12.01.2015 Views

คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน - สำนักวิทยบริการ :: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน - สำนักวิทยบริการ :: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน - สำนักวิทยบริการ :: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong><br />

ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง<br />

• ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา บ้านเชียงเหียน<br />

• ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับเศรษฐกิจพอเพียง<br />

• หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง<br />

• การเตรียมความพร้อม การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน<br />

จัดท าโดย :<br />

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม <strong>มหาวิทยาลัยมหาสารคาม</strong><br />

ต าบลตลาด อ าเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000<br />

โทรศัพท์/โทรสาร 043-970754<br />

http://hos.msu.ac.th<br />

ที่ปรึกษา :<br />

ผศ. สุรเชษฏ์ เชษฐมาส คณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม<br />

รศ.ดร.สุภาพ บุญไชย<br />

เรียบเรียง/รวมรวบ :<br />

กมลทิพย์ เหล่าอรรคะ<br />

เฉลิมเกียรติ สุริยะวงศ์<br />

วิริยา สีบุญเรือง<br />

มยุรี นาสา<br />

ภาพประกอบ :<br />

ปิยะวรรณ จันทมาน<br />

พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

2<br />

บ้านเชียงเหียน ต าบลเขวา เป็นเมืองโบราณ มีลักษณะเป็นเนินสูงรูปไข่คือสูงตรงกลางมี<br />

คูน้ าคันดินล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะท าเลที่ตั้งที่ดีคือเมื่อฝนตกน้ าจะไหลลงสู่ คูน้ า และบึงที่อยู่รอบ<br />

หมู่บ้านทุกบึง และจากท าเลที่ตั้งของบ้านเชียงเหียนดังกล่าว จึงมีความสอดคล้องกับลักษณะของเมือง<br />

ในสมัยทวารวดีคือมักจะมีคูน้ าคันดินล้อมรอบเมือง<br />

บ้านเชียงเหียนในสมัยขอม<br />

ครั้งแรกดินแดนแห่งนี้ เคยเป็นดินแดนของประเทศลาว มาก่อน ในสมัยนั้นประเทศลาวมี<br />

อ านาจในการปกครองดินแดนอีสาน แต่ได้มีชนสองเชื้อชาติซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาก คือ ขอม หรือ<br />

เขมร และลาว ซึ่งต่อมาชนชาติขอมก็ได้มีอ านาจ เหนือลาว<br />

จึงได้เข้ายึดครองแผ่นดิน เพราะฉะนั้น ดินแดนของภาค<br />

อีสานบางส่วนจึงตกเป็นของพวกขอม ซึ่งมีหลักฐานที่ส าคัญ<br />

ที่พวกขอมได้สร้างเอาไว้ มีให้เห็นอยู่บ้างในดินแดนของภาค<br />

อีสานในปัจจุบัน เช่น กู่บ้านเขวา ที่ขอมได้สร้างไว้ในอดีต<br />

ถ้าจะเปรียบเทียบกับศาสนาพุทธแล้ว ก็คงจะเป็น "วัด"<br />

เพราะสมัยนั้น ส่วนพวกลาวก็ได้อาศัยอยู่ในดินแดนส่วนนี้<br />

โดยอยู่ภายใต้การปกครองของขอมด้วย<br />

หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งคือหลักฐาน จากนิยายปรัมปราของปรางค์กู่บ้านเขวาที่ได้เล่าสืบต่อกันมา<br />

ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ บอกเล่าจากพระ อริยานุวัตร เขมจารี เจ้าอาวาสวัดมหาชัยได้เล่าว่า<br />

ต านานหรือนิยายปรัมปราที่เกี่ยวกับการสร้างปรางค์กู่บ้าน เขวา เป็นเรื่องที่สัมพันธ์เกี่ยวกับ


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

3<br />

วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่องผาแดงนางไอ่ซึ่งในเรื่องนิยายปรัมปรา จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในแถบภาค<br />

อีสาน ซึ่งจะกล่าวถึงเมืองต่าง ๆ ไว้หลายเมือง คือ เมืองหนองหานหลวง จังหวัดสกลนคร หนองหาน<br />

น้อย อ าเภอ กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เมืองคันธาร์ อ าเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมือง<br />

หงส์ เมืองทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เมืองฟ้าแดด เมืองสูงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองพ่างพิษนาด หรือ<br />

เมืองเชียงเหียน<br />

บ้านเชียงเหียนเคยเป็นชุมชนโบราณมาแล้ว ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเห็นได้จาก<br />

การขุดค้นทางโบราณคดี ก็พบโบราณวัตถุ เป็นจ านวนมาก ทั้งยังได้มีการก าหนดอายุโบราณวัตถุที่<br />

ค้นพบจากบริเวณเมืองโบราณ เมืองเชียงเหียน เมืองฟ้าแดดสงยางจัดเป็นโบราณวัตถุสมัยทวารวดี มี<br />

อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 ส่วนเมืองพ่างพิษนาค ซึ่งชาวบ้านแถบนี้เชื่อว่า เป็นบริเวณบ้านเชียง<br />

เหียนในปัจจุบัน เจ้าอ้ายเพชรอีกผู้สร้างปรางค์กู่ บ้านเขวา เป็นผู้ปกครองมาก่อน ใน<br />

ปัจจุบันบริเวณบ้านเชียงเหียนยังคงเหลือ ร่องรอยของเมืองโบราณให้เห็นอยู่บ้าง<br />

เป็นต้นว่า มีเนินดินขนาดใหญ่ มีคูน้ าคันดินล้อมรอบถึงสองชั้น มีผังเมืองเป็น<br />

รูปทรงค่อนข้างกลม เมื่อปี พ .ศ. 2523 โครงการโบราณคดี ภาค


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ตะวันออกเฉียงเหนือ กองโบราณคดี กรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์<br />

ได้ท าการส ารวจและขุดค้นโบราณคดี บริเวณเมืองเชียงเหียนเก่า ทั้งบริเวณที่สันนิษฐานกันว่าเป็น<br />

บริเวณที่เป็นวัดเก่า ของเมืองเชียงเหียน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเนินดินสูงสุดภายในหมู่บ้าน จากการ<br />

ส ารวจขุดค้นก็ได้พบโบราณวัตถุที่เป็น หลักฐานทางโบราณคดี เป็นจ านวนมาก เช่น เครื่องมือที่ท า<br />

จากกระดูกสัตว์ ก าไลส าริด เบ็ดตกปลาท าจากโลหะส าริด เศษภาชนะดินเผา และโครงกระดูกมนุษย์<br />

ด้วย จากการก าหนดอายุที่พบจากการส ารวจ และขุดค้นทางโบราณวัตถุในเบื้องต้น พบว่ามี อายุ<br />

ประมาณ 1,000 - 2,000 ปีผ่านมาแล้ว เป็นชุมชนที่มีการพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคก่อน<br />

ประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยประวัติศาสตร์<br />

4<br />

จารีตประเพณีของหมู่บ้านเชียงเหียน<br />

ครั้งขอมได้ปกครองมานาน ขอมก็มีจารีตประเพณีที่แสดงถึงอิทธิพลทางศาสนาพุทธที่<br />

คล้ายคลึงกันกับคนลาวหรือคนไทย สาเหตุที่คล้ายคลึงกัน เพราะอาจเป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน จึงมี<br />

จารีตประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนาคล้ายคลึงกันดังกล่าว เพราะระยะหลัง ๆ มาการนับถือ<br />

ศาสนาก็จะมีการผสมผสานกัน จะเห็นได้จากการท าบุญ ซึ่งการท าบุญบางอย่างที่เหมือนกันและเห็น<br />

ได้ชัดเจนคือ การท าบุญบั้งไฟ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในช่วงเขมรหรือขอมที่เจริญถึงขีดสุดก่อนที่จะ<br />

เสื่อมอ านาจลง เจ้าผู้ครองนครขอมได้จัดท าบุญบั้งไฟขึ้นที่เมืองหนองหาน ปัจจุบันอยู่ในเขตอ าเภอ<br />

กุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งจะกล่าวถึงอยู่ในนิทานพื้นบ้านของ<br />

ภาคอีสานเราที่มีปรากฏในเรื่อง ผาแดงนางไอ่ ซึ่งปรากฏเป็น<br />

ต านานที่เป็นหนังสือผูก และทั้งที่เล่าสืบทอดต่อกันมาจนถึง<br />

ปัจจุบัน ใน เรื่องผาแดงนางไอ่ จะกล่าวถึงเมืองเชียงเหียนไว้<br />

มากมายหลายตอนของเรื่อง ทั้งเรื่องประเพณี การท าบุญบั้งไฟ<br />

การสู่ขอนางไอ่ และจะมีกล่าวถึงฆ้องประจ าเมืองเชียงเหียนด้วย


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

5<br />

การฮดสรง นิยมท ากันเพื่อให้เป็นศิริมงคล ชาวบ้านมีความเชื่ออย่างนั้น ส่วนหลาบเงินหลาบ<br />

ค า ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ได้มีการฮดสรงเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตัวเอง เมื่อถึงวันฮดสรงก็จะพากันท า<br />

พิธีกรรมฮดสรง ไม่ได้ก าหนดว่าเป็นวันใด แล้วแต่ความสะดวกของผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะ<br />

คล้ายคลึงกับการฮดสรงพระภิกษุ สามเณร ในพุทธศาสนา ในปัจจุบัน ซึ่งชาวบ้านเชียงเหียนใน<br />

ปัจจุบันที่นับถือพุทธศาสนากันเป็นส่วนมาก<br />

สถานที่ส าคัญของบ้านเชียงเหียน<br />

1. มีหนองน้ าล้อมรอบหมู่บ้าน 6 หนอง คือ บึงหว้า สระแก้ว หนองขอนพาด บึงบอน บึงสิม<br />

และบึงบ้าน ซึ่งหนองน้ าทั้งหมดนี้สันนิษฐานว่าขุดไว้เพื่อเป็น คูเมือง ป้องกันศัตรูที่จะมารุกราน ซึ่ง<br />

ลักษณะของหนองน้ าทั้งหมดนั้นจะมีลักษณะโค้งล้อมรอบหมู่บ้านและมีทางออกเป็นช่องระหว่าง<br />

หนองน้ าแต่ละหนองรอบบ้านเช่นกัน นอกจากนั้นแล้วหนองน้ ายังมีประโยชน์ในการเก็บกักน้ า<br />

ส าหรับให้คนในเมืองหรือในบ้านใช้โดยไม่ขาดแคลนอีกด้วย


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

2. อุ่มพุฒตา หรือ ดอนปู่ตา อยู่ทางทิศเหนือของบ้านริมบึงสิมโดยชาวบ้านเชื่อกันว่าปู่ตาของ<br />

ตนนั้นก็คือเจ้าเมืองเชียงเหียนที่อยู่ในต านานผาแดงนางไอ่ ดังนั้นชาวบ้านจึงมีประเพณีจุดบั้งไฟแสน<br />

เพื่อเป็นการบูชาปู่ตาของตนเพราะถือว่าเมืองเชียงเหียนนั้นเป็นเมืองที่เคยส่งบั้นไฟแสนเข้าแข่งขันใน<br />

งานแข่งบั้งไฟของพญาขอมพี่ชาย<br />

3. หอนางเจ้าแม่หรือเจ้าแม่หอนาง อยู่ทางทิศใต้<br />

ของหมู่บ้านเป็นสถานที่ซึ่งชาวบ้านเชียงเหียนให้ความ<br />

เคารพนับถือเป็นอย่างมากว่ามีความศักดิ์สิทธิ์รองลงมา<br />

จากดอนปู่ตาหรือที่ชาวบ้านเชียงเหียนเรียกว่า "ดอนญา<br />

พ่อปู่" โดยชาวบ้านเชื่อว่าเป็นน้องสาวของพญาเชียงเหียน<br />

ชาวบ้านจะน าอาหารไปถวายทุกวันพระ และมี การบน<br />

บานในสิ่งที่ตนปรารถนา โดยของแก้บนที่เจ้าแม่หอนาง<br />

ชอบมากที่สุด คือ เรือไม้แกะสลักและนอกจากนั้นยังต้องมี<br />

การแห่บั้งไฟไปถวายทุกปีเหมือนกับที่ดอนญาพ่อปู่<br />

4. คูสามชั้น เป็นคันดินสามชั้นซ้อนกันความยาวแต่ละคู่ประมาณ 60 วาชาวบ้านเชื่อว่าเป็น<br />

ก าแพงเมืองป้องกันการรุกรานของศัตรูอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน<br />

5. ทุ่งพลาญชัย มีลักษณะเป็นทุ่งกว้างอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ที่ใช้ฝึก<br />

ทหารและจัดกิจกรรมร่วมกันของชาวเมือง เชียงเหียน<br />

6. หนองหลุมเพาะ มีลักษณะเป็นหลุมขนาด<br />

ใหญ่ มีลักษณะเป็นหลุมขนาดใหญ่เชื่อกันว่าเป็นหลุม<br />

หลบภัยของชาวเมืองเมื่อเวลาเกิดสงคราม<br />

7. ดอนอัญญาเฒ่า หรือดอนอัญญาผู้เฒ่า<br />

อัญญาผู้เฒ่านั้นเป็นบุคคลส าคัญของเมืองเชียงเหียน<br />

ในช่วงที่มีการอพยพมาจากเมืองสุวรรณภูมิ คือ เป็น<br />

6


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ต้นตระกูลขัติยะวงศ์ เนื่องจากเป็นเชื้อพระวงศ์ของ<br />

เจ้าเมืองร้อยเอ็ด คือท้าวขัติยะวงศ์จึงใช้ชื่อสกุลว่า "ขัติ<br />

ยะวงศา" และต่อมาได้กลายเป็น "ขัติยะวงศ์"<br />

และอัญญาผู้เฒ่านี้เป็นผู้ที่มีความส าคัญอย่างมาก<br />

ในการก่อตั้งบ้านเชียงเหียนโดยเป็นผู้น าทางด้าน<br />

ศาสนาในกลุ่มชาวบ้าน เมื่ออัญญา ผู้เฒ่าถึงแก่<br />

กรรมชาวบ้านจะน าศพไปฝังไว้ที่ดอนทางทิศใต้ของหมู่บ้านและท าศาลไว้ที่ดอนเพื่อเป็นที่สักการะและ<br />

ให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวของชาวบ้านชาวบ้านเชียงเหียนมักมาบนบานเรื่องเกี่ยวกับการไม่ให้ถูกทหาร และ<br />

นอกจากนั้นเมื่อมีชายหนุ่มในหมู่บ้านอายุครบบวชต้องไปท าการบอกกล่าวที่ดอนอัญญาผู้เฒ่าทุกครั้ง<br />

เพราะถือว่าท่านเป็นผู้น าทางด้านพิธีการทางศาสนา<br />

8. ดอนญาคู อยู่ใกล้ ๆ กับดอนอัญญาผู้เฒ่า โดยที่ญาคูนั้น ชาวบ้านเชียงเหียนกล่าวว่า คือ<br />

เจ้าอาวาสของวัดเก่าเชียงเหียนในยุคแรก ๆ ที่มีการอพยพมาจากร้อยเอ็ด ซึ่งปัจจุบัน ได้กลายเป็นวัด<br />

ร้างไปแล้วเมื่อมรณภาพชาวบ้านจึงน าศพของท่านไปฝังไว้ที่ดอนญาคูเพื่อเป็นที่ส าหรับชาวบ้านไป<br />

สักการะอีกแห่งหนึ่ง<br />

9. โนนวัดเก่า เป็นโนนวัดที่อยู่ตรงกลางของหมู่บ้านฝากทิศใต้ของถนนเส้นมหาสารคาม –<br />

ร้อยเอ็ด เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยของที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นวัดที่พญาเชียงเหียนสร้างขึ้น ปัจจุบันเหลือแต่<br />

ซากศิลาแลงอยู่ไม่มากนัก<br />

7<br />

โบราณสถานที่เกี่ยวกับบ้านเชียงเหียน<br />

บ้านเชียงเหียนในปัจจุบัน แต่ในอดีตเคยเป็นเมืองที่<br />

เจริญรุ่งเรืองมาก่อนชื่อว่าเมืองเชียงเหียน เป็นเมืองโบราณ


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

8<br />

ที่นักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ หลายท่านได้ให้ความส าคัญและได้ค้นคว้าหลักฐานต่าง ๆ ใน<br />

เมืองแห่งนี้มาช้านานแล้ว เมืองโบราณเชียงเหียนจะมีลักษณะแตกต่างจากเมืองโบราณอื่น ๆ ที่มีอายุ<br />

สมัยเดียวกับในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ เป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ าคันดินล้อมรอบเพียงแห่ง<br />

เดียวในเมืองโบราณหลาย ๆ เมืองที่มีตั้งอยู่ใกล้กับล าน้ า เมือง


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

9<br />

โบราณเชียงเหียน ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองมหาสารคามไม่ไกลนักมีสภาพที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน<br />

เท่าที่พอจะสังเกตเห็นได้คือ สภาพเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ดอนแวดล้อมด้วยทุ่งนาและป่าไม้ ล าน้ าเก่าที่<br />

เคยไหลผ่านเมืองนี้ได้ตื้นเขินมานานแล้วโดยเฉพาะตามแนวคูน้ ารอบ ๆ เมือง หากพิจารณาให้ดีจะ<br />

เห็นว่า ระดับคูเมืองนั้นมีระดับสูงกว่าพื้นที่โดยทั่ว ๆ ไปประมาณ 2 เมตร ท่านผู้รู้ทั้งหลายท่านได้ตั้ง<br />

ข้อสมมุติฐานว่าเมืองนี้คงมาสร้างขึ้นในสมัยทวารวดีซึ่งปรากฏร่องรอยของศิลปะรุ่นนั้น ๆ ให้เห็นอยู่<br />

มีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน มีโบราณสถานที่พบอยู่ตามบริเวณเนินดิน ทั้งสถูป และรูปร่างเดิมของ<br />

วิหารรอบอุโบสถ ในโบราณวัตถุที่พบเห็นมีความเชื่อที่เป็นคติเก่าแก่แอบแฝงอยู่มากมาย จนเป็นการ<br />

ยากที่จะหาค าตอบในระยะเวลาอันสั้น ในโบราณวัตถุที่พบเห็นนั้นที่เด่นชัดมี 2 ประการคือ


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

10<br />

1. อุโบสถแห่งหนึ่งหันด้านหน้าพระอุโบสถไปสู่ทิศใต้ อันเป็นการสร้างอุโบสถหันหน้าสู่ด้าน<br />

ทิศตะวันออก ทั้ง ๆ มีอุโบสถแห่งนี้สร้างอยู่บริเวณตรงกลางเมืองเชียงเหียนซึ่งเป็นสภาพที่ตั้งวัด<br />

บ้านเชียงเหียนในปัจจุบันนี้ และเป็นจุดศูนย์กลางของหมู่บ้านอีกด้วย มิได้มีล าน้ าไหลผ่านทางทิศใต้<br />

แต่อย่างใด ชาวบ้านมีคติความเชื่อในการสร้างซุ้มประตู เช่นนี้นับว่า เป็นเรื่องที่แปลกกว่าการสร้าง<br />

ซุ้มประตูที่อื่น แม้กระทั่งอุโบสถที่ปรากฏในสมัยอู่ทองและอยุธยา เพราะในสมัยดังกล่าวนี้ถ้าหากว่า<br />

วัดอยู่ห่างจากแม่น้ าล าคลองจะสร้างอุโบสถหรือวิหารหันหน้าสู่สายนี้เสมอโดยไม่ต้องค านึงถึงทิศทาง<br />

ในกรณีของเมืองเชียงเหียนก็แปลกมาก่อนเช่นกัน เพราะสร้างอุโบสถหันหน้าสู่ทิศใต้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีล า<br />

น้ า หรือ แม่น้ าที่อยู่ใกล้ ๆ ไหลผ่านด้านนี้เลย<br />

2. ได้พบ ใบเสมา ที่สลักเล่าเรื่องราว<br />

เกี่ยวกับชาดกในพุทธศาสนาและพุทธประวัติ<br />

เป็นส่วนใหญ่เป็นจ านวนมาก ในบริเวณ<br />

โบราณสถานของเมืองเชียงเหียน ชาวบ้าน<br />

สมัยก่อนเคยพบโบราณวัตถุเหล่านี้เป็นจ านวน<br />

มาก ก็ได้มีชาวบ้านบางคนน าไปท าเป็นคูนาเพื่อป้องกันน้ าไหล ก็มีแต่ที่น่าแปลกใจก็คือ ได้ใช้ใบเสมา<br />

ขนาดใหญ่ปักโดยรอบเจดีย์และอุโบสถทั้ง 4 ทิศ จึงแปลกกว่าภูมิภาคอื่น ๆ เพราะส่วนที่ปักไว้นี้จะ<br />

เป็นเขตวิสูงคามสีมา ก็ไม่ใช้ จะว่าเป็นเ ขตแดนลูกนิมิตอุโบสถก็ไม่ใช่เพราะได้รวมเอาเจดีย์ไว้ด้วย ใน<br />

ส่วนที่เดียวกับพระอุโบสถ ในด้านพระวินัยสงฆ์นั้น ก็ไม่ค่อยจะตรงกันนัก จึงมีความคิดเห็นว่า<br />

ศิลปกรรมที่เป็นส่วนนี้ ส่วนใหญ่เป็นแบบทวารวดี แต่เป็นแบบทวารวดีลุ่ม<br />

แม่น้ าชีตอนกลาง เป็นเอกลักษณ์ของภาคตะวันออกเฉียง เหนือโดยเฉพาะ<br />

ซึ่งจะมีข้อที่แตกต่างไม่ เหมือนกับศิลปะแบบทวารวดี ที่ลุ่มแม่น้ าเจ้าพระยา<br />

แสดงให้เห็นว่าศิลปะทวารวดีแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แฝงคติความ<br />

เชื่อของชาวบ้านมาแต่ดึกด าบรรพ์และที่เป็นเช่นนี้ อาจมีความเชื่อจากบรรพ


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

บุรุษสมัยนั้น ๆ ผู้เคยสร้างเมืองเชียงเหียนหรือผู้ที่เคยครองมาแล้วเข้ามามีอิทธิพลในการออกแบบ<br />

ศิลปะด้วย เพราะท้องถิ่นดังกล่าวที่ได้ตกทอดมาจากบรรพบุรุษในดินแดนแถบลุ่มน้ าชีหรือแถบอื่น ๆ<br />

เข้ามาครอบครองอยู่ก่อนประวัติศาสตร์ก็เป็นได้ และจากหลักฐานทางโบราณคดีที่กล่าวมาแล้วคงจะมี<br />

ความเกี่ยวข้องกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในบริเวณเมืองโบราณเชียงเหียน ซึ่งจะกล่าวมาแล้วคงจะ<br />

มีความเกี่ยวข้องกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในบริเวณเมืองโบราณเชียงเหียน ซึ่งจะกล่าวในตอน<br />

ต่อไป เพราะมีส่วนสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองเชียงเหียนมาก ส่วนหลักฐานทางในโบราณคดี<br />

เหล่านั้นอาจจะมีส่วนช่วยสนับสนุนยึดมั่นถึงความสัมพันธ์ของเมืองสองเมืองคือ เมืองเชียงเหียน กับ<br />

เมืองขอม ที่หนองหาน จังหวัดอุดรธานี ตามที่ปรากฏในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่<br />

ที่กล่าวมาไว้แล้ว<br />

11<br />

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเหียน<br />

ตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านเชียงเหียน ต.เขวา มีลักษณะเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ ผังเมืองเป็นรูป<br />

กลมรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร มีคูน้ าคันดินล้อมรอบ ประกอบด้วย คันดิน 3<br />

ชั้น คูน้ า2 ชั้น คูเมืองด้านทิศตะวันออก และตะวันตก ถูกทางหลวงหมายเลข 23 (มหาสารคาม -<br />

ร้อยเอ็ด) ตัดผ่ากลางเมือง ทางด้านนอกตัวเมืองโบราณ มีเนินดินโบราณคดีอีก 5 แห่ง ได้แก่ ดอน<br />

ข้าวโอ ดอนปู่ตา ดอนย่าเฒ่าดอนญาคู และหอนาง


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเหียน ได้เคยมีการขุดค้นมาแล้ว อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อปี<br />

พ.ศ.2517 - 2518 โดย Chster Gorman กับ พิสิฐ เจริญวงศ์ ซึ่งผลการขุดค้นครั้งนั้น ก าหนด<br />

อายุว่า มีการอยู่อาศัยเริ่มแรกเมื่อราว 3500 ปีก่อนคริสตกาล (หรือประมาณ 5500 ปีมาแล้ว) แต่<br />

ผลอายุดังกล่าวยังไม่ค่อยได้รับการยอมรับกันนัก ในการขุดครั้งนั้นได้<br />

พบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายอย่าง อาทิ โครงกระดูก<br />

มนุษย์ที่มีเครื่องประดับส าริด ฝังร่วมอยู่ด้วยหลายโครง เป็นต้น<br />

นอกจากนี้ยังพบว่ามีการอยู่อาศัยของชุมชนต่อเนื่องจนถึงสมัยแรกเริ่ม<br />

ประวัติศาสตร์ด้วย<br />

ส่วนการขุดค้นครั้งที่สอง ด าเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2524 โดยนักโบราณคดีจากกองโบราณคดี<br />

กรมศิลปากร (นายอ าพัน กิจงาม) ผลการขุดค้นครั้งนี้ พบว่าแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเหียนมีชั้นดิน<br />

ลึกประมาณ 6 เมตร ชั้นดินล่างสุดที่แสดงถึงการเริ่มต้นอยู่อาศัยในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ก าหนด<br />

อายุได้ราว 3300-2000 ปีมาแล้ว โดยได้พบโบราณวัตถุหลายประเภท เช่น เครื่องมือส าริด<br />

เครื่องมือเหล็ก และหลุมศพ 6 หลุม ชั้นดินตอนกลาง จัดเป็นสมัยประวัติศาสตร์ อายุราว 2000 -<br />

1500 ปีมาแล้ว ได้พบภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง ส่วนชั้นดินด้านบนสุด พบ<br />

หลักฐานที่แสดงถึงการอยู่อาศัยของผู้คนยุคปัจจุบัน<br />

12


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

13<br />

ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับเศรษฐกิจพอเพียง<br />

บ้านเชียงเหียน อ าเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม<br />

โดย รศ.ดร. สุภาพ บุญไชย<br />

ภูมิทัศน์วัฒนธรรมบ้านเชียงเหียน<br />

ภูมิทัศน์ (Landscape) หมายถึง ลักษณะทางกายภาพและทางธรรมชาติของแผ่นดิน<br />

รวมถึงความสูงต่ าของผิวโลก ทะเลสาบ ถนนหนทางและเมืองต่าง ๆ<br />

วัฒนธรรม (Culture) หมายถึง วิถีชีวิตของหมู่คณะลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอก<br />

งาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียว ก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน<br />

ภาพถ่ายดาวเทียมบ้านเชียงเหียน


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ภูมิประเทศภาคอีสาน จะยกตัวสูงขึ้นจากภาคกลางและประเทศกัมพูชาอย่างเด่นชัด แบบรูป<br />

โต๊ะ (Table Land) ดินเป็นดินทราย มีแม่น้ า 2 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ ามูลและแม่น้ าชี แม่น้ าชีเกิด<br />

จากเขาพระยาฝ่อ จังหวัดชัยภูมิ แม่น้ ามูลเกิดจาก จากเทือกเขาสันก าแพง จังหวัดนครราชสีมา ทั้งสอง<br />

สาย มารวมกันที่จังหวัดอุบลราชธานี และไหลลงสู่แม่น้ าโขง<br />

14<br />

อ.เทพสถิตย์ จ.ชัยภูมิ<br />

เขาพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ<br />

ภาคกลาง<br />

กัมพูชา<br />

ภูมิประเทศของอ าเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ลักษณะดินเป็นดินทรายเป็นที่ราบลูก<br />

ภูมิประเทศภาคอีสาน<br />

คลื่น (Rolling Plain) ตัวเมืองจะอยู่บนลูกคลื่น หรือที่ชาวอีสานเรียกว่า“มอ”นั่นเอง คือที่ตั้งตัวเมือง<br />

มหาสารคาม มีลักษณะคล้ายหลังเต่า แล้วค่อย ๆ ลาดลงไปรอบตัวเมืองทุกด้าน<br />

จ.ชัยภูมิ<br />

แม่น ้ำโขง<br />

แม่น ้ำชี<br />

จ.<br />

จ.นครรำชสีมำ<br />

แม่น ้ำมูล อุบลรำชธำนี<br />

1 2<br />

3 4<br />

บ้ านเชียงเหียน มีลักษณะการตั้งบ้านเรือนอยู่บนลูกคลื่นเช่นกัน ด้วยลักษณะภูมิประเทศ<br />

ลักษณะการตั้งบ้านเรือนชาวอีสาน<br />

เป็นลูกคลื่น และมีโพน (จอมปลวก) มาก จึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมการตั้งบ้านเรือนของคนอีสานขึ้นใน<br />

สมัยก่อน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ที่ดอน หรือ “มอ”จะเป็นที่ตั้งบ้านเรือน ส่วน<br />

ที่ 2 จะเป็นที่ลุ่มจะใช้ท านา ส่วนที่ 3 จะเป็นเนินติดกับที่ลุ่มใช้ในการปลูกพืชไร่ไว้ใช้ประโยชน์ใน<br />

ครอบครัว ส่วนที่ 4 จะเป็นที่ดอนจะเก็บไว้เป็นป่าสาธารณะใช้ประโยชน์ร่วมกัน และเพื่ออนุรักษ์ป่า<br />

ไว้จึงเกิดวัฒนธรรมดอนปู่ตาขึ้นในบริเวณที่ 4 นี้


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

การเลือกที่ตั้งบ้านเรือนของเจ้าเชียงเหียน ก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน ดังนี้<br />

เจ้าเชียงเหียน เลือกตั้งบ้านเรือนที่ “ดงสาวน้อย” เพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์ดีมาก ดังนี้<br />

15<br />

เจ้าเชียงเหียน<br />

จากหนังตะลุงบ้านเชียงเหียน<br />

1. ทางทิศตะวันตกของดงสาวน้อยเดินไปประมาณเหนื่อยหนึ่ง (ระยะทางเดินจนเหนื่อยต้องหยุด<br />

พัก) ก็ถึงกุด(ต้น)ยางใหญ่ (ปัจจุบันเป็น กุดนางใย)<br />

2. ไปทางตะวันออกประมาณเท่ากันก็ถึงหนองกระทุ่ม (หนองกระทุ่ม บ้านเขวาปัจจุบัน)<br />

3. ไปทางทิศเหนือประมาณเท่ากันก็ถึงล าน้ าใหญ่ที่มีน้ าไหลจากตะวันตกไปทางตะวันออก คือ “ห้วย<br />

คะคาง”<br />

4. ไปทางทิศใต้ติดกับป่าดงดิบ (แล้ง) มีต้นยางอยู่จ านวนมาก แต่มีอยู่ ต้นหนึ่ง ใหญ่ที่สุด สูงเสียด<br />

ฟ้า ล าต้นใหญ่ประมาณ 5-6คนโอบ ตะวันตกดินประมาณ 2-3 ชั่วโมงข้างล่างมืดสนิท แต่<br />

ปลายต้นยางใหญ่ยังมีแสงแดดอยู่ ชาวบ้านเรียก “ลิงตากผ้าอ้อม” ตอนเช้าประมาณตี 4-5 จะ<br />

มองเห็นแดดที่ปลายต้นยางนี้ชาวบ้านเรียก “ต้นอีแดด” นอกจากนั้นยังมีต้นไม้นานาพันธุ์ เช่น<br />

ตะเคียนทอง ตะเคียนหนู ตะแบก เต็ง ชิงชันอุดมสมบูรณ์มาก (ซากต้นไม้สมัยโบราณมีอยู่ที่วัด<br />

บ้านเชียงเหียนเป็นเรือโบราณและผลิตภัณฑ์อื่นๆ) นอกจากนั้นยังเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด<br />

ตั้งแต่สัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง ไปจนถึงสัตว์เล็ก เช่น มด ปลวก เจ้าเชียงเหียนจึงตัดสินใจสร้างเมืองที่นี่


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

เพราะ ถือว่าเป็นถิ่นที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้สมกับเป็นเมืองหน้าด่าน เจ้าเชียงเหียน ได้สร้าง<br />

หนองน้ าเป็นก าแพงเมือง 5 หนอง คันคูดิน 3 ชั้น ด้านทิศตะวันออกสูง 3 เมตร เป็นประตูหอ<br />

รบ ปัจจุบันถูกท าลายไปแล้ว<br />

16<br />

ดอกยางนา<br />

ลักษณะของเมืองเป็นวงรี มีประตูเมือง 5 ประตู คือ<br />

ทิศตะวันออก 1 ประตู (ทางไปร้อยเอ็ดปัจจุบัน)<br />

ทิศตะวันตก 1 ประตู (ทางไปมหาสารคาม)<br />

ทางทิศเหนือ 2 ประตู (ทางไปห้วยคะคาง)<br />

ทางทิศใต้ 1 ประตู (ทางไปบ้านร่วมใจปัจจุบัน)<br />

สถานที่ส าคัญในการประกอบพิธีต่าง ๆ คือ<br />

1.ดอนแก้วจะเป็นเชิงเทิน<br />

2.ทุ่งสนามชัยส าหรับซ้อมรบ<br />

3.สระบัว ท่าสรงนาง ส าหรับลงสรงของสนม<br />

4.หนองวงแหวนส าหรับท าพิธีทางศาสนา


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

จากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคอีสาน และบ้านเชียงเหียน ก่อให้เกิดวัฒนธรรมดังนี้<br />

1. ดอนปู่ตา (ภูมิปัญญาแห่งการอนุรักษ์) เป็นบริเวณป่าสงวนที่ชาวบ้าน เคารพเกรง<br />

กลัวมาก ใครจะไปตัดโค่นต้นไม้ ยิงสัตว์ในเขตดอนปู่ตาไม่ได้ ท่านจะโกรธ เพราะถือว่าล่วงเกินบริวาร<br />

ท่าน ปู่ตาจะบันดาลให้ผู้ที่ล่วงเกินมีอันเป็นไป เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย ประกอบการงานไร้ผล ดังนั้น<br />

การที่ชาวบ้านเคารพ ปู่ตาจึงเป็นการอนุรักษ์ป่า และอนุรักษ์สัตว์ในเขตดอนปู่ตาเป็นอย่างดี<br />

17<br />

ดอนปู่ตา<br />

ป่าวัฒนธรรม<br />

พิธีเลี้ยงปู่ตาในระหว่างเดือน 6-7 เฒ่าจ้ าจะเป็นผู้ก าหนดเอาวันใดวันหนึ่ง ในช่วงนี้เป็น<br />

วันเลี้ยงปู่ตา เมื่อก าหนดวันได้แล้ว เฒ่าจ้ าก็จะบอกชาวบ้านให้เตรียมอาหารคาวหวานมาเลี้ยงปู่ตา<br />

พร้อมทั้งแนะน าให้ชาวบ้านสะเดาะเคราะห์ภัยของครอบครัวตนเองไปให้พ้นด้วย พิธีสะเดาะเคราะห์<br />

นั้นท าได้โดยมีเครื่องสะเดาะเคราะห์ซึ่งก็คือ อาหารคาวหวานบรรจุอยู่ในกระทงกาบกล้วยรูป<br />

สามเหลี่ยม ภายในกระทงจะคั่นให้เป็นช่อง 9 ช่อง แต่ละช่องจะบรรจุ หมาก 1 ค า บุหรี่ 1 ม้วน เมี่ยง<br />

1 ค า ขนมต้ม 1 ชิ้น ข้าวด า ข้าวแดง อย่างละก้อน เครื่องบูชาเหล่านี้จะเป็นเครื่องส่งเคราะห์ภัย<br />

ของครอบครัวไปให้พ้น<br />

ลักษณะอากาศ บ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม อยู่ใจกลางภาคอีสาน (วัดออกไปทุก<br />

ด้านประมาณ 200 ก.ม.) จึงได้ปริมาณน้ าฝนน้อยกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในภาคอีสาน คือ ประมาณ


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

1300 มม./ปี ขณะที่อุดรธานี 1400 มม./ปี หนองคาย สกลนคร 1500 มม./ปี นครพนม<br />

2000-2500 มม./ปี อุบลราชธานี 1600-1700 มม./ปี<br />

เนื่องจากสภาพพื้นที่นาในภาคนี้เป็นที่ราบลูกฟูก ดินเป็นดินทราย และมักแห้งแล้งในฤดู<br />

ปลูกข้าวเสมอ ๆ จึงเหมาะในการปลูกข้าวเหนียว หรือมีพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวถึง 80 %<br />

ส่วนภาคกลางพื้นที่นาเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ าจึงเหมาะในการปลูกข้าวเจ้าเป็นส่วนมาก<br />

ในภาคอีสานที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ าก็มีการปลูกข้าวเจ้าเหมือนกันแต่ไม่มาก<br />

18<br />

วัฒนธรรมที่เกิดจากลักษณะทางกายภาพ และลักษณะอากาศ<br />

ก่อให้เกิดประเพณีฮีตสิบสอง ดังนี้<br />

ฮีตที่ 1 บุญเข้ากรรม (บุญเดือนอ้าย : เดือนธันวาคม) หลังจากออกพรรษาพระสงฆ์จะมา<br />

พิจารณาว่าตัวเองได้ท าอาบัติอะไรไว้บ้าง ก็จะช าระจิตใจให้บริสุทธิ์ และเพื่อแทนคุณมารดาที่ท่าน<br />

เคยอยู่กรรมตอนคลอดลูก ต้องนอนผิงไฟ อาบและดื่มน้ าร้อนอยู่กินอย่างคะล า (ห้ามกินของแสลง)<br />

เป็นการทรมานร่างกาย เรียกว่า “การอยู่กรรม”


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

19<br />

ฮีตที่ 2 บุญคูณลาน (บุญเดือนยี่ : เดือนมกราคม) คือบุญที่ท าขึ้นเพื่อท าขวัญข้าวเพื่อให้<br />

เกิดสิริมงคลแก่ชาวบ้าน โดยชาวบ้านจะน าข้าวที่ตนเองท านาได้ ถ้าได้มากก็น ามากองรวมกันที่วัด<br />

มาก ถ้าได้น้อยก็น ามาน้อย พระสงฆ์ก็จะท าพิธีสวดมนต์เพื่อเป็นการบูชาขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น<br />

ผีปู่ตา ผีตาแฮกหรือแม่โพสพ เป็นต้น<br />

ฮีตที่ 3 บุญข้าวจี่ (บุญเดือนสาม : เดือนกุมภาพันธ์ , ฤดูหนาว)<br />

ข้าวจี่คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุก แล้วน ามาปั้นเป็นก้อนโตประมาณเท่าไข่เป็ดขนาดใหญ่ปั้นให้แน่นแล้ว<br />

ทาเกลือให้ทั่ว เสียบไม้ย่างไฟ ด้วยไฟถ่าน (ผิงไฟด้วยเพราะเป็นฤดูหนาว)พลิกไปมาให้สุกเหลืองพอดี<br />

จึงเอามาทาด้วยไข่ที่ตีให้ไข่ขาวและไข่แดงเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วน าไปย่างไฟอีกครั้ง บางแห่งนิยมใส่<br />

น้ าอ้อยตรงกลางข้าวจี่


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ฮีตที่ 4 บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ(บุญเดือนสี่ : เดือนมีนาคม, ฤดูร้อน) หลังจากท านาเก็บ<br />

ข้าวขึ้นยุ้งฉางเดือนนี้จะว่างจึงได้มีพิธีฟังเทศน์ กัณฑ์เทศจะมี 13 กัณฑ์ ให้ชาวบ้านจองกัณฑ์เทศน์<br />

และชาวบ้านจะจัดเตรียมอาหารการกิน เช่น ขนม ข้าวต้ม และอาหารคาวต่าง ๆ ส าหรับถวาย<br />

พระภิกษุสามเณร และเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน เตรียมจัดหาปัจจัยไทยทานส าหรับใส่กัณฑ์เทศน์<br />

20<br />

ฮีตที่ 5 บุญสงกรานต์ (บุญเดือน 5 : เมษายน, ฤดูร้อน) หรือบุญขึ้น ปีใหม่ไทย โดยเริ่ม<br />

ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน วันที่ 13 เมษายนเป็นวันเริ่มต้นคือ วันมหาสงกรานต์<br />

วันที่ 14 เมษายนคือวันกลางเป็นวันเนาว์ และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันสุดท้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่<br />

ของชาวอีสาน เนื่องจากเดือนเมษายนอากาศร้อนมากจึงมีการสาดน้ าสงกรานต์ของหนุ่ม ๆ สาว ๆ<br />

ส าหรับคนแก่ ลูก ๆ หลาน ๆ ก็จะมาสรงน้ าขอพรจากคนแก่ ที่วัดก็จะมีการสรงน้ าพระด้วย


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ฮีตที่ 6 บุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก : เดือนพฤษภาคม, ฤดูฝน) “บั้งไฟ” หรือ “บ้องไฟ”<br />

หมายถึงกระบอกไม้ไผ่ที่ข้างในอัดด้วย“หมื่อ” (ดินปืนคือดินประสิวคั่ว ผสมกับถ่านต าให้ละเอียดก่อน<br />

น าไปอัดให้แน่นในกระบอกไม้ไผ่) ชาวอีสานเชื่อว่าประเพณีนี้จะน ามาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของฝน<br />

ฟ้า ข้าวปลาอาหาร พืชพรรณเจริญงอกงามดี น ามาซึ่งความสนุกสนานรื่นเริง บุญนี้มีความเชื่อว่า<br />

“พญาแถน” (เทวดาชาวอีสาน) จะดลบันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา ฝน<br />

ฟ้าตกต้องตามดูกาล<br />

21<br />

ฮีตที่ 7 บุญช าฮะ (บุญเดือนเจ็ด : เดือนมิถุนายน, ฤดูฝน) หรือบุญเบิกบ้าน (บุญ<br />

เบิกฟ้า) บุญนี้เป็นบุญที่เกี่ยวกับภูตผีปีศาจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีประจ าหมู่บ้าน มีผีปู่ตา ผีตาแฮก มเหศักดิ์<br />

หลักเมืองที่คอยคุ้มครองหมู่บ้าน จะมีการเลี้ยงผีทุกชนิดที่มีในหมู่บ้านให้ผีช่วยดลบันดาลให้ชาวบ้าน<br />

อยู่เย็นเป็นสุข<br />

-


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ฮีตที่ 8 บุญเข้าพรรษา (บุญเดือนแปด : เดือนกรกฎาคม, ฤดูฝน) ค าว่า “พรรษา” มี<br />

ความหมายว่า ฤดูฝน ฝนปี ฮีตหรือบุญนี้ถือว่าเป็นบุญที่มีความส าคัญ เป็นช่วงที่พระภิกษุจะต้องเข้า<br />

จ าพรรษา ศึกษาธรรมะไม่เดินทางสัญจรไปพักค้างคืนที่ไหน เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ า<br />

เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ า เดือน 11ชาวบ้านจะไปท าบุญที่วัดทุกวันในช่วงเข้าพรรษาเพื่อสร้างบุญ<br />

สะสมบารมีให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข<br />

22<br />

ฮีตที่ 9 บุญข้าวประดับดิน (บุญเดือนเก้า : เดือนสิงหาคม, ฤดูฝน) หรือบุญข้าวสาก<br />

น้อยก็เรียกชาวบ้านจะน าอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ที่จัดใส่กระทงหรือภาชนะอื่น ๆ วางไว้<br />

ตามพื้นดินหรือโคนต้นไม้ เพื่อเป็นการเซ่นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษให้ดลบันดาลให้ชีวิตความ<br />

เป็นอยู่ทรัพย์สินข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ ไม่มีภัยใด ๆ มาเยือน (น่าจะเป็นกลวิธีในการบ ารุงดิน<br />

ด้วย เพราะนก สัตว์อื่น ๆ มากินของเซ่นจะปล่อยมูลออกมาเป็นปุ๋ย)


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ฮีตที่ 10 บุญข้าวสาก (บุญเดือนสิบ : เดือนกันยายน, ฤดูฝน) บุญข้าวสากและข้าวประดับ<br />

ดินห่างกันเพียง 15 วัน ลักษณะคล้ายกันคือ การท าข้าวห่อส่งให้บรรพบุรุษ ญาติ พี่น้อง และเปรต<br />

ไม่มีญาติ เพราะเชื่อว่าผีเหล่านั้นก าลังหิว ก าลังรอส่วนบุญ<br />

23<br />

ฮีตที่ 11 บุญออกพรรษา (บุญเดือนสิบเอ็ด : เดือนตุลาคม, ปลายฤดูฝน) วันออกพรรษาวัน<br />

ขึ้น 15 ค่ า เดือน 11 ญาติโยมให้ความส าคัญและรอวันนี้กันมาก เพราะเชื่อว่าพระสงฆ์จ าพรรษา 3<br />

เดือน ย่อมมีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง หากได้ท าบุญกับพระในวันออกพรรษาจะได้บุญมาก


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ฮีตที่ 12 บุญกฐิน (บุญเดือนสิบสอง : เดือนพฤศจิกายน, ฤดูหนาว) บุญกฐินนับเป็นบุญที่<br />

มีความส าคัญ เนื่องจากชาวอีสานเชื่อว่าได้ท าบุญกับพระที่อยู่จ าพรรษามาจนครบ 3 เดือน ได้ถวาย<br />

จีวรหรือกฐิน (ผ้ากฐินผ้าสบง จีวร หรือผ้านุ่งห่ม) ให้พระที่มีความเพียรอดทนอยู่จ าพรรษาตลอดจะ<br />

ได้บุญมาก<br />

24<br />

ด้านสมุนไพรบ้านเชียงเหียน พบว่า ในปัจจุบันชาวบ้านสนใจน้อยลง ทั้ง ๆที่มีกลุ่ม<br />

สมุนไพรประจ าหมู่บ้าน สมุนไพรของชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมในปัจจุบันเป็นพวกสมุนไพรเพื่อความ<br />

สวยความงาม และสมุนไพรส าหรับการปะคบให้คลายเครียดและปวดเมื่อยตามร่างกาย<br />

ส าหรับภูมิทัศน์และวัฒนธรรมบ้านเชียงเหียนเหมาะในการส่งเสริมด้านสมุนไพร เพราะมีการ<br />

ใช้สมุนไพรมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเชียงเหียน ทั้งทางด้านความงามและยารักษาโรค ในจุดเริ่มต้นนี้ควร<br />

ส่งเสริมสมุนไพรที่ใกล้ตัวชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านเห็นผลดีก็จะส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการ<br />

ท่องเที่ยว และสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อการท่องเที่ยว ท าให้ชาวบ้านมีรายได้ ส าหรับ<br />

ผู้เขียนขอน าเสนอให้ชาวบ้านปลูกสมุนไพรไว้ใช้ในครอบครัวทุกครัวเรือน จะเป็นจุดเริ่มต้นของการ<br />

รักษาสุขภาพกายและสุขภาพใจของชุมชน เมื่อชาวบ้านด าเนินงานก้าวหน้าเห็นผลจากการปฏิบัติจะ<br />

ท าให้ชุมชนอื่น ๆ เดินทางมาท่องเที่ยวและสั่งซื้อสมุนไพรท ารายได้ต่อชุมชนต่อไป วันนี้จะน าเสนอยา<br />

สุมนไพรง่าย ๆ เพื่อรักษาสุขภาพกายและรักษาโรคสมองเสื่อม (โรคหลงลืม) ได้บ้างดังนี้


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

สมองเสื่อม (โรคหลงลืม)<br />

จากงานวิจัยในประเทศไทย พบว่า วันข้างหน้าอีกประมาณ 4-5 ปี จะมีผู้ป่วยสูงอายุเป็น<br />

โรคสมองเสื่อมถึง 9 ล้านคน เมื่อเราทราบอย่างนี้แล้ว ก็มาหาทางบ ารุงสมองกันดีกว่า เพื่อป้องกัน<br />

ไม่ให้สมองเสื่อมก่อนเหตุอันควร<br />

สาเหตุสมองเสื่อม (โรคหลงลืม) อาจเกิดจากเลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง เพราะกินอาหารผัดน้ ามัน<br />

เป็นประจ าติดต่อกันหลายปี น้ ามันจะเกาะผนังล าไส้ท าให้ดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ไปเลี้ยง<br />

สมองไม่ได้ วิธีป้องกันง่าย ๆ มีดังนี้<br />

ชามะละกอดิบ (ล้างไขมันในล าไส้)<br />

การดื่มชามะละกอดิบละเป็นการล้างล าไส้โดยไม่ต้องสวนทวาร ช่วยล้างระบบดูดซึมคือล้าง<br />

คราบไขมันทีผนังล าไส้ ซึ่งเป็นตัวขัดขวางดูดซึมสารอาหารและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาและ<br />

สมอง<br />

เมื่อระบบดูดซึมไม่ดีหรือดูดซึมไม่ได้เวลากินอาหารก็จะได้แค่อิ่มแต่ไม่ได้สารอาหารเมื่อเป็น<br />

อย่างนี้นานวันเข้า ความเจ็บป่วยก็จะเข้ามาเยือน<br />

25


สูตรชามะละกอ<br />

<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

26<br />

1. มะละกอดิบไม่อ่อนเกินไป<br />

2. ชาเขียว หรือชาจีน หรือชาใบหม่อน (ตามที่ตนเองชอบ) อย่างใดอย่างหนึ่ง<br />

วิธีท า<br />

ปอกเปลือกมะละกอล้างน้ าให้สะอาด แล้วหั่นแบบชิ้นฟักประมาณ 3 ก ามือ ใส่ลงในหม้อ<br />

เติมน้ า 3 ลิตร ตั้งไฟ (จะเติมดอกเก๊กฮวย ใบเตย หรือรากเตยด้วยก็ได้) พอน้ าเริ่มเดือดได้สัก 3 นาที<br />

ก็ยกลง อย่าต้มมะละกอจนเนื้อเละ ต่อไปก็ตักมะละกอออกให้เหลือแต่น้ า เอาน้ าร้อนที่เหลือทั้งหมด<br />

นั้นไปชงชา ใส่ใบชาประมาณครึ่งก ามือ มากหรือน้อยตามความต้องการ (ห้ามแช่ใบชานานเกิน 5<br />

นาที เพราะถ้าเกิน 5 นาที สารแทนนินของใบชาจะออกมาจากใบชากินแล้วท าให้ท้องผูก นอนไม่<br />

หลับ) แล้วกรองเอากากใบชาทิ้งไปทั้งหมด ตั้งทิ้งไว้ให้อุ่นหรือเย็นก็ดื่มได้เลย หรือจะบรรจุขวดเก็บไว้<br />

ในตู้เย็นก็ได้ เก็บได้ประมาณ 3 วัน<br />

สารของมะละกอจะเกิดการถักทอกับสารของใบชา ท าให้ช่วยย่อยไขมันและล้างไขมันออก<br />

จากผนังล าไส้ ควรดื่มเพื่อล้างเป็นประจ า ดื่มแทนน้ าอัดลมได้<br />

น้ ามะพร้าว<br />

ในน้ ามะพร้าวมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง หรือเอสโตเจนสูง ซึ่งมีผลชะลอการเกิดโรค<br />

สมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) ในสตรีวัยทอง การดื่มน้ ามะพร้าวทุกวันยังช่วยสมานแผล ท าให้แผลหาย<br />

เร็วขึ้นกว่าปกติและไม่มีรอยแผลเป็น และเอสโตเจนในน้ ามะพร้าวมีส่วนส าคัญต่อการสร้าง “คอลลา<br />

เจนและอีลาสติน” ท าให้ผิวกระชับยืดหยุ่น และชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ และช่วยขับของเสียหรือ<br />

สารพิษออกจากร่างกาย (คล้ายกับการดีท๊อกซ์ล้างล าไส้) จึงช่วยท าให้ผิวพรรณผ่องใส<br />

“ข้อควรระวัง”<br />

1. คนที่เป็นโรคไต และ<br />

โรคเบาหวานไม่ควรดื่มน้ ามะพร้าว<br />

2. เมื่อเปิดลูกมะพร้าวแล้ว


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ควรดื่มเลยไม่ควรทิ้งไว้นาน ผลไม้ต่าง ๆ จะมีพลังชีวิต ถ้ากินผลไม้สุก จากต้นจะได้รับพลังชีวิตสูง หาก<br />

เก็บทิ้งค้างไว้พลังชีวิต หรือคุณค่าของผลไม้จะลดต่ าลงเรื่อย ๆตามระยะเวลาที่เก็บ<br />

27<br />

การฝึกการหายใจ<br />

การหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ โดยหายใจเข้าให้พุงป่องออกแล้วหายใจออกให้พุงยุบลง<br />

หายใจลึก ๆ เป็นการไปกระตุ้นเซลล์สมองที่คุมโปรแกรมความจ าที่ดีงามในอดีตหรือปัจจุบัน และ<br />

เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้ปอดและสมอง ในทางพระพุทธศาสนาก็มีการก าหนดลมหายใจเข้าออก<br />

โดยเวลาหายใจเข้าให้นึกว่า “พุธ” (ยาว ๆ) เวลาหายใจออกนึกว่า “โธ” (ยาว ๆ) ปฏิบัติบ่อย ๆ<br />

ท าให้เกิดฌานสมาบัติ 4 ประการ คือ การไม่รัก ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง ผู้ปฏิบัติจิตใจสงบ<br />

โรคภัยไข้เจ็บลดน้อยลงป้องกันสมองเสื่อมได้เป็นอย่างดี<br />

มะเขือพวง (หมากแข้ง)<br />

การวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

พบว่า มะเขือพวงมีประโยชน์หลายประการ เช่น ช่วยเจริญ<br />

อาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บ ารุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยลด<br />

ระดับน้ าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน มีเส้นใยที่ช่วยดูดซับ<br />

ไขมันส่วนเกินได้ดีเยี่ยมเรียกว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นส าหรับ<br />

นักวิจัยและคนไทยทั่วไป เนื่องจากมะเขือพวงเป็นพืชคู่ครัวคน<br />

ไทยมาช้านาน ไม่ว่าเราจะแกงเขียวหวาน แกงเนื้อแกงป่า น้ าพริกกะปิ หรือผัดเผ็ดบางชนิดสิ่งที่ขาด<br />

ไม่ได้คือ มะเขือพวง (หมากแข้ง)<br />

ได้เขียนเกี่ยวกับสมองเสื่อมด้วยเหตุ 2 ประการ (จริง ๆ อาจมีมากกว่านี้) คือ ได้<br />

ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองน้อย ทางแก้คือ หายใจเข้าช้า ๆ ลึก ๆ และอีกวิธี คือ การดื่มน้ าชามะละกอ<br />

ดิบเพื่อละลายไขมันที่เคลือบล าไส้ออกเพื่อให้อาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ<br />

ไม่ใช่กินเพื่ออิ่มอย่างเดียว


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

เสลดพังพอนสมุนไพรแก้ภูมิแพ้<br />

สมุนไพรเสลดพังพอนเป็นยาแก้แพ้ ที่ผู้เขียนใช้แล้ว<br />

ได้ผลดีจึงน ามาเล่าให้ฟัง แต่ก่อนถูกหญ้า มด ยุง กัดจะแพ้<br />

ต้องซื้อยาครีมหลอดมาทา ราคาหลอดละร้อยบาท ขึ้นไป<br />

ทายาแล้วกว่าจะหายอีกหลายวัน แต่ปัจจุบันใช้ใบ<br />

เสลดพังพอนที่ปลูกไว้มาต าหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงไปใน<br />

ขวด แล้วเติมแอลกอฮอล์ลงไปพอประมาณ เติมเหล้าขาว และพิมเสนพอประมาณเช่นกัน แล้วน า<br />

ขวดใส่ตู้เย็นไว้ เมื่อยุงกัด มดกัด หรือแพ้ต่าง ๆ น ามาทาจะหายอย่างรวดเร็ว และไม่มีผลข้างเคียง<br />

ต้นเสลดพังพอนปลูกง่ายเพียงหักกิ่งเสียบลงในกระถางรดน้ าก็เกิดแล้ว<br />

ต่อไปจะน าเสนอการน าต้นไม้สมุนไพรที่หาง่ายในหมู่บ้าน หรือ<br />

เพาะปลูกได้ในดิน น้ า อากาศ ของบ้านเชียงเหียนมาน าเสนอ วิธีท าวิธีใช้<br />

และวิธีจ าหน่ายโดยไม่ต้องไปซื้อตลาดราคาแพง ๆ เป็นการประหยัด<br />

รายจ่าย และสามารถหารายได้อย่างพอเพียง น าเสนอค าขวัญส าหรับ<br />

ชุมชนที่บ้านเชียงเหียน 1 ตัวเลือกคือ<br />

28<br />

ภูมิทัศน์วัฒนธรรมน าทุกคนสู่เศรษฐกิจพอเพียง


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

แนวทางการพัฒนาภูมิทัศน์วัฒนธรรม<br />

กับเศรษฐกิจพอเพียงบ้านเชียงเหียน<br />

1. ระยะเริ่มแรก แหล่งน้ าที่อยู่โดยรอบบ้านเชียงเหียน เช่น บึงบ้าน บึงสิม บึงบอน บึงหว้า หนอง<br />

หลุมเพาะ หนองขอนพาด สระแก้ว ริมสระน่าจะมีการปลูกต้นไม้ดอกพื้นเมืองในแต่ละแห่งต่างกัน<br />

เช่น บึงบ้านปลูกต้นดอกคูณ บึงสิมปลูกต้นดอกทองกวาว บึงบอนปลูกต้นดอกตะแบก ฯลฯ จะท า<br />

ให้ผู้มาเที่ยวชมได้เห็นดอกไม้ที่ออกดอกในแต่ละเดือน<br />

2. แหล่งน้ าของหมู่บ้านมีมากน่าจะส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเพื่อท าไข่เค็มจากดินโพน (ดินจอมปลวก)<br />

ซึ่งรสชาติจะอร่อยกว่าดินอื่น ๆ ซึ่งเป็นจุดขายของสินค้าของฝากจากการมาท่องเที่ยว<br />

3. ดินอากาศเหมาะในการปลูกต้นฝ้าย ต้นหม่อนเลี้ยงไหม ส่งเสริมผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน (ขณะนี้มี<br />

อยู่แล้ว) ให้กระจายไปทั่วโลก<br />

4. สมุนไพรบ้านเชียงเหียนมีกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับการอบรม ส่งเสริม แต่ยังไม่ต่อเนื่อง ท าให้ไม่<br />

ก้าวหน้าเท่าที่ควร ควรส่งเสริม<br />

5. วัตถุโบราณที่วัดควรน ามารวมไว้ด้วยกันที่พิพิธภัณฑ์ เพราะส่วนหนึ่งจะอยู่บนวัด<br />

ดังนั้น ในระยะเริ่มแรกพัฒนาสิ่งเหล่านี้ให้ดีขึ้น คนมาเที่ยวมากขึ้น ชาวบ้านก็จะชื่นชมและ<br />

เข้าร่วมโครงการมากขึ้น<br />

29


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

30<br />

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน โดยไม่เบียดเบียนตนเอง<br />

และผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ<br />

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมี<br />

เหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนค านึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระท านั้น ๆ<br />

อย่างรอบคอบ<br />

การมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง<br />

ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล<br />

เศรษฐกิจพอเพียง คือ พระราชปรัชญาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อให้สังคมไทยมีชีวิตด ารงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ว่าเมื่อ<br />

ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนพื้นฐานวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยน ามา<br />

ประยุกต์ใช้<br />

"ความพอเพียง" หมายถึง ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล โดยสร้าง<br />

ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว<br />

กว้างขวาง ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลก<br />

ภายนอกได้เป็นอย่างดี โดย อาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และความ


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ระมัดระวังในการน าวิชาการต่าง ๆ มาใช้ วางแผนและด าเนินการทุกขั้นตอน ควบคู่ไปกับการสร้าง<br />

พื้นฐานจิตใจของคนใน ชาติทุกระดับ ให้ส านึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ด าเนินชีวิตด้วยความ<br />

อดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา และความรอบคอบ มีเหตุผลโดยที่ความพอประมาณนั้น<br />

หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิต<br />

และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอ ประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของ<br />

พอเพียงนั้น จะ ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดและผลที่จะ<br />

เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ<br />

การน าหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง" คือ พยายาม<br />

พึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิก<br />

ในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถ<br />

รักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ใน<br />

ระดับหนึ่ง<br />

การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ<br />

ด าเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่าง<br />

สมดุล คือ มีความสุขที่แท้ ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้อง<br />

เบียดเบียนตนเอง หรือด าเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จน<br />

ต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม<br />

- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้<br />

- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการด ารงชีพ<br />

- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต<br />

- ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินท ากิน คือ ทุนทางสังคม<br />

- ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรง ปัญญาที่เฉียบแหลม น าความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถี<br />

ชีวิต สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน<br />

31


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

การใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้น<br />

จะต้องมีความพอดี 5 ประการคือ<br />

32<br />

ความพอดีด้านจิตใจ<br />

- ต้องเข้มแข็ง สามารถพึงตนเองได้<br />

- มีจิตส านึกที่ดี<br />

- เอื้ออาทร ประนีประนอม<br />

- นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก<br />

ความพอดีด้านสังคม<br />

- ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน<br />

- รู้รักสามัคคี<br />

- สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว และชุมชน<br />

ความพอดีด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม<br />

- รู้จักใช้และจัดการอย่างชาญฉลาดและรอบคอบ<br />

- เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนอย่างสูงสุด<br />

ความพอดีด้านเทคโนโลยี<br />

- รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม<br />

- พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน<br />

- ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก<br />

ความพอดีด้านเศรษฐกิจ<br />

- เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ด ารงชีวิตอย่างพอควร<br />

- พออยู่ พอกินสมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

33<br />

เมื่อคนในสังคมหรือชุมชน สร้างครอบครัวพอเพียงได้แล้ว สิ่งที่จะตามมา คือ การเกิดขึ้น ของ<br />

ชุมชนพอเพียงที่สมาชิกชุมชนนั้น จะรวมกลุ่มกันท าประโยชน์เพื่อส่วนรวมมีการแบ่งปันช่วยเหลือซึ่ง<br />

กัน และกันตามก าลังและความสามารถของตน บริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทรัพยากรภูมิปัญญา<br />

ท้องถิ่น ให้สามารถน าไปใช้ด าเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสมดุล และเมื่อหลาย ๆ ชุมชนพอเพียงมา<br />

รวมกลุ่มกันแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญาและร่วมกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง<br />

ก็จะกลายเป็นสังคมแห่งความพอเพียงได้ในที่สุด<br />

การสร้างชุมชนและสังคมที่พอเพียงนั้น เกิดขึ้นได้จากกิจกรรมการผลิต โดยเฉพาะในภาค<br />

การเกษตรที่ไม่ท าลายสิ่งแวดล้อม แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า ด้วยการหมุนเวียนทุน<br />

ธรรมชาติภายในพื้นที่และด้วยวิธี การท าเกษตรที่เน้นปลูกเพื่อกินเองก่อน<br />

และการท ากิจกรรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การท าปุ๋ยชีวภาพ การ<br />

ปลูกผัก และข้าวที่ปลอดสารพิษ การท าสวนสมุนไพรของชุมชน การคิดค้น<br />

สารไล่แมลงสมุนไพร การท าถ่านชีวภาพ การรวมกลุ่มขยายพันธุ์ปลา การ<br />

แปรรูปผลผลิต และการท าเกษตรผสมผสาน เป็นต้น มีการรวมกลุ่มกันเป็น<br />

สหกรณ์ ร่วมมือกัน ทั้งในด้านปัจจัยและอุปกรณ์การผลิต การตลาด เงินทุน<br />

การศึกษา และชีวิตความเป็นอยู่<br />

มีการรวมกลุ่มเพื่อท ากิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากความรักและ เอื้ออาทร<br />

ต่อกัน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด การมนัสการพระ ให้ มาช่วยสอน<br />

จริยธรรมและศีลธรรมในโรงเรียนชุมชน การรวมกลุ่ม เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

การจัดตั้งร้านค้าชุมชน การจัดท าแผนแม่บทชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุน<br />

สวัสดิการ การร่วมอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การรวมกลุ่มท าขนมของแม่บ้าน<br />

หรือรวมกลุ่มเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว บนพื้นฐานของการปลูกฝัง สมาชิกในชุมชนให้มีความเอื้ออาทร<br />

ต่อกัน มากกว่าค านึงถึงตัวเงินหรือ วัตถุ มีความคิดที่จะแจกจ่ายแบ่งปันให้ผู้อื่น ซึ่งจะท าให้ได้เพื่อน<br />

และ เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ดี ที่จะช่วยลดความเห็นแก่ตัวและสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นในจิตใจ<br />

แม้ว่าระดับความพอเพียงของแต่ละคนจะไม่เท่าเทียมกันแต่ทุกคนก็สามารถด าเนินชีวิตตาม<br />

หลักการเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วยการยึดมั่นในหลักการ 3 ประการ เหมือนกัน คือ<br />

การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง รู้จักพัฒนาตนเอง ด้วยการพยายามท าจิตใจให้ผ่อง<br />

ใส รวมทั้งมีความเจริญและมีความเย็น ในจิตใจอยู่เป็นประจ าอย่างต่อเนื่อง<br />

การคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในการด าเนินกิจกรรมต่าง ๆ คือเมื่อปัญหาจาก<br />

การด าเนินชีวิต ก็ให้ใช้สติปัญญา ไตร่ตรองหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขไปตามเหตุและปัจจัยด้วย<br />

ความสามารถและศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ก่อนที่จะคิดพึ่งผู้อื่น และมี การปรึกษาหารือถ้อยทีถ้อย<br />

อาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน<br />

การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักลดกิเลสและลดความต้องการ ของตนเองลง เพื่อให้เหลือแรงและ<br />

เวลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนท าประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากขึ้น<br />

การเตรียมความพร้อม<br />

การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน<br />

34<br />

การท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเครื่องมือสร้าง<br />

ความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านในการจัดการ<br />

ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม โดยกระบวนการมี<br />

ส่วนร่วมของคนในชุมชน ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการ


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ก าหนดทิศทางการพัฒนา และได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้เข้าไปมี<br />

บทบาทในการสร้างคุณภาพใหม่ของการท่องเที่ยวให้มีความหมายมากกว่าการพักผ่อน ความ<br />

สนุกสนาน และความบันเทิง หากได้ เปิดมิติของการท่องเที่ยวเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ<br />

เคารพคนในท้องถิ่น<br />

35<br />

ความหมายของการท่องเที่ยวโดยชุมชน<br />

Community Based Tourism - CBT<br />

คือ การท่องเที่ยวที่ค านึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม ก าหนดทิศทาง<br />

โดยชุมชน จัดการโดยชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิในการจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการ<br />

เรียนรู้แก่ผู้มาเยือน<br />

หลักการของการท่องเที่ยวโดยชุมชน<br />

1. ชุมชนเป็นเจ้าของ<br />

2. ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการก าหนดทิศทางและตัดสินใจ<br />

3. ส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง<br />

4. ยกระดับคุณภาพชีวิต


5. มีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม<br />

6. คงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น<br />

7. ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม<br />

8. เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์<br />

9. เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่คนท้องถิ่น<br />

10. มีการกระจายรายได้สู่สาธารณประโยชน์ของชุมชน<br />

<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

36<br />

องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน<br />

1. ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม<br />

• ชุมชนมีฐาน ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และวิถีการผลิตที่พึ่งพา และใช้<br />

ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน<br />

• ชุมชนมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น<br />

2. ด้านองค์กรชุมชน<br />

• ชุมชนมีระบบสังคมที่เข้าใจกัน


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

• มีปราชญ์ หรือผู้มีความรู้ และทักษะในเรื่องต่าง ๆ หลากหลาย<br />

• ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา<br />

37<br />

3. ด้านการจัดการ<br />

• มีกฎ-กติกาในการจัดการสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว<br />

• มีองค์กรหรือกลไกการท างานเพื่อจัดการการท่องเที่ยว และ สามารถเชื่อมโยงการ<br />

ท่องเที่ยวกับการพัฒนาชุมชนโดยรวมได้<br />

• มีการกระจายผลประโยชน์ที่เป็นธรรม<br />

• มีกองทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน<br />

4. ด้านการเรียนรู้<br />

• ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในวิถีชีวิต<br />

และวัฒนธรรมที่แตกต่าง<br />

• มีระบบจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านกับ ผู้มา<br />

เยือน<br />

• สร้าง จิตส านึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ<br />

วัฒนธรรมทั้งในส่วนของชาวบ้านและผู้มาเยือน


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

กระบวนการท างานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน<br />

38<br />

1. การเตรียมความพร้อมชุมชน<br />

• ค้นหาของดี<br />

• สร้างการมีส่วนร่วม<br />

• การบริหารจัดการ<br />

2. กระบวนการท างานเพื่อเชื่อมโยงเรื่องชุมชนกับตลาด<br />

• คัดเลือกชุมชน/กิจกรรม ท าการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ<br />

ค้นหาตลาดที่เหมาะสม<br />

• เตรียมความพร้อมชุมชนและการตลาดโดยเชื่อมโยง<br />

ชุมชนกับตลาด<br />

• ติดตามประเมินผล<br />

3. การเตรียมความพร้อมเรื่องการตลาด<br />

• Product (กิจกรรม/ผลิตภัณฑ์/ทรัพยากร)<br />

• Place (สถานที่)<br />

• Price (ราคา)<br />

• Promotion (การส่งเสริม)<br />

การเตรียมความพร้อมชุมชน<br />

1. ศึกษาความเป็นไปได้ก่อนลงพื้นที่ เพื่อเลือกพื้นที่ในการ จัด<br />

กิจกรรมท่องเที่ยว<br />

2. ศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกับชุมชนก่อนด าเนินการท่องเที่ยว<br />

โดยชุมชน


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

3. ก าหนดวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน<br />

4. การวางแผนท าการท่องเที่ยวโดยชุมชน<br />

5. การบริหารจัดการองค์กร<br />

6. การจัดท าโปรแกรมการท่องเที่ยว<br />

7. การสื่อความหมาย<br />

8. เรียนรู้และท าความเข้าใจกลไกการตลาด พฤติกรรมการท่องเที่ยว และองค์ประกอบที่ส าคัญ<br />

ในการท าตลาด<br />

9. การท าท่องเที่ยวน าร่องเพื่อทดสอบความพร้อมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้ปรับปรุงก่อนเปิด<br />

การท่องเที่ยวจริง<br />

10. การติดตามและประเมินผลทั้งระดับกิจกรรมและภาพรวมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน<br />

39


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

40<br />

การท่องเที่ยวโดยชุมชนในมิติของ<br />

“ผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว”<br />

เมื่อชุมชนเปิดตัวเรื่องการท่องเที่ยวออกสู่สาธารณะแล้วย่อมถูกคาดหวังว่าชุมชนในฐานะแหล่ง<br />

ท่องเที่ยวจะมีความพร้อมอย่างน้อย 4 เรื่อง ได้แก่<br />

1. โปรแกรม/กิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน<br />

การที่นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสัมผัสวิถีชีวิตอันแท้จริงของคนในท้องถิ่น กิจกรรมในวิถีชีวิต<br />

ของชาวบ้าน ได้เรียนรู้ และร่วมได้เห็นความผูกพันระหว่าวงคนกับทรัพยากร และอัธยาศัย<br />

ของคนในท้องถิ่น คือ หัวใจส าคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตัวอย่างกิจกรรม อาทิ<br />

• การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ (ชมป่าชุมชน/กระรอกขาว)<br />

• เดินเที่ยวภายในหมู่บ้าน (ศึกษาลักษณะเมืองโบราณ/โบราณวัตถุต่าง ๆ)


• ร่วมกิจกรรมในวิถีชีวิต (การท าจักสาน)<br />

<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

41<br />

• กิจกรรมท่องเที่ยวในหมู่บ้าน เช่น การท าอาหาร ทอผ้า ท าบุญ ใส่บาตร<br />

• กิจกรรมท่องเที่ยวนอกหมู่บ้าน เช่น การท าสวน การท านา หาปลา<br />

• เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น เรียนดนตรี เรียนการ<br />

แกะสลัก เรียนการทอผ้า เรียนการย้อมสีธรรมชาติ<br />

• กิจกรรมศึกษาธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ดูนก ดูผีเสื้อ พายเรือ ขี่จักรยาน วาดรูป ฯลฯ


2. บริการด้านการท่องเที่ยว<br />

<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

42<br />

แม้ว่าการท่องเที่ยวจะเป็นเพียงรายได้เสริม แต่เมื่อชุมชนด าเนินการท่องเที่ยว และมีการเก็บ<br />

ค่าใช้จ่าย การมีระบบเป็นการแสดงออกถึงความพร้อม ความน่าเชื่อถือ และเป็นการน าเสนอความ<br />

เป็นท้องถิ่นที่มีมิติเชิงลึกเพราะเกิดการปฏิสัมพันธ์กับคนท้องถิ่นที่มีนัยยะมากกว่าการใช้บริการ แต่<br />

เป็นบริการที่มาจากภายในผ่านการคิดวิเคราะห์ และเป็นบริการด้านการท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชน<br />

อาทิ<br />

• นักสื่อความหมายท้องถิ่น (เยาวชน/ปราชญ์)<br />

• ที่พัก (โฮมสเตย์)<br />

• อาหาร (พื้นบ้าน)<br />

• ยานพาหนะ (เกวียน/รถไถ)<br />

• การละเล่น/การแสดงพื้นบ้าน<br />

3. สิ่งอ านวยความสะดวก<br />

การเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการรองรับ และให้บริการนักท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยว<br />

เกิดความสะดวก สบาย ปลอดภัยในการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ก่อผลกระทบทางด้าน<br />

สิ่งแวดล้อม องค์ประกอบ ในการวางแผนเรื่องสิ่งอ านวยความสะดวก ได้แก่<br />

• การวางผังของสิ่งปลูกสร้างต้องสอดคล้องกลมกลืนกับภูมิทัศน์และศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น<br />

• ค านึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม เช่น มีระบบการจัดการของเสีย การจัดโซน<br />

การให้บริการที่ไม่รบกวนศาสนสถานของชุมชน


• มีระบบป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดกับนักท่องเที่ยว<br />

• มีป้ายหรือแผนที่ ให้ข้อมูลเบื้องต้นกับนักท่องเที่ยว<br />

<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

43<br />

4. ระบบการบริหารจัดการ<br />

การที่จะชี้วัดว่าองค์กรที่เจ้ามาท าหน้าที่จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นตัวแทนผลประโยชน์ที่<br />

แท้จริงของชุมชนหรือไม่ องค์กรต้องให้ความส าคัญกับองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้<br />

• การมีส่วนร่วม<br />

• การกระจายบทบาทการท างาน<br />

• การกระจายผลประโยชน์อย่างเสมอภาคและยุติธรรม<br />

• มีระบบการท างานโปร่งใส/ตรวจสอบได้<br />

• มีการจัดสรรรายได้ส่วนหนึ่งเข้าสาธารณประโยชน์ของชุมชน<br />

• มีมาตรการในการควบคุมและป้องกันผลกระทบทางด้านสังคม<br />

วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม<br />

• มีอัตราค่าบริการที่เป็นมาตรฐานและราคาที่เป็นธรรม เช่น ค่าพาหนะ ที่พัก อาหาร/น้ าดื่ม<br />

และของที่ระลึก<br />

• มีการเก็บสถิติ เพื่อน าไปประมวลผลส าหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

ผลที่เกิดขึ้นจากการท างานการท่องเที่ยวโดยชุมชน<br />

44<br />

การท่องเที่ยวเป็นดาบสองคม หากมีการเตรียมความพร้อมทั้งภายในชุมชนเองและมีนักท่องเที่ยว<br />

ที่เหมาะสม สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน และสร้างความพึงพอใจให้นักท่องเที่ยวซึ่งหากมี<br />

กระบวนการเตรียมความพร้อมทั้ง 2 ด้าน ดังกล่าวแล้ว ผลที่เกิดขึ้นสามารถตอบค าถามได้ในระดับหนึ่ง<br />

ว่า “การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและก่อให้เกิดความยั่งยืนได้ ” คือ<br />

1. ด้านสังคมและวัฒนธรรม<br />

• การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างเจ้าของบ้านและแขกผู้มาเยือน สร้างการ<br />

เคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่าง<br />

• ความสนใจใคร่รู้ของคนภายนอกกระตุ้นความภาคภูมิใจของคนในชุมชน<br />

• เกิดการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะในการท างานให้กับสมาชิก


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

• สร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นแก่คนในชุมชน เป็นการสร้างพลังชุมชนในการมีปฏิสัมพันธ์กับ<br />

ภายนอกอย่างมีศักดิ์ศรี<br />

• เป็นการสร้างโอกาสให้แก่ผู้หญิง ผู้อาวุโสชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการท างานและ<br />

แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่<br />

• การพัฒนาคุณภาพชีวิต<br />

• แบ่งบทบาทในการท างาน และสร้างความสามัคคีภายในชุมชน<br />

45<br />

2. ด้านสิ่งแวดล้อม<br />

• สร้างจิตส านึกเรื่องสิ่งแวดล้อมทั้งชาวบ้าน และผู้มาเยือน<br />

• เกิดแบบแผนการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน โดยมีเรื่องการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่ง<br />

และมีกฎกติกาในการดูแลรักษาเพื่อการใช้อย่างยั่งยืน<br />

• มีระบบจัดสรรรายได้เข้าไปดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น กองทุนสิ่งแวดล้อม


<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

46<br />

3. ด้านเศรษฐกิจ<br />

• ก่อให้เกิดรายได้เสริม<br />

• มีกองทุนในการต่อยอดงาน/พัฒนางานให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น<br />

• มีการกระจายรายได้สู่ส่วนต่าง ๆ ในชุมชน เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่หลากหลาย<br />

• สร้างงานหรือกิจการที่ต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว<br />

ปัจจัยแห่งความส าเร็จ<br />

กว่า 10 ปี ที่การท่องเที่ยวโดยชุมชนเติบโต อย่างค่อยเป็นค่อยไป จากที่ชุมชนเคยเป็น “ผู้ถูก<br />

ท่องเที่ยว” กลายเป็นผู้มีบทบาทส าคัญ และมีส่วนร่วมในการวางแผนการท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อให้มี<br />

นักท่องเที่ยวเข้าไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นปัจจัยที่ส าคัญที่ท าให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนประสบผลส าเร็จ<br />

ได้แก่<br />

1. ฐานชุมชนที่เข้มแข็ง<br />

• ชุมชนมีการผลิตที่พึ่งตนเอง มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์<br />

• ชุมชนมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ระดับหนึ่ง มีความสามัคคีในชุมชน


2. ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์<br />

<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

47<br />

• ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชุมชน หรือทรัพยากรแหล่งน้ า ที่ดิน ท ากินที่เพียงพอ<br />

3. ผู้น าที่สร้างศรัทธาหรือมีความสามารถ<br />

• สามารถประสานทรัพยากร, น าทางความคิด และลงมือท าอย่างต่อเนื่องและเป็น<br />

รูปธรรม<br />

• มีการสืบทอด ผลัดเปลี่ยนผู้น า และสร้างผู้น าใหม่<br />

• ผู้น ามีวุฒิภาวการณ์เป็นผู้น า มีความมั่นคงทางจิตใจหนักแน่นและให้เกียรติเพื่อน<br />

ร่วมงาน<br />

• มีการถ่วงอ านาจและถูกตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา


4. ฐานวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง<br />

<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

48<br />

• วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และยังคงสืบทอด<br />

5. การมีส่วนร่วม<br />

• ผู้หญิง ผู้ชาย เยาวชนหนุ่ม-สาว ผู้อาวุโส ผู้น าทางการ และ ไม่เป็นทางการเข้าร่วม<br />

กระบวนการพัฒนาชุมชน<br />

6. . ความต่อเนื่องในการท างาน<br />

• นักท่องเที่ยวเข้าไปอย่างต่อเนื่อง<br />

• มีการสรุปบทเรียนเป็นระยะ<br />

มีกระบวนการท างานดังนี้<br />

การจัดท าแผนพัฒนา และบริหารจัดการ<br />

การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน<br />

ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง<br />

1. จัดตั้งคณะกรรมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเชียงเหียน<br />

2. จัดประชุมคณะกรรมการ


3. จัดอบรมให้ความรู้<br />

4. จัดเวทีประชาคม 3 หมู่บ้าน<br />

<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

49<br />

โดยมีกระบวนการดังต่อไป<br />

ข้อมูลพื้นฐานของบ้านเชียงเหียน<br />

วิเคราะห์ SWOT (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค) และโอกาสด้านการท่องเที่ยว<br />

ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่<br />

o การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว ป้ายบอกทาง ถนน ที่พัก<br />

o การอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและประวัติศาสตร์ เช่น เมืองโบราณ<br />

เชียงเหียน โบราณวัตถุต่าง ๆ<br />

o การประชาสัมพันธ์ เช่น โครงการจัดท าเอกสารเผยแพร่การท่องเที่ยวบ้านเชียงเหียน การ<br />

จัดท าสปอตวิทยุ เผยแพร่ผ่านวิทยุกระจายเสียงของจังหวัด<br />

o การพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ คนในชุมชน ผู้ประกอบการ เช่น โครงการอบรม<br />

การเป็นผู้ประกอบการและเจ้าบ้านที่ดี โครงการสร้างเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพกลุ่ม<br />

โฮมสเตย์บ้านเชียงเหียน<br />

o<br />

การบริหารจัดการ


อ้างอิง<br />

<strong>คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน</strong> กรณีบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม<br />

1. http://www.rta.mi.th/21610u/Data/Data_pro/Popeaing/1.htm<br />

2. คู่มือเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยส านักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ส านักงาน<br />

พัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 2550<br />

50

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!