11.07.2015 Views

love the car - Thailand Automotive Institute

love the car - Thailand Automotive Institute

love the car - Thailand Automotive Institute

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

1วารสารรายเดือน ปีที่ 11 ฉบับที่ 95 กุมภาพันธ์ 2555<strong>love</strong> <strong>the</strong> <strong>car</strong>Love <strong>the</strong> Earth02 เคล็ดไม่ลับจาก สยย. 03 7 สถาบันเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรมการดับเครื่องยนต์ชั่วคราว จะประหยัดน้ำมันได้จริงหรือ? หนุน กพร. ฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัย04 สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 08 ฉลากเขียว: เดือนธันวาคม 2554ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย10 วิถีการทำางานร่วมกันอย่างมีสุนทรียภาพ 12 ก. อุตสาหกรรมต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนใหม่www.thaiauto.or.th


สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ : เดือนธันวาคม 2554ความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย*4โดย แผนกวิเคราะห์ธุรกิจยานยนต์ สถาบันยานยนต์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 25551. ความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย• รถใหม่พุ่งปรี๊ด 3 ล้านคัน • ดี๊ด๊ามียอดขายโต 114%ทุบสถิติ อานิสงส์ ‘เฟียสต้า’ค่ายใหญ่ค่ายดัง โตโยต้า อีซูซุ มาสด้า เดินหน้าสร้างความมั่นใจพร้อมประกาศตัวเลขสวยๆ ว่า ปีนี้ตลาดรถยนต์เมืองไทยน่าจะทายอดขายรวมทะลุ 1 ล้านคัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่รถจักรยานยนต์ พี่ใหญ่ฮอนด้าคาดว่า ถึง 2.1 ล้านคันแน่ๆ เมื่อรวมยอดขายทั้งรถ 2 ล้อ 4 ล้อ เกิน 3 ล้านคัน ทะลักจุดแตกปีมะโรงในฟากรถยนต์คงต้องบวกยอดค้างส่งมอบที่สะสมมาจากปีที่แล้วหรือรวมๆ กันทุกค่าย หลายแสนคัน เมื่อรวมกับความต้องการปีนี้ที่มีทั้งปิกอัพใหญ่สวยสด และอีโคคาร์จากมิตซูบิชิ และซูซูกิเข้ามาเติมอีก 2 รุ่น(ที่มา : ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ โดย หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน วันที่ 20 มกราคม 2555)นายสาโรช เกียรติเฟื่องฟู รองประธานฝ่ายการตลาด การขายและการบริการ บริษัท ฟอร์ด ประเทศไทย จากัด เปิดเผยถึงผลประกอบการปี 2554 ว่า บริษัทมียอดขายทั้งหมด 29,200 คันหรือเพิ่มขึ้น 114%เมื่อเทียบกับปี 2553 ถือเป็นสถิติยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากยอดขายดังกล่าว ทาให้ส่วนแบ่งตลาดรวมของ ฟอร์ดมาอยู่ที่ 3.7%เนื่องจากได้แรงหนุนมาจากฟอร์ด เฟียสต้า ที่ทาสถิติเป็นรถยนต์ฟอร์ดที่มียอดขายในประเทศไทยสูงที่สุดจานวน 17,697 คัน และครองส่วนแบ่งตลาดถึง 10% เมื่อเทียบกับรถรุ่นอื่นๆ ในเซ็กเมนต์เดียวกัน(ที่มา: ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 11 มกราคม 2555)• โตโยต้ารุกหนัก-ตั้งเป้า 4.5 แสนคันนายเคียวอิจิ ทานาดะ กก.ผจก.ใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ฯ กล่าวว่า “ปัญหาสึนามิ ที่ประเทศญี่ปุ่น และน้ ำท่วมในประเทศไทย ทำให้โตโยต้าประสบปัญหาการผลิต ทำให้ยอดขายในปีนี้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยขายได้ 290,061 คัน ลดลง 11.0% แต่ปีนี้มั่นใจว่าตลาดรวมของไทยจะแตะ 1.1 ล้านคัน โดยโตโยต้าตั้งเป้ายอดขาย 4.5 แสนคัน เพิ่มขึ้น 55.1% “เพื่อรองรับตลาดที่เติบโตขึ้น บริษัทเตรียมเปิดโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ และเปิดสายการผลิตโรงงานทีเอดับเบิลยู โดยเน้นผลิตรถยนต์อีโคคาร์ ใช้เงินลงทุน 8,200 ล้านบาทและเชื่อมั่นว่ารัฐบาลไทยจะรับมือปัญหาน้ำท่วมในปีนี้ได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งยืนยันว่าโตโยต้าจะอยู่เคียงข้างคนไทยตลอดไป”(ที่มา : ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 22 มกราคม 2555)


5ความเคลื่อนไหวนโยบายในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย• Revamp for 5-year <strong>car</strong> plan• เอกชนจี้รัฐเร่งแก้ไขรถเลี่ยงภาษีสูญรายได้หมื่นล้าน “โต้ง” ยันปี 55 น้ำไม่ท่วมThe <strong>Thailand</strong> <strong>Automotive</strong> <strong>Institute</strong> will revise its industry masterplan for <strong>the</strong> next five years, with <strong>the</strong> main focus to be put onalternative energy and becoming a top 10 auto producerby 2014, says Director Vallop Tiasiri. The institute is currentlyin <strong>the</strong> process of inviting executives from 14 <strong>car</strong>s and partscompanies to discuss setting up <strong>the</strong> third phase (2012-16)of <strong>the</strong> master plan as well as set new targets for vehicleproduction. “We’ll also push for investment in new products,which will focus on vehicles using alternative energy,” saidMr. Vallop.(ที่มา : ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ โดย หนังสือพิมพ์ Bangkok Post วันที่ 28 มกราคม 2555)นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) เปิดเผยว่า อยากให้กรมสรรพสามิตเข้มงวดกับผู้ประกอบการที่มีการนาเข้ารถยนต์เลี่ยงภาษีมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการลักลั่น เนื่องจากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการนาเข้ารถยนต์เลี่ยงภาษีมีการขยายตัวสูงถึง400% ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และยังส่งผลต่อรายได้รัฐบาลที่ควรจัดเก็บได้ หายไปกว่า 10,000 ล้านบาทระบุส่วนใหญ่เป็นกลุ่มหรู มินิ เบนซ์ บีเอ็ม สุดฮิต จี้รัฐเร่งแก้ไขก่อนนักลงทุนแห่หนี พร้อมระบุดัชนีความเชื่อมั่นเดือน ธ.ค. 54 อยู่ที่93.7 โงหัวขึ้นครั้งแรกรอบ 4 เดือน(ที่มา : ศูนย์สารสนเทศยานยนต์ โดยหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 19 มกราคม 2555)2. ภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยเศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม 2554 เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวจากวิกฤติอุทกภัย โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่สามารถกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง สะท้อนจากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.8ปริมาณนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 และการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยมูลค่าการส่งออกหดตัวร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับที่หดตัวร้อยละ -14.4 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงความสามารถในการผลิตเพื่อการส่งออก ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป สำหรับเครื่องชี้วัดด้านการผลิตพบว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวดีขึ้นจากช่วง 2 เดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติอุทกภัย โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมหดตัวลงร้อยละ-25.8 เทียบกับที่หดตัวลงร้อยละ 47.2 ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่การผลิตภาคการเกษตรโดยเฉพาะยางพาราและภาคบริการที่สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างก็ปรับตัวดีขึ้นในเดือนธันวาคม 2554 เช่นกันในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2554 ที่คาดว่า จะขยายตัว กลับชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.1 เนื่องจากวิกฤติอุทกภัยในช่วงปลายปี ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมให้หดตัวลง ในขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.9 เป็นผลมาจาก ต้นทุนในหมวดสินค้าเกษตรจ ำพวกเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ที่ได้รับแรงกดดันจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต และต้นทุนในหมวดพลังงานที่เร่งขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเป็นสำคัญ(ที่มา : รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2554 และ 2555, สานักงานเศรษฐกิจการคลัง)2.1 อัตราแลกเปลี่ยนภาวะค่าเงินบาทในรอบเดือนธันวาคม 2554 พบว่า มีอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ 31.22 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากเดือนพฤศจิกายน ที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ 30.96 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ค่าเงินสกุลยูโร มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ 41.03 บาทต่อยูโร อ่อนค่าจากเดือนพฤศจิกายน ที่มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ 41.99 บาทต่อยูโร ซึ่งทั้งนี้เป็นผลมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป2.2 ราคาน้ำมันสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 พบว่า มีราคาเฉลี่ยลดลงในเชื้อเพลิงประเภทน้ ำมันเบนซินในขณะที่เชื้อเพลิงประเภทดีเซลมีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาการใช้ปริมาณเชื้อเพลิงในเดือนธันวาคม พบว่า มีปริมาณการใช้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นในทุกประเภทเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จากอุทกภัยในช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. พ.ศ. 2554


มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์เดือนธันวาคม 2554 (ล้านบาท)ชิ้นส่วนรถยนต์ ธ.ค. 53 ธ.ค. 54 %เครื่องยนต์ 2,032.07 2,309.49 13.65%ชิ้นส่วนอะไหล่ 1,266.75 1,660.30 31.07%แม่พิมพ์และอุปกรณ์ยึดจับชิ้นงาน 15.94 38.58 142.03%ชิ้นส่วนประกอบและอุปกรณ์ 12,219.93 10,996.90 -10.01%ชิ้นส่วนอื่นๆ 72.04 713.62 890.59%รวมส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ 15,606.73 15,718.89 0.72%ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ธ.ค. 53 ธ.ค. 54 %ชิ้นส่วนประกอบและอุปกรณ์ 1,080.49 1,880.79 74.07%ชิ้นส่วนอะไหล่ 37.11 62.03 67.15%รวมส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ 1,117.60 1,942.82 73.84%รวมส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ 16,724.33 17,661.71 5.60%ชิ้นส่วนยานยนต์มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของผู้ประกอบยานยนต์เดือนธันวาคม 2554 มูลค่าทั้งสิ้น 17,661.71 ล้านบาท เพิ่มร้อยละ 6เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกดังกล่าวนี้แบ่งเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ 15,718.89 ล้านบาท และชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์1,942.82 ล้านบาท สำหรับชิ้นส่วนรถยนต์มีการส่งออกใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นการส่งออกเครื่องยนต์ 2,309.49 ล้านบาทชิ้นส่วนอะไหล่ 1,660.30 ล้านบาท แม่พิมพ์และอุปกรณ์ยึดจับชิ้นงาน38.58 ล้านบาท ชิ้นส่วนประกอบและอุปกรณ์ 10,996.90 ล้านบาทและชิ้นส่วนอื่นๆ 713.62 ล้านบาท เมื่อพิจารณาการส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์มีมูลค่า 1,942.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 74 โดยแบ่งเป็นการส่งออกชิ้นส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์1,880.79 ล้านบาท และชิ้นส่วนอะไหล่ 62.03 ล้านบาทที่มา : ศูนย์สารสนเทศยานยนต์บทสรุปสภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนมกราคม-ธันวาคม 2554สภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2554 มีปริมาณการผลิตรถยนต์รวม ำนวน จ 1,457,795 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 มีอัตราลดลงร้อยละ 11 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศรวมจำนวน 794,081 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 มีปริมาณใกล้เคียงกัน โดยลดลงร้อยละ 0.8 ปริมาณการส่งออกรถยนต์ จำนวน 735,627 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 ลดลงร้อยละ 18 ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบจากสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงไตรมาสแรก และผลกระทบจากอุทกภัยในช่วงไตรมาส 4 ทำให้ บริษัทผู้ประกอบยานยนต์ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ยังต้องจัดหาชิ้นส่วนทดแทนสำหรับในกรณีที่โรงงานผลิตชิ้นส่วนยังไม่สามารถดำเนินการได้ สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ มีการผลิตรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU)จำนวน 2,046,168 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยที่มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศรวม2,007,384 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ยอดส่งออกรถจักรยานยนต์รวมทั้ง CBU และCKD มีจำนวนทั้งสิ้น 1,213,002 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 49 โดยแบ่งเป็น CBU ำนวน จ 221,164 คัน และ CKD จำนวน 991,383 ชุดสถานการณ์การส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2554 จากข้อมูลของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พบว่า มีมูลค่าการส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งสิ้น 780,922.73 ล้านบาท มีมูลค่าใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาจำแนกเป็นส่งออกรถยนต์ มูลค่า 342,875.18 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14 ส่งออกรถจักรยานยนต์ มูลค่า 24,782.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23และส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ มูลค่า 413,265.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 โดยการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ นั้น จำแนกเป็นการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ มูลค่า 392,869.55 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มูลค่า 20,395.92 ล้านบาทการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ที่ส่งออกโดยผู้ประกอบรถยนต์ในเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2554 ประกอบด้วยชิ้นส่วนประกอบและอุปกรณ์ มูลค่า 136,450.30 ล้านบาท เครื่องยนต์มูลค่า 26,669.68 ล้านบาท ชิ้นส่วนอะไหล่ มูลค่า 16,438.75 ล้านบาท แม่พิมพ์และอุปกรณ์ยึดจับชิ้นงาน มูลค่า 1,682.21 ล้านบาท และชิ้นส่วนยานยนต์อื่นๆ มูลค่า 2,439.42 ล้านบาท รวมมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ที่ส่งออกโดยผู้ประกอบรถยนต์ทั้งสิ้น 183,680.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ร้อยละ 2การนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2554 จากข้อมูลของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศมีการนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 393,959.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 โดยเป็นการน ำเข้ารถยนต์มูลค่า 51,055.47ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 นำเข้ารถจักรยานยนต์มูลค่า 1,301.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 112 และนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์มูลค่า341,602.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 (แยกเป็นนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์มูลค่า 326,617.30 ล้านบาท และนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์มูลค่า 13,815.42 ล้านบาท)เมื่อคิดมูลค่าส่วนต่างของการนำเข้าและส่งออกของยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ข้างต้นแล้ว มีมูลค่าการส่งออกมากกว่านำเข้า386,962.84 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปี 2553* บทคัดย่อจาก ศูนย์สารสนเทศยานยนต์(www.thaiauto.or.th)7


8ฉลากเขียวผู้เขียนไพบูลย์ บวรพินิจกุลวิศวกร แผนกเทคโนโลยียานยนต์ทุกวันนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องที่หลายๆ ฝ่ายให้ความสนใจกันมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากการร่วมมือกันของทั้งภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีการต่างๆรวมถึงการสนับสนุนให้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นหรือที่เรียกว่า “ผลิตภัณฑ์สีเขียว” ซึ่งนอกจากจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปล่อยสารเคมีหรือกากสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และช่วยลดภาระในการกำจัดทิ้งหลังจากใช้งาน ช่วยลดจำนวนขยะลงได้ ที่ยิ่งไปกว่านั้น คือ ช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงานและทรัพยากร ทั้งในระหว่างการผลิตการขนส่ง และการใช้งาน อีกด้วย ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จึงมีผลต่อการรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น และยังเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภคที่ใส่ใจในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยสินค้าดังกล่าวจะมีสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมาย “ฉลากเขียว” ติดอยู่กับสินค้า“ฉลากเขียว” เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมัน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520 ปัจจุบันมีการใช้ในประเทศต่างๆ มากกว่า 20 ประเทศสำหรับประเทศไทยได้มีการจัดทำโครงการฉลากเขียว โดยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (<strong>Thailand</strong> BusinessCouncil for Sustainable Development, TBCSD) ริเริ่มโครงการฉลากเขียวขึ้น เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 โดยได้รับความเห็นชอบและความร่วมมือจาก กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และองค์กรเอกชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติออกมาเป็นรูปธรรม จึงถือว่าเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล เอกชน และองค์กรกลางต่างๆโดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยทำหน้าที่เป็นเลขานุการฉลากเขียว (Green label) หรือ ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ใช้ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในรูปแบบของความสมัครใจ เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของผู้บริโภคให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค และสร้างความกดดันให้กับผู้ผลิต ในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ ในด้านเทคโนโลยีโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และยังเป็นวิธีที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้เป็นผู้ตัดสินใจถึงความต้องการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม อีกด้วย


หลักเกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ขออนุญาตใช้ฉลากเขียว1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้อุปโภค บริโภคทั่วไปในชีวิตประจำวัน2. คำนึงถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและคุณประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นจำหน่ายออกสู่ตลาด3. วิธีการตรวจสอบต้องไม่ยุ่งยากหรือเสียค่าใช้จ่ายสูงเกินควรในการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดทางสิ่งแวดล้อม4. ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตมีทางเลือกอื่นในการผลิตที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไปปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อออกข้อกำหนด ของผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวนั้น จะแตกต่างไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์และความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่างๆ ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์นั้นๆแต่โดยทั่วไปจะคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้1. การจัดการทรัพยากร ทั้งผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Renewable resources) และที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Nonrenewable resources) อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด2. การลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการผลิต การขนส่ง การบริโภค และการกำจัดทิ้งหลังใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ3. การนำขยะมูลฝอยทั่วไป และขยะอันตรายกลับมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น (reuse) หรือแปรสภาพกลับมาใช้ใหม่ (recycle)สำหรับผู้ผลิตที่ต้องการขอรับฉลากเขียวนั้น ก่อนอื่นต้องทำการสมัครเพื่อขอรับการประเมิน ตั้งแต่กระบวนการผลิตการขนส่ง และการใช้งาน จนกระทั่งการกำจัดเมื่อผลิตภัณฑ์หมดอายุ ทั้งนี้ การขอรับการประเมินนั้น ให้เป็นการขอโดยสมัครใจทั้งผู้ผลิต ผู้จ ำหน่าย หรือผู้ให้บริการ โดยสามารถยื่นขอได้ที่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) เมื่อผลิตภัณฑ์ผ่านการประเมินหรือได้รับการรับรองแล้วจึงจะสามารถนำเครื่องหมายฉลากเขียวไปใช้ในการโฆษณาและติดฉลากที่ผลิตภัณฑ์ได้ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวในปัจจุบัน มีหลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องสำอาง หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นภาชนะบรรจุ (Packaging) และอื่นๆ อีกมาก รวมทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยเช่นเดียวกันสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นผลิตภัณฑ์ที่มีข้อกำหนดเสร็จสมบูรณ์พร้อมให้ผู้ผลิตยื่นขอรับการรับรองเครื่องหมายฉลากเขียวได้แล้ว มีดังนี้1. รถยนต์นั่ง2. รถจักรยานยนต์3. น้ำมันหล่อลื่น4. หลังคารถกระบะ/หลังคาเหล็กสำหรับรถปิกอัพ/ฝาครอบกระบะอเนกประสงค์ในขณะที่หลายองค์กรในทุกภาคส่วนได้ร่วมกันรณรงค์และดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ให้เลวร้ายลงไปกว่านี้ รวมทั้งเพื่อฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมของโลกโดยส่วนรวมให้ดียิ่งขึ้นนั้น เราทุกคน ในฐานะพลเมืองคนหนึ่งของโลกใบนี้ล้วนมีส่วนในการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยลดมลพิษให้โลกได้เช่นเดียวกัน พวกเราทุกคนจึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย หรือที่เรียกว่า “ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว”รวมทั้งช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ และลดการใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นเพื่อลดการปล่อยสารเคมีหรือสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม เพียงเท่านี้ก็จะช่วยทำให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้นอีกมากเลยครับ9


วิถีการทำงานร่วมกันอย่างมีสุนทรียภาพ10ธนากรณ์ ใจสมานมิตรTrainer TWI-JRเรียบเรียงโดย แผนกพัฒนาบุคลากรเมื่อกล่าวถึง วิถีของการทำงาน จะพบว่า ลักษณะของการทำงานในสมัยปัจจุบันส่วนใหญ่ มีลักษณะของการเป็นทีมงานอยู่ในแทบทุกองค์กร จึงจำเป็นต้องมีการพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานเพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรได้อย่างเป็นเอกภาพ แต่เนื่องจากคนแต่ละคนมีทัศนคติ และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของคำว่า “ปัจเจกบุคคล”โดยมีความหมายคล้ายกับค ำกล่าวที่ว่า คนเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกันนั่นเอง ซึ่งความแตกต่างของบุคคลนี้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ที่ยิ่งไปกว่านั้น คือ มีผลกระทบต่องาน ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จตามที่หวังไว้ และถึงแม้ว่า จะมีนักวิชาการหลายท่าน ได้พยายามคิดค้นหาวิธีการต่างๆ มาสนับสนุนให้เกิดวิถีการทำงานร่วมกันแล้วก็ตาม แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรแม้บางครั้งอาจจะดูเหมือนได้ผลแต่ก็เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น แล้วก็กลับสู่สภาพเดิม ทั้งนี้ หากวิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ประกอบแล้ว จะพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากโดยเฉพาะในวิถีไทย ที่ทำให้เกิดเหตุนั้น คือ ความไม่เข้าใจแก่นแท้ของการเกิดพฤติกรรมที่ถาวรของมนุษย์ ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอนำเสนอปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาในการทำงานร่วมกัน รวมถึง แนวทางการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขภายใต้สถานการณ์แบบที่เรียกว่า ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย หรือชนะทั้ง 2 ฝ่าย(Win-win Situation) ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน ต่อไปเริ่มจากการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ สิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมมนุษย์ นั่นคือ กรอบแนวคิดของบุคคล อันประกอบด้วยเจตคติ ความเชื่อ รวมทั้งค่านิยมของบุคคล และสิ่งที่ทำให้มนุษย์นำมาสร้างกรอบแนวคิด คือ การได้ลงมือทำและพิสูจน์แล้วเห็นผลจริงด้วยตนเอง ที่เราเรียกว่า “ทักษะที่เกิดจากการฝึกฝน” สิ่งที่เป็นเหตุให้มนุษย์สามารถสร้างทักษะฝึกฝนตนเองได้คือ องค์ความรู้เฉพาะบุคคล ที่ได้จากการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ มาพิจารณาและวินิจฉัยอย่างมีหลักการ ในทำนองเดียวกันสิ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถเก็บกักและนำข้อมูล ข้อเท็จจริงเข้าสู่ตนเองได้ ก็คือการที่มนุษย์มีสมองเป็นอุปกรณ์ในการเก็บและประมวลผล โดยอาศัยอวัยวะรับสัมผัสทั้ง ๕+๑ (การรับสัมผัส ๕ ทางได้แก่ การมองเห็น,การได้ยินเสียง, การได้กลิ่น, การได้รับรู้รสชาติ และการได้รับรู้สัมผัสส่วนการรับอีก ๑ ทางนั้น คือ ความรู้สึกของปัจเจกบุคคล ได้แก่อารมณ์)ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การรับรู้ เป็นเหตุให้เกิดการศึกษาวินิจฉัยของบุคคล ที่สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ส่วนตน ซึ่งเป็นปัจจัยก่อให้เกิดการทดสอบองค์ความรู้นั้นด้วยการลงมือฝึกฝนและเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการยึดติดเป็น เจตคติ ความเชื่อ และค่านิยมส่วนบุคคล (กรอบแนวคิดของบุคคล) แล้วยังเป็นปัจจัยต่อไปที่ทำให้เกิดการแสดงออกอย่างซ้ำๆและถาวรจนกลายเป็นพฤติกรรม ที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะสื่อให้คนทั่วไปได้รับรู้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวสุนทรียภาพมีส่วนช่วยให้เกิดบรรยากาศการทำงานร่วมกันแบบ Win-win Situation ได้อย่างไรสุนทรียศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วย ความดี ความงาม ซึ่งเป็นความงามที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือหมายถึงความงามในทางศิลปะก็ได้ถึงแม้ว่า สุนทรียศาสตร์ จะเป็นเพียงมาตรฐานความงามในเชิงทฤษฎี (Theory of Beauty) แต่ก็เป็นทฤษฎีที่โน้มนำไปสู่ การสร้างสุนทรียภาพของบุคคลนั่นเอง สุนทรียภาพของบุคคล เป็นสภาพความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่งดงาม ไพเราะ รื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรือ ศิลปะ ความซาบซึ้งในคุณค่าดังกล่าวจะเจริญเติบโตได้โดยประสบการณ์การศึกษาอบรม ฝึกฝนจนเป็นอุปนิสัย และเกิดรสนิยม (Taste)ขึ้นตามตัวบุคคล ถือได้ว่าเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ดังนั้น พฤติกรรมของผู้ที่มีสุนทรียภาพจะมองคุณค่าของทุกสรรพสิ่งจากภายใน(Intrinsic Value) มากกว่าภายนอก (Extrinsic Value) เปรียบเสมือนเป็นตัวกรองเพื่อสนองต่อความต้องการที่ละเอียดอ่อน สร้างพลังเหนี่ยวนำให้เกิดการกระทำที่ดีงาม งดงาม ผ่านกระบวนการไตร่ตรอง ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา สังเคราะห์ (การใช้วิจารณญาณ)แสดงเป็นการกระทำที่มีความงดงามเหมาะสม ชื่นชมต่อผู้พบเห็น จนติดตัวกลายเป็นพฤติกรรมถาวร เป็นเอกลักษณ์ที่สง่างามเฉพาะตัวน่าเคารพ นับถือ เลื่อมใสและศรัทธา สอดคล้องกับหลักการ Win-win Situation ที่มุ่งเน้นการสร้างสถานการณ์แบบได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย หรือเรียกว่า ชนะทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเป็นการเอาชนะกันด้วยใจ เพื่อก่อให้เกิดความรัก ความศรัทธา และความเชื่อถือต่ออุดมการณ์ร่วมกัน ส่งผลให้เกิดวิถีร่วมกันอย่างสอดคล้องชัดเจน นำไปสู่การมีชัยชนะร่วมกันได้เป็นอย่างดี


ภาพลักษณ์ของบุคคล มีผลต่อการรับรู้และสามารถควบคุมพฤติกรรมคนรอบข้างได้จากข้อเท็จจริงต่างๆ ทำให้เราพอจะเข้าใจได้ว่า การรับรู้ของมนุษย์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นปัจจัยเริ่มต้นของการก่อให้เกิดการกระทำ และพฤติกรรมของมนุษย์ ในทางจิตวิทยาได้ศึกษาและค้นพบว่า มนุษย์เรานั้น จะปฏิบัติต่อคนอื่นตามภาพลักษณ์ของเขาที่อยู่ในใจเรา นักจิตวิทยาเรียกวิธีการนี้ว่า “การจัดการความประทับใจ” (Impression Management) ซึ่งหมายความว่าเราสามารถที่จะใช้ภาพลักษณ์(Image) ควบคุมพฤติกรรมของคนอื่นที่มีต่อตนเองได้ ด้วยวิธีการนำเสนอภาพลักษณ์ที่แท้จริงของเราให้กับผู้อื่นได้รับรู้นั่นเองแต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจและตระหนักให้ดีก็คือ การเสนอภาพตนเอง (Self-Presentation) เพื่อสร้างเป็นภาพลักษณ์นั้น จะต้องเกิดจากความเป็นตัวตนของเราจริงๆ โดยเราจะต้องสำรวจ เปิดใจ พิจารณา และปรับปรุงตนเองให้ดีก่อนพยายามฝึกรับรู้จากอารมณ์ที่บริสุทธิ์ ปราศจากการปรุงแต่ง และมองคุณค่าของทุกสรรพสิ่งจากแก่นแท้ภายในมากกว่าเปลือกนอกการปฏิบัติเช่นนี้จนเป็นพฤติกรรมที่ดีงามจะทำให้ภาพลักษณ์ของเราเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นตัวตนของเราอย่างแท้จริง และสง่างาม ผู้คนรอบข้างเราจะรับรู้ในภาพลักษณ์ของเราเช่นนี้ได้อย่างดี สิ่งที่เราจะได้รับตามมาก็คือ ความเคารพ นับถือ เลื่อมใสและศรัทธาแนวทางการเตรียมความพร้อมสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีสุนทรียภาพ๑. สำคัญที่สุดเราต้องเข้าใจตัวเองอย่างดีพอ เปิดใจพิจารณาตัวเอง ให้เข้าใจและรู้จริงอย่างถ่องแท้ ในประเด็นคำถาม ดังนี้เราใช้ชีวิตอย่างมีสุนทรียภาพมากน้อยเพียงใด ?ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลเป็นอย่างไร ?กรอบแนวคิดของเราเป็นอย่างไร ?เราเป็นตัวของตัวเองมากน้อยแค่ไหนจุดยืนของเราคืออะไร ?เอกลักษณ์ของเราที่สามารถสื่อเป็นภาพลักษณ์ได้คืออะไร ?๒. หลังจากทำความเข้าใจตนเอง และปรับปรุงได้ในระดับหนึ่งแล้ว ลองนำองค์ความรู้ที่ได้มาทำความเข้าใจผู้อื่นดูบ้างในเรื่องของธรรมชาติของมนุษย์ต่อการตอบสนองสัญชาตญาณดิบปัจจัยที่ก่อให้เกิดความแตกต่างของบุคคล (กฎของปัจเจกบุคคล)๓. เข้าใจสัจธรรม ความเป็นจริง โดยการพิสูจน์เห็น ไม่ใช่เชื่อเพียงคำบอกเล่าที่บอกต่อๆ กันมา และในการศึกษาข้อมูลข้อเท็จจริงนั้นจะต้องประกอบด้วยการเรียนรู้ แบบผสมผสานระหว่างหลักธรรมชาติ (ตามพุทธปรัชญา) ของวิถีตะวันออกและหลักปฏิบัติของวิถีตะวันตกด้วยเสมอ เพื่อสังเคราะห์ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีความเหมาะสมกับบริบทแวดล้อมและกาลเวลาอันจะนำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดและจุดยืนของตัวเราเองอย่างเหมาะสม ต่อไป11บทสรุปหลักการทำงานร่วมกันภายใต้สถานการณ์แบบได้ประโยชน์ด้วยกัน หรือชนะทั้ง 2 ฝ่าย (Win-win Situation) เป็นวิถีภายใต้ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมตะวันตก ที่สามารถนำมาผสานและเทียบเคียงกับหลักพุทธปรัชญาตามวิถีตะวันออกตามหลักวินัยของคฤหัสถ์ ว่าด้วยเรื่องของการปฏิบัติต่อมิตรสหายผู้เปรียบเสมือนทิศเบื้องซ้าย เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศในการเอาชนะใจซึ่งกันและกันระหว่างมิตรสหาย ซึ่งเป็นแนวทางหลักดังนี้๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน เอื้อเฟื้อกันตามอัตภาพเท่าที่เราสามารถจะทำได้๒. พูดจามีน้ำใจ คือ การที่เราควรต้องระมัดระวังการใช้คำพูดเมื่อต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น เพื่อเป็นการรักษาน้ำใจซึ่งกันและกันแม้ว่าเราจะไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดีก็ตาม๓. ช่วยเหลือเกื้อกูล สนับสนุน ส่งเสริม สิ่งที่ดีงามให้แก่กันเท่าที่จะทำได้ ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วย ปฏิบัติให้เห็นถึงความผูกพันกันด้วยใจ โดยปราศจากการวางเงื่อนไขใดๆ และละไว้ซึ่งยศศักดิ์ต่างๆ๔. ซื่อสัตย์จริงใจ ด้วยการแสดงออกทั้งต่อหน้าและลับหลังด้วยพฤติกรรมเดียวกัน รักษาความลับของผู้อื่น รักษาและให้เกียรติในผลประโยชน์ของผู้อื่นนอกจากนั้น ยังมีเรื่องของหลักการที่เป็นแนวทางเกื้อกูล(กลยุทธ์ในการประสบความสำเร็จของบุคคล) ที่สามารถส่งเสริมแนวทางหลัก ข้างต้น ได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วย๑. ความรัก คือ ความประทับใจ ความรู้สึกถูกชะตาเป็นพิเศษกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะเป็น บุคคล งาน ปรากฏการณ์ต่างๆที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เพราะความรักก่อให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำให้บรรลุผล๒. ความพากเพียร คือ บททดสอบที่มีผลสืบเนื่องจากความรัก ทำให้ความรักมีคุณค่าแก่ชีวิต และทรงคุณค่าอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่ชักนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ๓. การจับไม่ปล่อย คือ ความหมายมั่น จดจ่อในสิ่งที่ต้องการทำให้ได้ตามที่ปรารถนา ในสภาวะจิตที่เป็นสมาธิ โดยปราศจากการวางเงื่อนไขใดๆ๔. ความคิดสร้างสรรค์ คือ การรู้จักใช้ความคิดอย่างสุขุมโดยผ่านกระบวนการวิจัย วิเคราะห์ สังเคราะห์ จนเกิดเป็นความคิดใหม่ มุมมองใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา ทั้งสองแนวทางนี้นอกจากจะครอบคลุมหลักการทำงานร่วมกันภายใต้สถานการณ์แบบชนะทั้ง 2 ฝ่าย (Win-win Situation) แล้ว ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นหลักการต่างๆได้อีกมากมาย และที่สำคัญสำหรับวิถีไทยของเรานั้น เรามีความคุ้นเคยกับหลักธรรมคำสอนต่างๆ เหล่านี้มาตั้งแต่เกิดจนตาย และมีมานานกว่า ๒,๕๐๐ ปี เพียงแต่ว่าท่านเคยได้ฟัง หรือเพียงแค่เคยได้ยิน ?เอกสารอ้างอิงธนากรณ์ ใจสมานมิตร . “ความตระหนักในฐานะคนทำงาน” เอกสารประกอบการอบรม. ๑ (พฤศจิกายน ๒๕๕๑) : ๑ผศ.บุญมี แท่นแก้ว . พุทธปรัชญาเถรวาท . กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๔๕.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๒ : มปน.พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ, ๒๕๓๐ : ๖พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) . ธรรมนูญชีวิต . กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๑.พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) . ธรรมะพารวย . กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๑.รศ.ดร.สิทธิโชค วรานุสันติกูล . ทำอย่างไรให้เขายอม . กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๔๗.


12หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม คนใหม่ ถือฤกษ์งามยามดีเวลา 07.00 น. ของวันที่24 มกราคม 2555 เดินทางเข้ากระทรวงอุตสาหกรรม เป็นวันแรกหลังได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมภายหลังจากการสักการะ พระนารายณ์เกษียรสมุทร และพระพรหมเจ้าที่ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ท่ามกลางการต้อนรับและร่วมแสดงความยินดี ของคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมและข้าราชการแล้ว นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เป็นตัวแทนข้าราชการ มอบกระเช้าดอกไม้และกล่าวต้อนรับ แล้วยังได้นำพระพุทธรูปเข้าประดิษฐาน ณ ห้องทำงานของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนใหม่เพื่อความเป็นสิริมงคล ด้วยในโอกาสเดียวกันนี้ หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้ให้สัมภาษณ์บรรดาสื่อมวลชนสั้นๆ ถึงทิศทางการทำงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าเป็นการเข้ามาสานงานต่อจาก นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล ที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งไปเพราะปัญหาด้านสุขภาพ และประเดิมงานวันแรกด้วยการเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ก่อนบินลัดฟ้าสู่แดนภารตะพร้อมนายกรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ตั้งแต่วันที่ 24-27 มกราคมนี้ ก่อนกลับมาสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในประเทศต่อไปก. อุตสาหกรรมต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนใหม่หม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์นมิซซูรี่สเตทในปี พ.ศ. 2525 และระดับปริญญาโท สาขาการจัดการอุตสาหกรรมจากมหาวิทยาลัยเซนต์ทรัลมิซซูรี่และสาขาการจัดการนโยบายสาธารณะ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมีประวัติการท ำงานมาแล้วหลายด้านโดยในปี 2543-2547 เคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนพัฒนาและเทคโนโลยี ในปี 2541-2543 ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล และกฎหมาย และปี 2538-2541 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและการพัฒนานอกจากนี้ ยังเคยเป็น กรรมการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ในคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ อนุกรรมการวางแผนอุดมศึกษา ในคณะกรรมการการอุดมศึกษา และอนุกรรมการประเมินผล สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ รวมทั้งก่อนเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในครั้งนี้ ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!