07.06.2013 Views

วิถีสู่สันติภาพ

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong><br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 3 7


<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong><br />

ผู้แต่ง<br />

: พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)<br />

ผู้แปล<br />

: พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร.<br />

บรรณาธิการ : ดร. ดิออน โอลิเวอร์ พีเพิลส์<br />

ออกแบบ : ศรันยา อุปนาศักดิ์<br />

พิมพ์ครั้งที่<br />

๑ : พฤษภาคม ๒๕๕๔<br />

จำนวน : ๓,๐๐๐ เล่ม<br />

ISBN : ๙๗๘-๙๗๔-๓๖๔-๙๒๙-๕<br />

พิมพ์โดย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย<br />

เลขที่<br />

๗๙ หมู่ที่<br />

๑ ต.ลำไทร อ.วังน้อย<br />

จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๗๐<br />

โทรศัพท์ ๐-๓๕๒๔-๘๐๐๐<br />

www.mcu.ac.th<br />

พิมพ์ที่<br />

: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย<br />

วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร<br />

กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐<br />

โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๑-๘๘๙๒<br />

โทรสาร ๐-๒๖๒๓-๕๖๒๓<br />

www.mcu.ac.th


บทนำ<br />

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมใน<br />

การสนุบสนุน และส่งเสริมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา<br />

วันสำคัญสากลของสหประชาติจนประสบความสำเร็จตั้งแต่ปีพุทธ<br />

ศักราช ๒๕๔๗ จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ (ยกเว้นปีพุทธศักราช<br />

๒๕๕๑ ที่จัดขึ้น<br />

ณ เมืองฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)<br />

ข้าพเจ้าในนามของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีความ<br />

ยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยและมหาเถรสมาคม<br />

ด้วยดีเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง<br />

องค์การสหประชาชาติ ที่ให้รับรอง<br />

วันวิสาขบูชา อันเป็นวันแห่งการประสูติ ตรัสรู้<br />

และปรินิพพานของ<br />

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<br />

สำหรับการจัดงานเฉลิมฉลองในปีนี้<br />

ทางสมาคมมหาวิทยาลัย<br />

พระพุทธศาสนานานาชาติ (สมพน.) ที่จัดตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช<br />

๒๕๕๐ โดยการร่วมมือของสถาบันทางการศึกษาพระพุทธศาสนา<br />

ระดับสูงทั่วโลก<br />

และขณะนี้<br />

สำนักงานเลขานุการสมาคมมหาวิทยาลัย<br />

พระพุทธศาสนานานาชาติ (สมพน.) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่<br />

ณ<br />

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา


ได้มีบทบาทสำคัญในการร่วมเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก โดยเฉพาะ<br />

อย่างยิ่งการจัดกิจกรรมการประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ<br />

หนังสือเล่มนี้จะสำเร็จไปมิได้หากปราศจากความวิริยะ<br />

อุตสาหะของคณาจารย์ นักวิชาการทั่วโลก<br />

และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย<br />

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ข้าพเจ้าขอขอบใจในความเสียสละของ<br />

บรรดาสมาชิก สมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก คณะกรรมการ<br />

สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ คณะกรรมการกอง<br />

บรรณาธิการ ตลอดจนผู้ร่วมปฏิบัติงาน<br />

ผู้สนับสนุน<br />

และอาสาสมัคร<br />

ทุกท่าน<br />

พระธรรมโกศาจารย์, ศ. ดร.<br />

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย<br />

ประธานสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก<br />

ประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ


สารบัญ<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong><br />

42<br />

การเฉลิมฉลองที่สมควรและมีคุณค่า<br />

43<br />

อย่าได้แค่วิจารณ์เขาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้<br />

แต่ต้องคิดให้ดีด้วยว่าเราจะทำอย่างไร 45<br />

สันติภาพไม่ใช่แค่ท่องว่า เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร<br />

แต่ต้องไปให้ถึงขั้นว่า<br />

ทำอย่างไรจะไม่ต้องจองเวร 49<br />

ถึงจะยากก็ต้องทำคือต้องแก้ไขความอยากได้-อยากใหญ่-ใจแคบ 55<br />

ปมปัญหายิ่งซับซ้อนใหญ่โตยากนักหนาเมื่อตัณหา-มานะ-ทิฏฐิ<br />

ซ่อนแฝงไว้ซึ่งความกลัว-หวาดระแวง-ไม่ไว้ใจ<br />

58<br />

แค่ทิฏฐิในเรื่องชาติพันธุ์ที่มีมานานนักหนา<br />

มนุษย์ก็ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเลย<br />

63<br />

แค่ “รวมกันเราอยู่<br />

แยกกันเราตาย” สร้างสันติภาพโลกไม่ได้<br />

แต่ต้องรวมกันเป็นหมู่<br />

สู่ความประสานเป็นสากล<br />

66<br />

แค่ “สากล” สามประการ ที่เป็นเรื่องพื้นฐานธรรมดา<br />

ทำไมการศึกษาจึงยังพัฒนาคนไปไม่ถึง 71<br />

โลกจะไร้พรมแดนได้จริง ใจต้องไร้พรมแดน<br />

ใจจะไร้พรมแดนได้ ต้องให้มีการศึกษาที่ถูกต้อง<br />

75


4 2<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong><br />

คำอาราธนา<br />

กราบนมัสการพระคุณเจ้า โครงการ “เฉลิมฉลอง ๔๘ พรรษา<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ๔๘ ปาฐกถา<br />

ภูมิปัญญานักคิดไทย” ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ<br />

ประสานมิตร<br />

อนุมัติให้สถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ<br />

เป็นเจ้าของโครงการที่ดำเนินการรวบรวมความรู้ทุกด้านทุกสาขา<br />

เผย<br />

แพร่ให้เป็นประโยชน์กับผู้คนทั้งหลาย<br />

ทั้งโดยการสัมมนา<br />

และเผย<br />

แพร่โดยทางสื่อหนังสือสำหรับห้องสมุดและผู้สนใจในอนาคต<br />

สำหรับหนังสือที่จะเผยแพร่นั้น<br />

ได้ตั้งความมุ่งหมายว่ารายได้<br />

ทั้งหมดจะทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราช<br />

กุมารี เพื่อทรงใช้โดยพระราชกุศล<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


ในนามโครงการนี้<br />

สถาบันวิจัยฯ ขอกราบนมัสการพระคุณเจ้า<br />

เมตตากล่าวปาฐกถา “ศาสนากับ<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>”<br />

ขออนุโมทนา ในการที่สถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัย<br />

ศรีนครินทรวิโรฒ ในนามของมหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมเป็น<br />

โครงการขึ้นครั้งนี้<br />

ซึ่งเป็นการแสดงน้ำใจที่มีความรักความปรารถนาดี<br />

ต่อองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี<br />

การเฉลิมฉลองที่สมควรและมีคุณค่า<br />

การมีน้ำใจรักและปรารถนาดีที่แสดงออก<br />

อันเรียกว่า เมตตา<br />

ธรรม นี่แหละเป็นการฉลองในตัวอยู่แล้ว<br />

จากเมตตาที่มีอยู่ในใจเรียก<br />

ว่า เมตตามโนกรรม ก็แสดงออกมาทางวาจา เป็นการพูดเรียกว่า<br />

เมตตาวจีกรรม แล้วก็แสดงออกในการกระทำกิจกรรมทั่วไปทางกาย<br />

เรียกว่า เมตตากายกรรม พอครบทั้ง<br />

๓ นี้ก็บริบูรณ์<br />

การที่ทางมหาวิทยาลัยจัดโครงการนี้ขึ้นก็คิดว่าได้เจริญ<br />

เมตตาคือไมตรีธรรมพร้อมทั้ง<br />

๓ ประการ<br />

ยิ่งกว่านั้นในฐานะที่องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา<br />

สยามบรมราชกุมารี เรียกได้ว่าทรงเป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย<br />

ศรีนครินทรวิโรฒ ทรงมีความสนิทสนมกับมหาวิทยาลัยมาก ได้ทราบ<br />

ว่าได้เสด็จมาที่มหาวิทยาลัยอยู่เสมอ<br />

เรียกว่ามีความผูกพันกับทาง<br />

มหาวิทยาลัย การที่ทางมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมครั้งนี้<br />

ที่เป็นการ<br />

ฉลองพระชนมายุนั้นจึงเป็นเรื่องของความเหมาะสม<br />

หรือเป็นความ<br />

สมควรอยู่ในตัวประการหนึ่ง<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 4 3


ยิ่งเมื่อมองกว้างออกไปทั้งสังคมไทย<br />

ในฐานะที่พระองค์ท่าน<br />

ทรงเป็นที่รักและได้ทรงทำประโยชน์ไว้แก่ประเทศชาติตลอดมา<br />

ถ้าใช้<br />

ภาษาพระก็เรียกว่า ทรงเป็นที่เลื่อมใสของประชานิกร<br />

ทาง<br />

มหาวิทยาลัยก็ควรจะแสดงมุทิตาธรรมแด่พระองค์ ถวายให้เป็น<br />

การเฉลิมฉลองเมื่อมองในแง่นี้ก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา<br />

คือการฉลอง<br />

ครั้งนี้เป็นการถวายมุทิตาธรรม<br />

โดยสมควรแก่พระคุณความดีของ<br />

พระองค์ ดังที่ได้ทราบกันอยู่เป็นอย่างดีแล้ว<br />

จึงขออนุโมทนา<br />

โดยเฉพาะเรื่องที่โครงการจัดทำขึ้นครั้งนี้<br />

เรียกได้ว่าเป็น<br />

กิจกรรมทางธรรมทางปัญญา ที่จะส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ความคิด<br />

ความเข้าใจแก่สังคม นับว่าเป็นกุศลอย่างสูง ถ้าใช้ภาษาพระก็เรียกว่า<br />

ได้ทั้ง<br />

ปุญญัง และ ปัญญา<br />

ปุญญัง ก็คือ บุญ และ ปัญญา ก็คือปัญญา แม้ว่าปัญญาจะ<br />

เป็นบุญอย่างหนึ่งอยู่ใน<br />

ปุญญัง หรือ บุญ นั่นแหละ<br />

แต่ระบุแยกออก<br />

มา เพราะเป็นบุญอย่างพิเศษ ที่มานำทางและพัฒนาบุญอื่นๆ<br />

รวมความว่า เรามาจัดกิจกรรมนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์<br />

จะได้<br />

เป็นการฉลองที่มีคุณค่าแท้จริง<br />

4 4<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


อย่าได้แค่วิจารณ์เขาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้<br />

แต่ต้องคิดให้ดีด้วยว่าเราจะทำอย่างไร<br />

วันนี้<br />

ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นิมนต์อาตมภาพ<br />

บรรยายโดยตั้งชื่อเรื่องว่า<br />

“ศาสนากับ<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>”<br />

เมื่อได้รับ<br />

นิมนต์และเห็นชื่อเรื่องก็เกิดความสงสัยว่า<br />

นิมนต์และจัดกิจกรรม ใน<br />

ช่วงที่มีสงครามอิรัก<br />

ท่านที่ตั้งชื่อเรื่องนี้คิดถึงหรือปรารภสงครามอิรัก<br />

หรือเปล่า ก็เลยได้ขอโอกาสถามท่านอาจารย์ที่จัดกิจกรรมนี้ขึ้นคือที่<br />

นิมนต์บรรยาย ท่านก็ยอมรับว่ามีส่วนหนึ่งด้วย<br />

แต่จะปรารภหรือไม่ปรารภก็ตาม ในเมื่อช่วงระยะเวลานี้คน<br />

กำลังสนใจเรื่องสงคราม<br />

และสงครามนี้ก็ดำเนินมากระทั่งจบฉาก<br />

สำคัญไปฉากหนึ่งแล้ว<br />

จะมีฉากต่อไปอย่างไรหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่เรา<br />

ยังไม่อาจจะคาดคิดได้ชัดเจน เพราะฉะนั้นเมื่อพูดเรื่องนี้<br />

พอคนได้ยิน<br />

คำว่า “สันติภาพ” ก็ย่อมนึกถึง คำว่า “สงคราม” และนึกถึง<br />

สงครามอิรักอยู่ดี<br />

เราก็เลยมาเริ่มต้นกันที่นี่นิดหน่อย<br />

ซึ่งก็ไม่ถือเป็น<br />

เรื่องสำคัญอะไร<br />

คือไม่สำคัญสำหรับปาฐกถาหรือการบรรยายนี้<br />

แต่<br />

สำคัญสำหรับโลก ก็เอามาเป็นข้อปรารภนิดหน่อย<br />

สงครามอิรักที่เกิดขึ้นมาจนถึงขณะนี้<br />

ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์<br />

กันมาก ดังจะเห็นได้ทางสื่อต่างๆ<br />

เช่น ทางหนังสือพิมพ์ คำวิจารณ์<br />

นั้นมีต่างๆ<br />

แต่รวมแล้วเมื่อจะพูดสั้นๆ<br />

ก็ขอยืมคำของนาย<br />

แม็กกัฟเวิร์น (George S. McGovern) มาใช้<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 4 5


นายแม็กกัฟเวิร์นนี้เป็นคู่แข่งฝ่ายเดโมแครต<br />

(Democrat) ใน<br />

การสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของอเมริกา<br />

สู้กับประธานาธิบดี<br />

นิกสัน (Richard M. Nixon) เมื่อ<br />

๓๐ กว่าปีมาแล้วนายแม็กกัฟเวิร์น<br />

เรียกสงครามเวียดนาม ซึ่งกำลังรบอยู่ในตอนนั้นโดยอเมริกาเป็น<br />

เจ้าของเรื่อง<br />

ว่าเป็น “อักลี่วอร์”<br />

(ugly war)<br />

ความคิดเห็นที่วิจารณ์เรื่องสงครามอิรักเวลานี้<br />

ถ้าพูดสั้นๆ<br />

ก็พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ก็เท่ากับกำลังวิจารณ์กันว่า<br />

“สงครามอิรักนี้<br />

เป็นสงครามที่อักลี่<br />

หรือไม่” หรือถ้าพูดเป็นภาษา<br />

ฝรั่งก็คือ<br />

Iraq War นี้เป็น<br />

Ugly War หรือเปล่าเป็นการสรุปสั้นๆ<br />

เขา<br />

ก็เถียงกันไป หรือวิจารณ์กันไป<br />

อีกอย่างหนึ่ง<br />

เขาวิจารณ์กันในแง่ที่ว่า<br />

อเมริกาทำสงครามนี้<br />

เป็น “วอร์ ทู ลิเบอเรต” (War to Liberate) ในขณะที่อีกฝ่ายก็<br />

เถียงว่าน่าจะไม่ใช่ เมื่อไม่ใช่จะเป็นสงครามอะไร<br />

ก็จะเป็น “วอร์ ทู<br />

ซับจูเกต” (War to Subjugate) ถ้าพูดเป็นภาษาไทยง่ายๆ ก็เถียงกัน<br />

ว่าเป็น“สงครามเพื่อปลดแอก<br />

หรือเป็นสงครามเพื่อใส่แอก”<br />

หรือ<br />

พูดให้ถูกหลักภาษาว่าเพื่อเทียมแอก<br />

จะเป็นอย่างไรก็ตาม ก็ขอให้เป็นเรื่องของท่านทั้งหลาย<br />

หรือ<br />

ว่าประชาชนและสื่อมวลชนจะวิจารณ์กันไป<br />

ในที่นี้จะไม่ขอวิจารณ์<br />

ด้วยแต่อยากจะพูดอย่างหนึ่งว่า<br />

น่าจะไม่พอนะที่เราไปมัวเถียงกันอยู่<br />

แค่นั้นคือจะไปมองดูเขาแล้วก็ไปวิจารณ์ว่าเขาทำอย่างนั้นๆ<br />

เป็น<br />

อย่างไรน่ะคงจะไม่เพียงพอ สิ่งสำคัญที่เราควรจะก้าวไปถึงก็คือ<br />

ต้อง<br />

มองดูตัวเราว่า เมื่อเขาเป็นอย่างนี้แล้ว<br />

เราจะทำอย่างไร เราคิดกัน<br />

เพียงพอหรือเปล่าว่าเราจะทำอะไรและอย่างไร<br />

4 6<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


ที่ว่านี้หมายความว่า<br />

สงครามเขารบกันมา เราก็ได้เห็นแล้วว่า<br />

มันเป็นอย่างนี้ๆ<br />

ในแง่หนึ่งก็เหมือนเป็นเครื่องย้ำ<br />

ให้เห็นว่า เออ…โลก<br />

นี้มันก็เป็นอย่างนี้แหละ<br />

อย่างในประเทศอเมริกา ผู้นำของเขาก็พูดกำชับอยู่เรื่อย<br />

ย้ำ<br />

แล้วย้ำอีก อย่างตอนที่ตั้ง<br />

NAFTA คือเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ<br />

ทางแคนาดา อเมริกา และเม็กซิโก โน่น ผู้นำตอนนั้นคือประธานาธิบดี<br />

คลินตัน (Bill Clinton) ก็พูดย้ำว่า ที่ทำนี้วัตถุประสงค์สำคัญก็เพื่อ<br />

National Interests คือเขตการค้าเสรีต่างๆ เขตไหนก็ตาม ตัวผู้ต้นคิด<br />

ต้นเรื่องมีจุดหมายสำคัญคือ<br />

เพื่อผลประโยชน์ของชาติของเขา<br />

ซึ่งเขา<br />

ก็ย้ำอยู่เสมอ<br />

เราก็ต้องรู้ตามเป็นจริง<br />

เมื่อเรารู้เท่าทันดังนี้แล้ว<br />

เราก็ต้องมาคิดว่า ในเมื่อโลกเขา<br />

เป็นกันอย่างนี้<br />

เราจะอยู่อย่างไร<br />

จึงจะมีทางรอด หรือว่าสังคมของเรา<br />

จึงจะอยู่ได้ด้วยดี<br />

อันนี้คือเรื่องที่เราต้องคิด<br />

ขั้นที่<br />

๑<br />

ขั้นที่<br />

๒ นอกจากคิดว่าเราจะอยู่อย่างไรให้ดีในสภาพของ<br />

โลกอย่างนี้<br />

ก็ต้องคิดต่อไปว่า ถ้าเรามีความ<br />

สามารถยิ่งกว่านั้น<br />

ก็ต้องก้าวไปช่วยโลกใน<br />

การแก้ปัญหา และแก้ปัญหาระยะยาว<br />

อย่างที่ตั้งเป็นหัวข้อบรรยายครั้งนี้ว่า<br />

ก้าว<br />

ไปสู่วิถีแห่งสันติภาพ<br />

หรือที่จะทำให้โลก<br />

มีสันติภาพ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ทั้ง<br />

๒ ขั้น<br />

ถ้าขั้นที่<br />

๑ เรายังไม่คิดแล้ว ขั้นที่<br />

๒ ก็เห็นจะยาก<br />

คนไทยมองดูสงครามนี้<br />

ถ้าเราได้แค่วิจารณ์ว่าเขาเป็น<br />

อย่างไรๆ โดยไม่คิดว่าแล้วเราจะทำอย่างไร เราจะต้องทำ<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 4 7


อะไร อย่างน้อยก็เพื่อให้ประเทศชาติสังคมของเราดำรงอยู่ได้ด้วยดี<br />

ในโลกที่มีสภาพเดือดร้อนไม่มีสันติภาพหรือสงครามกันอยู่อย่างนี้<br />

ความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ของเราก็แทบจะไร้ประโยชน์ นี่เป็น<br />

ปัญหาที่เราต้องคิด<br />

ถ้าเรามีความมั่นใจว่าเราเข้มแข็งพอที่จะอยู่รอดได้<br />

เราก็ต้อง<br />

ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง<br />

หรือจะทำไปพร้อมกันก็ได้ คือเพียรพยายามที่จะ<br />

แก้ปัญหาของโลก ทำให้โลกนี้ดำเนินไปสู่วิถีแห่งสันติภาพ<br />

4 8<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


สันติภาพไม่ใช่แค่ท่องว่า<br />

เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร<br />

แต่ต้องไปให้ถึงขั้นว่า<br />

ทำอย่างไรจะไม่ต้องจองเวร<br />

ไม่เพียงแต่เรื่องการวิจารณ์คนอื่นและเหตุการณ์ทั้งหลาย<br />

เท่านั้น<br />

แม้แต่ในเรื่องหลักการต่างๆ<br />

ก็เหมือนกัน คนไทยเราอาจจะ<br />

ต้องมาตรวจสอบตัวเอง บางทีอาจจะต้องติเตียนกันบ้าง ตำหนิกัน<br />

บ้างเพราะว่าทั้งที่เป็นพุทธศาสนิกชน<br />

บางทีเราก็ไม่ได้คิดกันจริงจังว่า<br />

จะต้องทำอะไร เราแค่ฟังและบางทีก็ยอมรับกันแค่ว่าหลักการมัน<br />

เป็นอย่างนั้น<br />

แต่เมื่อต้องต่อด้วยคำว่า<br />

“แล้วเราจะต้องทำอย่างไร”<br />

ถึงตรงนี้เรากลับแทบไม่ขวนขวาย<br />

ยกตัวอย่างง่ายๆ หลักธรรมหลายอย่างที่เราได้ยินและสอน<br />

กันอยู่เรื่อยๆ<br />

และเราก็เอามาพูดกันจนติดปาก เช่นที่ท่านว่า<br />

อตฺตา<br />

หิอตฺตโน นาโถ แปลว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน<br />

ซึ่งเราก็ยอมรับว่าเป็น<br />

ความจริง และสอนกันอยู่เรื่อยว่า<br />

ตนเป็นที่พึ่งของตน<br />

แต่ตอนที่จะ<br />

ต้องทำ คือตอนที่พระท่านสอนว่า<br />

แล้วทำอย่างไรตนจะเป็นที่พึ่งได้<br />

อันนี้เราไม่ค่อยจะเดินหน้าหรือแม้แต่เอาใจใส่กันเลย<br />

ทั้งที่ตรงนี้เป็น<br />

คำสอนที่สำคัญ<br />

ซึ่งเป็นภาคปฏิบัติ<br />

หมายความว่า เมื่อเรารู้หลักความจริงที่เป็นอย่างนั้นว่า<br />

ตนเป็นที่พึ่งของตนแล้ว<br />

มันก็เตือนเราว่า เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำ<br />

ตนให้เป็นที่พึ่งได้<br />

แล้วก็ต้องพัฒนาตนขึ้นมา<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 4 9


คำสอนของพระพุทธศาสนาที่ท่านเพียรพยายามสอนมา<br />

มากมาย ก็คือสอนให้คนทำตนให้เป็นที่พึ่งได้<br />

ด้วยการฝึกฝนพัฒนาตน<br />

คือด้วยการศึกษา ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ<br />

ถ้าเราอยู่แค่ตนเป็นที่พึ่งของตน<br />

แค่นั้น<br />

ก็จบ คือได้แต่รู้หลักความจริง<br />

แต่ไม่ได้ก้าวไปไหน<br />

อย่างคำสอนอีกข้อหนึ่งที่คุ้นๆ<br />

กันว่า เวรไม่ระงับด้วยการ<br />

จองเวรหรือ เวรระงับด้วยการไม่จองเวร เราก็ได้ยินกันอยู่เสมอ<br />

และจำกันได้อย่างแม่นยำ อันนี้ก็เป็นหลักความจริงในหมู่มนุษย์ที่ว่า<br />

ถ้าเกิดมีเวรและไปจองเวรกัน มันก็ไม่รู้จักจบสิ้น<br />

แต่ในแง่ของภาคปฏิบัติที่จะต้องทำ<br />

จะต้องถามต่อไปว่า<br />

แล้วทำอย่างไรจึงจะไม่ต้องจองเวร ตรงนี้แหละที่คนไทยเราหรือ<br />

ชาวพุทธไทยเราไม่ค่อยคิด ทั้งๆ<br />

ที่ในพระพุทธศาสนานั้น<br />

เมื่อค้นดูใน<br />

คัมภีร์ต่างๆ ท่านก็พยายามสอน ว่าทำอย่างไรจะไม่ต้องจองเวร โดย<br />

เฉพาะหลักการข้อนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องสงครามและสันติภาพด้วย<br />

การ<br />

ที่จะไม่ต้องจองเวรนั้น<br />

เมื่อพูดอย่างชาวบ้าน<br />

ก็อาจจะมีอยู่<br />

๓ แบบ<br />

แบบที่<br />

๑ คือ คนก่อเวรเขาทำรุนแรงได้ผล จนกระทั่งผู้ถูก<br />

กระทำนั้นสูญสิ้นชาติพันธุ์หายไปหมดเลย<br />

จึงไม่มีโอกาสมาจองเวร<br />

แบบที่<br />

๒ คือ เมื่อถูกเขาก่อเวรแล้ว<br />

คนที่ถูกกระทำ<br />

มีความ<br />

สามารถที่จะทำให้การก่อเวรของผู้ทำร้ายนั้นไม่สัมฤทธิ์ผล<br />

สงบไป<br />

หรือ สยบได้ เลิกหายต่อกัน เพราะเขายอม อย่างนี้เรียกว่าชนะได้<br />

ด้วยธรรม โดยไม่ต้องทำร้ายเขา<br />

แบบที่<br />

๓ คือ ทำอย่างไรในระยะยาว เราจะสามารถทำที่จะ<br />

ไม่ให้มีการก่อเวรขึ้นมาอีกเลย<br />

แบบนี้แหละเก่งที่สุด<br />

ถึงขั้นนี้จึงจะมี<br />

สันติภาพแน่นอน โดยทำให้โลกนี้ไม่มีการก่อเวรกัน<br />

แล้วเราล่ะอยู่ใน<br />

5 0<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


แบบไหนหรือขั้นไหน<br />

ถ้าไม่เพียรพยายาม เราจะอยู่ในขั้นที่<br />

๑ คือ<br />

ถ้าเขาก่อเวรมาเราก็สิ้นชาติสิ้นพันธุ์<br />

จบกัน ก็ไม่ต้องจองเวร<br />

ในคัมภีร์ต่างๆ ท่านสอนไว้ ดังมีตัวอย่างในชาดกที่ยกเรื่อง<br />

มาเล่าไว้ให้เห็นว่า เราจะเปลี่ยนวิถีของโลกได้อย่างไร<br />

ในขณะที่โลกนี้<br />

มันร้าย มีแต่คนที่คิดจะแก้แค้นกัน<br />

เบียดเบียนกัน ทำสงครามกันไม่<br />

หยุดหย่อน แล้วทำอย่างไรจะให้เกิดสันติภาพหรือความสงบได้<br />

แม้แต่เมื่อมีฝ่ายที่เขาตั้งตัวเป็นศัตรูในระดับประเทศชาติ<br />

ยกทัพมารุกรานเบียดเบียน ก็มีชาดกหลายเรื่องที่สอนเรื่องนี้<br />

ชาดก<br />

ใหญ่ๆ เช่น มโหสถชาดก ก็เป็นเรื่องแบบนี้<br />

คือฝ่ายประเทศอื่นนั้น<br />

เขาคิดร้ายเขาต้องการความยิ่งใหญ่ขยายดินแดน<br />

ยกทัพมาบุก ฝ่ายนี้<br />

ตั้งอยู่ในธรรมไม่ต้องการใช้กำลัง<br />

โดยเฉพาะไม่ต้องการให้ประชาราษฎร์<br />

เดือดร้อน ก็หาทางแก้ไข จนกระทั่งสามารถทำให้ฝ่ายที่ยกทัพมา<br />

รุกรานนั้นต้องยอม<br />

ถูกสยบได้โดยไม่ต้องใช้กำลัง ไม่ต้องใช้ความ<br />

รุนแรงโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อเลย<br />

และกลับเป็นไมตรีกันด้วย หรือ<br />

จบลงด้วยดี อย่างนี้คือขั้นกลาง<br />

ส่วนขั้นที่<br />

๓ นั้นคือจุดหมายของพระพุทธศาสนาระยะยาว<br />

ที่พยายามสอนและพัฒนามนุษย์ให้ขึ้นไปถึงขั้นนั้น<br />

แต่เอาแค่ขั้นที่สองก็ต้องถามว่า<br />

เราได้พยายามบ้างหรือเปล่า<br />

คนที่จะชนะได้<br />

โดยสยบคนร้ายหรือทำให้การก่อเวรนั้นต้องสงบลง<br />

ด้วยดี โดยเป็นมิตรไมตรีแก่กัน ต้องมีความสามารถกว่าคนที่เอาชนะ<br />

ในการรบกันมากมายหลายเท่า อาจจะพูดว่าเป็นสิบเท่าเลย<br />

ฉะนั้นคนที่จะสร้างสันติภาพ<br />

เพื่อทำไม่ให้มีความความ<br />

รุนแรงอย่างที่เรียกกันในปัจจุบันว่า<br />

อหิงสา ฝรั่งว่า<br />

Nonviolence นั้น<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 5 1


ต้องเป็นคนที่มีสติปัญญาความสามารถอย่างยอดเยี่ยม<br />

ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ<br />

จะไปทำได้ ไม่ใช่ฟังแค่ว่า เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร แล้วพูดได้แค่ว่า<br />

เราอย่าไปจองเวรนะ ก็จบเท่านั้นเอง<br />

เราก็เลยสูญสิ้น<br />

เราต้องคิดกันให้จริงจังในแง่นี้<br />

และท่านก็อุตส่าห์สอนไว้<br />

มากมาย การพัฒนาความสามารถ กับการมีเจตจำนงที่เป็นธรรม<br />

มุ่งดี<br />

ปรารถนาสันติสุขนั้น<br />

ต้องไปด้วยกัน ไม่ใช่เอาแค่มุ่งดีเพียงอย่างเดียว<br />

หมายความว่า ทางพระสอนไว้ ๒ อย่าง คือในด้านหนึ่งต้องมี<br />

เมตตา กรุณา นั้นแน่นอน<br />

นี่ก็คือ<br />

อหิงสา = ไม่เบียดเบียน<br />

แต่พร้อมกันนั้นในด้านที่สอง<br />

ต้องมีปัญญา เพราะว่าคนที่จะ<br />

ทำให้เมตตา ความปรารถนาดี หรือความรักสัมฤทธิ์ผลได้<br />

ต้องมี<br />

ปัญญา และต้องมีปัญญามากกว่าปกติ เพราะตามปกติคนเราจะรบรา<br />

ฆ่าฟันต่อสู้กันและเอาชนะกันด้วยกำลัง<br />

ใครมีกำลังมากกว่าโดย<br />

เฉพาะทางรูปธรรมมีร่างกายแข็งแรงกว่า มีอาวุธเหนือกว่า ก็ชนะไป<br />

แต่ต้องเสียเลือดเนื้อ<br />

ลำบาก วุ่นวายกันมาก<br />

การที่เราพัฒนามนุษย์ให้<br />

มีอารยธรรมก็เพื่อให้มนุษย์นั้นสามารถที่จะทำให้ความรุนแรงนั้นหาย<br />

ไป โดยใช้วิธีสงบ ด้วยความสามารถทางปัญญา<br />

เคยมีไหมในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ได้ทำหลักการนี้ให้เป็น<br />

จริงขึ้น<br />

ถ้าหลักการนี้มนุษย์ทำให้สำเร็จได้<br />

ก็แสดงว่ามนุษย์เจริญ<br />

ในอารยธรรม แต่ถ้ามนุษย์ยังทำไม่ได้ เขาก็ได้แต่เอากำลังมาสู้กัน<br />

ใคร<br />

มีกำลังมากก็ชนะไป ก็แสดงว่ามนุษย์ไม่ได้เจริญอะไรขึ้นมาเลย<br />

มันจะ<br />

เป็นอารยธรรมได้อย่างไร เพราะมันก็เหมือนกับสมัยบุพกาล ซึ่งเขาก็<br />

รบกันมาอย่างนี้<br />

ใครมีกำลังมากก็ชนะไป ไม่เห็นจะเป็นอารยธรรม<br />

อะไรก็เหมือนเดิม<br />

5 2<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


เพราะฉะนั้นจึงต้องคิดกันให้ดี<br />

นี่คืออารยธรรมในแง่สันติภาพ<br />

ซึ่งก็ควรเน้นหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้<br />

คือ เวรไม่ระงับด้วย<br />

การจองเวร<br />

ถ้าจะปฏิบัติตามหลักนี้ก็ต้องมาคิดกันว่า<br />

ทำอย่างไรจึงจะไม่<br />

ต้องจองเวร อย่างน้อยก็ต้องพัฒนาความสามารถที่จะยุติความรุนแรง<br />

ด้วยความสงบ และนอกจากเจตนาในจิตใจที่มีเมตตากรุณา<br />

ก็จะต้อง<br />

พัฒนาปัญญาอย่างยวดยิ่งด้วย<br />

ขอให้คิดกันจริงจังในเรื่องนี้<br />

อย่างน้อยเราจะต้องพิจารณาในขั้น<br />

๑ ที่ว่า<br />

เมื่อโลกเขายัง<br />

เป็นอย่างนี้<br />

เช่นว่าในเมื่อแต่ละประเทศต่างก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์<br />

แก่ชาติของตัว มันก็ต้องมีปัญหากันเรื่อยไปอย่างนี้<br />

แล้วเมื่อในโลก<br />

เป็นอย่างนี้<br />

สังคมไทยเราจะอยู่ให้ดีได้อย่างไร<br />

แต่ในขั้นที่<br />

๑ วันนี้<br />

จะไม่พูดถึง เพราะไม่ตรงกับหัวข้อที่นิมนต์ให้บรรยายข<br />

ขอก้าวไปสู่ขั้น<br />

๒ ที่ว่า<br />

แล้วคนไทยเรา หรือทุกๆ คน จะก้าว<br />

ไปสู่การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของโลกในแง่ของสันติภาพนี้ได้<br />

อย่างไร แล้วทำอย่างไรจะให้โลกนี้เดินไปสู่วิถีแห่งสันติภาพ<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 5 3


5 4<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


ถึงจะยากก็ต้องทำ คือต้องแก้ไข<br />

ความอยากได้-อยากใหญ่-ใจแคบ<br />

วันนี้ทางท่านผู้นิมนต์ตั้งหัวข้อให้เป็นเรื่องของ<br />

“ศาสนา”<br />

ความจริง ถ้าพูดในแง่ของเรา ศาสนาก็คือคำสอน คำว่าพระพุทธศาสนา<br />

ก็แปลตรงตัวเลย พุทธ แปลว่า ผู้ตรัสรู้<br />

และ ศาสนา แปลว่า คำสอน<br />

รวมกันแปลว่า คำสอนของท่านผู้รู้ความจริง<br />

ก็เป็นกลางๆ ไม่เข้าใคร<br />

ออกใคร<br />

โดยสรุป พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของการบอกว่าความจริง<br />

มีอยู่อย่างนี้ๆ<br />

ดังนั้น<br />

เราจึงควรประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ๆ<br />

การที่เราจะสร้างสันติภาพ<br />

ก็คือการแก้ปัญหาการรบราฆ่า<br />

ฟันสงครามของโลก เวลาจะแก้ปัญหาก็ต้องบอกว่าให้ทำอย่างนั้นทำ<br />

อย่างนี้<br />

แต่พอบอกให้ทำอย่างนั้นทำอย่างนี้<br />

คนก็จะพูดขึ้นมาว่า<br />

“พูด<br />

มันง่าย แต่ทำมันยาก” การจะพูดว่าให้ทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ก็พูดได้<br />

แต่ในเวลาปฏิบัติ คนที่จะทำเขาลำบาก<br />

ทำยาก ไม่ใช่ปฏิบัติง่ายๆ นี้<br />

เป็นแง่ที่คนชอบอ้าง<br />

แต่ก็มีแง่ที่ทำให้อ้างไม่ได้เช่นกันว่า<br />

หลักการที่ต้องปฏิบัติ<br />

หลายอย่างที่ว่ายากนั้น<br />

เมื่อเป็นความจริงที่จะต้องทำจึงจะสำเร็จ<br />

มัน<br />

จะยากหรือไม่ยาก ก็ไม่เกี่ยวแล้ว<br />

ถ้าคุณต้องการข้ามแม่น้ำนี้ไปฝั่งโน้น<br />

เพราะว่าหมู่บ้านที่คุณ<br />

ต้องการอยู่ฝั่งโน้น<br />

การข้ามแม่น้ำนี้จะยากหรือไม่ยากก็ตาม<br />

คุณก็ต้อง<br />

ข้าม กรณีนี้มันจำเป็นแล้ว<br />

จะมาอ้างความยากไม่ได้ คำถามมีได้แต่ว่า<br />

คุณจะไปหรือไม่ไป ถ้าคุณจะไปให้ถึง คุณก็ต้องข้ามมันไปให้ได้ไม่ว่า<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 5 5


มันจะยากหรือไม่ยากก็ตาม<br />

หลักการหลายอย่างก็เช่นเดียวกัน จะมัวรำพันถึงความยาก<br />

ไม่ได้ แม้แต่จะบอกว่า พูดมันง่ายแต่ทำมันยาก ก็พูดไม่ได้ เพราะว่า<br />

มันเป็นหลักความจริง ถ้าคุณไม่ปฏิบัติ คุณก็ไม่สำเร็จ ถ้าคุณอยากมี<br />

สันติภาพ ก็ต้องทำตามหลักการนี้<br />

ถ้าไม่ทำ สันติภาพก็ไม่เกิดขึ้นทาง<br />

เลือกไม่มี คุณต้องทำ<br />

วันนี้เราจะพูดกันถึงหลักการแบบนี้<br />

จึงต้องบอกไว้ก่อนว่า<br />

อย่ามาอ้างกันอีกว่ายาก นี่เป็นการทำความเข้าใจกันไว้ก่อน<br />

เรื่องการสร้างสันติภาพนี้<br />

เริ่มต้นก็ต้องมาดูที่หลักการฝ่าย<br />

ตรงข้าม คือด้านเหตุปัจจัยที่ทำให้คนขัดแย้งกัน<br />

ต่อสู้กัน<br />

มารบราฆ่า<br />

ฟันทำสงครามกัน ซึ่งประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็เป็นมาเป็นไปกัน<br />

อยู่อย่างนี้<br />

มีสงคราม มีการต่อสู้<br />

รบราฆ่าฟัน ขัดแย้งกัน ตั้งแต่ระดับ<br />

บุคคล ระดับสังคม จนถึงระดับประเทศชาติ ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย<br />

ขอสรุปสั้นๆ<br />

เหตุปัจจัยของความขัดแย้งนั้น<br />

ถ้าไปขุดกันมา<br />

แต่ละกรณีก็ต่างๆ กันไป แต่ว่าโดยสรุปแล้วก็มี ๓ อย่าง เท่านั้น<br />

เหตุปัจจัยที่ทำให้มนุษย์ขัดแย้งกันจนปัญหาความรุนแรงเบียดเบียน<br />

เกิดขึ้น<br />

คือ<br />

๑. อยากได้<br />

๒. อยากใหญ่<br />

๓. ใจแคบ<br />

อยากได้ ท่านเรียกว่า ตัณหา คืออยากได้ผลประโยชน์ อยาก<br />

ได้สิ่งเสพบริโภค<br />

ทรัพย์สมบัติ ความพรั่งพร้อม<br />

มาบำรุงบำเรอตัวให้มี<br />

5 6<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


มากที่สุด<br />

ข้อนี้เป็นเหตุใหญ่ให้คนขัดแย้งจนแม้กระทั่งยกทัพไปรบรา<br />

ฆ่าฟันกัน จะเห็นได้ว่าไม่ต้องพูดถึงบุคคลหรอก ประเทศชาติทั้งหลาย<br />

ก็ยกทัพไปตีกันเพราะเรื่องผลประโยชน์ทั้งนั้น<br />

แม้แต่สงครามที่กำลัง<br />

วุ่นวายอยู่เวลานี้<br />

ก็วิจารณ์กันว่าเป็นเพราะข้อนี้<br />

ปัจจัยที่<br />

๒ อยากใหญ่ คือต้องการอำนาจ ต้องการความ<br />

ยิ่งใหญ่<br />

ที่จะสามารถครอบงำผู้อื่นหรือบังคับเขาได้<br />

ข้อนี้ท่านเรียกว่า<br />

มานะ ตลอดทุกยุคสมัยที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์<br />

ปัจจัยข้อนี้มักจะมา<br />

คู่กับข้อที่<br />

๑ คืออยากได้ด้วย และอยากใหญ่ด้วย เพราะถ้าอยากใหญ่<br />

แล้วเป็นใหญ่ได้ ความอยากได้ก็จะสำเร็จได้ง่าย อยากได้ก็ต้องสำเร็จ<br />

ด้วยอยากใหญ่ และเมื่อได้แล้วตัวเองก็จะใหญ่ยิ่งขึ้น<br />

ก็เลยอยากได้<br />

กับ อยากใหญ่นี้<br />

คือ สองตัวสำคัญ เรียกว่า ตัณหา - มานะ<br />

แต่บางทีสงครามเกิดขึ้นเพราะปัจจัยด้านอื่นก็มี<br />

คือ เรื่อง<br />

ลัทธิศาสนา และอุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์โดยตรง<br />

แต่เป็นเรื่องของความเชื่อ<br />

และการยึดถือหลักการบางอย่าง โดยถือรั้น<br />

ไม่ยอมรับไม่ยอมฟังซึ่งกันและกัน<br />

อย่างนี้เรียกว่าใจแคบ<br />

เพราะฉะนั้นลัทธิศาสนาก็เลยกลายเป็นเหตุให้เกิดสงคราม<br />

ในอดีตมากมาย และสงครามลัทธิอุดมการณ์และศาสนานี้กลายเป็น<br />

เรื่องยืดเยื้อเรื้อรังกว่าสงครามแย่งชิงผลประโยชน์และสงครามแสวงหา<br />

ความยิ่งใหญ่ด้วยซ้ำไป<br />

ฉะนั้นปัจจัยตัวที่<br />

๓ นี้<br />

จึงเป็นตัวที่ฝังลึกมาก<br />

ทางพระเรียกว่า ทิฏฐิ<br />

ตกลงว่า ตัวการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของความขัดแย้ง<br />

การรบราฆ่าฟันกัน ตลอดจนสงคราม ก็คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ พูด<br />

เป็นไทยง่ายๆ ว่า อยากได้ อยากใหญ่ ใจแคบ<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 5 7


5 8<br />

ปมปัญหายิ่งซับซ้อนใหญ่โตยากนักหนา<br />

เมื่อตัณหา-มานะ-ทิฏฐิ<br />

ซ่อนแฝงไว้ซึ่งความกลัว-หวาดระแวง-ไม่ไว้ใจ<br />

แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไร ก็ต้องยอมรับความจริงว่า<br />

มันแสนยาก อย่างที่ว่า<br />

พูดง่าย-ทำยาก นั่นแหละ<br />

แต่ถึงยากก็ต้องทำ<br />

และการแก้ปัญหานั้นก็ไม่ใช่ว่าเราจะต้องทำพรวดเดียว<br />

เช่นบอกว่า<br />

คุณต้องไม่มีตัณหา ต้องไม่อยากได้ผลประโยชน์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้<br />

เรา<br />

ต้องยอมรับเรื่องของมนุษย์ทั่วไป<br />

และต้องทำเป็นขั้นตอน<br />

อย่างเรื่อง<br />

ตัณหา เราก็ต้องวางมาตรการต่างๆ ที่จะไม่ให้<br />

คนเอาเปรียบกัน ซึ่งโลกเขาก็พยายามวางกันมา<br />

แต่มนุษย์ก็พยายาม<br />

เอาเปรียบกันเสมอ บางทีก็ถึงกับวางกฎกติมาแบบเอาเปรียบคนอื่น<br />

และแม้แต่เมื่อมีกฎกติกาเป็นกรอบขึ้นมาแล้ว<br />

ก็ยังหาทางใช้กฎกติกา<br />

นั้นให้เกิดผลเข้าข้างตน<br />

ให้เอื้อแก่ตัวเอง<br />

ถึงจะอย่างไรก็ตาม ก็ต้องมีกฎกติกาไว้ รวมความก็คือ ต้องมี<br />

กฎกติกาและมาตรการที่จะรักษาความเป็นธรรม<br />

เพื่อไม่ให้มีการ<br />

แสวงหาผลประโยชน์แบบรุกรานผู้อื่น<br />

หรือเอาเปรียบผู้อื่นโดยไม่<br />

ชอบธรรม<br />

จะเห็นว่า แม้แต่เรื่องจำพวกการค้าเสรีและอะไรๆ<br />

ทำนองนี้<br />

เขาก็อ้างเรื่องความเป็นธรรม<br />

บอกว่าเป็นการค้าที่เสรีและเป็นธรรม<br />

เป็น “ฟรีเทรด” (Free Trade) ด้วย และ “แฟร์เทรด” (Fair Trade)<br />

ด้วย แต่เอาเข้าจริงก็เป็นปัญหาว่าฟรีเทรดนั้นเป็นแฟร์เทรดหรือเปล่า<br />

แล้วก็เถียงกันอยู่นั่นแหละ<br />

เพราะบางทีมันฟรี แต่มันไม่แฟร์ ทำอย่างไร<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


จะให้ทั้งฟรีและทั้งแฟร์ด้วย<br />

ซึ่งยากเหลือเกิน<br />

เพราะมนุษย์นี่ตัณหา<br />

มันเยอะ<br />

ตัณหา ความอยากได้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่ยอมแฟร์<br />

และ<br />

ทำให้อ้างความฟรีมาเพื่อไม่แฟร์ไป<br />

จึงต้องหาทางชิงไหวชิงพริบกัน<br />

อยู่เรื่อย<br />

แต่รวมแล้วหลักการในขั้นหนึ่งก็ต้องมีมาตรการไม่ให้เอารัด<br />

เอาเปรียบกัน หรือให้เอาเปรียบได้น้อย ให้มีความเป็นธรรมบ้าง<br />

เท่าที่จะทำได้<br />

แล้วก็พยายามแก้จุดอ่อนกันไป<br />

เรื่องมานะ<br />

ความอยากใหญ่ ความต้องการอำนาจครอบงำ<br />

ผู้อื่นก็เช่นเดียวกัน<br />

ต้องมีมาตรการสะกัดกั้นและมีการดุล<br />

มีการคาน<br />

อำนาจกัน เป็นวิธีการซึ่งทางรัฐศาสตร์<br />

โดยเฉพาะการเมืองระหว่าง<br />

ประเทศ ต้องศึกษาและพยายามกันไป<br />

แต่ทั้งนี้<br />

จะต้องรู้ตระหนักด้วยว่า<br />

เบื้องหลังหลักการและ<br />

ภายใต้เหตุปัจจัยใหญ่ๆ เหล่านี้<br />

เรื่องของมนุษย์มีปัจจัยย่อยๆ<br />

เป็น<br />

เงื่อนปมซับซ้อนมากมาย<br />

อย่างเรื่องลาภ<br />

หรือผลประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องระดับรูปธรรม<br />

พื้นฐาน<br />

ตั้งแต่เรื่องปัจจัย<br />

๔ ก็ต้องมองไปถึงปัญหาความยากจน<br />

ขาดแคลนขัดสน ซึ่งก็เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของความขัดแย้งแบ่งแยก<br />

เบียดเบียนกัน ตั้งแต่คนยากจนกับคนมั่งมี<br />

ไปจนถึงประเทศที่<br />

ขาดแคลนกับประเทศที่ร่ำรวย<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 5 9


แม้แต่ในเรื่องนี้<br />

ในขั้นต้นๆ<br />

ตัณหานอกจากทำให้คนขัดแย้ง<br />

แย่งชิงกันแล้ว ก็ทำให้ไม่สามารถเผื่อแผ่แบ่งปันช่วยเหลือกัน<br />

แต่ไม่ใช่แค่นั้น<br />

เมื่อตัณหาประสานกับมานะ<br />

คนมีอิทธิพล<br />

ตลอดจนประเทศมหาอำนาจ อาจจะช่วยเหลือเผื่อแผ่แก่คนยากจน<br />

ตลอดจนชาติที่ยากไร้บ้างในขอบเขตหนึ่ง<br />

แต่ต้องพยายามหาทาง<br />

ทำให้คนจน และชาติที่ล้าหลัง<br />

ต้องยากจนต่อไป เพื่อให้คงอยู่ใต้<br />

อิทธิพลของตน ตลอดจนเพื่อให้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาผล<br />

ประโยชน์ของตน และเสริมอำนาจความยิ่งใหญ่<br />

แต่ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ<br />

ตัณหา-มานะ-ทิฏฐินี้<br />

ทำให้การแก้<br />

ปัญหายากยิ่งขึ้น<br />

เมื่อมันเป็นตัวการทำให้เกิด<br />

ความกลัว ความ<br />

หวาดระแวง และความไม่ไว้ใจกัน<br />

ความกลัวของคนที่อ่อนแอยังไม่สำคัญเท่าไร<br />

มันไม่รุนแรง<br />

แต่ความกลัวของผู้มีอำนาจนี่แหละ<br />

ที่เป็นตัวก่อปัญหายิ่งใหญ่<br />

ทำไมไม่ช่วยเขาจริงจังให้หายยากจน บางทีทำไมต้องทำ<br />

สงครามทั้งที่ดูตามสภาพทั่วไปไม่เห็นมีอะไรมาก<br />

มีบ่อยๆ ที่ต้องทำอย่างนั้น<br />

เพราะความกลัวที่ซ่อนแฝงอยู่ว่า<br />

เขาจะมีอำนาจขึ้นมาแข่งตน<br />

หรือกลัวว่าถ้าพวกนั้นมีกำลังขึ้นมา<br />

จะเป็นภัยแก่ตน หรือแม้แต่ระแวงไปต่างๆ หรือตกลงกันไม่ได้เพราะ<br />

ไม่ไว้ใจกัน<br />

เวลานี้ก็รู้กันดีแล้วว่า<br />

การแย่งชิงเบียดเบียนกันที่ทำให้โลก<br />

ไม่มีสันติภาพนี้<br />

มิใช่ก่อความเดือดร้อนเฉพาะในสังคมมนุษย์เอง<br />

เท่านั้นแต่ยังขยายปัญหาออกไป<br />

ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมด้วย<br />

ซึ่งยิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาความขาดสันติภาพให้รุนแรงยิ่งขึ้น<br />

6 0<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


ในกระบวนการที่ว่านี้<br />

ตัณหา-มานะ-ทิฏฐิ ที่ซ่อนแฝง<br />

ความกลัว-หวาดระแวง-ไม่ไว้ใจกันนั้น<br />

นอกจากเป็นตัวการก่อปัญหา<br />

สิ่งแวดล้อมแล้ว<br />

แม้เมื่อมนุษย์รู้ว่าตนควรจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม<br />

อย่างไร ก็ไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหานั้นให้มีผลจริงขึ้นมาได้<br />

รวมแล้ว การแก้ปัญหาต้องมีวิธีการหลายระดับ โดยเฉพาะ<br />

ก) ระดับความสัมพันธ์ทางสังคม ด้วยการช่วยเหลือเกื้อกูล<br />

กันการแบ่งปัน การสงเคราะห์ต่างๆ<br />

ข) ระดับการปกครอง หรือระดับจัดการ รวมทั้งการวางกฎ<br />

กติกา ที่จะให้มีกรอบแห่งการกระทำ<br />

และไม่ให้ข่มเหงเอารัดเอา<br />

เปรียบกัน แต่ให้มีความเป็นธรรม ด้วยหลักกฎหมาย และการใช้<br />

กฎหมาย<br />

แต่สองระดับนี้<br />

เป็นการแก้ปัญหาขั้นพื้นผิว<br />

และเฉพาะหน้า<br />

ซึ่งไม่เป็นหลักประกันแห่งการแก้ปัญหาและการสร้างสันติภาพที่แท้<br />

จริงเช่นอาจจะมีการช่วยเขาเพื่อเอาไว้ใต้อำนาจ<br />

การวางกฎกติกาที่<br />

ไม่เป็นธรรม หรือไม่ยอมตั้งกฎที่จะทำให้ตนเสียผลประโยชน์<br />

และการ<br />

ใช้กฎกติกาแบบฉลาดแกมโกง เพื่อเอาเปรียบเป็นต้น<br />

ดังที่มองเห็นกันชัดเจนเวลานี้<br />

ในความสัมพันธ์ช่วยเหลือกัน<br />

ระหว่างประเทศ ทั้งชาติที่ให้ความช่วยเหลือ<br />

และชาติที่รับการ<br />

ช่วยเหลือ หายากที่จะมีไมตรีธรรม<br />

ที่ซาบซึ้งใจต่อกัน<br />

ต่างก็มีความ<br />

เคลือบแคลงใจ มองทางฝ่ายผู้ที่ช่วยก็อาจจะมีแรงจูงใจแอบแฝง<br />

ทางฝ่ายผู้รับก็ฉวยโอกาสหรือไม่ก็ซ่อนความหวาดระแวงไว้ข้างใน<br />

ทั้งสองฝ่ายไม่จริงใจต่อกัน<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 6 1


ทั้งหมดนี้จึงไม่ปลอดภัยจริง<br />

หนีไม่พ้นที่จะต้องขึ้นให้ถึง<br />

ค) ระดับการศึกษา ด้วยการสังสรรค์ทางการศึกษา ที่จะปรับ<br />

ท่าทีแห่งความสัมพันธ์ และพัฒนาคนส่วนใหญ่ให้หลุดพ้นจากตัณหา-<br />

มานะ-ทิฏฐิ ตลอดจนความกลัว ความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจกัน ให้มี<br />

ความเป็นมิตรผู้มีความปรารถนาดีต่อกัน<br />

และใฝ่ประโยชน์สุขที่ร่วม<br />

กัน เป็นเพื่อนร่วมโลกกันได้จริง<br />

ในที่สุด<br />

ก็ต้องแก้ไปให้ถึงตัวก่อการร้ายที่ฝังลึกที่สุด<br />

ซึ่งเมื่อ<br />

มีอยู่<br />

มันจะประสานทั้งตัณหาและมานะ<br />

ไปจนถึงความกลัว ความ<br />

หวาดระแวง ไม่ไว้ใจกันทั้งหมด<br />

ที่ทำให้โลกไม่อาจจะมีสันติภาพ<br />

6 2<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


แค่ทิฏฐิในเรื่องชาติพันธุ์ที่มีมานานนักหนา<br />

มนุษย์ก็ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเลย<br />

นี่แหละจึงมาถึงข้อสุดท้ายคือความใจแคบ<br />

ได้แก่ความยึดติด<br />

ในทิฏฐิ และความเชื่องมงายต่างๆ<br />

การเอาลัทธิศาสนาและอุดมการณ์<br />

มาเป็นเหตุให้แบ่งแยกทำร้ายกัน แทนที่จะเป็นสื่อแห่งสันติภาพ<br />

แม้แต่ความเชื่อในเรื่องชาติพันธุ์<br />

เช่นเชื่อว่าพวกชาติพันธุ์นั้นเลวร้าย<br />

เผ่าพันธุ์นั้นต่ำทราม<br />

ชาติวงศ์นี้เป็นศัตรูของเรา<br />

ต้องฆ่าให้หมด ต้อง<br />

กำจัดให้สิ้น<br />

นี่คือทิฏฐิ<br />

ความเชื่อที่ลงลึก<br />

ซึ่งเมื่อยึดถือเข้าแล้ว<br />

ทำให้<br />

เรื่องไม่จบ<br />

สงครามอาจยืดเยื้อคู่ประวัติศาสตร์<br />

แล้วแก้ได้ไหม ถ้าจะ<br />

ให้มีสันติภาพจริง ต้องแก้ให้ได้<br />

มนุษย์ต้องเปิดใจต่อกัน ยอมรับและมาพูดกัน เวลานี้มักจะ<br />

เน้นกันที่ข้อ<br />

๑ และข้อ ๒ ซึ่งก็ยังแก้ไม่ได้<br />

ส่วนข้อ ๓ ไม่กล้าพูดเพราะ<br />

ถ้าพูดก็กลัวจะกระทบกัน ก็เลยไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาได้จริงเพราะ<br />

ว่าการแก้ปัญหาที่แท้จริงต้องลงไปถึงปัจจัยตัวที่<br />

๓ ซึ่งเป็นเรื่องในขั้น<br />

ปัญญา ที่เมตตาต้องพร้อมด้วยปัญญาจริงๆ<br />

แต่จะอย่างไรก็ตาม การสร้างความรู้ความเข้าใจและแก้ไข<br />

เรื่องทิฏฐิความเชื่อความยึดถือต่างๆ<br />

นี้<br />

มนุษย์ต้องทำให้ได้ และ<br />

ทั้งหมดนี้ขั้นสุดท้าย<br />

นอกจากการแก้ด้วยมาตรการทางสังคมเป็นต้น<br />

แล้ว ในที่สุดก็ต้องถึงฐานคือการพัฒนามนุษย์ด้วยการศึกษา<br />

เพราะฉะนั้น<br />

ภารกิจยิ่งใหญ่ที่เป็นพื้นฐานก็คือการศึกษา<br />

ซึ่งจะสร้างมนุษย์ให้มีคุณธรรม<br />

มีจิตใจที่มีเมตตากรุณา<br />

เป็นต้น มี<br />

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่<br />

มีความเสียสละ ไม่ใช่เอาแต่เห็นแก่ตัวอยากได้<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 6 3


ผลประโยชน์อย่างเดียว และคิดแต่จะเบียดเบียนครอบงำผู้อื่น<br />

ถ้าสร้างคุณธรรมในจิตใจขึ้นมาได้<br />

เราก็มีตัวคานกับเรื่องของ<br />

ตัณหา และมานะ แต่ข้อทิฏฐิต้องแก้ด้วยปัญญา คือสร้างปัญญาให้รู้<br />

เข้าใจ แต่ถึงปัจจุบันนี้เราก็ไม่ได้พัฒนาอะไรมากกว่าสมัยโบราณ<br />

โดยเฉพาะเรื่องทิฏฐิ<br />

ความเชื่อถือที่เป็นความใจแคบในเรื่อง<br />

ชาติพันธุ์<br />

ซึ่งนอกจากทำให้เกิดความเกลียดชังกันแล้ว<br />

ก็พ่วงเอามานะ<br />

มาด้วย โดยทำให้ดูถูกเหยียดหยามคนเผ่าอื่นพวกอื่น<br />

และเรื่องนี้ก็มี<br />

มาตั้งแต่โบราณนานนักแล้ว<br />

แม้แต่ในพุทธประวัติ เราก็มีตัวอย่างอยู่แล้ว<br />

เช่นอย่างศากย<br />

วงศ์นี้เอง<br />

แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงพยายามแก้ แต่เขาก็ยังยึดถืออยู่<br />

ศากยวงศ์นี้เราก็เห็นชัดว่ามีความยึดถือชาติตระกูลรุนแรง<br />

จะแต่งงาน<br />

กับคนพวกอื่นไม่ได้<br />

จึงเป็นเหตุให้ผู้อื่นเขาแค้น<br />

พยายามมาทำลาย<br />

ศากยวงศ์ทั้งหมด<br />

ตัวอย่างก็มีมาชัดเจน<br />

ปัจจุบันนี้จะทำอย่างไร<br />

เมื่อมนุษย์มาถึงยุคโลกาภิวัตน์แล้ว<br />

บอกว่าโลกไร้พรมแดน โลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน<br />

เป็น Globalvillage<br />

ก็พูดกันไปๆ แล้วเป็นจริงไหม มนุษย์ก็ยังแบ่งแยกกันอยู่อย่างนั้น<br />

แหละ ซ้ำร้าย โลกยิ่งกว้างไกล<br />

ใจคนยิ่งแคบลง<br />

ทำอย่างไรจะให้ใจ<br />

กว้างตามโลกที่แผ่ขยายกว้างออกไปได้<br />

ให้ใจไร้พรมแดน<br />

พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระอรหันต์มีลักษณะอย่างหนึ่ง<br />

คือ<br />

วิมริยาทิกจิต เป็นผู้มีจิตใจ<br />

“ไร้พรมแดน” ตรงกันเลยกับคำที่เขาใช้<br />

กันในปัจจุบัน<br />

แต่เวลานี้เขาใช้คำว่าไร้พรมแดนกับการสื่อสารคมนาคม<br />

เป็นต้น เขาไม่พูดถึงจิตใจ ทั้งที่เห็นอยู่ชัดๆ<br />

ว่าจะไร้พรมแดนจริง ต้อง<br />

6 4<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


ทำใจคนให้ไร้พรมแดนด้วย เราจะทำได้ไหมล่ะ ถ้าทำได้ก็จะเข้า<br />

หลักพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่แล้วชัดเจน<br />

อย่างที่พูดไว้นานแล้วว่า<br />

วิมริยาทิกจิต ทำได้ไหม ทำให้มีจิตใจไร้พรมแดน<br />

ถ้าทำได้จริงๆ ก็เป็นพระอรหันต์ ถ้าไม่ถึงขั้นนั้น<br />

ก็ควร<br />

พยายามทำใจให้กว้างขวาง และการทำใจให้กว้างขวางนั้น<br />

ก็ต้อง<br />

พัฒนามนุษย์อย่างที่ว่า<br />

โดยเฉพาะต้องให้มีการศึกษาที่ถูกต้อง<br />

เป็นไปได้หรือไม่ ที่เวลานี้คนเราจะคิดให้ถึงขั้นที่จะ<br />

หลอม<br />

รวมชาติพันธุ์มนุษย์ให้เป็นชาติพันธุ์เดียว<br />

โดยไม่ต้องมาเถียง<br />

มาแก่งแย่ง หรือแบ่งแยกอะไรกันอีก เรื่องนี้เราจะต้องพูดกันอย่าง<br />

จริงจัง โดยไม่มีอะไรแอบแฝงอยู่ในใจ<br />

และไม่ใช่ไม่กล้าพูดกัน แต่ต้อง<br />

เปิดใจกันเลย แล้วพูดกันอย่างจริงจัง ในเมื่อเป็นโลกาภิวัตน์โลก<br />

ไร้พรมแดนอย่างนี้<br />

ต้องคิดว่าถึงเวลาหรือยังที่จะให้มนุษย์นี้<br />

หลอม<br />

รวมเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน<br />

ไม่ต้องไปกีดกั้นแบ่งแยกอะไรอีก<br />

อย่างทางตะวันออกกลางก็มีปัญหาเรื่องแบบนี้<br />

เหมือนที่พูด<br />

เมื่อครู่นี้ว่าแม้แต่แต่งงานกันก็ไม่ได้<br />

แล้วมันจะไปแก้ปัญหาอะไร<br />

เพราะแค่นี้ก็ไม่สามารถพูดกันได้<br />

แล้วจะมาพูดว่าจะแก้ปัญหาให้<br />

โลกมีสันติภาพ ก็เห็นๆ อยู่ว่ามันไม่มีเค้าอะไรเลย<br />

ในเมื่อคนยังมุ่งหน้า<br />

มุ่งมั่นในการที่จะแบ่งแยกกันอยู่ชัดๆ<br />

รวมความว่า สาเหตุของความขัดแย้ง รบราฆ่าฟัน และ<br />

สงคราม ที่ทำให้ไม่มีสันติภาพตลอดมาทุกยุคทุกสมัย<br />

มี ๓ ประการ<br />

ด้วยกัน คือ อยากได้ อยากใหญ่ ใจแคบ หรือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ<br />

ซึ่งต้องแก้ไขด้วยมาตรการทางสังคมและด้วยวิธีการต่างๆ<br />

ที่เป็น<br />

ทางสันติ และที่สำคัญที่สุดคือพัฒนามนุษย์<br />

ด้วยการศึกษาที่ถูกต้อง<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 6 5


ทั้งนี้<br />

คนที่จัดการศึกษาต้องยอมรับความจริงก่อน<br />

ว่าจะเอา<br />

อย่างนี้ไหม<br />

แต่รับรองว่า ไม่ว่าใครจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม ถ้าแก้กิเลส<br />

๓ อย่างนี้ไม่ได้<br />

เรื่องก็ไม่จบ<br />

อันนี้คือหลักการที่บอกแล้วว่า<br />

มันจะยาก<br />

หรือไม่ยาก คุณไม่มีสิทธิพูด เพราะว่าถ้าคุณไม่ทำ มันก็ไม่สำเร็จ<br />

6 6<br />

แค่ “รวมกันเราอยู่<br />

แยกกันเราตาย”<br />

สร้างสันติภาพโลกไม่ได้<br />

แต่ต้องรวมกันเป็นหมู่<br />

สู่ความประสานเป็นสากล<br />

ได้บอกแล้วว่า เรื่องใจแคบนี้สำคัญที่สุด<br />

จึงต้องขยายออกไป<br />

ให้เห็นอาการด้านต่างๆ ของการแสดงความใจแคบ คือ ความ<br />

หวงแหนกีดกั้นกัน<br />

แบบต่างๆความหวงแหนกีดกั้นมีหลายอย่าง<br />

ทาง<br />

พุทธศาสนาถือเป็นเรื่องสำคัญมาก<br />

จะเห็นว่าพระพุทธศาสนา<br />

พยายามสร้างสันติสุขให้แก่มนุษย์ด้วยการไม่ให้มีการแบ่งแยก<br />

เบียดเบียน<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


ฉะนั้น<br />

นอกจาก ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่จะไม่ให้ขัดแย้งทำ<br />

สงครามรบราฆ่าฟันกันแล้ว ยังมีหลักต่อไปอีกชุดหนึ่ง<br />

ที่ท่านวางไว้<br />

เพื่อให้เราขจัดความใจแคบ<br />

และพัฒนามนุษย์ไปสู่ความมีจิตใจไร้<br />

พรมแดน และอยู่ร่วมกันโดยสันติท่านให้หลักไว้ว่า<br />

มนุษย์ที่พัฒนา<br />

แล้วจะต้องหมดความใจแคบหรือความหวงแหนกีดกั้นกัน<br />

๕ ประการ<br />

ที่เรียกว่า<br />

มัจฉริยะ ๕<br />

“มัจฉริยะ” เราแปลกันว่าความตระหนี่<br />

หรือขี้เหนียว<br />

แต่คำ<br />

ว่า ขี้เหนียวชวนให้คิดไปว่าเป็น<br />

ความโลภ<br />

กิเลสทั้งหมดจัดรวมเข้าได้<br />

๓ กลุ่ม<br />

คือ โลภะ โทสะ โมหะ ถ้า<br />

ถามคนทั่วไปว่า<br />

มัจฉริยะจัดเข้าในกิเลสประเภทไหนใน 3 ประเภทนั้น<br />

คนส่วนใหญ่จะตอบว่าอยู่ในกิเลสประเภท<br />

โลภะ หรือ โลภ แต่ไม่ถูก<br />

เพราะไปนึกถึงคำแปลภาษาไทย แต่ความหมายของมันไม่ตรงทีเดียว<br />

กับในภาษาเดิม<br />

มัจฉริยะ ทางพระจัดเข้าในกลุ่ม<br />

โทสะ ซึ่งเห็นได้ชัดในการ<br />

กีดกั้นผู้อื่น<br />

หวงแหนคอยกั้นขวางไม่ให้เขาได้อย่างเรา<br />

หรือไม่ให้เขามี<br />

ส่วนร่วม ความหวงแหนกีดกั้น<br />

หรือมัจฉริยะนั้น<br />

มี ๕ ประการ เราจะ<br />

ต้องพัฒนามนุษย์ให้กำจัด มัจฉริยะ ๕ นี้ให้ได้<br />

มิฉะนั้นมนุษย์จะไม่มี<br />

ทางเลิกแบ่งแยกกัน และก็จะต้องเกิดปัญหาในการขัดแย้งกันจน<br />

กระทั่งถึงสงครามอยู่เรื่อยไป<br />

ความหวงแหนกีดกั้น<br />

๕ ประการ นี้มีอะไรบ้าง<br />

๑. ความหวงแหนกีดกั้นกัน<br />

ในเรื่องที่อยู่<br />

ที่อาศัย<br />

ท้องถิ่น<br />

ดินแดน จนถึงประเทศ<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 6 7


๒. ความหวงแหนกีดกั้นกัน<br />

ในเรื่องผลประโยชน์<br />

เรื่องลาภ<br />

เรื่องการได้สิ่งเสพบริโภค<br />

เป็นต้น<br />

๓. ความหวงแหนกีดกั้นกัน<br />

ในเรื่องพงศ์เผ่าเหล่ากอ<br />

ชาติพันธุ์วงศ์ตระกูล<br />

พวกพ้อง<br />

๔. ความหวงแหนกีดกั้นกัน<br />

ในเรื่องชนชั้น<br />

วรรณะ สีผิว<br />

๕. ความหวงแหนกีดกั้นกัน<br />

ในเรื่องวิชาความรู้<br />

หรือวิทยาการ<br />

และผลสำเร็จทางภูมิธรรมภูมิปัญญา<br />

ปัจจุบันนี้กำลังเข้าสู่ยุคแห่งความหวงแหนกีดกั้นข้อที่<br />

๕ นี้<br />

เต็มที่<br />

เช่นเรื่องสิทธิทางปัญญา<br />

หรือสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา<br />

แต่<br />

ข้อต้นๆ ปัจจุบันก็มีอยู่ทั้งหมด<br />

จึงมี ๕ ข้อ ครบเลย<br />

ถ้ากำจัดความหวงแหนกีดกั้น<br />

๕ อย่างนี้ไม่ได้<br />

มนุษย์ก็ต้อง<br />

ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไป จะต้องรบรา แย่งชิง กำจัดกันเรื่อยไป<br />

พระพุทธศาสนาจึงสอนให้มนุษย์ศึกษาพัฒนาตัวเอง จนถึงขั้นที่ว่าถ้า<br />

เป็นโสดาบันก็หมดมัจฉริยะทั้ง<br />

๕ อย่าง ไม่มีเหลือเลย การที่พุทธ<br />

ศาสนาพัฒนามนุษย์ก็เพื่อให้ถึงขั้นนี้<br />

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าจะสุดโต่งไปอีกทางหนึ่ง<br />

ไม่ใช่ว่า<br />

เมื่อไม่ให้มีการกีดกั้นหวงแหนกัน<br />

เราก็ไม่ถืออะไรทั้งนั้น<br />

ไม่ยึดถือเลย<br />

เรื่องถิ่นที่อยู่อาศัย<br />

หรือประเทศของเรา ตลอดหมดทั้ง<br />

๕ ข้อไม่ยึดถือ<br />

ถ้าทำอย่างนี้ก็เป็นสุดโต่ง<br />

กลายเป็นโมหะ ไม่ใช่การทำด้วยปัญญา<br />

แต่กลายเป็นการยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น<br />

การปฏิบัติในเรื่องนี้<br />

ต้องทำโดยรู้เท่าทันความจริงตามเหตุผล<br />

ว่า ถ้าคนยังขืนยึดถือกันอยู่<br />

ก็เป็นความยึดมั่นถือมั่นที่ผิด<br />

การที่เราตั้ง<br />

ข้อตกลงในเรื่องดินแดน<br />

วงศ์ตระกูล เป็นต้น เหล่านี้ขึ้นมา<br />

ก็เพื่อให้<br />

6 8<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


มนุษย์เรามีหลักมีเกณฑ์ มีกฎกติกาที่จะคุมการอยู่ร่วมสังคมให้อยู่ใน<br />

ขอบเขตและมีขั้นตอนที่ถูกต้อง<br />

แล้วเราก็ปฏิบัติไปเพื่อการอยู่ร่วมกัน<br />

ด้วยดี วัตถุประสงค์ที่แท้จริงนั้น<br />

ก็เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยสันติสุข<br />

จุดหมายแท้จริงอยู่ที่นั่น<br />

การที่เราจัดแบ่งให้คนมีที่อยู่อาศัยโดยกำหนดว่าเป็นของ<br />

ใครๆนั้น<br />

ท่านเรียกว่า สมมติ แปลว่ามติหรือข้อตกลงหรือการยอมรับ<br />

ร่วมกัน ซึ่งเป็นการจัดสรรแบ่งจำแนกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มนุษย์<br />

มีจุดกำหนดที่จะปฏิบัติต่อกันได้ถูกต้อง<br />

การที่คนจะอยู่ร่วมกันด้วยดี<br />

ก็ต้องมีการจัดแบ่งจัดสรร เรื่อง<br />

อย่างนี้เป็นปัญญาของมนุษย์<br />

เรียกว่ารู้จักสมมติ<br />

จึงเอาสมมติมาใช้<br />

ตามความฉลาดของมนุษย์ แต่พร้อมกันนั้นก็ต้องรู้ทันสมมติ<br />

และไม่<br />

ไปหลงยึดติดกับสมมติ จนกลายเป็นการเอาตัวสมมติเองมาแบ่งแยก<br />

ทำลายกัน<br />

เรื่องที่คนเอามาหวงแหนกีดกั้นกันทั้ง<br />

๕ ประการนี้ก็มาจาก<br />

สมมติ ถ้าเราปฏิบัติถูกขั้นตอน<br />

ก็ไม่เป็นปัญหา แต่กลับเป็นเรื่องที่ดี<br />

ประเทศของเราก็ยังมี แม้แต่บ้านที่อยู่ของเราก็มีอยู่เป็นธรรมดา<br />

แต่<br />

เรารู้ตระหนักว่าเรามีมันเพื่ออะไร<br />

ก็เพื่อให้คนอยู่กันได้ด้วยดี<br />

โดยมีที่<br />

กำหนด และจะได้มีขอบเขตที่อยู่อาศัยว่าบ้านใครบ้านใคร<br />

ครอบครัว<br />

ใคร และมีวิธีปฏิบัติสัมพันธ์กันได้ถูกต้อง<br />

หลักการในเรื่องนี้<br />

คือ คนมารวมเป็นกลุ่มย่อย<br />

มิใช่เป็นการ<br />

แยกออกจากกลุ่มอื่น<br />

แต่เพื่อเป็นขั้นตอนให้เกิดความสะดวกในการที่<br />

จะมารวมให้เป็นมวลที่ครบบริบูรณ์ต่อไป<br />

พูดง่ายๆ ว่า<br />

ไม่ใช่รวมกลุ่มหนึ่งพวกหนึ่ง<br />

เพื่อแยกจากกลุ่มอื่นพวกอื่น<br />

แต่<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 6 9


เป็น การรวมเพื่อร่วม<br />

คือ เอาหน่วยมารวมเป็นหมู่<br />

เพื่อให้หลายหมู่<br />

มารวมกันเป็นมวล ขยายกว้างออกไปจนรวมกันเป็นโลกอันเดียว<br />

เป็นการปฏิบัติด้วยปัญญา มนุษย์จะต้องทำให้มัจฉริยะ ๕ นี้หมดไป<br />

โดยเอาปัญญามาปฏิบัติต่อสมมติให้ถูกต้อง<br />

เอาเป็นว่า มัจฉริยะ ๕ อย่างนี้เรากำจัดได้ไหม<br />

โดยจะต้อง<br />

เปลี่ยนมันให้เป็นการปฏิบัติต่อสมมติอย่างถูกต้องด้วยปัญญาที่รู้เท่า<br />

ทัน และจริงไหมที่ว่า<br />

ถ้ามนุษย์ยังไม่หมดความหวงแหนกีดกั้น<br />

๕<br />

ประการนี้<br />

ก็แก้ไขปัญหาความขัดแย้งไม่ได้<br />

การที่มีปัญหากันอยู่<br />

ก็เพราะความใจแคบในเรื่องเผ่าพงศ์<br />

ชาติพันธุ์<br />

และลัทธิศาสนา เป็นต้นนี้<br />

ดังที่ศากยวงศ์ต้องถูกทำลายไป<br />

ถ้าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จ ก็ต้องแก้เรื่องนี้ให้ได้<br />

เป็นเรื่องที่ขอฝากไว้<br />

ความจริงเรื่องสันติภาพนี้ไม่ยากอะไร<br />

อย่างที่ว่าพูดง่าย<br />

ถ้า<br />

ทำตามหลักนี้ได้มันก็จบ<br />

แต่มนุษย์ก็ทำไม่ได้สักที ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์<br />

ไม่ได้พัฒนาจิตใจและปัญญา ให้มีคุณสมบัติเหล่านี้<br />

7 0<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


แค่ “สากล” สามประการ<br />

ที่เป็นเรื่องพื้นฐานธรรมดา<br />

ทำไมการศึกษาจึงยังพัฒนาคนไปไม่ถึง<br />

ถ้าเราสามารถแก้ปัญหาในเรื่องตัณหา<br />

มานะ ทิฏฐิ และเรื่อง<br />

มัจฉริยะความหวงแหนกีดกั้นเหล่านี้ได้แล้ว<br />

ก็จะเกิดความเป็นสากล<br />

ที่แท้จริง<br />

สากลก็คือทั่วทั้งหมด<br />

หรือทั่วกัน<br />

คือโลกนี้ทั้งโลกไม่มีการ<br />

แบ่งแยกอีกต่อไป<br />

ความเป็นสากลนั้นมีลักษณะต่างๆ<br />

ที่เป็นเครื่องตรวจสอบ<br />

ซึ่งเอามาใช้ในการฝึกมนุษย์ได้ด้วย<br />

ความเป็นสากลนั้นมี<br />

๓ ประการด้วยกัน ถ้าเราเอามาเป็น<br />

เครื่องตรวจสอบ<br />

ก็จะมองเห็นทันทีว่า โลกปัจจุบันนี้ไม่มีความเป็น<br />

สากลเลย ได้แต่พูดกันว่าสากล ใส่เสื้อแบบฝรั่งก็ว่าชุดสากล<br />

แต่ดูกัน<br />

จริงๆ แล้วใจไม่เป็นสากล ปัญญาไม่เป็นสากล<br />

สากล ๓ อย่าง คือ<br />

๑. ความเป็นมนุษย์ที่สากล<br />

หมายความว่า เมื่อเป็นคนแล้ว<br />

จะเกิดที่ไหน<br />

อยู่ที่ไหน<br />

ก็เป็นมนุษย์ทั้งนั้น<br />

ส่วนการที่จะบอกว่าเป็น<br />

มนุษย์ฝรั่ง<br />

มนุษย์แขก มนุษย์ไทย มนุษย์จีน ก็เป็นเรื่องของความเป็น<br />

จริงโดยปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น ชาติพันธุ์<br />

ที่รู้ไว้เพื่อช่วยเสริมการ<br />

ปฏิบัติด้วยปัญญาเท่านั้น<br />

แต่ทุกคนมีภาวะพื้นฐานที่ร่วมกันเป็นอัน<br />

หนึ่งอันเดียว<br />

คือความเป็นมนุษย์<br />

เมื่อคนพบกันต้องมองกันโดยเริ่มที่ความเป็นมนุษย์<br />

ไม่ใช่เริ่ม<br />

ที่ความเป็นแขก<br />

เป็นไทย เป็นฝรั่ง<br />

เมื่อมองเห็นคนอื่นก็ต้องมองว่า<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 7 1


เป็นมนุษย์ก่อน ส่วนว่าจะเป็นมนุษย์พวกไหนก็ว่ากันไป เพียงเพื่อรู้<br />

และปฏิบัติให้ถูกต้อง แต่ต้องมีจิตใจที่นึกถึงความเป็นมนุษย์และ<br />

ปฏิบัติต่อกันในฐานะแห่งความเป็นมนุษย์ก่อนเป็นฐาน<br />

อย่างในการแบ่งแยกเรื่องศาสนา<br />

คนทั้งหลายพอเห็นกัน<br />

แทนที่จะนึกว่าคนนี้เป็นมนุษย์<br />

ก็นึกว่าเป็นคนศาสนาไหน เมื่อเริ่มต้น<br />

ด้วยการแบ่งแยกอย่างนี้แล้วก็ลำบาก<br />

ความเป็นสากลก็ไม่เกิด<br />

เราต้องเริ่มด้วยความเป็นมนุษย์ที่สากล<br />

เพราะความเป็น<br />

มนุษย์ที่สากล<br />

จะทำให้นึกถึงทุกคนว่าเป็นมนุษย์ทั้งนั้น<br />

อย่างเช่น ใน<br />

การฆ่าเมื่อถือว่าฆ่ามนุษย์เป็นบาป<br />

มันก็สากล แต่ถ้าไปแบ่งแยกว่าฆ่าคน<br />

ชาติพันธุ์นี้บาป<br />

ฆ่าคนชาติพันธุ์นั้นไม่บาป<br />

หรือกลับดี อย่างนี้ก็ยุ่ง<br />

ไป<br />

ไม่รอด กลายเป็นว่าคนที่ไม่ใช่เผ่านี้<br />

ไม่นับถืออย่างนี้แล้ว<br />

เป็นคนบาป<br />

ฆ่าได้ หรือต้องฆ่า อย่างนี้เป็นการแบ่งแยก<br />

ความเป็นมนุษย์ก็ไม่สากล<br />

ฉะนั้นต้องเริ่มที่ความเป็นมนุษย์ที่สากลก่อน<br />

เมื่อมองดูคน<br />

ทุกคน พอเริ่มก็ต้องถือว่าเขาเป็นมนุษย์ก่อน<br />

และความเป็นมนุษย์นี้<br />

จะเป็นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง<br />

ส่วนการที่จะจำแนกแบ่งแยกอย่างไร<br />

ต่อไป ก็เป็นเรื่องของความรู้เข้าใจ<br />

เพื่อประโยชน์และเพื่อความ<br />

สะดวกในการปฏิบัติต่อกัน ไม่ใช่เอามาเป็นเครื่องแบ่งแยก<br />

แต่มนุษย์เวลานี้มีท่าทีตรงกันข้าม<br />

เขามองข้ามความเป็น<br />

มนุษย์ไปเสีย ได้แต่ยึดถือเอาจุดกำหนดในการแบ่งแยกว่าเป็น<br />

ชาติพันธุ์ไหนเป็นเผ่าไหน<br />

เป็นศาสนาไหน ขึ้นมาก่อน<br />

แล้วก็เอาข้อ<br />

ยึดถือนี้เป็นตัวกำหนดในการที่จะปฏิบัติต่อกัน<br />

เพราะฉะนั้นสันติภาพ<br />

ก็ไม่มีทางเกิดขึ้น<br />

๒. ความรักที่สากล<br />

หรือใช้ภาษาพระว่า เมตตาที่เป็นสากล<br />

7 2<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


หมายความว่า เมื่อเป็นมนุษย์แล้วเราก็มีเมตตารักเหมือนกันหมด<br />

เรา<br />

ต้องการให้คนรักกัน มีเมตตาไมตรี มนุษย์จะอยู่กันด้วยดีก็ต้องมี<br />

เมตตา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่<br />

ปรารถนาดีต่อกัน ช่วยเหลือกัน ไม่<br />

โกรธกัน ไม่คิดหาทางที่จะทำร้ายกัน<br />

โดยมีเมตตาต่อทุกคนเสมอกัน<br />

แต่เวลานี้มีปัญหาว่า<br />

คนมีเมตตารักแต่พวกของตัว ส่วนพวก<br />

อื่นเมตตาไม่ได้<br />

แม้กระทั่งต่างศาสนา<br />

ก็รักกันไม่ได้ เรื่องอย่างนี้ต้อง<br />

พูดกันอย่างเปิดใจ ทำได้ไหม ให้เมตตาเป็นสากล รักคนทุกคนเสมอ<br />

เหมือนกันหมด ไม่แบ่งแยก<br />

๓. กฎกติกาและหลักความจริงที่เป็นสากล<br />

ไม่ใช่เป็นกฎ<br />

กติกาแบบที่ว่า<br />

ถ้าเป็นมนุษย์ที่นับถืออย่างนี้หรือเป็นพวกนี้แล้ว<br />

ทำการนี้จะได้รับผลอันนี้<br />

แต่ถ้าเป็นมนุษย์พวกอื่น<br />

ถึงจะทำการนี้ก็จะ<br />

ไม่ได้รับผลอย่างนี้<br />

กฎกติกาสากลคือ ไม่ว่าใครทำเหตุปัจจัยนี้<br />

ก็ได้รับ<br />

ผลอันนั้นไม่ว่าที่ไหน<br />

เมื่อใด<br />

ไม่จำกัดด้วยขอบเขตแห่งกาละเทศะ<br />

หรือกลุ่มชน<br />

เรื่องนี้มนุษย์ก็ยังทำไม่ได้<br />

แม้แต่ความจริงทางธรรมชาติ ก็ยัง<br />

เอามาแบ่งแยกกันอีก ทั้งที่ความจริงทางธรรมชาตินั้นที่จริงมันแบ่ง<br />

แยกไม่ได้ ไม่เหมือนกฎกติกาของมนุษย์ที่ยังพอเห็นว่าแบ่งกันเพราะ<br />

ยังมีการถือเรื่องของพวกนั้นพวกนี้อยู่<br />

เราจึงต้องขยายให้เป็นกฎกติกา<br />

ที่สากล<br />

ส่วนความจริงทางธรรมชาตินั้นที่จริงมันแบ่งแยกไม่ได้<br />

มัน<br />

เป็นสากลอยู่ตามธรรมดาของมันอยู่แล้ว<br />

เพียงแต่เราจะต้องปฏิบัติให้<br />

ตรง แล้วมันก็จะเป็นสากลแก่มวลมนุษย์<br />

เช่นว่า คนทำดี ไม่ว่าเป็นคนชาติไหน นับถือศาสนาไหน ก็<br />

ต้องไปสวรรค์เหมือนกันหมด คนทำชั่ว<br />

ไม่ว่าเป็นชาติไหน ศาสนา<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 7 3


ไหน ก็ต้องไปนรกเหมือนกันหมด ไม่ใช่ว่า คนศาสนานี้<br />

นับถือศาสนา<br />

นี้<br />

ทำดีจึงจะไปสวรรค์ได้ แต่คนที่นับถือศาสนาอื่นถึงจะทำดีก็ต้องไป<br />

นรกต้องเสมอกัน จึงจะตรงกับความจริงที่เป็นสากล<br />

ถ้าเมื่อใดได้สากลครบ<br />

๓ อย่างนี้<br />

ก็มีทางที่จะทำให้โลกมี<br />

สันติภาพได้ แต่ถ้าไม่สากลก็คือแบ่งแยก เมื่อแบ่งแยกก็ย่อมขัดแย้ง<br />

กัน ก็ต้องเกิดปัญหาไม่รู้จบ<br />

หลักการสำคัญก็แค่ ๓ หลักนี้เท่านั้น<br />

แค่ทำได้ ๓ หลักนี้เรื่อง<br />

สงครามก็จบ และสันติภาพก็เกิดขึ้นมาแน่<br />

แต่คนจะทำได้หรือเปล่า<br />

และบอกได้เลยว่าถ้าคุณทำไม่ได้ สันติภาพก็ไม่สำเร็จ คุณจะมาอ้าง<br />

ความยากไม่ได้ มนุษย์มีหน้าที่ต้องพยายาม<br />

ทั้งด้วยการจัดวาง<br />

มาตรการต่างๆ ทางสังคม และด้วยการศึกษาพัฒนามนุษย์<br />

ถ้าคิดไป ก็น่าแปลกใจนักว่า มนุษย์บอกว่าตนมีอารยธรรม<br />

สูงส่ง เป็นผู้ที่ได้พัฒนาแล้ว<br />

มีการศึกษาก้าวหน้าไกล แต่ไฉนจึงยังไม่<br />

สามารถพัฒนาคนให้ขึ้นถึงความเป็นสากลธรรมดาๆ<br />

๓ อย่างนี้<br />

คนที่จะพัฒนามนุษย์<br />

ต้องรู้ก่อนว่าความจริงเป็นอย่างนี้หลัก<br />

การที่แท้จริงที่จะให้สำเร็จเป็นอย่างนี้<br />

แล้วก็ให้เข้าใจทั่วกันยอมรับกัน<br />

ถ้ายอมรับกันและพัฒนาคนไปสู่จุดหมายนี้<br />

ก็มีทางที่จะประสบความ<br />

สำเร็จ<br />

7 4<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


โลกจะไร้พรมแดนได้จริง ใจต้องไร้พรมแดน<br />

ใจจะไร้พรมแดนได้ ต้องให้มีการศึกษาที่ถูกต้อง<br />

วันนี้ขอโอกาสพูดไว้<br />

โดยเน้นในแง่ตัวเหตุปัจจัยที่จะต้อง<br />

แก้ไขและหลักการที่จะต้องปฏิบัติ<br />

ส่วนในแง่ของวิธีดำเนินการคงยัง<br />

ไม่มีโอกาสจะพูด ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า<br />

เมื่อคนรู้หลักการ<br />

และเข้าใจจน<br />

ยอมรับกันดีแล้ว ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของคนที่มีความสามารถจะ<br />

พัฒนาวิธีการขึ้นมาบนฐานของหลักการนี้<br />

ในด้านวิธีการนั้นหลายคน<br />

เก่ง แต่ต้องให้เขายอมรับหลักการก่อน เราจะเอาไหมว่า<br />

๑. ต้องแก้ปัญหาเรื่อง<br />

ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อย่างน้อย ๒ ข้อ<br />

แรก ต้องเน้นโดยพยายามดำเนินมาตรการหรือวางกฎกติกาที่จะให้<br />

ดุลกับตัณหา มานะ ทิฏฐิ นั้นได้<br />

หรือให้มันลดน้อยลงไป เพื่อให้อยู่ใน<br />

ขอบเขต เช่น ให้อยู่ในความเป็นธรรม<br />

ไม่เอารัดเอาเปรียบกันเป็นต้น<br />

และลึกลงไปอีกก็ถึงเรื่องทิฏฐิ<br />

ซึ่งแสดงออกที่ความใจแคบกีดกั้นกัน<br />

ต่างๆ<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 7 5


๒. ต้องหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของความหวงแหนกีดกั้น<br />

คือ มัจฉริยะ ๕ ประการ ที่พูดเป็นภาษาพระ<br />

คือ<br />

๑. อาวาสมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกั้นในเรื่องที่อยู่<br />

อาศัย ท้องถิ่นดินแดน<br />

๒. ลาภมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกั้นในเรื่องผลประโยชน์<br />

๓. กุลมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกั้นในเรื่องชาติวงศ์<br />

พงศ์พันธุ์เผ่าชน<br />

กลุ่ม<br />

พรรคพวก<br />

๔. วัณณมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกั้นกันในเรื่อง<br />

ชั้น<br />

วรรณะ สีผิว<br />

๕. ธรรมมัจฉริยะ ความหวงแหนกีดกั้นกันในเรื่อง<br />

วิชาการ ความรู้และผลสำเร็จทางภูมิธรรมภูมิปัญญาจะต้องจับจุดให้<br />

ได้ และพัฒนามนุษย์ให้สลายความใจแคบเหล่านี้<br />

โดยให้มีปฏิบัติการ<br />

ทางสังคมด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันสมมติ<br />

๓. ในด้านบวก ต้องสร้างความเป็นสากล ๓ ประการขึ้นมา<br />

โดยให้ยอมรับยึดถืออยู่ในใจตามความเป็นจริงในเรื่องเหล่านี้<br />

คือ<br />

๑. ความเป็นมนุษย์ที่สากล<br />

มองคนเป็นคน<br />

๒. เมตตาความรักที่สากล<br />

๓. กฎกติกาและความจริงที่เป็นสากล<br />

ถ้าได้สากล ๓ อย่างนี้<br />

และให้คนยอมรับถืออย่างเดียวกัน<br />

แล้วมนุษย์ก็หมดเครื่องแบ่งแยก<br />

เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้<br />

เมื่อ<br />

ความแบ่งแยกทางใจหมดไปแล้ว ความแบ่งแยกอื่นก็หายไปเอง<br />

แต่ถึง<br />

แม้ว่าการแบ่งแยกด้านนอกจะหายไป หากใจยังแบ่งแยกอยู่<br />

ก็ไม่มี<br />

ทางแก้เลย<br />

7 6<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>


ตกลงว่า มนุษย์เวลานี้บอกตัวเองว่าหมดเครื่องแบ่งแยก<br />

ภายนอก เป็นโลกไร้พรมแดน แต่ที่แท้นั้นใจของเขาแสนจะแบ่งแยก<br />

กันเพราะฉะนั้นโลกจึงไปไม่ไหว<br />

จึงต้องแก้ให้คนมี ใจไร้พรมแดน โดยพัฒนามนุษย์ด้วยการ<br />

ศึกษา เอา ศีล สมาธิ ปัญญา มาฝึกมาพัฒนาคนให้ก้าวไปสู่การสลาย<br />

ความขัดแย้ง ปลอดพ้นจากการแข่งขันแย่งชิงเบียดเบียนซึ่งกันและ<br />

กันนำโลกไปสู่สันติภาพและสันติสุข<br />

ก็ขอให้ทำให้ได้อย่างที่ว่ามานี้<br />

เริ่มตั้งแต่ขั้นต้นคือมาฟังหลัก<br />

การแล้วตรวจสอบพิจารณาว่า เราจะยอมรับไหม เมื่อยอมรับแล้วก็<br />

มาช่วยกันหาทางปฏิบัติตามหลักการนั้นต่อไป<br />

อาตมาได้นำข้อคิดเกี่ยวกับหลักการต่างๆ<br />

ในทางธรรมมา<br />

เสนอมาบอกกล่าว หรือมอบให้แก่ท่านสาธุชนทั้งหลาย<br />

โดยเฉพาะ<br />

เริ่มต้นในวงสำคัญคือ<br />

ในวงของครูบาอาจารย์ที่จะเป็นผู้ตั้งฐานของ<br />

เรื่องนี้อย่างที่ได้บอกแล้วว่า<br />

ต้องแก้ด้วยการศึกษาชนิดที่แท้<br />

ซึ่งพัฒนา<br />

คนให้หลุดพ้นจากกิเลสที่กีดกั้นแบ่งแยกทั้งหลาย<br />

ดังนั้นครู<br />

อาจารย์ จะเป็นเจ้าของเรื่องนี้ต่อไป<br />

ถ้าปฏิบัติอย่าง<br />

<strong>วิถีสู่สันติภาพ</strong>ที่ว่ามานั้นได้จริง<br />

ก็เป็นครูอาจารย์ที่จะเป็นผู้สร้าง<br />

สันติภาพต่อไป<br />

การศึกษานั้นสัมฤทธิ์ผลเป็นสันติภาพ<br />

และสันติสุข ทั้งภายนอก<br />

และภายใน ทั้งในโลก<br />

ในสังคม และในจิตใจของทุกคน<br />

จึงขอให้ทุกคนเจริญงอกงามในสันติที่มีความสุขมาพรั่งพร้อม<br />

ด้วย ทั้งภายในและขยายไปภายนอกให้เป็นความสุขและเป็นสันติที่<br />

เป็นสากล ขอจงมีความสุขสวัสดีทั่วกันทุกท่าน<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 7 7

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!