12.07.2015 Views

คลิกเพื่อดาวน์โหลด - สำนักวิทยบริการ :: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คลิกเพื่อดาวน์โหลด - สำนักวิทยบริการ :: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คลิกเพื่อดาวน์โหลด - สำนักวิทยบริการ :: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ที่ปรึกษาศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์สวัสดีปีใหม่ของชาวไทย “สุขสันต์วันสงกรานต์” ส าหรับจุลสารคณะสาธารณสุขศาสตร์ฉบับที่ สอง ในรูปโฉมใหม่ผมได้รับผลสะท้อนกลับที่เป็นข้อเสนอแนะอย่างมากมายในการจัดท าจุลสารของคณะฯเรา หลายอย่างเป็นข้อเสนอที่มีประโยชน์ ซึ่งทีมงานน้อมรับข้อเสนอเหล่านั้นเพื่อน าไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งๆขึ้นต่อไปความตั้งใจในการจัดท าจุลสารคณะฯ คือการสร้างการมีส่วนร่วม และการเผยแพร่กิจการให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง แน่นอนผลที่ได้กลับมาอีกหลายประการคือการที่เราได้ฝึกการทบทวนและบันทึกเรื่องราวที่ผ่านมานับเป็นเวทีแห่งการท างานที่เราได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและเป็นการท างานเชิงสร้างสรรค์อย่างแท้จริงของคนทั้งคณะ อันนี้เป็นผลพลอยได้ที่มีคุณค่าอย่างมากเรื่องเด่นฉบับนี้ทีมงานตกลงกันว่าจะใช้ เทศกาลสงกรานต์ เป็นตัวเดินเรื่อง เราจึงเห็นเนื้อหาสาระส่วนใหญ่กล่าวถึงงานและกิจกรรมในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาสังคมไทยเป็นสังคมที่มีเอกลักษณ์ในการเคารพนับถือผู้อาวุโส และเป็นสังคมแห่งการให้อภัย ผมเห็นว่ากิจกรรมวันสงกรานต์เป็นกิจกรรมที่มีกุศโลบายที่แยบยลในการสร้างความสามัคคีและสมานฉันท์ การรดน้ าด าหัวผู้อาวุโสและการแสดงออกถึงการเคารพและกล่าวให้อภัยและอ านวยพรต่อกัน เป็นสิ่งที่ชักจะลางเลือนไปจากอารมณ์และความรู้สึกของผู้คนในสังคมไทยบรรณาธิการผศ.ดร.สงครามชัย ลีทองดีผู้ช่วยบรรณาธิการอ.จรัมพร ยุคะลังอ.สุไวย์รินทร์ ดีด่านค้อนายสุภเวช บุตรศรีภูมิกองบรรณาธิการอ.จารุวรรณ วิโรจน์นายอนันต์ แพงจันทร์นางสาวนันทิดา จิตมาสนางปัทมาพร พิมพ์ใจนายเทพพร ดงเรืองศรีเลขานุการคณะสาธารณสุขศาสตร์นายกสโมสรนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ประธานนิสิตชั้นปีที่ 1ประธานนิสิตชั้นปีที่ 2ประธานนิสิตชั้นปีที่ 3ประธานนิสิตชั้นปีที่ 4หากเราได้ใช้โอกาสนี้ได้ให้ความส าคัญและแสดงออกต่อกันอย่างจริงใจ สังคมไทยจะสงบและพัฒนาขึ้นไปอีกมาก การยกระดับสังคมเริ่มแรกคือการยกระดับจิตใจ การรู้จักให้อภัย และหวังดีต่อกันอย่างจริงใจ ผมเห็นว่าสิ่งเหล่านี้คือคุณค่าของพิธีกรรมที่บรรพ-บุรุษเราได้คิดและสร้างสรรค์ไว้อย่างน่าชื่นชมและมีคุณค่าท้ายสุดในบันทึกนี้ ขออ านวยพรให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายจงประสบแต่ความสุข ความเจริญในจตุรพิธพรชัย ทั้ง อายุ วัณะ สุขะ พละ โดยทั่วกันแล้วพบกันในฉบับต่อไป


ปรัชญาคณะสาธารณสุขศาสตร์เรียนรู้สู่ปัญญา พัฒนาสุขภาพคณะสาธารณสุขศาสตร์<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>ต าบลขามเรียง อ าเภอกันทรวิชัยจังหวัดมหาสารคามหมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร043-754 353หมายเลขภายใน2601Websitewww.plublichealth.msu.ac.th “สิ่งดีๆจากงานออกสู่โลกกว้าง” หน้าที่ 4 งานสงกรานต์ <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong> หน้าที่ 5 งานสงกรานต์คณะสาธารณสุขศาสตร์ หน้าที่ 6 “กว่าจะเป็น IS สักเล่ม” หน้าที่ 7 วิจัย เปลี่ยนปัญหาให้เกิดปัญญา หน้าที่ 8 เทคโนโลยี หน้าที่ 9 - 10 บริการวิชาการ หน้าที่ 11 กิจกรรมนิสิต หน้าที่ 12 เครือข่าย-ศิษย์เก่า-ศูนย์บริการนอกที่ตั้ง หน้าที่ 13 แหล่งงาน หน้าที่ 14 ศิลปวัฒนธรรม หน้าที่ 15 กิจกรรมของคณะฯ หน้าที่ 16


สิ่งดีๆ จากงานออกสู่โลกกว้าง 54ค าแนะน าจากคุณไพศาล รุ่งจิรา ผู้จัดการ บริษัท Sodexoและคุณศยามล เนตรประภา ที่ปรึกษาด้านโภชนาการ“อย่างแรก เราต้องหาตัวเองให้เจอก่อน เพื่อท าในสิ่งที่ตนเองอยากท า ไม่งั้นเราจะอยู่ไม่ได้ การท างานมันไม่ใช่เรื่องยาก แต่เราต้องไปเจอเอาด่านหน้า ทุกคนเริ่มต้นเท่ากันหมด เราจึงต้องปรับตัวให้ได้รักที่จะท า สนุกที่จะท า แล้วเราจะประสบความส าเร็จ”“นักโภชนาการ มิใช่เป็นได้เพียงแค่ QC ตรวจอาหารอย่างเดียวเป็นผู้จัดการก็ได้ ถ้าอยากมีโอกาสต้องหาส่วนเพิ่มเติมให้ตัวเอง คือภาษา, คอมพิวเตอร์, เตรียมตัวให้นักวิชาการสาธารณสุข จากพระนครศรีอยุธยาพร้อม สร้างโอกาสให้กับตนเอง”คุณรัตนะ เลิศดี“จะท างานสาสุขให้ดี ต้องรู้จักวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ให้ได้ ส่วนปัญหาที่เราไม่มีประสบการณ์—สามารถฝึกฝนได้”3 สิ่งที่เราท าแล้วจะรู้ว่าประสบความส าเร็จ คือ1 ท าแล้วไม่รู้สึกว่าเป็นการบังคับ2 ยิ่งท ายิ่งดีวัน ดีคืน3 ต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองตลอดเวลาOrganizationค ากล่าวที่ฝากจากท่านคณบดีฯ“คุณสมบัติดีๆ ที่มีอยู่ในตัวของนิสิตอยากจะให้มีติดตัวเราทุกคนไปตลอดขอให้พวกเราโชคดี มีงานที่ดี”ข้อคิดจากศิษย์เก่า“สอบตกสนามแรก...สนามที่ 2, 3, 4, 5… คือบททดสอบความรู้...ความอดทน...ที่ยิ่งใหญ่...แต่อย่าท้อ...ใช้เป็นสนามเรียนรู้และก้าวต่อไป” อนุสรณ์ ไถวสินธ์“การจะท าให้คนอื่นยอมรับ...ต้องหาโอกาสพิสูจน์ตัวเอง...เมื่อมีโอกาส...จงท าให้ดีที่สุด” สิทธิศักดิ์เผ่าพันธ์ผอ.ส านักบริการวิชาการ ดร.ยุทธพล ธวะชาลี“การหว่านเมล็ดพันธุ์เพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่ผู้อื่น ผู้ประสบความส าเร็จ ห่วงใยผู้อื่น ไม่ได้ใช้ชีวิตเพื่อตนเองทั้งหมด ทุ่มเทต่อสิ่งที่ท า เรียนรู้ และส่งต่อผู้อื่น ไม่เพียงเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง แต่เพิ่มคุณค่าให้กับผู้อื่นด้วย ถ้าสามารถเพิ่มคุณค่าให้กับคนรอบข้างได้ เราจะประสบความส าเร็จ”“เดินคนเดียวถึงที่หมายไว แต่ถ้าเดินไปกับคนหมู่มากต้องรอ ดังนั้นต้องเรียนรู้ที่จะให้คุณค่าแก่ผู้อื่น”รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ สุทธินันท์ บุญมี“ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน...ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่น..พยายาม..และกล้าที่จะก้าวไปข้างหน้า”จรัมพร ยุคะลัง และสุไวย์รินทร์ ดีด่านค้อ


งานสงกรานต์<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>ประจ าปี 2554เมื่อวันที่ 8 เมษายน2554 เวลา 07.00 น.ทีมผู้บริหารคณะสาธารณสุขศาสตร์น าโดยศ.ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์คณบดีผศ.ดร.วีระศักดิ์ สืบเสาะรองคณบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาบุคลากรและ อ.ดร.น้ าผึ้ง ดุงโคกกรวดรองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนิสิตได้เข้าร่วมพิธีท าบุญตักบาตร งานรื่นเริง เบิกบาน ประเพณีสงกรานต์ <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong> ประจ าปี 2554โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ กรรมการสภา<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดี<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากรเข้าร่วมพิธีจ านวนมาก ณ บริเวณอาคารบรมราชกุมารี <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>วันสงกรานต์…เทศกาลที่หลาย ๆ คนรอคอยเพื่อจะได้หยุดพักผ่อนจากการท างาน และเดินทางกลับไปพบปะญาติพี่น้องกันอีกครั้งใช่ไหมล่ะคะ แต่จะมีใครรู้บ้างไหมว่า ประวัติความเป็นมาของวันสงกรานต์มาจากอะไร ฉบับนี้ขอน าเกร็ดความรู้เกี่ยวกับวันสงกรานต์ มาบอกค่ะ.... วันสงกรานต์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนกระทั่งมาเปลี่ยนแปลงให้เป็นวันที่ 1 มกราคม ตามหลักสากลของนานาประเทศเมื่อปี พ.ศ.2483วันที่ 13 เป็นวันต้น คือวันมหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้น หรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึง สงกรานต์ปี คือ ปีใหม่อย่างเดียววันที่ 14 คือวันกลาง เป็นวันเนา เป็นวันอยู่เฉย ๆ เป็นวันว่างนอกจากเล่นสนุก เนา เป็นค าเขมร แปลว่า อยู่ เป็นวันถัดจากมหาสงกรานต์ มา 1 วัน เป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทางในวันราศี ตั้งต้นใหม่ เรียบร้อยแล้ววันที่ 15 เมษายน คือวันสุดท้าย เรียกว่า วันเถลิงศก แปลว่า วันขึ้นศก เป็นวันที่เปลี่ยนจุลศักราชใหม่


Joyful Songkran Festival… Faculty of Public Health 201118 th April 2011


ถอดบทสัมภาษณ์จากการท า IS นิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์จรัมพร ยุคะลังผ่านมาแล้วกับการทํา IS หรือการศึกษาอิสระทางด้านสาธารณสุข ที่ทําเอานิสิตคณะเราเหน็ดเหนื่อยกันแทบขาดใจ เห็นเค้าลํ่าลือกันเสียจริง ว่าเรียนสาสุข มมส. วิชานี้หินมากเดี๋ยวเราไปดูว่าสิ่งที่นิสิตตั้งอกตั้งใจทํากันขนาดนั้น เขาได้อะไรกลับมาบ้างภาพเก็บตก[jkpจะทํา ISต้องใช้ศาสตร์วิชาความรู ้อะไรบ้าง“ก็ต้องใช้หลายวิชารวมกันค่ะ ทั้งวิชาชีวสถิติ สาธารณสุขชุมชน และระเบียบวิธีวิจัย ทั้งที่ตอนที่เรียนก็ไม่ค่อยเข้าใจ เรียนไปก็เกือบๆ จะลืมไปหมดแล้ว เพราะเรียนสถิติตั้งนานกว่าจะได้นํามาใช้ แต่พอตอนมาทําIS นี่แหละค่ะที่ได้นํามาใช้จริงๆ ถึงได้เข้าใจ และทําได้ และวิชาสาธารณสุขชุมชนก็สําคัญค่ะ ตอนเรียนก็สนุกดีค่ะ อาจารย์จีระศักดิ์สอนสนุก พอตอนที่ต้องเข้าชุมชนไปเก็บข้อมูล รู ้สึกไม่ค่อยมั่นใจ เอ…เราจะคุยกับชาวบ้านเค้ารู ้เรื่องไหมเค้าจะให้ความร่วมมือไหม แต่พอเราเข้าไปในชุมชนจริงๆ ก็ขุดวิทยายุทธต่างๆ ที่ได้รํ่าเรียนมามาใช้ พอชาวบ้านใจดีให้ข้อมูล เราก็เริ่มใจชื้นตอนแรกๆ ก็ดูลาดเลาอยู ่ตั้งนานพอเริ่มได้ที่ ก็เริ่มคุยกับชาวบ้านได้อย่างสนุกสนาน ผู้คน ได้เรียนรู ้การวางตัวในการเข้าชุมชน ได้ปฏิบัติจริงได้เรียนรู ้ถึงความคิดที่แตกต่างของแต่ละบุคคลแต่ละชุมชน”กว่าจะเป็ น IS สักเล่มท า IS ยากไหม?ท า IS แล้วได้อะไรบ้างล่ะตอนสอบ เป็ นไงบ้าง“โอ๊ย !! ตื่นเต้นค่ะ นอนไม่หลับ ก็นึกว่าเตรียมตัวมาดีนะคะ แต่พอตอนจะขึ้นสอบ เราถึงได้เข้าใจเพื่อนๆ ว่าเก้าอี้ลบความจําเป็ นอย่างไร”ทานข้าวมารึยัง “เป็ นคําถาม จากความห่วงใยของอาจารย์ แต่ทุกคนก็จะตอบว่า ยังไม่ทานค่ะ ไม่เป็ นไรยังไม่หิว ทานไม่ลง”“ไม่ยาก แต่เหนื่อย ก็ คิดว่าเป็ นวิชาที่ยากที่สุดแล้วเท่าที่เรียนมา ต้องเรียน ต้องรู ้ ต้องเข้าใจ และต้องทําได้จริง ”“บางครั้งมีปัญหาเรื่องโปรแกรมSPSS เดี๋ยวเครื่องไม่อ่านภาษาไทยบ้างเดี๋ยวก็หาเมนูบางตัวไม่เจอ ก็แล้วแต่ปัญหา จริงๆ ก็เรียนมาแต่ลืมหมด…”“เคยเรียน วิชาวิจัย ก็เคยทําบทที่ 1ค่ะ แต่อันนี้ต้องทําทุกบท อาจารย์บอกว่าลอกได้ แต่ต้องลอกให้เป็ นลอกให้เนียน ไม่มีใครทําเป็ นตั้งแต่เกิด เราต้องดูหลายเล่มเพื่อเป็ นตัวอย่างก่อน แต่ไม่ใช่เอาเล่มเค้ามาลอกเลยนะ” “ทีนี้ ก็มีบางเล่มcopy เค้ามาแต่เปลี่ยนไม่หมด ทําวิจัยอยู ่ ร้อยเอ็ดดีๆ พอไปถึงกลางเรื่อง ไปเก็บแบบสอบถามที่สุรินทร์ซะอย่างงั้น” “บ้างก็ทําการศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ใน อสม. ทํา“ทําเสร็จแล้วถึงได้รู ้ว่าเราได้อะไรเยอะมาก”“ถ้าเรียนแล้วไม่นํามาปฏิบัติจริง เราก็จะไม่เข้าใจ”“ได้เห็นความสมัครสมานสามัคคีของเพื่อนๆ”“ได้เห็นความมีนํ้าใจ การช่วยเหลือกัน คนแต่ละคนก็เก่งกันคนละด้าน ก็ช่วยกันไปตามความถนัด แต่รู ้สึกว่าไปทํามา กลายเป็ นเด็กมัธยม อย่างงั้น” แต่ก็ดีนะ ทําให้มีเรื่องขําๆ ฮาๆกันไป ในหมู ่เพื่อนฝูง แต่ไม่ใช่หัวเราะเยาะนะ เพราะหัวเราะเพื่อนไป ซักพักเดี๋ยวเพื่อนก็จะกลับมาหัวเราะเราอีกเช่นกัน“พูดถึง ไป Try out บ้าง เก็บข้อมูลยังไง วิเคราะห์ใหม่ มันก็ไม่ผ่านซักที ไม่กล้าเอาผลไปเสนออาจารย์ กลัวไม่ผ่าน เก็บแล้วเก็บอีก จนอาจารย์ถาม เมื่อไหร่จะส่ง ก็เลยตอบไป อาจารย์บอก อ้าวไปเก็บใหม่ทําไม ไม่ลองตัดข้อคําถามบางข้อออกล่ะ ง่ายกว่ากันเยอะเลย…จริงๆ ด้วย”“บางทีนะคะ ท าไปจนจะเสร็จแล้วคอมพิวเตอร์โดนไวรัสกิน บางคนกดปุ ่ มผิด ไม่รู ้อันไหนหายจ้อย”“ทะเลาะกะแฟนอีก” อ้าว อันนี้เป็ นเรื่องการบริหารจัดการในครอบครัวละ เห็นไหมบางคนพาแฟนมาด้วย ให้แฟนช่วยอีกต่างหากน่าเทิดทูนจริงๆ แฟนอย่างนี้หายากนะคะเราจะให้เพื่อนช่วยซะเป็ นส่วนใหญ่ค่ะ”“ทําให้เราทํางานได้รอบคอบมากขึ้นทํางานแก้แล้วแก้อีก ทําไมยังผิด รึอาจารย์สายตาดีกว่าเรา ก็ไม่ใช่ แต่เพราะความไม่รอบคอบของเรานี่ล่ะ”“ทําให้เรามีความอดทนมากขึ้น มีความพยายามในการทํางานมากขึ้น และมีความรับผิดชอบมากขึ้น”ที่เห็นนั่งทําขยันอยู ่นี่ไม่ใช่กลางวันนะคะ แต่เป็ นตี 4 ขยันจริงจริ๊งยุงกัดก็บ่ย้านCaption describing pictureor graphic.ได้เวรยามอีกเพียบSpecial Commentประสบการณ์เหล่านี้แม้ว่าจะเหนื่อย ขนาดไหน สิ่งที่ได้ล้วนมีประโยชน์ ขึ้นอยู ่กับมุมมองของแต่ละคนมองให้ได้ประโยชน์ ก็ได้ถ้าทําแล้วมองไม่เห็นประโยชน์ ก็น่าคิดนะ ว่าอ้าวแล้วจะทําไปทําไมแต่จากประสบการณ์เหล่านี้ เสียงตอบรับจากสังคมการทํางานรอบข้าง มักจะบอกว่านิสิตเราส่วนใหญ่


วิจัย…..การเปลี่ยนปัญหาให้เกิดปัญญาจารุวรรณ วิโรจน์ค าว่าวิจัย บางท่านอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้วค า ค า นี้มีการน ามาใช้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ท่านคงอาจรู้สึกประหลาดใจเหมือนกับผู้เขียนซึ่งเรียนตามระบบการศึกษาอย่างเดียว กว่าจะได้เรียนวิจัยก็ตอนที่มาศึกษาระดับปริญญาตรี ???ค าว่าวิจัย ตามค าศัพท์ของพระพุทธศาสนามาจากค าว่า วิจโย เป็นวิธีการศึกษาความจริงโดยการใช้ปัญญาพร้อมทั้งเป็นการท าให้เกิดปัญญา หรือท าให้เกิดการพัฒนาของปัญญา แม้ว่าในอดีตการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ไม่ได้มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบที่ผ่านการขัดเกลามาเหมือนในปัจจุบัน แต่จุดมุ่งหมายของการค้นคว้าหาสิ่งใหม่ก็คือการแก้ไขปัญหา เมื่อเรารู้สึกไม่พึงพอใจกับสิ่งที่ประสบอยู่ และรู้สึกว่ามันเป็นปัญหาและใช้ความพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านั้น จากความคิดในการพยายามแก้ไขปัญหาเล็กๆ ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ และน ามาขยายผลมาพัฒนาโลกของเราในปัจจุบันการวิจัยนั้นเป็นกระบวนการเปลี่ยนปัญหาท าให้เกิดปัญญา เมื่อมีปัญหาขึ้นแต่ละครั้งหากเราสามารถแก้ไขได้สิ่งที่ได้กลับมาคือความสุข ท าให้เราเกิดความรู้ที่กระจ่างชัดในเรื่องดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นความส าเร็จหนึ่งของการใช้ชีวิต ส าหรับในมิติของการวิจัยนั้น ปัญหาในการวิจัยนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ส าคัญของการวิจัย ปัญหาวิจัยที่ดีนั้นควรเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ นักวิจัยต้องตระหนักถึงความส าคัญในการเลือกปัญหาในการท าวิจัย ซึ่งต้องพิจารณาหลายๆ ส่วนประกอบกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพิจารณาถึงประโยชน์ของการท าวิจัยเป็นหลัก หากท าการศึกษาวิจัยชั้นนี้แล้วจะเกิดประโยชน์อะไรบ้าง และคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ในปัจจุบันการวิจัยได้เข้ามามีบทบาทส าคัญในการประเมินความส าเร็จในการปฏิบัติงาน หน่วยงานต่างๆ มีมาตรการที่ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องมีการด าเนินการวิจัย ผู้เขียนก็อดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ว่าผู้ปฏิบัติเข้าใจถึงความส าคัญของการท าวิจัยหรือไม่ การวิจัยนั้นไม่ใช่เพียงตัวชี้วัดว่าท าแล้วจะได้คะแนนเท่านั้น แต่การวิจัยเป็นสิ่งที่คงคุณค่ายิ่งในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศไทยของเรา การวิจัยในแต่ละครั้งถือได้ว่าเป็นการลงทุนเพราะต้องใช้งบประมาณต่างๆ ในการด าเนินการวิจัย นักวิจัยควรตระหนักถึงผลลัพธ์ต่างๆ ที่จะได้จากการท าวิจัยท่านต้องพิจารณาอยู่เสมอว่าท่านก าลังใช้งบประมาณของประเทศของเราในการท าวิจัย แล้วท่านให้อะไรคืนกลับประเทศของเราบ้าง...


การท าปฏิทินด้วย Microsoft Publisherเทคโนโลยี : สุภเวช บุตรศรีภูมิสวัสดีครับ ก่อนอื่นผมขอกล่าวทักทายท่านผู้อ่านทุกท่านครับ ฉบับนี้ผมจะมาแนะน าโปรแกรมส าหรับงานออกแบบเอกสารอย่างง่ายครับ โปรแกรมที่ว่าคือ Microsoft Publisher มีอยู่ใน Microsoft office 2007 ลักษณะ Icon จะเป็นแบบนี้ครับภาพที่ 1-1ก่อนอื่นผู้อ่านต้องเปิดโปรกรม Microsoft Publisher (ซึ่งต่อไปผู้เขียนจะใช้ค าว่า Publisher)ขึ้นมาก่อนนะครับ โดยจะมีลักษณะโปรแกรมเป็นแบบนี้ครับ (ภาพที่ 1-2)ภาพที่ 1-2เมื่อปรากฏหน้าต่างนี้แล้ว ให้ผู้อ่านเลือก Calendars (ปฏิทิน) โดยคลิก mouseซ้าย 1 ครั้ง แล้วสังเกตมุมด้านล่างขวาของหน้าต่างโปรแกรม จะมีส่วนของOptions (ตามภาพที่1-3) ให้เลือก Set Calendar Datesภาพที่ 1-3


การท าปฏิทินด้วย Microsoft Publisher ..ต่อแล้วให้ท่านผู้อ่านก าหนดว่าจะสร้างปฏิทินตั้งแต่เดือนอะไร ถึงเดือนอะไร (ตามภาพที่ 1-4)ภาพที่ 1-4เมื่อเลือกเดือนเสร็จแล้ว จะปรากฏหน้าต่างนี้เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะแก้ไข ปรับแต่งต่อไปครับ (ตามภาพที่ 1-5)ภาพที่ 1-5ท่านผู้อ่านสามารถแก้ไขหรือเพิ่มส่วนประกอบอื่นๆเข้าไปได้ เช่น ตัวอักษร หรือ ภาพนิ่ง เพื่อให้เกิดความสวยงามเมื่อท าการแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านผู้อ่านสามารถบันทึกไฟล์งานได้หลายรูปแบบ หากต้องการบันทึกเป็นภาพนิ่ง ให้เลือกประเภทการบันทึกเป็น jpg หรือ jpegเมื่อบันทึกเสร็จแล้วก็สามารถน าผลงานไปเผยแพร่หรือส่งให้คนพิเศษของท่านผู้อ่านต่อไปครับ แล้วพบกันฉบับหน้าครับ


บริการวิชาการสุไวย์รินทร์ ดีด่านค้อ และจรัมพร ยุคะลังนิสิตหลักสูตร วท.บ. อนามัยสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมกับฝ่ายดูแลสุขภาพนักกีฬา กีฬาเยาวชนเทศบาลต าบลขามเรียงนิสิตหลักสูตร วท.บ. อนามัยสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมกับเทศบาลต าบลท่าขอนยางจัดโครงการลดปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนส่งเสริมสุขภาพผู้ต้องขังในวันที่ 9 ธ.ค. 53 อ.ดร.น้ าผึ้ง ดุงโคกกรวด อ.จรัมพร ยุคะลัง และนิสิต ส.บ. ชั้นปีที่ 4 ได้พาผู้ต้องขังออกก าลังกายด้วยการเต้นแอโรบิกในกิจกรรม“วันส่งเสริมสุขภาพผู้ต้องขัง ณเรือนจ าจังหวัดมหาสารคาม” ซึ่งจัดเป็นประจ าทุกปี เพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้ต้องขังนอกจากนี้ ท่านผู้บัญชาการเรือนจ า ยังให้ความส าคัญในด้านการศึกษาของผู้ต้องขัง และยินดีในการให้ความร่วมมือในการจัดท าโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ จากทางคณะฯ อีกด้วย


นิสิต สา’สุข มมส. เข้าร่วมโครงการ “ดาวของแผ่นดิน”อาจารย์ ดร.จินดาวัลย์ วิบูลย์อุทัย และอาจารย์ ดร.น้ าผึ้งดุงโคกกรวด น านิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ จ านวน 8 คน เข้าร่วมโครงการ "ดาวของแผ่นดิน" จัดโดยแผนงาน สอส. ระยะที่ 2 ที่เดอะไพน์รีสอร์ท จ.ปทุมธานีโครงการ เอ้พระ ฮดสรงน้ าบุญเดือนห้า สืบสานประเพณีสงกรานต์วันที่ 7 เมษายน 2554 ณ บริเวณถนนสายวัฒนธรรม (หน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์)โดยกองกิจการนิสิต องค์การนิสิต ร่วมกับสโมสรนิสิต 19 คณะ ได้จัดโครงการ เอ้พระ ฮดสรงน้ าบุญเดือนห้า สืบสานประเพณีมหาสงกรานต์<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong> ประจ าปี 2554 ขึ้นโดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย สมัปปิโตอธิการบดี<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong> เป็นประธาน มี นายวิเศษ นาคชัย นายกองค์การนิสิต <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong> กล่าวรายงานประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีส าคัญของคนไทย เพราะนอกจากถือเอาเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยแล้ว คนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะชาวอีสานยังถือเอาวันสงกรานต์เป็นช่วงส าคัญของปี ในการกลับสู่ภูมิล าเนาเพื่อร่วมสืบสานประเพณีกับครอบครัว ตาม ฮีต 12 คอง 14 คือการท าบุญเดือนห้า บุญตรุษสงกรานต์การจัดโครงการในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการจ านวนทั้งสิ้น 4,095 คนประกอบด้วย คณาจารย์ บุคลากรเจ้าหน้าที่ 50 ท่าน คณะกรรมการบริหารองค์การนิสิต 25 คน ผู้น าองค์กรนิสิต 20คน นิสิต 3500 คน และประชาชนทั่วไป500 คน ซึ่งภายในงานได้จัดให้มีการท าบุญตักบาตรภาคเช้า การประกวดริ้วขบวนแห่รถบุปผชาติส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน การประกวดก่อเจดีย์ทราย การประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดี การประกวดเทพีสงกรานต์ การสรงน้ าพระพุทธรูป และการกรวดน้ าด าหัวผู้สูงอายุ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานราชการองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ชุมชนและองค์กรนิสิตโดยจัดขึ้นเป็นประจ าทุกปี


เครือข่าย–ศิษย์เก่า–ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง สุไวย์รินทร์ ดีด่านค้อ จรัมพร ยุคะลัง และอนันต์ แพงจันทร์นับเป็นความส าเร็จอีกครั้งกับศิษย์เก่าคณะสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรปกติ รุ่นที่ 2 ที่สามารถพิสูจน์ความรู้ความสามารถของตนเองโดยสามารถสอบแข่งขันเข้าท างานได้หลังจากส าเร็จการศึกษาได้ไม่ถึง 3 เดือน อาทิ //ส.บ.: นายสุทวิทย์ พิมพ์วงศ์อ าเภอโขงเจียม อุบลราชธานี นางสาวศิริรัตน์ ต้นศรี จังหวัดนครพนม นางสาวสุวิมล พานพิมพ์ นางสาวสุพัตรา ถินวิชัยนางสาวนฤทัย สัตนาโค อ าเภอโพนทอง ร้อยเอ็ด นางสาวปนัดดา นามสอน, นางสาวดารณี ยศพล จังหวัดพระนครศรีอยุธยานางสาวระเบียบ ตองติรัมย์, นายคมกริช ศรีชาดา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวิทกานต์ สารแสน นางสาวนิตยา โพธิ์กลางอ าเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม นางสาววรรณภา เพียซามาตย์ นางสาวผุสดี คล่องแคล่ว อ าเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม นางสาวนันทิยา พิทักษ์ นางสาวตะวัน เสียงล้ า นายจิตรกร วิระกา นางสาวกิตติยาภรณ์ พลเยี่ยม สสจ. อุดรธานีนายนรากร เลไธสง นายอภิชาต บู่แก้ว สสจ.บุรีรัมย์...และอีกประมาณ 20 กว่าคนขึ้นบัญชีรอสอบสัมภาษณ์..........อ.ดร.ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ รับโล่แทนนิสิตได้รับรางวัลวิจัยดีเด่นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2554 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดี <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong> เป็นประธานมอบรางวัล ประจ าปีการศึกษา 2552 แก่นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อส่งเสริมการท าวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานของงานวิจัย เป็นการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ทีมีคุณภาพของมหาวิทยาลัยสู่สาธารณชน อีกทั้งเป็นการประกาศเกียรติคุณให้แก่นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับหลักสูตรและสาขาวิชา ซึ่งมีนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น จ านวน15 คน เป็นนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ ดีเด่น คือ นายอรรณพ จงเจริญ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตร / สาขาวิชา ส.ม.อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ เรื่องการเปรียบเทียบความเป็นพิษที่มีต่อลูกน้ ายุงลายบ้านของสารสกัดจากพืชสมุนไพรที่สกัดด้วยตัวท าละลายและกลั่นด้วยไอน้ า


แหล่งงานหน่วยงาน: เทศบาลต าบลแคนดง บุรีรัมย์ต าแหน่งงาน: นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ 3ลงประกาศวันที่: 7 เมษายน 2554รายละเอียด: วุฒิปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ ากว่านี้ทางสาธารณสุขศาสตร์ การพยาบาลสุขศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.พ. ก าหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะส าหรับต าแหน่งนี้ได้ เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2554 ถึงวันที่ 13พฤษภาคม 2554ที่มา: เทศบาลต าบลแคนดง อ าเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์Tel / FAX: 0-4419-3076เวบไซต์: http://www.kaendongmunic.go.thสุไวย์รินทร์ ดีด่านค้อ และสุภเวช บุตรศรีภูมิหน่วยงาน: ส านักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือ ก.พ.ประกาศ: รับสมัครสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของก.พ. ประจ าปี 2554ลงประกาศวันที่: 21 เมษายน 2554รายละเอียด: สมัครทางอินเตอร์เน็ต ตลอด 24 ชั่วโมงที่ http://job3.ocsc.go.th หัวข้อ “รับสมัครสอบภาค ก.ของ ก.พ. ปี 2554” ไม่เว้นวันหยุดราชการ ลงทะเบียนและพิมพ์แบบฟอร์มการช าระเงินตั้งแต่วันที่ 2 - 26 พฤษภาคม 2554ที่มา: ส านักงาน ก.พ.เวบไซต์: http://www.ocsc.go.thhttp://job.ocsc.go.thhttp://job3.ocsc.go.thประชาสัมพันธ์ขอเชิญร่วมประชุมและน าเสนอผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 15เรื่อง “ปรับ 360 องศา สู่การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพแนวใหม่”ระหว่างวันที่ 3 – 5 สิงหาคม 2554ณ โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช จังหวัดชลบุรีโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยกองสุขศึกษา ร่วมกับภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและคณะสาธารณสุขศาสตร์ <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>หากท่านประสงค์จะส่งผลงานวิชาการ/ วิจัยเพื่อน าเสนอในที่ประชุม ท่านสามารถ Downloadแนวทางการจัดท าบทคัดย่อและต้นฉบับผลงานได้ที่- Website กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ www.hed.go.th- ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ www.ph.mahidol.ac.th เข้าเมนูภาควิชา


สงกรานต์ เป็นประเพณีของคนไทยที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน อันที่จริงไม่ใช่เฉพาะคนไทยในประเทศไทยเท่านั้น ที่ถือว่าประเพณีสงกรานต์มีความส าคัญ คนที่พูดภาษาตระกูลไท ก็ยึดถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน เช่น ประเทศลาว คนไทยใหญ่ในประเทศพม่าที่ชายแดนติดกับภาคเหนือของไทย คนจีนที่พูดภาษาตระกูลไท ในแค้วนยูนนาน เป็นต้นสงกรานต์ เป็นค าที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมใช้ แต่ค าเต็ม ๆ คือ ตรุษสงกรานต์ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียด ดังนี้ตรุษ แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายถึง ตัดปี ขาดปี หรือสิ้นปี ดังนั้น ตรุษ จึงหมายถึงพิธีแสดงความยินดีที่ปีเก่าผ่านไป การมีชีวิตรอดมาตลอดปีได้ ก็มีการแสดงความยินดี คนไทยแต่ก่อนนับเดือน เมษายน เป็นเดือนสิ้นปี และเริ่มปีใหม่ พิธีท าบุญวันตรุษ จะท า 3 วัน คือ เมื่อถึงเดือน 4 วันแรม 14 ค่ า แรม 15 ค่ า และวันขึ้น1 ค่ า ของเดือน 5 จะมีการนิมนต์พระมาสวด และมีการท าบุญ ถวายอาหารและขอพรจากพระ เพื่อเป็นสวัสดิมงคล สันนิษฐานว่าคนไทยรับนับถือพุทธศาสนา เลยท าแบบอย่างพิธีท าบุญวันตรุษตามแบบอย่างของลังกามาด้วยส่วน สงกรานต์ แปลว่า การย้ายที่ หรือ เคลื่อนที่ หมายถึง พระอาทิตย์ย้ายที่หรือเคลื่อนเข้าสู่ราศีใหม่ ซึ่งก็หมายถึง การขึ้นปีใหม่นั่นเอง คนจึงแสดงความยินดีที่มีชีวิตยืนยาวย่างเข้าสู่ปีใหม่ จึงต้อนรับปีใหม่ วันปีใหม่จะเป็นวันที่ 13, 14, และ 15 เมษายนของทุกปีวันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เรียกว่า วันเนา และวันที่ 15 เรียกว่า วันเถลิงศก ทางภาคเหนือ เรียกต่างกันไปบ้าง แต่ก็เข้าใจง่ายดี ดังนี้วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่อง คงหมายถึง ร่ายกาย จิต วิญญาณเก่า ๆ ของปีเก่าก าลังผ่านพ้นไป วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเน่า ส่วนวันที่ 15เมษายน เรียกว่า วันพญาวัน ซึ่งก็หมายถึงวันส าคัญวันแรกของปีใหม่นั่นเองเรื่องของสงกรานต์ มีต านานปรากฏในจารึกวัดพระเชตุพน กล่าวถึงมูลเหตุแห่งสงกรานต์ สรุปได้ว่ามีเศรษฐีคนหนึ่งถูกนักเลงสุราใกล้บ้านที่มีลูกหน้าตาหมดจด 2 คน มากล่าวหาหยาบคายว่า ร่ ารวยก็สู้เขาไม่ได้ แม้ยากจนก็ยังมีลูกสืบสกุล ตายแล้วก็สูญเปล่าเศรษฐีจึงไปบนบานศาลกล่าวที่ต้นไทร ริมแม่น้ า ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรมาปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อคลอดมา ชื่อ ธรรมบาลกุมาร บิดาปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรนั้น ธรรมบาลเฉลียวฉลาด เรียนจบไตรเพท เมื่ออายุ 7 ขวบ และรู้ภาษานกด้วย ท้าวกบิลพรหมจึงมาทดสอบความรู้โดยถามปัญหา 3 ข้อ ถ้าตอบได้ จะตัดศีรษะบูชา คือ1. เช้าราศีอยู่ที่ไหน2. เที่ยงราศีอยู่ที่ไหน3. ค่ าราศีอยู่ที่ไหนภายใน 7 วันจะมาฟังค าตอบ ธรรมบาลกุมาร คิดไม่ออก ถึงวันที่ 6 จึงแอบหนีจากปราสาทไปหลบอยู่ใต้ต้นตาลใหญ่ 2 ต้น ซึ่งพญาอินทรีผัวเมียท ารังอยู่บนนั้นตอนค่ านางนกอินทรีถามผัวว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารที่ไหนกิน ผัวตอบว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร เพราะจะแพ้ตอบปัญหาท้าวบิลพรหมไม่ได้ จะถูกตัดหัว เมื่อนางนกอินทรีถามปัญหาว่าอย่างไร และค าตอบว่าอย่างไร พญาอินทรีเฉลยปัญหาให้เมียฟังว่า1. ตอนเช้าราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงเอาน้ าล้างหน้าตอนเช้า2. ราศีอยู่ที่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมมาปะพรมที่อก3. ราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงล้างเท้าก่อนนอนธรรมบาลได้ฟังนกอินทรีผัวเมียสนทนาจึงกลับมาประสาท พอวันรุ่งขึ้นกบิลพรหมก็มาถามปัญหา ธรรมบาลก็ตอบตามที่ได้ยินจากพ่อนกอินทรี กบิลพรหมแพ้จึงต้องตัดศีรษะตามสัญญา แต่ศีรษะของกบิลพรหมมีฤทธิ์อ านาจมาก ถ้าตกถึงพื้น จะเกิดไฟไหม้ทั่วโลก ถ้าทิ้งบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าโยนลงน้ า มหาสมุทรจะเหือดแห้งไปทันที จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดเอาพานมารับศีรษะไว้ แห่รอบเขาพระสุเมรุ แล้วเชิญไปไว้ในมณฑปในถ้ าคันธธุลี เขาไกรลาส เมื่อครบ 365 วันหรือ 1 ปี นางทั้งเจ็ดจัดเวรกันมาเชิญศีรษะกบิลพรหมออกมาแห่รอบเขาพระสุเมรุ โดยก าหนดว่า วันที่ 13 เดือนเมษายน คือวันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันใด ธิดาประจ าวันนั้นก็จะป็นผู้อัญเชิญพาน ดังนี้ วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ ทุงษะ วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ โคราค วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ รากษส วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ มัณฑา วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ กิริณี วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ กิมิทา วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ มโหทรสงกรานต์เป็นประเพณีที่ชาวไทยทั่วประเทศปฏิบัติสืบต่อเป็นประเพณีมาช้านาน ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน จนถึงวันที่ 15 เมษายน ชาวบ้านจะท าบุญตักบาตรปล่อยนก ปล่อยปลา และสรงน้ าพระทั้งพระพุทธรูป และพระสงฆ์ แล้วก็จะรดน้ า มีการเล่นสาดน้ าและเล่นกีฬาพื้นบ้านประเพณีปล่อยปลาถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะเดือนเมษายน เป็นหน้าแล้ง อากาศร้อนมาก น้ าแห้งขอด ปลาก็จะไปรวมกันอยู่ตามแหล่งน้ าเล็ก ๆ หากน้ าแห้งก็จะตาย เป็นเหยื่อของนก กา หรือสัตว์อื่น คนเห็นก็เมตตา น าไปปล่อยในแม่น้ า พอถึงฤดูฝนปลาที่รอดตายก็กลับมาแพร่พันธุ์เป็นอาหารของคนได้อีกวัฒนธรรม : สุภเวช บุตรศรีภูมิ


กิจกรรมคณะนันทิดา จิตมาสเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2554 ผู้บริหารคณะสาธารณสุขศาสตร์ น าทีมโดย ศ.ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ คณบดีอ.ดร.ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ รองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอ.ดร.น้ าผึ้ง ดุงโคกกรวด รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนิสิต และอ.ดร.จินดาวัลย์ วิบูลย์อุทัย รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา เข้าร่วมรับฟังบรรยาย เรื่อง “พื้นฐานจริยธรรมและทัศนคติในบริหารงาน” โดย นายทวี บุตรสุนทร ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการ<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong> เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตรศิลป์ <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>การจัดบรรยายพิเศษในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหาร<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong> ได้พัฒนาทักษะเกี่ยวกับพื้นฐานจริยธรรมและทัศนคติในการบริหารงานสามารถน ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานองค์กรและชีวิตประจ าวันสู่ความส าเร็จได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจากการรับฟังวิทยากรบรรยายสรุปได้ว่า “ในการบริหารจัดการสถานศึกษาหรือองค์การทางการศึกษานั้น ปัจจัยที่ส าคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ถือเป็นหลักใหญ่คือ การมีผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารการศึกษาที่มีคุณธรรมและจริยธรรม พฤติกรรมด้านจริยธรรมในการบริหารจัดการ คือพฤติกรรมที่ไม่ใช่เพียงแต่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้นแต่ยังต้องเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องภายในกรอบของคุณธรรมและจริยธรรมที่บุคคลในสังคมโดยทั่วไปยอมรับได้ นอกจากนี้คุณธรรมและจริยธรรมและทัศนคติในการบริหารงานที่ดีนั้น เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะสร้างศรัทธาซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เกิดความสามัคคีร่วมมือกันปฏิบัติงานเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้ ท าให้ผู้ร่วมงานทุกคนในองค์การเกิดความเชื่อถือและเชื่อมั่นในตัวผู้น า”ใช้ในราชการ<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>ช าระค่าฝากส่งเป็นรายเดือนใบอนุญาตเลขที่1/2533ปณฝ.โนนศรีสวัสดิ์คณะสาธารณสุขศาสตร์ <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>ต.ขามเรียง อ.เมือง จ.มหาสารคามโทรศัพท์ 043-754353ที่ ศธ 0530.18

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!