12.07.2015 Views

ฤทธิ์กันเสียของฝาง(Caesalpinia sappan L.) - Faculty of Pharmacy ...

ฤทธิ์กันเสียของฝาง(Caesalpinia sappan L.) - Faculty of Pharmacy ...

ฤทธิ์กันเสียของฝาง(Caesalpinia sappan L.) - Faculty of Pharmacy ...

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

1บทนําการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตอาหารกึ่งสําเร็จรูปในปจจุบัน กอใหเกิดการแขงขันกันทางธุรกิจ มีการนําสารกันเสียประเภทสารเคมีหลายชนิดมาใชเปนสวนผสมในผลิตภัณฑโดยพิจารณาตามความเหมาะสม เชน กรดเบนโซเอต เกลือเบนโซเอต พาราเบน กรดโพรพิโอนิกเกลือโพรพิโอเนต กรดซอรบิก เกลือซอรเบต เปนตน เพื่อชะลอการบูดเสีย และยืดอายุในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ ซึ่งสารเคมีดังกลาวอาจสะสมในรางกาย กอใหเกิดอันตรายตอผูบริโภคหากไดรับเกินปริมาณที่กําหนดและในระยะเวลาตอเนื่องกัน จึงมีการคนควาเพื่อหาสารที่ปลอดภัยมาใชทดแทน จากการศึกษาวิจัยพบวาสมุนไพรและเครื่องเทศหลายชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งปองกัน หรือทําลายจุลินทรียบางชนิดได เชน อบเชย กานพลู เปนตนฝางเปนพืชสมุนไพรพื้นเมืองของประเทศไทยที่มีการนํามาใชประโยชน เปนสวนผสมในยาแผนโบราณในตํารับยาบํารุงโลหิต ยาฝาดสมาน ยาแกทองเสีย ไดมีผูศึกษาใชสารสกัดสมุนไพรไดแก สะทอน พะยอม คูน และฝาง เปนสารกันเสียในผลิตภัณฑอาหารประเภทน้ําพริก พบวาสารสกัดฝางมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลชีพไดดี ในความเขมขนที่เหมาะสมและไมทําใหกลิ่น และรสเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากการศึกษาพบวาฝางมีสารสําคัญอยูหลายชนิดดวยกัน ไดแก Brazilin, Haematoxylin สารกลุมฟลาโวนอยด เปนตน ซึ่งมีการศึกษาวามีฤทธิ์ในการตาน Beauveria bassiana สารกลุมแนพโทควิโนนมีฤทธิ์ในการยับยั้ง Lactobacilluscasei และ Clostridium perfringens จึงไดนําสารสกัดฝางมาศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ จุลชีพเปรียบเทียบกับ Brazilin และ Haematoxylin และนํามาวิเคราะหชนิดและปริมาณของสารสําคัญในสารสกัดฝาง ดวยวิธีThin Layer Chromatography (TLC) และวิธีspectrophotometry ซึ่ง TLC เปนวิธีที่นิยมใชในการวิเคราะหเชิงคุณภาพเพื่อพิสูจนเอกลักษณของสาร สําหรับ spectrophotometry เปนวิธีที่สามารถวิเคราะหไดทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ แตนิยมใชวิเคราะหเชิงปริมาณมากกวา อยางไรก็ตามในปจจุบันยังไมมีกําหนดวิธีมาตรฐานในการวิเคราะหสมุนไพรแตละชนิด เนื่องจากสมุนไพรแตละชนิดมีองคประกอบทางเคมีที่หลากหลายและมีความแตกตางกันสูง รวมทั้งมีสารอื่นที่เจือปนในธรรมชาติ อันอาจมีผลตอการวิเคราะหไดหากการใชฝางเปนสารกันเสียในผลิตภัณฑอาหารมีประสิทธิภาพ จะกอใหเกิดประโยชนในหลายๆ ดาน ลดการใชสารกันเสียประเภทสารเคมีเปนสวนผสมในผลิตภัณฑซึ่งจะชวยเพิ่มความปลอดภัยใหแกผูบริโภค อีกทั้งยังเปนการเพิ่มมูลคาและสงเสริมการใชสมุนไพรไทยใหแพรหลายมากขึ้น

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!