23.02.2022 Views

สารบัญ และคำนำ ในหนังสือ 'เมื่อใดจึงเป็นชาติไทย'

สารบัญ และคำนำ ในหนังสือ 'เมื่อใดจึงเป็นชาติไทย' บรรณาธิการโดย ฐนพงศ์ ลือขจรชัย และ พิพัฒน์ พสุธารชาติ

สารบัญ และคำนำ ในหนังสือ 'เมื่อใดจึงเป็นชาติไทย' บรรณาธิการโดย ฐนพงศ์ ลือขจรชัย และ พิพัฒน์ พสุธารชาติ

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

<strong>สารบัญ</strong><br />

บทนำา เมื่อใดจึงเป็น(รัฐ)ชาติไทย?: เมื่อตาบอดวิ่งหารัฐชาติไทย 7<br />

ฐนพงศ์ ลือขจรชัย<br />

เมื่อ(รัฐ)ชาติไทยไม่ใช่ “ช้าง” ที่คลำาได้ (ต่อให้ตาใสก็เถอะ) 39<br />

ธงชัย วินิจจะกูล<br />

กิตติกรรมประกาศ 43<br />

บทที่ 1 เมืองไทยยุคใหม่: สัมพันธภาพระหว่างรัฐกับประวัติศาสตร์สำานึก 45<br />

สมเกียรติ วันทะนะ<br />

บทที่ 2 แนวความคิดชาติบ้านเมือง: กำาเนิด พัฒนาการ และอำานาจการเมือง 101<br />

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์<br />

บทที่ 3 แนวคิดสาธารณรัฐนิยมในประวัติศาสตร์ไทย 143<br />

แพทริค โจรี<br />

หมายเหตุเรื่องแนวคิดสาธารณรัฐนิยมกับความรักชาติ 177<br />

พิพัฒน์ พสุธารชาติ และฐนพงศ์ ลือขจรชัย<br />

บทที่ 4 การอ่านประวัติศาสตร์ “ไทย” ผ่านกรอบคิดเรื่อง “ชาติพันธุ์”<br />

ในห้วงยามที่ตัวแบบความเป็น “ไทย” ในกรอบวิธีคิดชาตินิยมซึ่งมีอายุเก่าแก่<br />

กว่าศตวรรษกำาลังเสื่อมถอยโรยรา<br />

เดวิด สเตร็คฟัส<br />

187


บทที่ 5 คนเอเชียในบังคับต่างประเทศกับการสร้างความเป็นพลเมืองของสยามสมัยใหม่ 233<br />

ศิวศิลป์ จุ้ยเจริญ<br />

บทที่ 6 ชาติไทยของสยามเหนือชาวปัตตานีมลายูในศตวรรษที่ 19 259<br />

ฐนพงศ์ ลือขจรชัย<br />

บทที่ 7 จาก “มลายูปาตานี” สู่ “มุสลิม”: ภาพหลอนแห่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์<br />

ในภาคใต้ของไทย<br />

แพรทริค โจรี<br />

277<br />

บทที่ 8 การสร้างรัฐประชาชาติไทยกับการต่อสู้ด้วยอาวุธของชาวนาอีสาน:<br />

กรณีบ้านนาบัว จังหวัดนครพนม 295<br />

สมชัย ภัทรธนานันท์<br />

บทที่ 9 ปัญหาการปรับใช้ทฤษฎีชาติในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป 325<br />

ฐนพงศ์ ลือขจรชัย<br />

ประวัติการตีพิมพ์บทความ 348


บทนำ<br />

เมื่อใดจึงเป็น(รัฐ)ชำติไทย?:<br />

เมื่อตำบอดวิ่งหำรัฐชำติไทย<br />

ฐนพงศ์ ลือขจรชัย 1<br />

1. บทนำ 2<br />

การศึกษาการเกิดขึ้นของรัฐชาติไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1. กลุ่ม<br />

ที่เชื่อว่ารัฐชาติเกิดในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 2. กลุ่มที่เชื่อว่ารัฐชาติไทยเกิดขึ้นหลัง<br />

อภิวัฒน์สยาม ค.ศ. 1932 (พ.ศ.2475) เป็นอย่างน้อย โดยกลุ่มแรกมองว่าการปฏิรูปใน<br />

ช่วงศตวรรษที่ 19 ที่ได้สร้างการปกครองในรูปแบบรัฐสมัยใหม่ที่มีประชากร ดินแดน<br />

รัฐบาล และอธิปไตย ประกอบกับมีการใช้แนวคิดเรื่อง “ชาติไทย” ในการสร้างความ<br />

ชอบธรรมแก่รัฐและผู้ปกครองสะท้อนให้เห็นว่า “รัฐชาติไทย” ได้เกิดขึ้นแล้ว ส่วน<br />

กลุ่มที่ 2 มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 คือการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่หรือ<br />

รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute state) เท่านั้น โดยแนวคิดเรื่อง “ชาติ” ยังไม่ได้<br />

สมานเข้ากับรัฐ อีกทั้งรัฐสยามในเวลานั้นยังไม่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีมาก<br />

พอในการบูรณาการประชาชนให้มีสำานึกเรื่องชาติ กว่าแนวคิดเรื่องชาติจะมีอิทธิพล<br />

หรือรัฐชาติไทยได้กำาเนิดขึ้นก็ต้องหลังอภิวัฒน์สยาม ค.ศ. 1932 เป็นอย่างน้อย<br />

1<br />

นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์<br />

2<br />

ผู้เขียนเลือกที่จะเขียนคำาว่า “รัฐชาติ” ในภาษาไทยโดยไม่มี - (hyphen) เพราะในภาษาไทยไม่มี<br />

hyphen แต่เจตนาของผู้เขียนแล้ว nation กับ state ต้องมี - เสมอ กล่าวคือต้องเป็น nation-state<br />

ดังนั้นในบทความของผู้เขียน รัฐชาติ = nation-state—สำาหรับประเด็นเรื่อง hyphen ดูเพิ่มเติม<br />

Marco Antonsich, On territory, the nation-state and the crisis of the hyphen, Progress<br />

in Human Geography (2009), Volume: 33 issue: 6, page(s): 789–806.<br />

7


ข้อถกเถียงนี้ได้ดำาเนินมาในสังคมไทยเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี โดยอาจเริ่ม<br />

นับตั้งแต่บทความของ เกษม ศิริสัมพันธ์ และนิออน สนิทวงศ์ “แนวพระราชดำาริ<br />

ทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ใน ค.ศ. 1967 3 ที่เสนอ<br />

ว่าไทยเป็นรัฐชาติเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 (เริ่มเมื ่อ ค.ศ.<br />

1892) ข้อเสนอนี้ถูกแย้งโดยนักรัฐศาสตร์จำานวนมาก (ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป) จนถึง<br />

ปัจจุบันก็ไม่มีข้อยุติและดูจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น การถกเถียงเรื่องรัฐชาติไทย<br />

ได้ขยายวงกว้างไปยังนักวิชาการหลากหลายสาขาวิชา (discipline) ทั้งประวัติศาสตร์<br />

รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา มนุษยศาสตร์ สหวิทยาการ หรือแม้แต่นิติศาสตร์ในบางแง่มุม<br />

ยังไม่รวมถึงนักเขียนอิสระอีกเป็นจำานวนมาก ทำาให้ข้อถกเถียงทวีความซับซ้อนและ<br />

เกือบจะกลายเป็นการวิเคราะห์วิพากษ์ เพื่อโจมตีอีกฝ่ายตามอำาเภอใจ (arbitrary)<br />

รวมทั้งยังมีแนวโน้มที่จะสร้างวิวาทะแบบเหมารวม (stereotype) และบนพื้นฐาน<br />

(fundamental) ที่แตกต่างตั้งแต่ในระดับ นิยามศัพท์ การใช้ทฤษฎี กรอบการศึกษา<br />

การให้เหตุผล จนทำาให้การวิวาทะในเรื่องนี้มีความยุ่งเหยิง (messy) อย่างมาก<br />

บทความชิ้นนี้พยายามจะจัดกลุ่มและแยกแยะ (classify) ข้อเสนอ กรอบวิธีใน<br />

การศึกษา ทฤษฎี และเกณฑ์ในการให้เหตุผลของนักวิชาการแต่ละท่านว่าเหตุใด<br />

ท่านนั้น ๆ จึงระบุว่า “รัฐชาติไทย” เกิดหรือยังไม่เกิดในช่วงเวลาต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์<br />

ทั้งนี้ ผู้เขียนมุ่งสำารวจ “รัฐชาติไทย” (Thai nation-state) ไม่ใช่ “ชาติไทย” (Thai<br />

nation) ซึ่งทั้งสองคำานี้มีความคาบเกี ่ยวกันอยู่แต่สามารถแยกจากกันได้ โดยจะ<br />

อภิปรายต่อไป<br />

อนึ่ง นักวิชาการหลายท่านมีงานเขียนหลายชิ้นและหลายท่านก็ไม่ได้ระบุหรือ<br />

ศึกษารัฐชาติไทยโดยตรง ผู้เขียนจึงต้องขอถือวิสาสะในการเลือกบทความ หนังสือ<br />

หรือบทสัมภาษณ์ของนักวิชาการท่านนั้น ๆ ในการจัดประเภทการศึกษา เนื่องจาก<br />

ในแต่ละงานของนักวิชาการท่านเดียวกันอาจมีข้อเสนอที่ขัดกันหรือมีความชัดเจนไม่<br />

เท่ากัน ผู้เขียนจะพยายามเลือกงานที่มีการระบุข้อเสนอเรื่องรัฐชาติไทยที่ชัดเจนที่สุด<br />

ในการจัดกลุ่มการศึกษาเรื่องรัฐชาติไทยเพื่อเป็นข้อแนะนำา (guideline) สำาหรับผู้ที่<br />

สนใจศึกษาเรื่อง “รัฐชาติไทย” ต่อไป<br />

3<br />

เกษม ศิริสัมพันธ์ และนิออน สนิทวงศ์, “แนวพระราชดำาริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระ­<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” สังคมศาสตร์ปริทัศน์ , ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (ธันวาคม 2510 ถึง กุมภาพันธ์ 2511).<br />

8


2. ปัญหำกำรศึกษำ “รัฐชำติไทย”<br />

ก่อนจะเข้าการจัดกลุ่มนักวิชาการในการศึกษาเรื่องรัฐชาติไทย ผู้เขียนจำาเป็น<br />

ต้องระบุปัญหาในการศึกษาเรื่องรัฐชาติไทยก่อน โดยปัญหาในการศึกษาเรื่องรัฐชาติ<br />

ไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มในเชิงกรอบการวิเคราะห์คือ 1. กลุ่มที่แบ่งระหว่าง<br />

รัฐจารีตกับรัฐชาติ (nation-state) และ 2. กลุ่มที่แบ่งระหว่าง “รัฐ” “ชาติ” และ<br />

“รัฐชาติ”<br />

1. กลุ่มที่แบ่งระหว่างรัฐจารีตกับรัฐชาติ มองว่ารัฐไทยก่อนศตวรรษที่ 19 เป็น<br />

รัฐจารีตที่ไม่มีอาณาเขตแน่นอน ไม่มีการรวมศูนย์อำานาจ มีประชากรหลากหลาย<br />

ชาติพันธุ์ และไม่มีแนวคิดเรื่องอำานาจอธิปไตยจนเมื่อการเข้ามาของชาวตะวันตก<br />

โดยเฉพาะเมื่ออังกฤษกับฝรั่งเศสได้ยึดรัฐโดยรอบของสยามเป็นอาณานิคมทำาให้<br />

สยามได้ปฏิรูปตัวเองให้กลายเป็นรัฐสมัยใหม่หรือรัฐชาติไทยในช่วงศตวรรษที ่ 19–<br />

ต้นศตวรรษที ่ 20 โดยเป็นรัฐชาติแบบใดและด้วยเกณฑ์ใดยังมีความเห็นในราย<br />

ละเอียดที่ต่างกันออกไปในแต่ละท่าน<br />

ส่วน 2. กลุ่มที่แบ่งระหว่าง “รัฐ” “ชาติ” และ “รัฐชาติ” กลุ่มนี้เห็นด้วยกับ<br />

กลุ่มที่ 1 ที่มองว่ารัฐก่อนศตวรรษที่ 19 เป็นรัฐจารีตหรือรัฐก่อนสมัยใหม่ (premodern<br />

state) และการปฏิรูปของสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทำาให้สยามกลายเป็น<br />

รัฐสมัยใหม่ (modern state) แต่รัฐสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ “รัฐชาติ” หรือ “รัฐ<br />

ประชาชาติ” เพราะแม้ในสมัยรัชกาลที่ 5 จะปรากฏแนวคิดเรื่อง “ชาติไทย” แล้ว<br />

แต่ประชาชนส่วนใหญ่ภายในรัฐยังไม่เคยนิยามหรือคิดว่าตัวเองเป็น “คนไทย” หรือ<br />

ยังไม่เคยนิยามตนเองด้วยแนวคิดเรื่อง “ชาติไทย” โดยกลุ่มนี ้เห็นว่า “รัฐชาติไทย”<br />

เกิดขึ้นหลังการอภิวัฒน์สยาม ค.ศ. 1932 เป็นอย่างน้อย<br />

จากการแบ่งแยกทั้งสองกลุ่มข้างต้น นำามาสู่ปัญหาประการต่อมาคือ นิยาม<br />

คำาว่า “ชาติ” และ “รัฐชาติ” ของทั้งสองกลุ่มเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ผู้เขียนคง<br />

ไม่อาจลงรายละเอียดในนิยามของนักวิชาการแต่ละท่าน (และส่วนมากก็ไม่ได้ให้<br />

นิยามไว้) จึงขอทำาการสรุปอย่างกว้างจากการตีความของผู้เขียนเอง<br />

กลุ่มที่ 1 น่าจะใช้นิยามของคำาว่า “ชาติ” ตามความหมายทั่วไปในภาษาไทย<br />

ปัจจุบัน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้นิยามไว้ว่า “ชาติ<br />

[ชาด, ชาดติ] น. ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ กลุ่มชนที่มีความ<br />

รู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียม<br />

9


ประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน” 4 จะเห็น<br />

ได้ว่าในนิยาม “ชาติ” ในภาษาไทยมีความหมายซ้อนกับรัฐชาติ กล่าวคือ “ชาติ” มี<br />

ความหมายเท่ากับ “ประเทศ” และเป็นประเทศที่มีประชาชนเป็นพลเมืองที่มีความ<br />

รู้สึกอย่างน้อยในเรื่อง “เชื้อชาติ” ร่วมกัน กล่าวคือ “ชาติ” ในความหมายของกลุ่มนี้<br />

จึงไม่ต่างจาก “รัฐชาติ”<br />

นอกจากนี้ “รัฐชาติ” ในกลุ่มนี้ไม่ต้องการประชาชนคือไม่ต้องเป็น “ประชา­<br />

ชาติ” ก็ได้ เพราะมองว่าแนวคิดเรื่องชาติไทยถูกให้นิยามโดยชนชั้นสูงมาตลอด ดังที่<br />

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ให้เหตุผลว่า เพราะ “ชาติไทยจึงไม่เคยสร้างโดยราษฎรเอง<br />

เลย” 5 ดังนั้น ชาติไทยจึงเป็นสิ่งที่ชนชั้นสูงคิดและอาจมีความหมายหรืออดีตที่แปลก<br />

แตกต่างออกไปได้ เมื่อชาติที่ชนชั้นสูงคิดได้เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปในช่วงศตวรรษ<br />

ที่ 19 ทำาให้สยามกลายเป็นรัฐสมัยใหม่ ประกอบกับการนำาแนวคิดเรื่อง “ชาติไทย”<br />

มาใช้ในการสร้างความชอบธรรมเหนือรัฐสมัยใหม่นี้ “รัฐชาติไทย” จึงเกิดขึ้นในช่วง<br />

ศตวรรษที่ 19–ต้นศตวรรษที่ 20<br />

ส่วนในกลุ่มที่ 2 มักใช้นิยามของ “รัฐ” “ชาติ” และ “รัฐชาติ” ตามความหมาย<br />

ของโลกวิชาการภาษาอังกฤษ 6 ดังนี้ “รัฐ” หมายถึงชุมชนทางการเมืองที่ถูกสร้างขึ้น<br />

โดยประชาชนในดินแดนภายใต้รัฐบาลหนึ่ง “ชาติ” หมายถึงกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บน<br />

ดินแดนที่ถูกกำาหนด ซึ่งมีการแสดงออกทางการเมืองในด้านอัตลักษณ์ร่วม 7 และ<br />

รัฐชาติ หมายถึง รัฐที่คนส่วนมากมีวัฒนธรรมและสำานึกร่วม หรือหมายถึงเขตแดน<br />

4<br />

ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน,<br />

2542), อ้างคำาว่า “ชาติ” และ “ชาติพันธุ์” .<br />

5<br />

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ‘เก่งกิจ-ธเนศ’ ถกหนังสือ ‘แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำาแผนที่<br />

หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น’—https://prachatai.com/journal/2018/04/76515 (สืบค้นเมื่อ 20<br />

ตุลาคม พ.ศ. 2562)<br />

6<br />

ดูเพิ่มเติม บทสุดท้าย<strong>ในหนังสือ</strong>เล่มนี้ ‘ปัญหาการปรับใช้ทฤษฎีชาติในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

ภาคพื้นทวีป’<br />

7<br />

nation = ‘A people inhabiting a defined territory which seeks political expression of<br />

its shared identity, usually through a claim to statehood’ และ state = ‘A political<br />

community formed by a territorially-defined population which is subject to one government’,<br />

see Rod Hague and Martin Harrop, Comparative Government and Politics<br />

(Basingstoke, United Kingdom: Palgrave Macmillan, 1998), 6–8.<br />

10


ในอุดมคติทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับหน่วยทาง การเมือง 8 แน่นอนว่านิยามทั ้งสาม<br />

เป็นเพียงนิยามอย่างง่ายเพื่อให้เข้าใจความแตกต่างของคำาทั้งสาม กล่าวคือ รัฐเป็น<br />

สิ่งที่แสดง ออกมาในทางรูปธรรม ส่วนชาติมักถูกอธิบายในทางนามธรรมหรืออัตวิสัย<br />

และรัฐชาติคือการทำาให้ชาติที่เป็นนามธรรมปรากฏตัวบนรัฐที่เป็นรูปธรรม<br />

ดังนั้น “ชาติ” กับ “รัฐชาติ” จึงมีความหมายที่แตกต่างกัน “รัฐ” และ “ชาติ”<br />

จึงสามารถศึกษาแยกออกจากกันได้ โดย “รัฐ” สามารถมองอย่างกว้างได้เป็นรัฐ<br />

ก่อนสมัยใหม่และรัฐสมัยใหม่ โดยรัฐสมัยใหม่ไม่จำาเป็นต้องเป็น “รัฐชาติ” ก็ได้<br />

ยิ่งไปกว่านั้น “รัฐชาติ” ในความหมายของตะวันตกยังเป็น “รัฐประชาชาติ” ที่<br />

ประชาชนหรือมวลชน (mass) ภายในดินแดนต้องนิยามตนเองด้วย “ชาติ” เช่น<br />

รักชาติยิ่งชีพ ยอมตายเพื่อชาติ ต้องปกป้องเอกราชของชาติไว้ เป็นต้น รัฐชาติจึง<br />

ขาดอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อชาติของประชาชนไปไม่ได้9<br />

จะเห็นได้ว่าความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มนี้คือ นิยามคำาว่า “ชาติ” กลุ่มแรก<br />

ไม่ได้แยกชาติออกจากรัฐอย่างชัดเจน โดยคำาว่า “ชาติ” และ “รัฐชาติ” รวมทั้ง<br />

“รัฐประชาชาติ” มีความหมายไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญ โดยเฉพาะเมื ่อมอง<br />

ชาติโดยไม่ต้องการประชาชน กล่าวคือเป็นชาติแบบ “บนลงล่าง” (top down)<br />

รัฐชาติจึงเกิดได้เมื่อชนชั้นนำามีการนำาแนวคิดเรื่องชาติมาใช้ กล่าวคือในช่วงศตวรรษ<br />

ที่ 19 เป็นต้นมา<br />

ส่วนกลุ่มที่ 2 มองว่ารัฐชาติจะเกิดเมื่อประชาชนนิยามตัวเองเป็น “ชาติ<br />

เดียวกัน” ไม่ว่าแนวคิดเรื่องชาตินั้นจะเป็นแบบ “บนลงล่าง” หรือร่วมกันจินตนาการ<br />

ขึ้นมา 10 หัวใจสำาคัญคือการนิยามตนเองด้วย “ชาติ” รัฐชาติจึงเป็นกระบวนการ<br />

8<br />

A nation-state is a state in which the great majority shares the same culture and is<br />

conscious of it. The nation-state is an ideal in which cultural boundaries match up<br />

with political ones—รัฐชาติมีผู้ให้นิยามไว้จำานวนมาก แต่มีนัยร่วมกันคือการมองว่า รัฐชาติเป็น<br />

เขตแดนหรือดินแดนทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ<br />

9<br />

อ่านเพิ่มเติม พิพัฒน์ พสุธารชาติ (บรรณาธิการ), เมื่อใดจึงเป็นชาติ (กรุงเทพฯ: Illuminations<br />

Editions, 2562).—ไม่ว่าจะเป็น วอคเกอร์ คอนเนอร์ (Walker Connor) แอนโทนี ดี. สมิธ<br />

(Anthony D. Smith) หรือจอห์น เบรยยี่ (John Breuilly) ก็มองว่าชาติต้องเป็นของมวลชน แต่<br />

จะอย่างไร แค่ไหน เมื่อไหร่ ยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่ยุติ<br />

10<br />

อ่านเพิ่มเติม เบน แอนเดอร์สัน, ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำาเนิดและการแพร่ขยาย<br />

ของชาตินิยม, บรรณาธิการแปลโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (2552; ฉบับพิมพ์ซำ้า, กรุงเทพฯ: มูลนิธิ<br />

โครงการตำาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2557).<br />

11


(process) ที่รัฐต้องดำาเนินการด้วยวิธีต่าง ๆ นานาเพื่อให้ประชาชนนิยามตนเองและ<br />

เกิดความรักชาติขึ้นมา ซึ่งกระบวนการนี้อาจเป็นกระบวนการที่อาจไม่มีที่สิ้นสุดก็ได้<br />

แต่อย่างน้อยการจะเรียกว่า “รัฐชาติ” ได้ก็ต้องมีประชาชนจำานวนมากนิยามตนเอง<br />

เป็นพวกเดียวกันและยึดโยงกับชาติด้วย ซึ่งยังไม่เกิดในช่วงศตวรรษที่ 19 เพราะใน<br />

ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการ “บูรณาการชาติ” (nation<br />

integration) อันยาวนาน (และอาจไม่มีที่สิ้นสุด)<br />

3. เมื่อใดจึงเป็น (รัฐ)ชำติไทย<br />

แนวคิดเรื่องการเกิดขึ้นของ “รัฐชาติไทย” เราแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ<br />

คือ 1. กลุ่มที่เชื่อว่ารัฐชาติไทยเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 2. กลุ่มที่เชื่อว่า<br />

รัฐชาติไทยเกิดขึ้นหลังอภิวัฒน์สยาม ค.ศ. 1932 เป็นอย่างน้อย ดังที่ได้นำาเสนอไว้<br />

ข้างต้น อย่างไรก็ดี นักวิชาการแต่ละท่านในทั้งสองกลุ่มได้ใช้วิธีการ กรอบการศึกษา<br />

และเหตุผลที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะอภิปรายดังต่อไปนี้<br />

3.1 กลุ่มที่เชื่อว่ำรัฐชำติไทยเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19<br />

1. เกษม ศิริสัมพันธ์ และนิออน สนิทวงศ์ ได้วางรากฐานแนวคิดเรื่องการ<br />

เกิดขึ้นของรัฐชาติไทยในช่วงศตวรรษที่ 19 อย่างสำาคัญว่า ในช่วงศตวรรษที่ 19<br />

การปฏิรูปที่สำาคัญมีลักษณะเป็นการต่อสู้เพื่อรวมศูนย์อำานาจไว้ที่สถาบันกษัตริย์เพื่อ<br />

ต่อสู้กับภัยคุกคามจากตะวันตก ทางหนึ่งคือการที่ “คนรุ่นใหม่” ในหมู่ชนชั้นนำาไทย<br />

ได้ “ปรับปรุงสังคมไทยตามคตินิยมตะวันตก” เพื่อรวมศูนย์อำานาจ 11 อีกทางคือการ<br />

ปลดปล่อยให้ “ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน” มีอิสระ โดยการเลิกระบบไพร่และทาส เพราะ<br />

“เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพของคนไทยทั้งประเทศให้พ้นจากสถานะไพร่มาเป็น<br />

พลเมืองที่สมบูรณ์” 12 ยิ่งไปกว่านั้น “การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะต้องริเริ่มและ<br />

ดำาเนินการจากเบื้องบนมาสู่เบื้องล่าง หาใช่การต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเป็น<br />

11<br />

เกษม ศิริสัมพันธ์ และนิออน สนิทวงศ์, “แนวพระราชดำาริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระ­<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” สังคมศาสตร์ปริทัศน์, อ้างแล้ว, น. 29<br />

12<br />

เพิ่งอ้าง, น. 32<br />

12


อิสระจากเบื้องล่างไปสู่เบื้องบนเช่นในยุโรปไม่” กษัตริย์จะต้องทรงแสดงบทบาทผู้นำา<br />

การเปลี่ยนแปลงมาสู่ชาติบ้านเมือง 13<br />

เกษมและนิออน สรุปว่า “ผลสำาเร็จประการสำาคัญของการปฏิรูปการปกครอง<br />

ในช่วงศตวรรษที่ 19 คือ การสร้างรัฐประชาชาติ (national-state) ขึ้นได้ ประเทศไทย<br />

กลายมาเป็นรัฐเดี่ยว… ผลสำาคัญของการก่อตั้งรัฐประชาชาติ ก็คือการรวมอำานาจ<br />

การปกครองไว้ที่ส่วนกลาง” 14 จะเห็นได้ว่า เกษมและนิออนมองว่า การรวมอำานาจ<br />

การปกครองไว้ที่ศูนย์กลาง (centralization) และการยกเลิกระบบไพร่และทาส ได้<br />

ทำาให้ประชาชนกลายมาเป็นพลเมือง (citizen) และได้สร้างรัฐเดี่ยวขึ้นมาได้ ผลลัพธ์<br />

คือการเกิดขึ้นของ “รัฐชาติไทย” ในช่วงศตวรรษที่ 19<br />

2. สุเนตร ชุตินธรานนท์ และรัตนพร พวงพัฒน์ ได้กล่าวว่ารัฐจารีตในภูมิภาค<br />

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นลักษณะมณฑล (mandala) ที่รัฐต่าง ๆ ไม่มีความคิด<br />

เรื่องเส้นแบ่งพรมแดนรัฐที่แบ่งรัฐหนึ่งออกจากอีกรัฐหนึ่งอย่างตายตัว ประกอบกับ<br />

แนวคิดเรื่อง “จักรพรรดิราช” หรือราชาธิราชทำาให้กษัตริย์ “มีแนวความคิดเรื่องตัวตน<br />

ในเชิงเขตแดนพื้นที่หรือภูมิภาคว่าไม่มีการแบ่งแยกหากแต่เป็นปริมณฑลหนึ่งเดียว<br />

ของพระองค์เอง” 15 แต่เมื่อมหาอำานาจตะวันตกได้เข้ามายังภูมิภาคนี้ อังกฤษและ<br />

ฝรั่งเศสได้ขอให้ราชสำานักไทยกำาหนดเส้นพรมแดน (borderline) ทำาให้ราชธานีที่<br />

กรุงเทพฯ จำาเป็นต้องอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนต่าง ๆ ที่เจ้าผู้ครองรัฐหรือเมืองขึ้นเคยอยู่<br />

ภายใต้มณฑลทางอำานาจของรัฐตน ด้วยเหตุนี้จึงเริ่มเกิดรัฐไทยที่มีขอบเขตแยกกับ<br />

รัฐเพื่อนบ้านและทำาให้กษัตริย์ยุติการแสดงพระองค์เป็นเจ้าจักรพรรดิราชไปโดย<br />

ปริยาย 16 ด้วยเหตุนี้ “…รัฐไทยใหม่ อันเป็นรัฐที่เกิดขึ้นจากการรวบรวมเอาดินแดน<br />

ที่แตกต่างทางเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรมเข้าไว้ในปริมณฑลรัฐชาติเดียว” ทั้งนี้<br />

เพราะแนวคิดในเรื่องรัฐชาติ (national state) รัฐจึงต้องสถาปนาความเป็นเอกภาพ<br />

ทางสังคมของประชากรของสยามรัฐขึ้น 17<br />

ในแง่นี้ สุเนตรและรัตนพร ได้มองว่ารัฐชาติไทยได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อรัฐไทยได้มี<br />

13<br />

เพิ่งอ้าง, น. 33–34<br />

14<br />

เพิ่งอ้าง, น. 35<br />

15<br />

สุเนตร ชุตินธรานนท์ และรัตนพร พวงพัฒน์, “อุษาคเนย์: พลวัตการรับรู้จากอดีตถึงปัจจุบัน”, ใน<br />

สุเนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ, ชาตินิยมในแบบเรียนไทย, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2552), น. 13–14<br />

16<br />

เพิ่งอ้าง, น. 20–21<br />

17<br />

เพิ่งอ้าง, น. 21<br />

13


ขอบเขตแบ่งแยกกับรัฐเพื่อนบ้านอย่างชัดเจน ประกอบกับเมื่อมีการใช้แนวคิดเรื่อง<br />

รัฐชาติมาแทนที่จักรพรรดิราชทำาให้ต้องสถาปนาเอกภาพทางสังคมของประชาชน<br />

ภายในรัฐที่มีขอบเขตชัดเจน “รัฐชาติไทย” จึงได้เกิดขึ้นแล้วในช่วงศตวรรษที่ 19<br />

3. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ได้แสดงทัศนะเรื่อง “รัฐชาติไทย” ไว้ในการวิจารณ์<br />

หนังสือแผนที่สร้างชาติฯ ของเก่งกิจ กิติเรียงลาภ ว่า ในกรณีของสยามได้เกิดการ<br />

ปะทะกันของแผนที่แบบจารีต (แผนที่การเดินทัพหรือการค้า) กับแผนที่แบบใหม่<br />

(แผนที่แบบในปัจจุบัน) ในช่วงรัชกาลที่ 4–5 และจบลงด้วยชัยชนะของแผนที่แบบ<br />

ใหม่และการสร้างรัฐรวมศูนย์ ทำาให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “state-mind หรือความคิดที่มี<br />

รัฐแบบใหม่อยู่ในหัว ไม่ใช่เขาพระสุเมรุอีกต่อไป” โดยแผนที่แบบใหม่นี้ไม่ได้เป็น<br />

เครื่องมือของรัฐฝ่ายเดียว แต่มันได้สร้างผลต่อประชาชนให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม<br />

ต่อต้านเจ้าอาณานิคมและการเสียดินแดนด้วย 18 แม้จะกล่าวว่าการสร้างรัฐชาติเป็น<br />

“กระบวนการ” แต่ก็เป็นกระบวนการที่เกิดคู่ขนานระหว่าง “การสร้างรัฐที่เป็นกลไก<br />

ในการปกครองทั้งหลายกับการเกิดชาติที่เป็นจินตกรรมร่วมกันของคนจำานวนมาก<br />

ภายในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ” การปฏิรูปในช่วงศตวรรษที่ 19 จึงเป็นการสร้างระบบ<br />

และกลไกของรัฐใหม่ที่ได้สร้างระบบการศึกษา เช่น โรงเรียนก็มีแต่ของหลวงสำาหรับ<br />

ลูกคนมีฐานะ รวมถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งการปฏิรูปแบบนี้เองที่<br />

“จะนำาไปสู่การเกิดชาติในความคิดของราษฎร” ทั้งนี้ “ชาติไทย” ไม่ว่าจะเป็น การที่<br />

รัชกาลที่ 6 ทรงปลุกความรักชาติ หรือ กรมพระยาดำารงราชานุภาพทรงสร้างคำา<br />

บรรยายประวัติศาสตร์ชาติไทย ก็เป็นการ “สร้างจากบนลงล่าง เป็นจินตนาการของ<br />

ชนชั้นนำา มากกว่าเป็นความรับรู้ในความเป็นมาของชาติตนที่เป็นของราษฎรจริง ๆ”<br />

หรือต่อมาในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะพยายามสร้างชาติของราษฎร ก็ต้อง<br />

“ไปยืมพล๊อตเรื่องประวัติศาสตร์สุโขทัยจาก ร.๖ และกรมฯดำารง มาใช้ใหม่…ชาติ<br />

ไทยจึงไม่เคยสร้างโดยราษฎรเองเลย” 19<br />

แม้ธเนศจะไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า “รัฐชาติไทย” เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษ<br />

ที่ 19 หรือไม่ แต่ธเนศมองว่า กระบวนการสร้าง “ชาติไทย” เป็นกระบวนการสร้าง<br />

จากบนลงล่าง แม้แต่ในยุคภายหลังอภิวัฒน์สยาม ค.ศ. 1932 ก็ยังได้ใช้แนวคิดเรื่อง<br />

18<br />

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, “‘เก่งกิจ-ธเนศ’ ถกหนังสือ ‘แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำา<br />

แผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น’”, อ้างแล้ว<br />

19<br />

เพิ่งอ้าง.<br />

14


ชาติไทยจากรัชกาลที่ 6 หรือสมเด็จกรมพระยาดำารงราชานุภาพ ดังนั้น ผู้เขียนจึง<br />

ตีความว่า ธเนศน่าจะมองว่า “รัฐชาติไทย” ต้องเกิดก่อน ค.ศ. 1932 เพราะชาติไทย<br />

ในยุค ค.ศ. 1932 ไม่ได้ต่างจากยุคก่อน โดยธเนศได้เคยให้ทัศนะต่องานของสมเด็จ­<br />

กรมพระยาดำารงราชานุภาพไว้ว่า “ทรงกระทำาน่าจะคล้าย ๆ กับที่นักวิชาการตะวันตก<br />

ได้ทำาและกำาลังทำาอยู่ในบรรดารัฐอาณานิคมทั้งหลาย” ในการเขียน “ประวัติศาสตร์­<br />

นิพนธ์สมัยใหม่ที่กำาลังก่อตั้งรัฐชาติและสถาบันที่รองรับการดำารงอยู่ของมัน” 20<br />

4. ธงชัย วินิจจะกูล ไม่ได้เสนอเรื่องการเกิด “รัฐชาติไทย” ไว้<strong>ในหนังสือ</strong><br />

“กำาเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ” 21 เพียงแต่นำาเสนอว่า<br />

รูปร่างของรัฐหรือภูมิกายาที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 ได้ถูกนำามาใช้เป็นอุปลักษณ์<br />

(metaphor) ของ “ชาติไทย” แต่ในงาน “โฉมหน้าราชาชาตินิยม” และ “ออกนอก<br />

ขนบประวัติศาสตร์ไทย” ในส่วนที่ได้โต้เถียงกับข้อเสนอของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์<br />

(โปรดดูข้อ 3.2) ได้สรุปไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า คำาว่า “ชาติ” มีนิยามและความหมาย<br />

ที่เคลื่อนไปตามยุคสมัย โดยชาติในศตวรรษที่ 19 หมายถึง “สังคมการเมือง (political<br />

community) หนึ่ง ๆ โดยไม่จำาเป็นต้องเป็นชุมชนการเมืองของคนที่มีศาสนา<br />

หรือชาติพันธุ์ตามกำ าเนิดเดียวกัน” 22 และชาติในประวัติศาสตร์ไทยกลับมีประวัติมาจาก<br />

รัฐจักรวรรดิก่อนสมัยใหม่ที่ปรับตัวสู่สมัยใหม่ในแบบอาณานิคม “เป็นชุมชนจินตกรรม<br />

ที่มีประชาชนสูงตำ่าสามัคคีกันภายใต้ร่มบารมีของกษัตริย์” 23 กล่าวคือ ชาติในสังคม<br />

สยามที่มีจุดร่วมคือรัฐของพระราชา (ราชาชาตินิยม) ไม่ใช่ชาติที่ปัจเจกชนที่มีความ<br />

สัมพันธ์กันในแนวราบ (horizontal) ซึ่งก็คือ “ราชาชาตินิยม” หรือชาตินิยมภายใต้<br />

กษัตริย์24<br />

ธงชัยยอมรับว่ารัฐสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 จากการปะทะกับ<br />

ตะวันตก และแม้ธงชัยไม่ได้ระบุว่ารัฐชาติเกิดขึ้นเมื่อใด แต่จากนิยามว่าชาติคือ<br />

20<br />

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, “ประวัติศาสตร์สอนอะไร”—https://www.the101.world/thanet72-<br />

speech/ (สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)<br />

21<br />

ธงชัย วินิจจะกูล, กำาเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ, แปลโดย พวงทอง<br />

ภวัครพันธุ์, ไอดา อรุณวงศ์ และพงษ์เลิศ พงษ์วนานต์ (กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ ร่วมกับ<br />

สำานักพิมพ์อ่าน, 2556), น. 110<br />

22<br />

ธงชัย วินิจจะกูล, ออกนอกขนบประวัติศาสตร์ไทย (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2562), น. 91<br />

23<br />

ธงชัย วินิจจะกูล, โฉมหน้าราชาชาตินิยม (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2559), น.(15)–(16)<br />

24<br />

เพิ่งอ้าง, น. (16)<br />

15


สังคมการเมืองและเป็นจินตกรรมที่ประชาชนอยู่ภายใต้ร่มบารมีของกษัตริย์ แสดง<br />

ว่า “ชาติไทย” เกิดขึ้นก่อนช่วงศตวรรษที่ 19 แต่เคลื่อนที่มาปะทะกับแนวคิดของ<br />

ตะวันตก ชาติจึงได้ปรับตัวเองเข้าสู่รัฐสมัยใหม่หรืออาจเรียกว่า “ภาวะสมัยใหม่แบบ<br />

อาณานิคม” (colonial modernity) 25 “รัฐชาติไทย” จึงได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19<br />

5. ไชยันต์ รัชชกูล กล่าวอย่างชัดเจนว่า สยาม “กลายเป็นรัฐ-ชาติ เมื่อต้น<br />

ทศวรรษ 1900” โดยก่อนหน้าสยามไม่ใช่หน่วยทางการเมืองที่มีเอกภาพ ไม่มีการ<br />

จัดตั้งองค์กรทางการเมืองเป็นหนึ่งเดียว 26 โดยรัฐรูปแบบใหม่ของสยามได้ก่อตัวขึ้นจาก<br />

องค์ประกอบ 2 ประการคือ 1. การผนวกดินแดน และ 2. การรวมศูนย์การปกครอง<br />

ซึ่งเป็นผลทางการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทันทีจากการต่อสู้ทางการคลังเรื่องการเก็บภาษี27<br />

ต่อจากนั้นก็ทำา “การปลูกฝังครอบงำาโลกทัศน์แผ่ขยายอำานาจของกรุงเทพฯ” หรือ<br />

“ลัทธิอาณานิคมภายใน” ผ่านระบบมณฑลที่เชื่อมกรุงเทพฯ เข้ากับภูมิภาคและเมือง<br />

ต่าง ๆ ซึ่งแท้จริงแล้วก็คือ “กระบวนการครอบงำาและการรวมศูนย์อำานาจ” 28<br />

ไชยันต์ เสนอต่อไปว่า สยามได้เปลี่ยนผ่านสู่ “ระบบทุนนิยมรอบนอก” ที่ชาวนา<br />

ได้กลายมาเป็น “คนในบังคับ” (subjects) ใต้กฎหมายของสยาม ไม่ใช่ทาสหรือแรงงาน<br />

ภายใต้บังคับของนายอีกต่อไป ทำาให้มีสถานะเสมือนพลเมือง รวมทั้งระบบยุติธรรม<br />

หรือระบบบริหารราชการอื่น ๆ ได้ถูกส่งจากส่วนกลางออกไปทำาให้ “บุคคลได้มีสัมพันธ์<br />

โดยตรงกับอำานาจอธิปไตยของรัฐ” อันเป็นองค์ประกอบสำาคัญของรัฐชาติ29<br />

6. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ได้เสนอว่า ในปลายศตวรรษที่ 19 รัฐไทยได้เริ่มใช้<br />

เอกสารเพื่อจำาแนก ควบคุมและสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาชน พร้อม ๆ กับ “การ<br />

พยายามของรัฐสยามในการสร้างความหมายของความเป็นชาติ และความเป็น<br />

พลเมือง” เมื่อรัฐสยามรับเอาแนวคิดเรื่อง “เชื้อชาติ” และเลือกใช้คำาที่แสดงความเป็น<br />

“ชาติพันธุ์ไทย” เพื่อผนวกชาติพันธุ์ให้รวมเป็นชุมชนชาติเดียวกันภายใต้อัตลักษณ์<br />

ไทย “จึงนำาไปสู่การลากเส้นแบ่งว่าด้วยเชื้อชาติของประชาชนเป็นครั้งแรกโดยชนชั้น<br />

25<br />

เพิ่งอ้าง, น. (15)<br />

26<br />

ไชยันต์ รัชชกูล, อาณานิคมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การก่อรูปรัฐไทยสมัยใหม่จากศักดินานิยมสู่<br />

ทุนนิยมรอบนอก, แปลโดย พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์, (กรุงเทพฯ: อ่าน, 2560), น. 6<br />

27<br />

เพิ่งอ้าง, น. 115<br />

28<br />

เพิ่งอ้าง, น. 118–128<br />

29<br />

เพิ่งอ้าง, น. 167–168<br />

16


นำาไทยในสมัยนั้น” 30 ทั้งนี้ กำาเนิดการสร้างชาติในกรณีของไทย ไม่ได้เกิดจากความ<br />

เป็นชาติและพลเมืองเพื่อโต้ตอบอาณานิคมตะวันตกเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจาก<br />

“ความต้องการทางเศรษฐกิจของคนนอกบังคับ และเพื่อปกป้องทรัพยากรของประเทศ<br />

มิให้ต้องตกไปอยู่ในมือของผู้ที่มิใช่คนในบังคับได้” 31<br />

จะเห็นได้ว่าปิ่นแก้วมองว่า ในช่วงศตวรรษที่ 19 ได้มีการ “ลากเส้นแบ่งว่าด้วย<br />

เชื้อชาติของประชาชนเป็นครั้งแรก” กล่าวคือได้มีการขีดเส้นแบ่งแบบ “รัฐชาติไทย”<br />

เกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้ ปิ่นแก้วเห็นว่า “การสร้างโครงสร้างของอัตลักษณ์ปัจเจกบุคคล<br />

โดยรัฐเป็นกระบวนการที่วางอยู่บนข้ออ้างของรัฐชาติ ในการนิยามสิทธิและโอกาส<br />

ของปัจเจกบุคคล… ในแง่นี้จึงเป็นการผูกร่างของปัจเจกบุคคลเข้ากับร่างของชาติ” 32<br />

ดังนั้น ชาติจึงเป็นเรื่องของรัฐชาติที่จะบังคับประชาชนภายในรัฐให้กลายเป็นชาติ<br />

เดียวกันผ่านเอกสารที่ระบุอัตลักษณ์ต่าง ๆ เช่น บัตรประชาชน สำามะโนประชากร<br />

(census) ทะเบียนบ้าน เป็นต้น ที่ลดอัตลักษณ์ของปัจเจกชนที่มีหลากหลายให้เหลือ<br />

เพียงเป็นคนสัญชาติใด<br />

7. จักรกริช สังขมณี ได้เสนอว่า ชายแดนของรัฐไม่ได้เป็นเพียง “เขต” แดน<br />

ของรัฐ แต่ยังทำาหน้าที่เป็น “ขันธ์” ที่สร้างความเป็นปึกแผ่น มั่นคง และ “ตัวตน<br />

ของความเป็นชาติ” โดยเฉพาะเมื่อประชาชนต้องการจะก้าวข้ามผ่านเส้นเขตแดน<br />

ของรัฐชาติ33 กระบวนการสร้างชาติภายใต้อาณาเขตของรัฐชาติสมัยใหม่ เป็นความ<br />

พยายามรวบรวมเอาผู้คนที่มีลักษณะของความหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน พร้อม ๆ<br />

กับแบ่งแยกผู้คนเหล่านั้นที่อาจมีลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศบาง<br />

ประการออกจากกันด้วย 34<br />

จักรกริชได้กล่าวต่อไปว่า “กรณีของไทยอาจกล่าวได้ว่าเขตแดนรัฐ-ชาติสมัย<br />

ใหม่เป็นผลมาจากยุคสมัยอาณานิคม” กล่าวคือ จักรกริชมองว่ารัฐชาติไทยได้เกิด<br />

ขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 จากการที่รัฐได้สร้าง “เขต” และ “ขันธ์” ขึ้นผ่านการปะทะ<br />

30<br />

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, อัตลักษณ์เอกสาร วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทย (เชียงใหม่:<br />

ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561), น. 52–53<br />

31<br />

เพิ่งอ้าง, น. 56<br />

32<br />

เพิ่งอ้าง, น. 22<br />

33<br />

จักรกริช สังขมณี, Limology ชายแดนศึกษากับเขต-ขันธ์วิทยาของพื้นที่ใน/ระหว่าง (กรุงเทพฯ:<br />

ศยาม, 2561), น. 73–74<br />

34<br />

เพิ่งอ้าง, น. 87<br />

17


กับอาณานิคมตะวันตก โดยรัฐได้แบ่งแยกคนที่อาจมีลักษณะร่วมกันออกจากกัน<br />

และในทางกลับกันก็ได้รวมคนที่อาจมีความหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งสิ่งนี้ได้สร้าง<br />

เขตของรัฐและขันธ์ของชาติขึ้น ทำาให้ “รัฐชาติไทย” ได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19<br />

นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการอีกหลายท่านที่เห็นว่า “รัฐชาติไทย” เกิดในช่วง<br />

ศตวรรษที่ 19 เช่น นฤมิต หิญชีระนันทน์ ได้เสนอว่า “รัฐชาติไทย” เกิดขึ้นอย่าง<br />

น้อยใน ค.ศ. 1905 เนื่องจากไทยได้รับรองนอร์เวย์ (Norway) ที่ได้ประกาศเอกราช<br />

จากสวีเดน (Sweden) 35 มอริซิโอ เพเลจจี (Maurizio Peleggi) ได้ศึกษาการบริโภค<br />

ภายในของชนชั้นนำาสยามในการสร้างภาพความอารยะ (civilize) ว่าเป็นการเปลี่ยน<br />

“ชาวนาให้กลายเป็นชาวสยาม” (peasant into Siamese) 36 โนบุระ อิชิกาวะ (Noboru<br />

Ishikawa) ศึกษาผู้คนตามชายแดนในการปรับตัวเองเข้าสู่รัฐสมัยใหม่ของสยาม โดย<br />

สรุปว่า แท้จริงแล้วมาตรการและกฎเกณฑ์ที่รัฐสมัยใหม่ใช้ในบริเวณพื้นที่ชายแดน<br />

ก็เพียงเพื่อประทับตราให้คนและสินค้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ และสิ่งนี้เองที่เป็นส่วน<br />

หนึ่งของกระบวนการสร้างขอบเขตและอำานาจอธิปไตยของรัฐขึ้นมา 37 เป็นต้น<br />

3.2 กลุ่มที่เชื่อว่ำรัฐชำติไทยเกิดขึ้นหลังอภิวัฒน์สยำม พ.ศ. 2475 เป็นอย่ำงน้อย<br />

1. สมเกียรติ วันทะนะ ได้เสนอว่า “ผลของการปฏิรูปในช่วงศตวรรษที่ 19<br />

มิได้สร้างรัฐประชาชาติขึ้นมาโดยอัตโนมัติ แต่เป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ (Absolutist<br />

State) มากกว่า ข้าพเจ้าเองเคยเสนอว่าจะเรียกรัฐไทยว่าเป็นรัฐประชาชาติได้อย่าง<br />

สมความหมายก็ต่อเมื่อถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 26 นี้เองด้วยซำ้า” 38 โดยสมเกียรติ<br />

35<br />

การเสวนาหัวข้อ “รัฐ” กับการศึกษารัฐไทย ตั้งข้อสังเกตต่อแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ รวม<br />

ทั้งการศึกษาเกี่ยวกับ “รัฐไทย” โดยเป็นการเสวนาวิชาการชุด “สะท้อนย้อนคิดสังคมศาสตร์ ศาสตร์<br />

สังคม” ครั้งที่ 1 ตอน “รัฐ” กับการศึกษารัฐไทย วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องประชุมสีฟ้า<br />

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์—“ช่วงอภิปรายถาม-ตอบ | “รัฐ” กับการ<br />

ศึกษารัฐไทย [4] จบ” (นาทีที่ 28–36)—https://www.youtube.com/watch?v=G_w5o0xZm<br />

G8&t=1987s (สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562)<br />

36<br />

Maurizio Peleggi, Lords of Things: The Fashioning of the Siamese Monarchy’s Modern<br />

Image (Hawaii, USA: University of Hawaii Press, 2002), p. 9<br />

37<br />

Noboru Ishikawa. Between frontiers: nation and identity in a Southeast Asian borderland<br />

(Athens: Ohio University Press, 2010).<br />

38<br />

สมเกียรติ วันทะนะ, “เมืองไทยยุคใหม่ สัมพันธภาพระหว่างรัฐกับประวัติศาสตร์สำานึก”, ใน<br />

อยู่เมืองไทย: รวมบทความทางสังคมการเมืองเพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ใน<br />

18


ได้เสนอว่าจริง ๆ แนวทางวิเคราะห์ของทั้งผู้ที่มองว่า “รัฐชาติไทย” เกิดขึ้นในช่วง<br />

ศตวรรษที่ 19 หรือหลัง ค.ศ. 1932 ไม่ใช่ว่าไปด้วยกันไม่ได้อย่างสิ้นเชิง แต่เป็นการ<br />

ที่กลุ่มแรกเน้นดู “จุดก่อตัว” และกลุ่มที่ 2 มักดู “จุดอยู่ตัว” ซึ่งจุดเน้นที่ต่างกันนี้<br />

ในทางทฤษฎีแล้วสามารถประนีประนอมกันได้ เพราะรัฐชาติไม่ใช่สิ่งที่สำาเร็จในชั่ว<br />

ข้ามคืน แต่เป็นกระบวนการ (process) ที่กินเวลายาวนานหลายสิบปีขึ้นไป 39<br />

อย่างไรก็ดี สมเกียรติยำ ้าต่อไปว่า การประนีประนอมเช่นนี้ก็มีขีดจำ ากัดเหมือนกัน<br />

เนื่องจากกฎเกณฑ์ของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ย่อมไม่อาจปล่อยให้องค์ประกอบ<br />

ของรัฐชาติเติบโตได้อย่างเต็มที่ “เพราะสัมพันธภาพทางอำานาจของรัฐประชาชาติ<br />

นั้นในที่สุดแล้วต้องเบียดขับและทำาลายสัมพันธภาพทางอำานาจแบบรัฐสมบูรณาญา­<br />

สิทธิ์โดยปริยาย” 40 ในแง่นี้ สมเกียรติรับได้ว่าแนวคิดเรื่อง “ชาติไทย” ได้ก่อตัวขึ้น<br />

ในช่วงศตวรรษที่ 19 แล้ว แต่ในศตวรรษที่ 19 สยามยังไม่ใช่ “รัฐชาติ” อย่างแน่นอน<br />

แต่เป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์มากกว่า โดยแนวคิดรัฐชาติและรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์นั้น<br />

ไปด้วยกันไม่ได้ เพราะเป็นแนวคิดที่มีความขัดแย้งและพร้อมจะทำาลายกันเอง การ<br />

จะเรียกรัฐไทยว่า “รัฐชาติ” ได้ อย่างน้อยก็ต้องหลัง ค.ศ. 1932 เป็นต้นมา<br />

2. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ได้เสนอว่า แนวความคิดเรื่อง “ชาติ” (Chat) ใน<br />

อุดมการณ์ทางการเมืองของชนชั้นนำาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีความแตกต่างจากแนวคิด<br />

“ชาติ” (Nation) ในลัทธิชาตินิยมแบบตะวันตก กล่าวคือ “ชาติ” ของชนชั้นนำาสยาม<br />

จะถูกอธิบายในกรอบความคิดทางการเมืองแบบ Royal Absolutism ซึ่งนครินทร์<br />

เรียกว่า “แนวคิดแบบรักชาติบ้านเมือง” โดยในกรอบแนวความคิดนี้จะอธิบาย<br />

“ชาติ” ว่า “ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันในทางสถานะ ภูมิหลัง<br />

ภาษา วัฒนธรรม หน้าที่ที่มีต่อสังคม ฯลฯ แต่ก็ผูกพันกันได้เพราะว่ามีประมุข คือ<br />

พระมหา กษัตริย์ร่วมกัน เรื่องนี้มีความแตกต่างจากชาติ nation ในความหมายของ<br />

ทางตะวันตกในทางตรงข้ามที่เน้นว่า ชาติ คือประชาชนที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน” 41<br />

ดังนั้น แม้จะใช้คำาว่า “ชาติ” เหมือนกัน แต่ในศตวรรษที่ 19 “ชาติ” ที่ปรากฏอยู่ไม่ได้<br />

โอกาสอายุครบ 60 ปี, บรรณาธิการโดย สมบัติ จันทรวงศ์และ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (กรุงเทพฯ:<br />

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530), น. 75<br />

39<br />

เพิ่งอ้าง.<br />

40<br />

เพิ่งอ้าง, น. 75–76<br />

41<br />

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, “แนวคิดชาติบ้านเมือง: กำาเนิด พัฒนาการ และอำานาจการเมือง,” วารสาร<br />

ธรรมศาสตร์ ปีที่ 27 ฉ. 2 (มิถุนายน 2549): 10<br />

19


มีความหมายตรงกับ nation<br />

สำาหรับนครินทร์ “ความคิดทางการเมืองในแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับ<br />

ความคิดทางการเมืองตามลัทธิความรักชาติบ้านเมืองนั้น เป็นสิ่งที ่ดำาเนินควบคู่ไป<br />

พร้อม ๆ กันได้ มิได้มีความขัดแย้งต่อกันแต่ประการใด” 42 อย่างไรก็ดี ในขณะที่ชาติ<br />

แบบ “รักชาติบ้านเมือง” เล่นบทนำาอยู่ “ชาติ” ในกระแสรองที่หมายถึง “ประชาชน<br />

หรือราษฎร” ก็ได้ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่19 เช่นกัน “ชาติ” กระแสรองนี้<br />

ได้ต่อสู้และผลักดันจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ค.ศ. 1932 ขึ้น 43 “รัฐชาติ<br />

ไทย” ในความหมายที่ตรงกับ nation-state จึงเกิดใน ค.ศ. 1932 แต่ก็สูญเสียพลัง<br />

และกลับไปใช้ในความหมายเดิมภายใต้การปฏิวัติของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ<br />

วันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1958 “นับว่ามีผลสำาคัญอย่างยิ่งในการทำาให้ “วันชาติที่แปล<br />

ว่าประชาชน” สิ้นสุดลงไป และวันชาติที่เน้นอุดมการณ์ชาติศาสนา พระมหากษัตริย์<br />

ได้รับการรื้อฟื้นขึ้นอย่างเป็นทางการและเป็นกิจจะลักษณะ” วันที่ 24 มิถุนายนของ<br />

ทุกปีจึงไม่ได้เป็นวันหยุดราชการของไทย 44<br />

3. เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson) ได้พูดถึงกรณีของ “สยาม”<br />

ไว้<strong>ในหนังสือ</strong> “ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำาเนิดและการแพร่ขยายของ<br />

ชาตินิยม” ว่า “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม…ไม่ได้มีความ<br />

พยายามหนักแน่นใด ๆ ที่จะผลักดันลัทธิชาตินิยมทางการผ่านระบบการศึกษาสมัยใหม่ ”<br />

แต่พระองค์ได้นำาพาความทันสมัยมาสู่สยาม โดยตัวแบบของพระองค์ไม่ใช่อังกฤษหรือ<br />

ฝรั่งเศส แต่เป็น “รัฐราชการ” (bureaucratic state) ที่ได้ต้นแบบจากอาณานิคมอินเดีย­<br />

ตะวันออกของดัตช์ อาณานิคมมลายูและอินเดีย (Raj) ของอังกฤษ การปฏิรูปใน<br />

สมัยรัชกาลที่ 5 แสดงให้เห็นว่าพระองค์ต้องการให้เป็นระบบและดึงอำานาจเข้าสู่<br />

ศูนย์กลางสลายบรรดารัฐประเทศราชตามชายขอบและหน่วยทางการเมืองที่มีอำานาจ<br />

กึ่งอิสระตามประเพณีลง และต้องการส่งเสริมเศรษฐกิจในลักษณะรัฐอาณานิคม 45<br />

แอนเดอร์สันเสนอต่อไปว่า นักชาตินิยมคนแรกของสยาม คือ พระบาท สมเด็จ­<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู ่หัว โดยพระองค์ได้มุ่งเป้าลัทธิชาตินิยมไปที่กลุ่มคนจีน เพราะ<br />

42<br />

เพิ่งอ้าง, น. 18<br />

43<br />

เพิ่งอ้าง, น. 23<br />

44<br />

เพิ่งอ้าง, น. 28<br />

45<br />

เบน แอนเดอร์สัน, ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำาเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม,<br />

อ้างแล้ว, น. 133–134.<br />

20


ชาวจีนถูกมองว่าเป็นหัวหอกขบวนการสาธารณรัฐที่คุกคามการดำารงอยู่ของสถาบัน<br />

กษัตริย์อย่างรุนแรง ซึ่งเบนสรุปว่า นี่คือลักษณะเด่นของลัทธิชาตินิยมแบบทางการ<br />

(official nationalism) ที่เบียดขับกลุ่มคุกคามให้หลุดพ้นไปจากจินตกรรมแบบประชา­<br />

ชาติ (emerging nationally-imagined community) 46 ซึ่งกว่าแนวคิดชาตินิยมทางการ<br />

จะแพร่กระจายไปยังประชาชนทั่วไปก็ยังคงต้องใช้เวลาอีกพอสมควร กล่าวคือ แม้<br />

แอนเดอร์สันจะไม่ได้ยืนยันว่า “รัฐชาติไทย” เกิดขึ้นตอนไหน แต่ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วง<br />

ปลายศตวรรษที่ 19 หรือต้นศตวรรษที่ 20 อย่างแน่นอน 47<br />

4. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ได้เสนอ<strong>ในหนังสือ</strong> “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์”<br />

ว่า รัฐไทยที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 เป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolutist state)<br />

ที่พัฒนาขึ้นมาจากรัฐศักดินา (feudal state) โดยมีลักษณะเป็น “รัฐที่รวมอำานาจเข้าสู่<br />

ศูนย์กลางผ่านการสถาปนาระบบราชการสมัยใหม่ เพื่อให้พระมหากษัตริย์เข้าถึง<br />

ประชากรและทรัพยากรของชาติได้โดยตรง” 48 แนวคิดชาตินิยมในศตวรรษที ่ 19<br />

เป็นผลงานรังสรรค์ของกษัตริย์ซึ่งมุ่งหวังจะวางรากฐานทางอุดมการณ์ให้แก่ความ<br />

สัมพันธ์ระหว่างสยามกับเศรษฐกิจโลก โดยยังจำากัดอยู่เพียงในหมู่ชนชั้นนำาสยาม<br />

ระดับสูงเท่านั้น ต่อมาแนวคิดชาตินิยมได้กระจายตัวขึ้นและถูกชนชั้นกระฎุมพีสมัย<br />

ใหม่ใช้อ้างเพื่อเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองซึ่งรับรองการมีส่วนร่วม<br />

ของกลุ่มชนชั้นใหม่ในนาม “ชาติ” หรือ “ประชาชน” 49<br />

ในปี ค.ศ. 1932 “รัฐชาติไทย” เข้ามาแทนที่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อ<br />

“อำานาจอธิปไตยโอนจากพระมหากษัตริย์มาสู่ประชาชน” 50 กล่าวคือ รัฐสมัยใหม่ได้<br />

สร้างแนวคิดเรื่อง “ชาติ” (nation) ขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นครั้งแรก “ปรากฏ<br />

ในแบบเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะหนังสือธรรมจริยา การทำาให้คนตระหนักในความรู้สึก<br />

เป็นชาติเพื่อทำาให้คนเป็นผู้ผลิตให้ระบบเศรษฐกิจ” แต่ “รัฐชาติไทย” เกิดขึ้นหลัง<br />

46<br />

เพิ่งอ้าง, น. 134–135<br />

47<br />

อ่านเพิ่มเติม เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน, “ศึกษารัฐไทย วิพากษ์ไทยศึกษา”, แปลโดย ดาริน<br />

อินทร์เหมือน, ใน เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน, ศึกษารัฐไทย ย้อนสภาวะไทยศึกษา, (กรุงเทพฯ:<br />

ฟ้าเดียวกัน, 2558), น. 3–56<br />

48<br />

กุลลดา เกษบุญชู มี้ด, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์: วิวัฒนาการรัฐไทย, แปลโดย อาทิตย์<br />

เจียมรัตตัญญู. (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2562), น. 323<br />

49<br />

เพิ่งอ้าง, น. 327–328<br />

50<br />

เพิ่งอ้าง, น. (14)<br />

21


ค.ศ. 1932 “เมื่ออำานาจอธิปไตยของรัฐย้ายจากองค์พระมหากษัตริย์มาสู่ประชาชน”<br />

ทั้งนี้ คำาว่า “รัฐชาติ” เกิดขึ้นมาเมื่อรัฐอาณานิคมต่าง ๆ ได้รับเอกราช ซึ่งกระบวนการ<br />

รับเอกราชได้มีการโอนถ่ายอำานาจอธิปไตยมาสู่ชาติ ทั้งนี้ ในกรณีของรัฐไทยอำานาจ<br />

อธิปไตยไม่ได้อยู่ที่เจ้าอาณานิคมแต่อยู่ที่กษัตริย์ จึงต้องมองว่า ค.ศ. 1932 คือ<br />

กระบวนการที่อำานาจอธิปไตยได้ถ่ายจากองค์กษัตริย์มาที่ชาติหรือประชาชน 51 “รัฐ<br />

ชาติไทย” จึงเกิดขึ้นหลังอภิวัฒน์สยาม ค.ศ. 1932<br />

5. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้เขียนถึงเรื่อง “ชาติไทย” จำานวนมาก กระจายอยู่ใน<br />

หนังสือ บทวิจารณ์ คำาให้สัมภาษณ์ โดยผู้เขียนรวบรวมและสรุปแนวคิดเรื่อง<br />

“รัฐชาติไทย” ได้ดังนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19<br />

เป็นการบูรณาการทางดินแดน เรียกว่า “การบูรณาการทางดินแดน” หรือ “การ<br />

บูรณาการรัฐ” (state integration) ไม่ใช่การบูรณาการชาติ (nation integration)<br />

เป็นการล้มล้างอำานาจของผู้ปกครองท้องถิ่นมารวมไว้ที่ส่วนกลางเท่านั้นไม่ได้กระทบ<br />

ประชาชน 52 สิ่งที่ “สยามหนุ่ม” พยายามทำาในศตวรรษที่ 19 คือการสถาปนาระบอบ<br />

สมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยใช้แทรกเข้าไปในระบบราชการที่มีอยู่ จนในช่วง ค.ศ.<br />

1932 ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงถูกเรียกว่า “ระบอบเจ้า” เพราะมีฐานอำานาจ<br />

ที่คับแคบ 53 ยิ่งไปกว่านั้น ผู้นำาคณะราษฎรภายหลังการอภิวัฒน์สยาม ยังใช้แนวคิด<br />

เรื่อง “เชื้อชาติไทย” มาเป็นแกนหลักในการอธิบายชาติ ทำาให้มโนทัศน์เกี่ยวกับ<br />

พลเมืองของ “รัฐชาติ” ไม่อาจพัฒนาขึ้นได้อย่างเต็มที่54 โดยสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้รัฐ­<br />

ธรรมนูญ พ.ศ. 2475 คือ “รัฐราชการ” มากกว่า เพราะระบบราชการได้เข้ามาแทนที่<br />

ในการกำาหนดนโยบายสาธารณะและเข้ามามีอำานาจทางการเมืองเสียเอง 55 กล่าวคือ<br />

51<br />

กุลลดา เกษบุญชู มี้ด, “รัฐ” กับการศึกษารัฐไทย: ไชยันต์ รัชชกูล | กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด |<br />

วรเจตน์ ภาคีรัตน์”,—https://prachatai.com/journal/2018/02/75576 (สืบค้นเมื่อ 25<br />

พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)<br />

52<br />

นิธิ เอียวศรีวงศ์, “มุมมองประวัติศาสตร์และสังคม” ใน ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ความเป็นมาของ<br />

ทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย, (กรุงเทพฯ: โครงการเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะ<br />

ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555), น. 129–142<br />

53<br />

นิธิ เอียวศรีวงศ์, ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการณ์<br />

จิตสำานึก, (พิมพ์ครั้งที่3), (กรุงเทพฯ:มติชน, 2557). น. 107–108<br />

54<br />

เพิ่งอ้าง, น. 148<br />

55<br />

นิธิ เอียวศรีวงศ์, “รัฐราชการ(1)”—https://www.matichon.co.th/columnists/news_604174<br />

(สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)<br />

22


แม้ในช่วง ค.ศ. 1932 “รัฐชาติไทย” ก็ยังไม่เกิดขึ้น<br />

6. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ได้เสนอว่า “การควบคุมทุกส่วนของชีวิตพลเมืองให้ได้<br />

เป็นคุณสมบัติสำาคัญของรัฐประชาชาติที่ต้องขยับขยายแขนขาและสายตาลงไปจับจ้อง<br />

ทุกสัดส่วนของประชากร” 56 กล่าวคือ การที่รัฐชาติจะเกิดขึ้นได้ รัฐจำาเป็นต้องมีเทค­<br />

โนโลยีหรือเครื่องมือที่จะเข้าไปควบคุมประชาชนภายในรัฐได้อย่างเพียงพอ เก่งกิจ<br />

เสนอต่อไปว่า ด้วยข้อจำากัดทางเทคโนโลยีรัฐไทยจึงไม่เคยแผ่อำานาจของตนไปสู่<br />

หน่วยที่เรียกว่า “หมู่บ้าน” ก่อนช่วงสงครามเย็นและการเข้ามาของสหรัฐฯ โดยก่อน<br />

หน้านั้น หมู่บ้านสำาหรับชนชั้นนำาไทยเป็นเพียงจินตนาการถึงกลุ่มคนที่อยู่ “บ้าน<br />

นอกคอกนา” และมองคนเหล่านั้นเป็น “คนอื่น” 57 อีกทั้งหมู่บ้านในประเทศไทยก็<br />

ไม่เคยมีขอบเขตที่ชัดเจน หมู่บ้านจำานวนมากมีการเคลื่อนที่ (mobility) อยู่ตลอด<br />

หลายแห่งเกิดใหม่และหลายแห่งก็ยุบตัวลงไป ซึ่งทำาให้หมู่บ้านสามารถที่จะหลีกหนี<br />

ออกจากการควบคุมของอำานาจเหนือพื้นที่ของรัฐ 58 “รัฐชาติไทย” จึงไม่เคยเกิดก่อน<br />

หน้าช่วงสงครามเย็น<br />

เก่งกิจได้สรุปว่า แผนที่ในศตวรรษที่ 19 เป็นเพียงแผนที่รัฐ (state map)<br />

ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายอำานาจและความมั่นคงของรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ โดยหาก<br />

ปรากฏแนวคิดเรื่องชาติในช่วงเวลาดังกล่าว “ชาติเป็นเพียงจินตกรรมนามธรรมที่<br />

ปราศจากรายละเอียดและไม่เคยสัมพันธ์กับชีวิตของผู้คนอย่างจริงจัง” แต่แผนที่ที่ทำา<br />

ในยุคอเมริกันต่างหากคือ “แผนที่ชาติ (nation map) ที่มาพร้อมกระบวนการก่อรูป<br />

และสถาปนาอำานาจของรัฐประชาชาติ” 59 ในแง่นี้ “รัฐชาติไทย” ไม่เคยเกิดขึ้นก่อน<br />

การเข้ามาของสหรัฐฯ เป็นอย่างน้อย เพราะรัฐไทยในยุคก่อนหน้าขาดเทคโนโลยีและ<br />

เครื่องมือที่จะเข้าถึงประชาชนหรือแม้แต่หมู่บ้านอย่างเพียงพอทำาให้รัฐไม่สามารถ<br />

ที่จะสถาปนาความชอบธรรมเหนือหมู่บ้านหรือประชาชนภายในอาณาเขตของรัฐได้<br />

อย่างทั่วถึง กระทั่งไม่รับรู้ถึงการดำารงอยู่ของหมู่บ้านหรือคนบางกลุ่ม จึงเป็นการ<br />

ยากที่จะกล่าวว่า “รัฐชาติไทย” เกิดขึ้นแล้ว<br />

56<br />

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำาแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น,<br />

(กรุงเทพฯ: Illuminations Editions, 2561). น. 23<br />

57<br />

เพิ่งอ้าง, น. 143<br />

58<br />

เพิ่งอ้าง, น. 22, 148<br />

59<br />

เพิ่งอ้าง, น. 152<br />

23


7. ชาตรี ประกิตนนทการ ไม่ได้เสนอโดยตรงว่า “รัฐชาติไทย” เกิดขึ้นเมื่อใด<br />

แต่มองว่าการสร้าง “ร่างกาย” ของสยามที่เกิดขึ้นจากความรู้ทางภูมิศาสตร์และ<br />

เทคโนโลยีการทำาแผนที่ในช่วงศตวรรษที่ 19 นั้น “ไม่เพียงพอต่อการสร้างตัวตนของ<br />

รัฐสยามสมัยใหม่” ความรู้ทางประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และโบราณสถาน<br />

เป็นอีกเครื่องมือในการสร้างร่างกายของรัฐสยามสมัยใหม่ หรือ “รัฐสมบูรณาญา­<br />

สิทธิราชย์” ที่สำาคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน 60 แต่ยังไม่ใช่การสร้างจิตวิญญาณหรือ<br />

สัญลักษณ์ของชาติ โดย “กระบวนการสร้างจิตสำานึกทางอุดมการณ์นี้เป็นเรื่องซับซ้อน<br />

และกินเวลายาวนาน (แม้จนปัจจุบันก็ยังไม่อาจพูดได้ว่าจบสิ้นแล้ว) ต้องทำาต่อเนื่อง<br />

และผลิตซำ้าไม่รู้จบ” 61<br />

ชาตรี เสนอต่อไปว่า การเขียนประวัติศาสตร์ศิลปะได้เปลี่ยนไปสู ่การเขียน<br />

แบบชาตินิยมหรือแบบเชื้อชาตินิยม ที่อธิบายความหมายโบราณวัตถุสถานต่าง ๆ ใน<br />

ฐานะที่เป็นวัตถุสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึง “จิตวิญญาณ” ของชาติไทยและความเป็น<br />

ไทยอันเก่าแก่ยาวนาน ให้สอดคล้องกับการ “เปลี่ยนไปจากรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />

มาสู่รัฐชาติสมัยใหม่หลังการปฏิวัติ 2475” โดยการให้นิยามและความหมายของ<br />

ศิลปะได้เปลี่ยนความหมายไปเรื่อย ๆ ตามอุดมการณ์และสถานการณ์ทางการเมือง<br />

ในแต่ละยุค 62 ในแง่นี้ แม้ชาตรีจะไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า“รัฐชาติไทย” เกิดขึ้นเพราะ<br />

เหตุใด แต่อย่างน้อยกระบวนการสร้างจิตวิญญาณของชาติในประวัติศาสตร์ศิลปะ<br />

นั้นได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำาคัญ จากแบบรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การแบบ<br />

ชาตินิยมเพื่อรองรับ “รัฐชาติไทย” ภายหลังการอภิวัฒน์สยาม ค.ศ. 1932<br />

นอกจากนี้ เกษียร เตชะพีระ มองว่า การอภิวัฒน์สยาม ค.ศ. 1932 ที่ล้ม<br />

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เกิดจากความขัดแย้งว่า “ตกลงความเป็นเจ้าของและ<br />

สิทธิอำานาจเหนือรัฐดังกล่าว พึงเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน หรือของ “ชาติ” ในสำานึก<br />

แห่งพลังข้าราชการหัวใหม่ซึ่งมีพวกเขาเองเป็นตัวแทน” 63 แต่สิ่งที่ยังคงดำารงอยู่สืบ<br />

60<br />

ชาตรี ประกิตนนทการ, “การประกอบสร้างศิลปะไทยฉบับทางการ ประวัติศาสตร์ศิลปะ กับการ<br />

ก่อร่างสร้างชาติ พ.ศ. 2408–2525” (วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์<br />

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สิงหาคม พ.ศ. 2561), น. 77<br />

61<br />

เพิ่งอ้าง, น. 115<br />

62<br />

เพิ่งอ้าง, น. 215–216<br />

63<br />

เกษียร เตชะพีระ, “ปริศนาแห่งการปฏิวัติ 2475 (ตอนต้น): ว่าด้วยความเลี่ยงไม่ได้”—https://<br />

www.matichonweekly.com/featured/article_46206 (9 ธันวาคม พ.ศ. 2562)<br />

24


เนื่องต่อมาหลังการปฏิวัติคือระบบราชการรวมศูนย์อัตตาณานิคม-ศักดินา (centralized<br />

autocolonial-patrimonial bureaucracy) “ฉะนั้น รัฐที่บังเกิดขึ้นหลังการปฏิวัติ<br />

2475 จึงเป็นรัฐรัฐธรรมนูญ (constitutional state) ของคณะราษฎร ที่ประกอบไปด้วย<br />

อำานาจรัฐใหม่ในระบอบรัฐธรรมนูญ (constitutional regime) ที่เข้ามาแทนที่ระบอบ<br />

สมบูรณาญาสิทธิราชย์” 64 แสดงว่าแม้แต่ภายหลังการอภิวัฒน์สยาม ค.ศ. 1932<br />

“รัฐชาติไทย” ก็ยังไม่เกิด หรือในงานของผู้เขียนเองก็มองว่า สยามได้กลายเป็นรัฐ<br />

สมัยใหม่ผ่านการปะทะ/แลกเปลี่ยน โดยเฉพาะการทำาสนธิสัญญากับจักรวรรดินิยม<br />

ตะวันตกจนกลายเป็นรัฐสมัยใหม่ในช่วงปลายศตวรรษที่19 พร้อม ๆ กับสร้างคำาอธิบาย<br />

ความชอบธรรมเหนือประชาชนและดินแดนผ่านแนวคิดเรื่อง “ชาติ” 65 แต่สยามยัง<br />

ไม่ได้กลายเป็น “รัฐชาติ” เพราะกว่าคำาอธิบายจะแพร่กระจายหรือมีประสิทธิภาพ<br />

เหนือประชาชนส่วนมากภายในรัฐ ก็ต้องมีระบบการศึกษาภาคบังคับที่ให้ประชาชน<br />

เรียนรู้ประวัติศาสตร์และสร้างความทรงจำาร่วมกันเป็นอย่างน้อย<br />

4. วิวำทะ “(รัฐ)ชำติไทย”<br />

การโต้เถียงที่สำาคัญเรื่อง (รัฐ)ชาติไทย เริ่มจากบทความ “ศึกษารัฐไทย วิพากษ์<br />

ไทยศึกษา” (Studies of the Thai State: The State of Thai Studies) ของแอนเดอร์สัน<br />

ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1979 โดยแอนเดอร์สัน ได้ทำาการทบทวนวรรณกรรม “ไทยศึกษา”<br />

ในโลกภาษาอังกฤษ ซึ่งในขณะนั้น สยามถูกมองในโลกวิชาการว่า 1. สยามมีความ<br />

พิเศษเพราะไม่เคยตกเป็นอาณานิคม 2. สยามเป็นรัฐชาติแห่งแรกในเอเชียตะวันออก­<br />

เฉียงใต้ 3. ราชวงศ์จักรีได้สร้างความทันสมัยและสร้างชาติขึ้น และ 4. ความสำาเร็จ<br />

เหล่านี้เกิดจากพื้นฐานของสังคมไทยและการมีผู้นำาที่รักบ้านเกิดเมืองนอน (patriotic<br />

leaders) 66 แอนเดอร์สันตอบโต้มุมมองทั้งสี่อย่างถึงที่สุดว่า ในบางแง่มุมแล้ว 1. สยาม<br />

เป็นอาณานิคมทางอ้อม 2. สยามเกือบจะเป็นประเทศสุดท้ายในภูมิภาคที่เป็นรัฐชาติ<br />

64<br />

เพิ่งอ้าง.<br />

65<br />

ฐนพงศ์ ลือขจรชัย, เสียดินแดนมลายู ประวัติศาสตร์ชาติ ฉบับ Plot twist (กรุงเทพฯ: มติชน,<br />

2562).<br />

66<br />

เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน, “ศึกษารัฐไทย วิพากษ์ไทยศึกษา”, แปลโดย ดาริน อินทร์เหมือน, น. 11<br />

25


อิสระ 3. การสร้างความทันสมัยของราชวงศ์จักรีเป็นแบบระบอบอาณานิคม และ<br />

4. ความสำาเร็จหรือล้มเหลวของสยาม เป็นผลจากการสร้างความสงบ (pacification)<br />

ของจักรวรรดินิยมยุโรป ไม่ใช่เกิดจากผู้นำาของสยาม 67<br />

ข้อเสนอของแอนเดอร์สัน ได้รับการตอบรับจากนักวิชาการไทยจำานวนมาก<br />

สมเกียรติ วันทะนะ ก็เป็นหนึ ่งในนักวิชาการคนสำาคัญที่รับแนวคิดมา โดยสมเกียรติ<br />

ได้เขียนบทความสำาคัญ 3 ชิ้น ได้แก่ 1. “รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ในสยาม 2435–2475” 68<br />

2. “สองศตวรรษของรัฐและประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย” 69 และ 3. “เมืองไทยยุคใหม่<br />

สัมพันธภาพระหว่างรัฐกับประวัติศาสตร์สำ านึก” ซึ่งเป็นบทความแรก<strong>ในหนังสือ</strong>เล่มนี้<br />

ที่จะชี้ให้เห็นถึงนิยามและ “แบบแผนในอุดมคติ” ของรัฐชาติตามหลักสากล และ<br />

นำามาเทียบกับรัฐไทยในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ว่า “รัฐไทย” กลายเป็น<br />

“รัฐประชาชาติ” ตามหลักสากลเมื่อใด อย่างไรก็ดี สมเกียรติไม่ได้แยกระหว่าง<br />

“รัฐสมัยใหม่” และ “ชาติ” ออกจากกัน โดยได้วิเคราะห์รัฐสมัยใหม่ในฐานะของ<br />

“รัฐประชาชาติ” อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน<br />

แนวทางการวิเคราะห์ของแอนเดอร์สัน ได้ถูกท้าทายอย่างสำาคัญ ด้วยแนวคิด<br />

“ราชาชาตินิยม” (royal-nationalism) ของธงชัย วินิจจะกูล ซึ่งได้เสนอครั้งแรกในปี<br />

ค.ศ. 2001 โดยแนวคิดนี้มีรากฐานและพัฒนามาจากหนังสือสำาคัญอย่าง “กำาเนิด<br />

สยามจากแผนที่ฯ” ซึ่งตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994 ของธงชัย<br />

เช่นกัน โดยธงชัยมองว่าราชาชาตินิยมคือ “แม่บทของประวัติศาสตร์ไทย” (master<br />

narrative of Thai history) ที่มีโครงเรื่องง่าย ๆ คือ “ถูกต่างชาติคุกคาม (แม้ว่าสยาม<br />

จะไม่เคยเกะกะระรานคนอื่นเลยก็ตาม) พระมหากษัตริย์ที่ปรีชาสามารถนำาการต่อสู้<br />

จนกอบกู้/รักษาเอกราชไว้ได้ มีสันติสุข เจริญรุ่งเรืองดังแต่ก่อน” 70 ซึ่งไม่เหมือนกับ<br />

ที่แอนเดอร์สัน ได้เสนอเรื่อง “ชาติไทย” ไว้<strong>ในหนังสือ</strong>ชุมชนจินตกรรมว่า ในสมัย<br />

67<br />

เพิ่งอ้าง, น. 13<br />

68<br />

สมเกียรติ วันทะนะ, “รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ในสยาม 2435–2475,” บทความประกอบปาฐกถาทาง<br />

วิชาการ จัดโดย สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยสังคม และ คณะรัฐศาสตร์<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 19 มีนาคม 2525 ห้องประชุมตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์­<br />

มหาวิทยาลัย, 28 หน้า<br />

69<br />

สมเกียรติ วันทะนะ, “สองศตวรรษของรัฐและประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย” วารสารธรรมศาสตร์,<br />

ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2527): น. 152–171<br />

70<br />

ธงชัย วินิจจะกูล, โฉมหน้าราชาชาตินิยม, อ้างแล้ว, น. 5–6<br />

26


รัชกาลที่ 5 ไม่ได้มีความพยายามหนักแน่นใด ๆ ที่จะผลักดันลัทธิชาตินิยม แต่นัก<br />

ชาตินิยมคนแรกของไทย คือรัชกาลที่ 6 71<br />

ธงชัยได้วิจารณ์หนังสือชุมชนจินตกรรมของแอนเดอร์สัน ไว้ว่า “กำาเนิดและ<br />

รากฐานของชาตินิยมไทยไม่ใช่เป็นเพียงแค่ปฏิกิริยาต่อชาตินิยมของประชาชนดังที่<br />

IC เสนอไว้ในบทว่าด้วยชาตินิยมทางการ…ชาตินิยมไทยมีต้นกำาเนิดท่ามกลางภาวะ<br />

ที่สยามเป็นกึ่งอาณานิคมกึ่งจักรวรรดินิยม” 72 แต่ชาตินิยมไทยเป็นผลผลิตของ<br />

สัมพันธภาพทางอำานาจอย่างน้อยสี่ปัจจัย ได้แก่ 1. สัมพันธภาพกับฝรั่งตะวันตก<br />

2. สัมพันธภาพกับรัฐและสังคมอารยธรรมอื่น ๆ ในภูมิภาค 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง<br />

กลุ่มวัฒนธรรมหลัก ๆ ที่ต่างกันในสังคมไทย ที่สำาคัญที่สุดคือไทยกับจีน 4. อำานาจ<br />

อันเกิดจากความเชื่อเรื่องธรรมชาติหรือธาตุแท้ของชุมชนชาติของไทย หรือ “ความ<br />

เป็นไทย” ทั้งสี่ประการหล่อหลอมให้เกิดชาตินิยมนานาชนิดในสังคมไทย 73 และได้<br />

สรุปว่าชุมชนจินตกรรมของแอนเดอร์สันถือเอาการเกิดปัจเจกชนที่มีความสัมพันธ์<br />

กันในแนวราบ (horizontal) แต่ชาติในประวัติศาสตร์ไทยกลับมีประวัติมาจากรัฐ<br />

จักรวรรดิก่อนสมัยใหม่ที่ปรับตัวสู่สมัยใหม่ในแบบอาณานิคม “เป็นชุมชนจินตกรรม<br />

ที่มีประชาชนสูงตำ่าสามัคคีกันภายใต้ร่มบารมีของกษัตริย์” 74<br />

ข้อเสนอของธงชัย ได้รับทั้งการตอบรับและปฏิเสธจากนักวิชาการจำานวนมาก<br />

และหลากหลายมิติ ผู้เห็นด้วย เช่น ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ,<br />

พวงทอง ภวัครพันธุ์, ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล และอีกหลายท่าน (ซึ่งจะไม่ขอพูดถึง<br />

ผู้ที่เห็นด้วยในบทความนี้) ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์, กุลลดา<br />

เกษบุญชู มี้ด, เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, สายชล สัตยานุรักษ์ เป็นต้น<br />

สายชล ได้วิจารณ์ธงชัยไว้ว่า “ราชาชาตินิยม” ไม่ใช่เป็นอุดมการณ์ที่เน้นรักษา<br />

เอกราช มากเท่ากับเป็นอุดมการณ์ที่เน้นการจัดระเบียบและการจรรโลงความสัมพันธ์<br />

เชิงอำานาจในรัฐ อันได้แก่การรวมศูนย์อำานาจไว้ที่กษัตริย์ และโครงสร้างการแบ่งคน<br />

71<br />

เบน แอนเดอร์สัน, ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำาเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม,<br />

อ้างแล้ว, น. 133–135.<br />

72<br />

ธงชัย วินิจจะกูล “วิจารณ์ ชุมชนจินตกรรม Imagined Communities ของเบ็น แอนเดอร์สัน”<br />

ใน วารสารอ่าน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 เมษายน-กันยายน 2552, น. 25<br />

73<br />

เพิ่งอ้าง, น. 26<br />

74<br />

ธงชัย วินิจจะกูล, โฉมหน้าราชาชาตินิยม, อ้างแล้ว, น.(15)–(16)<br />

27


เป็นลำาดับชั้นตามชาติกำาเนิดและหน้าที่ต่อรัฐ แม้ภัยคุกคามจากต่างชาติจะถูกเน้น<br />

แต่ “ก็มิได้มุ่งให้คนในชาติจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่มุ่งให้ทุกคนเสีย<br />

สละเพื่อชาติ” 75 เก่งกิจได้โต้แย้งว่า “แผนที่ที่ อ. ธงชัย วินิจจะกูล ศึกษา<strong>ในหนังสือ</strong><br />

Siam Mapped เป็นแผนที่ของรัฐที่กำ าหนดขอบเขตของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่ได้<br />

เป็นส่วนหนึ่งการการนำามาสร้างชาติ เพราะคนไม่ได้รับรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของ<br />

แผนที่ คนรับรู้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่ก็ต่อเมื่อรัฐไทยเข้าไปถึงหมู่บ้านในยุค<br />

สงครามเย็น ตนจึงจงใจตั้งชื่อกึ่งล้อเลียนกึ่งเสนอว่าอันนี้คือการศึกษาแผนที ่สร้าง<br />

ชาติจริง ๆ ไม่ใช่สมัย ร.5” 76 ส่วนกุลลดามองว่า แนวคิดชาตินิยมถูกรังสรรค์ขึ้นใน<br />

ศตวรรษที่ 19 แต่ค่อย ๆ เกิดการกระจายตัวขึ้นในหมู่ “ข้าราชการกระฎุมพี” จนเกิด<br />

การเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงในเหตุการณ์ “กบฏ ร.ศ. 130” ก่อนจะสุกงอมและ<br />

สำาเร็จในการ “อภิวัฒน์สยาม พ.ศ. 2475” โดยคณะราษฎร เพราะเป็นการที่อำานาจ<br />

อธิปไตยของรัฐย้ายจากกษัตริย์มาสู่ประชาชน 77<br />

และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ในบทความเรื่อง “แนวคิดชาติบ้านเมือง: กำาเนิด<br />

พัฒนาการ และอำานาจการเมือง” ซึ่งเป็นบทความที่2<strong>ในหนังสือ</strong>เล่มนี้ โดย<br />

นครินทร์ ไม่ได้กล่าวถึงราชาชาตินิยมในบทความ แต่เนื้อหาสาระมุ่งวิจารณ์ราชา­<br />

ชาตินิยมของธงชัย ดังนี้ 1. รัฐชาติไทยพึ่งเกิดหลังอภิวัฒน์สยาม ค.ศ. 1932 ก่อน<br />

หน้าจึงไม่นับว่าเป็นชาติหรือลัทธิชาตินิยม 2. เมื่อไม่มีชาติ จึงมีแต่ “ลัทธิรักชาติ<br />

บ้านเมือง” (patriotism) และ 3. “ราชา” และ “ชาตินิยม” เป็นสองอย่างที่ไปด้วยกัน<br />

ไม่ได้ จึงไม่อาจมี “ราชาชาตินิยม” 78<br />

ธงชัยได้โต้แย้งทั้ง 4 คนดังนี้ 1. ข้อวิจารณ์ของสายชลนั้น “ผิดอย่างจังแทบ<br />

ทั้งหมด” 79 2. ข้อวิจารณ์ของเก่งกิจนั้น แผนที่ระดับหมู่บ้านเป็นเพียงการเติมเต็ม<br />

75<br />

สายชล สัตยานุรักษ์, “วิพากษ์ ศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล: “ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชา­<br />

ชาตินิยม จากยุคราชาชาตินิยมอำาพรางสู่ราชาชาตินิยมใหม่หรือลัทธิเสด็จพ่อของกระฎุมพีไทยใน<br />

ปัจจุบัน”, ใน ธงชัย วินิจจะกูล, โฉมหน้าราชาชาตินิยม, อ้างแล้ว, น. 164—ภาคผนวก 1<br />

76<br />

‘เก่งกิจ-ธเนศ’ ถกหนังสือ ‘แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำาแผนที่หมู่บ้านไทยในยุค<br />

สงครามเย็น’, อ้างแล้ว<br />

77<br />

กุลลดา เกษบุญชู มี้ด, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์: วิวัฒนาการรัฐไทย.<br />

78<br />

ธงชัย วินิจจะกูล, ออกนอกขนบประวัติศาสตร์ไทย, อ้างแล้ว, น. 89–90<br />

79<br />

อ่านเพิ่มเติม ธงชัย วินิจจะกูล, “อย่าดูเบาวิธีวิทยา: ตอบอาจารย์สายชลโฉมหน้า,” ใน ธงชัย<br />

วินิจจะกูล, โฉมหน้าราชาชาตินิยม, อ้างแล้ว, น. 188–213 -ภาคผนวก 2<br />

28


ระบอบภูมิศาสตร์ให้สมบูรณ์เท่านั้น แต่แผนที่ที่ “…สร้างสำานึกถึงความเป็นชาติใน<br />

หัวสมองของผู้คน” คือแผนที่เขตแดนที่ทำาให้เราสามารถเห็นภาพรวมของประเทศ 80<br />

3. ข้อเสนอของกุลลดาที่มองว่า อำานาจอธิปไตยของรัฐย้ายจากกษัตริย์มาสู่ประชาชน<br />

ทำาให้เกิดรัฐชาตินั้น “เราจะถือได้ไหมว่า ในปัจจุบันประเทศไทยที่เคยเป็น “รัฐชาติ”<br />

ไม่ใช่รัฐชาติอีกต่อไปแล้วเพราะอำานาจอธิปไตยของรัฐย้ายจากประชาชนไปสู่ใครก็<br />

ไม่รู้ เราจะถือได้ไหมว่า ประเทศไทยเป็น “รัฐชาติ” เป็นครั้งเป็นคราว…” 81<br />

และ 4. ต่อข้อวิจารณ์ของนครินทร์ ธงชัยโต้ว่า ‘ชาติ’ ในศตวรรษที่ 19 หมายถึง<br />

“สังคมการเมือง (political community) หนึ่ง ๆ โดยไม่จำาเป็นต้องเป็นชุมชนการเมือง<br />

ของคนที่มีศาสนาหรือชาติพันธุ์ตามกำาเนิดเดียวกัน” ซึ่งพอดีกับชาติในสังคมสยาม<br />

ที่มีจุดร่วมคือรัฐของพระราชา (ราชาชาตินิยม) สำานึกความเป็นชาติและลัทธิชาตินิยม<br />

เกิดขึ้นก่อนรัฐชาติหรือรัฐประชาชาติทั้งนั้น“เพราะรัฐชาติมิได้ก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยม<br />

แต่ชาตินิยมต่างหากที่ก่อให้เกิดรัฐชาติ” และได้อธิบายต่อไปว่า patriotism สำาหรับ<br />

บางคนก็อาจเป็น nationalism ของอีกคนก็ได้ อีกทั้งแนวคิด patriotism ยังเป็นเรื่อง<br />

ของประสบการณ์ในยุโรปและอเมริกา และเติบโตควบคู่กับการเกิดสาธารณรัฐ<br />

(republic) “patriotism คือการปกป้องชุมชนการเมืองที่ราษฎรรู้สึกเป็นเจ้าของ” การ<br />

กล่าวถึง “ความรักชาติ” ในสังคมสยามยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าหมายถึง patriotism<br />

จึงออกจะเป็นการ “แปลกันเองตามใจชอบ” 82<br />

ปัญหาจากข้อวิจารณ์ของธงชัย คือแนวคิดเรื่อง “ลัทธิรักชาติบ้านเมือง” (patriotism)<br />

ของนครินทร์ เมื่อใช้กับสยามในช่วงศตวรรษที่ 19 มีความเหมาะสมหรือ<br />

ไม่? เพราะแนวคิดเรื่อง “สาธารณรัฐ” ดูจะเป็นสิ่งแปลกปลอมในสยาม อย่างไร<br />

ก็ตาม แพทริค โจรี (Patrick Jory) จะทำาให้เราแปลกใจในเรื่องนี้ “แนวคิดสาธารณ­<br />

รัฐนิยมในประวัติศาสตร์ไทย” ซึ่งเป็นบทความที่3<strong>ในหนังสือ</strong>เล่มนี้ โจรีได้พบว่า<br />

จุดกำาเนิดของแนวคิดเรื่องสาธารณรัฐในสังคมไทยสามารถสืบย้อนกลับไปได้จนถึง<br />

ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 จาก 1. ลัทธิอาณานิคมของยุโรปซึ่งคุกคามอิสรภาพ<br />

ของสยาม และ 2. การรวมอำานาจเข้าสู่สถาบันกษัตริย์ภายใต้พระบรมราโชบายของ<br />

รัชกาลที่ 5 ทว่าแนวคิดเรื่องนี้ไม่เป็นที่รับรู้เท่าใดนักเพราะเหตุผลทางการเมืองและ<br />

80<br />

ธงชัย วินิจจะกูล, ออกนอกขนบประวัติศาสตร์ไทย (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2562), อ้างแล้ว, น. 88<br />

81<br />

เพิ่งอ้าง, น. 90<br />

82<br />

เพิ่งอ้าง, น. 91–92<br />

29


ทางกฎหมายเป็นสำาคัญ 83<br />

อย่างไรก็ดี แม้มีแนวคิดสาธารณรัฐในสยาม และรัฐก็มีอำานาจจำากัดในการ<br />

สร้างจินตกรรมเรื่องชาติ คำาถามที่สำาคัญต่อมาคือ รัฐสยามสร้างความชอบธรรม<br />

หรือควบคุมราษฎรหรือประชาชนภายใต้ดินแดนสมัยใหม่ของตนอย่างไร บทความ<br />

ที่4และ5 <strong>ในหนังสือ</strong>เล่มนี้ ของเดวิด สเตร็คฟัส (David Streckfuss) และศิวศิลป์<br />

จุ้ยเจริญ ช่วยสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้<br />

สเตร็คฟัส ได้เสนอว่า ชนชั้นนำาสยามได้ใช้ความรู้ทางมานุษยวิทยาเรื่องเชื้อชาติ<br />

และชาติพันธุ์แบบผิด ๆ จากอาณานิคมฝรั่งเศส และทัศนะทางประวัติศาสตร์ปฏิรูปใหม่<br />

(history revisionism) มาทำาการลบชาติพันธุ์ต่าง ๆ (พหุชาติพันธุ์) โดยเฉพาะ “ลาว”<br />

ที่มีจำานวนมากในทางเหนือและอีสาน ให้กลายเป็นคนเชื้อชาติ “ไทย” ที่มีชาติพันธุ์<br />

และวัฒนธรรมเพียงหนึ่งเดียว (Thai mono-ethnicity) สเตร็คฟัส ยอมรับว่า “ตัว<br />

แบบเชิงชาตินิยมของเชื้อชาติไทย (Thai race nationalist model)” ก็วางอยู่บนฐาน<br />

แนวคิด “ราชาชาตินิยม” ของธงชัย ที่เป็น “ระบบวิธีคิดแบบชาตินิยมที่มีจุดศูนย์รวม<br />

อยู่ที่เชื้อชาติโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู ้นำาในทางจิตวิญญาณ” โดยปิ่นแก้ว เหลือง­<br />

อร่ามศรี ได้เสริมข้อเสนอของสเตร็คฟัสว่า รัฐสยามรับเอาแนวคิดเรื่อง “เชื้อชาติ”<br />

และเลือกใช้คำาที่แสดงความเป็น “ชาติพันธุ ์ไทย” เพื่อผนวกชาติพันธุ์ให้รวมเป็น<br />

ชุมชนชาติเดียวกันภายใต้อัตลักษณ์ไทย “จึงนำาไปสู่การลากเส้นแบ่งว่าด้วยเชื้อชาติ<br />

ของประชาชนเป็นครั้งแรกโดยชนชั้นนำาไทยในสมัยนั้น” 84 แต่กำาเนิดการสร้างชาติใน<br />

กรณีของไทย ไม่ได้เกิดจากความเป็นชาติและพลเมืองเพื่อโต้ตอบอาณานิคมตะวันตก<br />

เพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจาก “ความต้องการทางเศรษฐกิจของคนนอกบังคับ และ<br />

เพื ่อปกป้องทรัพยากรของประเทศมิให้ต้องตกไปอยู่ในมือของผู้ที่มิใช่คนในบังคับได้” 85<br />

ศิวศิลป์ ได้ให้มุมมองเชิงประวัติศาสตร์ที่แย้งกับปิ่นแก้วว่า แท้จริงแล้วสยาม<br />

ไม่เคยมีกฎหมายในการกำาหนดคุณสมบัติของคนในบังคับของตนอย่างเป็นเอกภาพ<br />

รัฐบาลสยามเพียงแต่อาศัยรูปแบบการควบคุมแรงงานในการระบุตัวตนไปพร้อม ๆ<br />

83<br />

Patrick Jory, “Republicanism in Thai History,” in Maurizio Peleggi, ed., A Sarong for<br />

Clio: Essays on the Intellectual and Cultural History of Thailand (Ithaca, NY: Cornell<br />

University Press, 2015), pp. 97–117<br />

84<br />

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, อัตลักษณ์เอกสาร วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทย, อ้างแล้ว,<br />

น. 52–53<br />

85<br />

เพิ่งอ้าง, น. 56<br />

30


กับการรับรู้แนวคิดเรื่องชาติพันธุ์ ทำาให้ “กฎหมายสัญชาติ กฎหมายแปลงชาติแบบ<br />

ตะวันตกที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้อยู่ในความรับรู้ของรัฐบาลสยาม” แม้รัฐบาล<br />

จะทำาข้อตกลงกับตะวันตกในเรื่องคนในบังคับแต่ปัญหาดังกล่าวก็ไม่สามารถจัดการ<br />

ได้อย่างเด็ดขาดและใช้เวลาอีกนานในการแก้ไขปัญหา ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าต่อมาจะ<br />

มีการตราพระราชบัญญัติแปลงชาติ ร.ศ. 130 และกฎหมายสัญชาติ พ.ศ. 2456 การ<br />

บังคับใช้กฎหมายก็ยังจำากัดอยู่ในวงแคบเท่านั้น<br />

ส่วนผู ้เขียนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของสเตร็คฟัส ในการที่บอกว่าชนชั้นนำา<br />

สยามได้ใช้แนวคิดเรื่องชาติพันธุ์มาเปลี่ยน “ลาว” ให้กลายเป็น “ไทย” เพราะ ใน<br />

ทางกลับกันด้วยตรรกะนี้ ทำาไมถึงยอมรับได้ว่า “ลาว” หายไป ทั้ง ๆ ที่ แนวคิดเรื่อง<br />

“ชาติไทย” พึ่งเริ่มปรากฏตัวในช่วงเวลาเดียวกัน และในเมื่อ “ไทย” เองก็เป็นสิ่งที่<br />

ประกอบสร้างขึ้น แต่ทำาไม “ลาว” จึงถูกมองว่าเป็นสิ่งที่จริงแท้กว่าไทย เพราะหาก<br />

ไม่มีไทยก็ต้องไม่มีลาว ด้วยตรรกะในช่วงเวลาเดียวกัน หรือหากจะมีลาวก็ต้อง<br />

ยอมรับว่า “ไทย” เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงไม่ต่างจากลาว รวมทั้งเหตุใดชนชั้นนำาสยามจึง<br />

ลบแค่ “ลาว” ชาติพันธุ์อื่น ๆ ทำาไมจึงไม่ถูกลบและดำารงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน<br />

ในบทความที่6ของหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนเสนอว่า ชนชั้นนำาสยามในตอน<br />

แรกพยายามจะสร้างรัฐสมัยใหม่ที่มีต้นแบบมาจากอาณานิคมของอังกฤษในอินเดีย<br />

(British Raj) ที่ปกครองคนหลากหลายหรือต่างชาติพันธุ์ให้สอดคล้องกับสภาพความ<br />

เป็นจริงของอาณาจักร โดยระบุว่าผู้คนเหล่านั้นเป็น “ชาติเดียวกัน” เพราะขึ้นกับ<br />

กษัตริย์องค์เดียวกัน อย่างไรก็ดี นโยบายนี้ได้เปลี่ยนไปสู่ “ชาติไทยเดียวกัน” เพื่อ<br />

ตอบโต้การที่ฝรั่งเศสอ้างความชอบธรรมในการรวม “ชาติลาว” โดยสยามได้เริ่มจัด<br />

คนหลากหลายชาติพันธุ์ในความเป็นจริง ให้กลายเป็นคน “ชนชาติไทย” ในลำาดับ<br />

ชั้นต่าง ๆ (class) และสร้างคำาอธิบายการหลอมกลืนชาติพันธุ์ผ่านการสมรสขึ้น และ<br />

แสดงออกเป็นรูปธรรมผ่านการจดสำามะโนครัวประชากร โดยในบทความผู้เขียนมุ่ง<br />

ศึกษาการกลืนชาวมลายู (มลายู) ที่สยามไม่เคยมองว่าเป็น “ไทยด้วยกัน” จึงต้อง<br />

อธิบายความชอบธรรมผ่านการสมรส ซึ่งจะต่างจาก “ลาว” “ไทใหญ่” หรือ “ฉาน”<br />

ที่สยามมองว่าเป็นไทยด้วยกัน กระบวนการกลืนหรือสร้างชาติไทยในคนสองกลุ่มนี้<br />

จึงต่างกัน<br />

แพรทริค โจรี ได้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากบทความของผู้เขียน (ที่กล่าวเฉพาะ<br />

ในช่วงศตวรรษที่ 19) ในบทความที่7ของหนังสือเล่มนี้ ว่ารัฐไทยได้เปลี่ยนแปลง<br />

คนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้กลายเป็น “ไทยมุสลิม” ได้อย่างไร<br />

31


“ภายใต้นโยบายผสมกลมกลืนเพื่อการบูรณาการแห่งชาติ (national integration)<br />

ของไทย ซึ่งเริ่มต้นขึ ้นในยุคสมัยจอมพล ป. มาจนถึงทศวรรษ 1990 อัตลักษณ์<br />

ทางชาติพันธุ์ของชาวมลายูทั้งในทางภาษา การแต่งกาย การศึกษา ประวัติศาสตร์<br />

และวัฒนธรรมต่าง ๆ ถูกควบคุมจากรัฐอย่างเคร่งครัด โดยรัฐบาลได้พยายามแทนที่<br />

อัตลักษณ์เหล่านั้นด้วยภาพลักษณ์ทางศาสนาคือ การเป็น “ไทยมุสลิม” หรือ<br />

“ไทยอิสลาม” ด้วยหวังว่าการเปลี่ยนแปลงชื่อนามทางภาษาจะนำามาซึ่งความ<br />

สำาเร็จของนโยบายผสมกลมกลืน ดังนั้น นับตั้งแต่รัฐบาลสมัยจอมพล ป. เป็นต้น<br />

มา ต่างก็ถือว่าอดีตชาว “มลายูปาตานี” ภายในรัฐไทยจะมีเพียงอัตลักษณ์อย่าง<br />

เป็นทางการในฐานะของ “ไทยมุสลิม” เท่านั้น”<br />

อย่างไรก็ดี แม้ผู้เขียนจะไม่เห็นด้วยกับสเตร็คฟัสกับสิ่งที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่19<br />

แต่ผลลัพธ์ของการบูรณาการชาติและการลบชาติพันธุ์ต่าง ๆ ก็ได้สร้างความขัดแย้ง<br />

และความไม่พอใจจาก “ความเป็นไทยและความไม่เป็นไทย” ที่ดำารงอยู่คู่กัน สมชัย<br />

ภัทรธนานันท์ ได้เขียนเรื่อง “การสร้างรัฐประชาชาติไทยกับการต่อสู้ด้วยอาวุธของ<br />

ชาวนาอีสาน: กรณีบ้านนาบัว จังหวัดนครพนม” อันเป็นบทความที่8<strong>ในหนังสือ</strong><br />

เล่มนี้สมชัยได้เสนอ ความไม่สมำ่าเสมอของการสร้างรัฐประชาชาติตั้งแต่ช่วงศตวรรษ<br />

ที่ 19 จนมาถึงปัญหาความขัดแย้งที่เกิดในช่วงสงครามเย็น (cold war)ที่เป็นปม<br />

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวนาบัวกับทางการไทย ในการ “ให้ความช่วยเหลือหรือ<br />

การต่อต้านขบวนการประเทดลาว” โดยฝ่ายชาวนาบัวเห็นว่าการเข้าร่วมกับขบวนการ<br />

ประเทดลาวเป็นการปฏิบัติการช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติเพื่อกอบกู้มาตุภูมิ ขณะที่ทาง<br />

การไทยเห็นว่าการช่วยเหลือขบวนการดังกล่าวเป็นกบฏแบ่งแยกดินแดน<br />

ในประเด็นนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่า การสร้าง “ชาติไทย” ในศตวรรษที่ 19 ก็ได้<br />

หว่านเมล็ดพันธุ์ของ “กลุ่มชาตินิยมลาว” ในพื้นที่ทางเหนือและอีสานของไทย พอ ๆ<br />

กับที่ “ความเป็นลาว” ถูกลบ ดังที่ธเนศ วงศ์ยานนาวา กล่าวไว้ว่า “การสร้างชาติ<br />

(nation-building) ของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งสามารถนำาไปสู่การเกิดขึ้นของความเป็น<br />

ชาตินิยม (nationalism) ของอีกกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง” 86 กล่าวคือ หากมองอีกมุมหนึ่ง<br />

“ชาติพันธุ์ลาว” ก็เกิดจากกระบวนการสร้าง “ชาติไทย” นั้นเอง ทั้งนี้ ผู้เขียนไม่ได้<br />

หมายความว่า ความเป็นไทยและความเป็นลาว ไม่มีแก่นสารของความเป็นจริงเลย<br />

86<br />

ธเนศ วงศ์ยานนาวา, “ตาบอดคลำา “nation” ตะวันตก”, ใน เมื่อใดจึงเป็นชาติ, อ้างแล้ว, น. 28<br />

32


แต่การที่ความเป็นไทยและความเป็นลาว ซึ่งอาจเป็นเรื่องการแบ่งแยกทางวัฒนธรรม<br />

(สูง-ตำ่า) หรือทางการเมือง (รัฐหรือผู้ปกครอง) ถูกยกระดับขึ้นมาให้กลายเป็นการ<br />

แบ่งแยกของ “ชาติ” หรือ “ชาติพันธุ์” ก็ตกอยู่ใต้กระบวนการสร้างชาติ (nationbuilding)<br />

ไม่ต่างกัน<br />

บทความสุดท้าย<strong>ในหนังสือ</strong>เล่มนี้ผู้เขียนได้พยายามสรุปว่า การนำาทฤษฎี<br />

ชาติที่พัฒนาขึ้นในโลกตะวันตก เมื่อมาปรับใช้กับกรณีของไทยหรือเอเชียตะวันออก­<br />

เฉียงใต้ภาคพื้นทวีปจะเกิดปัญหาเช่นไร ความสับสนระหว่างการศึกษาชาติพันธุ์ไทย<br />

กับชาติไทย ความคลุมเครือระหว่างการศึกษา nation history กับ history of nation<br />

รวมไปถึงปัญหาการสร้างเค้าโครงการเขียนประวัติศาสตร์ชาติในภูมิภาคนี้ที่พื้นที่<br />

อาณาเขตหรือดินแดนไม่ชัดเจน ทั้งนี้ ผู้เขียนไม่ได้มีทางออกของปัญหาที่ชัดเจนเพียง<br />

แต่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่มักถูกละเลยหรือมองข้ามไปในการศึกษา“ชาติไทย” ที่ผ่านมา<br />

5. สรุป<br />

ข้อถกเถียงว่า “เมื่อใดจึงเป็น(รัฐ)ชาติไทย” แท้จริงเป็นข้อถกเถียงที่ดำาเนินต่อ<br />

มาจาก ข้อถกเถียงว่ารัฐไทยก่อนศตวรรษที่ 19 เป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือไม่<br />

ซึ่งได้ข้อยุติร่วมกันแล้วในหมู่นักวิชาการว่าก่อนศตวรรษที่ 19 รัฐไทยไม่ได้เป็นรัฐ<br />

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่เป็นรัฐในรูปแบบใดนั้นยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเช่นกัน<br />

ข้อสรุปดังกล่าวนำามาสู่ปัญหาว่า แล้วในช่วงศตวรรษที่ 19 รัฐไทยเป็น “รัฐชาติ”<br />

หรือไม่ โดยกลุ่มแรกมองว่า ในช่วงศตวรรษที่ 19 เป็นรัฐชาติแล้ว ผ่านการให้เหตุผล<br />

ที่ต่างกัน (ถึงขั้นหักล้างกันเอง) เช่น เพราะมีการรวมศูนย์อำานาจและยกเลิกระบบ<br />

ไพร่ทาส เพราะมีการสร้างคำาอธิบายในเรื่องชาติแบบของไทยแล้ว เพราะเกิดสิ่งที่<br />

เรียกว่า “พลเมือง” ขึ้นแล้ว เพราะรัฐได้สร้างความเป็นอื่นขึ้นมาได้แล้ว หรือเพราะ<br />

ประชาชนต้องสัมผัสกับอธิปไตยของรัฐโดยตรงไม่ผ่านตัวกลางหรือเจ้านายในระบบ<br />

เก่าแล้ว เป็นต้น<br />

ส่วนกลุ่มที่เห็นว่ารัฐชาติไทยนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องหลังจากการอภิวัฒน์สยาม<br />

ค.ศ. 1932 เป็นอย่างน้อย ได้ให้เหตุผลว่า การจะเป็นรัฐชาติได้ ต้องเป็น “ประชา­<br />

ชาติ” คือต้องสร้างสำานึกของประชาชนให้ยึดโยงกับ “ชาติ” ให้ได้เสียก่อน ซึ่งอย่าง<br />

น้อย ๆ ก็ต้องมีระบบการศึกษา การคมนาคม เทคโนโลยี หรือการควบคุมจากรัฐที่<br />

33


เพียงพอเสียก่อน ซึ่งในศตวรรษที่ 19 รัฐไทยไม่ได้มีความสามารถเพียงพอที่จะทำา<br />

เช่นนั้น<br />

จากการวิเคราะห์ของผู ้เขียนพบว่า ทั้งสองกลุ่มมีแนวทางการวิเคราะห์และ<br />

สาขาวิชา (discipline) ที่ต่างกัน โดยในกลุ่มแรกส่วนมากเป็นนักประวัติศาสตร์และ<br />

นักมนุษยศาสตร์ โดยได้มองรัฐใน 2 รูปแบบ คือ รัฐจารีตและรัฐชาติ ส่วนในกลุ่ม<br />

ที่ 2 ส่วนมากจะเป็นนักรัฐศาสตร์ ที่มองรัฐในหลายรูปแบบเช่น รัฐจารีต รัฐศักดินา<br />

รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือรัฐชาติ เป็นต้น โดยได้แยกการพัฒนาของ “รัฐ”<br />

และ “ชาติ” ออกจากกัน<br />

“เมื่อใดจึงเป็น(รัฐ)ชาติไทย” จึงเป็นข้อถกเถียงที่ดำาเนินมากว่า 50 ปี และ<br />

คาดว่ายังคงเป็นข้อถกเถียงที่เข้มข้นต่อไปไม่น้อยกว่าทศวรรษ บทความนี้จึงมุ่ง<br />

ทำาการจัดประเภท (classify) และสรุปข้อเสนอของนักวิชาการแต่ละท่านให้ชัดเจน<br />

(clarify) เพื่อเป็นข้อแนะนำา (guideline) สำาหรับผู้สนใจศึกษาเรื่อง “(รัฐ)ชาติ” ไทย<br />

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยเพิ่มความเข้าใจและขยายมุมมอง<br />

ในการมอง ในการศึกษาเรื่อง “(รัฐ)ชาติไทย” ที่มีความซับซ้อน ยุ่งเหยิง และวุ่นวาย<br />

(chaos) จากทั้งสาขาวิชา ทฤษฎี ระเบียบวิธี และกรอบวิธีการศึกษา ยังไม่รวม<br />

อุดมการณ์และอคติทางการเมืองของนักวิชาการแต่ละท่าน อย่างไรก็ดี “ชาติ” นั้นเป็น<br />

สิ่งที่น่าหลงใหลและน่าเบื่อ และไม่ว่าจะรักหรือจะชัง คุณก็ไม่สามารถหนีมันไปได้<br />

34


บรรณำนุกรม<br />

กุลลดา เกษบุญชู มี้ด, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์: วิวัฒนาการรัฐไทย, แปลโดย อาทิตย์<br />

เจียมรัตตัญญู. (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2562).<br />

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำาแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น,<br />

(กรุงเทพฯ: Illuminations Editions, 2561).<br />

เกษม ศิริสัมพันธ์ และนิออน สนิทวงศ์, “แนวพระราชดำาริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระ­<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สังคมศาสตร์ปริทัศน์, ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (ธันวาคม 2510 ถึง กุมภาพันธ์<br />

2511).<br />

จักรกริช สังขมณี, Limology ชายแดนศึกษากับเขต-ขันธ์วิทยาของพื้นที่ใน/ระหว่าง (กรุงเทพฯ:<br />

ศยาม, 2561).<br />

ชาตรี ประกิตนนทการ, “การประกอบสร้างศิลปะไทยฉบับทางการ ประวัติศาสตร์ศิลปะ กับการก่อ<br />

ร่างสร้างชาติ พ.ศ. 2408–2525” (วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์<br />

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สิงหาคม พ.ศ. 2561).<br />

ไชยันต์ รัชชกูล, อาณานิคมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การก่อรูปรัฐไทยสมัยใหม่จากศักดินานิยมสู่<br />

ทุนนิยมรอบนอก, แปลโดย พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์, (กรุงเทพฯ: อ่าน, 2560).<br />

ฐนพงศ์ ลือขจรชัย, เสียดินแดนมลายู ประวัติศาสตร์ชาติ ฉบับ Plot twist (กรุงเทพฯ: มติชน,<br />

2562).<br />

ธงชัย วินิจจะกูล, กำาเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ, แปลโดย พวงทอง<br />

ภวัครพันธุ์, ไอดา อรุณวงศ์ และพงษ์เลิศ พงษ์-วนานต์ (กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ ร่วม<br />

กับ สำานักพิมพ์อ่าน, 2556).<br />

ธงชัย วินิจจะกูล, โฉมหน้าราชาชาตินิยม (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2559).<br />

ธงชัย วินิจจะกูล, ออกนอกขนบประวัติศาสตร์ไทย (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2562).<br />

ธงชัย วินิจจะกูล “วิจารณ์ ชุมชนจินตกรรม Imagined Communities ของเบ็น แอนเดอร์สัน” ใน<br />

วารสารอ่าน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (เมษายน-กันยายน, 2552).<br />

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, “แนวคิดชาติบ้านเมือง: กำาเนิด พัฒนาการ และอำานาจการเมือง,” วารสาร<br />

ธรรมศาสตร์ ปีที่ 27 ฉ. 2 (มิถุนายน 2549): 2–41.<br />

นิธิ เอียวศรีวงศ์, “มุมมองประวัติศาสตร์และสังคม” ใน ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. ความเป็นมาของ<br />

ทฤษฎี แบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย. (กรุงเทพฯ: โครงการเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา<br />

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555).<br />

นิธิ เอียวศรีวงศ์, ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการณ์<br />

จิตสำานึก, [พิมพ์ครั้งที่ 3], (กรุงเทพฯ:มติชน, 2557).<br />

พิพัฒน์ พสุธารชาติ (บรรณาธิการ). เมื่อใดจึงเป็นชาติ. กรุงเทพฯ: Illuminations Editions. 2562.<br />

เบน แอนเดอร์สัน, ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำาเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม,<br />

บรรณาธิการแปลโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (2552; ฉบับพิมพ์ซำ้า, กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการ<br />

35


ตำาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2557).<br />

เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน, “ศึกษารัฐไทย วิพากษ์ไทยศึกษา”, แปลโดย ดาริน อินทร์เหมือน, ใน<br />

เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน, ศึกษารัฐไทย ย้อนสภาวะไทยศึกษา, (กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2558).<br />

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, อัตลักษณ์เอกสาร วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทย (เชียงใหม่:<br />

ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561).<br />

ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน,<br />

2542)<br />

สมเกียรติ วันทะนะ, “เมืองไทยยุคใหม่ สัมพันธภาพระหว่างรัฐกับประวัติศาสตร์สำานึก”, ใน อยู่เมือง<br />

ไทย: รวมบทความทางสังคมการเมืองเพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในโอกาส<br />

อายุครบ 60 ปี, บรรณาธิการโดย สมบัติ จันทรวงศ์ และชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (กรุงเทพฯ:<br />

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530).<br />

สุเนตร ชุตินธรานนท์ และรัตนพร พวงพัฒน์, “อุษาคเนย์: พลวัตการรับรู้จากอดีตถึงปัจจุบัน”, ใน<br />

สุเนตร ชุตินธรานนท์ และคณะ, ชาตินิยมในแบบเรียนไทย, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2552).<br />

Marco Antonsich, On territory, the nation-state and the crisis of the hyphen, Progress<br />

in Human Geography (2009), Volume: 33 issue: 6, page(s): 789–806.<br />

Maurizio Peleggi, Lords of Things: The Fashioning of the Siamese Monarchy’s Modern Image<br />

(Hawaii, USA: University of Hawaii Press, 2002).<br />

Noboru Ishikawa. Between frontiers: nation and identity in a Southeast Asian borderland<br />

(Athens: Ohio University Press, 2010).<br />

Rod Hague and Martin Harrop, Comparative Government and Politics (Basingstoke,<br />

United Kingdom: Palgrave Macmillan, 1998).<br />

แหล่งอ้างอิงออนไลน์<br />

การเสวนาหัวข้อ “รัฐ” กับการศึกษารัฐไทย ตั้งข้อสังเกตต่อแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ รวม<br />

ทั้งการศึกษาเกี่ยวกับ “รัฐไทย” โดยเป็นการเสวนาวิชาการชุด “สะท้อนย้อนคิดสังคมศาสตร์<br />

ศาสตร์สังคม” ครั้งที่ 1 ตอน “รัฐ” กับการศึกษารัฐไทย วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้อง<br />

ประชุมสีฟ้า ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์—“ช่วงอภิปรายถาม-ตอบ<br />

| “รัฐ” กับการศึกษารัฐไทย [4] จบ” (นาทีที่ 28–36)—https://www.youtube.com/<br />

watch?v=G_w5o0xZmG8&t=1987s<br />

กุลลดา เกษบุญชู มี้ด: “รัฐ” กับการศึกษารัฐไทย: ไชยันต์ รัชชกูล | กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด |<br />

วรเจตน์ ภาคีรัตน์—https://prachatai.com/journal/2018/02/75576 (สืบค้นเมื่อ 25<br />

พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)<br />

เกษียร เตชะพีระ, “ปริศนาแห่งการปฏิวัติ 2475 (ตอนต้น): ว่าด้วยความเลี่ยงไม่ได้”—https://<br />

www.matichonweekly.com/featured/article_46206 (9 ธันวาคม พ.ศ. 2562)<br />

36


ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, “ประวัติศาสตร์สอนอะไร”—https://www.the101.world/thanet72-<br />

speech/ (สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)<br />

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ‘เก่งกิจ-ธเนศ’ ถกหนังสือ ‘แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำาแผนที่<br />

หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น’—https://prachatai.com/journal/2018/04/76515 (สืบค้น<br />

เมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562)<br />

นิธิ เอียวศรีวงศ์, “รัฐราชการ(1)”—https://www.matichon.co.th/columnists/news_604174<br />

(สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)<br />

37

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!