08.11.2014 Views

2 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

2 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

2 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

สารประธาน<br />

กรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

การพัฒนาระบบมาตรวิทยาของประเทศให้มีความเข้มแข็งสามารถนำาไปใช้<br />

ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือของผลการวัดและ<br />

รับประกันคุณภาพในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการให้ได้อย่างถูกต้องและเที่ยงตรง<br />

ถือเป็นภารกิจสำาคัญของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติที่จะนำาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ<br />

ความเจริญของประเทศด้วย “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม”<br />

ซึ่งเป็นนโยบายหลักประการหนึ่งของการกำาหนดยุทธศาสตร์เชิงบูรณาการสู่การ<br />

ปฎิบัติงานของหน่วยงานภายใต้การกำากับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางนโยบายของรัฐบาล<br />

ในปี 2554 ที่ผ่านมาการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของประเทศมีความก้าวหน้า<br />

มากขึ้นเป็นลำาดับ ส่งผลให้ในปัจจุบันการสถาปนาหน่วยวัดแห่งชาติ โดยเฉพาะ<br />

มาตรฐานทางด้านฟิสิกส์และเคมี มีการพัฒนาขีดความสามารถไปได้อย่างกว้างขวาง<br />

ในขีดความสามารถด้านการสอบเทียบและการวัด (Calibration and Measurement<br />

Capability : CMC) ประมาณกว่า 400 รายการวัดซึ่งสามารถรองรับต่อความต้องการ<br />

ของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการ<br />

ส่งเครื่องมือไปสอบเทียบยังต่างประเทศได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดีเพื่อเสริมสร้าง<br />

ศักยภาพของระบบมาตรวิทยา โดยเฉพาะมาตรฐานด้านเคมี สถาบันฯ ได้มีการ<br />

พัฒนาขีดความสามารถของมาตรฐานทางด้านเคมี โดยได้ริเริ่มดำาเนินแผนงาน<br />

โครงการก่อสร้างอาคารห้องปฎิบัติการมาตรวิทยาเคมี เพื่อใช้เป็นสถานที่<br />

สำาหรับการผลิตวัสดุอ้างอิงและวัสดุอ้างอิงรับรองทางเคมีตามมาตรฐานสากลสำาหรับ<br />

การตรวจวัดและวิเคราะห์ทางเคมี ซึ่งมีแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องสูงขึ้น<br />

อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการแพทย์ เป็นต้น<br />

การผลักดันนโยบายด้านมาตรวิทยาเป็นเรื่องสำาคัญต่อการดำาเนินงานของ<br />

ภาคอุตสาหกรรมที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้ประชาชน<br />

มีความอยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน ดังนั้น ระบบมาตรวิทยาจะเป็นหลักประกันและกุญแจ<br />

สำาคัญในการขจัดข้อกีดกันทางการค้าด้านเทคนิคสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ<br />

ภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ<br />

ในการก้าวไปเข้าสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศและประชาคมอาเซียนต่อไป<br />

2<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)<br />

ดร. ปลอดประสพ สุรัสวดี<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

ประธานกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ


สารผู้อำานวยการ<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการพัฒนามาตรฐาน<br />

การวัดของชาติ ได้เล็งเห็นถึงความสำาคัญในการเสริมสร้างศักยภาพ โดยได้เร่งพัฒนา<br />

ระบบมาตรวิทยาของชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งสร้างความตระหนัก<br />

ถึงความสำาคัญของระบบมาตรวิทยา และถ่ายทอดความถูกต้องด้านการวัดสู่กิจกรรม<br />

การวัดในประเทศ เพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำาให้ผลผลิตและการบริการของ<br />

ประเทศมีคุณภาพ<br />

ในปี 2554 ได้มีหน่วยงานทางด้านเคมีในระดับสากลร่วมกันเสนอให้เป็น<br />

“ปีเคมีสากล” ภายใต้แนวคิด “เคมี - เพื่อชีวิตเรา อนาคตเรา, Chemistry - our life,<br />

our future” ซึ่งเป็นการสร้างความความตระหนักทางด้านเคมีเพื่อชีวิต เพื่ออนาคตของ<br />

มวลมนุษย์เรา และก็เป็นโอกาสอันดีสำาหรับสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติที่ได้ทำาพิธีวาง<br />

ศิลาฤกษ์อาคารห้องปฏิบัติการมาตรวิทยาเคมี เพื่อใช้เป็นสถานที่สำ าหรับผลิตวัสดุอ้างอิง<br />

และวัสดุอ้างอิงรับรองตามมาตรฐานสากลสำาหรับการตรวจวัด และวิเคราะห์ทางเคมี<br />

นอกจากนั้น สถาบันยังได้มีการพัฒนาระบบมาตรวิทยาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทาง<br />

ด้านการวัดของประเทศ โดยได้มีการพัฒนาขีดความสามารถในหลายๆ ด้าน อาทิ เช่น<br />

การทวนสอบเครื่องวัดความดันโลหิตของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การวิเคราะห์<br />

ผลการตรวจนับสัญญาณเวลาจากดาวเทียมจีพีเอสที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

การพัฒนาวัสดุอ้างอิงทางเคมีและผลงานวิจัยทางด้านมาตรวิทยา โดยผลการวัดที่<br />

เที่ยงตรงจะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือและสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถ<br />

สอบเทียบเครื ่องมือวัดได้อย่างแม่นยำา ซึ ่งส่งผลโดยตรงต่อระบบคุณภาพและ<br />

กระบวนการผลิตของโรงงานต่างๆ ได้ และในขณะนี้ห้องปฺฏิบัติการของสถาบันยังได้<br />

รับการรับรอง ISO/IEC 17025 ทั้งหมดถึง 122 รายการอีกด้วย<br />

จากการดำาเนินการอย่างเข้มแข็งที่ผ่านมา ส่งผลให้ระบบการวัดมีความถูกต้อง<br />

แม่นยำา เชื่อถือได้ และยังเป็นการรับประกันได้ว่างานด้านมาตรวิทยาสามารถสร้าง<br />

ความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมทำาให้นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจ<br />

ขยายการลงทุนในประเทศเพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป<br />

นายสมศักดิ์ ฉากเขียน<br />

รองผู้อำนวยการ (1)<br />

ผู้ทำาการแทนชั่วคราวในตำาแหน่ง<br />

ผู้อำานวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

3


คณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ประธานกรรมการ<br />

ดร. ปลอดประสพ สุรัสวดี<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยี<br />

รองประธานกรรมการ<br />

นายพรชัย รุจิประภา<br />

ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยี<br />

กรรมการ<br />

นายณพงศ์ ศิริขันตยกุล<br />

ผู้แทนกระทรวงการคลัง<br />

กรรมการ<br />

นางรัชนีพร ธิติทรัพย์<br />

ผู้แทนกระทรวงคมนาคม<br />

กรรมการ<br />

นายอภิชาติ จีระวุฒิ<br />

ผู้แทนสำานักงานคณะกรรมการ<br />

การอุดมศึกษา<br />

กรรมการ<br />

นายวีระยุทธ ปั้นน่วม<br />

ผู้แทนสำานักงบประมาณ<br />

กรรมการ<br />

นายสันทัด สมชีวิตา<br />

ผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

กรรมการ<br />

ดร. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ<br />

ผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

กรรมการ<br />

นายกอปร กฤตยากีรณ<br />

ผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

4<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


กรรมการ<br />

นางผุสดี กำปั่นทอง<br />

ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์<br />

กรรมการ<br />

นายสุทธิเวช ต.แสงจันทร์<br />

ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยี<br />

กรรมการ<br />

นายชัยยง กฤตผลชัย<br />

ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม<br />

กรรมการ<br />

นายไพโรจน์ โพธิวงศ์<br />

ผู้แทนสำานักงานคณะกรรมการ<br />

พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ<br />

กรรมการ<br />

นายไพรัช บูรพชัยศรี<br />

ผู้แทนสภาหอการค้า<br />

แห่งประเทศไทย<br />

กรรมการ<br />

นายวิโรจน์ เลิศในธรรม<br />

ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม<br />

แห่งประเทศไทย<br />

กรรมการ<br />

นายประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์<br />

ผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

กรรมการและเลขานุการ<br />

นายสมศักดิ์ ฉากเขียน<br />

รองผู้อำนวยการ (1)<br />

ผู้ทำาการแทนชั่วคราวในตำาแหน่ง<br />

ผู้อำานวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

5


รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ ประจำาปี 2554<br />

คณะกรรมการตรวจสอบสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25<br />

มกราคม 2551 และได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ได้ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ<br />

ตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ ตามระเบียบคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติว่าด้วย<br />

คณะกรรมการตรวจสอบ พ.ศ. 2544 และตามกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบที่สำาคัญ ได้แก่ การสอบทานงบการเงิน การกำากับ<br />

ดูแลกิจการที่ดี การสอบทานระบบการควบคุมภายใน การกำากับดูแลการตรวจสอบภายใน และการประเมินการบริหารความเสี่ยง<br />

ในระหว่างปี 2554 คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประชุมรวม 5 ครั้ง กรรมการตรวจสอบทุกท่านเข้าร่วมประชุมครบถ้วนทุกครั้ง<br />

สรุปสาระสำาคัญในการปฏิบัติหน้าที่ได้ดังนี้<br />

1. สอบทานงบการเงิน ได้สอบทานงบการเงินรายไตรมาส ประจำาปี 2554 กับผู้รับผิดชอบด้านบัญชีและผู้ตรวจสอบภายในแล้ว<br />

มีความเห็นว่า ได้มีการปฏิบัติตามหลักการและนโยบายบัญชีสำาหรับหน่วยงานภาครัฐเป็นไปอย่างถูกต้องตามที่ควรและเชื่อถือได้<br />

และมีการเปิดเผยหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างเพียงพอตามมาตรฐานบัญชี<br />

2. การกำากับดูแลกิจการที่ดี ได้กำากับดูแลการปฏิบัติงานของสถาบันให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตาม<br />

กฎระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และมติคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ ตลอดจนมีการสอบทานเกี่ยวกับรายการที่อาจ<br />

มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม อนึ่ง คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประเมินผลการดำาเนินงานของ<br />

ตนเองสำาหรับปี 2554 ผลการประเมินโดยรวมระดับคะแนนร้อยละ 95.83 และได้รายงานให้คณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ทราบแล้ว<br />

3. การสอบทานระบบการควบคุมภายใน ได้สอบทานระบบการควบคุมภายใน โดยการซักถามข้อมูลในรายงานผลการประเมิน<br />

ระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานตรวจสอบภายใน และจากผู้รับผิดชอบ ตลอดจนมีการติดตามผลการประเมินการควบคุม<br />

ภายในด้วยตนเองตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำาหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 และมี<br />

ความเห็นว่าระบบควบคุมภายในที่มีอยู่เพียงพอกับการดำาเนินงานของสถาบัน<br />

4. การกำากับดูแลการตรวจสอบภายใน ได้พิจารณาอนุมัติแผนการตรวจสอบประจำาปี โดยได้เสนอแนะ ปรับให้มีความ<br />

สอดคล้องกับลักษณะการดำาเนินงานของสถาบัน และเป็นไปตามวิธีการ Risk Base Audit รวมทั้งได้มีการสอบทานรายงาน<br />

ผลการตรวจสอบในทุกครั้งของการประชุมกรรมการตรวจสอบ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำ าเนินการของหน่วยงานตรวจสอบ<br />

ภายในบรรลุเป้าหมายตามแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนให้คำาแนะนำาแก่หน่วยงานตรวจสอบภายใน เพื่อเพิ่มประสิทธิผล<br />

ในการปฏิบัติงานตรวจสอบให้มีคุณค่ากับหน่วยงานของสถาบัน<br />

5. การประเมินการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการประเมินและติดตามระบบการบริหารความเสี่ยง<br />

ของสถาบัน และเสนอความเห็นในการปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยงของสถาบันประจำาปี 2555 ให้สามารถนำาไปดำาเนินการได้<br />

และสอดคล้องตามเกณฑ์การประเมินผลของกรมบัญชีกลางโดย บริษัท ทริส คอปอเรชั่น จำากัด<br />

สรุปผลการกำากับดูแลที่กล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าสถาบันมีการปฏิบัติงานโดยรวมที่ดี และมีประสิทธิภาพ<br />

เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง<br />

6<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)<br />

(นางนงลักษณ์ ปานเกิดดี)<br />

ประธานกรรมการตรวจสอบ


คณะกรรมการตรวจสอบ<br />

นางนงลักษณ์ ปานเกิดดี<br />

ประธานกรรมการตรวจสอบ<br />

นางอรอนงค์ มณีกาญจน์<br />

กรรมการตรวจสอบ<br />

นายสิทธิชัย จันทราวดี<br />

กรรมการตรวจสอบ<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

7


คณะผู้บริหารสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

นายสมศักดิ์ ฉากเขียน<br />

รองผู้อำานวยการ (1)<br />

ผู้ทำการแทนชั่วคราวในตำแหน่ง<br />

ผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

พล.อ.ต. ดร. เพียร โตท่าโรง<br />

อดีตผู้อำนวยการ<br />

ดำรงตำแหน่งจนถึงกันยายน 2554<br />

รศ. พล.ต. ดร. ชัยณรงค์ เชิดชู<br />

อดีตผู้เชี่ยวชาญระดับ 12<br />

ดำรงตำแหน่งจนถึงกันยายน 2554<br />

นางอัจฉรา เจริญสุข<br />

ผู้เชี่ยวชาญระดับ 11<br />

นายวิรัตน ปลั่งแสงมาศ<br />

หัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาเสียง<br />

และการสั่นสะเทือน<br />

นายไกรฤกษ์ อบรมสุข<br />

หัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาเคมี<br />

และชีวภาพ<br />

ร.อ. ธวัช ช่างปั้น<br />

นักมาตรวิทยา 10 รักษาการ<br />

หัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล<br />

นายสมชาย น่วมเศรษฐี นายประเวศน์ มหารัตน์สกุล<br />

นักมาตรวิทยา 10 รักษาการ ผู้จัดการฝ่ายบริหารงานกลาง<br />

ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาไฟฟ้า<br />

น.อ. ปิยะ ภูษาแก้ว<br />

หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

นายรภัทร์ โพธิวัชร์<br />

ผู้ตรวจสอบภายใน<br />

พ.ต. อาคม กระจ่างมล นายอนุสรณ์ ทนหมื่นไวย<br />

ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาแสง ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยามิติ<br />

และรักษาการหัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาแสง และรักษาการหัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยามิติ<br />

ร.ท. อุทัย นรนิ่ม<br />

ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่าย<br />

มาตรวิทยาอุณหภูมิ<br />

นางสาวดวงกมล วิรุฬห์อุดมผล<br />

ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาเคมี<br />

และชีวภาพ<br />

ร.ต. ชลิต คุ้มทวี<br />

นักมาตรวิทยา 9 รักษาการ<br />

หัวหน้าห้องปฏิบัติการไฟฟ้า<br />

นางสาวณัฐฐานิต พงศ์จีรกำจร<br />

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายนโยบาย<br />

และยุทธศาสตร์<br />

นางสาววีระนุช ฤกษ์เกรียงไกร<br />

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบริหารงานกลาง<br />

8<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)<br />

นายชูศักดิ์ เชื้อสาย<br />

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบริหารงานกลาง<br />

นายพรเทพ กิตติพัฒน์ไพบูลย์<br />

ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ


ฝ่ายนโยบายและ<br />

ยุทธศาสตร์<br />

• ส่วนนโยบาย<br />

และยุทธศาสตร์<br />

• ส่วนงบประมาณ<br />

และกองทุน<br />

• ส่วนวิเทศสัมพันธ์<br />

• ส่วนประชาสัมพันธ์<br />

• ส่วนบริหารงาน<br />

ลูกค้าสัมพันธ์<br />

• ส่วนสารบรรณ<br />

• ส่วนฝึกอบรม<br />

• งานเลขานุการ<br />

ศูนย์เทคโนโลยี<br />

สารสนเทศ<br />

โครงสร้างการบริหารสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

คณะกรรมการตรวจสอบ<br />

คณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ผู้อำานวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ผู้ตรวจสอบภายใน<br />

ผู้เชี่ยวชาญ (PL 11-12)<br />

รองผู้อำานวยการ (1) รองผู้อำานวยการ (2)<br />

ฝ่ายบริหาร<br />

งานกลาง<br />

ฝ่ายมาตรวิทยา<br />

เชิงกล<br />

ฝ่ายมาตรวิทยา<br />

ไฟฟ้า<br />

ฝ่ายมาตรวิทยา<br />

อุณหภูมิ<br />

ฝ่ายมาตรวิทยา<br />

มิติ<br />

ฝ่ายมาตรวิทยา<br />

เสียงและการสั่นสะเทือน<br />

ฝ่ายมาตรวิทยา<br />

แสง<br />

• ส่วนบัญชีการเงิน<br />

• ส่วนทรัพยากรบุคคล<br />

• ส่วนธุรการและ<br />

ยานพาหนะ<br />

• ส่วนอาคารและ<br />

สถานที่<br />

• ส่วนการพัสดุ<br />

• งานนิติการ<br />

• มวล<br />

• ความหนาแน่น<br />

• แรง<br />

• แรงบิด<br />

• ความแข็ง<br />

• ความดัน<br />

• สุญญากาศ<br />

• การไหล<br />

• ไฟฟ้ากระแสตรง<br />

• ไฟฟ้ากระแสสลับ<br />

• ความต้านทาน<br />

• ค่าความจุไฟฟ้าและ<br />

ค่าความเหนี่ยวนำา<br />

• กำาลังไฟฟ้า<br />

• ไฟฟ้าแรงสูง<br />

• แม่เหล็กไฟฟ้า<br />

• เวลาและความถี่<br />

• คลื่นความถี่สูงและ<br />

ไมโครเวป<br />

• จุดกำาเนิดอุณหภูมิ<br />

มาตรฐาน<br />

• เทอร์โมมิเตอร์<br />

• ความต้านทาน<br />

แพลตทินัมมาตรฐาน<br />

และเทอร์โมคอบเปิล<br />

• เทอร์โมมิเตอร์<br />

ชนิดแท่งแก้ว<br />

• ความชื้น<br />

• ความยาว<br />

• ความยาวคลื่น<br />

• มุม<br />

• เส้นผ่านศูนย์กลาง<br />

• ซีเอ็มเอ็มและเกียร์<br />

• พื้นผิว<br />

• รูปร่าง<br />

• ระยะขีดสเกล<br />

• เสียง<br />

• การสั่นสะเทือน<br />

• คลื่นเหนือเสียง<br />

• แสง<br />

• สี<br />

• การกระจายคลื่นแสง<br />

• ใยแก้วนำาแสง<br />

ฝ่ายมาตรวิทยา<br />

เคมีและชีวภาพ<br />

• วิเคราะห์อินทรีย์เคมี<br />

• วิเคราะห์อนินทรีย์เคมี<br />

• วิเคราะห์เคมีไฟฟ้า<br />

• วิเคราะห์ชีวภาพ<br />

• วิเคราะห์ก๊าซ<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

9


สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) มีฐานะเป็นองค์กรของรัฐที่บริหารงานเป็นอิสระ (Public Agency) ภายใต้การกำากับของ<br />

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติพ.ศ. 2540 ให้เป็นองค์กรหลัก<br />

ในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ และเริ่มเปิดดำาเนินการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2541 มีห้องปฏิบัติการอยู่<br />

ณ เทคโนธานี รังสิต คลองห้า จังหวัดปทุมธานี และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระรามที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์<br />

เพื่อพัฒนาระบบมาตรวิทยาของชาติให้สอดคล้องกับระบบมาตรวิทยาสากล การถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดไปสู่ผู้ใช้งาน<br />

และส่งเสริมผู้ประกอบอาชีพด้านมาตรวิทยา และความสามารถของห้องปฏิบัติการ รวมถึงการสร้างความตระหนักให้สังคม<br />

มีความเข้าใจในด้านมาตรวิทยา<br />

พันธกิจ<br />

การพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ถ่ายทอดความถูกต้องด้านการวัดสู่กิจกรรมการวัดต่างๆ<br />

ในประเทศ และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาสู่สังคมไทยเพื่อให้ตระหนักถึงความสำ าคัญของมาตรวิทยา อีกทั้งเสริมสร้าง<br />

ขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม<br />

10<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


สารบัญ<br />

บทความมาตรวิทยา<br />

• วันมาตรวิทยาโลก เรื่อง “2011 ปีเคมีสากล“ 12<br />

• ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล 16<br />

• ฝ่ายมาตรวิทยาไฟฟ้า 18<br />

• ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิ 20<br />

• ฝ่ายมาตรวิทยามิติ 22<br />

• ฝ่ายมาตรวิทยาเสียงและการสั่นสะเทือน 24<br />

• ฝ่ายมาตรวิทยาแสง 26<br />

• ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ 28<br />

การพัฒนาศักยภาพการวัด 30<br />

ระบบคุณภาพ 40<br />

ความสามารถทางการสอบเทียบและการวัด 43<br />

การเปรียบเทียบผลการวัด 47<br />

ผลงานการวิจัย 53<br />

ความร่วมมือด้านมาตรวิทยา 63<br />

การให้บริการของสถาบัน 73<br />

การพัฒนาระบบงาน 78<br />

การพัฒนาบุคลากร 84<br />

การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารด้านมาตรวิทยา 87<br />

รายงานของผู้สอบบัญชี และงบการเงินปี 2553 91<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

11


2011 ปีเคมีสากล<br />

The International Year of Chemistry 2011 (IYC 2011)<br />

“เคมี – เพื่อชีวิต เพื่ออนาคตของเรา /<br />

Chemistry—our life, our future”<br />

ในปี ค.ศ. 2011 นี้ ได้มีหน่วยงานทางด้านเคมีใน<br />

ระดับสากล คือ IUPAC (International Union of Pure<br />

and Applied Chemistry) และ UNESCO (United Nations<br />

Educational, Scientific, and Cultural Organization)<br />

ได้ร่วมกันเสนอให้ปีนี้ เป็น “ปีเคมีสากล, The International<br />

Year of Chemistry 2011 (IYC 2011)” ภายใต้แนวคิด "เคมี- เพื่อชีวิต<br />

เพื่ออนาคตของเรา, Chemistry - our life, our future"<br />

ที ่ตรงกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที ่สำาคัญของนักเคมี<br />

อยู่ 2 เหตุการณ์ด้วยกัน ได้แก่ วันครบรอบ 100 ปี ของการรับ<br />

รางวัลโนเบลของมาดามมารี คูรี และในโอกาสเดียวกันนี้ยัง<br />

เป็นการส่งเสริมยกย่องสตรีที่มีบทบาทในงานทางด้านเคมี<br />

ส่วนเหตุการณ์ที่สอง คือ วันที่ครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้ง<br />

สหภาพสมาคมเคมีสากล (International Association of<br />

Chemical Societies) อีกด้วย จึงทำาให้คณะกรรมการบริหาร<br />

ของยูเนสโกทำาการรับรองข้อเสนอดังกล่าวในการประกาศโดย<br />

สหประชาชาติว่าในปีนี้ ค.ศ. 2011 เป็น “ปีเคมีสากล”<br />

ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีที่ทำาให้ได้สร้างความตระหนัก<br />

ถึงประโยชน์ของความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ<br />

ในความต้องการทางด้านเคมีเพื่อชีวิตเพื่ออนาคตของมวลมนุษย์<br />

โลกเรา และยังมีการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมและ<br />

เหตุการณ์ต่างๆ เพื่อเป็นการจุดประกายสร้างความกระตือรือร้น<br />

ของงานทางด้านเคมีให้แก่กลุ่มเยาวชน นักวิชาการ และตลอด<br />

ประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์อย่างน้อย<br />

หนึ่งวัตถุประสงค์ของปีเคมีสากล 2011 ซึ่งมีดังรายละเอียดดังนี้<br />

12<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


• สร้างคุณค่าและความเข้าใจทางด้านเคมี<br />

ในระดับโลก<br />

อาจกล่าวได้ว่าเคมีเป็นศูนย์กลางของวิทยาศาสตร์<br />

ที่เป็นทั้งแนวทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานเชิงลึกและวิทยาศาสตร์<br />

เชิงประยุกต์เคมีเป็นพื้นฐานของความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและจักรวาล<br />

ของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับโมเลกุลเป็นหัวใจสำาคัญ<br />

ในการผลิตอาหาร ยา เชื้อเพลิง โลหะ ฯลฯ โดยผลิตภัณฑ์<br />

ทั้งหลายต้องผ่านกระบวนการทางเคมีในการผลิตและการสกัด<br />

ผลิตภัณฑ์นั้นๆ โดยต้องใช้ความเป็นวิทยาศาสตร์ด้านเคมีและ<br />

ความเป็นศิลป์ร่วมกันในการพัฒนาความรู้ของมนุษย์ เพื่อความ<br />

ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ดี<br />

• ส่งเสริมและกระตุ้นความสนใจของ<br />

เยาวชนทางด้านเคมี<br />

เราจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนทางด้านเคมี<br />

โดยในปีเคมีสากลที ่จะเน้นบทบาทของเคมีในการจัดการ<br />

ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างยั่งยืน และในช่วงทศวรรษนี้<br />

สหประชาชาติได้มีเป้าหมายในการสนับสนุนการศึกษาเพื่อการ<br />

พัฒนาที่ยั่งยืนในปีเคมีสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการให้ความ<br />

สำาคัญของเคมีด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น<br />

• สร้างความกระตือรือร้นสำาหรับ<br />

การสร้างสรรค์เคมีในอนาคต<br />

ความเข้าใจของมนุษย์เป็นรากฐานในการพัฒนาความรู้<br />

ทางด้านเคมี ในการสร้างสรรค์โอกาสในการค้นพบหลักการใหม่ๆ<br />

ที่น่าตื่นเต้นและการประยุกต์ไปใช้อย่างต่อเนื่องได้ นักเคมีมี<br />

บทบาทสำาคัญในการเอาชนะความท้าทายที่ต้องเผชิญในโลก<br />

ทุกวันนี ้ ยกตัวอย่างเช่น การช่วยให้บรรลุเป้าหมายของ<br />

สหประชาชาติที่ได้วางแผนไว้ ความเข้าใจวิทยาศาสตร์เชิงลึกเป็น<br />

ส่วนสำาคัญในการพัฒนาโมเลกุลของสารที่ใช้เก็บยาบำาบัดโรค<br />

นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างวัสดุใหม่ๆ เพื่อเป็นแหล่งกำาเนิด<br />

ของอาหารและพลังงานที่ยั่งยืนต่อไป<br />

• ร่วมฉลองวันครบรอบ 100 ปีของการรับ<br />

รางวัลโนเบลของมาดามมารี คูรี รวมทั ้ง<br />

บทบาทของสตรีในการเป็นนักเคมีและผู้ก่อตั้งของ<br />

สมาคมสหภาพเคมีสากล<br />

ปี 2011 เป็นการครบรอบ 100 ปีของรางวัลโนเบลสาขา<br />

เคมีมอบให้แก่มาดามมารี คูรี ที่ได้ทำาการค้นพบธาตุเรเดียม<br />

และพอโลเนียม ในความสำาเร็จอย่างต่อเนื่องนี้เองจึงเป็นการ<br />

สร้างแรงบันดาลใจของนักศึกษาโดยเฉพาะผู้หญิงเพื่อเจริญรอย<br />

ตามในการประกอบอาชีพเป็นนักเคมี และในปี 2011 นี้ยังเป็น<br />

การครบรอบ 100 ปี ของการก่อตั้งสหภาพสมาคมเคมีสากล<br />

ณ กรุงปารีส อันเป็นความร่วมมือกันระหว่างประเทศในหมู่นักเคมี<br />

เพื่อให้มาตรฐานทางด้านเคมีอยู่ในระดับสากล<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

13


2011 ปีเคมีสากล จะดำาเนินการดังต่อไปนี้ :<br />

• เพิ่มความเข้าใจและสร้างคุณค่าของเคมีสู่สาธารณชนมากขึ้น<br />

• มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการให้บริการเพิ่มขึ้นเพื่อ<br />

เป็นศูนย์รวมหรือแหล่งข้อมูลในการดำาเนินกิจกรรมโดยสมาคม<br />

เคมีแห่งชาติ สถาบันการศึกษา อุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ<br />

และเอกชน<br />

• ส่งเสริมบทบาททางด้านเคมีในการมีส่วนร่วมการแก้<br />

ปัญหาระดับโลก<br />

• มีส่วนร่วมส่งเสริมสร้างเยาวชนคนหนุ่มสาวที่มีความสนใจ<br />

รักเป็นนักเคมี ด้วยการค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะ<br />

วิธีทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาการวิเคราะห์ตามสมมุติฐาน<br />

การทดลอง และการสรุปลงความเห็น<br />

โปสเตอร์วันมาตรวิทยาโลก<br />

United Nations Millennium Goals<br />

เป้าหมายที่ 1 : ขจัดความยากจนและความหิวโหย<br />

เป้าหมายที่ 2 : ทำาให้การศึกษาขั้นพื้นฐานบรรลุเป็นสากล<br />

เป้าหมายที่ 3 : ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ<br />

เป้าหมายที่ 4 : ลดอัตราการตายของเด็ก<br />

เป้าหมายที่ 5 : การพัฒนาสุขภาพที่ดีของมารดา<br />

เป้าหมายที่ 6 : การต่อต้านโรคเอชไอวี / เอดส์ มาลาเรีย<br />

และโรคอื่นๆ<br />

เป้าหมายที่ 7 : การตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน<br />

เป้าหมายที่ 8 : มีความร่วมมือในระดับโลกเพื่อการพัฒนา<br />

เคมีมีความสำาคัญต่อการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้!<br />

14<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


มาดามมารี คูรี<br />

เป็นนักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัว<br />

ของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้<br />

แต่มีอัตราการตายของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคทุกสมัย<br />

ด้วยผลงานที่มีความสำาคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ทำาให้มาดามมารี คูรี<br />

ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน<br />

รางวัลโนเบลทั้ง 2 ครั้ง<br />

ประวัติมาดามมารี คูรี<br />

ชื่อ : มาดาม มารี คูรี / Madam Marie Curie (โปแลนด์ :<br />

Marya Skodowska; อังกฤษ: Marie Curie)<br />

เกิด : วันที่7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 ที่เมืองวอร์ซอร์ (Warsaw)<br />

ประเทศโปแลนด์ (Poland)<br />

เสียชีวิต : วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 ที่กรุงปารีส (Paris)<br />

ประเทศฝรั่งเศส (France)<br />

คู่สมรส : ปีแอร์ คูรี (Pierre Curie)<br />

บุตรธิดา : คนโตชื่อว่าอีแรน(Irne) เกิดปีค.ศ. 1897 และคนน้อง<br />

ชื่อเอฟว์ (Eve) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1904<br />

ผลงาน : ค้นพบธาตุเรเดียม<br />

• ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1903 จากผลงาน<br />

การพบธาตุเรเดียม<br />

• ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีค.ศ. 1911 จากผลงานการ<br />

ค้นคว้าหาประโยชน์จากธาตุเรเดียม<br />

ที่มา : - www.iupac.org (International Year of Chemistry 2011) - วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011 15


การพัฒนาขีดความสามารถในการทวนสอบเครื่องวัด<br />

ความดันโลหิตของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตเป็นเครื่องมือวัดทางการแพทย์<br />

ที่จำาเป็นต้องใช้ในทุกสถานพยาบาลเพื่อเป็นข้อมูลประกอบ<br />

การวินิจฉัยและรักษาโรค นอกจากนี้ในปัจจุบันประชาชนทั่วไปก็<br />

มีการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำาวัน<br />

เพื่อให้ทราบสถานะของความดันโลหิตของตนเอง ดังนั้นเครื่องวัด<br />

ความดันโลหิตควรให้ผลการวัดที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงกับความจริง<br />

มากที่สุด<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตที่มีใช้ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น<br />

2 ชนิดได้แก่แบบเชิงกล (Mechanical Sphygmomanometers)<br />

และแบบอัตโนมัติ (Automated Sphygmomanometers) การฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ<br />

จากสถาบันมาตรวิทยาแห่งประเทศสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี (PTB)<br />

และบราซิล (INMETRO)<br />

ในอดีตการตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือประเภทนี้<br />

มีการดำาเนินการอยู่แล้วโดยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน<br />

แต่ผลการวัดยังไม่เป็นที่น่าเชื่อถือนัก เนื่องจากขาดความชัดเจน<br />

ในวิธีที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือดังกล่าว นั่นคือ<br />

ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล<br />

ในปี 2554 ห้องปฏิบัติการความดัน ฝ่ายมาตรวิทยา<br />

เชิงกล โดยความร่วมมือกับสำานักรังสีและเครื่องมือแพทย์<br />

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประสบ<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตแบบเชิงกล ความสำาเร็จในการผลักดันให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ<br />

ทวนสอบเครื่องมือวัดความดันโลหิตตามมาตรฐานสากล<br />

โดยได้มีการจัดทำาเอกสาร “ขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน<br />

วิธีการทำาการทวนสอบเครื่องวัดความดันโลหิต (Standard<br />

procedure of Initial & periodic verification<br />

for Non-invasive sphygmomanometers)”<br />

ISBN : 978-616-11-0846-5 ขึ้นและได้ประกาศใช้โดยสำานักรังสี<br />

และเครื่องมือแพทย์ตั้งแต่วันที่20 พฤษภาคม 2554 โดยอ้างอิง<br />

ตามเอกสารมาตรฐาน OIML R 16-1: Non-invasive mechanical<br />

sphygmomanometers, Edition 2002 (E) และ OIML R<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ 16-2 Non-invasive automated sphygmomanometers,<br />

Edition 2002 (E)<br />

16<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)<br />

ลิขิต ใสหนู<br />

ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล


ขอบข่ายขั้นตอนการปฏิบัติงานนี้ใช้เพื่อการทวนสอบ<br />

เครื่องเป็นครั้งแรก (Initial Verification) การทวนสอบเครื่องที่<br />

ใช้งานแล้วตามระยะเวลา (Periodic Verification) และการทวนสอบ<br />

หลังการซ่อมแซม วิธีการทดสอบคือการเปรียบเทียบค่าความดัน<br />

ของเครื่องมือที่ทำาการทดสอบกับค่าความดันที่อ่านได้จาก<br />

เครื่องมือมาตรฐานด้านความดัน ซึ่งมีหัวข้อในการทดสอบดังนี้<br />

1) การหาค่าความผิดพลาดสูงสุดของการอ่านค่าความดัน<br />

2) การหาค่าอัตราการรั่วของความดันในระบบ และ 3) การหาค่า<br />

ผลต่างของความดันขาขึ้นกับขาลง (เฉพาะเครื่องวัดความดัน<br />

โลหิตแบบ Aneroid เท่านั้น)<br />

ความดันโลหิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามมาตรฐานสากล<br />

ซึ่งจะเป็นการยกระดับความถูกต้องแม่นยำาของเครื่องมือ<br />

วัดความดันโลหิตของกลุ่มเป้าหมายให้สูงขึ้น<br />

ทั้งนี้ในปีต่อไปทางห้องปฏิบัติการฯ มีโครงการความ<br />

ร่วมมือกับกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำานักงานคณะกรรมการ<br />

อาหารและยา ทำาการสำารวจตัวอย่างเครื่องมือวัดความดันโลหิต<br />

ทั่วประเทศ เพื่อให้ได้ทราบข้อจำากัดต่างๆ ในการทวนสอบ<br />

ของเครื่องมือประเภทนี้ที่มีจำาหน่ายและใช้งานในประเทศ<br />

เพื่อหาทางขจัดข้อจำากัดดังกล่าว และเป็นการยกระดับ<br />

มาตรฐานการวัดทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือ<br />

ตัวอย่างการปฏิบัติการทวนสอบเครื่องมือวัดความดันโลหิต<br />

ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานฯ<br />

โดยสรุปผลจากการดำาเนินการในครั้งนี้ได้สร้างความ<br />

ตระหนักให้แก่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และผู้ใช้งานเครื่องมือ<br />

ทางการแพทย์ของประเทศ ถึงการจัดหา เลือกใช้ และบำารุง<br />

รักษาเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีคุณภาพมาตรฐานตลอดอายุ<br />

การใช้งาน และมีขีดความสามารถในการทวนสอบเครื่องวัด<br />

ประเภทนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้สถาบันฯ<br />

ยังร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการวางแผนขยาย<br />

ผลถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ลงไปให้บุคลากรของศูนย์ต่างๆ<br />

ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เอง ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้<br />

องค์ความรู้นี้ถูกนำาไปใช้ในทางปฏิบัติจริงอย่างกว้างขวางต่อไป<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

17


การวิเคราะห์ผลการตรวจรับสัญญาณเวลาจาก<br />

ดาวเทียมจีพีเอสที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ดร. ทยาทิพย์ ทองตัน<br />

ฝ่ายมาตรวิทยาไฟฟ้า<br />

ปัจจุบันการใช้สัญญาณจากดาวเทียมจีพีเอสในการ<br />

ซิงโครนัสนาฬิกาเป็นที่นิยมแพร่หลายในประเทศไทย ในส่วน<br />

ของตัวรับสัญญาณจีพีเอสและการสอบเทียบสัญญาณความถี่<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) โดยห้องปฏิบัติการเวลา<br />

และความถี่ได้เริ่มให้บริการข้อมูลการวิเคราะห์ผลการตรวจรับ<br />

สัญญาณจากดาวเทียมจีพีเอสในแต่ละวันจากตัวรับสัญญาณ<br />

เวลาจากดาวเทียมจีพีเอสที่ มว. โดยตัวรับสัญญาณเป็นแบบ<br />

หลายช่องรับความถี่ทั้งจากตัวรับสัญญาณแบบความถี่เดียวที่<br />

สามารถตรวจรับสัญญาณได้จากสัญญาณ L1 และ ตัวรับ<br />

สัญญาณแบบสองความถี่ที่รับสัญญาณได้ทั้งสัญญาณL1 และ L2<br />

เพื่อทราบสถานะของสัญญาณเวลาที่ตรวจรับจากสัญญาณจาก<br />

ดาวเทียมจีพีเอสเทียบกับสัญญาณเวลา UTC(NIMT) โดย มว.<br />

มว. ได้เริ่มให้บริการข้อมูลจากการตรวจรับสัญญาณจาก<br />

ดาวเทียมจีพีเอส ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2549 ที่เว็บไซต์<br />

ดังต่อไปนี้<br />

• http://203.185.69.45/Motorola/ เป็นข้อมูล<br />

การตรวจรับสัญญาณเวลาจากตัวรับสัญญาณ<br />

แบบหนึ่งความถี่<br />

• http://203.185.69.45/<br />

Topcon/ เป็นข้อมูลการตรวจ<br />

รับสัญญาณเวลาจากตัวรับ<br />

สัญญาณแบบสองความถี่<br />

ผลการตรวจรับสัญญาณเวลา<br />

จากดาวเทียมจีพีเอส<br />

สามารถใช้ในการ<br />

วิเคราะห์ผลของ<br />

นาฬิกาอะตอมของ<br />

ผู้ใช้งานในประเทศที่เชื่อมต่อกับตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม<br />

จีพีเอสด้วยวิธีการวัดแบบ GPS Common-view กล่าวคือ<br />

การตรวจรับสัญญาณดาวเทียมจีพีเอสจากดาวเทียมดวงเดียวกัน<br />

ที่เวลาเดียวกันสำาหรับตัวรับสัญญาณดาวเทียมที่มว. และ ตัวรับ<br />

สัญญาณเวลาของผู้ใช้สัญญาณเวลาที่มีตัวรับสัญญาณจีพีเอส<br />

แบบ Common-view ผู้รับสัญญาณเวลาจากดาวเทียม<br />

ดังกล่าวสามารถคำานวณหาเวลาที่ต่างกันระหว่างสัญญาณ<br />

ความถี่จากนาฬิกาของผู้ใช้งานและสัญญาณความถี่จากนาฬิกา<br />

อะตอมซีเซียมของ มว. ซึ่งรักษาเวลาอะตอมคือ UTC(NIMT)<br />

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ทางห้องปฎิบัติการเวลาและ<br />

ความถี่ได้ดำาเนินการเผยแพร่ข้อมูลผลการวิเคราะห์ผลของ<br />

การตรวจรับสัญญาณเวลาจากดาวเทียมจีพีเอสในแต่ละวันบน<br />

เว็บไซต์ดังต่อไปนี้<br />

• http://203.185.69.45/Motorola/MotoDataAnz/<br />

แสดงผลการวิเคราะห์สัญญาณจีพีเอสที่ตรวจรับได้ที ่ มว.<br />

โดยตัวรับสัญญาณความถี่เดียว<br />

• http://203.185.69.45/Topcon/TopconDataAnz/<br />

แสดงผลการวิเคราะห์สัญญาณจีพีเอสที่ตรวจรับได้ที่ มว.<br />

โดยตัวรับสัญญาณสองความถี่<br />

18<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ผลการวิเคราะห์สัญญาณจากดาวเทียมจีพีเอสประกอบ<br />

ด้วยข้อมูลที่ได้จากการคำานวณกล่าวคือ<br />

1) ผลการคำานวณผลต่างเฉลี่ยของ UTC (NIMT) และ GPS<br />

System Time (UTC (NIMT) - GPS System Time) การแสดงผล<br />

การตรวจรับสัญญาณจะดำาเนินการแบบย้อนหลัง (Post Processing)<br />

ในคาบเวลา (ก) ทุก 10 นาที (ข) ทุก 1 ชั่วโมง และ (ค) ใน 1 วัน<br />

2) ค่า Accuracy ของผลต่างเฉลี่ยของ UTC (NIMT)<br />

และ GPS System Time ประกอบด้วย Mean Time Offset,<br />

Range Frequency Offset และ Confidence Level<br />

3) ค่า Stability ของค่าผลต่างเฉลี่ยของ UTC (NIMT)<br />

และ GPS System Time อันประกอบด้วย Frequency Stability<br />

และ Time Stability<br />

4) ผลการวิเคราะห์ค่าความแตกต่างเฉลี่ยของUTC (NIMT)<br />

และ GPS System Time สำาหรับดาวเทียมแต่ละดวงที่โคจรเหนือ<br />

น่านฟ้าประเทศไทยจากดาวเทียมจีพีเอสทั้งหมด จำานวน 32 ดวง<br />

ค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ผลจากการตรวจรับสัญญาณ<br />

จากดาวเทียมจีพีเอสทำาให้เราสามารถทราบถึง 2 ปัจจัยหลัก<br />

กล่าวคือ<br />

1) การรักษาเวลามาตรฐาน UTC (NIMT) ในส่วนของคุณภาพ<br />

ของนาฬิกานั่นคือ ผลต่างของเวลา Accuracy และ Stability<br />

2) ผลสรุปการตรวจรับสัญญาณจีพีเอสในแต่ละวัน<br />

ข้อมูลประกอบด้วย จำานวนดาวเทียมจีพีเอสที่ตรวจรับได้ใน<br />

แต่ละวัน ระยะเวลาที่ดาวเทียมแต่ละดวงปรากฎเหนือจุดตรวจ<br />

รับสัญญาณที่ มว. ในแต่ละวัน Frequency Accuracy<br />

ของ UTC (NIMT) เทียบกับ GPS System Time และค่า Time<br />

Deviation ของเวลา UTC (NIMT) จาก GPS System Time<br />

การวิเคราะห์ค่าการตรวจรับสัญญาณจากดาวเทียม<br />

จีพีเอสที่ มว. ได้จัดรวบรวมทำาขึ้นเป็นการเริ่มต้นการสร้างฐาน<br />

ข้อมูลที่ตรวจรับจากสัญญาณดาวเทียมจีพีเอสเทียบค่ากับเวลา<br />

มาตรฐานประเทศไทย และในปีนี้เองได้ขยายผลออกไปสู่การ<br />

วิเคราะห์ค่าที่ได้จากการตรวจรับสัญญาณจากระบบดาวเทียม<br />

จีพีเอสโดยเฉพาะกับผู้ที่มีตัวรับสัญญาณดาวเทียมจีพีเอสแบบ<br />

GPS Disciplined Oscillator การทราบค่าดังกล่าว ผู้ใช้งาน<br />

ความถี่ในประเทศสามารถคำานวณหาความถี่ของนาฬิกาภายใน<br />

ตัวรับสัญญาณจีพีเอสเทียบกับความถี่จากนาฬิกาที่ถูกกำาหนด<br />

เป็นเวลา UTC (NIMT) การดำาเนินการดังกล่าวยังก่อให้เกิด<br />

ประโยชน์ในด้านสถิติสำาหรับผู้ใช้งานจากสัญญาณจากดาวเทียม<br />

จีพีเอสซึ่งปัจจุบันจะเห็นว่าการใช้งานสัญญาณจากดาวเทียมจีพีเอส<br />

ในประเทศไทยมีอยู่แพร่หลายตั้งแต่ตัวรับสัญญาณจีพีเอสใน<br />

โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ รวมไปถึงตัวรับสัญญาณ<br />

จีพีเอสที่ใช้ในอุตสาหกรรมของประเทศและการก่อสร้างถนน<br />

อาคาร หรือ สะพานที่มีโครงสร้างซับซ้อน เป็นต้น<br />

รูปแสดงอุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมจีพีเอสที่ มว. ซึ่งประกอบด้วย<br />

สายอากาศ ตัวรับสัญญาณ และคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บค่าที่ได้จากการตรวจรับสัญญาณ<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

19


สถาปนาระบบวัดค่าสัมประสิทธิ์การเปล่งของวัตถุดำา<br />

(Establishment of Emissivity Measurement System)<br />

ดร. นฤดม นวลขาว<br />

ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิ<br />

ปัจจุบันความต้องการใช้งานเทอร์โมมิเตอร์แบบ<br />

แผ่รังสีเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากทั้งจากภาคอุตสาหกรรม<br />

และสาธารณสุข (Ear Thermometer และกล้อง Thermo-scan)<br />

ดังจะเห็นได้จากกรณีการระบาดของไข้หวัดนก และไข้หวัด<br />

สายพันธ์ใหม่ 2009 ซึ่งทั้ง Ear Thermometer และกล้อง<br />

Thermo-scan เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในการคัดกรอง<br />

ผู้ป่วยออกจากบุคคลปกติได้ในปริมาณที่สูง ในช่วงเวลาที่จำากัด<br />

เพราะการวัดอุณหภูมิเชิงแผ่รังสี ใช้เวลาในการวัดที่น้อยกว่า<br />

การวัดอุณหภูมิโดยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบสัมผัสโดยทั่วไป อาทิ<br />

เทอร์โมมิเตอร์ชนิดของเหลวในกระเปาะแก้ว ซึ่งใช้กันอยู่ใน<br />

โรงพยาบาลทั่วไป นอกจากนี้เนื่องจากการวัดอุณหภูมิเชิงแผ่รังสี<br />

เป็นการวัดอุณหภูมิโดยปราศจากการสัมผัส จึงทำาให้สามารถ<br />

ป้องกันการปนเปื้อนที่จะเกิดขึ้นจากการวัดอุณหภูมิได้<br />

ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม การวัดอุณหภูมิเชิงแผ่รังสี<br />

เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นช่วงอุณหภูมิสูง<br />

เกินกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นข้อจำากัดของเครื่องมือวัด<br />

อุณหภูมิแบบสัมผัสโดยทั่วไป หรือในช่วงอุณหภูมิต่ำาที่ต้องการ<br />

ป้องกันการปนเปื้อนที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการวัดอุณหภูมิ อาทิ<br />

ในอุตสาหกรรมอาหาร นอกจากนี้ กล้อง Thermo-scan<br />

ยังใช้ในการวัดอุณหภูมิ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความเสียหายของ<br />

เครื่องจักรอันเนื่องมาจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นสูงเกินกว่าค่าปกติได้<br />

อย่างไรก็ดีค่าความไม่แน่นอนในการวัดของเทอร์โมมิเตอร์<br />

แบบแผ่รังสีนั้นยังค่อนข้างสูง อันเนื่องมาจากค่าความไม่แน่นอน<br />

ที่ค่อนข้างสูงในกระบวนการสอบเทียบเทอร์โมมิเตอร์แบบ<br />

แผ่รังสีโดยอาศัยแหล่งกำาเนิดอุณหภูมิเชิงแผ่รังสีแบบ<br />

วัตถุดำา (Blackbody Radiation Source) ทั้งนี้เพราะการ<br />

วัดหรือสอบเทียบอุณหภูมิแบบแผ่รังสี เป็นการวัดอุณหภูมิ<br />

โดยอาศัยหลักการแผ่รังสีของวัตถุดำา ตาม Planck’s Law<br />

ดังนั้นจึงจำาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบค่าสัมประสิทธิ์การเปล่ง<br />

(Emissivity) ที่แน่นอนของแหล่งกำาเนิดอุณหภูมิเชิงแผ่รังสี<br />

แต่เนื่องจากในขณะนี้ทางห้องปฏิบัติการอุณหภูมิเชิงแผ่รังสี<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ยังไม่มีเครื่องมือหรือระบบใดๆ<br />

ที่จะใช้ในการหาค่าสัมประสิทธิ์การเปล่งดังกล่าว จึงทำาให้<br />

การสอบเทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิเชิงแผ่รังสีจึงต้องอาศัยค่า<br />

สัมประสิทธิ์การเปล่งของแหล่งกำาเนิดอุณหภูมิที่เป็นค่าโดย<br />

ประมาณ หรือค่าที่ได้จากบริษัทผู้ผลิตแหล่งกำ าเนิดอุณหภูมินั้นๆ<br />

ส่งผลให้ค่าความไม่แน่นอนในการสอบเทียบจึงค่อนข้างสูง<br />

อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนของค่าสัมประสิทธิ์การเปล่งรังสี<br />

ของแหล่งกำาเนิดอุณหภูมินั่นเอง<br />

ด้วยเหตุนี ้ทางห้องปฏิบัติการอุณหภูมิเชิงแผ่รังสี<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จึงได้จัดสร้างระบบในการหาค่า<br />

สัมประสิทธิ์การเปล่งของแหล่งกำ าเนิดอุณหภูมิเชิงแผ่รังสีแบบวัตถุดำ า<br />

เพื่อให้สามารถทราบค่าสัมประสิทธิ์การเปล่งที่แน่นอนมากขึ้นส่งผล<br />

ให้ค่าความไม่แน่นอนในการสอบเทียบเครื ่องมือวัดอุณหภูมิเชิง<br />

แผ่รังสีลดลงอย่างมีนัยสำาคัญ และทำาให้ความไม่แน่นอนในการ<br />

วัดของเทอร์โมมิเตอร์แบบแผ่รังสีลดลงไปด้วยคู่กัน<br />

20<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


รูปที่ 1 : แสดงหลักการทำางานของระบบในการหาการหาค่าสัมประสิทธิ์การเปล่งของแหล่ง<br />

กำาเนิดอุณหภูมิเชิงแผ่รังสีแบบวัตถุดำา ของห้องปฏิบัติการอุณหภูมิเชิงแผ่รังสี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ระบบซึ่งสถาปนาขึ้นนี้จะสามารถหาค่าสัมประสิทธิ์<br />

การเปล่งรังสีโดยอาศัยหลักการวัดการสะท้อน (Reflectance)<br />

ของแสงที ่สะท้อนออกจากแหล่งกำาเนิดอุณหภูมิเชิงแผ่รังสีนั ้นๆ<br />

โดยส่วนประกอบที่สำาคัญของระบบดังแสดงในรูปที่ 1 คือ แหล่ง<br />

กำาเนิดแสง ซึ่งในกรณีนี้เลือกใช้แสงเลเซอร์(Laser) เนื่องจากเป็น<br />

แสงที่มีความยาวคลื่นเดี่ยว (Monochromatic Light) และมี<br />

ความเข้มแสง (Intensity) ที่เพียงพอต่อการนำามาประยุกต์ใช้<br />

ส่วนประกอบต่อมาคือ Optical Elements ซึ่งจะทำาหน้าที่ใน<br />

การนำาแสงเลเซอร์เข้าสู่ Integrating Sphere ซึ่งทำาหน้าที่ใน<br />

การส่งเสริมการสะท้อนของแสงเลเซอร์ที่สะท้อนกลับมาจากแหล่ง<br />

กำาเนิดอุณหภูมิแบบแผ่รังสี เพื่อเป็นการเพิ่มความเป็นหนึ่งเดียว<br />

ของแสงที่สะท้อนกลับออกมา ทำาให้สะดวกต่อการเลือกตำาแหน่ง<br />

ในการวัดการสะท้อนของแสงที่ออกมาจากแหล่งกำ าเนิดอุณหภูมิเชิง<br />

แผ่รังสีโดย Detector ซึ่งในกรณีนี้จะใช้ Detector สองชนิดด้วย<br />

กันคือ Si-Photodiode Detector และ InGaAs-Photodiode<br />

Detector ตามความยาวคลื่นของแสงเลเซอร์ที่ใช้ (เนื่องจาก<br />

ค่าสัมประสิทธิ์การเปล่ง จะขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นด้วย)<br />

ซึ่งความเข้มของแสงเลเซอร์ที่สะท้อนกลับมาจากแหล่งกำาเนิด<br />

อุณหภูมิเชิงแผ่รังสีที่จะถูกนำามาเปรียบเทียบกับค่าความเข้ม<br />

ของแสงเลเซอร์ที่สะท้อนออกมาจากวัสดุมาตรฐานอ้างอิง<br />

(Reference Reflectance) ซึ่งรู้ค่าการสะท้อนที่แน่นอน<br />

ทำาให้สามารถทราบค่าการสะท้อนของแหล่งกำาเนิดอุณหภูมิ<br />

เชิงแผ่รังสี ณ ความยาวคลื่น λ, r c (λ), ได้และจากความ<br />

สัมพันธ์สมการที่ 1 จะสามารถคำานวณค่าสัมประสิทธิ์การเปล่ง<br />

ของแหล่งกำาเนิดอุณหภูมิแบบแผ่รังสีณ ความยาวคลื่น λ, ε c (λ),<br />

ได้ในที่สุด<br />

ε c (λ)=1 ¯ r c (λ)... (1)<br />

ซึ่งในขณะนี้ทางห้องปฏิบัติการอุณหภูมิเชิงแผ่รังสี<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้ออกแบบและจัดหาอุปกรณ์<br />

สำาหรับระบบในการวัดค่าสัมประสิทธิ์ค่าการเปล่งของแหล่ง<br />

กำาเนิดอุณหภูมิเชิงแผ่รังสีแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนในการ<br />

ประกอบและดำาเนินการทดสอบค่าในการวัด ซึ่งผลที่ได้จาก<br />

การวัดนั้นจะได้นำาเสนอในโอกาสต่อไป<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

21


ทำาไมอุณหภูมิจึงมีผลต่อการวัดความยาว<br />

มลฤดี เรณูสวัสดิ์<br />

ฝ่ายมาตรวิทยามิติ<br />

ความยาว (Length) เป็นหนึ่งในหน่วยพื้นฐานของ<br />

ระบบมาตรฐาน SI (The International System of Units)<br />

ได้มีการพัฒนาและวิจัยเทคนิคการวัดความยาวตั้งแต่<br />

อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ความเที่ยง<br />

(Precision) และ ความถูกต้อง (Accuracy) มากยิ่งขึ้น<br />

เนื่องจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน เช่น เพื่อเป็นประสิทธิภาพ<br />

สูงสุดและลดต้นทุนในกระบวนการผลิต เพื่อความเป็นธรรมใน<br />

กระบวนการซื้อขาย และเพื่อความสะดวกสบายในชีวิตประจำาวัน<br />

ในกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยี เป็นต้น<br />

หดตัวเนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ยกตัวอย่างเช่น<br />

การวัดขนาดของโลหะที่มีความยาว 1 เมตร ณ อุณหภูมิ<br />

20 องศาเซลเซียส กับ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส พบว่า<br />

สัมประสิทธิ์การขยายตัวของโลหะมีค่าเท่ากับ 11 ไมโครเมตรต่อ<br />

เมตรต่อองศาเซลเซียส ดังนั้นในการวัดโลหะที่ความยาว 1 เมตร<br />

พบว่าค่าความยาวของโลหะที่วัดได้ณ ที่อุณหภูมิ30 องศาเซลเซียส<br />

มีค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 110 ไมโครเมตร เมื่อเทียบกับค่าที่ทำาการวัด<br />

ณ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส<br />

20 ํC<br />

Artifact<br />

Artifact<br />

Artifact<br />

ดังนั้นการวัดความยาวในกระบวนการต่างๆ ดังที่กล่าว<br />

มาข้างต้น จำาเป็นต้องศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ ที่เป็นปัจจัย<br />

สำาคัญทำาให้ผลการวัดความยาวเกิดความคลาดเคลื่อน โดยปัจจัย<br />

หลักที่ส่งผลกระทบต่อการวัดในด้านต่างๆ รวมถึงการวัด<br />

ความยาวตามที่ได้ระบุในระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบ<br />

ISO/IEC 17025 ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้วัด คุณสมบัติของเครื่องมือ<br />

ที่ถูกวัด วิธีการวัด ผู้ปฏิบัติงาน และสภาวะแวดล้อม<br />

ทั้งนี้พบว่าอุณหภูมิเป็นส่วนหนึ่งของสภาวะแวดล้อม<br />

ที่ส่งผลกระทบต่อการวัดความยาวโดยตรงเนื่องจากวัสดุที่<br />

นำามาใช้สร้างเครื่องมือวัดนั้นมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายหรือ<br />

ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกันในระบบสากลสำาหรับ<br />

การวัดความยาวซึ่ง ISO 1 ได้ระบุถึงอุณหภูมิอ้างอิง<br />

(Reference Temperature) โดยกล่าวไว้ว่าการวัดความยาวที่<br />

ต้องการความถูกต้องสูง ต้องทำาการวัดชิ้นงาน (Artifact) ภายใต้<br />

สภาวะอุณหภูมิอ้างอิง คือ 20 องศาเซลเซียส เนื่องจากผล<br />

กระทบจากสัมประสิทธิ์การขยายตัวของวัสดุที่ต่างกัน<br />

โดยความยาวของชิ้นงานที่เปลี่ยนไป ∆L ที่ขึ้นอยู่กับ<br />

อุณหภูมิและสัมประสิทธิ์การขยายตัวของวัสดุสามารถคำานวณ<br />

ได้จากสมการ<br />

22<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


เมื่อ l คือความยาวของชิ้นงานภายใต้สภาวะอุณหภูมิ<br />

ขณะทำาการวัดชิ้นงาน t, ∆L คือ ค่าความยาวที่เปลี่ยนแปลง α<br />

คือสัมประสิทธิ์การขยายตัวของวัสดุ และ t คืออุณหภูมิที่ขณะ<br />

ทำาการวัดชิ้นงาน<br />

ความยาวของชิ้นงานที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นสามารถปรับแก้ได้<br />

(Correction) ในระบบการวัดได้ จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น<br />

สามารถปรับแก้ค่าความยาว 1 เมตร ที่เกิดขึ้นเมื่อวัดชิ้นงาน<br />

ที่ 30 องศาเซลเซียส ซึ่งมีค่าเท่ากับ 110 ไมโครเมตร แต่การ<br />

ปรับแก้นั้นไม่สามารถทำาได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากยังมีส่วนของ<br />

ค่าความไม่แน่นอนของอุณหภูมิ u(t) และค่าความไม่แน่นอน<br />

ของสัมประสิทธิ์การขยายตัวของวัสดุ u(α) ที่ยังคงเหลืออยู่<br />

โดยสามารถหาได้จากสมการที่ (2)<br />

ค่าความไม่แน่นอนของสัมประสิทธิ์การขยายตัวของ<br />

วัสดุนั้นเกิดจากการผลิตวัสดุที่ไม่สมบูรณ์ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบัน<br />

ไม่สามารถประเมินค่าความไม่แน่นอนของสัมประสิทธิ์การขยาย<br />

ตัวของวัสดุที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไปสามารถ<br />

กำาหนดให้ค่าความไม่แน่นอนของสัมประสิทธิ์การขยาย<br />

ตัวของวัสดุเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัว<br />

ดังนั้นในการวัดชิ้นงานควรทำาการวัดภายใต้สภาวะที่ใกล้กับ<br />

อุณหภูมิอ้างอิงมากที่สุด เพื่อลดค่าความไม่แน่นอนในส่วนของ<br />

สัมประสิทธิ์การขยายตัวของวัสดุ(ในเทอมที่สองของสมการที่ 2)<br />

ส่วนปัจจัยหลักสำาหรับค่าความไม่แน่นอนของอุณหภูมิที่<br />

เกิดขึ้นในระบบ ได้แก่ 1. เครื่องมือวัดอุณหภูมิ 2. การแกว่งของ<br />

อุณหภูมิที่เกิดขึ้นจากที่ควบคุมไว้ที่ 20 องศาเซลเซียส และ<br />

3. ค่าอุณหภูมิที่ต่างกันระหว่างตัวมาตรฐาน (Standard) และ<br />

ชิ้นงาน (Artifact)<br />

เมื่อพิจารณาค่าความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากทั้ง<br />

สองปัจจัย (อุณหภูมิและสัมประสิทธิ์การขยายตัวของวัสดุ)<br />

พบว่าค่าความไม่แน่นอนที ่เกิดจากอุณหภูมิจะเป็นปัจจัยหลัก<br />

(พิจารณาจากสมการที่ 2) ดังนั้นถ้าต้องการวัดชิ้นงานที่มีความ<br />

ถูกต้องและความเที่ยงสูง ห้องปฏิบัติการต้องพิจารณาปัจจัยที่ส่ง<br />

ผลกระทบต่ออุณหภูมิ 3 ข้อ ดังที่กล่าวมา เช่น จัดหาเครื่องมือ<br />

วัดอุณหภูมิที่มีความถูกต้องสูง การควบคุมสภาวะห้องปฏิบัติ<br />

การให้อยู่ภายในข้อกำาหนดของอุณหภูมิอ้างอิงให้มากที่สุด<br />

ซึ่งทั้งหมดอาจต้องลงทุนสูง แต่หากเป็นการวัดชิ้นงานที่ไม่<br />

ต้องการความถูกต้องและความเที่ยงสูง ห้องปฏิบัติการ<br />

สามารถที่จะลดเงื่อนไขของปัจจัยทั้ง 3 ข้อได้แต่ต้องไม่กระทบ<br />

ต่อค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ของผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการ<br />

ลดต้นทุนเช่นเดียวกัน<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

23


การประเมินความสามารถด้านการวัด และสมรรถนะ<br />

ของระบบการวัดกำาลังคลื่นเหนือเสียงในระดับปฐมภูมิ<br />

An evaluation of the measurement capability and the<br />

performance of the primary level ultrasound power<br />

measurement system<br />

กล่าวนำา<br />

ห้องปฏิบัติการคลื่นเหนือเสียง ฝ่ายมาตรวิทยาเสียง โดยกิจกรรมหนึ่งในหลายกิจกรรม ที่จะช่วยเสริมให้เกิดความ<br />

และการสั่นสะเทือน ได้สถาปนาระบบการวัดกำาลังคลื่นเหนือ มั่นใจในความสามารถด้านการวัด และสมรรถนะของระบบ<br />

เสียงในระดับปฐมภูมิ ซึ่งใช้เวลาดำาเนินการประมาณ 2 ปี การวัดกำาลังคลื่นเหนือเสียงในระดับปฐมภูมินี้ คือ การเปรียบ<br />

ประกอบด้วยกระบวนการ รับถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ เทียบผลการวัดกับสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติในระดับสากล<br />

ออกแบบอุปกรณ์ จัดหาเครื่องมือ เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฝ่ายมาตรวิทยาเสียงและการสั่นสะเทือน ขอนำาเสนอรายงาน<br />

ควบคุมการทำางาน รวมถึงการทดสอบระบบและวัดผลเก็บข้อมูล ผลการเปรียบเทียบดังกล่าวโดยย่อ ดังต่อไปนี้<br />

Bilateral comparison of radiation conductance of ultrasonic transducer<br />

between NMIJ and NIMT<br />

The technical training on the topic of “Concept<br />

of the ultrasound pressure and ultrasound power<br />

measurements and their analysis” was organized for the<br />

staff of the National Institute of Metrology (Thailand)<br />

(NIMT) at the National Metrology Institute of Japan<br />

(NMIJ) during May 24, 2010 to June 11, 2010. As<br />

a consequence, bilateral comparison between two<br />

laboratories NMIJ and NIMT was carried out for the<br />

radiation conductance of ultrasonic transducer in<br />

order to evaluate the competence of NIMT staff. The<br />

transducer with serial number 594737 was prepared<br />

by NMIT as a travelling standard and calibrated<br />

in the power range between 1 mW to 200 mW.<br />

Measurements were carried out using the radiation<br />

force balance method. The values of radiation<br />

conductance were calculated and being referred as the<br />

comparison quantities. The transducer was hand-carried<br />

to NMIJ and calibrated by the staff of NMIJ during<br />

the training period. After training the transducer was<br />

hand-carried back to NIMT and calibrated again by<br />

the staff of NIMT in July 2010. The calibration results<br />

reported by NIMT deviated significantly from those<br />

reported by NMIJ. After investigation of the calibration<br />

24<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)<br />

วิรัตน ปลั่งแสงมาศ<br />

ฝ่ายมาตรวิทยาเสียงและการสั่นสะเทือน<br />

system and the calibration demonstration by the<br />

staff at NIMT, Dr. Tsuneo KIKUCHI suggested that<br />

some measuring devices are needed to improve the<br />

accuracy of the calibration system. The calibration of<br />

the transducer was carried out again after improving<br />

the accuracy of the calibration system in December<br />

2010 resulting in good agreement on the calibration<br />

results reported by NIMT and those reported by NMIJ.<br />

The comparison showed that the En value was less<br />

than 1.00 for the entire power range demonstrating<br />

that NIMT has competence staff and appropriate<br />

calibration and measurement capability.<br />

รูปแสดงระบบการวัดกำาลังคลื่นเหนือเสียงในระดับปฐมภูมิ<br />

(The primary level ultrasound power measurement system)


Radiation conductance (G)<br />

0.051<br />

0.050<br />

0.049<br />

0.048<br />

0.047<br />

0.046<br />

0.045<br />

0.044<br />

0.043<br />

0.042<br />

0 20 40<br />

NIMT<br />

NIMU<br />

60 80 100 120 140 160 180 200 220<br />

Norminal power (mW)<br />

Result of radiation conductance (G) from ultrasonic transducer (in mS) for each power setting with operating<br />

resonance frequencies of 1MHz.<br />

Conclusions<br />

The calibration results reported by NIMT deviated<br />

significantly from those reported by NMIJ. After investigation<br />

and suggestion by expert from NMIJ of the calibration<br />

system and the calibration demonstration by the<br />

staff at NIMT the accuracy of the calibration system<br />

was improved. The calibration of the transducer was<br />

started again afterwards. The results reported by<br />

NIMT show good agreement on the calibration results<br />

reported by NMIJ. The comparison showed that the<br />

En value was less that 1.00 for the entire power<br />

range, demonstrating that NIMT has competence staff<br />

and sufficient calibration and measurement capability.<br />

บทสรุป<br />

ห้องปฏิบัติการคลื่นเหนือเสียง ฝ่ายมาตรวิทยาเสียงและ<br />

การสั่นสะเทือน ได้สร้างความเชื่อมั่นในระดับหนึ่งให้กับระบบ<br />

การวัดปริมาณคลื่นเหนือเสียงในระดับปฐมภูมิ ยังคงมีภารกิจที่<br />

ต้องดำาเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้มากยิ่งขึ้น<br />

ซึ่งภารกิจดังกล่าว ได้แก่ การเข้าร่วมเปรียบเทียบผลการวัดที่จัด<br />

ในกลุ่มประเทศในภูมิภาค (Asia Pacific Metrology Program)<br />

การดำาเนินการด้านระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการฯ ให้เป็น<br />

ไปตามมาตรฐานสากล เป็นต้น<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

25


การพัฒนาการระบบการวัดทางแสงแห่งชาติ<br />

ฝ่ายมาตรวิทยาแสง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ทำาหน้าที่ในการเก็บรักษามาตรฐานแห่งชาติของหน่วยวัดทางแสง<br />

เช่น มาตรฐานฟลักซ์การส่องสว่าง (Luminous Flux Standard) และ<br />

มาตรฐานความเข้มของการส่องสว่าง (Luminous Intensity<br />

Standard) ของหลอดไส้ มาตรฐานความเข้มแสงเชิงสเปกตรัม<br />

ต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่รับ (Spectral Irradiance Standard) เป็นต้น<br />

รวมทั้งรองรับกิจกรรมการวัดของภาคอุตสาหกรรม หน่วยงาน<br />

ต่างๆ ภายในประเทศ โดยการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด<br />

ทางแสงต่างๆ เช่น Luxmeter, Photometer และ Radiometer<br />

เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการ<br />

ส่งมาตรฐาน และเครื่องมือไปสอบเทียบยังต่างประเทศของ<br />

ห้องปฏิบัติการสอบเทียบระดับทุติยภูมิและโรงงานอุตสาหกรรม<br />

ลดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ฝ่าย<br />

มาตรวิทยาแสงยังมีความร่วมมือกับภาครัฐ และเอกชนใน<br />

โครงการต่างๆ รวมถึงการให้คำาปรึกษาทางด้านเทคนิค<br />

การดำาเนินงานของฝ่ายมาตรวิทยาแสงในปี 2554<br />

ยังคงมุ่งเน้นในการเพิ่มขีดความสามารถของระบบวัดที่มีอยู่แล้ว<br />

และตอบสนองความต้องการระบบวัดใหม่ๆ จากหน่วยงาน<br />

ภายในประเทศ เช่น การพัฒนาขีดความสามารถของระบบวัด<br />

Total Luminous Flux ของหลอดไส้และระบบวัด Spectral<br />

Irradiance เพื่อให้มีความไม่แน่นอนในการวัดที่ลดลง ซึ่งการ<br />

ลดลงของความไม่แน่นอนในการวัดระดับชาตินี้จะส่งผลดีต่อ<br />

กิจกรรมการวัดภายในประเทศในระดับอื่นๆ ให้มีการวัดที่มี<br />

ความถูกต้องมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการให้ความมั่นใจแก่ผู้บริโภค<br />

ในคุณภาพของสินค้าและบริการ<br />

ดร. สุนทร จรรยาวดี<br />

ฝ่ายมาตรวิทยาแสง<br />

นอกเหนือจากการพัฒนาระบบวัดเดิมข้างต้น ฝ่ายมาตร<br />

วิทยาแสงยังมีการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ในการวัด<br />

โดยเปิดให้บริการสอบเทียบในสาขาการวัดที่มีความต้องการจาก<br />

ภายในประเทศ เช่น<br />

1. การสอบเทียบการตอบสนองความเข้มแสงเชิงสเปกตรัม<br />

ของเครื่องสเปกโตรเรดิโอมิเตอร์<br />

2. การสอบเทียบความเข้มแสงเชิงสเปกตรัมของแหล่ง<br />

กำาเนิดแสงนอกสถานที่<br />

3. การสอบเทียบการตอบสนองความเข้มแสงในช่วงยูวีเอ<br />

ยูวีบี บิลิรูบินสเปกตรัม และในช่วงอื่นๆ ของเครื่องเรดิโอมิเตอร์<br />

4. การสอบเทียบความเข้มแสงของหลอดในช่วงยูวีเอ ยูวีบี<br />

และบิลิรูบินสเปกตรัม<br />

การบริการสอบเทียบใหม่เหล่านี้ช่วยสนับสนุนการ<br />

แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในระดับนานาชาติ ซึ่งจะช่วย<br />

ลดต้นทุนของการผลิตด้วย เพิ่มความถูกต้องของข้อมูลที่<br />

ได้จากการวิจัย ตลอดจนให้ความเชื่อมั่นในการให้บริการ<br />

ทางการแพทย์ การพัฒนาระบบวัดใหม่อื่นๆ ของฝ่ายมาตร<br />

วิทยาแสงที่กำาลังดำาเนินการอยู่และจะเปิดให้บริการเร็วๆ นี้<br />

ได้แก่ การพัฒนาระบบวัด Total Luminous Flux ของหลอด<br />

ฟลูออเรสเซนต์ และการพัฒนาระบบวัดสมบัติทางแสงของ<br />

หลอดแอลอีดี ซึ่งเป็นการรองรับความต้องการการใช้งานหลอดไฟ<br />

ที่มีอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน และแหล่งกำาเนิดแสงที่มีการเติบโต<br />

ของตลาดอย่างรวดเร็วตามลำาดับ<br />

งานวิจัยเป็นส่วนสำาคัญในการพัฒนาระบบวัดต่างๆ<br />

ในปี 2554 งานวิจัยที่สำาคัญของฝ่ายมาตรวิทยาแสง ได้แก่<br />

การศึกษาความสม่ำาเสมอของสัญญาณในทรงกลมรวมแสงซึ่งมี<br />

ผลต่อความถูกต้องของการวัด Total Luminous Flux ของ<br />

หลอดฟลูออเรสเซนต์<br />

26<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


รูปที่ 1 แสดงระบบวัด Total Luminous Flux ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ (ซ้าย)<br />

และระบบวัดสมบัติทางแสงของหลอดแอลอีดี (ขวา)<br />

การวัด Total Luminous Flux ที่ฝ่ายมาตรวิทยาแสงใช้วิธีทรงกลมรวมแสง (Integrating Sphere Method) วิธีนี้<br />

หลอดไฟจะถูกนำาไปไว้ที่จุดศูนย์กลางทรงกลมกลวงขนาดใหญ่ซึ่งผนังภายในฉาบด้วยสารสีขาวสะท้อนแสง หากติดตั้งเครื่องวัดความ<br />

เข้มแสงไว้ที่จุดใดจุดหนึ่งบนผิวภายในทรงกลมรวมแสงแล้ว สัญญาณแสงที่ได้จะสามารถนำามาคำานวณหาค่า Total Luminous Flux<br />

ของหลอดได้ โดยเทียบกับค่าของหลอดมาตรฐาน<br />

สิ่งสำาคัญที่มีผลต่อความถูกต้องของการวัดการส่องสว่างโดยวิธีนี้คือความสม่ำาเสมอของสัญญาณการตอบสนองต่อแสง<br />

ของผนังทรงกลม หากผนังมีสัญญาณที่สม่ำาเสมอมากจะทำาให้ความถูกต้องในการวัดมีมากขึ้น อย่างไรก็ดี องค์ประกอบสำาคัญ<br />

ที่ทำาให้สัญญาณบนผนังทรงกลมไม่สม่ำาเสมอก็คือฉากกั้นแสง (Baffle) ซึ่งจะถูกติดตั้งอยู่ข้างหน้าเครื่องวัด (รูปที่ 2) และทำา<br />

หน้าที่กันไม่ให้แสงจากหลอดตกกระทบเครื่องวัดแสงโดยตรง ฉากกั้นแสงเป็นอุปกรณ์ที่จำาเป็นต่อการวัดด้วยวิธีนี้ แต่ก็ทำาให้<br />

สัญญาณบางตำาแหน่งบนผนังทรงกลมไม่สม่ำาเสมอเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผนังทรงกลมบริเวณฉากเองหรือบริเวณ<br />

ตรงข้ามฉากกั้นแสง จากการศึกษาพบว่าฉากกั้นแสงจำาเป็นต้องได้รับการออกแบบให้เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบต่อความสม่ำาเสมอ<br />

ในการตอบสนองของทรงกลมให้น้อยที่สุด เช่น ฉากกั้นแสงควรมีขนาดเล็กที่สุดที่ยังกั้นแสงโดยตรงจากหลอดได้ และอยู่ใน<br />

ตำาแหน่งที่เหมาะสมจากเครื่องวัดแสง<br />

ฉากขนาด 120 มม. ฉากขนาด 212 มม.<br />

รูปที่ 2 ก) แสดงส่วนประกอบของระบบวัด<br />

Total luminous flux<br />

ข) แสดงผลของขนาดฉากกั้นแสง<br />

ที่มีต่อความสม่ำาเสมอของสัญญาณแสง<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

27


่<br />

การพัฒนาระบบมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพของประเทศ<br />

สำาหรับปีที่ผ่านมาที่ถือเป็นปีแห่งอุทกภัยที่ได้รับผลกระทบ<br />

กันถ้วนหน้า ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพเราก็ได้รับผลกระทบ<br />

ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องระยะเวลาในการทำางานน้อยลงทำาให้<br />

ผลการดำาเนินงานไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ซึ่งเราต้อง<br />

ทำาความเข้าใจและตอบคำาถาม (ที่แสดงถึงความห่วงใย) ของเพื่อน<br />

จากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติประเทศอื่นๆ อยู่พอสมควร<br />

โชคดีที ่เครื ่องมือและสารมาตรฐานที ่เรามีไม่ได้หายไปกับน้ ำา<br />

แต่ก็ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบการใช้งานได้ทั้งเครื่องมือ<br />

และสารมาตรฐานอยู่พักหนึ่ง หลังจากทุกอย่างกลับสู่สภาพปกติ<br />

เราก็สามารถทำางานได้ตามปกติเหมือนเดิม<br />

ผลงานที่มีความโดดเด่นและน่าจับตามองสำาหรับผู้ที่<br />

ทำางานทางด้านนี้อยู่ก็ได้แก่ การผลิตวัสดุอ้างอิง (เพิ่มเติมจาก<br />

ที่ผ่านมา) การแสดงความสามารถทางด้านการวัดทางเคมีและ<br />

ชีวภาพให้เป็นที่ยอมรับของสังคมโลกได้มากขึ้น การบริหารงาน<br />

เครือข่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการ<br />

มอบหมายการทำาหน้าที่แทนห้องปฏิบัติการมาตรวิทยาเคมีของ<br />

มว. ให้แก่หน่วยงานที่มีความสามารถและความถนัดในรายการ<br />

วัดนั้นๆ นอกจากนั้นเรายังเป็นเจ้าภาพจัดอบรมความรู้ด้าน<br />

มาตรวิทยาเคมีเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเคมีทั้ง<br />

ในและต่างประเทศอีกด้วย<br />

ในด้านการผลิตวัสดุอ้างอิง ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์<br />

เคมีไฟฟ้ายังคงมีผลงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ได้พัฒนาวัสดุ<br />

อ้างอิงสารละลายบัฟเฟอร์ระดับทุติยภูมิ (Secondary Buffer<br />

Solutions) ที่มีค่า pH (ความเป็นกรด - เบส) เท่ากับ 1.65-1.69<br />

+_ 0.02 และ 9.99-10.02 +_ 0.02 (ที่ 25 ำC) เพื่อใช้ในการ<br />

สอบเทียบเครื่อง pH Meter ได้สำาเร็จ จนถึงปัจจุบันเรา<br />

ปราณี พฤกพัฒนาชัย/ไกรฤกษ์ อบรมสุข<br />

ฝ่ายมาตรวิทยาวิทยาเคมีและชีวภาพ<br />

สามารถผลิตวัสดุอ้างอิงสารละลายบัฟเฟอร์ที่มีค่า pH ได้รวม<br />

6 ค่า จากที่ IUPAC Recommend ไว้ 7 ค่า ซึ่งคาดว่าจะ<br />

ผลิตได้ครบในปี 2556 ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของ<br />

ผู้ที่ใช้เครื่อง pH Meter ที่จำาเป็นต้องใช้สารละลายมาตรฐาน<br />

บัฟเฟอร์ที่มีความแม่น สามารถสอบกลับไปยัง SI Units ได้<br />

และที่สำาคัญยังมีราคาถูกอีกด้วย<br />

ในด้านการเปรียบเทียบผลการวัด นักมาตรวิทยาของ<br />

เราต้องทำางานอย่างหนักในด้านนี้ เพราะภารกิจหลักของฝ่ายคือ<br />

การสถาปนาความสามารถด้านการวัดและแสดงออกมาให้เป็นที<br />

ยอมรับในระดับสากลก่อนที่จะถ่ายทอดความสามารถนี้ไปยังผู้ใช้<br />

ภายในประเทศ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การผลิต/ให้ค่าวัสดุ<br />

อ้างอิง การให้ค่าอ้างอิงในโปรแกรมทดสอบความชำานาญ ดังนั้น<br />

งานด้านการเข้าร่วมเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างประเทศจึงนับ<br />

ว่ามีลำาดับความสำาคัญสูงมากของฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ<br />

โดยในปี 2554 เราเข้าร่วมโปรแกรมเปรียบเทียบผลการวัดระหว่าง<br />

ประเทศรวม 11 รายการวัด และภายในประเทศอีก 3 รายการ<br />

จากทั้ง 5 ห้องปฏิบัติการของเรา สรุปการเข้าร่วมโปรแกรมเปรียบ<br />

เทียบผลการวัดระหว่างประเทศของฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ<br />

ระหว่างปี 2547-2554<br />

จำานวนรายการวัดระหว่างประเทศ<br />

12<br />

10<br />

8<br />

6<br />

4<br />

2<br />

0 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554<br />

ปี พ.ศ.<br />

ค่า pH<br />

1.65-1.69+0.02 6.85-6.88+0.01<br />

9.99-10.02+0.02<br />

9.17-9.20+0.01 12.45 (อยู่ระหว่างศึกษา)<br />

3.99-4.02+0.01 6.99-7.03+0.01<br />

28<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ในด้านการบริหารเครือข่ายมาตรวิทยาเคมี ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้<br />

ปัญหา ความต้องการทางด้านมาตรวิทยาเคมีของประเทศ ตลอดจนข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาเคมีของประเทศ<br />

เป็นการเชื่อมโยงหน่วยงานในประเทศที่ต้องทำางานเกี่ยวข้องกับมาตรวิทยาเคมีเข้าเป็นเครือข่ายบริหารงานให้มีความเข้มแข็งและ<br />

ต่อเนื่อง ผลการดำาเนินงานที่สำาคัญในปี 2554 มีดังนี้<br />

คณะกรรมการบริหารเครือข่ายฯมีมติเห็นชอบให้สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติมอบหมายให้ห้องปฏิบัติการทำาหน้าที ่แทน<br />

ห้องปฏิบัติการเคมีมว. ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการพิจารณาการมอบหมายให้ห้องปฏิบัติการทำ าหน้าที่แทนห้องปฏิบัติการเคมี มว. ดังนี้<br />

No. Designated Institute Designated Institute Metrology Area of Designation<br />

(DI) Acronym<br />

1 Biological Science Program, Department DSS Chemistry (Plasticizers in food<br />

of Science Service, Ministry of Science<br />

and food contact material<br />

and Technology<br />

(plastic))<br />

2 Industrial Metrology and Testing Services TISTR Chemistry (Food preservatives<br />

Centre, Thailand Institute of Scientific and<br />

in seasonings and condiments)<br />

Technological Research, Ministry of Science<br />

and Technology<br />

3 Chemistry Program, Department of Science DSS Chemistry (Halogenated flame<br />

Service, Ministry of Science and Technology<br />

retardants in plastic)<br />

4 Bureau of Quality and Safety of Food, BQSF, DMSc Chemistry (Pesticides residue<br />

Department of Medical Science, Ministry of<br />

in food)<br />

Public Health<br />

5 Bureau of Radiation and Medical Devices, BRMD, DMSc Ionizing Radiation (Radiotherapy<br />

Department of Medical Science, Ministry<br />

dosimetry, Brachytherapy<br />

of Public Health<br />

dosimetry, Diagnostic<br />

radiology dosimetry)<br />

- คณะทำางานโครงการทดสอบความชำานาญด้านการวัดทางเคมีและชีววิเคราะห์ ได้รวบรวมข้อมูล จัดทำาฐานข้อมูลของ<br />

โปรแกรมทดสอบความชำานาญประจำาปี ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลจากแต่ละหน่วยงานมาไว้ที่เดียวและเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสถาบัน<br />

- ตามแผนการดำาเนินงานของคณะทำางานโครงการพัฒนาวัสดุอ้างอิง/วัสดุอ้างอิงรับรองทางเคมี ที่จะร่วมกำาหนดทิศทาง<br />

ของการพัฒนาวัสดุอ้างอิง/วัสดุอ้างอิงรับรองเพื่อใช้ภายในประเทศนั้น คณะกรรมการบริหารเครือข่ายฯ เห็นชอบให้คณะทำางานฯ<br />

พิจารณานำาตัวอย่างที่ใช้ในโปรแกรมทดสอบความชำานาญมาพัฒนาให้เป็นวัสดุอ้างอิง/วัสดุอ้างอิงรับรอง<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

29


การพัฒนาศักยภาพการวัด<br />

ความสามารถใหม่ด้านการวัดที่ได้รับการสถาปนา<br />

และพัฒนาสามารถให้บริการ<br />

• มาตรฐานด้านแรง<br />

ห้องปฏิบัติการแรง ได้พัฒนา Deadweight Force<br />

Standard Machine ที่ขนาดพิสัย 20 N และ 100 N<br />

ที่สามารถสอบเทียบแรงในทิศทางแรงกด (Compression Mode)<br />

และทิศทางแรงดึง (Tension Mode) เพื่อสามารถรองรับความ<br />

ต้องการการสอบเทียบของ Force Proving Instrument ของ<br />

หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีขนาดของแรงตั้งแต่<br />

2 N - 100 N และยังเป็นมาตรฐานอ้างอิงในการถ่ายทอดค่า<br />

ความถูกต้องไปสู่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศอีกด้วย<br />

Deadweight Force Standard Machine<br />

ที่ขนาดพิสัย 20 N และ 100 N<br />

• มาตรฐานด้านความดัน<br />

ห้องปฏิบัติการความดันได้สถาปนาขีดความสามารถใน<br />

การตรวจสอบความถูกต้องของระบบเครื่องมือวัดความดันโลหิต<br />

ในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล (เป็นโครงการ<br />

ปี 2553-2554) โดยความร่วมมือกับสำานักรังสีและเครื่องมือแพทย์<br />

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การ<br />

ใช้งานเครื่องมือวัดความดันโลหิตในประเทศไทยซึ่งมีการใช้อย่าง<br />

แพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน มีผลการวัดที่ถูกต้องและเป็นไป<br />

ตัวอย่างระบบการทวนสอบ<br />

เครื่องมือวัดความดันโลหิต<br />

ตามมาตรฐานมากยิ่งขึ้นโดยได้รับการสนันสนุนด้านองค์ความ<br />

รู้จากสถาบันมาตรวิทยาแห่งประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี (PTB)<br />

และสถาบันมาตรวิทยาแห่งประเทศบราซิล (INMETRO)<br />

ซึ ่งในการนี ้ได้จัดทำาเอกสาร “ขั ้นตอนการปฏิบัติงาน<br />

มาตรฐานวิธีการทำาการทวนสอบเครื่องวัดความดันโลหิต (Standard<br />

procedure of Initial & periodic verification for Non-invasive<br />

sphygmomanometers)” ISBN : 978-616-11-0846-5 ขึ้นและ<br />

ได้ประกาศใช้โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่<br />

20 พฤษภาคม 2554 ซึ่งจะได้นำาไปใช้เป็นวิธีการมาตรฐาน<br />

ของหน่วยงานในการทวนสอบเครื่องวัดความดันโลหิต<br />

และขั้นตอนต่อไปคือการเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องได้<br />

นำาไปใช้เป็นวิธีการมาตรฐาน นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่าง<br />

ทำาโครงการความร่วมมือกับกองควบคุมเครื่องมือแพทย์<br />

สำานักงานคณะกรรมการอาหารและยาทำาการสำารวจตัวอย่าง<br />

เครื่องมือวัดความดันโลหิตทั่วประเทศ เพื่อให้ได้ทราบ<br />

ข้อจำากัดต่างๆ ในการทวนสอบของเครื่องมือประเภท<br />

นี้ที่มีจำาหน่ายและใช้งานในประเทศ เพื่อหาทางขจัด<br />

ข้อจำากัดดังกล่าว และเป็นการยกระดับมาตรฐานการวัด<br />

ทางการแพทย์ในประเทศที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือประเภทนี้ให้<br />

เป็นไปตามมาตรฐานสากล ต่อไป<br />

30<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


• มาตรฐานด้านกำาลังไฟฟ้า<br />

สาขาด้านตัววัดแหล่งจ่ายฮาร์มอนิกส์และแรงดัน<br />

กระเพื่อม (Harmonics and Flickers) ดำาเนินการโดย<br />

ห้องปฏิบัติการกำาลังไฟฟ้า เพื่อรองรับความต้องการด้านการวัด<br />

แหล่งกำาเนิดคุณภาพไฟฟ้า (Power Quality) โดยเฉพาะ<br />

ฮาร์มอนิกส์และแรงดันไฟฟ้ากระเพื่อมซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำาให้<br />

คุณภาพไฟฟ้าในระบบด้อยลง โดยห้องปฏิบัติการกำาลังไฟฟ้า<br />

สามารถให้บริการด้านตัววัดแหล่งจ่ายฮาร์มอนิกส์ได้ตั้งแต่15 V<br />

ถึง 1000 V กระแส 0.1 A ถึง 30 A กำาลังไฟฟ้า 1.5 W วัตต์<br />

ถึง 30 kW ที่ความถี่ 10 Hz ถึง 2.5 kHz และลำาดับฮาร์มอนิกส์<br />

ไม่เกินลำาดับที่ 50 สำาหรับการให้บริการด้านตัววัดแหล่งจ่าย<br />

แรงดันไฟฟ้ากระเพื่อมนั้นห้องปฏิบัติการกำาลังไฟฟ้าสามารถให้<br />

บริการได้ตั้งแต่ 220 V ถึง 250 V ที่ 50 Hz หรือ ตั้งแต่<br />

110 V ถึง 130 V ที่ 60 Hz<br />

สาขาการวัด DC Power ดำาเนินการโดยห้องปฏิบัติ<br />

การกำาลังไฟฟ้า สามารถเปิดให้บริการได้ตั้งแต่ 100 mV ถึง<br />

1000 V กระแส 10 mA ถึง 20 A และกำาลังไฟฟ้า 1 mW<br />

ถึง 20 kW สำาหรับการวัด DC Power นั้นดำาเนินการโดยการจ่าย<br />

DC Voltage และ DC Current จากแหล่งกำาเนิดกำาลังไฟฟ้า<br />

มาตรฐาน จากนั้นวัดแรงดันตกคร่อม Current Shunt โดย<br />

ใช้ High Precision Digital Miltimeter จำานวน 2 เครื่องวัด<br />

แสดงดังรูป<br />

รูปการวัด DC Power<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

31


• มาตรฐานด้านคลื่นความถี่สูงและไมโครเวฟ<br />

สาขาการวัดกำาลังคลื่นความถี่วิทยุ (RF Power) ดำาเนินการ<br />

โดยห้องปฏิบัติการคลื่นความถี่สูงและไมโครเวฟ ได้เปิดให้บริการ<br />

สอบเทียบเครื่องมือ Power Sensor ณ ระดับกำาลังคลื่นความถี่วิทยุ<br />

1 μ W ในช่วงความถี่ตั้งแต่ 10 MHz ถึง 18 GHz<br />

สาขาการวัดแรงดันคลื่นความถี่วิทยุ (RF Voltage)<br />

ดำาเนินการโดยห้องปฏิบัติการคลื่นความถี่สูงและไมโครเวฟได้<br />

เปิดให้บริการสอบเทียบเครื่องมือ RF Voltemeter ณ ระดับ<br />

แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 0.5 V ถึง 1 V ในช่วงความถี่ตั้งแต่<br />

10 MHz ถึง 1 GHz<br />

• มาตรฐานด้านเครื่องมือวัดหลายฟังก์ชั่น<br />

สาขาด้านการสอบเทียบ Digital Multimeter ดำาเนินงาน<br />

โดยห้องปฏิบัติการเครื่องมือวัดหลายฟังก์ชั่น ได้เปิดให้<br />

บริการสอบเทียบ Digital Multimeter ตั้งแต่ 6 - 8 Digit<br />

รวมทั้ง Nanovoltmeter<br />

สาขาด้านการสอบเทียบ Calibrator ซึ่งให้บริการสอบเทียบ<br />

Calibrator และ Oscilloscope Calibrator<br />

• มาตรฐานด้านความต้านทาน<br />

สาขาการวัดความต้านทาน โดยห้องปฏิบัติการความ<br />

ต้านทาน ได้เปิดให้บริการการวัดค่าความต้านทานประเภท<br />

กระแสสลับ โดยใช้ AC Resistance Bridge ซึ่งสามารถ<br />

วัดค่าความต้านทานกระแสสลับได้ที่ 1Ω, 10Ω, 25Ω,<br />

100Ω และ 400Ω<br />

• มาตรฐานด้านความถี่ของแสง<br />

Optical Comb หรือหวีความถี่ช่วยให้เกิดการเชื่อม<br />

โยงจากมาตรฐานคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency) กับ<br />

มาตรฐานความถี่แสง (Optical Frequency) มาตรฐาน<br />

ความถี่ปัจจุบัน เช่น นาฬิกาอะตอมมิกส์ (Atomic Clock)<br />

ทำางานในย่านคลื่นไมโครเวฟ โดยหวีความถี่จะถ่ายทอดความ<br />

ถูกต้องของนาฬิกาอะตอมมิกส์ดังกล่าวไปยังย่านคลื่นแสง ระบบ<br />

อิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้เราสามารถล็อค Repetitive Rate และ<br />

Offset Frequency ของ Optical Comb กับมาตรฐานความถี่<br />

ได้อย่างง่ายดาย Optical Comb สามารถนำามาประยุกต์<br />

ใช้เป็นมาตรฐานความถี่สำาหรับการสอบเทียบความถี่ของ<br />

เลเชอร์ที่ความยาวคลื่น 500 nm - 1000 nm โดยให้ความถูกต้อง<br />

สูงถึง 10 -13<br />

32<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


• มาตรฐานด้านมุม<br />

Self Calibration Rotary Encoder System เป็นระบบสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานทางด้านมุม<br />

ที่สามารถสอบเทียบตัวเองได้ ทำาให้สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติมีมาตรฐานปฐมภูมิด้านมุมเป็นของตัวเอง ไม่จำาเป็นต้องส่ง<br />

เครื่องมือมาตรฐานไปสอบเทียบที่ต่างประเทศอีก นอกจากนี้ยังสามารถสอบเทียบเครื่องมือด้านมุมได้หลากหลายประเภท<br />

เช่น Autocollimator, Polygon, Angle Gauge, Rotary Encoder และElectronic Level เป็นต้น โดยชุด<br />

Self Calibration Rotary Encoder มีความไม่แน่นอนเท่ากับ 0.03" ตลอดช่วงการวัด 0 í - 360 í<br />

• มาตรฐานด้านการกระจายคลื่นแสง<br />

ห้องปฏิบัติการการกระจายคลื่นแสงได้มีการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ในการสอบเทียบค่าการตอบสนอง<br />

ความเข้มแสงเชิงสเปกตรัม (Spectral Irradiance Responsivity) ของเครื่องสเปกโตรเรดิโอมิเตอร์ ตั้งแต่ช่วง<br />

ความยาวคลื่น 250 นาโนเมตร ถึง 2500 นาโนเมตร โดยวิธีการวัดเปรียบเทียบโดยตรงกับหลอดมาตรฐาน (Optronic<br />

Laboratories : FEL 1000W) ที่ทราบค่าความเข้มแสงเชิงสเปกตรัมต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่รับ (Spectral Irradiance) อ้างอิง<br />

ตามมาตรฐาน ASTM : G138-06 มีค่า Best Measurement Uncertainties เป็น 3.2% ถึง 11.6% ขึ้นอยู่กับค่าความยาวคลื่น(λ) โดย<br />

ยังไม่รวมค่า Uncertainty อันเนื่องมาจากเครื่อง UUC (Unit Under Calibration)<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

33


ภาพตัวอย่างเครื่องเรดิโอมิเตอร์ ภาพตัวอย่างเครื่องสเปกโตรเรดิโอมิเตอร์<br />

ชนิด Diode Array<br />

นอกจากนั้น ห้องปฏิบัติการการกระจายคลื่นแสงได้<br />

มีการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ในการสอบเทียบค่าการ<br />

ตอบสนองความเข้มแสงของเครื่องเรดิโอมิเตอร์ ในช่วงยูวีเอ<br />

ยูวีบี บิลิรูบินสเปกตรัม และช่วงอื่นๆ ตั้งแต่ 280 นาโนเมตร<br />

ถึง 1020 นาโนเมตร โดยวิธีการสอบเทียบกับเครื่องสเปกโตรเรดิโอมิเตอร์<br />

มาตรฐาน (Diode Array Spectroradiometer : Instrument<br />

Systems CAS 140 CT-154) อ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM :<br />

G130-06 มีค่า Best Measurement Uncertainty เป็น 4.7%<br />

ถึง 6.3% ขึ้นอยู่กับช่วงความยาวคลื่น โดยยังไม่รวมค่า Uncertainty<br />

อันเนื่องมาจากเครื่อง UUC (Unit Under Calibration)<br />

• มาตรฐานด้านการวัดทางเคมีและชีวภาพ<br />

No. Parameter Range Uncertainty Method Laboratory<br />

1 Total Malachite green in fish tissue 3-15 μg/kg 6 % relative IDMS Organic Analysis<br />

by ID-LC-MS/MS<br />

expanded<br />

uncertainty<br />

2 Melamine in milk powder and milk 0.1-10 mg/kg 6-8 % relative IDMS Organic Analysis<br />

product by ID-LC-MS/MS<br />

expanded<br />

uncertainty<br />

3 Chloramphenicol in pig muscle 0.2 - 1 μg/kg 7 % relative IDMS Organic Analysis<br />

by ID-LC-MS/MS<br />

expanded<br />

uncertainty<br />

34<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


การพัฒนาศักยภาพการวัด<br />

การพัฒนาขีดความสามารถการวัด<br />

• ห้องปฏิบัติการมวล<br />

ห้องปฏิบัติการมวล ได้พัฒนาขยายขีดความสามารถด้านมวล โดยการลดค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบตุ้มน้ำาหนัก<br />

มาตรฐาน Conventional Mass ในขนาด 100 kg ถึง 1000 kg ดังตาราง :<br />

Nominal ขีดความสามารถเดิม ขีดความสามารถใหม่<br />

value Best Uncertainty Reported Uncertainty Best Uncertainty Reported Uncertainty<br />

(k=2) (k=2) (k=2) (k=2)<br />

100 kg 0.47 g 0.5 g 0.15 g 0.15 g<br />

200 kg 0.83 g 1.0 g 0.4 g 0.4 g<br />

500 kg 1.9 g 2.0 g 1.2 g 1.2 g<br />

1,000 kg 5.8 g 6.0 g 3.0 g 3.0 g<br />

• ห้องปฏิบัติการความหนาแน่น<br />

ห้องปฏิบัติการความหนาแน่น มีเป้าหมายในการพัฒนาการวัดให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม<br />

โดยสามารถให้บริการในขอบเขตของการวัดที่ครอบคลุมทั้ง ความหนาแน่นของ ของเหลว และ ความหนาแน่นของ ของแข็ง<br />

คือ Hydrometer (ช่วง 600-2,000 kg/m 3 ) Volumetric Instrument (ช่วง 100-2,000 cm 3 ) และ Density of Solid Artifact<br />

(ช่วง 2,700-8,000 kg/m 3 )<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

35


• ห้องปฏิบัติการกำาลังไฟฟ้า<br />

ห้องปฏิบัติการกำาลังไฟฟ้าได้พัฒนาระบบการวัดของ<br />

AC Power Meter และ Phase Meter โดยใช้วิธีสอบเทียบ<br />

แบบ Comparison Measurement Method เพื่อลดความไม่<br />

แน่นอนของการวัดพร้อมกับพัฒนาระบบให้เป็นแบบอัตโนมัติ<br />

• ห้องปฏิบัติการคลื่นความถี่สูงและไมโครเวฟ<br />

ห้องปฏิบัติการคลื่นความถี่สูงและไมโครเวฟได้พัฒนา<br />

ระบบการวัด RF Power ด้วยวิธีการสอบเทียบแบบ Comparison<br />

Measurement Method เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการสอบ<br />

เทียบ RF Power Standard<br />

• ห้องปฏิบัติการแม่เหล็กไฟฟ้า<br />

ห้องปฏิบัติการแม่เหล็กไฟฟ้ามีแผนในการวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างมาตรฐานการวัดทางด้านแม่เหล็ก ซึ่งโครงการวิจัยที่อยู่<br />

ระหว่างการพิจารณา ประกอบด้วย<br />

• การสร้างเครื่องมือวัดสนามแม่เหล็กโดยใช้หลักการของ Nuclear Magnetic Resonance ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์<br />

เพื่อใช้เป็นค่าสนามแม่เหล็กมาตรฐานในพิสัยต่ำากว่า 30 mT<br />

• การสร้างเครื่องมือสอบเทียบเครื่องวัดเส้นแรงแม่เหล็ก<br />

• การสร้าง Helmholtz Coil สำาหรับระบบสอบเทียบสนามแม่เหล็กในย่าน 0.1 mT ถึง 50 mT<br />

• การพัฒนาระบบสอบเทียบอัตโนมัติค่าความเข้มสนามแม่เหล็กในย่าน 0.1 mT - 30 mT<br />

• ห้องปฏิบัติการอุณหภูมิ<br />

ห้องปฏิบัติการอุณหภูมิได้พัฒนาขีดความสามารถในการวัดด้วยการขอการรับรองเพิ่มเติม และลดค่าความไม่แน่นอนใน<br />

การสอบเทียบของเครื่องมือวัดทางอุณหภูมิชนิดต่างๆ ดังนี้<br />

1. เครื่องมือที่มีการขอการรับรองเพิ่มเติม คือ Standard Platinum Resistance Thermometer โดยได้รับการรับรอง<br />

เพิ่มเป็นช่วงอุณหภูมิจากเดิมที่ได้รับการรับรองเฉพาะอุณหภูมิ ณ จุด Fixed Point<br />

36<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


2. เครื่องมือที่เคยได้รับการรับรองแล้วมีการปรับลดค่าความไม่แน่นอน<br />

1) Standard Platinum Resistance Thermometer<br />

2) Industrial Platinum Resistance Thermometer<br />

3) Liquid-in-Glass Thermometer<br />

4) Digital Thermometer<br />

5) Thermocouples<br />

โดยการลดค่าความไม่แน่นอนในการสอบเทียบของเครื่องมือวัดทางอุณหภูมิดังกล่าวได้ผ่านการตรวจประเมินจากDeutsche<br />

Akkreditierungsstelle (DAkkS) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แล้ว และกระบวนการขอการรับรองจาก DAkkS จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์<br />

ในเดือนเมษายน 2555 รายละเอียดของค่าความไม่แน่นอนที่ปรับเปลี่ยนแปลงสามารถตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์สถาบัน<br />

• ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ก๊าซ<br />

พัฒนาหน่วยวัดก๊าซประเภทคาร์บอนไดออกไซด์ในไนโตรเจน ในช่วงความเข้มข้น 1% - 15 % โดยน้ำาหนัก<br />

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซมลพิษในอากาศและเป็นองค์ประกอบสำาคัญที่ทำาให้เกิดสภาวะโลกร้อน (Global<br />

Warming) ปัจจุบันในหลายๆ ประเทศของโลกให้ความตระหนักถึงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ<br />

มีการกำาหนดมาตรการคาร์บอนเครดิต ในการควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละประเทศ<br />

ตามพิธีสารเกียวโต ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ก๊าซ ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพตระหนักในปัญหาโลกร้อนที่เริ่มเห็นผล<br />

กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของประเทศไทยมากขึ้น อาทิ ภัยแล้ง น้ำาท่วม เป็นต้น ดังนั้นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์<br />

ก๊าซจึงพัฒนาวิธีการผลิตก๊าซอ้างอิงระดับปฐมภูมิ (Primary Gas Reference Material, PGRM) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการวัด<br />

ของประเทศในการถ่ายค่าความถูกต้องและการสอบย้อนกลับทางมาตรวิทยาของค่าการวัดดังกล่าวลงสู่ภาคอุตสาหกรรมและกลุ่ม<br />

ผู้ประกอบการ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาวิธีการเตรียมก๊าซอ้างอิงในระดับปฐมภูมิ(Primary Gas Reference Material, PGRM)<br />

และประเมินค่าความเสถียรของก๊าซอ้างอิงรับรอง<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

37


การพัฒนาศักยภาพการวัด<br />

การจัดหามาตรฐานการวัด<br />

• ห้องปฏิบัติการความแข็ง<br />

ห้องปฏิบัติการความแข็ง ได้ทำาการจัดหาเครื่อง Charpy Reference Pendulum Impact Testing Machine ในการ<br />

พัฒนาขีดความสามารถ ให้บริการสอบเทียบวัสดุอ้างอิงมาตรฐาน Charpy Standard Reference Materials ในช่วง 10J to 350J<br />

การพัฒนาผลิตวัสดุอ้างอิง<br />

การผลิตวัสดุอ้างอิง Secondary Buffer Solutions สำาหรับสอบเทียบเครื่อง pH Meter<br />

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เคมีไฟฟ้า ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ ได้พัฒนาวัสดุอ้างอิงสารละลายบัฟเฟอร์เพิ่มเติม<br />

ในส่วนของสารละลายบัฟเฟอร์ที่มีค่าความเป็นกรด - เบส เท่ากับ 1.65-1.69 +_ 0.02 และ 9.99-10.02 +_0.10 ที่ (25 íC)<br />

38<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพได้มีการพัฒนาผลิตวัสดุอ้างอิงที่อยู่ระหว่างการดำาเนินการ<br />

ยังไม่พร้อมให้บริการ ดังนี้<br />

วัสดุอ้างอิง สถานะ ห้องปฏิบัติการ<br />

1. สารละลายมาตรฐานแคดเมียม ศึกษาความเสถียร (Stability) วิเคราะห์เคมีไฟฟ้า<br />

(Cadmium) ที่ความเข้มข้น 1000 ppm และความเป็นเนื ้อเดียวกัน (Homogeneity) Electrochemical Analysis<br />

2. สารละลายมาตรฐานโปแตสเซียม ศึกษาความเสถียร (Stability)<br />

(Potassium) ที่ความเข้มข้น 1000 ppm และความเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneity)<br />

3. สารละลายมาตรฐานฟลูออไรด์ (Fluoride) ศึกษาความเสถียร (Stability)<br />

ที่ความเข้มข้น 1000 ppm<br />

และความเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneity)<br />

4. สารละลายมาตรฐานโปรแตสเซียมคลอไรด์ ศึกษาความเสถียร (Stability)<br />

(KCI) ที่ความเข้มข้น 1 mol/l สำาหรับการวัดค่า และความเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneity)<br />

การนำาไฟฟ้าของสารละลาย<br />

5. Soil Referecne Material อยู่ระหว่างดำาเนินการ ประมวลผล วิเคราะห์อนินทรีย์เคมี<br />

และออกใบ Certificate Inorganic Analysis<br />

6. สารละลาย Benzene, toluene, อยู ่ระหว่างการศึกษาความเสถียรระยะยาว วิเคราะห์อินทรีย์เคมี<br />

ethylbenzene, o-xylene, m-xylene, p-xylene<br />

Organic Analysis<br />

และสารละลายผสม BTEX Mixtures in Methanol<br />

7. Pure Pesticide อยู่ระหว่างการประเมินความบริสุทธิ์<br />

8. Pesticide in Soil ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการวัด<br />

9. Pure Sucrose อยู่ระหว่างการศึกษาความเสถียรระยะยาว<br />

10. Malachite Green in Shrimp ได้ Candidate Malachite Green ในกุ้ง<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

39


ระบบคุณภาพ<br />

• ISO/IEC 17025<br />

สถาบันได้ดำาเนินการพัฒนาห้องปฏิบัติการโดยนำาระบบคุณภาพตาม ISO/IEC 17025 มาใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดง<br />

ให้เห็นว่าห้องปฏิบัติการมีการดำาเนินงานด้านระบบคุณภาพ มีความสามารถทางวิชาการ ผลการสอบเทียบที่ออกโดยห้องปฏิบัติการ<br />

เป็นที่เชื่อถือได้ว่าถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยห้องปฏิบัติการของสถาบันบางห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองความสามารถจาก<br />

DKD (Deutscher Kalibrierdienst หรือ German Calibration Service) ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544<br />

จาก IAJapan (International Accreditation Japan) ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และจากสำานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์<br />

อุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2552<br />

การได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการให้ประโยชน์ต่อสถาบันและการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของประเทศโดยรวมดังนี้<br />

• เพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล<br />

• ห้องปฏิบัติการสอบเทียบและภาคอุตสาหกรรมของไทยมีความเชื่อมั่นในมาตรฐานที่ได้รับการถ่ายทอดความถูกต้องจาก<br />

สถาบัน สามารถลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการส่งเครื่องมือไปสอบเทียบยังต่างประเทศ<br />

• อำานวยประโยชน์และความสะดวกทางการค้าระดับระหว่างประเทศ โดยสินค้าที่ใช้เครื่องมือวัดหรือเครื่องมือทดสอบที่<br />

สามารถสอบย้อนกลับไปยังสถาบันจะเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ทางด้านมาตรวิทยา<br />

จนถึงปี พ.ศ. 2554 ห้องปฏิบัติการของสถาบันได้รับการรับรองความสามารถตามรายการวัดที่ได้รับการรับรองทั้งหมด<br />

ถึงปัจจุบันจำานวน 122 รายการ ได้แก่<br />

ฝ่ายมาตรวิทยา สาขาการวัด จำานวนรายการ<br />

เชิงกล Hardness, Force, Hydraulic Pressure Balance and Pressure 25<br />

Transducer, Large Weight, Density, Conventional Mass, Volume and<br />

Density of Weights, Absolute Pressure, Gauge Pressure, Differential<br />

Pressure, Torque<br />

ไฟฟ้า DC High Voltage, AC Power, Laser Power Meter, Fiber Optic Power 37<br />

Meter, DC Magnetic Flux Density, Frequency, Time, DC Voltage, DC<br />

Current, DC Resistance, AC Voltage, AC-DC Voltage, AC Current,<br />

Capacitance, Inductance, RF Attenuation, RF Voltage, RF Power<br />

มิติ Laser wavelength, Diameter, Dimensional Metrology, Universal 27<br />

Length Measuring Machine, Angle, Roughness, Flatness,<br />

Roundness, Gauge Blocks, Length,<br />

40<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ฝ่ายมาตรวิทยา สาขาการวัด จำานวนรายการ<br />

อุณหภูมิ Temperature, Resistance Thermometer, Thermocouples, Liquid in 12<br />

Glass Thermometers, Direct-reading Thermometers, Fixed Point Cells<br />

แสง Total Luminous Flux, Luminous Intensity, Spectral Irradiance, 3<br />

เสียงและ Pressure Sensitivity Level, Sound Pressure Level, Free-field Sound 10<br />

การสั่นสะเทือน Pressure Response Level, Charge Sensitivity, Acceleration,<br />

Conditioning Amplifier<br />

เคมีและชีวภาพ pH Meter, Reference Gas Mixtures, Gas Analyzers, 8<br />

นอกจากนี้ ยังมีสาขาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาให้การรับรองความสามารถ ได้แก่<br />

สาขาที่ได้รับการตรวจประเมินความสามารถจาก สมอ. ในรายการวัดดังต่อไปนี้<br />

Measured Quantity Instrument or Artifact Measurand Level or Range<br />

- Geometric shape of indenter IRHD dead-load tester method N 30 to 100 IRHD<br />

and pressure foot IRHD dead-load tester method M 30 to 100 IRHD<br />

- Mass and Test force IRHD pocket meter 30 to 100 IRHD<br />

- Depth measuring unit Type A Durometer 0 to 100 Shore A<br />

- Testing cycle Type D Durometer 0 to 100 Shore D<br />

0 to 100 Shore AO<br />

สาขาที่อยู่ระหว่างการดำาเนินการรับรองความสามารถจาก IAJapan<br />

- Temperature / Output Voltage of UUC corresponded to the radiance temperature of fixed-point<br />

blackbody ในช่วงการวัด 419.527 to 1084.62<br />

- True Temperature / Output Voltage of UUC corresponded to the True Temperature ในช่วงการวัด 420<br />

to +1000 สำาหรับช่วงความยาวคลื่น 900 นาโนเมตร และ 1000 to 2500 สำาหรับช่วงความยาวคลื่น 650 นาโนเมตร<br />

- Dew-point temperature ในช่วงการวัด -75 to 30<br />

- Relative humidity ในช่วงการวัด 15% to 93%RH<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

41


ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อนินทรีย์เคมีขอรับการรับรองจาก สมอ. ในรายการวัดดังต่อไปนี้<br />

สาขาการวัด<br />

สาขาย่อย / Instrument or Artifact<br />

วิเคราะห์อนินทรีย์ 1. Determination of Cadmium 0.1 mg/kg to 0.5 mg/kg in Fruits & vegetables by IDMS<br />

เคมี 2. Determination of Lead 0.1 mg/kg to 0.5 mg/kg in Fruits & vegetables by IDMS<br />

3. Determination of Cadmium 4 mg/kg to 80 mg/kg in Plastic by IDMS<br />

4. Determination of Chromium 25 mg/kg to 400 mg/kg in Plastic by IDMS<br />

5. Determination of Lead 50 mg/kg to 600 mg/kg in Plastic by IDMS<br />

6. Determination of Calcium 1000 mg/kg to 2000 mg/kg in Cereals & cereal products by IDMS<br />

7. Determination of Cadmium 0.1 mg/kg to 0.5 mg/kg in Cereals & cereal products by IDMS<br />

8. Determination of Copper 5 mg/kg to 20 mg/kg in Cereals & cereal products by IDMS<br />

9. Determination of Zinc 10 mg/kg to 80 mg/kg in Cereals & cereal products by IDMS<br />

10. Determination of Calcium 2 mg/kg to 25 mg/kg in Drinking water by IDMS<br />

11. Determination of Cadmium 1 μg/kg to 5 μg/kg in Drinking water by IDMS<br />

12. Determination of Nickel 50 μg/kg to 80 μg/kg in Drinking water by IDMS<br />

13. Determination of Lead 5 μg/kg to 30 μg/kg in Drinking water by IDMS<br />

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เคมีไฟฟ้าขอรับการรับรองจาก สมอ. ในรายการวัดดังต่อไปนี้<br />

Measured<br />

Calibration Range at Temperature 25<br />

Instrument<br />

or Artifact<br />

Measurand Level or Range<br />

Calibration and Measurement<br />

Capability (k=2)<br />

Primary pH Phthalate buffer, pH range from 3.99 to 4.02 0.008<br />

Standards Phosphate buffer, pH range from 6.85 to 6.88 0.005<br />

pH Secondary Phthalate buffer, pH range from 3.99 to 4.02 0.01<br />

pH Standards Phosphate buffer, pH range from 6.85 to 6.88 0.01<br />

Phosphate buffer, pH range from 6.99 to 7.03 0.01<br />

Tetraborate buffer, pH range from 9.16 to 9.20 0.01<br />

pH-meter pH range 1 to 11 0.02<br />

• ISO 9001 : 2008<br />

สถาบันได้นำาระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2008 เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการงานในขอบข่ายการให้<br />

บริการงานสนับสนุนการสอบเทียบและการฝึกอบรม โดยได้พัฒนาระบบงานบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว และได้รับการ<br />

รับรองจากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2546 จนถึงปัจจุบัน<br />

42<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ความสามารถทางการสอบเทียบและการวัด<br />

(Calibration Measurement Capability: CMC)<br />

หน้าที่และเป้าหมายสูงสุดของห้องปฎิบัติการมาตรวิทยา<br />

(Metrology Laboratory) คือการสร้างและพัฒนาระบบการวัด<br />

ที่มีความแม่นยำาและเที่ยงตรง สามารถระบุและควบคุมที่มาของ<br />

ความไม่แน่นอนของผลการวัดได้ครบถ้วน และสามารถถ่ายทอด<br />

ผลการวัดที่แม่นยำาและเที่ยงตรงนี้ไปให้แก่มาตรฐานการวัด<br />

ระดับรองลงไปได้ และหากความแม่นยำาและความเที่ยงตรงนี้<br />

เป็นที่เชื่อมั่นและยอมรับของนานาประเทศก็จะเป็นประโยชน์ใน<br />

โลกยุคโลกาภิวัฒน์(Globalized World) และในระบบการค้าเสรี<br />

(Free Market) หนึ่งในกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นและ<br />

ยอมรับความสามารถทางการวัดในระดับนานาชาติ คือ การเข้า<br />

เป็นภาคีข้อตกลงระหว่างประเทศ CIPM-MRA (CIPM-Mutual<br />

Recognition Arrangement) ซึ่งข้อตกลงนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ<br />

ให้เกิดการยอมรับใบรับรองผลการวัดหรือใบรับรองผลการสอบเทียบ<br />

(Calibration Certificate) ที่ออกโดยห้องปฎิบัติการของสถาบัน<br />

มาตรวิทยาที่เป็นภาคีข้อตกลงระหว่างประเทศดังกล่าว ภายใต้<br />

ข้อตกลงนี้ความสามารถทางการวัดของห้องปฎิบัติการที่จะได้<br />

รับการยอมรับจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบตามที่ข้อตกลง<br />

กำาหนด เมื่อความสามารถทางการวัดใดผ่านกระบวนการ<br />

ตรวจสอบก็จะถูกบรรจุไว้ใน Appendix C ของข้อตกลงดังกล่าว<br />

(Appendix C of the CIPM-MRA)<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (ประเทศไทย) ได้ลงนาม<br />

ในข้อตกลงร่วมกันด้านมาตรวิทยาระหว่างประเทศ ของคณะ<br />

กรรมการชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (International Committee<br />

for Weights and Measures: CIPM) เมื่อปีพุทธศักราช 2541<br />

เพื่อแสดงให้เห็นว่าการดำาเนินการของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ของประเทศไทยเป็นไปตามข้อกำาหนดและหลักเกณฑ์มาตรฐาน<br />

สากล การนำาระบบบริหารงานคุณภาพมาใช้ในองค์กร การจัด<br />

ให้มีมาตรฐานแห่งชาติ อุปกรณ์และเครื่องมือที่มีคุณภาพใน<br />

การใช้งาน ซึ่งรับผิดชอบโดยเจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม<br />

ได้รับการฝึกอบรม มีระดับความชำานาญเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา<br />

เป็นที่ยอมรับ วิธีการสอบเทียบและทดสอบซึ่งได้รับการพัฒนา<br />

ขึ้นใช้งานสอดคล้องตามมาตรฐาน<br />

ในรอบปีที่ผ่านมาสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้รับการ<br />

รับรองขีดความสามารถทางการสอบเทียบและการวัด (Calibration<br />

Measurement Capability: CMC) ในสาขาไฟฟ้าและความถี่<br />

และได้รับการบรรจุขีดความสามารถในปี 2546 (แก้ไขเพิ่มเติม<br />

ในปี 2548) ครอบคลุมปริมาณการวัดหลักๆ ทางไฟฟ้า<br />

จำานวน 313 รายการ ต่อมาในปี 2549 สาขามวลและความดัน<br />

(Mass and Related Quantities) ซึ่งได้พัฒนาตามมาอย่าง<br />

ต่อเนื่อง ก็ได้รับการยอมรับให้บรรจุขีดความสามารถในฐาน<br />

ข้อมูล Appendix C เพิ่มอีก 30 รายการ โดยในสาขามวล<br />

ครอบคลุมตุ้มน้ำาหนัก คลาส E2 ตั้งแต่ 1 มิลลิกรัม ถึง 10<br />

กิโลกรัม จำานวน 19 รายการ และสาขาความดันครอบคลุม<br />

Pressure Gauge, Pressure Balance ทั้งชนิดตัวกลางเป็น<br />

ของเหลว (น้ำามัน) และชนิดตัวกลางเป็นก๊าซ ที่ระดับความดัน<br />

ตั้งแต่ - 1 กิโลปาสคาล ถึง 140 เมกกะปาสคาล จำานวน 11<br />

รายการ ในสาขาอุณหภูมิ มีความสามารถในการสอบเทียบ<br />

เทอร์โมมิเตอร์ชนิดความต้านทาน(Standard Platinum Resistance<br />

Thermometers) จำานวน 4 รายการ ในสาขาเวลาและความถี่จำานวน<br />

6 รายการ สาขาเคมีและชีวภาพ (pH Meter and Gas) จำานวน 5<br />

รายการ และล่าสุดฝ่ายมาตรวิทยามิติที่ได้รับการเผยแพร่ในเดือน<br />

เมษายน 2553 โดยมีรายละเอียดดังตาราง โดยใช้เวลากว่า 3 ปี<br />

เช่นกัน โดยทุกพารามิเตอร์ได้ผ่านการเข้าร่วมเปรียบเทียบ<br />

ผลการวัดระหว่างประเทศและมีผลการเปรียบเทียบดังกล่าวอยู่<br />

ในระดับที่น่าพึงพอใจ ในสาขามิติ จำานวน 25 รายการ และ<br />

ห้องปฏิบัติการของสถาบันยังได้พยายามให้มีความสามารถใน<br />

ปีถัดไปอย่างต่อเนื่อง ในการที่ได้รับการยอมรับและเผยแพร่<br />

ใน Appendix C ของ BIPM นี้ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ได้รับสิทธิ์ให้สามารถออกใบรับรองผลการสอบเทียบโดยใช้โลโก้<br />

ของ BIPM ได้<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

43


สถานภาพ CMCs สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติในปี 2554<br />

สถานภาพ CMCs ของสถาบันโดยแบ่งตามขอบข่ายที่อ้างอิงจากฐานข้อมูลตามเว็บไซต์ของ BIPM ที่ได้รับการบรรจุแล้ว<br />

แสดงให้เห็นดังตารางที่ 1 การสืบค้นข้อมูล CMC ของแต่ละสาขาการวัดของแต่ละประเทศ สามารถทำาได้โดยเข้าเว็บไซต์ของ<br />

BIPM http://kcdb.bipm.org/appendixC/<br />

ตารางที่ 1 แสดงขอบข่าย CMCs ของสถาบันที่ได้รับการบรรจุแล้วในเว็บไซต์ของ BIPM<br />

สาขาการวัด สาขาย่อย ปี ค.ศ.<br />

Electricity and Magnetism AC Current July 2003 (revised in April 2005)<br />

AC Voltage<br />

AC-DC Voltage Transfer<br />

Capacitance and Dissipation Factor<br />

DC Current Sources<br />

DC Resistance Sources<br />

DC Voltage Sources<br />

Inductance<br />

Mass and Related Quantities Mass, Weigth, Class E2 April 2006<br />

Absolute Pressure, Gas Medium<br />

Absolute Pressure, Oil Medium<br />

Gauge Pressure, Gas Medium<br />

Gauge Pressure, Oil Medium<br />

Thermometry Temperature, Long Stem SPRT November 2009 - March 2011<br />

Temperature, IPRTs<br />

Temperature, Pt-alloy Thermocouples<br />

Temperature, Base Metal Thermocouples<br />

Time and Frequency Frequency November 2009<br />

Time Interval<br />

Amount of Substance pH, Aqueous Buffer Solution, Environmental November 2009 - December 2011<br />

(Oxygen in Nitrogen and Carbon<br />

Monoxide in Nitrogen)<br />

Length Laser Radiations April 2010 - January 2012<br />

End Standards (Gauge Block)<br />

Diameter Standards<br />

Angle by Circle Divider<br />

Angle Instrument<br />

Angle Artifacts<br />

Flatness Standard<br />

Roundness Standards<br />

Surface Texture<br />

Photometry and Radiometry Irradiance, Spectral January 2011<br />

44<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


CMCs กับเป้าหมายสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติในอนาคต<br />

จากความมุ่งมั่นในการดำาเนินการเพื่อพัฒนาระบบมาตรวิทยาของประเทศ ให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ<br />

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปัจจุบัน กว่าร้อยละ 80 ของหน่วยวัดได้รับการพัฒนาความสามารถอย่างต่อเนื่องและอยู่ระหว่างยื่นขอ<br />

การพิจารณาทบทวนขีดความสามารถ โดยมีทั้งที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาทบทวน หรือที่ได้ยื่นเอกสารหลักฐานเพื่อขอรับ<br />

การพิจารณา แสดงดังตารางที่ 2<br />

ตารางที่ 2 แสดงขอบข่าย CMCs ของสถาบันอยู่ในระหว่างขั้นตอนการเสนอ RMO เพื่อพิจารณา<br />

สาขาการวัด<br />

สาขาย่อย / Instrument or Artifact<br />

Mass and Mass [(1mg to 10 kg; revision) and (20 kg to 1000 kg; new entry)]<br />

Related Quantities Density of solid : Mass standard and Solid artifact [(7000 to 9000 kg/m 3 ), new entry]<br />

Hardness Hardness Block Rockwell A according to ISO6508-3, Range: 20-88 HRA<br />

Hardness Block Rockwell B according to ISO6508-3, Range: 20-100 HRB<br />

Hardness Block Rockwell C according to ISO6508-3, Range: 20-65 HRC<br />

Hardness Block Vickers HV 5 according to ISO6507-3, Range: 200-900 HV<br />

Hardness Block Vickers HV 10 according to ISO6507-3, Range: 200-900 HV<br />

Hardness Block Vickers HV 20 according to ISO6507-3, Range: 200-900 HV<br />

Hardness Block Vickers HV 30 according to ISO6507-3, Range: 200-900 HV<br />

Hardness Block Vickers HV 50 according to ISO6507-3, Range: 200-900 HV<br />

Hardness Testing Machine Rockwell A, B, C Range: 20-88 HRA, 20-100 HRB, 20-70 HRC<br />

Laser Radiations Stabilized laser of the mise en pratique: absolute frequency / Optical beat frequency /<br />

Range: 633 nm<br />

Other stabilized laser: vacuum wavelength/ Optical beat frequency / Range: 633 nm<br />

End Standards Gauge block (Steel, Ceramic, Tungsten Carbide, chromium carbide): central<br />

length L / Interferometry exact fractions/ Range: 0.5 mm - 125 mm<br />

Gauge block (Steel, Ceramic, Tungsten Carbide, chromium carbide): central length L /<br />

Mechanical comparison / Range: 0.5 mm - 125 mm<br />

Gauge block (Steel): central length L / Mechanical comparison / Range: 150 mm - 1000 mm<br />

Step gauge: face Spacing / CMM with laser interferometer<br />

Caliper checker: face spacing / CMM with laser interferometer<br />

Line Standard Precision line scale: line spacing / Line scale interferometer / low coefficient of thermal<br />

expansion (8E-08 K-1) Range: upto 250 mm<br />

Precision line scale: line spacing / Line scale interferometer / working standard Range:<br />

upto 1000 mm<br />

Diameter<br />

Standards<br />

External cylinder (plain plug gauge): Diameter / 1-d comparator and 2 contacting probes<br />

/ Range: 0.1 mm - 1 mm<br />

External cylinder (plain plug gauge): Diameter / 1-d comparator and 2 contacting probes<br />

/ Range: 1 mm - 100 mm<br />

External cylinder (plain plug gauge): Diameter / 1-d comparator and 2 contacting probes<br />

/ Range: 100 mm - 300 mm<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

45


สาขาการวัด<br />

Angle by<br />

Circle Divider<br />

Flatness<br />

Standard<br />

Roundness<br />

Standards<br />

สาขาย่อย / Instrument or Artifact<br />

Optical polygon: face Angle / Indexing table and one autocollimator, error separation<br />

(3-72 faces)<br />

Indexing table: index Angle / Cross calibration versus polygon and autocollimator (360 / n)<br />

Autocollimator: error of indicated angle / Sine arm and autocollimator (+_1000)<br />

Angle blocks: included angle / Indexing table and two autocollimators (0 í-90 í)<br />

Optical flat: flatness deviation over whole diameter / Fizeau interferometer, three flat test,<br />

automatic assessment (Diameter maximum 60 mm)<br />

Optical flat, optical parallel: flatness/ Fizeau interferometer, three flat test, automatic<br />

assessment (Diameter maximum 60 mm)<br />

Optical parallel: Parallelism / Gauge block Comparator / (Diameter maximum 60 mm)<br />

Glass hemisphere: roundness R / Multi-step, stylus on-spindle roundness instrument<br />

Internal and external cylinder, magnification standard: roundness R / Stylus-on-spindle<br />

roundness instrument<br />

Surface Texture Depth standard, (ISO 5436-1, type A), depth d / Stylus instrument / Groove depth, d<br />

Depth standard, (ISO 5436-1, type A), depth d / Interference microscope and stylus<br />

instrument (for pre-measurement) / Groove depth, d<br />

Depth standard, (ISO 5436-1, type A), depth d / Non-contact optical profiler / Groove depth, d<br />

Roughness standard, ISO 5436-1 type C, D: Ra (ISO 4287) / Stylus instrument / Ra (ISO 4287)<br />

Roughness standard, ISO 5436-1 type C, D: Ra (ISO 4287) / Stylus instrument / Rz (ISO 4287)<br />

CMM Artefacts Ball plate: 2D center coordinates / CMM with laser interferometer using swing round<br />

method (620x620)<br />

2-D, 3-D<br />

Instruments<br />

CMM: error of indicated [size; location; shape] / Comparison with gauge blocks<br />

/ (1200 mm x 1000 mm x 700 mm)<br />

CMM: error of indicated [size; location; shape] / Comparison with step gauges<br />

/ (1200 mm x 1000 mm x 700 mm)<br />

46<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


การเปรียบเทียบผลการวัด<br />

การเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ เป็นภารกิจหลักที่สำาคัญอีกประการหนึ่งของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ที่จะทำาให้ระบบมาตรวิทยาของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ ซึ่งมีผลส่งเสริมต่อภาคอุตสาหกรรม และภาคการส่งออก<br />

ของประเทศไทยให้เข้มแข็ง และลดค่าใช้จ่ายในหลายด้าน เช่น เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือต่อผลผลิตของภาคอุตสาหกรรม<br />

ลดค่าใช้จ่ายในภาคการผลิตลดค่าใช้จ่ายสำาหรับภาคการส่งออก และป้องกันการกีดกันทางการค้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต เป็นต้น<br />

การเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ สามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มหลักๆ คือ<br />

การเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างประเทศ<br />

การเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างประเทศ เป็นการเปรียบเทียบผลการวัดของมาตรฐานการวัดในปริมาณต่างๆ ของสถาบัน<br />

มาตรวิทยาแห่งชาติ (ประเทศไทย) กับสถาบันมาตรวิทยาของประเทศต่างๆ เพื่อตรวจสอบระบบมาตรวิทยา เช่น มาตรฐานการวัด<br />

กระบวนการวัด และการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัดของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ(ประเทศไทย) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง<br />

เป็นการยืนยันความถูกต้องของระบบมาตรวิทยาของประเทศ วัตถุประสงค์ของข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการยอมรับร่วม<br />

ในด้านมาตรวิทยา (Mutual Recognition Arrangement-MRA) ซึ่ง MRA นี้เป็นการยอมรับซึ่งกันและกันในผลการตรวจสอบ<br />

และการรับรองที่มีผลกระทบโดยตรงกับภาคการผลิตในประเทศ รวมถึงการค้าระหว่างประเทศ และยังจะสามารถประยุกต์ไป<br />

ใช้ในงานสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ในปีที่ผ่านมาและปีนี้ มว. ได้เข้าร่วมการเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างประเทศ<br />

รวมถึงการเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงในการเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างประเทศ มีรายการดังต่อไปนี้<br />

ห้องปฏิบัติการ โครงการเปรียบเทียบ Artifact / Measurand Pilot Lab จำานวนประเทศ<br />

ผลการวัด<br />

ที่เข้าร่วม<br />

มวล Bilateral Comparison : OIML Weight 20 mg ZMK, Germany 2<br />

Standard Weight, Class E1 and 200 g<br />

APMP.M.M.K2.2 : Standard OIML Weight 100 mg, KRISS, Korea 2<br />

Weight, Class E1 2 g, 20 g and 500 g<br />

ความดัน APMP.M.P-K13 Hydraulic Piston- Cylinder NMIJ, Japan 13<br />

Key Comparison 500 MPa Unit (PCU) 5 MPa/kg<br />

Hydraulic Pressure (Gauge) Range: 5 MPa to 500 MPa<br />

APMP.M.P-K9 Reference Pressure Monitor KRISS, Korea 17<br />

Key Comparison 110 kPa Model: RPM4<br />

Gas Pressure (Absolute) Range: 110 kPa<br />

การไหล Bilateral Comparison of Turbine Flowmeter NIMT, Thailand 2<br />

Water Flowmeter in the Model: FT-16-AENW-LEG-1<br />

Range 2 m 3 /h to 10 m 3 /h and FT-10-AENW-LEG-1<br />

between CMS and NIMT Range: 2 m 3 /h to 10 m 3 /h<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

47


ห้องปฏิบัติการ โครงการเปรียบเทียบ Artifact / Measurand Pilot Lab จำานวนประเทศ<br />

48<br />

ผลการวัด<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)<br />

ที่เข้าร่วม<br />

ความต้านทาน RMO Key Comparison Three of Standard Resistors 10 KRISS, Korea 12<br />

APMP.EM-K2 MΩ and three of Standard<br />

Resistors 1GΩ<br />

พื้นผิว APMP L-S4 Roundness: Glass Hemisphere NIMT (NMIJ 9<br />

Reference Lab.)<br />

อุณหภูมิ Bilateral Comparison on Infrared Radiation NML, SIRIM 2<br />

Infrared Radiation<br />

Thermometer<br />

Bilateral Comparison on Thermo-hygromete NML, SIRIM 2<br />

Electronic Thermohygrometer<br />

Bilateral Comparison on Standard Platinum Resistance NML, SIRIM 2<br />

Standard Platinum Thermometer<br />

Resistance Thermometer<br />

APMP-T.8 Liquid-in-Glass Liquid-in-Glass Thermometer NML, Phillippines 14<br />

Thermometers (LIGT)<br />

Comparison<br />

เสียง APMP.AUV.A-S1 Multi-freguency NIMT, Thailand 13<br />

Sound Calibrator<br />

สั่นสะเทือน APMP.AUV.V-KI.1 Aceelerometer / NMIJ, Japan 4<br />

Freguency 40 Hz to 5 kH<br />

APMP.AUV.V-K3 Aceelerometer with Amplifier / NIM, China 7<br />

Freguency 0.5 Hz to 20 Hz<br />

ชีววิเคราะห์ CCQM-K86/P113.1 Relative Quantification of IRMM, Belgium 13, 16 Labs<br />

Genomic DNA Fragments<br />

Extracted from a Biological Tissue<br />

CCQM-P55.1 Determination of the Mole NIST/LGC/PTB, 9<br />

Concentration of Peptide in Germany, UK,<br />

Solution (Repeat) USA<br />

CCQM Pre-P103 Quantification of an LGC 13<br />

RNA Transcript<br />

CCQM-P103 (Phase 1) Quantification of an LGC 13<br />

RNA Transcript<br />

CCQM-P102 Quantification of Cells with NIBSC/NIST, USA 12<br />

(อยู่ระหว่างดำาเนินการ) Speccific Phenotypic Characteristics<br />

CCQM-P103. 1 Mesurement of Multiplexed LGC/NIST, UK,USA 13<br />

(อยู่ระหว่างดำาเนินการ) Biomarker Panel of RNA<br />

Transcripts From a Biological Tissue<br />

CCQM-P58. 1 Fluoresence in ELISA (Stage 2) NIST, USA 12<br />

(อยู่ระหว่างดำาเนินการ)<br />

CCQM-P123 Cell Guantification on Solid INRIM, Italy 10<br />

(อยู่ระหว่างดำาเนินการ) Substrate


ห้องปฏิบัติการ โครงการเปรียบเทียบ Artifact / Measurand Pilot Lab จำานวนประเทศ<br />

ผลการวัด<br />

ที่เข้าร่วม<br />

วิเคราะห์เคมีไฟฟ้า CCQM-K91 pH Value of Phthalate PTB, Germany 16<br />

Buffer Solution<br />

CCQM P124 Mono Element Calibration PTB, Germany 23<br />

Solution<br />

Bilateral Comparison Piston Pipette ZMK, Germany 2<br />

Bilateral Comparison Volumetric Flask and SIRIM, Malaysia 2<br />

Measuring Cylinder<br />

Bilateral Comparison pH Buffer Solution at pH SIRIM, Malaysia 2<br />

4.01 and pH 6.86<br />

วิเคราะห์ก๊าซ International Comparison Carbon Dioxide in Nitrogen IPQ, Portugal 11<br />

EURO.QM-S5/ 1166 : at 3.0 cmol/mol<br />

Carbon Dioxide Mixtures<br />

in Nitrogen<br />

วิเคราะห์อนินทรีย์ SIM.QM-S2 Element Ca, Cd, Ni and Pb Trace NRC-CNRC 11<br />

เคมี in Drinking Water<br />

CCQM-K89 Trace and Essential Elements GLHK, Hong Kong 20<br />

in Herb<br />

การเปรียบเทียบผลการวัดภายในประเทศ<br />

การเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการภายในประเทศ เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ มว. สนับสนุนให้มีการจัดขึ้น<br />

และเข้าร่วมในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิง ซึ่งกิจกรรมนี้มีความสำาคัญในการรักษาความสามารถในการสอบกลับได้ของมาตรฐาน<br />

การวัดภายในประเทศ และยังเป็นการตรวจสอบมาตรฐานการวัด กระบวนการวัดและการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด<br />

ของห้องปฏิบัติการภายในประเทศ รวมถึงเป็นช่องทางในการพัฒนาระบบการวัดของห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วม โดยห้องปฏิบัติการ<br />

สามารถหาข้อบกพร่องและมีการแก้ไขเพื่อให้การวัดได้มาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น การเปรียบเทียบผลการวัดภายในประเทศในปีนี้และปีที่<br />

จะถึงนี้ มว. ได้จัดให้มีการเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการภายในประเทศ ดังมีรายการดังต่อไปนี้<br />

ห้องปฏิบัติการ โครงการเปรียบเทียบ Artifact/Measurand จำานวนห้องปฏิบัติการ Pilot Lab<br />

ผลการวัด<br />

ที่เข้าร่วม (หน่วยงาน)<br />

มวล Interlaboratory Electronic Balance : 13 บริษัท<br />

Comparison on Mass • Max Capacity 220 g<br />

ศูนย์ห้องปฏิบัติการ<br />

Measurement MBL • Max Capacity 150 kg และวิจัยทางการแพทย์<br />

01/2010 โดย มว. และการเกษตร<br />

เป็น Refernce และพี่เลี้ยง<br />

แห่งเอเชีย จำากัด<br />

ให้กับห้องปฏิบัติการ<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

49


ห้องปฏิบัติการ โครงการเปรียบเทียบ Artifact/Measurand จำานวนห้องปฏิบัติการ Pilot Lab<br />

50<br />

ผลการวัด<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)<br />

ที่เข้าร่วม (หน่วยงาน)<br />

ความดัน Bilateral Comparison Digital Manometer 2 มว.<br />

Gas Pressure Standard Model : 767357 (MT220)<br />

Pressure Range 130 Range 130 kPa<br />

kPa (abs) (Absolute)<br />

Bilateral Comparison Hydraulic Piston 2 มว.<br />

Hydraulic Pressure & Cylinder Unit<br />

Standard Pressure Model : P7700<br />

Range 140 MPa Range 140 MPa<br />

(Gauge)<br />

Bilateral Comparison Hydraulic Pressure 2 มว.<br />

Hydraulic Pressure Transducer<br />

Standard Pressure Model : CPT6400<br />

Range 100 MPa Range 5000 bar<br />

(Gauge and Absolute)<br />

สุญญากาศ Bilateral Comparison Capacitance Diaphragm 2 มว.<br />

of Vacuum Standard Gauge (CDG) Rang<br />

in the Range 0.013 10 Torr<br />

mbar to 13 mbar<br />

แรงบิด Interlaboratory<br />

Comparison in Torque Torque Transducer 2 มว.<br />

with Cross Force / Measurand 1-2,000 N-m<br />

Measurement<br />

MT 02/2554_01<br />

Interlaboratory Torque Transducer 2 มว.<br />

Comparison in Torque / Measurand 1-1,000 N-m<br />

with Cross Force<br />

Measurement<br />

MT 02/2554_02<br />

Interlaboratory Torque Transfer Wrench 2 มว.<br />

Comparison in Torque / Measurand 8-40 N-m<br />

with Cross Force<br />

Measurement<br />

MT 01.1/2554_01<br />

Interlaboratory Torque Transducer 2 มว.<br />

Comparison in Torque / Measurand 40-400 N-m<br />

with Cross Force and Additional point<br />

Measurement 1,000 N-m<br />

MT 01/2554_01<br />

Interlaboratory Setting Torque Wrench 16 มว.<br />

Comparison in Torque / Measurand 20-100 N-m<br />

with Cross Force and 130-330 N-m<br />

Measurement<br />

MT 03/2553


ห้องปฏิบัติการ โครงการเปรียบเทียบ Artifact/Measurand จำานวนห้องปฏิบัติการ Pilot Lab<br />

ผลการวัด<br />

ที่เข้าร่วม (หน่วยงาน)<br />

กำาลังไฟฟ้า Inter-Laboratory Digital Power Meter, 21 (ยกเลิก 1) มว.<br />

Comparison of AC Yokogawa, Model<br />

Power Meter WT210<br />

No.EE-06/10<br />

เครื ่องมือวัดหลาย Inter-Laboratory 5 Digit Multimeter, 31 (ยกเลิก 1) มว.<br />

ฟังก์ชั่น Comparison of 5 IMARI Model IM-952<br />

Digit Multimeter<br />

No. EE-04/10<br />

Inter-Laboratory 8 Digit Multimeter, 11 มว.<br />

Comparison of 8 AGILENT Model 3458A<br />

Digit Multimeter<br />

No. EE-05/10<br />

คลื่นความถี่สูง Inter-Laboratory N8481A Power Sensor 7 มว.<br />

และไมโครเวฟ Comparison of RF และE4419B Power Meter<br />

Power Standard / RF Power<br />

No. EE-02/11<br />

เวลาและความถี่ Inter-Laboratory Rubidium Frequency 14 มว.<br />

Comparison on 10 Standard RubiSource<br />

MHz and 1 PPS T&M<br />

Signals from the<br />

Rubidium Frequency<br />

Standard No.EE-01/11<br />

ไฟฟ้ากระแสตรง Inter-Laboratory DC Standard 20 มว.<br />

Comparison of the (Fluke 732B)<br />

1.018 V and 10 V DC<br />

Standard No.EE-08/10<br />

AC Voltage AC-DC Voltage Planar Multi-Junction 2 มว.<br />

and Current Transfer Standard Thermal Voltage<br />

Inter-Laboratory Converter<br />

Comparison<br />

(Planar Multi-Junction<br />

Thermal Voltage<br />

Converter: 100 Volt)<br />

พื้นผิว Interlaboratory Roughness Tester, 9 มว.<br />

Comparison Mfg. : Mitutoyo<br />

on Roughness Tester Model : SV3000<br />

(DM02-10)<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

51


ห้องปฏิบัติการ โครงการเปรียบเทียบ Artifact/Measurand จำานวนห้องปฏิบัติการ Pilot Lab<br />

ผลการวัด<br />

ที่เข้าร่วม (หน่วยงาน)<br />

รูปร่าง Interlaboratory Roughness Tester, 5 มว.<br />

Comparison Mfg. : Mitutoyo<br />

on Contour Tracer Model : SV3000<br />

(DM03-10) Range : 50 mm.<br />

Interlaboratory Roundness Tester, 6 มว.<br />

Comparison Mfg. : Zeiss<br />

On Roundness Tester Model : Rondcom<br />

(DM04-10) 54DX<br />

ขีดสเกล Bi-lateral Laboratory Steel Tape, 1 มว.<br />

Comparison Range : 0 - 1000 mm.<br />

On Steel Tape<br />

(DM01-11)<br />

Bi-lateral Laboratory Steel Ruler, 1 มว.<br />

Comparison Range : 0 mm<br />

On Steel Ruler - 5000 mm.<br />

(DM02-11)<br />

ความยาว Interlaboratory Digital Caliper 33 มว.<br />

Comparison Range : 0 mm<br />

On Vernier Caliper - 150 mm.<br />

(ร่วมกับวศ.)<br />

Interlaboratory<br />

Comparison Micrometer Caliper 30 มว.<br />

On Micrometer Range : 0 mm<br />

caliper (ร่วมกับวศ.) - 25 mm.<br />

Interlaboratory Digital Micrometer 30 มว.<br />

Comparison Range : 0 mm<br />

On Digital Micrometer - 25 mm.<br />

(ร่วมกับวศ.)<br />

Interlaboratory Dial Indicator.<br />

Comparison Range : + 40 m 15 มว.<br />

On Dial Gauge<br />

(ร่วมกับวศ.)<br />

แผ่รังสี Infrared Infrared thermometer 6 มว.<br />

thermometer<br />

ช่วงอุณหภูมิ<br />

600 ถึง1,100<br />

ความชื้น ความชื้น Electronic thermo- 14 มว.<br />

hygrometer<br />

วิเคราะห์อินทรีย์ การวัดค่าความหวาน สารละลายน้ำาตาลซูโครส 49 มว.<br />

เคมี ครั้งที่ 1<br />

การวัดค่าความหวาน สารละลายน้ำาตาลซูโครส 52 มว.<br />

ครั้งที่ 2<br />

วิเคราะห์ก๊าซ Bilateral Comparison Oxygen in Nitrogen 2 มว.<br />

Range 150 - 250<br />

mmol/mol<br />

52<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ผลงานการวิจัย<br />

ห้องปฏิบัติการมวลและความหนาแน่น<br />

ห้องปฏิบัติการมวลและความหนาแน่นได้ทำาการศึกษาวิจัย ในหัวข้อเรื่อง “Measurement of the volume and density<br />

of weight by hydrostatic weighing method” ซึ่งเป็นการศึกษาวิธีการวัดปริมาตรและความหนาแน่นของตุ้มน้ำาหนักโดยวิธีการ<br />

แทนที่น้ำาและได้นำาเสนอผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวในงานประชุม Siam Physics Congress (SPC 2011) เมื่อวันที่ 23-26<br />

มีนาคม 2554 ณ จ.ชลบุรี (ผู้ทำาการศึกษาวิจัยประกอบด้วย : นางรังสิยา สุคนธ์, นายวีระ ตุลาสมบัติ, นายวิรุณ เล้าพรพิชยานุวัฒน์,<br />

นายทศพล ผังวิวัฒน์และนายมนต์ชัย มิตรอารีย์)<br />

การนำาเสนอผลงานศึกษาวิจัยเรื่อง “Measurement of the volume and density<br />

of weight by hydrostatic weighing method”<br />

ในงานประชุม Siam Physics Congress (SPC 2011)<br />

เมื่อวันที่ 23-26 มีนาคม 2554 ณ จ.ชลบุรี<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

53


ห้องปฏิบัติการมวลและความหนาแน่นได้ศึกษาวิจัยใน<br />

หัวข้อเรื่อง “NIMT-NMIJ/AIST bilateral mass comparison<br />

in the range of 100 kg” เพื่อยืนยันขีดความสามารถการ<br />

สอบเทียบตุ้มน้ำาหนักขนาดใหญ่ของประเทศ และได้นำาเสนอ<br />

บทความดังกล่าวในการประชุม Asia-Pacific Symposium<br />

on Measurement of Mass, Force, Torque and Density<br />

(APMF 2011) เมื่อวันที่ 19-22 กันยายน 2554 ณ เมืองซีอาน<br />

ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (ผู้เขียนบทความประกอบด้วย<br />

: นายวิรุณ เล้าพรพิชยานุวัฒน์, นางรังสิยา สุคนธ์, นายมนต์ชัย<br />

มิตรอารีย์, นายวีระ ตุลาสมบัติ, ,นายทศพล ผังวิวัฒน์,<br />

Mr. Jianxin Sun และ Mr. Kazunaga Ueda)<br />

การนำาเสนอบทความ “สรุปผลการทำา Bilateral Comparison<br />

สำาหรับตุ้มน้ำาหนักมาตรฐานในขนาด 100 kg ระหว่าง NIMT<br />

และ NMIJ/AIST” เมื่อวันที่ 19-22 กันยายน 2554<br />

ณ เมืองซีอาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน<br />

ห้องปฏิบัติการความแข็ง<br />

ห้องปฏิบัติการความแข็ง ได้ทำาการศึกษาวิจัย ในหัวข้อ<br />

เรื่อง “A Study of Hardness Change on 25<br />

HRBW Reference Blocks due to the Number of<br />

Indentations“ เพื่อศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าความแข็ง<br />

เนื่องจากการเพิ่มจำานวนการวัดของวัสดุอ้างอิงมาตรฐาน<br />

25 HRBW เพื่อลดความเบี่ยงเบนของผลการสอบเทียบใน<br />

สเกลดังกล่าว และได้นำาเสนอผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวใน<br />

งาน The Second TSME International Conference<br />

on Mechanical Engineering เมื่อวันที่ 19-21 ตุลาคม 2554<br />

ณ จังหวัดกระบี่ (ผู้ทำาการศึกษาวิจัยประกอบด้วย : นายทัศนัย<br />

แสนพลพัฒน์ และนายนิธิวัฒน์ สะสม) การนำาเสนอผลการศึกษาวิจัยในหัวข้อเรื่อง “A Study of<br />

Hardness Change on 25 HRBW Reference Blocks<br />

due to the Number of Indentations“<br />

เมื่อวันที่ 19-21 ตุลาคม 2554 ณ จังหวัดกระบี่<br />

54<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ห้องปฏิบัติการแรงบิด<br />

ห้องปฏิบัติการแรงบิดได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การออกแบบ<br />

และสร้างประแจวัดแรงบิดอ้างอิง (AMM06)” มีวัตถุประสงคเพื่อ<br />

ใชในงานสอบเทียบเครื่องมือเทียบประแจวัดแรงบิดและลดการ<br />

นําเขาเครื่องมือวัดมาตรฐานจากตางประเทศ การออกแบบ<br />

ถูกคํานึงถึงการพัฒนาเปนระบบกันน้ำาในอนาคต ดังนั้นรูปแบบ<br />

การบิดเพลากลวง จึงถูกเลือกใชในการออกแบบสวนรับรู ปริมาณ<br />

ความเคน และได้นำาเสนอผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวใน การประชุม<br />

วิชาการเครือขายวิศวกรรมเครื่องกลแหงประเทศไทย<br />

ครั้งที่ 25, เมื่อวันที่ 19-21 ตุลาคม 2554 ณ จังหวัดกระบี่<br />

(ผู้ทำาการศึกษาวิจัยประกอบด้วย : นายทัศนัย แสนพลพัฒน์<br />

และ โชคชัย วาดทอง)<br />

การนำาเสนอผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “การออกแบบและสร้าง<br />

ประแจวัดแรงบิดอ้างอิง” (AMM06)<br />

เมื่อวันที่ 19-21 ตุลาคม 2554 ณ จังหวัดกระบี่<br />

ห้องปฏิบัติการแรงบิดได้ศึกษาวิจัยในเรื่อง “Optimization<br />

of digitization based Kater pendulum for precision<br />

gravity measurement (AMM09)” เพื่อหาสภาวะที่เหมาะ<br />

สมที่สุดของเคเตอร์เพนดูลัมรูปแบบดิจิตอลสำาหรับการวัดค่า<br />

ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลก ซึ่งไดรับงบประมาณสนับสนุน<br />

การวิจัยจากโครงการความรวมมือในการผลิตนักวิจัยและพัฒนา<br />

ดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี สํานักงานปลัดกระทรวง<br />

วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี และได้นำาเสนอผลการศึกษาวิจัย<br />

ดังกล่าวใน การประชุมวิชาการเครือขายวิศวกรรมเครื่องกล<br />

แหงประเทศไทย ครั้งที่ 25, เมื่อวันที่ 19-21 ตุลาคม 2554<br />

ณ จังหวัดกระบี่(ผู้ทำาการศึกษาวิจัยประกอบด้วย : นางสาวนิตยา<br />

อักษรณรงค์ และนายทัศนัย แสนพลพัฒน์) การนำาเสนอผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “Optimization<br />

of digitization based Kater pendulum for precision<br />

gravity measurement (AMM09)”<br />

เมื่อวันที่ 19-21 ตุลาคม 2554 ณ จังหวัดกระบี่<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

55


ห้องปฏิบัติการแรงบิดได้ศึกษาวิจัยในเรื่อง “A Design on Hermetically Sealed Torque Transfer Wrench”<br />

เพื่อศึกษาพฤติกรรมของ Torque transducer ในขณะวัด pure torque และวัด torque with cross force เพื่ออธิบายผล<br />

กระทบของ cross force ที่ทำาให้ผลการวัดเบี่ยงเบนไปจากการวัด pure torque และได้นำาเสนอผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวใน<br />

การประชุม Asia-Pacific Symposium on Measurement of Mass, Force, Torque and Density (APMF 2011) เมื่อวันที่<br />

19-22 กันยายน 2554 ณ เมืองซีอาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (ผู้ทำาการศึกษาวิจัยประกอบด้วย : นายทัศนัย แสนพลพัฒน์,<br />

นายโชคชัย วาดทองและนางสาวนิตยา อักษรณรงค์)<br />

การนำาเสนอผลงานศึกษาวิจัยเรื่อง “A Design on Hermetically Sealed Torque Transfer Wrench”<br />

เมื่อวันที่ 19-22 กันยายน 2554 ณ เมืองซีอาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน<br />

56<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ห้องปฏิบัติการวัดกำาลังไฟฟ้า<br />

นายวรพล พระภักดี และ นางธัญญา คชวัฒน์ จากห้อง<br />

ปฏิบัติการกำาลังไฟฟ้าได้ทำาวิจัยเรื่อง “ผลกระทบจาก Loading<br />

Effect ที่มีต่อความถูกต้องของการวัดกำาลังไฟฟ้า” เพื่อใช้<br />

ประกอบการพิจารณาการวัดกำาลังไฟฟ้าและประเมินความ<br />

ไม่แน่นอนของการวัดกำาลังไฟฟ้าสำาหรับห้องปฏิบัติการ<br />

สอบเทียบระดับทุติยภูมิ จากงานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า<br />

ที่มุม 0 องศา มุมเฟสที่เบี่ยงเบนไป (Phase Shift) อันเนื่องมา<br />

จาก Loading Effect ไม่มีผลกระทบต่อความถูกต้องของการ<br />

วัดกำาลังไฟฟ้า แต่ที่มุม 60 องศา และ 90 องศา มุมเฟสที่เบี่ยง<br />

เบนไปมีผลทำาให้กำาลังไฟฟ้ามีความคลาดเคลื่อนสูงอย่างมีนัย<br />

สำาคัญ สำาหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ<br />

มว. หัวข้อ “ศูนย์บริการความรู้ > บทความด้านมาตรวิทยา ><br />

บทความด้านมาตรวิทยา”<br />

ห้องปฏิบัติการเครื่องมือวัดหลายฟังก์ชั้น<br />

นายกองศักดิ์ทองบุญ นายอดิเทพ จ่างอ่อน และนางสาว<br />

จุฑารัตน์ ทานะรมณ์ จากห้องปฏิบัติการเครื่องมือวัดหลาย<br />

ฟังก์ชั่น ได้ทำาวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยและจัดสร้างชุดความต้านทาน<br />

มาตรฐานใช้สำาหรับสอบเทียบคาลิเบรเตอร์แบบอัตโนมัติ”<br />

ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้ทำาเพื่อสร้างเครื่องที่ใช้ในการสับเปลี่ยนช่อง<br />

ในการเลือกใช้ Standard Resistor ค่าที่ต้องการ ซึ่งจะทำาให้<br />

สามารถลดขั้นตอนในการเปลี่ยน Standard Resistor และ<br />

เวลาในการสอบเทียบลง เพื่อที่จะให้ระบบการสอบเทียบเป็น<br />

แบบอัตโนมัติที่สมบูรณ์แบบจริงๆ ซึ่งจะทำาให้สามารถดำาเนิน<br />

การให้บริการสอบเทียบเครื่องมือได้อย่างต่อเนื่อง<br />

10<br />

8<br />

6<br />

4<br />

2<br />

ไดอะแกรมและรูปแสดงระบบสอบเทียบ<br />

กำาลังไฟฟ้าเมื่อมี Phase Meter<br />

60 deg<br />

90 deg<br />

0 0 1 2 3 4 5<br />

ความสัมพันธ์ระหว่างมุมเฟสที่เบี่ยงเบน<br />

ไปกับร้อยละของความคลาดเคลื่อนของกำาลังไฟฟ้า<br />

0 deg<br />

รายละเอียดชุดความต้านทานมาตรฐาน<br />

ใช้สำาหรับสอบเทียบคาลิเบรเตอร์แบบอัตโนมัติ<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

57


จากผลงานการวิจัยนี้สิ่งที่ได้คือเครื่องที่ใช้ในการสับเปลี่ยนช่องในการเลือกใช้Standard Resistor ค่าที่ต้องการ หรือที่เรียกว่า<br />

Automatic Calibration ซึ่งจากรูป 7 แสดงการต่อสายวัดระหว่างตัวมาตรฐาน (Digital Multimeter) กับตัว UUC (Calibrator)<br />

ผ่าน Automatic Calibration ด้านหน้า ส่วนรูป 8 แสดงการต่อสายระหว่าง Automatic Calibration กับชุด<br />

ความต้านทานมาตรฐาน ด้านหลัง สำาหรับการสอบเทียบ Calibrator ในฟังก์ช่ัน กระแสไฟฟ้าตรง<br />

การต่อสายวัดเครื่องมือวัดมาตรฐานเข้ากับ<br />

ชุดความต้านทานมาตรฐานใช้สำาหรับสอบเทียบ<br />

คาลิเบรเตอร์แบบอัตโนมัติด้านหน้า<br />

การต่อตัวความต้านทานมาตรฐานเข้ากับชุดความต้านทาน<br />

มาตรฐานใช้สำาหรับสอบเทียบคาลิเบรเตอร์แบบอัตโนมัติ<br />

สำาหรับผู้ที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากห้องปฏิบัติ<br />

การสอบเทียบเครื่องมือวัดหลายฟังก์ชั่น<br />

ห้องปฏิบัติการความต้านทาน<br />

นายชัยวัฒน์ เจษฎาจินต์ และนางสาวเนตรนพิศ ชูคันหอม จากห้องปฏิบัติการความต้านทาน ฝ่ายมาตรวิทยาไฟฟ้า<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่ง ร่วมกับ ผศ.ดร. อภิบาล พฤกษานุบาล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ<br />

ได้ทำาวิจัยเรื่อง “Investigation on Current Comparator with Electrical Shielding to Improve the Measured Values”<br />

ซึ่งโดยทั่วไปการวัดความต้านทานที่มีความถูกต้องสูงจะใช้วิธีการวัดเปรียบเทียบกระแสสมดุลย์ (Current Comparator Bridge)<br />

ในบางครั ้งระบบมีความจำาเป็นที ่จะต้องมีจุดต่อระหว่างอุปกรณ์ขึ ้น ซึ่งจุดต่อดังกล่าวจะเป็นตัวสร้างสัญญาณรบกวนทาง<br />

ไฟฟ้ามาสู่ระบบการวัดทำาให้ค่าที่วัดได้มีความคลาดเคลื่อน (Error) ซึ่งในการวัดทั่วไปมักนิยมแก้ปัญหาโดยการเลือกใช้สาย<br />

Low Thermoelectric ในการลดค่าความคลาดเคลื่อนแต่เนื่องจากสายชนิดนี้มีราคาแพงทำาให้บางครั้งไม่คุ้มในแง่ค่าใช้จ่าย<br />

ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการวัดต่อค่าความคลาดเคลื่อน (Error) เพื่อเป็นทางเลือกในการลด<br />

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำาหรับการแก้ปัญหานี้ จากการศึกษาพบว่าขนาดของกระแส ขนาดของอุปกรณ์ป้องกัน (Shielding Box)<br />

และสายตัวนำามีผลกระทบกับค่าความคลาดเคลื่อน (Error) โดยหากมีการเพิ่มขนาดของกระแสที่ใช้ในการวัดและเพิ่มขนาดของ<br />

อุปกรณ์ป้องกันให้ใหญ่ขึ้น ค่าของความผิดพลาดจะมีค่าลดลงได้เช่นกัน ซึ่งงานวิจัยนี้ได้นำาเสนอใน Electrical Engineering/<br />

Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology (ECTI-CON), 2011 8 th International<br />

Conference เมื่อวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2554<br />

58<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ห้องปฏิบัติการความยาว<br />

การศึกษาความถูกต้องของเครื่องวัดความยาวเอนกประสงค์<br />

ที่สอบเทียบด้วยระบบเลเซอร์อินเตอร์ฟีรอมิเตอร์<br />

ภาวัต เผือกน้อย, จริยา บัวเจริญ และ อนุสรณ์<br />

ทนหมื่นไวย การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 34<br />

ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน พัทยา ชลบุรี<br />

26-28 ตุลาคม 2554<br />

จากผลการทดลองศึกษาหาวิธีการสอบเทียบเครื่องวัด<br />

ความยาวเอนกประสงค์โดยระบบเลเซอร์อินเตอร์ฟีรอมิเตอร์<br />

พบว่าการสอบเทียบโดยระบบเลเซอร์อินเตอร์ฟีรอมิเตอร์นั่นมี<br />

ค่าความไม่แน่นอนที่ใกล้เคียงกันกับวิธีสอบเทียบด้วยเกจบล็อก<br />

หากแต่ค่าแก้ที่ได้จากการสอบเทียบเครื่องวัดความยาว<br />

อเนกประสงค์ด้วยระบบเลเซอร์อินเตอร์ฟีรอมิเตอร์เมื่อนำาไป<br />

ใช้ประกอบการวัดขนาดของชิ้นงานจะต้องคำานึงถึงการยุบตัว<br />

ของหัววัดและชิ้นงานอันเกิดจากแรงกด ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อ<br />

ค่าความไม่แน่นอนในการวัดชิ้นงานใดๆ อย่างไรก็ตามวิธีการ<br />

วัดด้วยระบบเลเซอร์อินเตอร์ฟีรอมิเตอร์ช่วยลดเวลาในการสอบ<br />

เทียบได้อย่างมาก<br />

ห้องปฏิบัติการพื้นผิว<br />

การพัฒนาระบบกล้องจุลทรรศน์การแทรกสอดของแสงเลเซอร์<br />

เพื่อใช้ในการวัดความหยาบมาตรฐานความถูกต้องสูง<br />

จริยา บัวเจริญ, ศมน เพี้ยงบางยาง, ธรรมรัตน์ สมทอง<br />

และ อนุสรณ์ ทนหมื่นไวย การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า<br />

ครั้งที่34 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้จอมเทียน พัทยา ชลบุรี<br />

26-28 ตุลาคม 2554<br />

ห้องปฏิบัติการพื้นผิวได้พัฒนาระบบกล้องจุลทรรศน์การ<br />

แทรกสอดของแสงแลเซอร์ขึ้นเพื่อใช้ในการสอบเทียบความหยาบ<br />

มาตรฐานอ้างอิงชนิด A ขนาดตั้งแต่ 10 nm - 10 μ m<br />

โดยใช้หลักการประมวลผลภาพริ้วแสงเพื่อคำานวณค่าเศษส่วน<br />

ฟริงก์จากภาพนิ่ง 1 ภาพ ส่งผลให้ระบบการวัดนี้ใช้เวลาในการ<br />

วัดน้อย แรงสั่นสะเทือนและความแปรปรวนของสภาวะแวดล้อม<br />

ไม่ส่งผลต่อผลการวัด ค่าความไม่แน่นอนในการวัดที่คำานวณได้มี<br />

ค่าเท่ากับ 2.4 nm- 54 nm ที่ขนาดชิ้นงาน 10 nm - 10 μ m<br />

ระบบการวัดนี้ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องผ่านการเข้า<br />

ร่วมโครงการเปรียบเทียบผลการวัดระดับนานาชาติ APMP.L-K8<br />

โดยผลการวัดของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ มีค่า En Ratio 1<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

59


ห้องปฏิบัติการความยาวคลื่น<br />

การศึกษาคุณลักษณะของเลเซอร์ไดโอดชนิด DSDBR<br />

มลฤดี เรณูสวัสดิ์การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า<br />

ครั้งที่ 34 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน พัทยา<br />

ชลบุรี 26-28 ตุลาคม 2554<br />

งานวิจัยนี้ได้ทำาการศึกษาคุณลักษณะของเลเซอร์ไดโอด<br />

ชนิด DSDBR เพื่อพัฒนาเป็นมาตรฐานความยาวคลื่น<br />

ในย่าน ITU C-band (1528 - 1563 นาโนเมตร) สำาหรับ<br />

โทรคมนาคม ที่มีขนาดกระทัดรัด โดยการศึกษานี้ได้ทำาการ<br />

ศึกษาพารามิ เตอร์ต่างๆ ที่มีผลต่อความยาวคลื่นเพื่อให้<br />

สามารถปรับจูนความยาวคลื่นได้ครอบคลุมในย่าน C-band<br />

ดังกล่าว ได้แก่ ปริมาณกระแสของ Semiconductor Optical<br />

Amplifier, Rear Grating, Front Grating, Phase Section<br />

และ Gain Section นอกจากนั้นการทำาให้ความยาวคลื่น<br />

เสถียรโดย AcetyLene ได้ถูกจัดเตรียมและทำาการสังเกต<br />

ลักษณะสเปกตรัมการดูดกลืนของ AcetyLene ( 13 C 2 H 3 )<br />

ที่ P (16) ของ √ 1 + √ 3 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน<br />

ความยาวคลื่นที่ระบุไว้ในรายงานของคณะกรรมการชั่งตวงวัด<br />

ระหว่างประเทศ (International Committee for Weights<br />

and Measures, CIPM)<br />

ห้องปฏิบัติการความยาวคลื่น<br />

THE PERFORMANCE OF STABILZED LASER (633 NM) FOR<br />

INTERFEROMETRY<br />

มลฤดี เรณูสวัสดิ์, พิเชฐ ลิ้มสุวรรณ 2 1 สถาบันมาตรวิทยา<br />

แห่งชาติ, และ 2 ภาควิชาฟิสิกส์, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัย<br />

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีการประชุมวิชาการ Metrologia 2011<br />

(II CIMMEC) ระหว่างวันที่ 27-30 กันยายน 2554 ณ เมืองนาตาล<br />

ประเทศบราซิล<br />

เลเซอร์ที่มีเสถียรภาพความยาวคลื่น 633 นาโนเมตรได้<br />

ถูกพัฒนาขึ้นและสามารถนำามาใช้เป็นมาตรฐานความยาวคลื่น<br />

สำาหรับระบบอินเตอร์เฟียรอมิตเตอร์ที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

เลเซอร์ถูกทำาให้เสถียรภาพด้วยการควบคุมระยะความยาว<br />

ของเลเซอร์คาวิตี้ (Laser Cavity) โดยใช้แผ่นความร้อนและ<br />

ชุดควบคุมแบบ PID เพื่อควบคุมอุณหภูมิแก่เลเซอร์คาวิตี้แนวการ<br />

ไพลาไรซ์แสง 2 แนวแกนที่ตั้งฉากกัน ซึ่งใช้เป็นสัญญาณในการ<br />

ควบคุมเสถียรภาพของเลเซอร์ ได้จากการจ่ายสนามแม่เหล็กเพื่อ<br />

ให้เกิดปรากฎการณ์ซีมาน คุณลักษณะของเลเซอร์ที่มีเสถียรภาพ<br />

นั้นถูกตรวจสอบโดยการวัดอุณหภูมิของหลอดเลเซอร์และกำาลัง<br />

เลเซอร์ของแสงโพลาไรซ์ทั้งสอง ค่าความเสถียรภาพของเลเซอร์<br />

ในระยะยาวที่ได้อยู่ในระดับ 10 -8<br />

รูปแสดงลักษณะของเลเซอร์ไดโอด<br />

แบบ DSDBR ของ Oclaro<br />

รูปแสดงลักษณะของเลเซอร์เสถียรภาพ<br />

ความยาวคลื่น 633 นาโนเมตร<br />

60<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


Stability / %th<br />

ห้องปฏิบัติการอุณหภูมิ<br />

โครงการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบวิธีการสอบเทียบตู้สร้างอุณหภูมิ/<br />

ความชื้น<br />

นางธสร สิงหะเนติ ห้องปฏิบัติการความชื้น การประชุม<br />

37 th Congress on Science and Technology of Thailand<br />

บ่อยครั้งที่ในการสอบเทียบตู้สร้างอุณหภูมิ/ความชื้น<br />

ห้องปฏิบัติการมักนิยมใช้ค่าซึ่งมาจากข้อกำาหนดเฉพาะจาก<br />

บริษัทผู้ผลิต เช่น ความสม่ำาเสมอต่อเวลา (Stability) และ ความ<br />

สม่ำาเสมอต่อตำาแหน่ง (Uniformity) โดยมีจุดประสงค์หลักที่ถูก<br />

นำามาใช้เพื่อประเมินค่าความไม่แน่นอนในการวัดของระบบสอบ<br />

เทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิและความชื้น (Thermo-hygrometer)<br />

แน่นอนว่าทั้งสองค่าย่อมส่งผลให้ค่าความไม่แน่นอนของการ<br />

สอบเทียบเครื่องมือเหล่านี้อาจสูงมากกว่า 0.5 สำาหรับ<br />

อุณหภูมิอากาศ และ 1.5 %rh สำาหรับความชื้นสัมพัทธ์<br />

รูปที่ 1 เปรียบเทียบผลของความสม่ำาเสมอต่อเวลา<br />

(Stability) ระหว่างวิธี Direct และ Indirect Method<br />

ในปัจจุบันการสอบเทียบตู้สร้างอุณหภูมิ/ความชื้น มักใช้<br />

วิธีการวัดชนิด Direct โดยเป็นหัววัด Capacitive หรือ Resistive<br />

9 หัววัด และติดตั้งทั้งหมด 9 จุดรอบห้องทดสอบภายในตู้<br />

ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อการสอบเทียบที่ค่อนข้างสูงแต่ต่อมาได้มีการ<br />

พัฒนาวิธีการสอบเทียบด้วยการใช้ 9 หัววัดอุณหภูมิ และ 1<br />

dew-point Hygrometer หรือวิธี Indirect สำาหรับการสอบ<br />

เทียบตู้สร้างอุณหภูมิ/ความชื้น แต่วิธีการหลังยังไม่ได้รับการ<br />

ตอบสนองในการใช้งานที่มากพอ ดังนั้นผลการทดลองนี้จึงถูก<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเปรียบเทียบทั้ง 2 วิธี ซึ่งพบว่าแนวโน้มของความ<br />

สม่ำาเสมอต่อเวลา (Stability) และ ความสม่ำาเสมอต่อตำาแหน่ง<br />

(Uniformity) บนพื้นฐานของเครื่องมือที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ประเทศไทยใช้งาน เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และแตกต่างกัน<br />

ไม่เกินกว่า +_ 0.1%rh ยกเว้นที่ค่าความชื้นสัมพัทธ์ 95% ที่มี<br />

ค่าความสม่ำาเสมอต่อตำาแหน่งโตเกินกว่า +_ 0.5%rh ดังแสดง<br />

ในรูปที่ 1 และรูปที่ 2<br />

1.50<br />

1.00 2.10<br />

0.50 1.60<br />

0.00 1.10<br />

0.50 0.60<br />

1.00 0.10<br />

1.50<br />

30.0 40.0 50.0 60.0 70.0 80.0 90.0 100.0<br />

0.40<br />

30.0 40.0 50.0 60.0 70.0 80.0 90.0 100.0<br />

Relative Humidity / %th<br />

Uniformity / %th<br />

indirect<br />

Relative Humidity / %th<br />

direct<br />

รูปที่ 2 เปรียบเทียบผลของความสม่ำาเสมอต่อตำาแหน่ง (Uniformity)<br />

ระหว่างวิธี Direct และ Indirect Method<br />

ผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ได้นำาเสนอในการประชุม 37 th Congress on Science and Technology of Thailand<br />

ในระหว่างวันที่ 10 - 12 ตุลาคม 2554 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

61


ห้องปฏิบัติการชีววิเคราะห์<br />

• The effect of Tobacco Smoking on Serum vitaminB12,<br />

Folic acid, homocysteine and hematological in healthy adults<br />

Duangkamol V., Talabpon H.,Umaporn P. et al.<br />

เป็นการศึกษาผลของการสูบบุหรี่ต่อวิตามินบีกรดโฟลิก<br />

และโฮโมซีสตีน พบว่ากลุ่มสูบบุหรี่มีกรดโฟลิกต่ำาแต่มี<br />

โฮโมซีสตีนสูงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ มีการนำา<br />

เสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ในการประชุมวิชาการที่<br />

ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2554<br />

• Variation of fasting plasma glucose insulin and<br />

insulin resistance in Thai adults according to the<br />

new BMI criteria for Asians<br />

Surat K., Duangkamol V. and Korbkit C<br />

เป็นงานวิจัยที่ศึกษาระดับน้ำ าตาล อินซูลิน ภาวะดื้อต่อ<br />

อินซูลินในคนผู้ใหญ่ไทยที่ใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกายใหม่ที่เกณฑ์ 23<br />

สำาหรับคนเอเซีย พบว่าระดับน้ำาตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเป็น<br />

4.94+0.73 mmol/l ในผู้ชายและ 4.63+0.43 mmol/l ในผู้หญิง<br />

รูปแบบการดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้นเป็น 1.65+0.32 mmol/l<br />

โดยเฉพาะกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายที่เกณฑ์ 23 นำาเสนอผลงาน<br />

ในรูปแบบโปสเตอร์ที่การประชุมวิชาการ ณ ประเทศสเปน<br />

• การประเมินวิธีการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ Evaluation<br />

Method for Laboratory Work<br />

เสาวนีย์ กาญจนชุมพล, ดวงกมล วิรุฬห์อุดมผล<br />

และไพศาล จิตธรธรรม<br />

การพัฒนาวิธีการวัดจะต้องเลือกวิธีที่ใช้วิเคราะห์ให้<br />

เหมาะสมกับชนิดของตัวอย่าง ปริมาตรที่ใช้และความพร้อม<br />

ของเครื่องมือ ลงวารสาร Up Date vol.3 ก.ค.-ก.ย.54<br />

62<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ความร่วมมือด้านมาตรวิทยา<br />

ระหว่างประเทศ<br />

• โครงการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ระยะที่ 3<br />

ความเป็นมา<br />

การจัดทำาข้อเสนอโครงการเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่<br />

2 เมษายน 2553 ซึ่งคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ เห็นชอบ<br />

ให้สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาตินำาโครงการการพัฒนาโครงสร้าง<br />

พื้นฐานด้านมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ และหน่วยวัดแห่งชาติ<br />

ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ฉบับที่ 2<br />

พ.ศ. 2554 - 2559 เสนอขอใช้โครงการเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการ<br />

ไทยเข้มแข็ง 2553 เพื่อ<br />

1. ก่อสร้างอาคารห้องปฏิบัติการทางเคมีและชีวภาพ<br />

เป็นเงิน 530 ล้านบาท<br />

2. จัดหาอุปกรณ์มาตรฐาน เป็นเงิน 1,232.35 ล้านบาท<br />

3. จัดจ้างที่ปรึกษา 12 ล้านบาท<br />

วันที่ 24 สิงหาคม 2553 คณะรัฐมนตรีลงมติ<br />

1. เห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาระบบมาตรวิทยา<br />

แห่งชาติ ระยะที่ 3 (โครงการเงินกู้ปีพ.ศ. 2554 - จำาเป็นเร่งด่วน)<br />

วงเงินกู้ 1,774.35 ล้านบาท ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยีเสนอ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณา<br />

ความเหมาะสมของแหล่งเงิน เงื่อนไขการกู้เงินตามความเหมาะสม<br />

และจำาเป็น และดำาเนินการตามขั้นตอนของข้อกฎหมายและ<br />

ระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง กระทรวง<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติรับ<br />

ความเห็นของสำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ<br />

สังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับการใช้เงินกู้เพียงบางส่วน และการจัดทำา<br />

การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนทางการเงินฯ ไปพิจารณาด้วย<br />

2. ให้สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติรับความเห็นของ<br />

กระทรวงการคลังที่เห็นควร ให้สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติกำ าหนด<br />

แนวทางการบริหารจัดการโครงการระยะที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ<br />

มากยิ่งขึ้นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และระยะเวลาดำาเนินงานที่<br />

กำาหนดไว้ และความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยว<br />

กับการดำาเนินการตามโครงการดังกล่าวในขั้นต่อไป ไปพิจารณา<br />

ดำาเนินการด้วย<br />

ต่อมา สถาบันได้จัดทำาและนำาส่งการวิเคราะห์ผล<br />

ตอบแทนทางการเงินและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ตลอดจน<br />

ทำาการปรับแผนโครงการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ ระยะ<br />

ที่ 3 ให้เหมาะสมและครอบคลุม และได้จัดทำาแผนการบริหาร<br />

หนี้สาธารณะเพื่อขอบรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะตาม<br />

ขั้นตอนที่สำานักงานบริหารหนี้สาธารณะกำาหนด ต่อสำานักงาน<br />

บริหารหนี้สาธารณะเป็นที่เรียบร้อย<br />

ในส่วนของการก่อสร้างอาคารห้องปฏิบัติการและ<br />

การจ้างที่ปรึกษานั้น สถาบันได้รับการจัดสรรเงินจากงบประมาณ<br />

ประจำาปี จึงยังคงขาดงบประมาณในส่วนของการจัดหาอุปกรณ์<br />

มาตรฐานแห่งชาติ ซึ่งต่อมาวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 สถาบัน<br />

ได้จัดทำาคำาขอใช้เงินกู้ Public Sector Reform Development<br />

Policy Loan เสนอ ปกท.วท. เพื่อนำาเรียน รมว.วท. พิจารณา<br />

เสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองและบริหารโครงการภายใต้<br />

แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2553 วงเงินกู้ 1,232.35 ล้านบาท<br />

เพื่อการจัดหาอุปกรณ์มาตรฐาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ลงมติ<br />

อนุมัติวงเงินกู้ให้เป็นเงิน 721 ล้านบาท เพื่อการจัดหาอุปกรณ์<br />

มาตรฐานด้านฟิสิกส์ โดยให้เร่งรัดการดำาเนินโครงการและ<br />

การเบิกจ่ายเงินภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 โดยเคร่งครัด<br />

ตามความเห็นของสำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ<br />

และสังคมแห่งชาติต่อไป<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

63


• กิจกรรมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อ<br />

การเป็นศูนย์กลางมาตรวิทยาของภูมิภาคอาเซียน<br />

-การจัดฝึกอบรมประเทศที่สาม หัวข้อ The Third Country<br />

Training Programme on Measurement Standards<br />

Institutes of Asia Pacific Countries<br />

1. การจัดฝึกอบรม ณ ประเทศไทย<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้จัดฝึกอบรมหัวข้อ<br />

The Third Country Training Programme on the Strengthening<br />

of Measurement Standards Institutes of Asia Pacific<br />

Countries ภายใต้การสนับสนุนของ Japan International<br />

Cooperation Agency (JICA) และสำานักงานความร่วมมือ<br />

เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ<br />

ให้แก่ผู้รับทุนจำานวน 20 คน จาก 11 ประเทศในภูมิภาค<br />

เอเซียแปซิฟิค ได้แก่ บังคลาเทศ กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว<br />

มาเลเซีย มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา และ<br />

เวียดนาม ระหว่างวันที่ 16 มกราคม ถึง 26 กุมภาพันธ์ 2554<br />

2. การฝึกติดตาม ณ ประเทศของผู้รับทุน<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ภายใต้การสนับสนุน<br />

ของ Japan International Cooperation Agency (JICA)<br />

ได้ดำาเนินการติดตามความก้าวหน้าของการฝึกอบรมภายใต้<br />

โครงการฝึกอบรมประเทศที่สามหัวข้อ The Third Country Training<br />

Programme on the Strengthening of Measurement<br />

Standards Institutes of Asia Pacific Countries ในสาขา<br />

Time & Frequency และ Watt-hour ระหว่างวันที่ 11-24<br />

กันยายน 2554 ณ ประเทศอินโดนีเซีย<br />

ในการนี้ สถาบันฯ และ KIM-LIPI รวมถึงผู้ประกอบการ<br />

จากประเทศไทย ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันวิจัย<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริม<br />

เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย)<br />

จำากัด และสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ได้ร่วมกันจัดสัมมนา<br />

วิชาการหัวข้อ Seminar and Workshop on Measurement<br />

Standards in Indonesia ระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน 2554<br />

ณ โรงแรม Santika ประเทศอินโดนีเซีย<br />

- การนำาเสนอขอจัดตั้ง ASEAN COST - Expert Group on Metrology<br />

เรื่องเดิม<br />

ประเทศไทยได้นำาเสนอขอจัดตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วย<br />

มาตรวิทยา (Sub-Committee on Metrology: SCM) ขึ้นใน<br />

การประชุม The 60 th Meeting of the ASEAN Committee<br />

on Science and Technology (COST) เมื่อวันที่ 14-15<br />

ธันวาคม 2553 ณ จังหวัดกระบี่ ประเทศไทย ซึ่งผล<br />

การประชุมสรุปได้ดังนี้<br />

1. คณะกรรมการฯ (COST-60) เห็นความสำาคัญของ<br />

มาตรวิทยาในอาเซียนว่าจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล<br />

2. อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ (COST-60) เห็นว่า<br />

ได้มี ASEAN Consultative Committee on Standards and<br />

Quality (ACCSQ) และคณะทำางานต่างๆ ซึ่งอาจมีหน้าที่คล้าย<br />

กับ SCM ที่นำาเสนอมา<br />

3. คณะกรรมการฯ (COST-60) ขอให้ประเทศไทย<br />

พัฒนาขอบข่ายข้อเสนอโครงการ และกำาหนดหน้าที่และ<br />

รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอขอจัดตั้ง SCM ทั้งนี้ ข้อเสนอ<br />

ดังกล่าวจะต้องนำาเสนอต่อ Sub-Committee on Infrastructure<br />

of Resources and Development (SCIRD) เพื่อทบทวน<br />

และให้ข้อเสนอแนะ<br />

64<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


สถาบันได้จัดทำารายละเอียดเปรียบเทียบขอบข่ายและ<br />

หน้าที่ระหว่าง ACCSQ และ SCM ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโครงสร้าง<br />

ขอบข่าย และหน้าที่ ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง พร้อมปรับปรุง<br />

ข้อเสนอโครงการตามความเห็นของคณะกรรมการฯ (COST-60)<br />

นำาเสนอต่อที่ประชุม SCIRD ครั้งที่ 41 ซึ่งมีขึ้นระหว่าง<br />

วันที่ 9-10 พฤษภาคม 2554 ณ เมืองเสียมเรียบ ประเทศราช<br />

อาณาจักรกัมพูชา<br />

ที่ประชุม SCIRD ครั้งที่ 41 พิจารณาข้อเสนอของ<br />

สถาบันและสรุปผลนำาเสนอต่อที่ประชุม COST-61 เห็นควรให้<br />

จัดตั้ง Experts Group on Metrology ภายใต้ SCIRD ก่อน โดย<br />

SCIRD จะรับผิดชอบ Experts Group จนถึงเวลาที่Experts Group<br />

เข้มแข็งพอที่จะยกระดับเป็นคณะอนุกรรมการต่อไป<br />

สถาบันฯ ได้รวบรวมข้อมูลของแต่ละประเทศในอาเซียนเพื่อ<br />

ใช้ในการประชุมแผนดำาเนินงานในการประชุมครั้งถัดไปดังต่อไปนี้<br />

1. Focal Point ของแต่ละประเทศ<br />

2. รายการสาขาการวัดที่แต่ละประเทศสามารถให้<br />

บริการสอบเทียบระหว่างกันในรูปของ Standards Sharing,<br />

Remote Calibration และ On-site Calibration และรายการ<br />

ผู้เชี่ยวชาญที่แต่ละประเทศสามารถให้คำาปรึกษาทางเทคนิค<br />

3. สาขาการวัดที่แต่ละประเทศต้องการบริการสอบเทียบ<br />

และผู้เชี่ยวชาญให้คำาปรึกษาทางเทคนิค<br />

- ความร่วมมือระหว่างสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติและ APMP - DEC<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม<br />

เชิงปฏิบัติการให้แก่นักมาตรวิทยาจากประเทศสมาชิกAPMP - DEC<br />

ในหัวข้อ Workshop on Gauge Block Calibration<br />

Using Laser Interferometer Method ระหว่างวันที่<br />

26-27 กันยายน 2554 ณ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติประเทศไทย<br />

• โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้จัดกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ<br />

ซึ่งประกอบด้วย การบรรยายทางวิชาการ การออกบูธนิทรรศการ และการให้คำาปรึกษาทางด้านการวัด ดังนี้<br />

จำานวน<br />

จำานวน<br />

ผู้ประกอบการ ผู้เข้าร่วมงาน<br />

ชื่องาน ระหว่างวันที่ ร่วมจัดกิจกรรม (คน)<br />

(คน)<br />

Thailand Industrial Fair 2011 ณ ศูนย์นิทรรศการและ 10-13 ก.พ. 54 16 453<br />

การประชุม ไบเทค บางนา<br />

Seminar and Workshop on Measurement 7-9 มี.ค. 54 7 150<br />

Standards in Myanmar ณ เมืองย่างกุ้ง<br />

ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์<br />

Intermach 2011 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม 19-22 พ.ค. 54 4 236<br />

ไบเทค บางนา<br />

Seminar and Workshop on Measurement 22-23 ก.ย. 54 5 267<br />

Standards in Indonesia<br />

ณ เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

65


ความร่วมมือด้านมาตรวิทยา<br />

ภายในประเทศ<br />

โครงการพัฒนาการเรียนการสอนหลักสูตรด้านมาตรวิทยา<br />

มว. ตระหนักถึงความสำาคัญของการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านมาตรวิทยาในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางสำาหรับ<br />

ครู-อาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องและรองรับความต้องการด้านการวัดของสถานประกอบการ อันจะเป็นประโยชน์<br />

ต่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของสถานประกอบการต่างๆ จึงได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ จัดโครงการพัฒนาการ<br />

เรียนการสอนหลักสูตรด้านมาตรวิทยา รวม 4 ครั้ง มีผู้เข้ารับการอบรม 115 คน<br />

โครงการผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี (Computer Numerical Control : CNC) เบื้องต้น<br />

มว. ได้จัด “โครงการผลิตช่างผู้ตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี (Computer Numerical Control : CNC) เบื้องต้น”<br />

อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มจำานวนช่างผู้ชำานาญในการตรวจสอบเครื่องจักรกลซีเอ็นซี ให้ได้มาตรฐานสากล พร้อมกับพัฒนาความ<br />

รู้และทักษะด้านการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องจักรกลซีเอ็นซีเบื้องต้นให้แก่ครูผู้สอน เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ และเป็น<br />

แนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนเกี่ยวกับเครื่องจักรกลซีเอ็นซี และยังได้เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนัก<br />

ในการตรวจสอบและการสอบเทียบเครื่องจักรกลซีเอ็นซีอย่างถูกต้องแก่ภาคอุตสาหกรรมมว.ได้จัดการอบรม รวม 3 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม<br />

ทั้งสิ้น 140 คน<br />

66<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


โครงการจัดตั้งศูนย์สอบเทียบสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค<br />

มว. ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาด้านมาตรวิทยา<br />

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบมาตรวิทยา ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์สอบเทียบ วิเคราะห์ และทดสอบประจำาสถาบันพัฒนา<br />

ฝีมือแรงงานภาค จำานวน 7 แห่ง ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น ชลบุรี ราชบุรี สมุทรปราการ นครราชสีมา นครสวรรค์ และสงขลา<br />

ให้สามารถให้บริการงานด้านมาตรวิทยาแก่ภาคการผลิต และบริการได้อย่างถูกต้องแม่นยำา เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับได้ภายใน<br />

ประเทศ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าว รวม 5 ครั้ง<br />

โครงการอบรมมาตรวิทยาด้านมิติแก่ครู/อาจารย์ระดับอาชีวศึกษาทั่วประเทศ<br />

มว. สำานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน บริษัท มิตูโตโย (ประเทศไทย) จำากัด และ<br />

บริษัท สุมิพล จำากัด ร่วมกันจัดโครงการ “อบรมมาตรวิทยาด้านมิติแก่ครู/อาจารย์ระดับอาชีวศึกษาทั่วประเทศ” ขึ้น โดยมี<br />

วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำาคัญของมาตรวิทยาและการวัด พร้อมทั้งพัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะด้าน<br />

มาตรวิทยาของครูระดับอาชีวศึกษา สำาหรับนำาไปพัฒนาการเรียนการสอน และเพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านการใช้เครื่องมือ<br />

วัดละเอียดได้อย่างถูกต้อง และปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน<br />

โดยจัดการเรียนการสอน จำานวน 6 ครั้ง ณ จ. สมุทรปราการ จ.ราชบุรี จ.พิษณุโลก จ.ขอนแก่น จ.สุราษฏร์ธานี และกรุงเทพฯ<br />

พร้อมกับจัดประชุมสรุปผลโครงการอบรมมาตรวิทยาด้านมิติแก่ครูระดับอาชีวศึกษาทั่วประเทศ และการเสวนาทางวิชาการ<br />

เรื่อง “ความสำาคัญของระบบมาตรวิทยาด้านมิติกับการพัฒนาประเทศ” โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาทั้งสิ้น 349 คน<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

67


โครงการส่งเสริมการจัดตั้งห้องปฏิบัติการสอบเทียบในภูมิภาค<br />

มว. ได้จัดตั้ง “โครงการส่งเสริมการจัดตั้งห้องปฏิบัติการสอบเทียบในภูมิภาค” ขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการ<br />

จัดตั้งห้องปฏิบัติการสอบเทียบในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ และเพื่อเพิ่มจำานวนห้องปฏิบัติการสอบเทียบ สำาหรับรองรับความ<br />

ต้องการของภาคอุตสาหกรรม และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยมีบริษัท<br />

ที่ผ่านการตรวจประเมินเบื้องต้นและได้เข้าร่วมโครงการจำานวน 5 แห่ง<br />

โครงการยกระดับความสามารถด้านการวัดในภาคอุตสาหกรรม<br />

เนื่องจากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติตระหนักถึงความสำาคัญของคุณภาพการวัดการวิเคราะห์ และมีเป้าหมายสนับสนุน<br />

การยกระดับคุณภาพการวัดการวิเคราะห์ในภาคอุตสาหกรรม อันจะเป็นประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์ของภาคอุตสาหกรรมที่จะมีคุณภาพ<br />

และได้มาตรฐานตามข้อกำาหนดที่ผู้สั่งซื้อต้องการ และมีศักยภาพการแข่งขันในตลาดการค้าโลกสูงขึ้น นำาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ<br />

ของประเทศโดยรวม มว. จึงจัดทำาโครงการยกระดับความสามารถด้านการวัดในภาคอุตสาหกรรม โดยมีความร่วมมือกับสถาบัน<br />

มาตรวิทยาแห่งชาติ (LMI) สปป.ลาว สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำานักงานคณะกรรมการอ้อยและ<br />

น้ำาตาลทราย กรมวิทยาศาสตร์บริการ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) แผนกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของแขวงจำาปาสัก<br />

สถาบันอาหาร สำานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลางจำากัด<br />

สมาคมมาตรวิทยาแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และบริษัทวิทยุการบิน จำานวนทั้งสิ้น 14 กิจกรรม มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 722 คน<br />

68<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


การลงนามความร่วมมือ (MOU)<br />

• บันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาด้านมาตรวิทยา ระหว่าง มว. กับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน<br />

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554<br />

• บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทางวิชาการ : มหาวิทยาลัยสยาม เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554<br />

• บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วย ความร่วมมือการถ่ายทอดเวลามาตรฐานประเทศไทยผ่านวิทยุ FM/RDS :<br />

บริษัท อสมท. จำากัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554<br />

• บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดมาตรฐานการจัดหา<br />

สารเคมีมาตรฐาน และลดระยะเวลาในการดำาเนินการรวมทั้งความสูญเปล่าต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการรับ-ส่งเครืองมือ<br />

วัดมาตรฐาน การจัดหาสารเคมีมาตรฐาน และการชำาระเงินค่าบริการ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เมื่อวันที่<br />

1 กันยายน 2554<br />

• บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วย ความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนการสอน และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านมาตรวิทยา :<br />

วิทยาเทคนิคมาบตาพุด เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554<br />

• บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วย ความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนการสอน และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านมาตรวิทยา :<br />

วิทยาเทคนิคสัตหีบ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554<br />

• บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วย ความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนการสอน และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านมาตรวิทยา :<br />

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2554<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

69


ชมรมมาตรวิทยา<br />

สถาบันได้จัดกิจกรรมภายใต้ชมรมมาตรวิทยา เพื่อรับทราบข้อมูลเบื้องต้นทางเทคนิคด้านการวัด ปัญหาความต้องการ<br />

ตลอดจนข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาสาขาการวัดต่างๆ และแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านมาตรวิทยาใน<br />

รูปแบบของชมรม ดังนี้<br />

ชมรม<br />

กิจกรรม<br />

ความดัน จัดสัมมนาเพื่อนำาเสนอผลงานทางวิชาการในหัวข้อ “ผลกระทบของการควบคุมอุณหภูมิห้องปฏิบัติการฯ ที่ +2<br />

องศาเซลเซียส กับการสอบเทียบเครื่องมือวัดความดัน” และ “การทวนสอบผลการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐาน<br />

ด้านความดัน (Mechanical & Electro-mechanical Manometers) ก่อนนำาไปใช้งาน และวิธีดำาเนินการใน<br />

กรณีที่ผลการสอบเทียบดังกล่าวหลุดจากเกณฑ์ที่กำาหนด” ณ มว. จ.ปทุมธานี (3 มิถุนายน 2554)<br />

แรง<br />

จัดสัมมนาทางวิชาการด้านมาตรวิทยาสาขาแรงในหัวข้อ “Seminar on the calibration of force proving<br />

instrument according to ISO 376: 2011” ณ มว. จ.ปทุมธานี (5 ตุลาคม 2554)<br />

มวล จัดสัมมนาเพื่อนำาเสนอผลงานทางวิชาการในหัวข้อ “ประสบการณ์ในการขยายขีดความสามารถการสอบเทียบ<br />

มวล: Large weight up to 1000 kg“, “Reporting of Measurement Result”, “ตัวอย่างใบรายงานผล<br />

การสอบเทียบตุ้มน้ำาหนักและเครื่องชั่งฯ” และ “ถ่ายทอดประสบการณ์ จากการเป็นผู้ประสานงาน (Coordinator)<br />

ในโครงการ Inter-laboratory Comparison of Electronic Balance” เพื่อระดมความคิดและทิศทางในการ<br />

ร่วมมือทางวิชาการด้านมวลในอนาคต ณ มว. จ.ปทุมธานี (14 กันยายน 2554)<br />

แรงบิด<br />

การประชุมชมรมมาตรวิทยาสาขาแรงบิดในหัวข้อ “Guideline Torque Transducer Cal.” ณ มว. จ.ปทุมธานี<br />

(7 กุมภาพันธ์ 2554)<br />

การประชุมชมรมมาตรวิทยาเพื่อสรุปผลโครงการเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการสอบเทียบภายใน<br />

ประเทศ (PT MT03/2553) ณ มว. จ.ปทุมธานี (27 กันยายน 2554)<br />

ไฟฟ้า จัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง Recent Activities on Remote Calibration on Time and Frequency Field<br />

at MMIJ และ แนวทางในการสอบเทียบ RF Attenuator รวมทั้งชี้แจงวิธีการดำาเนินการเปรียบเทียบผลการ<br />

วัดภายในประเทศ Inter-Laboratory Comparison on Frequency Measurement at the Frequency of 10 MHz<br />

และ Inter-Laboratory Comparison of RF Power Standard ณ. มว. จ.ปทุมธานี (1 กุมภาพันธ์ 2554)<br />

จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง การสอบเทียบเครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมสาขาไฟฟ้าและสาขาอุณหภูมิ ภายใต้โครงการ<br />

ศึกษาผลกระทบ (Impact) ทางเศรษฐกิจของประเทศจากระบบมาตรวิทยาไฟฟ้าและระบบมาตรวิทยาอุณหภูมิ<br />

ณ โรงแรมแมนฮัตตัน จ.ปทุมธานี (10-11 พฤษภาคม 2554)<br />

จัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง Reporting of Measurement Result และการเปรียบเทียบผลการวัดภายในประเทศ<br />

สาขามาตรวิทยาไฟฟ้า ณ มว. จ.ปทุมธานี (22 กรกฏาคม 2554) ดังนี้<br />

- สรุปเปรียบเทียบผลการวัดภายในประเทศ Inter-Laboratory Comparison of the 1.018 V and 10 V DC<br />

Standard No.EE-08/10<br />

- ชี้แจงวิธีการดำาเนินการเปรียบเทียบผลการวัดภายในประเทศ 2 สาขา ได้แก่ AC-DC Voltage Transfer<br />

Standard Inter-Laboratory Comparison และ DC Resistance Standard Inter-Laboratory Comparison<br />

70<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ชมรม<br />

กิจกรรม<br />

จัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง Understanding Specifications for Precision Multimeter และ การสรุปเปรียบเทียบ<br />

ผลการวัดภายในประเทศ 3 สาขา ณ มว. จ.ปทุมธานี (18 สิงหาคม 2554) ได้แก่<br />

- Inter-Laboratory Comparison of AC Power Meter No.EE-06/10<br />

- Inter-Laboratory Comparison of 5½ Digit Multimeter No.EE-04/10<br />

- Inter-Laboratory Comparison of 8½ Digit Multimeter No.EE-05/10<br />

จัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง การสอบเทียบระยะไกล (Remote Calibration) ด้วยระบบ GPS Common-View<br />

และ การสรุปเปรียบเทียบผลการวัดภายในประเทศ 2 สาขา ณ มว. จ.ปทุมธานี (28 กันยายน 2554) ได้แก่<br />

- Inter-Laboratory Comparison of RF Power Standard No. EE-02/11<br />

- Inter-Laboratory Comparison on10 MHz and 1 PPS Signals from the Rubidium Frequency<br />

Standard No. EE-01/11<br />

มิติ จัดทำา Guide Line สำาหรับสอบเทียบ Gauge Block Comparator ณ มว. จ.ปทุมธานี (14-15 มีนาคม 2554)<br />

จัดอบรมการสอบเทียบ Universal Length Measuring Machine ณ มว. จ.ปทุมธานี (2-3 พฤษภาคม 2554)<br />

อุณหภูมิ จัดประชุมเพื่อแนะนำาวิธีการสอบเทียบ Infrared Thermometer และนำาเสนอร่างแนวทางการสอบเทียบ Infrared<br />

Thermometer ณ มว. จ.ปทุมธานี (25 กุมภาพันธ์ 2554, 16 สิงหาคม 2554)<br />

จัดประชุมเพื่อนำ าเสนอร่างแนวทางการสอบเทียบ Digital Thermometer with Sensor ณ มว. จ.ปทุมธานี(22 เมษายน 2554)<br />

จัดประชุมเพื่อพิจารณารับรองร่างแนวทางการสอบเทียบInfrared Thermometer ณ มว. จ.ปทุมธานี(16 สิงหาคม 2554)<br />

จัดประชุมสรุปผลการเปรียบเทียบเทียบผลการวัดของเครื่องมือDigital Hygrometer ณ มว. จ.ปทุมธานี(31 สิงหาคม 2554)<br />

จัด Work Shop เทคนิควิธีการทดสอบค่า Inhomogeneity ของ Thermocouple ณ มว. จ.ปทุมธานี(31 สิงหาคม 2554)<br />

จัดประชุมเพื่อนำ าเสนอร่างแนวทางการสอบเทียบ Liquid in Glass Thermometer ณ มว. จ.ปทุมธานี(23 กันยายน 2554)<br />

แสง การประชุมสัมมนาในหัวข้อ"การสอบเทียบ Spectroradiometer และ Broadband Radiometer" ณ มว.<br />

จ.ปทุมธานี (7 มีนาคม 2554)<br />

เคมีและ<br />

ชีวภาพ<br />

เพื่อให้การดำ าเนินงานพัฒนายุทธศาสตร์ชาติด้านมาตรวิทยาเคมีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง<br />

สามารถบูรณาการกิจกรรมการวัดทางเคมีของหน่วยงานสถาบันทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ<br />

ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพจึงมีจัดกิจกรรมภายใต้เครือข่ายมาตรวิทยาเคมี เพื่อรับทราบข้อมูลเบื้องต้นทาง<br />

เทคนิคด้านการวัด ปัญหาความต้องการ ตลอดจนข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาสาขาการวัดต่างๆ<br />

และแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านมาตรวิทยาในรูปแบบการจัดประชุม ดังนี้<br />

1. การประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่ายมาตรวิทยาเคมีรวม 3 ครั้ง ( 23 ธันวาคม 2553, 29 เมษายน 2554<br />

และ 25 สิงหาคม 2554)<br />

2. การประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการมอบหมายให้ห้องปฏิบัติการทำ าหน้าที่การวัดแทนห้องปฏิบัติการเคมี<br />

รวม 3 ครั้ง (14 ธันวาคม 2553, 21 เมษายน 2554 และ 27 กรกฎาคม 2554)<br />

3. การประชุมร่วมระหว่างคณะทำางานโครงการทดสอบความชำานาญ (Proficiency Testing Program)<br />

ด้านการวัดทางเคมีและชีววิเคราะห์ คณะทำางานโครงการพัฒนาวัสดุอ้างอิง/วัสดุอ้างอิงรับรองทางเคมี<br />

(23 สิงหาคม 2554)<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

71


การจัดสัมมนาทางวิชาการด้านมาตรวิทยา<br />

สาขาแรง (5 ตุลาคม 2554)<br />

การประชุมชมรมมาตรวิทยาสาขาแรงบิด<br />

(27 กันยายน 2554)<br />

การประชุมคณะกรรมการบริหารเครือข่ายมาตรวิทยาเคมี<br />

การร่วมเป็นผู้ตรวจประเมินและให้คำาปรึกษาด้าน<br />

มาตรวิทยา<br />

สถาบันได้ให้ความร่วมมือในการร่วมเป็นผู้ตรวจประเมิน<br />

กับสำานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และ<br />

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสาขาการวัดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่<br />

สาขามวล สาขาความดันและสุญญากาศ สาขาความหนาแน่น<br />

สาขาแรงบิด สาขาไฟฟ้า สาขาคลื่นความถี่สูงและไมโครเวฟ<br />

สาขาอุณหภูมิ สาขามิติ สาขาแสง และสาขาเคมีและชีวภาพ<br />

การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ มว.<br />

ปี 2554 มีหน่วยงานทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน<br />

ให้ความสนใจเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของสถาบัน เพื่อแลก<br />

เปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับระบบมาตรวิทยา การสอบเทียบ<br />

เครื่องมือวัด และการให้บริการสอบเทียบของสถาบันในด้าน<br />

สาขามาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ สาขามาตรวิทยาเชิงกล<br />

สาขามาตรวิทยาไฟฟ้า สาขามาตรวิทยาอุณหภูมิ และสาขา<br />

มาตรวิทยามิติ เป็นต้น<br />

72<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


การให้บริการของสถาบัน<br />

การให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด<br />

ภารกิจหลักประการหนึ่งของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ คือการถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดสู่ผู้ใช้งาน ซึ่งในปี 2554<br />

สถาบันได้ให้บริการสอบเทียบเครื่องวัดให้กับห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนี้<br />

• จำานวนห้องปฏิบัติการที่มาใช้บริการสอบเทียบและจำาหน่ายวัสดุอ้างอิงจำาแนกตามประเภทการให้<br />

บริการสอบเทียบของสถาบันจำาแนกตามประเภทผู้ใช้บริการ ปี 2554<br />

ประเภทผู้ใช้บริการ จำานวน (ห้องปฏิบัติการ) เปอร์เซ็นต์<br />

ห้องปฏิบัติการของรัฐ 39 9.97%<br />

ห้องปฏิบัติการของเอกชน 352 90.03%<br />

รวมทั้งสิ้น 391 100%<br />

สัดส่วนของผู้มาใช้บริการจากห้องปฏิบัติการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.97 ในขณะที่ห้องปฏิบัติการของภาคเอกชน<br />

มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 90.03<br />

• จำานวนสาขาของการวัดจากใบรายงานผลการสอบเทียบ<br />

ตลอดปี 2554 สถาบันออกใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด และมาตรฐานการวัดของห้องปฏิบัติการทั้งสิ้น<br />

จำานวน 2,016 ฉบับ และจำานวนชิ้นงานที่ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดแก่ห้องปฏิบัติการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และจำาหน่าย<br />

วัสดุอ้างอิง จำานวนทั้งสิ้น 3,520 ชิ้นงาน โดยจำาแนกตามสาขาการวัดได้ ดังนี้<br />

จำานวน<br />

จำานวน<br />

สาขาเครื่องมือ (ใบรับรองผลการสอบเทียบ) (ชิ้นงานที่สอบเทียบและ<br />

จำาหน่ายวัสดุอ้างอิง)<br />

Mechanical Dept. 577 1,118<br />

Electrical Dept. 468 474<br />

Dimension Dept. 460 1,399<br />

Chemical Dept. 201 207<br />

Acoustics & Vibration Dept. 153 165<br />

Temperature Dept. 142 142<br />

Photometry Dept. 15 15<br />

Total 2,016 3,520<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

73


จำาแนกสาขาของการวัดจากใบรายงานผลการสอบเทียบ<br />

Temperature Dept.<br />

Acoustics & Vibration Dept.<br />

Chemical Dept.<br />

Photometry Dept.<br />

Mechanical Dept.<br />

Dimension Dept.<br />

Electrical Dept.<br />

Mechanical Dept. 1118<br />

Electrical Dept. 474<br />

Dimension Dept. 1399<br />

Chemical Dept. 207<br />

Acoustics &Vibration Dept. 165<br />

Temperature Dept. 142<br />

Photometry Dept. 15<br />

74<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


การบริการฝึกอบรม<br />

สถาบันมีการจัดโครงการอบรมหลักสูตรมาตรวิทยาเพื่อเพิ่มขีดความรู้ ความสามารถไปสู่ภาคอุตสาหกรรมเป็นประจำาทุกปี<br />

โดยการจัดอบรมในปีนี้มีการเรียนการสอนในด้านมาตรวิทยาขั้นพื้นฐานและมาตรวิทยาเชิงทฤษฎีและปฏิบัติรวมทั้งสิ้น 25 หลักสูตร<br />

เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม และได้จัดการฝึกอบรม ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ<br />

และอาคารผดุงมาตร สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เทคโนธานี รังสิต คลองห้า จ.ปทุมธานี มีผู้เข้ารับการอบรมจากภาครัฐ<br />

และเอกชน จำานวนทั้งสิ้น 618 คน ดังต่อไปนี้<br />

กราฟเปรียบเทียบการจัดอบรม ปี พ.ศ. 2553 – 2554<br />

700<br />

600<br />

500<br />

400<br />

300<br />

200<br />

610<br />

618<br />

100<br />

0<br />

31<br />

25<br />

จำานวน หลักสูตร จำานวนผู้เข้าอบรม (คน)<br />

ปี พ.ศ. 2553<br />

ปี พ.ศ. 2554<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

75


การจัดสัมมนาวิชาการ<br />

สถาบันได้จัดสัมมนาวิชาการอย่างต่อเนื ่องตลอดทั ้งปี เพื ่อสร้างความตระหนักและสร้างความรู ้ความเข้าใจถึงความจำาเป็น<br />

ของการสอบเทียบเครื่องมือวัด และตอบข้อซักถามเกี่ยวกับระบบมาตรวิทยาแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ<br />

โดยมีวิทยากรทั้งในและต่างประเทศ ดังต่อไปนี้<br />

วันที่ หัวข้อการสัมมนา สถานที่<br />

10-14 มกราคม 2554 Seminar on “MiC for Application of Metrological กรมวิทยาศาสตร์บริการ<br />

Principle in Analytical Chemistry, Interpretation and กรุงเทพฯ<br />

Implementation of the Requirements of ISO/IEC 17025:2005”<br />

1 กุมภาพันธ์ 2554 สัมมนา เรื่อง “Recent activities on remote calibration อาคารผดุงมาตร มว.<br />

on time and frequency field at NMIJ”<br />

จ.ปทุมธานี<br />

21-22 กุมภาพันธ์ 2554 ฝึกอบรมปฏิบัติการ Train the Trainer “Method Validation for อาคารสำานักงานกลาง มว.<br />

Analytical Chemistry”<br />

จ.ปทุมธานี<br />

23 กุมภาพันธ์ 2554 บรรยายพิเศษทางมาตรวิทยาเคมี “Are our measurement results อาคารผดุงมาตร มว.<br />

metrologically traceable? - and does it matter?” จ.ปทุมธานี<br />

23 กุมภาพันธ์ 2554 การบรรยายพิเศษมาตรวิทยาเคมี เรื่อง "Are our measurement อาคารสำานักงานกลาง มว.<br />

results metrologically traceable - and does it matter" จ.ปทุมธานี<br />

และ "Sports drugs testing-what are the odds"<br />

28 กุมภาพันธ์ 2554 สัมมนาในหัวข้อ “Seminar on the Principle of Isotope อาคารผดุงมาตร มว.<br />

Dilution Mass Spectrometry (IDMS) Measurement Method จ.ปทุมธานี<br />

and Its Application”<br />

17 มีนาคม 2554 สัมมนา เรื่อง “การสอบเทียบ Spectroradiometer” อาคารผดุงมาตร มว.<br />

และ “Broadband Radiometer”<br />

จ.ปทุมธานี<br />

28-29 มีนาคม 2554, อบรมปฏิบัติการ Analytical Method Validation รุ่นที่ 1, 2 อาคารผดุงมาตร มว.<br />

25-26 เมษายน 2554 จ.ปทุมธานี<br />

10-11 พฤษภาคม 2554 สัมมนาวิชาการเรื่อง “การสอบเทียบเครื่องมือวัดในอุตสาหกรรม โรงแรมแมนฮัตตั้น<br />

สาขาไฟฟ้าและสาขาอุณหภูมิ”<br />

จ.ปทุมธานี<br />

19-22 พฤษภาคม 2554 สัมมนาวิชาการในงาน Intermach 2011 ศูนย์นิทรรศการและ<br />

เรื่อง “การสอบเทียบนาฬิกาจับเวลา”, การประชุมไบเทค บางนา<br />

“การสอบเทียบเครื่องวัดความเร็วรอบ”, กรุงเทพฯ<br />

“การสอบเทียบเครื่องชั่งและตุ้มน้ำาหนัก”,<br />

“การสอบเทียบ Hand Torque Tools”,<br />

“เรื่องเทอร์โมมิเตอร์แบบแผ่รังสีและการประยุกต์ใช้ใน<br />

ภาคอุตสาหกรรมและการสาธารณสุข”,<br />

“การสอบเทียบ Torque Wrench Calibrator”<br />

76<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


วันที่ หัวข้อการสัมมนา สถานที่<br />

20 พฤษภาคม 2554 การสัมมนาวิชาการเนื่องในวันมาตรวิทยาโลก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ<br />

เรื่อง “Chemical measurements for our life, our future” เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย<br />

30 พฤษภาคม อบรมปฏิบัติการ Estimation of Measurement อาคารผดุงมาตร มว.<br />

1 มิถุนายน 2554, Uncertainty for Chemists รุ่นที่ 1, 2 จ.ปทุมธานี<br />

28-30 มิถุนายน 2554<br />

2 มิถุนายน 2554 สัมมนาวิชาการในโอกาสคล้ายวันสถาปนาสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติปีที่13 โรงแรมอมารีดอนเมือง<br />

เรื่อง “บทบาทและความสำาคัญของระบบมาตรวิทยาในการค้าขาย กรุงเทพฯ<br />

กับต่างประเทศโดยเฉพาะกรณีของพืชผัก ผลไม้”<br />

3 มิถุนายน 2554 สัมมนาเชิงวิชาการด้านมาตรวิทยาความดัน อาคารสำานักงานกลาง มว.<br />

งานชมรมมาตรวิทยาความดัน<br />

จ.ปทุมธานี<br />

21 มิถุนายน 2554 สัมมนา เรื่อง “The Different Ways for Torque Calibration โรงแรมอมารี ดอนเมือง<br />

of Power Test Stands”<br />

แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ<br />

22 กรกฎาคม 2554 สัมมนา เรื่อง “Reporting of Measurement Result” อาคารสำานักงานกลาง มว.<br />

และ “การเปรียบเทียบผลการวัดภายในประเทศ”<br />

จ.ปทุมธานี<br />

ภายใต้ชมรมมาตรวิทยาไฟฟ้า<br />

26 กรกฎาคม 2554 สัมมนา เรื่อง “การสอบย้อนกลับได้ของการวัดทางแสง อาคารผดุงมาตร มว.<br />

สำาหรับการทดสอบแผงเซลล์แสงอาทิตย์และการวัดรังสีอาทิตย์” จ.ปทุมธานี<br />

28-29 กรกฎาคม 2554 อบรมปฏิบัติการ Analytical Method Validation รุ่นที่ 3 อาคารผดุงมาตร มว.<br />

จ.ปทุมธานี<br />

5 สิงหาคม 2554 สัมมนา เรื่อง “บทบาทมาตรวิทยาเสียง อาคารห้องปฏิบัติการเสียง<br />

การสั่นสะเทือนและอัลตราซาวด์ ต่อการวัดวิเคราะห์ และการสั่นสะเทือน<br />

เชิงคุณภาพและสิ่งแวดล้อม” มว. กรุงเทพฯ<br />

18 สิงหาคม 2554 สัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “Understanding Specification อาคารสำานักงานกลาง มว.<br />

for Precision Multimeter”<br />

จ.ปทุมธานี<br />

22-23 สิงหาคม 2554 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Laser Application in Metrology โรงแรมเรือรัษฎา จ.ตรัง<br />

29-31 สิงหาคม 2554 ประชุมปฏิบัติการเรื่องมาตรวิทยา (Metrology) โรงแรมเรือรัษฎา จ.ตรัง<br />

กับกิจกรรมการวัดในชีวิตประจำาวัน<br />

14 กันยายน 2554 สัมมนาเชิงวิชาการด้านมวล (Mass Club) ครั้งที่ 1/2554 อาคารสำานักงานกลาง มว.<br />

จ.ปทุมธานี<br />

12-16 กันยายน 2554 จัดประชุม Preparatory Workshop for the APEC Project: มว. ร่วมกับสำานักคุณภาพ<br />

Laboratory Capacity Building for the Determination Toxic และความปลอดภัยอาหารกรม<br />

Contaminants in Seafood<br />

วิทยาศาสตร์การแพทย์(วพ.)<br />

19 กันยายน 2554 สัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การวัดขนาดแผ่นดินไหว โรงแรมอมารี ดอนเมือง<br />

การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลัง กับมาตรวิทยาในประเทศไทย” กรุงเทพฯ<br />

20 กันยายน 2554 สัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การสอบเทียบเครื่องวัดแรงตามมาตรฐาน อาคารผดุงมาตร มว.<br />

ISO 376 Version 2011”<br />

จ.ปทุมธานี<br />

28 กันยายน 2554 สัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การสอบเทียบความถี่ระยะไกล อาคารสำานักงานกลาง มว.<br />

(Remote Calibration) ด้วยระบบ GPS Common-View” จ.ปทุมธานี<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

77


การพัฒนาระบบงาน<br />

งบประมาณรายจ่ายประจำาปีงบประมาณ พ.ศ. 2554<br />

แผนงบประมาณ : สนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรม งบประมาณ (บาท)<br />

ผลผลิต : กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา 255,000,000<br />

กิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม ประกอบด้วย<br />

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาและสถาปนาหน่วยวัดแห่งชาติ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล 44,732,300<br />

และเพียงพอกับความต้องการในประเทศ<br />

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ 138,094,700<br />

ระดับทุติยภูมิให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล<br />

กิจกรรมที่ 3 การสร้างความตระหนักด้านมาตรวิทยาสู่สังคมไทย 7,123,000<br />

กิจกรรมที่ 4 ความร่วมมือด้านมาตรวิทยากับนานาชาติ 1,000,000<br />

กิจกรรมที่ 5 โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านมาตรวิทยาเคมี 64,050,000<br />

และชีวภาพ และหน่วยวัดแห่งชาติ ตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบ<br />

มาตรวิทยาแห่งชาติ (พ.ศ.2554 - 2559)<br />

กิจกรรมที่ 5<br />

25.11 %<br />

กิจกรรมที่ 1<br />

17.54 %<br />

กิจกรรมที่ 4<br />

0.4 %<br />

กิจกรรมที่ 3<br />

2.80 %<br />

แผนและผลการดำาเนินการตามตัวชี้วัด<br />

กิจกรรมที่ 2<br />

54.15 %<br />

กิจกรรม ตัวชี้วัด หน่วยนับ งบประมาณ แผน ผล<br />

1. การพัฒนาและสถาปนาหน่วยวัด • จำานวนหน่วยวัดแห่งชาติ / รายการวัด 44,732,300 10 10<br />

แห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ความสามารถใหม่ด้านการวัด<br />

และเพียงพอกับความต้องการ ที่ได้รับการสถาปนาและพัฒนา<br />

ในประเทศ<br />

2. การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ • จำานวนรายการวิเคราะห์ รายการ 138,094,700 3,350 5,018<br />

ทดสอบ สอบเทียบ ระดับทุติยภูมิให้ คำาปรึกษาด้านมาตรวิทยา<br />

มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล<br />

3. การสร้างความตระหนักด้าน • จำานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม คน 7,123,000 1,100 1,600<br />

มาตรวิทยาสู่สังคมไทย ด้านมาตรวิทยา<br />

4. ความร่วมมือด้านมาตรวิทยา • จำานวนกิจกรรมการอบรม กิจกรรม 1,000,000 4 5<br />

กับนานาชาติ ที่มีบุคลากรต่างชาติเข้าร่วม<br />

การอบรมและกิจกรรมส่งเสริม<br />

ผู้ประกอบการไทยในการ<br />

ขยายตลาดสู่ต่างประเทศ<br />

5. โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน • จำานวนหน่วยวัด / รายการวัด 64,050,000 8 8<br />

ด้านมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ รายการวัด / ขีดความสามารถ<br />

และหน่วยวัดแห่งชาติ ตามแผน ในการวัดที่ได้รับการสถาปนา<br />

การพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ หรือพัฒนาหรือขยายศักยภาพ<br />

(พ.ศ. 2554 - 2559)<br />

รวมทั้งสิ้น 255,000,000<br />

78<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


การกำากับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance)<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติมุ่งเน้นการบริหารงานตามหลักการกำากับดูแลกิจการที่ดี โดยคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ปฏิบัติงานด้วยความสำานึกในหน้าที่มีความรับผิดชอบ รอบคอบ โปร่งใส มั่นในคุณธรรม ยุติธรรม<br />

เสมอภาค บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม พร้อมทั้งมีเจตนารมณ์ ยึดมั่นในการปฏิบัติตามนโยบายและประมวลจริยธรรมที่กำาหนด<br />

จริยธรรม<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้จัดทำา “ประมวลจริยธรรมพนักงานสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ” โดยคณะกรรมการ<br />

มาตรวิทยาแห่งชาติได้เห็นชอบ และได้ประกาศใช้ “ข้อบังคับคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของ<br />

พนักงานสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2552” เพื่อให้ผู้อำานวยการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ ใช้เป็นแนวทางในการ<br />

ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง และรับผิดชอบ เพื่อให้การบริการอย่างมีคุณภาพ และร่วมกันสร้างและรักษา<br />

ชื่อเสียงของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติให้คงอยู่ตลอดไป<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ มีการสื่อสารให้ความรู้เรื่องประมวลจริยธรรมธรรมของพนักงานสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

แก่บุคลาการในองค์กรผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ การเผยแพร่ผ่านระบบอินทราเน็ต (Intranet) จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มมอบให้แก่<br />

ผู้บริหารและพนักงานทุกคน และมีการบรรยายในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ทุกครั้ง<br />

การควบคุมภายใน<br />

คณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ และผู้บริหารของสถาบัน ได้ให้ความสำาคัญกับระบบการควบคุมภายใน และมีการ<br />

ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการควบคุมภายในเพียงพอและเหมาะสมกับการดำาเนินงาน รวมทั้งมีการติดตามประเมินผล<br />

อย่างสม่ำาเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบการควบคุมภายในที่กำาหนดให้มีขึ้นนั้น จะสามารถดำาเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี<br />

คณะกรรมการตรวจสอบทำาหน้าที่สอบทานเพื่อให้แน่ใจว่า สถาบันมีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพครอบคลุม<br />

ปัจจัยการดำาเนินงานที่จะทำาให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบัน<br />

ระบบการควบคุมภายในของสถาบัน ถูกกำาหนดขึ้นให้สอดคล้องตามแนวทางการจัดระบบการควบคุมภายในที่กำาหนดโดย<br />

The Committee of Sponsoring Organization of The Tradeway Commission (COSO) และเป็นไปตามมาตรฐานการ<br />

ควบคุมภายใน ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำาหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544<br />

สำาหรับปี 2554 การประเมินการควบคุมภายในของสถาบันมีความเพียงพอและเหมาะสมกับการดำาเนินงาน และสามารถ<br />

ดำาเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

การบริหารความเสี่ยง<br />

คณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้ให้ความสำาคัญกับการบริหารความเสี่ยงและได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหาร<br />

ความเสี่ยงสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เพื่อพิจารณาแผนการบริหารความเสี่ยงของสถาบัน<br />

และกำากับดูแลให้เป็นไปตามแผนบริหารความเสี่ยงดังกล่าว<br />

การตรวจสอบภายใน<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้จัดให้มีการตรวจสอบภายในตามมาตรฐานสากลในเชิงป้องกันตามหลักการกำากับดูแลที่ดี<br />

เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในของสถาบัน มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สม่ำาเสมอ และปรับปรุงให้ทันตามสถานการณ์<br />

ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการให้คำาปรึกษาที่สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่หน่วยงานผู้รับการตรวจได้อีกด้วย<br />

หน่วยงานตรวจสอบภายในมีความอิสระในการปฏิบัติงาน โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้กำากับ<br />

ดูแลการตรวจสอบภายใน โดยมีขอบเขตครอบคลุมการปฏิบัติงานของสถาบันในทุกด้าน โดยเน้นการตรวจสอบใน 3 ด้าน ได้แก่<br />

การตรวจสอบด้านการดำาเนินงาน การตรวจสอบด้านการเงิน และการตรวจสอบด้านการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ เพื่อให้เกิด<br />

ความมั่นใจเรื่องความโปร่งใส และเป็นไปตามหลักการกำากับดูแลกิจการที่ดี นอกจากนี้หน่วยงานตรวจสอบภายในยังมีมาตรฐาน<br />

การในการปฏิบัติงานตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยมีกฎบัตรหน่วยงานตรวจสอบภายใน ซึ่งได้รับการอนุมัติ เมื่อ 14<br />

ตุลาคม 2551 และคู่มือการตรวจสอบภายใน ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ซึ่งได้รับการอนุมัติ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2552<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011 79


การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ในปี พ.ศ. 2554 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ปฏิบัติงาน<br />

โดยเน้นการใช้โปรแกรมระบบเปิดหรือที่เรียกกันว่าOpen Source<br />

Software : OSS หลายโปรแกรมในงานหลายด้าน ทั้งใน<br />

ส่วนการพัฒนาระบบงานสารสนเทศ การบริการเครือข่าย<br />

คอมพิวเตอร์ส่วนกลาง และการสนับสนุนงานคอมพิวเตอร์และมี<br />

การปรับปรุงการจัดหมวดหมู่ในเว็บไซด์ของสถาบันใหม่โดยเน้น<br />

ด้านความรู้ ด้านวิชาการ และด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้<br />

ผู้ใช้บริการเข้าถึงได้สะดวกและง่าย ส่วนด้านห้องสมุด<br />

ได้ขยายขีดความสามารถระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ใช้งาน ให้ผู้ใช้<br />

สามารถขอบริการผ่านระบบได้ทันที และมีระบบแจ้ง e-mail<br />

ก่อนวันที่หมดอายุการยืมวัสดุสารนิเทศ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถ<br />

ต่ออายุผ่านระบบโดยไม่ต้องมาใช้บริการที่ห้องสมุด ทำาให้เกิด<br />

ความสะดวกและรวดเร็วขึ้น<br />

ระบบงานสารสนเทศเพื่อการบริหาร โดยผู้บริหาร<br />

ระดับต้น ระดับกลางและระดับสูง ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหาร<br />

จัดการงานให้เกิดประสิทธิภาพ ได้แก่ ระบบสารสนเทศสำาหรับ<br />

ผู้บริหาร ระบบรายงานและประเมินผลตัวชี้วัดระดับบุคคล<br />

และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลออนไลน์ โดยไว้ในระบบ<br />

อินทราเน็ตด้วยการทำารหัสผ่านเดียว (Single Sign-on)<br />

ระบบงานสารสนเทศเพื่อการบริการ โดยการพัฒนาและ<br />

ปรับปรุงเว็บไซด์ของสถาบัน ที่มีข้อมูลที่ทันสมัยและเข้าถึงได้ง่าย<br />

ชัดเจน เน้นข้อมูลวิชาการและเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร<br />

และให้บริการกับหน่วยงานภายนอกได้สะดวก ประกอบด้วย<br />

การจัดหมวดหมู่เว็บไซด์วิชาการ การพัฒนาระบบลงทะเบียน<br />

ออนไลน์อัตโนมัติ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการ<br />

ที่มาใช้บริการกับสถาบัน และการพัฒนาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้<br />

e-learning เป็นต้น<br />

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้บูรณาการเครือข่าย<br />

อินเตอร์เน็ตเข้าร่วมกัน เพื่อให้เกิดการใช้งานได้อย่างคุ้มค่า<br />

ป้องกันการล่มของเครือข่าย ด้วยระบบบริหารจัดการเครือข่าย<br />

ที่เป็น Open Source ที่พัฒนาปรับปรุงขึ้นให้เหมาะสมกับงาน<br />

ซึ่งสามารถบริหารจัดการเครือข่ายได้อย่างอิสระ สอดคล้อง<br />

กับลักษณะการใช้งานและให้เกิดการจราจรข้อมูลที่สมดุลกัน<br />

มากที่สุด รวมถึงการเพิ่มศักยภาพของเครือข่ายมากขึ้นและ<br />

เสถียรภาพสูงขึ้นด้วย<br />

80<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


การพัฒนาระบบข้อมูลกลาง ที่จัดสรรการใช้พื้นที่และ<br />

หน่วยประมวลผลร่วมกัน และแบ่งปันทรัพยากรคอมพิวเตอร์<br />

ให้ทั่วถึงและบริการได้รวดเร็วขึ้นมาก การสำารองข้อมูลที่จัดทำา<br />

เป็นศูนย์กลางโดยแยกเป็นทุกสิ้นวัน ทุกสิ้นสัปดาห์ และทุก<br />

สิ้นเดือน เพื่อลดความเสี่ยงข้อมูลที่สูญหายและเสียหายได้<br />

โดยสามารถกู้คืนข้อมูลได้ตลอดเวลา ซึ่งทำาให้ลดค่าใช้จ่ายและ<br />

งบประมาณในการขยายเพิ่มเครื่องแม่ข่ายกลางได้ รวมถึงการ<br />

ลดมลภาวะศูนย์คอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย<br />

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้าร่วมโครงการ<br />

บูรณาเครือข่ายงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

(STARNet : Science and Technology Advanced Network)<br />

และเป็นหน่วยงานกลางที่เป็นศูนย์กลางเครือข่ายสื่อสาร<br />

(Network HUB) ของหน่วยงานภายในเทคโนธานี ทั้งสถาบันวิจัย<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ<br />

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์(อพ.) ด้วยเครือข่ายความเร็วสูง<br />

Fiber Optic ที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูง<br />

การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ระบบ User<br />

Empowerment ที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการแบบออนไลน์<br />

การบริการข้อมูล ณ จุดทำางานได้ทันที ทำาให้เกิดความสะดวก<br />

และรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดทำาระบบติดตั้งสื่อสารกับผู้ใช้งาน<br />

โดยตรง โดยระบบจะนำาเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานได้<br />

ตามความต้องการ เพื่อใช้ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัยงานด้าน<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและต่างประเทศ<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

81


สรุปผลการดำาเนินงาน<br />

ของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2554<br />

ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540<br />

(ระหว่างเดือน ตุลาคม 2553 - กันยายน 2554)<br />

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 รับทราบและเห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งจัดทำาสรุป<br />

ผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 1 ไว้ในรายงานประจำาปีของหน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ<br />

ได้ตระหนักถึงความสำาคัญของการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มากยิ่งขึ้น<br />

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้ดำาเนินงานในด้านต่างๆ ดังนี้<br />

1. ผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540<br />

สถาบันได้ดำาเนินการจัดส่งข้อมูลตามมาตรา 7 (1), 7 (2), 7 (3), 7 (4) และมาตรา 23 (3) เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล<br />

ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา<br />

จำานวนเรื่องที่ลงในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งสิ้น 39 เรื่อง แยกเป็น<br />

มาตรา เรื่อง จำานวน<br />

มาตรา 7 (1-3) ประกาศสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ 2 เรื่อง<br />

มาตรา 7 (4) พระราชบัญญัติ 1 เรื่อง<br />

พระราชกฤษฎีกา 1 เรื่อง<br />

ระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรี 1 เรื่อง<br />

ระเบียบคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ 8 เรื่อง<br />

ระเบียบสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ 5 เรื่อง<br />

ประกาศสำานักนายกรัฐมนตรี 8 เรื่อง<br />

ประกาศสภาผู้แทนราษฎร 2 เรื่อง<br />

ประกาศกระทรวงการคลัง 2 เรื่อง<br />

ข้อบังคับคณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ 8 เรื่อง<br />

มาตรา 23 ประกาศสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ 1 เรื่อง<br />

ส่วนมาตรา 9 ได้จัดให้บริการ มีการจัดทำาดัชนีรายการข้อมูลข่าวสารและมีคอมพิวเตอร์ให้ประชาชนเข้าไปใช้บริการ<br />

ส่วนเว็บไซต์ของสถาบันได้รวบรวมประกาศประกวดราคา สอบราคา ผลการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้าง และข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นปัจจุบัน<br />

สถาบันได้ดำาเนินการจัดบริการข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้การบริการ การขออนุญาตและการจัดหาข้อมูลข่าวสารอยู่ในความ<br />

ดูแลของฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ สถานที่ตั้งอยู่บริเวณ ห้องสมุด ชั้น 3 อาคารสำานักงานกลาง โดยเปิดทำาการวันจันทร์-ศุกร์<br />

เวลาราชการ<br />

82<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


2. ด้านสถิติการใช้บริการและเรื่องร้องเรียนของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ<br />

การดำาเนินการเรื่องร้องเรียน ทางสถาบันได้เปิดช่องทางรับความคิดเห็นของประชาชนในเว็บไซต์ http://www.nimt.or.th<br />

ปรากฎว่าในรอบปีที่ผ่านมาไม่มีผู้ใช้สิทธิเข้ามาขอตรวจดู และร้องเรียนแต่อย่างใด จึงไม่มีสถิติการใช้บริการและเรื่องร้องเรียนของ<br />

ประชาชน<br />

3. ด้านการตอบข้อหารือและการพิจารณาดำาเนินการเรื่องอุทธรณ์การไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดย<br />

คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร<br />

ไม่มีการร้องขอ<br />

4. ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร<br />

สถาบันได้ดำาเนินการปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีการจัดหมวดหมู่ สะดวกต่อการสืบค้น และสามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว<br />

5. ด้านการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้<br />

บุคลากรในส่วนราชการและประชาชนทราบ<br />

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของสถาบันมีเอกสารประชาสัมพันธ์เผยแพร่แก่ประชาชน ในเรื่องขั้นตอนการขอรับบริการข้อมูลข่าวสาร<br />

การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตอบคำาถามและข้อเสนอแนะผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ใช้สิทธิได้ถูกต้องมากขึ้น<br />

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 1 สามารถอ่านเพิ่มเติม ได้จากเว็บไซต์สำานักงานคณะกรรมการ<br />

ข้อมูลข่าวสารของราชการ www.oic.go.th<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

83


การพัฒนาบุคลากร<br />

การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) ของสถาบัน มีความจำาเป็นอย่างยิ่งต่อการสถาปนา พัฒนา รักษาและถ่ายทอด<br />

ค่ามาตรฐานการวัดของประเทศ ไปยังผู้ใช้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน การจะทำาให้บรรลุ ภารกิจดังกล่าวได้ พนักงานของสถาบัน<br />

ต้องได้รับการเรียนรู้ พัฒนา และเพิ่มพูนทักษะในการวัด การใช้เครื่องมือวัด มาตรฐาน รวมทั้ง เรียนรู้ระบบงาน สถาบันจึงมี<br />

นโยบายพัฒนากำาลังคนของสถาบัน ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ทั้งในและ<br />

ต่างประเทศ รวมทั้ง จัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กับพนักงานทั้งในและนอกสถาบัน<br />

ปี 2554 สถาบัน มีบุคลากรทั้งสิ้น จำานวน 186 คน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554) โดยแบ่งออกเป็นสายมาตรวิทยา<br />

124 คน สายสนับสนุน 58 คน และลูกจ้าง 4 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2553 สถาบันมีจำานวนพนักงานเพิ่มขึ้น 9 คน<br />

คิดเป็นร้อยละ 5<br />

อัตราการเพิ่มขึ้นของบุคลากรเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2554<br />

พนักงานสายมาตรวิทยา พนักงานสายสนับสนุน รวม<br />

พนักงาน ลูกจ้าง<br />

ปี พ.ศ. 2553 114 58 5 177<br />

ปี พ.ศ. 2554 124 58 4 186<br />

จำานวนที่เพิ่มขึ้น 10 - (-1) 9<br />

% ที่เพิ่มขึ้น 9% - - 5%<br />

อัตรากำาลังคนเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2554<br />

150<br />

114<br />

124<br />

จำานวน<br />

100<br />

50<br />

58<br />

58<br />

ปี พ.ศ. 2553<br />

ปี พ.ศ. 2554<br />

0<br />

5<br />

4<br />

สายมาตรวิทยา สายสนับสนุน ลูกจ้าง<br />

ประเภทพนักงาน<br />

84<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


ระดับการศึกษาของพนักงาน ในปี 2554 (จำานวนคน)<br />

12<br />

58<br />

32<br />

80<br />

ปริญญาเอก<br />

ปริญญาโท<br />

ปริญญาตรี<br />

ต่ำากว่า ปริญญาตรี<br />

เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงาน และเสริมสร้างความรู้ความสามารถให้แก่พนักงานที่มีหน้าที่และ<br />

ความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่การงานต่างๆ ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งสายงานมาตรวิทยา<br />

และสายสนับสนุน สถาบันได้จัดส่งพนักงานเข้ารับการอบรมหลักสูตรเสริมทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานในประเทศและ<br />

ต่างประเทศ ดังนี้<br />

• การอบรมภายในประเทศ ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน<br />

การอบรม จำานวนหลักสูตร คนวัน<br />

ภายในสถาบัน 25 537.5<br />

ภายนอกสถาบัน 88 1,015.5<br />

• เข้าร่วมประชุมด้านมาตรวิทยา ณ ต่างประเทศ<br />

ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ มีความจำาเป็นต่อการพัฒนาระบบมาตรฐานการวัดแห่งชาติ โดยเข้าร่วมประชุม<br />

และกิจกรรมทางมาตรวิทยา รวม 136 คนวัน (29 คนครั้ง)<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

85


• จัดส่งนักมาตรวิทยาเข้ารับการอบรม ณ ต่างประเทศ 1,283 คนวัน<br />

• สถาบัน ได้รับการจัดสรรทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก (ทุน ก.พ.) ดังนี้<br />

สถาบันได้รับการจัดสรรทุนรัฐบาลกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับปริญญาโท-เอก เพื่อไปศึกษาวิชา<br />

ณ ต่างประเทศ (ตามความต้องการของสถาบัน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ถึงปี พ.ศ. 2553 จำานวน 53 ทุน โดยผู้ที่ได้รับทุนสำาเร็จ<br />

การศึกษาและกลับเข้ามาปฏิบัติงานกับสถาบัน ในสาขาที่ได้สำาเร็จการศึกษาแล้ว จำานวน 25 คน<br />

ในปี 2554 สถาบันได้รับการจัดสรรทุน ดังกล่าว ในระดับ ปริญญาโท-เอก จำานวน 1 ทุน คือ ทุนพัฒนาข้าราชการ<br />

จำานวน 1 ทุน สาขา Geometric Survey / Geometric Dimension<br />

นอกจากนี้ยังมีทุนสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ระดับอุดมศึกษาภายในประเทศ ประจำาปี 2554 ที่กำาลังศึกษา<br />

มีจำานวน 4 ทุน คือ<br />

1. นางสาวณัฐพัชร์ แก้วดี<br />

2. นายณัฐพงศ์ ดำาด้วง<br />

3. นางสาวจิรนันท์ บุญนิล<br />

4. นางสาวพัชรินทร์ มูลมิรัตน์<br />

86<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสาร<br />

ด้านมาตรวิทยา<br />

สถาบันได้ดำาเนินการประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรม รวมทั้งงานด้านมาตรวิทยาไปสู่ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ<br />

ภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป อย่างต่อเนื่องในสื่อรูปแบบต่างๆ ดังนี้<br />

• การเผยแพร่ข่าวสารด้านมาตรวิทยาผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ<br />

ในรูปของข่าว บทความ และแถลงข่าว เพื่อสร้างความตระหนักในบทบาทความสำาคัญของระบบมาตรวิทยา รวมทั้งเผยแพร่<br />

ข่าวสารของสถาบัน และการพัฒนาระบบมาตรวิทยาในระดับประเทศและระดับสากล<br />

• การแถลงข่าว<br />

เรื่อง "วัสดุอ้างอิงหลักประกันคุณภาพสินค้าเกษตรไทย"<br />

ณ อาคารผดุงมาตร มว. จ.ปทุมธานี (30 มีนาคม 2554)<br />

เรื่อง "พิธีส่งมอบเรือท้องแบนไฟเบอร์กลาสขนาดเล็ก เพื่อ<br />

ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้จำ านวน 9 ลำา" ณ กองทัพอากาศ<br />

กรุงเทพฯ (1 เมษายน 2554)<br />

• พิธีวางศิลาฤกษ์<br />

อาคารห้องปฏิบัติการมาตรวิทยาเคมี เพื่อใช้เป็นสถานที่<br />

สำาหรับผลิตวัสดุอ้างอิงและวัสดุอ้างอิงรับรองตามมาตรฐาน<br />

สากล ณ เทคโนธานี มว. จ.ปทุมธานี (1 กรกฎาคม 2554)<br />

• การจัดทำาสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ผลงาน<br />

ด้านความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบมาตรวิทยา ดังต่อไปนี้<br />

• รายงานประจำาปี 2553<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อรายงานผลการ<br />

ดำาเนินงานของสถาบัน การพัฒนา<br />

โครงสร้างและระบบมาตรวิทยา พร้อม<br />

ทั้งแสดงงบดุล บัญชีทำาการ และบัญชี<br />

กำาไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองความ<br />

ถูกต้อง และรายงานของผู้สอบบัญชี<br />

โดยจัดพิมพ์จำานวน 1,000 เล่ม และ<br />

เผยแพร่ไปยังห้องสมุดของหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา<br />

และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ<br />

• จดหมายข่าว “Metrology Info”<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเผยแพร่ข่าวสารความรู้และพัฒนาการ<br />

ด้านมาตรวิทยาของสถาบัน สู่หน่วยงานราชการ อุตสาหกรรม<br />

สถาบันการศึกษา และสาธารณชน โดยนำาเสนอเนื้อหา<br />

ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเล่มเดียวกัน จัดพิมพ์<br />

เป็นราย 2 เดือน จำานวนครั้งละ 5,000 เล่ม<br />

Metrology Info<br />

No. 60<br />

Metrology Info<br />

No. 61<br />

Metrology Info<br />

No. 62<br />

Metrology Info<br />

No. 63<br />

Metrology Info<br />

No. 64<br />

Metrology Info<br />

No. 65<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

87


• หนังสือสารานุกรมไทยสำาหรับเยาวชน<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนัก<br />

ถึงความสำาคัญระบบมาตรวิทยาแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป<br />

โดยจัดพิมพ์ จำานวน 2,000 เล่ม<br />

• หนังสือบทเรียนมาตรวิทยา ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้ความรู้ ความเข้าใจและเป็น<br />

คู่มือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเกี่ยวกับมาตรวิทยา ซึ่งเป็น<br />

วิทยาการที่เกี่ยวกับการวัดที่ถูกต้อง แม่นยำา สามารถสอบกลับ<br />

ได้ไปสู่มาตรฐานการวัดสากล โดยจัดพิมพ์ จำานวน 1,000 เล่ม<br />

• หนังสือมาตรวิทยาเบื้องต้น<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นด้านมาตรวิทยา<br />

อันจะนำาไปสู่ความเข้าใจในระบบการวัด และเป็นคู่มือสำาหรับ<br />

ผู้ที่ทำางานด้านมาตรวิทยา และผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับมาตรวิทยา<br />

โดยจัดพิมพ์ จำานวน 10,000 เล่ม<br />

• หนังสือการ์ตูนมาตรวิทยา<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นด้านมาตรวิทยา<br />

อันจะนำาไปสู่ความเข้าใจในระบบการวัด และเป็นคู่มือสำาหรับ<br />

ผู้ที่ทำางานด้านมาตรวิทยา และผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับมาตรวิทยา<br />

โดยจัดพิมพ์ จำานวน 8,000 เล่ม<br />

• หนังสือ “Metrology in shot_edition 3”<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นด้านมาตรวิทยา<br />

อันจะนำาไปสู่ความเข้าใจในระบบการวัด และเป็นคู่มือสำาหรับ<br />

ผู้ที่ทำางานด้านมาตรวิทยา และผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับมาตรวิทยา<br />

โดยจัดพิมพ์ จำานวน 3,000 เล่ม<br />

• สมุดมาตรวิทยา<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นด้านมาตรวิทยา<br />

อันจะนำาไปสู่ความเข้าใจในระบบการวัด และเป็นคู่มือสำาหรับ<br />

ผู้ที่ทำางานด้านมาตรวิทยา และผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับมาตรวิทยา<br />

โดยจัดพิมพ์ จำานวน 8,000 เล่ม<br />

88<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


• แผ่นพับแนะนำาสถาบัน<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สถาบัน<br />

ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยดำาเนินการจัดพิมพ์ภาษาไทย<br />

จำานวน 5,000 ใบ<br />

• ซีดีการ์ตูน Animation 3D<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจสู่เด็กและ<br />

เยาวชนให้ตระหนักถึงความสำาคัญของระบบการวัด หรือระบบ<br />

มาตรวิทยา รวมถึงหน่วยวัดสากล (SI Unit) โดยจัดพิมพ์<br />

จำานวน 8,000 แผ่น<br />

• มินิซีดีโปรแกรมเวลามาตรฐานประเทศไทย<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเผยแพร่โปรแกรมเวลามาตรฐาน<br />

ประเทศไทย ในการเปรียบเทียบเวลามาตรฐานประเทศไทย<br />

ผ่านทางอินเตอร์เน็ตและทางโทรศัพท์พื้นฐาน โดยจัดพิมพ์<br />

จำานวน 8,000 แผ่น<br />

• การจัดทำาสื่อมัลติมีเดีย<br />

เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในหัวข้อต่างๆ อันจะนำาไป<br />

สู่ความเข้าใจในระบบมาตรวิทยา และความสำาคัญของมาตร<br />

วิทยาในชีวิตประจำาวัน ดังต่อไปนี้<br />

• ซีดีแนะนำาสถาบัน<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเผยแพร่ให้ผู้ที่ต้องการจะศึกษาด้านมาตร<br />

วิทยา และบุคคลทั่วไปเข้าใจถึงบทบาท โครงสร้าง ตลอดจน<br />

หลักการมาตรวิทยาพื้นฐาน โดยดำาเนินการจัดพิมพ์ชุดภาษาไทย<br />

จำานวน 5,000 แผ่น<br />

• ซีดีหนังสือสารานุกรมไทย เล่ม 35<br />

จัดทำาขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักถึงความ<br />

สำาคัญระบบมาตรวิทยาแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจัดพิมพ์<br />

จำานวน 3,000 แผ่น<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

89


• การจัดนิทรรศการ<br />

ในการให้ความรู้ และตอบข้อซักถามเกี่ยวกับระบบมาตรวิทยา เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำาคัญของระบบ<br />

มาตรวิทยาที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย จำานวน 17 ครั้ง ได้แก่ งานถนนสายวิทยาศาสตร์, งานบูรณาการ<br />

ว. และ ท. (สกลนคร บุรีรัมย์ พระนครศรีอยุธยา และมหาสารคาม), งานนิทรรศการงานสมัชชา วทน. เพื่อการพัฒนาครั้งที่ 9,<br />

Thailand Industrial Fair 2011, งานนิทรรศการคาราวานเทคโนโลยี ณ จ.สระบุรี, งานนิทรรศการงาน<br />

“ท่องแดนวิทยาศาสตร์เทคโนธานี” ภายใต้แนวคิด “หนึ่งการวัด... ยอมรับทั่วโลก”, งานนิทรรศการโครงการ<br />

“อบรมมาตรวิทยาด้านมิติแก่ครูระดับอาชีวศึกษาทั่วประเทศ”, งานนิทรรศการในงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ, Intermach 2011,<br />

งานนิทรรศการครบรอบ 48 ปี วว., งานนิทรรศการครบรอบ 13 ปี มว., งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, Thailand Lab 2011,<br />

งานวันเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย 2554<br />

20<br />

15<br />

17 18<br />

10<br />

5<br />

ปี 2554<br />

ปี 2553<br />

0<br />

ปี 2554 ปี 2553<br />

90<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


รายงานของผู้สอบบัญชี<br />

เสนอ คณะกรรมการมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

สำานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 งบรายได้<br />

และค่าใช้จ่าย และงบกระแสเงินสด สำาหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ซึ่งผู้บริหารของสถาบัน<br />

เป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ส่วนสำานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รับผิดชอบใน<br />

การแสดงความเห็นต่อรายงานการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของสำานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน<br />

สำานักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งสำานักงาน<br />

การตรวจเงินแผ่นดินได้วางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่ารายงานการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง<br />

อันเป็นสาระสำาคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำานวนเงินและการเปิดเผย<br />

ข้อมูลในรายงานการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่สถาบันใช้ และประมาณการเกี่ยวกับรายการทาง<br />

การเงินที่เป็นสาระสำาคัญ ซึ่งผู้บริหารของสถาบันเป็นผู้จัดทำาขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่<br />

นำาเสนอในรายงานการเงินโดยรวม สำานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสม<br />

ในการแสดงความเห็นของสำานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน<br />

สำานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเห็นว่า รายงานการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552<br />

งบรายได้และค่าใช้จ่ายและกระแสเงินสด สำาหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ โดยถูกต้องตาม<br />

ที่ควรในสาระสำาคัญตามหลักการบัญชีที่กระทรวงการคลังกำาหนด<br />

(นางสาววิบูลเพ็ญ หิตะพันธ์)<br />

ผู้อำนวยการสำนัก<br />

(นางคัทรียา มีเพ็ชร์)<br />

ผู้อำนวยการกลุ่ม<br />

สำานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน<br />

Office of the Auditor General<br />

วันที่ 30 สิงหาคม 2554<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

91


สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

งบแสดงฐานะการเงิน<br />

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552<br />

92<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)<br />

หน่วย : บาท<br />

หมายเหตุ 2553 2552<br />

สินทรัพย์<br />

สินทรัพย์หมุนเวียน<br />

เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด 3.1 36,141,222.03 149,334,214.11<br />

ลูกหนี้ระยะสั้น 4,026,073.73 2,797,947.35<br />

รายได้ค้างรับ 161,323.89 317,452.18<br />

เงินลงทุนระยะสั้น 3.2 419,109,488.93 242,686,518.84<br />

วัสดุคงเหลือ 275,860.20 329,609.85<br />

สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 3.3 1,587,660.81 3,428,437.60<br />

รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 461,301,629.59 398,894,179.93<br />

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน<br />

อาคาร และอุปกรณ์ - สุทธิ 3.4 757,991,473.29 844,516,523.57<br />

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน - สุทธิ 3.5 1,059,951.89 1,598,050.57<br />

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 3.6 15,404,613.76 15,776,840.09<br />

รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 774,456,038.94 861,891,414.23<br />

รวมสินทรัพย์ 1,235,757,668.53 1,260,785,594.16<br />

หนี้สิน<br />

หนี้สินหมุนเวียน<br />

เจ้าหนี้ระยะสั้น 3.7 34,190,971.13 14,347,666.18<br />

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 3,111,409.75 6,665,439.40<br />

รายได้รับล่วงหน้า 3.8 37,000.00 1,213,029.98<br />

หนี้สินหมุนเวียนอื่น 3.9 3,340,511.08 2,120,198.58<br />

รวมหนี้สินหมุนเวียน 40,679,891.96 24,346,334.14<br />

หนี้สินไม่หมุนเวียน<br />

รายได้รอการรับรู้ 3,405,862.52 7,560,034.40<br />

หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น 3.10 1,210,626.00 1,673,736.13<br />

รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 4,616,488.52 9,233,770.53<br />

รวมหนี้สิน 45,296,380.48 33,580,104.67<br />

สินทรัพย์สุทธิ 1,190,461,288.05 1,227,205,489.49<br />

สินทรัพย์สุทธิ<br />

ทุน 3.11 972,956,158.35 972,956,158.35<br />

รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสะสม 3.12 217,505,129.70 254,249,331.14<br />

รวมสินทรัพย์สุทธิ 1,190,461,288.05 1,227,205,489.49<br />

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้<br />

(ลงชื่อ) พลอากาศตรี…………………………………ผู้อำานวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

(เพียร โตท่าโรง)<br />

(ลงชื่อ) ……………...…………………………………ผู้จัดการฝ่ายบริหารงานกลาง<br />

(นายประเวศน์ มหารัตน์สกุล)


สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

งบรายได้และค่าใช้จ่าย<br />

สำาหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552<br />

หน่วย : บาท<br />

หมายเหตุ 2553 2552<br />

รายได้จากการดำาเนินงาน<br />

รายได้จากรัฐบาล<br />

รายได้จากงบประมาณ 3.13 255,000,000.00 200,000,000.00<br />

รายได้จากเงินกู้ของรัฐบาล 497,600.00 12,643,325.74<br />

รวมรายได้จากรัฐบาล 255,497,600.00 212,643,325.74<br />

รายได้จากแหล่งอื่น<br />

รายได้ค่าบริการ 24,921,361.32 19,497,350.00<br />

รายได้จากเงินช่วยเหลือและการรับบริจาค 8,012,747.92 5,157,904.34<br />

รายได้อื่น 3.14 4,865,881.51 8,631,801.57<br />

รวมรายได้จากแหล่งอื่น 37,799,990.75 33,287,055.91<br />

รวมรายได้จากการดำาเนินงาน 293,297,590.75 245,930,381.65<br />

ค่าใช้จ่ายจากการดำาเนินงาน<br />

ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร 3.15 86,989,213.74 78,635,012.61<br />

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม 1,193,682.89 896,592.85<br />

ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 8,509,182.71 5,954,760.62<br />

ค่าวัสดุและค่าใช้สอย 3.16 73,729,439.54 60,367,086.18<br />

ค่าสาธารณูปโภค 3.17 15,088,208.82 14,864,048.07<br />

ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำาหน่าย 3.18 144,482,397.63 137,215,199.11<br />

รวมค่าใช้จ่ายจากการดำาเนินงาน 329,992,125.33 297,932,699.44<br />

รายได้ต่ำากว่าค่าใช้จ่ายจากการดำาเนินงาน (36,694,534.58) (52,002,317.79)<br />

รายได้ที่ไม่เกิดจากการดำาเนินงาน<br />

กำาไร(ขาดทุน)สุทธิจากการจำาหน่ายสินทรัพย์ (49,666.86) 160,741.66<br />

รวมรายได้ที่ไม่เกิดจากการดำาเนินงาน (49,666.86) 160,741.66<br />

รายได้ต่ำากว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (36,744,201.44) (51,841,576.13)<br />

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

93


สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

งบกระแสเงินสด<br />

สำาหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552<br />

94<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)<br />

หน่วย : บาท<br />

2553 2552<br />

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำาเนินงาน<br />

รายได้ต่ำากว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (36,744,201.44) (51,841,576.13)<br />

รายการปรับกระทบรายได้ต่ำ ากว่าค่าใช้จ่ายเป็นเงินสดรับ(จ่าย) จากกิจกรรมดำาเนินงาน<br />

ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจำาหน่าย 144,482,397.63 137,215,199.11<br />

(กำาไร)ขาดทุนจากการจำาหน่ายทรัพย์สิน 49,666.86 (160,741.66)<br />

รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายจากการดำ าเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำ าเนินงาน 107,787,863.05 85,212,881.32<br />

การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำาเนินงาน<br />

การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และดำาเนินงาน (เพิ่มขึ้น) ลดลง<br />

ลูกหนี้ระยะสั้น (1,228,126.38) 1,834,685.03<br />

รายได้ค้างรับ 156,128.29 2,522,301.39<br />

วัสดุคงเหลือ 53,749.65 (10,539.95)<br />

สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 1,840,776.79 2,756,551.55<br />

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 372,326.33 13,021,553.20<br />

การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินดำาเนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง)<br />

เจ้าหนี้ระยะสั้น 19,843,304.95 (18,948,437.75)<br />

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (3,554,029.65) 4,513,655.17<br />

รายได้รับล่วงหน้า (1,176,029.98) (10,354,173.76)<br />

รายได้รอการรับรู้ (4,582,957.92) 1,749,764.53<br />

หนี้สินหมุนเวียนอื่น 1,220,312.50 15,020.16<br />

หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น (463,110.13) 406,354.00<br />

เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำาเนินงาน 120,270,107.50 82,719,614.89<br />

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน<br />

เงินสดจ่ายเงินลงทุน (176,422,970.09) (65,672,853.88)<br />

เงินสดจ่ายส่วนปรับปรุงอาคาร (6,639,705.60) (9,569,323.91)<br />

เงินสดจ่ายซื้ออุปกรณ์ (50,400,423.89) (103,101,310.29)<br />

เงินสดได้มาจากการขายทรัพย์สิน - 160,747.66<br />

เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน (233,463,099.58) (178,182,740.42)<br />

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลงสุทธิ (113,192,992.08) (95,463,125.53)<br />

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 1 มกราคม 149,334,214.11 244,797,339.64<br />

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 36,141,222.03 149,334,214.11<br />

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


้<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

หมายเหตุประกอบงบการเงิน<br />

สำาหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552<br />

1. การจัดตั้งและวัตถุประสงค์<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2540 ตามพระราชบัญญัติพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

พ.ศ. 2540 และวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ถือเป็นวันเริ่มต้นดำาเนินงานของสถาบัน โดยมีกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา<br />

เป็นทุนในการดำาเนินงานของสถาบัน ที่มีลักษณะของเงินนอกงบประมาณประเภทเงินกองทุน ตามนัยมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติ<br />

พัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2540 ซึ่งประกอบด้วย เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนจาก<br />

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ เงินอุดหนุนที่<br />

รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณแผ่นดินประจำาปี เงินอุดหนุนจากต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ เงินหรือทรัพย์สินที่มี<br />

ผู้มอบให้สมทบกองทุน ดอกผลหรือรายได้ของกองทุน ผลประโยชน์จากค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์จากการศึกษาพัฒนาเทคโนโลยี<br />

การวัดความสอบกลับได้ และจากค่าบริการเงินและทรัพย์สินอื่นที่ตกเป็นของกองทุน<br />

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งที่สำ าคัญ คือ การกำาหนดแผนการจัดการและให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานและบุคคลต่างๆเกี่ยวกับ<br />

การพัฒนาระบบมาตรวิทยา จัดหาและเก็บรักษามาตรฐานแห่งชาติ วัสดุอ้างอิง มาตรฐานของประเทศทุกสาขา เพื่อให้สอดคล้อง<br />

กับระบบมาตรวิทยาสากล รวมถึงการถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดไปสู่มาตรฐานแห่งชาติ และส่งเสริมการประกอบวิชาชีพ<br />

ด้านมาตรวิทยาและความสามารถของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ<br />

2. สรุปนโยบายการบัญชีที่สำาคัญ<br />

2.1 การบันทึกบัญชี ถือปฏิบัติตามเกณฑ์คงค้าง<br />

2.2 การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จะตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำ าหรับลูกหนี้การค้าที่ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งค้างชำาระ<br />

เกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป นับจากวันที่หนี้ถึงกำาหนดชำาระในอัตราดังนี้<br />

ระยะเวลาที่หนี้ค้างชำาระ อัตราร้อยละของค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ<br />

เกินกว่า 6 เดือน - 1 ปี 50<br />

เกินกว่า 1 ปี 100<br />

2.3 อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ แสดงตามราคาทุน ณ วันที่ได้มาหรือก่อสร้างแล้วเสร็จ หลังหักค่าเสื่อมราคา<br />

สะสมครุภัณฑ์ที่มีราคารวมหน่วยละไม่เกิน5,000.- บาท จะตัดจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำ านวนในงวดบัญชีที่ซื้อโดยได้จัดทำ าทะเบียน<br />

คุมครุภัณฑ์ดังกล่าวไว้<br />

2.4 ค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์ คำานวณโดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณของทรัพย์สิน<br />

แต่ละประเภทระหว่าง 3 - 40 ปี<br />

2.5 ครุภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่อยู่ระหว่างการตรวจรับหรือที่ยังไม่พร้อมใช้งาน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยว<br />

กับอุปกรณ์ที ่เกิดขึ ้นก่อนที ่จะได้รับอุปกรณ์จะบันทึกเป็นบัญชีรอโอนและเมื ่อผ่านการตรวจรับและพร้อมใช้งานจึงจะรับรู<br />

เป็นครุภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

95


2.6 เงินงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี กรณีเป็นเงินงบประมาณจ่ายขาดจะบันทึกเป็นรายได้เงินงบประมาณ<br />

ทั้งจำานวนเมื่อได้รับเงิน กรณีเป็นเงินงบประมาณที่ต้องส่งคืนเมื่อสิ้นสุดโครงการจะบันทึกเป็นรายได้เงินงบประมาณรับล่วงหน้า<br />

เมื่อได้รับเงินและปรับปรุงรับรู้เป็นรายได้ตามสัดส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง<br />

2.7 เมื่อได้รับจัดสรรเงินกู้จากรัฐบาล สถาบันจะนำาเงินกู้ที่ได้รับจัดสรรมาดำ าเนินโครงการต่างๆ ซึ่งจะรับรู้เป็นรายได้<br />

จากเงินกู้ของรัฐบาลรับล่วงหน้าเมื่อได้รับเงินและปรับปรุงเป็นรายได้จากเงินกู้ของรัฐบาลเมื่อนำาไปใช้จ่ายเท่ากับจำานวน<br />

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น<br />

2.8 ทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค จะบันทึกเป็นรายได้รอการรับรู้และปรับปรุงรับรู้เป็นรายได้จากการรับบริจาคตามสัดส่วน<br />

ของค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้น<br />

2.9 ทรัพย์สินที่ได้รับโอนจากหน่วยงานราชการ จะบันทึกเป็นทุน<br />

2.10 ทรัพย์สินที่ได้รับโอนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายใต้โครงการพัฒนาระบบ<br />

มาตรวิทยาแห่งชาติ (เงินกู้ต่างประเทศ JBIC) จะบันทึกเข้าบัญชีทุนเต็มจำานวน ส่วนค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นก่อน<br />

การโอนจะรับรู้เข้าบัญชีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสะสม<br />

3.ข้อมูลเพิ่มเติม<br />

3.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

เงินสด 0.10 0.10<br />

เงินฝากธนาคาร<br />

- เงินฝากกระแสรายวัน (0.17) (0.18)<br />

- เงินฝากออมทรัพย์ 36.21 142.87<br />

- เงินฝากประจำา 3 เดือน - 6.54<br />

36.04 149.23<br />

รวม 36.14 149.33<br />

เงินฝากธนาคาร จำานวน 36.04 ล้านบาท เป็นเงินสวัสดิการพนักงานและลูกจ้างสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จำานวน 1.70 ล้านบาท<br />

3.2 เงินลงทุนระยะสั้น<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

เงินฝากธนาคารประจำาไม่เกิน 1 ปี 116.82 142.69<br />

พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เกิน 1 ปี 302.29 100.00<br />

รวม 419.11 242.69<br />

เงินทุนระยะสั้น ประกอบด้วยเงินอุดหนุนที่อยู่ระหว่างดำาเนินการตามแผนงบประมาณ จำานวน 322.87 ล้านบาท เงินรายได้<br />

จากการดำาเนินงาน และเงินงบประมาณคงเหลือสะสมที่ยังไม่มีภาระผูกพัน จำานวน 69.24 ล้านบาท และเงินสวัสดิการพนักงาน<br />

และลูกจ้างสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จำานวน 27.00 ล้านบาท<br />

96<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


3.3 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า 0.91 0.59<br />

อื่นๆ 0.68 2.84<br />

รวม 1.59 3.43<br />

3.4 อาคาร และอุปกรณ์-สุทธิ<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

อาคาร<br />

อาคารห้องปฏิบัติการ 217.57 217.57<br />

ค่าปรับปรุงอาคาร 62.26 60.27<br />

หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม (51.93) (40.43)<br />

อาคาร - สุทธิ 227.90 237.41<br />

งานระหว่างก่อสร้าง 4.65 -<br />

อุปกรณ์<br />

ครุภัณฑ์ 1,285.96 1,236.74<br />

หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม (760.52) (629.63)<br />

ครุภัณฑ์ - สุทธิ 525.44 607.11<br />

อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 757.99 844.52<br />

อาคารห้องปฏิบัติการมาตรวิทยาแห่งชาติ ได้รับโอนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามโครงการพัฒนาระบบ<br />

มาตรวิทยาแห่งชาติ (เงินกู้ต่างประเทศ JBIC)<br />

ส่วนปรับปรุงอาคารเป็นรายการปรับปรุงอาคาร รวมทั้งการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในบริเวณอาคารของ<br />

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งให้สถาบัน ใช้เป็นที่ทำาการรวมทั้งงานออกแบบตกแต่งภายในและงานระบบที่เกี่ยวข้อง<br />

ของอาคารห้องปฏิบัติการ การปรับปรุงห้องปฏิบัติการเคมีและการก่อสร้างห้องสะอาด (Clean Room) ห้องป้องกันคลื่นรบกวน<br />

(Shield Room) การปรับปรุงภูมิทัศน์และสนามฟุตบอล การปรับปรุงระบบปรับอากาศและห้อง Ultrasonic งานออกแบบปรับปรุง<br />

พร้อมติดตั้งระบบจ่ายก๊าซความดันสูงห้องปฎิบัติการเคมี<br />

งานระหว่างก่อสร้างเป็นการออกแบบรายละเอียดงานก่อสร้างอาคารห้องปฎิบัติการมาตรวิทยาเคมีพร้อมครุภัณฑ์ สำาหรับ<br />

โครงการพัฒนาระบบมาตรวิทยาเคมี<br />

ครุภัณฑ์จำ านวน 1,285.96 ล้านบาท เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ 1,072.99 ล้านบาท ครุภัณฑ์สำ านักงาน 123.21 ล้านบาท<br />

ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ 57.14 ล้านบาท และอื่นๆ อีก 32.62 ล้านบาท<br />

เครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ จำานวน 1,072.99 ล้านบาท สถาบันได้รับโอนมาจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ จำานวน<br />

24.03 ล้านบาท (ในจำานวนนี้เป็นห้องสอบเทียบ 4 ห้อง จำานวน 0.59 ล้านบาท) รับโอนตามโครงการพัฒนาระบบมาตรวิทยา<br />

แห่งชาติ (เงินกู้ต่างประเทศ JBIC) จำานวน 586.76 ล้านบาท รับบริจาค จำานวน 4.93 ล้านบาท จัดซื้อโดยใช้เงินงบประมาณ<br />

จำานวน 457.23 ล้านบาท และเป็นเครื่องมือของลูกค้าที่ไม่สามารถชำาระค่าบริการสอบเทียบได้ จำานวน 0.04 ล้านบาท<br />

ครุภัณฑ์สำานักงาน จำานวน 123.21 ล้านบาท สถาบันได้รับโอนตามโครงการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ (เงินกู้ต่าง<br />

ประเทศ JBIC) จำานวน 101.44 ล้านบาท รับบริจาค จำานวน 0.16 ล้านบาท จัดซื้อโดยใช้เงินงบประมาณ จำานวน 21.61 ล้านบาท<br />

ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ จำานวน 57.14 ล้านบาท สถาบันได้รับโอนตามโครงการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ (เงินกู้<br />

ต่างประเทศ JBIC) จำานวน 47.91 ล้านบาท รับบริจาค 0.02 ล้านบาท จัดซื้อโดยใช้เงินงบประมาณ จำานวน 9.21 ล้านบาท<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

97


3.5 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-สุทธิ<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 13.29 12.59<br />

หัก ค่าตัดจำาหน่ายสะสม (12.23) (10.99)<br />

โปรแกรมคอมพิวเตอร์-สุทธิ 1.06 1.60<br />

3.6 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

บัญชีรอโอน 15.40 15.77<br />

เงินมัดจำา - 0.01<br />

รวม 15.40 15.78<br />

3.7 เจ้าหนี้ระยะสั้น<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

เจ้าหนี้อื่น 33.99 14.20<br />

เจ้าหนี้ค่าขนส่ง 0.20 0.14<br />

รวม 34.19 14.34<br />

3.8 รายได้รับล่วงหน้า<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

รายได้จากเงินกู้ของรัฐบาลรับล่วงหน้า - 0.54<br />

รายได้รับล่วงหน้า 0.04 0.67<br />

รวม 0.04 1.21<br />

3.9 หนี้สินหมุนเวียนอื่น<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย 0.45 0.49<br />

เงินรับฝาก 2.52 1.41<br />

เงินประกันสังคมค้างจ่าย 0.26 0.16<br />

อื่นๆ 0.11 0.06<br />

รวม 3.34 2.12<br />

98<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)


3.10 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

เงินประกันสัญญา 0.67 0.62<br />

เงินประกันผลงาน 0.54 1.05<br />

รวม 1.21 1.67<br />

3.11 ทุน<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

สินทรัพย์รับโอนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และ 948.80 948.80<br />

เทคโนโลยี (เงินกู้ JBIC)<br />

สินทรัพย์รับโอนจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ 24.16 24.16<br />

รวม 972.96 972.96<br />

3.12 รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสะสม<br />

รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสะสมปลายงวด ปี 2553 จำานวน 217.51 ล้านบาท ได้รวมรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสะสมของกองทุน<br />

เงินสวัสดิการพนักงานและลูกจ้างสถาบัน จำานวน 28.21 ล้านบาท<br />

3.13 รายได้จากงบประมาณ<br />

รายได้จากเงินงบประมาณปี 2553 และ 2552 จำานวน 255.00 ล้านบาท และ 200.00 ล้านบาท เป็นเงินงบประมาณที่<br />

สถาบันได้รับจากงบรายจ่ายอื่นในลักษณะจ่ายขาด<br />

3.14 รายได้อื่น<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

ดอกเบี้ยรับ 4.07 5.33<br />

รายได้ค่าเอกสาร 0.01 0.02<br />

รายได้จากค่าปรับและเบ็ดเตล็ด 0.78 3.28<br />

รวม 4.86 8.63<br />

3.15 ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

เงินเดือนและโบนัส 75.88 69.72<br />

ค่าล่วงเวลา 0.25 0.19<br />

ค่ารักษาพยาบาล 3.08 2.76<br />

ค่าสวัสดิการอื่น 7.78 5.97<br />

รวม 86.99 78.64<br />

รายงานประจำาปี 2554<br />

Annual Report 2011<br />

99


3.16 ค่าวัสดุและค่าใช้สอย<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

ค่าวัสดุ 15.11 18.52<br />

ค่าซ่อมแซมและบำารุงรักษา 12.97 11.60<br />

ค่าจ้างเหมาบริการ 5.32 3.53<br />

ค่าใช้จ่ายอื่น 40.33 26.71<br />

รวม 73.73 60.36<br />

3.17 ค่าสาธารณูปโภค<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

ค่าไฟฟ้า 11.65 12.04<br />

ค่าน้ำาประปา 0.27 0.26<br />

ค่าสาธารณูปโภคอื่น 3.17 2.56<br />

รวม 15.09 14.86<br />

3.18 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำาหน่าย<br />

หน่วย : ล้านบาท<br />

2553 2552<br />

อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 11.50 10.67<br />

อุปกรณ์ 131.74 125.03<br />

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 1.24 1.52<br />

รวม 144.48 137.22<br />

3.19 รายงานฐานะเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2554<br />

สถาบันได้รับเงินงบประมาณตามแผนงบประมาณปี 2554 งบรายจ่ายอื่น จำานวน 255.00 ล้านบาท ซึ่งสถาบันได้<br />

ดำาเนินการแล้ว จำานวน 28.92 ล้านบาท และคงเหลือที่ต้องดำาเนินการตามแผนงานอีก จำานวน 226.08 ล้านบาท<br />

3.20 เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในรายงานการเงิน<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติได้ยื่นคำาร้องต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2553 เพื่อขอเพิกถอนคำาวินิจฉัยชี้ขาด<br />

ของอนุญาโตตุลาการที่ให้สถาบันคืนเงินค่าปรับ ค่าดูแลโครงการและค่าจ้างบุคลากรดูแลสถานที่รวม 11.22 ล้านบาท<br />

พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่ผู้รับจ้างตามสัญญาเลขที่ NIMT/2544/03-2546/2 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2546 คดีอยู่ระหว่าง<br />

การพิจารณาของศาลปกครองกลาง<br />

100 สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ<br />

National Institute of Metrology (Thailand)

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!