20.03.2014 Views

Thai Kings Directories - Khamkoo

Thai Kings Directories - Khamkoo

Thai Kings Directories - Khamkoo

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

บูลโดเซอร์ให้หน่วยตำรวจตระเวนชายแดนค่ายนเรศวร ไปสร้างถนนเข้าไปยังบ้านห้วยมงคล ตำบล<br />

หินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ราษฎรสามารถสัญจรไปมา และนำผลผลิต<br />

ออกมาจำหน่ายยังชุมชนภายนอกได้สะดวกขึ้น จากนั้นใน พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้พระราชทานพระราชดำริ<br />

ให้สร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อบรรเทาความแห้งแล้งและความ<br />

เดือดร้อนของราษฎร และสร้างเสร็จใช้ประโยชน์ได้ใน พ.ศ. ๒๕๐๖ ซึ่งนับเป็นโครงการพระราชดำริ<br />

ทางด้านชลประทานแห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวได้ว่าโครงการอันเนื่องมาจาก<br />

พระราชดำริในระหว่างเริ่มแรกเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาของราษฎรเพื่อส่งเสริมให้มี<br />

ความอยู่ดีกินดีขึ้นทั้งสิ้น และโดยที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร จึงทรงเน้นการศึกษา<br />

ที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตร การพัฒนาที่ดิน และการชลประทาน<br />

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันมีทั้งสิ้นกว่า ๔,๐๐๐ โครงการ<br />

อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก<br />

พระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรม แยกเป็นประเภทต่าง ๆ คือ การเกษตร<br />

สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การพัฒนาแหล่งน้ำ การส่งเสริมอาชีพ การคมนาคมสื่อสาร สวัสดิการสังคม<br />

ฯลฯ<br />

การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก<br />

พระราชดำริขึ้นนั้น วัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเป็นแหล่งความรู้ให้แก่ราษฎร เพื่อให้<br />

เป็นตัวอย่างนำไปประยุกต์ใช้กับงานอาชีพของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม<br />

ต่าง ๆ อันจะทำให้เกษตรกรเหล่านี้มีรายได้ในการเลี้ยงตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น ศูนย์ศึกษา<br />

การพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริในทุกภูมิภาคจำนวน ๖ ศูนย์<br />

ได้แก่ (๑) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน (๒) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย (๓) ศูนย์ศึกษา<br />

การพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน (๔) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน (๕) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้<br />

(๖) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา ทดลอง ทดสอบ และแสวงหาวิธีการ<br />

พัฒนาด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ศูนย์ศึกษาฯ จึงเปรียบเสมือน<br />

“ตัวแบบ” ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและตัวอย่างของผลสำเร็จให้แก่พื้นที่อื่น ๆ เป็น “ศูนย์<br />

บริการแบบเบ็ดเสร็จ” คือสามารถที่จะศึกษาหาความรู้ได้ทุกเรื่อง ทั้งด้านการปรับปรุงบำรุงดิน การ<br />

ปลูกพืชสวน พืชไร่ การเลี้ยงสัตว์ การประมง ป่าไม้ ตลอดจนการชลประทาน งานศิลปาชีพพิเศษ<br />

ฯลฯ ซึ่งผลสำเร็จเหล่านี้ได้จัดสาธิตไว้ในลักษณะของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”<br />

นอกจากการพัฒนาด้านต่าง ๆ อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนแล้ว พระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังประกอบพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลเป็นอย่างมาก เช่น<br />

ได้พระราชทานความช่วยเหลือให้จัดตั้งโรงเรียนต่าง ๆ เช่น โรงเรียนสำหรับเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร<br />

ที่ตำรวจตระเวนชายแดนดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๙ จนกระทั่งมีโรงเรียนที่ทรงจัดตั้งมากกว่า<br />

255

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!