20.03.2014 Views

Thai Kings Directories - Khamkoo

Thai Kings Directories - Khamkoo

Thai Kings Directories - Khamkoo

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

จารึกหลักที่ ๑๒ พ.ศ. ๑๙๖๙ (ถ้านับปีย่างแบบลังกาและสุโขทัยจะเป็น พ.ศ. ๑๙๗๐) จารึก<br />

รอยพระพุทธยุคลบาทมีข้อความว่า พระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า (บรมปาล) ผู้มีอิสราธิบดีในชัยนาทบุรี<br />

(เป็นใหญ่ในพิษณุโลก) ทรงให้จำลองรอยพระพุทธบาททั้งคู่ลงบนศิลาที่มาจากเมืองสุโขทัยด้วย<br />

พระราชานุเคราะห์แห่งพระชนก (พระมหาธรรมราชาที่ ๒) ปัจจุบันจารึกนี้อยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร<br />

พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์มีใจความว่า ศักราช ๘๐๐ (พ.ศ.<br />

๑๙๘๑) สมเด็จพระราเมศวร (เป็นตำแหน่งวังหน้าหรือรัชทายาท) เสด็จไปเมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นเห็น<br />

น้ำพระเนตรพระพุทธชินราชตกออกมาเป็นโลหิต นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับข้อสันนิษฐานของ<br />

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า พระพุทธชินราชซึ่งเป็นพระคู่เมืองสุโขทัย<br />

ได้อยู่มาจนเห็นการแตกดับของสุโขทัย แต่มีบางคนอ้างพระราชพงศาวดารฉบับปลีกว่า ใน พ.ศ. ๑๙๘๔<br />

พระยาบาลเมือง เจ้าเมืองพิษณุโลกได้รับพระราชทานนามว่า มหาธรรมาธิราช (อีกครั้งหนึ่ง) แท้จริง<br />

ศักราชที่ปรับลดลงมาเป็น ๔๐ ปี แล้วนั้นยังไม่ถูกต้อง ต้องลบออกอีก ๑๒ ปี เป็น พ.ศ. ๑๙๗๒<br />

<br />

ประเสริฐ ณ นคร<br />

<br />

<br />

เอกสารอ้างอิง<br />

กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘.<br />

. พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๙.<br />

ประเสริฐ ณ นคร และปวงคำ ตุ้ยเขียว. ตำนานมูลศาสนา เชียงใหม่ เชียงตุง. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภา, ๒๕๓๗.<br />

<br />

<br />

44

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!