11.07.2015 Views

ฉบับที่ 18 : กรกฎาคม 2554 - มหาวิทยาลัยนเรศวร

ฉบับที่ 18 : กรกฎาคม 2554 - มหาวิทยาลัยนเรศวร

ฉบับที่ 18 : กรกฎาคม 2554 - มหาวิทยาลัยนเรศวร

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

MED NUJune 2011 3


จากวิสัยทัศน์คณะแพทยศาสตร์ <strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> พ.ศ. ๒๕๕๔ “เป็นโรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพชั้นนําระดับประเทศ” (To be the leading medical school in promoting health for all stages of human life) ตีความการสร้างเสริมสุขภาพไว้อย่างกว้างขวางว่า เป็นการเพิ่ม “สุขภาพ” หรือ “คุณภาพชีวิต” ให้กับกลุ่มเป้าหมายทุกคน ทุกระยะของช่วงชีวิตมนุษย์ไม่ว่าอยูตัวบ่งชี้ได้แก่ยุทธศาสตร์ ๑ ผลิตบัณฑิตผู้นําด้านสร้างเสริมสุขภาพกลยุทธ์ ๑.๑ หลักสูตรเน้นสร้างเสริมสุขภาพ ใช้โอกาสของการปรับปรุงหลักสูตรปี ๒๕๕๔ ให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (มคอ.) เพื่อให้หลักสูตรทําหน้าที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ มี ๑ตัวบ่งชี้ คือ หลักสูตร ๕ หลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์กลยุทธ์ ๑.๒ อาจารย์พร้อมนําศิษย์ อาจารย์เป็นปัจจัยสําคัญของการผลักดันวิสัยทัศน์ อาจารย์ต้องเป็นต้นแบบให้นิสิต บุคลากร และผู้รับบริการเห็นว่าเข้าใจและปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ ตัวบ่งชี้มี ๒ ตัว คือ อาจารย์อาวุโส (ปฏิบัติงานมาแล้ว ๑๐ ปีขึ้นไป) ร้อยละ ๙๐ และอาจารย์ใหม่ ร้อยละ ๘๐ มีความพร้อมในการนําศิษย์ในระดับ ๓ จาก ๕ คะแนนในบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพ กิจกรรมตามกลยุทธ์นี้อาจแตกต่างกันระหว่างอาจารย์อาวุโส กับอาจารย์ใหม่กลยุทธ์ ๑.๓ กระบวนการคัดเลือกสร้างสุขภาพ เน้นการคัดเลือกนิสิตหลักสูตรแพทยศาสตร์ โดยมีตัวบ่งชี้ ๔ ตัว เฉพาะกับการรับนิสิตจากพื้นที่รับภาคเหนือตอนล่าง นิสิตโครงการหนึ่งอําเภอหนึ่งทุน นิสิตรับผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย และนิสิตจากปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สุขภาพกลยุทธ์ ๑.๔ ประสานกิจกรรมในและนอกหลักสูตร การเรียนการสอนทั้งในและนอกหลักสูตรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้สําคัญที่จะทําให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ ๕ ตัว ได้แก่ การวัดผลทุกรายวิชามีเนื้อหาด้านการสร้างเสริมสุขภาพ นิสิตทุกหลักสูตรมีทักษะสร้างเสริมสุขภาพ นิสิตแพทย์สอบผ่านเกณฑ์แพทยสภาในระดับชั้นก่อนคลินิก ระดับคลินิก และการสอบทักษะทางคลินิก่ในช่วงเจ็บป่วยหรือสุขภาพดี ยุทธศาสตร์ของการบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว ประกอบด้วย ๕ ยุทธศาสตร์ ๑๙ กลยุทธ์ และ ๓๙กลยุทธ์ ๑.๕ ระบบประเมินผลสร้างเสริมสุขภาพ เน้นการประเมินคุณลักษณะของนิสิตและบัณฑิตมีตัวบ่งชี้ ๖ ตัว ได้แก่ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตแพทย์ปี ๓ และปี ๖ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตทุกหลักสูตร เมื่อจบการศึกษาปีที่ ๑ ปีที่ ๕ และปีที่ ๑๐ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามกรอบรางวัลคุณภาพแห่งประเทศไทย (Thailand Quality Award)ยุทธศาสตร์ ๒ บริการสุขภาพเชิงรุกเพิ่มสุขภาวะกลยุทธ์ ๒.๑ บริการที่เป็นต้นแบบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์มีโรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>เป็นฐานใหญ่ของการจัดบริการสุขภาพ ดังนั้นบริการที ่จัดจะต้องสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวบ่งชี ้มี ๒ ตัวได้แก่ การเป็นต้นแบบบริการสําหรับหลักสูตรภายในมหาวิทยาลัย ๗ หลักสูตร และการเป็นต้นแบบสําหรับหลักสูตรจากภายนอกมหาวิทยาลัยอีกจํานวนหนึ่งกลยุทธ์ ๒.๒ บริการเชิงรุกชุมชนเป็นฐานบริการฐานใหญ่ของโรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>จะต้องเชื่อมโยงกับบริการเชิงรุกในชุมชน มี ๒ ตัวบ่งชี้ได้แก่ บริการเชิงรุกสําหรับ ๕ ชุมชนภายในมหาวิทยาลัยและสําหรับ ๕ ชุมชนภายนอกมหาวิทยาลัย4MED NUJune 2010


กลยุทธ์ ๒.๓ บริการสุขภาพผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง กลยุทธนี้สอดคล้องกับกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล จึงมีตัวบ่งชี้ ๒ ตัว ได้แก่ การพัฒนาและใช้แนวทางเวชปฏิบัติใหม่ปีละไม่น้อยกว่า ๑๕ เรื่อง และการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลตามกรอบของสถาบันพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลกลยุทธ์ ๒.๔ บริการและวิชาการสร้างอัตลักษณ์ งานบริการและงานวิชาการจะพัฒนาไปในแนวของการสร้างอัตลักษณ์แห่งคณะแพทยศาสตร์<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> มี ๒ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การพัฒนาความเป็นเลิศของบริการโรงพยาบาล และ การจัดประชุมวิชาการประจําปีที่สร้างเสริมอัตลักษณ์ด้านบริการวิชาการยุทธศาสตร์ ๓ วิจัยเพื่อสุขภาวะทุกมิติกลยุทธ์ ๓.๑ กลไกสร้างเสริมสุขภาพก่อนวิจัย มี ๑ ตัวบ่งชี้ กลยุทธนี้เอื้อให้เกิดการปรึกษาหารือในกลุ่มผู้วิจัยสหสาขา ๒ กลุ่มวิจัย เพื่อให้เกิดผลกระทบของงานวิจัยในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและระบบนโยบายสุขภาพกลยุทธ์ ๓.๒ กลไกวิจัยคลินิกและระบบนโยบาย มี ๒ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ระบบกลไกติดตามกระบวนการวิจัยทางคลินิก และระบบกลไกการวิจัยทางนโยบายกลยุทธ์ ๓.๓ กลไกเผยแพร่หลังวิจัย มี ๒ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การเผยแพร่ผลวิจัยย่อยของแต่ละโครงการ และ การเผยแพร่รวมในภาพคณะกลยุทธ์ ๓.๔ เครือข่ายสนับสนุนวิจัย เนื่องจากการวิจัยให้เกิดผลกระทบทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ จําเป็นต้องเกาะติดเครือข่ายการวิจัยกับองค์กรภายนอก มี ๑ ตัวบ่งชี้ คือ มีเครือข่ายการวิจัยที่แน่นแฟ้น ไม่น้อยกว่า ๒ เครือข่ายยุทธศาสตร์ ๔ สร้างวัฒนธรรมสุขภาวะอย่างไทยกลยุทธ์ ๔.๑ เสริมสร้างอัตลักษณ์วัฒนธรรมสุขภาพ มี ๑ ตัวบ่งชี้คือ การเปิดรับวัฒนธรรมของสุขภาพทางเลือก ๓ ทางเลือกเพื่อเป็นอัตลักษณ์ของการผสมผสานวัฒนธรรมกับสุขภาพอย่างคณะแพทยศาสตร์ <strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>กลยุทธ์ ๔.๒ ศูนย์เรียนรู้สร้างเสริมสุขภาพชุมชน มี ๑ ตัวบ่งชี้ คือ การสร้างศูนย์เรียนรู้สุขภาพชุมชน ที่ผสมผสานการหยั่งรู้ด้านสุขภาพกับการดูแลสุขภาพอย่างบูรณาการยุทธศาสตร์ ๕ บริหารธรรมาภิบาลสร้างสุขกลยุทธ์ ๕.๑ การกระจายอํานาจธรรมาภิบาลมี ๑ ตัวบ่งชี้ คือ การกระจายอํานาจการตัดสินใจด้านงบประมาณและบุคคลให้แก่หน่วยรับการกระจายอํานาจหรือหน่วยบริหารเชิงยุทธศาสตร์ไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกลยุทธ์ ๕.๒ ประสิทธิภาพบริหารยุทธศาสตร์มี ๑ ตัวบ่งชี้ คือ หน่วยงานต่างๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการได้ไม่ต่ํากว่าร้อยละ ๑๐กลยุทธ์ ๕.๓ ที่ทํางานสร้างเสริมสุขภาพมี ๒ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่ทํางานเอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และ บุคลากรมีความผูกพันกับองค์กรกลยุทธ์ ๕.๔ ธรรมาภิบาลยั่งยืน มี ๑ ตัวบ่งชี้ คือ การปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดกับทุกๆ คน วัฒนธรรมองค์กรหรือ อัตลักษณ์ของทุกคนในคณะแพทยศาสตร์ คือ การมีคุณสมบัติNaresuan (นเรศวร) ได้แก่ Novelty สร้างสรรค์สิ่งใหม่ Accountability รับผิดชอบต่อสังคมRespect เคารพผู้อื่น Excellence ใฝ่หาความเป็นเลิศSufficiency ยึดหลักพอเพียง Unity สามัคคี Agilityคล่องแคล่วว่องไว Network มีเครือข่ายจะเห็นได้ว่า วิสัยทัศน์ใหม่ มียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่เป็นไปได้ จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งเครือข่ายจัดทําแผนให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และตัวบ่งชี้ รวมทั้งประชาชนผู้รับประโยชน์ช่วยตรวจสอบความสําเร็จต่อไปศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยคณบดีคณะแพทยศาสตร์MED NUJune 2011 5


ผู ้ป่วยที ่ได้รับการผ่าตัดเปลี ่ยนกระจกตา บริจาคเงินให้กับศูนย์ปลูกถ่ายกระจกตา รพ.ม.นเรศวรเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน <strong>2554</strong>นางสาวลอม ใจแจ่ม บริจาคเงิน จํานวน15,000 บาท และพระโรจนศักดิ์ ศรีสุรีย์โพธิรัตน์ บริจาคเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 17,000 บาทโครงการปฐมนิเทศนิสิตใหม่คณะแพทยศาสตร์ <strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>ประจําปีการศึกษา <strong>2554</strong>เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน <strong>2554</strong> ในปีนี้มีนิสิตใหม่จํานวน 178 คน และผู้ปกครองเข้าร่วมงานอีก 200 คน รวมทั้งสิ้น 378 คนAuburn University Harrison School of Pharmacy ประเทศสหรัฐอเมริกา เยี่ยมชม โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน <strong>2554</strong>6MED NUJune 2010


โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>จัดโครงการเครือข่ายโรคหัวใจและหลอดเลือดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน <strong>2554</strong>โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>ได้เข้าร่วมในการนําเสนอผลงานGood practice ด้านการดูแลต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบ comprehensive dischargeplanning ณ ห้องประชุมชั้น 3 คณะพยาบาลศาสตร์ <strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน <strong>2554</strong>คณะกรรมการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ รพ.มน.จัดประชุมวิชาการ เรื่อง“Stain remover onmedical device” และ“Cross contamination”เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน <strong>2554</strong> โดยมี ภก.ดร.พิสิฐ อุ่ยรุ่งโรจน์ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการปัองกันและควบคุมการติดเชื้อ เป็นผู้บรรยายMED NUJune 2011 7


คุณบุญยงค์ อินทรศร มอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จํานวน 50,000 บาท และบริจาคเงินในการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ จํานวน 25,000 บาทเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน <strong>2554</strong>คณะแพทยศาสตร์ มน. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกสพท. ครั้งที่ 4/<strong>2554</strong>เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน <strong>2554</strong> คณะแพทยศาสตร์<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4/<strong>2554</strong> โดยมี ศ.นพ.อาวุธ ศรีสุกรีเลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยเป็นประธาน พร้อมด้วย ศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นประธานร่วม โดยหารือในประเด็นสําคัญต่างๆ ด้านแพทยศาสตร์ศึกษาของประเทศไทยอาทิ การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต การรายงานโครงการผลิตแพทย์ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ผลงานวิจัยแพทยศาสตรศึกษา ฯลฯภาควิชาศัลยศาสตร์จัดประชุมวิชาการมะเร็งประจําปี <strong>2554</strong> : Update Management of Cancer 2011 มีการให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งผิวหนัง มะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมไทรอยด์ เนื้องอกในสมอง การจัดการความเจ็บปวด ฯลฯโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล 6 แห่ง และประชาชนผู้สนใจกว่า 100 คน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน <strong>2554</strong>8MED NUJune 2010


โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>จัดการประชุมวิชาการธาลัสซีเมียภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 9Practical Point in ThalassemiaManagementเมื่อวันที่ 6 <strong>กรกฎาคม</strong> <strong>2554</strong>โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>จัดโครงการอบรมวิชาการ เรื่องการดูแลสตรีตั ้งครรภ์โดยสหวิชาชีพและการวางแผนครอบครัวเมื่อวันที่ 8 <strong>กรกฎาคม</strong> <strong>2554</strong>NU String Quartetดนตรีเพื่อผู้ป่วยรพ.มน. สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากลภาควิชาศิลปกรรมศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์จัดแสดงดนตรี เพื่อสร้างความผ่อนคลาย และความบันเทิงให้ผู้ป่วยโรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>ระหว่างรอตรวจเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน <strong>2554</strong>MED NUJune 2011 9


Main Courseบทความโดย : นายแพทย์จตุวิทย์ หอวรรณภากรหลังจากได้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการทํางานของนิติเวชไปแล้วทั้งตามสื่อต่างๆและการเรียนการสอนรวมทั้งในระหว่างปฏิบัติงานได้มีนิสิตแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติและเจ้าหน้าที่ที่มีความสนใจเกี่ยวกับงานของนิติเวชได้สอบถามมาที่ผู้เขียนหลายคําถามและในนั้นมีที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ในคอลัมน์นี้จึงขอโอกาสตอบคําถามที่ถูกถามบ่อยและน่าสนใจนะครับQ: การเสียชีวิตโดยถูกฆาตกรรมมีเหตุผลที่ต้องชันสูตรว่าใครเป็นคนทําให้เสียชีวิตหรือเสียชีวิตจากเหตุใด แต่บางอย่างเช่น อุบัติเหตุจราจรที่อยู่กลางถนนอยู่แล้ว หรือฆ่าตัวตายเองทําไมต้องผ่าชันสูตรด้วย?A: จริงๆ แล้วเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุหมายถึง การเสียชีวิตที่เกิดจากเหตุปัจจุบันทันด่วนไม่อาจคาดหมายได้ เช่น ตกน้ําตาย ตกตึกตาย ฟ้าผ่าตายไฟฟ้าช็อต หรือการตายที่เกิดจากการกระทําโดยประมาทของผู้อื่น เช่นอุบัติเหตุรถซึ่งมีปัญหาบ่อยทั้งคดีแพ่งและอาญา เช่น ขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต หรือเกิดเหตุบางอย่าง(โรคลมชัก,เลือดออกในสมองกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เมาสุรา) ที่ทําให้คนคนนั้นไม่สามารถบังคับรถได้จนเกิดอุบัติเหตุ ฆ่าแล้วอําพรางว่าเป็นอุบัติเหตุ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในการละเมิด การเรียกเงินค่าประกันชีวิต การเรียกร้องค่าทดแทนตามกฎหมายแรงงานการฆ่าตัวตายที่ต้องชันสูตร ก็เพื่อให้ประจักษ์ว่าเกิดจากการฆ่าตัวเองจริงๆ ไม่ใช่ถูกจัดฉากมอมยาให้หลับแล้วฆ่าด้วยวิธีอื่น หรือบางอย่างอาจจะไม่ใช่การฆ่าตัวตายแต่เป็นจากเหตุอื่น เช่น กรณีศพที่ผู้เขียนไปตรวจพบว่าผู้ตายเสียชีวิตโดยมีเชือกที่ห้อยไว้สําหรับกายภาพบําบัดที่บ้านพันคออยู่เนื่องจากว่าผู้ตายมีโรคประจําตัวคือขาอ่อนแรงจากหลอดเลือดในสมองตีบและได้ใช้เชือกดังกล่าวเพื่อพยุงตัวออกกําลังกายทุกวันแต่ตรวจผ่าชันสูตรศพพบว่ามีเลือดออกในเนื้อสมองบริเวณที่มักจะมีเลือดออกจากโรคความดันโลหิตสูงทําให้ผู้ตายหมดสติและล้มลงคอไปพันกับเชือกดังกล่าวทําให้ดูเหมือนผูกคอฆ่าตัวตายซึ่งอาจทําให้ไม่ได้รับเงินค่าประกันชีวิตที่ทําไว้ แต่กรณีนี้เสียชีวิตจากโรคเลือดออกในสมองจากความดันโลหิตสูง จึงเป็นการเสียชีวิตโดยธรรมชาติจึงทําให้ทายาทได้รับเงินประกันตามประกันชีวิตที่ทําไว้“สิ่งที่เห็นมันอาจไม่ใช่อย่างที่เป็นสิ่งเหล่านี้มันเป็นสิ่งเคลือบแคลงอยู่จึงต้องชันสูตร”ในกรณีถูกฆาตกรรมก็เช่นเดียวกันถึงแม้จะเห็นว่าถูกยิงเสียชีวิตแต่ก็ต้องชันสูตรผ่าศพเพื่อให้ได้มาซึ่งระยะยิง วิถีทิศทางกระสุนปืนและแม้แต่หัวกระสุนเพื่อนําไปเปรียบเทียบหาปืนที่ยิง หรือหาวัตถุพยานอื่นๆที่ติดมากับศพเพื่อหาตัวผู้กระทําผิด10MED NUJune 2010


Q: ในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนมาถึงห้องฉุกเฉินหรือหรือมาถึงห้องฉุกเฉินแล้วเสียชีวิตจะเข้าข่ายเสียชีวิตไม่ทราบเหตุหรือไม่และต้องผ่าชันสูตรหรือไม่?A: มีข้อถกเถียงมากว่าทําไมต้องผ่าชันสูตรเพราะว่าบางรายมีโรคประจําตัวอยู่แล้ว ผู้เขียนจึงขอนิยามการเสียชีวิตไม่ทราบเหตุเป็นข้อดังนี้- เป็นการตายที่เกิดกะทันหัน ไม่คาดหมายมาก่อน- ไม่มีประวัติเจ็บป่วยเรื้อรังหรือร้ายแรงมาก่อน- ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องสงสัย- ไม่มีใครทราบประวัติใดๆ เช่น ศพนอนข้างถนน ในศาลาวัด ศพลอยน้ําดังนิยามดังกล่าวข้างต้นการเสียชีวิตก่อนจะมาถึงโรงพยาบาล จึงน่าจะเป็นการเสียชีวิตไม่ทราบเหตุ เนื่องจากเหตุการณ์เป็นอย่างไรก่อนหน้าที่จะเสียชีวิตแพทย์เวรที่อยู่ที่ห้องฉุกเฉินไม่อาจทราบได้และต้องส่งศพผ่าชันสูตร ยกเว้นว่ามีประวัติว่ามีโรคประจําตัวที่เรื้อรังหรือร้ายแรงที่อาจทําให้เสียชีวิตได้ แพทย์เวรก็อาจจะพิจารณาออกใบรับรองการตายได้แต่ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงต่อตัวแพทย์เองหากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น เช่น ญาติอีกฝ่ายที่มาทีหลังติดใจการเสียชีวิตว่าอาจมีการทําร้ายกันและอําพรางคดีว่าป่วยจากโรคประจําตัว แต่แพทย์ได้ออกใบรับรองการตายและศพได้ถูกนําไปเผาเรียบร้อยแล้ว หรือบริษัทประกันชีวิตต้องการรายงานการผ่าชันสูตรเพื่อจ่ายเงินประกันที่ผู้ตายทําไว้แต่ปรากฏว่าไม่มีการผ่าชันสูตรและศพถูกเผาไปแล้วบริษัทประกันจึงไม่ยอมจ่าย ญาติผู้เสียชีวิตจึงได้ฟ้องต่อแพทย์เวรท่านนั้นข้อหาว่าประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นผู้เขียนจึงแนะนําว่าในกรณีที่โรงพยาบาลนั้นมีหน่วยนิติเวชที่รับผิดชอบอยู่ก็ควรจะปรึกษานิติเวชให้มาตรวจดูก่อนและให้ฝ่ายนิติเวชเป็นฝ่ายดําเนินการจะดีกว่า หรือโรงพยาบาลใดไม่มีหน่วยนิติเวชก็อาจจะส่งศพมาทําการผ่าชันสูตรหรือโทรปรึกษาหน่วยนิติเวชใกล้เคียงเพื่อขอคําแนะนําจะดีกว่าที่ท่านจะรับความเสี ่ยงนั้นไว้เองQ: การทํา autopsy ศพวิชาการเหมือนกับการทํา autopsy ศพทางนิติเวชหรือไม่?A: แตกต่างกันเล็กน้อยครับ เนื่องจากศพทางวิชาการเป็นการเสียชีวิตด้วยโรคธรรมชาติจะต้องหาพยาธิสรีรวิทยาในการดําเนินโรคที่ทําให้เสียชีวิตอย่างละเอียดเพื่อวิจัยโรคนั้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ข้อบกพร่องหรือความรู้ใหม่ๆ ในการรักษาและดูแลผู้ป่วยต่อไป แต่ต้องขอทําความเข้าใจก่อนว่าการทํา autopsy ศพวิชาการต้องติดต่อกับพยาธิแพทย์ ต้องได้รับการยินยอมจากญาติก่อนและไม่ต้องแจ้งความ ส่วนการ autopsy ศพทางนิติเวชนั้นเป็นการเสียชีวิตผิดธรรมชาติต้องแจ้งความก่อนเสมอและการผ่าชันสูตรไม่ต้องได้รับความยินยอมจากญาติเนื่องจากเป็นการกระทําตามกฎหมายที่กําหนดไว้และสําหรับการทํา autopsy ศพวิชาการที่โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>นั้นจะทําการตรวจศพในวันจันทร์ถึงศุกร์เท่านั้นแต่สําหรับการทํา autopsy ศพทางนิติเวชจะทําการตรวจชันสูตรศพทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการครับQ: การส่งศพคดีมาผ่าชันสูตรหรือการชันสูตรผ่าศพต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใด?A: การผ่าศพชันสูตรเป็นงานที่บริการประชาชนจากกระทรวงยุติธรรม ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆในการผ่าศพชันสูตรยกเว้นกรณีที่ต้องการฉีดยารักษาสภาพศพต้องเสียค่าฉีดน้ํายารักษาสภาพศพ 600 บาท (อัตราโรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>และมีใบเสร็จชําระเงินออกให้) ส่วนรถที่จะนําศพมาจากต่างจังหวัดมาส่งตรวจก็ขึ้นอยู่กับพนักงานสอบสวนจะจัดรถตํารวจหรือให้รถของมูลนิธิที่สนับสนุนกิจการตํารวจเป็นผู้ดําเนินการสําหรับฉบับนี้ขอหยุดเท่านี้ก่อนแต่ยังมีคําถามอื่นอีกมากแต่ก็ได้ตอบกับผู้ถามเป็นการส่วนตัวไปแล้ว ถ้าผู้อ่านมีความสนใจหรือสงสัยเรื ่องใดเกี ่ยวกับงานนิติเวชให้ติดต่อมาที ่ www.facebook.com เข้าไปที ่แฟนเพจของนิติเวชศาสตร์โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> ยินดีสําหรับทุกคําถามและจะรีบตอบกลับทุกคําถามนะครับMED NUJune 2011 11


เมื่อวันที่ 1 ก.ค.54 เวลา 09.00-11.00 น. ศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยทีมผู้บริหาร ประชุมติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ลงพื้นที่การก่อสร้างเพื่อลงรายละเอียดการจัดสรรพื้นที่ใช้สอย อัตราบุคลากรที่จะเข้าใช้ ความสะดวกปลอดภัยแก่ผู้รับบริการกับทีมผู้รับเหมาก่อสร้างได้แก่ บริษัท อีเอ็มซี จํากัด(มหาชน) และ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา อินเตอร์แพ็ค และ พี.พี. เอส.เอ็น12MED NUJune 2010


AbstractBackground: Cervical cancer, very common in females of the developing world,has a long premalignant period. Primary and secondary prevention can reduce theincidence. The Pap smear is the main screening modality in Thailand but the coverageis rather poor.Objective: This study was performed to evaluate the knowledge, attitudes andpractices of medical workers in Naresuan university hospital who met the WHO guidelines forscreening.Methods: A questionnaire covering general characteristics, knowledge, attitudes andpractices about cervical cancer screening was administered and the data obtained were analyzedwith SPSS version 16.Results: The majority of the 78 included participants were nurses with an education mostlymore than diploma level. Knowledge about the importance of the Pap smear, early detectionand the treatment of early stage cervical cancer was adequate (90.9 % and 81.6%, respectively)but awarness of cervical cancer risk factors was quite low. The most frequent reasonsfor avoiding Pap smear screening were fear of vaginal examination (27.6%), embarrassment(26.3%), lack of any symptoms (22.4%) and being busy (17%).Conclusion: The Pap smear is appropriate for detection of premalignant lesionsof cervical cancer in Thailand but the coverage is still low. Although this study wasperformed with medical workers, their compliance with screening recommendationswas still low. If we can improve the knowledge and attitudes about Pap smearcervical cancer screening in such experts, they should be able to readilyprovide appropriate and accurate information to the population to motivatethe general population to join screening programs.Shina Oranratanaphan*,Patcharada Amatyakul,Kanokwan Iramaneerat,Suchila SrithipayawanKeywords: Pap smear - knowledge attitudes and practices - cervicalcancer screening - secondary preventionAsian Pacific Journal of Cancer Prevention, Vol 11, p 1-6MED NUJune 2011 13


เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 54 เวลา15.00-16.00 น. คณะแพทยศาสตร์<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> จัดพิธีไหว้ครูประจําปี <strong>2554</strong> ณ ห้องพระราชทานปริญญาบัตร อาคารอเนกประสงค์<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> โดยมี ศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ เป็นประธานในพิธีพร้อมด้วยรองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต พันเอก นพ.ทวีศักดิ์ นพเกษรและอาจารย์แพทย์ร่วมเป็นเกียรติในงานระดับชั้นปรีคลินิก1. อาจารย์พงษ์พิทักษ์ ภูติวัตร์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์2. อาจารย์สังกัป สุดสวาสดิ์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์3. ดร.โศภิศ คันธวงศ์ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์14MED NUJune 2010


ระดับชั้นคลินิก1. นายแพทย์รวิสุต เดียวอิศเรศภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์2. แพทย์หญิงละออ ชมพักตร์ภาควิชาพยาธิวิทยาและนิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์3. นายแพทย์ธนกร ลักษณ์สมยาภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ต่อด้วยพิธีมอบโล่แพทยสภา อาจารย์แพทย์/นิสิตแพทย์ที่เป็นแบบอย่างในการประพฤติตนดีเด่นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม ประจําปี <strong>2554</strong>1. นายแพทย์รเมศ ว่องวิไลรัตน์2. นิสิตแพทย์สุธาทิพย์ ลิ้มสวัสดิ์โอ้พระคุณครูแพทย์ ยิ่งฟ้าโอ้พระคุณครูแพทย์ ยิ่งกว่ามหาสมุทรโอ้พระคุณครูแพทย์ ยิ่งดุจบิดามารดรข้าศิษย์ขอกราบน้อม เทิดพระคุณครูจามรี อ่อนโฉม ผู้ประพันธ์รวมทั้งมอบประกาศนียบัตรนิสิตดีเด่น และนิสิตยอดเยี่ยมประจําปีการศึกษา 2553นิสิตยอดเยี่ยม• ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร1. นายไพสิฐ โกสุม2. นายพชรพล อุดมลักษณ์3. นายวุฒิดนัย คล่องสันติรักษ์นิสิตดีเด่น• ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร1. นายชัยวัฒน์ กลิ่นหอมอ่อน2. นายธนาณัติ สืบวงศ์นิรัตน์3. นายอนัญญวัจน์ มายุศิริ4. นายคีตวรรธก์ วารินทร์5. นางสาวณฐพร บุญพาเกิด6. นายพันภูมิ ชูชัยมังคลา7. นางสาวสมฤทัย สุขสุทธิพันธ์8.นางสาวชวิศาชล นนท์ศรีนิสิตดีเด่น• ด้านกิจกรรมวิชาการ1. นางสาวศิริลักษณ์ แก้วอุ่นเรือน2. นางสาวนิธินา ยี่สิบแสน3. นายพชรพล อุดมลักษณ์4. นายไพสิฐ โกสุม5. นายวุฒิดนัย คล่องสันติรักษ์นิสิตดีเด่น• ด้านความประพฤติ1. นายเอกณัฐฏ์ มากมี2. นางสาวสุธาทิพย์ ลิ้มสวัสดิ์3. นายพิคม สิริโสภาอุษา4. นายธนกฤต ดงบังMED NUJune 2011 15


บทความโดย : แพทย์หญิงพัชรดา อมาตยกุลจากหนังโฆษณาของ สสส.ที ่ออกฉายทางโทรทัศน์เพื ่อเตือนสติวัยรุ ่นไทยให้คิดให้รอบคอบก่อนการมีเพศสัมพันธ์ และการที่เด็กวัยเรียนมีอัตราการตั้งท้องที่เพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจุบันเป็นที่น่าตกใจว่าเด็กวัยรุ่นที่ตั้งท้องไม่พึงประสงค์เหล่านี้มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ สิ่งเหล่านี้ทําให้ผู้ใหญ่ในสังคมไทยต้องกลับมาคิดทบทวนกันแล้วว่าเราจะสามารถช่วยกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง นโยบายเชิงตั้งรับอยู่แต่ในสถานบริการทางการแพทย์คงไม่ใช่คําตอบ ดังนั้นหลายๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจําเป็นต้องร่วมมือกันส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาสําหรับนักเรียนนักศึกษา อย่างเช่น กลุ่ม Teenpath ที่มีบทบาทสําคัญในการทําโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจเพศศึกษาเพื่อเยาวชน โดยจะทํางานเชิงรุกในการออกไปให้ความรู้เพศศึกษาตามโรงเรียนแบบเน้นการฝึกอบรมผู้จัดการเรียนรู้เพศศึกษาแบบรอบด้านปัญหาเรื่องของการที่นักเรียนนักศึกษามีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่พร้อมและไม่รู้จักการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (safe sex) นั้น ส่งผลกระทบถึงสุขภาพกายและใจของตัวเองหลายด้าน เช่น ต้องลาออกจากการศึกษาติดโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีภาวะซึมเศร้า และถ้ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ก็จะเลือกวิธีการยุติการตั้งครรภ์แบบทําแท้งเถื่อน ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อตกเลือดหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ผลกระทบยังเกิดขึ้นในมุมกว้างอีก เช่นเกิดปัญหาทางสัมพันธภาพกับคู่รัก ปัญหากับพ่อแม่ ผู ้ปกครอง และอนาคตของตนเอง สําหรับผลเสียทางสุขภาพที่ตามมาในระยะยาวก็พบว่าอาจจะมีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง (Chronic pelvic inflammatory disease) ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (Chronic pelvic pain) และภาวะมีบุตรยาก (Infertility)16MED NUJune 2010


ในการนี้ทางผู้อํานวยการโรงเรียนมัธยมสาธิต<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>คือ ผศ.ดร. วันดีวัฒนชัยยิ่งเจริญ และอาจารย์ที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงความสําคัญของการจัดกิจกรรมการให้ความรู้ทางด้านเพศศึกษาแก่นักเรียนมัธยมชั้นปีที่ 5 และ 6 ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สําคัญจึงได้จัดทําโครงการสร้างเสริมจริยธรรมเพศศึกษา: บทบาทชาย – หญิง และความรับผิดชอบด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน<strong>2554</strong> ทางรพ.ม.นเรศวรเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ออกไปให้ความรู้แบบเชิงรุก จึงได้นําทีมซึ่งประกอบด้วย อาจารย์จากภาควิชาสูติศาสตร์ –นรีเวชวิทยา นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่กําลังเรียนและฝึกปฏิบัติงานอยู่ที่แผนกสูติ-นรีเวช ทีมพี่เหน่งจากงาน PCU และทีมพี่โจจากงาน PCU นิสิต และพี่กิ๊บซี่ จากงานประชาสัมพันธ์ ไปร่วมทํากิจกรรมนําเสนอความรู้และความเฮฮาอย่างมีสรรสาระ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้น้องๆ นักเรียนชายและหญิงทั้งหมดจํานวนประมาณ 250 คน ได้ตระหนักถึงบทบาททางเพศที่เหมาะสมของเพศชายและหญิงความด้อยโอกาสของสถานภาพทางเพศของเพศหญิงในสังคมไทย ทราบถึงปัญหาของการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่พร้อมและไม่ป้องกัน และมีการทํากิจกรรมกลุ่มย่อยเช่น การสอนวิธีการใช้ถุงยางอนามัยและการรับประทานยาเม็ดคุมกําเนิดอย่างถูกต้อง รู้จักลักษณะและอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ และเกมแลกน้ํา ที่ทําให้นักเรียนหลายคนได้ตระหนักว่าการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นเกิดขึ้นได้ง่ายดายเพียงไรประโยชน์ที่เกิดขึ้นอีกประการที่สําคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการทําให้เกิดทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องเพศแก่เหล่านักเรียนมัธยมแล้ว คือการสอนวิชาชีพแพทย์นอกห้องเรียนและนอกโรงพยาบาล ทางอาจารย์แพทย์ต้องการให้นิสิตได้เห็นถึงความสําคัญของการให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชน เน้นการทํางานในเชิงรุก ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายสําคัญของหลักสูตรแพทย์ที่ต้องการให้แพทย์เป็นผู้นําชุมชนในเรื่องสุขภาพ สามารถป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนได้ มากกว่าที่จะเน้นเรื่องของการรักษาเมื่อเกิดโรคขึ้น เหล่านิสิตเองก็จะได้หัดการเป็นผู้ให้ความรู้แก่คนอื่น ได้เรียนรู้ว่าจะสามารถนําความรู้จากตําราเรียนไปประยุกต์ใช้ในการทํางานจริงได้อย่างไร ตลอดจนได้เห็นถึงการทํางานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามที่ได้ตั้งเป้าวัตถุประสงค์ไว้ความรักเป็นเรื่องธรรมชาติแต่คนที่อยู่ในวัยศึกษาก็ไม่ควรปล่อยตัวปล่อยใจให้ตกเป็นทาสของ กามารมณ์การเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาจะช่วยให้มีสติที่จะครองกายและใจ เพื่อให้มีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมMED NUJune 2011 17


บทความโดย : แสงทอง ปุระสุวรรณ์ความงามในความหลากหลาย เป็นประเด็นหลักในการจัดประชุมของปีงบประมาณ <strong>2554</strong> ซึ่งก็จะจําลองหรืออาจเรียกว่าย่อส่วนมาจากเวทีการประชุมวิชาการการพัฒนาคุณภาพระดับชาติของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) ครั้งที่ 12 สําหรับศูนย์ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล <strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>ได้เริ่มจัดโครงการในลักษณะจําลองเวทีดังกล่าวมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 โดยในแต่ละปีก็จะมีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 150 - 200 คนในฐานะทีมผู้รับผิดชอบจัดโครงการ ได้เห็นความงามอันหลากหลายเกิดขึ้นตั้งแต่การเริ่มเตรียมโครงการ ทีมงานแม้จะอยู่ต่างหน่วยงานกันแต่ให้ความร่วมมือร่วมใจกันแสดงความคิดเห็นในการจัดเตรียมเป็นอย่างดี การประสานงานภายในทีมน้องๆ มีความตั้งใจกันเป็นอย่างยิ่ง มาสอบถามข้อมูล ช่วยติดต่อกับองค์การภายนอกที่ให้การสนับสนุนการจัดโครงการ และยังได้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ในการจัดเตรียมสถานที่ที่แสดงถึงความงามอันหลากหลายของธรรมชาติ การจัดนิทรรศการการจัดเตรียมระบบสื่อและคอมพิวเตอร์ รวมไปจนถึงความตั้งใจของทีมจัดบรรยายทางวิชาการ และทีมอื่นๆ อีกมากมายซึ่งไม่สามารถกล่าวถึงได้อย่างครบถ้วน ในนามผู้จัดโครงการต้องขอขอบคุณในความร่วมมือจากทีมต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือด้วยดีเสมอมา20MED NUJune 2010


มีบางคําพูดที่ผู้นําเสนอผลงานกล่าวถึง...“ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับรางวัล แค่มีเวทีให้กลุ่มสนับสนุนมานําเสนอบ้างก็ดีใจแล้ว”ในส่วนความงามที่หลากหลายอันสัมผัสได้จากผู้เข้าร่วมโครงการ ปีนี้นับได้ว่ามีผู้สนใจส่งผลงานการพัฒนาคุณภาพเข้าร่วมประกวดและจัดนิทรรศการเป็นจํานวนมาก และผลงานเหล่านั้นล้วนมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในเรื่องระบบคุณภาพในเขตภาคเหนือตอนล่างที่มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจนเพิ่มขึ้น มีบางคําพูดที่ผู้นําเสนอผลงานกล่าวถึง... “ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับรางวัล แค่มีเวทีให้กลุ่มสนับสนุนมานําเสนอบ้างก็ดีใจแล้ว” ทําให้รู้สึกดีที่ปีนี้ได้สร้างเวทีให้กับคนทุก กลุ่มหลากวิชาชีพในโรงพยาบาลทั้งในส่วนผู้ดูแลผู้ป่วยผู้รับผิดชอบระบบสําคัญ รวมไปจนถึงคนตัวเล็กๆ ในโรงพยาบาลคือ คนงาน ที่ได้มีเวทีมาเล่าเรื่องในการจัดประชุมวิชาการระดับภาคด้วยสําหรับในส่วนที่เป็นเวทีบรรยายวิชาการแนวคิดสําคัญที่มาจากระดับชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายได้ตั้งใจนําเนื้อหาที่อัดแน่นด้วยองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ประสบการณ์ต่างๆ มาให้อย่างมากมาย ที่อดประทับใจไม่ได้ก็คือ แม้ไฟล์จะถูกไวรัสทําลาย น้ําจะท่วมบ้านวิทยากร แต่ทุกท่านก็ยังเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวและมาร่วมด้วยช่วยกันจนการจัดโครงการในครั้งนี้สําเร็จไปด้วยดีไม่มีการดําเนินงานใดที่ไม่เกิดข้อผิดพลาดขึ้น ในการจัดโครงการครั้งนี้ก็เช่นกัน หากมีสิ่งหนึ่งประการใดขาดตกบกพร่องไปในนามของผู้รับผิดชอบโครงการก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ และตั้งใจว่าจะปรับปรุงแก้ไขโครงการนี้ให้ดีขึ้น เพื่อให้การทําหน้าที่บริการวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของ HACC:NUก่อเกิดประโยชน์ทั้งกับผู้ให้บริการและประชาชนในเขตภาคเหนือตอนล่างได้มากที่สุด..... พบกันใหม่ในการประชุมวิชาการระดับภาค:ภาคเหนือตอนล่างปีต่อไปวันที่ 6-7 <strong>กรกฎาคม</strong> 2555 นะคะMED NUJune 2011 21


ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ <strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> นําบุคลากรคณะแพทยศาสตร์และนิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาระบบและนโยบายสุขภาพ เข้าร่วมประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ The Fifth PostgraduateForum on Health Systems and Policy Theme: “The Growthof Private Hospitals and Its Impact on Equity: Good or Bad?”ระหว่างวันที่ <strong>18</strong>–20 พฤษภาคม <strong>2554</strong> ณ Gadjah Mada Universityประเทศอินโดนีเซีย มี<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>, UKM MedicalCentre, National University of Malaysia, และ United NationUniversity – International Institute for Global Health เป็นพันธมิตรเครือข่าย มีงานวิจัยของนิสิตบัณฑิตศึกษาที่กําลังจะสําเร็จการศึกษาและผลงานวิจัยของนักวิจัยต่างๆ จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4 ประเทศ ส่งผลงานเข้าร่วมนําเสนอด้วยวาจาและแบบโปสเตอร์เป็นจํานวนมาก อาทิ ด้านระบบและนโยบายสุขภาพ, เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และการคลังสุขภาพ เป็นต้นและได้รับเกียรติจาก Dr.Khrisna Hort จาก The Nossal Institute for GloblalHealth มหาวิทยาลัย Melbourne เป็นองค์ปาฐกถาเปิดการประชุมในครั้งนี้ประเด็นสําคัญของการประชุมในครั้งนี้ คือ “ผลกระทบจากการเติบโตของโรงพยาบาลเอกชน ด้านความเป็นธรรมทางสุขภาพ”22MED NUJune 2010


้บทความโดย : วสี เลิศขจรสินกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเมื ่อแพทย์ผู ้รักษาพิจารณาว่าเป็นกรณีฉุกเฉินตามตามข้อบ่งชีที่กําหนดผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุดโดยแจ้งความจํานงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจําตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)กรณีอุบัติเหตุกรณีประสบอุบัติเหตุทั่วไป1. เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ และอยู่ใกล้ที่สุด2. แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิพร้อมแสดงเอกสารประกอบได้แก่ บัตรประจําตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)กรณีประสบภัยจากรถผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิบัตรทองต่อเนื่องจากค่าเสียหายเบื ้องต้นที ่กองทุนทดแทนผู ้ประสบภัยจากรถ หรือบริษัทประกันภัยเป็นผู ้จ่าย โดย1. เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ• แจ้งใช้สิทธิพร้อมหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจําตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้ และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สําเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย• หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสํารองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)2. เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ• แจ้งใช้สิทธิบัตรพร้อมหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประจําตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สําเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย• ติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 เพื่อประสานหาเตียงรองรับในการใช้สิทธิบัตรทองต่อเนื่อง• หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้นพถให้ผู้ป่วยสํารองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู ่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถของคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)MED NUJune 2011 23

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!