-<br />

ธิปไตยแบบเสรีนิยมและทุนนิยมเป็นการพัฒนาด้านการเมือง -<br />

เศรษฐกิจขั้นสูงสุดของมนุษย์และไม่มีอะไรหลังจากนี้ได้อีก<br />

โลกสัจนิยมแบบทุนโยนความคิดเรื่องขั้นสูงสุดของประวัติศาสตร์<br />

มนุษย์ทิ้งไป และเน้นไปที่ความคิดที่ว่าไม่มีอะไรอยู่พ้นไปจาก<br />

ทุนนิยมอีก ใครก็ตามที่ปฏิเสธคาถาศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวล้วนถูก<br />

ประณามอย่างไม่ปรานีว่าเป็นพวกอ่อนต่อโลกและไม่อยู่กับความ<br />

2019), 45.<br />

6<br />

Franco Berardi, The Second Coming (Cambridge: Polity Press,<br />

26


เป็นจริง หรือยิ่งแย่กว่านั้นก็คือ ถูกหาว่าเป็นพวกนิยมเผด็จการ<br />

อำานาจเบ็ดเสร็จและกระหายความรุนแรง ในโลกสัจนิยมแบบ<br />

ทุน การต่อต้านการปฏิวัติเป็นจุดยืนที่เป็นมาตรฐานปกติ<br />

อุดมการณ์ทุกวันนี้มีหน้าที่หลักอยู่ตรงนี้นี่เอง “การปิดกั้นทาง<br />

อุดมการณ์ในโลกที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันนี้ หน้าที่หลักของมันไม่ใช่<br />

การกำาจัดขบวนการต่อต้านที่เกิดขึ้นจริงๆ เพราะนั่นเป็นหน้าที่<br />

ของกลไกการปราบปรามของรัฐ แต่คือการกำาจัดความหวัง เพื่อ<br />

ชิงประณามอย่างทันท่วงทีว่า ความพยายามใดๆ ก็ตามที่วิพากษ์<br />

สิ่งที่เป็นอยู่ในตอนนี้จะเปิดทางไปสู่สิ่งเลวร้ายซึ่งมีอะไรอย่างค่าย<br />

กักกันรออยู่ที่ปลายทาง” 7 พูดอีกอย่างก็คือการต่อสู้เพื่อล้มล้าง<br />

ทุนนิยมเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งถึงไม่นานมานี้ ถ้าว่ากันแค่ใน<br />

ช่วงศตวรรษที่ 20 ก็มีเหตุการณ์อย่างการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917<br />

กระแสชาตินิยมและการต่อสู้เรียกร้องเอกราชในประเทศโลก<br />

ที่สาม การลุกฮือของประชาชนในหลายประเทศทั่วโลกในปี 1968<br />

เป็นต้น และจนถึงไม่นานมานี้ผู้คนยังถกเถียงกันหรือฝันถึงอนาคต<br />

หลากหลายรูปแบบอยู่เลย ซึ่งทางเลือกมีทั้งเป็นแบบทุนนิยม<br />

7<br />

Slavoj Žižek, The Relevance of the Communist Manifesto (Cambridge:<br />

Polity Press, 2019), 17-18.<br />

27


สังคมนิยมประชาธิปไตย (ซึ่งยังมีหลายประเภทให้เลือกได้อีก)<br />

อนาธิปไตย คอมมิวนิสม์ สังคมนิยมแบบตลาด และอะไรต่างๆ<br />

มาวันนี้ การแสวงหาทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่ทุนนิยมถูกเพ่งเล็งว่าเป็น<br />

อุดมการณ์ที่อันตราย และทุนนิยมได้รับการปฏิบัติราวกับว่าเป็น<br />

ฉากหลังที่ไม่มีใครตั้งคำาถามได้ โดยสรุปก็คือ โลกสัจนิยมแบบ<br />

ทุนเป็นอาการที่แสดงออกชัดว่าไม่มีพลังอำานาจใดที่สลักสำาคัญ<br />

มากพอจะต่อกรกับทุนนิยมได้<br />

โลกสัจนิยมแบบทุนทำาให้มุมมองของฝ่ายขวาเป็นสิ ่งที่ปกติ<br />

(อย่างที่ Althusser บอก เรารับรู้โลกความเป็นจริงผ่านอุดมการณ์<br />

เสมอ) มันมีลักษณะคล้ายกับ ‘ชั้นบรรยากาศ’ ในการสร้างความ<br />

ปกติดังกล่าว สำานึกรู้ของเราถูกทำาให้พิกลพิการ Fisher ระบุให้เห็น<br />

วิธีการสามประการเป็นพิเศษ ประการแรก สำานึกรู้ทางชนชั ้นถูก<br />

8<br />

ทำาให้อ่อนแอลงไป โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นแรงงาน พูดให้กว้างกว่านี้<br />

ก็คือ ชนชั้นไม่ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการ<br />

วิเคราะห์และเปลี่ยนแปลงสังคมอีกต่อไป ราวกับว่าปัญหาสังคม<br />

ที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวข้องอะไรกับระบบชนชั้นและทุนนิยมเลย เพราะ<br />

8<br />

Mark Fisher, ‘All of This Is Temporary’: https://www.youtube.com/<br />

watch?v=deZgzw0YHQI&feature=youtu.be<br />

28


ฉะนั้น ความโกรธ ความอับอาย และความรู้สึกว่าไม่ได้รับความ<br />

เป็นธรรมของแรงงานจึงต้องหาทางระบายที่อื่น ซึ่งมีทั้งชาตินิยม<br />

ขวาจัด (far-right nationalism) ประชานิยมเอียงขวา (rightwing<br />

populism) แนวคิดสุดโต่งทางศาสนา (religious fundamentalism)<br />

และการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ (identity politics)<br />

ประการที่สอง เนื่องจากทุนนิยมเป็นขอบฟ้าที่ไม่อาจข้าม<br />

ไปได้ มันจึงต้องปิดกั้นโอกาสใดๆ ก็ตามที่ทำาให้อนาคตที่มีรูปแบบ<br />

แตกต่างออกไปจากที่เป็นอยู่ดูจะเกิดขึ้นจริงได้ ตัวอย่างใดๆ ของ<br />

โลกที่อยู่ “นอก” ทุนนิยมจะต้องทำาลายลงซะ เพราะถ้ามันเป็น<br />

ไปได้ครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งต่อไปอาจมีอีก 9 เพราะฉะนั้น โลกสัจนิยม<br />

แบบทุนจะต้องทำาให้การรวมตัวเพื่อทดลองกระทำาการใดๆ เพื่อ<br />

เปลี่ยนโลก เป็นเรื่องที่ไม่สามารถจินตนาการได้ ใน<strong>บทนำ</strong>าที่ยัง<br />

เขียนค้างไว้ของต้นฉบับหนังสือเล่มใหม่ชื่อ Acid Communism<br />

Fisher ยกคำาพูดของ Herbert Marcuse มาและเสนอว่า “ช่วงสี่สิบปี<br />

ที่ผ่านมาเราได้เห็นการขับไล่ปัดเป่า ‘ผีร้ายของโลกที่สามารถเป็น<br />

9<br />

Mark Fisher, K-Punk: The Collected and Unpublished Writings of<br />

Mark Fisher (2004-2016), ed. Darren Ambrose (London: Repeater Books,<br />

2018), 585.<br />

29


เสรีได้’” โลกสัจนิยมแบบทุนคอยแต่กีดขวาง “ความสามารถ<br />

10<br />

ร่วมกันของกลุ่มที่จะสร้าง ใส่ใจและเอ็นจอย” “การปรากฏขึ้นของ<br />

ความอุดมแบบสังคมนิยม (Red Plenty)” 11 Fisher ยังเขียนต่อไป<br />

อีกว่า “จะให้ดีที่สุด เราต้องเข้าใจว่าเสรีนิยมใหม่คือการดำาเนินการ<br />

ที่มีเป้าหมายเพื่อทำาลาย…การลองผิดลองถูกกับสังคมนิยม<br />

ประชาธิปไตยและคอมมิวนิสม์แบบอิสรนิยม (libertarian communism)<br />

ซึ่งกำาลังเบ่งบานในช่วงทศวรรษ 1960 ตอนปลายและ<br />

1970 ตอนต้น” สิ่งที่จากไปพร้อมกับการลองผิดลองถูกพวกนี้<br />

12<br />

ก็คือ ความเป็นไปได้ที่จะมี “มนุษยชาติแบบใหม่ มุมมองแบบใหม่<br />

วิธีคิดแบบใหม่ วิธีรักแบบใหม่” โลกสัจนิยมแบบทุนรู้สึก ‘หลอน’<br />

13<br />

กับการหายไปของขอบฟ้าแบบคอมมิวนิสม์และการทดลอง<br />

ทางสังคมแบบถึงราก รู้สึก ‘หลอน’ กับภาพอนาคตที ่สวยงามและมี<br />

ความเท่าเทียมที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นจริง เพราะมันถูกฆ่าให้ตายไป<br />

10<br />

Ibid., 753.<br />

11<br />

Ibid., 753-54.<br />

12<br />

Ibid., 754.<br />

13<br />

Ibid., 767.<br />

30


ก่อนจะได้สร้างขึ้นมาซะอีก 14 Fisher เรียกมันว่า ‘hauntology’ โดยยืม<br />

15<br />

คำานี้มาจาก Jacques Derrida แต่พลิกความหมายใหม่สำาหรับ Derrida<br />

โลกปัจจุบันถูกหลอกหลอนด้วยผีที่ต้องการชดใช้หรือล้างแค้นให้<br />

กับขบวนการเคลื่อนไหวปฏิวัติที่มีเป้าหมายเพื่อปลดปล่อยเป็น<br />

อิสระซึ่งได้พ่ายแพ้ไป สำาหรับ Fisher โลกปัจจุบันถูก ‘หลอน’<br />

ด้วย ‘อนาคตที่สูญหาย’ ด้วยอนาคตแห่งการปฏิวัติที่มุ่งหวังจะ<br />

ข้ามพ้นระบบคอมมิวนิสม์แบบในศตวรรษที่ 20 และรัฐสวัสดิการ<br />

มันคือยาถอนพิษของโลกสัจนิยมแบบทุนนั่นเอง<br />

และประการที่สาม หากระบบชนชั้นและทุนนิยมไม่มีความ<br />

สลักสำาคัญใดๆ และหากความพยายามปลดปล่อยเป็นอิสระเป็น<br />

เรื่องที่ใครก็จินตนาการไม่ออก อย่างนั้นแล้วจุดสนใจอย่างเดียวที่<br />

เหลืออยู่ก็คือ ปัจเจกซึ่งต้องรับผิดชอบต่อทุกอย่าง (ไม่ว่าจะดีหรือ<br />

เลว) ที่เกิดขึ้นในชีวิต นอกจากตัวปัจเจกแล้วก็ไม่มีอะไรมากกว่า<br />

นั้นอีก เรื่องส่วนตัวก็คือเรื่องส่วนตัว และไม่จำาเป็นต้องเกี่ยวกับ<br />

เรื่องที่ไม่เป็นส่วนตัว ประเด็นทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ<br />

14<br />

Peter Fleming, The Worst Is Yet to Come: A Post-Capitalist Survival<br />

Guide (London: Repeater Books, 2019), 22.<br />

15<br />

Fisher, Ghosts of My Life, 16-21.<br />

31


หรือระหว่างประเทศเสมอไป นี่เป็นอาการที่ชี้ให้เห็นว่าเราอยู่ใน<br />

ทุนนิยมยุคปลาย ซึ่งพื้นที่สาธารณะกำาลังเลือนหายอย่างรวดเร็ว<br />

และถูกครอบงำาด้วยผลประโยชน์ส่วนตนและภาวะหลงตัวเอง เรา<br />

ถูกกักขังอยู่ในตัวของเราเองแบบตรงตามความหมาย ถ้าเรากับ<br />

ตัวเราคืออย่างเดียวกันเสมอ อย่างนั้นแล้วเราก็จะไม่อาจแยก<br />

ออกจากตัวเราเองได้ ไม่สามารถเห็นว่าระบบและโครงสร้างต่างๆ<br />

เข้ามาจัดการชีวิตเราได้อย่างไร และไม่สามารถเข้าร่วมกับคนอื่นๆ<br />

เพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรมในระดับสากลได้ แทนที ่จะเปลี่ยน<br />

โลก เรากลับเปลี่ยนตัวเราให้เหมือนตัวเราเองมากกว่าเดิม<br />

จะว่ากันให้ตรงกันกว่านั้นก็คือ ตามความคิดของ Fisher โลก<br />

สัจนิยมแบบทุนเป็นทั้ง ‘ความเชื่อ’ ที่แพร่หลายและเป็น ‘ทัศนคติ’<br />

ทั่วไป ทั้งสองต่างช่วยกันเปิดทางให้ตลาดขยายตัวอย่างตะกละ-<br />

16<br />

ตะกลามเข้าสู่ทุกอาณาบริเวณของชีวิต และชิงโจมตีการกระทำ าใดๆ<br />

ที่คัดค้านการขยายตัวของมัน<br />

ในฐานะที่เป็นความเชื่อ โลกสัจนิยมแบบทุนยืนกรานว่า<br />

ทุนนิยมเป็นทางเลือกเดียวที่เรามี วลีอื้อฉาวของ Margaret Thatcher<br />

ที่ว่า “มันไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว” (there’s no alternative—TINA)<br />

16<br />

Fisher, K-Punk, 637.<br />

32


เป็นการแสดงความเชื่อดังกล่าวออกมาเป็นคำาพูดได้เหมาะสม<br />

ที่สุดแล้ว ไม่ว่าเราจะคิดยังไง ทุนนิยมก็จะยังอยู่กับเราไปเรื่อยๆ<br />

เพราะอย่างนี้มันจึงเป็น ‘สัจนิยม’ ยังไงล่ะ ดังคำากล่าวอันโด่งดัง<br />

ของ Fredric Jameson ที่ว่า “ให้จินตนาการว่าโลกล่มสลายยังจะ<br />

ง่ายกว่าจินตนาการว่าทุนนิยมจบสิ้นแล้วซะอีก” 17 พูดอีกอย่าง<br />

ก็คือ โลกสัจนิยมแบบทุนไม่หวังให้เราเชื่อว่าทุนนิยมคือระบบที่ดี<br />

ที่สุด (ในความหมายที่ว่า เป็นที่ต้องการที่สุด มีผลิตภาพสูงสุด<br />

มีประสิทธิภาพที่สุด สร้างสรรค์ที่สุด ยุติธรรมที่สุด ยั่งยืนต่อสิ่ง<br />

แวดล้อมมากที่สุด อะไรแบบนี้) มันยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบาน<br />

ด้วยซำ้าว่าทุนนิยมนั้นเอาเปรียบ ไร้ศีลธรรม เป็นบริโภคนิยม เน้น<br />

ระยะสั้น โลภ รุนแรง ไม่เท่าเทียม ฯลฯ ไม่น่าแปลกใจที่แม้แต่<br />

มหาเศรษฐีอย่าง Bill Gates, Elon Musk และ George Soros ต่างก็<br />

วิจารณ์ทุนนิยม ในแง่นี้ก็ถือว่าทุนนิยมเป็นระบบที่ประหลาดอยู่<br />

เหมือนกัน ระบบอื่นๆ ไม่ยอมให้อะไรแบบนี้เกิดขึ้นโดดเด็ดขาด<br />

ยกตัวอย่างเช่น เราคงไม่สามารถที่จะวิจารณ์จักรพรรดิ กษัตริย์<br />

หรือทรราชในที่สาธารณะได้หากยังคิดจะมีชีวิตอยู่ต่อไป ใน<br />

โลกสัจนิยมแบบทุน เราแค่ต้องเชื่อว่าทุนนิยมเป็นความเป็นจริง<br />

17<br />

Fisher, Capitalist Realism, 2.<br />

33


(ทางการเมือง) แบบเดียวที่เป็นไปได้ก็เท่านั้น มันเป็นเพียงระบบ<br />

เดียวที่ดำาเนินไปได้ เพราะฉะนั้นก็ไปตามนำ้าและทำาใจรับมันซะเถอะ<br />

มันยืนกรานว่าโลกเป็นของมันแบบนี้และจะเป็นแบบนี้ตลอดไป<br />

มันไม่เคยอ้างว่าอนาคตจะดีกว่านี้ มั่งคั่งกว่านี้ และทุกคนจะอยู่ดี<br />

กินดี โลกสัจนิยมแบบทุนไม่มีด้านที่เป็นโลกยูโทเปียอยู่เลย ไม่มี<br />

การเสนอพิมพ์เขียวของอนาคตที่แตกต่างออกไป สิ่งที่มันทำาคือ<br />

ประกาศว่านอกจากทุนนิยมแล้วก็ไม่มีอนาคตแบบอื่นใดอีก ผลก็<br />

คือ โลกสัจนิยมแบบทุนดูเหมือนเป็นความเชื่อที่เน้นตามความเป็น<br />

จริงและไม่เพ้อเจ้อ มันถึงกับอ้างว่าปราศจากอุดมการณ์ด้วยซำ้า<br />

(เนื่องจากมันไม่ขอให้เราเชื่ออะไรเป็นพิเศษ) อย่างไรก็ดี ที่จริงแล้ว<br />

โลกสัจนิยมแบบทุนเป็นอุดมการณ์แบบบริสุทธิ์เลยละ ถ้าอยาก<br />

เข้าใจว่าทำาไมถึงเป็นเช่นนั้น เราจะต้องปรับจุดสนใจจากความเชื่อ<br />

ไปที่การกระทำา<br />

ในฐานะความเชื่อ โลกสัจนิยมแบบทุนดำาเนินไปในลักษณะ<br />

ที่คล้ายกับสิ่งที่ Robert Pfaller เรียกว่าเป็น ‘ภาพลวงตาที่ไม่มีใคร<br />

34


เป็นเจ้าของ’ (illusions without owners) 18 ความเป็นสัจนิยมของ<br />

ทุนนิยมได้รับการยืนยันแม้กระทั่งในตอนที่ไม่มีใครอวดอ้างว่า<br />

ตน ‘ศรัทธา’ ในระบบทุนนิยม และยิ่งไม่มีใครทำาเช่นนั้น ความ<br />

เป็นสัจนิยมของมันก็ยิ่งมีสถานะมั่นคงขึ้นไปอีก มันไม่ต้องรอ<br />

ให้ใครมาสนับสนุน ไม่มีใครต้องออกมาประกาศด้วยความภาค<br />

ภูมิใจว่า “ฉันเชื่อมั่นในระบบทุนนิยม ทุนนิยมเป็นระบบที่ดีที่สุด”<br />

แม้ว่าพวกบ้าอุดมการณ์อย่าง Ayn Rand 19 จะทำาแบบนั้นก็ตามที<br />

ไม่มีใครต้องออกมากรีดร้องว่า “ฉันยินดีตายเพื่อทุนนิยม”<br />

(ในขณะที่คนบางคนเต็มใจจะสละชีวิตเพื่อพระเจ้า ประเทศชาติ<br />

กษัตริย์ หรือเพื่อประชาธิปไตย จักรวรรดิ และอะไรต่างๆ นานา)<br />

กล่าวอีกอย่างก็คือ ไม่มีใครต้องเชื่อในทุนนิยมโดยตรง เช่นเดียว<br />

กับที่ไม่มีใครต้องเชื่อว่าลิฟต์จะพาเราขึ้นไปถึงชั้น 12A หรือว่ารถ<br />

คันสีดำาข้างเราเป็นสีฟ้าเพราะสติกเกอร์ที่แปะอยู่ท้ายรถบอกเรา<br />

ว่า “รถคันนี้สีฟ้า” ความเชื่อ/ธรรมเนียมปฏิบัติทางสังคมเหล่านี้<br />

18<br />

Robert Pfaller, On the Pleasure Principle in Culture: Illusions Without<br />

Owners, trans. Lisa Rosenblatt, Charlotte Eckler and Camilia Nielsen<br />

(London: Verso, 2014), Chapter 2.<br />

19<br />

Lisa Duggan, Mean Girl: Ayn Rand and the Culture of Greed<br />

(Oakland: University of California Press, 2019).<br />

35


จะยังคงอยู่ต่อไปถึงแม้ว่าจะไม่มีใครเป็น ‘ตัวนำา’ ถ้าจะว่ากันจริงๆ<br />

แล้ว สิ่งเหล่านี้ยังคงแพร่หลายต่อไปได้ก็เพราะทุกคนรู้ว่าอะไร<br />

เป็นอะไรต่างหาก “ความรู้เป็นเงื่อนไขของการอุทิศตนต่อภาพ<br />

ลวงนี้” สิ่งที่เรารู้อยู่ในหัวของเราทำาให้เราสามารถเว้นระยะห่าง<br />

20<br />

เท่าที่จำาเป็นจากมัน เพื่อที ่เราจะสามารถทำาตัวเหมือนกับว่าเรา<br />

ไม่รู้หรือมีพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เรารู้ ซึ่งก็คือการเชื่อ<br />

ผ่านการกระทำาของเราแทน ยกตัวอย่างเช่น เพราะผมไม่ได้อะไร<br />

กับโหราศาสตร์ ผมก็เลยนั่งอ่านดวงตัวเองได้อย่างสบายใจ หรือ<br />

อาจมีใครมาบอกผมว่าผ้ายันต์หน้าประตูห้องช่วยไล่วิญญาณร้าย<br />

ได้ทั้งๆ ที่ตัวผมจะไม่ได้เชื่อตามนั้นเลยก็ตาม ในขณะเดียวกัน<br />

เรามักจะโยนความเชื่อเหล่านี้ไปที่คนอื่นที่ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริงที่<br />

เรามองว่าเป็นคนโดนหลอกง่าย หรือบิ๊กอาเตอร์ (the big Other)<br />

ผมอาจจะชอบอ่านดวงก็จริง แต่อย่างน้อยก็ไม่ได้โง่เท่าพวกที่<br />

เชื่อเรื่องโหราศาสตร์จริงๆ ละกัน ผมอาจจะติดผ้ายันต์ที่หน้า<br />

ประตูห้อง แต่อย่างน้อยก็ไม่เหมือนพวก ‘บ้านนอก’ กับพวกที่<br />

งมงายเรื่องไสยศาสตร์เพราะผมรู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร เช่นเดียวกัน<br />

Fisher ช่วยเตือนให้เราระลึกว่าโลกสัจนิยมแบบทุนไม่ได้ถือสาการ<br />

20<br />

Pfaller, On the Pleasure Principle in Culture, 41.<br />

36


ต่อต้านทุนนิยมบางรูปแบบ หรืออาจจะต้องพึ่งพิงมันด้วยซำ้าไป<br />

มันกลับกลายเป็นว่าการต่อต้านทุนนิยมรูปแบบเหล่านี้ช่วยคำ้าจุนโลก<br />

สัจนิยมแบบทุนเอาไว้21 เขาอธิบายเอาไว้แบบนี้ “ตราบใดที่เรา<br />

เชื่อ (ในใจเรา) ว่าทุนนิยมมันแย่ เราก็สามารถเข้าร่วมในกิจกรรม<br />

ทุนนิยมได้…เราเชื่อว่าเงินเป็นแค่สัญลักษณ์ที่ไร้ความหมาย ไม่มี<br />

ค่าอะไรในตัวมันเอง แต่เรากลับทำาเหมือนกับว่ามันเป็นสิ่งที่มี<br />

คุณค่าศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้…เราแสดงออกถึงความหมกมุ่นกับ<br />

เงินด้วยการกระทำาของเราได้ก็เพราะว่าเราได้รักษาระยะห่างที่ดู<br />

ย้อนแย้งจากเงินในหัวของเราแล้ว” 22 ช่องว่างระหว่างความรู้กับ<br />

การกระทำานั้นสำาคัญยิ่งต่อการทำาความเข้าใจโลกสัจนิยมแบบทุน<br />

หากปราศจากช่องว่างนี้ โลกสัจนิยมแบบทุนจะไม่สามารถอยู่ต่อ<br />

ไปได้ โดยสรุปก็คือ โลกสัจนิยมแบบทุนดำาเนินไปได้ก็เพราะว่าเรา<br />

“รู้ตื้นลึกหนาบาง” เกี่ยวกับทุนนิยม ในหัวของเรา เรารู้ว่าทุนนิยม<br />

ยุคปลายมีอะไรหลายๆ อย่างที่ไม่ชอบมาพากลอย่างรุนแรงและ<br />

รู้ว่าเราจำาเป็นต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก แต่ใน<br />

ทางการกระทำา เราก็ยังคงบริโภคสินค้า สะสมทุน วิ่งไล่ตาม<br />

21<br />

Fisher, Capitalist Realism, 12.<br />

22<br />

Ibid., 13.<br />

37


ผลประโยชน์ส่วนตัวในฐานะปัจเจกที่เป็นเอกเทศ ในฐานะซับเจ็ค<br />

ของทุนนิยมที่ดี การกระทำาของเราจะช่วยรับประกันว่าจะไม่มี<br />

ทางเลือกอื่นใดอีกนอกจากทุนนิยมและความเปลี่ยนแปลงใดๆ<br />

ก็ตามจะเกิดขึ้นได้ภายในกรอบของทุนนิยมเท่านั้น เพราะฉะนั้น<br />

เราจึงต้องมองให้ออกว่าเราผูกติดอยู่กับทุนนิยมแค่ในการกระทำา<br />

เท่านั้น แต่ในความรู้สึกนึกคิดกลับไม่ใช่อย่างนั้น แต่ถึงจะรู้ว่าอะไร<br />

เป็นไร เราทุกคนก็เป็นเหมือน Forrest Gump ในด้านการกระทำา<br />

Forrest Gump เป็นหนังที่พยายามครอบงำาทางอุดมการณ์มากที่สุด<br />

เรื่องหนึ่งที่เคยมีมา มันเป็นเรื่องของคนปัญญาอ่อนที่มี IQ เพียง 75<br />

(แสดงโดย Tom Hanks) ผู้ไม่เคยตั้งคำาถามกับอะไรเลย ทำาตามกฎ<br />

ตลอดเวลา ไหลไปตามกระแสของคนส่วนมาก สุดท้ายก็ประสบ<br />

ความสำาเร็จและรวยมหาศาล ตรงกันข้ามกับ Jenny (ตัวละครผู้หญิง<br />

ตัวเอกซึ่งแสดงโดย Robin Wright) ซึ่งตอนเป็นเด็กถูกพ่อละเมิด<br />

ทางเพศและเมื่อโตขึ้นได้ผันตัวไปเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี<br />

และต่อต้านสงครามเวียดนาม ทดลองใช้ชีวิตนอกกรอบรวมทั้ง<br />

ชีวิตรักด้วย สุดท้ายลงเอยด้วยการเป็นเอดส์ตาย หนังต้องการ<br />

จะสอนอะไรเรากันแน่? ทำาตัวแบบคนปัญญาอ่อนถึงจะไม่ได้<br />

ปัญญาอ่อนสิ แล้วเดี๋ยวทุกอย่างก็จะดีเอง<br />

ในฐานะที่เป็นทัศนคติ โลกสัจนิยมแบบทุนบ่มเพาะการยอม<br />

38


จำานน ความหมดแรง คติหยามโลก ความสิ้นหวัง และการยอม<br />

แพ้ จะบอกว่าทุนนิยมครอบงำาจิตใจและอารมณ์ความรู้สึกของเรา<br />

ก็ได้ แน่นอนว่าทัศนคตินี้มีที่มาจากโลกสัจนิยมแบบทุนในฐานะที่<br />

เป็นความเชื่อ Fisher ถกเถียงว่า “การขีดฆ่าอนาคตอย่างค่อยเป็น<br />

ค่อยไปเกิดขึ้นพร้อมๆ ไปกับการทำาให้คนลดความคาดหวังลง” 23<br />

หากอนาคตไม่มีวันนำามาซึ่งสิ่งใหม่ๆ อย่างนั้นการตั้งตารอ<br />

ทำาอะไรบางอย่างก็ไร้ประโยชน์ ไม่มีความหวังอะไรเหลืออีกแล้ว<br />

เราแค่ต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เป็นอยู่และเอาตัวรอดให้ได้<br />

ความเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ การอยู่กับ<br />

ความเป็นจริงหมายถึงการยอมรับข้อเท็จจริงนี้ด้วยความหมดอาลัย<br />

ตายอยาก ทัศนคติเช่นนี้บ่มเพาะและคำ้าจุนไว้โดย “การกัดกร่อน<br />

จินตนาการทางสังคม” โลกสัจนิยมแบบทุนมี “ความสามารถที่จะ<br />

ขัดขวางจินตนาการทางสังคม” อย่างสูง โดยสรุปก็คือ ทัศนคติ<br />

24<br />

ของโลกสัจนิยมแบบทุนสะท้อนให้เห็น “การครอบงำาความรู ้สึก<br />

ความปรารถนา และจินตนาการทางจิตใจ ทำาให้ความมุ่งมั่นจมจ่อม<br />

23<br />

Fisher, Ghosts of My Life, 8.<br />

24<br />

Mark Fisher and Jodi Dean, ‘We Can’t Afford to Be Realists: A<br />

Conversation’ in Reading Capitalist Realism, eds. Alison Shonkwiler and<br />

Leigh Claire La Berge (Iowa City: University of Iowa Press, 2014), 28.<br />

39


อยู่ในภาวะเศร้าโศกและการมองโลกในแง่ร้าย ทุกวันนี้สิ่งที่<br />

ครอบงำาเราหลักๆ แล้วคือความรู้สึกที่เห็นพ้องกันอย่างแพร่หลาย<br />

หรืออาจจะบอกว่าเป็นความเป็นจริงก็คงได้ ว่ามันไม่มีทางเลือก<br />

อื่นใด และท้ายที่สุดแล้วก็คืออนาคตก็ไม่มีจริง” 25<br />

เราจะเห็นการยอมจำานนและการขาดจินตนาการได้อย่าง<br />

ชัดเจนในวัฒนธรรมสมัยนิยมและการเมือง ในโลกสัจนิยม<br />

แบบทุน สิ่งใหม่ๆ หรืออนาคตนั้นหายไปหมดสิ้น Fisher ชี้ให้เห็น<br />

ว่าในศตวรรษที่ 21 “ชีวิตประจำาวันนั้นเร่งรีบขึ้น แต่วัฒนธรรม<br />

กลับเชื ่องช้าลง” อันที่จริงแล้ว วัฒนธรรมสมัยนิยมดูจะถูกแช่<br />

26<br />

แข็งและซำ้าซาก เต็มไปด้วยการชวนให้นึกถึงอดีตและมองย้อน<br />

กลับไป หมกมุ่นอยู่กับการเวียนเอาของเก่ามาใช้ใหม่และการนำา<br />

ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากยุค 1960 จนถึง 1990 มาปัดฝุ่น<br />

ใหม่ อะไรแบบนี้เป็นต้น ข้อแตกต่างที่สำาคัญอยู่ตรงที่เราเสพ<br />

สินค้าทางวัฒนธรรมจากศตวรรษที่ 20 ด้วยเทคโนโลยี 4k หรือ<br />

ในยุคอินเทอร์เน็ต 4.0 เท่านั้น “สิ่งที่เราจะได้เห็น…มีแค่ของเดิมๆ<br />

แค่บนจอที่ละเอียดคมชัดและความเร็วในการเชื่อมต่อที่มากกว่า<br />

25<br />

Srecko Horvat, Poetry from the Future (UK: Allen Lane, 2019), 7.<br />

26<br />

Fisher and Jodi Dean, ‘We Can’t Afford to Be Realists’, 30.<br />

40

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!