15.01.2015 Views

TNSC Newsletter : April 2013 Vol.8

TNSC Newsletter : April 2013 Vol.8

TNSC Newsletter : April 2013 Vol.8

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

<strong>Newsletter</strong><br />

Volume 8 l <strong>April</strong> <strong>2013</strong> l www.tnsc.com<br />

ที่มา : http://sustainable-graphic-design.blogspot.com/2011/07/materials-life-cycle-assessment-in.html<br />

สภาผู้ส่งออกฯ :<br />

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)<br />

(Thai Nationai Shipper’s Council)<br />

1168/9 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 32 โซน C ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120<br />

1168/9 Zone C, Lumpini Tower Bldg., 32 Fl., RAMA IV Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120<br />

Tel : (662) 679-7555 • Fax : (662) 679-7500-2 • Email : tnsc_crm@tnsc.com


2<br />

Volume 8 l <strong>April</strong> <strong>2013</strong><br />

สาส์นจากบรรณาธิการ<br />

สวัสดีท่านสมาชิกสภาผู้ส่งออกฯ<br />

ผ่านไปอย่างรวดเร็วกับไตรมาสแรกของปี 2556 ก้าวสู่<br />

เดือนเมษายนที่ได้เรียกได้ว่าเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด อีกทั้ง<br />

ยังเป็นเดือนที่มีเทศกาลสำคัญนั่นคือ เทศกาลสงกรานต์ ซึ่ง<br />

ถือประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของคนไทยเป็นช่วงวัน<br />

หยุดประจำปีติดต่อกันยาวที่สุดของปีอีกด้วย<br />

<strong>Newsletter</strong> ฉบับนี้มีบทความดีๆ เกี่ยวกับมาตราฐาน<br />

อาหารไทยสู่ประเทศเยอรมันและการประเมินวัฎจักรชีวิต<br />

ผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) เพื่อใช้รับมือ<br />

มาตราการใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมที่จะมีกระทบต่อการส่งออก<br />

ไทย บทความทั้ง 2 เรื่อง น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับธุรกิจของท่าน<br />

มากน้อยแค่ไหน สามารถติดตามอ่านได้ใน EXPORT CORNER<br />

และ LOGISTICS AND SUPPLY CHAIN INNOVATION ใน<br />

<strong>Newsletter</strong> ฉบับนี้<br />

สภาผู้ส่งออกฯ หวังเป็นอย่างยิ่งในการเป็นองค์กรที่ช่วย<br />

ผลักดันความรู้พร้อมให้คำปรึกษาและการพัฒนาด้านต่างๆ<br />

อันเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของท่านต่อไป<br />

คณะผู้จัดทำ<br />

คุณคงฤทธิ์ จันทริก<br />

ผู้อำนวยการบริหาร<br />

คุณพรทิพย์ ไทยภักดี<br />

ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและบริหารสำนักงาน<br />

คุณกฤชทัต วัฒนาสุนทรชัย<br />

ผู้จัดการฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร<br />

คุณอัญชลี เกิดเงิน<br />

ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาองค์ความรู้<br />

คุณฐิติพร ชื่นธีระวงศ์<br />

ผู้จัดการฝ่ายโลจิสติกส์และอำนวยความสะดวกทางการค้า<br />

คุณปนัดดา อ่อนน้อม<br />

ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการส่งออก<br />

คุณสุกัญญา วัชระสุขโพธิ์<br />

ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร<br />

สำหรับท่านที่สนใจลงโฆษณา ประชาสัมพันธ์องค์กร<br />

กรุณาติดต่อที่ ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร<br />

สภาผู้ส่งออกฯ: สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย<br />

โทร : 02-679-7555 ต่อ 500-1<br />

บรรณาธิการ<br />

<strong>TNSC</strong> KNOWLEDGE CENTER<br />

à ความรู้ / คำศัพท์เกี่ยวกับ ASEAN<br />

AEC Blueprint:<br />

ASEAN Economic Community Blueprint<br />

หรือ พิมพ์เขียว AEC<br />

แนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ<br />

1.)การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน<br />

2.)การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง<br />

3.)การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน<br />

4.)การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก<br />

AEC Scorecard:<br />

ASEAN Economic Community Scorecard<br />

แผนงานและกลไกติดตามการดำเนินงาน (Monitoring Mechanism) เพื่อไป<br />

สู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะวัดผลการดำเนินงานตาม AEC<br />

Blueprint เป็นรายสาขาทั้งในระดับภูมิภาคและรายประเทศ<br />

AEM:<br />

ASEAN Economic Ministers<br />

รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจะมีการประชุมเป็นประจำทุกปีโดยแต่ละ<br />

ประเทศสมาชิกอาเซียนจะเวียนกันเป็นเจ้าภาพการประชุมตามลำดับอักษร<br />

เพื่อวางนโยบายและกำหนดแนวทางในการขยายขอบเขตความร่วมมือด้าน<br />

เศรษฐกิจของอาเซียน<br />

AFAS:<br />

ASEAN Framework Agreement on Services<br />

กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความ<br />

ร่วมมือด้านบริการและเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน<br />

ให้มากขึ้นกว่าการเปิดเสรีใน WTO ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนมีมติที่จะเปิดตลาดการ<br />

ค้าบริการทุกสาขาบริการจนบรรลุเป้าหมายภายในปี 2015 (พ.ศ. 2558) โดย<br />

สมาชิกยังมีสิทธิ์ในการกำกับดูแลการค้าบริการ โดยสามารถใช้กฎระเบียบที่<br />

ไม่เลือกปฏิบัติหรือกฎระเบียบที่ใช้บังคับกับทั้งคนต่างชาติและคนชาติตน<br />

AFTA :<br />

ASEAN Free Trade Area<br />

เขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า ซึ่งสมาชิกอาเซียนร่วมกันจัดตั้งขึ้น<br />

เพื่อเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันโดยการขจัดอุปสรรคทางการค้า ทั้งเป็น<br />

มาตรการภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี เพื่อมุ่งให้การค้าระหว่างกันขยายตัว<br />

ปัจจุบันอัตราภาษีภายใต้อาฟต้าของประเทศสมาชิกอาเซียน ส่วนใหญ่<br />

อยู่ที่ร้อยละ 0-5 แล้ว โดยสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย<br />

อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไนฯ) จะลดภาษีสินค้าในบัญชีลดภาษี<br />

ทุกรายการเป็นร้อยละ 0 ในปี พ.ศ. 2553 และสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ<br />

(CLMV : กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ในปี พ.ศ. 2558<br />

<strong>TNSC</strong> Recruitment<br />

Training Executive 1 ตำแหน่ง<br />

Secretary<br />

1 ตำแหน่ง<br />

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามที่คุณพรทิพย์ โทร 02-679-7555 ต่อ 600<br />

หรือ http://www.tnsc.com/html/content/view/667/230/


<strong>TNSC</strong> NEWS<br />

สัมมนาหัวข้อ<br />

“ติดอาวุธผู้ประกอบการไทย<br />

เพื่อก้าวที่มั่นคงสู่ AEC”<br />

ณ จังหวัดชลบุรี<br />

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556 ดร.พิฑูร<br />

ตรีวิจิตรเกษม รองประธานสภาผู้ส่ง<br />

ออกฯ เป็นประธานกล่าวต้อนรับและ<br />

เปิดการสัมมนา “ติดอาวุธผู้ประกอบ<br />

การไทยเพื่อก้าวที่มั่นคงสู่ AEC” โดย<br />

ความร่วมมือระหว่าง สภาผู้ส่งออกฯ และ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ<br />

โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมการ<br />

ค้าต่างประเทศ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี กรมส่งเสริม<br />

อุตสาหกรรม กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ<br />

ณ ห้องระยอง โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน อำเภอสัตหีบ<br />

จ.ชลบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนากว่า 150 ท่าน<br />

CSCMP Thailand Roundtable จัดสัมมนาหัวข้อ<br />

“Future Value Chain 2020”<br />

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556 CSCMP Thailand Roundtable ร่วมกับ สภาผู้<br />

ส่งออกฯ และ สถาบันโซ่วิทยาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดสัมมนาหัวข้อ<br />

“Future Value Chain 2020” โดยได้รับเกียรติจาก คุณเตชะ บุณยะชัย รอง<br />

ประธานสภาผู้ส่งออกฯ และคุณคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหารสภาผู้ส่ง<br />

ออกฯ เป็นวิทยากรบรรยาย ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งออกฯ โดยมีผู้เข้า<br />

ร่วมสัมมนาทั้งสิ้น 22 ท่าน<br />

ศึกษาดูงานเยี่ยมชม Toyota บ้านโพธิ์<br />

เมื่อวันอังคารที่ 19 มีนาคม 2556 สภาผู้ส่งออกฯ ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน<br />

โรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้า (บ้านโพธิ์) จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีสมาชิก<br />

สภาผู้ส่งออกฯ และผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น จ ำนวน 8 บริษัท 26 ท่าน<br />

กิจกรรมพบปะสมาชิกและ Orientation ครั้งที่ 1/2556<br />

เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มีนาคม 2556 คุณสมชัย ธนสารศิลป์ กรรมการสภาผู้ส่ง<br />

ออกฯ และ คุณคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อ ำนวยการบริหาร ได้ให้การต้อนรับและร่วม<br />

แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับสมาชิกในกิจกรรมพบปะสมาชิกและ Orientation ครั้ง<br />

ที่ 1/2556 ณ ห้องประชุมสภาผู้ส่งออกฯ และในช่วงบ่ายได้น ำคณะสมาชิกเข้า<br />

รับฟังการบรรยายและเยี่ยมชมท่าเรือกรุงเทพ โดยมีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรม<br />

จำนวน 4 บริษัท รวมทั้งสิ้น 8 ท่าน<br />

สัมมนาหัวข้อ “The 4th Thai Food Safety Management”<br />

เมื่อวันที่ 25-27 มีนาคม 2556 สภาผู้ส่งออกฯ ร่วมกับคณะประมง<br />

ม.เกษตรศาสตร์ Tokyo University of Marine Science and Technology<br />

และสถาบันอาหาร ได้จัดการอบรมหัวข้อ “The 4th Thai Food Safety<br />

Management” และมีการนำเสนอการบรรยายจากวิทยากรจากสถาบันอาหาร<br />

/ Ajinomoto General Food Co., Ltd. / คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

/ IE Technology Co., Ltd./ Tokyo University of Marine Science &<br />

Technology ณ ห้อง 303 ชั้น 3 อาคารบุญอินทรัมพรรย์ คณะประมง<br />

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 31 ท่าน<br />

CSCMP Thailand Roundtable จัดสัมมนาหัวข้อ<br />

“Logistics Standardization”<br />

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 CSCMP Thailand Roundtable ร่วมกับ<br />

สภาผู้ส่งออกฯ และ สถาบันโซ่วิทยาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดสัมมนา<br />

หัวข้อ “Logistics Standardization” โดยได้รับเกียรติจาก คุณนพพร เทพสิทธา<br />

ประธาน CSCMP Thailand Roundtable และรองประธานสภาผู้ส่งออกฯ ร่วม<br />

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและสมาชิก CSCMP ณ ห้องประชุม 1<br />

สภาผู้ส่งออกฯ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น 20 ท่าน<br />

Volume 8 l <strong>April</strong> <strong>2013</strong><br />

3


EXPORT CORNER<br />

มาตรฐานด้านความปลอดภัย<br />

สินค้าอาหารส่งออกไปยังสหภาพยุโรป<br />

อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมสำคัญ<br />

ที่มีศักยภาพทั้งภาคการผลิตและส่งออก<br />

ของไทยเนื่องจากมีความพร้อมด้านวัตถุดิบ<br />

ที่หลากหลาย เทคโนโลยีอันทันสมัย ความ<br />

ชำนาญในการผลิต รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญ<br />

ด้านอาหารและแรงงานคุณภาพทำให้ไทย<br />

มีวิสัยทัศน์ในการสร้างอุตสาหกรรมอาหาร<br />

ให้เป็นครัวโลก ภายใต้แนวคิดของ “ครัว<br />

ไทยสู่ครัวโลก เมื่อพิจารณาถึงตลาดสำคัญ<br />

ของสินค้าอาหาร ตลาดสหภาพยุโรป<br />

นับเป็นตลาดที่ไทยมีการส่งออกสินค้า<br />

ประเภทอาหารไปเป็นจำนวนมาก และเป็น<br />

ระยะเวลานาน อย่างไรก็ตามสินค้าอาหาร<br />

ของไทยต้องเผชิญกับกฎระเบียบทางการ<br />

ค้าที่มีความเข้มข้น แม้ว่าผู้ประกอบการ<br />

ไทยจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและ<br />

คุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนอง<br />

ความต้องการของผู้บริโภคในสหภาพยุโรป<br />

แต่ผู้ประกอบการไทยยังประสบปัญหากับ<br />

สินค้าอาหารบางประเภท<br />

ในเรื่องของมาตรการสุขอนามัยและความ<br />

ปลอดภัยด้านอาหาร มีการตรวจสอบสินค้า<br />

ผักผลไม้สดจากไทยโดยเน้นเรื่องปริมาณ<br />

สารพิษหรือยาฆ่าแมลงตกค้างและเชื้อ<br />

จุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ในผักผล<br />

ไม้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภครวมถึง<br />

การตรวจโรคพืชและแมลงศัตรูพืชที่อาจ<br />

ติดมากับผักผลไม้ไทยเพื่อป้องกันการแพร่<br />

ขยายพันธุ์ในสหภาพยุโรป โดยปัญหาหลัก<br />

ที่ผู้ประกอบการเผชิญเมื่อส่งออกสินค้าผัก<br />

ผลไม้ไปยังสหภาพยุโรปคือการตรวจพบ<br />

สารตกค้างจากยาฆ่าแมลงในระดับที่เกิน<br />

กำหนดและใช้ยาฆ่าแมลงชนิดต้องห้าม<br />

ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป<br />

จากปัญหาดังกล่าวทางกระทรวงการต่าง<br />

ประเทศจึงจัดให้มีการประชุมแลกเปลี่ยน<br />

ข้อคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย<br />

และมาตรฐานอาหารจากเยอรมนี จากการ<br />

ประชุมดังกล่าวผู้แทนฝ่ายยุโรปจากประเทศ<br />

เยอรมนีได้เสนอให้ไทยกระตุ้นเกษตรกรให้<br />

ตระหนักถึงความสำคัญของอันตรายจาก<br />

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อหลีกเลี่ยง<br />

ปัญหาการตรวจพบสารตกค้างในสินค้าพืช<br />

ผัก ผลไม้ส่งออกที่มีค่าเกินมาตรฐาน MRLs<br />

ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป นอกจากนี้<br />

ยังต้องการให้ไทยยกระดับมาตรฐานอาหาร<br />

ที่บริโภคในประเทศและอาหารส่งออกให้อยู่<br />

ภายใต้มาตรฐานการผลิตเดียวกัน และเรียก<br />

ร้องให้ฝ่ายไทยเห็นความสำคัญและพัฒนา<br />

ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ใน<br />

สินค้าเกษตรให้เป็นผลในทางปฏิบัติมาก<br />

ขึ้น รวมถึงเสนอให้ไทยจัดตั้งห้องปฏิบัติการ<br />

ทดสอบสินค้าอาหารให้ได้มาตรฐานเดียว<br />

กับสหภาพยุโรป เพื่อเป็นเครื่องมือในการ<br />

ควบคุมและเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้<br />

บริโภคในสหภาพยุโรป<br />

ในส่วนของประเทศไทยได้ให้ความสำคัญ<br />

และมีการจัดตั้งมาตรฐานความปลอดภัย<br />

ด้านอาหาร Thai GAP ซึ่งเป็นมาตรฐาน<br />

คุณภาพในการจัดการผักและผลไม้ที่คำนึง<br />

ถึงความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและการใช้<br />

สารเคมีอย่างถูกต้องของเกษตรกรและสิ่ง<br />

แวดล้อมในการผลิต ซึ่งได้รับการรับรองให้<br />

มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐาน Global GAP<br />

แต่มาตรฐานดังกล่าวยังคงเป็นมาตรฐานที่<br />

เกษตรกรเลือกปฏิบัติได้ตามความสมัครใจ<br />

ไม่ได้เป็นมาตรฐานบังคับใช้โดยภาครัฐ<br />

ดังนั้นการเข้ามามีบทบาทร่วมของเกษตรกร<br />

และผู้ประกอบการทั้งห่วงโซ่อุปทานในการ<br />

พัฒนาคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย<br />

ในสินค้าอาหารส่งออกทั้งระบบ จะช่วยให้<br />

ปัญหามาตรฐานอาหารส่งออกของไทยลดลง<br />

ไม่เพียงแต่การส่งเสริมมาตรฐานความ<br />

ปลอดภัยสินค้าอาหารภายในประเทศเท่านั้น<br />

แต่ควรร่วมส่งเสริมการกำหนดมาตรฐาน<br />

ของประเทศสมาชิกในอาเซียนเพื่อให้ทุก<br />

ประเทศมีมาตรฐานความปลอดภัยเดียวกัน<br />

เพราะหากเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนแล้ว<br />

นั้นวัตถุดิบที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย<br />

จะถูกส่งเข้ามาในไทย ซึ่งเป็นการทำลาย<br />

มาตรฐานการผลิตทั้งระบบ แต่หากเรายก<br />

ระดับมาตรฐานและความปลอดภัยทั้งกลุ่ม<br />

ประเทศอาเซียน ไทยจะได้ประโยชน์จากการ<br />

ใช้วัตถุดิบราคาถูกได้มาตรฐานจากประเทศ<br />

เพื่อนบ้าน เพื่อนำมาแปรรูปและเพิ่มมูลค่าใน<br />

การส่งออก ซึ่งนับเป็นการลดต้นทุนการผลิต<br />

ของสินค้าอาหารของไทย ในขณะที่สินค้ายัง<br />

คงได้มาตรฐาน เป็นอีกก้าวหนึ่งของการเป็น<br />

“ครัวไทยสู่ครัวโลก” ได้ในอนาคตอันใกล้<br />

4


อันดับที่ ประเทศ<br />

ทุกสินค้า<br />

มูลค่า : ล้านเหรียญ อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%)<br />

2553 2554 2555<br />

2555 2556<br />

(ม.ค.-ก.พ.) (ม.ค.-ก.พ.)<br />

2553 2554 2555<br />

2555 2556<br />

(ม.ค.-ก.พ.) (ม.ค.-ก.พ.)<br />

2553 2554 2555<br />

2555<br />

(ม.ค.-ก.พ.)<br />

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร<br />

สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทยรายประเทศ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556<br />

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร<br />

EXPORT CORNER<br />

ตลาดส่งออก 10 อันดับแรกของไทยรายประเทศ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556<br />

2556<br />

(ม.ค.-ก.พ.)<br />

1 จีน 21,473.19 26,250.82 26,899.67 3,994.43 4,429.95 33.21 22.25 2.47 1.60 10.90 11.11 11.79 11.72 11.49 12.24<br />

2 ญี่ปุ่น 20,308.29 23,870.31 23,479.88 3,515.83 3,618.78 29.16 17.54 -1.64 -7.99 2.93 10.51 10.72 10.23 10.11 10.00<br />

3 สหรัฐอเมริกา 20,200.45 21,783.78 22,785.90 3,363.22 3,606.71 21.24 7.84 4.60 0.26 7.24 10.45 9.79 9.93 9.67 9.96<br />

4 ฮ่องกง 11,248.93 11,952.54 13,097.10 1,945.25 2,014.66 18.61 6.25 9.58 6.09 3.57 5.82 5.37 5.71 5.59 5.57<br />

5 มาเลเซีย 10,566.59 12,399.00 12,426.08 2,019.27 1,965.02 37.89 17.34 0.22 7.27 -2.69 5.47 5.57 5.41 5.81 5.43<br />

6 อินโดนีเซีย 7,346.43 10,078.24 11,209.46 1,814.11 1,933.35 57.40 37.19 11.22 15.47 6.57 3.80 4.53 4.88 5.22 5.34<br />

7 สิงคโปร์ 8,993.87 11,423.30 10,835.68 1,577.78 1,723.74 18.75 27.01 -5.14 1.64 9.25 4.65 5.13 4.72 4.54 4.76<br />

8 ออสเตรเลีย 9,369.47 7,997.37 9,762.77 1,310.99 1,709.53 9.22 -14.64 22.07 -3.43 30.40 4.85 3.59 4.25 3.77 4.72<br />

9 เวียดนาม 5,845.45 7,059.49 6,687.80 922.45 985.88 24.94 20.77 -5.27 3.51 6.88 3.02 3.17 2.91 2.65 2.72<br />

10 อินเดีย 4,393.62 5,181.45 5,476.71 886.21 947.76 36.29 17.93 5.70 8.76 6.94 2.27 2.33 2.39 2.55 2.62<br />

รวม 10 รายการ 119,746.3 137,996.3 142,661.0 21,349.5 22,935.4 26.89 15.24 3.38 1.61 7.43 61.95 62.00 62.16 61.39 63.36<br />

รวมอื่นๆ 73,551.8 84,582.9 86,857.8 13,425.6 13,261.6 26.70 15.00 2.69 -0.58 -1.22 38.05 38.00 37.84 38.61 36.64<br />

รวมทุกประเทศ 193,298.14 222,579.16 229,518.80 34,775.13 36,196.93 26.81 15.15 3.12 0.76 4.09 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00<br />

มูลค่า : ล้านเหรียญ อัตราขยายตัว (%) สัดส่วน (%)<br />

อันดับที่ ชื่อสินค้า<br />

2553 2554 2555<br />

2555 2556<br />

(ม.ค.-ก.พ.) (ม.ค.-ก.พ.)<br />

2553 2554 2555<br />

2555 2556<br />

(ม.ค.-ก.พ.) (ม.ค.-ก.พ.)<br />

2553 2554 2555<br />

2555 2556<br />

(ม.ค.-ก.พ.) (ม.ค.-ก.พ.)<br />

1 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วน 17,712.3 16,984.6 22,912.6 3,019.0 3,819.5 59.27 -4.11 34.90 -8.93 26.52 9.16 7.63 9.98 8.68 10.55<br />

ประกอบ<br />

2 เครื่องคอมพิวเตอร์ 18,836.8 17,064.2 19,056.6 2,410.7 2,713.3 17.60 -9.41 11.68 -14.62 12.55 9.74 7.67 8.30 6.93 7.50<br />

อุปกรณ์และส่วนประกอบ<br />

3 น้ำมันสำเร็จรูป 7,797.4 10,091.9 12,901.9 2,099.6 1,850.8 23.78 29.43 27.84 109.54 -11.85 4.03 4.53 5.62 6.04 5.11<br />

4 เหล็ก เหล็กกล้าและ 4,647.2 4,989.4 7,047.2 763.6 1,676.7 -6.16 7.36 41.24 4.67 119.57 2.40 2.24 3.07 2.20 4.63<br />

ผลิตภัณฑ์<br />

5 ยางพารา 7,896.0 12,697.8 8,745.8 1,733.8 1,605.0 83.38 60.81 -31.12 -22.02 -7.43 4.08 5.70 3.81 4.99 4.43<br />

6 เม็ดพลาสติก 6,343.7 8,802.6 8,531.7 1,295.9 1,503.4 42.32 38.76 -3.08 -3.68 16.01 3.28 3.95 3.72 3.73 4.15<br />

7 เคมีภัณฑ์ 5,778.3 8,293.3 8,521.3 1,269.0 1,480.3 29.38 43.53 2.75 12.03 16.65 2.99 3.73 3.71 3.65 4.09<br />

8 ผลิตภัณฑ์ยาง 6,434.0 8,391.5 8,411.6 1,370.4 1,370.1 43.37 30.43 0.24 9.06 -0.02 3.33 3.77 3.66 3.94 3.79<br />

9 อัญมณีและเครื่องประดับ 11,651.8 12,301.1 13,147.6 2,675.5 1,053.9 19.37 5.57 6.88 26.04 -60.61 6.03 5.53 5.73 7.69 2.91<br />

10 เครื่องจักรกลและส่วน 4,879.4 6,114.8 6,239.5 962.2 1,032.8 46.72 25.32 2.04 8.98 7.33 2.52 2.75 2.72 2.77 2.85<br />

ประกอบของเครื่องจักรกล<br />

รวม 10 รายการ 91,976.8 105,731.3 115,515.6 17,599.7 18,105.7 32.93 14.95 9.25 4.55 2.88 47.58 47.50 50.33 50.61 50.02<br />

รวมอื่นๆ 101,321.3 116,847.8 114,003.2 17,175.4 18,091.2 21.73 15.32 -2.43 -2.86 5.33 52.42 52.50 49.67 49.39 49.98<br />

รวมทั้งสิ้น 193,298.1 222,579.2 229,518.8 34,775.1 36,196.9 26.81 15.15 3.12 0.76 4.09 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00<br />

Volume 8 l <strong>April</strong> <strong>2013</strong> 5


<strong>TNSC</strong> MOVEMENT<br />

Logistics and Supply Chain Innovation<br />

การประเมินวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA)<br />

เพื่อใช้รับมือมาตราการใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมที่จะมีกระทบต่อการส่งออกไทย<br />

ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดย<br />

จะเห็นได้ว่าประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้<br />

นำนโยบายทางภาษีเพื่อจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ<br />

คาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีการใช้มาตราการทางภาษีที่เรียกว่า Border Tax<br />

Adjustments มาใช้เป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะจากประเทศกำลังพัฒนาที่มี<br />

มาตรการต่างๆ ในการควบคุมการปล่อยก๊าซในระดับต่ำดังนั้น<br />

การประเมินวัฏจักชีวิตผลิตภัณฑ์<br />

(Life Cycle Assessment : LCA) คือ<br />

กระบวนการวิเคราะห์และประเมินค่าผลกระทบที่มีต่อสิ่ง<br />

แวดล้อมตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Cradle to<br />

Grave) โดยเริ่มตั้งแต่การสกัดหรือได้มาซึ่งวัตถุดิบ<br />

กระบวนการผลิต การขนส่งและการกระจายสินค้า การ<br />

ใช้ผลิตภัณฑ์<br />

2. การวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Inventory) เป็นการ<br />

เก็บรวบรวมและคำนวณข้อมูลที่ได้จากกระบวนการต่างๆ อย่างละเอียดตามที่<br />

กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 รวมถึงการสร้างผังของระบบผลิตภัณฑ์การค ำนวนหา<br />

ปริมาณ Input และปริมาณ Output ของผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาถึง ทรัพยากร<br />

และพลังงานที่ใช้หรือการปล่อยของเสียออกสู่อากาศ น้ ำและดิน<br />

3. การประเมินผลกระทบตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle<br />

Impact Assessment) เป็นการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของ<br />

ระบบผลิตภัณฑ์ จากข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปล่อยของเสียหรือ<br />

สารขาเข้าและขาออกที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 โดยมีการประเมินผลกระทบ<br />

ด้วยกันหลายแบบดังนี้<br />

••<br />

การจาแนกประเภท (Classification) คือการจาแนกกลุ่มผลกระทบเช่น<br />

การปล่อย CH4, CO2 กระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางด้าน Global Warming<br />

จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องทำความรู้จักกับมาตรการนี้เพื่อ<br />

เตรียมพร้อมในการรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสินค้าอุตสาหกรรม<br />

โดยกระบวนการส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็นที่ผู้ส่งออกไทยจะต้องทราบ เพื่อ<br />

เป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับมาตรการดังกล่าว คือ “การ<br />

ประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์” (Life Cycle Assessment : LCA)<br />

LCA ถูกนำมาใช้ทั่วโลกโดยรัฐบาลและองค์กรอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้รู้ถึง<br />

ความเป็นมาของผลกระทบสิ่งแวดล้อมในแต่ละกระบวนการที่เกี่ยวข้อง โดย<br />

ในการทำ LCA จะทำการรวบรวมและประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่<br />

เกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ บริการ การใช้งาน หรือกระบวนการที่<br />

เกี่ยวข้อง เพื่อนำผลที่ได้จาก LCA ไปปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์<br />

ตลอดจนก่อให้เกิดการจัดการขึ้นอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยใช้มุมมอง<br />

ทางสิ่งแวดล้อมมาสนับสนุนอีกทางหนึ่ง และเพื่อให้การดำเนินการของ LCA<br />

เป็นไปในทิศทางเดียวกันและง่ายต่อการศึกษา จึงได้ยึดขั้นตอนในการศึกษา<br />

ตามโครงสร้างของ ISO 14040 (1997E) ซึ่งสามารถแบ่งขั้นตอนการศึกษา<br />

ออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้<br />

1. การกำหนดเป้าหมายและขอบเขต (Goal and Scope) ประกอบด้วย การ<br />

กำหนดเป้าหมายและขอบเขตหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ (Product function)<br />

หน่วยการทำงาน (Functional unit) ขอบเขตระบบ (System boundary) และ<br />

ระบบผลิตภัณฑ์ (Product System) ขั้นตอนนี้มีอิทธิพลโดยตรงต่อทิศทางและ<br />

ความละเอียดในการศึกษา จึงนับว่าเป็นขั้นตอนที่มีความส ำคัญมาก โดยหาก<br />

กำหนดเป้าหมายและขอบเขตใม่ครอบคลุม จะทำให้การประเมินผิดพลาด<br />

••<br />

การกาหนดบทบาท (Characterization) คือการคานวณปริมาณผลกระ<br />

ทบการใช้ทรัพยากรในการผลิต หรือ NETS (Numerical Eco-load Total<br />

Standardization) โดยมนุษย์ 1 คน สามารถรับผลกระทบได้ 100 NETS<br />

ซึ่งการคานวญค่า NETS ทาได้โดยการนาปริมาณ Input และ Output ของ<br />

การผลิตคูณกับค่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาตรฐาน(Equivalence Factors<br />

(EF)) ของ input และ output ต่างๆ ซึ่งค่า NETS ใช้เป็นหน่วยในการ<br />

เปรียบเทียบผลกระทบ โดยขั้นตอนนี้เราสามารถใช้ Software ในการช่วย<br />

คานวญผลกระทบได้ ตัวอย่างเช่น โปรแกรม SimaPro<br />

••<br />

การเปรียบเทียบกับค่ามาตราฐานอ้างอิง(Normalization) โดยการนา<br />

ค่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์หารด้วยค่ามาตรฐานอ้างอิงของแต่ละ<br />

ประเทศ ถ้าได้น้อยกว่า 1 แสดงว่าค่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์มีค่าต่า<br />

กว่าค่ามาตราฐานอ้างอิง แต่ถ้าได้ค่ามากกว่า 1 แสดงว่าค่าผลกระทบ<br />

ของผลิตภัณฑ์มีค่าสูงกว่ากาหนด<br />

4. การแปลผล (Interpretation) เป็นการนำผลการศึกษามาวิเคราะห์เพื่อ<br />

สรุปผล พิจารณาข้อจำกัดการให้ข้อเสนอแนะที่มาจากผลการทำประเมิน<br />

วัฎจักรชีวิตหรือการวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อมและทำรายงาน<br />

สรุปการแปลผลการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขต<br />

ของการศึกษา<br />

6


<strong>TNSC</strong> MOVEMENT<br />

ตัวอย่างการวิเคราะห์<br />

ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการผลิตเมล็ดกาแฟคั่ว<br />

1. กำหนดเป้าหมายและขอบเขต<br />

ผลิตภัณฑ์ที่ศึกษา : เมล็ดกาแฟคั่ว<br />

กำหนดเป้าหมาย : เพื่อศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ<br />

การผลิตเมล็ดกาแฟคั่ว (Gate to Gate)<br />

หน่วยการทำงาน : ปริมาณ 1 ถุง ขนาด 250 กรัม<br />

2. การวิเคราะห์บัญชีรายการด้านสิ่งแวดล้อม<br />

(Life Cycle Inventory)<br />

Input (Ton/หน่วยการทำงาน)<br />

- ถุงอะลูมิเนียมฟรอยด์<br />

5x10 -5<br />

- ก๊าซหุงต้ม LPG<br />

การคั่วเมล็ดกาแฟ<br />

Output (มลพิษทางอากาศ)<br />

- CO2 4.78x10 -6<br />

- CH4 5.92x10 -9<br />

- N2O 2.78x10 -11<br />

3. การประเมินผลกระทบตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์<br />

(Life Cycle Impact Assessment)<br />

วัสด / มลพิษที่มีผล<br />

ต่อสิ่งแวดล้อม<br />

ปริมาณ<br />

(TON)<br />

EF<br />

(NETS/TON)<br />

ค่าผลกระทบ(NETS)<br />

= ปริมาณ x EF<br />

ถุงอลูมิเนียมฟรอยด์ 5x10 -5 2 1x10 -4<br />

ก๊าซหุงต้ม LPG 2.78x10 -6 5.68x101 1.58x10 -4<br />

ไฟฟ้า 7x10 -8 1.3x10 -16 8.91x10 -23<br />

มลพิษทางอากาศ<br />

CO2 4.78x10 -6 2.83x10 -1 1.35x10 -6<br />

CH4 5.92x10 -9 5.46 3.23x10 -8<br />

N2O 2.78x10 -11 8.06x101 2.24x10 -9<br />

NOx 4.44x10 -8 2.98x103 1.32x10 -4<br />

ผลกระทบรวม 3.93x10 -4<br />

• การแปลผล (Interpretation) ทำการวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนที่<br />

3 และทำการสรุป แนวทางการปรับปรุงและข้อเสนอแนะ รวมถึงรายงานผล<br />

การศึกษา จากตัวอย่างการผลิตเมล็ดกาแฟคั่วพบว่าจาก input และ output<br />

ทั้งหมดของการผลิตเมล็ดกาแฟคั่ว จะมีค่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่ากับ<br />

3.93x10-4 NETS ซึ่งค่า NETS นี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลประกอบการ<br />

ส่งออกไปยังประเทศที่มีมาตราการทางภาษี Border Tax Adjustments, ใช้<br />

ในการเปรียบเทียบความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของสินค้าชนิดเดียวกันใน<br />

ตลาด เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใน<br />

ด้านอื่นๆ ดังนี้<br />

ภาคอุตสาหกรรม/เอกชน<br />

• ใช้สื่อสารให้ทราบถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์<br />

• ใช้ต่อรองกับผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) ให้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม<br />

• พัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาด กลยุทธ์ด้านธุรกิจ และแผนการลงทุน<br />

• พัฒนากลยุทธ์ด้านนโยบาย<br />

• พัฒนานโยบายของผลิตภัณฑ์<br />

ผู้บริโภค<br />

• ใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์<br />

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่<br />

หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เบอร์โทรศัพท์ (053) 942-086 E-mail : sate@eng.cmu.ac.th<br />

หรือเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thailca.net<br />

ที่มา<br />

ปราณี หนูทองแก้ว, การประเมินวัฏจักรชีวิตของการผลิตไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน,<br />

คณะ วิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551<br />

ศูนย์เฉพาะทางด้านการประเมินวัฏจักรชีวิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศ เศรษฐกิจ, เอ็มเทค<br />

บุตรี เทียมเทียบรัตน์, Border Carbon Adjustment (BCA) มาตราการใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม<br />

ที่อุตสาหกรรมไทยต้องเตรียมรับมือ, ส ำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ<br />

www.greennet.cor.th, Life cycle assessment - LCA [การประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์]<br />

เรียนเชิญท่านสมาชิกสภาผู้ส่งออกฯ เข้าร่วม<br />

โครงการศึกษาดูงานการบริหารการจัดการโลจิสติกส์<br />

และการอำนวยความสะดวกทางการค้า พร้อมเยี่ยมชมงานแสดงสินค้า<br />

Korea Material Handling & Logistics Exhibition <strong>2013</strong><br />

ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 26-30 พฤษภาคม 2556 (5 วัน 3 คืน)<br />

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเยี่ยมชมการดำเนินงานของท่าเรือปูซาน ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่<br />

ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากเมืองหลวง<br />

เยี่ยมชมการบริหารจัดการของบริษัทชั้นนำด้าน Logistics ของประเทศเกาหลีใต้<br />

พร้อมเข้าชมงาน Korea Material Handling & Logistics Exhibition <strong>2013</strong><br />

ซึ่งท่านจะได้พบกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับอุปกรณ์เคลื่อนย้ายและบรรจุ<br />

ภัณฑ์ที่น่าสนใจ พร้อมร่วมรับประทานอาหารค่ำกับนักธุรกิจเกาหลีใต้และนักธุรกิจ<br />

ชาวไทยที่ประกอบธุรกิจในประเทศเกาหลีใต้<br />

ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ราคาดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)<br />

สมาชิกสภาผู้ส่งออกฯ 49,900 บาท บุคคลทั่วไป 53,900 บาท<br />

**สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุกัญญา โทรศัพท์: 0-2679-7555 ต่อ 503<br />

ด่วน!<br />

รับสมัครจำนวนจำกัด<br />

Volume 8 l <strong>April</strong> <strong>2013</strong> 7


กิจกรรมและการฝึกอบรมที่น่าสนใจ<br />

à หลักสูตรการฝึกอบรมและกิจกรรมของสภาผู้ส่งออกฯ ประจำปี 2556<br />

หลักสูตรระยะสั้น<br />

หัวข้อ วิทยากร วันที่ เวลา สถานที่<br />

Incoterms 2010 : เทอมการค้าใช้อย่างไร<br />

ให้ไปรอด<br />

การจัดการสินค้าคงคลัง<br />

การทำประกันภัยแบบครบวงจรสำหรับผู้<br />

ประกอบการ<br />

กฎหมายเกี่ยวกับการเสียภาษีศุลกากร<br />

นำเข้า-ส่งออกและ การระงับคดีทาง<br />

ศุลกากร<br />

หลักสูตรระยะยาว<br />

คุณบุญเลิศ สุภาผา<br />

บมจ.ธนาคารกสิกรไทย<br />

คุณโภคทรัพย์ พุ่มพวง<br />

บริษัท เคอรี่ เฟล็ก ซัพพลาย เชน<br />

โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด<br />

ศาสตราจารย์(พิเศษ)<br />

ประมวล จันทร์ชีวะ<br />

บริษัท สำนักกฎหมายประมวลชัย จำกัด<br />

คุณสินศักดิ์ ตวงหิรัญวิมล<br />

สำนักกฎหมาย กรมศุลกากร<br />

26 เมษายน 2556 09.00-16.00 น.<br />

27 เมษายน 2556 09.00-16.00 น.<br />

22 พฤษภาคม 2556 09.00-17.00 น.<br />

5 มิถุนายน 2556 09.00-17.00 น.<br />

ห้องอบรม สภาผู้ส่งออกฯ<br />

(อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น32)<br />

ห้องอบรม สภาผู้ส่งออกฯ<br />

(อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 32)<br />

ห้องอบรม สภาผู้ส่งออกฯ<br />

(อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 32)<br />

ห้องอบรม สภาผู้ส่งออกฯ<br />

(อาคารลุมพีนีทาวเวอร์ ชั้น 32)<br />

หัวข้อ วิทยากร วันที่ เวลา สถานที่<br />

LQSP <strong>2013</strong><br />

(หลักสูตรประกาศนียบัตร โลจิสติกส์<br />

สำหรับผู้บริหารระดับกลาง ครั้งที่ 6)<br />

<strong>TNSC</strong> / TU/CUSTOMS และผู้<br />

เชี่ยวชาญจากบริษัทเอกชน<br />

ในแต่ละหัวข้อการบรรยาย<br />

กรกฎาคม - ตุลาคม 2556 09.00-17.00 น.<br />

ห้องอบรม สภาผู้ส่งออกฯ<br />

(อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น32)<br />

ค่าลงทะเบียน<br />

(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)<br />

สมาชิกสภาผู้ส่งออกฯ 2,500 บาท<br />

บุคคลทั่วไป 3,000 บาท<br />

สมาชิกสภาผู้ส่งออกฯ 2,500 บาท<br />

บุคคลทั่วไป 3,000 บาท<br />

สมาชิกสภาผู้ส่งออกฯ 2,500 บาท<br />

บุคคลทั่วไป 3,000 บาท<br />

สมาชิกสภาผู้ส่งออกฯ 2,500 บาท<br />

บุคคลทั่วไป 3,000 บาท<br />

ค่าลงทะเบียน<br />

(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)<br />

สมาชิกสภาผู้ส่งออกฯ 25,000 บาท<br />

บุคคลทั่วไป 30,000 บาท<br />

ชำระค่าฝากส่งเป็นรายเดือน<br />

ใบอนุญาตพิเศษเลขที่ 104/2546<br />

ปณจ รองเมือง<br />

สภาผู้ส่งออกฯ :<br />

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)<br />

(Thai Nationai Shipper’s Council)<br />

1168/9 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 32 โซน C ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120<br />

1168/9 Zone C, Lumpini Tower Bldg., 32 Fl., RAMA IV Road, Thungmahamek, Sathorn, Bangkok 10120<br />

Tel : (662) 679-7555 • Fax : (662) 679-7500-2 • Email : tnsc_crm@tnsc.com

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!