29.08.2015 Views

“เศรษฐกิจพอเพียง”

เศรฐกิจ กุมภา54.indd - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

เศรฐกิจ กุมภา54.indd - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

วารสาร<br />

ปที่ 57 ฉบับที่ 651<br />

กุมภาพันธ 2554<br />

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ<br />

โครงการประกันรายได้เกษตรกรกับการมองต่างมุม<br />

<strong>“เศรษฐกิจพอเพียง”</strong><br />

เหมาะสมที่สุดกับอาชีพเกษตรกรรม<br />

การพัฒนาจากสงครามอาวุธมาเป็นสงครามเศรษฐกิจ


บรรณาธิการแถลง<br />

ที่ปรึกษา<br />

นายอภิชาต จงสกุล<br />

นางนารีณัฐ รุณภัย<br />

นายสุรศักดิ์ พันธนพ<br />

นางดวงหทัย ดานวิวัฒน<br />

บรรณาธิการ<br />

นางศศิญา ปานตั้น<br />

ผูชวยบรรณาธิการ<br />

นายชัยทัต อุยะธํารงสิทธิ์<br />

น.ส.ณิริศพร มีนพัฒนสันติ<br />

น.ส.ถิรพร ฐิติพรขจิต<br />

น.ส.อังคณา ศรีฉํ่าพันธ<br />

กองบรรณาธิการ<br />

ฝายประชาสัมพันธ<br />

สํานักงานเลขานุการกรม<br />

โทร. 0-2940-7240-1<br />

เจาของ<br />

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร<br />

กระทรวงเกษตรและสหกรณ<br />

ถนนพหลโยธิน กทม. 10900<br />

โทร. 0-2940-5550-1<br />

0-2940-5553-4<br />

พิมพที่<br />

หจก. อรุณการพิมพ<br />

99/2 ซอยพระศุลี<br />

ถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ<br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200<br />

โทร. 0-2282-6033-4<br />

www.aroonprinting.com<br />

พบกันเดือนกุมภาพันธนี้ ถือวาเปนเดือนที่มีความสําคัญเปนอยางมาก<br />

สําหรับเกษตรกรไทย ที่ไมแพวันวาเลนไทนที่หลายๆ คนเฝารอคอย เพราะ<br />

เดือนกุมภาพันธนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณไดกําหนดใหมีการเลือกตั้ง<br />

สมาชิกสภาเกษตรกรระดับหมู บานขึ้น หลังจากที่พระราชบัญญัติสภาเกษตรกร<br />

แหงชาติ พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใชแลวตั้งแตวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 และตอง<br />

จัดใหมีการเลือกตั้งผูแทนเกษตรกร ภายใน 90 วัน ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ<br />

จึงกําหนดวันเลือกตั้งในวันอาทิตยที่ 13 กุมภาพันธ 2554 เพื่อนําไปสู<br />

ขั้นตอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดชุดแรก ซึ่งผูที่มีสิทธิเลือกตั้ง<br />

ผูแทนเกษตรกรระดับหมูบานจะพิจารณาจากบัญชีครัวเรือนเกษตรกร<br />

ที่กระทรวงเกษตรฯ ไดขึ้นทะเบียนไว โดยเกษตรกรผูบรรลุนิติภาวะทุกคน<br />

ในแตละครัวเรือนจะเปนผูมีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น จึงขอเชิญใหเกษตรกร<br />

ในหมูบานตางๆ ออกมารับสมัครเลือกตั้งและออกมาใชสิทธิในการเลือกตั้ง<br />

พรอมกัน<br />

โดยพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแหงชาติ พ.ศ. 2553 บัญญัติใหมี<br />

“สภาเกษตรกรแหงชาติ” จํานวน 99 คน และมีกําหนดวาระอยูในตําแหนง<br />

คราวละ 4 ป ซึ่งประกอบดวยสมาชิก 3 ประเภท ไดแก ประเภทที่ 1 ประธาน<br />

สภาเกษตรกรจังหวัด จํานวน 76 คน ซึ่งจะเปนสมาชิกโดยตําแหนง โดยเริ่มจาก<br />

การเลือกตั้งผู แทนเกษตรกรระดับหมู บาน หมู บานละ 1 คน ซึ่งผู แทนเกษตรกร<br />

ระดับหมูบานจะเลือกในระหวางกันเองเพื่อเปนผูแทนเกษตรกรระดับตําบล<br />

ตําบลละ 1 คน หลังจากนั้นผูแทนเกษตรกรระดับตําบลก็จะเลือกในระหวาง<br />

กันเองเพื่อเปนผู แทนเกษตรกรระดับอําเภอ อําเภอละ 1 คน และผู แทนเกษตรกร<br />

ระดับอําเภอจะไดรับการแตงตั้งเปนสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และใหสมาชิก<br />

สภาเกษตรกรจังหวัดเลือกในระหวางกันเองเพื่อใหไดประธานสภาเกษตรกร<br />

จังหวัด จังหวัดละ 1 คน ประเภทที่ 2 ตัวแทนองคกรเกษตรกรดานพืช ดานสัตว<br />

และดานประมง ซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรทั้ง 76 คน ไดรวมกันคัดเลือก<br />

จํานวน 16 คน และประเภทที่ 3 ผูทรงคุณวุฒิที่มีความรูความเชี่ยวชาญ และ<br />

ประสบการณดานเกษตรกรรมอีกจํานวน 7 คน<br />

การที่มีพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแหงชาติขึ้นมานั้น นับเปน<br />

กฎหมายของเกษตรกรอยางแทจริง เพราะมีตัวแทนเกษตรกรและผู ทรงคุณวุฒิ<br />

จากภาคเกษตรที่ไดรับการคัดเลือกมาจากเกษตรกร ซึ่งเปนผูที่มีความรูเกี่ยว<br />

กับภาคเกษตรเปนอยางดี ชวยสะทอนปญหา แนวทางการแกไขปญหา และ<br />

ความตองการของเกษตรกรใหรัฐบาลไดรับทราบ สําหรับกําหนดนโยบาย<br />

แนวทางมาตรการตางๆ เพื่อแกไขปญหาและไดรับความชวยเหลือเกษตรกร<br />

ที่ประสบปญหาทางดานการเกษตร เชน ราคาผลผลิตตกตํ่า ภัยธรรมชาติ<br />

และอื่นๆ เปนตน ทั้งนี้ หากเกษตรกรและประชาชนที่สนใจที่ตองการติดตาม<br />

ขอมูลขาวสารเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแหงชาติ สามารถศึกษา<br />

รายละเอียดและกําหนดวันเวลาการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรไดที่เว็บไซต<br />

กระทรวงเกษตรและสหกรณ http://www.moac.go.th/nfc/


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

สารบัญ<br />

เรื่องนารูทางการเกษตร 2<br />

โครงการประกันรายไดเกษตรกรกับการมองตางมุม<br />

บทความเศรษฐกิจการเกษตร 4<br />

"เศรษฐกิจพอเพียง" เหมาะสมที่สุดกับอาชีพเกษตรกรรม<br />

บทความพิเศษ 6<br />

การพัฒนาจากสงครามอาวุธมาเปนสงครามเศรษฐกิจ<br />

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร 8<br />

พืชอาหาร ขาว/มันสําปะหลัง/ขาวโพดเลี้ยงสัตว/ขาวฟางเลี้ยงสัตว/ถั่วเขียว<br />

พืชนํ้ามัน ถั่วเหลือง/ถั่วลิสง/ปาลมนํ้ามัน<br />

พืชเสนใย ฝาย<br />

พืชอื่นๆ ออยโรงงานและนํ้าตาล/ยางพารา/กาแฟ/พริกไทย/สับปะรด<br />

ปศุสัตวและผลิตภัณฑจากสัตว<br />

ประมงและผลิตภัณฑจากสัตวนํ้า<br />

ราคาปจจัยการผลิต 50<br />

ขาวที่นาสนใจ 52<br />

ป 53 ยุโรปปฏิเสธสินคาประมงอินโดนีเซีย<br />

แวะเยี่ยม สศข. 53<br />

สศข.3 รวมอบรมการตั้งแปลงเก็บเกี่ยวผลผลิตสับปะรด ป 2554<br />

ขาวประชาสัมพันธ 54<br />

พิธีลงนามบันทึกความตกลง วาดวยการใชประโยชนขอมูลระหวางธนาคารแหงประเทศไทย<br />

กับสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ<br />

บูรณาการจัดทําแผนทางเลือกเพื่อฟนฟูอาชีพการเกษตร จังหวัดพัทลุง<br />

สศก. ประชุมพิจารณารางยุทธศาสตรที่ 1 ยกระดับคุณภาพชีวิตใหกับเกษตรกร<br />

1


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

เรื่องนารูทางการเกษตร<br />

โดย นายทองใบ ศิรินัย<br />

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5<br />

âคร§การประกันรายäด้เกÉตรกรกัºการมอ§ต‹า§มØม<br />

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีศักยภาพ<br />

ในการผลิตสินค้าเกษตรได้มากมายหลายชนิดทั้งปริมาณและ<br />

คุณภาพ ซึ่งในการผลิตนั้นมีสินค้าจานวนไม่น้อยที่ผลิตออก<br />

มาแล้วเกินความต้องการของตลาดในประเทศจาเป็นต้องพึ่งพา<br />

ตลาดต่างประเทศ หลายๆ ครั้งถูกกีดกันจากประเทศ ผู้นาเข้า<br />

และถูกลดการนาเข้าหรือจากัดการนาเข้าส่งผลกระทบต่อราคา<br />

สินค้านั้นๆ โดยเฉพาะข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสาปะหลัง<br />

ซึ่งในอดีตหลายๆ ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้นานโยบายการรับจานา<br />

สินค้าเกษตรมาใช้ต่อเนื่องกันมาหลายปีแต่ก็ไม่ประสบผลสาเร็จ<br />

เท่าที่ควร รัฐต้องใช้เงินจานวนมหาศาลมาใช้กับโครงการแต่ผล<br />

ตอบรับความพึงพอใจของเกษตรกรอยู่ในระดับต่า แทบจะไม่มี<br />

ประโยชน์อะไรเลย ในทางตรงกันข้ามผลประโยชน์ส่วนใหญ่<br />

ตกไปอยู ่กับมือบุคคลบางกลุ ่ม เช่น พ่อค้า โรงสี ยุ ้งฉาง ลานมัน<br />

โรงแป้ง เป็นต้น ดังนั้นในปี 2552 รัฐบาลจึงได้นามาตรการในการ<br />

แทรกแซงตลาดสินค้าเกษตร โดยการปรับเปลี่ยนจากโครงการ<br />

รับจานาสินค้าเกษตรมาเป็นโครงการประกันรายได้เกษตรกร<br />

ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรให้มีหลัก<br />

ประกันรายได้ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร พัฒนาการ<br />

ผลิต และพัฒนากลไกการตลาดสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพ<br />

รวมทั้งลดภาระในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการเก็บรักษา การ<br />

จัดหาผู้เข้าร่วมโครงการ การจัดหาสถานที่เก็บรักษา รวมทั้งการ<br />

ระบายสินค้าที่รับจานาไว้ออกสู ่ตลาดซึ่งเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ<br />

ติดต่อกันมาแทบทุกปี<br />

โครงการประกันรายได้เกษตรกร เป็นทางเลือกใหม่ให้<br />

กับเกษตรกร เป็นการประกันความเสี่ยงด้านราคาให้แก่เกษตรกร<br />

ไม่ให้ประสบปัญหาการขาดทุน รวมทั้งให้เกษตรกรสามารถ<br />

วางแผนการผลิตสินค้าเกษตร โดยไม่ต้องกังวลว่าเมื่อเก็บเกี่ยว<br />

ผลผลิตแล้วจะประสบปัญหาราคาตกต่า จนขาดทุน และเป็นการ<br />

ช่วยลดภาระงบประมาณของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคา<br />

ผลผลิตตกต่า โดยกาหนดเป็นมาตรการให้เกษตรกรขายผลผลิต<br />

ได้ราคาที่สูงขึ้น โดยในปีแรกนั้นรัฐบาลได้ดาเนินโครงการใน<br />

พืชเศรษฐกิจหลัก 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ<br />

มันสาปะหลัง โดยมีพื้นที่เป้าหมายดาเนินการครอบคลุม<br />

จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์<br />

และมันสาปะหลังทั้งประเทศ<br />

ดังนั้นเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการได้จะต้องขึ้น<br />

ทะเบียนเกษตรกร (ทบก.01) และจะต้องขึ้นทะเบียนพืช<br />

เศรษฐกิจ (ทพศ.01-03) จึงจะสามารถเข้าร่วมโครงการได้ โดย<br />

ในแต่ละครัวเรือนจะสามารถเข้าร่วมโครงการได้ไม่เกินปริมาณ<br />

ที่กาหนดไว้ในสินค้าแต่ละชนิด เช่น ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ<br />

ไม่เกินครัวเรือนละ 14 ตัน เป็นต้น ซึ่งราคาประกันรายได้ใช้เกณฑ์<br />

ต้นทุนเฉลี่ย (ต้นทุนคงที่ + ต้นทุนผันแปร) + ค่าขนส่ง + ผล<br />

ตอบแทนให้เกษตรกร (กาไรที่เกษตรกรพออยู่ได้) ขึ้นอยู่กับพืช<br />

แต่ละชนิด ซึ่งเกษตรกรจะได้รับการชดเชยส่วนต่าง ถ้าหาก<br />

ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงหรือราคาตลาดอ้างอิงต่ากว่าราคาประกัน<br />

รายได้เกษตรกร โดยให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้ดาเนินการชดเชย<br />

ส่วนต่างให้กับเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการและแจ้งวัน<br />

ใช้สิทธิ์กับ ธ.ก.ส. ในช่วงนั้นๆ<br />

ที่ผ่านมา ปี 2552 มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนเกษตรกร<br />

4.01 ล้านครัวเรือน และปี 2553 มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียน<br />

เกษตรกรกว่า 4.94 ล้านครัวเรือน มีผู้มาใช้สิทธิ์ 4.7 ล้าน<br />

ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจหลักกว่า 89.50 ล้านไร่<br />

รัฐต้องใช้งบประมาณมากกว่า 40,000 ล้านบาท มาใช้ในการ<br />

แก้ปัญหา จริงอยู ่หากจะมองว่าโครงการประกันรายได้เกษตรกร<br />

เป็นทางเลือกใหม่ เป็นการลดความเสี่ยงและการขาดทุนให้<br />

กับเกษตรกร และเป็นการช่วยเหลือให้เกษตรกรมีรายได้หลัก<br />

จากการประกอบอาชีพทางการเกษตรวางแผนพัฒนาการผลิต<br />

และพัฒนากลไกการตลาดสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพ แต่นั่น<br />

เป็นการใช้งบประมาณภาครัฐไม่ใช่น้อย และถ้าหากจะมองว่า<br />

ภาครัฐสามารถแก้ปัญหาและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้กว่า<br />

4.7 ล้านครัวเรือนก็คงไม่ผิด แต่ผลผลิตที่ยังคงเหลืออยู่ในมือ<br />

เกษตรกรที่ยังไม่ระบายออกสู่ตลาด โดยเฉพาะข้าวจะมีผล<br />

ต่อเนื่องไปกระทบกับข้าวฤดูกาลใหม่หรือไม่ โดยเฉพาะ<br />

ข้าวนาปรังจึงจะต้องชดเชยส่วนต่างไม่มากขึ้นเท่าปัจจุบัน<br />

2


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

หรอกหรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันเกษตรกรหัวก้าวหน้า<br />

คิดการณ์ไกล มีผลประโยชน์จากภาครัฐรออยู่ข้างหน้า บ้าง<br />

ก็วางแผนปลูกไว้ล่วงหน้า โดยไม่ได้ดูว่าสภาพพื้นที่ น้ำ ภูมิอากาศ<br />

เหมาะสมที่จะปลูกพืชนั้นๆ หรือไม่ จะได้ผลผลิตหรือไม่ได้<br />

ผลผลิตก็มีรายได้รออยู่ อย่างเช่น ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง<br />

เป็นต้นนั้นยังไม่รวมถึงการแจ้งเท็จผิดกับความเป็นจริง บิดเบือน<br />

ข้อมูลบ้าง ไม่ได้ปลูกแต่อยากได้ค่าชดเชย ไม่ได้เป็นครัวเรือน<br />

เกษตรกรบ้าง สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ใช้งบประมาณภาษีของประชาชน<br />

ไม่ใช่หรือ ถ้าย้อนกลับไปมองจะพบว่า ทำไมครัวเรือนเกษตรกร<br />

เพิ่มขึ้นจาก 4.01 ล้านครัวเรือน เป็น 4.94 ล้านครัวเรือน พื้นที่<br />

เพาะปลูกพืช 3 ชนิด รวมเป็น 89.50 ล้านไร่ นั่นเป็นผลมา<br />

จากโครงการหรือไม่ มันสะท้อนอะไรบางอย่าง นี่ยังไม่นับนะว่า<br />

เกษตรกรเตรียมเสนอพืชใหม่ๆ เข้าสู่โครงการเพื่อให้รัฐบาล<br />

ช่วยเหลืออีกมาก เช่น หอมแดง กระเทียม เป็นต้น หรือนั่นเป็น<br />

เพราะว่าเกษตรกรหวังพึ่งภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้มอง<br />

ที่การผลิตและการตลาด และรัฐเองก็ไม่ควรมองว่าจะให้<br />

ฝ่ายเดียว ระวังถังเงินรัฐบาลแตกนะคร๊าบ<br />

ดังนั้นรัฐควรหาทางออกที่เห็นว่าดีและมีความเป็นไปได้<br />

และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ผู ้ประกอบอาชีพการเกษตร และ<br />

ไม่มีผลต่อพันธกรณีต่างๆ รัฐควรสนับสนุนงบประมาณไปสู ่การ<br />

ลงทุนปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ เกษตรกรที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่<br />

ของประเทศ โดยเฉพาะ น้ำ ดิน พันธุ์ดี ตรงกับความต้องการ<br />

ของตลาด การผลิตอย่างมีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสม ต้นทุน<br />

ที่เหมาะสม แข่งขันได้ นับว่ารัฐประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน<br />

รายการ<br />

ข้าว<br />

ผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร<br />

มันสำปะหลัง<br />

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์<br />

รวม<br />

เกษตรกรผู้<br />

ขึ้นทะเบียน<br />

(รวม)<br />

รวม<br />

พื้นที่ปลูก<br />

(ไร่)<br />

ราย พื้นที่ปลูก<br />

(ไร่)<br />

ราย พื้นที่ปลูก<br />

(ไร่)<br />

ราย พื้นที่ปลูก<br />

(ไร่)<br />

รวมทั้งประเทศ 3,860,175 70,743,707 565,625 9,151,682 492,249 9,611,067 4,947,738 89,506,645<br />

ภาคกลาง 144,121 4,044,341 13,827 313,277 17,560 478,896 175,508 4,836,514<br />

ภาคตะวันตก 132,858 3,043,369 15,886 363,008 9,393 215,061 158,137 3,621,428<br />

ภาคตะวันออก 105,033 2,717,896 49,174 1,138,718 14,526 272,792 168,733 4,129,406<br />

ภาคตะวันออก<br />

เฉียงเหนือ 2,472,496 44,485,356 402,749 5,702,531 111,915 2,555,629 2,987,157 52,743,546<br />

ภาคใต้ 107,955 926,450 0 0 50 492 107,960 926,942<br />

ภาคเหนือ 899,809 15,526,280 84,245 1,634,146 338,969 6,088,195 1,323,203 23,248,621<br />

3


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

โดย นายฉัตรชัย เตาทอง<br />

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5<br />

“เÈรÉ°กิจพอเพÕย§” เป็นปรัชญาที่พระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดารัสชี้แนะแนวทางการ<br />

ดาเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนเกิด<br />

วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2540 พระองค์ทรง<br />

เน้นย้าแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดารงอยู่<br />

ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ<br />

เปลี่ยนแปลงต่างๆ รัฐบาลที่ผ่านๆ มาจึงได้กาหนดนโยบาย<br />

ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง<br />

พร้อมทั้งมีการกาหนดในการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ใน<br />

ส่วนที่ 7 แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ มาตรา 82 บัญญัติว่า “รัฐ<br />

ต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดาเนินการตามแนวปรัชญา<br />

เศรษฐกิจพอเพียง” กล่าวคือ รัฐยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ<br />

เพียงในการสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศเพื่อให้เกิดความ<br />

มั่นคงและยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจทุกระดับ ตั้งแต่เศรษฐกิจ<br />

ในระดับครัวเรือนขึ้นมาจนถึงผู้ประกอบการระดับใหญ่ ซึ่งใน<br />

ปัจจุบันสถานการณ์ของโลก จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของ<br />

ประเทศต่างๆ โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง อาจจะโดยตรงหรือโดย<br />

อ้อม เมื่อเกิดภาวะวิกฤติด้านเศรษฐกิจของโลกขึ้นจะกระทบ<br />

ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไม่รุนแรง ประชาชนสามารถมี<br />

ความเป็นอยู่ตามปกติสุขโดยไม่เดือดร้อนจากภัยคุกคามจาก<br />

ภายนอกที่จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม จะ<br />

ลดความรุนแรงลง ทั้งนี้ เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ดาเนินชีวิตตาม<br />

แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ประชาชนเหล่านั้นจะมีความ<br />

มั่นคงในความเป็นอยู ่ที่เกิดจากการพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเอง<br />

4<br />

เหมาะสมที่สุดกับอาชีพเกษตรกรรม<br />

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือการดาเนินชีวิต<br />

ของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน<br />

จนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดาเนินไป<br />

ใน “ทางสายกลาง” และความไม่ประมาท โดยเฉพาะการพัฒนา<br />

เศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ สามารถดารงอยู่<br />

ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ<br />

เปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่ง “ความพอเพียง” หมายถึง ความพอ<br />

ประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจาเป็นที่จะต้องมีระบบ<br />

ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิด<br />

จากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัย<br />

ความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่ง ใน<br />

การนาวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดาเนินการ<br />

ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของ<br />

คนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจ<br />

ในทุกระดับให้มีสานึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มี<br />

ความรอบรู้ที่เหมาะสม ดาเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร<br />

มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้เกิดความสมดุลและ<br />

พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง<br />

ทั้งด้านวัตถุสังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอก<br />

ได้เป็นอย่างดี


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ดังนั้น การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้<br />

ในการประกอบอาชีพจึงเป็นแนวทางการสร้างความมั่นคงและ<br />

ยั่งยืนให้กับครอบครัว ชุมชนและประเทศ โดยเฉพาะครอบครัว<br />

ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจะต้องมีที่ดินในการประกอบ<br />

อาชีพเป็นอันดับแรก เป็นปัจจัยในการผลิต ทั้งด้านพืช สัตว์<br />

และประมงได้ตามความเหมาะสม ผลผลิตที่ได้สามารถใช้เป็น<br />

อาหารบริ โภคในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้และประชากร<br />

ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ของประเทศไทยมีอาชีพทางด้าน<br />

เกษตรกรรมที่กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ ประชากร<br />

เหล่านั้นสามารถนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้<br />

ในการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมยิ่ง ทั้ง<br />

การกินอยู่ที่พอประมาณไม่ฟุ่มเฟือย โดยผลิตอาหารบนแปลง<br />

ที่ดินที่มีอยู ่เพื่อบริโภค ส่วนที่เหลือนำไปแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันใน<br />

ชุมชนหรือรวมกลุ ่มกันจำหน่าย ทั้งในลักษณะกลุ ่มหรือสหกรณ์<br />

หรือวิสาหกิจชุมชน แม้แต่เครื่องอุปโภคบริ โภคอื่นๆ ที่จำเป็น<br />

ต้องใช้ในครัวเรือนก็สามารถร่วมกันผลิตขึ้นใช้เองได้ เช่น น้ำยา<br />

ล้างจานสบู่ ยาสระผม น้ำปลา น้ำยาซักผ้า เป็นต้น หรือนำไป<br />

แลกเปลี่ยนแบ่งปันกับชุมชนใกล้เคียง ซึ่งเป็นแนวทางการลดค่า<br />

ใช้จ่ายในครอบครัว เป็นการพึ่งพาตนเองและพึ่งพากันเอง ผลจาก<br />

การลดค่าใช้จ่ายในครอบครัวยังสามารถทำให้เกิดการออมเงิน<br />

มีเงินเป็นหลักประกันทำให้ความเป็นอยู่มีความมั่นคง แม้จะ<br />

เกิดวิกฤติด้านเศรษฐกิจหรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น<br />

ส่วนความมีเหตุมีผล เป็นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้<br />

เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจและการกระทำต่างๆ การรู้จักคิด<br />

ก่อนลงมือทำเป็นแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จ จะเห็น<br />

ได้จากการพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันที่มุ่งเน้นให้คน<br />

รู้จักคิด ดังมีข้อความโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่เห็นกันทั่วไปว่า<br />

“คิดใหม่ ทำใหม่” ต้องรู ้จักวิเคราะห์ มองไปข้างหน้า ทั้งในระยะสั้น<br />

และระยะยาว มีความรอบรู้ ความรอบคอบ ความระมัดระวัง<br />

ความซื่อสัตย์ความไม่โลภ ความรู ้จักพอ ความขยันหมั่นเพียร<br />

การไม่เบียดเบียนกัน การรู ้จักแบ่งปันและช่วยเหลือเอื้อเฟื ้อ<br />

เผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ส่วนการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อ<br />

พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและไม่ทำอะไรที่เสี่ยง<br />

จนเกินไป จนทำให้ตนเองหรือคนรอบข้างเดือดร้อนใน<br />

ภายหลัง เป็นอีกหลักการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง<br />

ที่เกิดจากการดำเนินชีวิตพอประมาณและความมีเหตุผล<br />

ความเป็นอยู ่ของครอบครัวมีความมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป<br />

การจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้ได้ผล<br />

ในการดำเนินชีวิตจำเป็นต้องเริ่มจากการพัฒนาด้านจิตใจ คือ<br />

ให้มีความเข้าใจถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเชื่อว่าเมื่อนำ<br />

ไปใช้แล้วจะทำให้เกิดประโยชน์และความสุข ทั้งในปัจจุบัน<br />

และอนาคต แล้วจึงจะมีความมั่นใจที่จะนำไปทดลองใช้ปฏิบัติ<br />

กล่าวคือ จะต้องเกิดศรัทธาแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง<br />

จึงจะนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง<br />

ดังนั้น แนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนที่<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวได้พระราชทานให้พสกนิกรชาวไทย<br />

นำไปปฏิบัติที่เรียกว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” จึงถือเป็นตัวอย่าง<br />

ที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง<br />

ที่เห็นเด่นชัดที่สุด เนื่องจากเกษตรทฤษฎีใหม่ยังเป็นการ<br />

พัฒนาทัศนคติและวิถีปฏิบัติของครอบครัวและชุมชนในภาค<br />

เกษตรกรรมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง<br />

และพร้อมที่จะก้าวหน้าสู่กระแสการแข่งขันในยุคโลกาภิวัตน์<br />

เห็นได้จากปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้<br />

กับกิจกรรมทางการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งศึกษา<br />

วิจัยเกี่ยวกับการเกษตรจนเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมกันมาและนำ<br />

ออกเผยแพร่แก่เกษตรกรทั่วไป อีกทั้งปราชญ์ชาวบ้านทั้งหลาย<br />

ยังมีรายได้หลักจากอาชีพเกษตรกรรม ผลิตอาหารบริ โภคเอง<br />

บนแปลงที่ดินมีความเป็นอยู ่ที่เรียบง่าย ยึดหลักการพึ่งพาตนเอง<br />

และพึ่งพากันเองทำให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข เป็นแบบอย่างที่ดี<br />

แก่เกษตรกรทั่วไป จึงสรุปได้ว่าเกษตรกรทั้งหลายควรที่จะนำ<br />

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประพฤติปฏิบัติ ประยุกต์<br />

ใช้กับอาชีพเกษตรกรรมให้เป็นรูปธรรมและเหมาะสม พร้อม<br />

ทั้งเกษตรกรจะต้องรู้จักเรียนรู้ที่จริงจัง นำความรู้ด้านวิชาการ<br />

มาใช้ในการประกอบอาชีพอย่างเหมาะสมจนเป็น “วิชาชีพ” ไม่<br />

เพียงแต่เป็นผู้รับรู้ดังเช่นที่เคยเป็นมา เกษตรกรเหล่านั้นจะมี<br />

ความเป็นอยู่ที่มั่นคงและยั่งยืนท่ามกลางความผันผวนและการ<br />

เปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต<br />

5


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

บทความพิเศษ<br />

โดย นายสุทธิ สิทธิวนกุล<br />

สำนักงำนเศรษฐกิจกำรเกษตรเขต 5<br />

การพั²นาจากส§ครามอาวظ<br />

มาเปšนส§ครามเÈรÉ°กิจ<br />

สงครามอาวุธ เป็นการต่อสู้กันระหว่าง<br />

ฝ่ายตรงกันข้าม ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็เป็นมนุษย์ด้วยกันทั้งสิ้น อาวุธที่ใช้<br />

ในสนามรบมีมากมาย ได้แก่ ปืน ระเบิด ฯลฯ อาวุธที่ใช้แต่ละชนิด<br />

จะต้องมีกระสุนหรือระเบิด โดยการใช้อาวุธจะต้องผ่านขั้นตอน<br />

จุดชนวนจึงจะไปกระทบฝ่ายตรงกันข้ามได้ สาหรับวัตถุประสงค์ของ<br />

การใช้อาวุธจะเช่นเดียวกันทั้งหมดคือ เพื่อให้บาดเจ็บ หรือล้มตาย<br />

สงครามอาวุธที่ใช้ในอดีตจะเป็นการขยายอาณาเขต<br />

ออกไปโดยมิได้มุ่งหวังดินแดนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวัง<br />

ทรัพยากรในดินแดนนั้นอีกด้วย สงครามนั้นอาจจะเป็นสงคราม<br />

ระหว่างประเทศหรือสงครามภายในประเทศก็ได้ และนอกจาก<br />

สงครามอาวุธแล้ว ยังมีสงครามระหว่างศาสนา สงครามระหว่าง<br />

เผ่าพันธุ์อีก ซึ่งแบ่งพรรคแบ่งพวก โจมตีกันรุนแรงมาก และต่อมา<br />

ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง สังคมญี่ปุ่นเกิดการ<br />

เปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ เพราะต่างคนต่างก็ต้องขยันทามาหากิน<br />

ในโรงงานอย่างหามรุ่งหามค่า ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูกหลาน<br />

ครอบครัวส่วนใหญ่จะแตกแยก ทาให้เกิดโรคเครียดและฆ่าตัวตาย<br />

ในที่สุด ผิดกับวัฒนธรรมไทยที่อยู่กันในระบบครอบครัว ช่วยเหลือ<br />

ซึ่งกันและกัน<br />

ต่อมาสงครามวัฒนธรรมได้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเกิด<br />

ขึ้นควบคู่ไปกับสงครามเศรษฐกิจ สาเหตุที่เกิดสงครามวัฒนธรรม<br />

อันเนื่องมาจากเป็นการนาวัฒนธรรมจากต่างชาติเข้ามาแทรกแซงใน<br />

วัฒนธรรมเดิมของผู้บริโภค คือประเทศผู้ผลิตจะต้องเปลี่ยนแปลง<br />

วัฒนธรรมของประเทศผู้บริโภคให้ได้ก่อน สิ่งสาคัญที่ต้องใช้<br />

วัฒนธรรมเข้ามาแทรกแซง คือ สินค้า สงครามที่ต้องใช้วัฒนธรรม<br />

เข้ามาแทรกแซงโดยมีวัตถุประสงค์ในด้านการค้าจึงเรียกว่า สงคราม<br />

เศรษฐกิจ และเมื่อทาสงครามวัฒนธรรมกับผู ้บริ โภคสินค้าจนเปลี่ยน<br />

ไปแล้ว การใช้สินค้าชนิดต่างๆ ก็จะเปลี่ยนตามวัฒนธรรมที่เปลี่ยน<br />

ไปด้วย ดังเช่น การแต่งกายจะต้องทันยุคทันสมัย (เสื้อผ้าไม่ใส่แบบ<br />

โบราณ) การรับประทานอาหาร จะนิยมเลือกอาหารต่างชาติ ถ้าจะ<br />

เอาชนะในสงครามเศรษฐกิจได้เราจะต้องมีชัยชนะในสงคราม<br />

วัฒธรรมให้ได้ก่อน ซึ่งในสมัยปัจจุบันแก้ไขได้ยาก เนื่องจากวัฒนธรรม<br />

ต่างชาติได้ครอบงาในกลุ่มวัยรุ่น<br />

จึงเห็นได้ว่าการทาสงครามในสมัยปัจจุบันนี้ไม่ใช่การแย่ง<br />

ดินแดนเหมือนในสมัยอดีต แต่จะเป็นการทาสงครามในรูปแบบ<br />

อื่นๆ และสงครามเศรษฐกิจในสมัยปัจจุบันจะรุนแรงที่สุด โดยจะหนัก<br />

ไปทางด้านปากท้องหรือชีวิตความเป็นอยู่ และจากจุดประสงค์นี้เอง<br />

ทาให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ คิดค้นการเปลี่ยนแปลงทาง<br />

เทคโนโลยีขึ้นมามากมาย การค้าขายจึงแข่งขันกันมากขึ้น เมื่อในอดีต<br />

การค้ายังมีน้อย จึงแข่งขันกันไม่มากนัก ต้นทุนต่า เช่น ราคาน้ามัน<br />

ยังต่าอยู่ จึงยังไม่กระทบกระเทือนต่อราคาสินค้า ต่อมาเมื่อราคา<br />

น้ามันสูงขึ้น ทาให้ระบบการค้าได้รับผลกระทบกระเทือนไปด้วย<br />

6


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

และผลกระทบกระเทือนนี้หนีไม่พ้นที่จะไปลงเอยที่ผู้บริโภค<br />

เพราะผู้ผลิต จะผลักดันราคาสินค้าที่สูงขึ้นไปสู่ผู้บริ โภคอยู่นั่นเอง<br />

แต่เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น การปรับตัวของผู้บริ โภคจะลำบากมาก<br />

ตามหลักทางเศรษฐศาสตร์แล้วที่เรียกว่า ทฤษฎีฟันปลา “เมื่อราคา<br />

ของสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้น แต่ความต้องการของสินค้าชนิดนั้น<br />

จะลดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากความพอใจในสินค้าชนิดนั้น<br />

มีมาก ไม่สามารถกลับไปใช้สินค้าชนิดเดิมที่เคยใช้ได้อีก” ถ้าเรา<br />

นำลักษณะราคาของสินค้าที่สูงขึ้น แต่ความต้องการของสินค้า<br />

ที่ลดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หลายๆ ครั้งมาบันทึกเป็นกราฟแล้ว<br />

จะได้กราฟเส้นออกมาเป็นรูปฟันปลา สรุปได้อีกอย่าง คือ เมื่อมี<br />

รายได้สูง ทำให้ลักษณะการครองชีพสูงขึ้นตามแต่พอรายได้ลดลง<br />

ลักษณะการครองชีพยังคงเดิมหรือลดลงเพียงเล็กน้อย ดังนั้นรายได้<br />

สูงขึ้นหรือลดลงก็ไม่มีผลต่อการซื้อของผู้บริโภค เช่น แต่เดิมรายได้<br />

น้อย รับประทานน้ำปลาผสม แต่พอมีรายได้สูงขึ้น รสนิยมของเขา<br />

จะเปลี่ยนไป จะไม่รับประทานน้ำปลาผสม เมื่อราคาน้ำปลาที่เปลี่ยน<br />

มารับประทานมีราคาสูงขึ้น เปรียบเสมือนรายได้ลดลง แต่เขาไม่<br />

สามารถกลับไปรับประทานน้ำปลาผสมได้อีก<br />

เมื่อได้วิเคราะห์ดูแล้ว จะมีอยู่ทฤษฎีหนึ่งที่สามารถจะนำ<br />

ไปแก้ไขในสงครามเศรษฐกิจได้ ทฤษฎีนั้น เรียกว่า ทฤษฎีความ<br />

พอเพียง (Theory of fairly good) ตามแนวพระราชดำรัสของ<br />

7<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน เนื่องในโอกาสวัน<br />

เฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541<br />

“คำว่า พอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเองคนเราถ้า<br />

พอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็<br />

เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ<br />

มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่<br />

สุดโด่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุขพอเพียงนี้อาจจะมีมาก<br />

อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้<br />

พอประมาณ ตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง<br />

ปฏิบัติตนก็พอเพียง”<br />

ประชากรไทยมีอาชีพหลักทางการเกษตรประมาณ 60%<br />

ดังนั้นรายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากการเกษตร ส่วนรายจ่ายจะเป็นค่า<br />

ใช้จ่ายในสินค้าที่จำเป็นและสินค้าฟุ่มเฟือย ถ้าจะเข้าไปสู่ความ<br />

พอเพียง จะต้องพยายามผลิตเพื่อการบริ โภคในครัวเรือน ส่วน<br />

ที่เหลือนำออกจำหน่ายเป็นรายได้และแบ่งปันผู้อื่น พึ่งพาอาศัย<br />

ซึ่งกันและกัน มีความรักสามัคคีต่อกัน ขณะเดียวกันจะต้องลด<br />

การใช้สินค้าฟุ่มเฟือยลง และในการลงทุนด้านการเกษตรควรตัด<br />

ต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง เพราะถ้าไม่สามารถทำเช่นนี้ได้แล้ว<br />

เราจะเป็นฝ่ายแพ้สงครามเศรษฐกิจอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ<br />

1.1 การผลิต<br />

ข้าวนาปี ปี 2553/54 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเน ณ เดือน ธ.ค. 53 ว่ามีพื้นที่ปลูก 57.044 ล้านไร่<br />

ผลผลิต 22.177 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 389 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2552/53 พื้นที่ปลูก ผลผลิต และผลผลิต<br />

ต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.79, 4.63 และ 3.71 ตามลำดับ พื้นที่ปลูกลดลงเนื่องจากฤดูฝนมาล่าช้า และภาวะแห้งแล้งค่อน<br />

ข้างรุนแรงในช่วงต้นฤดูเพาะปลูก น้ำต้นทุนตามธรรมชาติ และปริมาณน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ลดลงมาก ส่วน<br />

ผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากกระทบแล้งในช่วงต้นฤดูเพาะปลูก การเลื่อนการเพาะปลูกข้าวทำให้ข้าวพันธุ ์ ไวแสง มีระยะ<br />

เวลาการเจริญเติบโตทางลำต้นสั้นลง การสะสมอาหารของต้นข้าวลดลง การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และจาก<br />

อุทกภัยที่ค่อนข้างรุนแรงในทั่วทุกภาคของประเทศในช่วงเดือน ส.ค. - พ.ย. 2553 ซึ่งข้าวอยู่ในช่วงออกดอกและตั้งท้อง<br />

ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหายมาก ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตลดลง<br />

ข้าวนาปรัง ปี 2554 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเน ณ เดือน ธ.ค. 53 ว่ามีพื้นที่ปลูก 15.578 ล้านไร่<br />

ผลผลิต 9.516 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 611 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2553 พื้นที่ปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่<br />

เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.33, 7.37 และ 4.98 ตามลำดับ พื้นที่ปลูกข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำ<br />

ตามธรรมชาติมีปริมาณน้ำมากกว่าปีที่แล้ว ยกเว้นเขื่อนปราณบุรีและเขื่อนแก่งกระจาน ที่มีปริมาณน้ำน้อยงดส่งน้ำเพื่อ<br />

การเกษตร ประกอบกับแรงจูงใจจากโครงการประกันรายได้ข้าวรอบ 2 และชาวนาบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่ได้รับ<br />

ความเสียหายจากน้ำท่วม ส่วนผลผลิตต่อไร่และภาพรวมผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในช่วงต้นฤดูแล้งนี้มีปริมาณ<br />

น้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก แต่ต้องระมัดระวังการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่องใน<br />

ข้าวนาปี และอาจระบาดรุนแรงอีกจากการปลูกข้าวต่อเนื่องทั้งปี โดยคาดว่าผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดเดือน ก.พ. 54<br />

ซึ่งจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือน เม.ย. 54 และ พ.ค. 54 ประมาณ 2.476 และ 2.193 ล้านตันข้าวสาร หรือคิดเป็น<br />

ร้อยละ 26.02 และ 23.05 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ตามลำดับ<br />

1.2 การตลาด<br />

มติ ครม. เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 53 เห็นชอบการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู ้ปลูกข้าว ปี 2553/54<br />

รอบที่ 1 ดังนี้<br />

1.1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 (รอบ 1)<br />

• การขึ้นทะเบียนเกษตรกร 1 มิ.ย. - 30 พ.ย. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ค. - 31 มี.ค. 54<br />

• การประชาคม 16 มิ.ย. - 15 ธ.ค. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 - 15 เม.ย. 54<br />

• ออกใบรับรอง 16 มิ.ย. - 31 ธ.ค. 53 ภาคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 1 ส.ค. 53 - 30 เม.ย. 54<br />

8<br />

พืชอาหาร<br />

ข้าว<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

โดย น.ส.นลินรัตน์ ศุภวันต์, นายภูดินันท์ สง่าพงษ์<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

• ทาสัญญาประกันรายได้ 1 ก.ค. 53 - 31 ม.ค. 54 ภำคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ส.ค. 53 - 31<br />

พ.ค. 54<br />

• ระยะเวลาใช้สิทธิ 1 ส.ค. 53 - 15 มี.ค. 54 ภำคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ย. 53 - 15 ก.ค. 54<br />

• ราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกร กำหนดปริมำณและรำคำประกันรำยได้เกษตรกร<br />

ต่อครัวเรือน ณ ควำมชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้<br />

๏ ข้ำวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,300 บำท ไม่เกิน 14 ตัน/ครัวเรือน<br />

๏ ข้ำวเปลือกหอมจังหวัด ตันละ 14,300 บำท ไม่เกิน 16 ตัน/ครัวเรือน<br />

๏ ข้ำวเปลือกเจ้ำ ตันละ 10,000 บำท ไม่เกิน 25 ตัน/ครัวเรือน<br />

๏ ข้ำวเปลือกปทุมธำนี 1 ตันละ 11,000 บำท ไม่เกิน 25 ตัน/ครัวเรือน<br />

๏ ข้ำวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บำท ไม่เกิน 16 ตัน/ครัวเรือน<br />

• ประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง 1 ส.ค. 53 - 15 มี.ค. 54 ภำคใต้ (ไม่รวม จ.ชุมพร) 16 ก.ย.<br />

53 - 15 ก.ค. 54 สำหรับรำคำอ้ำงอิงประจำวันที่ 17 ม.ค. 54 ดังตำรำง<br />

ตำรำงเก³±์กลำงอ้ำงอิงข้ำวเปลือกนำป‚ 2553/54 (รอบ 1) และกำร¨‹ำยเงินªดเªย<br />

ชนิดพืช<br />

ราคาประกัน<br />

ณ ความชื้น<br />

ไม่เกิน 15%<br />

ประจาวันที่ 10 ม.ค. 54<br />

(ช่วงวันที่ 10 ม.ค. - 16 ม.ค. 53)<br />

ข้าวรอบ 1<br />

1) ข้ำวหอมมะลิ 15,300<br />

ราคาอ้างอิง<br />

13,080<br />

การจ่ายเงินชดเชย<br />

2,220<br />

ราคาอ้างอิง<br />

12,990<br />

การจ่ายเงินชดเชย<br />

2,310<br />

2) ข้ำวหอมจังหวัด 14,300 12,849 1,451 12,799 1,501<br />

3) ข้ำวขำว 10,000 8,537 1,463 8,527 1,473<br />

4) ปทุมธำนี 1 11,000 10,390 610 10,403 597<br />

5) ข้ำวเหนียว 9,500 13,927 - 13,966 -<br />

9<br />

(บำท/ตัน)<br />

ประจาวันที่ 17 ม.ค. 54<br />

(ช่วงวันที่ 17 ม.ค. - 23 ม.ค. 54)<br />

• มติ ครม. วันที่ 7 ธ.ค. 53 เห็นชอบตำมมติ กขช. ครั้งที่ 12/2553 เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 53 ที่เห็น<br />

ชอบให้กรมส่งเสริมกำรเกษตร ผ่อนผันหลักเกณฑ์กำรขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้ำว ปี 2552/53 (รอบ 1) ดังนี้<br />

1) ให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้ำว (ทพศ.1) ปี 2553/54 รอบที่ 1 ซึ่งอยู่ระหว่ำงรอกำร<br />

ทำประชำคมแต่ประสบภัยธรรมชำติ ให้คณะกรรมกำรตรวจสอบระดับตำบลตรวจสอบพื้นที่ปลูกของเกษตรกร หำกพบ<br />

เศษซำกต้นข้ำวในแปลงให้มีกำรดำเนินกำรขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้ำว (ทพศ.1) ปี 2553/54 รอบที่ 1 ตำมขั้นตอนปกติ<br />

2) ขยำยระยะเวลำดำเนินโครงกำรประกันรำยได้ฯ ปี 2553/54 รอบที่ 1 ของภำคเหนือ<br />

ภำคตะวันออกเฉียงเหนือและภำคกลำงรวมจังหวัดชุมพร ในส่วนของกำรขึ้นทะเบียนเกษตรกร กำรทำประชำคม<br />

และกำรออกหนังสือรับรองให้เกษตรกรเป็นสิ้นสุดวันที่ 31 มกรำคม 2554 และในส่วนกำรทำสัญญำประกันรำยได้<br />

ของ ธ.ก.ส. เป็นสิ้นสุด 28 กุมภำพันธ์ 2554


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ทั้งนี้ เฉพาะพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยและวาตภัย<br />

• ผลการดาเนินงาน โครงกำรประกันรำยได้เกษตรกรข้ำวเปลือกนำปี ปีกำรผลิต 2553/54<br />

(รอบ 1) ณ วันที่ 17 มกรำคม 2554<br />

ประเด็น ครัวเรือน ร้อยละ<br />

ฐำนข้อมูลเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปี 2552/53 3,528,336<br />

บันทึกกำรขึ้นทะเบียนในระบบแล้ว 1/ 3,856,129 109.29 ของฐำนข้อมูลปี 52/53<br />

ผ่ำนกำรรับรองโดยประชำคม (รำย) 1/ 3,736,232 96.89 ของผลกำรบันทึกในระบบ<br />

ผลกำรออกใบรับรอง 1/ 3,731,316 99.87 ของผลกำรผ่ำนประชำคม<br />

ธ.ก.ส. ทำสัญญำทั้งหมด 2/ 3,504,010<br />

ธ.ก.ส. อนุมัติจ่ำยเงินแล้ว (รำย) 2/ 2,616,747<br />

(จำนวนเงิน)<br />

30,869.532 ล้ำนบำท<br />

ที่มำ : 1/ กรมส่งเสริมกำรเกษตร<br />

2/ ธนำคำรเพื่อกำรเกษตรและสหกรณ์กำรเกษตร<br />

1.1.2 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบ 2)<br />

• รำคำและปริมำณประกันรำยได้เกษตรกร กำหนดปริมำณและรำคำประกันรำยได้เกษตรกรต่อ<br />

ครัวเรือน ณ ควำมชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้<br />

๏ ข้ำวเปลือกปทุมธำนี 1 ตันละ 11,000 บำท ไม่เกิน 25 ตัน/ครัวเรือน<br />

๏ ข้ำวเปลือกเจ้ำ ตันละ 10,000 บำท ไม่เกิน 25 ตัน/ครัวเรือน<br />

๏ ข้ำวเปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บำท ไม่เกิน 16 ตัน/ครัวเรือน<br />

• ผลกำรดำเนินงำนโครงกำรประกันรำยได้เกษตรกรผู้ปลูกข้ำว ปี 2552/53 (รอบ 2)<br />

ณ วันที่ 17 มกรำคม 2554<br />

ประเด็น จานวนจังหวัด จานวนราย<br />

ฐำนข้อมูล (สศก.) 76 456,142 (ครัวเรือน)<br />

ผ่ำนกำรรับรองโดยประชำคม (รำย) 832,373<br />

ธ.ก.ส. ทำสัญญำทั้งหมด 825,050<br />

ธ.ก.ส. อนุมัติจ่ำยเงินแล้ว (รำย) 784,420<br />

(จำนวนเงิน)<br />

19,641.173 ล้ำนบำท<br />

ที่มำ : ธนำคำรเพื่อกำรเกษตรและสหกรณ์กำรเกษตร<br />

10


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

1.2 การค้า<br />

ภาวะการซื้อขายข้าวในเดือนมกราคม 2554<br />

ราคาข้าวมีแนวโน้มลดลงจากเดือนก่อน ทั้งนี้เนื่องจาก<br />

ผลผลิตข้าวนาปี ปี 2553/54 ได้ออกสู่ตลาดมากข้าว<br />

ความชื้นสูงโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่ออกสู ่ตลาด เกษตรกร<br />

มีการเก็บเกี่ยวเร็วกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา เนื่องจากรถเกี่ยว<br />

นวดทางภาคกลางซึ่งว่างจากการเก็บเกี่ยวเพราะน้ำท่วม<br />

เกษตรกรขึ้นไปรับจ้างส่งผลให้โรงสีและเครื่องอบไม่เพียง<br />

พอต่อการเก็บ และอบข้าว ดังนั้นโรงสีทางภาคกลางจึง<br />

เข้าไปรับซื้อเพื่อนำมาอบในภาคกลางราคาที่โรงสีภาคกลาง<br />

รับซื้อจึงต่ำ เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งประกอบ<br />

กับเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ ต่อด้วยตรุษจีนในช่วงต้นเดือน<br />

ก.พ. 53 ซึ่งจะมีการหยุดเทศกาลยาวส่งผลให้มีการซื้อขาย<br />

ในตลาดน้อยลง อีกทั้งสต๊อกของผู้ส่งออกและโรงสียังคงมี<br />

มากเนื่องจากการประมูลของข้าวรัฐบาลที่ยังระบายไม่หมด<br />

การส่งออก<br />

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 1 พฤศจิกายน 2553<br />

ประเทศไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 7,817,861 ตัน<br />

ข้าวสาร ลดลงจาก 7,899,350 ตันข้าวสาร ของการส่งออก<br />

ข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.03 (ที่มา : สภา<br />

หอการค้าแห่งประเทศไทย)<br />

โดยในเดือนพฤศจิกายน 2553 ส่งออกได้<br />

915,026 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 829,127 ตันของเดือนก่อน<br />

85,899 ตัน และเพิ่มขึ้นจาก 661,117 ตัน ของช่วงเดียวกัน<br />

ของปีที่ผ่านมา 253,909 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 10.36,<br />

38.41 ตามลำดับ (ที่มา : สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย)<br />

การนำเข้า<br />

ตั้งแต่ปี 2549 ตามพันธกรณี WTO ประเทศไทย<br />

จะต้องเปิดตลาดนำเข้าตามพันธกรณีในปริมาณ 249,757<br />

ตัน โดยข้าวที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นข้าวเมล็ดสั้นและเมล็ด<br />

กลางที่ผลิตในประเทศไทยได้น้อย การนำเข้าเป็นการนำ<br />

เข้าเพื่อสนองความต้องการบริโภคของคนบางกลุ่มเท่านั้น<br />

ประกอบกับภาษีนำเข้าข้าวในโควตาอัตราร้อยละ 30 นับ<br />

ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถป้องกันผลที่จะกระทบต่อผลผลิต<br />

ข้าวภายในประเทศได้<br />

สำหรับผลการนำเข้าข้าวในปี 2553 (ณ เดือน 1<br />

มกราคม - 31 ตุลาคม 2553) มีการนำเข้าข้าว 4,739.64 ตัน<br />

มูลค่า 157.06 ล้านบาท ลดลงจาก 75,844.33 ตัน มูลค่า<br />

624.44 ล้านบาท ของการนำเข้าในช่วงเดียวกันของปีที่<br />

ผ่านมาร้อยละ 93.75 และ 74.85 ตามลำดับ (ที่มา : กรม<br />

ศุลกากร)<br />

2. สถานการณ์การผลิตและการค้าของโลก<br />

2.1 การผลิต<br />

ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาด<br />

คะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2553/54 ประจำเดือน<br />

มกราคม 2554 ว่าจะมี 452.366 ล้านตันข้าวสาร (677.10<br />

ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 440.942 ล้านตันข้าวสาร<br />

(660.70 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2552/53 ร้อยละ 2.59<br />

เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและ<br />

ผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บังกลาเทศ บราซิล กัมพูชา<br />

อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ<br />

สหรัฐอเมริกา<br />

2.2 การค้าข้าวโลก<br />

บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้<br />

คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2553/54 ณ เดือนมกราคม<br />

2554 ว่าผลผลิต ปี 2552/53 จะมี 452.366 ล้านตันข้าวสาร<br />

(677.10 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ<br />

2.59 การใช้ในประเทศจะมี 452.768 ล้านตันข้าวสาร<br />

เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.40 การส่งออก/นำเข้าจะมี<br />

30.325 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.32<br />

และสต๊อกปลายปีคงเหลือ 94.368 ล้านตันข้าวสาร ลดลง<br />

จากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.42<br />

โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่<br />

อาร์เจนตินา บราซิล พม่า จีน อินเดีย อุรุกวัย และสหรัฐฯ<br />

ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อียิปต์<br />

ปากีสถาน อียู กายอานา และเวียดนาม<br />

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่<br />

โกตดิวัวร์ คิวบา เม็กซิโก อิหร่าน อิรัก จีน ฮ่องกง เวียดนาม<br />

ไนจีเรีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ โมซัมบิก เยเมน อียู<br />

และสหรัฐฯ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่<br />

บังกลาเทศ บราซิล และฟิลิปปินส์<br />

11


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

สำหรับประเทศที่คาดว่าจะมี สต๊อกคงเหลือ<br />

ปลายปีลดลง ได้แก่ อินเดีย และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศ<br />

ที่คาดว่าจะมีสต๊อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน<br />

อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เวียดนาม และสหรัฐฯ<br />

2.3 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู ้ผลิตและผู ้บริโภค<br />

ที่สำคัญ<br />

2.3.1 สถานการณ์ข้าวเวียดนาม<br />

- ผลผลิตข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้นในปีนี้<br />

จากสถิติการผลิตข้าวในประเทศเวียดนามล่าสุด<br />

ในปี 2553 ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เนื่องจากเวียดนาม<br />

มีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศเพิ่มขึ้น มีพื้นที่ปลูกข้าวจำนวน 7.51<br />

ล้านเฮคตาร์ (46.938 ล้านไร่) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ของพื้นที่ใน<br />

ปี 2551 ตามสถิติของสำนักงานสถิติในกรุงฮานอย รายงาน<br />

ว่าผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นอีกไร่ละ 12 กิโลกรัม (80 กิโลกรัม<br />

ต่อเฮคตาร์) เป็น 851 กิโลกรัมต่อไร่ (5.32 ตันต่อเฮคตาร์)<br />

- ระบบแสงสว่างใหม่บนทางหลวงเวียดนาม<br />

ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกข้าว<br />

เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท<br />

รายงานว่า มีการติดตั้งระบบไฟทางหลวงขึ้นใหม่ในเขต<br />

พื้นที่โฮจิมิน ซิตี้ (HCM City) - ทางหลวงตรังรอง (Trung<br />

Luong Highway) แสงสว่างจากระบบไฟใหม่นี้ มีผลกระทบ<br />

ต่อพันธุ์ข้าวบางพันธุ์ทำให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากแสง<br />

สว่างในช่วงเวลากลางคืนจะทำให้ข้าวไม่ออกรวง อย่างไร<br />

ก็ตามพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่ห่างจากทางหลวงประมาณ<br />

50 เมตร ยังไม่มีรายงานความเสียหาย ทางด้าน Dr. Le Huu Hai<br />

ผู ้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย An Giang รายงานว่าข้าวที่ปลูก<br />

ข้างถนนทางหลวงจะไม่สามารถออกรวงได้ เนื่องจากไฟ<br />

ทางหลวงในช่วงเวลากลางคืนจะส่งผลต่อการเจริญเติบโต<br />

ของข้าว<br />

2.3.2 สถานการณ์ข้าวอินโดนีเซีย<br />

- อินโดนีเซียเตรียมสั่งซื้อข้าวถึง 3.2 ล้านตัน<br />

ในปี 2554<br />

อินโดนีเซียเตรียมแผนการจัดหาข้าวเพิ่มในปี<br />

2554 ซึ่งเป้าหมายในปีนี้จำนวน 3.2 ล้านตัน เพื่อป้องกัน<br />

การขาดดุลของผลผลิตภายในประเทศ และให้ครอบคลุม<br />

ความต้องการใช้ในประเทศ ซึ่งในปีที่ผ่านมาอินโดนีเซียนำ<br />

12<br />

เข้าข้าวรวม 1.08 ล้านตัน โดยแบ่งสัดส่วนการนำเข้าดังนี้<br />

นำเข้าจากเวียดนามจำนวน 800,000 ตัน และประเทศไทย<br />

จำนวน 280,000 ตัน จากการนำเข้าข้าวรวมทั้งหมดจำนวน<br />

516,000 ตัน ได้ส่งมอบให้กับหน่วยงาน Bulog ส่วนข้าว<br />

ส่วนที่เหลือจำนวน 564,000 ตัน รอการจัดส่งมอบ<br />

กระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียรายงานว่าผลผลิต<br />

ข้าวในปีที่ผ่านมามีจำนวน 34 ล้านตัน และคาดว่าในปีนี้จะ<br />

เพิ่มขึ้นถึง 38 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.77 ขณะที่<br />

ความต้องการใช้บริโภคภายในประเทศรวมคาดว่าจำนวน<br />

33 ล้านตัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลอินโดนีเซียจำเป็นที่ต้อง<br />

นำเข้าข้าวเพราะไม่สามารถรับรองสต๊อกของรัฐบาลให้เพียง<br />

พอต่อความต้องการใช้ได้<br />

2.3.3 สถานการณ์ข้าวจีน<br />

- จีนเพาะปลูกข้าวลูกผสมซุปเปอร์ไรซ์กว่า<br />

41 ล้านไร่ ในปีนี้<br />

จากการรายงานของกระทรวงเกษตรจีน เมื่อวันที่<br />

8 ก.ค. 53 ที่ผ่านมาว่า ปริมาณผลผลิตธัญพืชทั้งหมดในปี<br />

2553 อยู่ที่ 546.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่าน 15.6 ล้าน<br />

ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ด้วยพื้นที่เพาะปลูกธัญพืชกว่า<br />

686.7 ล้านไร่ เพิ่มขึ้น 5.53 ล้านไร่ โดยผลผลิตธัญพืชได้<br />

เพิ่มขึ้น 7 ปีติดต่อกันเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี และรักษา<br />

ระดับอยู่ที่ 500 ล้านตันต่อปี เป็นที่ 5 ติดต่อกัน<br />

โดยผลผลิตข้าวคิดเป็นร้อยละ 40 ของผลผลิต<br />

ธัญพืชทั้งหมด จากสถิติของกระทรวงเกษตรพบว่า ในปีนี้<br />

มีการเพาะปลูกข้าวลูกผสมซุปเปอร์ไรซ์ที่ได้รับการรับรอง<br />

จากกระทรวงเกษตรจำนวน 80 สายพันธุ์ คิดเป็นพื้นที่กว่า<br />

100 ล้านหมู่ หรือประมาณ 41.67 ล้านไร่ หรือ 1 ใน 4 ของ<br />

พื้นที่เพาะปลูกข้าวของจีนทั้งหมด โดยมีผลผลิตเพิ่มขึ้น<br />

ไร่ละ 142.32 กิโลกรัม ลดต้นทุนและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น<br />

ไร่ละ 274.8 หยวน<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวกล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว ข้าว<br />

ลูกผสมซุปเปอร์ไรซ์สามารถให้ผลผลิตถึง 1,920 กิโลกรัม/ไร่<br />

ขึ้นไป เมื่อมีการส่งเสริมให้เพาะปลูกขนานใหญ่แล้ว จะช่วย<br />

เพิ่มปริมาณผลผลิตข้าวได้มากกว่าข้าวทั่วไปถึงร้อยละ 15<br />

คุณภาพของข้าวก็อยู่ในมาตรฐานแห่งชาติระดับ 3 ขึ้นไป<br />

ดังนั้นข้าวลูกผสมซุปเปอร์ไรซ์จึงเป็นข้าวคุณภาพดี และให้


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ผลผลิตต่อไร่สูง โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญอยู ่ใน 3 มณฑล<br />

ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ มณฑลเหลียวหนิง<br />

จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง<br />

2.3.4 สถานการณ์ข้าวมาเลเซีย<br />

- มาเลเซียสั่งซื้อข้าวเพิ่มจากปากีสถาน<br />

สื่อท้องถิ่นมาเลเซีย รายงานว่า Malaysian<br />

Padiberas National Berhad (BERNAS) ได้นำเข้าข้าว<br />

จากปากีสถานเพิ่มขึ้น เพื่อกระจายฐานการนำเข้าข้าวจาก<br />

ประเทศต่างๆ และเพื่อลดการนำเข้าข้าวจากประเทศไทย<br />

และเวียดนาม ซึ่งประเทศมาเลเซียนำเข้าข้าวจากไทย และ<br />

เวียดนาม ในสัดส่วนร้อยละ 45.9 และ 34.5 ตามลำดับ<br />

ขณะที่ปากีสถานเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ให้มาเลเซีย ซึ่ง<br />

คาดว่าในปี 2554 นี้อาจสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1<br />

ของการนำเข้าข้าวทั้งหมด<br />

3. ราคาข้าวไทยในเดือนมกราคม 2554 มีดังนี้<br />

3.1 ราคาเกษตรกรขายได้<br />

- ราคาข้าวหอมมะลิที่เกษตรกรขายได้เดือนนี้<br />

เฉลี่ยตันละ 12,598 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,837 บาท<br />

ของเดือนก่อนร้อยละ 1.86 และลดลงจากตันละ 14,106 บาท<br />

ของระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 10.69<br />

- ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกร<br />

ขายได้เดือนนี้เฉลี่ยตันละ 8,358 บาท ราคาลดลงจาก<br />

ตันละ 8,415 บาท ของเดือนก่อนร้อยละ 0.68 และลดลงจาก<br />

ตันละ 9,326 บาท ของระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา<br />

ร้อยละ 10.38<br />

3.2 ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ<br />

- ราคาขายส่งข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ในตลาด<br />

กรุงเทพฯ เดือนนี้ เฉลี่ยตันละ 14,139 บาท ราคาลดลงจาก<br />

ตันละ 14,660 บาท ของเดือนก่อนร้อยละ 3.55 และลดลง<br />

จากตันละ 17,070 บาท ของระยะเวลาเดียวกันของปีที่<br />

ผ่านมาร้อยละ 17.17<br />

3.3 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.<br />

- ราคาข้าวสารเจ้า 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เดือน<br />

มกราคม 2554 เฉลี่ยตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,859<br />

บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 546 ดอลลาร์สหรัฐฯ<br />

(16,312 บาท/ตัน) ของเดือนธันวาคม 2553 ร้อยละ 3.11<br />

(ลดลงในรูปเงินบาทร้อยละ 2.78) และลดลงจากตันละ<br />

570 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,680 บาท/ตัน) ของเดือนมกราคม<br />

2553 ร้อยละ 7.19 (ลดลงในรูปเงินบาทร้อยละ15.10)<br />

- ราคาข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 (ใหม่) ส่ง<br />

ออก เอฟ.โอ.บี. เดือนมกราคม 2554 เฉลี่ยตันละ 1,015<br />

ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,443 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ<br />

1,032 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,832 บาท/ตัน) ของเดือน<br />

ธันวาคม 2553 ร้อยละ 1.65 (ลดลงในรูปเงินบาทร้อยละ<br />

1.26) แต่สูงขึ้นจากตันละ 1,009 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,057<br />

บาท/ตัน) ของเดือนมกราคม 2552 ร้อยละ 0.59 (แต่ลดลง<br />

ในรูปเงินบาทร้อยละ 7.91)<br />

- ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. เดือน<br />

มกราคม 2554 เฉลี่ยตันละ 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,190<br />

บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 547 ดอลลาร์สหรัฐฯ<br />

(16,335 บาท/ตัน) ของเดือนธันวาคม 2553 ร้อยละ 1.28<br />

(ลดลงในรูปเงินบาทร้อยละ 0.89) และลดลงจากตันละ<br />

613 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,107 บาท/ตัน) ของเดือนมกราคม<br />

2553 ร้อยละ 11.91 (ลดลงในรูปเงินบาทร้อยละ 19.48)<br />

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ<br />

30.0083 บาท<br />

*************<br />

13


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ข้าว<br />

บาท/ตัน<br />

ราคาข้าว 5%<br />

ตัน<br />

ปริมาณการส่งออกข้าว<br />

ข้าว<br />

หน่วย : บาท/ตัน<br />

พ.ย. 52 ธ.ค. ม.ค. 53 ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. 54*<br />

ราคาฟาร์ม 8,948 9,825 9,326 9,400 8,636 8,257 7,952 7,985 8,151 8,306 8,454 8,184 8,229 8,415 8,358<br />

ราคาขายส่ง 16,188 17,735 17,070 16,008 14,477 12,921 12,817 12,755 12,545 12,960 13,168 13,018 14,209 14,660 14,139<br />

ราคาส่งออก 17,844 19,314 18,680 17,846 16,097 14,720 14,369 14,335 14,047 14,427 14,874 14,657 15,696 16,312 15,859<br />

ปริมาณส่งออก (ตัน) 665,639 735,036 719,065 704,038 734,603 592,275 702,426 626,393 693,499 594,481 648,170 898,963 962,533 1,085,034<br />

หมายเหตุ : ปริมาณการส่งออกใช้ข้อมูลจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย<br />

14


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ตารางที่ 1 ผลผลิตข้าวโลก<br />

(ประมาณการเดือนมกราคม 2554)<br />

ประเทศ ปี 2548/49 ปี 2549/50 ปี 2550/51 ปี 2551/52 ปี 2552/53 Gr ปี 2553/54 ผลต่างร้อยละ<br />

(2) (1) (1) และ (2)<br />

บังกลาเทศ 28.758 29.000 28.800 31.000 31.000 2.19 32.300 4.19<br />

บราซิล 7.874 7.695 8.199 8.570 7.657 0.52 8.450 10.36<br />

พม่า 10.440 10.600 10.730 10.150 10.597 - 0.14 10.500 - 0.92<br />

กัมพูชา 3.771 3.946 4.238 4.520 4.780 6.29 4.800 0.42<br />

จีน 126.414 127.200 130.224 134.330 136.570 2.11 139.300 2.00<br />

อียิปต์ 4.135 4.383 4.385 4.402 4.300 0.83 3.100 - 27.91<br />

อินเดีย 91.790 93.350 96.690 99.180 89.130 0.02 95.000 6.59<br />

อินโดนีเซีย 34.956 35.300 37.000 38.310 36.370 1.62 38.000 4.48<br />

ญี่ปุ่น 8.257 7.786 7.930 8.029 7.711 - 1.06 7.850 1.80<br />

เกาหลีใต้ 4.768 4.680 4.408 4.843 4.916 0.96 4.300 - 12.53<br />

ไนจีเรีย 2.700 2.900 3.000 3.200 3.400 5.75 3.600 5.88<br />

ปากีสถาน 5.547 5.450 5.700 6.900 6.800 6.64 5.000 - 26.47<br />

ฟิลิปปินส์ 9.821 9.775 10.479 10.755 9.772 0.86 10.500 7.45<br />

เวียดนาม 22.772 22.922 24.375 24.393 24.979 2.50 24.983 0.02<br />

ไทย * 19.993 19.564 21.185 20.889 21.197 1.84 20.917 - 1.32<br />

สหรัฐฯ 6.912 6.088 6.149 6.400 6.917 0.52 7.443 7.60<br />

อื่นๆ 29.599 29.658 30.153 32.286 34.846 4.20 36.323 4.24<br />

รวม 418.507 420.297 433.645 448.157 440.942 1.70 452.366 2.59<br />

หมายเหตุ : *สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2553 และ ปี 2554 ประมาณการ<br />

ตารางที่ 2 บัญชีสมดุลข้าวโลก<br />

(ประมาณการเดือนมกราคม 2554)<br />

รายการ ปี 2548/49 ปี 2549/50 ปี 2550/51 ปี 2551/52 ปี 2552/53 Gr ปี 2553/54 ผลต่างร้อยละ<br />

(2) (1) (1) และ (2)<br />

สต๊อกต้นปี 75.802 75.802 74.998 80.621 91.683 4.52 94.770 3.37<br />

ผลผลิต 418.507 420.297 433.645 448.157 440.942 1.70 452.366 2.59<br />

นำเข้า 29.098 31.895 29.724 29.263 30.421 0.03 30.325 - 0.32<br />

ใช้ในประเทศ 415.643 421.280 428.022 437.085 437.865 1.42 452.768 3.40<br />

ส่งออก 29.098 31.895 29.724 29.263 30.421 0.03 30.325 - 0.32<br />

สต๊อกปลายปี 75.802 74.998 80.621 91.683 94.770 6.69 94.368 - 0.42<br />

ที่มา : World Grain Situation and Outlook, USDA ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

15<br />

หน่วย : ล้านตันข้าวสาร<br />

หน่วย : ล้านตันข้าวสาร


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ตารางที่ 3 ปริมาณการส่งออกข้าวของโลก<br />

(ประมาณการเดือนมกราคม 2554)<br />

ประเทศ ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 Gr ปี 2554 ผลต่างร้อยละ<br />

(2) (1) (1) และ (2)<br />

อาร์เจนตินา 0.487 0.436 0.408 0.594 0.500 3.69 0.600 20.00<br />

บราซิล 0.291 0.201 0.511 0.591 0.400 18.71 0.575 43.75<br />

พม่า 0.047 0.031 0.541 1.052 0.400 118.30 0.500 25.00<br />

จีน 1.216 1.340 0.969 0.783 0.600 - 17.72 0.900 50.00<br />

กัมพูชา 0.350 0.450 0.500 0.800 0.850 26.49 0.850 0.00<br />

ญี่ปุ่น 0.200 0.200 0.200 0.200 0.200 0.00 0.200 0.00<br />

อียิปต์ 0.958 1.209 0.750 0.575 0.600 - 15.46 0.300 - 50.00<br />

อินเดีย 4.537 6.301 3.383 2.123 2.200 - 22.40 2.500 13.64<br />

ปากีสถาน 3.579 2.696 3.050 3.187 3.800 2.91 2.650 - 30.26<br />

อุรุกวัย 0.812 0.734 0.742 0.926 0.700 - 0.64 0.800 14.29<br />

เวียดนาม 4.705 4.522 4.649 5.950 6.734 10.42 5.800 - 13.87<br />

กายอานา 0.250 0.254 0.185 0.244 0.275 1.52 0.250 - 9.09<br />

อียู 0.144 0.139 0.157 0.150 0.230 10.66 0.180 - 21.74<br />

สหรัฐฯ 3.260 3.003 3.219 2.983 3.500 1.36 3.525 0.71<br />

ไทย * 7.494 9.193 10.210 8.620<br />

1/ 1/<br />

8.500 1.89 9.000 5.88<br />

อื่นๆ 0.768 1.186 0.250 0.485 0.932 - 4.94 1.695 81.87<br />

รวม 29.098 31.895 29.724 29.263 30.421 0.03 30.325 - 0.32<br />

ที่มา : World Grain Situation and Outlook, USDA ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

หมายเหตุ : *กรมศุลกากร<br />

1/<br />

ประมาณการ ปี 2553 และ ปี 2554<br />

หน่วย : ล้านตัน<br />

16


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ตารางที่ 4 ปริมาณการนำเข้าข้าวของโลก<br />

(ประมาณการเดือนมกราคม 2554)<br />

ประเทศ ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 Gr ปี 2554** ผลต่างร้อยละ<br />

(2) (1) (1) และ (2)<br />

บังกลาเทศ 0.531 1.570 1.658 0.150 0.750 - 15.27 0.400 - 46.67<br />

บราซิล 0.691 0.684 0.417 0.650 0.800 2.45 0.600 - 25.00<br />

โกตดิวัวร์ 0.750 0.980 0.800 0.800 0.860 0.71 0.900 4.65<br />

แคนาดา 0.333 0.341 0.365 0.322 0.330 - 0.75 0.330 0.00<br />

คิวบา 0.594 0.574 0.558 0.457 0.500 - 5.56 0.525 5.00<br />

เม็กซิโก 0.585 0.607 0.578 0.610 0.600 0.56 0.650 8.33<br />

อิหร่าน 1.500 1.500 1.550 1.470 1.150 - 5.37 1.200 4.35<br />

อิรัก 1.306 0.613 0.975 1.089 1.100 2.34 1.150 4.55<br />

ญี่ปุ่น 0.681 0.642 0.546 0.750 0.700 2.13 0.700 0.00<br />

จีน 0.654 0.472 0.295 0.337 0.300 - 17.27 0.330 10.00<br />

ฮ่องกง 0.309 0.348 0.399 0.395 0.400 6.64 0.410 2.50<br />

เวียดนาม 0.350 0.450 0.300 0.500 0.400 3.79 0.500 25.00<br />

มาเลเซีย 0.886 0.799 1.039 1.070 1.020 5.91 1.020 0.00<br />

ไนจีเรีย 1.600 1.550 1.800 2.000 2.000 7.26 1.900 - 5.00<br />

ฟิลิปปินส์ 1.791 1.900 2.500 2.000 2.600 8.29 2.000 - 23.08<br />

ซาอุดีอาระเบีย 0.958 0.961 1.166 1.095 1.100 4.15 1.300 18.18<br />

เซเนกัล 0.600 0.700 0.860 0.715 0.700 3.35 0.700 0.00<br />

แอฟริกาใต้ 0.800 0.960 0.650 0.745 0.800 - 2.50 0.850 6.25<br />

ซีเรีย 0.214 0.235 0.230 0.300 0.350 13.07 0.350 0.00<br />

โมซัมบิก 0.330 0.410 0.300 0.385 0.320 - 1.24 0.400 25.00<br />

เยเมน 0.250 0.338 0.315 0.325 0.325 4.97 0.335 3.08<br />

อียู 1.221 1.342 1.520 1.383 1.200 - 0.05 1.350 12.50<br />

สหรัฐฯ 0.633 0.695 0.651 0.682 0.610 - 0.92 0.625 2.46<br />

ไทย * 0.002 0.003 0.014 0.076 0.100 208.36 0.100 0.00<br />

อื่นๆ 11.529 13.221 10.238 10.957 11.406 - 2.07 11.700 2.58<br />

รวม 29.098 31.895 29.724 29.263 30.421 0.03 30.325 - 0.32<br />

ที่มา : World Grain Situation and Outlook , USDA ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

หมายเหตุ : *กรมศุลกากร<br />

** ประมาณการ<br />

หน่วย : ล้านตัน<br />

17


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ตารางที่ 5 การบริโภคข้าวของโลก<br />

(ประมาณการเดือนมกราคม 2554)<br />

หน่วย : ล้านตัน<br />

ประเทศ ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 Gr ปี 2554 ผลต่างร้อยละ<br />

(2) (1) (1) และ (2)<br />

บังกลาเทศ 29.000 29.764 30.747 31.000 31.600 2.15 32.700 3.48<br />

บราซิล 8.460 7.925 8.254 8.530 8.550 0.95 8.550 0.00<br />

พม่า 10.400 10.670 10.249 9.648 9.900 - 1.97 10.100 2.02<br />

กัมพูชา 3.571 3.646 3.788 3.770 3.960 2.43 3.970 0.25<br />

จีน 128.000 127.200 127.450 133.000 134.320 1.42 136.500 1.62<br />

อียิปต์ 3.320 3.276 3.340 4.000 3.670 4.08 3.400 - 7.36<br />

อินเดีย 85.088 86.700 90.466 91.090 85.430 0.58 95.000 11.20<br />

อินโดนีเซีย 35.739 35.900 36.350 37.100 38.000 1.57 38.550 1.45<br />

ญี่ปุ่น 8.250 8.250 8.177 8.326 8.200 - 0.03 8.125 - 0.91<br />

เกาหลีใต้ 4.766 4.887 4.670 4.788 4.760 - 0.23 4.800 0.84<br />

ฟิลิปปินส์ 10.722 12.000 13.499 13.100 13.300 5.32 13.500 1.50<br />

เวียดนาม 18.392 18.775 19.400 19.000 19.150 0.93 19.500 1.83<br />

อิหร่าน 3.274 3.294 3.297 3.325 3.350 0.55 3.350 0.00<br />

ไนจีเรีย 4.300 4.400 4.500 5.150 5.250 5.72 5.500 4.76<br />

สหรัฐฯ 3.682 3.959 3.919 3.964 3.861 0.97 4.001 3.63<br />

ไทย * 10.780 10.732 11.098 11.267 11.767 2.26 11.767 0.00<br />

อื่นๆ 47.899 49.902 48.818 50.027 52.797 1.99 53.455 1.25<br />

รวม 415.643 421.280 428.022 437.085 437.865 1.42 452.768 3.40<br />

ที่มา : World Grain Situation and Outlook, USDA ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

* สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประมาณการ ปี 2553 และ ปี 2554<br />

ตารางที่ 6 สต๊อกข้าวปลายปีของโลก<br />

(ประมาณการเดือนมกราคม 2554)<br />

หน่วย : ล้านตัน<br />

ประเทศ ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 Gr ปี 2554 ผลต่างร้อยละ<br />

(2) (1) (1) และ (2)<br />

จีน 36.783 35.915 38.015 38.899 40.849 2.94 43.079 5.46<br />

อินเดีย 10.520 11.430 13.000 19.000 20.500 20.23 18.000 - 12.20<br />

อินโดนีเซีย 3.207 4.607 5.607 7.057 6.577 20.48 6.977 6.08<br />

ฟิลิปปินส์ 5.293 4.868 4.418 4.673 3.345 - 9.14 2.345 - 29.90<br />

เวียดนาม 1.317 1.392 2.018 1.961 1.456 5.58 1.639 12.57<br />

ญี่ปุ่น 2.395 2.406 2.556 2.715 2.693 3.62 2.918 8.35<br />

สหรัฐฯ 1.338 1.234 0.918 0.960 1.154 - 5.32 1.586 37.44<br />

อื่นๆ 14.949 13.146 14.089 16.418 18.196 6.35 17.824 - 2.04<br />

รวม 75.802 74.998 80.621 91.683 94.770 6.69 94.368 - 0.42<br />

ที่มา : World Grain Situation and Outlook, USDA ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

18


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

การผลิต<br />

-<br />

มันสำปะหลัง<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

โดย น.ส.กัญญารัตน์ ว่องวิทย์เดชา<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

การตลาด<br />

การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเดือนธันวาคม<br />

มันเส้นส่งออก 0.247 ล้านตัน มูลค่า 1,733 ล้านบาท สูงขึ้น<br />

จากปริมาณ 0.181 ล้านตัน มูลค่า 1,214 ล้านบาท ในเดือน<br />

ที่ผ่านมาร้อยละ 36.46 และ 42.75<br />

มันอัดเม็ดส่งออกเดือนธันวาคม ปริมาณ 0.006<br />

ล้านตัน มูลค่า 39 ล้านบาท สูงขึ้นจากปริมาณ 0.001 ล้านตัน<br />

มูลค่า 11 ล้านบาท ในเดือนที่ผ่านมา 5 เท่า<br />

แป้งมันสำปะหลังดิบส่งออกเดือนธันวาคม ปริมาณ<br />

0.144 ล้านตัน มูลค่า 2,336 ล้านบาท ลดลงจากปริมาณ<br />

0.145 ล้านตัน มูลค่า 2,248 ล้านบาท ในเดือนที่ผ่านมา<br />

ร้อยละ 0.68 และ 3.91<br />

ราคา<br />

ความเคลื่อนไหวของราคามันสำปะหลังในเดือน<br />

กุมภาพันธ์ 2554 สรุปได้ดังนี้ คือ<br />

1. ราคาเกษตรกรขายได้<br />

1.1 ราคาหัวมันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ ณ<br />

ระดับไร่นา เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.93 บาท สูงขึ้นจากราคา<br />

กิโลกรัมละ 2.80 บาท ในเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 4.64 และ<br />

สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.78 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่าน<br />

มาร้อยละ 64.60<br />

19<br />

1.2 ราคามันเส้นที่เกษตรกรขายได้ ณ ระดับไร่นา เฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 5.29 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 4.76 บาท<br />

ในเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 11.13 และสูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ<br />

4.04 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 30.94<br />

2. ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ<br />

2.1 ราคาขายส่งมันเส้น เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.51 บาท<br />

สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 7.31 บาท ในเดือนที่ผ่านมา<br />

ร้อยละ 2.73 และสูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 5.07 บาท<br />

ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 48.12<br />

2.2 ราคาขายส่งมันอัดเม็ด ไม่มีรายงาน<br />

2.3 ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชนิดดี เฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 20.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับเดือนที่ผ่านมา<br />

และสูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 13.45 บาท ในช่วงเดียวกัน<br />

ของปีที่ผ่านมาร้อยละ 50.55<br />

3. ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.<br />

3.1 ราคาส่งออกมันเส้น ราคาเฉลี่ยตันละ 261 ดอลลาร์<br />

สหรัฐฯ สูงขึ้นจากราคาตันละ 252.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ใน<br />

เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.36 และสูงขึ้นจากตันละ 173.12<br />

ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 50.76<br />

3.2 ราคาส่งออกมันอัดเม็ด ไม่มีรายงานราคา<br />

3.3 ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลังชนิดดี ราคาเฉลี่ย<br />

ตันละ 550.83 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากราคาตันละ 560<br />

ดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 1.63 และสูงขึ้น<br />

จากตันละ 396.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีที่<br />

ผ่านมาร้อยละ 39.01


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ปริมาณการส่งออกมันเส้น มันอัดเม็ด<br />

พันตัน<br />

หน่วย : พันตัน<br />

เดือน ส.ค. 52 ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. 53 ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.<br />

มันเส้น 351.218 546.131 448.926 404.776 667.588 362.730 485.829 574.560 663.212 406.735 390.050 180.661 200.996 245.321 177.645 181.129 247.852<br />

มันอัดเม็ด 32.206 27.460 38.202 55.567 26.887 23.495 7.487 49.677 28.457 14.020 11.787 7.324 1.363 0.430 4.297 1.589 6.139<br />

20


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

การผลิต<br />

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คำดคะเนผลผลิตโลก ปี<br />

2554/55 ประจำเดือนมกรำคม 2554 ว่ำผลผลิตมี 816.01<br />

ล้ำนตัน เพิ่มขึ้นจำก 812.14 ล้ำนตันของปีก่อนร้อยละ<br />

0.48 โดยที่อำร์เจนตินำ จีน แคนำดำ อินโดนีเซีย เม็กซิโก<br />

ฟิลิปปินส์ ยูเครน และเวียดนำม ผลิตได้เพิ่มขึ้น<br />

การค้า<br />

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คำดคะเนควำมต้องกำร<br />

ใช้ข้ำวโพดโลก ปี 2554/55 มี 836.12 ล้ำนตัน เพิ่มขึ้นจำก<br />

812.81 ล้ำนตันของ ปี 2553/54 ร้อยละ 2.87 โดยที่สหรัฐฯ<br />

ใช้ข้ำวโพดเพิ่มขึ้นจำกปีก่อนร้อยละ 3.62 นอกจำกนี้<br />

อำร์เจนตินำ บรำซิล จีน อินเดีย เกำหลีใต้ เม็กซิโก ไนจีเรีย<br />

แอฟริกำใต้ และฟิลิปปินส์ มีควำมต้องกำรใช้เพิ่มขึ้นด้วย<br />

สำหรับกำรค้ำโลกมี 90.91 ล้ำนตัน ลดลงจำก 93.04 ล้ำนตัน<br />

ของปี 2553/54 ร้อยละ 2.29 เนื่องจำกสหรัฐฯ ส่งออกได้<br />

50.00 ล้ำนตัน ขณะที่แคนำดำ อินเดีย เซอร์เบีย แอฟริกำใต้<br />

และยูเครน มีกำรส่งออกเพิ่มขึ้นด้วย นอกจำกนี้ประเทศ<br />

บรำซิล สหภำพยุโรป รัสเซีย เกำหลีใต้ อิสรำเอล และญี่ปุ่น<br />

มีกำรนำเข้ำเพิ่มขึ้น (ตำรำงแนบท้ำย)<br />

กำรส่งออกข้ำวโพดไทยเดือนมกรำคม 2554<br />

(1 - 16 มกรำคม 2554) มีปริมำณ 12,965 ตัน (อ้ำงจำก<br />

สมำคมพ่อค้ำข้ำวโพดและพืชพันธุ์ไทย)<br />

ราคา<br />

สรุปราคาข้าวโพดเดือนมกราคม 2553 มีดังนี้<br />

รำคำข้ำวโพดที่เกษตรกรขำยได้ควำมชื้นไม่เกิน<br />

14.5% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.03 บำท เพิ่มขึ้นจำกกิโลกรัมละ<br />

8.00 บำท ของเดือนก่อนร้อยละ 0.38 และเพิ่มขึ้นจำก<br />

กิโลกรัมละ 6.93 บำท ของเดือนมกรำคม 2553 ร้อยละ<br />

15.87 สำหรับข้ำวโพดควำมชื้นเกิน 14.5 % เดือนนี้เฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 6.81 บำท เพิ่มขึ้นจำกกิโลกรัมละ 6.49 บำท<br />

โดย นางพัชรา กฤตผล<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจกำรเกษตร<br />

ของเดือนก่อนร้อยละ 4.93 และเพิ่มขึ้นจำกกิโลกรัมละ<br />

6.38 บำท ของเดือนมกรำคม 2553 ร้อยละ 6.74<br />

รำคำข้ำวโพดขำยส่งในตลำดกรุงเทพฯ ที่โรงงำน<br />

อำหำรสัตว์รับซื้อเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.08 บำท เพิ่มขึ้นจำก<br />

กิโลกรัมละ 9.03 บำทของเดือนก่อนร้อยละ 0.55 และ<br />

เพิ่มขึ้นจำกกิโลกรัมละ 8.05 บำท ของเดือนมกรำคม 2553<br />

ร้อยละ 12.80 ส่วนรำคำขำยส่งที่ไซโลรับซื้อเดือนนี้เฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 8.25 บำท ลดลงจำกกิโลกรัมละ 8.33 บำท<br />

ของเดือนก่อนร้อยละ 0.96 แต่เพิ่มขึ้นจำกกิโลกรัมละ 7.36<br />

บำทของเดือนมกรำคม 2553 ร้อยละ 12.09<br />

รำคำส่งออก เอฟ.โอ.บี. เฉลี่ยตันละ 318.60<br />

ดอลลำร์สหรัฐฯ (9,561 บำท/ตัน) เพิ่มขึ้นจำกตันละ<br />

314.00 ดอลลำร์สหรัฐฯ (9,382 บำท/ตัน) ของเดือนก่อน<br />

ร้อยละ 1.46 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบำทตันละ 179 บำท<br />

และเมื่อเทียบกับเดือนมกรำคม 2553 ซึ่งเฉลี่ยตันละ<br />

252.00 ดอลลำร์สหรัฐฯ (8,265 บำท/ตัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ<br />

26.43 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบำทตันละ 1,296 บำท<br />

รำคำซื้อขำยล่วงหน้ำในตลำดชิคำโกเดือนมีนำคม<br />

2554 ข้ำวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 เดือนนี้เฉลี่ย<br />

บุชเชลละ 616.14 เซนต์ (7,382 บำท/ตัน) เทียบกับบุชเชล<br />

ละ 570.00 เซนต์ (6,791 บำท/ตัน) ในเดือนก่อนเพิ่มขึ้น<br />

ร้อยละ 8.09 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบำทตันละ 591 บำท<br />

21<br />

ข้ำวโพดเลี้ยงสัตว์<br />

ประจาเดือนมกราคม 2553


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

บัญชีสมดุลข้าวโพดโลก<br />

(คาดคะเนเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2554)<br />

หน่วย : ล้ำนตัน<br />

รายการ ปี 2554/55 ปี 2553/54 ผลต่างร้อยละ<br />

สต๊อกต้นปี 147.11 147.79 - 0.46<br />

ผลผลิต 816.01 812.14 + 0.48<br />

นำเข้ำ 90.91 93.04 - 2.29<br />

ส่งออก 90.91 93.04 - 2.29<br />

ใช้ในประเทศ 836.12 812.81 + 2.87<br />

สต๊อกปลำยปี 127.00 147.11 - 13.67<br />

ที่มำ : กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ<br />

22


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

การผลิต<br />

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คำดคะเนผลผลิตข้ำว<br />

ฟ่ำงโลก ปี 2554/55 เมื่อวันที่ 14 มกรำคม 2553 ว่ำจะมี<br />

ผลผลิตทั้งหมด 63.46 ล้ำนตัน เพิ่มขึ้นจำก 59.54 ล้ำนตัน<br />

ของปีก่อนร้อยละ 6.58 เนื่องจำก อำร์เจนตินำ ออสเตรเลีย<br />

จีน เอธิโอเปีย สหภำพยุโรป อินเดีย เม็กซิโก ไนจีเรีย และ<br />

ซูดำน ผลิตได้เพิ่มขึ้น<br />

การค้า<br />

ด้ำนต่ำงประเทศ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คำด<br />

คะเนควำมต้องกำรใช้ว่ำมี 63.52 ล้ำนตัน เพิ่มขึ้นจำก 61.72<br />

ล้ำนตัน ของปีก่อนร้อยละ 2.92 เนื่องจำกอำร์เจนตินำ<br />

อินเดีย สหภำพยุโรป และไนจีเรีย มีควำมต้องกำรใช้เพิ่มขึ้น<br />

ข้ำวฟ†ำงเลี้ยงสัตว์<br />

ประจาเดือนมกราคม 2554<br />

โดย นางพัชรา กฤตผล<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจกำรเกษตร<br />

ด้ำนกำรค้ำโลกคำดว่ำจะมี 6.14 ล้ำนตัน ลดลงจำก 6.20<br />

ล้ำนตัน ของปีก่อนร้อยละ 0.97 เนื่องจำกสหรัฐฯ ส่งออก<br />

ลดลงจำกปีก่อนร้อยละ 6.86 และอำร์เจนตินำ ส่งออก<br />

ลดลงด้วย ส่วนประเทศคู ่แข่งที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ ่น และซูดำน<br />

มีกำรนำเข้ำลดลง (ตำรำงแนบท้ำย)<br />

ราคา<br />

รำคำข้ำวฟ่ำงแดงคละที่เกษตรกรขำยได้ เดือน<br />

มกรำคม 2554 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.33 บำท เพิ่มขึ้นจำก<br />

กิโลกรัมละ 6.67 บำท ของเดือนก่อนร้อยละ 9.90 และ<br />

เพิ่มขึ้นจำกกิโลกรัมละ 5.98 บำท ของเดือนมกรำคม 2553<br />

ร้อยละ 22.58<br />

หน่วย : ล้ำนตัน<br />

รายการ ปี 2554/55 ปี 2553/54 ผลต่างร้อยละ<br />

สต๊อกต้นปี 4.15 6.33 - 34.44<br />

ผลผลิต 63.46 59.54 + 6.58<br />

นำเข้ำ 6.14 6.20 - 0.97<br />

ส่งออก 6.14 6.20 - 0.97<br />

ใช้ในประเทศ 63.52 61.72 + 2.92<br />

สต๊อกปลำยปี 4.09 4.15 - 1.45<br />

ที่มำ : กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ<br />

บัญชีสมดุลข้าวฟางโลก<br />

(คาดคะเนเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2554)<br />

23


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ถั่วเขียว<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

โดย น.ส.รุจิรา โพธิวรรณ์<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

การผลิต<br />

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนถั่วเขียว<br />

ปี 2554/55 เมื่อเดือนธันวาคม 2553 ว่ามีพื้นที่เพาะปลูก<br />

0.854 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งมีปริมาณ 0.853 ล้าน<br />

ไร่ ร้อยละ 0.14 สำหรับผลผลิต และผลผลิตต่อไร่คาดว่า<br />

มีประมาณ 0.098 ล้านตัน และ 115 กิโลกรัม เทียบกับปี<br />

2553/54 ซึ่งมี 0.097 ล้านตัน และ 114 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น<br />

ร้อยละ 0.40 และ 0.88 ตามลำดับ<br />

ราคา<br />

ความเคลื่อนไหวของราคาในเดือนมกราคม<br />

2554 มีดังนี้<br />

ราคาที่เกษตรกรขายได้<br />

ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดคละ ในเดือนนี้เฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 31.91 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.29<br />

บาท ในเดือนก่อนร้อยละ 1.98 และเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ<br />

27.15 บาท ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 17.53<br />

ถั่วเขียวผิวดำชนิดคละ ในเดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัม<br />

ละ 26.35 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.60 บาท ในเดือน<br />

ก่อนร้อยละ 0.94 และลดลงจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท<br />

ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 12.17<br />

ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ<br />

ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่ชนิดดี ในเดือนนี้ราคา<br />

เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.00<br />

บาท ในเดือนก่อนร้อยละ 10.00 และลดลงจากกิโลกรัมละ<br />

38.00 บาท ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.26<br />

ถั่วเขียวผิวดำชนิดคละ ในเดือนนี้ราคาเฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 32.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท<br />

ในเดือนก่อนร้อยละ 8.57 และลดลงจากกิโลกรัมละ 34.00<br />

บาท ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.88<br />

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี.<br />

ถั่วเขียวผิวมันชั้นหนึ่ง ในเดือนนี้ราคาเฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 36.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท<br />

ของเดือนก่อนคิดเป็นร้อยละ 9.90 และลดลงจากกิโลกรัม<br />

ละ 39.03 บาท ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.35<br />

24


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

กราฟรายเดือนถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ<br />

รายการ ม.ค. 53 ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. 54<br />

ราคาเกษตรกร 27.15 30.37 36.38 40.74 - 22.33 23.75 41.10 27.71 38.00 33.95 31.29 31.91<br />

ราคาขายส่ง 38.00 38.95 38.33 45.00 51.60 60.00 50.00 48.00 48.00 45.00 35.80 40.00 36.00<br />

ราคา F.O.B. 39.03 39.93 39.30 46.02 51.05 60.63 51.04 49.10 49.02 46.09 36.78 41.00 36.94<br />

ราคาถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ<br />

25


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

พืชน้ำมัน<br />

ถั่วเหลือง<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

โดย นายอวยพร เพชรหลายสี<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

การผลิต<br />

เนื้อที่เพาะปลูกถั่วเหลืองปี 2553/54 มีประมาณ 686,332 ไร่ ลดลงจาก 687,747 ไร่ ของปีที่ผ่านมาร้อยละ<br />

0.21 โดยผลผลิตรวมทั้งหมดประมาณ 177,222 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 176,152 ตันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.61 และผลผลิต<br />

เฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นเป็น 258 กิโลกรัม จาก 256 กิโลกรัม ของปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.78<br />

เร่งผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลืองคุณภาพดี<br />

นายวินัย กสิรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายสนับสนุน<br />

การกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวและถั่วเหลืองคุณภาพดีให้เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกรอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ได้มอบ<br />

หมายกรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการโดยรัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายทางการตลาดในการผลิต และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์<br />

ข้าว 20,000 ตัน เมล็ดพันธุ ์ถั่วเหลือง 1,000 ตัน อัตรากิโลกรัมละ 3 บาท ให้แก่สหกรณ์ผู ้ผลิตเมล็ดพันธุ ์ที่เข้าร่วมโครงการ<br />

จำนวน 69 สหกรณ์ ในพื้นที่เป้าหมาย 39 จังหวัด แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศเร่งดำเนินการผลิตและ<br />

กระจายเมล็ดพันธุ ์ข้าวและถั่วเหลืองอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการใช้เมล็ดพันธุ ์ข้าวของเกษตรกร<br />

ทั่วประเทศ ซึ่งมีปริมาณเฉลี่ย 6 แสนตันต่อปี โดยหน่วยงานราชการผลิตได้เพียง 1 แสนตันต่อปี ศูนย์ข้าวชุมชน 43,850<br />

ตัน ภาคเอกชน 1 แสนตันต่อปี และสหกรณ์ผลิตได้ 4 หมื่นตันต่อปี ประกอบกับปีนี้ เกษตรกรประสบปัญหาอุทกภัย<br />

จำนวนมาก ส่งผลให้ความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา<br />

ด้านต่างประเทศ<br />

การผลิต<br />

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประมาณการผลผลิตถั่วเหลืองโลกปี 2553/54 ประจำเดือนมกราคม 2554 มีประมาณ<br />

255.53 ล้านตัน ลดลงจาก 260.09 ล้านตัน ของปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.75<br />

26


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ผลผลิตถั่วเหลืองของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ<br />

หน่วย : ล้านตัน<br />

ประเทศ 2553/54 2552/53<br />

สหรัฐอเมริกา 90.61 91.42<br />

บราซิล 67.50 69.00<br />

อาร์เจนตินา 50.50 54.50<br />

จีน 14.40 14.70<br />

อินเดีย 9.60 9.00<br />

ปารากวัย 7.00 7.20<br />

แคนาดำ 4.35 3.51<br />

อื่นๆ 11.58 10.77<br />

รวม 255.53 260.09<br />

ที่มา : Oilseeds : World Markets and Trade: January 2011<br />

ผลผลิตถั่วเหลืองบราซิลล่าสุดอยู่ในเกณฑ์ดี<br />

สำนักงานใหญ่ของวารสารพืชน้ำมันโลก<br />

(Oil World) ซึ่งมีที่ตั้ง ณ เมืองฮัมบรูก ประเทศเยอรมนี<br />

เปิดเผยว่า ประเทศผู้ผลิตถั่วเหลืองในอเมริกาใต้ต้องเผชิญ<br />

กับสภาพอากาศที่แห้งแล้ง แต่ในภาพรวมบริเวณพื้นที่เพาะ<br />

ปลูก ถั่วเหลืองบราซิลปี 2554 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยแหล่ง<br />

ข่าวแจ้งว่า ผลผลิตถั่วเหลืองบราซิลปี 2554 ที่พยากรณ์ไว้<br />

เมื่อเดือนธันวาคม 2553 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 67.3 ล้านตัน<br />

เป็น 67.5 ล้านตัน แต่ก็ยังต่ำกว่าของภาครัฐที่ประมาณการ<br />

ไว้เมื่อต้นเดือนมกราคม 2554 อยู ่ที่ 68.55 ล้านตัน เทียบกับ<br />

ผลผลิตจริงของปีที่ผ่านมาอยู ่ที่68.7 ล้านตัน ขณะนี้เกษตรกร<br />

บราซิลได้เริ่มเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง โดยปรากฏการณ์เอลณิโญ<br />

ทำให้เกิดความร้อนและแห้งแล้ง และส่งผลต่อการปรับ<br />

สูงขึ้นของราคาถั่วเหลืองโลก แหล่งข่าวดังกล่าวให้ข้อมูล<br />

เพิ่มเติมอีกว่า พื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองบราซิลปีนี้คาดว่า<br />

24 ล้านเฮคตาร์ เพิ่มขึ้น 5 แสนเฮกตาร์ เมื่อเทียบกับปี<br />

ที่ผ่านมา<br />

ราคา<br />

ราคาที่เกษตรกรขายได้ของถั่วเหลืองชนิดคละ<br />

ในเดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.35 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ<br />

14.68 บาท ในเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 2.25 และลดลงจาก<br />

กิโลกรัมละ 15.00 บาท ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา<br />

ร้อยละ 4.33<br />

27<br />

ราคาขายส่ง ณ ตลาดกรุงเทพฯ ของถั่วเหลือง<br />

สกัดน้ำมันเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับ<br />

เดือนที่ผ่านมา และสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.23 บาท ใน<br />

เดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.12<br />

ราคาขายส่ง ณ ตลาดกรุงเทพฯ ของกากถั่วเหลือง<br />

ในเดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.40 บาท ทรงตัวเท่ากับเดือน<br />

ที่ผ่านมา แต่ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.49 บาท ในเดือน<br />

เดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 11.95<br />

ราคาถั่วเหลืองซื้อขายล่วงหน้า ณ ตลาดชิคาโก<br />

เฉลี่ยบุชเชลละ 1,379.32 เซนต์ (15.44 บาท/กก.) สูงขึ้นจาก<br />

บุชเชลละ 1,290.66 เซนต์ (14.33 บาท/กก.) ในเดือนที่<br />

ผ่านมาร้อยละ 6.87 และสูงขึ้นจากบุชเชลละ 975.68 เซนต์<br />

(11.89 บาท/กก.) ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา<br />

ร้อยละ 41.37<br />

สำหรับราคากากถั่วเหลืองซื้อขายล่วงหน้า ณ<br />

ตลาดชิคาโก เฉลี่ยตันละ 368.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.23<br />

บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 343.99 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.40<br />

บาท/กก.) ในเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 7.07 และสูงขึ้นจาก<br />

ตันละ 295.15 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.79 บาท/กก.) ในเดือน<br />

เดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 24.78


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ถั่วลิสง<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

โดย น.ส.ยุพวรรณ ปานปวง<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

ในประเทศ<br />

การผลิต<br />

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดคะเนถั่วลิสง<br />

ปี 2553 เมื่อเดือนธันวาคม 2553 ว่ามีพื้นที่เพาะปลูก<br />

183,845 ไร่ และผลผลิต 45,509 ตัน ลดลงจากปีก่อนซึ่ง<br />

มีพื้นที่เพาะปลูก 185,402 ไร่ และผลผลิต 45,686 ตัน<br />

ลดลงร้อยละ 0.84 และ 0.39 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูก<br />

ถั่วลิสงลดลงจากปีที่แล้ว เนื่องจากถั่วลิสงที่เคยปลูกในที่นา<br />

และปลูกแซมพืชอื่นในแหล่งผลิตใหญ่ลดลง เกษตรกรปรับ<br />

เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น ข้าวโพด<br />

เลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และพืชผัก ประกอบ<br />

กับเมล็ดพันธุ ์หายากและมีราคาแพง แต่เนื่องจากเกษตรกร<br />

ดูแลรักษาดีส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ซึ่งมีปริมาณ 248 กิโลกรัม<br />

สูงขึ้นจาก 246 กิโลกรัม ในปีก่อนร้อยละ 0.81<br />

ความเคลื่อนไหวของราคาในเดือนธันวาคม<br />

2553 มีดังนี้<br />

ราคาที่เกษตรกรขายได้<br />

ถั่วลิสงทั้งเปลือกสดคละ เดือนนี้ไม่มีรายงานราคา<br />

ถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้งคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ<br />

20.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.27 บาท ในเดือนก่อน<br />

คิดเป็นร้อยละ 0.10 และสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.30 บาท<br />

ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 10.87<br />

ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ<br />

ถั่วลิสงกะเทาะเปลือกคัดชนิดดี ราคาเฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 52.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.88 บาท<br />

ในเดือนก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.49 แต่สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ<br />

39.36 บาท ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ<br />

32.11<br />

ถั่วลิสงกะเทาะเปลือกคัดชนิดรอง ราคาเฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 46.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.13 บาท<br />

ในเดือนก่อนคิดเป็นร้อยละ 5.35 แต่สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ<br />

35.00 บาท ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ<br />

32.86<br />

ต่างประเทศ<br />

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานภาวะการผลิต<br />

ถั่วลิสงโลก ปี 2553/54 ประจำเดือนมกราคม 2554 ว่ามี<br />

ผลผลิต 34.14 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 7.75 ของผลผลิตพืช<br />

น้ำมันของโลกรองจากถั่วเหลือง เรปซีด และเมล็ดฝ้าย ซึ่ง<br />

มีปริมาณ 255.53, 58.32 และ 43.55 ล้านตัน ตามลำดับ<br />

ผลผลิตถั่วลิสงสูงขึ้นจาก 32.98 ล้านตัน ของปี 2552/53<br />

คิดเป็นร้อยละ 3.52<br />

28


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ผลผลิตและการกระจายผลผลิตถั่วลิสงโลก<br />

หน่วย : ล้านตัน<br />

รายการ 2553/54 2552/53 ผลต่างร้อยละ<br />

ผลผลิต 34.14 32.98 3.52<br />

นำเข้า 1.84 1.85 - 0.54<br />

ส่งออก 2.22 2.16 2.78<br />

สกัดน้ำมัน 15.12 14.39 5.07<br />

สต๊อกสิ้นปี 1.13 1.24 - 8.87<br />

ที่มา : Oilseeds : World Market and Trade, January, 2011.<br />

ผลผลิตถั่วลิสงของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ<br />

หน่วย : ล้านตัน<br />

ประเทศ 2553/54 2552/53 ผลต่างร้อยละ<br />

สาธารณรัฐประชาชนจีน 14.60 14.71 - 0.75<br />

อินเดีย 6.00 4.90 22.45<br />

อื่นๆ 13.54 13.37 1.27<br />

รวม 34.14 32.98 3.52<br />

ที่มา : Oilseeds : World Market and Trade, January, 2011.<br />

29


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ปาล์มน้ำมัน<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

โดย น.ส.ศิริวรรณ ประเศรษฐานนท์<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

การผลิต<br />

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรประมาณการ<br />

ผลผลิตปาล์มน้ำมันในปี 2554 ในเบื้องต้น คาดว่าจะมี<br />

ประมาณ 9.709 ล้านตัน โดยในช่วงมกราคม - กุมภาพันธ์<br />

2554 คาดว่า ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันจะออกสู่ตลาด<br />

น้อยกว่าทุกเดือนและผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดมากใน<br />

ช่วงเดือนมีนาคม 2554 เป็นต้นไป ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหา<br />

การขาดแคลนผลปาล์มและน้ำมันปาล์มดิบ คณะกรรมการ<br />

นโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี<br />

(นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) เป็นประธาน ได้มีมติเมื่อวันที่ 6<br />

มกราคม 2554 ดังนี้<br />

1. ให้ความเห็นชอบนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบแยก<br />

ไข (Crude Palm Olin) ปริมาณ 30,000 ตัน โดยนำเข้า<br />

ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 มกราคม 2554<br />

2. ให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้าและจัดสรร<br />

ให้สมาชิกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม<br />

คณะกรรมการน้ำมันปาล์มมาเลเซีย รายงานว่า<br />

ผลผลิตน้ำมันปาล์มในเดือนมกราคม 2554 คาดว่า จะมี<br />

ประมาณ 1.05 ล้านตัน ลดลงจาก 1.23 ล้านตัน ในเดือน<br />

ธันวาคม 2553 คิดเป็นร้อยละ 15 เนื่องจากสภาพอากาศ<br />

แปรปรวน<br />

การตลาด<br />

คณะกรรมการน้ำมันปาล์มมาเลเซีย รายงานการ<br />

ส่งออกน้ำมันปาล์มดิบในปี 2553 มีประมาณ 16.65 ล้าน<br />

ตัน เพิ่มขึ้นจาก 15.87 ล้านตัน ของปี 2552 ร้อยละ 4.91<br />

โดยส่งออกไปจีนมากที่สุดปริมาณ 3.48 ล้านตัน รองลงมา<br />

ได้แก่ ปากีสถาน 2.13 ล้านตัน สหภาพยุโรป 2.06 ล้านตัน<br />

และอินเดีย 1.17 ล้านตัน ตามลำดับ<br />

สำหรับในช่วงวันที่ 1 - 20 มกราคม 2554 มีการ<br />

ส่งออกประมาณ 0.853 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน<br />

30<br />

ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 9.70 เนื่องจากความต้องการ<br />

ในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจีนต้องการนำเข้า เพื่อเพิ่ม<br />

ระดับสต๊อกน้ำมันพืชบริโภคในประเทศ สำหรับใช้ในช่วง<br />

เทศกาลตรุษจีนต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ รวมทั้งการสั่งซื้อ<br />

น้ำมันปาล์มดิบจากไทยประมาณ 30,000 ตัน จึงคาดว่า<br />

สต๊อกคงเหลือ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2554 จะมีประมาณ<br />

1.48 ล้านตัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2553 คิดเป็น<br />

ร้อยละ 8<br />

ราคา<br />

ราคาผลปาล์มทั้งทะลายที่เกษตรกรขายได้เดือนนี้<br />

เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.68 บาท<br />

ในเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 11.23 และสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ<br />

3.88 บาท ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 91.49<br />

ราคาขายส่งน้ำมันปาล์มดิบ ณ ตลาดกรุงเทพฯ<br />

เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.13<br />

บาท ในเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 22.19 และสูงขึ้นจากกิโลกรัม<br />

ละ 26.36 บาท ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ<br />

95.30<br />

ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้า ณ ตลาด<br />

รอตเตอร์ดัม เฉลี่ยตันละ 1,282.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39.06<br />

บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,218.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ<br />

(36.83 บาท/กก.) ในเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 5.20 และสูง<br />

ขึ้นจากตันละ 785.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26.05 บาท/กก.)<br />

ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 63.22<br />

ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้า ณ ตลาด<br />

มาเลเซียเฉลี่ยตันละ 3,793.12 ริงกิต (37.98 บาท/กก.) สูง<br />

ขึ้นจากตันละ 3,628.91 ริงกิต (35.22 บาท/กก.) ในเดือนที่<br />

ผ่านมาร้อยละ 4.53 และสูงขึ้นจากตันละ 2,502.82 ริงกิต<br />

(25.32 บาท/กก.) ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ<br />

51.55


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

โดย น.ส.ยุพวรรณ ปานปวง<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

ในประเทศ<br />

ราคา<br />

ราคาฝ้ายดอกทั้งเมล็ดชนิดคละที่เกษตรกรขายได้เดือนนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ<br />

23.42 บาท ในเดือนก่อนร้อยละ 6.75<br />

ต่างประเทศ<br />

การผลิตและการค้าฝ้ายโลก<br />

บัญชีสมดุลฝ้ายโลกปี 2553/54 ประจำเดือนมกราคม 2553 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า ผลผลิต<br />

ฝ้ายโลกจะมี 25.138 ล้านตัน (115.455 ล้านเบลล์) เพิ่มขึ้นจาก 22.109 ล้านตัน (101.544 ล้านเบลล์) ของปี 2552/53<br />

ร้อยละ 13.70 ใช้ในประเทศจะมี 25.382 ล้านตัน (116.579 ล้านเบลล์) การนำเข้า 8.344 ล้านตัน (38.323 ล้านเบลล์)<br />

การส่งออก 8.349 ล้านตัน (38.345 ล้านเบลล์) และสต๊อกปลายปีคงเหลือ 9.326 ล้านตัน (42.835 ล้านเบลล์) ลดลง<br />

จาก 9.448 ล้านตัน (43.393 ล้านเบลล์) ของปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.24<br />

บัญชีสมดุลฝ้ายโลก<br />

(ประมาณการ ณ เดือนมกราคม 2554)<br />

หน่วย : ล้านตัน<br />

รายการ ปี 2553/54 ปี 2552/53 ผลต่างร้อยละ<br />

สต๊อกต้นปี 9.448 13.177 - 28.30<br />

ผลผลิต 25.138 22.109 13.70<br />

นำเข้า 8.344 7.811 6.82<br />

ใช้ในประเทศ 25.382 25.805 - 1.64<br />

ส่งออก 8.349 7.751 7.72<br />

สต๊อกปลายปี 9.326 9.546 - 2.30<br />

ที่มา : Cotton World markets and trade, USDA ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

ความเคลื่อนไหวของราคาฝ้ายในตลาดโลก ประจำเดือนสรุปได้ดังนี้<br />

ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)<br />

ราคาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2553 ทำสัญญาเดือนนี้เฉลี่ยปอนด์ละ 144.04 เซนต์ หรือ<br />

กิโลกรัมละ 96.63 บาท สูงขึ้นจากปอนด์ละ 142.51 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 95.07 บาท ในเดือนก่อนร้อยละ 1.07 และ<br />

สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.56 บาท และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีราคาเฉลี่ยปอนด์ละ<br />

72.19 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 52.87 บาท สูงขึ้นร้อยละ 99.53 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 43.76 บาท<br />

31<br />

พืชเส้นใย<br />

ฝ้าย<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

พืชอื่นๆ<br />

อ้อยโรงงานและน้ำตาล<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

โดย นายกนก เทียนทรัพย์<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

ในประเทศ<br />

รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาล<br />

ทั่วประเทศ<br />

ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อย<br />

และน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิต<br />

น้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2553 จนถึงวันที่<br />

19 มกราคม 2554 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไป<br />

แล้วจำนวน 27.87 ล้านตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 2.59 ล้าน<br />

ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 1.74 ล้านตัน และน้ำตาลทราย<br />

ขาว 0.85 ล้านตัน ความหวานของอ้อยเฉลี่ย 10.99 ซี.ซี.เอส.<br />

ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 93.01 กก.ต่อตันอ้อย<br />

ต่างประเทศ<br />

อินเดียประกาศลดภาษีนำเข้า<br />

อินเดีย มีรายงานว่าจะลดภาษีนำเข้านํ้าตาลทราย<br />

ลงประมาณ 60% โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม<br />

2554 เป็นต้นไป โดยทางรัฐบาลอินเดียยังคงปริมาณส่งออก<br />

นํ้าตาลจำนวน 500,000 ตัน ตามเดิม โดยนํ้าตาลจำนวนนี้<br />

จะสามารถส่งออกได้หลังจากวันที่ 30 มกราคม 2554 และ<br />

คาดว่าฤดูการผลิตนี้อินเดียจะสามารถผลิตนํ้าตาลได้ประมาณ<br />

24.0 - 24.5 ล้านตัน<br />

รายงานการผลิตน้ำตาลทางภาคกลาง-ใต้ของ<br />

บราซิล<br />

Unica รายงานว่าในปีการผลิต 2553/54 ทางภาค<br />

กลาง-ใต้ของบราซิลตั้งแต่เปิดฤดูการผลิตในเดือนเมษายน<br />

จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 สามารถผลิตนํ้าตาลได้ 33.46<br />

ล้านตัน จาก 28.30 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.23 ที่ผลิต<br />

ได้ในช่วงเดียวกันของปีก่อน<br />

ราคาน้ำตาลทรายดิบ<br />

ราคาซื้อขายน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์กซื้อขาย<br />

ทันที (SUGAR SPOT PRICE) เฉลี่ยเดือนนี้ 35.66 เซนต์/<br />

ปอนด์ (กิโลกรัมละ 23.67 บาท) สูงขึ้นจาก 35.41 เซนต์/<br />

ปอนด์ (กิโลกรัมละ 23.28 บาท) ของเดือนก่อนหรือสูงขึ้น<br />

คิดเป็นร้อยละ 0.71<br />

32


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ในประเทศ<br />

ราคายางพาราสูงสุดในรอบ 100 ปี เนื่องจากมี<br />

ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยจากภาวะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในแหล่ง<br />

ผลิตและการชะลอการขายของเกษตรกร ขณะที่พ่อค้ายาง<br />

เร่งรีบซื้อยางเพื่อรอส่งมอบตามสัญญาซื้อขาย และผู ้ประกอบ<br />

การในประเทศเร่งซื้อยางเพื่อรอการผลิตหลังจากปิดโรงงาน<br />

ในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ประกอบกับราคาน้ำมันโลกมี<br />

แนวโน้มสูงขึ้นและนักลงทุนหันมาเก็งกำไรในตลาดซื้อขาย<br />

ล่วงหน้าเพิ่มขึ้น<br />

ต่างประเทศ<br />

ราคายางส่งออกของเวียดนามซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิต<br />

ยางเป็นอันดับที่สี่ของโลกรองจากประเทศไทย อินโดนีเซีย<br />

และมาเลเซีย ได้ทำลายสถิติโดยราคาสูงถึง 5,000 เหรียญ<br />

สหรัฐฯ ต่อตัน หรือ 5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม โดย<br />

Le Quang Thung ผู้บริหารของ Vietnam Rubber Group<br />

ได้คาดการณ์ว่า ราคาส่งออกจะยังคงอยู่ที่ระดับนี้ต่อไปจน<br />

ถึงกลางปีหน้า นอกจากนี้ Vietnam Rubber Association<br />

ได้เปิดเผยสถิติการส่งออกยางธรรมชาติของเวียดนาม ปี 2553<br />

ซึ่งคาดว่าจะอยู ่ที่ 783,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบ<br />

กับปีที่ผ่านมา เป็นมูลค่าสูงถึง 2.38 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ<br />

เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ทำรายได้เพียง 1.23 พันล้านเหรียญ<br />

สหรัฐฯ เท่านั้น โดยจีนจะเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดรองลง<br />

มาได้แก่ มาเลเซีย ไต้หวัน เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา<br />

33<br />

ยางพารา<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

โดย นางประนาถ พิพิธกุล, นางสาวเจนตา ชมธรณินทร์<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

ราคายางพารา<br />

สำหรับความเคลื่อนไหวของราคายางเดือน<br />

มกราคม 2554<br />

1. ราคาที่เกษตรกรขายได้<br />

1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 เฉลี่ยกิโลกรัมละ<br />

139.94 บาท สูงขึ้นจาก 121.98 บาท ของเดือนก่อนกิโลกรัมละ<br />

17.02 บาท หรือร้อยละ 13.95<br />

2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 เฉลี่ยกิโลกรัมละ<br />

139.44 บาท สูงขึ้นจาก 121.48 บาท ของเดือนก่อนกิโลกรัมละ<br />

17.96 บาท หรือร้อยละ 14.78<br />

3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ<br />

138.94 บาท สูงขึ้นจาก 120.98 บาท ของเดือนก่อนกิโลกรัมละ<br />

17.96 บาท หรือร้อยละ 14.85<br />

4) ยางก้อนคละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.03 บาท<br />

สูงขึ้นจาก 64.02 บาท ของเดือนก่อนกิโลกรัมละ 7.01 บาท<br />

หรือร้อยละ 10.95<br />

5) เศษยางคละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.76 บาท<br />

สูงขึ้นจาก 60.67 บาท ของเดือนก่อนกิโลกรัมละ 7.09 บาท<br />

หรือร้อยละ 11.69<br />

6) น้ำยางสดคละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.77 บาท<br />

สูงขึ้นจาก 119.42 บาท ของเดือนก่อนกิโลกรัมละ 11.35 บาท<br />

หรือร้อยละ 9.50


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ในเดือนนี้ไม่มีรายงานราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4,<br />

ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และยางแผ่นดิบคละ<br />

ราคาซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์<br />

2554<br />

ยางแผ่นรมควันชั้นที่ 3<br />

ตลาดสิงคโปร์เสนอซื้อล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ<br />

540.79 เซนต์สหรัฐฯ (163.43 บาท) สูงขึ้นจาก 460.18<br />

เซนต์สหรัฐฯ (137.26 บาท) ของเดือนก่อนกิโลกรัมละ 80.61<br />

เซนต์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 17.52<br />

ตลาดโตเกียวเสนอซื้อล่วงหน้าเฉลี่ยกิโลกรัมละ<br />

442.28 เยน (160.61 บาท) สูงขึ้นจาก 375.78 เยน (133.42<br />

บาท) ของเดือนก่อนกิโลกรัมละ 66.50 เยน หรือร้อยละ<br />

17.69<br />

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ซื้อขาย<br />

เฉลี่ยกิโลกรัมละ 162.88 บาท/กิโลกรัม สูงขึ้นจาก 135.87<br />

บาท/กิโลกรัม ของเดือนก่อนกิโลกรัมละ 27.01 บาท หรือ<br />

ร้อยละ 19.88<br />

2. ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบ<br />

เดือนกุมภาพันธ์ 2554<br />

ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ<br />

1) ยางแผ่นรมควันคุณภาพชั้นที่ 1 เฉลี่ยกิโลกรัม<br />

ละ 165.95 บาท สูงขึ้นจาก 139.89 บาท ของเดือนก่อน<br />

กิโลกรัมละ 26.06 บาท หรือร้อยละ 18.63<br />

2) ยางแผ่นรมควันคุณภาพชั้นที่ 3 เฉลี่ยกิโลกรัม<br />

ละ 164.80 บาท สูงขึ้นจาก 138.74 บาท ของเดือนก่อน<br />

กิโลกรัมละ 26.06 บาท หรือร้อยละ 18.78<br />

3) น้ำยางข้น เฉลี่ยกิโลกรัมละ 99.18 บาท สูง<br />

ขึ้นจาก 91.24 บาท ของเดือนก่อนกิโลกรัมละ 7.94 บาท<br />

หรือร้อยละ 8.70<br />

ณ ท่าเรือสงขลา<br />

1) ยางแผ่นรมควันคุณภาพชั้นที่ 1 เฉลี่ยกิโลกรัม<br />

ละ 165.70 บาท สูงขึ้นจาก 139.64 บาท ของเดือนก่อน<br />

กิโลกรัมละ 26.06 บาท หรือร้อยละ 18.66<br />

2) ยางแผ่นรมควันคุณภาพชั้นที่ 3 เฉลี่ยกิโลกรัม<br />

ละ 164.55 บาท สูงขึ้นจาก 138.49 บาท ของเดือนก่อน<br />

กิโลกรัมละ 26.06 บาท หรือร้อยละ 18.82<br />

3) น้ำยางข้น เฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.93 บาท สูง<br />

ขึ้นจาก 90.99 บาท ของเดือนก่อนกิโลกรัมละ 7.94 บาท<br />

หรือร้อยละ 8.73<br />

34


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ในประเทศ<br />

การผลิต<br />

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้พยากรณ์การ<br />

ผลิตกาแฟปี 2554 โดยมีพื้นที่ให้ผล 351,322 ไร่ ลดลงจาก<br />

ปีที่แล้ว 8,167 ไร่ หรือลดลงร้อยละ 2.27 ผลผลิตทั้งหมด<br />

45,137 ตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 3,818 ตัน หรือร้อยละ<br />

7.80 ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 128 กิโลกรัม ลดลงจากปีที่แล้ว 8<br />

กิโลกรัม หรือร้อยละ 5.88<br />

สำหรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีนี้ ได้เริ่มเก็บเกี่ยว<br />

ไปแล้วร้อยละ 30 - 40 และจะเก็บได้มากประมาณปลาย<br />

เดือนธันวาคม - มกราคม 2554 และประมาณปลายเดือน<br />

มกราคม คาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้หมด<br />

การค้า<br />

ไทยส่งออกเมล็ดกาแฟในช่วง 10 เดือนแรก<br />

(ม.ค. - ต.ค.) ของปี 2553 ปริมาณ 427.60 ตัน มูลค่า 62.29<br />

ล้านบาท สูงขึ้นจาก 283.03 ตัน มูลค่า 43.14 ล้านบาท<br />

จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 51 และ<br />

ร้อยละ 44 ตามลำดับ สำหรับกาแฟสำเร็จรูปมีการส่งออก<br />

6,313.23 ตัน มูลค่า 888.22 ล้านบาท สูงขึ้นจากปริมาณ<br />

3,478.30 ตัน มูลค่า 814.45 ล้านบาท จากช่วงเดียวกัน<br />

ของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 82 และร้อยละ 9 ตามลำดับ<br />

และไทยนำเข้าเมล็ดกาแฟปริมาณ 13,732.73 ตัน<br />

มูลค่า 790.64 ล้านบาท สูงขึ้นจากปริมาณ 5,926.91 ตัน<br />

แต่สูงขึ้นจากมูลค่า 347.15 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของ<br />

ปีที่ผ่านมาคิดเป็น 2.32 เท่า และ 2.28 เท่า ตามลำดับ<br />

สำหรับกาแฟสำเร็จรูปมีการนำเข้าปริมาณ 2,505.82 ตัน<br />

มูลค่า 618.82 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 1,782.32 ตัน มูลค่า<br />

419.54 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็น<br />

ร้อยละ 41 และ 48 ตามลำดับ<br />

กาแฟ<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

โดย นางทัศนีย์ ลักษณะ, นางสาววิชชุพร สุขเจริญ<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

ต่างประเทศ<br />

สมาคมกาแฟและโกโก้เวียดนาม คาดคะเน<br />

ผลผลิตกาแฟของเวียดนามปี 2553/54 นี้ว่าจะลดลงร้อยละ<br />

3 เหลือประมาณ 1.10 ล้านตัน จากที่เคยประมาณไว้ที่<br />

1.2 ล้านตัน โดยผลผลิตกาแฟเวียดนามในปีนี้จะออกสู่<br />

ตลาดล่าช้ากว่าปกติ เนื่องจากในช่วงนี้มีฝนตกเกือบทุกวัน<br />

ในจังหวัด DakLak แหล่งปลูกกาแฟที่สำคัญของเวียดนาม<br />

ซึ่งมีพื้นที่ปลูกกาแฟประมาณ 1.13 ล้านไร่ คาดว่าจะมี<br />

ผลผลิตในปีนี้ประมาณ 400,000 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ<br />

ร้อยละ 5.3<br />

เวียดนาม<br />

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนามรายงาน การ<br />

ส่งออกกาแฟของเวียดนามในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2553<br />

มีปริมาณ 1.05 ล้านตัน สูงขึ้น 1.5% จากช่วงเดียวกันของ<br />

ปีที่ผ่านมา และพยากรณ์ว่าปริมาณการส่งออกกาแฟของ<br />

เวียดนามนี้อาจจะสูงถึง 1.15 ล้านตัน<br />

สำหรับในเดือนพฤศจิกายน 2553 เวียดนามส่ง<br />

ออกกาแฟทั้งหมด 80,000<br />

35


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

อันดับ ประเทศ 2549 2550 2551 2552 2553 2554<br />

1 บรำซิล 2.17 2.80 2.35 3.20 2.69 3.32<br />

2 เวียดนำม 0.98 1.17 1.08 1.08 1.05 1.12<br />

3 โคลัมเบีย 0.72 0.73 0.75 0.52 0.49 0.54<br />

4 อินโดนีเซีย 0.57 0.45 0.44 0.56 0.55 0.58<br />

5 เอธิโอเปีย 0.24 0.24 0.23 0.22 0.25 0.25<br />

6 อินเดีย 0.28 0.28 0.28 0.26 0.29 0.28<br />

7 เม็กซิโก 0.25 0.26 0.26 0.28 0.26 0.28<br />

8 กัวเตมำลำ 0.22 0.24 0.25 0.24 0.25 0.24<br />

9 ฮอนดูรัส 0.19 0.21 0.22 0.21 0.22 0.23<br />

10 เปรู 0.15 0.26 0.17 0.24 0.20 0.24<br />

ไทย 0.06 0.05 0.05 0.05 0.05 0.05<br />

อื่นๆ 1.18 1.2 1.22 1.25 1.23 0.25<br />

โลก 7.01 7.89 7.30 8.11 7.53 8.38<br />

ที่มำ : USDA (มิถุนำยน 2553)<br />

ผลผลิตกาแฟโลก ปี 2549 - 2554<br />

หน่วย : ล้ำนตัน<br />

ราคา<br />

ในประเทศ<br />

รำคำเมล็ดกำแฟดิบที่เกษตรกรขำยได้ในเดือนมกรำคม 2554 เฉลี่ย 61.84 บำท/กิโลกรัม สูงขึ้นจำก 60.33<br />

บำท/กิโลกรัม ของเดือนที่ผ่ำนมำร้อยละ 1.91<br />

ราคาในตลาดต่างประเทศประจาเดือนมกราคม 2554 มีดังนี้<br />

รำคำเมล็ดกำแฟดิบอำรำบิก้ำ ตลำดนิวยอร์กซื้อขำยทันทีเฉลี่ย 261.88 เซนต์/ปอนด์ (173.20 บำท/กิโลกรัม)<br />

สูงขึ้นจำก 233.94 เซนต์/ปอนด์ (154.72 บำท/กิโลกรัม) ของเดือนก่อนร้อยละ 11.94<br />

รำคำเมล็ดกำแฟดิบโรบัสตำ ตลำดนิวยอร์กซื้อขำยทันทีเฉลี่ย 106.50 เซนต์/ปอนด์ (70.21 บำท/กิโลกรัม)<br />

ลดลงจำก 97.00 เซนต์/ปอนด์ (64.15 บำท/กิโลกรัม) ของเดือนก่อนร้อยละ 9.79<br />

36


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

การผลิต<br />

ผลผลิตพริกไทยปี 2554 เริ่มเก็บเกี่ยวไปแล้ว<br />

ประมาณร้อยละ 20 ของผลผลิตทั้งหมด อีกร้อยละ 80<br />

เกษตรกรกำลังทยอยเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาด เนื่องจากปีที่<br />

ผ่านมาสภาพอากาศแปรปรวน อากาศสลับร้อน สลับหนาว<br />

ส่งผลให้ผลผลิตแก่ช้า และทำให้ช่วงการเก็บเกี่ยวช้าลง<br />

คาดว่าผลผลิตโดยรวมจะทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับปี<br />

ที่ผ่านมา<br />

การตลาด<br />

ภาวะการซื้อขายพริกไทยยังค่อนข้างดี เนื่องจาก<br />

มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง สำหรับราคาพริกไทยแห้ง<br />

ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากจากผลผลิตฤดูกาลใหม่<br />

เพิ่งจะเริ่มทยอยเก็บเกี่ยว ส่วนพริกไทยอ่อนราคาสูงขึ้นจาก<br />

กิโลกรัมละ 30 บาท เป็นกิโลกรัมละ 45 บาท<br />

สำหรับ ในปี 2553 (ม.ค. - ต.ค.) ไทยส่งออกพริก<br />

ไทย ปริมาณ 4,394 ตัน มูลค่า 111.34 ล้านบาท จำแนก<br />

เป็นพริกไทยประเภทไม่บดหรือป่น (เม็ด) ปริมาณ 176 ตัน<br />

มูลค่า 18.77 ล้านบาท และพริกไทยประเภทบดหรือป่น<br />

ปริมาณ 3,796 ตัน มูลค่า 92.66 ล้านบาท<br />

ราคาในประเทศ<br />

ความเคลื่อนไหวของราคาพริกไทย ประจำเดือน<br />

ธันวาคม มีดังนี้<br />

1. ราคาเกษตรกรขายได้<br />

ราคาเกษตรกรขายได้พริกไทยขาว-ดี ปี 2553<br />

เฉลี่ยกิโลกรัมละ 172 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ<br />

50.87 ส่วนพริกไทยดำ-คละ มีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 122<br />

บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 45.24<br />

พริกไทย<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

โดย น.ส.ภีสพรรณ เลาสุทแสน<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

สำหรับเดือนธันวาคม 2553 พริกไทยขาว-ดี<br />

กิโลกรัมละ 228 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ<br />

0.88 สำหรับพริกไทยดำ-คละ กิโลกรัมละ 165 บาท ลดลง<br />

จากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 2.36 โดยรวมแล้วราคาสูงขึ้น<br />

กว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน<br />

2. ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ<br />

ราคาขายส่งพริกไทยขาว-ดี ปี 2553 เฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 192.33 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ<br />

28.31 ราคาต่ำสุด-สูงสุด คือ 155 - 250 บาท/กิโลกรัม<br />

พริกไทยดำ-ดี มีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 138.28 บาท เพิ่ม<br />

ขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 32.60 ราคาต่ำสุด-สูงสุด คือ<br />

105 - 175 บาท/กิโลกรัม ส่วนพริกไทยดำ-รอง มีราคาเฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 121.41 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 34<br />

ราคาต่ำสุด-สูงสุด คือ 95 - 155 บาท/กิโลกรัม<br />

สำหรับในเดือนธันวาคม 2553 ราคาขายส่งพริก<br />

ไทยขาว-ดี มีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 245 บาท เพิ่มขึ้นจาก<br />

เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 6.31 ส่วนพริกไทยดำ-ดี มีราคาเฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 172.50 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ<br />

2.98 และพริกไทยดำ-รอง มีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 150 บาท<br />

เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 1.53<br />

37


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

สับปะรด<br />

ประจำเดือนมกราคม 2554<br />

โดย นายประเสริฐศักดิ์ แสงสัทธา<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

การผลิต<br />

ในช่วงเดือนนี้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย แต่เนื่องจากโรงงานแปรรูปหยุดทำการผลิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทำให้<br />

มีผลผลิตมารอขายหน้าโรงงานแปรรูปส่วนหนึ่ง ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง<br />

การค้า<br />

เดือนกันยายน 2553 ส่งออกสับปะรดสดและ<br />

ผลิตภัณฑ์สับปะรด 40,269 ตัน มูลค่า 1,479.97 ล้านบาท<br />

เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 40,031 ตัน มูลค่า 1,408.90 ล้านบาท<br />

ในเดือนสิงหาคม 2553 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.59 และ 5.04<br />

แต่ลดลงจากปริมาณ 45,864 ตัน มูลค่า 1,503.09 ล้านบาท<br />

ในเดือนกันยายน 2552 หรือลดลงร้อยละ 12.20 และ 1.54<br />

สับปะรดกระป๋อง<br />

ส่งออกปริมาณ 27,517 ตัน มูลค่า 857.78<br />

ล้านบาท ลดลงจากปริมาณ 29,515 ตัน มูลค่า 895.72<br />

ล้านบาท ในเดือนสิงหาคม 2553 หรือลดลงร้อยละ 6.77<br />

และ 4.23 และลดลงจากปริมาณ 32,895 ตัน มูลค่า 944.16<br />

ล้านบาท ในเดือนกันยายน 2552 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.35<br />

และ 9.15<br />

38<br />

น้ำสับปะรด<br />

ส่งออกปริมาณ 7,495 ตัน มูลค่า 367.96 ล้าน<br />

บาท เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 6,057 ตัน มูลค่า 284.70 ล้าน<br />

บาท ในเดือนสิงหาคม 2553 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.74 และ<br />

29.24 แต่ลดลงจากปริมาณ 8,527 ตัน ในเดือนกันยายน<br />

2552 หรือลดลงร้อยละ 12.10 ในขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นจาก<br />

365.94 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

สับปะรดแช่แข็ง<br />

ส่งออกปริมาณ 82 ตัน มูลค่า 6.70 ล้านบาท<br />

เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 58 ตัน มูลค่า 3.71 ล้านบาท ในเดือน<br />

สิงหาคม 2553 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.38 และ 80.59 และ<br />

เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 47 ตัน มูลค่า 3.98 ล้านบาท ในเดือน<br />

กันยายน 2552 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.47 และ 68.34<br />

สับปะรดที่ทำไว้ไม่ให้เสีย<br />

ส่งออกปริมาณ 2,313 ตัน มูลค่า 159.19 ล้านบาท<br />

เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 2,184 ตัน มูลค่า 153.55 ล้านบาท<br />

ในเดือนสิงหาคม 2553 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.91 และ 3.67<br />

และเพิ่มขึ้นจาก 1,804 ตัน มูลค่า 108.00 ล้านบาท ใน<br />

เดือนกันยายน 2552 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.22 และ 47.40<br />

สับปะรดแห้ง<br />

ส่งออกปริมาณ 24 ตัน มูลค่า 2.13 ล้านบาท<br />

เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 13 ตัน มูลค่า 1.28 ล้านบาท ในเดือน<br />

สิงหาคม 2553 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.61 และ 66.41 และ<br />

เพิ่มขึ้นจาก 10 ตัน มูลค่า 0.80 ล้านบาท ในเดือนกันยายน<br />

2552 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 140.00 และ 166.25<br />

สับปะรดสด<br />

ส่งออกปริมาณ 192 ตัน มูลค่า 2.49 ล้านบาท<br />

เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 171 ตัน มูลค่า 2.24 ล้านบาท ในเดือน<br />

สิงหาคม 2553 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.28 และ 11.16 แต่<br />

ลดลงจากปริมาณ 236 ตัน มูลค่า 2.86 ล้านบาท ในเดือน<br />

กันยายน 2552 หรือลดลงร้อยละ 18.64 และ 12.94<br />

ความเคลื่อนไหวของราคาสับปะรดประจำเดือนมกราคม<br />

2554 มีดังนี้<br />

ราคาสับปะรดโรงงานที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 5.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.90 บาท<br />

ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.85 แต่เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ<br />

4.39 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 33.26<br />

ราคาสับปะรดบริโภคที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย<br />

กิโลกรัมละ 8.90 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.10 บาท<br />

ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 9.87 และเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ<br />

6.89 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 29.17<br />

39


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ปศุสัตว์<br />

และผลิตภัณฑ์จากสัตว์<br />

สุกร<br />

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ<br />

สถานการณ์ตลาดสุกรในเดือนนี้ ราคาสุกรมีชีวิต<br />

ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากเดือนผ่านมา เนื่องจากสภาพ<br />

อากาศเอื้ออำนวยให้สุกรเจริญเติบโตเร็ว ทำให้ผลผลิตออกสู่<br />

ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรยังคงทรงตัว<br />

แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย<br />

ด้านการส่งออกเนื้อสุกรแช่เย็นแช่แข็งเดือน พ.ย.<br />

2553 มีปริมาณ 354.50 ตัน มูลค่า 15.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น<br />

จากเดือน ต.ค. 2553 ซึ่งส่งออกปริมาณ 311.21 ตัน มูลค่า<br />

17.66 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.91 และร้อยละ 13.08<br />

ตามลำดับ<br />

สำหรับการส่งออกเนื้อสุกรแปรรูปเดือน พ.ย. 2553<br />

มีปริมาณ 751.28 ตัน ลดลงจากเดือน ต.ค. 2553 ซึ่งมีการ<br />

ส่งออก 783.55 ตัน คิดเป็นร้อยละ 4.29 ส่วนมูลค่าส่งออก<br />

เนื้อสุกรแปรรูป เดือน พ.ย. 2553 มูลค่า 157.71 ล้านบาท<br />

เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 2553 ซึ่งมีการส่งออกมูลค่า 152.53<br />

ล้านบาท ร้อยละ 3.28 ตลาดส่งออกที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น<br />

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ<br />

สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป<br />

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 54.99 บาท<br />

ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.88 บาท ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ<br />

40<br />

โดย น.ส.อัจฉรา ไอยรากาญจนกุล<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

1.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 53.62<br />

บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 59.18 บาท ภาค<br />

กลาง กิโลกรัมละ 54.02 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 55.18<br />

บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. เฉลี่ยตัว<br />

ละ 1,600 บาท ทรงตัวเท่ากับเดือนที่ผ่านมา<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ<br />

ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรม<br />

การค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัม<br />

ละ 52.50 บาท ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.95 ส่วนราคา<br />

ขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.50 บาท สูงขึ้นจาก<br />

กิโลกรัมละ 61.25 บาท ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.41<br />

ไก่เนื้อ<br />

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ<br />

สถานการณ์ไก่เนื้อในเดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนที่<br />

ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก<br />

ขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคา<br />

จะทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย<br />

สถานการณ์ในประเทศ<br />

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่าสถานการณ์<br />

สินค้าปศุสัตว์ของไทยมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นตาม<br />

ความต้องบริโภคสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะ<br />

เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไก่เนื้อที่ได้รับ<br />

ประโยชน์อย่างมาก จากการเปิดตลาดส่งออกเนื้อไก่สดแช่แข็ง<br />

ไปยังประเทศรัสเซีย แอฟริกาใต้ มาเลเซีย และบาร์เรน ขณะ<br />

เดียวกันประเทศญี่ปุ่นกำลังพิจารณาอนุมัติให้ประเทศไทย<br />

สามารถส่งออกเนื้อไก่สดแช่แข็ง ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณและ<br />

มูลค่าส่งออกเนื้อไก่สดแช่แข็งเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนการผลิตใน<br />

ด้านอาหารสัตว์ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กระทรวงเกษตรฯ จึงได้<br />

ทำโครงการลดต้นทุนการผลิตโดยนำร่องใน 3 พืชเศรษฐกิจ<br />

หลัก ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ซึ่งขณะนี้อยู่


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ในระหว่างดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผล<br />

กระทบต่อการแข่งขันสินค้าปศุสัตว์ คือ โรคระบาดสัตว์ และข้อ<br />

กีดกันทางการค้า ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายหน่วยงาน<br />

ที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลดังกล่าวให้เกิดความชัดเจน เพื่อเป็น<br />

ข้อมูลประกอบการเจรจาทางการค้าต่อไปในอนาคต<br />

สถานการณ์ต่างประเทศ<br />

เกาหลีใต้ยืนยันว่าพบไข้หวัดนกระบาดเป็นครั้งแรก<br />

หลังจากพบเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งในครั้งนี้ได้กำจัดนก<br />

กว่า 100,000 ตัว เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด ทั้งนี้สาธารณสุข<br />

เกาหลีใต้ได้เร่งตรวจสอบนกป่า และเร่งให้ภาคธุรกิจสัตว์ปีก<br />

เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เช่น การขึงตาข่ายรอบฟาร์ม<br />

สัตว์ปีกเพื่อป้องกันไม่ให้นกป่าเข้ามา<br />

ด้านการส่งออกเนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง เดือน พ.ย.<br />

2553 มีปริมาณ 5,441.86 ตัน มูลค่า 217.85 ล้านบาท เพิ่ม<br />

ขึ้นจากเดือน ต.ค. 2553 ซึ่งส่งออกปริมาณ 3,612.59 ตัน<br />

มูลค่า 165.19 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.79 และ ร้อยละ<br />

11.04 ตามลำดับ<br />

สำหรับการส่งออกไก่แปรรูป เดือน พ.ย. 2553<br />

มีปริมาณ 36,269.87 ตัน มูลค่า 4,537.46 ล้านบาท เพิ่ม<br />

ขึ้นจากเดือน ต.ค. 2553 ซึ่งส่งออก 34,613.63 ตัน มูลค่า<br />

4,350.32 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.78 และร้อยละ 4.30<br />

ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ญี่ปุ ่น สหภาพยุโรป และ<br />

เกาหลีใต้<br />

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ<br />

ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ<br />

กิโลกรัมละ 44.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.48 บาท<br />

ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 4.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้<br />

ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 43.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ<br />

กิโลกรัมละ 45.68 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 43.48 บาท<br />

ภาคใต้ ไม่มีรายงานราคา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศ<br />

ของบริษัท ซี.พี. ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจาก<br />

ตัวละ 14.50 บาท ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 20.68<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ<br />

ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรม<br />

การค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัม<br />

ละ 43.05 ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.37 และราคาขายส่ง<br />

ไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ<br />

55.70 บาท ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.23<br />

41<br />

ไข่ไก่<br />

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาประเทศ<br />

สถานการณ์ไข่ไก่ในเดือนนี้ ราคาที่เกษตรกรขายได้<br />

สูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน<br />

ส่งผลให้แม่ไก่ไข่ออกไข่น้อยลง ขณะที่ความต้องการบริโภค<br />

ไข่ไก่มีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็ก<br />

น้อย<br />

ด้านการส่งออกไข่ไก่สด ปริมาณการส่งออกไข่ไก่<br />

เดือน พ.ย. 2553 มีจำนวน 8.18 ล้านฟอง มูลค่า 22.46 ล้าน<br />

บาท ลดลงจากเดือน ต.ค. 2553 มีจำนวน 11.41 ล้านฟอง<br />

มูลค่า 29.77 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28.31 และ ร้อยละ<br />

24.55<br />

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ<br />

ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อย<br />

ฟองละ 278 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 277 บาท ของเดือน<br />

ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ<br />

ร้อยฟองละ 272 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ<br />

282 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 270 บาท และภาคใต้<br />

ร้อยฟองละ 303 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของ<br />

บริษัท ซี.พี. ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับเดือนที่ผ่านมา<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ<br />

ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาด<br />

กรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท<br />

ทรงตัวเท่ากับเดือนที่ผ่านมา


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

โคเนื้อ<br />

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ<br />

ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้ง<br />

ประเทศกิโลกรัมละ 42.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.70<br />

บาท ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.83 โดยแยกเป็นรายภาค<br />

ดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 49.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียง<br />

เหนือ กิโลกรัมละ 35.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 44.67<br />

บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 49.91 บาท<br />

ไข่เป็ด<br />

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ<br />

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อย<br />

ฟองละ 296 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 294 บาท ของเดือน<br />

ที่ผ่านมาร้อยละ 0.68 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ<br />

ร้อยฟองละ 266 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟอง<br />

ละ 317 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 281 บาท และภาคใต้<br />

ร้อยฟองละ 325 บาท<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้า<br />

ภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับเดือนที่<br />

ผ่านมา<br />

กระบือ<br />

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ<br />

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย<br />

ทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ<br />

32.80 บาท ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็น<br />

รายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 50.00 บาท ภาคตะวัน<br />

ออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 29.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ<br />

32.69 บาท ภาคใต้ ไม่มีรายงานราคา<br />

42


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

สุกร<br />

ไก่เนื้อ<br />

ไข่ไก่<br />

ไข่เป็ด<br />

โคเนื้อ<br />

กระบือ<br />

รายการ<br />

ราคาเกษตรกรขายได้<br />

ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ<br />

ราคาเกษตรกรขายได้<br />

ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ<br />

ราคาเกษตรกรขายได้<br />

ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ<br />

ราคาเกษตรกรขายได้<br />

ราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ<br />

ราคาเกษตรกรขายได้<br />

ราคาเกษตรกรขายได้<br />

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค.<br />

56.93 59.92 61.02 61.53 62.10 62.43 62.46 62.12 60.65 57.93 56.93 55.88 54.99<br />

61.17 61.25 61.50 61.50 61.50 61.50 60.50 59.30 55.73 52.50 53.50 52.50 52.00<br />

43.06 44.22 41.90 40.61 42.88 45.31 44.94 42.85 42.13 41.71 41.31 42.48 44.34<br />

39.35 40.00 39.73 37.12 43.22 40.13 35.60 34.40 35.00 35.00 36.50 43.05 44.50<br />

232 258 253 249 262 275 284 295 278 265 272 277 278<br />

233 276 265 269 285 305 299 275 286 280 281 285 285<br />

281 284 283 280 284 302 310 303 301 297 298 294 296<br />

340 340 340 340 340 340 340 340 340 340 340 340 340<br />

44.73 43.68 42.45 42.54 42.73 42.69 42.71 43.05 43.94 43.02 43.68 44.70 42.99<br />

34.93 35.20 34.82 34.71 34.49 34.57 34.20 34.49 33.60 33.27 32.93 32.80 33.00<br />

เดือน<br />

เดือน<br />

43


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

เดือน<br />

เดือน<br />

เดือน<br />

เดือน<br />

44


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ประมง<br />

และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ<br />

สถานการณ์สัตว์น้ำที่สำคัญประจำเดือนมกราคม 2554 และ<br />

แนวโน้มสถานการณ์การผลิตเดือนมกราคม 2554<br />

ประกันภัยประมง<br />

ดร.สมหญิง เปี ่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า<br />

กรมประมงได้พยายามผลักดันโครงการประกันภัยภาคการประมง<br />

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน<br />

จากความเสียหายที่เกษตรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมงเผชิญ<br />

กับปัญหาความเสี่ยงต่างๆ ตลอดจนปัญหาของโรคระบาด ราคา<br />

ผลผลิตตกต่ำ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อน<br />

แก่เกษตรกรและชาวประมง<br />

กรมประมงจึงได้ร่วมมือกับองค์การอาหารและเกษตร<br />

แห่งสหประชาชาติ (FAO) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการ<br />

ประกันภัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เมื่อเดือนกันยายน 2552 เพื่อระดม<br />

ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการประกันภัยการเพาะเลี้ยงสัตว์<br />

น้ำในประเทศไทย กรณีที่ประสบภัยพิบัติโรคระบาดหรือเหตุใดๆ<br />

ก็ตามที่ส่งผลให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาใน<br />

ปี 2553 มีการจัดสัมมนาเชิงวิชาการ เพื่อหาแนวทางการประกันภัย<br />

เรือประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอีกครั้ง และได้กำหนดแนวทาง<br />

และรูปแบบที่เหมาะสมกับการประกันภัยเรือประมงและการเพาะ<br />

เลี้ยงสัตว์น้ำ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกร<br />

นายพงค์พัฒน์ บุญชูวงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ<br />

การประมงกล่าวเพิ่มเติมว่า การประกันภัยลักษณะนี้เป็นที่นิยมมาก<br />

ในหลายประเทศ เพราะช่วยลดการขาดทุนจากความเสียหายที่เกิด<br />

ขึ้น ในส่วนการประกันนี้ประเทศไทยโดยบริษัท โพว์-มาอินเตอร์<br />

เนชั่นแนลอินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด ได้กำหนดผู ้ออกกรมธรรม์<br />

ประกันภัยไว้ดังนี้ การประกันภัยกุ้งให้บริษัท ทิพยประกันภัย<br />

จำกัด (มหาชน) และกลุ่มซีพีอลิอันซ์เป็นผู้ออกกรมธรรม์ ส่วน<br />

เรือประมงมอบหมายให้บริษัท ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย)<br />

จำกัด เป็นผู้ออกกรมธรรม์<br />

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การประกันภัยเป็นรูปธรรมมากขึ้น<br />

ชุมนุมเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย ได้จัดทำโครงการ<br />

เกษตรพันธสัญญา (Contract Framing) เพื่อส่งเสริมสนับสนุน<br />

การบริโภคกุ ้งในประเทศ โดยขอเงินสนับสนุนจากกองทุนช่วยเหลือ<br />

45<br />

โดย นางรัชดา ทั่งทอง<br />

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร<br />

เกษตรกร (คชก.) ได้กำหนดให้มีการประกันภัยกุ้งรวมอยู่ด้วย<br />

นับว่าการเป็นการประกันภัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเรือประมง<br />

ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่กรมประมงร่วมมือกับภาคเอกชนช่วยเหลือ<br />

เกษตรกร ให้สามารถประกอบอาชีพประมงได้อย่างสบายใจ<br />

ในเดือนมกราคมมีสัตว์น้ำทุกชนิดทุกประเภทส่งเข้า<br />

ประมูลจำหน่ายที่ตลาดกลางองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ รวม<br />

ทั้งสิ้น 3,930 ตัน ลดลงจาก 4,410 ตัน ของเดือนก่อนร้อยละ<br />

10.88 โดยแยกเป็นสัตว์น้ำเค็มทุกชนิด 2,310 ตัน ลดลงจาก<br />

2,391 ตัน ของเดือนก่อนร้อยละ 3.39 สัตว์น้ำจืดทุกชนิด 1,620 ตัน<br />

ลดลงจาก 2,019 ตัน ของเดือนก่อนร้อยละ 19.76 แยกเป็นชนิด<br />

สัตว์น้ำที่สำคัญดังนี้<br />

กุ้งสด มีปริมาณกุ้งสดทุกชนิดทุกประเภทส่งเข้า<br />

ประมูลจำหน่ายฯ 400 ตัน ลดลงจาก 450 ตัน ของเดือนก่อน<br />

ร้อยละ 0.22<br />

ปลาหมึกสด มีปลาหมึกสดทุกชนิดทุกประเภทส่ง<br />

เข้าประมูลจำหน่ายฯ 295 ตัน ลดลงจาก 340 ตัน ของเดือนก่อน<br />

ร้อยละ 13.24<br />

ปลาทูสด มีปริมาณส่งเข้าประมูลจำหน่ายฯ 33 ตัน<br />

ลดลงจาก 47 ตัน ของเดือนก่อนร้อยละ 29.79<br />

ปลาช่อนสด มีปริมาณส่งเข้าประมูลจำหน่ายฯ 26<br />

ตัน เพิ่มขึ้นจาก 25 ตัน ของเดือนก่อนร้อย 4.00<br />

ปลาดุกสด มีปริมาณส่งเข้าประมูลจำหน่ายฯ 24<br />

ตัน ลดลงจาก 25 ตันของเดือนก่อนร้อยละ 4.00<br />

แนวโน้มสถานการณ์ผลิตสัตว์น้ำเดือนกุมภาพันธ์ 2554<br />

จากการวิเคราะห์ทางสถิติประเมินได้ว่าจะมีสัตว์น้ำ<br />

ทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่ตลาดกลางองค์การสะพานปลา<br />

กรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้นประมาณ 4,210 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 3,930 ตัน<br />

ของเดือนที่แล้วร้อยละ 7.12 โดยแยกเป็นประเภทสัตว์น้ำที่สำคัญ<br />

คือ<br />

กุ ้งสด มีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณกุ ้งสดทุกชนิดส่งเข้า<br />

ประมูลจำหน่ายฯ ประมาณ 490 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 400 ตัน ของ<br />

เดือนที่แล้วร้อยละ 22.50


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ปลาหมึกสด คาดว่าจะมีปริมาณปลาหมึกสด<br />

ทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายฯ ประมาณ 298 ตัน เพิ่มขึ้นจาก<br />

295 ตัน ของเดือนก่อนร้อยละ 1.02<br />

ปลาทูสด คาดว่าจะมีปริมาณส่งเข้าประมูล<br />

จำหน่ายฯ 40 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 33 ตัน ของเดือนก่อนร้อยละ 21.21<br />

ปลาช่อนสด คาดคะเนได้ว่าจะมีปริมาณส่งเข้า<br />

ประมูลจำหน่ายฯ ประมาณ 22 ตัน ลดลงจาก 26 ตัน ของเดือน<br />

ที่แล้วร้อยละ 15.38<br />

ปลาดุกสด มีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณส่งเข้าประมูล<br />

จำหน่ายฯ ประมาณ 20 ตัน ลดลงจาก 24 ตัน ของเดือนก่อนร้อย<br />

ละ 16.67<br />

สถานการณ์การตลาดเดือนมกราคม 2553<br />

ปี 53 เวียดนามส่งกุ้งออกไปญี่ปุ่นได้มากขึ้น<br />

รายงานจากสมาคมผู้ประกอบการและส่งออกอาหาร<br />

ทะเลเวียดนามว่าปริมาณและมูลค่าการส่งออกกุ้งของเวียดนาม<br />

ปี 2553 มีสถิติส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ คือ ปริมาณการส่งออก<br />

กุ้งประมาณ 240,000 ตัน มูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก<br />

ปริมาณ 210,000 ตัน มูลค่า 1,700 ล้านดอลลาร์ ของปี 2552 คิด<br />

เป็นร้อยละ 14.29 และ 17.65 ตามลำดับ โดยมีญี่ปุ่นเป็นประเทศ<br />

ที่นำเข้ากุ้งมากที่สุดจำนวน 57,000 ตัน มูลค่า 528 ล้านดอลลาร์<br />

รองลงมาเป็นสหรัฐอเมริกา นำเข้ากุ้งปริมาณ 34,650 ตัน การที่<br />

เวียดนามมีการส่งออกกุ ้งได้มากขึ้น เนื่องจากที่อ่าวเม็กซิโกมีน้ำมัน<br />

รั่วไหลลงทะเล ครั้งใหญ่ ทำให้ผู้ค้าปลีกและบริษัทขนาดใหญ่ใน<br />

สหรัฐฯ และยุโรปหันมาซื้อกุ้งที่เลี้ยงจากภูมิภาคเอเชียแทนกุ้งที่<br />

จับได้จากอ่าวเม็กซิโก นอกจากนี้ที่อินเดียยังประสบปัญหา โรค<br />

จุดขาวระบาด อินโดนีเซียเกิดโรคกล้ามเนื้อขาวขุ่น (IMNV) รวม<br />

ถึงการที่สภาพอากาศแปรปรวนในหลายพื้นที่ และกระแสน้ำที่ผิด<br />

ปกติ ส่งผลให้กุ ้งเวียดนามเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ และในปี<br />

2554 เวียดนามได้ตั้งเป้าหมายในการส่งออกกุ้งให้ได้มูลค่า 2,100<br />

ล้านดอลลาร์<br />

การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปญี่ปุ่นที่ผ่านมา ได้มีการ<br />

ตรวจพบปริมาณยาฆ่าแมลงไตรฟลูราลินปนเปื้อนเกินกำหนดใน<br />

สินค้ากุ้งแช่แข็งถึง 3 ครั้ง ทางญี่ปุ่นได้ประกาศตรวจเข้มสินค้ากุ้ง<br />

ที่นำเข้าจากเวียดนามทั้งหมด ซึ่งในอนาคตหากญี่ปุ ่นตรวจพบสาร<br />

ปนเปื้อนข้างต้นอีก จะระงับการนำเข้ากุ้งจากเวียดนาม<br />

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เวียดนามได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว<br />

โดย กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) กำหนดให้สาร<br />

ไตรฟลูราลินรวมอยู่ในรายชื่อสารเคมีและยาปฏิชีวนะต้องห้าม<br />

สำหรับการประกอบกิจกรรมหรือธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมี<br />

มาตรการควบคุมการซื้อขายและการใช้สารเคมี และได้ส่งคณะลง<br />

ตรวจสอบพื้นที่เพื่อหยุดยั้งการใช้สารเคมีรวมทั้งได้มีการหารือกับ<br />

นักวิทยาศาสตร์ในการใช้สารเคมีชนิดอื่นแทนแล้ว<br />

ภาวะการค้าส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของไทยในเดือน<br />

มกราคม 2554 ประเมินได้ ดังนี้<br />

กุ้งสดแช่เย็น ส่งออกประมาณ 25,000 ตัน เพิ่ม<br />

ขึ้นจาก 24,699 ตัน ของเดือนที่แล้วร้อยละ 1.22<br />

ปลาหมึกสดแช่เย็น ส่งออกประมาณ 26,755 ตัน<br />

เพิ่มขึ้นจาก 26,500 ตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.96<br />

ปลาทูน่ากระป๋อง ส่งออกประมาณ 63,000 ตัน ลด<br />

ลงจาก 64,800 ตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 2.78<br />

ปลาป่นอาหารสัตว์ ส่งออกประมาณ 3,600 ตัน<br />

เพิ่มขึ้นจาก 3,500 ตัน ของเดือนก่อนร้อยละ 2.86<br />

แนวโน้มสถานการณ์ตลาดเดือนกุมภาพันธ์ 2554<br />

การส่งออกสินค้าสัตว์น้ำที่สำคัญบางชนิดในเดือน<br />

กุมภาพันธ์ จากการวิเคราะห์ทางสถิติ คาดคะเนได้คือ<br />

กุ ้งสดแช่เย็น คาดว่าจะส่งออกได้ประมาณ 23,900<br />

ตัน ลดลงจาก 25,000 ตัน ของเดือนที่แล้วร้อยละ 4.40<br />

ปลาหมึกสดแช่เย็น มีแนวโน้มว่าจะส่งออกประมาณ<br />

27,900 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 26,755 ตัน ของเดือนก่อนร้อยละ 4.28<br />

ปลาทูน่ากระป๋อง คาดว่าจะส่งออกประมาณ<br />

64,100 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 63,000 ตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ<br />

1.75<br />

ปลาป่นอาหารสัตว์ คาดว่าจะส่งออกประมาณ 3,640<br />

ตัน เพิ่มขึ้นจาก 3,600 ตัน ของเดือนก่อนร้อยละ 1.11<br />

ความเคลื่อนไหวของราคาเดือนมกราคม 2554<br />

ราคาสัตว์น้ำที่สำคัญบางชนิดในเดือนมกราคม 2554 มี<br />

ความเคลื่อนไหว ดังนี้ คือ<br />

กุ้งขาวขนาด 60 ตัว/กิโลกรัม ราคาที่ชาวประมง<br />

ขายได้ กิโลกรัมละ 122.80 บาท เพิ่มขึ้นจาก 119.84 บาท/กิโลกรัม<br />

ของเดือนที่แล้วร้อยละ 2.47<br />

ราคาขายส่งกุ้งขาวขนาดกลาง (60 ตัว/กิโลกรัม) จาก<br />

องค์การสะพานปลา กิโลกรัมละ 135.00 บาท เพิ่มขึ้นจาก<br />

133.46 บาท/กิโลกรัม ของเดือนที่แล้วร้อยละ 1.15<br />

ปลาหมึกกระดองสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมง<br />

ขายได้ไม่มีรายงานราคา<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ<br />

123.57 บาท ลดลงจาก 138.39 บาท/กิโลกรัม จากเดือนที่ผ่านมา<br />

ร้อยละ 10.71<br />

46


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย<br />

58.47 บาท/กิโลกรัม ลดลงจาก 70.67 บาท/กิโลกรัม ของเดือน<br />

ที่แล้วร้อยละ 17.26<br />

ราคาขายส่งปลาทูในตลาดกรุงเทพฯเฉลี่ย กิโลกรัมละ<br />

68.21 บาท/กิโลกรัม ลดลงจาก 73.93 บาท/กิโลกรัม ของเดือน<br />

ที่ผ่านมาร้อยละ 7.74<br />

ปลาช่อนสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้<br />

เฉลี่ย 58.63 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 57.54 บาท/กิโลกรัม<br />

ของเดือนที่แล้วร้อยละ 1.89<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ย 119.16 บาท/<br />

กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 118.57 บาท/กิโลกรัม ของเดือนที่ผ่านมา<br />

ร้อยละ 0.50<br />

ปลาดุกบิ๊กอุยสดขนาด 2 - 4 ตัว/กิโลกรัม ราคา<br />

ที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย 42.92 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก<br />

42.73 บาท/กิโลกรัม ของเดือนก่อนร้อยละ 0.44<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคา<br />

ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาที่ชาวประมงขายปลาเป็ด<br />

ได้ 8.92 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 8.73 บาท/กิโลกรัม ของเดือน<br />

ที่แล้วร้อยละ 2.18<br />

ราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58 - 60% ในตลาด<br />

กรุงเทพฯ เฉลี่ย 25.00 บาท/กิโลกรัม ลดลงจาก 25.54 บาท/<br />

กิโลกรัม ของเดือนก่อนร้อยละ 2.11<br />

แนวโน้มของราคาเดือนกุมภาพันธ์ 2554<br />

จากการศึกษาวิเคราะห์ทางสถิติ คาดคะเนแนวโน้มของ<br />

ราคาเดือนกุมภาพันธ์ได้ ดังต่อไปนี้<br />

กุ้งขาวขนาด 60 ตัว/กิโลกรัม ราคาที่ชาวประมง<br />

คาดว่าจะอยู่ในระดับ 123.00 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 122.80<br />

บาท/กิโลกรัม ของเดือนก่อนร้อยละ 0.16<br />

ราคาขายส่งกุ้งขาว (60 ตัว/กิโลกรัม) จากองค์การ<br />

สะพานปลาคาดว่าจะอยู่ในระดับ 136.00 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น<br />

จาก 135.00 บาท/กิโลกรัม ของเดือนก่อนร้อยละ 0.74<br />

ปลาหมึกกระดองสด ราคาที่ชาวประมงไม่มีรายงาน<br />

ราคา<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ คาดว่าจะอยู่ในระดับ<br />

เฉลี่ย 125.00 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 123.57 บาท/กิโลกรัม<br />

ของเดือนก่อนร้อยละ 1.16<br />

ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้<br />

คาดว่าจะอยู่ในระดับ 59.00 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 58.47<br />

บาท/กิโลกรัม ของเดือนก่อนร้อยละ 0.91<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ คาดว่าจะอยู่ในระดับ<br />

69.00 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 68.21 บาท/กิโลกรัม ของเดือน<br />

ที่ผ่านมาร้อยละ 1.16<br />

ปลาช่อนสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้<br />

คาดว่าจะอยู่ในระดับ 59.00 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 58.63<br />

บาท/กิโลกรัม ของเดือนก่อนร้อยละ 0.63<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ คาดว่าจะอยู่ในระดับ<br />

120.00 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 119.16 บาท/กิโลกรัม<br />

ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.70<br />

ปลาดุกด้านสด ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย 43.50<br />

บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 42.90 บาท/กิโลกรัม ของเดือนก่อน<br />

ร้อยละ 1.40<br />

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคา<br />

ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมง<br />

ขายได้คาดว่าจะอยู่ในระดับ 9.00 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 8.92<br />

บาท/กิโลกรัม ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.90<br />

ราคาปลาป่นชนิดโปรตีน 58% - 60% ในตลาดกรุงเทพฯ<br />

คาดว่าอยู่ในระดับ 26.00 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจาก 25.00 บาท/<br />

กิโลกรัม ของเดือนก่อนร้อยละ 4.00<br />

47


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ปลาดุกบิ๊กอุย<br />

เดือน ราคาเกษตรกร ราคาขายส่ง<br />

ม.ค. 53 42.34 ไม่มีรายงานราคา<br />

ก.พ. 42.01<br />

มี.ค. 41.52<br />

เม.ย. 40.88<br />

พ.ค. 39.85<br />

มิ.ย. 37.09<br />

ก.ค. 37.91<br />

ส.ค. 41.32<br />

ก.ย. 43.07<br />

ต.ค. 42.48<br />

พ.ย. 43.85<br />

ธ.ค. 42.73<br />

ม.ค. 42.92<br />

บาท/กก.<br />

ราคาขายส่งไม่มีรายงานราคา<br />

บาท/กก.<br />

ปลาดุกบิ๊กอุย<br />

เดือน<br />

ปลาช่อน<br />

เดือน ราคาเกษตรกร ราคาขายส่ง<br />

ม.ค. 53 65.27 113.59<br />

ก.พ. 63.49 112.25<br />

มี.ค. 62.20 110.00<br />

เม.ย. 61.59 107.14<br />

พ.ค. 61.97 108.57<br />

มิ.ย. 61.64 112.5<br />

ก.ค. 61.72 114.82<br />

ส.ค. 61.94 125.86<br />

ก.ย. 60.68 123.93<br />

ต.ค. 59.00 129.46<br />

พ.ย. 57.48 108.29<br />

ธ.ค. 57.54 118.57<br />

ม.ค. 58.63 119.16<br />

บาท/กก.<br />

ราคาขายส่งจากองค์การสะพานปลา<br />

บาท/กก.<br />

ปลาช่อน<br />

เดือน<br />

กุ้งขาวขนาด 60 ตัว/กก.<br />

เดือน ราคาเกษตรกร ราคาขายส่ง<br />

ม.ค. 53 101.45 108.66<br />

ก.พ. 105.25 117.08<br />

มี.ค. 112.43 123.83<br />

เม.ย. 103.53 107.50<br />

พ.ค. 98.45 102.19<br />

มิ.ย. 105.80 129.38<br />

ก.ค. 112.50 127.71<br />

ส.ค. 113.72 124.23<br />

ก.ย. 112.95 122.49<br />

ต.ค. 123.35 124.69<br />

พ.ย. 117.17 128.50<br />

ธ.ค. 119.84 133.46<br />

ม.ค. 122.80 135.00<br />

บาท/กก.<br />

ราคาขายส่งจากตลาดทะเลไทย<br />

บาท/กก.<br />

กุ้งขาวขนาด 60 ตัว/กก.<br />

เดือน<br />

48


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ปลาหมึก<br />

เดือน ราคาเกษตรกร ราคาขายส่ง<br />

ม.ค. 53 ไม่มีรายงานราคา 115.22<br />

ก.พ. 120.16<br />

มี.ค. 125.10<br />

เม.ย. 120.48<br />

พ.ค. 125.48<br />

มิ.ย. 123.57<br />

ก.ค. 121.78<br />

ส.ค. 138.00<br />

ก.ย. 143.45<br />

ต.ค. 135.18<br />

พ.ย. 135.00<br />

ธ.ค. 138.39<br />

ม.ค. 123.57<br />

บาท/กก.<br />

ราคาเกษตรกรขายได้ ไม่มีรายงานราคา<br />

ราคาขายส่งจากองค์การสะพานปลา<br />

ปลาเป็ด<br />

เดือน ราคาเกษตรกร ราคาขายส่ง<br />

ม.ค. 53 8.38 33.26<br />

ก.พ. 8.30 34.20<br />

มี.ค. 8.39 35.23<br />

เม.ย. 8.55 36.60<br />

พ.ค. 8.57 31.20<br />

มิ.ย. 8.45 28.30<br />

ก.ค. 10.06 29.01<br />

ส.ค. 9.33 30.76<br />

ก.ย. 8.81 29.74<br />

ต.ค. 8.24 31.62<br />

พ.ย. 8.24 25.32<br />

ธ.ค. 8.73 25.54<br />

ม.ค. 8.92 25.00<br />

บาท/กก.<br />

ราคาเกษตรกรคือราคาปลาเป็ด<br />

ราคาขายส่งคือราคาปลาป่นโปรตีน 60% เบอร์ 2<br />

จากสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย<br />

ปลาทู<br />

เดือน ราคาเกษตรกร ราคาขายส่ง<br />

ม.ค. 53 55.29 74.82<br />

ก.พ. 57.58 75.00<br />

มี.ค. 59.62 70.06<br />

เม.ย. 57.01 70.00<br />

พ.ค. 56.34 70.00<br />

มิ.ย. 55.09 70.18<br />

ก.ค. 56.55 70.79<br />

ส.ค. 55.44 70.71<br />

ก.ย. 61.34 72.50<br />

ต.ค. 61.68 70.71<br />

พ.ย. 62.04 72.67<br />

ธ.ค. 70.67 73.93<br />

ม.ค. 58.47 68.21<br />

บาท/กก.<br />

ราคาขายส่งจากองค์การสะพานปลา<br />

บาท/กก.<br />

บาท/กก.<br />

บาท/กก.<br />

ปลาหมึก<br />

ปลาเป็ด<br />

ปลาทู<br />

เดือน<br />

เดือน<br />

เดือน<br />

49


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ชนิดปุ๋ย<br />

ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.<br />

แอมโมเนียมซัลเฟต 21%N - 7,200 7,300 7,600 7,600 7,000 6,600 - 6,650 - 6,500 6,000 6,050<br />

ยูเรีย 46 %N 12,200 13,233 13,233 13,000 13,000 11,750 11,500 11,600 11,600 12,000 11,000 11,000 11,000<br />

16 - 20 - 0 12,500 13,400 13,633 13,750 14,000 13,500 13,450 13,450 13,450 14,000 11,500 11,500 11,500<br />

16 - 16 - 8 14,500 14,650 14,700 14,500 - 13,000 14,750 13,950 14,500 14,500 14,300 14,000 14,000<br />

15 - 15 - 15 19,200 17,033 17,033 15,850 15,700 17,500 17,300 17,250 17,250 19,200 14,000 14,000 14,050<br />

13 - 13 - 21 19,400 18,333 18,333 18,050 17,500 17,900 17,000 18,200 18,200 - 17,000 18,100 17,000<br />

รายการ<br />

2552<br />

2552<br />

ราคาปัจจัยการผลิต<br />

ราคาขายส่ง (เงินสด) ปุ๋ยที่สำคัญในตลาดกรุงเทพฯ รายเดือน<br />

ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.<br />

สุกรขุนสามสายเลือด 1,900 1,900 1,900 1,900 1,900 1,900 1,900 1,900 1,400 1,400 1,400 1,400 1,400<br />

ไก่ไข่อายุ 1 วัน 26 26 26 24 24 24 30 28 28 28 28 28 28<br />

ไก่เนื้ออายุ 1 วัน 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 14.50 14.50 14.50 14.50 17.50 17.50<br />

เป็ดเนื้ออายุ 1 วัน 36.00 36.00 36.00 36.00 36.00 36.00 36.00 36.00 36.00 36.00 36.00 36.00 36.00<br />

พ่อสุกรพันธุ์ดูรอค 20,000 20,000 20,000 21,300 21,300 21,300 20,000 20,000 20,000 24,000 24,000 20,000 20,000<br />

2553<br />

ราคาขายปลีก (เงินสด) พันธุ์สุกร ไก่และเป็ดในตลาดกรุงเทพฯ<br />

2553<br />

หน่วย : บาทต่อเมตริกตัน<br />

หน่วย : บาท/ตัว<br />

50


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ราคาปัจจัยการผลิต<br />

รายการ<br />

ราคาขายส่ง (เงินสด) อาหารสำเร็จรูปในตลาดกรุงเทพฯ<br />

หน่วย : บาท/30 กก.<br />

2552 2553<br />

ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค พ.ย. ธ.ค.<br />

หัวอาหาร<br />

ไก่รุ่น-เนื้อ 604 604 604 604 604 604 604 604 604 604 604 604 604<br />

ไก่รุ่น-ไข่ 537 537 537 537 537 537 537 537 537 537 537 537 537<br />

ไก่ไข่ 538 538 538 538 538 538 538 538 538 538 538 538 538<br />

หมูเล็ก 634 634 634 634 634 634 634 634 634 634 634 634 634<br />

หมูรุ่น 607 607 607 607 607 607 607 607 607 607 607 607 607<br />

หมูเนื้อ 587 587 587 587 587 587 587 587 587 587 587 587 587<br />

เป็ดไข่ 802 802 802 802 802 802 802 802 802 802 802 802 802<br />

หัวอาหารสำเร็จรูปผง<br />

ไก่ไข่ 371 371 371 371 371 371 371 371 371 371 371 371 371<br />

หัวอาหารสำเร็จรูปเม็ด<br />

ไก่เล็ก-ไข่ 397 397 397 397 397 397 397 397 397 397 397 397 397<br />

หมูเล็ก 382 382 382 382 382 382 382 382 382 382 382 382 382<br />

หมูรุ่นขุน 370 370 370 370 370 370 370 370 370 370 370 370 370<br />

หมูเนื้อ 355 355 355 355 355 355 355 355 355 355 355 355 355<br />

เป็ดเล็กไข่ 476 476 476 476 476 476 476 476 476 476 476 476 476<br />

51


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ข่าวที่น่าสนใจ<br />

ปี 53<br />

ยุโรปปฏิเสธสินค้า<br />

ประมงอินโดนีเซีย<br />

มีรายงานจาก กระทรวงประมงและกิจการทาง<br />

ทะเล (MMAF) ของอินโดนีเซียว่า ได้มีการจัดตั้งหน่วยงาน<br />

ใหม่ด้านการกักกันและตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำเมื่อกลาง<br />

ปี 2553 เพื่อปรับปรุงการรับรองคุณภาพความปลอดภัย<br />

และลดการถูกปฏิเสธสินค้าอาหารทะเลส่งออกของประเทศ<br />

เนื่องจากในช่วงมกราคมถึงกรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา<br />

อินโดนีเซียถูกปฏิเสธสินค้าประมงไปยุโรปถึง 6 ครั้ง ลดลง<br />

จาก 9 ครั้งของปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ตรวจพบสารปนเปื้อน<br />

โลหะหนัก แบคทีเรีย รวมถึงการใช้อุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม<br />

และการติดฉลากไม่ถูกต้อง<br />

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสินค้าประมงของ<br />

ไทย ขอให้ผู้เกี่ยวข้องในการผลิตและส่งสินค้าประมง โดย<br />

เฉพาะชาวประมง เกษตรกรและผู้ประกอบการแปรรูป<br />

จะต้องคำนึงถึงสุขอนามัยและความปลอดภัยของสินค้า<br />

ประมงที่บริโภคภายในและที่ส่งไปต่างประเทศ ต้องไร้สาร<br />

ตกค้าง เพื่อให้ผู้ซื้อมั่นใจในความปลอดภัยจะทำให้การค้า<br />

สินค้าประมงของไทยเป็นที่ต้องการทั้งในประเทศและต่าง<br />

ประเทศ จะสามารถขายได้อย่างยั่งยืนต่อไป<br />

52


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

สÈ¢.3 ร‹วมอºรม<br />

การตั้§แปล§เกçºเกÕ่ยว<br />

ผลผลิตสัºปะรด<br />

ป‚ 2554<br />

เมื่อวันที่ 11 - 12 มกรำคม 2554 นำยสุรศักดิ์<br />

พันธ์นพ รองเลขำธิกำรสำนักงำนเศรษฐกิจกำรเกษตร เป็น<br />

ประธำนเปิดกำรอบรมเชิงปฏิบัติกำร เรื่อง กำรสำรวจข้อมูล<br />

กำรผลิตโดยวิธีสำรวจด้วยตัวอย่ำง (List frame Survey) และ<br />

สำรวจผลผลิตต่อไร่โดยวิธีตั้งแปลงเก็บเกี่ยวผลผลิต (Crop<br />

Cutting) ของสับปะรดโรงงำนปี 2554 ณ โรงแรมรอยัล<br />

แม่โขงหนองคำย อ.เมือง จ.หนองคำย โดยมีเจ้ำหน้ำที่กลุ่ม<br />

สำรสนเทศกำรเกษตร สำนักงำนเศรษฐกิจกำรเกษตรเขต<br />

3 เข้ำร่วมอบรม และทดลองปฏิบัติในพื้นที่เพำะปลูกจริงที่<br />

บ้ำนสะพำนพุทธ ต.บ้ำนหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคำย<br />

ซึ่งกำรอบรมดังกล่ำว จัดโดยศูนย์สำรสนเทศกำรเกษตร เพื่อ<br />

เป็นแนวทำงกำรปฏิบัติงำนสำรวจข้อมูลกำรเกษตรอย่ำง<br />

ถูกต้องตำมหลักวิชำกำร ร่วมกันกับเจ้ำหน้ำที่ของสำนักงำน<br />

เศรษฐกิจกำรเกษตรเขต 1, 2, 3, 6, 8, 10 ทั้งนี้ ได้รับควำม<br />

สนใจจำกตัวแทนจำกสำนักงำนเกษตรจังหวัดชลบุรี ระยอง<br />

จันทบุรี หนองคำย เลย รวมถึงตัวแทนจำกสำนักงำนเกษตร<br />

และสหกรณ์จังหวัดเลย หนองคำย เข้ำร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย<br />

รวม 70 คน<br />

53


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

พิธีลงนามบันทึกความตกลง<br />

ว่าด้วยการใช้ประโยชน์ข้อมูล<br />

ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย<br />

กับ สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร<br />

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์<br />

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มกรำคม 2554 นำยเฉลิมพร พิรุณสำร<br />

ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธำนในพิธี<br />

ลงนำมบันทึกควำมตกลงว่ำด้วยกำรใช้ประโยชน์ข้อมูล ระหว่ำง<br />

ธนำคำรแห่งประเทศไทยกับสำนักงำนเศรษฐกิจกำรเกษตร<br />

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ห้องประชุมศรีปลั่งชั้น 8 โดยมี<br />

นำยประสำร ไตรรัตน์วรกุล ผู ้ว่ำกำรธนำคำรแห่งประเทศไทย และ<br />

นำยอภิชำต จงสกุล เลขำธิกำรสำนักงำนเศรษฐกิจกำรเกษตร เป็น<br />

ผู ้ลงนำมบันทึกควำมตกลงร่วมกัน เพื่อนำไปสู ่ควำมร่วมมือ ในกำร<br />

จัดทำข้อมูลดัชนีรำคำ ผลผลิตสินค้ำเกษตร และกำรใช้ข้อมูลอย่ำง<br />

เป็นเอกภำพ<br />

¢‹ÒÇ»ÃЪÒ<br />

ÊÑÁ¾Ñ¹¸<br />

ในกำรนี้ ผู้ว่ำกำรธนำคำรแห่งประเทศไทย และปลัดกระทรวง<br />

เกษตรและสหกรณ์ ได้กล่ำวสุนทรพจน์ ถึงควำมร่วมมือในกำรจัดทำข้อมูล<br />

โดยมี นำยอภิชำต จงสกุล เลขำธิกำรสำนักงำนเศรษฐกิจกำรเกษตร กล่ำว<br />

สรุปควำมเป็นมำและสำระสำคัญในควำมร่วมมือดังกล่ำว ทั้งนี้ มีคณะ<br />

ผู ้บริหำรทั้งจำกธนำคำรแห่งประเทศไทย และสำนักงำนเศรษฐกิจกำรเกษตร<br />

ตลอดจนข้ำรำชกำร เจ้ำหน้ำที่และสื่อมวลชน เข้ำร่วมประมำณ 100 คน<br />

54


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

ºÙรณาการจัด·าแผน·า§เลือก<br />

เพื่อ¿„œน¿ÙอาชÕพการเกÉตร จั§หวัดพั·ลا<br />

เมื่อวันที่ 10 มกรำคม 2554 นำยอภิชำต จงสกุล<br />

เลขำธิกำรสำนักงำนเศรษฐกิจกำรเกษตร ร่วมกับองค์กำร<br />

บริหำรส่วนจังหวัดพัทลุง มูลนิธิเพื่อกำรพัฒนำผู้นำ<br />

ธุรกิจและชุมชน ร่วมประชุมหำรือเพื่อหำแนวทำงใน<br />

จัดทำแผนทำงเลือกเพื่อฟื้นฟูอำชีพกำรเกษตรผู้ประสบ<br />

ภัยพิบัติจังหวัดพัทลุง ณ ห้องประชุมองค์กำรบริหำร<br />

ส่วนจังหวัดพัทลุง โดยมีหน่วยงำนในสังกัดกระทรวง<br />

เกษตรและสหกรณ์ร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงำน<br />

เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงำนเกษตรจังหวัด<br />

สำนักงำนประมงจังหวัด สำนักงำนปศุสัตว์จังหวัด<br />

สำนักงำนชลประทำนจังหวัด สำนักงำนกองทุนสงเครำะห์<br />

กำรทำสวนยำง และสถำนีพัฒนำที่ดินจังหวัด และเข้ำดู<br />

พื้นที่ยำงพำรำ ปำล์มน้ำมัน ที่ได้รับควำมเสียหำยจำกภัย<br />

พิบัติในอำเภอป่ำบอน และอำเภอปำกพะยูน พร้อมกันนี้<br />

ได้เข้ำเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้ำนใน<br />

กอย ตำบลหนองธง อำเภอป่ำบอน จังหวัดพัทลุง<br />

55


วารสาร<br />

ปีที่ 57 ฉบับที่ 651 กุมภาพันธ์ 2554<br />

สÈก. ประชØมพิจารณาร‹า§ยØ·¸Èาสตร์·Õ่ 1<br />

ยกระดัºคØณภาพชÕวิตให้กัºเกÉตรกร<br />

เมื่อวันที่ 14 มกรำคม 2554 นำยนิวัติ สุธีมีชัยกุล<br />

รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธำน<br />

กำรจัดประชุมพิจำรณำร่ำงยุทธศำสตร์ที่ 1 ยกระดับคุณภำพชีวิต<br />

ให้กับเกษตรกร ภำยใต้แผนพัฒนำกำรเกษตร ในช่วงแผนพัฒนำ<br />

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ ฉบับที่ 11 ณ ห้องประชุมศรีปลั่ง<br />

ชั้น 8 อำคำร สศก. จัดโดยสำนักนโยบำยและแผนพัฒนำกำรเกษตร<br />

(สนผ.) โดยมีผู้เข้ำร่วมกำรประชุมรวมทั้งสิ้น 70 คน<br />

56


สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร<br />

ใหบริการขอมูลดานเศรษฐกิจการเกษตร<br />

Call Center 0-2940-6641<br />

0-2561-2870<br />

http://www.oae.go.th<br />

ศูนยบริการ รวมกระทรวง เกษตรและสหกรณ<br />

ให บริการ ขอมูล/ขาวสาร รับ เรื่อง-สงตอ ขออนุมัติ/อนุญาต/รับ เรื่องราว ร้องทุกข ฯ ลฯ<br />

บริการ ดวย ใจ เต็มใจ ให บริการ<br />

Call Center 1170<br />

เว็บไซ ต www.moac.go.th/builder/service/<br />

อาคารกระทรวง เกษตรและสหกรณ ชั้น 1 ถนน ราช ดําเนิน นอก<br />

แขวงบานพาน ถม เขต พระนคร กรุง เทพ ฯ 10200<br />

โทรศัพท : 0-2281-5955 หรือ 0-2281-5884 ตอ 250, 315, 373, 374, 384


สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร<br />

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900<br />

โทรศัพท์ 0-2940-5550-1, 0-2940-5553-4 โทรสาร 0-2940-7239<br />

http://www.oae.go.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!