20.03.2014 Views

Thai Kings Directories - Khamkoo

Thai Kings Directories - Khamkoo

Thai Kings Directories - Khamkoo

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย<br />

<br />

พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี<br />

สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยเป็นศูนย์รวมใจชาวไทยที่สืบทอดมายาวนานหลาย<br />

ศตวรรษ เป็นวัฒนธรรมการปกครองที่มีความสำคัญ บ่งบอกถึงแนวคิด ความเชื่อ และความหมายของ<br />

สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่หลอมรวมจิตใจชาวไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสร้างสรรค์ให้เกิดความผาสุก<br />

ของสังคมโดยรวมได้ วัฒนธรรมการปกครองระบบกษัตริย์ของประเทศไทยจึงมีความผูกพันอย่าง<br />

แนบแน่นต่อสังคมไทยมาแต่อดีตจนปัจจุบัน<br />

แนวคิดที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองที่มีคุณลักษณะพิเศษนั้นสืบเนื่องมาจาก<br />

วัฒนธรรมความเชื่อทางศาสนา ซึ่งพัฒนาและผสมผสานมาจากแนวคิดหลักต่าง ๆ ๓ ประการ คือ<br />

ประการแรก เป็นแนวคิดพราหมณ์ฮินดู ซึ่งถือว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งกษัตริย์คือองค์อวตารของ<br />

พระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ซึ่งมีหน้าที่หลักในการธำรงไว้ซึ่งความผาสุกของโลกมนุษย์ เป็น<br />

แนวคิดเบื้องต้นเมื่อชาวไทยรับคติความเชื่อพราหมณ์ฮินดูเข้ามา<br />

ประการที่สอง เป็นแนวคิดของพระพุทธศาสนา ซึ่งนอกจากความเชื่อเรื่องบุญกรรมที่ส่งให้<br />

เป็นผู้มีบารมีแล้ว ยังมีความเชื่อว่าองค์พระมหากษัตริย์ทรงมีสถานะเป็นพระพุทธเจ้าและเป็นเทพ<br />

แนวคิดเรื่องเทพทางพระพุทธศาสนานี้แตกต่างจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู ในคัมภีร์จักรวาฬทีปนีซึ่ง<br />

เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๓ อธิบายว่า “พระราชา พระเทวี พระกุมาร ชื่อว่าสมมติเทพ, เทพที่อยู่ ณ<br />

ภาคพื้นดินและที่สูงกว่านั้น ชื่อว่าอุปบัติเทพ, พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพชื่อว่า<br />

พระวิสุทธิเทพ” พระมหากษัตริย์ในสังคมไทยทรงมีลักษณะของเทพ ๓ ประเภทนี้ คือ สมมติเทพ<br />

อุปบัติเทพ และวิสุทธิเทพอยู่ในองค์เดียว ทั้งนี้ได้รวมเอาเทพชั้นสูงในศาสนาพราหมณ์ฮินดูเข้าไว้ด้วย<br />

ดังที่สะท้อนให้เห็นจากแนวคิดเรื่องสมมติเทพหรือสมมติเทวดา และในบริบทแวดล้อมอื่น ๆ <br />

นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ไทยยังทรงเป็นมหาสมมติราช ขัตติยะ และราชา ดังปรากฏ<br />

คำอธิบายในหนังสือไตรภูมิพระร่วงของพระเจ้าลิไทยซึ่งแต่งขึ้นในสมัยสุโขทัยว่า “อันเรียกชื่อมหา<br />

สมมติราชนั้นไซร้ เพราะว่าคนทั้งหลายย่อมตั้งท่านเป็นใหญ่แล อันเรียกชื่อขัตติยะนั้นไซร้ เพราะว่า<br />

คนทั้งหลายให้แบ่งปันไร่นาเข้าน้ำแก่คนทั้งหลายแล อันเรียกชื่อว่าราชานั้น เพราะท่านนั้นถูกเนื้อ<br />

พึงใจคนทั้งหลายแล” ส่วนในโลกทีปสารแต่งโดยพระสังฆราชเมธังกรซึ่งเป็นครูของพระเจ้าลิไทยกล่าว<br />

ว่า “นามราชา เพราะปกครองบุคคลอื่น ๆ โดยธรรม โดยเที่ยงธรรม” <br />

6

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!