12.07.2015 Views

คลิกเพื่อดาวน์โหลด - สำนักวิทยบริการ :: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คลิกเพื่อดาวน์โหลด - สำนักวิทยบริการ :: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คลิกเพื่อดาวน์โหลด - สำนักวิทยบริการ :: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

บทบรรณาธิการวารสารสถา-ร-คาม เป็นวารสารเชิงวิชาการ ที่เน้นสาระหลักการทางด้านการออกแบบ วารสารฉบับนี้เกิดจากความริเริ่ม และความร่วมมือร่วมใจของคณาจารย์กลุ ่มงานวิจัยและบริการวิชาการและจากแรงสนับสนุนของท่านคณบดีอาจารย์พวงเพ็ญ วิบูลย์สวัสดิ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรวบรวม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยของคณาจารย์ในคณะฯ ออกสู่ภายนอก สร้างเสริมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำมาพัฒนาด้านการเรียนการสอนในคณะฯซึ่งได้มีการเตรียมงานขึ้นราวช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2552 จากการสร้างโครงร่างของวารสาร รวบรวมผลงานบทความวิชาการ ผลงานวิจัย ข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เรียบเรียงขึ้นของคณาจารย์ในคณะเป็นหลัก ทั้งนี้กองบรรณาธิการได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลงานบทความวิชาการและผลงานวิจัยที่คัดเลือกนำมาลงตีพิมพ์โดยมีเนื้อหาเรื่องราวทางด้านการออกแบบเป็นหลัก ทั้งด้านสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมเมืองและชุมชมสถาปัตยกรรมภายใน นฤมิตศิลป์รวมถึงศิลปวัฒนธรรมอีสาน เพื่อให้เกิดความหลากหลายในเชิงวิชาการ กองบรรณาธิการหวังว่าในอนาคตวารสารสถา-ร-คาม จะเปิดกว้างให้บุคคลภายนอกได้เข้าร่วมเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ได้ต่อไปสำหรับเนื้อหาสาระ วารสารสถา-ร-คาม ฉบับปฐมฤกษ์ จะประกอบไปด้วยบทความวิชาการทั้งสิ้น 3 บทความประกอบไปด้วย STDZ: The concept for implementing sufficiency economy in the city ของ ดร.ธราวุฒิ บุญเหลือ,“ที่”.... ที่ได้หายใจหายคอ ของอาจารย์สุรีพรรณ์ สุพรรณสมบูรณ์ บทความที่กล่าวถึงลักษณะของบ้านเรือนที่เมืองฮอยอัน ในประเทศเวียดนาม และบทความเรื่องที่สาม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน ที่สิมวัดสุวรรณาวาส อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ของผู ้ช่วยศาสตราจารย์วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร ที่นำเสนอให้เห็นคุณค่าของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม ส่วนบทความวิจัย 4 บทความ ประกอบไปด้วย แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาตึกดินเขตเมืองเก่าจังหวัดมหาสารคาม บทความวิจัยทางด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของอาจารย์อมฤต หมวดทอง แนวคิดการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ (CP) ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและประสิทธิภาพการรักษา : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่วนกลางของรัฐ บทความวิจัยด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมสถาปัตยกรรมภายในของอาจารย์นิพัทธา น้อยประวัติการพัฒนาผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบพึ่งพาตนเอง บทความวิจัยด้านโครงสร้างวิศวกรรม สถาปัตยกรรมของอาจารย์กฤต โง้วธนสุวรรณ และศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อการออกแบบลายผ้าไหมมัดหมี่ : กรณีศึกษาหมู่บ้านแสนสุขอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม บทความวิจัยของอาจารย์ปาริชาติ ศรีสนาม ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะบนลายผ้าอีสาน บทความที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนเป็นบทความที่ความน่าสนใจในแง่ความเข้มข้นของเนื้อหาและวิธีการศึกษาทั้งสิ้นนอกจากนี้ในส่วนท้ายเล่มยังได้รับเกียรติจากท่านคณบดีอาจารย์พวงเพ็ญ วิบูลย์สวัสดิ์ ได้นำบทสัมภาษณ์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ และทัศนคติในมุมมองเชิงวิชาการด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งอาจารย์มีประสบการณ์การทำงานมานับ 20 ปี ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งสุดท้ายนี้ กองบรรณาธิการขอขอบพระคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่ได้ให้ความสนใจต่อวารสารสถา-ร-คามโดยกองบรรณาธิการได้ให้ความสำคัญ และมุ่งเน้นกับการพัฒนาวารสารให้เป็นที่น่าเชื่อถือ และยอมรับในวงวิชาการในอนาคต จึงหวังว่าจะได้รับคำแนะนำเพื่อการปรับปรุงการดำเนินงานจัดทำวารสารฉบับหน้าต่อไปผู้ช่วยศาสตราจารย์วิโรจน์ ชีวาสุขถาวรบรรณาธิการ17 มีนาคม 2553บทบรรณาธิการสารบัญบทความวิชาการSTDZ: The concept for implementing sufficiency economy in the cityดร.ธราวุฒิ บุญเหลือDr.Tarawut Boonlua“ที่”.... ที่ได้หายใจหายคอBreathable Place - Breathable Architectureสุรีพรรณ์ สุพรรณสมบูรณ์Sureepan Supansomboonสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน ที่สิมวัดสุวรรณาวาส อำเภอกันทรวิชัย จ.มหาสารคามผู้ช่วยศาสตราจารย์วิโรจน์ ชีวาสุขถาวรAssistant Professor Wiroj Shewasukthawornบทความวิจัยแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาตึกดินเขตเมืองเก่าจังหวัดมหาสารคามTHE CONSERVATION AND DELVELOPMENT OF EARTHEN DWELLINGA CASE STUDY IN MAHASARAKAM ANCIENT TOWN AREA“ อนุรักษ์กินก็ได้ ทาก็ดี ”อมฤต หมวดทองAmarit muadthongแนวคิดการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ (CP)ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและประสิทธิภาพการรักษา: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่วนกลางของรัฐA Physical Therapy Interior Environment Design concept forChildren with Cerebral Palsy (CP) in accordant withPatient behavior and Therapy Effectiveness : a case study on State General Hospitalsหัวหน้าโครงการ นิพัทธา น้อยประวัติ Niphattha noiprawatที่ปรึกษาโครงการ รศ.ดร. นพดล สหชัยเสรี Nopadon Sahachaisaereeการพัฒนาผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบพึ่งพาตนเองDevelopment of Precast Slab Production by Self-Relianceกฤต โง้วธนสุวรรณGrit Ngowtanasuwanศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อการออกแบบลายผ้าไหมมัดหมี่ : กรณีศึกษาหมู่บ้านแสนสุขอ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคามปาริชาติ ศรีสนามParichat Srisanamบทสัมภาษณ์พิเศษ“ก้าวย่างและความเป็นไป : สถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.มหาสารคาม”พวงเพ็ญ วิบูลย์สวัสดิ์15253949556777882วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 25533


STDZ: The concept forimplementing sufficiencyeconomy in the cityดร.ธราวุฒิ บุญเหลือDr.Tarawut Boonluaบทความวิจัยนี้นำาเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติCDAST-2008 Intellectuals,creativityand innovation for self-sufficiency“ภูมิปัญญา การสร้างสรรค์ นวัตกรรมเพื่อการพึ่งตนเองและความพอเพียง”ประจำาปี 2551โดยสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย4วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 25535


for parking. Evaluating the effectiveness of aproposed TOD therefore includes establishingthe percentage of trips that could remaininternal given measurements that reflect themix of uses (Daisa, 2004, p.123).To establish the optimal size of aneighbourhood is necessary for any urbandevelopment, especially development withina transport zone such as a TOD. Calthorpe,as we have seen, confirms the importance ofsize and supports the 5-10 minute walk within400 metres as a determinant of optimumsize. The characteristic TOD would have asize of approximately 80 hectares; giving adistance from edge to centre of about 5-10minutes’ walk, or 400 metres (Frey, 1999,p.52; Thomas and Cousins, 1996, p.329).Furthermore, Newman (2005) stresses thatif a neighbourhood is established within onekilometre radius of an existing urban area, aviable local centre can be created with about10,000 people and jobs. This econo micbenefitcould arise from the TOD concept. Daisa(2004, p.116) considers size efficiency asproviding a pattern of urban development thatcould improve accessibility around a transportdevelopment zone. A TOD places residentialand office space as close to public transportas possible. While optimal walking distancebetween a public transport station or stop anda place of employment is about 400 metres,residents nevertheless are willing to walk aslightly longer distance to get to a transportnode (Daisa, 2004).Therefore a principal benefit of sitingTODs carefully and of location efficiencyeconomy is reduced car dependence. This ismore than a psychological benefit (Bernstein,2004, p.237), as noted above. An appropriateTOD size could provide the full range of facilitiesand high levels of accessibility to a publictransport network. Calthorpe addresses thequestion of the precise size of neighbourhoodwithin a TOD: on a redevelopment site, an infillsite, or in a new growth area. Redevelopmentsites are developed areas that could berevitalised with new, more intensive uses andbetter public transport service. Infill sites arevacant land parcels surrounded by existingurban development. New growth areas arelarger, undeveloped properties typically on thecity’s periphery. Regional comprehensive plans,local community plans, and transit corridorplans should identify the appropriate sites orsize of development in each of these settings.Sometimes a TOD could be located outsidean existing urban area, and connected to thecentral area by major roads (Calthorpe, 1993,p.61).Transport infrastructure appropriatelyprovided in every part of a TOD could providepublic transport in a walkable environment,making it convenient for people to travel bypublic transport, or cycle, walk, or use cars(Calthorpe, 1993). Public transport facilities,such as public transport stops and transportnodes could be given priority in developmentof an area and be the centre of a community.The provision of transport infrastructure for railor bus services to enable clusters of TODsto function is not always considered importantor obvious at the outset of the developmentprocess; the car will continue to be necessaryuntil public transport arrives. However, it isdifficult to imagine how car drivers will, eventhen, be tempted to leave their cars at homeand use buses and trains unless congestionbecomes intolerable and other alternatives areavailable (Dittmar and Ohland, 2004, p.2).The discussion about road infrastructurewithin TODs shows that roads are an importantpart of public transport; however, they can notbe allowed to dominate the urban form. It isnecessary in any case to design systems whichuse the roads most efficiently, not just forpublic transport, but for overall mobility withinthe central area (Adam and Fleming, 2005).Another key aspect of a TOD is to designmobility networks for pedestrians, cars, buses,bicycles and commercial traffic that minimiseindividual travel times, but not necessarilydoor-to-door times when parking is included(Adam and Fleming, 2005). Public transportis the most flexible means of increasingpassenger capacity over an existing roadnetwork. Passenger capacity can be increasedby longer trains, extended hours of serviceoperation, management of times and fastertravel time between stops (Adam and Fleming,2005). Since car dependence is significantlyassociated with initial development within andbetween TODs, it has considerable impactson the urban environment. However, the mostimportant priority is to plan future mass publictransport rail infrastructure rather than rely onroads. Walking could be promoted as a modewithin a transport zone: as public transportpassengers walk to and from their stops, theycould be exposed to the wide range of streetlevel businesses and activities which mixeduse could provide (Adam and Fleming, 2005).Calthorpe (1993) stresses the importanceof connectivity within TODs, including thestreet network and even pedestrian paths.Connectivity between nodes and urban areasis necessary, meaning safe, interesting, andcomfortable streets to walk on, connected toevery part within a TOD. Connectivityencourages high levels of pedestrian access,as well as high levels of public transport use(Cervero et al., 2002, p.6), and by maximisingstreet connections within TODs and making itconvenient for residents to bike or walk topublic transport stops (Calthorpe, 1993, p.60).The network of streets could remain friendlyto the pedestrian as well as accommodatingother uses (Daisa, 2004, p.118). Dittmar andPoticha (2004, p.10) also stress the need forinter-connection of streets within a transportzone, scaled to the convenience of pedestrians.A significant component of increased trafficin the USA has been the widening distancebetween homes and jobs, forcing workers tospend more time on the road in return foraffordable housing (Cervero, 2005). Thereforeconnectivity has to develop within every partof a TOD, not only to help connect every partof a TOD together, but also to make it easierto access public transport.TODs can promote efficiency economythrough sustainability, especially economicsustainability. They can encourage activitiesthat wish to rent or purchase space in thecentre, and encourage more uses throughvertical expansion, or promote best use ofpublic transport (Adam and Fleming, 2005).Accessibility to public transport stops should begiven high priority in the design of streets, toincrease the number of passengers (Calthorpe,1993, p.106). A bus network usually supplieshigh accessibility to major new centres, butits node should not be treated as a terminus;these take up too much valuable passengerwaiting area by bus operational requirements(Adam and Fleming, 2005). Finally, it couldbe summarised that to create a TOD isa key strategy for planning and transportprofessionals wishing to concentrate urbangrowth, reduce traffic congestion, and improvethe quality of life. TODs alone will not solvetransportation problems, but they can make animportant contribution towards this end (Daisa,2004, p.114). By fostering growth aroundnodes by focusing on public investment ininner-city settings, a TOD can enhance lifeand vitality in areas of need, creating morewalkable, mixed-use neighbourhoods withgood transport connectivity (Cervero, 2005,p.1). TODs can reduce household transportexpenses, while providing a region with stablemixed-income neighbourhoods that reducenegative environmental impacts and providereal alternatives to traffic congestion (Boonlua,10วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255311


Many examples of both concepts demonstratethe extent to which sustainability can beenhanced; however some elements showunsustainable aspects of both TDZs and TODs.Consequently, selection of conditions necessaryfor improving sustainability within both conceptsmust first address the topic of what could createa Sustainable Transport Development Zone(STDZ). This concept is most applicable to highor very high density environments, and mustfavour mixed use development in horizontal,especially in vertical, buildings. The appropriatesize of neighbourhood for a STDZ may bedetermined by the condition of a 5-10 minutewalk within a 400 metre radius to the centre ofa public transport node, more readily applicableto an existing urban area than to developmentin a new growth area. Transport infrastructurewithin a STDZ may demand much more masspublic transport than road infrastructure, andhave great connectivity with every path withinthe transport zone. Implementing the necessaryconditions for the concept of STDZs couldbe the step forward for achieving efficiencyeconomy in our city, especially in Bangkok.The implementation of STDZ could be a steptowards for efficiency economy and sustainabledevelopment overall. However, sustainabilitymany never be absolute, but it is essential towork towards achieving it via the concept byHis Majesty the King of Thailand. Thus, theconcept of STDZ should be part of efficiencyeconomy, and could fit in the bigger debateon climate change, liveability and better qualityof life.6 CONCLUSIONSThe two main ideas of developmentcentred on transport infrastructure anddevelopment around it have been describedin this paper: Transit-Oriented Development(TOD) and Transit Development Zones (TDZ).These claim to be concepts contributing tosustainability. The popular TOD concept hasbeen successful in the American urban context.However, good examples exist only in lowdensity urban contexts, for instance in NorthAmerica or Australia. Conversely, EuropeanTDZs might not be the best solution in lowdensity contexts, but successful examplesexist in very high densities in Hong Kongand London. While TODs and TDZs containmany of the same elements of urban form,some particular elements show evidence ofdifferences. Comparisons of the two conceptsindicate the necessary conditions that could beused to assess the sustainability of transportzones in S.E. Asia. These conditions are presentin a TDZ, but not nearly so evident in a TOD:high density of population and built space, mixof uses, size of neighbourhood in existing urbanareas, transport infrastructure and connectivity.These are a TDZ’s fundamental elements, andare also necessary conditions for the concept,the Sustainable Transport Development Zone(STDZ). In combination, these could improvesustainability by decreasing pollution, caremissions, minimising additional land use andreducing expenditure of cost and time towardsefficiency economy concept. Therefore, thisconcept could be a step towards part ofsufficiency economy in our city, especially indeveloping cities such as Bangkok. Thus, STDZshould be widely implemented in our city forachieving sustainability.REFERENCESAdam, W. & Fleming, D. (2005). Effective bus-based Transit Oriented DevelopmentTransit OrientedDevelopment-Making it Happen. Fremantle, Western Australia.Arrington, G. (2005). TOD in the United States: The experience with light rail: Transit OrientedDevelopment-Making it Happen. Fremantle, Western Australia.Bajracharya, B. & Khan, S. (2005). Planning for Sustainable Transit-Oriented Development: Thecase of Southeast Queensland. In: The Queensland University of Technology ResearchWeek International Conference. Brisbane, Australia, 2005.Banister, D. (2000). European Transport Policy and Sustainable Mobility. London: E & FN Spon.Banister, D. (2005). Unsustainable transport: city transport in the new century. Transport, developmentand sustainability. London: Routledge.Bernick, M. & Cervero, R. (1997). Transit Villages in the 21st Century. New York: McGraw-Hill.Bernstein, S. (2004). The new transit town: Great places and great nodes that work for everyone.In: Dittmar, H. & Ohland, G., eds. The New Transit Town: Best practices in Transit-OrientedDevelopments. Washington, D.C.: Island Press, pp. 232-247.Boonlua, T. (2007). Sustainable Transport Development Zones: A Model for Developing SoutheastAsian Cities? Lessons from Bangkok, School of Architecture. Oxford: Oxford BrookesUniversity.Calthorpe, P. (1993). The Next American Metropolis: Ecology, community, and the Americandream. New York: Princeton Architectural Press.Calthorpe, P. (2004). The Next American Metropolis. In: Wheeler, S. M. & Beatley, T., eds. Thesustainable urban development reader. London: Routledge, pp. 73-80.Cervero, R. (2003). Progress in Coping with Complex Urban Transport Problems in the UnitedStates. In: The 2 nd Conference on Future Urban Transport. Goteborg, Sweden: VolvoResearch and Educational Foundations, 2003.Cervero, R. (2004). Transit and the Metropolis: Finding harmony. In: Wheeler, S. M. & Beatley,T., eds. The sustainable urban development reader. London: Routledge, pp. 89-96.Cervero, R. (2005). Transit Oriented Development in Amerian: Strategies, issues, policy directions:Transit Oriented Development- Making it Happen. Fremantle, Western Australia.Cervero, R., Ferrell, C. & Murphy, S. (2002). Transit Cooperative Research Program (TCRP)Project H-29 - Transit-Oriented Development: State of the Practice and Future Benefits.:Federal Transit Administration, 2002.Daisa, J. M. (2004). Traffic, parking, and Transit-Oriented Development. In: Dittmar, H. & Ohland,G., eds. The New Transit Town: Best practices in Transit-Oriented Developments. Washington,D.C.: Island Press, pp.114-129.DETR (1998). Planning for Sustainable Development: Towards better practice. London: Departmentof the Environment Transport and the Regions.Dittmar, H. & Ohland, G., eds. (2004). The New Transit Town: Best practices in Transit-OrientedDevelopments. Washington, D.C.: Island Press.20วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255321


Dittmar, H. & Poticha, S. (2004). Defining Transit-Oriented Development: The new regional buildingblock. In: Dittmar, H. & Ohland, G., eds. The New Transit Town: Best practices in Transit-Oriented Developments. Washington, D.C.: Island Press, pp. 20-40.Dunphy, R. et al. (2004). Developing Around Transit: Strategies and solutions that work. Washington,D.C.: ULI-the Urban Land Institute.Dunphy, R., Myerson, D. & Pawlukiewicz, M. (2003). Ten Principles for Successful DevelopmentAround Transit. Washington, D.C.: ULI-the Urban Land Institute.Durning, A. T. (1996). The Car and the City: 24 steps to safe streets and healthy communities.NEW report ; no.3. Seattle, Wash.: Northwest Environment Watch.Frey, H. (1999). Designing the City: Towards a more sustainable urban form. London: E & FNSpon.Hazel, G. (2001). Transport development areas and the future of cities. In: Potential of TransportDevelopment Areas. London: Waterfront Conference Company, 2001.Hine, P. et al. (2000). Transport Development Areas: A study into achieving higher densitydevelopment around public transport nodes. London: Royal Institution of CharteredSurveyors.Holmes, A. (2001). Edinburgh TDA case study: Potential of Transport Development Areas In:Waterfront Conference Company. London, 2001.Jenks, M. & Burgess, R., eds. (2000). Compact Cities: Sustainable urban forms for developingcountries. London: E & FN Spon.Jenks, M. & Dempsey, N., eds. (2005). Future Forms and Design for Susatainable Cities. Oxford:Architectural Press.Kenworthy, J. (2002). Travel demand management: The potential for enhancing urban rialopportunities and reducing automobile dependence in cities. World Transport Policy andPractice 8 (3), pp.20-39.Leach, D. (2004). The Arlington county case study: Rosslyn-Ballston corridor. In: Dittmar, H. &Ohland, G., eds. The New Transit Town: Best practices in Transit-Oriented Developments.Washington, D.C.: Island Press, pp.132-153.Low, N. & Gleeson, B., eds. (2003). Making Urban Transport Sustainable. Global issues series(Palgrave Macmillan (Firm)). Basingstoke: Palgrave Macmillan.Mitchell, K. (2001). A developer’s view of transport development areas. In: Potential of TransportDevelopment Areas. London: Waterfront Conference Company, 2001.Newman, P. (2005). Transit Oriented Development: An Australian overvirwTransit OrientedDevelopment - Making it Happen. Fremantle, Western Australia.Newman, P. & Kenworthy, J. (2000). Sustainable urban form: The big picture. In: Williams, K.,Jenks, M. & Burton, E., eds. Achieving Sustainable Urban Form. London: E & FN Spon,pp. 109-120.Newman, P. D. & Kenworthy, J. R. (1999). Sustainability and Cities: Overcoming automobiledependence. Washington, D.C.: Island Press.RICS (2003). Transport Development Areas: The London dimension. London: The Royal Institutionof Chartered Surveyors.Terry, F. & Tobin, J. (2002). Ten Years, Ten Cities: The work of Terry Farrell & Partners 1991-2001. London: Laurence King.Thomas, L. & Counsins, W. (1996). A new compact city form: concept in practice. In: Jenks, M.,Burton, E. & Williams, K., eds. The Compact City: A sustainable urban form? London: E& FN Spon, pp. 328-338.Thomas, L. & Cousins, W. (1996). The compact city: A successful, desirable and achieveableurban form? In: Jenks, M., Burton, E. & Williams, K., eds. The Compact City: A sustainableurban form? London: E & FN Spon, pp. 53-65.Waterfront Conference, C. (2001). Potential of Transport Development Areas. London: WaterfrontConference Company.Wheeler, S. M. & Beatley, T. (2004). The sustainable urban development reader. London: Routledge.Woodhull, J. (1992). Sustainable Cities: Concepts and strategies for eco-city development.In: Walter, B., Arkin, L. & Crenshaw, R., eds. How alternative forms of development canreduce traffic congestion. Los Angeles: Eco-Home Media, pp. 168-177.22วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255323


“ที่”.... ที่ได้หายใจ หายคอBreathable Place -Breathable Architectureสุรีพรรณ์ สุพรรณสมบูรณ์Sureepan Supansomboon24วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255325


แนวคิดเริ่มแรก :หากไม่เคยไปยืนหายใจอยู่ ณ สถานที่จริงก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจชีวิตภายในสถาปัตยกรรมจนสามารถออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่มีชีวิตได้ลักษณะเฉพาะ :แคบ.... / ไม่เป็นระเบียบ.... / แออัด....พฤษภาคม 2550 ด้วยความตั้งใจที่จะศึกษาหาความรู ้อย่างจริงจัง จากการท่องเที่ยว “ฮอยอัน” (Hoi An)สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อาศัยเทคโนโลยีของกล้องดิจิตอล กดถ่ายภาพแบบแทบไม่ได้ยั้งคิด เบื้องต้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาไว้ คือ “บ้าน 4 เสา” 1 ของเวียดนาม จากข้อมูลที่หามา 2 กล่าวว่าอาคารพื้นถิ่นของเวียดนามจะแตกต่างจากประเทศอื่นในเอเชียที่ใช้โครงสร้างไม้น้ำหนักเบา อาคารพื้นถิ่นเวียดนามจะใช้โครงสร้างไม้ที่หนา-หนัก มีชั้นเดียว มุงหลังคากระเบื้องแผ่นเรียบซึ่งมีน้ำหนักมาก และไม่มีฝ้าเพดาน ลักษณะเฉพาะทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้สามารถอยู ่ได้แม้เกิดพายุลมแรงนับว่าเป็นลักษณะเฉพาะพื้นที่ที่มีความน่าสนใจแต่ ... เอาเข้าจริงการไปฮอยอันครั้งนี้กลับไม่สัมผัสบ้านสี่เสาอย่างใกล้ชิดตามที่ตั้งใจ เนื่องจากบ้านรูปแบบนี้จะกระจายตัวห่างออกไปจากเขตเมืองเก่าอย่างไรก็ตามเมื่อได้มากใช้เวลากับเมืองเก่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก 3 อย่างเต็มที่แล้ว กลับพบสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าหากไม่ได้มาสัมผัส ณ สถานที่จริง อาจจะไม่เกิดความรู้สึกแบบเดียวกันนี้ก็เป็นได้เมืองเก่าเรียงตัวเรียบแม่น้ำทูโบน (Thu BonRiver) ประกอบไปด้วย วัด ศาลเจ้า สมาคม และอาคารพาณิชย์พักอาศัย เกือบทั้งหมดเป็นอาคารพาณิชย์เรียงต่อกันเป็นแนวยาวขนานไปกับถนน แบบที่บ้านเราเรียกว่า“ตึกแถว” โดยมากเป็นอาคารโบราณสมัยก่อนศตวรรษที่18 ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ให้สามารถใช้งานได้ในปัจจุบันก่อนออกเดินสำรวจ ก้มหน้ามองแผนที่พบลักษณะเฉพาะที่ทำให้คาดเดาถึงความรู ้สึก “อึดอัด” จาก(1) รูปแบบอาคารหน้าแคบในขณะที่มีความลึกมาก(2) การเรียงตัวอย่างไม่เป็นระเบียบของอาคาร- แนวการเรียงตัวไปตามถนนหยักไปมาไม่เป็นเส้นตรง- ความสูงไม่เท่ากัน มีทั้งอาคารชั้นเดียวและสองชั้น- อาคารในบริเวณเดียวกันมีรูปลักษณ์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง(3) จากการเรียงติดชิดกันของอาคารจนแทบไม่มีที่หายใจหายคอเดินถ่ายภาพศึกษาเมืองได้ซักระยะกลับเกิดความรู ้สึกว่า ได้หายใจอย่างเต็มที่ จึงเกิดความสงสัยขึ้นว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น การศึกษาจึงเริ่มเป็นการค้นหา ...ภาพที่ 1 แสดง “บ้านสี่เสา” ที่เก็บภาพได้ระหว่างเดินทาง1“บ้านสี่เสา” คือ รูปแบบหนึ่งของอาคารพื้นถิ่นในประเทศเวียดนามซึ่งมีลักษณะ พิเศษคือมีความยาว 3 ช่วงเสา โดยมากจะมีเสาลอยด้านหน้าของบ้าน จำนวน 4 ต้น อาจมีการสร้างเพิ่ม หรือ ต่อเติมห้องไปทางด้านข้าง : นิยามโดยผู้เขียน.2ที่มา: http://www.vietnamwebsite.net/tochuc4.htm.3ฮอยอันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (World Heritage) จากองค์การยูเนสโกในปี พ.ศ.2542 จากการที่เป็นเมืองท่าที่สำคัญที่มีการผสมผสานศิลปะและวัฒนธรรมระหว่างชนชาติต่างๆ ที่มาตั้งถิ่นฐานค้าขายในเมืองนี้.ภาพที่ 2 แสดงผังของเขตเมืองเก่า ฮอยอัน26วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255327


สิ่งที่ประจักษ์ :แคบในสัดส่วนมนุษย์ / มีเสน่ห์ในความไม่เป็นระเบียบ / แออัดแต่ไม่อึดอัด“เมืองหายใจได้”Breathable Town“เมือง หายใจ ได้อย่างไร?”ที่ว่างภายนอก ... เมืองเก่าฮอยอันมีที่ว่างโล่งขนาดไม่ใหญ่มากนัก อยู่หลายจุด เช่นลานกิจกรรมริมแม่น้ำทูโบน เกิดจากการที่ถนนสองเส้นหักเข้ามาบรรจบกันเกิดเป็นมุมแหลม ซึ่งตอนที่ผ่านไปเวลากลางวันก็จะเป็นที่ว่างโล่งธรรมดา เผยให้เห็นทัศนียภาพแม่น้ำได้กว้างมากขึ้น ต่อเมื่อคืนวันเดียวกันกลับเป็นที่ชุมนุมของผู้คนเข้ามาทำกิจกรรมบางอย่างคล้าย ลุ้นหวย หรือ กำลังเล่นเกมบิงโก (Bingo)ภาพที่ 4 แสดง ลานกิจกรรมริมน้ำลานรูปปั้น คล้ายเป็นอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญล้อมรอบด้วยอาคารบ้านเรือน น่าสนใจตรงที่มีผู้คนเข้ามานั่งพักผ่อนบริเวณสวนสาธารณะขนาดย่อมนี้ด้วยบริเวณตลาด ซึ่งมีกิจกรรมขนส่งหนาแน่นจะมีพื้นที่กว้างด้านบนทางเท้า เสริมทางลาดไว้เพื่อจอดรถจักรยานยนต์ และนอกจากบริเวณตลาดแล้วยังมีที่ว่ารูปแบบนี้กระจายอยู่อีกหลายจุดภาพที่ 5 แสดง ลานรูปปั้นภาพที่ 3 แสดง ลานภายในวัดหรือ ศาลเจ้าภาพที่ 7 แสดง ที่นั่งริมแม่น้ำทูโบนภาพวาดที่แสดงมีที่มาจากภาพถ่าย ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหาคำตอบของความรู ้สึกที่ขัดแย้งกับสิ่งที่คาดการณ์เมื่อได้กลับมาเรียบเรียงความคิด คำตอบยิ่งปรากฏชัดเจนขึ้น จากวิถีชีวิตสามัญธรรมดาที่ว่างภายใน ... เป็นที่ทราบดีถึงการแพร่หลายของวัฒนธรรมจีนและการประสานวัฒนธรรมเข้าด้วยกันระหว่างชนชาติในเอเชีย พบลักษณะที่แสดงถึงความเป็น“จีน” ในฮอยอัน จากองค์ประกอบที่สำคัญของเมือง ได้แก่วัด ศาลเจ้า สมาคม ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่แทรกตัวอยู ่จำนวนมากระหว่างตึกแถว แม้จะไม่สามารถแยกประเภทการใช้งานได้ถูกต้องนัก แต่พบลักษณะที่น่าสนใจ กล่าวคือ หากอาคารดังกล่าวไม่ถอยร่นจากถนนเปิดพื้นที่ด้านหน้าเป็นลาน ก็จะมีผังอาคารล้อมที่ว่างตรงกลาง เมื่อเทียบเคียงกับวัฒนธรรมที่คุ้นเคยคาดเดาว่าพื้นที่ที่เปิดโล่งนั้นๆ เพื่อรองรับกิจกรรมหนาแน่นในบางช่วงเวลาที่มีเทศกาล แต่ในทางกลับกันในช่วงเวลาที่“ที่ว่าง (Open space)” นี้ ว่าง ก็จะกลายสภาพเป็นที่พักหายใจไปในทันทีภาพที่ 6 แสดง ลานจอดรถต้นไม้ และ วิว … มีลักษณะที่ดีต่อการชมวิวหลายประการ เช่น ที่นั่งใต้ต้นไม้ริมแม่น้ำทูโบน ร้านค้าที่เป็นร้านขายอาหาร-เครื่องดื่มพลิกวิกฤตความแคบของร้านสร้างลักษณะที่ดี เช่น การปลูกไม้เลื้อยด้านบนทิ้งปลายลงมาด้านล่าง และเว้นระยะด้านหน้าสำหรับจัดที่นั่งด้านหน้าให้นั่งหันเก้าอี้ไปทางถนน ในขณะที่ด้านหลังร้านที่ชั้นล่างเป็นส่วนบริการ ใช้การเปิดระเบียงชั้นบนรับวิวแม่น้ำทางด้านหลัง ผู้คนที่เป็นลูกค้าดูเหมือนจะพอใจจะแลกบรรยากาศนี้กับความแคบและไม่สะดวกบางประการภาพที่ 8 แสดง ที่นั่งหน้าร้านอาหารที่มีการปลูกไม้เลื้อยด้านบนหน้าร้าน28วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255329


ภาพที่ 10 แสดง รูปทรงอาคารที่ประกอบกันเป็นเมืองตรอกแคบๆ ... ถนนขนาดเล็กด้านข้างตึกแถวที่มักจะขนาบด้วยผนังทึบเป็นแนวยาว บ้างก็คดเคี้ยวตามความหลากหลายของอาคาร บ้างก็มีขนาดพอที่จะขี่จักรยานสวนกันได้ บ้างก็กว้างพอแค่ให้คนเดินนับเป็นที่หายใจ ที่อยู ่กึ่งกลางระหว่างความเป็นสาธารณะ (Public)กับความเป็นส่วนตัว (Private) จากขนาดที่พอดีสัดส่วนมนุษย์ก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นส่วนตัวในการครอบครองพื้นที่แต่ก็เปิดให้สาธารณชนผ่านได้ ตรอกบ้างส่วนถูกปิดด้วยประตูแต่ก็สามารถเปิดช่องเปิดได้จากทุกอาคารรอบด้านภาพที่ 9 แสดง ตรอกเล็กๆ ที่กระจายอยู่ทั่วไปในเขตเมืองเก่าถอยร่นและเปิดเข้า ... การวางตัวอาคารและลักษณะเฉพาะของอาคาร ก่อให้เกิดที่หายใจที่หลากหลาย อาคารบางหลังถอยร่นจากถนนเปิดพื้นที่ด้านหน้าเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ ลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นที่คุ้นชิน เพราะอาคารพาณิชย์โดยมากจะใช้พื้นที่อย่างเต็มที่โดยเฉพาะพื้นที่ด้านหน้า การถอยให้หลายก้าวนี้กลับสร้างเสน่ห์ เกิดความน่าสนใจจากความแตกต่างลักษณะอาคารส่วนใหญ่มีการเปิดช่องด้านหน้าอาคาร ถอยร่นพื้นที่ชั้นบนโดยใช้ลักษณะระเบียงโปร่งชั้นล่างใช้ประตูบานเฟี้ยมหรือประตูแผ่นไม้แนวนอนที่สามารถเปิดได้เต็มความกว้าง สร้างมุมมองที่ลึกเข้าไปภายในอาคารเป็นระยะไกล เกิดความรู้สึกโปร่ง มิใช่ทึบตันเพียงขอบถนนความไม่เท่ากัน-ไม่ใช่เส้นตรง … อาคารเรียงตัวกันไปตามถนน โดยถอยร่นจากแนวถนนในระยะที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดการซ้อนบังกัน และมีการเบี่ยงออกจากแนวเดิม ทำให้การคาดคะเนรูปทรงมีความยากลำบากมากขึ้น การเปิดที่ว่างหรือถอยร่นจึงมักจะเป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย ให้ความรู้สึกโล่งมากกว่าจริงเมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณที่มีอาคารปิดล้อมที่เดินเพิ่งผ่านมาความสูงของอาคารอยู ่ในระดับที่แตกต่างกัน ทั้งอาคารชั้นเดียวและ 2 ชั้น การที่อาคารมีความสูงไม่มากทำให้เส้นของท้องฟ้ามีพื้นที่มาก ในขณะที่การสลับสับหว่างระหว่างที่ว่างอาคารชั้นเดียว และอาคาร 2 ชั้น ทำให้มีช่องว่างสำหรับหายใจหลายจุดการจัดวางองค์ประกอบ และ ขนาด(Composition & Scale) … องค์ประกอบของสีและพื้นผิวของวัสดุ “ผนังเหลือง-ฟ้า-เขียว และ กระเบื้องมุงหลังคา” ประกอบกับสมดุล (balance) ของ “massและ void” “ระยะยื่น และ ระยะร่น” เป็นที่มาของการจัดวางองค์ประกอบของ “แสง และ เงา” เกิดมิติที่มีจังหวะ(rhythm) ของการซ้ำ (repetition) ของรูปทรงและสีที่คล้ายแต่ไม่เหมือนเสียทีเดียว ...จึงเป็นที่พึงใจ ... ไม่น่าเบื่อ ... และด้วยขนาดตามสัดส่วนมนุษย์อาคารหน้าแคบไม่สูง ช่องเปิดเล็ก ถนน-ตรอก-ทางเดิน คดและแคบสะดวกเดินมากกว่าสบายรถ ที่ว่าง ความจุไม่มากแต่กระจายหลายที่ ... จึงเป็นที่คุ้นเคย ... น่าสบายใจเป็นไปได้ว่าการค้นหาคำตอบโดยวิเคราะห์ความน่าจะเป็น อาจมีเหตุผลด้านความงาม และความรู ้สึกด้านดี เป็นตัวช่วยอยู่มาก แต่หากจะวิเคราะห์กายภาพของมนุษย์เพื่อหลีกเลี่ยงความลำเอียง พบว่า “มนุษย์จะสามารถหายใจหายคอได้อย่างโล่ง-โปร่ง-สบายที่สุดก็ตอนสุขภาพกายและใจที่ดีนี่เอง”ภาพที่ 10 แสดง ที่หายใจที่เกิดจากอาคาร30วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255331


“สถาปัตยกรรม (ก็) หายใจได้”Breathable Architecture (as WELL)อาคารที่สร้างความประทับใจ และสงสัยใคร่รู้เป็นร้านขายหนังสือและของที่ระลึกบนถนนงูเยน ทิมินห์ไค(Nguyen Thi Minh Khai) เพราะตลอดเวลาที่เดินดูหนังสือ จะมีลมพัดผ่านภายในร้านทำให้เกิดความเย็นสบาย ทั้งๆ ที่มองดูรูปลักษณ์แล้วอาคารเป็นอาคารที่ค่อนข้างมืดทึบ การค้นหาจึงเริ่มขึ้นอีกครั้ง“สถาปัตยกรรม หายใจ ได้อย่างไร?”ตึกแถวในเขตเมืองเก่ามีทั้งที่เป็นรูปแบบดั้งเดิมและโคโรเนียลสไตล์ (Colonial Style) มีการใช้สอยเป็นทั้งร้านค้าและที่อยู่อาศัย โดยรูปแบบดั้งเดิมจะสร้างด้วยไม้ มีรูปร่างแคบในขณะที่มีความลึกมาก เชื่อว่าเป็นรูปแบบเดียวกับที่พบในเมืองเกียวโต (Kyoto) ประเทศญี่ปุ ่น 4ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ คือ (1) ความกว้าง 3 ช่วงเสาซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับคติความเชื่อของบ้าน 4เสา และ (2) มีที่โล่ง (Courtyard) กลางและด้านหลังบ้านในขั้นตอนการบูรณะ ตึกแถวส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานของอาคาร กล่าวคือ ยังคงรูปแบบเป็นร้านค้าและที่อยู่อาศัยเหมือนเดิม มีเพียงอาคารหลังที่ 80 ที่ปรับเปลี่ยนพื้นที่ส่วนหน้าของอาคารเป็น “พิพิธภัณฑ์การค้าขายผลิตภัณฑ์เซรามิค”(Museum of Trading Ceramics) ซึ่งเป็นอาคารกรณีศึกษาตามแนวคิดเริ่มแรกพิพิธภัณฑ์การค้าขายผลิตภัณฑ์เซรามิค ตั้งอยู ่บนถนน ทรานฟู(Tran Phu) เป็นอาคารรูปแบบดั้งเดิมโครงสร้างไม้ 2 ชั้น เจ้าของบ้านเล่าว่าในอดีตใช้พื้นที่ชั้นล่างในการอยู่อาศัย และชั้นบนสำหรับเก็บสินค้า และหลบหนีอุทกภัย อาคารมีส่วนประกอบเรียงตามลำดับการเข้าถึง ดังนี้ อาคารส่วนด้านหน้า ที่โล่งกลางบ้านและระเบียงเชื่อมต่อ อาคารส่วนด้านหลัง และที่โล่งด้านหลังบ้าน(1) อาคารส่วนด้านหน้า ชั้นล่างเป็นโถงทางเข้าและส่วนต้อนรับของ “พิพิธภัณฑ์การค้าขายผลิตภัณฑ์เซรามิค” (Museum of Trading Ceramics) ชั้นบนเป็นส่วนจัดแสดงเชื่อมต่อกับระเบียงด้านหน้า ทั้งสองชั้นเชื่อมต่อกันโดยมีช่องเปิดโล่งบริเวณกลางอาคาร(2) ที่โล่งกลางบ้าน จะถูกวางชิดผนังด้านหนึ่งผนังเป็นศาลแบบจีนและมีสวนเล็กๆ ส่วนที่ติดผนังอีกด้านจะเป็นห้องแคบๆ ส่วนนี้จะมีทางเดิน-ระเบียงเชื่อมอาคารส่วนหน้าเข้ากับส่วนหลัง และมีบันไดเชื่อมระหว่างชั้นล่างกับชั้นบน(3) อาคารส่วนด้านหลัง มีการแบ่งเป็นห้องปัจจุบันใช้พื้นที่ในการเก็บของ จัดแสดงข้อมูลการบูรณะอาคารเก่าในฮอยอัน และขายของที่ระลึก พื้นที่ส่วนนี้มีประตูเชื่อมต่อไปยังอาคารหลังที่ติดกัน(4) ที่โล่งด้านหลังบ้าน เป็นที่ตั้งของห้องน้ำและครัว มีสวนกระถางใช้เวลาหายใจที่นี่ค่อนข้างนานเพื่อจับประเด็น“การหายใจของสถาปัตยกรรม” หลังนี้ มีปัจจัยที่น่าสนใจหลายประการซึ่งบางประเด็นจะเทียบเคียงกับอาคารหลังอื่นๆ ด้วย“well” ศัพท์ทางสถาปัตยกรรมคำว่า wellหมายความถึง ช่องโล่งตลอดแนวตั้งสำหรับให้แสงผ่านและการระบายอากาศ 5 และ ยังมีอีกความหมายหนึ่ง คือสบาย หรือ มีสุขภาพดี6ภาพที่ 12 แสดง ผังพื้น “พิพิธภัณฑ์การค้าขายผลิตภัณฑ์เซรามิค”4อ้างอิงจาก Showa, 2000.5“well [n.] 3.an enclosed space in the middle of a building,giving room for stairs or a lift or allowing light or ventilation”ที่มา : Oxford Dictionary6“well [adj.] 1.in good health; free or recovered from illness”ที่มา : Oxford Dictionaryภาพที่ 13 ช่องโล่งคอร์ทกลางบ้านพิพิธภัณฑ์การค้าขายผลิตภัณฑ์เซรามิคภาพที่ 14 มุมมองจากระเบียงด้านบนลงสู่โถงสูงกลางบ้านโบราณฟังฮัง32วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255333


อาคารพาณิชย์โดยส่วนใหญ่มักจะคำนึงถึงความคุ้มในการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอาคาร 2 หรือ 3 ชั้นมักจะสร้างเต็มพื้นที่ จะมียกเว้นอยู่บ้างก็คือ มีพื้นที่ชั้นลอย (mezzanine) ขนาดกึ่งหนึ่งไปทางด้านหลังในบางกรณี แต่อาคารพาณิชย์ในเมืองเก่าฮอยอันมีลักษณะที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดประการหนึ่ง คือ การมีช่องโล่ง(well) 2 แบบช่องโล่ง (well) ทั้งสองลักษณะ เป็นพื้นที่ที่เปิดให้แสงและลมผ่าน มีผลต่อความสบายของมนุษย์เชิงกายภาพ ในขณะเดียวกันความสูงโปร่งโล่งต่อเนื่องระหว่างสองชั้นที่เกิดขึ้นจากช่องโล่ง มีผลต่อความสบายของมนุษย์ทางด้านจิตใจ ตรงกับความหมายเชิงรูปธรรมของคำว่า “well” คือ ช่องโล่ง ซึ่งความหมายเชิงนามธรรมคือ สบายเป็นอย่างยิ่งรูปแบบแรก คือ การเว้นช่องโล่งเป็นพื้นที่คอร์ทกลางบ้าน อยู่ระหว่าง ส่วนด้านหน้าบ้าน พื้นที่เก็บของตอนกลางและส่วนด้านหลังบ้าน จะถูกล้อมรอบด้วยระเบียงในชั้นบนและทางเดินในชั้นล่าง และเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับบันได พบรูปแบบที่แตกต่างใน 2 ลักษณะที่พิพิธภัณฑ์การค้าขายผลิตภัณฑ์เซรามิค จะเป็นช่องโล่งคอร์ทกลางบ้านที่เปิดโล่งไม่มีหลังคาคลุม พื้นที่ส่วนนี้นอกจากจะเป็นส่วนที่ให้แสงและลมธรรมชาติผ่านแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกต้นไม้ สร้างพื้นที่ที่น่าพักผ่อน พบลักษณะเช่นเดียวนี้ที่ ร้านแทมแทมบนถนนเดียวกัน (TAM TAM Jardin Restaurant & Cafe’at Tran Phu) ซึ่งเมื่อร้านมีพื้นที่ใช้สอยเป็นร้านอาหารแล้วสร้างบรรยากาศที่น่านั่งเป็นอย่างมากส่วนที่บ้านโบราณฟังฮัง (Old House of PhungHung) ถนนงูเยน ทิ มินห์ ไค (Nguyen Thi Minh Khai)ใช้ลักษณะช่องโล่งคอร์ทกลางรูปแบบและขนาดเดียวกันที่แตกต่าง คือ มีหลังคาโปร่งแสงคลุมโดยเว้นช่องระบายอากาศระหว่างรอยต่อของหลังคากับตัวบ้าน พื้นที่ส่วนนี้จึงมีลักษณะเป็นโถงสูงที่มีแสงและลมผ่านเข้าสู่ภายในบ้าน บ้านหลังนี้ใช้ช่องโล่งคอร์ทกลางนี้เป็นโถงกลางบ้านสำหรับนั่งเล่นร่วมกันในครอบครัว พบลักษณะเช่นเดียวกันนี้ที่ร้านขายหนังสือและของที่ระลึกที่อยู่ติดกัน ซึ่งได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ว่า มีลมพัดผ่านเย็นสบายภาพที่ 15 ช่องกลางบ้าน พิพิธภัณฑ์การค้าขายผลิตภัณฑ์เซรามิคภาพที่ 17 แสดง ช่องประตูตรงกัน“ลม” หายใจทะลุ ปรุโปร่ง“flow” 7 ลักษณะทางฮวงจุ้ยอันเป็นศาสตร์ความเชื่อของชาวจีน กล่าวถึงการเปิดช่องเปิดตรงกันตลอดว่าเป็นลักษณะที่ไม่ควรทำ เนื่องจากจะทำให้ “ชี่”หรือ กระแสลมแรงเกินไป นอกจากนี้ยังแนะนำให้ประตูทางเข้า อยู่ด้านทิศใต้และมีขนาดใหญ่ ประตูหลังบ้านขนาดเล็ก 8 แต่ลักษณะอาคารที่ฮอยอันกลับแตกต่างกล่าวคือ จะมีประตูกว้างกลางอาคาร ทุกบานมีขนาดใกล้เคียงกัน และเรียงตรงกันตลอดด้านหน้าทะลุไปยังด้านหลังการระบายอากาศตามธรรมชาติ (naturalventilation) เป็นที่ทราบกันว่าทิศใต้และตะวันตกเฉียงใต้เป็นทิศที่ลมประจำพัดผ่านพื้นที่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้และการเปิดช่องให้ลมผ่านหากกำหนดให้ช่องลมเข้าและช่องลมออกอยู่เยื้องกันจะทำให้ลมพัดผ่านทั่วห้อง โดยทางลมออกเล็กกว่าทางลมเข้าจะช่วยให้กระแสลมมีความเร็วขึ้นอาคารเกือบทั้งหมดในเขตเมืองเก่าฮอยอันวางขนานแกนทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งสอดคล้องกับการวางแนวช่องเปิดตรงกับทิศทางลม ความกว้างของประตูช่วยให้ลมพัดผ่านทั่วอาคารซึ่งแคบ อาจคาดเดาได้ว่าถึงแม้จะมีช่องเปิดตรงกันโดยตลอดแต่ความเร็วของกระแสลมจะไม่แรงจนเกิดความสบาย เนื่องจากมีช่องลมออกถึงสองทิศทาง ได้แก่ ช่องแนวนอนทางประตู และช่องโล่งแนวตั้ง ช่องลมออกจึงมีมากกว่าช่องลมเข้ารูปแบบที่สอง คือ การเจาะช่องที่พื้นของส่วนด้านหน้าบ้าน ซึ่งอาคารโดยทั่วไปจะใช้เป็นพื้นที่ค้าขายที่พิพิธภัณฑ์การค้าขายผลิตภัณฑ์เซรามิค ช่องนี้มีราวกันตกล้อมรอบทำให้พื้นที่ส่วนนี้เป็นโถงที่มีช่องโล่งต่อเนื่องกันระหว่างชั้นล่างและชั้นบน ที่การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ด้านล่างจะเป็นโถงต้อนรับและพื้นที่พักคอย พื้นที่ชั้นบนเป็นที่นั่งพักในขณะที่ที่บ้านโบราณฟังฮัง จะมีช่องในตำแหน่งและขนาดเดียวกัน แต่จะมีตะแกรงไม้ขัดเป็นตาตาราง เปิด-ปิดได้เมื่อเปิดใช้สำหรับส่งของระหว่างชั้นบนและชั้นล่าง เมื่อปิดก็ทำหน้าที่เป็นพื้นห้องภาพที่ 16 ช่องส่งของที่พื้นบ้านโบราณฟังฮังภาพที่ 18 แสดง ช่องว่างแนวนอนและ แนวตั้งมารวมกันที่คอร์ทกลาง คือ ที่หายใจ7“flow [n.] 3. a steady, continuous stream” ที่มา : Oxford Dictionary.8ที่มา: จิระ, 2545:หน้า 18,54-55.ลมจึงพัดตลอดทั่วทั้งบ้านผ่านผิว สายตาจึงมองตลอดปลอดโปร่ง แสงจึงลอดสอดประสานหลากทิศทางวิถีแห่งความสบายทางอุณหภูมิ และการมองเห็น(Thermal & visual comfort)34วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255335


บทสรุป :เปิด อย่าง พอเหมาะ จะทำให้หายใจหายคอได้ภาพที่ 19 พื้นที่โล่งภายนอก เมื่อเห็นรู้สึกไม่อึดอัด เมื่อใช้จะได้สัมผัสภายนอก(1) ระเบียงหน้าบ้าน สัมผัส ถนนหลัก (2) ดาดฟ้าซักผ้า/ปลูกต้นไม้ สัมผัส ท้องฟ้าและหลังคา“rest” 9 อาคารโดยส่วนใหญ่ขนาดเล็กและหน้าแคบ การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเกิดขึ้นเป็นปกติมีพื้นที่เหลือ แต่ไม่มีเหลือ โดยการกำหนดการใช้สอยได้แก่พื้นที่หลังบ้าน นอกจากเป็นครัวและห้องน้ำจะปลูกต้นไม้ด้วย บ้านบางหลังทำหลังคาเรียบเป็นดาดฟ้าก็ใช้งานเป็นพื้นที่ซักผ้าและปลูกต้นไม้ ด้านหน้าบ้านจะมีระเบียงเป็นโครงสร้างยื่นเข้าไปทางด้านหน้าเป็นหลังคาไปในตัว รอบช่องโล่งคอร์ทกลางนอกจากจะมีระเบียงทางเดินเชื่อมระหว่างส่วนด้านหน้าไปยังส่วนด้านหลังบ้าน ยังเพิ่มเติมยื่นโครงสร้างระเบียงแคบๆรอบคอร์ท อีกด้วยอาคารทั้งหมดเปิดหน้าต่างได้น้อยเพราะต่อเนื่องทางด้านข้างตามด้านยาวของอาคาร เปิดหน้าต่างได้เพียงด้านหน้า ด้านหลัง และอาจเปิดด้านข้างได้กรณีที่อยู่ติดตรอกซอกซอย หรือ เมื่ออาคารที่ติดกันเป็นอาคารชั้นเดียวเมื่ออยู่ในห้องจะทึบ แต่อยู่นอกห้องจะไม่ทึบเพราะต่อเนื่องกับที่พักผ่อนที่กระจายอยู่ทั่ว เช่น ระเบียงด้านหน้าและรอบคอร์ท ที่ว่างหลังบ้านและดาดฟ้าซึ่งแม้จะเป็นที่ทำงานแต่ก็ปลูกต้นไม้ให้ได้พักสายตาด้วยสีเขียวของต้นไม้พื้นที่เหลือไม่มีเหลือ เพราะใช้เป็นที่ว่างให้ พักสายตาและจิตใจจุดที่สำคัญ ที่บ่งชี้ว่าสถาปัตยกรรมหายใจได้จากภายนอกสู่ภายในเกิดจากลมพัดผ่าน-แสงส่องถึงทำให้อากาศที่คนหายใจเข้าไปมีคุณภาพดี จากภายในสู่ภาพนอกคือคนที่อยู่ภายในรู้สึกสบายกายจากลม-แสงธรรมชาติที่พอเหมาะ รู้สึกสบายใจโดยได้พักผ่อนกับที่เปิด-โล่ง และต้นไม้ที่ว่างภายใน / ที่ว่างภายนอก / ต้นไม้และวิว /ตรอกแคบๆ / ถอยร่นและเปิดเข้า / ความไม่เท่ากัน-ไม่ใช่เส้นตรง / “well” / “flow” และ “rest” ที่วิเคราะห์มาข้างต้นรวมได้ความหมายร่วมกันของคำว่า การเปิด (opening)และที่ว่างโล่ง (open space) พบว่าเพียงแค่ “เปิด” คงไม่พอจะต้องมีเรื่องการจัดวางองค์ประกอบและขนาดมาประกอบด้วยเสมอ เพราะหากเปิดมากเกินไปอาจให้ความรู ้สึกไม่คุ ้นเคยและไม่เป็นส่วนตัว เปิดน้อยเกินไปจะทำให้อึดอัดไม่สบาย หากเปิดแต่ไม่กระจายในตำแหน่งและจำนวนที่เหมาะสมก็ไม่ทำให้เกิดความสบายในทุกที่ที่ใช้งานความสบายทางกายภาพ และทางด้านจิตใจ จะเกิดขึ้นโดยความรู้สึกที่เกิดจากเปิดประสาทสัมผัสทั้งห้ารับสิ่งดี การมองเห็นของสวยๆงามๆ ผิวสัมผัสลมเย็นสบาย หายใจเข้ารับอากาศบริสุทธิ์ สงบเงียบปราศจากเสียงรบกวน อาหารอร่อย ความรู้สึกภายในจากรสนิยมการรับรู้ความงามจากรูปร่างและสีสัน ความคุ้นเคยโดยการเดินเท้าและอยู่กับขนาดที่เป็นสัดส่วนมนุษย์ความพึงใจในพื้นที่โล่งและต้นไม้ ความสนใจใคร่รู้ในความ แตกต่างของวัฒนธรรม ทำให้เปิดรับความรู้สึกในแง่บวกเมืองเก่าฮอยอัน พยายามอนุรักษ์รูปแบบเดิมด้วยการใช้สอยแบบอื่นที่ไม่ขัดแย้งกัน กล่าวคือการบูรณะโดยคงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเดิม แต่ปรับการใช้งานเป็นร้านค้า ร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ ห้องภาพเพื่อสนองความต้องการด้านการท่องเที่ยว นับเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อสามารถทำให้เกิดการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนอดีต ... เปิดรับผู้มาเยือนเต็มที่ เข้า-ออกบริเวณ และร้านรวงได้ตามอิสระ ปัจจุบัน ... แม้จะ ปิด ขายตั๋วเข้าเมืองเก็บเงินเข้าวัด/ศาลเจ้า เก็บเงินเข้าชมบ้านเก่า บางส่วนแต่ก็ยังสามารถสร้างความรู ้สึกในแง่ดีตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ได้แต่หวังว่าในลักษณะทางกายภาพที่คงเดิมจะมีการจัดการที่เหมาะสม โดยการเลือกเปิดและปิดที่เหมาะสมให้นักท่องเที่ยว ได้หายใจหายคอ ต่อไปเอกสารอ้างอิงShowa Women’s University . World Heritage HOIAN:catalog published to commemorate the opening of“World Heritage Hoi An Exposition”, October 2000http://www.vietnamwebsite.net/tochuc4.htmOxford Dictionary (digital program)จิระ จิรเจริญเวศน์ . ตี่ลี่ ฮวงจุ้ย:เล่ม 1 ว่าด้วยเรื่องภายในบ้าน . ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : ณ บ้านวรรณกรรม กรุ๊ป, 25459“1. rest [v.] 1. cease work or movement in order to relax orrecover strength2. place or placed so as to stay in a special positionrest [n.] 1. an instance or period of resting2. rest [n.]1. the remaining part of something”ที่มา : Oxford Dictionary.36วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255337


สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานที่สิมวัดสุวรรณาวาสอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคามผู้ช่วยศาสตราจารย์วิโรจน์ ชีวาสุขถาวรAssistant Professor Wiroj Shewasukthaworn38วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255339


ประวัติความเป็นมาวัดสุวรรณาวาส เดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดโคกพระ”ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้างที่ชัดเจนนัก เรียกชื่อวัดตามชื่อหมู ่บ้านเนื่องจากสถานที่ตั้งของวัดในอดีตนั้นเป็นพื้นที่ป่ารกหนาทึบ แต่เดิมพบพระพุทธรูปประทับยืนประดิษฐานอยู่ 1 องค์ สร้างด้วยหินทราย มีความสูงประมาณ 8 ศอกกว้าง 1 ศอก จากการศึกษาพุทธลักษณะพบว่าเป็นศิลปะร่วมสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ประชาชนในพื้นที่เรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า“หลวงพ่อพระยืน” หรือ “หลวงพ่อพระพุทธมิ่งเมือง”ภาพที่ 1 หลวงพ่อพระพุทธมิ่งเมืองปัจจุบันประดิษฐานอยู่ด้านหน้าสิมหลังเก่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะศิลปะทวารวดี“...เขตสังฆกรรมในภาคอีสาน...”สิม เป็นคำเรียกสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการทำสังฆกรรม พิธีบวช และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องในกิจของสงฆ์ในภาคอีสาน มีความหมายเดียวกับโบสถ์หรือพระอุโบสถในภาคกลาง เหตุที่เรียกว่าสิม นั้น เป็นรูปเสียงที่กร่อนมาจากคำว่า สีมา ขอบเขตหรืออาณาเขตที่ใช้กำหนดขึ้นเพื่อใช้ประกอบการทำสังฆกรรม ซึ่งต้องทำในเขตพัทธสีมาเท่านั้น เป็นเขตที่มีการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน มีพิธีการผูกใบสีมาตามพระวินัยที่ถูกต้อง สิมจึงเป็นอาคารทางสถาปัตยกรรมที่มีความศักดิ์สิทธิ์รองลงมาจากพระธาตุบางแห่งไม่อนุญาตให้สตรีเข้าไปได้รูปแบบสถาปัตยกรรมสิมตำแหน่งที่ตั้งของสิมวัดสุวรรณาวาสหลังเดิมตั้งอยู่ติดริมถนนสายมหาสารคาม-กาฬสินธุ์ บริเวณหัวมุมทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัด ปัจจุบันสิมหลังนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว เนื่องจากมีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ไว้บริเวณด้านข้างสิมเก่าในปัจจุบัน แต่ทางวัดยังคงอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่สืบไป สิมวัดสุวรรณาวาสเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เป็นสิมทึบ โดยมีช่างญวณที่อพยพมาในภาคอีสานเป็นผู้สร้าง ลักษณะแผนผังของสิมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 4.98 เมตร ยาว 8.73 เมตรมีขนาดเล็กปัจจุบันสิมหลังนี้ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2537โดยความพยายามของรศ.วิโรฒ ศรีสุโร จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู ้ผลักดันในการอนุรักษ์ในครั้งนั้น ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของสิมหลังนี้มีการผสมสานของวัฒนธรรมจากช่างหลวงกับช่างพื้นบ้านเข้ามาไว้ในตัวสถาปัตยกรรมอย่างลงตัว ขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในมีไม่มากนักเนื่องจากมีแนวความคิดในการใช้สอยพื้นที่ภายในเพียงแค่การสังฆกรรมเท่านั้นรูปแบบสถาปัตยกรรมและการอนุรักษ์สิมวัดสุวรรณาวาสตัวสิมมีทางเข้าเพียงด้านหน้าเดียวโดยทางบันไดด้านหน้าแต่เดิมนั้นมีการประดับรูปสิงโตอยู ่ทั้งสองข้าง เป็นลักษณะของสัตว์เฝ้า ศาสนสถาน ปัจจุบันรูปสิงห์ดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นเพียงหัวบันไดการแบ่งพื้นที่โดยรอบสิมเป็นลานโล่งโดยรอบไม่ปรากฏระเบียง ประโยชน์ใช้สอยพื้นที่นั้นใช้ในการประกอบกิจกรรมต่างๆทางพุทธศาสนา เป็นกิจกรรมสำหรับชาวบ้านและผู้ที่เข้ามาร่วมประกอบพิธีกรรม ภายในพื้นที่ของสิมจะมีพื้นที่ขนาดเล็กใช้สำหรับทำสังฆกรรมเท่านั้นถือว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ไม่ปรากฏภาพฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนัง)ทั้งภายนอกและภายในของส่วนฐาน เป็นฐานชั้นเดียวเพื่อรองรับตัวสิมเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ปลายของส่วนฐานมีการเชิดขึ้นเล็กน้อย ตามแบบอย่างของอิทธิพลล้านช้างในอีสาน ฐานส่วนนี้มีความสูงจากพื้นประมาณ 1.35 เมตร ลักษณะการสร้างแอ่นโค้ง เป็นแนวคิดที่เกี่ยวเนื่องกับมุมมองจะทำให้อาคารมีความอ่อนช้อยและไม่แข็งกระด้างส่วนตัวอาคาร เป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน เป็นผนังรับน้ำหนัก ไม่มีโครงสร้างของเสาภายใน มีทางเข้าอาคารทางด้านทิศตะวันออกทางเดียว ผนังด้านนี้มีการปูนปั้นเป็นรูปซุ้มประตู ด้านบนซุ้มประตูมีการทำประติมากรรมปูนปั ้นประดับเป็นพระพุทธเจ้าปางป่าเลไลย์มีลิงและช้างหมอบกรอบอยู่ใต้พระบาทพระพุทธเจ้าก่อนการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2537 ประติมากรรมปูนปั้นเหล่านี้เลือนหายไป แต่ยังคงเหลือเค้าจึงมีการปั้นขึ้นใหม่ ทางเข้าเป็นบันไดก่ออิฐหัวบันไดเคยมีสิงโตประดับอยู ่ที่มุมทั้งสองข้างแต่ปัจจุบันได้หายไปแล้ว ส่วนประตูทางเข้าเป็นบานประตูไม้แกะสลักเป็นรูปเทวดาทรงพระขรรค์ มีความสวยงามตามแบบฉบับฝีมือช่างพื้นถิ่นอีสาน แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ในปัจจุบันบานประตูไม้นี้ได้ถูกคนร้ายลักขโมยไปเมื่อราวต้นปี พ.ศ. 2548นี้เอง และทางวัดก็ยังไม่สามารถติดตามคืนได้แต่อย่างใดด้านข้างทั้งสองข้างของตัวสิมมีการเจาะช่องเปิดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านละ 4 ช่อง มีการออกแบบทำภายนอกให้มีลักษณะเป็นซุ ้มโค้ง ภายในช่องหน้าต่างไม่มีบานเปิดแต่มีการกลึงไม้เป็นลูกกรงติดอยู่ภายในช่อง ส่วนผนังด้านหลังของสิมเป็นผนังก่ออิฐทึบ แต่มีการเจาะช่องแสงเป็นช่องกลมเล็กๆ 3 ช่องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร ปิดด้วยกระจกใสพระประธานในสิมหลังนี้ได้ถูกคนร้ายขโมยไปนานแล้ว ไม่มีใครสามารถระบุได้ว่ารูปพรรณสันฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นอย่างใด แต่จากการสำรวจจากฐานชุกชีภายในสิมที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก สันนิษฐานว่าพระประธานองค์เดิมคงมีลักษณะเป็นพระไม้ที่มีขนาดพอสมควร จากการบูรณะครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2537 ทางคณะที่ได้ร่วมบูรณะจึงได้มีการสร้างพระประธานองค์ใหม่ขึ้นด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายนอกลงรักปิดทองคำเปลวที่มีพุทธลักษณะเป็นแบบอีสาน และพระประธานองค์นี้มีชื่อเรียกว่า “พระบูรณะประสิทธิพรชัย” รอบๆ อาคารมีคันทวยไม้แกะสลักเป็นรูปพญานาคที่มีความงดงามอ่อนช้อยยิ่งนัก ตามแบบช่างพื้นบ้านอีสาน สภาพก่อนการบูรณะคันทวยเหล่านี้อยู่ในสภาพที่ชำรุด และหลุดหายไปหลายตัว แต่หลังจากการอนุรักษ์ในปี พ.ศ. 2537แล้วได้มีการทำคันทวยมาประดับไว้ครบถ้วนด้านละ 5 ตัวการทำคันทวยใหม่นี้ได้มีการทำด้วยวัสดุไฟเบอร์กลาสสารพลาสติกสังเคราะห์ที่เรียกว่า เรซิน (SYNTHETICRESIN) มาทำการทำแบบพิมพ์แล้วนำมาหล่อให้เป็นรูปทรงดังเดิม และมีทำสีให้มีลักษณะใกล้เคียงกับของเดิมการบูรณะปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้ได้มีการกำหนดให้มีการนำสารเคมีสังเคราะห์ประเภทโพลีเมอร์ (POLYMERS) หรือสารจำพวกพลาสติกที่ทำขึ้นจากกาวสังเคราะห์ เรซิน(SYNTHETIC RESIN) เมื่อนำมาผสมกับใยแก้วไฟเบอร์กลาส (FIBER GLASS) จะสามารถทำให้วัสดุที่หล่อออกมานั้นมีความเหนียวและความแข็งแรงสามารถหล่อวัสดุชิ้นใหญ่ได้แม้ว่าวัสดุชนิดนี้จะมีการนิยมใช้เป็นที่แพร่หลายแต่ไม่ปรากฏว่ามีการนำมาใช้ในการอนุรักษ์อาคารทางสถาปัตยกรรมการบูรณะสิมวัดสุวรรณาวาสหลังนี้จึงเป็นการนำเอาวัสดุที่เรียกว่า ไฟเบอร์กลาสมาใช้ในการอนุรักษ์เป็นครั้งแรก การผสมจะต้องหาส่วนผสมที่พอเหมาะเพราะถ้าใช้ส่วนผสมที่ไม่พอเหมาะแล้วชิ้นงานจะกรอบและแตกหักได้ง่ายหากโดนแดดนานๆ แต่ถ้าใช้ส่วนผสมที่ถูกต้องก็จะสามารถทนอยู่ได้นานหลายร้อยปี การหล่อชิ้นงานต้องหล่อออกมาให้เหมือนกับส่วนองค์ประกอบประดับอาคารของเดิม โดยต้องมีการถอดแม่พิมพ์จากชิ้นส่วนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมที่หลงเหลืออยู่ และเติมส่วนที่ชำรุดให้ครบ เมื่อได้แม่พิมพ์แล้วจึงสามารถหล่อแบบออกมา และทำการตกแต่งสีให้มีลักษณะเหมือนไม้เพื่อใช้ในการตกแต่งอาคารได้ดังเดิมส่วนบนของสิม จากการสำรวจก่อนการบูรณะปรากฏว่าส่วนโครงสร้างหลังคาชำรุดหัก ส่วนประดับบริเวณหลังคาปั้นลมและโหง่ที่เป็นไม้แกะสลักชำรุดผุกร่อนมาก หางหงส์ที่ประดับส่วนปลายสันหลังคาหักหายไปเกือบหมดเหลือเพียงตัวเดียว แต่ภายหลังการอนุรักษ์ได้มีการทำเลียนแบบของเดิมด้วยวัสดุไพเบอร์กลาสเช่นเดียวกับส่วนคันทวย เข้าไปประดับไว้ในตำแหน่งเดิมจนครบ หลังคาของสิมวัดสุวรรณาวาสหลังนี้เป็นหลังคาทรงจั่วมีการซ้อนหลังคาสองชั้น โครงสร้างทำด้วยไม้และมีการใช้วัสดุมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผาภาพที่ 2 ภาพลายเส้นผังพื้นสิมวัดสุวรรณาวาสภาพลายเส้นโดย นางสาวสุนิดา ชินณะวงศ์40วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255341


ภาพที่ 3 สิมวัดสุวรรณาวาสภาพที่ 6 ภาพถ่ายด้านข้างของสิมภาพที่ 7 ภาพลายเส้นสิมวัดสุวรรณาวาส ภาพลายเส้นโดย นางสาวสุนิดา ชินณะวงศ์ภาพที่ 4 ส่วนฐานของสิมวัดสุวรรณาวาส ภาพที่ 5 ทางเข้าด้านหน้าของสิมภาพที่ 8 ช่องเปิดด้านข้างที่มีการเป็นซุ้มโค้งประดับภาพที่ 9 คันทวยที่ประดับด้านข้างตัวอาคารภาพที่10 ผนังด้านหลังสิมที่มีช่องแสงเป็นวงกลมสามแห่ง42วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255343


เอกสารอ้างอิงธาดา สุทธิธรรม. (2545). เทคนิคการซ่อมบูรณะอาคาร รวมบทความและกรณีศึกษาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอีสาน.ขอนแก่น : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ธีรชัย บุญมาธรรม. ที่มาชื่อเมืองมหาสารคาม. ”ศิลปวัฒนธรรม ปีที่23 ,ฉบับที่10 (สิงหาคม 2545) : 124-127.วิโรฒ ศรีสุโร. บทวิเคราะห์ – วิพากษ์ สถาปัตยกรรมวันวานกับวันนี้. “วารสารอีสาน-สถาปัตย์ เล่มที่10 ฉบับที่1(มกราคม 2542) :21-24.สุวิทย์ จิระมณี. (2545). ศิลปสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานในวัฒนธรรมไทย-ลาว.ชลบุรี : คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.ภาพที่ 13 ประติมากรรมปูนปั้นประดับ เหนือซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปพระพุทธเจ้าปางป่าเลไลยก์ภาพที่ 11 ซุ้มประตูทางเข้าสิมที่ยังคงปรากฏบานประตูไม้แกะสลักติดอยู่ภาพที่ 12 บานประตูไม้แกะสลักรูปเทวดาถือพระขรรค์ ด้านล่างมียักษ์และราหู เป็นบานประตูไม้ที่มีความสวยงามตามแบบฉบับฝีมือช่างพื้นถิ่น ซึ่งถูกคนร้ายลักลอบขโมยไปจากวัดเมื่อไม่นานนี้ปัจจุบันยังหาไม่พบเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างมากบทสรุปสิมวัดสุวรรณาวาสเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานในการทำสังฆกรรมแล้ว เนื่องจากทางวัดได้ทำการสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ แทนหลังเดิมที่ชำรุด สิมหลังนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2537 โดยการดำเนินการของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและท่านอาจารย์วิโรฒ ศรีสุโร แต่หลังจากนั้นตัวสิมก็ถูกทิ้งให้ทรุดโทรมอีกครั้งเนื่องจากกาลเวลาที่ผ่านไปรวมถึงการถูกทำลายโดยมิจฉาชีพที่เข้าไปลักขโมยโบราณวัตถุของวัด เช่น พระพุทธรูปไม้ และบานประตูไม้แกะสลักที่ถือเป็นประติมากรรมพื้นบ้านชิ้นเอกแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคามที่ถูกโจรกรรมไปเมื่อประมาณต้นปีพ.ศ. 2548 ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่งต่อโบราณสถานของชาติ ปัจจุบันบานประตูดังกล่าวก็ยังหาไม่พบแต่อย่างใด ส่วนตัวสิมก็ยังคงตั้งตระหง่าน รอคอยการบูรณะต่อไปในอนาคตกิตติกรรมประกาศท่าน รศ.วิโรฒ ศรีสุโร ปราชญ์แห่งอีสานผู้ซึ่งสืบสาน อนุรักษ์สิมพื้นบ้านไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษามาจนถึงปัจจุบันกองส่งเสริมการวิจัย<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>ที่ให้ทุนสนับสนุนในการทำวิจัยเรื่อง สิมพื้นบ้านในจังหวัดมหาสารคามคุณสุนิดา ชินณะวงศ์ที่ร่วมสำรวจและเขียนภาพประกอบในการทำวิจัยครั้งนี้44วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255345


แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาตึกดินเขตเมืองเก่าจังหวัดมหาสารคาม“อนุรักษ์กินก็ได้ ทาก็ดี”THE CONSERVATION ANDDELVELOPMENT OFEARTHEN DWELLING A CASE STUDYIN MAHASARAKAM ANCIENTTOWN AREAอมฤต หมวดทองAmarit muadthongบทความวิจัยนี ้นำาเสนอในการประชุมวิชาการมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 5วันที่ 10-11 กันยายน 2552


บทคัดย่องานวิจัยมุ่งศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์ตึกดินในเขตเมืองเก่าจังหวัดมหาสารคามอันสอดคล้องกับวิถีชีวิตเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน เนื่องจากตึกดินมีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์และพัฒนาการย่านการค้าของเมืองตึกดินนั้นถือได้ว่า เป็นพยานหลักฐานที่เล่าเรื่องความเป็นมาร่วมกับองค์ประกอบต่างๆ ของเมืองมหาสารคามอันมีความหลากหลายของผู้คน วัฒนธรรมและรูปแบบสถาปัตยกรรมปัจจุบันได้มีการรื้อถอนตึกดินเพื่อปรับเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและกำลังจะหมดไปตามกาลเวลาเป็นประเด็นในการศึกษาที่ชุมชนร่วมกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์ร่วมกับคณะผู ้วิจัย โดยกำหนดกรณีศึกษาเป็นตึกดินเลขที่ 1082 ถนนเจริญราชเดช เป็นโครงการนำร่องผลการศึกษาพบว่า แนวทางในการอนุรักษ์นั้น กระบวนการมีส่วนร่วมนั้นควรเริ่มจากหน่วยย่อยของชุมชนอันได้แก่ ครอบครัว การสร้างโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้มาแลกเปลี่ยน แบ่งปันความทรงจำที่ดีของตึกดินร่วมกันในสถานที่จริง โดยให้คนในครอบครัวเป็นผู้ดำเนินเรื่อง เป็นการเริ่มต้นสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และต่อมาคือการปรับใช้พื้นที่ของตึกดิน เพื่อรองรับกิจกรรมใหม่มีความจำเป็นที่ต้องนำความรู ้ด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่เชื่อมโยงกับคุณค่าและภูมิปัญญาของช่างในอดีตโดยสถาปนิกเพื่อการสานต่อความต้องการใช้พื้นที่ของกิจกรรมในอนาคต อาทิเช่น ส่วนนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับตึกดินและพื้นที่เชิง พานิชย์แบบทางสถาปัตยกรรมมีศักยภาพและมิติในการผสานความต้องการของทุกภาคส่วนตั้งแต่ระดับครัวเรือนชุมชนและภาครัฐให้เกิดเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนาขยายผลไปสู่การส่งเสริมเอกลักษณ์ของชุมชน เนื่องจากตึกดินและอาคารทรงคุณค่าอื่นๆ ยังตั้งอยู่บนถนนสายวัฒนธรรมที่จัดงานไหว้เจ้าและเล่นงิ้วในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี เป็นเวลา 8 วัน ที่มีนักเรียน นักศึกษา ประชาชน นักท่องเที่ยวได้เข้าร่วมงานจึงสามารถสร้างเอกลักษณ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนต่อไปคำสำคัญ: ตึกดินAbstractThis research aims at studying the guidelines for conserving the earthen dwelling in theold city of Mahasarakham Province which has gone compatibly with ways of life, economic, andsocial status at present. This type of building is historically significant, and, moreover, is thewitness of the development of the city, as well as the evidence of the trade in this area. However,some of them were demoished and reconstructed as steel-reinorced concrete buildings. Hence,this aspect was taken into consideration of the community, along with the research team so asto conserve them. The pilot project for conservation of the soil building is at No.1082Charoenrajdej Road.It was found that the conservation guidelines, whose important element is the cooperation,should firstly focus at the “family” who can well stimulate the members to share the memorableexperience found in the soil building. The members must play the most important role, and thefirst step to do is to prepare them the notion about conservation. Then the use of the soilbuilding is considered so that it can be the place for family activities. Architectural design isnecessary as it is one means to relate of the values of the building to the local wisdom of thepast artisans then the building can be the relation to the future when the building will be used,for example, as the interpretation center for the soil building itself, or, moreover, as commercialarea. Architectural design is not only potential, but is also one dimension to link all relatedstakeholders, like the family, the community, and the government, which then brings the appropriateguidelines for the conservation in the future.Keywords: earthen dwellingบทนำตึกดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยชาวจีนที่อพยพเข้าสู่พื้นที่โดยประกอบธุรกิจการค้า ทั้งนำเข้าสินค้าจากกรุงเทพและรวบรวมสินค้าท้องถิ่นออกไปเร่ขายตามหัวเมืองต่างๆ ชาวจีนในภาคอีสานได้นำภูมิปัญญาการสร้างอาคารด้วยอิฐดินดิบ ตามแบบแผนของบรรพบุรุษเป็นอาคารค้าขายและพักอาศัยที่แสดงออกถึงความเฉพาะตัวของสกุลช่างและรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับทรัพยากรและสภาพดินฟ้าอากาศในท้องถิ่น ส่วนในจังหวัดมหาสารคามนั้น ตึกดินในยุคแรกตั้งอยู่บริเวณชุมชนท้าวกวด (พระเจริญราชเดช) เจ้าเมืองมหาสารคามใกล้กับหนองกระทุ ่ม เป็นย่านการค้ายุคแรกเริ่มของเมืองสืบเนื่องเรื่อยมาต่อมาได้ขยายตัวไปถึงถนนนครสวรรค์และมีรูปแบบเรือนไม้ค้าขายสองชั้นและอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเกิดขึ้นตามมา จนกระทั่งเริ่มมีการรื้อถอนตึกดินเพื่อปรับเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก และกำลังจะหมดไปตามกาลเวลาตึกดินนั้นถือได้ว่า เป็นพยานหลักฐานที่เล่าเรื่องความเป็นมาร่วมกับองค์ประกอบต่างๆ ของเมืองมหาสารคามอันมีความหลากหลายของผู้คน วัฒนธรรมและรูปแบบสถาปัตยกรรม หากแต่จะทำอย่างไรให้ตึกดินได้คงอยู่ภายใต้เงื่อนไขของเวลาในปัจจุบันเป็นมรดกสถาปัตยกรรมให้คนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้ เป็นหลักการและเหตุผลในการทำวิจัยเรื่อง แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาตึกดินในเขตเมืองเก่าจังหวัดมหาสารคาม ระหว่างชุมชนกับภาคการศึกษาเพื่อการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืนต่อไปวัตถุประสงค์การวิจัย1. เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับตึกดินในเขตเมืองเก่าจังหวัดมหาสารคาม2. เพื่อศึกษาวัสดุ วิธีการก่อสร้างและภูมิปัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับตึกดิน3. เพื่อสรุปแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาตึกดินเพื่อการอยู่อาศัยระหว่างชุมชน นักวิชาการและนิสิตวิธีการศึกษา1. ทบทวนเอกสารเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเด็นพัฒนาการและประวัติศาสตร์ ของเมืองมหาสารคาม ศึกษาภูมิปัญญาการก่อสร้างตึกดิน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา วิจัยและเก็บข้อมูลด้านต่างๆ2. ออกแบบแบบสอบถามข้อมูลทางกายภาพเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลผู้อยู่อาศัย และตึกดินพักอาศัย3. ทำหนังสือแนะนำตนเอง และวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อใช้สำหรับขอความร่วมมือในการทำวิจัยและเก็บข้อมูลด้านต่างๆ4. ประสานงานแบบเป็นทางการกับเทศบาลและผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้อง โดยมีหนังสือขอนัดหมายเข้าพบเพื่อแนะนำตนเองชี้แจงวัตถุประสงค์ในการวิจัย และขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูลเบื้องต้น จากนั้นเมื่อได้รับอนุญาตให้เข้าพบได้จึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวข้างต้น5. วางโครงข่ายความสัมพันธ์ของตึกดินในภาพรวมอันเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์เมืองมหาสารคาม6. สัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนาปราชญ์ ชาวบ้าน ครูในประเด็นคำถามการวิจัยทั้งรายบุคคล และ เป็นเวทีชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติในวิถีของชุมชน7. เก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นในด้านต่างๆเพื่อวางขอบข่ายเนื้อหาภาคสนามในเชิงลึกต่อไป8. ทำการสำรวจ จัดทำแบบสถาปัตยกรรมตึกดิน9. ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากเจ้าของอาคารกรณีศึกษา10. ทำการวิเคราะห์ และประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ เพื่อจัดทำแบบอนุรักษ์สถาปัตยกรรม11. สรุปผล และจัดทำแนวทางในการอนุรักษ์ตึกดินในเขตเมืองเก่าจังหวัดมหาสารคามผลการศึกษา“...ตึกดินจำาเป็นต้องอยู่...”ตึกดินถือได้ว่าเป็นพยานทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่สะท้อนของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมการก่อสร้างของคนจีนที่เข้ามาผสมผสานทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของรูปแบบอาคารค้าขาย ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มที่ทำด้วยดิน และต่อมามีการใช้ไม้ก่อสร้างเป็นอาคารสองชั้นและเป็นอาคารคอนกรีตโดยปัจจุบันได้มีการรื้อถอนตึกดินเพื่อก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก และตึกดินกำลังจะหมดไปตามกาลเวลา ในปัจจุบันเหลือเพียง สามหลัง48วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255349


“...คุณค่าของตึกดิน…”ดินเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ตั้งแต่บริเวณบ้านหรือรอบๆ ทำเลที่สร้างจนไปถึงบริเวณที่นา โดยช่างผู ้สร้างจะสังเกตเนื้อดินว่ามีความยึดเกาะกันดีหรือไม่หรือสังเกตสีหากเป็นสีเหลืองถือว่าใช้ได้เนื่องจากมีเนื้อดินเหนียวอยู ่มากส่วนผสมในการยึดเหนี่ยวดิน ได้แก่ แกลบทรายแม่น้ำชีและฟางสับ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นของหาง่ายในท้องถิ่นโดยนำดินเหนียวผสมทราย แกลบ น้ำและฟางสับ ย้ำให้เข้ากันแล้วนำไปบรรจุลงแป้นไม้ที่ทำเป็นแม่แบบไว้ขนาด12”X 6” X 4” เมื่อได้ขนาดแล้วแกะไปตากแดดประมาณ2-3 แดด จนได้เป็นอิฐดิบพร้อมก่อต่อมาทำการปรับระดับพื้นให้สม่ำเสมออัดให้แน่นแล้วจึงทำการตั้งเสาเสาะก่ออิฐดิบโดยใช้โคลนเป็นตัวผสานในอิฐแต่ละก้อนด้วยคุณสมบัติของดินที่มีความชื้นสะสมและประกอบกับมีความพรุนสูง อาศัยการทรงตัวด้วยการตากแดดโดยมิได้ผ่านการเผาไฟด้วยความร้อน จึงทำให้ความชื้นที่มีอยู่ในดินนี้ โดยจะคลายความเย็นในช่วงอุณหภูมิภายนอกมีความร้อน โดยผู้วิจัยรู้สึกได้ถึงความแตกต่างในเวลาที่อยู ่ในตึกดินเมื่อเปรียบเทียบกับอาคารอิฐมอญฉาบปูนในช่วงเวลาเดียวกัน ในทางกลับกันถ้าอุณหภูมิภายนอกอาคารมีความเย็นหน้าดินจะดูดซับความเย็นไว้และคายความอุ ่นออกมา จะเห็นได้ว่าในช่วงฤดูร้อนหรืออากาศภายนอกร้อน ภายในตึกดินจะเย็นส่วนในฤดูหนาวภายในตึกดินจะอุ ่น ซึ่งเหมาะกับกิจกรรมของอาคารพานิชย์ที่ต้องใช้เวลาอยู่ในอาคารนานๆเพื่อทำกิจกรรมค้าขายภาพที่ 1 รูปตัดแสดงฝ้าเพดานดิน ตึกดินนายชื่นชัย วรามิตรแนวทางในการอนุรักษ์ตึกดิน คุณค่าในเชิงสังคมและเศรษฐกิจ“ ...ถักทอมรดก... ”เป็นขบวนมีส่วนร่วมในการเสนอแนวความคิดในการกำหนดทิศทางการออกแบบพื้นที่ใช้สอยของตึกดินโดยการให้สมาชิกในครอบครัวได้มีโอกาสเสนอความคิดเห็น โดยให้บทบาทความสำคัญตามโครงสร้างทางสังคมของครอบครัว อันได้แก่ลำดับความอาวุโส โดยแต่ละช่วงวัยจะเล่าถึงประสบการณ์และเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับตึกดินที่โยงความไปถึงเรื่องบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วบรรยากาศในการสนทนานั้นเปี่ยมไปด้วยสายใยของสมาชิกในครอบครัวที่บอกเล่าประสบการณ์ในตึกดินซึ่งกันและกัน โดยผู ้วิจัยนั้นเป็นเพียงผู ้นั่งฟังเท่านั้น ผู ้วิจัยมีความเห็นว่าการถ่ายทอดเรื่องราวดังกล่าวนี้เปี่ยมไปด้วยพลังของเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับอดีตเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากได้ฟังและรับรู้เรื่องราวในสถานที่จริง ฟังจากปากผู้อยู่ในเหตุการณ์จริง ผู้วิจัยพบว่า สมาชิกในครอบครัวนั้นถือได้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์และกำหนดทิศทางของตึกดินในอนาคต เพราะหากมองไปในอนาคต สมาชิกในครอบครัวรุ ่นถัดมาจะเป็นผู ้สานต่อนั้นยังมองไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญของตึกดินการอนุรักษ์นั้นคงดำเนินต่อได้ยากหากสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะวัยหนุ ่มสาว เพราะฉะนั้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการตระหนักคุณค่าของตึกดินแบบถักทอมรดกนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งการจัดพื้นที่ใช้สอยใหม่ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ในส่วนรับแขกนั้นควรปรับพื้นที่ใช้สอยดังนี้1. จัดทำหอประวัติตระกูลวรามิตร ที่นำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของผู้คนในตระกูลให้ลูกหลานได้ศึกษา2. ส่วนนิทรรศการ ประวัติตึกดิน วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และภูมิปัญญาอันเกี่ยวเนื่อง3. ผู ้วิจัยเสนอแนะถึงแนวทางการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่สมาชิกในครอบครัว ได้แก่ การแบ่งห้องที่ปล่อยรกร้างที่ว่างอยู่นั้นให้เป็นพื้นที่แบ่งให้เช่า โดยมีกิจกรรมและลักษณะธุรกิจเป็นไปในแนวทางที่ร่วมกันคิดกับเจ้าของที่ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู ้อาทิเช่น ศูนย์ศึกษาที่อยู่อาศัยแบบพอเพียง ร้านกาเเฟตึกดินอภิปรายผล“...ทำาไมต้องอนุรักษ์ตึกดิน…”อาจารย์นารีรัตน์ ปริสุทธิวุฒิพร ได้สรุปความสำคัญของประวัติศาสตร์คนจีนในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคาม ได้ชี้ถึงความสำคัญของคนจีนที่เข้ามามีส่วนในการผสมผสานทางวัฒนธรรมและได้มีส่วนผลักดันพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยาการจากประเทศจีน เช่น การปลูกผักยกร่องสวน การให้ปุ ๋ยคอกในนาข้าวและการสร้างบ้านด้วยดินเหนียวผสมฟางข้าวตึกดินนั้นถือได้ว่าเป็นพยานหลักฐานที่เล่าเรื่องความเป็นมาร่วมกับองค์ประกอบต่างๆ ของเมืองมหาสารคาม ตึกดินเป็นอาคารค้าขายยุคแรกของเมือง จนกระทั่งเมืองได้ขยายตัวไปถึงถนนนครสวรรค์และมีรูปแบบเป็นเรือนไม้ค้าขายสองชั้นและเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กในยุคแรกเริ่ม ฝีมือผู้ช่วยศาสตราจารย์ทรงคุณ อัตถากรสถาปนิกลูกหลานเมืองมหาสารคาม จนกระทั่งเป็นอาคารพาณิชย์คอนกรีตเสริมเหล็กในปัจจุบันสรุปตึกดินมีคุณค่าในแง่ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมของคนจีนในจังหวัดมหาสารคาม ภูมิปัญญาในการใช้วัสดุและวิธีการก่อสร้างแบบธรรมชาติและหาง่ายในท้องถิ่น เกิดเป็นลักษณะเฉพาะ สามารถต่อยอดองค์ความรู้ดังกล่าวได้หลากหลาย อาทิเช่น วัสดุการก่อสร้างแบบธรรมชาติประหยัด หาง่าย หรือ อนุรักษ์รูปแบบตึกดินให้สอดรับกับสภาพปัจจุบันส่งเสริมให้เกิดเอกลักษณ์ สร้างจุดขายทาง การค้าและส่งเสริมเอกลักษณ์ของถนนการค้าเมืองมหาสารคามสอดคล้องไปกับงานประเพณีไหว้เจ้าและเล่นงิ้วในทุกๆ ปีของเมืองข้อเสนอแนะ“ อนุรักษ์กินก็ได้ ทาก็ดี ”การวิจัยด้านอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและเมืองต้องใช้เวลาสร้างขบวนการสร้างความเข้าใจและควรเป็นการวิจัยแบบสหวิทยาการ โดยมีผู ้ร่วมการศึกษาหลายสาขาวิชา อาทิเช่น นักเศรษฐศาสตร์ นักกฎหมาย นักมานุษวิทยาเพื่อให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย โดยทำกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจอย่างต่อเนื่องกิตติกรรมประกาศคณะผู้วิจัยขอขอบคุณ <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>ในงบประมาณการสนับสนุน อาจารย์สมชาย นิลอาธิ อาจารย์ สันทนา ภิรมย์เกียรติและคณาจารย์ที่ไม่ได้เอ่ยนาม ชุมชนถนนนครสวรรค์ และอาจารย์ ชื่นชัย วรามิตรภาพที่ 2 แผนที่แสดงตำแหน่งตึกดินและอาคารทรงคุณค่าอื่น บริเวณ ถนนนครสวรรค์ จ.มหาสารคาม50วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255351


ภาพที่ 3 แสดงการใช้พื้นที่ของกิจกรรมใหม่ในตึกดินภาพที่ 5 แสดงการใช้พื้นที่ของกิจกรรมใหม่ในตึกดินเอกสารอ้างอิงกฤษณุ ผโลปกรณ์. (2544) แผนผังการออกแบบปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณเมืองเก่า จังหวัดมหาสารคามวิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>. มหาสารคาม.ดนัย นิลสกุล. (2549). การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในตึกดิน กรณีศึกษาในเขตอีสานใต้. วารสารสังคมลุ่มแม่น้ำโขง, ปีที่ 2(2) พ.ค - ส.ค.นารีรัตน์ ปริสุทธิวุฒิพร. (2546). คนจีนกับการขยายตัวของเมืองบริเวณลุ ่มน้ำชี กรณีศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคาม.เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการประวัติศาสตร์การขยายตัวชุมชนลุ ่มน้ำชี ชุดโครงการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคอิสานร่วมกับฝ่ายวิจัย มมส. สนับสนุนโดย สกว.สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. (2550). เอกสารประกอบการประชุม สถาปนิกกับบทบาทการพัฒนาเชิงอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมชุมชน, ในงาน ASA สุดสัปดาห์วิชาการ ครั้งที่ 5 วันที่ 24 – 25 กุมภาพันธ์ 2550ณ อาคารสมาคมสถาปนิกสยาม.ภาพที่ 4 แสดงการใช้พื้นที่ของกิจกรรมใหม่ในตึกดิน52วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255353


แนวคิดการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ (CP)ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและประสิทธิภาพการรักษา:กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่วนกลางของรัฐA Physical TherapyInterior Environment Designconcept for Children withCerebral Palsy (CP) inaccordant with Patient behaviorand Therapy Effectiveness: acase study on State GeneralHospitalsหัวหน้าโครงการนิพัทธา น้อยประวัติNiphattha noiprawatที่ปรึกษาโครงการรศ.ดร. นพดล สหชัยเสรีNopadon Sahachaisaereeบทความวิจัยนี้นำาเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติEnvironmental PsychologyUniversity Zurich, Switzerland6-9 กันยายน 255254วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255355


บทคัดย่อการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ภายในห้องกายภาพบำบัดที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและประสิทธิภาพการทำกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ โดยศึกษากลุ ่มตัวอย่างและลักษณะกิจกรรมภายในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลราชานุกูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลรามาธิบดีในการวิจัยได้มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง 3 ปัจจัย คือ สภาพแวดล้อมภายในห้องกายภาพบำบัด พฤติกรรมและประสิทธิภาพเพื่อต้องการทราบว่าทั้ง 3 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กันหรือไม่และถ้ามีความสัมพันธ์จะเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะใด การหาความสัมพันธ์แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนแรกเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับประสิทธิภาพ เพื่อทราบว่าแบบพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมพึงประสงค์ต่อการเกิดประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัดโดยแบ่งลักษณะพฤติกรรมเป็น 4 ประเภท ดังนี้ พฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่มีต่อคนภายในสภาพแวดล้อม พฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่มีต่อสภาพแวดล้อมภายใน พฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่มีต่อคนภายนอกสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่มีต่อสภาพแวดล้อมภายนอก เมื่อนำข้อมูลด้านพฤติกรรมและประสิทธิภาพ มาทำการวิเคราะห์ด้วยหลักสถิติ พบว่าพฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่เกิดจากคนภายในสภาพแวดล้อม พฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน และพฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่เกิดจากคนภายนอกสภาพแวดล้อมเป็นพฤติกรรมพึงประสงค์ต่อประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัดขั้นตอนที่สองเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่าง สภาพแวดล้อมกับพฤติกรรม เพื่อทราบว่าลักษณะทางสภาพแวดล้อมแบบใดมีผลต่อการเกิดพฤติกรรมพึงประสงค์โดยมีการสำรวจลักษณะทางสภาพแวดล้อม ดังนี้จำนวนประเภทพื้นที่ภายในสภาพแวดล้อม จำนวนทางเข้า-ออกขนาดพื้นที่ห้อง ความของสูงห้อง การใช้แหล่งแสงธรรมชาติปริมาณพื้นที่ปูแผ่นยาง อัตราการส่องสว่าง ปริมาณพื้นที่สีขาว จำนวนสีอื่นนอกจากสีขาวภายในสภาพแวดล้อม การใช้สีหลักอื่นที่นอกจากสีขาวภายในสภาพแวดล้อมการเกาะกลุ่มของสีอื่นนอกจากสีขาวภายในสภาพแวดล้อม การใช้สีตัดกันภายในสภาพแวดล้อม จำนวนกลุ่มกายภาพอื่นภายในสภาพแวดล้อม ระยะห่างระหว่างกลุ่มกายภาพ และการใช้หรือไม่ใช้แผ่นยางปูพื้นขณะทำกายภาพบำบัดเมื่อนำข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมมาทำการวิเคราะห์โดยใช้หลักทางสถิติพบว่าลักษณะทางสภาพแวดล้อมทั้งหมดนั้น มีผลต่อการเกิดพฤติกรรมพึงประสงค์ในฐานะที่เป็นสิ่งเร้าขั้นตอนสุดท้ายเป็นการเชื่อมโยงสภาพแวดล้อมกับประสิทธิภาพโดยผ่านตัวแปรพฤติกรรม เพื่อต้องการทราบว่าลักษณะทางสภาพแวดล้อมมีผลต่อการเกิดประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัดหรือไม่ ซึ่งพบว่า สภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในฐานะที่เป็นสิ่งเร้าเช่นกันการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรม และประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัดได้โดยตรง และสามารถอธิบายได้ว่า สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งเร้าให้เกิดพฤติกรรมพึงประสงค์ต่อประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัด และพบว่าการจัดสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมพึงประสงค์และประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัด มีปัจจัยที่ควรพิจารณา 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ พื้นที่ห้องควรมีขนาดประมาณ 100 ตารางเมตร ความสูงของห้องประมาณ 2.80 เมตร จัดแบ่งพื้นที่ภายในให้มีความหลากหลายของประเภทพื้นที่น้อยที่สุดตามลักษณะพฤติกรรมการเข้าใช้เพื่อลดความซับซ้อนของประเภทพื้นที่และจัดสภาพแวด ล้อมให้ชัดเจนเป็นสัดส่วน มีจำนวนทางเข้าออก 2 ทาง แบ่งเป็นทางเข้าหลักและทางเข้ารอง มีปริมาณพื้นที่ปูแผ่นยางประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ห้อง ภายในสภาพแวดล้อมควรมีอัตราการส่องสว่างประมาณ 250 ลักซ์ และมีการใช้แสงธรรมชาติโดยควบคุมสิ่งเร้าที่มาจากสภาพแวดล้อมภายนอก ภายในสภาพแวดล้อม ควรมีปริมาณพื้นที่สีขาวร้อยละ 85 ของพื้นที่ห้อง มีสีอื่นนอกจากสีขาวภายในสภาพแวดล้อมสูงสุดที่ 4 สี ไม่ควรใช้สีอื่นเป็นสีหลักในสภาพแวดล้อมนอกจากสีขาวไม่ควรมีการเกาะกลุ ่มของสีอื่น และมีการใช้สีตัดกันภายในกลุ ่มกายภาพบำบัดเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กให้เกิดการร่วมมือในการทำกายภาพบำบัด ปัจจัยด้านการเข้าใช้พื้นที่ภายในห้องกายภาพบำบัดซึ่งควรมีจำนวนกลุ ่มกายภาพสูงสุด6 กลุ่ม ระยะห่างเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม 4 เมตร และในการเข้าใช้พื้นที่ปูแผ่นยาง ควรสร้างสภาพแวดล้อมระหว่างกลุ่มให้แต่ละกลุ่มไม่สามารถมองเห็นและได้ยินเสียงกัน เป็นการช่วยลดการรบกวนกันระหว่างกลุ่มผลการวิจัยสามารถอนุมานจากทฤษฎีได้ว่าขณะทำกายภาพบำบัดต้องทำให้เด็กมีความเป็นส่วนตัวและรู้สึกถึงความมีอาณาเขตครอบครอง สภาพแวดล้อมภายในห้องโดยรวม จะต้องไม่มีสิ่งเร้าหรือควบคุมสิ่งเร้าให้เกิดน้อยที่สุดแต่ในขณะที่ทำกายภาพบำบัดภายในกลุ่มกายภาพต้องมีการสร้างจุดสนใจเพื่อกระตุ ้นให้เด็กเกิดการร่วมมือในการทำกายภาพ การสร้างสภาพแวดล้อมในลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัดและส่งผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กสมองพิการได้อย่างเหมาะสมABSTRACTThis research aims to study the effects of interior environmental features on the effectivenessof physical therapy among children with cerebral palsy. The research assumes that interiorenvironment primarily determines the central attention of the patients, which further institutes thelevel of cooperation and thus the effectiveness of therapy. Distinctive interior settings in threestate hospitals are utilized to test the effects of different environmental settings on child patients’level of attention. A ‘structured observation’ together with an ‘achievement rating,’ measured bythe patients’ cooperative level, are utilized to gauge the success of therapy conducted within thethree different environmental settings.Statistical result reveals a pattern of correlative linkages among the interior features, thelevel of central attention, and the effectiveness of therapy. Behavioral responses are foundpositively correlated with the level of patient cooperation. The analysis of behavioral responsediscloses three types of environmental stimuli—crowding in the treatment rooms, present ofparticular interior features such as windows, and activities outside the treatment rooms visible tothe patients. Desirable response is also found increasing along with the number of interior stimulusfeatures.A design guideline for treatment room is finally established. Two groups of interiorenvironmental features could be manipulated to elevate the effectiveness of therapy—the physicalenvironment which includes room size, and the spatial location of therapy activities within theinterior environment.Keywords : Physical Therapy, Interior Design, Environmental Design, Patient behavior,Therapy Effectivenessประเด็นปัญหาการทำกายภาพบำบัดเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเด็กสมองพิการ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพมีส่วนทำให้กิจกรรมการกายภาพบำบัดนั้นเป็นไปได้อย่างเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก็ได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “อิทธิพลด้านสิ่งแวดล้อมช่วยส่งเสริมการพัฒนาการต่าง ๆ ให้เป็นไปได้อย่างเต็มที่หรือเป็นตัวถ่วงไม่ให้เกิดการพัฒนางอกงามขึ้นมาได้” (ประภาพันธุ์ กรโกสียกาจ.2527:9)ดังนั้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับกิจกรรมการทำกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการก็สามารถทำให้เด็กสมองพิการมีการพัฒนาชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบกับในปัจจุบัน ไม่มีรูปแบบของสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องทำกายภาพบำบัดที่เป็นมาตราฐานเกิดขึ้น จึงเห็นควรศึกษาหาแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่สอดคล้องในการทำกายภาพบำบัดสำหรับเด็กพิการขึ้นจากประเด็นปัญหาจึงเกิดคำถามการวิจัย ดังนี้คำาถามการวิจัย1. ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการสร้างแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ (CP)2. แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องทำกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ(CP) เป็นอย่างไร56วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255357


วัตถุประสงค์การวิจัย1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของเด็กสมองพิการ (CP)2. เพื่อศึกษาแนวทางการทำกายภาพบำบัดเด็กสมองพิการ(CP) เพื่อระบุความต้องการด้านการทำกายภาพบำบัด3. เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัด ที่เป็นตามแนวทางการทำกายภาพบำบัด4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ (CP)สมมติฐานการวิจัยเด็กสมองพิการ และกิจกรรมการทำกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ มีความสัมพันธ์ต่อการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดที่สอดคล้องกับการทำกายภาพบำบัดข้อจำกัดของการวิจัยในการทำวิจัยครั้งนี้ คาดว่าผลที่ได้จะสามารถนำไปปรับใช้ได้ในสภาพแวดล้อมของห้องกายภาพบำบัดภายในโรงพยาบาลส่วนกลาง ที่มีการทำกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ CP เท่านั้น เนื่องจากเหตุผลดังนี้1. ประเภทของเด็กพิการที่ทำการศึกษาเป็นเพียงกลุ่มเดียว ผลของแนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมที่ได้อาจมีความเฉพาะเจาะจง สำหรับกลุ่มเด็กสมองพิการ (CP) แต่อาจสามารถดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อเด็กพิการประเภทอื่นๆ ที่มีลักษณะการทำกายภาพ บำบัดบางอย่างที่เหมือนกัน2. กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษามีลักษณะการทำกายภาพบำบัดที่หลากหลาย ดังนั้นการศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำกายภาพบำบัด จึงเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ครอบคลุมกิจกรรมโดยรวมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งไม่ได้เจาะจง หรือเฉพาะกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเท่านั้นกรอบแนวคิดการวิจัยแนวคิดเกี่ยวกับเด็กสมองพิการแนวคิดเกี่ยวกับการกายภาพบาบัดแนวคิดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีผลต่อการทำกายภาพคุณลักษณะเฉพาะของเด็กสมองพิการ การทากายภาพบาบัด สภาพแวดล้อมภายในห้องกายภาพบำบัดตัวแปรอิสระการสร้างแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการตัวแปรตามการให้ความร่วมมือของเด็กสมองพิการในการทำกายภาพบำบัดตัวแปรกลางขอบเขตของการวิจัยงานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาถึงลักษณะสภาพแวดล้อมภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ ซึ่งมีขอบเขตในการศึกษาดังนี้1. ลักษณะสภาพแวดล้อมทางกายภาพศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการในโรงพยาบาลส่วนกลางเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 แห่ง ดังนี้โรงพยาบาลราชานุกูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลรามาธิบดี2. กลุ่มบุคคลที่ทำการศึกษา- เด็กสมองพิการ กลุ ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา คือเด็กสมองพิการ (CP) ที่มีลักษณะอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง(Spastic) และลักษณะอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง(Athetoid) ที่เข้ารับการบำบัดด้วยการทำกายภาพบำบัดภายในพื้นที่ห้องกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลส่วนกลาง เขตกรุงเทพมหานคร- นักกายภาพบำบัด คือ ผู้ที่ให้การบำบัดทางกายภาพ เพื่อการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กสมองพิการ โดยมีการเข้าใช้พื้นที่ภายในห้องทำกายภาพบำบัดตัวแปรการวิจัยตัวแปรในการวิจัยแบ่งออกได้ 3 กลุ่มตัวแปรคือตัวแปรอิสระ ตัวแปรกลางและตัวแปรตาม ดังนี้ตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรที่คาดว่าทำให้เกิดแนวทางในการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้- คุณลักษณะเฉพาะของเด็กสมองพิการ ตัวชี้วัดคือ ลักษณะทางความพิการ- การทำกายภาพบำบัด ตัวชี้วัดคือ ประเภทการทำกายภาพ และอุปกรณ์ประกอบในการทำกายภาพบำบัดสำหรับเด็กพิการ- ด้านสภาพแวดล้อม เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมภายในห้องกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลทั้ง3 แห่ง แบ่งตัวแปรออกเป็น 2 ส่วน คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัด มีตัวชี้วัดดังนี้ตำแหน่งที่ตั้งห้อง พื้น ผนัง เพดาน วัสดุ แสง สี เสียงการระบายอากาศ อุณหภูมิ องค์ประกอบภายในพื้นที่และเครื่องเรือน ตัวแปรด้านพฤติกรรมการเข้าใช้พื้นที่ซึ่งมีตัวชี้วัดดังนี้ จำนวนคนในกลุ่มกายภาพ จำนวนกลุ่มกายภาพภายในห้อง ระยะห่างเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม และขนาดพื้นที่ที่ใช้ในการทำกายภาพบำบัดตัวแปรกลางเป็นตัวแปรที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัว ซึ่งตัวแปรกลาง คือ การให้ความร่วมมือในการทำกายภาพบำบัดของเด็กสมองพิการเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับคุณสมบัติเฉพาะของเด็กสมองพิการในขณะที่ทำกายภาพบำบัดโดยพิจารณาจากการแสดงออกของพฤติกรรมในระหว่างการทำกายภาพบำบัดและการประเมินผลการทำกายภาพบำบัดโดยนักกายภาพบำบัดตัวแปรตามเสนอแนะแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในห้องกายภาพบำบัด เป็นการเสนอผลการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการที่ได้จากการวิจัยมีการเชื่อมโยงตัวแปรแต่ละตัวกับวัตถุประสงค์และคำถามของการวิจัยและ การเชื่อมโยงตัวแปรกับเครื่องมือการวิจัย58วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255359


การแปลงตัวแปรการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของเด็กสมองพิการวัตถุประสงค์ข้อที่ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการทำกายภาพบำบัดเด็กสมองพิการเพื่อระบุความต้องการด้านการทำกายภาพบำบัดวัตถุประสงค์ข้อที่ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องกายภาพบำบัดที่เป็นไปตามแนวทางการทำกายภาพบำบัดคำถามข้อที่ 1. ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการวัตถุประสงค์ข้อที่ 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องกายภาพบำบัดคำถามข้อที่ 2. แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการ เป็นอย่างไรConceptualตัวแปรอิสระคุณสมบัติเฉพาะของเด็กสมองพิการการทากายภาพบาบัดสภาพแวดล้อมภายในห้องกายภาพบำบัดตัวแปรกลางการให้ความร่วมมือของเด็กสมองพิการในการทำกายภาพบำบัดตัวแปรตามสภาพแวดล้อมภายในห้องกายภาพบำบัดOperational- ลักษณะทางความพิการ- ประเภทการทากายภาพ- อุปกรณ์ประกอบตำแหน่งที่ตั้งห้อง พื้น ผนังเพดาน แสง สี เสียง อุณหภูมิการระบายอากาศ องค์ประกอบภายในพื้นที่ เครื่องเรือน- การแสดงออกของพฤติกรรมระหว่างการทำกายภาพบำบัด- ประสิทธิภาพในการให้ความร่วมมือพื้น ผนัง เพดาน แสง สี เสียงการระบายอากาศ อุณหภูมิองค์ประกอบภายใน พื้นที่เครื่องเรือนการรวบรวมข้อมูล1. ปัจจัยด้านเด็กสมองพิการเป็นการศึกษาหาข้อมูลด้านลักษณะความพิการและสำรวจจำนวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละโรงพยาบาลที่ทำการศึกษาลักษณะความพิการโรงพยาบาลSpastic Athetoid รวมราชานุกูล 9 3 12จุฬาลงกรณ์ 6 2 8รามาธิบดี 8 1 9รวม 23 6 292. ปัจจัยด้านการทำกายภาพบำบัดเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของการทำกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการและอุปกรณ์ในการทำกายภาพ• การทำกายภาพด้วยการจับต้องควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้ คือ แผ่นยางปูพื้น กระจกเงา ลูกบอล และโรล• การทำกายภาพบำบัดด้วยการจัดท่าทางอุปกรณ์ที่ใช้ คือ แผ่นยางปูพื้น กระจกเงา ลูกบอล โรลหมอนรูปลิ่ม โต๊ะเตี้ย ฐานโยก เครื่องช่วยยืน และราวฝึกยืน - เดิน• การทำกายภาพด้วยการฝึกหัดการเคลื่อน ไหวอุปกรณ์ที่ใช้ คือ แผ่นยางปูพื้น กระจกเงา ลูกบอล โรลโต๊ะเตี้ย เก้าอี้ รถเข็นช่วยเดินและราวฝึกยืน - เดิน แต่ละอุปกรณ์มีรูปแบบดังนี้3. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพเป็นการสำรวจลักษณะทางสภาพแวดล้อมกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดและพฤติกรรมการเข้าใช้พื้นที่ของแต่ละโรงพยาบาลที่ทำการศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มี 2 ประเด็นคือ• สภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องกายภาพบำบัดเป็นการสรุปลักษณะทางสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล ทั้ง 3 แห่ง ซึ่งมีประเด็นดังนี้ ตำแหน่งที่ตั้งของห้อง ลักษณะการเข้าถึง ขนาดพื้นที่ความสูงของห้องเนื้อที่ช่องแสง ปริมาณพื้นที่ปูแผ่นยาง ระบบการใช้แสงสว่าง เสียงรบกวน การใช้สีภายในสภาพแวดล้อม ระบบการระบายอากาศ และองค์ประกอบภายในพื้นที่• พฤติกรรมการเข้าใช้พื้นที่ภายในห้องกายภาพบำบัดเป็นข้อมูลการเข้าใช้พื้นที่ มีประเด็นต่างๆ ดังนี้จำนวนกลุ ่มกายภาพอื่นขณะเข้าใช้พื้นที่ภายในห้อง ระยะห่างระหว่างกลุ่ม จำนวนคนในกลุ่มกายภาพ ขนาดพื้นที่ที่ใช้ในการทำกายภาพบำบัด- แผ่นยางปูพื้น - กระจกเงา - ลูกบอล- โรล - หมอนรูปลิ่ม - โต๊ะเตี้ย60วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255361


- ฐานโยก - เครื่องช่วยยืน - เก้าอี้- รถเข็นช่วยเดิน - ราวฝึกยืน- เดิน- การให้ความร่วมมือ ตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพทำโดยเก็บผลคะแนนการประเมินประสิทธิภาพในการให้ความร่วมมือโดยนักกายภาพเป็นผู้ให้การประเมิน หลังการเสร็จสิ้นการทำกายภาพบำบัด การรวบรวมข้อมูลด้านประสิทธิภาพในการให้ความร่วมมือเป็นการใช้แบบสัมภาษณ์สำหรับนักกายภาพบำบัดซึ่งเป็นการประเมินประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัดโดยนักกายภาพบำบัดเป็นข้อมูลในลักษณะอัตตวิสัยคือผู้ประเมินมีความแตกต่างกันในแต่ละสภาพแวดล้อมเนื่องจากไม่สามารถให้มีผู้ประเมินเพียงคนเดียวในทุกๆสภาพแวดล้อมได้จึงใช้การสร้างมาตรฐานในการประเมินคือ กำหนดระดับคะแนนโดยให้ผู้ประเมินแต่ละแห่งพิจารณาประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัดตามที่เห็นสมควร ซึ่งแบ่งเป็นระดับคะแนนการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูล 3 ปัจจัย คือ ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพของนักกายภาพบำบัด ข้อมูลการเกิดพฤติกรรมของเด็กสมองพิการ และผลประเมินประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัด นำข้อมูลทั้ง3 ปัจจัยมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ซึ่งในส่วนของการวิเคราะห์นี้มี 3 ขั้นตอนขั้นตอนแรก เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับประสิทธิภาพขั้นตอนที่สอง เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรม และขั้นตอนสุดท้าย คือ การหาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับประสิทธิภาพ ตามลำดับ ดังภาพแสดงความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ปัจจัย4. ปัจจัยการให้ความร่วมมือของเด็กสมองพิการในการทำกายภาพบำบัดแบ่งเป็นการให้ความร่วมมือของเด็กสมองพิการขณะที่ทำกายภาพบำบัดในแต่ละสภาพแวดล้อม- การให้ความร่วมมือ ตัวชี้วัดด้านการเกิดพฤติกรรมสังเกตการเกิดพฤติกรรมขณะที่เด็กเข้ารับการทำกายภาพบำบัด จัดแบ่งลักษณะพฤติกรรมได้4 ลักษณะคือสภาพแวดล้อม1. พฤติกรรมที่มีต่อคนภายในห้องกายภาพบำบัด2. พฤติกรรมที่มีต่อสภาพแวดล้อมภายในห้องกายภาพบำบัดประสิทธิภาพประเภทพฤติกรรม ตัวชี้วัดพฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่มีต่อคนภายในสภาพแวดล้อมเหลียวมองกลุ่มอื่น เหลียวมองคนเดินภายใน ตกใจเสียงเด็กร้องไห้ มองนักกายภาพพูดคุย เหลียวมองตามเสียงเด็กร้องมองนักกายภาพและผู้ปกครอง แย่งของเล่นกลุ่มอื่น ตกใจเสียงกลุ่มอื่น3. พฤติกรรมที่มีต่อคนภายนอกห้องกายภาพบำบัด4. พฤติกรรมที่มีต่อสภาพแวดล้อมภายนอกห้องกายภาพบำบัดพฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่มีต่อสภาพแวดล้อมภายในสนใจของเล่นกลุ่มอื่น หลีกหนีไปเอาของเล่น เหลียวตามเสียงโทรศัพท์ เหลียวมองรอบห้อง ตกใจเสียงปิดลิ้นชัก แหงนมองไฟเพดาน สนใจของเล่นอื่นๆ ที่อยู่รอบห้องภาพแสดงความสัมพันธ์ของทั้ง 3 ปัจจัยพฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่มีต่อคนภายนอกสภาพแวดล้อมเหลียวมองคนนอกห้องพฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่มีต่อสภาพแวดล้อมภายนอกเหลียวมองรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน เหลียวมองออกไปนอกผนัง ก้มหน้ามองไปชั้นล่าง62วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255363


ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ดังนี้พฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่มีต่อคนภายในสภาพแวดล้อม พฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่มีต่อสภาพแวดล้อมภายใน และพฤติกรรมของเด็กสมองพิการที่มีต่อคนภายนอกสภาพแวดล้อมสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในทิศทางบวกอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 หมายถึงถ้าพฤติกรรมต่างๆ ข้างต้นมีมากขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพมีมากขึ้นด้วย ซึ่งพฤติกรรมและประสิทธิภาพมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05เช่นกัน ตัวชี้วัดทางสภาพแวดล้อมในด้านสีหลักอื่น การเกาะกลุ ่มของสีอื่น การใช้สีตัดกัน การใช้แผ่นยางขณะทำกายภาพ จำนวนประเภทพื้นที่ภายใน จำนวนทางเข้า-ออก ขนาดพื้นที่ห้อง ความสูงของห้อง แหล่งแสงธรรมชาติ ปริมาณพื้นที่ปูแผ่นยาง อัตราการส่องสว่างสภาพแวดล้อมแนวทางการออกแบบสิ่งเร้าประเด็นด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพพื้นที่ห้องควรมีขนาดประมาณ 100 ตารางเมตรความสูงของห้องประมาณ 2.80 เมตร จัดแบ่งพื้นที่ภายในให้มีความหลากหลายของประเภทพื้นที่น้อยที่สุด ตามลักษณะพฤติกรรมการเข้าใช้เพื่อลดความซับซ้อนของประเภทพื้นที่และจัดสภาพแวดล้อมให้ชัดเจนเป็นสัดส่วนมีจำนวนทางเข้าออก 2 ทาง แบ่งเป็นทางเข้าหลักและทางเข้ารอง มีปริมาณพื้นที่ปูแผ่นยางประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ห้อง ภายในสภาพแวดล้อมควรมีอัตราการส่องสว่างประมาณ 250 ลักซ์และมีการใช้แสงธรรมชาติโดยควบคุมสิ่งเร้าที่มาจากสภาพแวดล้อมภายนอก ภายในสภาพแวดล้อมควรมีปริมาณพื้นที่สีขาวร้อยละ 85 ของพื้นที่ห้อง มีสีอื่นนอกจากสีขาวภายในสภาพแวดล้อมสูงสุดที่ 4 สี ไม่ควรใช้สีอื่นเป็นสีหลักในสภาพแวดล้อมนอกจากสีขาว ไม่ควรมีการเกาะกลุ ่มของสีอื่น และมีการใช้สีตัดกันภายในกลุ ่มพฤติกรรมสิ่งเร้ามีผลต่อภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม พฤติกรรม ประสิทธิภาพปริมาณพื้นที่สีขาว จำนวนสีอื่นนอกจากสีขาว จำนวนกลุ่มอื่น ระยะห่างระหว่างกลุ่ม เป็นสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรม และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นตัวทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัด หรืออธิบายได้ว่าสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งเร้าให้เกิดประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัด ซึ่งในทางเดียวกันสภาพแวดล้อมก็ทำให้เกิดพฤติกรรมด้วย ดังภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม พฤติกรรม ประสิทธิภาพประสิทธิภาพกายภาพบำบัดเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กให้เกิดการร่วมมือในการทำกายภาพบำบัดประเด็นด้านการเข้าใช้พื้นที่ภายในห้องกายภาพบำบัดซึ่งควรมีจำนวนกลุ ่มกายภาพสูงสุด 6 กลุ ่ม ระยะห่างเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม 4 เมตร และในการเข้าใช้พื้นที่ปูแผ่นยาง ควรสร้างสภาพแวดล้อมระหว่างกลุ ่มให้แต่ละกลุ ่มไม่สามารถมองเห็นและได้ยินเสียงกัน เป็นการช่วยลดการรบกวนกันระหว่างกลุ่มสรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการทำกายภาพบำบัดสำหรับเด็กสมองพิการคือ1. ขณะทำกายภาพบำบัดต้องทำให้เด็กมีความเป็นส่วนตัวและรู้สึกถึงความมีอาณาเขตครอบครองสภาพแวดล้อมภายในห้องโดยรวม จะต้องไม่มีสิ่งเร้าหรือควบคุมสิ่งเร้าให้เกิดน้อยที่สุด แต่ในขณะที่ทำกายภาพบำบัด ภายในกลุ่มกายภาพ2. ต้องมีการสร้างจุดสนใจเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการร่วมมือในการทำกายภาพ การสร้างสภาพแวดล้อมในลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัดและส่งผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กสมองพิการได้อย่างเหมาะสมข้อจำกัดในงานวิจัยจากการดำเนินการศึกษางานวิจัยชิ้นนี้ผู ้ทำ การวิจัยได้พบข้อจำกัดบางประการ ซึ่งมีดังนี้1. กลุ่มเด็กที่ทำการศึกษาในผลงานวิจัยชิ้นนี้มีคุณลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนที่มีความซับซ้อนมากในด้านการแพทย์ ในการวิจัยนี้ไม่ได้ลงลึกถึงปัจจัยแต่ละบุคคลได้ แต่ใช้วิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยลักษณะความพิการซึ่งมี2 ลักษณะ และกำหนดกลุ ่มอายุอยู ่ในช่วง1 ปีครึ่งถึง 6 ปีเท่านั้น ซึ่งผลของการวิจัยอาจไม่สามารถรองรับการใช้งานสำหรับผู้ที่มีลักษณะเฉพาะและกลุ่มอายุที่นอกเหนือจากการศึกษาวิจัยชิ้นนี้2. งานวิจัยชิ้นนี้ทำการศึกษาสภาพแวดล้อมภายในห้องกายภาพบำบัดของโรงพยาบาล 3 แห่งมีความแตกต่างทางสภาพแวดล้อมโดยรวม มีผลทำให้การค้นพบของการวิจัยขึ้นอยู ่กับเงื่อนไขทางสภาพแวดล้อมที่ทำการศึกษา ดังนั้นการสรุปผลข้อมูลจึงเป็นการอ้างอิงข้อมูลทางสภาพแวดล้อมที่สรุปได้ว่าเหมาะสมกับการทำกายภาพบำบัดที่สุด3. การวิจัยในแต่ละสภาพแวดล้อมไม่ได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกันเนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ จึงมีการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละแห่งโดยอ้างอิงหลักฐานทางการแพทย์และงานวิจัยนี้ไม่สามารถให้นักกายภาพตามไปให้การประเมินในสภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้ จึงใช้วิธีการโดยให้นักกายภาพในแต่ละสภาพแวดล้อมเป็นผู้ที่ทำการประเมิน ซึ่งมีความแตกต่างกัน เป็นลักษณะอัตตวิสัยจึงได้มีการกำหนดระดับคะแนนที่ใช้ประเมินผลเพื่อควบคุมความแตกต่างในการประเมิน4. แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมของการวิจัยนี้ได้มาจากกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดหรือไม่ เนื่องจากไม่ได้นำเอาผลสรุปของแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมมาสร้างเพื่อทำการทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของงานวิจัย5. งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาจากสภาพแวด ล้อมที่มีอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะการประเมินผลประสิทธิภาพของสภาพแวดล้อมที่ผ่านกระบวนการออกแบบมาก่อน ดังนั้นผลของงานวิจัยที่ได้จึงเกิดจากเงื่อนไขทางสภาพแวดล้อมของแต่ละแห่ง64วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255365


การพัฒนาผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบพึ่งพาตนเองDevelopment of Precast SlabProduction by Self-Relianceกฤต โง้วธนสุวรรณGrit Ngowtanasuwan66วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255367


รูปที่ 4 แสดงการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูปการคำนวณข้อกำหนดในการคำนวณ ตามมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก (โดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน) โดยกำหนดน้ำหนักบรรทุกจร (LL.) = 300 kg/m 2 กำลังของคอนกรีตfc’ = 173 ksc (คอนกรีตผสมมือ) หน่วยแรงของเหล็ก fy = 2,400 ksc (เหล็กเส้นกลม SR24) จะได้ค่า n, k, j, และ Rเท่ากับ 10, 0.333, 0.888, 9.61ksc ตามลำดับ (วสท.2550)รูปที่ 2 แสดงลักษณะของเหล็กเสริมรูปที่ 4 แสดงการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูปในการก่อสร้างอาคารฯ โดยที่การใช้งานจะเหมือนการใช้แผ่นพื้นสำเร็จทั่วไปทำการค้ำยันที่กึ่งกลางแผ่นพื้น การวางแผ่นพื้นฯจะวางชิดกัน และระยะกดทับที่บ่าคานไม่ควรน้อยกว่า5 ซม. หลังจากนั้นแล้วก็วางเหล็กตะแกรง (Wire Mesh)และเทคอนกรีตทับหน้า ดังรูปที่ 5 และ รูปที่ 6รูปที่ 3 แสดงภาพแผ่นพื้นสำเร็จรูป (มุมมองสามมิติ)รูปที่ 3 แสดงรูปแผ่นพื้นสำเร็จรูป ที่เป็นมุมมองสามมิติที่หล่อคอนกรีตเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะใช้งานการยกแผ่นพื้นสำเร็จรูปขึ้นจากแบบหล่อโดยการใช้แรงงานคน (หรือเครนยกของ) ผูกยึดด้วยลวดสลิง หรือโซ่หรือเหล็กเส้นดัดเป็นรูปตัวเอส (S) จุดยกจะมีสองจุดต่อแผ่นพื้นสำเร็จรูปหนึ่งแผ่น โดยที่จุดยกจะอยู่ห่างจากปลายแผ่นพื้นแต่ละด้านเข้ามาประมาณ 20 ซม. ถึง 50 ซม.หรือตามการคำนวณทางวิศวกรรม (เพื่อให้เกิดโมเมนต์ดัดน้อยที่สุด)รูปที่ 5 แสดงการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูปและเหล็กตะแกรง (Wire Mesh)รูปที่ 6 แสดงการเทคอนกรีตทับหน้า (Topping)หมายเหตุ: ตัวอย่างการคำนวณนี้ ตรวจสอบเฉพาะหน่วยแรงที่เกิดขึ้นในแผ่นพื้นสำเร็จรูป (วินิต, 2550; สิริศักดิ์, 2549; กฤต, 2552)70วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255371


ขั้นตอนการผลิตและการทดสอบ1. เตรียมวัสดุฯและเตรียมพื้นที่หล่อคอนกรีต(preparing)แบบหล่อทำด้วยเหล็กฉาก ขนาด 5 ซม. x 5 ซม.วางห่างกัน 30 ซม. ตามรูปแบบของแผ่นพื้นสำเร็จรูปทั่วไป พื้นที่หล่อคอนกรีตสามารถใช้พื้นคอนกรีตโดยทาน้ำมันป้องกันคอนกรีตติดพื้นก็เพียงพอแล้ว ทำการตัดเหล็ก ดัดเหล็กปลอก และผูกเหล็กให้ได้รูปทรงตามที่ออกแบบไว้ โดยขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที3. เทคอนกรีต (Concrete Casting)เทคอนกรีตที่ผสมแล้ว ลงในแบบหล่อ และปาดแต่งโดยผิวหน้าคอนกรีตทำให้เป็นผิวหยาบ เพื่อให้ยึดเกาะกับคอนกรีตทับหน้า (Topping) ได้ดีโดยขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีภาพที่ 8 เหล็กเสริมที่สมบูรณ์และนำมาเข้าแบบหล่อ2. ผสมคอนกรีต (Concrete Mixing)ทำการผสมคอนกรีตโดยใช้ส่วนผสม 1:2:4ซีเมนต์-ทราย-หิน และน้ำตามสมควร ผสมมือตามที่เคยทำการผสมคอนกรีตโครงสร้างทั่วไปก็เพียงพอแล้วซึ่งสามารถใช้แรงงานท้องถิ่นได้โดยขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีภาพที่ 11 คอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ถอดแบบหล่อและบ่มชื้นโดยการใช้น้ำ5. ยกแผ่นพื้นสำเร็จรูป (Lifting)การยกแผ่นพื้นขึ้นนั้น จะกระทำได้โดยตำแหน่งจุดยกจะห่างจากปลายพื้นเท่ากับ 20 ซม. ถึง 50 ซม.ทั้งสองด้าน เป็นการลดระยะห่างของจุดยก (Span)เพื่อ ป้องกันไม่ให้แผ่นพื้นหัก โดยให้พฤติกรรมของแรงภายใน เป็นไปตามทฤษฎีที่คำนวณไว้ การยกฯ ก็ใช้แรงงานคน โดยใช้ลวดสลิงหรือโซ่หรือเหล็กเส้นดัดเป็นรูปตะขอตัวเอส (S) ใช้คนหาม จุดละสองคน 2 จุด เป็น 4 คน(แผ่นพื้นยาว 4 ม. กว้าง 0.30 ม. หนา 0.05 ม. น้ำหนักรวม 144 กก.) เฉลี่ยน้ำหนัก คนละ 36 กก. สามารถยกได้ภาพที่ 10 การเทคอนกรีต และคอนกรีตที่ปาดแต่งผิวหน้าแล้วภาพที่ 7 การเตรียมวัสดุ เหล็กเสริม แบบหล่อ และเหล็กปลอก4. บ่มคอนกรีต (Concrete Curing)เมื่อครบ 24 ชม.ทำการถอดแบบหล่อ และบ่มคอนกรีต ให้ความชื้นโดยการฉีดน้ำให้คอนกรีตเปียกตลอดเวลา อย่างน้อย 7 วัน แบบหล่อที่ถอดแล้วก็สามารถนำไปใช้หล่อแผ่นพื้นสำเร็จรูปชิ้นต่อไปได้ภาพที่ 9 การผสมคอนกรีตโดยใช้การผสมมือ อัตราส่วน 1:2:4 และการทาน้ำมันพื้น (ป้องกันคอนกรีตติดพื้น)72วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255373


่ภาพที่ 12 แสดงการยกแผ่นพื้นสำเร็จรูปและนำมาวางที่ตำแหน่งที่เตรียมไว้6. เทคอนกรีตทับหน้า (Concrete Topping)หลังจากยกแผ่นพื้นเข้าที่ดีแล้ว โดยมีการทำค้ำที่จุดกึ่งกลางของความยาวแผ่นพื้นไว้ ตามขั้นตอนปกติของแผ่นพื้นทั่วไป ต่อจากนั้นก็ใส่เหล็กกันร้าวที่ผิวหน้าโดยทั่วไปจะใช้เหล็กตะแกรงสำเร็จรูป (Wire Mesh) และเทคอนกรีตทับหน้า (Topping) ลงไป ปาดแต่งผิวหน้าตามต้องการ คอนกรีตทับหน้านี้โดยปกติจะมีความหนา 5 ซม.ซึ่งเมื่อรวมกับความหนาของแผ่นพื้นสำเร็จรูปแล้ว จะมีความหนารวม 10 ซม.7. ทดสอบการรับน้ำหนัก (Load Test)เมื่อคอนกรีตทับหน้าแผ่นพื้นฯแข็งตัวแล้ว ซึ่งอยูในตำแหน่งที่เตรียมไว้ โดยให้อยู่ในลักษณะที่เหมือนสภาพจริง (ถอดจุดรองรับตรงกลางออก) ในสถานที่ก่อสร้างจริง ทำการวัดค่าการแอ่นตัวของแผ่นพื้นก่อนการรับน้ำหนัก หลังจากนั้นจึงเอาน้ำหนักมาวางบนแผ่น พื้นฯให้เท่ากับน้ำหนักที่ใช้งานจริง (300 kg/m 2 โดยใช้ถุงทรายประมาณ 40 กก./ถุง) ทิ้งไว้ 24 ชม. แล้วจึงทำการวัดค่าการแอ่นตัวสุดท้ายสูงสุดที่จุดกลางของช่วงห่าง (Span)ระหว่างจุดรองรับ (มอก. 576-2546)ภาพที่ 14 วัดค่าการแอ่นตัวของแผ่นพื้นสำเร็จรูป“ก่อนรับน้ำหนัก”ภาพที่ 16 วัดระยะการโก่งตัวสูงสุด “หลังรับน้ำหนัก”ผลการทดสอบจากผลการทดสอบการรับน้ำหนัก (Load Test)โดยการนำน้ำหนัก (300 kg/m 2 ) มาวางบนแผ่น พื้นฯ ค้างน้ำหนักไว้ 24 ชม. วัดค่าการแอ่นตัวสุดท้ายสูงสุดได้ 1.2ซม.- การแอ่นตัวที่เกิดขึ้น = 1.2 ซม.- การแอ่นตัวต้องไม่เกิน = L 2 / (20000d)= 4002/20000 x 5= 1.6 ซม.การแอ่นตัวที่เกิดขึ้น < การแอ่นตัวที่ยอมให้(มอก. 576-2546)สรุปผลการผลิตและทดสอบจากการที่ได้ผลิตและทดสอบแผ่นพื้นสำเร็จรูปนี้แล้วปรากฏว่าได้ผลการทดสอบดีมาก คือ ตัวแผ่นพื้นสำเร็จรูปเมื่อรับน้ำหนักแล้ว มีการแอ่นตัวเกิดขึ้นน้อยกว่าการแอ่นตัวที่ยอมให้การผลิตแผ่นพื้นสำเร็จนี้ก็ทำได้ง่าย และใช้เวลาผลิตต่อหนึ่งชิ้นไม่มาก หนึ่งวันสามารถผลิตได้หลายชิ้น(ขึ้นอยู ่กับปริมาณแบบหล่อและพื้นที่สำหรับหล่อฯ) อีกทั้งการผลิตก็ใช้แรงงานน้อย และใช้แรงงานท้องถิ่นก็สามารถทำได้ง่ายจากที่กล่าวมาแล้วนั้นพอจะสรุปได้ว่า การใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปนี้สามารถนำไปใช้ได้ในงานก่อสร้างจริงและมีความแข็งแรงตามมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ลดปัญหาการขนส่ง และการแตกหักเสียหายขณะขนส่ง โดยสามารถหล่อแผ่นพื้นสำเร็จรูปนี้บริเวณใกล้สถานที่ก่อสร้างแล้วยกมาติดตั้งได้โดยสะดวกการประยุกต์ใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูป อาจกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น ปรับเปลี่ยนขนาดให้ใหญ่ขึ้น-เล็กลงหรือเป็นพื้นที่สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมคางหมูหรือวงกลมก็ได้โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของบ้าน และสภาพหน้างาน หรืออาจประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้นำมาใช้เป็นกำแพงรั้ว หรือกำแพงกันดินได้อีกด้วยภาพที่ 13 แสดงการเทคอนกรีตทับหน้าหนา 5 ซม. รวมเป็น 10 ซม.ภาพที่ 15 ชั่งน้ำหนักถุงทราย (300 kg/m 2 )และนำไปวางบนแผ่นพื้นฯ ค้างน้ำหนักไว้ 24 ชม.เอกสารอ้างอิงกฤต โง้วธนสุวรรณ. (2550). โครงสร้างทางสถาปัตยกรรม เอกสารประกอบการสอนวิชาโครงสร้าง 3 รหัสวิชา 603-401.มหาสารคาม: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>.วินิต ช่อวิเชียร. (2550). การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (วิธีหน่วยแรงใช้งาน). หน้า 49-88. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ:วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2550. มาตรฐานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:สิริศักดิ์ ปโยธรสิริ. (2549). กลศาสตร์วัสดุ. หน้า 203-235. ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ว.เพ็ชรสกุล.กฤต โง้วธนสุวรรณ. (2552). ความเค้นในคาน เอกสารประกอบการสอนวิชาความแข็งแรงของวัสดุ รหัสวิชา 603-203.หน้า 39-58. มหาสารคาม: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม. (2546). แผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จสำหรับระบบพื้นคอนกรีต. มอก.576-2546. หน้า 6. กรุงเทพฯ74วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255375


ศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อการออกแบบลายผ้าไหมมัดหมี่:กรณีศึกษาหมู่บ้านแสนสุขอำเภอกันทรวิชัยจังหวัดมหาสารคามปาริชาติ ศรีสนามParichat Srisanam76วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553บทความวิจัยนี้นำาเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติCDAST-2008 Intellectuals,creativityand innovation for self-sufficiency“ภูมิปัญญา การสร้างสรรค์ นวัตกรรมเพื่อการพึ่งตนเองและความพอเพียง”ประจำาปี 2551โดยสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยวารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255377


บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อการออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งได้เลือกศึกษาชุมชนในจังหวัดมหาสารคามคือ หมู่บ้านแสนสุข ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ในที่ลุ่ม ทำการเกษตรได้ดี และอยู่ใกล้กับพื้นที่การศึกษา เป็นชุมชนที่ยังมีอาชีพหลักในทางด้านเกษตรกรรมอยู ่พอสมควร เมื่อว่างจากการทำงานก็ต่างมีอาชีพเสริมรองรับ เช่น การเลี้ยงสัตว์ปลูกผัก และการทอผ้าซึ่งได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐมา ลวดลายผ้าปัจจุบันโดยส่วนใหญ่เน้นลายสร้อยดอกหมาก ซึ่งเป็นลายประจำจังหวัดมหาสารคาม แต่เดิมนั้นการทอผ้ามีความสัมพันธ์กับชีวิตของคนในสังคมซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเพณีและวัฒนธรรม เช่น งานแต่งงาน งานบวชงานบุญต่างๆ ส่วนลวดลายผ้าที่น่าสนใจคือ ลวดลายที่ถูกทอเก็บไว้เป็นมรดกได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นสายสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมจากปู ่ย่า ตายาย หรือแม่สู ่ลูกสาว จากการศึกษาได้มีผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายต่างๆซึ่งแต่ละลายก็มีความน่าสนใจและมีความเป็นเฉพาะของผู้ทอแต่ละคน แต่ละบ้าน ที่มีความแตกต่างกัน การทอแต่ละครั้งจะเกิดลวดลายใหม่ๆ ขึ้นมาไม่เหมือนกัน ลายเดียวกันแต่ไม่เหมือนกัน นั่นก็ขึ้นอยู ่กับปัจจัยของเงื่อนไขต่างๆ นั่นเองผลวิจัยพบว่าอิทธิพลและปัจจัยที่ส่งผลถึงการออกแบบลายผ้าของผู้ทอคือ สิ่งที่ใกล้ตัว นั่นคือ สภาพแวดล้อมสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน สื่อสารง่าย ไม่ว่าจากธรรมชาติหรือวัฒนธรรมประเพณี ลวดลายบางอย่างก็เกิดจากการเลียนแบบคัดลอกจากของเดิมแล้วมาเพิ่มจินตนาการและประสบการณ์ของผู ้ทอเอง พร้อมด้วยการจัดคู ่สีในผ้าแต่ละผืนก็จะอ้างอิงจากสิ่งที่พบเห็นจริงผสมผสานกับรสนิยมความชอบของตัวผู้ทอเอง ซึ่งลวดลายเหล่านี้สามารถพัฒนาต่อไปได้ด้วยปัจจัยต่างกันจากประสบการณ์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่จะเปลี่ยนแปลงต่อไปตามกาลเวลาคำสำคัญ: ผ้าไหมมัดหมี่ อิทธิพลต่อการออกแบบลายผ้า ลายสร้อยดอกหมากAbstractThe objective of this research is to study the influences that effect the pattern design ofMud–Mhee Thai silk. This research location is located around Sansook Villege, Tambon Nasinual,Amphur Kantharavichai, Mahasarakham province due to the good agricultural and education area.The main occupation in this area is agriculture and part-time occupations are also farming,agriculture, and weaving that had been supported from the government.The recent design mostly emphasize on pattern design of Soi-dokmark which is thesignature pattern of the province. But the not popular patterns that were found as the heritageweaving only in their family are also interesting as well due to the different specific pattern stylefrom each family and each weaver.The research results that influences and factors of each pattern are the environment, easycommunication, and daily life. Also these patterns were imitated from natural and cultural thatpeople had seen from their life. They added some experience, imagination, and the weaver’s tasteinto it, even how they match the color in each piece of work. Finally, these patterns could bedeveloped further more by using the different factors, experiences, and changing environment.Keyword: Mud-Mhee Thai silk, effect to the pattern, Soi-dokmarkบทนำผ้ามีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของคนในสังคมมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเพณีและวัฒนธรรมตั้งแต่เกิดจนตาย เมื่อแรกเกิดก็ใช้เป็นผ้าอ้อม ต่อมาทำเป็นเปลนอนเป็นเครื่องนุ ่งห่ม เครื่องนอน ใช้ในงานประเพณีเช่น งานบวชงานแต่งงาน งานบุญ งานศพ ใช้บอกฐานะทางสังคม และเศรษฐกิจของผู้เป็นเจ้าของ มีความเกี่ยวของกับศาสนาและพิธีกรรม เช่น ผ้าห่อพระคัมภีร์ เป็นเครื่องพุทธบูชานอกจากนั้นยังถือเป็นของแทนน้ำใจที่มอบให้ด้วยความเคารพ เป็นของฝากการสานสัมพันธไมตรี ตลอดจนเป็นสายสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นมรดกจากปู ่ย่า ตายาย หรือแม่สู่ลูก หลานผ้าไหมมัดหมี่เป็นลายผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชาวอีสาน ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่จังหวัดมหาสารคามคือ ลายสร้อยดอกหมาก ซึ่งมีการส่งเสริมการทอจากส่วนราชการแทบทุกอำเภอ ส่วนการออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ของหมู่บ้านแสนสุข ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งหมู ่บ้านแสนสุขก็มีการทอผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อยดอกหมากเป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับที่อื่นๆ ในจังหวัดมหาสารคาม แต่ก็ยังมีการทอผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายอื่นด้วยเช่นกัน เช่น ลายสร้อย ลายเต่าฯลฯ ซึ่งเป็นผ้าทอที่มีลวดลายแนวคิดมาจากคติธรรมความเชื่อ สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาออกแบบลวดลายไปตามยุคสมัย ตั้งแต่อดีตบ้านแสนสุขตำบลนาสีนวน มีอาชีพหลักคือ การทำเกษตรกรรม ทำนาเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงวัวพันธุ์ เลี้ยงเป็ด ไก่ มีชีวิตเรียบง่ายมีการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมอย่างช้าๆ ขณะเดียวกันหมู่บ้านอีกฝั่งที่ใกล้เคียงกับสถานศึกษาได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว งานทอผ้าและงานหัตถกรรมอื่นเกือบสูญหายไปหมดแล้ว หันไปทำตึกอาคาร หอพักร้านค้า แต่หมู่บ้านแสนสุขเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ยังไม่ถูกความเจริญเข้ามาเปลี่ยนแปลงมากนักยังมีการทอผ้าจะเป็นการทำช่วงที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ซึ่งก็มีการทอลวดลายเฉพาะของท้องถิ่นซึ่งวิธีการทำผ้ามัดหมี่คือ การมัดด้ายให้เป็นลายที่เส้นพุ ่งหรือเส้นยืนด้วยเชือกแล้วนำไปย้อมสีเพื่อให้สีและลายตามที่กำหนด แล้วจึงนำมาทอเป็นผ้าผ้าไหมมัดหมี่ส่วนใหญ่นิยมทอผ้ามัดหมี่เส้นพุ ่ง โดยที่มาของลวดลายก็มีที่มาตั้งแต่อดีตสืบทอดกันมาและมีการพัฒนาลวดลายตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปโดยนำแรงบันดาลใจมาจากสิ่งรอบๆ ตัวในการศึกษาการออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ตั้งแต่อดีต การทอผ้ามีที่มาของลวดลายตั้งแต่การนำคติธรรมความเชื่อ งานศิลปะ วิถีชีวิตความเป็นอยู่สิ่งแวดล้อม ลวดลายจากประสบการณ์ จนมีการพัฒนามาเป็นรูปแบบของลวดลายมาจนถึงปัจจุบัน การเลือกเส้นใยไหม การใช้คู่สีของแต่ละลวดลายมีการจัดคู่สี เช่นการใช้สองสี สามสี สีตรงข้าม สีใกล้เคียง ขั้นตอนการมัดหมี่มีกรรมวิธีที่แตกต่างกันในแต่ละครั้งที่มีการมัดลวดลายจะออกมาไม่เหมือนกันซักครั้งการศึกษานี้ทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการของลวดลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอิทธิพลที่ส่งผลและยังเป็นตัวบอกถึงการเปลี่ยนแปลงลวดลายผ้ามัดหมี่ไปตามช่วงระยะเวลา และเป็นข้อมูลในการศึกษาเพื่อพัฒนาต่อไปวัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษาข้อมูลท้องถิ่นของหมู่บ้านแสนสุขต. นาสีนวน อ.กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม2. เพื่อศึกษาแนวทางและปัจจัยที่ทำให้เกิดลวดลายผ้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน3. เพื่อศึกษาอิทธิพลต่อการสร้างลวดลายไปสู่กระบวนการทอและกระบวนการมัดลายของผ้าไหมมัดหมี่4. เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบและพัฒนาลวดลาย นำผลจากการศึกษาที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาขั้นต่อไปวิธีการศึกษาวิจัยการวิจัยนี้เป็นการศึกษาตั้งแต่วิถีชีวิตความเป็นอยู ่สังคม อาชีพ วัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งการศึกษากระบวนการตั้งแต่การนำความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลวดลายผ้า ที่มาของลวดลายจากแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน การมัดหมี่ลาย ตลอดจนการทอผ้ามาเป็นลวดลายต่างๆ รวมทั้งการสอบถามข้อมูล การสัมภาษณ์ผู ้ทอและผู ้ออกแบบมัดหมี่ให้เป็นลวดลายต่างๆ ซึ่งวิธีการดำเนินงานวิจัยมีการลงพื้นที่จริงหลายครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์มากที่สุด ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้1. กำหนดปัญหา- ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ในจังหวัดมหาสารคามพื้นที่ศึกษา คือ หมู่บ้านแสนสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม- ที่มาในการออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ทอผ้าทั้งในอดีตและปัจจุบัน- อิทธิพลที่ส่งผลต่อการออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ตลอดจนการลดทอนลวดลายและการประยุกต์ลวดลาย- ความสามารถในการพัฒนาลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ต่อไปในอนาคต78วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255379


2. การวางแผนดำเนินงานวิจัย- ศึกษาข้อมูลพื้นที่ หมู่บ้านแสนสุข ตำบลนาสีนวล อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม- ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู ่ทั่วไป การดำรงชีวิตสิ่งแวดล้อม ฯลฯ- ศึกษากระบวนการทอผ้าไหม การมัดหมี่ลายเส้นไหม การย้อมสีล้างไหม การทอผ้าไหมมัดหมี่- หาข้อมูลและที่มาของลายผ้าไหมมัดหมี่ลายต่างๆ ทั้งที่มีการทออยู่ปัจจุบัน และที่ไม่มีทอแล้ว แต่ยังมีเก็บรักษาไว้อยู่ในหมู่บ้านแสนสุข- เก็บรวบรวมข้อมูลและทำการเปรียบเทียบวิเคราะห์ แล้วนำไปสรุปผล3. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ศึกษาข้อมูลและแยกประเภทของลวดลายผ้า ได้ดังนี้- ลวดลายผ้าที่ได้จากธรรมชาติ- พืช- สัตว์- ลวดลายผ้าที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ (ลวดลายเบ็ดเตล็ดรูปทรงเรขาคณิต)- ลวดลายผ้าที่เกิดจากจินตนาการและการเลียนแบบ(การประยุกต์)4. สรุปข้อมูล จากข้อมูลที่รวบรวมสามารถสรุปเป็นหัวข้อได้ คือ- ข้อมูลจากการลงภาคสนามหมู่บ้านแสนสุขต.นาสีนวน อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม- ข้อมูลจากการถ่ายภาพสถานที่ ความเป็นอยู่วิถีชีวิต สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เกิดลวดลาย สีสัน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบนผืนผ้า- ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ศูนย์กลุ ่มอาชีพทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านแสนสุข และผู้ที่ทำการทอผ้าในอดีต และปัจจุบัน ทราบถึงการทอตั้งแต่อดีตที่ทำสืบทอดกันมา การประยุกต์ ดัดแปลงลวดลายจากปัจจัยต่างๆ5. ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเมื่อทราบที่มาของลวดลายผ้าไหมมัดหมี่แต่ละผืนทั้งเรื่องของแรงบันดาลใจสีการมัด ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างกันแล้ว ได้นำมาวิเคราะห์ถึงที่มา การตัดทอนแทนค่า การใช้สัญลักษณ์ เกิดเป็นลวดลายที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการนำเสนอสู่กระบวนการทอผ้านั้นก็ยังสามารถแบ่งลวดลายได้ออกเป็นหมวดหมู่ได้อีก ดังนี้1. ลวดลายที่เป็นการต่อลายซ้ำกันทั้งผืน (Repeat)2. ลวดลายที่มีเรื่องราวประกอบ (Story)ผลการศึกษา3. ลวดลายที่เป็นลักษณะผสมผสานจากการศึกษาลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ในหมู ่บ้านแสนสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ใกล้กับสถานศึกษาเขต<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong> ได้มีการลงเก็บข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างเฉพาะกลุ ่มที่มีการทอผ้าไหมมัดหมี่ในหมู ่บ้าน ซึ่งการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในครั้งนี้ได้ไปที่ทำการกลุ ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านแสนสุขซึ่งเป็นศูนย์กลางรวบรวมผ้าที่ทอของสมาชิกเพื่อนำส่งไปยังแหล่งต่างๆ เช่น งานประกวดออกร้าน หรือมีการสั่งทอพิเศษ โดยส่วนใหญ่แล้วจะทอลายสร้อยดอกหมากเป็นส่วนใหญ่ นานๆ ทีถึงจะทอลายอื่นๆ ตามที่มีผู้สั่งซื้อมา เส้นไหมจะถูกสั่งมาจากอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่นโดยศูนย์ทอผ้าของหมู ่บ้านแล้วจึงแจกจ่ายกัน ยกเว้นบ้านหลังไหนต้องการซื้อเอง ส่วนลายผ้าอื่นๆ จะถูกเก็บไว้ตามบ้านเรือนที่มีผู ้เฒ่าผู ้แก่ซึ่งจะทอเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัวหรือทอเก็บไว้ใช้ในงานสำคัญต่างๆ จะเห็นผ้าไหมมัดหมี่ลายแปลกๆ ก็ต่อเมื่อมีงานบุญงานประเพณีต่างๆ และงานแต่งงาน ซึ่งจะมีการทอเก็บไว้เพื่อใช้เป็นของให้ญาติผู้ใหญ่ (ของสมมา) ผู้ทอจะเป็นลูกสาวที่จะแต่งงาน หรืออีกในลักษณะคือ การทอเก็บไว้เพื่อสะสมเป็นมรดกไว้ให้กับลูกหลาน บางลวดลายคิดลายขึ้นมาเอง บางลวดลายบังเอิญไปเห็นมาจากที่อื่นแต่พอกลับมาเขียนลายเองด้วยความที่จำไม่ได้ทั้งหมดก็จะเกิดลวดลายใหม่ขึ้น บางลวดลายอ้างอิงลอกแบบจากลายดั้งเดิมที่ทอสืบต่อกันมา บางลวดลายนำมาจากผ้าหลายๆ ผืนมาประกอบกันเป็นลายใหม่เกิดขึ้น บ้านไหนที่แม่ทอผ้าแล้วมีลูกสาว ลูกสาวก็จะทอผ้าเป็นเช่นกัน ถึงแม้จะมีการประกอบอาชีพการงานอย่างอื่นก็ตามการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับอิทธิพลที่ส่งผลต่อการออกแบบลวดลายในครั้งนี้ได้แบ่งการวิเคราะห์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ คือ1. วิเคราะห์จากข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์นำข้อมูลที่ได้จากเอกสารต่างๆ และการลงพื้นที่จริงบริเวณโดยรอบหมู ่บ้าน นำมาสังเกตและวิเคราะห์ในส่วนของเนื้อหา2. วิเคราะห์ข้อมูล ที่มาของลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ที่มีอยู่ในกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาโดยวิเคราะห์ลวดลายผ้ามัดหมี่แบ่งตามลักษณะกลุ่มที่มาของลวดลาย ดังนี้2.1 ลวดลายที่มาจากธรรมชาติ- สัตว์- พืช2.2 ลวดลายจากสิ่งของครื่องใช้ (ลวดลายเบ็ดเตล็ดรูปทรงเรขาคณิต)2.3 ลวดลายที่เกิดจากการประยุกต์ใหม่- จินตนาการและการเลียนแบบการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลถึงอิทธิพลที่ส่งผลถึงการออกแบบลายผ้าไหมมัดหมี่ของกลุ ่มชาวบ้านที่ทอผ้าในหมู ่บ้านแสนสุขมีการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ที่มาดังนี้1. ลวดลายที่มาจากธรรมชาติ- ลวดลายที่มาจากธรรมชาติ (สัตว์)ลวดลายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์ในท้องถิ่นหรือประสบการณ์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เช่นบริเวณรอบบ้าน การไปทำไร่ทำนา ซึ่งเป็นการคิดที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไรในการมองเห็น แต่ได้นำมาประยุกต์และสร้างให้เกิดเป็นลวดลายจากประสบการณ์ที่ทอผ้ามาภาพที่ 1 แมงมุมน้ำภาพที่ 2 การเขียนโครงร่างของลายแมงมุมน้ำภาพที่ 3 ผ้าที่ทอจากลายแมงมุมน้ำชื่อลาย ลายแมงมุมน้ำที่มา แมงมุมน้ำที่เกาะตามริมคันนา มีตัวบางเล็ก ขายาวลักษณะลวดลาย เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดมีขาเชื่อมโยงต่อกัน ระหว่างการเชื่อมต่อแต่ละช่อง มีลักษณะเป็นจุดที่ใช้แทนสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแมงมุมและขาที่กางออกไปรูปแบบ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรงแบ่งเป็น 2 แบบคือเส้นเชื่อมโยงที่เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เรียงต่อกันในแบบที่สลับกันเป็นช่องๆ ลักษณะเส้นมีการหยักเป็นคลื่นๆยาวเชื่อมต่อกันการจัดวาง เป็นระเบียบเรียงตัวกันในแนวตรงทั้งด้านตั้งและด้านนอน มีช่องไฟที่เท่ากันวิเคราะห์ การเปรียบเทียบที่มาโครงร่างของตัวแมงมุมน้ำที่ถูกตัดทอนจากเป็นรูปตัว จนกลายเป็นเรขาคณิตเพื่อสร้างลวดลายในการทอและนำมาเชื่อมต่อกันทั้งผืน จะเห็นได้ว่าผ้าลายแมงมุมน้ำที่ถูกทอขึ้นมานั้นได้รับแรงบันดาลใจจากสภาพแวดล้อมใกล้เคียงในการออกไปทำงานในฤดูทำนา จากวิถีชีวิตทั่วไปของแต่ละวันภาพที่ 4 ผ้าลายเต่า80วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255381


ภาพที่ 5 โครงร่างจากผ้าลายเต่าชื่อลาย ลายเต่าที่มา เต่าตามทุ่งนาตัวใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ขายาวลักษณะลวดลาย เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเชื่อมโยงต่อกันระหว่างการเชื่อมต่อแต่ละช่องมีลักษณะเป็นจุดที่ใช้แทนสัญลักษณ์ที่เป็นตัวเต่า การต่อลายมีระเบียบเป็นแถวตรงมีการสลับกันเหมือนฟันปลาที่เป็นสี่เหลี่ยมเดี่ยวๆ และสี่เหลี่ยมคู่รูปแบบ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรงแบ่งเป็น 2 แบบหลักคือ เส้นเชื่อมโยงที่เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เรียงต่อกันในแบบที่สลับกันเป็นช่อง เส้นมีการหยักเป็นคลื่นๆ ยาวเชื่อมต่อกัน จุดที่เป็นสีจะเชื่อมอยู่ช่วงจุดตัดของกรอบสี่เหลี่ยมแต่ละอันการจัดวาง เป็นระเบียบเรียงตัวกันในช่องไฟที่เท่ากัน มีเส้นซิกแซ็กฟันปลา มีจังหวะที่จุดเรียงกันตามเส้น เส้นหนึ่งจุดสีเขียว อีกเส้นหนึ่งจุดสีแดงวิเคราะห์จากโครงร่างของลวดลาย โครงสร้างเส้นกรอบนอกจะมีรูปทรงลักษณะสี่เหลี่ยวข้าวหลามตัด จากการสอบถามของผู ้ทอได้ให้ชื่อว่า ลายเต่า ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับรูปร่างหลังกระดองของเต่า และลวดลายบนหลังกระดองของเต่าได้นำการเชื่อมต่อเข้ามาใช้ในการออกแบบเพื่อมัดหมี่ลายขึ้นใหม่- ลวดลายที่มาจากธรรมชาติ (พืช)ลวดลายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพืชในท้องถิ่น หรือประสบการณ์รอบตัวที่ได้เคยพบเห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็ไม่ต่างกันนักจากแรงบันดาลใจจากธรรมชาติประเภทสัตว์ภาพที่ 6 ภาพโครงร่างต้นสนภาพที่ 7 ผ้าไหมมัดหมี่ลายต้นสนชื่อลาย ลายต้นสนที่มา ต้นสนที่มีอยู่ทั่วไป ลักษณะมีความสูงโปร่ง ลำต้นตรงลักษณะลวดลาย เป็นสามเหลี่ยมสูงโปร่ง ถูกยืดออกและมีการเรียงลำดับลดหลั่นต่อกัน ต้นสนอยู่ในลักษณะเป็นแถวเรียงสลับเล็กใหญ่ ระหว่างการเชื่อมต่อแต่ละช่องมีลักษณะเป็นจั่วที่ใช้แทนค่ารูปสัญลักษณ์ ลวดลายล้อมรอบกันหลายชั้นรูปแบบ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรงแบ่งเป็น 2 แบบหลักคือ เส้นเชื่อมโยงที่เป็นสี่เหลี่ยมเรียงกัน ลักษณะเส้นมีการหยักโค้งเป็นคลื่นๆ ยาวเชื่อมต่อกันเป็นแฉกๆ มีความสูงโปร่ง ฐานมั่นคง ส่วนตัวลายพื้นของผ้าเป็นลายผสม ใช้รูปทรงเรขาคณิตการจัดวาง เป็นระเบียบเรียงตัวกันในช่องไฟที่เท่ากัน มีการสลับรูปร่างที่แตกต่างให้เกิดจังหวะขึ้น แต่ก็มีความซับซ้อนหลากหลายในลายแต่ละรายละเอียดของส่วนที่เป็นชั้นๆ ของต้นสนสี ใช้สีวรรณะตรงข้ามที่ถูกลดค่าสีแล้ว คือ ลวดลายเป็นสีร้อน พื้นเป็นสีเย็น ใช้สีกลางคือ เหลือง ม่วงเพิ่มไปในรายละเอียดทำให้ลวดลายไม่ตัดกันเกินไป ดูน่าสนใจมากขึ้นวิเคราะห์ ลวดลายจากธรรมชาติรอบตัวการนำลวดลายมาประกอบในบางส่วน บางครั้งไม่จำเป็นต้องมาต่อเป็นลายทั้งผืนแต่นำมาประกอบเป็นส่วนที่เด่นมากกว่าลายพื้น อาจเป็นลายหัวซิ่น หรือลายตีนซิ่นก็ได้ ลายต้นสนถูกตัดทอนและมัดลายเป็นสองแบบซึ่งโครงสร้างเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายต้นสนมีแฉกของกิ่งใบเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกัน ต้นหนึ่งลักษณะแฉกใบชูขึ้น อีกต้นลักษณะกิ่งใบกลับหักโค้งงอลง ซึ่งความแตกต่างในการมัดลายต้นสนก็เกิดจากการมองต้นสนของผู ้ทอในช่วงเวลาอารมณ์ที่แตกต่างกันของต้นสนภาพที่ 8 ภาพการมัดต้นกล้าและการปักกล้าภาพที่ 9 โครงร่างของหมี่ตากล้าภาพที่ 10 ผ้าไหมมัดหมี่ลายหมี่ตากล้าชื่อลาย ลายตากล้าที่มา ลักษณะของต้นกล้าในท้องนา มีการปักกล้า มัดกล้าลักษณะลวดลาย เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเชื่อมโยงกันแต่เส้นไม่ต่อกันระหว่างการเชื่อมต่อแต่ละช่อง มีลักษณะเป็นจุดที่ใช้แทนสัญลักษณ์ คั่นไว้ตรงกลางรูปแบบ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรงแบ่งเป็น 2 แบบหลักคือเส้นเชื่อมโยงที่เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และสี่เหลี่ยมที่เรียงต่อกันในแบบที่สลับกันเป็นช่องๆ คนละทิศทางการจัดวาง เป็นระเบียบเรียงตัวกันในช่องไฟที่เท่ากันสลับกันขึ้น ลงในแต่ละช่อง เหมือนฟันปลาวิเคราะห์ จากลวดลายผ้าที่เห็นและการนำไปเปรียบเทียบกับแรงบันดาลใจของผู้ทอคือ ต้นกล้าข้าว จะเห็นลักษณะของการวางสลับเว้นช่องว่างเป็นแถวเป็นตาคล้ายกับการปักกล้าลงไปในนา หรือถ้ามองอีกด้านในลักษณะหน้าตัดก็จะมองเห็นการมัดกล้าที่ถูกรวมตรงที่มัดส่วนที่เหลือก็จะแผ่กระจายออก เมื่อเทียบกับลวดลายของผ้าไหมมัดหมี่ผืนนี้แล้ว ก็พอจะเห็นลักษณะการวางลายบนผืนผ้าที่มีการเว้นช่องว่างเหมือนกับการปักกล้าในผืนนา และลักษณะโครงสร้างของลายข้าวหลามตัดที่เป็นแฉกเฉียงเข้า-ออกเหมือนกับการมัดต้นข้าว2. ลวดลายที่มาจากสิ่งของเครื่องใช้ (ลวดลายเบ็ดเตล็ดรูปทรงเรขาคณิต)เกิดจากการมองเห็นสิ่งรอบๆ ตัวไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ซึ่งรูปทรงที่คุ้นเคย นำมาตัดทอนออกเหลือเพียงลักษณะรูปทรงเรขาคณิต อาจจะมีทั้งแฝงความหมายอยู่หรือไม่ก็ได้ หรืออาจจะทำขึ้นเพื่อให้เกิดความสวยงามภาพที่ 11 ผ้าไหมมัดหมี่ลายสร้อย82วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255383


ตัดทุกช่องเรียงกันอย่างสม่ำเสมอ ส่วนลายด่างแหจะมีลักษณะคล้ายๆ กันแต่ต่างกันตรงที่มัดหมี่ไม่เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเหมือนสร้อยดอกหมากแต่กลายเป็นช่องหกเหลี่ยมคล้ายรังผึ้งเชื่อมต่อกันมีจุดซ้อนจุดตรงกลางช่องหกเหลี่ยมนั้นซึ่งผู ้ทอได้ออกแบบโครงสร้างของลายคล้ายกับแหเครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ใช้อยู ่ในชีวิตประจำวันนั่นเองสรุปอภิปรายผลจากการศึกษาและวิเคราะห์อิทธิพลและความเป็นไปได้ในการส่งผลถึงการออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ของหมู่บ้านแสนสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้ทำการศึกษาตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตงานวิจัยดังนี้ในพื้นที่หมู ่บ้านแสนสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นหมู ่บ้านเล็กๆ อีกหมู ่บ้านหนึ่งที่ได้มีการทอผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเป็นหมู ่บ้านที่ตั้งอยู ่ใกล้เคียงกับสถานศึกษา <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong> ซึ่งหมู ่บ้านใกล้เคียงอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและสภาวะเศรษฐกิจด้านต่างๆ แต่หมู่บ้านแสนสุขยังคงดำเนินชีวิตตามที่เคยเป็นมานั่นคือสังคมเกษตรกรรมและมีการทอผ้าและงานหัตถกรรมอื่นๆดังเดิม ซึ่งก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ไม่ได้รับผลอะไรมากนักจากสังคมของการตังอยู ่ใกล้กับสถานศึกษาจึงทำให้ยังมีการดำเนินชีวิตเป็นปกติแบบเดิม จากการศึกษาอิทธิพลที่ส่งผลต่อการออกแบบลายผ้าไหมมัดหมี่โดยสรุปแล้วส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่มีมาแต่ดั้งเดิมที่เคยมีการทอสืบทอดกันมาแล้ว หรือไม่ก็คือ ลวดลายที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตทั่วไปอาชีพหลัก อย่างเช่น การเกษตรกรรรม การพบเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ยังมีความเป็นธรรมชาติมากอยู่วัฒนธรรมประเพณีสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป ล้วนแล้วแต่นำมาเป็นงานออกแบบ สร้างสรรค์ลวดลายได้ทั้งสิ้น ซึ่งบางลวดลายเมื่อทำเพิ่มหรือทำการลอกแบบขึ้นมากลับบังเอิญได้ลวดลายใหม่ขึ้นมาอีก อาจจะอยู ่ที่กระบวนการมัดหมี่หรือการเขียนลายก่อนมัดหมี่ แล้วแต่ผู้ที่มัดลายมีการปรับเปลี่ยนลวดลายขึ้นได้โดยส่วนใหญ่แล้วกลุ่มทอผ้าในหมู่บ้านแสนสุขในปัจจุบันมีการทอผ้าเพื่อส่งไปขาย จึงต้องทำตามที่มีการสั่งให้ทอ ลวดลายส่วนใหญ่ก็คือ ลายสร้อยดอกหมากลายประจำจังหวัดมหาสารคามนั่นเอง ทำให้ในหมู่บ้านน้อยคนนักที่จะทอผ้ามัดหมี่ลายอื่นๆ ส่วนที่ทำการศึกษาและสัมภาษณ์จากผู้ที่เก็บรวบรวมผ้าลายเก่าๆ นั้นกลับกลายเป็นผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่เคยทอผ้ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ได้เลิกทอไปบ้างแล้ว ลายที่หาได้จึงเป็นลายที่เจ้าของเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานเท่านั้น แต่ก็ยังนับว่าการทอผ้าไม่ได้สูญหายไป เพราะลูกหลานแต่ละบ้านก็สามารถทอผ้าได้เมื่อว่างจากการทำนา หรืองานเกษตรกรรมอื่นๆ บางบ้านสามีมัดลาย ภรรยาทอผ้า บางบ้านลูกสาวช่วยแม่ทอผ้า ยายหลานช่วยกันทอผ้า หรือแม้แต่นานๆ ทีที่มีงานประเพณีถึงจะมีการทอลายใหม่ๆขึ้นบ้าง ทำให้เห็นว่าการทอผ้าก็ได้ช่วยให้สังคมครอบครัวมีความสัมพันธ์มีส่วนร่วมช่วยเหลือกัน เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีชาวบ้านผ่านสายใยของครอบครัวควบคู่กันโดยไม่รู้ตัว ส่วนลวดลายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นนั้นก็เกิดได้จากปัจจัยต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วตามแต่เฉพาะตัวบุคคลเองข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ในพื้นที่ ทั้งที่เป็นลายดั้งเดิม ลายปัจจุบัน และลายที่จะเกิดขึ้นใหม่ว่ามีปัจจัยในการออกแบบลวดลายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร หลายๆ ลวดลายอาจมีที่มาหรือแรงบันดาลใจในการออกแบบจากที่เดียวกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาสู่การออกแบบและสามารถพัฒนาลวดลายใหม่ๆได้อีก แต่ก็ยังเก็บรักษาลายดั้งเดิมไว้เพื่อการศึกษาต่อไปเอกสารอ้างอิงกมลา กองสุข. (2536). ผ้าจก (กลุ่มลาวคั่ง บ้านกุดจอก ชัยนาท - บ้านทับผึ้งน้อย สุพรรณบุรี). งานวิจัยวัฒนธรรมของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.เคอิโกะ ยูคิมัทซึ. การมัดหมี่. มหาสารคาม : ศูนย์นวัตกรรมไหม. มหาสารคาม : <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>.ฐานข้อมูลลายผ้าอีสาน. (2544). รายงานโครงการบริการวิชาการสู่ชุมชน. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน,มหาสารคาม : <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>.ทรงพันธ์ วรรณมาศ. (2534). ผ้าไทยลายอีสาน. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.พีนาลิน สาริยา. (2549). การออกแบบลวดลาย. พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.ศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2550). สารานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ. เส้นสายลายไหม. 2545.พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คุรุสภา.86วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255387


่“บทสัมภาษณ์พิเศษอ.พวงเพ็ญ วิบูลย์สวัสดิ์คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ม.มหาสารคาม88วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553“บทสัมภาษณ์อาจารย์พวงเพ็ญ วิบูลย์สวัสดิ์คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>โดย กองบรรณาธิการ สถา-ร-คามวันที่ 20 มีนาคม 2553สถา-ร-คาม ทราบมาว่าพื้นเพอาจารย์เป็นคนกรุงเทพฯและมาสอนอยู่ที่อีสานถึง 14 ปี แล้ว อาจารย์มองวัฒนธรรมอีสานเป็นอย่างไรบ้างครับอ.พวงเพ็ญ ถึงแม้อาจารย์จะอยู ่ที่อีสานมานานแล้วก็จริงแต่ก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับการสอนหนังสือ อยู่ใน<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>เป็นหลักกับการเดินทางกลับกรุงเทพ ไม่ค่อยมีโอกาสในการสัมผัสประเพณีวัฒนธรรมอีสานในเชิงลึกเท่าไหร่นัก แต่ว่าจะมีความรู้สึกที่ดีต่อคนอีสานผ่านเพื่อนร่วมงานและผู้คนต่างๆ ตลอดระยะเวลา14 ปี เช่นว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งอาจารย์กำลังจะเดินทางกลับกทม. ได้สละตั๋วเครื่องบินให้กับอาจารย์ท่านหนึ่งที่มีลูกเล็กๆ จึงทำให้อาจารย์กับอาจารย์ทรงคุณ อัตถากร (ผู ้ก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>)ต้องกลับรถทัวร์ ในขณะที่ขึ้นรถก็ได้ยินเสียงตะโกนมาจากด้านหน้ารถว่า กันที่นั่งข้างหน้าให้กับท่านอาจารย์ด้วย โดยไม่ทราบว่าเขารู ้ได้อย่างไรว่าเป็นอาจารย์ เข้าใจว่าเขาได้ยินเราคุยกันตอนซื้อตั๋ว แต่อย่างไรอาจารย์ก็เกิดความประทับใจในน้ำใจของคนอีสานที่ให้ความเคารพนับถือกับคนที่เป็นครูบาอาจารย์ ในการเก็บที่นั่งที่ดีที่สุดให้กับคนที่เป็นครูและถ้าจะดูเด็กนิสิตนักศึกษาก็จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากเด็กกรุงเทพมาก ในแง่ของการแสดงออกในหลายๆ ด้านที่พบเห็นง่ายๆ ก็คือ การออกแบบในการเรียนจะแสดงแบบตรงไปตรงมา คิดอย่างไรทำอย่างนั้น และก็เข้าใจว่านิสิตเรามีประสบการณ์ในการพบเห็นงานออกแบบสมัยใหม่น้อย เพราะส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในต่างจังหวัด และจากการที่เราอยู ่ในพื้นที่ต่างจังหวัดนี้ก็น่าจะเป็นจุดแข็งของนิสิตเรา แต่คงต้องฝากเรื่องการเพิ่มพูนประสบการณ์จากภายนอก เพื่อจะสามารถพลิกแพลงสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นสถา-ร-คาม จากอดีตจนถึงปัจจุบันของการก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาสารคาม อ.พวงเพ็ญมองภาพรวมของคณะฯ และการเติบโตที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้างอ.พวงเพ็ญ ความเข้มแข็งของบุคลากรของเราเติบโตไปอย่างค่อนข้างช้าจะเรียกได้ว่าเป็นจุดอ่อนก็คงเป็นเรื่องธรรมดาของคณะที่เกิดขึ้นใหม่ทุกๆ แห่ง ในช่วง 5-6 ปีแรกของการก่อตั้ง องค์กรยังไม่เป็นที่รู ้จักจึงทำให้ขาดคนที่มาทุ ่มเทกายและทำงานต่อเนื่องและเวลามีไม่มาก บุคลากรมีน้อยและครึ่งหนึ่งมาจากกรุงเทพจึงทำให้เขาเหล่านั้นอยูไม่ต่อเนื่องเพราะจะต้องกลับภูมิลำเนาจึงทำให้การเติบโตไม่ต่อเนื่องและช้า เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าบุคลากรเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราผ่านช่วงเวลามาแล้ว 10 ปีนับเป็นช่วงเวลาของการสร้างคน ปัจจุบันเรามีบุคลากรที่เป็นคนอีสานและละแวกใกล้เคียง รวมถึงศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเข้ามาเป็นอาจารย์จำนวนหนึ่ง ก้าวต่อไปของคณะเราหลังจากผ่านช่วงสิบปีไปแล้วคงจะต้องเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากความพร้อมของบุคลากร พูดง่ายๆ ว่าตอนนี้เราไม่ใหม่อีกต่อไปแล้ว“ก้าวต่อไปของคณะเราหลังจากผ่านช่วงสิบปีไปแล้ว คงจะต้องเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากความพร้อมของบุคลากรพูดง่ายๆ ว่าตอนนี้เราไม่ใหม่....อีกต่อไปแล้ว”สถา-ร-คาม จุดแข็งและจุดเด่นของคณะเราในสายตาคนภายนอกมองเรา จากการที่อาจารย์ได้ไปสัมผัสมาเป็นอย่างไรบ้างครับอ.พวงเพ็ญ ไม่ค่อยแน่ใจนะ ถ้าพูดกันตรงๆ ในช่วงแรกๆเขาคิดว่าเรามีข้อด้อยเยอะเพราะไม่ค่อยมีใครรู ้จักเราเท่าไหร่นัก อาจจะเป็นเพราะเราอยู่ต่างจังหวัดและยังเป็นคณะใหม่ งานวิจัยหรือผลงานการออกแบบคณาจารย์ก็ยังไม่เป็นที่เผยแพร่เท่าไหร่นัก และยังมีบัณฑิตออกไปผลิตงานไม่มากนัก แต่จะขึ้นอยู่กับว่าใครจะได้มีโอกาสสัมผัสเรามากน้อยแค่ไหน อาจจะติดภาพของภาคอีสานที่ไม่เจริญ แต่พอเขาได้มาสัมผัสการทำงาน การบริหารการกระตือรือล้นของคณะและระบบการเรียนการสอนของเราแล้วก็จะมีความประทับใจแล้วเปลี่ยนความคิดด้านลบไป เพราะมาตรฐานการเรียนการสอนของเรามีความเข้มแข็งในทุกๆ ด้านสถา-ร-คาม ต่อไปในอนาคต คณะเราจะมีจุดยืนและแนวทางเป็นอย่างไรอ.พวงเพ็ญ การมีหลักสูตรที่หลากหลาย ได้แก่วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255389


สถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมผังเมือง สถาปัตยกรรมภายในและนฤมิตศิลป์ เราเชื่อว่าจะทำให้เกิดจุดเด่นในแต่ละธรรมชาติของวิชาถ้าจะถามถึงความโดดเด่น จากการที่เราผลิตนิสิตได้ 8-9 รุ่น เกือบหนึ่งพันคน ก็ถือได้ว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นตัวแทนที่ออกเผยแพร่ความเป็นคณะสู่สังคมภายนอก สิ่งที่สะท้อนกลับมาคือ ความเป็นคนนอบน้อมถ่อมตน เป็นคนที่มีจิตใจดี อันเนื่องมาจากพื้นฐานทางวัฒนธรรมของคนอีสาน และเป็นผู้มีน้ำอดน้ำทนและพร้อมที่จะพัฒนาตนไปสู่ระดับความก้าวหน้าต่อไป อันเป็นผลพวงมาจากสิ่งที่คณะเราเน้นเรื่องของมาตรฐานการเรียนการสอนควบคู่ไปกับคุณธรรม อาจารย์คิดว่าสังคมข้างนอกต้องการคนดีมากกว่าคนเก่ง การจะเก่งได้นั้นต้องอาศัยความดีความนอบน้อม ได้รับความเอ็นดูจากผู้ใหญ่ และสะสมประสบการณ์การทำงานต่อไปสำหรับแนวทางหลักในการเติบโตของคณะเราก็คือ การสร้างนักออกแบบที่มีจิตสำนึกที่ดีกลับมาในเรื่องของคณะที่จะเดินไปข้างหน้าอย่างไรนั้น ทศวรรษแรกคือเตรียมความพร้อมของบุคลากรและภาพรวมด้านต่างๆ ทศวรรษที่สองก็คือ การที่บุคลากรต้องเติบโตมาเป็นผู ้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ หลังจากสั่งสมองค์ความรู้มานานแล้ว โดยจะสะท้อนออกมาในรูปแบบของผลงานอาจารย์และลูกศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นวิจัยของอาจารย์ การเผยแพร่และบริการวิชาการต่างๆและความสำเร็จของนิสิตที่จบไปมันเป็นช่วงที่เราต้องผลิตผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลภายนอก แต่ใช่ว่าทุกอย่างจะประสบความสำเร็จภายใน 10 ปีอย่าลืมว่ามหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ในประเทศไทยก็ใช้เวลาในการเจริญเติบโตอยู ่พอสมควรเช่น จุฬาลงกรณ์ก็ 80 ปีแล้ว หรือมหาวิทยาลัยศิลปากร70 ปี“การมีหลักสูตรที่หลากหลายได้แก่ สถาปัตยกรรมหลักสถาปัตยกรรมผังเมืองสถาปัตยกรรมภายในและนฤมิตศิลป์เราเชื่อว่าจะทำาให้เกิดจุดเด่นในแต่ละธรรมชาติของวิชา”สถา-ร-คาม นอกจากหน้าที่หลักเรื่องการสอน ด้านแนวทางการวิจัยของคณะเป็นอย่างไรบ้างอ.พวงเพ็ญ เนื่องจากเรามีคณาจารย์ด้านสถาปัตยกรรมผังเมืองมาก จึงทำให้เรามีงานวิจัยเกี่ยวกับชุมชมมีมากตามไปด้วย และมีการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมหลักและสถาปัตยกรรมผังเมือง และถือได้ว่าสาขาดังกล่าวได้เปิดพื้นที่วิจัยให้แก่สาขาอื่นๆ อีกด้วย ในอนาคตเราอยากจะเพิ่มจุดแข็งด้านเทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ด้านวิจัยและการเรียนการสอนสถา- ร-คาม แล้วด้านนฤมิตศิลป์อ.พวงเพ็ญ ด้านนฤมิตศิลป์มีความเฉพาะตัวสูงที่อาศัยศิลปะและประโยชน์ใช้สอยควบคู ่กันไป งานออกแบบเป็นชิ้นเล็กๆ และจบในตัว ได้รับรางวัลการประกวดแบบมากมาย โดยเฉพาะด้านการออกแบบแฟชั่นดีไซน์ ซึ่งทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยเสมอมา เรามีอาจารย์รุ ่นใหม่และรุ่นแรกๆ ที่พัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบเสมอ ที่เห็นจะโดดเด่นจะเป็นเรื่องผ้าสถา-ร-คาม เพราะว่าภาคอีสานมีผ้าสวยๆ อยู ่มากมายอ. พวงเพ็ญ ส่วนสถาปัตยกรรมภายในนั้นยังเป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดมาได้ 4 ปี ยังต้องใช้เวลาเติบโตต่อไปสถา-ร-คาม อยากให้อ.กุ้งเล่าถึงสาขาใหม่ของเราที่กำลังจะเปิด ในเร็วๆ นี้อ. พวงเพ็ญ มีสาขาการจัดการการก่อสร้าง และการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ด้านการจัดการการก่อสร้างนั้น สืบเนื่องจากการที่วงการการก่อสร้างขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการควบคุมการก่อสร้างในโครงการก่อสร้างทั้งใหญ่และเล็กจึงทำให้สถาปนิกและวิศวกรบางส่วนได้เบนเข็มไปทำงานดังกล่าวโดยอาศัยประสบการณ์ในการทำงานกันไป หากมีการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้เฉพาะด้าน อยู่กึ่งกลางระหว่างสถาปนิกและวิศวกร น่าจะทำให้อุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศเรามีมาตรฐานดีขึ้น“อยากจะให้เป็นแนวทางหลักในการเติบโตของคณะเราก็คือการเป็นนักออกแบบที่มีจิตสำานึกที่ดี”สถา- ร-คาม ยังไม่เคยเปิด ณ ที่ไหนเลยใช่หรือไม่ครับอ.พวงเพ็ญ มีเพียงปริญญาโทเท่านั้นโดยมากจะเน้นด้านการวิจัยหรือวิเคราะห์เท่านั้น ช่วงเวลาการเรียนปริญญาโทไม่ได้ลงไปในรายละเอียด ประกอบกับสถาบันการศึกษา อาทิเช่น ราชมงคล ที่เคยผลิตผู้ควบคุมงานได้เปลี่ยนบทบาทไปและการศึกษาในระดับปริญญาตรีนั้นมีระยะเวลาในการศึกษามากกว่า โอกาสที่นิสิตจะได้เรียนก็มีสูง เนื่องจากหลักสูตรปริญญาตรีนั้นสามารถกู้ยืมได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตที่เป็นชาวอีสานค่อนข้างจะมีฐานะทางการเงินไม่ค่อยดีนัก แปดสิบเปอร์เซนต์จะกู้ยืมรัฐในการเรียนเป็นการเปิดโอกาสให้เขาเหล่านั้นได้มีทางเลือกสถา-ร-คาม แล้วทางด้านการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมอ.พวงเพ็ญ สืบเนื่องจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร<strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>ได้เปิดหลักสูตรเทคโนโลยีนวัตกรรมการเกษตร การศึกษาเกี่ยวกับพืชพรรณเป็นหลักสูตร 4 ปี ตอนนี้เปิดไปแล้ว 1 รุ่นยังไม่จบ แต่ยังขาดเรื่องการออกแบบ ทางมหาวิทยาลัยจึงคิดว่าควรนำมาบูรณาการกับคณะสถาปัตยกรรมฯ เพื่อผลิตบัณฑิตทางวิชาชีพภูมิสถาปนิกตามหลักเกณฑ์วิชาการของสภาสถาปนิก แล้วเราจะเป็นคณะเดียวในภูมิภาคนี้จะมีหลักสูตรครบถ้วนตามที่สภาสถาปนิกกำหนดสถา-ร-คาม แล้วชื่อคณะเราจะยาวขึ้นอีกหรือเปล่าครับ(หัวเราะ)อ.พวงเพ็ญ (หัวเราะ) คงจะเป็นชื่อเดิมเพราะเราชื่อยาวมากอยู่แล้ว ต่อไปอาจจะเป็นวาระของคณะอีกต่อไปนะเรื่องชื่อ (หัวเราะ)“เราต้องยอมรับเลยว่าสถาปนิกและนักออกแบบมีโอกาสในการทำาลายสิ่งแวดล้อมสูงมากหากขาดจิตสำานึกและหลักการที่ดี”สถา-ระ-คาม อ.กุ้งคิดว่าบทบาทของสถาปนิกและนักออกแบบในปัจจุบันกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก ควรเป็นอย่างไรอ.พวงเพ็ญ เราต้องยอมรับเลยว่าสถาปนิกและนักออกแบบมีโอกาสในการทำลายสิ่งแวดล้อมสูงมาก หากขาดจิตสำนึกและหลักการที่ดี อาจารย์ย้ำเสมอว่านิสิตที่จบไปจากที่นี่ต้องเป็นคนที่มีจิตสำนึกที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นคนที่มีจิตสำนึกในสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้จากอาจารย์พยายามที่สร้างสภาพแวดล้อมที่คณะให้เขียว4-5 ปีที่เขาอยู่ที่บ้านแห่งนี้ อยากให้เขาคุ้นเคยกับสีเขียวจนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งกับเขา แล้ววันหนึ่งเขาจบออกไปเวลาจะออกแบบหรือทำงานใดจะทำให้เขาเหล่านั้นคิดและคำนึงถึงโลก ถึงสภาพแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกถือว่าเป็นวาระของชาวโลกทุกคนที่จะต้องช่วยกัน ขอเพียงเริ่มจากตัวเรา ลองคิดดูว่าคณะเรามีอาจารย์และนิสิตกี่คน ถ้าทุกคนมีจิตสำนึกที่ดี ปลูกต้นไม้คนละต้นคิดแล้วจะได้กี่ต้นและดูแลมันให้เติบใหญ่ นี่เป็นเพียงแค่ชุมชนเล็กในคณะเราเท่านั้นและหวังว่าจะขยายผลเป็นวงกว้างออกไปเรื่อยๆ อาจารย์เชื่อว่าพวกเราทำได้และควรจะเริ่มต้นที่ตัวเราเอง ไม่ต้องรอให้ใครมาบอกสถา-ร-คาม ต้องขอพระขอบคุณอาจารย์กุ้งในวันนี้ ได้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์มากมายในบทสัมภาษณ์เปิดเล่มวารสารของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong>“การมีจิตสำานึกที่ดีควรจะเริ่มต้นที่ตัวเราเองไม่ต้องรอให้ใครมาบอก”90วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255391


การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ วารสารสถาสาระ“วารสารสถาสาระ” จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม เผยแพร่ผลงาน บทความวิชาการ ผลงานวิจัย ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นหลายทั้งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากภายในและภายนอก เพื่อต่อยอดในการขยายวงกว้างทางวิชาการออกสู่สาธารณชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างแหล่งรวมข้อมูลทางวิชาการด้านการออกแบบที่สามารถนำไปใช้ในด้านการเรียนการสอน เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ทางด้านวิชาการ จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ ผลงานที่จะได้รับการตีพิมพ์จะต้องเป็นผลงานที่มีสาระทางวิชาการ เป็นผลงานที่สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือทบทวนความรู้เดิม รวมทั้งข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน รูปแบบการเขียน 2 ประเภท คือ บทความวิชาการทั่วไป และบทความวิจัย บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์อาจได้รับการปรับปรุงตามที่กองบรรณาธิการเห็นสมควร เพื่อให้วารสารมีคุณภาพในระดับมาตราฐาน และสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ข้อกำหนดเบื้องต้นในการส่งบทความ1. การเตรียมต้นฉบับภาษา เขียนภาษาต้นฉบับ เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ (บทความวิจัยจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) ในกรณีที่มีภาพประกอบ กรุณาใช้ภาพที่มีคุณภาพสูงไม่น้อยกว่า 1 ล้านพิกเซล ให้ส่งภาพมาพร้อมกับตำแหน่งที่วางในบทความด้วยรูปแบบไฟล์ Microsoft Word รวมถึงแนบไฟล์แบบ .jpg มาในโฟลเดอร์ภาพประกอบด้วยบทความที่เป็นงานแปล หรือเรียบเรียงจะต้องมีการอ้างอิงโดยละเอียด ขนาดของต้นฉบับ ให้พิมพ์ในกระดาษA4 ใช้ตัวอักษร Browallia New ขนาด 14 Pต้นฉบับให้ระบุชื่อผู ้เขียนทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตำแหน่งวิชาการ สถานที่ทำงานของผู ้เขียน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และ E-mail address ที่กองบรรณาธิการสามารถติดต่อได้โดยสะดวก- วัตถุประสงค์- วิธีการศึกษา- ผลการศึกษา- สรุปและอภิปรายผล- เอกสารอ้างอิงการเขียนบทความวิชาการ- ชื่อเรื่อง- ผู้แต่ง (ภาษาไทยและอังกฤษ)- บทคัดย่อ (ถ้ามี)- คำสำคัญ (ถ้ามี)- บทนำ- เนื้อหา- บทสรุป- เอกสารอ้างอิงผลการศึกษา บทสรุป ตลอดจนความคิดเห็นใดๆ ในวารสารนี้ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการแต่อย่างใด2. การส่งต้นฉบับส่งต้นฉบับเอกสารพร้อม CD-ROM File ข้อมูลจำนวน 1 ชุด มาที่ กองบรรณาธิการวารสารสถา-ร-คามคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong> ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทรศัพท์ 043-754381 โทรสาร 043-754382 หรือส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ journal_satarakham@hotmail.com3. การพิจารณาต้นฉบับกองบรรณาธิการจะตอบรับต้นฉบับภายใน 1 สัปดาห์ และจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 1 เดือนบทความที่ผ่านการพิจารณาตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับวารสารเป็นอภินันทนาการจำนวน 3 เล่ม4. คำแนะนำในการเขียนบทความการเขียนบทความวิจัย ประกอบไปด้วย- ชื่อเรื่อง- ชื่อผู้แต่ง (ภาษาไทยและอังกฤษ)- บทคัดย่อ (ภาษาไทยและอังกฤษ)- คำสำคัญ- บทนำ92วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255393


94วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 2553วารสารวิชาการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์ : มกราคม - มิถุนายน 255395

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!