13.07.2015 Views

อ่านรายละเอียด - โรงเรียนนายเรือ

อ่านรายละเอียด - โรงเรียนนายเรือ

อ่านรายละเอียด - โรงเรียนนายเรือ

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

- ๑ -วิชา ทหารม้าบทที่ ๑การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกตอนที ่ ๑ แนวความคิดและภารกิจขั้นพื้นฐานแนวความคิดพื้นฐานกองร้อยชุดรบ จะมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกทั้ง ๕ ประเภท คือ- การเคลื่อนที่เข้าปะทะ- การเข้าตีเร่งด่วน- การเข้าตีปราณีต- การขยายผล- การไล่ติดตามกองร้อยชุดรบ อาจปฏิบัติการเข้าตีเร่งด่วน, เข้าตีปราณีตและเคลื่อนที่เข้าปะทะได้โดยอิสระ แต่อย่างไรก็ตาม โดยปกติกองร้อยชุดรบมักจะเข้าร่วมในการปฏิบัติการโดยเป็นส่วนหนึ่งของกําลังส่วนใหญ่กองร้อยชุดรบจะทําการเข้าตีเร่งด่วน, เข้าตีปราณีต และเคลื่อนที่เข้าปะทะ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการขยายผลหรือไล่ติดตามของกําลังส่วนใหญ่กองร้อยชุดรบ สามารถเข้าร่วมในการปฏิบัติการที่มีความมุ ่งหมายพิเศษ ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นการลาดตระเวนด้วยกําลัง, การเข้าตีจากการตั้งรับ (การเข้าตียับยั้ง และการเข้าตีโต้ตอบ ), การปฏิบัติการหันเห (การเข้าตีลวง และการแสดงลวง) และการเข้าตีโฉบฉวยคุณลักษณะของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกคุณลักษณะพื ้นฐานของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกจะประกอบไปด้วย- การรวมกําลัง- การจู ่โจม- ความรวดเร็ว- ความอ่อนตัว- ความห้าวหาญการรวมกําลังการรวมกําลังเข้าปฏิบัติการจะเป็ นจุดวิกฤติในความสําเร็จของฝ่ ายเข้าตี เพื่อให้ได้มาซึ่งการรวมกําลังนั ้นอํานาจการยิง และอํานาจการทําลายข่มขวัญทั ้งหมดจะต้องถูกนํามาใช้ ณ ตําบลและเวลาที่ต้องการผลแตกหักในการทําลายกําลังข้าศึก ซึ่งถ้าเป็ นไปได้ในการเข้าตี การรวมอํานาจการยิงและอํานาจการทําลายข่มขวัญจะกระทํา ณ จุดที่อ่อนแอที่สุดของข้าศึก


่- ๗ -วิชา ทหารม้ายุทธการ การประสานแบบพบปะโดยตรงจะช่วยให้ ผบ.หน่วยคุ ้มครองเข้าใจถึงแผนดําเนินกลยุทธและแผนการยิงของกองร้อยชุดรบที่เข้าโจมตี ถ้าเป็ นไปได้ควรจะได้ทําการ ลว.ที่มั่นของการสนับสนุนด้วยการยิงและการวางแผนการเข้ายึดครองและการยิงโดยละเอียดมาตรการควบคุมจะอํานวยให้ส่วนคุ ้มครองระวังให้อยู ่ห่างจากส่วนดําเนินกลยุทธเพื่อป้ องกันจากการเป็ นอันตราย ควันสี, พลุส่องสว่าง และสัญญาณดอกไม้ไฟจะใช้เพื่อกําหนดเป้ าหมายและเพื่อแสดงการเลื่อนและการย้ายการยิง ผบ.ร้ อย. และรอง ผบ.ร้อย.จะต้องอยู ่ในที่ที่ซึ่ง รอง ผบ.ร้ อย.สามารถรับฟังการติดต่อของข่ายส่วนดําเนินกลยุทธและส่งข่าวสารที่สําคัญไปยัง ผบ.ร้ อย.ได้กองหนุนของกองพันกองร้อยชุดรบอาจถูกกําหนดให้เป็นกองหนุนของกองพันและเคลื่อนย้ายในทางลึกของรูปขบวนของกองพัน โดยปกติที่ตั้งโดยทั่วไปและภารกิจที่น่าจะเป็นของกองหนุนจะถูกกําหนดขึ ้นการตัดสินใจใช้กองหนุนจะเป็นการตัดสินใจที่สําคัญที่สุดของผบ.พัน.กองหนุนอาจได้รับมอบภารกิจหนึ่งหรือมากกว่าดังต่อไปนี ้- เข้าปฏิบัติภารกิจของกองร้อยชุดรบที่เข้าโจมตี- เข้าตีจากทิศทางอื่น- สนับสนุนกองร้อยชุดรบที่ เข้าโจมตีด้วยการยิง- ดํารงการติดต่อกับหน่วยข้างเคียงและหน่วยระวังป้ องกันทางปี ก- กวาดล้างตําแหน่งที่ถูกอ้อมผ่านโดยกองร้อยชุดรบที่เข้าโจมตี- ให้การระวังป้ องกันทางปี กแก่ พัน.ฉก.- ให้การป้ องกันหรือช่วยเหลือในระหว่างการเสริมความมั่นคง ณ ที่หมาย- ควบคุมและส่งกลับเชลยศึก- ให้การป้ องกันทางแยก และสะพาน- ขัดขวางการตีโต้ตอบเมื่อกองร้อยชุดรบปฏิบัติหน้าที่เป็นกองหนุนของกองพันจะต้องมีการประสานแบบพบปะโดยตรงกับ ผบ.ร้ อย.ชุดรบที่เคลื่อนที่นํากองร้อยชุดรบที่เป็นกองหนุนจะคงอยู ่ในที่มั่นและจะไม่เข้ารบติดพันกับการปฏิบัติของข้าศึกที่กระทําต่อกองร้อยชุดรบที่เคลื่อนที่นํา การเคลื่อนที่โดยต่อเนื่องและการเคลื่อนที่โดยมีการระวังป้ องกันจะถูกนํามาใช้ ผบ.หน่วยจะเคลื่อนที่อยู ่ใกล้กับส่วนนําของรูปขบวน เพื่ออํานวยต่อการควบคุมและการตอบโต้รูปขบวนการเคลื ่อนทีกําหนดรูปขบวนที่จะใช้โดยกองร้อยชุดรบ ต้อง.-- กําหนดความสัมพันธ์ของ มว.ใด มว.หนึ่ง กับ มว.อื่น ๆ บนพื ้นดิน- อธิบายว่าสถานที่ใดที่ข้าศึกเข้ามาอยู ่ในสายตาและวิธีที่จะตอบโต้ เพื่อการเข้าปะทะ- กําหนดว่าสถานที่ใดที่ต้องการรวมอํานาจการยิง


- ๘ -วิชา ทหารม้า- กําหนดระดับของการระวังป้ องกันที่ต้องการกองร้ อยชุดรบและ มว.ต่าง ๆ สามารถใช้รูปขบวนรบพื ้นฐานได้ ๕ แบบคือ รูปขบวนแถวตอนรบรูปขบวนรูปลิ่ม, รูปขบวนตัววี, รูปขบวนขั้นบันได และรูปขบวนหน้ากระดาน ถ้าไม่มีคําสั่งใด ๆ ก็ไม่มีความจําเป็นที่ต้องใช้รูปขบวนแบบเคียงกับที่ พัน.ฉก.ใช้ ตัวอย่างเช่น พัน.ฉก.อาจเคลื่อนที่รุกโดยใช้รูปขบวนแถวตอนในขณะที่กองร้อยชุดรบหนึ่งหรือมากกว่าใช้รูปขบวนรูปลิ่ม เช่นเดียวกัน ผบ.มว.อาจเลือกใช้รูปขบวนที่ตนคิดว่าเหมาะสมที่สุดสําหรับสถานการณ์ในขณะนั้น ถ้าไม่มีการสั่งการจาก ผบ.ร้ อย.รูปขบวนรบจะต้องอ่อนตัว ภูมิประเทศและสามัญสํานึก ทําให้ต้องมีการเปลี่ยนรูปขบวนบ่อย ๆในระหว่างการเคลื่อนที่เข้าปะทะ ตัวอย่างเช่น การกระจายกําลังอย่างกว้างขวางจะทําให้การระวังป้ องกันดีขึ ้นและมีเวลามากขึ ้นในการดําเนินกลยุทธเพื่อตอบโต้ต่อการปะทะกับข้าศึกรูปขบวนแถวตอนรบรูปขบวนแถวตอนรบเป็นรูปขบวนที่ดัดแปลงมาจากรูปขบ วนแถวตอน (ดูรูป ๓ - ๗)รูปขบวนนี ้จะใช้เมื่อการปะทะกับข้าศึกอาจจะเกิดขึ ้น และภูมิประเทศอํานวยต่อการกระจายกําลัง, รูปขบวนนี ้จะเพิ่มการระวังป้ องกันต่อการโจมตีทางอากาศและโดยปื นใหญ่ของข้าศึกโดยการกระจายกําลังอย่างกว้างขวางรวมทั ้ง- ให้การระวังป้ องกันที่ดี และอํานวยให้มีการยิงสูงสุดทางปี ก แต่ให้การยิงที่จํากัดทางด้านหน้า- อํานวยต่อการควบคุม- อํานวยต่อการเปลี่ยนเป็นรูปขบวนอย่างอื่นได้อย่างรวดเร็ว- ทําให้เกิดความลึกและรูปขบวนที่ต้องการในการใช้ มว.ต่าง ๆ ทันทีที่เกิดการปะทะกับข้าศึก- อํานวยต่อการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว


- ๙ -วิชา ทหารม้าผบ.ร้ อย.ชุดยิงสนับสนุนรูป ๓ - ๗ รูปขบวนแถวตอนรบ


- ๑๐ -วิชา ทหารม้ารูปขบวนรูปลิ ่มรูปขบวนรูปลิ่ม จะใช้เมื่อสถานการณ์ข้าศึกไม่กระจ่างชัดและการปะทะใกล้จะเกิดขึ ้น(ดูรูป ๓ - ๘)รูปขบวนนี ้จะ.-* อํานวยให้มีการยิงที่ดีเลิศทางด้านหน้าและการยิงที่ดีทางปี กแต่ละด้าน* อํานวยต่อการควบคุม* อํานวยต่อการสนับสนุนและให้การระวังป้ องกันทางปี กชุดยิงสนับสนุนผบ.ร้ อย.รูป ๓ - ๘ รูปขบวนรูปลิ ่ม


- ๑๑ -วิชา ทหารม้ารูปขบวนตัววีรูปขบวนตัววี จะใช้เมื่อการปะทะกับกําลังข้าศึกจะเกิดขึ ้น (ดูรูป ๓ - ๙ )รูปขบวนนี ้จะ.-- ควบคุมทิศทางได้ยากกว่ารูปขบวนรูปลิ่ม- ควบคุมลําบากในพื ้นที่รกทึบ- ให้อํานาจการยิงทางด้านหน้าดีกว่ารูปขบวนรูปลิ่มและให้การยิงที่ดีทางปี ก- ดํารงให้ มว.ที่อยู ่หลังมีเสรีในการดําเนินกลยุทธภายหลังจากเกิดการปะทะขึ ้น- อํานวยต่อการเปลี่ยนไปสู ่การตะลุมบอนอย่างรวดเร็ว- อํานวยต่อการเปลี่ยนไปสู ่รูปขบวนอื่นได้อย่างรวดเร็วรูป ๓ - ๙ รูปขบวนตัววี


- ๑๒ -วิชา ทหารม้ารูปขบวนหน้ากระดานรูปขบวนหน้ากระดานจะใช้เมื่อเคลื่อนที่ออกจากกลุ ่มควัน ,ข้ามสันเขา,ออกจากชายป่ าและเข้าตะลุมบอนต่อที่หมาย (ดูรูป ๓ - ๑๐ ) รูปขบวนนี ้จะใช้ในที่มั่นสนับสนุนด้วยเช่นกัน (ที่มั่นคุ ้มครองและที่มั่นสนับสนุนด้วยการยิง)* อํานวยต่อการยิงอย่างสูงสุดทั้งด้านหน้าและด้านข้าง,ให้การยิงที่น้อยทางด้านปี ก* ยากต่อการควบคุม* ให้การระวังป้ องกันที่น้อยอันเนื่องมาจากขาดความลึก* อํานวยต่อการเข้าประชิดที่หมายด้วยเวลาที่น้อยลงรูป ๓ - ๑๐ รูปขบวนหน้ากระดาน


่- ๑๓ -วิชา ทหารม้ารูปขบวนขั้นบันไดรูปขบวนขั้นบันไดจะใช้เมื่อ พัน.ฉก.เผชิญกับความคุกคามทางปี ก- รูปขบวนจะคล้ายกับรูปขบวนแถวตอน แต่ มว.ต่าง ๆ จะเหลื่อมลํ ้ากันทางด้านซ้ายหรือขวา- ยากต่อการควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิประเทศรกทึบ- ให้การระวังป้ องกันที่ดีที่สุดทางด้านปี กของรูปขบวนของหน่วยเหนือ- อํานวยต่อการใช้ในทิศทางตั้งฉากกับเส้นทางเคลื่อนที่การกําหนดที ่ตั้งของ มว.ต่าง ๆผบ.ร้ อย. จะกําหนดที่ตั้งที่แน่นอนของ มว.ต่าง ๆ ภายในรูปขบวนของกองร้อยชุดรบโดยขึ ้นอยู่กับปัจจัย METT - T และสถานการณ์ในขณะนั้น ที่ตั้งของรถถังสามารถแปรเปลี่ยนไปได้โดยขึ ้นอยู ่กับการประมาณสถานการณ์ของ ผบ.มว.ข้อพิจารณาพื ้นฐานในการกําหนดที่ตั้งของ มว.จะประกอบด้วย- การให้ ถ.นําเข้าตะลุมบอนต่ออาวุธกล , ทุ ่นระเบิดสังห ารบุคคล, ลวดหนาม และหน่วยยานเกราะข้าศึก- ถ.และ ม.(ก) เคลื่อนที่ไปด้วยกันในการเข้าตะลุมบอนต่อทหารราบที่อยู ่ในสนามเพลาะ, ที่มั่นที่อยู่ในป่ , พื า ้นที่ที่มีการดัดแปลงเป็นที่มั่นแข็งแรง, เมืองและหมู่บ้านและในระหว่างทัศนวิสัยจํากัด- ม.(ก) และทหารช่างนําเข้าตะ ลุมบอนต่อการตั ้งรับต่อสู ้รถถัง (เช่น คูดักรถถัง, เครื่องกีดขวางท่อนไม้และสนามทุ ่นระเบิด), ข้ามผ่านการตั้งรับตามแนวลํานํ ้า,ผ่านพื ้นที่ป่ าทึบ,ในเมือง และในภูมิประเทศที่เป็นภูเขา ถ. และ รสพ.จะให้การคุ ้มครองและสนับสนุนด้วยการยิงเทคนิคในการเคลื ่อนทีเทคนิคการเคลื่อนที่ทางยุทธวิธีจะถูกใช้รูปขบวน ซึ่งจะอํานวยให้ ผบ.ร้ อย.สามารถกําหนดระดับการระวังป้ องกันให้เหมาะสมกับการเคลื่อนที่ของกองร้อยชุดรบ (ดู รส.๑๗ - ๑๕) สําหรบรายละเอียดที่เกี่ยวกับเทคนิคการเคลื่อนที่)--------------------------------


- ๑๔ -วิชา ทหารม้าตอนที ่ ๓ การเคลื ่อนที ่เข้าปะทะการเคลื่อนที่เข้าปะทะคือการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกเพื่อเข้าปะทะหรือกลับเข้าปะทะกับข้าศึกใหม่คุณลักษณะของการเคลื ่อนที ่เข้าปะทะเมื่อสถานการณ์ข้าศึกไม่กระจ่างชัด หน่วยจะใช้รูปขบวนและเทคนิคการเคลื่อนที่ที่อํานวยให้มีความอ่อนตัวและการระวังป้ องกัน มากที่สุด หน่วยที่ปฏิบัติการเคลื่อนที่เข้าปะทะจะใช้อํานาจกําลังรบจํานวนน้อยนําไปข้างหน้า และใช้อํานาจกําลังรบส่วนใหญ่ในการดําเนินกลยุทธส่วนต่าง ๆ ของ พัน.ฉก. ในการเคลื ่อนที ่เข้าปะทะหน่วยที่ปฏิบัติการเคลื่อนที่เข้าปะทะจะจัดกําลังออกเป็น๒ ส่วน คือส่วนระวังป้ องกันและส่วนใหญ่การจัดเช่นนี ้จะอํานวยให้รูปขบวนมีความลึกที่จําเป็ นต่อการแจ้งเตือนล่วงหน้าและมีเวลาในการโต้ตอบสําหรับ ผบ.หน่วยกองร้อยต่าง ๆ ในส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่โดยใช้วิธีที่ทําให้มีการควบคุม,ความเร็ว และความอ่อนตัวมากที่สุดกําลังส่วนใหญ่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์อย่างไ รนั้นขึ ้นอยู ่กับการปฏิบัติของส่วนระวังป้ องกันส่วนระวังป้ องกันบางครั้งก็จะเรียกว่ากองระวังหน้า กองร้อยชุดรบที่เป็นกองระวังหน้าจะให้การป้ อ ง ก ันพัน.ฉก.จากการจู ่โจมโดยการตรวจการณ์และการรายงานการปฏิบัติของข้าศึก กองระวังหน้าจะดํารงการเฝ้ าตรวจ ให้การแจ้งเตือนล่วงหน้าแก่กําลังส่วนใหญ่, ขัดขวางและรบกวนข้าศึกด้วยการสนับสนุนการยิงเล็งจําลอง และทําลายส่วน ลว.ของข้าศึกภายในขีดความสามารถ ภารกิจของกองระวังหน้า คือ- รายงานการปะทะกับข้าศึกแก่ ผบ.พัน.ฉก.- รวบรวมและรายงานข่าวสารทั ้งหมดที่เกี่ยวกับข้าศึก- เลือกที่มั่นรบขั้นต้นสําหรับ พัน.ฉก.ที่กําลังตามมา- พยายามเจาะส่วนระวังป้ องกันของข้าศึกและค้นหากําลังส่วนใหญ่ของข้าศึก- ทําการ ลว. ทางเคมี และทางการช่าง- อ้อมผ่านหรือเจาะเครื่องกีดขวางเร่งด่วนภารกิจหลักของกองระวังป้ องกันหน้าก็คือการ ลว.และระวังป้ องกันออกไปข้างหน้า เพื่อเพิ่มเติมหรือแทนที่ มว.ลว.ของกองพัน ในภูมิประเทศโล่งแจ้งกองร้อยชุดรบที่มี ถ.เป็นหลักเพิ่มเติมด้วยทหารช่างจะทําให้มีความอ่อนตัวมากที่สุด กําลังส่วนนี ้จะมีอํานาจการยิงและความคล่องตัวเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภายหลังจากการปะทะกับข้าศึก, เพื่อเจาะเครื่องกีดขวางขนา ดเล็ก,เพื่อยึดรักษาภูมิประเทศสําคัญขนาดเล็ก และกวาดล้างหมู ่บ้านหรือป่ าขนาดย่อมกองร้อยนําในการเคลื่อนที่เข้าปะทะของ พัน.ฉก.จะให้การระวังป้ องกันด้านหน้าแก่ พัน.ฉก.กิจเฉพาะที่จะมอบให้และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้กองร้อยนําจะขึ ้นอยู ่กับปัจจัย METT - T และ- เจตนารมย์ของ ผบ.พัน.ฉก.- เส้นหลักการรุกและอัตราเร็วในการรุกของ พัน.ฉก.- กว้างด้านหน้าที่จะต้องคุ ้มครองโดยกองร้อย


- ๑๕ -วิชา ทหารม้า- การยิงสนับสนุนที่มีอยู่- การช่วยเหลือที่เป็นไปได้จากอากาศยานทางยุทธวิธี และหน่วย ม.อากาศ หรือ บ.ทบ.- ภารกิจของกองร้อยชุดรบเมื่อค้นพบข้าศึก (ตั้งรับเร่งด่วน.ตรึงข้าศึก, อ้อมผ่าน)บางครั้งกองร้อยชุดรบอาจต้องทําการเข้าตีเร่งด่วนเพื่อทําลายกําลังข้าศึกขนาดเล็กที่พยายามจะขัดขวางการรุกคืบหน้า รปจ.จะประกอบไปด้วยรูปขบวนรบอย่างง่าย ๆ (เช่น รูปขบวนแถวตอนรบ และรูปขบวนรูปลิ่ม) และการปฏิบัติการรบ (เช่น การปะทะ และการปฏิบัติ ) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเผชิญทับฝ่ ายตรงข้ามที่เบาบางกองร้อยจะดํารงการตรวจการณ์ออกไปข้างหน้าและทางปี ก และการรุกคืบหน้าไปด้วยความกล้าหาญกองร้อยต้องเตรียมที่จะยอมรับการสูญเสียที่จําเป็น, ต้องไม่ให้กําลังส่วนใหญ่อยู ่บนถนน, ในพื ้นที่โล่งแจ้ง หรือทางด้านหน้าของเครื่องกีดขวาง ในขณะที่รถถังที่เป็นส่วนนําเริ่มปะทะกับข้าศึกในระยะไกลกองร้อยจะต้องดําเนินกลยุทธอย่างรวดเร็ว,รวมอํานาจการยิงและเข้าโจมตีข้าศึกถ้าการต้านทานของข้าศึกไม่สามารถทําลายได้อย่างรวดเร็ว ผบ.พัน.ฉก.อาจต้องให้กองร้อยชุดรบเป็นฐานยิง เพื่อสนับสนุนการโจมตีและการดําเนินกลยุทธของ พัน.ฉก. การโจมตีอาจใช้การโอบโดยกองร้อยชุดรบเป็ นส่วนเจาะ ในขณะที่ส่วนดําเนินกลยุทธเคลื่อนที่เข้าหาเป้ าหมาย และการยิงของฐานยิงถูกบังฐานยิงก็มีความจําเป็นที่จะต้องเคลื่อนที่ไปสู ่ตําบลที่ได้เปรียบ เพื่อสนับสนุนการตะลุมบอนเมื่อเคลื่อนที่ข้ามภูมิประเทศ กองร้อยชุดรบจะเคลื่อนที่รุกคืบหน้าโดยใช้รูปขบวนแถวตอนรบหรือรูปขบวนรูปลิ่มบนกว้างด้านหน้าที่มาก การเคลื่อนที่โดยใช้รูปขบวนแถวตอนรบจะใช้ในพื ้นที่ที่ไม่โล่งแจ้งมากนัก โดยจะให้การระวังป้ องกันที่มากกว่าเนื่องจากความลึ กของรูปขบวน แต่ถ้าเป็นภูมิประเทศที่ยากลําบากก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีกว่าในการเคลื่อนที่แบบสลับขั้น กองร้อยชุดรบแต่ละกองร้อยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าบนเส้นหลักที่ได้รับมอบ, ใช้ความได้เปรียบของการกําบังและซ่อนพรางที่มีอยู ่ ,ค้นหาสิ่งบอกเหตุของการปฏิบัติของข้าศึก และใช้การลาดตระเวนด้วยการยิงต่อที่มั่นข้าศึกที่น่าจะเป็ นไปได้ ถ้า มว.ใด มว.หนึ่งในกองร้อยชุดรบพบกับการต้านทานบนเส้นทางหลักมว.ที่อยู่ใกล้กับมว.ข้าศึกก็จะให้การสนับสนุนด้วยการยิง ถ้าเป็ นไปได้ มว.ต่าง ๆ เหล่านั้นจะต้องจํากัดการดําเนินกลยุทธสําหรับที่ตั้งยิงที่ดีกว่า บนเส้นหลักของตนเอง ถ้าการต้านทานนั้นแข็งแรงเกินกว่าที่กองร้อยชุดรบจะทําลายได้ก็ควรที่จะร้องขอการยิงสนับสนุนจาก พัน.ฉก.และเข้าตีต่อที่มั่นข้าศึกนั้น หรือร้องขอคําอนุญาตในการอ้อมผ่ายการต้านทานนั ้นภายหลังจากที่รายงานที่ตั้ง และการปฏิบัติของ ข้าศึกเหล่านั ้นต่อผบ.พัน.ฉก.การเคลื่อนที่ในเวลากลางคืนจะปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กระทําในเวลากลางวัน แต่ต้องระลึกว่าระยะห่างระหว่างส่วนต่าง ๆ จะต้องน้อยลงกว่าเดิม, กว้างด้านหน้าจะลดลง,อัตราเร็วในการเคลื่อนที่ลดลงและการยิงสนับสนุนก็จะมีประสิทธิภาพน้อยลง แต่การได้มาซึ่งการจู ่โจมจะมากขึ ้น


- ๑๖ -วิชา ทหารม้าการปฏิบัติเมื ่อเกิดการปะทะการเคลื่อนที่เข้าที่ปะทะมักจะนําไปสู ่การรบปะทะจะเกิดขึ ้น เมื่อพบกับข้าศึกอย่างทันทีทันใดด้วยข่าวสารที่น้อยมากเกี่ยวกับขนาด, ที่ตัและการประกอบกําลังของข้าศึกกําลังข้าศึกที่พบนั้นอาจอยู้ง่กับที่เคลื่อนที่ก็ได้เมื่อเกิดการปะทะขึ ้นในเสี ้ยววินาที หรือนาทีแรกของการตอบโต้อาจเป็ นข้อพิจารณาได้ว่าท่านอาจชนะหรือพ่ายแพ้ในการสู ้รบ การปฏิบัติทุกอย่างจะต้องกระทําในทันที่ทันใดการยิงโต้ตอบ,การวางกําลังและการรายงานมว.ที่อยู ่ภายใต้การยิงจะต้องเคลื่อนที่อย่างห้าวหาญ โดยใช้การยิงและการเคลื่อนที่เพื่อข่มข้าศึก,พยายามเข้าที่มั่นรบที่มีการกําบังและซ่อนพราง และจัดตั ้งเป็นฐานยิงการปฏิบัติเช่นนี ้จะสามารถทําให้สําเร็จลงได้ด้วยการซักซ้อมบ่อย ๆ โดย มว., ตอน และ หมู่ ผบ.มว.จะรายงานการปะทะแก่ ผบ.ร้ อย.มว.ที่คุ ้มครองจะยิงโต้ตอบได้ทันทีผตน.ของกองร้อยจะร้องขอการยิงเล็งจําลองและรายงานที่ตั้งของข้าศึกการคลี ่คลายสถานการณ์ส่วนที่ปะทะกับข้าศึกจะดํารงการต่อสู ้และหาข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก ความหนาแน่นและชนิดของการยิง, ตําแหน่งและทิศทางของเครื่องกีดขวาง และข่าวสารที่เกี่ยวกับภูมิประเทศจะทําให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้าศึกได้เป็ นอย่างมาก มว.ที่ปะทะจะรายงานข่าวสารทุกอย่างแก่ ผบ.ร้ อย.ซึ่ง ผบ.ร้ อย.จะเคลื่อนที่ไปยังตําแหน่งที่สามารถมองเห็นสถานการณ์ได้ รอง ผบ.ร้ อย.รายงานสถานการณ์ไปยังกองพัน ถ้า มว.ที่ปะทะไม่สามารถดําเนินกลยุทธหรือคลี่คลายสถานการณ์ได้ ผบ.ร้ อย.ก็ควรที่จะให้ มว.อื่น ๆ ดําเนินกลยุทธและใช้การสนับสนุนเพื่อกดดันต่อข้าศึกเพื่อคลี่คลายสถานการณ์การเลือกหนทางปฏิบัติผบ.ร้ อย.จะเสนอแนะหนทางปฏิบัติ หนทางใดหนทางหนึ่งแก่ ผบ.พัน.โดยขึ ้นอยู ่กับการประมาณสถานการณ์- คลี่คลายสถานการณ์ต่อไป- ปฏิบัติการซุ่มโจมตี- เข้าตีเร่งด่วนต่อปี กใดปี กหนึ่งของข้าศึก- อ้อมผ่าน- ตรึงกําลังในขณะที่ พัน.ฉก.อ้อมผ่านหรือเข้าตีเร่งด่วน- ทําการตั ้งรับเร่งด่วน-------------------------------


- ๑๗ -วิชา ทหารม้าตอนที ่ ๔ การเข้าตีนายพลแพตตันกล่าวไว้ว่า "เราสามารถเอาชนะในการรบได้โดยใช้การยิงและการเคลื่อ นที่จุดมุ ่งหมายของการเคลื่อนที่ก็คือการให้ได้มาซึ่งสถานที่ที่สามารถยิงได้ดีกว่าต่อที่ตั้งของข้าศึก ซึ่งควรจะเป็นทางปี กหรือทางด้านหลัง"การปฏิบัติของ ผบ.หน่วยในการเข้าตีผบ.หน่วย จะต้องนําหน่วยไปข้างหน้า แต่ไม่จําเป็นจะต้องเป็นรถคันแรกของหน่วย ผบ.ร้ อย.จะต้องสามารถมองเห็นความเป็นไปของ มว.นําภายในกองร้อยชุดรบ หน้าที่หลักของ ผบ.ร้ อย.ก็คือการบังคับบัญชา และควบคุมกองร้อย ซึ่ง ผบ.ร้ อย.จะไปอยู ่ที่ตําแหน่งใดก็ได้ และยอมรับการเสี่ยงที่จําเป็นในการปฏิบัติตามภารกิจ ผบ.ร้ อย.จะใช้การกําบังและซ่อนพรางเพื่อกําหนดที่ตั้งของตัวเองและเคลื่อนที่ไปเพื่อติดตามการรบ และควบคุมหน่วยผบ.พัน.สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทั้งหมดได้จากการรายงานของผบ.ร้ อย.ซึ่งรอง ผบ.ร้ อย.จะเป็นผู ้ช่วยในภารกิจนี ้รอง ผบ.ร้ อย.จะรับฟังข่ายวิทยุของกองพันและรับฟังข่ายวิทยุภายในกองร้อยเพื่อติดตามสถานการณ์ทางยุทธวิธีที่เป็นไปแบบของการรุกคืบหน้าการเคลื ่อนที ่ไปพร้อมกันทั้งหมด (การเคลื่อนที่เป็นกลุ ่มก้อน)เมื่อเป็นไปได้รถถังจะรุกคืบหน้าเป็นกลุ ่มก้อนไปยังที่หมายโดยไม่มีการหยุด การสูญเสียสามารถทําให้ลดลงได้โดยการลดเวลาที่จะเปิ ดเผยต่อการยิงของข้ าศึกโดยการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปยังที่หมายและโดยการทําให้ที่หมายถูกครอบคลุมด้วยการยิงสนับสนุนรูปที่๓ - ๑๑ กองร้อยชุดรบเคลื ่อนที ่เป็ นกลุ ่มก้อน


- ๑๘ -วิชา ทหารม้าการเคลื ่อนที ่แบบสลับขั้นกองร้อยจะใช้การเคลื่อนที่แบบสลับขั้น เมื่อเกิดการปะทะกับข้าศึก หรือเมื่อข้าศึกปรากฎขึ ้นมาอย่างทันทีทันใด การเคลื่อนที่แบบสลับขั้นจะช่วยเพื่อให้การระวังป้ องกัน แต่ทําให้ความเร็วในการรุกคืบหน้าลดลง ดังนั้นเมื่อใช้การเคลื่อนที่แบบสลับขั้นก็ควรเคลื่อนที่ให้เร็วที่สุดเท่าที่ภูมิประเทศจะอํานวยรถถังไม่ควรหยุดอยู่กับที่นานเกินความจําเป็ นในการสนับสนุนการรุกคืบหน้าของรถถังหรือ รสพ.อื่น ๆ เมื่อการเคลื่อนที่เป็นกลุ ่มก้อนอย่างรวดเร็วกระทําไม่ได้และภูมิประเทศ และการวางกําลังของข้าศึกทําให้การเคลื่อนที่ของรถถังบางคันต้องได้รับการคุ ้มครองโดยรถถัง และ รสพ.คันอื่น ๆ กองร้อยก็จะใช้การเคลื่อนที่แบบสลับขั้นที่มีการระวังป้ องกันโดยปกติการเคลื่อนที่สลับขั้นจะกระทําโดย มว.ต่าง ๆ แต่ตอนรถถังก็อาจเคลื่อนที่แบบสลับขั้นได้ ดังนั ้นมว.ถ. ก็จะต้องมีการฝึกการเคลื่อนที่แบบสลับขั้นด้วยตอน ถ. (ดูรูป ๓ - ๑๒)รูป ๓ - ๑๒ มว.เคลื ่อนที ่แบบสลับขั้นโดยตอน ถ.


- ๒๐ -วิชา ทหารม้าการพิจารณาให้ส่วนใดของกองร้อยชุดรบเป็ นฐานยิงนั้น จะพิจารณาได้จากการจัดเฉพาะกิจ เช่นกองร้อยชุดรบที่มี ถ.เป็นหลักก็จะใช้รถถังเป็นฐานยิง กองร้อยชุดรบที่มี ม.(ก) เป็นหลักก็จะใช้ รสพ.ยิงสนับสนุนให้แก่ส่วนที่เคลื่อนที่ เมื่อใช้ รสพ.เป็นฐานยิงจะมีข้อเสียเปรียบคือ หมู ่ทหารม้าบรรทุกยานเกราะที่ลงรบเดินดินจะมีความยากลําบากในการเข้าร่วมการรบ ปตอ.๑๒.๗ มม.จะเป็นอาวุธที่สามารถใช้ยิงข่มได้เป็นอย่างดี ต่อเป้ าหมายทุกชนิดยกเว้นรถถังข้าศึก ในสถานการณ์ที่ข้าศึกมีการใช้รถถังก็ควรที่จะใช้รถถังฝ่ ายเราเป็ นอาวุธยิงข่มมากกว่าใช้ รสพ.ยิงข่มโดยปกติส่วนดําเนินกลยุทธจะไม่รุกคืบหน้าออกไปไกลกว่าระยะยิงหวังผลของฐานยิง ดังนั ้นส่วนดําเนินกลยุทธและส่วนคุ ้มครองจะเปลี่ยนบทบาทซึ่งกันและกัน เพื่ออํานวยต่อการสนับสนุนที่ต่อเนื่องดังที่แสดงอยู ่ในรูป ๓ - ๑๔ หรือส่วนคุ ้มครองจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าโ ดยสลับขั้นให้อยู ่ในระยะที่สามารถยิงสนับสนุนแก่ส่วนดําเนินกลยุทธได้ดังที่แสดงไว้ในรูป ๓ - ๑๕รูป ๓ - ๑๔ ส่วนดําเนินกลยุทธและส่วนยิงสนับสนุนเปลี ่ยนบทบาทซึ ่งกันและกัน


- ๒๓ -วิชา ทหารม้าการเข้าตะลุมบอนโดยทั่วไปจะกระทําโดย ถ., ส่วนลงรบเดินดินและ รสพ.ส่วนลงรบเดินดินจะยังคงอยู ่บน รสพ.ให้นานที่สุดเท่าที่สถานการณ์ทางยุทธวิธีจะอํานวยการลงจากรถเร็วเกินไปจะทําให้การตะลุมบอนต้องช้าลง และเป็นการเปิ ดเผยทหารต่ออาวุธข นาดเล็กและการยิงเล็งจําลองของข้าศึก การลงจากรถช้าเกินไปจะทําให้รถถังและ รสพ.เป็นอันตรายจากการถูกทําลายโดยอาวุธต่อสู ้รถถังขนาดเล็กได้ข้อพิจารณาที่สําคัญสําหรับการตะลุมบอนที่มีประสิทธิภาพคือ- ส่วนตะลุมบอนจะต้องค้นหาและทําลายระบบต่อสู ้รถถังของข้าศึก การตั ้งรับสมัยใหม่จะเป็นการตั ้งรับโดยใช้ระบบอาวุธต่อสู่รถถังพร้อมกับทหารราบที่อยู่ในที่มั่นเพื่อป้ องกันระบบอาวุธต่อสู ้รถถังเหล่านั ้นการตัดรอนระบบอาวุธต่อสู ้รถถังของฝ่ ายตั ้งรับจะเป็ นหัวใจที่สําคัญของการตะลุมบอน- ควรหลีกเลี่ยงการตะลุมบอนข้ามเส้นขอบฟ้ าหรือผ่านที่โล่งแจ้ง แต่ถ้าต้องผ่านพื ้นที่โล่งแจ้งก็ ควรใช้ควันพรางการเคลื่อนที่- ยานพาหนะของฝ่ ายเราที่ถูกทําลายและทางแคบเป็นสิ่งที่แสดงถึงอันตราย ยานพาหนะที่ถูกทําลายจะแสดงถึงพื ้นที่สังหารของข้าศึก ทางแคบผ่านตําบลคับขันหรือเครื่องกีดขวางจะต้องถูกคุ ้มครองด้วยการยิง- จะต้องดํารงไว้ซึ่งการระวังป้ องกันรอบตัว หน่วยต้องพร้อมที่จะตอบโต้ต่อการยิงของข้าศึกได้ทุกทิศทาง โดยทั่วไปจะเป็นการสนใจต่อทิศทางการเคลื่อนที่และที่หมายที่ได้รับมอบ- การสนับสนุนซึ่งกัน และกันระหว่างรถถัง, รสพ., ส่วนลงรบเดินดินและการยิงสนับสนุนจะต้องดํารงไว้ตลอดเวลา ใช้การเข้าตีเพื่อตัดแยกข้าศึกจากการยิงสนับสนุน ถ้าเป็นไปได้เข้าตีเฉพาะที่ตั้งยิงของอาวุธของข้าศึกเพียงหนึ่งหรือสองที่ตั้งยิง หรือบางส่วนของที่มั่นตั้งรับของทหารราบข้าศึก- ดํารงไว้ทั้งความเร็วและความประสานสอดคล้อง การเคลื่อนที่ที่ช้าเกินไปจะทําให้ข้าศึกสามารถเปลี่ยนหรือปรับปรุงที่มั่นเพื่อเอาชนะฝ่ ายเข้าตี การเคลื่อนที่ที่เร็วเกินไปทําให้ความประสานสอดคล้องของการเข้าตีต้องเสียไป และทําให้ไม่ประสพความสําเร็จในการเข้าตีการเสริมความมั ่นคง ณ ที ่หมายการเข้ายึดครองที่หมายเป็ นห้วงเวลาที่วิกฤติ ข้าศึกบนที่หมายจะต้องถูกทําลายหรือยอมแพ้โดยสิ ้นเชิงการควบคุมจะกระทําได้ยากลําบากที่สุดในเวลานี ้ซึ่งจะรวมไปถึงอันตรายจากการตีโต้ตอบที่เตรียมไว้เป็ นอย่างดีจากข้าศึก (ดูรูป ๓ - ๑๗)


- ๒๔ -วิชา ทหารม้ารูป ๓ - ๑๗ การเสริมความมั ่นคง ณ ที ่หมายกองร้อยควรกําหนดเขตให้แต่ละ มว.ไว้ในแผนเข้าตี โดยทันทีที่การเข้าตะลุมบอนเสร็จเรียบร้อยแต่ละ มว.จะต้องเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปยังเขตที่ได้รับมอบ และดําเนินการดัดแปลงที่มั่นตั้งรับอย่างเร่งด่วนกองร้อยจะเตรียมการในการป้ องกันที่หมายจากการตีโต้ตอบของข้าศึก หรือเข้าตีต่อไปนั ้นขึ ้นอยู่กับภารกิจต่อไป- ถ้าข้าศึกเข้าตีโต้ตอบเพื่อยึดที่หมายกลับคืน กองร้อยจะต้องปฏิบัติการตั้งรับตามปกติมาตรการที่ใช้ต่อการเข้าตีโต้ตอบของข้าศึกจะต้องถูกวางแผนไว้ก่อนการเข้าตีและถูกบรรจุเข้าไว้ในคําสั่งเข้าตีการจัดระเบียบใหม่ ณ ที ่หมายการจัดระเบียบใหม่ จะต้องทําด้วยความรวดเร็วและละเอียดถี่ถ้วน ผบ.มว.แต่ละนายจะรายงานการสูญเสียของกําลังพล, กระสุน, นํ ้ามันเชื ้อเพลิง และสถานภาพของยานพาหนะไปยัง ผบ.ร้ อย.และ รองผบ.ร้ อย. รอง ผบ.ร้ อย.และจ่ากองร้อยจะส่งผ่านรายงานเหล่านี ้ต่อไปยังกองพัน รายงานเหล่านี ้จะประกอบไปด้วยข่าวสารที่จําเป็ นต่อแผนและคําสั่งขั ้นต่อไป และจะต้องรายงานในโอกาสแรกที่ทําได้


- ๒๕ -วิชา ทหารม้าถ้าการสูญเสียกําลังพลมีมาก พลประจํารถถังและกําลังพลในหมู ่ทหารม้าบรรทุกยานเกราะจะถูกจัดใหม่ผู ้ที่รอดชีวิตจากยานพาหนะที่ถูกทําลายจะเคลื่อนที่ไปยังที่หมายและทดแทนชั่วคราวกับกําลังพลที่สูญเสียกระสุนจากยานพาหนะที่ชํารุดจะถูกนํามาเฉลี่ยแจกจ่าย ตอน ซบร.จะทําการ ซบร.ยานพาหนะตามที่เวลาจะอํานวยให้ผบ.ร้ อย.จะมีความรับผิดชอบในการส่งกลับ- กําลังพลที่บาดเจ็บ (ฝ่ ายเราและฝ่ ายข้าศึก) ภายในเขตปฏิบัติการ- ข่าวสารที่เป็ นข่าวกรอง (แผนที่)- ยานพาหนะที่ชํารุด- เชลยศึก- ศพของผู ้เสียชีวิตถ้าการเข้าตีต้องดําเนินต่อไป การจัดระเบียบใหม่จะต้องกระทําอย่างรวดเร็ว โดยไม่ให้ข้าศึกมีโอกาสหลบหนี ใช้การออกคําสั่งเป็นส่วน ๆ เพื่อปรับปรุงแผนเข้าตี-------------------------------


- ๒๖ -วิชา ทหารม้าตอนที ่ ๕ รูปแบบและเทคนิคการใช้ ถ. และ ม.(ก) ในการเข้าตีรูปแบบในการใช้ ถ.และ ม.(ก) ร่วมกันในการเข้าตีโดยทั่วไปมีอยู ่ ๒ แบบใหญ่ ๆ คือ- ถ.และ ม.(ก) เข้าตีบนเส้นหลักเดียวกัน (รูป ๓ - ๑๘)- ถ.และ รสพ.สนับสนุนด้วยการยิงเพียงอย่างเดียว (รูป ๓ - ๑๙)รูป ๓ - ๑๘ ถ.และ ม.(ก) ที ่ลงเดินดินเข้าตีบนเส้นหลักที ่ต่างกันและ รสพ.ให้การสนับสนุนด้วยการยิงรูป ๓ - ๑๙ ถ.และ รสพ.สนับสนุนด้วยการยิงเพียงอย่างเดียว


้- ๒๗ -วิชา ทหารม้าการให้ ม.(ก) ขึ ้นสมทบกับ ร้ อย.ถ.จะช่วยเหลือ ถ.ได้โดย- เจาะหรือเคลื่อนย้ายเครื่องกีดขวางต่อต้านรถถัง- ช่วยเหลือในการตัดรอนหรือทําลายอาวุธต่อสู ้รถถังของข้าศึก- กําหนดเป้ าหมายให้แก่รถถัง- ป้ องกันรถถังจากทหารราบและอาวุธขนาดเล็กของข้าศึก- ลงรบเดินดินนําการเข้าตีเมื่อจําเป็น- กวาดล้างและช่วยเหลือในการเสริมความมั่นคง ณ ที่หมายการให้ ถ.ขึ ้นสมทบกับ ร้ อย.ม.(ก) จะช่วยเหลือ ม.(ก) ได้โดย- ให้อํานาจการยิงที่มียานเกราะป้ องกัน เพื่อช่วยเหลือในการรุกคืบหน้าของกองร้อยชุดรบ- ตัดรอนและทําลายอาวุธที่เป็นอันตรายโดยการยิงและการเคลื่อนที่- กวาดล้างเส้นทางให้แก่ ม.(ก) ที่ลงรบเดินดินผ่านเครื่องกีดขวางลวดหนาม- ตัดรอนที่มั่นดัดแปลงแข็งแรงโดยการยิงเล็งตรง- สนับสนุนทหารที่ลงรบเดินดินด้วยการยิงเล็งตรง- ให้การป้ องกันจากการยิงของอาวุธต่อสู ้รถถังระยะไกล- นําการเข้าตีเมื่อกระทําได้ความคล่องแคล่วและเกราะป้ องกันของ รสพ.จะช่วยให้ทหารเคลื่อนที่ไปบนสนามรบได้อย่างรวดเร็วตําบลลงรถอาจอยู ่ใกล้ที่หมาย, บนที่หมาย หรือภายหลังจากผ่านที่หมายไปแล้วก็ได้การลงจากรถใกล้ที่หมาย ไม่กระทําในบริเวณที่อยู่ภายในระยะยิงของอาวุธปื นเล็กหรืออาวุธต่อสูรถถังขนาดเล็ก สภาวการณ์ทางยุทธวิธีอาจทําให้ต้องค้นหาตําบลลงรบบริเวณใกล้ที่หมาย ดังนั ้นกองร้อยจะต้องหาพื ้นที่ที่สามารถจดจําได้ง่าย ซึ่งให้การกําบังจากการยิงเล็งตรงของข้าศึก ถ้าเป็ นไปได้ควรอยู่ให้พ้นจากระยะขว้างระเบิดมือ และอยู ่พ้นจากระยะปลอดภัยของการยิงสนับสนุนข้อได้เปรียบ- ทหารที่ลงรบเดินดิน จะได้รับการป้ องกันจากอาวุธขนาดเล็กและการตรวจการณ์ของการเล็งยิงจําลองในขณะที่ลงจากรถ- กําลังพลสามารถหาทิศทางได้ในขณะที่รุกคืบหน้าเข้าสู ่ที่หมาย- สามารถจัดตั้งการควบคุมได้ที่ตําบลลงรถ- การยิงสนับสนุนจาก ป.และ ค.สามารถกดดันต่อข้าศึก ในขณะที่ทหารกําลังลงรถข้อเสียเปรียบ- ทหารที่ลงจากรถจะเปิ ดเผยตนเองเป็ นเวลานานจากอาวุธขนาดเล็ก และการยิงเล็งจําลอง ของข้าศึกในขณะที่เคลื่อนที่เข้าตะลุมบอน- ตําบลลงรถที่พึงประสงค์จะเป็นเป้ าหมายในการยิงเล็งจําลองของข้าศึก


- ๒๘ -วิชา ทหารม้าการลงจากรถบนที่หมาย กระทําเมื่อต้องการการจู ่โจมหรือข้าศึกมีการต่อสู ้รถถังที่อ่อนแอข้อได้เปรียบ- ความเร็วและการทําลายข่มขวัญจะเพิ่มมากขึ ้น- ทหารจะได้รับการป้ องกันจากการยิงของอาวุธปื นเล็กของข้าศึกได้นานขึ ้น- การยิงสนับสนุนเล็งจําลองสามารถกระทําได้นานขึ ้นข้อเสียเปรียบ- กําลังพลหาทิศทางของที่หมายขณะอยู ่ในรถได้ยาก- ยากต่อการจัดตั ้งการควบคุม ณ ตําบลลงรถ- รสพ.เป็นอันตรายจากการยิงของอาวุธต่อสู ้รถถังระยะใกล้- มีความต้องการการยิงข่มที่สูงมากเพื่อสนับสนุนให้แก่ทหารที่ลงเดินดินการลงจากรถภายหลังจากผ่านที่หมายไปแล้ว ใช้เมื่อการเข้าตีบนรถมีประสิทธิภาพมากกว่า และการต่อสู ้รถถังของข้าศึกไม่น่าจะมีการใช้ข้อได้เปรียบ- ทหารที่ลงรบเดินดินจะต่อสู ้จากพื ้นที่และทิศทางที่ข้าศึกไม่คาดคิด- กําลังพลสามารถกําหนดทิศทางได้เรียบร้อยกว่าบนที่หมาย- การควบคุมความสามารถจัดตั้งได้ง่ายกว่าเมื่อไม่อยู ่บนที่หมาย- อํานาจการข่มขวัญโดยหน่วยยานเกราะขณะที่เคลื่อนที่ผ่านที่มั่นของข้าศึกจะเป็ นข้อพิจารณาที่เป็ นไปได้ข้อเสียเปรียบ- วิธีนี ้อาจทําให้เกิดการปะทะกับข้าศึกในทางลึก- ตําบลลงรถที่เหมาะสมจะยังคงเป็นเป้ าหมายสําหรับการยิงเล็งจําลองของข้าศึก- การให้ รสพ.พุ ่งเข้าสู ่ที่หมายก่อนการลงจากรถเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ แต่การหมุนกลับจะทําให้ทหารที่ลงจากรถเป็นอันตรายและทําให้ตําแหน่งของ ผบ.หน่วยที่เข้าตะลุมบอนหรือตําแหน่งของ ผบ.มว.ถ.ต้องเปลี่ยนไป- รสพ.ที่เข้าตะลุมบอนจะเป็นอันตรายอย่างมากในขณะที่เคลื่อนที่ผ่านที่มั่นของข้าศึกในการวางแผนว่าจะให้ทหารลงจากรถ ณ ที่ใด กองร้อยควรจะต้องเตรียมการในการเปลี่ยนตําบลลงจากรถไว้ด้วยถ้าสถานการณ์ขณะนั้นเปลี่ย นไป ผบ.ร้ อย.ควรจะอยู ่ค่อนไปข้างหน้าเพื่อทําให้สามารถพิสูจน์ทราบสถานการณ์และตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม และพยายามให้ทหารอยู ่บน รสพ.จนกระทั่งถึงที่หมายหรือใกล้ที่หมายมากที่สุดเท่าที่จะกระทําได้ ซึ่งสิ่งนี ้จะทําให้ทหารมีความกระฉับกระเฉงที่จะเข้าสู ้รบการเสียขวัญของข้าศึกจากการที่ทหารม้าบรรทุกยานเกราะเข้าถึงที่หมายในทันทีทันใด และสนับสนุนด้วยรถถังอย่างใกล้ชิดจะทําให้ตัดสินผลของการสู ้รบได้


- ๒๙ -วิชา ทหารม้ารถถังควรที่จะเป็นส่วนนําของรูปขบวน การพิจารณาระยะห่างระหว่างรถถังและ รสพ.ควรกระทําก่อนที่จะเริ่มการตะลุมบอน ซึ่งระยะห่างนี ้จะพิจารณาจากปัจจัย METT - T- ภารกิจ ถ้าภารกิจต้องการให้ใช้ความเร็ว,ต้องการการควบคุมการเคลื่อนที่และการประสานการปฏิบัติกันอย่างใกล้ชิด รสพ.จะตามไปด้านข้างหรือตามหลังอย่างใกล้ชิดกับรถถัง- ข้าศึกชนิดของหน่วยข้าศึก จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อตําแหน่งของ รสพ.ในการตะลุมบอน- ภูมิประเทศ (และลมฟ้ าอากาศ ) ถ้าภูมิประเทศเป็นคลื่นหรือยากลําบาก และมีช่องทางที่แคบมาก รสพ.จะต้องเคลื่อนที่ไปกับหรือตามหลังอย่างใกล้ชิดกับรถถัง- หน่วยทหารที่มี การจัดเฉพาะกิจจะมีอิทธิพลต่อรูปขบวนและตําแหน่งของ รสพ.เป็นอย่างมากรสพ.ที่เป็นกองหน้าในการตะลุมบอนมีความต้องการ ถ.จํานวนน้อยหรือไม่ต้องการเลย- เวลา ถ้ามีเวลาน้อย รสพ.จะต้องเคลื่อนที่ให้ใกล้กับรถถัง ซึ่งสิ่งนี ้จะลดเวลา------------------------------


- ๓๐ -วิชา ทหารม้าตอนที ่ ๖ ข้อพิจารณาในการปฏิบัติการขณะทัศนวิสัยจํากัดความมืด, หมอก, ฝน และหิมะเป็นทัศนวิสัยจํากั ดทั้งสิ ้นส่วนควันและฝุ ่ นเป็นสภาพทัศนวิสัยจํากัดชั่วคราวเท่านั้น การควบคุม ,การหาทิศทางและการพิสูจน์ทราบกําลังฝ่ ายข้าศึกจะกระทําได้ยากลําบากเมื่อสภาพทัศนวิสัยจํากัดมาก การเข้าตีในสภาพทัศนวิสัยจํากัดเป็ นการปฏิบัติที่กระทําได้ยากที่สุด ซึ่งมีความต้องการการวางแผนในรายละเอียด การซักซ้อมการปฏิบัติ และการเตรียมการอย่างละเอียดถี่ถ้วนการเคลื่อนที่จะกระทําได้ช้าลง, ความสับสนอาจเกิดขึ ้นได้และการจัดระเบียบใหม่กระทําได้ยากขึ ้นการปฏิบัติการเข้าตีในขณะทัศนวิสัยจํากัดจะกระทําเพื่อ- ให้ได้มาซึ่งการจู ่โจม- หลีกเลี่ยงการสูญเสียอย่างหนัก- ขยายผลแห่งความสําเร็จและดํารงแรงหนุนเนื่อง- ดํารงการกดดันต่อข้าศึก- ขยายผลจากข้อได้เปรียบของเครื่องมือตรวจการณ์เวลากลางคืนเทคนิคในการเข้าตีกลางคืนนั้น จะเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อยจากการเข้าตีขณะทัศนวิสัยจํากัดโดยสภาวะการณ์อื่น ๆการเข้าตีกลางคืน อาจปฏิบัติได้ทั ้งการใช้การส่องสว่างหรือไม่ใช้ก็ได้ แต่การส่องสว่างจะต้องมีการวางแผนไว้ทุกครั ้ง การเข้าตีกลางคืนอาจเริ่มต้นด้วยการไม่ใช้การส่องสว่าง โดยปกติ ผบ.พัน.ฉก.จะเป็นผู ้ตัดสินใจว่าจะใช้ การเข้าตีแบบใดและการส่องสว่างเมื่อใด บางครั้งเมื่อสถา นการณ์ทางยุทธวิธีอํานวยให้ ผบ.ร้ อย.ชุดรบอาจตัดสินใจเองก็ได้ เครื่องมือในการส่องสว่างอาจประกอบด้วยพลุส่องสว่างมือ ,กระสุนส่องสว่างจากเครื่องยิง,กระสุนส่องสว่างจาก ป.และ ค.หรือพลุส่องสว่างเครื่องบิน เครื่องมือตรวจการณ์ในเวลากลางคืน จะช่วยในการเคลื่อนที่และการควบคุมกองร้อยชุดรบอาจปฏิบัติได้ทั้งการเข้าตีกลางคืนบนรถและลงรบเดินดิน การเข้าตีบนรถจะกระทําเพื่อดํารงแรงหนุนเนื่องในการเข้าตีต่อกําลังข้าศึกที่ยึดครองที่มั่นตั้งรับเร่งด่วน ส่วนการเข้าตีลงรบเดินดินมักจะปฏิบัติในเวลากลางคืนเพื่อให้ได้มาซึ่งการจู ่โจมการเข้าตีในเวลากลางคืน โดยการซ่อนเร้นมีความต้องการข่าวกรองในรายละเอียดเกี่ยวกับข้าศึกการเตรียมการอาจต้องใช้เวลาหลายวัน บางครั้งการเข้าตีสามารถกระทําได้โดยซ่อนเร้นไปยังตําบลหนึ่งและจากนั้นก็ใช้การส่องสว่างในระยะทางที่เหลือ ตัวอย่างเช่น อาจมีเครื่องกีดขวางอยู ่ด้าน หน้าของที่มั่นข้าศึกที่จะต้องกวาดล้างหรือเจาะก่อนที่จะใช้การส่องสว่าง การยิงข่มจะกระทําต่อที่มั่นข้าศึกเพื่อคุ ้มครองการปฏิบัติการเจาะเครื่องกีดขวาง ส่วนการใช้การส่องสว่างจะกระทําเมื่อต้องการเท่านั้นการควบคุม มว.และอาวุธต่าง ๆ จะกระทําได้ยากในเวลากลางคืน วินัยในการใช้แสงและเสียงจะกระทําเข้มงวด มาตรการควบคุมจะต้องจํากัดมากขึ ้น กองร้อยควรใช้ข้อพิจารณาต่อไปนี ้ในการวางแผนการเข้าตีในขณะทัศนวิสัยจํากัด


- ๓๑ -วิชา ทหารม้า- ที่รวมพล ควรจะให้มีขนาดเล็กลงและอยู ่ใกล้แนวออกตีมากกว่าการเข้าตีในเวลากลางวัน- ฐานออกตี จะใช้เสมอสําหรับการเข้าตีเวลากลางคืน ซึ่งควรที่จะเป็นช่องแคบ ๆ ง่ายต่อการเข้าและออก และเป็นตําแหน่งสุดท้ายที่มีการกําบังและซ่อนพราง- แนวออกตี จะใช้แบบเดียวกับที่ใช้เวลากลางวัน- จุดผ่านแนวออกตี จะเป็นสถานที่ที่ซึ่งกองร้อยจะใช้ในการผ่านแนวออกตี โดยกองร้อยจะใช้รูปขบวนเดินทางในการผ่าน จุดผ่านแนวออกตีอาจมีมากกว่าหนึ่งจุดก็ได้และจะต้องง่ายต่อการค้นพบ ถ้าจําเป็ นก็อาจใช้พลนําทางเพื่อช่วยในการควบคุม- จุดปล่อย จะเป็นสถานที่ที่ซึ่งปล่อยการควบคุมในระหว่างการเข้าตีกลางคืน ด้วยการลงรบเดินดิน(แต่ละกองร้อยชุดรบจะปล่อยการควบคุมให้แก่ ผบ.มว.ม.(ก) ที่จุดปล่อยของ มว.และ ผบ.มว.ม.(ก) ก็จะปล่อยการควบคุมให้แก่ ผบ.หมู่ ม.(ก) ที่จุดปล่อยของหมู่ ) จุดปล่อยจะต้องอยู่ห่างออกไปข้างหลังเพียงเพื่อให้หน่วยกระจายกําลังก่อนที่จะถึงแนวปรับรูปขบวนที่น่าจะเป็น- ทิศทางเข้าตี จะใช้ในลักษณะเดียวกับเวลากลางวัน- เส้นทางการรุก จะใช้ในลักษณะเดียวกับเวลากลางวัน- เส้นทาง จากจุดปล่อยของกองร้อยหรือที่รวมพลไปยังจุดปล่อยของ มว. โดยปกติแล้ว ผบ.ร้ อย.ชุดรบจะเป็นผู ้เลือกในระหว่างการเข้าตีในเวลากลางคืนด้วยการลงรบเดินดิน ผบ.มว.แต่ละนายก็จะเลือกเส้นทางของ มว.ไปยังจุดปล่อยของหมู่ พลนําทางอาจใช้เพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนที่จากจุดปล่อยไปยังแนวปรับรูปขบวนที่น่าจะเป็น- แนวปรับรูปขบวนที่น่าจะเป็น จะเป็นสถานที่ที่ซึ่งกองร้อยชุดรบจะเข้าตะลุมบอนถ้ายังไม่มีการปะทะกับข้าศึก แนวนี ้ควรที่จะให้ใกล้กับที่หมายมากที่สุดเท่าที่จะทําได้บนภูมิประเทศที่สามารถสังเกตุเห็นได้ง่าย (ถนน ,เส้นทางหรือแนวชายป่ า)- แนวจํากัดการรุก จะช่วยควบคุมการเข้าตีและป้ องกันมิให้ส่วนตะลุมบอนถูกยิงจากฝ่ ายเดียวกันเอง แนวนี ้จะถูกกําหนดขึ ้นโดย ผบ.พัน.หรือ ผบ.ร้ อย.ชุดรบ และง่ายแก่การสังเกตเห็นในขณะทัศนวิสัยจํากัดแนวนี ้ควรจะอยู ่ ไกลออกไปข้างหน้า และทางปี กของที่หมายอย่างเพียงพอเพื่ออํานวยให้ส่วนระวังป้ องกันมีพื ้นที่เพียงพอที่จะปฏิบัติภารกิจ ส่วนยิงสนับสนุนสามารถยิงเลยแนวนี ้ออกไปได้อย่างเสรี โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยรับการสนับสนุนผบ.ร้ อย.ชุดรบจะเป็นผู ้กําหนดรูปขบวนของกองร้อย และพิจารณาว่าจะให้ ถ.หรือ ม.(ก)เคลื่อนที่นํารูปขบวนของแต่ละ มว.จะขึ ้นอยู ่กับตําแหน่งของ มว.ในรูปขบวนของกองร้อย ,ภูมิประเทศและสถานการณ์ของข้าศึกกองร้อยชุดรบอาจผ่านแนวออกตีโดยใช้กองร้อยแถวตอน และ มว.แถวตอนเมื่อ- ทัศนวิสัยไม่อํานวยให้ใช้รูปขบวนแบบอื่น ๆ- ระยะทางไปยังที่หมายห่างมาก


- ๓๒ -วิชา ทหารม้า- การปะทะข้าศึกยังไม่น่าจะเกิดขึ ้นถ้ากองร้อยชุดรบเริ่มปะทะกับข้าศึกและระยะทางไปยังที่หมายไม่ห่างมากนัก แนวออกตีอาจกลายเป็นแนวปรับรูปขบวนที่น่าจะเป็นไปได้ ในกรณีนี ้กองร้อยชุดรบจะผ่าน นต./แนวปรับรูปขบวนด้วยรูปขบวนหน้ากระดาน และ มว.ต่าง ๆ ก็จะผ่านด้วยรูปขบวนหน้ากระดานเช่นกันระยะห่างระหว่าง มว.ต่าง ๆ จะขึ ้นอยู่กับทัศนวิสัย, ภูมิประเทศ และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการควบคุม เมื่อทัศนวิสัยไม่ดีควรใช้ทั้งการเคลื่อนที่ต่อเนื่องและการเคลื่อนที่ที่มีการระวังป้ องกัน ส่วนการเคลื่อนที่แบบสลับขั ้นที่มีการระวังป้ องกันจะทําได้ยากในเวลากลางคืน แม้ว่าจะมีเครื่องมือตรวจการณ์ในเวลากลางคืนช่วยการวางแผนการยิงเล็งและเล็งจําลอง จะกระทําเหมือนกับการเข้าตีในเวลากลางวัน แต่ถ้าต้องการใช้การเข้าตีแบบซ่อนเร้นก็จะไม่ทําการยิงออกไปจนกว่ากองร้อยชุดรบพร้อมที่จะทําการตะลุมบอนหรือถูกตรวจพบจากอาวุธข้าศึก อาวุธบางอย่างอาจทําการยิงก่อนการเข้าตีลวงข้าศึกหรือช่วยปิ ดบังเสียงของการเคลื่อนที่ของกองร้อยชุดรบ แต่สิ่งนี ้จะไม่กระทําถ้าเป็ นการเปิ ดเผยการเข้าตีการปรับการยิงเล็งจําลองจะกระทําได้ยากเมื่อทัศนวิสัยไม่ดี ถ้ามีความสงสัยต่ อตําแหน่งที่แน่นอนของฝ่ ายเดียวกันก็ควรที่จะวางแผนการยิงเล็งจําลองไปยังที่มั่นของข้าศึกที่เลยที่หมายออกไปและค่อย ๆ ยิงคืบเข้าสู ่ที่หมาย กระสุนส่องสว่างจะถูกยิงออกไปให้เผาไหม้บนพื ้นดินเพื่อเป็ นเครื่องหมายแสดงถึงที่หมายและแสดงทิศทางให้แก่กองร้อยชุดรบวางแผนการใช้ควันเพื่อลดขีดความสามารถในการตรวจการณ์ของข้าศึก แต่จะต้องไม่จํากัดการเคลื่อนที่ของฝ่ ายเราหรือปิ ดบังการเจาะเครื่องกีดขวางข้าศึก ควันจะไม่ถูกใช้บนที่หมายในระหว่างการตะลุมบอน เนื่องจากอาจทําให้ปกปิ ดที่มั่นของข้าศึกกองร้อยควรวางแผนการส่องสว่างไว้ด้วยเสมอสํา หรับการเข้าตีเวลากลางคืนซึ่งถ้ามีความต้องการให้ส่องสว่างก็จะกระทําได้ทันที ปกติ ผบ.พัน.ฉก.จะเป็ นผู ้ควบคุมการส่องสว่าง แต่บางครั้งก็อนุญาตให้ผบ.ร้ อย. ชุดรบร้องขอการยิงส่องสว่างได้เมื่อต้องการ กองร้อยไม่ควรร้องขอการยิงส่องสว่างจนกว่าจะได้เริ่มการตะลุมบอนหรือการเข้าตีถูกค้นพบโดยข้าศึก การส่องสว่างควรกระทําบนพื ้นที่หลาย ๆแห่งเพื่อให้ข้าศึกสับสนต่อตําแหน่งที่แท้จริงของการเข้าตีและควรที่จะกระทําเลยที่หมายออกไปเพื่อช่วยส่วนตะลุมบอนในการตรวจการณ์และยิงไปยังข้าศึกที่ถอนตัวหรือข้าศึกที่เข้าตีโต้ตอบ การส่องสว่างควรที่จะกระทําอย่างต่อเนื่อง การหยุดชะงักการส่องสว่างอาจลดขีดความสามารถในการยิงข่มลงได้ ผบ.หมู่,ตอน และ มว.ไม่ควรที่จะใช้พลุส่องสว่างมือถือก่อนที่ ผบ.ร้ อย.จะตัดสินใจใช้การส่องสว่างต่อที่หมายในขณะที่สภาพทัศนวิสัยจํากัดอย่างมากระบบการทรงตัวของปื นใหญ่รถถังอาจใช้ในการหาทิศทางก็ได้โดยการชี ้ปื นไปที่เป้ าหมายหรือมุมภาคที่กําหนดก่อนที่เคลื่อนที่และเปิ ดระบบการทรงตัวในขณะที่รถเคลื่อนที่ปื นใหญ่รถถังจะชี ้ไปยังทิศทางเดิมเสมอพลขับก็เพียงแค่ขับไปตามทิศทางที่ลํากล้องปื นชี ้ไปเท่านั้น


- ๓๓ -วิชา ทหารม้าการเสริมความมั่นคงณ ที่หมายในเวลากลางคืนเป็ นการปฏิบัติที่ยากมาก โดยหน่วยอาจจะพลาดกับข้าศึกที่อยู ่บนหรือใกล้เคียงที่หมายได้อย่างง่ายดายโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าที่หมายนั้นกว้างมา การกระจายกําลังระหว่างยานพาหนะและบุคคลจะต้องน้อยกว่าที่ปฏิบัติในเวลากลางวันเพื่อประกันถึงการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ผบ.หน่วยจะต้องตรวจสอบที่มั่นรบแต่ละแห่งและประกันว่าได้มีการจัดตั้งที่ตรวจการณ์ออกไปกองร้อยจะต้องตื่นตัวและพร้อมที่จะดัดแปลงที่มั่น, ตรวจสอบที่หมายซํ ้าและทําลายการตีโต้ตอบของข้าศึกสิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดอย่างหนึ่งของการเข้าตีเวลากลางคืน จะมาจากการยิงของฝ่ ายเดียวกันหน่วยจะต้องปรับปรุงความชํานาญในการค้นหาที่หมายของพลยิงให้มากขึ ้น วิธีการบางอย่างที่สามารถนํามาใช้ได้คือ- ประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยข้างเคียง ทั้งก่อนและระหว่างการรบ ค้นหาให้ได้ว่าหน่วยทางซ้ายและทางขวาอยู ่ที่ใด, ใช้รูปขบวนแบบใด และเส้นทางใด รวมทั้งค้นหา หน่วยที่อยู ่ข้างหน้าและข้างหลังในแบบเดียวกัน และควรประกันว่าหน่วยเหล่านั้นจะทําแบบเดียวกับท่าน ในระหว่างการเคลื่อนที่ควรให้ข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหรือการเสียเวลาของตําแหน่งหรือเส้นทางแก่ทุกคน เฝ้ ามองการปฏิบัติของหน่วยข้างหน้าและข้างหลังเสมอเพื่อให้หน่วยเราปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม- ประกันถึงความเข้าใจ ประกันว่า ผบ.หน่วยทุกนายจะทราบข่าวสารนี ้ ควรซักซ้อมการเข้าตีบนพื ้นที่ที่คล้ายกับของจริงในเวลากลางคืนถ้าสามารถกระทําได้ดูการซักซ้อมการปฏิบัติของหน่วยรองและการอธิบายกลับของ ผบ.หน่วยรองแต่ละนายรวมทั ้ง ผบ.หน่วยขึ ้นสมทบ- ควบคุมการยิงอย่างใกล้ชิด ในระหว่างการเข้าตีเวลากลางคืน พิจารณาใช้มาตรการควบคุมการยิงแบบห้ามยิง และยิงระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีหน่วยทหารฝ่ ายเดียวกันอยู ่ข้างหน้าหรืออยู ่ในทิศทางที่ทราบแล้ว (เช่น ยิงระวังทางด้านขวาเนื่องจากกองร้อยชุดรบที่ ๓ กําลังเข้าตีอยู ่ทางด้านซ้าย)ระบบการตรวจการณ์เวลากลางคืนและระบบทรงตัวของปื นใหญ่รถถัง จะเป็นประโยชน์มากในการหาทิศทางเวลากลางคืนผบ.รถ และพลยิงสามารถช่วยเหลือพลขับโดยใช้เครื่องมือตรวจการณ์ ภูมิประเทศและดํารงการติดต่อกับพลขับในระหว่างการเคลื่อนที่บนเส้นทาง ในกา รโต้ตอบและอํานวยให้มีการจัดระเบียบใหม่ได้เร็วขึ ้น------------------------------


- ๓๔ -วิชา ทหารม้าบทที่ ๒การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับกองร้อยชุดรบจะปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ โดยเป็นส่วนหนึ่งของกําลังส่วนใหญ่ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ จะปฏิบัติเพื่อ- ทําลายกําลังข้าศึก- เอาชนะการเข้าตีของข้าศึก- ให้ได้เวลา- รวมกําลัง ณ แห่งใดแห่งหนึ่ง- ควบคุมภูมิประเทศสําคัญหรือภูมิประเทศแตกหัก- ทําให้กําลังข้าศึกอ่อนแอลงก่อนที่จะกลับไปสู ่การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก- รักษาที่หมายทางยุทธศาสตร์, ยุทธการ และยุทธวิธีตอนที ่ ๑ โครงร่างของการตั้งรับการตั้งรับ จะถูกจัดออกเป็น ๔ ส่วนที่สัมพันธ์กัน คือ- การปฏิบัติในทางลึกเข้าไปในพื ้นที่ต้านทานหน้าของแนวการวางกําลังฝ่ ายเดียวกัน- การปฏิบัติของส่วนระวังป้ องกันออกไปทางด้านหน้าและทางปี กของกําลังตั้งรับ- การปฏิบัติการตั้งรับในพื ้นที่ตั้งรับหลัก- การปฏิบัติการของกองหนุนในการสนับสนุนให้กับการตั ้งรับหลัก- การปฏิบัติการในพื ้นที่ส่วนหลังเพื่อรักษาเสรีในการปฏิบัติในพื ้นที่ส่วนหลังเอาไว้กองร้อยชุดรบสามารถร่วมปฏิบัติได้ทั้งการตั้งรับแบบพื ้นที่และแบบคล่องตัว การตั้งรับแบบคล่องตัวจะใช้กองหนุนขนาดใหญ่เพื่อเข้าตีโต้ตอบ และทําลายหรือผลักดันกําลังข้าศึกส่วนการตั ้งรับแบบพื ้นที่จะ มุ ่งอยู ่ที่การยึดรักษาภูมิประเทศ และทําลายกําลังข้าศึกด้วยการยิงจากที่มั่นที่สนับสนุนซึ่งกันและกันกองร้อยชุดรบอาจเข้าตี ตั้งรับ รั้งหน่วง หรือถอนตัวโดยเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินกลยุ ทธของกองพันกองร้อย ชุดรบจะปฏิบัติภารกิจในการตั้งรับดังนี.-้- ตั้งรับในที่ตั้งมั่นรบ- ตั้งรับในเขต- ตั้งรับในจุดต้านทานแข็งแรง- กองหนุน- เข้าตีโต้ตอบ- รั้งหน่วง


่- ๓๕ -วิชา ทหารม้า- ฉากกําบัง- ถอนตัวตอนที ่ ๒ หน่วยต่าง ๆ ในการตั้งรับหลักนิยมของการกําหนดที ่ตั้งอาวุธภูมิประเทศจะมีผลกระทบที่สําคัญของแง่คิดในการกําหนดที่ตั้งอาวุธ ๓ ประการ คือ* ก า ร ป้ อ ง ก ัน - กําบังและซ่อนพราง* อํานาจการยิง - การตรวจการณ์และพื ้นการยิง* ความคล่องแคล่ว - เครื่องกีดขวางและแนวทางเคลื่อนที่การกระจายที่ตั้งออกไปทางข้างและทางลึกจะช่วยป้ องกันฝ่ ายเราจากการตรวจการณ์และการยิงของฝ่ ายข้าศึกได้เป็นอย่างดี การกําหนดที่มั่น มว.ในทางลึกจะอํานวยให้มีที่ว่างในการดําเนินกลยุทธอย่างเพียงพอภายในที่มั่นเหล่านั้น รวมทั้งที่ตั้งของอาวุธและที่มั่นของหมู ่ในทางลึก ที่ตั้งยิงของยานพาหนะควรอยูห่างกันออกไปอย่างน้อย ๑๐๐ เมตร และหลุมบุคคลแต่ละแห่งควรกระจายกันออกไปอย่างน้อย ๒๕ เมตรรูป ๔ - ๑๐ ก และ ๔ - ๑๐ ข แสดงให้เห็นวิธีใช้เครื่องมือตรวจการณ์เวลากลางคืน การยิงส่องสว่างของ ป.และ ค. สามารถช่วยใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจการณ์และรบกวนการเข้าตีในเวลากลางคืนของข้าศึกรูป ๔ - ๑๐ ก แผนการเฝ้ าตรวจเวลากลางคืน แบบ ๑


่- ๓๖ -วิชา ทหารม้ารูป ๔ - ๑๐ ข แผนการเฝ้ าตรวจเวลากลางคืน แบบ ๒การยิงเล็งจําลองจะมีผลต่อขีดความสามารถของหน่วยในการมองเห็นและยิงเป้ าหมาย การยิงเล็งจําลองอย่างหนักจะก่อให้เกิดควัน ,ทําให้อากาศฟุ ้ งไปด้วยฝุ ่ นละออง และทําให้ทหารต้องหลบเข้าที่กําบัง ดังนั้นเพื่อชดเชยผลกระทบของการยิงเล็งจําลองของข้าศึก กองร้อยควรวางแผนให้มีที่มั่นสํารองและให้หน่วยยังคงอยู ่ในที่มั่นปกปิ ดนานเท่าที่จําเป็นก่อนที่จะต้องออกมาทําการสู ้รบที่มั่นที่ดีของ มว .จะอํานวยให้รถถัง , รสพ.และอาวุธจรวดต่อสู ้รถถังสามารถยิงข้าศึกทางปี กได้การยิงทางปี กช่วยเพิ่มความน่าจะเป็นในการทําลายยานเกราะข้าศึกและลดขีดความสามารถของข้าศึกในการค้นพบการยิงและดําเนินกลยุทธต่อที่มั่นของฝ่ ายเราหน่วยสามารถทําให้ได้มาซึ่งการ สนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยการกําหนดภารกิจ , ที่มั่นที่อยูใกล้เคียงกันและขีดความสามารถของหน่วยเอง (ประสิทธิภาพของอาวุธยิงเล็งตรงและขีดความสามารถในการดําเนินกลยุทธ) การสนับสนุนซึ่งกันและกันสามารถทําได้โดยกําหนดที่มั่นของ มว.ทางข้างและทางลึกและวางพื ้นการยิงให้ทาบทับกัน ในลักษณะนี ้พื ้นที่อับกระสุนและเขตการยิงจะได้รับการครอบคลุมทั้งหมดการวางกําลังของ ถ., รสพ.และทหารที ่ลงรบเดินดินในการวางแผนการตั้งรับของกองร้อยชุดรบนั้นแนวทางเคลื่อนที่จะเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดในการพิจารณาการวางกําลังของหน่วยและอาวุธต่าง ๆ โดยต้องให้สามารถครอบคลุมได้ทุกแนวทางเคลื่อนที่ที่จะมีผลกระทบต่อที่มั่นของกองร้อยของท่าน ผบ .ร้ อย. สามารถใช้ที่มั่นในขั้นต้นของระบบอาวุธต่าง ๆ เพื่อคุ ้มครองแนวทางการเคลื่อนที่หรือใช้การแจ้งเตือนล่วงหน้าโดยเครื่องมือเฝ้ าตรวจและที่ตรวจการณ์ ซึ่งจะ


- ๓๗ -วิชา ทหารม้าทําให้หน่วยสามารถดําเนินกลยุทธไปคุ ้มครองแนวทางเคลื่อนที่ที่ข้าศึกปรากฏตัว แนวทางโดยทั่วไปในการกําหนดที่ตั้งของหน่วยและอาวุธจะเป็นดังนี ้- กําหนดที่ตั้งของ ถ.และ รสพ. ให้สามารถคุ ้มครองแนวทางเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์ของข้าศึก- กําหนดที่ตั้งของส่วนลงรบเดินดิน ให้สามารถคุ ้มครองแนวทางเคลื่อนที่ของทหารราบข้าศึก- ทหารที่ลงเดินดินต้องขุดหลุมบุคคลในทุกสถานการณ์ตั้งรับ เมื่อเวลาอํานวย- ใช้ทหารที่ลงเดินดินทําการป้ องกันเครื่องกีดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะทัศนะวิสัยจํากัด- ถ้ามีทหารมากเกินกว่าที่จะใช้คุ ้มครองแนวทางเคลื่อนที่ของทหารราบข้าศึก และคุ ้มครองเครื่องกีดขวางแล้วก็ควรที่จะใช้ทหารเหล่านั้นเข้าคุ ้มครองตําบลที่คาดว่าข้าศึกจะใช้ทหารราบเข้าตลุมบอนตามแนวทางการเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์ของข้าศึกหรืออาจใช้เป็นกองหนุนเพื่อปฏิบัติการตีโต้ตอบเฉพาะตําบล- ไม่ควรกําหนดที่ตั้งของทหารที่ลงรบเดินดินให้เปิ ดเผย ต่อการยิงเล็งจําลองหรือการยิงตรงระยะไกลของข้าศึก และ ควรใช้ลาดหลังเนินในการกําหนดที่ตั ้งถ้าเป็ นไปได้- ดํารงให้ มว .อยู ่รวมกัน แต่ถ้าการประมาณสถานการณ์ทําให้ ผบ .ร้ อย. ต้องใช้ ถ.หรือ รสพ .อย่างโดดเดี่ยวหรือใช้เป็นตอนแล้วก็สามารถทําได้ แต่ต้องพิจารณาถึงการสูญเสียการสนับสนุนซึ่งกันและกันและสามารถในการรวมอํานาจการยิงที่ลดลงไปการแยกส่วนดําเนินกลยุทธในการตั้งรับในขณะที่วางแผนการตั้งรับ ผบ.ร้ อย. ควรพิจารณาว่าระบบอาวุธต่าง ๆ จะวางไว้อย่างไร จึงจะได้ผลดีที่สุด เช่น การวาง มว.ต่าง ๆ ไว้บนที่มั่นที่แยกจากกันหรือโดยการแยกหรือสนธิรวม มว.ต่างกันไว้บนที่มั่นเดียวกันหรือหลายที่มั่นการวางส่วนดําเนินกลยุทธในที ่มั ่นที ่แยกจากกันบนแนวทางเคลื ่อนที ่ที ่แยกจากกัน- ใช้เมื่อไม่สามารถดํารงการสนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างที่มั่นต่าง ๆ- เมื่อการใช้เขตการยิงที่ทาบทับกันไม่เกิดข้อได้เปรี ยบหรือ ทําให้เกิดการยิงที่มากเกินไปต่อเป้ าหมาย- สามารถใช้ระบบอาวุธอื่นหรือ มว.เพียงอย่างเดียวบนแนวทางเคลื่อนที่แนวทางเดียว (เช่น ทหารที่ลงรบเดินดินจะใช้บนแนวทางเคลื่อนที่ของทหารราบข้าศึก)กองร้อยควรใช้วิธีนีเมื่อที่มั่นของกองร้อยมีทั้งภูมิประเทศที่จํากัด ้และไม่จํากัดผสมอยู่เมื่อต้องคุ ้มครองแนวทางเคลื่อนที่หลายแนวทาง หรือเมื่อมีกว้างด้านหน้าในการตั ้งรับมากสถานการณ์เหล่านี ้จะเกิดขึ ้นเมื่อต้องตั้งรับในเขตหรือทําการรบหน่วงเวลา (ดูรูป ๔ - ๑๑)


- ๓๘ -วิชา ทหารม้ารูป ๔ - ๑๑ ส่วนดําเนินกลยุทธในที ่มั ่นที ่แยกจากกันบนแนวทางเคลื ่อนที ่ที ่แยกจากกันการวางแผนการดําเนินกลยุทธในที ่มั ่นที ่แยกจากกันบนแนวทางเคลื ่อนที ่เดียวกันวิธีนี ้จะใช้มากที่สุด เมื่อกองร้อยต้องตั้งรับบนแนวทางเคลื่อนที่ที่กว้างมากแนวทางเดียวเขตการยิงของ มว.จะทาบทับกันทั้งหมดหรือเป็นบางส่วน เมื่อใช้วิธีนี ้ ผบ.มว.ต่าง ๆ จะต้องประสานเขตการยิงซึ่งกันและกันในขณะที่ ผบ.ร้ อย.จะเป็นผู ้ควบคุมการดําเนินกลยุทธของกองร้อยชุดรบระหว่างที่มั่นรบต่าง ๆการประสานการปฏิบัติเหล่านีเป็นสิ่งที่สําคัญอย่างมากเมื่อ ้มว .ถ. และมว.ม.(ก) เข้าปะทะกับเป้ าหมายที่แตกต่างกันในพื ้นที่สั งหาร รสพ .และทหารที่ลงรบเดินดิน จะใช้วิธีเดียวกันนี ้ เมื่อเข้ายึดครองที่มั่นที่แยกจากกันและคุ ้มครองแนวทางการเคลื่อนที่แนวทางเดียวกัน


- ๓๙ -วิชา ทหารม้ารูป ๔ - ๑๒ ส่วนดําเนินกลยุทธในที ่มั ่นที ่แยกจากกันแนวทางเคลื ่อนที ่แนวทางเดียวกันการวางส่วนดําเนินกลยุทธบนที ่มั ่นเดียวกันแต่แนวทางเคลื ่อนที ่แยกจากกันวิธีนี ้จะใช้เมื่อส่วนต่าง ๆ ของ มว.อยู ่บนที่มั่นเดียวกัน สถานการณ์นี ้จะใช้เมื่อ- ตั้งรับในที่มั่นรบบนแนวทางเคลื่อนที่หลาย ๆ แนวทาง- กองร้อยชุดรบที่มี ม.(ก) เป็นหลัก จะต้องกระจายรถถังออกไปเพื่อดํารงการยิงสนับสนุ นซึ่งกันและกันภายใน มว.ถ.- ถ.และ รสพ.พร้อมด้วยทหารที่ลงรบเดินดินเข้ายึดครองที่ตั้งยิงบนขอบของชายป่ าหรือในเมืองและปะทะกับข้าศึกตั้งแต่ระยะไกล จากนั้น ถ.และ รสพ.จะเคลื่อนย้ายไปสู ่ที่ตั้งยิงรองหรือที่ตั้งยิงขั้นต่อไปเพื่อดํารงระยะยิงของอาวุธในขณะที่ทหารที่ลงรบเดินดินปะทะกับข้าศึกที่เคลื่อนที่เข้ามาในที่มั่นขั้นต้น (ดูรูป ๔ - ๑๓)


- ๔๐ -วิชา ทหารม้ารูป ๔ - ๑๓ ส่วนดําเนินกลยุทธบนที ่มั ่นเดียวกันแต่แนวทางเคลื ่อนที ่จากกันวิธีนี ้กระทําได้ยากเนื่องจากส่วนดําเนินกลยุทธสองส่วนเข้ายึดครองที่มั่นรบ หรือเขตเดียวกัน และจะต้องประสานการปฏิบัติกันโดยใกล้ชิดเพื่อดํารงความเป็นหน่วยเอาไว้สิ่งที่สําคัญก็คือการทําให้ทหารทุกนายเข้าใจแผนและจะต้องมีการซักซ้อมการปฏิบัติโดยละเอียดในสภาวการณ์ที่เหมือนจริงการวางส่วนดําเนินกลยุทธบนที ่มั ่นเดียวกันและมีแนวทางเคลื ่อนที ่แนวทางเดียววิธีนี จะเป็ ้ นวิธีที่ยากที่สุดในการประสานงานและการปฏิบัติ รวมทั ้งไม่สามารถใช้อาวุธทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีนี ้ใช้เมื่อตั้งรับในจุดต้านทานแข็งแรงเพื่อรักษาภูมิประเทศหรือ ใช้เมื่อตั้งรับบนภูมิประเทศที่จํากัด (เช่นในเมืองหรือในป่ า ) ยานรบจะถูกใช้เพื่อเพิ่มเติมการสนับสนุนให้กับทหารที่ลงรบเดินดินอย่างใกล้ชิด ผบ.มว.ของส่วนลงรบเดินดินจะเป็นผู ้ควบคุมการเคลื่อนที่ของยานรบภายในที่มั่นของเขา และกําหนดเขตการยิงหรือเป้ าหมายที่จะทําการยิงให้แก่ยานรบเหล่านั้น


- ๔๑ -วิชา ทหารม้าตอนที ่ ๓ การตั้งรับในที ่มั ่นรบกองร้อยชุดรบจะตั้งรับในที่ มั่นรบเพื่อรวมอํานาจการยิง , จํากัดการดําเนินกลยุทธหรือเพื่อวางกําลังในที่มั่นที่ได้เปรียบในการเข้าตีโต้ตอบ เมื่อใช้การตั้งรับในที่มั่นรบ ผบ .ร้ อย. ควรวางกําลังบนภูมิประเทศที่ดีที่สุดและรอบ ๆ ที่มั่นรบ และ ควรวางหน่วยระวังป้ องกันไว้ด้านหน้าและรอบ ๆ ที่มั่นรบนั ้นด้ วยผบ.ร้ อย.สามารถดําเนินกลยุทธได้อย่างอิสระภายในที่มั่นรบ แต่ที่มั่นทั้งหมดที่อยู ่ภายนอกที่มั่นรบจะต้องประสานกับหน่วยเหนือ, หน่วยข้างเคียงและหน่วยสนับสนุน ผบ.ร้อย สามารถกําหนดที่ตั ้งของหน่วย สสก .และหน่วย สสช.ภายนอกที่มั่นรบได้เช่นกันเมื่อกองร้อยชุดรบตั ้งรับในที่มั่นรบ จะต้องกระทําสิ่งต่อไปนี ้- ทําลายกําลังข้าศึกในพื ้นที่สังหาร- สกัดกั้นแนวทางเคลื่อนที่- ควบคุมภูมิประเทศสําคัญหรือภูมิประเทศแตกหักโดยการยึดที่มั่นรบนั้นไว้- ตรึงกําลังข้าศึก,เพื่ออํานวยให้หน่วยอื่น ๆ ดําเนินกลยุทธได้กิจเฉพาะที ่สําคัญของกองร้อยชุดรบเมื่อตั้งรับในที่มั่นรบ กองร้อยจะต้อง- ทําลายขีดความสามารถในการค้นหาและรายงานที่มั่นของฝ่ ายเราของหน่วย ลว.ของข้าศึก- รวมการยิงเพื่อทําลายข้าศึกตามแนวทางเคลื่อนที่ที่น่าจะเป็นของข้าศึก- กระจายการยิงเพื่อทําลายเป้ าหมายให้ได้มากที่สุด และ ดํารงการสนับสนุนซึ่งกันและกัน- ป้ องกันมิให้ข้าศึกใช้ภูมิประเทศสําคัญที่มีอิทธิพลเหนือที่มั่นของฝ่ ายเรา- ดําเนินกลยุทธเพื่อทําลายกําลังข้าศึกจากที่มั่นสํารองและที่มั่นเพิ่มเติม- เข้าตีโต้ตอบเพื่อทําลายกําลังข้าศึกและดํารงไว้ซึ่งความริเริ่ม- ใช้การสนับสนุนเพื่อปะทะกับข้าศึกที่อยู่ไกลพ้นระยะยิงของอาวุธยิงเล็งตรงออกไป, ตัดแยกรูปขบวนของข้าศึก, กดดันรถถังและจรวดต่อสู ้รถถัง,ทําลายหน่วยข้าศึกที่หยุดการเคลื่อนที่และทหารราบของข้าศึก- ใช้เครื่องกีดขวางเพื่อชักจูงข้าศึกให้เข้ามาในพื ้นที่สังหาร , รบกวนรูปขบวนข้าศึกที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน และทําให้อัตราเร็วในการรุกคืบหน้าของข้าศึกต้องล่าช้าลง- ประสานการยิงและการดําเนินกลยุทธกับหน่วยข้างเคียง และหน่วยสนับสนุนอย่างใกล้ชิดเมื่อเจตนารมณ์ของ ผบ .พัน ต้องการให้รักษาภูมิประเทศสําคัญหรือภูมิประเทศแตกหักเอาไว้ผบ.ร้ อย.ชุดรบจะต้อง- กําหนดส่วนปฏิบัติหลักเพื่อยึดภูมิประเทศสําคัญที่ล่อแหลมต่อการโจมตีของข้าศึก- จัดเตรียมที่มั่นรอบ ๆ ภูมิประเทศที่ต้องยึดไว้- ประสานกับกองหนุนของกองพันในการเพิ่มเติมกําลังให้แก่ที่มั่นรบของกองร้อย หรือใช้เพื่อเข้าตีโต้ตอบในและรอบ ๆ ที่มั่นรบ


- ๔๒ -วิชา ทหารม้าหมายเหตุ วิธีนี จะสําเร็จได้ด้วยการใช้ ้ร้อย.ม.(ก) หรือกองร้อยชุดรบที่มี ม.(ก) เป็นหลักเมื่อเจตนารมณ์ของ ผบ.พัน.ต้องการให้ใช้การดําเนินกลยุทธ ผบ.ร้ อย.ชุดรบจะต้อง- กําหนดส่วนปฏิบัติหลักตามแนวทางเคลื่อนที่ของยานรบข้าศึก- เริ่มการยิง ณ เวลาและสถานที่ที่การยิงเล็งตรงจะทําให้ข้าศึกต้องปรับรูปขบวน- ดํารงความได้เปรียบในการเคลื่อนที่เหนือข้าศึกโดยใช้ การยิง ,เครื่องกีดขวาง และการดําเนินกลยุทธ- ผละจากการรบโดยขึ ้นอยู ่กับ- ดํารงการสนับสนุนซึ่งกันและกันในระหว่างการผละจากการรบ- ทําการ ลว.ที่มั่นในทางลึก- ประสานการเคลื่อนที่ออกจากที่มั่นรบกับหน่วยเหนือ,หน่วยข้างเคียง และหน่วยสนับสนุนหมายเหตุ วิธีนี ้จะสําเร็จได้ด้วยการใช้ ร้อย.ถ.หรือกองร้อยชุดรบที่มี ถ.เป็นหลักเทคนิคในการปฏิบัติเมื่อเป็นไปได้กองร้อยควรกําหนดที่มั่นรบสําหรับ ถ., รสพ.และ มว.ม.(ก) ที่ลงรบเดินดินโดยมอบเขตการยิงหลักให้กับแต่ละที่มั่นรบเพื่อคุ ้มครองพื ้นที่สังหารจากที่มั่น และที่มั่นรอง กองร้อยจะใช้จุดอ้างที่หมายเพื่อกําหนดแนวเริ่มยิง,เขตการยิงเพิ่มเติม หรือเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังที่มั่นเพิ่มเติมภายในที่มั่นรบของมว.แนวขั ้นอาจใช้เพื่อควบคุมการเริ่มยิงของหน่วยการกําหนดที่ตั้งของ รสพ.จะเป็นสิ่งที่ยาก ซึ่งเมื่อการเคลื่อนที่บนรถน่าจะเป็นไปได้ รสพ .จะอยู่ใกล้กับทหารที่ลงรบเดินดินเพื่ออํานวยต่อการกลับขึ ้นรถ และ รสพ .จะมีอาวุธกลขนาดหนักที่ใช้ในการสนับสนุนทหารที่ลงรบเดินดินได้ ถ้ามีข้อเลือกระหว่างการสนับสนุนให้รถถังหรือสนับส นุนให้หน่วยลงรบเดินดิน รสพ.มักจะอยู ่ในตําแหน่งที่สนับสนุนให้หน่วยลงรบเดินดินการระวังป้ องกันเฉพาะบริเวณจะเป็นจุดที่สําคัญสําหรับการตั้งรับในที่มั่นรบ ที่มั่นที่ปกปิ ดบนลาดหลังเนินจะเป็นที่มั่นที่ดีที่สุดสําหรับ ถ . และ รสพ.ในการป้ องกันจากการตรวจการณ์และการยิงข องข้าศึกที่ตรวจการณ์จะถูกใช้เพื่อให้การแจ้งเตือนล่วงหน้า โดยเครื่องกีดขวาง.แนวทางเคลื่อนที่ของทหารราบและพื ้นที่อับกระสุนระหว่างที่ตรวจการณ์จะต้องได้รับการคุ ้มครองโดยการ ลว .เดินเท้า ในระหว่างทัศนะวิสัยจํากัดที่ตรวจการณ์ควรได้รับการสนับสนุนจากยานรบ เพื่อคุ ้มครองแนวทางเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์ของข้าศึก มายังที่มั่นรบของฝ่ ายเรา ที่ตั้งของยานรบเหล่านี ้ควรให้อยู ่ห่างออกไปจากที่มั่นหลักเมื่อกองร้อยได้รับคําสั่งให้ยึดภูมิประเทศสําคัญหรือภูมิประเทศแตกหัก กองร้อยควรกําหนดให้ส่วนปฏิบัติหลักเป็นหน่วยลงรบเดินดิน เพื่อป้ องกั นมิให้ข้าศึกเข้าโจมตีและยึดภูมิประเทศสําคัญหรือภูมิประเทศแตกหักในที่มั่นรบของกองร้อย และควรใช้ ถ., รสพ., การยิงสนับสนุน และเครื่องกีดขวางให้การสนับสนุนส่วนการปฏิบัติหลักไว้ด้วย


้- ๔๓ -วิชา ทหารม้ากองร้อยจะใช้ ถ.และ รสพ.เพื่อทําลายกําลังข้าศึกตั้งแต่ระยะปานกลางจนถึงระยะไก ล กองร้อยควรเก็บ ถ.และ รสพ.ไว้ด้วยกันเท่าที่จะทําได้เพื่อเพิ่มอํานาจการยิง, ขีดความสามารถในการดําเนินกลยุทธและการบังคับบัญชาและการควบคุม ผบ.ร้ อย.จะกําหนดที่มั่นของ ถ.และ รสพ.ให้สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้จะกระจายส่วนต่าง ๆ เหล่านีเฉพาะเมื่อภูมิประเทศทําให้ไม่สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้้ผบ.ร้ อย.ควรกําหนดลําดับความเร่งด่วนในการยิง ปตอ .ขนาด ๑๒.๗ มม. และอาวุธจรวดต่อสูรถถัง เพื่อทําลาย รสพ.ของข้าศึก และรวมการยิงของรถถังต่อรถถังข้าศึก การทําลายยานพาหนะในการสนับสนุนการรบและยานพาหนะในการควบคุมและบังคับบัญชาของ ข้าศึกแต่เนิ่นจะทําให้ลดขีดความสามารถในการโจมตีของข้าศึกลงได้การเข้าตีโต้ตอบเฉพาะบริเวณกองร้อยจะเข้าตีโต้ตอบเฉพาะบริเวณเพื่อสนับสนุนการตั้งรับในที่มั่นรบ และอาจปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจการตั้งรับของกองร้อยชุดรบอื่น การเข้าตีโต้ตอบอาจปฏิบัติได้ทั้งด้วยการยิงหรือด้วยการยิงและการเคลื่อนที่การตั้งรับเร่งด่วนผบ.ร้ อย. อาจได้รับคําสั่งให้จัดตั้งที่มั่นรบในระหว่างการปะทะกับข้าศึก หรือเมื่อการปะทะใกล้จะเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ กองร้อยชุดรบจะเคลื่อนที่เข้ายึดที่มั่นตั้งรับเร่งด่วนที่ดีที่สุดเมื่อถูกบังคับใ ห้ต้องทําการตั้งรับเร่งด่วน ถ้ากองร้อยไม่ตกอยู ่ภายใต้การยิงกองร้อยจะต้องเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและวางกําลังเพื่อเผชิญหน้ากับข้าศึกเมื่อข้าศึกเคลื่อนที่เข้ามา ผบ.ร้ อย. ต้องประมาณสถานการณ์อย่างรวดเร็ว,รายงานสถานการณ์ไปยัง ผบ.พัน. และเริ่มการเล็งยิงตรงและเล็งยิง จําลองต่อข้าศึก กองร้อยจะเตรียมการตั้งรับต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าข้าศึกเข้าตีหรือได้รับคําสั่งใหม่เมื่อตกอยู ่ภายใต้การยิง กองร้อยจะต้องเข้าตีและสู ้รบจากที่มั่นขณะนั้น หรือรั้งหน่วงเพื่อเข้ายึดครองที่มั่นตั้งรับที่เอื ้ออํานวยมากกว่า การปฏิบัติเมื่อปะทะประกอบด้วย- การยิงข่มอาวุธยิงเล็งตรงของข้าศึก- รายงานสถานการณ์ไปยัง ผบ.พัน.- เคลื่อนที่ไปยังภูมิประเทศที่มีการกําบังและมีที่ตั้งยิงอย่างเพียงพอ- ตั้งรับจนกว่าข้าศึกจะพ่ายแพ้หรือเมื่อได้รับคําสั่งใหม่ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม กองร้อยชุดรบจะต้องดํารงเสรีในการปฏิบัติเอาไว้จนกว่า ผบ.พัน.จะสั่งการให้ทําการรบในที่มั่น


- ๔๔ -วิชา ทหารม้าตอนที ่ ๔ การตั้งรับในเขตกองร้อยชุดรบจะได้รับภารกิจการตั้งรับในเขตเพื่อป้ องกันมิให้ข้าศึกผ่านเส้นเขตหลังของเขตที่ได้รับมอบเพื่อดํารงการติดต่อและการระวังป้ องกันทางปี ก และเพื่อประกันความสําเร็จของการดําเนินกลยุทธของกองพันผบ.พัน. จะสั่งการให้กองร้อยชุดรบตั้งรับในเขตเมื่อ- ต้องการความอ่อนตัว- การยึดภูมิประเทศสําคัญไม่ใช่สิ่งที่จําเป็น- พัน.ฉก.ไม่สามารถรวมอํานาจการยิงได้การตั้งรับแบบนี ้จะใช้เมื่อกองพันตั้งรับบนกว้างด้านหน้าที่กว้างมาก หรือเมื่อมีแนวทางเคลื่ อนที่หลายแนวทางเข้ามาในพื ้นที่ปฏิบัติการของกองพันกิจเฉพาะที ่สําคัญโดยพื ้นฐานแล้ว กองร้อยชุดรบที่ตั้งรับในเขตจะปฏิบัติการในลักษณะเดียวกันกับการตั้งรับในที่มั่นรบและเพิ่มเติมด้วย- การดํารงให้มีความอ่อนตัวโดยใช้การดําเนินกลยุทธ- ใช้ความลึกของเขตเพื่อทําให้การเข้าตีของข้าศึกต้องแตกกระจายออกไป- การรายงานเมื่อผ่านแนวขั ้นเทคนิคการปฏิบัติผบ.พัน.จะใช้เส้นแบ่งเขตทางข้าง, แนวขั ้น, เส้นเขตหลัง , จุดประสานการปฏิบัติ และคําแนะนําพิเศษ เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ที่ต้องการให้กองร้อยชุดรบปฏิบัติการตั้งรับในเขตเส้นแบ่งเขตของ กองร้อยชุดรบจะแสดงให้เห็นถึงแนวทางเคลื่อนที่ที่กองร้อยจะต้องคุ ้มครองและขนาดของข้าศึกที่กองร้อยชุดรบสามารถเอาชนะได้ (กองร้อยสามารถตั้งรับบนแนวทางเคลื่อนที่ระดับกองพันของข้าศึกได้ ) ผบ.พัน.อาจจํากัดเสรีในการดําเนินกลยุทธบางส่วนของกองร้อยชุดรบ ด้วยการกําหนดสภาวก ารณ์ โดยใช้เวลาหรือเหตุการณ์ที่กองร้อยชุดรบสามารถเคลื่อนที่ผ่านแนวขั้นได้ ถ้าไม่เช่นนั้น กองร้อยชุดรบก็จะมีเสรีในการดําเนินกลยุทธผ่านแนวขั้นนานเท่าที่การผ่านแนวขั้นนั้นถูกรายงานไปยัง ทก.พัน.เทคนิคในการปฏิบัติส่วนใหญ่ที่อธิบายไว้ในการตั้งรับในที่มั่นรบ สามารถนํามาปรับใช้สําหรับการตั้งรับในเขตได้เป็นอย่างดี เมื่อกองร้อยตั้งรับในเขตกองร้อยสามารถดํารงการปฏิบัติร่วมกับหน่วยข้างเคียงได้โดยจัดกําลังพลไว้ที่จุดพบ และคุ ้มครองจุดประสานการปฏิบัติด้วยการยิงตามเส้นแบ่งเขตของกองร้อยชุดรบ เนื่องจากภารกิจการตั้งรับในเขต มีการปฏิบัติแบบแยกการมากกว่าการตั้งรับในที่มั่นรบ ผบ.ร้ อย. จะต้องติดตามสถานการณ์ทางปี ก และประสานการปฏิบัติกับกองร้อยชุดรบทางปี กอย่างใกล้ชิด (ดูรูป ๔ - ๑๔ )กองร้อยสามารถแบ่งพื ้นที่การรบให้กับ มว .ต่าง ๆ ได้โดยการกําหนดที่มั่นรบ , เขตของ มว .หรือรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันโดยทั่วไป เมื่อ มว.ที่อยู ่ข้างเคียงกันสามารถดํารงการสนับสนุนซึ่งกันและกันได้


- ๔๕ -วิชา ทหารม้ากองร้อยก็จะมอบที่มั่นรบให้แก่ มว.เพื่อควบคุมการดําเนินกลยุทธและมอบเขตการยิงให้แต่ละ มว .โดยใช้จุดอ้างที่หมายเพื่อแสดงพื ้นที่ที่แต่ละ มว.จะต้องคุ ้มครองด้วยการยิงรูป ๔ - ๑๔ กองร้อยชุดรบตั้งรับในเขต


่- ๔๖ -วิชา ทหารม้าตอนที ่ ๕ การตั้งรับในจุดต้านทานแข็งแรงเมื่อตั้งรับในจุดที่แข็งแรง กองร้อย จะต้องยึดที่มั่นไว้อย่างแข็งแรงจนกว่าจะได้รับคําสั่งให้ถอนตัวกองร้อยชุดรบจะได้รับภารกิจนี ้เพื่อ- ยึดภูมิประเทศสําคัญหรือภูมิประเทศแตกหักที่สําคัญต่อการดําเนินกลยุทธของกองพัน- ให้เป็นหลักสําหรับการดําเนินกลยุทธของฝ่ ายเรา- สกัดกั้นแนวทางการเคลื่อนที่ของข้าศึก- ชักจูงให้ข้าศึกเข้าไปในพื ้นที่สังหารของฝ่ ายเราการตั้งรับในจุดต้านทานแข็งแรง มักจะเป็นภารกิจที่หน่วยยานเกราะได้รับไม่บ่อยนัก จุดต้านทานแข็งแรงจะทําสูญเสียความคล่องแคล่วของหน่วยยานเกราะลงไป ,มีความต้องการใช้เครื่องมือและยุทโธปกรณ์ทหารช่างอย่างมาก และใช้เวลาในการจัดเตรียมมากก่อนที่กองร้อยจะให้ มว .ต่าง ๆ ทําการสร้างจุดต้านทานแข็งแรง ผบ.ร้ อย.จะต้องได้รับการอนุมัติจาก ผบ .พัน.เสียก่อน แต่สิ่งนี ้จะไม่ทําให้จํากัดเสรีในการปรับปรุงที่มั่นรบมากไปกว่าเวลาและเครื่องมือที่มีอยูจุดต้านทานแข็งแรงทําให้มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียมาก จุดต้านทานแข็งแรงควรจัดให้มีการวางเครื่องกีดขวางอย่างกว้างขวาง และ กําหนดที่มั่นให้มีการระวังป้ องกันและที่มั่นรบรอบตัวซึ่งจะไม่ถูกทําลายหรือถูกอ้อมผ่านได้โดยง่าย ซึ่งข้าศึกพยายามที่จะทําให้ความแข็งแรงของจุดต้านทานแข้งแรงลดลงด้วยการยิงของปื นใหญ่ และการโจมตีด้วยทหารราบ จุดต้านทานแข็งแรงสามารถใช้ร่วมกับการตั้งรับในที่มั่นรบและการตั้งรับในเขตเพื่อให้กองร้อยชุดรบสามารถใช้ ถ .และ รสพ .ได้อย่างดีที่สุด ภารกิจการตั้งรับในจุดต้านทานแข็งแรงนี ้มักจะมอบให้ ร้อย. ม.(ก) หรือกองร้อยชุดรบที่มี ม. (ก) เป็นหลักภารกิจที ่สําคัญเมื่อกองร้อยชุดรบได้รับมอบภารกิจให้ตั้งรับในจุดต้านทานแข็งแรง กองร้อยชุดรบก็จะปฏิบัติภารกิจพื ้นฐานเช่นเดียวกับการตั้ งรับในที่มั่นรบ รวมทั้ง- ใช้เครื่องมือทุกชนิดเพื่อให้สามารถอยู ่รอดและต่อต้านการเคลื่อนที่ของฝ่ ายข้าศึก- ใช้ทหารลงรบเดินดินในที่มั่นที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อยึดภูมิประเทศแตกหักที่กําหนดโดยผบ.พัน.- ทําลายกําลังข้าศึกก่อนที่การตั้งรับวงรอบของจุดต้านทานแข็งแรงจะถูกเจาะ- ใช้การเข้าตีโต้ตอบเพื่อ จัดตั้งการตั้งรับวงรอบขึ ้นและกลับเข้ายึดภูมิประเทศสําคัญหรือภูมิประเทศแตกหักภายในจุดต้านทานแข็งแรงขึ ้นมาใหม่- กําหนดตําแหน่งที่ต้องการใช้การเพิ่มเดิมกําลัง เพื่อดํารงความสมบูรณ์ของจุดต้านทานแข็งแรง- จัดส่วนปฏิบัติหลักไว้รอบ ๆ ส่วนยานรบในขั้นต้นของการรบ เมื่อข้าศึกเข้ามาอยู ่ในระยะเล็งตรงของจุดต้านทานแข็งแรง กองร้อยก็จะย้ายส่วนปฏิบัติหลักไปสนับสนุนให้กับจุดต้านทานแข็งแรง


- ๔๗ -วิชา ทหารม้า- เมื่อใช้การตั้งรับรวมกันของการตั้งรับในเขต, ในที่มั่นรบและในจุดต้านทานแข้งแรงกองร้อยก็ควรที่จะกําหนดที่ตั้งของ ถ.และ รสพ.ให้อยู่ค่อนไปข้างหน้า เพื่อ+ บังคับให้ข้าศึกต้องปรับรูปขบวนแต่เนิ่น+ ตึงการยิง ป.ของข้าศึกให้ออกไปจากจุดต้านทานแข็งแรง+ ลวงข้าศึกให้คิดว่าเป็ นจุดต้านทานแข็งแรง+ ทําลายข้าศึกด้วยการยิงระยะไกล- เมื่อข้าศึกเข้ามาใกล้กับจุดต้านทานแข็งแรงและพยายามที่จะเข้าโจมตี ผบ .ร้ อย.ควรดําเนินกลยุทธยานรบออกไปนอกจุดต้านทานแข็งแรง ซึ่งทําให้สามารถยิงต่อปี กของข้าศึกได้อย่างสูงสุด กองร้อยจะใช้จุดต้านทานแข็งแรงเพื่อตรึงข้าศึกในขณะที่ ถ.และ รสพ.ทําการเข้าตีโต้ตอบต่อปี กของข้าศึกเทคนิคในการปฏิบัติกองร้อยจะวางการยิงป้ องกันขั้นสุดท้ายบนที่ที่คาดว่าข้าศึกจะลงรบเดินดินเข้าตลุมบอนและประกันว่าฉากการยิงป้ องกันขั ้นสดท้ายได้มีการบันทึกไว้แม้ว่าจะไม่มีการกําหนดที่ตั ้งของของขบวนสัมภาระรบไว้ในจุดต้านทานที่แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ายานรบส่วนใหญ่อยู ่ ภายนอกแล้ว ผบ .ร้ อย.จะต้องจัดตั้งสิ่งต่อไปนี ้ไว้ในจุดต้านทานแข็งแรง- ที่ปฐมพยาบาลที่มีการป้ องกัน นชต.- ตําบลที่จ่ายนํ ้า- ตําบลที่สะสม สป.๑, ๓, ๔ และ ๕- ตําบลรวบรวมศพ- ตําบลล้างสารเคมีของ มว.กองร้อยควรซักซ้อมการปฏิบัติอย่างละเอียด เพื่อฝึกการดําเนินกล ยุทธภายในจุดต้านทานแข็งแรงและประกันว่าทหารแต่ละคนจะทราบถึง- ที่มั่นของ มว. และ ที่ตรวจการณ์ภายในและข้างเคียงกับจุดต้านทานแข็งแรง- ที่ตั้งของ ทก.ร้ อย.,ที่ปฐมพยาบาล,ตําบลส่งกําลัง และตําบลสะสม สป.- สัญญาณเริ่มยิง,หยุดยิง และสัญญาณการยิงฉากป้ องกันที่มั่นขั้นสุดท้าย- ที่ตั้งยิงทั้งหมดภายใน มว. และ ทก.มว.กําหนดที่ตั้งของยานรบภายในจุดต้านทานแข็งแรงบนแนวทางเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์ของข้าศึกและที่ตั้งเพิ่มเติมที่ติดกับที่ตั้งของชุดซุ่มยิง เพื่อคุ ้มครองแนวทางเคลื่อนที่ของทหารราบข้าศึก บางครั้งก็มีความจําเป็ นในการกําหนดที่ตั้งของยานรบในทางลึกด้านหลังชุดซุ่มยิงเพื่อคุ ้มครองแนวทางเคลื่อนที่ของทหารราบข้าศึก (ดูรูป ๔ - ๑๕) ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี ้ก็จะต้องประกันว่าพลประจํายานรบจะทราบถึงตําแหน่งที่แน่นอนของทหารที่ลงเดินดิน


- ๔๘ -วิชา ทหารม้ารูป ๔ - ๑๕ กองร้อยชุดรบตั้งรับในจุดต้านทานแข็งแรง(ยานรบอยู ่ภายนอกจุดต้านทานแข็งแรง)ตอนที ่ ๖ กองหนุนเมื่อกองร้อยชุดรบได้รับภารกิจให้เป็ นกองหนุนแล้ว กองร้อยควรเตรียมที่จะปฏิบัติภารกิจต่อไปนี ้ .-- เข้าตีโต้ตอบ- ตั้งรับในที่มั่นรบ- เพิ่มเติมกําลังแก่ที่มั่นรบ,ที่มั่นตั้งรับในเขต หรือจุดต้านทานแข็งแรง- รับภารกิจต่อจากกองร้อยชุดรบอื่น (มักจะเป็นการผลัดเปลี่ยน)กองร้อยชุดรบ อาจปฏิบัติเป็นฉากกําบัง โดยเป็นส่วนหนึ่งของส่วนระวังป้ องกันในระหว่างการเตรียมการตั ้งรับ


- ๔๙ -วิชา ทหารม้าภารกิจที ่สําคัญเมื่อได้รับภารกิจให้เป็นกองหนุนโดยเป็นส่วนหนึ่งของการตั้งรับของกองพัน กองร้อยชุดรบจะต้อง.-- เข้ายึดครองที่ตั้งของกองหนุน (เป็นได้ทั้งที่มั่นรบหรือที่รวมพล)- ลว.เขตหรือที่มั่นรบของกองพันโดยเพ่งเล็งบนพื ้นที่ที่ได้รับมอบสําหรับภารกิจต่อไป- ดํารงความพร้อมรบ เพื่ออํานวยให้กองร้อย สามารถตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วต่อภารกิจเมื่อสั่ง- ซักซ้อมภารกิจต่อไปที่น่าจะเกิดขึ ้นกองร้อยชุดรบอาจต้อง- ช่วยเหลือการผ่านแนวไปข้างหลัง- คุ ้มครองการดําเนินกลยุทธของหน่วยในแนวหน้า- ปฏิบัติเป็ นฉากกําบัง- ปฏิบัติการระวังป้ องกันพื ้นที่ส่วนหลังในเขตของกองพันเมื่อได้รับคําสั่งให้เพิ่มเติมกําลังแก่กองร้อยชุดรบอื่น กองร้อยชุดรบที่เป็ นกองหนุนต้อง- จัดการติดต่อสื่อสารกับหน่วยที่ได้รับการเพิ่มเติมกําลัง- ประสานในเรื่องที่มั่น, เส้นทาง, เครื่องกีดขวางและแผนการยิงกับหน่วยที่ได้รับการเพิ่มเติมกําลัง- ประสานการเข้าบรรจบกับหน่วยที่ได้รับการเพิ่มเติมกําลังรวมทั้ง เวลา , สถานที่ และสัญญาณบอกฝ่ าย- เคลื่อนที่ไปยังที่มั่นข้างเคียงกับหน่วยที่ได้รับการเพิ่มเติมกําลัง เพื่อคุ ้มครองแนวทางเคลื่อนที่แนวทางเดียวกัน- เสริมความมั่นคงและจัดระเบียบใหม่ในโอกาสแรกที่ทําได้บนที่มั่นที่ไปเพิ่มเติมกําลังเมื่อได้รับคําสั่ง ให้ไปรับภารกิจของกองร้อยชุดรบอื่น กองร้อยชุดรบที่เป็นกองหนุนจะปฏิบัติเช่นเดียวกับการเพิ่มเติมกําลังและเข้าผลัดเปลี่ยนเพื่อเข้ารับมอบการรบหรือช่วยเหลือหน่วยที่รับการผลัดเปลี่ยนในการผ่านแนวไปข้างหลังเพื่อเข้ารับมอบการรบเทคนิคในการปฏิบัติผบ.ร้ อย.ชุดรบ และ ผบ.มว.ต่าง ๆ จะต้องทราบแผนการปฏิบัติของกองร้อยชุดรบอื่น ๆ ในกองพันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อภารกิจต่อไปต้องการให้มีการประสานการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด กองร้อยต่าง ๆ ควรประสานกันแบบพบปะโดยตรงตั้งแต่เนิ่นที่สุด เมื่อโอกาสอํานวยให้ซึ่งสิ่งนี ้สามารถกระทําได้โดยการส่งนายสิบติดต่อไปยังแต่ละกองร้อยชุดรบเพื่อรับฟังคําสังยุทธการหรือโดยการจัดเวลาและสถานที่ เพื่อพบปะกับผบ.ร้ อย.ชุดรบแต่ละคน และต้องประกันว่าท่านจะได้รับข่าวสารจาก ผบ.ร้ อย.ชุดรบในแนวหน้าเกี่ยวกับ- ภูมิประเทศและสถานการณ์ข้าศึก- วิธีที่ ผบ.ร้ อย.ชุดรบในแนวหน้าใช้ในการสนับสนุนภารกิจต่อไป- การสนับสนุนที่กองร้อยชุดรบในแนวหน้าต้องการในการปฏิบัติตามภารกิจ


- ๕๐ -วิชา ทหารม้า- ที่มั่นของ มว.ต่าง ๆ- ที่ตั้งของเครื่องกีดขวาง- แผนการยิง, เป้ าหมายของ ป., จุดอ้างที่หมาย, พื ้นที่สังหารและฉากการยิงป้ องกันขั้นสุดท้าย- เส้นทางและจุดผ่าน- สัญญาณฉุกเฉิน (เช่น การเลื่อนการยิงเล็งตรงและเล็งยิงจําลอง)การเข้าตีโต้ตอบการเข้าตีโต้ตอบ คือการเข้าตีโดยบางส่วนหรือทั้งหมดของกําลังที่ตั้งรบต่อกําลังของข้าศึกที่เข้าตีการเข้าตีโต้ตอบจะปฏิบัติเพื่อ- ทําลายกําลังข้าศึก- ให้ได้มาซึ่งเสรีในการปฏิบัติ- กลับเป็ นฝ่ ายริเริ่ม- กลับเข้ายึดครองภูมิประเทศ- ผ่อนคลายความกดดันของหน่วยที่ปะทะกองพันอาจเข้าตีโต้ตอบโดยใช้การยิงหรือใช้การยิงและการเคลื่อนที่ก็ได้การเข้าตีโต้ตอบโดยใช้การยิง จะปฏิบัติดังนี.- ้ (ดูรูป ๔ - ๑๖)- เคลื่อนที่เข้ายึดครองที่มั่นรบตามเส้นทางที่มีการกําบังและซ่อนพราง เมื่อทุกส่วนเข้าอยู ่ในที่มั่นเรียบร้อยแล้ว กองร้อยก็จะเริ่มทําการยิงเป็นกลุ ่มก้อน เพื่อก่อให้เกิดการจู ่โจมและการข่มขวัญ ผบ .ร้ อย.จะต้องกําหนดเขตการยิงก่อนที่จะเริ่มการยิงเสมอ- ทําการยิงต่อข้าศึกจนกว่าข้าศึกจะถูกทําลายหรือจนกว่า ผบ.พัน. จะสั่งให้เคลื่อนที่ต่อไปรูป ๔ - ๑๖ กองพันเข้าตีโต้ตอบโดยการยิง


- ๕๑ -วิชา ทหารม้ากองพันเข้าตีโต้ตอบโดยใช้การยิงและการเคลื ่อนที ่ กองร้อยจะได้รับมอบที่หมายเส้นหลักการรุก และแนวออกตีหรือตําบลตะลุมบอน เพื่อประกอบเจตนารมณ์ของ ผบ .พัน.ภารกิจนี ้จะต้องมีการวางแผ นและซักซ้อมโดยละเอียด อย่างน้อยที่สุดคําสั่งการเข้าตีโต้ตอบด้วยการยิงและการเคลื่อนที่จะประกอบด้วย- สถานการณ์ข้าศึก- ที่ตั้งของฝ่ ายเดียวกัน- เส้นหลักและทิศทางเข้าตี- รูปขบวนและเทคนิคการเคลื่อนที่- คําแนะนําในการเสริมความมั่นคง- ที่ตั้งยิงคุ ้มครองหรือที่หมายของ มว.ผบ.ร้ อย.ควรพิจารณาว่าจะใช้การเข้าตีบนรถหรือลงรบเดินดิน เพื่อให้เหมาะสมกับเจตนารมณ์ของ ผบ.พัน. และสถานการณ์ เมื่อใช้การเข้าตีบนรถก็จะใช้การเข้าตีกวาดที่หมายและเสริมความมั่นคงบนภูมิประเทศสําคัญใกล้กับที่หมาย แต่ถ้าใช้การเข้าตีลงรบเดินดินก็จะ ต้องทําลายข้าศึกอย่างรวดเร็วและเสริมความมั่นคงทันทีบนที่หมายตอนที ่ ๗ ภารกิจการระวังป้ องกันการปฏิบัติการระวังป้ องกัน จะกระทําเพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก และให้มีเวลาในการโต้ตอบมีพื ้นที่สําหรับดําเนินกลยุทธและป้ องกันให้กับกําลังส่วนใหญ่ บางส่วนหรื อกําลังทั ้งหมดของกองร้อยอาจต้องปฏิบัติการเป็นฉากกําบัง เพื่อเสริมการระวังป้ องกันเฉพาะบริเวณ กองร้อยอาจได้รับคําสั่งให้ปฏิบัติภารกิจต่อไปนี ้โดยขึ ้นอยู่กับภารกิจที่ได้รับมอบ- ป้ องกันมิให้ข้าศึกตรวจการณ์พบที่มั่นของกําลังส่วนใหญ่- ทําลายส่วน ลว.ของข้าศึก- ลวงส่วน ลว.ของข้าศึกให้คิดว่าเป็นที่มั่นของกําลงส่วนใหญ่- รั้งหน่วงการดําเนินกลยุทธของข้าศึกต่อปี กของฝ่ ายเราการปฏิบัติเป็นฉากกําบัง จะต้องดํารงการเฝ้ าตรวจ,แจ้งเตือนล่วงหน้าแก่กําลังส่วนใหญ่ , หน่วงเหนี่ยวและรบกวนการเคลื่อนที่ของข้าศึกด้วยการยิงเล็งจําลอง และทํา ลายส่วน ลว .ของข้าศึกภายในขีดความสามารถในระหว่างการปฏิบัติภารกิจเป็นฉากกําบัง (ดูรูป ๔ - ๑๗) กองร้อยจะต้องปฏิบัติภารกิจเหล่านี ้ให้สําเร็จ- ดํารงการเฝ้ าตรวจอย่างต่อเนื่องต่อแนวทางเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ระดับกองพันที่เข้ามาในเขตรับผิดชอบ- ทําลายหรือผลักดันส่วน ลว.ทั้งหมดของข้าศึก


- ๕๒ -วิชา ทหารม้า- ค้นหาที่ตั้งของส่วน ลว.นําของกองพันที่เป็ นกองระวังหน้าของข้าศึก และพิจารณาทิศทางการเคลื่อนที่ของข้าศึกส่วนนี ้- ในขณะถอนตัวจะต้องดํารงการเกาะกับส่วน ลว .นําของกองพันที่เป็นกองระวังหน้าแต่ละส่วนและรายงานการปฏิบัติของส่วนเหล่านั้น- ใช้ ป.และ ค.อย่างสูงสุดเพื่อรั้งหน่วง, ทําให้สับสน และทําลายกําลังข้าศึกรูป ๔ -๑๗ กองร้อยชุดรบปฏิบัติเป็ นฉากกําบัง


- ๕๓ -วิชา ทหารม้าเมื่อกองร้อยชุดรบได้รับภารกิจระวังป้ องกัน ก็อาจได้รับการเพิ่มเติมกําลังด้วย มว .ลว. ดังนั ้นส่วนระวังป้ องกันก็จะประกอบด้วยกําลังสองส่วน คือ- ส่วนเฝ้ าตรวจ (มว.ลว.)- ส่วนต่อต้านการ ลว. (กองร้อยชุดรบ)ฉากกําบังจะถูกวางไว้ภายในระยะยิงเล็งจําลอง แต่ไกลออกไปข้างหน้าเพียงพอที่จะค้นหาและป้ องกันการตรวจการณ์ของข้าศึกต่อที่มั่นหลังของฝ่ ายเรา ถ้าท่านได้รับมอบให้เป็ น ผบ .หน่วยฉากกําบังท่านจะต้องรวมการต่อต้านการ ลว.และการเฝ้ าตรวจของ มว.ลว.เข้าด้วยกันมว.ลว.จะจัดตั้งแนวเฝ้ าตรวจของที่ตรวจการณ์ ให้ใกล้กับแนวฉากกําบังในขั ้นต้นเท่าที่ภูมิ ประเทศจะ อํานวยให้ การวางกําลัง มว.ต่าง ๆ ของกองร้อยไว้ในทางลึก และหันทิศทางไปยังแนวทางเคลื่ อนที่ที่น่าจะเป็ น จะสามารถช่วยเสริมการเฝ้ าตรวจได้เป็นอย่างดีเมื่อกว้างด้านหน้าของฉากกําบังกว้างมาก ควรเพิ่มเติมหมู่ ม.(ก) ให้กับ มว.ลว.หรืออาจมอบเขตด้านหน้าให้แก่ มว.ม.(ก) ก็ได้ แต่ถ้าไม่มี มว.ลว.อยู่ ก็อาจมอบภารกิจการเฝ้ าตรวจให้แก่ มว.ม.(ก) ได้เช่นกันเมื่อเกิดการปะทะขึ ้น มว.ลว.จะรายงานการเคลื่อนที่ของข้าศึกและดํารงการเกาะกับข้าศึก รวมทั ้งมว.ลว.จะหน่วงเหนี่ยวและรบกวนข้าศึกด้วยการยิงเล็งจําลอง มว .ลว.จะชักจูงให้ข้าศึกเคลื่อนที่เข้าไปสู่พื ้นที่การต่อต้านการ ลว.และส่งมอบให้กับกองร้อยชุดรบกองร้อยชุดรบจะทําลาย มว.ลว.ของข้าศึกได้โดยใช้การซุ่มโจมตีและการเข้าตีเร่งด่วนรวมกัน และในที่สุดหน่วยที่เป็นฉากกําบังก็จะถอนตัวเข้าไปสู ่หรือผ่านการตั้งรับหลัก และเข้ายึดครองที่มั่นรบด้านหลังหรือเป็นกองหนุนของกองพัน ฉากกําบังจะหลีกเลี่ยงการรบแตกหักกับส่วน ลว.นําหรือกองระวังหน้าของข้าศึกดังนั ้นฉากกําบังควรเริ่มถอนตัวก่อนที่ข้าศึกจะเข้ามาใกล้ที่มั่น โดยปกติฉากกําบังจะยังคงอยู ่ตามแนวเฝ้ าตรวจเพื่อรายงานและร้องขอการยิงเล็งจําลอง มว .ลว.ควรวางแผนและซักซ้อมอย่างถี่ถ้วนร่วมกับ มว .อื่น ๆโดยปกติ กองร้อยเป็นส่วนหนึ่งของฉากกําบังด้านหน้า ซึ่ งภารกิจนี ้จะดีสําหรับการใช้กองร้อยชุดรบที่มี ถ.เป็นหลัก เนื่องจากมีอํานาจการยิงเพื่อทําลายส่วน ลว.ของข้าศึกได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม กองร้อยชุดรบที่มี ม.(ก) เป็นหลัก ก็สามารถทําฉากกําบังบนปี กเปิ ดได้ เมื่อปัจจัย METT - T แสดงให้เห็นว่าไม่น่าจะมีการปะทะอย่างหนักกับข้าศึก (ดูรูป ๔ - ๑๘ )


- ๕๔ -วิชา ทหารม้ารูป ๔ - ๑๘ กองร้อยชุดรบทําฉากกําบังด้านปี กตอนที ่ ๘ การตั้งรับในขณะทัศนะวิสัยจํากัดผบ.ร้ อย.ควรวางแผนและปฏิบัติภารกิจการตั้งรับ ให้สามารถทําการสู ้รบได้ทั ้งขณะทัศนะวิสัยธรรมดาและทัศนะวิสัยจํากัด เครื่องมือตรวจการณ์ในเวลากลางคืนจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของกองร้อยชุดรบให้ทําการสู ้รบได้ในขณะทัศนะวิสัยจํากัด แต่เพื่อให้ระบบนี ้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ ้น ผบ .ร้ อย. จะต้องวางแผนการใช้ให้เหมาะสม เทคนิคต่อไปนี ้จะมีประโยชน์อย่างมากในระหว่างการปฏิบัติในทัศนะวิสัยจํากั ด- ปรับปรุงที่มั่นและมาตรการควบคุมการยิงก่อนที่ทัศนะวิสัยจํากัดจะเกิดขึ ้น- วางแผนและซักซ้อมการเคลื่อนที่ไปยังที่มั่นในขณะทัศนะวิสัยจํากัด- จัดวางยานรบตามแนวทางเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์เนื่องจากข้าศึกมักจะใช้ถนน , เส้นทาง เพื่ออํานวยต่อการเคลื่อนที่, การนําทาง และการควบคุมในทัศนะวิสัยจํากัด


- ๕๕ -วิชา ทหารม้า- ภายใต้สภาพทัศนะวิสัยจํากัดอย่างมาก ควรปรับปรุงแผนการยิงให้ครอบคลุมแนวทางเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์, ปรับจุดอ้างที่หมายและพื ้นที่สังหารให้ใกล้ที่ตั้งยิงของยานรบเข้ามา หรือปรับที่ตั้งยิงของยานรบให้สามารถคุ ้มครองจุดอ้างที่หมาย หรือพื ้นที่สังหารได้ที่ระยะใกล้ขึ ้น คุ ้มครองแนวทางเคลื่อนที่ด้วยทหารราบ โดยใช้หน่วยลงรบเดินดินสนับสนุนด้วย รสพ.เท่าที่จําเป็นที่ตรวจการณ์จะถูกกําหนดให้อยู ่ไกลออกไปทางด้านหน้า และทางปี กของที่มั่นฝ่ ายเราอย่างเพียงพอ เพื่อให้การแจ้งเตือนล่วงหน้าที่ตรวจการณ์ควรมีขีดความสามารถในการตรวจการณ์เวลากลางคืน,มีเครื่องมือติดต่อสื่อสาร และมีอาวุธอย่างเพียงพอเพื่อป้ องกันตนเอง ที่ตรวจการณ์จะวางเครื่องมือแจ้งเตือนล่วงหน้า (เช่นพลุสะดุด) หรือสนามทุ ่นระเบิดเป็นจุด เพื่อการแจ้งเตือนและทําให้ข้าศึกต้องช้าลงกองร้อย ควรใช้การ ลว.เดินเท้า เพื่อ ลว.พื ้นที่ ซึ่งที่ตรวจการณ์ไม่สามารถตรวจการณ์ได้ เส้นทางการ ลว.จะต้องได้รับการประสานกับ ฝอ.๒ ของกองพันและหน่วยข้างเคียงอย่างละเอียด-------------------------------


- ๕๖ -วิชา ทหารม้าบทที่ ๓การปฏิบัติการรบหน่วงเวลาตอนที ่ ๑ การผ่านแนวการผ่านแนว จะเกิดขึ ้นเมื่อหน่วยหนึ่งเคลื่อนที่ผ่านอีกหน่วยหนึ่ง การผ่านแนวนี ้อาจเกิดขึ ้นได้ทั ้งการผ่านแนวไปข้างหน้า และการผ่านแนวมาข้างหลัง หน่วย ลว., หน่วยระวังป้ องกัน , หน่วยเข้าตี และหน่วยที่ถอนตัว มักจะเคลื่อนที่ผ่านหน่วยอื่น ในระหว่างการปฏิบัติภารกิจเหล่านั ้นการผ่านแนวเป็ นการปฏิบัติการที่อันตราย เนื่องจากในขณะที่รวมกําลังกันอยู ่นั้น จะทําให้เกิดเป้ าหมายที่คุ ้มค่าต่อการโจมตีของข้าศึก การผ่านกําลังฝ่ ายเดียวกันภายใต้การกดดันของข้าศึกเป็นอันตรายร้ายแรงอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการยากที่จะแบ่งแยกได้ว่ายานพาหนะคันใดเป็นของฝ่ าย เราและยานพาหนะคันใดเป็นของฝ่ ายข้าศึกก่อนที่จะออกคําสั่งการผ่านแนว กองร้อยชุดรบควรทําการ ลว. เส้นทางที่ มว.ต่าง ๆ หรือกองร้อยใช้ในการผ่านแนว ในระหว่างการ ลว. ผบ.ร้ อย.ควรพบปะกับ ผบ.ร้ อย.คนอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผ่านแนวเพื่อประสานการปฏิบัติแต่ถ้าการผ่านแนวจะต้องกระทําอย่างรวดเร็วและขาดการประสานการปฏิบัติหรือการ ลว.โดย ผบ.ร้ อย.แล้วการผ่านแนวก็สามารถกระทําได้โดยความช่วยเหลือของ รอง ผบ.ร้ อย.ในระหว่างการประสานการปฏิบัติและการ ลว. ผบ.ร้ อย.ควรค้นหาและยืนยันตามรายการที่แสดงอยู ่ข้างล่างนี ้ รวมทั้งควรนํา ผบ.มว.ต่าง ๆ ไปให้มากที่สุด(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รอง ผบ.ร้ อย. หรือนายทหารที่รับผิดชอบในการประสานการปฏิบัติขั้นสุดท้ายของการผ่านแนว) เพื่อช่วยในการ ลว. รายการนี ้จะรวมถึงข่าวสารอย่างน้อยที่สุดที่จะแลกเปลี่ยนและการปฏิบัติที่จะต้องประสานกันในการผ่านแนว- การกําหนดหน่วยที่จะผ่าน- สถานการณ์การข้าศึก (ที่ตั , กําลัง, ้ง การปฏิบัติในขณะนั้น)- ภารกิจของหน่วยผ่านและแผนการรบขั ้นต้น- สถานการณ์และที่ตั ้งของฝ่ ายเรา- เวลาผ่าน- จุดพบและจุดประสานการปฏิบัติ- จุดผ่านและช่องทางผ่าน- จํานวนและชนิดของยานพาหนะที่จะผ่าน- เครื่องหมายของยานพาหนะ- สัญญาณบอกผ่านที่เห็นได้ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล- เส้นทาง ลว.และที่ตั้งของที่ตรวจการณ์- ชนิดและที่ตั้งของเครื่องกีดขวาง


- ๕๗ -วิชา ทหารม้า- พื ้นที่เปื ้อนสารพิษ- แนวส่งมอบการรบ- แผนการยิงสนับสนุน (เล็งตรงและเล็งจําลอง)- ที่รวมพลและฐานออกตี- การ สสก.และ สสช. ที่จะมีให้และที่ตั้งของหน่วยเหล่านั้น- เส้นทางและลําดับความเร่งด่วนในการใช้เส้นทาง- นปส.ภายหลังจากการที่ได้ประสานการปฏิบัติเรียบร้อยแล้ว การผ่านแนวจะเกิดขึ ้นตามลําดับ ดังนี . ้- หน่วยที่ผ่านจะเคลื่อนที่ไปยังจุดพบ และรับ จนท.นําทางจากหน่วยที่ถูกผ่าน- ทก.ร้ อย. และขบวนสัมภาระของหน่วยที่ผ่านและหน่วยที่ถูกผ่านจะอยู ่ร่วมกัน- จนท.นําทางจะทิ ้งหน่วยที่ผ่านไว้ ณ จุดปล่อยภายหลังจากหน่วยสุดท้ายได้ผ่านไปแล้ว-หน่วยที่ผ่านจะกระจายกําลังกันออกไปเพื่อปฏิบัติภารกิจหรือเคลื่อนย้ายไปยังที่รวมพลที่กําหนด- การส่งมอบการรบอาจเกิดขึ ้น ณ ตําบลที่แตกต่างกันในเวลาและพื ้นที่ โดยขึ ้นอยู่กับสถานการณ์ และภารกิจที่มอบให้แก่หน่วยทั้งสองในการผ่านแนวไปข้างหน้าหน่วยที่ผ่านจะเข้าควบคุมการรบเมื่อหน่วยรบต่าง ๆ ผ่านจุดผ่าน และเริ่มกระจายกําลัง (ดูรูป ๔ - ๕) ในการผ่านแนวมาข้างหลั งแนวส่งมอบ การรบจะถูกจัดตั้งขึ ้นให้อยู ่ภายในระยะยิงของอาวุธยิงเล็งตรง และอยู ่ภายใต้การตรวจการณ์ ของหน่วยที่อยู ่กับที่กองร้อยชุดรบที่อยู ่กับที่จะเข้ารับมอบการรบ ณ แนวส่งมอบการรบที่อํานวยให้ กองร้อยรบชุดที่ผ่าน สามารถผละออกจากการรบและถอนตัวได้ง่ายรูป ๕ - ๔ การผ่านแนวไปข้างหน้า


- ๕๘ -วิชา ทหารม้าตอนที ่ ๒ การรบหน่วงเวลาการรบหน่วงเวลา เป็นการปฏิบัติการที่ต่อเนื่อง โดยใช้ที่มั่นตามลําดับทางลึก ยอมเสียพื ้นที่เพื่อให้ได้เวลาในขณะที่สามารถดํารงเสรีในการปฏิบัติเอาไว้ได้ ในขณะที่กองร้อยชุดปฏิบัติการเป็นหน่วยออมกําลังการร บหน่วงเวลาจะทําให้ได้เวลาเพื่ออํานวยให้บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ ้น ณ สถานที่ที่วิกฤติมากกว่าในสนามรบการรบหน่วงเวลาจะเป็นภารกิจที่ยากลําบากที่สุดที่กองร้อยชุดรบจะได้รับกิจเฉพาะที ่สําคัญกิจเฉพาะที่สําคัญของการรบหน่วงเวลา จะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการตั้งรับในเขตแ ละมีกิจเฉพาะอื่น ๆ ที่ต้องกระทํา ดังนี .- ้- ดํารงการเกาะข้าศึก- ให้มีเสรีในการดําเนินกลยุทธและหลีกเลี่ยงการปะทะแตกหัก- ในขณะที่กองร้อยเคลื่อนที่ไปข้างหลัง จะต้องพยายามทําให้ข้าศึกปรับกําลังจากรูปขบวนเดินทางหรือรูปขบวนพร้อมรบ ไปเป็นรูปขบวนเข้าตีตามลําดับเทคนิคในการปฏิบัติการวางแผนและยุทธวิธีสําหรับการรบหน่วงเวลา จะคล้ายกับการตั้งรับในเขต และมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะวัตถุประสงค์เท่านั้น การรบหน่วงเวลาใช้เทคนิคการยิงอย่างรุนแรงและเคลื่อนที่ไปข้างหลัง กองร้อยชุดรบจะต้องหยุดการเคลื่อนที่ของข้าศึกลงให้ได้ อย่างชั่วคราวที่อัตราเร็วในการรุกคืบหน้าตามปกติของข้าศึก เพื่อให้มีโอกาสในการผละออกจากการรบ โดยกองร้อยจะต้องมีความคล่องแคล่วรวดเร็วในการเคลื่อนที่เหนือกว่าข้าศึก ซึ่งสิ่งนี ้สามารถทําได้ด้วยการเพิ่มเครื่องกีดขวางลงไปบนภูมิประเทศทําความคุ ้นเคยกับเส้นทางการถอนตัว และซักซ้อมการเข้าปะทะและการเคลื่อนที่ออกจากข้าศึกการวางแผนและการปฏิบัติประกันให้มีการควบคุมแบบรวมการและปฏิบัติแบบแยกการการรบหน่วงเวลา จะเป็ นลักษณะของการปฏิบัติการบนกว้างด้านหน้าที่มาก ใช้กําลังเป็นจํานวนมากในการเข้าปะทะ และใช้กําลังจํานวนน้อยเป็นกองหนุน ในการรบหน่วงเวลากองร้อยชุดรบจะต้องดํารงการเกาะกับข้าศึกและประสานการระวังป้ องกันทางปี กอย่างใกล้ชิด ซึ่งสิ่งนี ้จะประกันว่าข้าศึกไม่สามารถอ้อมผ่านหรือโอบส่วนต่าง ๆ ของหน่วยที่ทําการรบหน่วงเวลา หรือทําการเจาะและยับยั ้งภารกิจการรบหน่วงเวลาใช้ภูมิประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดหน่วยที่ทําการรบหน่วงเวลาจะใช้ภูมิประเทศทุกอย่างในการรั้งหน่วงข้าศึก เมื่อต้องใช้ที่มั่นรบก็ควรที่จะอยู ่บนภูมิประเทศที่สามารถควบคุมแนวทางเคลื่อนที่ที่น่าจะเป็นของข้าศึกเอาไว้


- ๕๙ -วิชา ทหารม้าบังคับให้ข้าศึกต้องปรับรูปขบวนและดําเนินกลยุทธใช้ภูมิประเทศเพื่อขยายอํานาจการยิงออกไป ทําการยิงข้าศึกตั้งแต่ระยะไกลสุดของอาวุธทุกชนิดผบ.ร้ อย.อาจทําให้ข้าศึกตกอยู ่ในกับดักได้ถ้าข้าศึกเคลื่อนที่เข้ามาอยู ่ในระยะใกล้สิ่งนี ้จะทําให้ข้าศึกต้องใช้เวลามากในการปรับรูปขบวนคลี่คลายสถานการณ์และดําเนินกลยุทธเพื่อขับไล่หน่วยรบหน่วงเวลาให้ออกไปจากที่มั่นซึ่งกองร้อยอาจต้องใช้วิธีนี ้ซํ ้า ๆ กัน เพื่อทําให้อัตราเร็วในการรุกคืบหน้าของข้าศึกต้องช้าลง และยอมเสียพื ้นที่เพื่อให้ได้เวลาใช้เครื ่องกีดขวางให้เกิดประโยชน์สูงสุดกองร้อยต้องใช้เครื่องกีดขวางทั้งทางธรรมชาติและที่สร้างขึ ้น เพื่อชักจูงและหน่วงเหนี่ยวการรุกคืบหน้าของข้าศึก และเพื่อให้การระวังป้ องกันทางปี ก เครื่องกีดขวางจะต้องได้รับการคุ ้มครองด้วยการตรวจการณ์ และการยิง เพื่อให้บังเกิดผลอย่างสูงสุดดํารงการเกาะข้าศึกกองร้อยจะต้องดํารงการ ลว.โดยต่อเนื่องเพื่อจัดตั้งและดํารงการเกาะกับข้าศึก การดํารงการเกาะกับข้าศึกต้องใช้การตรวจการณ์ด้วยสายตา ดํารงการตรวจการณ์และปรับการยิง และให้มีเสรีในการดําเนินกลยุทธ เพื่อหลีกเลี่ยงการรบแตกหักหรือเพื่อผละออกจากการปะทะเมื่อสั่ง กําลังข้าศึกที่มีความคล่องแคล่วและมีเสรีในการปฏิบัติ จะพยายามอ้อมผ่านหรือโอบปี กหรือเจาะเข้ ามาระหว่างหน่วยที่ทําการรบหน่วงเวลา ดังนั ้นเพื่อป้ องกันการเจาะหรือการโอบ กองร้อยจะต้องดํารงการเกาะกับข้าศึกเอาไว้ให้ได้หลีกเลี ่ยงการรบติดพันแตกหักในการรบหน่วงเวลากองร้อยชุดรบ จะต้องยึดครองที่มั่นให้ไกลออกไปเพียงพอที่จะบีบบังคับให้ข้าศึกต้องปรับรูปขบวน จากนั้นก็คลี่คลายสถานการณ์และดําเนินกลยุทธเพื่อเข้าตีแต่ละที่มั่นหน่วยที่ทําการรบหน่วงเวลาจะเคลื่อนที่ไปยังที่มั่นรบหน่วงเวลาขั้นต่อไปก่อนที่จะเริ่มรบติดพันแตกหักกับข้าศึก ถ้ากองร้อยยังคงอยู ่ในที่มั่นในขณะที่ข้าศึกเริ่มปรับรูปขบวนเข้าตี กองร้อยก็จะเข้าสู ่การรบติดพันแตกหักจนทําให้ภารกิจการรบหน่วงเวลาต้องล้มเหลว และหน่วยก็จะประสพความสูญเสียที่ไม่จําเป็น


- ๖๐ -วิชา ทหารม้าแบบของการรบหน่วงเวลาการรบหน่วงเวลาในเขตการรบหน่วงเวลาในเขตจะอํานวยให้มีเสรีในการใช้ภูมิประเทศได้มากที่สุดซึ่งปกติมักจะไม่มีความต้องการให้ยึดภูมิประเทศสําคัญหรือภูมิประเทศแตกหักเมื่อกองร้อยทําการรบหน่วงเวลาในเขต(ดูรูป ๕ - ๕)รูป ๕ - ๕ กองพันรบหน่วงเวลาในเขต


- ๖๑ -วิชา ทหารม้าการรบหน่วงเวลาหน้าแนวขั้นที ่กําหนดตามเวลาหรือเหตุการณ์ที ่กําหนดการรบหน่วงเวลาแบบนี ้จะมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากจะต้องป้ องกันมิให้กําลังข้าศึกเข้ามาถึงพื ้นที่ที่กําหนดก่อนเวลา หรือเหตุการณ์ที่กําหนดไว้ โดยไม่คํานึงถึงความสูญเสีย โดยปกติ ผบ.พัน.จะจํากัดการดําเนินกลยุทธจากที่มั่นรบแห่งหนึ่งไปยังที่มั่นรบอีกแห่งหนึ่ง หรือจํากัดไม่ให้ผ่านแนวขั้นที่กําหนดก่อนเวลาหรือเหตุการณ์ที่กําหนดไว้ (ดูรูป ๕ - ๖)รูปที่๕ - ๖ กองร้อยรบหน่วงเวลาข้างหน้าขั้นที ่กําหนดเวลาที ่กําหนด


- ๖๒ -วิชา ทหารม้าวิธีของการรบหน่วงเวลาการรบหน่วงเวลาจากที ่มั ่นหรือแนวขั้นตามลําดับกองร้อยจะใช้วิธีนีเมื่อภารกิจต้องการให้คุ้้มครองเขตหรือแนวทางเคลื่อนที่ที่กว้างมาก และกําลังทั ้งหมดหรือเกือบทั้งหมด จะถูกใช้ในแนวหน้าเพื่อคุ ้มครองพื ้นที่ รวมทั้งจะถูกใช้เมื่อภูมิประเทศไม่อํานวยให้หน่วยสามารถวางกําลังทางลึกด้วยเช่นกันในขณะที่การรบดําเนินต่อไป กองร้อยจะทําการรบจากแนวขั้นหนึ่งไปอีกแนวขั้นหนึ่ง (ข้างหน้าไปข้างหลัง) มว.ต่าง ๆ จะผละออกจากการรบโดยแยกจากกัน จากแนวขั้นหรือที่มั่นรบครั้งแรก ไปยังขั ้นต่อไปในขณะที่ มว.ที่เหลือให้การคุ ้มครอง (ดูรูป ๕ - ๗) บางครั ้งสถานการณ์อาจทําให้กองร้อยต้องผละออกจากการรบพร้อมกันทั้งหมด ถ้ากําลังข้าศึกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าที่คาดไว้ ความน่าจะเป็ นไปที่ทําให้กองร้อยต้องตกไปสู่การรบติดพันแตกหัก ก็จะมากขึ ้นและการเคลื่อนที่แบบสลับขั้นที่มีการระวังป้ องกันภายใน มว.เองก็มีความจําเป็นมากขึ ้นในกรณีที่ภูมิประเทศจํากัด ขีดความสามารถของ มว.ในการให้การระวังป้ องกันแก่ มว.อื่น ๆรูปที่๕ - ๗ การรบหน่วงเวลาจากที่มั่นตามลําดับขั้น


- ๖๓ -วิชา ทหารม้าการรบหน่วงเวลาจากที ่มั ่นสลับขั้นเมื่อพื ้นที่ที่ใช้การรบหน่วงเวลามีความลึก และแคบพอที่จําสามารถคุ ้มครองได้โดยกําลังเพียงแค่หนึ่งหรือสอง มว.ก็จะทําให้มีความลึกมากขึ ้น และมีการระวังป้ องกันที่ดีขึ ้น โดยใช้การรบหน่วงเวลาจากที่มั่นสลับขั ้น(ดูรูป ๕ - ๘) การรบหน่วงเวลาแบบนี ้จะใช้การดําเนินกลยุทธแบบกระโดด และไม่อํานวยให้กําลังทั ้งหมดสามารถวางการยิงของอาวุธทุกชนิดไปยังข้าศึกได้ในเวลาเดียวกัน การรบหน่วงเวลาแบบนี ้มีความยากลําบากในการควบคุมมากกว่า เนื่องจาก มว.ต่าง ๆ จะเคลื่อนที่และทําการรบในเวลาเดียวกันแต่อย่างไรก็ตาม ม.ต่าง ๆ จะมีเวลามากขึ ้นในการจัดเตรียมที่มั่นขั้นต่อไป เนื่องจาก มว.อื่น ๆ จะทําการสู ้รบและให้การระวังป้ องกันแก่ มว.ที่กําลังจัดเตรียมที่มั่นรูป ๕ - ๘ การรบหน่วงเวลาจากที ่มั ่นสลับขั้น


่- ๖๔ -วิชา ทหารม้าตอนที ่ ๓ การถอนตัวการถอนตัว คือการปฏิบัติการร่นถอยอย่างหนึ่ง ซึ่งหน่วยที่เข้าปะทะกับข้าศึกจะผละออกจากการรบ เพื่อปฏิบัติภารกิจอย่างอื่น การผละออกจากการรบคือการผละจากการปะทะกับข้าศึก และเคลื่อนที่ไปยังตําบลที่ข้าศึกไม่สามารถตรวจการณ์ และไม่สามารถยิงเล็งตรงมายังฝ่ ายเราได้ ดังนั ้นการผละออกจากการรบจะเป็นส่วนหนึ่งที่สําคัญของการถอนตัวทุกครั้งการถอนตัว อาจกระทําได้ทั้งภายใต้การกดดันของข้าศึก หรือไม่อยู ่ภายใต้การกดดันของข้าศึกก็ได้การถอนตัวอาจกระทําได้ทั้งรับหรือไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกําลังฝ่ ายเดียวกัน การถอนตัวเป็นการปฏิบัติที่เสี่ยงอันตรายเนื่องจากเป็ นการผละออกจากการปะทะกับข้าศึกที่มีความแข็งแรงเหนือกว่า ในการที่จะถอนตัวหรือผละออกจากการรบ กองร้อยจะต้อง.-- ปกปิ ดมิให้ข้าศึกทราบว่าหน่วยเราจะทําการถอนตัว- จัดลําดับของการถอนตัว- ลว.เส้นทางเพื่อประกันว่าหน่วยสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว- อํานวยให้หน่วยที่ไม่จําเป็นถอนตัวแต่เนิ่น (เช่นขบวนสัมภาระของกองร้อย) เพื่อหลีกเลี่ยงความคับคั่งบนเส้นทางถอนตัว- ให้การระวังป้ องกันและการคุ ้มครอง- ใช้เครื่องกีดขวางเพื่อหน่วงเหนี่ยวหรือหยุดการรุกคืบหน้าของข้าศึก- เคลื่อนที่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้โดยต้องไม่เสียการควบคุมการถอนตัวเมื ่อข้าศึกไม่กดดันกองร้อยจะใช้วิธีนี ้เมื่อไม่ตกอยู่ภายใต้การโจมตี หรือคาดว่าจะไม่ถูกโจมตีจากข้าศึกในระหว่างการถอนตัว (ดูรูป ๔ - ๕)การลวงและมาตรการระวังป้ องกันเป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้ภารกิจนี ้สําเร็จ และมีอีกหลายอย่างที่กองร้อย สามารถกระทําได้เพื่อลวงข้าศึก เช่น- ทิ ้งหน่วยแยกทิ ้งไว้ปะทะขนาดเล็กเอาไว้ เพื่อทําให้ข้าศึกเชื่อว่ากองร้อยยังคงอยู ่ในที่มั่น- ดํารงการติดต่อสื่อสารตามปกติ- ปกปิ ดเสียงของการถอนตัวด้วยใช้การยิง ป. หรือเสียงอื่น ๆ- ควรถอนตัวในขณะทัศนวิสัยจํากัด หรือขณะอากาศแปรปรวน (หมอก, ฝน, กลางคืน)การถอนตัวเมื ่อข้าศึกกดดันการถอนตัวเมื่อข้าศึกกดดันจะกระทําเมื่อได้รับคําสั่งให้ถอนตัวในขณะที่ปะทะกับข้าศึกอยูเป้ าหมายของการถอนตัวแบบนี ้ก็คือการรักษาหน่วยเอาไว้และป้ องกันข้าศึกบีบบังคับให้การถอนตัวเป็ นไปอย่างเสียระเบียบ


- ๖๕ -วิชา ทหารม้าเทคนิคในการถอนตัวเมื่อข้าศึกกดดันจะเหมือนกับการรบหน่วงเวลา สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ในการรบหน่วงเวลากองร้อยจะต้องดํารงการเกาะกับข้าศึก แต่การถอนตัวเมื่อข้าศึกกดดัน กองร้อยจะทําการยิงและเคลื่อนที่เพื่อให้หลุดจากการปะทะกับข้าศึก ส่วนคุ ้มครองหรือส่วนระวัง ป้ องกันจะอยู ่ในตําแหน่งที่สามารถให้การคุ ้มครองการถอนตัว โดยให้กองร้อยชุดรบอื่นคุ ้มครองให้ หรืออาจให้ มว.ที่อยู ่ในที่มั่นคุ้มครองให้ แก่ มว.ที่ถอนตัวรูป ๕ - ๙ การถอนตัวเมื ่อข้าศึกไม่กดดัน


- ๖๖ -วิชา ทหารม้าบทที่ ๔ทหารม้าในภารกิจลาดตระเวนและระวังป้ องกันตอนที ่ ๑ หลักการลาดตระเวนกล่าวทั ่วไปก. การลาดตระเวน คือการปฏิบัติการในสนามรบตามคําสั่ง เพื่อรวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึกและพื ้นที่ปฏิบัติการ ทั้งนี ้ด้วยการปฏิบัติการทางพื ้นดินและทางอากาศ ข่าวสารดังกล่าวนี ้ จําแนกประเภทออกตามหัวข้อ ดังนี ้คือ ข้าศึก, ภูมิประเทศ, ลมฟ้ าอากาศ และกําลังต่าง ๆ ของข้าศึกข. ความมุ ่งหมายของการลาดตระเวนก็คือ เพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารทางการรบเกี่ยวกับข้าศึกและพื ้นที่ปฏิบัติการ เพื่อนํามาผลิตขึ ้นเป็ นข่าวกรองทางการรบ ข่าวกรองทางการรบที่ผลิตขึ ้นมานี ้ ผู้บังคับหน่วยจะนํามาใช้ในการวางแผนและในการอํานวยการยุทธ ข่าวสารที่ได้มาจากการลาดตระเวน และข่าวกรองทางการรบอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากกันนี ้จะช่วยลดแง่มุมในปัญหาต่าง ๆ ที่ยังไม่อาจทราบได้เกี่ยวกับข้าศึกและพื ้นที่ปฏิบัติการและมีส่วนเพิ่มพูนความถูกต้องเที่ยงตรงให้แก่ การประเมินค่าการเสี่ยงต่า ง ๆ ที่จะต้องเกี่ยวข้อง รวมทั้งยังช่วยก่อให้มีอํานาจกําลังรบไปประยุกต์ใช้อย่างได้ผลอีกด้วยค. การลาดตระเวนและการระวังป้ องกันเป็ นเครื่องประกอบซึ่งกันและกัน และไม่อาจแยกขาดออกจากกันได้การลาดตระเวนทางพื ้นดินและทางอากาศที่ทรงประสิทธิภาพจะก่อให้เกิดการระวังป้ องกันขึ ้นในขนาดที่วางใจได้และหน่วยระวังป้ องกันก็จะช่วยให้ได้มาซึ่งข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึกและพื ้นที่ปฏิบัติการด้วยง. การลาดตระเวนเป็นความรับผิดอันไม่มีที่สิ ้นสุด ทั้งของผู ้บังคับหน่วยและของทหารแต่ละนายในการฝึกของหน่วย, รปจ.ตลอดจนคําสั่งชี ้แจงต่าง ๆ ของผู้บั งคับหน่วยที่ออกให้แก่หน่วยรองนั้น จะต้องเน้นความสําคัญของรายงานข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก และพื ้นที่ปฏิบัติการที่ทันต่อเวลาและมีความถูกต้องเที่ยงตรง ไม่ว่าจะเป็นรายงานในรูปตอบรับหรือปฏิเสธ รายงานต่าง ๆ ควรจะมีแต่ข้อเท็จจริง ไม่ควรมีข้อคิดเห็น ข่าวสารที่ได้มาจะต้องรายงานไปตามที่ได้รับมาในทันทีจ. การใช้หรือการคุกคามว่าจะมีการใช้อาวุธนิวเคลียร์และสารเคมีนั ้น ก่อให้เกิดความจําเป็ นที่จะต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อพิจารณาว่าในพื ้นที่หนึ่งจะไม่มีการอาบพิษหรือเพื่อพิจารณาขนาดการอาบพิษในพื ้นที่ใดพื ้นที่หนึ่งโดยเฉพาะเจ้าหน้าที ่ลาดตระเวนก. บรรดาเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนทางพื ้นดินนั ้น หมายรวมถึงตัวบุคคลและหน่วยต่าง ๆ ซึ่งได้รับการจัด, การแผนแบบหรือการจัดตั้งขึ ้นเพื่อปฏิบัติการลาดตระเวน โดยเฉพาะหน่วยยานเกราะต่าง ๆ ที่แผนแบบขึ ้นเพื่อปฏิบัติการลาดตระเวนเป็นพิเศษนั้น ได้แก่ กรมทห ารม้าลาดตระเวน , กองพันทหารม้าลาดตระเวนของกองพล และหมวดลาดตระเวนซึ่งเป็นหน่วยในอัตรา ฯ ของกองพันดําเนินกลยุทธแต่ละกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ กรมทหารม้าลาดตระเวน และกองพันทหารม้าลาดตระเวนของกองพล ได้รับการจัดยุทโธปกรณ์ให้สามารถปฏิบัติการลาดตระเวนได้ทั้งทางพื ้นดินและอากาศ หน่วยอื่น ๆ ที่มิได้มีการ


- ๖๗ -วิชา ทหารม้าจัดยุทโธปกรณ์ในส่วนสําคัญ ๆ เพื่อปฏิบัติการลาดตระเวน ก็อาจพิจารณาใช้เป็ นเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนได้เมื่อภารกิจของหน่วยบ่งบอกให้ต้องปฏิบัติการลาดตระเวนในระดับขนาดที่น่าจะต้องกระทําข. หน่วยการบินทหารบก ช่วยให้มีการตรวจการณ์ทางอากาศ, การถ่ายภาพทางอากาศ และการเฝ้ าตรวจด้วยเครื่องมือทางไฟฟ้ า และเป็นเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อเพิ่มเติมการปฏิบัติการลาดตระเวนทางพื ้นดินได้อย่างดีเยี่ยมค. กําลังทางอากาศยุทธวิธีของกองทัพอากาศ ช่วยให้มีขีดความสามารถในการลาดตระเวนทางอากาศและในการถ่ายภาพทางอากาศง. ใน รส.๑๗ - ๓๖ จะกล่าวถึงระเบียบปฏิบัติโดยละเอียดและเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนประเภทของการลาดตระเวนการลาดตระเวน แบ่งประเภทออกเป็ น การลาดตระเวนตรวจการรบ การลาดตระเวนระยะใกล้และการลาดตระเวนระยะไกล การที่หน่วยเหนือจะสั่งใ ช้หน่วยทหารม้าลาดตระเวนปฏิบัติการลาดตระเวนประเภทใด ย่อมพิจารณาจากความมุ ่งหมายของภารกิจโดยเฉพาะ และระยะหรือสภาพของการลาดตระเวนก. การลาดตระเวนตรวจการรบ คือการปฏิบัติการเป็ นบุคคลหรือหมู่ขนาดเล็ก เพื่อรวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับสนามรบโดยตรง ซึ่งกระทําก่อนหรือระหว่างการรบ การลาดตระเวนตรวจการรบ เป็ นการปฏิบัติของหน่วยทหารที่อยู ่ใกล้ชิดกับข้าศึก หน่วยทหารในแนวหน้าทั้งหมดปฏิบัติการลาดตระเวนสนามรบสําหรับตนเองการลาดตระเวนตรวจการรบทําได้ด้วย๑. การตรวจการด้วยการลงรบเดินดิน๒ ในเวลากลางวัน ตรวจการณ์จากที่ตรวจการณ์ และจากที่ฟังการณ์ในเวลากลางคืน หน่วยที่ทําการลาดตะเวนตรวจการรบได้ดีที่สุด คือหน่วยปะทะกับข้าศึก หน่วย, หมู่ มว.ในแนวหน้า ทําการลาดตระเวนตรวจการรบด้วยตนเองข. การลาดตระเวนระยะใกล้เป็นการรวบรวมข่าวสารในพื ้นที่ซึ่งมีการปฏิบัติการทางยุทธวิธี เพื่อให้ผบ.หน่วยได้มาซึ่งข่าวสารสําหรับใช้เป็ นหลัก ก่อนการตกลงใจทางยุทธวิธี หน่วยทหารม้าลาดตระเวนเป็ นหน่วยที่เหมาะสมสําหรับการลาดตระเวนระยะใกล้ ลักษณะของการลาดตระเวนระยะใกล้ ได้แก่๑. การตรวจตราบนรถหรือลงรบบนดิน๒. หมู่ตรวจ (ตอนคอยเหตุ หรือตอนลาดตระเวน ) ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากตอนรถถัง , หมู่ปื นเล็กและหมู ่เครื่องยิงลูกระเบิด สามารถทําการยิงเพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารที่จําเป็นหลังการปะทะเหล่านี ้ควรพิจารณาปี ก และความลึกของกําลังส่วนใหญ่ หรือที่มั่นของฝ่ ายข้าศึก หมู ่ตรวจทําการตรวจค้นโดยอาศัยเทคนิคการลาดตระเวนเส้นทาง เขต พื ้นที่ แล้วรายงานให้ทราบถึง ที่ตักําลัง ้ง การวางกําลังการประกอบกําลังและภูมิประเทศ


- ๖๘ -วิชา ทหารม้าค. การลาดตระเวนระยะไกล คือการรวบรวมข่าวสารในพื ้นที่ซึ่งอยู ่พ้นระยะการโจมตีโดยทันทีของกําลังภาคพื ้นดิน และอยู ่พ้นระยะยิงของปื นใหญ่ เช่นการลาดตระเวนหลังแนวข้าศึก ส่วนมากจะใช้หน่วยลาดตระเวนทางอากาศ หรือกองร้อยลาดตระเวนระยะไกลหลักมูลฐานการปฏิบัติการลาดตระเวนการปฏิบัติการลาดตระเวนต่าง ๆ นั ้น ย่อมแปรผันไปตามสถานการณ์และสภาพการณ์ต่าง ๆในพื ้นที่และย่อมแปรผันไปตามภารกิจที่ได้รับมอบ , ขนาด , ชนิด และการประกอบกําลังของหน่วยลาดตระเวนนั ้น ๆ การปฏิบัติการลาดตระเวนบนพื ้นดิน จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับหลักมูลฐานต่าง ๆดังต่อไปนี .- ้ก. ลาดตระเวนให้สัมพันธ์กับที่หมายที่อยู ่กับที่หรือเคลื่อนที่ หน่วยที่ปฏิบัติการลาดตระเวนจะต้องดําเนินกลยุทธลาดตระเวนให้สัมพันธ์กับที่ตั้ง หรือการเคลื่อนที่ของที่หมาย มากกว่าที่จะสัมพันธ์กับที่ตั้งหรือการเคลื่อนที่ของหน่วยทหารฝ่ ายเดียวกัน ซึ่งที่หมายนั้นอาจได้แก่ หน่วยทหารข้าศึก , ลักษณะภูมิประเทศ หรือตําบลที่ตั้งหนึ่ง ๆ ในการที่จะปฏิบัติการลาดตระเวนให้มีประสิทธิภาพได้นั้น ผู ้บังคับหน่วยที่ทําการลาดตระเวนจะต้องได้รับเสรีในการปฏิบัติมากที่สุดข. การรายงานข่าวสารทั ้งสิ ้นโดยละเอียดและถูกต้อง การลาดตระเวนนั้น กระทําขึ ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารเพื่อนําไปใช้ในการผลิตข่าวกรองทางการรบ เพื่อให้มีคุณค่าแก่ผู ้บังคับบัญชา ผู ้บังคับบัญชาจะต้องได้รับข่าวสารที่ว่านี ้ไปใช้ได้ทันเวลา และข่าวสารนี ้จะต้องตอบคําถามเกี่ยวกับ อะไร (รวมทั้งเท่าใด )เมื่อใด, ที่ไหน และทางอะไร ได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรงที่สุด เจ้าหน้าที่ทุกนายในหน่วยที่ปฏิบัติภารกิจลาดตระเวน จะต้องรายงานข่าวสารทั้งในรูปตอบรับ หรือปฏิเสธทุกข่าวสารอย่างรวดเร็วและถูกต้องเที่ยงตรงไปยังกองบังคับการหน่วยเหนือ เพราะเมื่อนําไปพิจารณาเชื่อมโยงเข้ากับข่าวสารที่ได้มาจากแหล่งอื่น ๆ แล้ว ข่าวสารที่ดูไม่มีความสําคัญต่อหน่วยระดับหนึ่งนั ้น อาจมีค่ายิ่งยวดต่อผู ้บังคับบัญชาชั ้นสูงกว่าถัดขึ ้นไปก็ได้ การพัฒนาและการใช้แบบรายงานการลาดตระเวน จะช่วยให้การส่ง ข่าวสารสําคัญยิ่งทางวิทยุกระทําได้เร็วขึ ้น หน่วยที่ปฏิบัติการลาดตระเวนนี ้จะยังไม่สามารถบรรลุภารกิจได้โดยสมบูรณ์ จนกว่าจะได้รายงานข่าวสารทั ้งปวงที่รวบรวมมาได้ไปยังกองบังคับการหน่วยเหนือแล้วค. หลีกเลี่ยงการปะทะแตกหัก หน่วยที่ปฏิบัติการลาดตระเวนย่อมได้ข่าวสาร มาด้วยการลอบกระทําการทุกครั ้งที่สามารถกระทําได้ แต่ต้องเข้าทําการรบเมื่อจําเป็น เพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารที่ต้องการจะต้องไม่นําภารกิจลาดตระเวนเข้าเสี่ยงต่อการทําการรบกับข้าศึกในเมื่อการเข้าทําการรบนั้น ไม่เป็นสิ่งจําเป็นยิ่งในอันที่จะให้ได้มาซึ่งข่าวสารที่ต้องการง. ดํารงการเกาะกับข้าศึก ในการปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนเพื่อให้ได้ข่าวสารเกี่ยวกับกําลังของข้ าศึกนัจะต้องเข้าเกาะข้าศึกให้ได้โดยเร็วที่สุดที่จะกระทําได้ ้นในทันทีที่เกาะข้าศึกได้ ก็จะต้องดํารงการเกาะไว้ให้ได้ตลอดเวลาและจะผละจากการเกาะได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู ้บังคับการหน่วยเหนือ การเกาะอาจดํารงไว้ได้ด้วยการตรวจการณ์ทางพื ้นดินหรือทางอากาศ หรือด้วยการใช้อาวุธ


- ๖๙ -วิชา ทหารม้าจ. คลี่คลายสถานการณ์ เมื่อเข้าปะทะข้าศึก หรือเมื่อเผชิญกับเครื่องกีดขวางต่าง ๆ จะต้องได้มีการคลี่คลายสถานการณ์อย่างรวดเร็วและต้องทําการตกลงใจโดยคํานึงถึงการปฏิบัติต่าง ๆ ที่จะติดตามมาในกรณีที่เข้าปะทะข้าศึกได้จะต้องปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า "การปฏิบัติเมื่อเข้าปะทะ" ดังต่อไปนี ้๑) จัดขบวนรบและรายงาน หน่วยต่าง ๆ จะต้องเคลื่อนที่อย่างฉับพลันเข้าสู ่ที่วางตัวซึ่งตนสามารถทําการยิง, ตรวจการณ์ หรือใช้หน่วยต่อข้าศึกจากที่วางตัวนั ้น ๆ ได้ ผู ้บังคับหน่วยจะต้องรายงานการเข้าเกาะข้าศึกไปยังกองบังคับการหน่วยเหนือในทันที โดยมีรายละเอียดมากที่สุดที่จะมีได้๒) ลาดตระเวน จะต้องได้มีการพิจารณาถึง ที่ตั , กําลัง, ้ง การประกอบกําลัง และการวางกําลังของข้าศึก โดยใช้ความพ ยายามเป็นพิเศษในอันที่จะกําหนดหาปี กทั้งสองข้างที่มั่น ข้าศึกให้จงได้เมื่อภูมิประเทศอํานวยให้ก็ให้ส่วนปฏิบัติการบนยานพาหนะทําการลาดตระเวน ที่มั่นข้าศึก และอาจใช้การลาดตระเวนด้วยการยิงในเมื่อเวลาวิกฤติ หากภูมิประเทศขัดขวางการเคลื่อนที่ด้วยยานพาหนะก็ใช้หมู ่ตรวจลงรบเดินดินเข้าทําการลาดตระเวนที่มั่นข้าศึกแทน หมู่ตรวจต่าง ๆ ไม่ว่าจะปฏิบัติการบนยานพาหนะหรือลงรบเดินดิน จะต้องได้รับการสนับสนุนโดยส่วนที่เหลืออยู ่ของหน่วย๓) เลือกหนทางปฏิบัติ หลังจากที่ได้ ลาดตระเวนที่มั่นของข้าศึกเพื่อให้ได้ข่าวสารมากที่สุดเท่าที่ตนจะกระทําได้แล้ว ผู ้บังคับหน่วยจะต้องเลือกหนทางปฏิบัติเฉพาะ ที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์เท่า ๆ กับที่จะสามารถบรรลุภารกิจที่ได้รับมอบขึ ้นมาหนทางหนึ่ง การตัดสินใจที่จะเข้าตี , อ้อมผ่านหรือตรึงกําลังส่วนนี ้ไว้จะต้องกระทําขึ ้นให้เร็วที่สุดเท่าที่การลาดตระเวนจะอํานวยให้ได้๔) รายงาน จากนั ้นผู ้บังคับหน่วยจะต้องรายงานไปยังกองบัญชาการหน่วยเหนือของตนรายงานนี ้ประกอบด้วยข่าวสาร เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้าศึกที่ได้รับมาจากการลาดตระเวน รวมทั้งข้อตกลงใจว่าด้วยหนทางการปฏิบัติที่ผู ้บังคับหน่วยวางแผนจะปฏิบัตินั้นแบบของภารกิจลาดตระเวนภารกิจลาดตระเวนมีอยู ่ ๓ แบบ คือ การลาดตระเวนเส้นทาง , การลาดตระเวนเขต และการลาดตระเวนพื ้นที่ การกําหนดใช้การลาดตระเวนแบบใดนั้นกระทําภายหลังจากที่ได้พิจารณาถึงข่าวสารที่ต้องการ, ข่าวสารนั ้นจะไปแสวงหาได้จากไหน , สถานการณ์ของข้าศึกที่ประจักษ์ชัดแล้ ว, ภูมิประเทศ ,ขนาดของหน่วยลาดตระเวน และเวลาที่มีอยู ่พอที่ได้ข่าวสารการลาดตระเวนเส้นทางก. การลาดตระเวนเส้นทาง เป็นการปฏิบัติการเพื่อให้ได้ข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทาง, เครื่องกีดขวางและข้าศึกที่อยู ่ตามเส้นทางนั้น ๆ รวมทั้งภูมิประเทศที่อยู ่ข้างเคียงเส้นทางซึ่งถ้าข้าศึกสามารถยึดครองไว้ได้แล้ว จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการเคลื่อนที่ของฝ่ ายเราตามเส้นทางนั้นข. การลาดตระเวนเส้นทางนี ้อาจกําหนดให้ลาดตระเวนเพื่อให้ได้ข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทางสายใดสายหนึ่งโดยเฉพาะหรือเพื่อให้ได้ข่าวสารเกี่ยวกับหน่วยข้าศึกที่เคลื่อนที่ อยู่ทั่ว ๆ ไปตามเส้นทางโดยเฉพาะก็ได้แต่เมื่อมีข่าวกรองระบุว่าข้าศึกน่าจะรุกคืบหน้าเข้ามาได้แล้วเส้นทางเหล่านี ้ก็อาจจะกําหนดให้ลาดตระเวน


่- ๗๐ -วิชา ทหารม้าเพื่อให้ได้ข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึก เส้นทางรุกสายต่างๆ ของฝ่ ายเรานั้น อาจต้องให้ลาดตระเวนในเมื่อต้องการข่าวสารโดยเฉพาะเจาะจงของเส้นทางสายใดสายหนึ่งหรือหลาย ๆ เส้นทางในกลุ ่มเส้นทางนั้นค. เทคนิคที่นํามาใช้และข้อพึง ประสงค์ในการลาดตระเวนเส้นทางนั้น ก็คือสิ ้นเปลืองเวลาน้อยมากและโดยธรรมดาแล้วจะสามารถปฏิบัติการลาดตระเวนได้รวดเร็วกว่าการลาดตระเวนเขตและการลาดตระเวนพื ้นที่การลาดตระเวนเขตก. การลาดตระเวนเขต คือการปฏิบัติการ เพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารในรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางทั ้งปวง , ภูมิประเทศ และหน่วยข้าศึกในเขตหนึ่ง ๆ ที่กําหนดขึ ้นด้วยเส้นแบ่งเขต การลาดตระเวนเขตนี ้มีความละเอียดและสิ ้นเปลืองเวลามากกว่าการลาดตระเวนประเภทอื่น ๆข. เมื่อที่ตั้งของข้าศึกยังไม่เป็นที่ทราบได้กระจ่างชัด หรือเมื่อต้องการที่จะหาเส้นทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม หรือเพื่อพิจารณาขีดความสามารถในการรับนํ ้าหนักการจราจรในการเคลื่อนที่คร่อมข้ามภูมิ ประเทศในเขตหนึ่ง ๆ ก็อาจอํานวยการให้มีการลาดตระเวนเขตขึ ้นได้ กว้างด้านหน้ าของเขตที่จะมอบให้แก่หน่วยรองต่าง ๆ นั ้นพิจารณาจากข่ายเส้นทาง ,ลักษณะภูมิประเทศ , ประเภทของข่าวสารที่ต้องการ , การปฏิบัติการของข้าศึกที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ ้น,หน่วยทหารที่มีอยู ่ ,ลมฟ้ าอากาศ , ทัศนะวิสัย ตลอดจนเวลาที่มีอยู ่พอที่จะสามารถบรรลุภารกิจได้การลาดตระเวนพื้นทีก. การลาดตระเวนพื ้นที่คือการปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ข่าวสารในรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางทั ้งปวง,ภูมิประเทศและหน่วยข้าศึกภายในพื ้นที่ที่กําหนดไว้โดยชัดแจ้งข. การลาดตระเวนพื ้นที่นี ้กระทําขึ ้นเพื่อให้ได้ข่าวสารเกี่ยวกับตําบลที่ตั้งหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ เช่นหมู่บ้าน, เมือง, หย่อมป่ าหรือ ท่าข้ามต่าง ๆ ตามแม่นํ ้าอาจให้ลาดตระเวนพื ้นที่เพื่อค้นหาข้าศึกที่อาจจะมีอยู่หรือ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมที่จะใช้พื ้นที่นั้นเป็นที่รวมพลหรือเพื่อให้หน่วยทหารฝ่ ายเดียวกันใช้พื ้นที่นั้นในลักษณะอย่างอื่น พื ้นที่ที่จะให้ลาดตระเวนนั้นจะต้องกําหนดขอบเขตให้ทราบอย่างชัดแจ้ง หน่วยที่ได้รับมอบภารกิจนี ้จะต้องเคลื่อนที่ไปยังพื ้นที่ และปฏิบัติการลาดตระเวนโดยใช้เทคนิคต่าง ๆเช่นเดียวกับที่ใช้ในการลาดตระเวนเขตการลาดตระเวนด้วยการยิงก. การลาดตระเวนด้วยการยิง จะบรรลุผลได้ด้วยการทําการยิงเข้ าสู่ที่ทีน่าจะเป็ นหรือที่คาดว่าน่าจะเป็นที่มั่นข้าศึก โดยมุ ่งจะให้ข้าศึกเปิ ดเผยตนเองออกมาด้วยการเคลื่อนที่หรือด้วยการยิง ในระหว่างที่ลาดตระเวนด้วยการยิงอยู ่นี ้จะต้องมีการตรวจการณ์ต่อที่มั่นต่าง ๆ ที่ลาดตระเวนอยู่โดยต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถหาตําแหน่งความเคลื่อนไหวหรือการยิงตอบโต้ของข้าศึกได้อย่างชัดแจ้ง


- ๗๑ -วิชา ทหารม้าข. การลาดตระเวนด้วยการยิงจะใช้ก็ต่อเมื่อเวลาจํากัดยิ่ง เป็นการปฏิบัติที่เสี่ยงต่อการสูญเสียการจู ่โจม แต่ก็ช่วยลดโอกาสที่น่าจะเป็นไปได้ในการเคลื่อนที่เข้าไปยังที่มั่นซึ่งมีการซ่อนพรางอย่างดีของข้าศึกโดยมิได้ระมัดระวังว่าจะมีอยู ่ลงได้ค. ถ้าข้าศึกตอบโต้ หน่วยก็จะต้องดําเนินกรรมวิธีคลี่คลายสถานการณ์ แต่ถ้าไม่มีการยิงตอบโต้หน่วยก็ปฏิบัติภารกิจของตนต่อไป แต่อย่างไรก็ตามหน่วยควรที่จะได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะการที่จะยั่วยุให้ข้าศึกยิงตอบโต้โดยใช้การลาดตระเวนด้วยการยิงนั ้นอาจไร้ผลต่อข้าศึกที่มีความชัดเจนก็ได้การลาดตระเวนหมู ่บ้าน,เมือง,เครื ่องกีดขวาง หรือที ่มั ่นข้าศึกก. ในการลาดตระเวนหมู ่บ้าน ,เครื่องกีดขวา ง หรือที่มั่นข้าศึกนั้น หน่วยควรที่จะได้เคลื่อนที่เข้าประชิดจากทางปี ก หรือ ทางด้านหลังถ้าสามารถกระทําได้ ถ้ามีเวลาพอการลาดตระเวนนี ้ควรกระทําด้วยการลงรบเดินดิน แต่อย่างไรก็ตาม หากมีเวลาน้อยหน่วยก็สามารถปฏิบัติการต่อไปบนยานพาหนะได้ในกรณีหนึ่งกรณีใดของทั้งสองกรณีนี ้หน่วยควรที่จะได้มีการตรวจการณ์อย่างละเอียดเสียก่อน ก่อนที่จะปฏิบัติการลาดตระเวนจริง ส่วนการลาดตระเวนด้วยการยิงที่จะใช้นั้นย่อมขึ ้นอยู ่กับสถานการณ์ทางยุทธวิธีข. เมื่อมีเวลาพอ หมู ่ตรวจลงรบเดินดิน จะเคลื่อนที่รุกไปข้างหน้าโดย มีกําลังส่วนที่เหลือของหน่วยคอยให้การคุ ้มกัน จํานวนหมู ่ตรวจย่อมขึ ้นอยู ่กับขนาดของที่หมาย และขึ ้นอยู ่กับเส้นทางเคลื่อนที่เข้าประชิดที่มีอยู ่ , การกําบัง และการปกปิ ด ถ้าหมู่ตรวจต่าง ๆ ตรวจเห็นว่าชายขอบด้านไกลของพื ้นที่นั ้นปลอดภัย ส่วนที่เหลือของหน่วยก็จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าต่อจากนั้น หมู ่ตรวจที่ลงรบเดินดินก็จะลาดตระเวนต่อไปโดยมีกําลังส่วนที่เหลือของหน่วยคอยเฝ้ าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิดค. ในการลาดตระเวนบนยานพาหนะ ส่วนหนึ่งของหน่วยจะเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วโดยมีกําลังส่วนที่เหลือของหน่วยคอยเฝ้ าระวังให้อย่างกวดขัน ถ้าชายขอบด้านไกลของพื ้นที่นั ้นปลอดภัยแล้ว กําลังส่วนที่เฝ้ าระวังอยู ่จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และการรุกคืบหน้าก็จะดําเนินก ารต่อไป ยานยนต์จะต้องเคลื่อนที่ผ่านหมู ่บ้านหรือเมืองไปเป็นขั้น ๆ ด้วยรูปขบวนที่เหลื่อมลํ ้ากัน เพื่อข่มอาคารต่าง ๆ บนฝั่งถนนด้านตรงข้ามไว้ด้วยการตรวจการณ์และการยิง การให้หน่วยลงรบเดินดินเคลื่อนที่นํายานยนต์ก็เป็นสิ่งที่พึงประสงค์อย่างยิ่งการลาดตระเวนในเวลากลางคืนการปฏิบัติการลาดตระเวนจะกระทําได้ล่าช้าและมีผลน้อยในเวลากลางคืน โดยปกติแล้วการลาดตระเวนในเวลากลางคืนจะจํากัดให้ต้องกระทําด้วยการจัดหมู ่ตรวจลงรบเดินดิน การตรวจเส้นทางต่าง ๆ ตลอดจนการใช้ที่ฟังการณ์ให้เป็นประโยชน์ มีการใช้เรดาร์ทางพื ้นดินประสานร่วมกับที่ ตรวจการณ์และฟังการณ์แห่งต่าง ๆ การใช้การลาดตระเวนด้วยยานยนต์โดยไม่ต้องมีหมู ่ตรวจลงรบเดินดินเคลื่อนที่นําไปข้างหน้านั้นจะกระทําได้ก็ต่อเมื่อการต้านทานของข้าศึกมีเบาบาง และมีภูมิประเทศตลอดจนมีเส้นทางรุกที่เกื ้อกูลยิ่งเท่านั้นการเคลื่อนที่คร่อมข้ามภูมิประเทศกระทําได้ยากมากขึ ้น เสียงเครื่องยนต์และการเคลื่อนที่ของยานยนต์สายพานจะสามารถได้ยินไปในระยะทางไกลมาก และการตรวจการณ์ที่จํากัดทํา


- ๗๒ -วิชา ทหารม้าให้ยายยนต์มีจุดอ่อนต่อการถูกซุ่มยิง รายละเอียดเกี่ยวกับการลาดตระเวนในเวลากลางคืนที่นอกเหนือไปจากนี ้ให้ดูในรูป รส.๑๗-๓๖กว้างด้านหน้าของการลาดตระเวนไม่มีขนาดกว้างด้านหน้าที่ตายตัวสําหรับหน่วยหนึ่ง ๆ ที่กําหนดขนาดขึ ้น เพื่อปฏิบัติภารกิจลาดตระเวน ทัศนะวิสัย, ภูมิประเทศ, ข่ายเส้นทาง, สถานการณ์ฝ่ ายข้าศึก, ลักษณะของข่าวสารที่ต้องการเสนอแสวงหา, ตลอดจนเวลาที่มีอยู่ เหล่านี ้ล้วนแต่เป็ นปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อกว้างด้านหน้าของการลาดตระเวนที่จะมอบให้แก่หน่วยหนึ่ง ๆ ทั ้งสิ ้นถ้าต้องการรายละเอียดจากข่าวสารทั่ว ๆ ไปแล้ว การปฏิบัติการนั้นก็จะต้องเสียเวลามากขึ ้น ดังนั้นกว้างด้านหน้าก็ควรจะกําหนดให้แคบกว่าที่กําหนดไว้เพื่อหาข่าวสาร ทั่ว ๆ ไป แต่ก็อาจกําหนดกว้าง ด้านหน้าให้มากขึ ้นได้ถ้ามีอากาศยาน หรือหน่วยทหารม้าอากาศการประสานงานและการควบคุมในระหว่างการปฏิบัติการลาดตระเวนก. จะต้องได้มีการประสานการลาดตระเวน ณ ทุกระดับการบังคับบัญชา การกระทําเช่นที่ว่านี ้จะประกันได้ว่าจะบังเกิดผลมากที่สุดจากการข่าวกรอง, ป้ องกันมิให้ต้องมีการปฏิบัติงานซํ ้ากัน และยังช่วยให้ประหยัด กําลังที่จะใช้หน่วยลาดตระเวน การประสานงานจะประสบความสําเร็จ ได้ก็ด้วยการมอบภารกิจโดยเฉพาะเจาะจงให้แก่หน่วยแต่ละหน่วยที่ปฏิบัติการลาดตระเวนเสียแต่แรกเริ่มข. ผู ้บังคับหน่วยที่ปฏิบัติการลาดตระเวน จะต้องใช้วิทยุเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักในการควบคุมหน่วย และใช้แนวขั้น ตําบลประสานการปฏิบัติ เส้นแบ่งเขตเส้นทาง ที่หมาย และการจํากัดเวลา เป็นเครื่องควบคุมหน่วยของตน ส่วนเจ้าหน้าที่ติดต่อนายทหารฝ่ ายอํานวยการ เจ้าหน้าที่นําสาร และอากาศยานนั ้นใช้เพื่อให้สามารถส่งคําแนะนําและรายงานการลาดตระเวนได้อย่างรวดเร็ว (ปกติ มว., กองร้อย, กองพัน, จะรายงานเมื่อเคลื่อนที่ถึง หรือกําลังผ่านเส้นขั้นโดยไม่ต้องหยุดเว้นแต่ได้รับคําสั่งจาก ผบ.หน่วยเหนือเท่านั้น)คําสั ่งการลาดตระเวนคําสั่งการลาดตระเวนนั้น จะต้องสมบูรณ์ และระบุรวมลงไปโดยแน่ชัดว่าต้องการข่าวสารการรบอะไร เวลาที่จะต้องรายงานข่าวสารนั ้น จะหาข่าวนั ้นได้จากที่ไหน และจะต้องปฏิบัติภารกิจเมื่อใดรายละเอียดที่สําคัญ ๆ อาจรวมถึง.-ก. ข่าวสารที่เหมาะสมเกี่ยวกับหน่วยทหารข้าศึกและหน่วยทหารฝ่ ายเดียวกันข. แผนของผู ้บังคับบัญชาชั้นเหนือค. ประเภทของข่าวสารที่ต้องการทราบง. เขต, พื ้นที่ หรือเส้นทางที่จะต้องลาดตระเวนจ. จะต้องรายงานข่าวสารให้ผู ้บังคับบัญชาชั ้นเหนือกว่าทราบเมื่อใด ที่ไหน และอย่างไรฉ. เวลาออกลาดตระเวนช. มาตรการควบคุมที่บังคับใช้ซ. การปฏิบัติที่ต้องกระทําเมื่อสําเร็จภารกิจแล้ว


- ๗๓ -วิชา ทหารม้าการส่งข่าวสารการส่งข่าวสารตามคําขอได้อย่างรวดเร็ว ย่อมเป็นสิ่งที่สําคัญที่จะนําไปสู ่ความสําเร็จตามภารกิจทหารทุกคนในหน่วยทหารม้าลาดตระเวนจะต้องยึดถือหลักการการส่งข่าวสารที่ได้มาทั ้งหมดอย่างรวดเร็วการใช้ รปจ.จะช่วยให้การส่งข่าวสารที่สําคัญสะดวกยิ่งขึ ้น เช่น แบบรายงานด่วนข่าวสารการปะทะกับข้าศึกครั้งแรก หรือข่าวสารเกี่ยวกับภูมิประเทศซึ่งมีความสําคัญต่อแผนการปฏิบัติของ ผบ.หน่วยเหนือจะต้องรายงานทันทีข่าวสารต่าง ๆ ควรส่งทันทีโดยไม่ชักช้าจากหมู่หรือตอนไปยัง มว.และ จาก มว.ไปยัง บก.หน่วยเหนือ โดยไม่ต้องพะวงว่าจะมีคามสําคัญหรือไม่ เพราะสิ่งนี ้อาจเป็นข่าวสารที่มีค่า เมื่อได้นําไปพิจารณาร่วมกับข่าวสารอื่น ๆ การรายงานข่าวสารที่ได้มาโดยทันทีเท่านั ้นจะทําให้หน่วยทหารม้าลาดตระเวน บรรลุภารกิจการลาดตระเวน ข่าวที่ปฏิเสธมักมีความสําคัญเช่นเดียวกับข่าวยืนยัน และต้องรายงานแบบรายงาน่ก. - การพิสูจน์ฝ่ ายของผู ้ส่งข่าว อดิศร ๔ จาก อดิศร ๖ข. - ตรวจการณ์พบข้าศึกหน่วยใด ? รถถังเบา ๓ คัน- กําลังเท่าใด ?ค. - ตรวจการณ์พบข้าศึกที่ไหน ? พิกัด ๔๓๕๗๘๑ เวลา ๑๓๓๐- เมื่อใด ?ง. - ข้าศึกกําลังทําอะไร ? กําลังเคลื่อนที่ไปทางทิศใต้ ถนนหมายเลข ๒จ. - ผู ้ส่งข่าวสารกําลังทําอะไรกําลังตรวจการณ์อยู เปลี่ยน- เกี่ยวกับข้าศึกบ้างหมายเหตุ แบบรายงานด่วนนี ้ใช้เพื่อรายงานข่าวสารข้าศึกให้หน่วยเหนือทราบโดยใช้วิทยุ หรือกระดาษเขียนข่าวและอาจใช้รหัสตาม นปส.ก็ได้---------------------------------หลักฐาน รส.๑๗ - ๑ การปฏิบัติการยุทธของยานเกราะ


- ๗๔ -วิชา ทหารม้าตอนที ่ ๒ หลักการระวังป้ องกันกล่าวทั ่วไปก. การระวังป้ องกัน หมายรวมถึงมาตรการทั ้งมวลที่หน่วย ๆ ปฏิบัติ เพื่อที่จะป้ องกันตนเองให้พ้นจากจารกรรม, การตรวจการณ์, การก่อวินาศกรรม, การรบกวนหรือการจู ่โจมของข้าศึก ความมุ ่งหมายของการระวังป้ องกันก็คือการรักษาความลับ รวมทั้งเพื่อให้ได้มาและดํารงไว้ซึ่งเสรีในการปฏิบัติข. การระวังป้ องกันจะกระทําได้สําเร็จ ก็ด้วยการจัดให้มีการตรวจค้นการคุกคามอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดให้มีเวลาและพื ้นที่ดําเนินกลยุทธอย่างเพียงพอที่จะตอบโต้การคุกคามนั ้น และการจัดให้สามารถหลีกเลี่ยง ตัดรอน หรือทําลายล้างการคุกคามนั้นได้ การระวังป้ องกันนี ้จะปรับปรุงให้มีผลดียิ่งขึ ้นได้ด้วยการข่าวกรองที่ทันต่อเวลาและมีความถูกต้องเที่ยงตรงรวมทั้งการเคลื่อนที่ที่รวดเร็วและรุนแรงหน่วยต่าง ๆ ทุกหน่วยจะต้องรับผิดชอบในการจัดการระวังป้ องกันของตนเอง โดยไม่คํานึงถึงว่าจะมีหน่วยอื่นมาจัดการระวังป้ องกันให้หรือไม่ หน่วยระวังป้ องกันของกองทหารขนาดใหญ่นั้น จะต้องให้มีความแข็งแรงเพียงพอและจะต้องอยู ่ ณ ที่ที่เหมาะสม เพื่อสามารถให้เวลาอย่างเพียงพอแก่หน่วยที่ตนให้การระวังป้ องกันสามารถปฏิบัติการตอบโต้หน่วยระวังป้ องกันจะเข้ารบปะทะติดพันข้าศึกไว้ภายในขีดความสามารถของตนเท่าที่จําเป็ น เพื่อให้บรรลุภารกิจอย่างไร ก็ตามมาตรการระวังป้ องกันต่าง ๆ จะต้องไม่ทําให้กําลัง หรือเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปของหน่วยที่ตนให้การระวั งป้ องกันอยู่ไขว้เขวไปโดยไม่จําเป็นค. รส.๑๗ - ๓๖ มีระเบียบปฏิบัติในรายละเอียดและเทคนิคต่าง ๆ ในการปฏิบัติการระวังป้ องกันดังกล่าวไว้แล้วการระวังป้ องกันต่อการปฏิบัติการทางพื้นดินการคุกคามต่าง ๆ ต่อการระวังป้ องกันของหน่วยหนึ่ง ๆ นั ้นหมายรวมถึงการลาดตระเวน, การยิง,การโจมตีด้วยหน่วยกําลังรบทางพื ้นดิน,การแทรกซึม, หน่วยกองโจรพลพรรค รวมทั้งหน่วยปฏิบัติการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศและหน่วยปฏิบัติการยุทธทางอากาศ หน่วยระวังป้ องกันจะต้องใช้ภูมิประเทศและเครื่องกีดขวางต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนผลการปฏิบัติการระวังป้ องกันของตน การระวังป้ องกันต่อการปฏิบัติการทางพื ้นดินนี ้ กระทําได้ด้วยการลาดตระเวนทางอากาศและทางพื ้นดิน การจัดหน่วยกําบัง , การจัดกองกระหนาบ, กองระวังหน้า และการจัดหน่วยระวังป้ องกันเฉพาะกิจบริเวณ ภารกิจการเป็นหน่วยกําบัง , กองกระหนาบ , กองระวังหน้า และกองระวังหลัง ตลอดจนภาร กิจการเป็นหน่วยทําฉากกําบังนี ้ อาจให้ปฏิบัติการข้างหน้า, ทางปี ก หรือทางหลังของหน่วยทหารฝ่ ายเดียวกัน ขนาด และการประกอบกําลังของหน่วยระวังป้ องกันต่าง ๆ นั ้น ย่อมอยู่กับปัจจัยMETT - T ในการระวังป้ องกันต่อข้าศึกซึ่งมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง และจัดกําลังยานเกราะเป็นส่วนใหญ่ หน่วยระวังป้ องกันจะต้องมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ที่ทัดเทียมกันหรือมากกว่ากับทั ้งจะต้องมีขีดความสามารถในการต่อสู ้รถถัง


่- ๗๕ -วิชา ทหารม้าอย่างเพียงพอด้วยในกรณีใดก็ตาม หน่วยระวังป้ องกันจะต้องมีขีดความสามารถในการที่จะปฏิบัติการรบอันทรงประสิทธิภาพภายใต้สภาพการณ์ต่าง ๆ สภาพการณ์เดียวกันกับข้าศึกที่เข้ามาคุกคามหลักมูลฐานการระวังป้ องกันถึงแม้ว่าหลักฐานต่าง ๆ ของการระวังป้ องกันจะล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดก็ตามแต่ความสําคัญอันใหญ่ยิ่งนั้นที่การแจ้งเตือนที่ทันต่อเวลา และมีความถูกต้องกับการใ ห้มีพื ้นที่ดําเนินกลยุทธอย่างเพียงพอ การปฏิบัติการต่าง ๆ ของหน่วยระวังป้ องกัน ควรที่จะเป็ นตามแนวทางที่ถูกต้อง ด้วยการนําหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี ้ไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติต่อการใช้ขุมกําลังต่างๆ ที่มีอยู ่ให้มีประสิทธิภาพก. ให้การแจ้งเตือนที่ทันเวลาและถูกต้อง หน่วยระวังป้ องกันจะต้องให้การแจ้งเตือนแต่เนิ่น ๆ แก่ผู ้บังคับหน่วยที่รับการระวังป้ องกันเกี่ยวกับที่ตั้ง และการเคลื่อนที่ของหน่วยข้าศึก ซึ่งก่อให้เกิดการคุกคามต่อภารกิจของผู ้บังคับหน่วยนั้น ด้วยการแจ้งเตือนที่ทันต่อเวลาและด้วยข่าวสารที่ถูกต้องเที่ยงตรงเท่า นั ้นที่ผู ้บังคับหน่วยที่รับการระวังป้ องกันจะสามารถเลือกหน่วยกําลังรบ , เวลา และสถานที่เข้ารบปะทะข้าศึกและดําเนินกลยุทธเพื่อให้ได้มาซึ่งการจู ่โจม และความได้เปรียบทางยุทธวิธีข. ให้มีพื ้นที่ดําเนินกลยุทธ หน่วยระวังป้ องกันจะต้องออกปฏิบัติการในระยะที่ไกลพอสมควรจากหน่วยที่รับการระวังป้ องกัน เพื่อให้มั่นใจว่าหน่วยนี ้จะมีเวลาและพื ้นที่พอเพียงที่จะดําเนินกลยุทธเพื่อเข้าเผชิญหรือหลบเลี่ยงต่อการคุกคามของข้าศึก ระยะระหว่างหน่วยระวังป้ องกันกับหน่วยรับการระวังป้ องกันนั ้นย่อมแตกต่างกันไปตามปัจจัย MEET - Tค. วางตัวให้สอ ดคล้องกับที่ตั้งหรือการเคลื่อนที่ของหน่วยที่รับการระวังป้ องกัน หน่วยระวังป้ องกันจะต้องดําเนินกลยุทธให้ตรงกับที่ตั้งและการเคลื่อนที่ของหน่วยที่รับการระวังป้ องกัน และวางตัวอยูระหว่างหน่วยทหารฝ่ ายเดียวกันกับส่วนเข้าคุกคามของข้าศึกที่ประจักษ์แล้วหรือที่คาดว่าจะเข้าคุกคามง. ปฏิบัติการลาดตระเวนโดยต่อเนื่อง หน่วยระวังป้ องกันทุกหน่วย จะต้องปฏิบัติการลาดตระเวนอย่างต่อเนื่องและรุนแรง การลาดตระเวนนี ้ จะช่วยให้ผู ้บังคับหน่วยระวังป้ องกันได้ทราบข่าวสารเกี่ยวกับข้าศึกในพื ้นที่รับผิดชอบของตน และจะช่วยให้ตนสามารถจัดวางกํา ลังหน่วยระวังป้ องกันให้สัมพันธ์กับหน่วยรับการระวังป้ องกัน และส่วนที่เข้าทําการคุกคามของข้าศึกได้อย่างถูกต้อง และการลาดตระเวน จะให้การระวังป้ องกันจากการถูกจู ่โจม ด้วยการแจ้งให้ผู ้บังคับหน่วยที่รับการระวังป้ องกันได้ทราบถึงที่ตั้ง และการเคลื่อนที่ของข้าศึกอยู ่ตลอดเวลา กับด้วยการดํารงการเกาะข้าศึกที่เข้าคุกคามนั้นไว้จ. ดํารงการเกาะข้าศึก ในทันทีที่สามารถเข้าทําการเกาะข้าศึกไว้ได้ ก็จะต้องดํารงการเกาะนั้นไว้จนกว่าข้าศึกจะหยุดเข้าคุกคามต่อหน่วยที่รับการระวังป้ องกัน หรือจนกว่าข้าศึกจะผละพ้นไปจากพื ้นที่รับผิดชอบทีได้รับมอบ สําหรับรายละเอียดในการปฏิบัติการเพื่อเข้าเกาะนั้น การเกาะข้าศึกนี ้ จะปล่อยให้หลุดลอยไปตามอําเภอใจมิได้นอกจากจะได้รับคําสั่งจากกองบังคับการหน่วยเหนือ และจะต้องไม่ยอมให้ข้าศึกสามารถเข้าทําการจู ่โจมต่อหน่วยทีตนให้การระวังป้ องกันอยู ่ ถ้าข้าศึกเคลื่อนที่ผละ พ้นไปจากพื ้นที่


- ๗๖ -วิชา ทหารม้ารับผิดชอบจะต้องดําเนินการเพื่อแจ้งให้หน่วยข้างเคียงทราบและจะต้องเข้าช่วยให้หน่วยข้างเคียงสามารถเข้าเกาะข้าศึกได้กว้างด้านหน้าของการปฏิบัติการระวังป้ องกันขนาดความกว้างด้านหน้าของการปฏิบัติการระวังป้ องกัน ขึ ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน รวมทั้งระดับขนาดของการปฏิบัติการที่ต้องการ ช่วงเวลาที่ต้องการให้การระวังป้ องกัน ขีดความสามารถของข้าศึก ภูมิประเทศ (โดยเฉพาะเส้นทางเคลื่อนที่เข้าประชิดของข้าศึก ) ตลอดจนลมฟ้ าอากาศ อาจมีการแบ่งมอบกว้างด้านหน้าให้มากขึ ้นได้ ถ้ามีอากาศยานหรือหน่วยทหารม้าอากาศระดับขนาดของการระวังป้ องกันก. การปฏิบัติการกําบัง การปฏิบัติการกําบังเป็นการปฏิบัติการในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งต่างหากจากส่วนใหญ่ และปฏิบัติการในทิศทางที่สอดคล้องกับทิศทางของข้าศึก เพื่อมุ่งที่จะสกัดกั ้น, เข้ารบปะทะ,หน่วงเวลา, ทําลายการจัด และลวงข้าศึกก่อนที่ข้าศึกจะสามารถเข้าตีต่อหน่วยที่รับการกําบังได้ข. การปฏิบัติการคุ ้มกัน การปฏิบัติการคุ ้มกัน คือ การปฏิบัติการทางด้านปี ก , ข้างหน้า หรือข้างหลังของส่วนใหญ่ที่เคลื่อนที่ หรือหยุดอยู่กับที่ในลักษณะที่จะสามารถขจัดการตรวจการณ์ทางพื ้นดิน, การเล็งยิงตรงและการเข้าตีด้วยวิธีจู ่โจมของข้าศึก การปฏิบัติการดังกล่าวนี ้ กระทําโดยเข้าพิชิต , ทําลายล้างหรือหน่วงเหนี่ยวข้าศึกไว้ภายในขีดความสามารถต่าง ๆ ของหน่วยปฏิบัติการคุ ้มกันค. การปฏิบัติการทําฉากกําบัง การปฏิบัติการทําฉากกําบังคือ การดํารงการเฝ้ าตรวจไปยังด้านหน้า ด้านข้าง หรือด้านหลังของหน่วยกําลังเคลื่อนที่หรือหยุดอยู ่กับที่ เพื่อให้มีการแจ้งเตือนแต่เนิ่นแก่หน่วยนี ้ทั ้งนี ้ด้วยการตรวจการณ์ การรายงาน และการดํารงการเกาะหน่วยข้าศึกที่เผชิญหน้าอยู ่ หน่วยทําฉากกําบังนี ้จะเข้าทําการขัดขวางและรบกวนข้าศึกภายในขีดความสามารถต่าง ๆ ของตนด้วยการยิงของอาวุธในอัตราหรือที่มาสนับสนุน และทําลายล้างหรือผลักดันหมู ่ตรวจของข้าศึกหน่วยระวังป้ องกันหน่วยระวังป้ องกันหนึ่ง ๆ นั ้นอาจเป็นส่วนกําบัง กองกระหนาบ กองระวังหน้า หรือกองระวังหลังหรือเป็นหน่วยระวังป้ องกันพื ้นที่ส่วนหลังก็ได้ ทั ้งนี ้ย่อมขึ นอยู ่กับระดับขนาดของการระวังป้ ้องกันที่หน่วยต้องการและตําแหน่งที่ตั้งที่สัมพันธ์กับหน่วยรับการระวังป้ องกัน (รูปที่ ๓) หน่วยระวังป้ องกันอาจเข้าติดพันในการรบด้วยวิธีรุก การรบด้วยวิธีรับ หรือการรบหน่วงเวลา ได้ตามความสามารถบรรลุภารกิจ


- ๗๗ -วิชา ทหารม้ารูปที่๓ - ความสัมพันธ์ของกองระวังป้ องกันหน้า,กองกระหนาบ และกองระวังหลังกับหน่วยกําบังส่วนกําบังส่วนกําบัง เป็นหน่วยระวังป้ องกันที่มีการระวังป้ องกันทางยุทธวิธีในตัวเอง ซึ่งปฏิบัติการในระยะพอสมควรไปข้างหน้า, ทางข้างหรือข้างหลังของหน่วยที่เคลื่อนที่หรือหยุดอยู่กับที่ ภารกิจของส่วนกําบังนี ้คือคลี่คลายสถานการณ์แต่เนิ่น ๆ เข้าพิชิตหน่วยกําลังรบฝ่ ายตรงข้ามถ้าสามารถกระทําได้ และทําการลวงหน่วงเหนี่ยว และทําลายการจัดของข้าศึกจนกว่ากําลังส่วนใหญ่จะสามารถเข้ารับสถานการณ์ได้ ตามปกติแล้ว จะไม่มอบภารกิจนี ้ให้แก่หน่วยที่เล็กกว่ากองพันเฉพาะกิจหรือกองพันทหารม้ายานเกราะเพิ่มเติมกําลังส่วนกําบังจะเข้าปฏิบัติการต่างๆ อันจําเป็นต่อการที่จะสามารถบรรลุภารกิจของตนและอาจใช้ส่วนกําบังนี ้ในขณะที่กําลังส่วนใหญ่กําลังเข้าปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก การรบด้วยวิธีรับหรือการรบด้วยวิธีร่นถอยผู ้บังคั บหน่วยที่รับการกําบังจะเป็นผู ้กําหนดพื ้นที่ที่จะต้องให้การคุ ้มกันแต่ส่วนกําบังจะต้องไม่เข้าติดพันรบแตกหัก,ปล่อยให้ข้าศึกอ้อมผ่านเข้ามาหรือถูกโอบล้อม ส่วนกําบังนี ้ควรจะมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่อย่างเต็มที่ จัดกําลังรถถังเป็นหลักและเพิ่มเติมกําลังด้วย ทหารราบ ทหารปื นใหญ่ ทหารช่าง อากาศยาน และ


- ๗๘ -วิชา ทหารม้าทหารม้าอากาศ ตามความจําเป็นหน่วยต่างๆ เหล่านี ้จะจัดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู ้บังคับบัญชาคนเดียวกัน และผู ้บังคับบัญชาคนนี ปฏิบัติการอยู ้ ่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของผู ้บังคับหน่วยที่รับการกําบังส่วนกําบังส่วนหน้า - ในการรบด้วยวิธีรุกภารกิจของส่วนกําบังส่วนหน้าของหน่วยที่เข้าปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกนี ้ ปฏิบัติได้ด้วยการใช้เทคนิคต่าง ๆ คล้ายคลึงกันกับที่ใช้ในการปฏิบัติการลาดตระเวนเส้นทาง และการลาดตระเวนเขต ส่วนกําบังเคลื่อนที่โดยใช้สองกองร้อยเคียงกันในแนวหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถครอบคลุมได้ตลอดพื ้นที่และเพื่อค้นหาหน่วยข้าศึก ควรจะได้มีการเก็บกําลังที่พอเพียงไว้ในกองหนุน เพื่อใช้บีบบังคับการปฏิบัติการในพื ้นที่ กองหนุนนี ้จะต้องอยู ่ในตําแหน่งที่จะอํานวยให้ใช้ได้ทันที เพื่อช่วยในการบรรลุภารกิจ เมื่อการปะทะกับข้าศึกส่วนกําบั งส่วนหน้าก็ทําการเข้าตี และทําลายล้างหรือขับไล่ข้าศึก อาจทําการอ้อมผ่านหน่วยข้าศึกไปได้ถ้าได้รับอนุมัติให้กระทําไว้ในภารกิจของหน่วย หรือในคําสั่งของกองบังคับการหน่วยเหนือขึ ้นไปหนึ่งระดับส่วนกําบังส่วนหน้า - ในการรบด้วยวิธีรับหน่วยใหญ่ที่ปฏิบัติการรบด้วยวิธีรั บ หรือด้วยวิธีการร่นถอยอาจใช้ส่วนกําบังได้ ตามปกติแล้วระยะที่ส่วนกําบังจะปฏิบัติการข้างหน้า ขนม.นั ้น ผู ้บังคับหน่วยรับการกําบังจะเป็นผู ้กําหนดให้ เขตปฏิบัติการของส่วนกําบังจะแบ่งออกเป็นเขตปฏิบัติการของกองร้อยต่าง ๆ และหน่วยต่าง ๆ เหล่านี ้จะเข้ายึดที่มั่นสกัดกั้นที่อยู ่ภายในเขตของตนที่ได้รับมอบ ข้างหน้าที่มั่นสกัดกั้นจะต้องจัดตั้งที่ตรวจการณ์ต่าง ๆและหมู่ตรวจขึ ้น ที่มั่นสกัดกั้นเหล่านี ้จะอยู่ ณ ภูมิประเทศสําคัญเพื่อข่มเส้นทางที่ข้าศึกน่าจะเคลื่อนที่เข้ามา โดยธรรมดานั ้น ควรจะจัดให้มีกองหนุนขนาดหน่วยกองร้อยเก็บไว้ กับควรจะได้จัดให้รถถัง , ทหารราบ,ทหารปื นใหญ่, ทหารช่าง และทหารม้าอากาศขึ ้นสมทบกับส่วนกําบัง เมื่อถูกบีบบังคับให้ต้องถอนตัวส่วนกําบังก็ปฏิบัติการรบหน่วงเวลามาหา ขนม.โดยหลีกเลี่ยงการปะทะแตกหักกับข้าศึก และจะต้องได้พยายามทุกประการ ในอันที่จะลวงข้าศึกมิให้ทราบที่ตั้งอันแท้จริงของการวางกําลังฝ่ ายเดียวกันและของ ขนม.ส่วนกําบังทางปี กส่วนกําบังทางปี กใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงกันกับที่กองกระหนาบใช้แต่ละส่วนกําบังนี ้จะปฏิบัติการในระยะห่างจากส่วนรับการกําบังมากกว่ากองกระหนาบ ระยะดังกล่าวนี ้จะอยู่ไกลถัดออกไปจากกองกระหนาบของหน่วยรับการกําบัง และตามปกติ จะอยู ่นอกระยะการยิงสนับสนุนของหน่วยรับการกําบังส่วนกําบังส่วนหลังผู ้บังคับบัญชาชั้นเหนือ อาจจัดส่วนกําบังส่วนหลังขึ ้นเพื่อให้การกําบังการถอนตัวหรือการผละจากการรบ เมื่อหน่วยถูกใช้ในลักษณะดังกล่าว ส่วนกําบังก็ใช้แนวหน้าของฝ่ ายเ ดียวกัน หรือที่มั่นอยู่ใกล้เคียงกันนั้น เป็นเสมือนที่มั่นของตน เทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจ ก็คล้ายคลึงกับเทคนิคสําหรับส่วนกําบังส่วนหน้าในการรบด้วยวิธีรับ


- ๗๙ -วิชา ทหารม้าส่วนระวังเหตุส่วนระวังเหตุ คือ หน่วยระวังป้ องกันที่ปฏิบัติการอยู ่ข้างหน้า ทางข้างหลังข องหน่วยที่เคลื่อนที่หรือหยุดอยู่กับที่เพื่อให้การคุ ้มกันแก่หน่วยนั ้นให้พ้นจากการตรวจการณ์ทางพื ้นดิน การยิงเล็งตรง และการเข้าตีด้วยวิธีการจู ่โจมของข้าศึก ส่วนระวังเหตุมีหน้าที่พิชิต ทําลายหรือหน่วงเวลาการคุกคามต่าง ๆ ของข้าศึกภายในขีดความสามารถของตน ตามปกติส่วนระวังเหตุนี ้ประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ ที่บรรจุมอบหรือให้ขึ ้นสมทบกับหน่วยที่รับการคุ ้มกันกองระวังหน้าก. กองระวังหน้า คือ หน่วยระวังป้ องกันซึ่งมีลักษณะการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกเป็นหลักอยู ่ในตัวโดยปฏิบัติการออกไปข้างหน้าหน่วยที่กําลังเคลื่อนที่เพื่อประกันมิให้การรุกของหน่วยนั ้นถูกขัดขวาง และเพื่อป้ องกันมิให้หน่วยนั้นถูกโจมตีด้วยการจู ่โจม ทั้งนี ้โดยการเข้าพิชิต ทําลายล้าง หรือหน่วงเหนี่ยวข้าศึกกองระวังหน้านี ้อาจให้การคุ ้มกันต่อการจัดรูปขบวนรบของหน่วยรับการคุ ้มกันได้ ถ้าส่งกองระวังหน้าเข้าปฏิบัติการ และอาจ อํานวยความสะดวกในการเคลื่อนที่ให้ด้วยการรื ้อถอนเครื่องกีดขวาง ซ่อมแซมถนนและสะพานต่าง ๆ หรือกําหนดเส้นทางอ้อมผ่านข. กองระวังหน้าเคลื่อนที่เร็วที่สุดเท่าที่สถานการณ์จะยอมให้กระทําได้ แต่ก็ควรให้ยังคงอยู่ภายในระยะที่จะสามารถรับการสนับสนุนจากหน่วยที่รับการคุ ้ม กันได้ กองระวังหน้าปฏิบัติการลาดตระเวนโดยต่อเนื่องไปข้างหน้าและทางข้าง กับผลักดันหรือเข้าทําลายล้างข้าศึกกลุ ่มย่อย ๆ เสียก่อนที่ข้าศึกเหล่านี ้จะสามารถขัดขวางการรุกคืบหน้าของหน่วยรับการคุ ้มกันได้ เมื่อกองระวังหน้าต้องเผชิญกับหน่วยข้าศึกขนาดใหญ่ หรือพื ้นที่ที่มีการตั้งรับหนาแน่น กองระวังหน้าก็จะเข้าปฏิบัติ การอย่างรุนแรงและฉับพลัน เพื่อคลี่คลายสถานการณ์และใช้การรบด้วยวิธีรุกเพื่อเข้าพิชิตข้าศึกลงภายในขีดความสามารถของตน กองระวังหน้าจะต้องใช้วิธีการทุกวิธีที่มีอยู ่ เพื่อค้นหาที่ตั้ง, กําลัง, การวางกําลัง และการประกอบกําลังของข้าศึกออกมาให้จงได้ และกองระวังหน้าอาจจําต้องเข้าร่วมในการเข้าตีของหน่วยที่ตนให้การคุ ้มกันอยู่ก็ได้ กองระวังหน้านี ้จะต้องอยู ่ไกลออกไปข้างหน้าของหน่วยรับการคุ ้มกันให้มากพอที่จะมั่นใจได้ว่าผู ้บังคับหน่วยรับการคุ ้มกันจะมีเสรีในการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้กําลังของตน แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่ลํ ้าหน้ามากเกินไปจนข้าศึกสามาร ถทําลายล้างกองระวังหน้าเสียก่อนที่จะได้รับการช่วยเหลือ ตามปกติผู ้บังคับหน่วยรับการคุ ้มกันจะเป็นผู ้กําหนดว่ากองระวังหน้าจะออกปฏิบัติการไปข้างหน้าหน่วยของตนในระยะเท่าใด ระยะห่างนี ้จะลดลงมาอีกเมื่อถึงเวลากลางคืน,ในภูมิประเทศรกทึบ และภายใต้สภาพการณ์ที่ทัศนวิสัยไม่ดีค. โดยธรรมดา กองระวังหน้าจะเคลื่อนที่รุกไปข้างหน้าด้วยรูปขบวนแถวตอนจนกว่าจะเกิดการปะทะ กองระวังหน้าอาจจะเคลื่อนที่ไปโดยต่อเนื่อง หรือด้วยการเคลื่อนที่เป็นขั้น ๆ ก็ได้ กองระวังหน้าจะเคลื่อนที่เป็นขั้น ๆ เมื่อใกล้จะเกิดปะทะกับข้าศึกและภูมิประเทศเกื ้อกูลต่อการเคลื่อนที่ด้วยวิธีนี ้


- ๘๐ -วิชา ทหารม้ากองกระหนาบก. กล่าวทั ่วไป๑. กองกระหนาบ คือหน่วยระวังป้ องกันที่ปฏิบัติ การอยู ่ทางปี กของหน่วยที่กําลังเคลื่อนที่หรือที่กําลังหยุดอยู่กับที่เพื่อป้ องกันหน่วยนั้นให้พ้นจากการตรวจการณ์ทางพื ้นดิน, การเล็งยิงตรง และการโจมตีด้วยการจู ่โจมของข้าศึก ทั้งนี ้โดยการเข้าพิชิต, ทําลายล้างหรือหน่วงเหนี่ยวข้าศึกไว้ภายในขีดความสามารถของตน กองกระหนาบอาจใช้การรบด้วยวิธีรุก , การรบด้วยวิธีรับหรือการรบหน่วงเวลาตามคว ามจําเป็ นเพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจของตนได้ ในระหว่างขั ้นตอนการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกหรือด้วยวิธีร่นถอย กองกระหนาบจะต้องเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว หรือที่เรียกกันว่ากองกระหนาบเคลื่อนที่เร็ว และในขณะที่หน่วยรับการคุ ้มกันปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับนั้น ตามปกติแล้ว กองกระหนาบก็จะปฏิบัติการอยู ่กับที่ แต่ต้องเตรียมพร้อมที่จะออกปฏิบัติการในฐานะเป็นกองกระหนาบเคลื่อนที่เร็วได้ทันที เมื่อมีความจําเป็นเกิดขึ ้น๒. ผู ้บังคับหน่วยที่รับการคุ ้มกัน จะเป็นผู ้กําหนดหน่วยต่าง ๆ ที่จะต้องให้การคุ ้มกันรวมทั้งเขตรับผิดชอบตามปกติความรับผิดชอบของกองกระหนาบจะเริ่มตั้งแต่ ท้ายขบวนของกองพันที่เป็น หน่วยนํา(พัน.ฉก.) และไปสิ ้นสุดเอาที่ส่วนท้ายสุดของส่วนปฏิบัติการรบอื่น ๆ ของหน่วยรับการคุ ้มกัน (ไม่รวมถึงกองระวังหลัง) เว้นไว้เสียแต่ว่าจะกําหนดให้เป็นอย่างอื่นโดยทั่ว ๆ ไป เส้นทางรุกจะขนานกับเส้นหลักการรุกของหน่วยรับการคุ ้มกันและ จะต้องสามารถเข้าที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆ ที่วางแผนไว้ล่วงหน้า ณ ภูมิประเทศสําคัญที่ข่มเส้นทางที่ข้าศึกน่าจะเคลื่อนที่เข้าประชิดมายังปี ก ของหน่วยรับการคุ ้มกันได้อย่างรวดเร็วอีกด้วยข. วิธีการเคลื ่อนที ่ของกองกระหนาบ กองกระหนาบเค ลื่อนที่เร็วใช้การเคลื่อนที่แบบมูลฐาน ๓ วิธีด้วยกันคือการเคลื่อนที่สลับขั้น, การเคลื่อนที่ตามลําดับ, การเคลื่อนที่ด้วยรูปขบวนเดินต่อเนื่อง การที่จะเลือกใช้วิธีการใดนั ้น ย่อมขึ ้นอยู ่กับอัตราเร็วในการเคลื่อนที่รุกไปข้างหน้าของหน่วยรับการคุ ้มกันและสถานการณ์ของข้าศึก๑. การเคลื่อนที่สลับขั้น วิธีการเคลื่อนที่แบบนี ้ ใช้เมื่อหน่วยรับการคุ ้มกันเคลื่อนที่ไปได้ช้าและคาดว่าข้าศึกจะปฏิบัติการรุนแรงต่อกองกระหนาบ ในวิธีการเคลื่อนที่ด้วยวิธีนี ้ส่วนหนึ่งที่กําหนดไว้ของกองกระหนาบจะเข้ายึดที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆ ไว้ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งเคลื่อนที่แบบกบกระโดดไปเข้ายึดที่มั่นสกัดกั้นแห่งใหม่ที่จําเป็นต่อการเคลื่อนที่ของหน่วยรับการคุ ้มกัน วิธีการเคลื่อนที่แบบนีเป็นวิธีการที่ปลอดภัย้ที่สุด แต่ก็ปฏิบัติได้ช้าที่สุด๒. การเคลื่อนที่ตามลําดับขั้น วิธีการเคลื่อนที่แบบนี ้ใช้ในขณะที่การเคลื่อนที่ของหน่วยรับการคุ ้มกันมีลักษณะหยุดเป็นห่วงสั้น ๆ บ่อยครั้งและการปฏิบัติการของข้าศึกต่อกองกระหนาบเป็นไปอย่างเบาบางหน่วยรองต่าง ๆ จะเข้าที่มั่นสกัดกั้นที่กําหนดให้ไว้เมื่อสามารถกลับทําการเคลื่อนที่ต่อไปข้างหน้าได้อีกหน่วยรองต่าง ๆ ก็จะเคลื่อนที่ออกไปพร้อมกัน โดยเข้ายึดที่มั่นตามลําดับขั้น ในรูปขบวนของกองกระหนาบในระหว่างที่ตนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเพื่อเข้ายึดที่มั่นสกัดกั้นแห่งใหม่


- ๘๑ -วิชา ทหารม้า๓. การเคลื่อนที่ด้วยรูปขบวนเดินต่อเนื่อง วิธีการเคลื่อนที่แบบนี ้ ใช้ในขณะที่หน่วยรับการคุ ้มกันกําลังเคลื่อนที่รุกไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว และไม่มีการปฏิบัติใด ๆ ของข้าศึกต่อทางปี ก กองกระหนาบจะใช้รูปขบวนแถวตอนและเคลื่อนที่โดยไม่มีการหยุด และปรับอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ของตนให้เข้ากับหน่วยรับการคุ ้มกัน โดยมีส่วนหนึ่งปฏิบัติการลาดตระเวนสํารวจไปทางปี ก ในขณะที่ส่วนที่เหลืออยู ่เคลื่ อนที่ไปตามเส้นทางรุกค. การวางแผนและการปฏิบัติการของกองกระหนาบ๑. การวางแผนก) เริ่มแรก ผู ้บังคับหน่วยจัดการลาดตระเวนบนแผนที่ต่อพื ้นที่ปฏิบัติการเลือกเส้นทางที่ข้าศึกน่าจะเคลื่อนที่ประชิดเข้ามาได้มากที่สุดจากทางปี ก ต่อจากนั้นก็เลือกที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆ ตามลําดับไว้ ทางปี กซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปจะต้องให้ขนานกับเส้นหลักการรุกของหน่วยที่รับการคุ ้มกันที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆ เหล่านี ้ควรกําหนดให้อยู ่ ณ ภูมิประเทศที่สามารถจัดการตั ้งรับให้สามารถข่มเส้นทางที่ข้าศึกจะเคลื่อนที่เข้าประชิดได้ที่มั่นสกัดกั ้นต่างๆ ควรจะอยู่ไกลออกไปจากทางปี กของหน่วยที่รับการคุ ้มกัน เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึกได้ทันเวลา และพื ้นที่ดําเนินกลยุทธแก่หน่วยนั้นอย่างพอเพียงในอันที่จะตอบโต้การคุกคามของข้าศึกได้ที่มั่นสกัดกั ้นต่าง ๆ นี ้ควรที่จะกําหนดที่ตั ้งในลักษณะที่จะสามารถขัดขวางการตรวจการณ์ทางพื ้นดิน และการยิงเล็งตรงของหน่วยที่รับการคุ ้มกันได้ ที่มั่นเหล่านี ้ควรจะอยู ่ในระยะยิงของปื นใหญ่ของหน่วยรับการคุ ้มกันหากกองกระหนาบต้องเผชิญกําลังรบของข้าศึกที่เหนือกว่าที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆก็ควรจะอยู ่ไกลออกไปพอที่จะมีภูมิประเทศมากพอที่จะปฏิบัติการรบหน่วงเวลาเข้าหาหน่วยรับการคุ ้มกันอย่างไรก็ตามระยะห่างระหว่างเส้นหลักการรุก หรือปี กของหน่วยรับการคุ ้มกันกับแนวที่มั่นสกัดกั้นนั้นก็ไม่ควรให้มีมากเกินไปจนกองร้อยทหารม้ายานเกราะหรือกองร้อยชุดรบหนึ่ง ๆ ไม่สามารถให้การระวังป้ องกันกว้างด้านหน้านี ้ได้ข) ผู้บั งคับกองกระหนาบเป็นผู ้เลือกใช้เส้นหลักการรุก เว้นเสียแต่กองบังคับการหน่วยเหนือจะกําหนดเส้นทางนั้น ๆ ไว้ให้แล้ว เส้นทางรุก ควรจะอยู ่ห่างมากพอจากเส้นหลักการรุกของหน่วยคุ ้มกัน ทั ้งนี ้เพื่อป้ องกันมิให้กองกระหนาบไปรบกวนขัดขวางการดําเนินกลยุทธของหน่วยรับการคุ ้มกัน เส้นทางนี ้ ควรจะเกื ้อกูลให้สามารถเข้าติดแนวที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว


- ๘๒ -วิชา ทหารม้ารูปที่๕ การวางแผนการปฏิบัติการของกองกระหนาบ


- ๘๓ -วิชา ทหารม้าค) ต่อจากนั ้นผู ้บังคับกองกระหนาบก็จะต้องพัฒนาแผนดําเนินกลยุทธขึ ้นเพื่อให้สามารถ เข้ายึดและครอบครองที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆ และให้สามารถให้การระวังป้ องกันต่อพื ้นที่ระหว่างเส้นหลักการรุกของหน่วยรับการคุ ้มกันและเส้นทางรุก เหนือเส้นหลักการรุกของกองกระหนาบได้ แผนดําเนินกลยุทธนี ้จะต้องให้สามารถเข้ายึดที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะโดยหน่วยแต่ละหน่วยหรือโดยกําลังทั ้งสิ ้นของกองกระหนาบง) จะต้องมีการเลือกตําบลประสานการปฏิบัติต่าง ๆ ขึ ้นระหว่างที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆ เพื่อให้เห็นขอบเขตพื ้นที่รับผิดชอบของหน่วยที่ยึดครองที่มั่นแต่ละที่มั่น ตําบลประสานการปฏิบัติต่าง ๆ นี ้ควรจะให้สังเกตเห็นได้ง่ายบนพื ้นดิน และควรตั ้งให้อยู่ค่อนไปข้างหน้าแนวที่มั่นสกัดกั ้นกับอยู่ ณ ย่านกลางระหว่างที่มั่นสกัดกั ้นต่างๆ เมื่อหน่วยได้รับคําสั่งให้เข้ายึดครองที่มั่นสกัดกั้นแห่งหนึ่ง ๆ นั้นหน่วยก็จะต้องรับผิดชอบต่อพื ้นที่ระหว่างตําบลประสานการปฏิบัติต่าง ๆ ทางปี กแต่ละข้างหน่วยจะต้องทํากา รพบประประสานการปฏิบัติด้วยตนเองกับหน่วยข้างเคียง ณ ตําบลประสานการปฏิบัติต่าง ๆจ) ผู ้บังคับบัญชาจะต้องเลือกรูปขบวนที่อํานวยให้สามารถใช้กําลังต่อการคุกคามของข้าศึกได้อย่างรวดเร็ว รูปขบวนนี ้จะต้องมีความอ่อนตัวในอันที่จะสามารถเผชิญการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในสถานการณ์ได้รูปขบวนแถวตอนเป็นรูปขบวนที่ให้การควบคุมและความอ่อนตัวมากที่สุด กองกระหนาบจะต้องจัดการระวังป้ องกันตนเอง อาจใช้อากาศยานหรือ ส่วนทหารม้าอากาศมาให้การระวังป้ องกันขยายขอบเขตการลาดตระเวนให้แก่กองกระหนาบก็ได้๒ ในระหว่างที่ปฏิบัติการเป็นกองกระหนาบเคลื่อนที่เ ร็วนั ้นหน่วยนําของกองกระหนาบจะปฏิบัติ การในฐานะเป็นส่วนกําบังนี ้จะต้องให้การระวังป้ องกันแก่พื ้นที่ระหว่างหน่วยที่รับการคุ ้มกัน และเส้นทางรุกของกองกระหนาบ กับจะต้องดํารงการติดต่อกับท้ายขบวนกองพัน หรือกองพันรบเฉพาะกิจที่เป็นหน่วยนําของหน่วยที่รับการคุ ้มกันไว้ อาจจะต้องมีการเพิ่มเติมกําลังให้แก่หน่วยนํานี ้ เพื่อให้สามารถบรรลุผลภารกิจเชิงซ้อนสามประการของตนได้ กําลังส่วนที่เหลือของกองกระหนาบจะเคลื่อนที่ในรูปขบวนแถวตอน และเตรียมการที่จะเข้ายึดครองที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆ เมื่อได้รับคําสั่งการตัดสินใจเข้ายึดครองที่มั่นสกัดกั้นเหล่านี ้ย่อมขึ ้นอยู ่กับความเร็วที่หน่วยรับการคุ ้มกันกําลังเคลื่อนที่อยู ่และสถานการณ์ของข้าศึกที่เปิ ดนี ้ ส่วนวิธีการเคลื่อนที่เลือกใช้นั้นย่อมขึ ้นอยู ่กับอัตราเร็ว ในการเคลื่อนที่ของหน่วยรับการคุ ้มกัน และสถานการณ์เกี่ยวกับข้าศึกถ้ากองกระหนาบจําต้องปฏิบัติการออกไปในระยะไกลมาก ผู ้บังคับกองกระหนาบก็ควรจะขออนุมัติทําฉากกําบังพื ้นที่(ด้วยการตรวจการณ์และรายงาน) หรือขออนุมัติปลดความรับผิดชอบของตนออกจากส่วนหลังของพื ้นที่เสีย คําขอที่ว่านี ้ให้กระทําในรูปแบบข้อเสนอแนะต่อผู ้บังคับหน่วยรับการคุ ้มกันง. กองกระหนาบสําหรับหน่วยที ่ปฏิบัติการเข้าตี๑. พื ้นที่รับผิดชอบของกองกระหนาบสําหรับหน่วยที่ปฏิบัติการเข้าตีโอบหรือของหน่วยปฏิบัติการขยายผลซึ่งมีขนาดหน่วยขนาดกองพันนั้น ตามปกติจะเริ่มตั้งแต่ท้ายขบวนของกองพันรบเฉพาะกิจที่เป็นหน่วยนํา และยื่นออกไปจนถึงท้ายขบวนของส่วนปฏิบัติการรบส่วนสุดท้ายที่รับการคุ ้มกัน ส่วนรับผิดชอบ


- ๘๔ -วิชา ทหารม้าของกองกระหนาบสําหรับกองพันรบเฉพาะกิจนี ้ ตามธรรมดาแล้ว จะเริ่มที่ท้ายขบวนของกองร้อยชุดรบที่เป็ นกองร้อยนํา และสิ ้นสุดลงท้ายขบวนของส่วนปฏิบัติการรบของกองพันรบเฉพาะกิจ๒. ข้อพิจารณาพิเศษบางประการในการวางแผนใช้กองกระหนาบในก ารเข้าตีเจาะหรือในการปฏิบัติการผ่านแนว ข้อพิจารณาดังกล่าวนี ้ได้แก่กว้างด้านหน้าที่แคบได้ส่วนซึ่งตามปกติแล้วการเข้าตีเจาะจะปฏิบัติด้วยกว้างด้านหน้าที่แคบได้ส่วนนี ้ข้อพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือห้องพื ้นที่ดําเนินกลยุทธอันจํากัดอันเนื่องมาจากการปฏิบัติการผ่านแนวในการปฏิบัติภารกิจของกองกระหนาบภายใต้สภาพการณ์เหล่านี ้ก) ตามปกติ ผู ้บังคับหน่วยรับการคุ ้มกันจะเป็นผู ้เลือกที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆ ขึ ้นข) ในระยะเริ่มแรก เมื่อเข้าตีเจาะแนวหน้าของฝ่ ายเดียวกันเข้าไปแล้วพื ้นที่รับผิดชอบของกองกระหนาบของกองพล หรือของกองพลน้อย เริ่มตั้งแต่ไหล่ของการเจาะ (ซึ่งหน่วยทหารฝ่ ายเดียวกันยึดอยู ่ )และยื่นออกไปข้างหน้าจนถึงท้ายขบวนของกองพันรบเฉพาะกิจหรือกองร้อยชุดรบที่เป็ นหน่วยนําของหน่วยรับการคุ ้มกัน เมื่อส่วนปฏิบัติการรบส่วนสุดท้ายของหน่วยที่รับการคุ ้มกันเคลื่อนที่ผ่านพ้นช่องว่างที่เ จาะได้นั ้นตามปกติแล้ว พื ้นที่รับผิดชอบของกองกระหนาบก็จะเปลี่ยนไปเป็นเช่นของหน่วยปฏิบัติการตีโอบ หรือหน่วยปฏิบัติการขยายผลตามที่กล่าวไว้ในข้อ (๑) ข้างต้นค) การเคลื่อนที่ผ่านช่องว่างที่เจาะได้ของหน่วยเข้าตีเจาะและกองกระหนาบนั้น จะต้องได้มีการประสานงานอย่างใกล้ชิด โดยธรรมดา ส่วนนําของกองกระหนาบจะเคลื่อนที่ติดตามหน่วยหลักที่เป็นส่วนนําของหน่วยรับการคุ ้มกัน ผ่านช่องว่างที่เจาะได้นี ้ไปจนกระทั่งสถานการณ์จะอํานวยให้กองกระหนาบสามารถเคลื่อนที่ไปทางปี กได้ ส่วนนําของกองกระหนาบ จะทําหน้าที่เป็นกองระวังหน้าให้แก่กองกระหนาบส่วนใหญ่ และให้การระวังป้ องกันต่อพื ้นที่ระหว่างท้ายขบวนของกองพันเฉพาะกิจที่เป็นหน่วยนํา กับเส้นหลักทางรุกของกองกระหนาบ เมื่อส่วนที่เหลือของกองกระหนาบเคลื่อนที่ผ่านพ้นช่องว่างที่เจาะได้ก็จะเคลื่อนที่ไปยังปี กแล้วเตรียมการที่จะเข้ายึดที่มั่นสกัดกั้นหรือที่จะเข้าเผชิญต่อการตีโต้ตอบของข้าศึก ฉะนั ้นโดยธรรมดา กองกระหนาบจึงใช้วิธีการเคลื่อนที่แบบสลับขั้น เมื่อกองกระหนาบถูกหน่วยข้าศึกที่มีกําลังเหนือกว่าเข้าตี กองกระหนาบก็จะปฏิบัติการรบหน่วงเวลาเพื่อให้เวลาและพื ้นที่แก่หน่วยรับการคุ ้มกันในอันที่จะตอบโต้การคุกคามของข้าศึกจ. กองกระหนาบสําหรับหน่วยที ่ปฏิบัติการตั้งรับ กองกระหนาบสําหรับหน่วยปฏิบัติการตั้งรับจะเข้ายึดครองที่มั่นสกัดกั้นต่าง ๆ ที่อยู ่ทางปี ก ที่มั่นสกัดกั้นเหล่านี ้ จะต้องตั้งอยู ่ในภูมิประเทศสําคัญ ๆ ที่สามารถข่มเส้นทางที่ข้าศึกน่าจะเคลื่อนที่ประชิดเข้ามาใน เขตตามปกติ กองกระหนาบจะได้รับมอบเขตรับผิดชอบตามแนวลักษณะภูมิประเทศที่จําเพาะเจาะจงหนึ่ง ๆ เพื่อที่จะให้สามารถบรรลุภารกิจกองกระหนาบ จะใช้การรบด้วยวิธีรุกหรือการรบด้วยวิธีรับก็ได้ ถ้าถูกบังคับให้จําต้องผละจากที่มั่นของตน กองกระหนาบ ก็ปฏิบัติการรบหน่วงเวลาเพื่อให้เวลาและพื ้นที่แก่ผู ้บังคับหน่วยที่ปฏิบัติการตั้งรับอยู ่นั้น ในอันที่จะตอบโต้การคุกคามของข้าศึก


- ๘๕ -วิชา ทหารม้าฉ. กองกระหนาบสําหรับหน่วยที ่ปฏิบัติการร่นถอย การปฏิบัติการต่าง ๆ ของกองกระหนาบสําหรับหน่วยที่ปฏิบัติการร่นถอย มีลักษณะคล้ายกันกับการปฏิบัติของกองกระหนาบสําหรั บการปฏิบัติการเคลื่อนที่รุกไปข้างหน้าข้อแตกต่างในประการสําคัญก็คือพื ้นที่รับผิดชอบสําหรับกองกระหนาบนั้น ผู้บังคับหน่วย รับการคุ ้มกันเป็นผู ้กําหนดให้กองระวังหลังก. กองระวังหลัง คือหน่วยระวังป้ องกันที่ปฏิบัติการทางส่วนหลังของหน่วยที่กําลังปฏิบัติการรุกไปข้างหน้าหรือหน่วยที่กําลังปฏิบัติการถอนตัว ทั ้งนี เพื่อป้ ้ องกันหน่วยนั้น เพื่อป้ องกันหน่วยนั้นให้พ้นจาการเข้าตีด้วยวิธีจู ่โจมหรือการรบกวนของข้าศึกด้วยการเข้าพิชิต, ทําลายล้างหรือหน่วงเหนี่ยวข้าศึกไว้ภายในขีดความสามารถของตนเอง กองระวังหลังเคลื่อนที่ตามหน่วยรับกา รคุ ้มกันในระยะต่อที่ผู ้บังคับหน่วยรับการคุ ้มกันกําหนดให้ และตามธรรมดาก็จะเคลื่อนที่ไปบนเส้นทางเดียวกันไม่ว่าจะเส้นทางเดียวหรือหลายเส้นทางกองระวังหลังต้องเตรียมการที่จะขัดขวางและเข้ารบปะทะหน่วยข้าศึกซึ่งพยายามที่จะเข้าตีต่อส่วนหลังของหน่วยรับการคุ ้มกัน ถ้าถูกเข้าตีด้วยหน่วยที่มีกําลังเหนือกว่ากองระวังหลังก็จะปฏิบัติการรบหน่วงเวลากองระวังหลังจะต้องไม่ยอมให้ข้าศึกอ้อมผ่านหรือขับดันให้ร่นเข้าหาหน่วยรับการคุ ้มกัน จนกว่าหน่วยรับการคุ ้มกันนั ้นสามารถตอบโต้การคุกคามได้ข. ในขณะที่วางแผนการปฏิบัติการของกองกระหนาบอยู ่นั้น ผู ้บังคับกองระวังป้ องกันหลังจะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี ้๑) ภูมิประเทศ ผู ้บังคับกองระวังหลังจะต้องวิเคราะห์ภูมิประเทศในพื ้นที่ปฏิบัติการ และจัดการเลือกที่มั่นรบหน่วงเวลาต่าง ๆ ขึ ้นตามเส้นทางรุก หรือเส้นทางถอนตัวตามที่กําหนดไว้ และเมื่อพิจารณาในแง่ของภูมิประเทศแล้ว การให้กองระวังหลังถอนตัวตามเส้นทางต่าง ๆ ที่หน่วยรับการคุ ้มกันใช้อยู่นับว่าเป็ นวิธีการที่พึงประสงค์ยิ่ง๒) การจัดกําลังกองระวังหลังผู้บังคับกองระวังหลังจะต้องพิจารณาถึงขนาดของหน่วยที่จะใช้ณ ที่มั่นรบหน่วงเวลาขั้นแรก ถ้าสถานการณ์อํานวย ผู ้บังคับบัญชาก็อาจกําหนดตําแหน่งที่มั่นให้แก่หน่วยรองต่าง ๆ ในทางลึก และกําหนดเส้นทางถอนตัวหนึ่ง หรือหลายเส้นทางให้ รวมทั้งต้องกําหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อประกันให้มีการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพมาตรการต่าง ๆ เหล่านี ้อาจรวมถึงแนวรบหน่วงเวลาที่มั่นรบหน่วงเวลาแนวขั้น จุดตรวจสอบ ตําบลประสานการปฏิบัติ จุดประสานเขต และเส้นทางถอนตัว๓) การระวังป้ องกัน ผู้บังคับกองระวังหลัง จะต้องวางแผนสําหรับการระวังป้ องกันทางปี กรวมทั ้งแผนการลาดตระเวนออกไปข้างหน้าและทางปี กทั ้งสองข้างของที่มั่นรบหน่วงเวลาต่าง ๆ ที่เข้ายึดครอง ในการนี ้จะต้องไม่ยอมให้ข้าศึกอ้อมผ่านกองระวังหลังแล้วเข้าโจมตีต่อท้ายขบวนของหน่วยรับการคุ้มครองได้โดยอาจมอบให้หน่วยรองหน่วยหนึ่ง หรือมากกว่าขึ ้นไป ลาดตระเวนพื ้นที่ไปข้างหน้าหรือทางปี กของที่มั่น อย่างไรก็ตามตามปกตินั้น กองระวังป้ องกันหลังจะได้รับมอบภารกิจเ พิ่มเติมด้วยการให้คุ ้มกัน


้- ๘๖ -วิชา ทหารม้าทางปี กทั ้งสองข้างของที่มั่นรบหน่วงเวลาและขยายการลาดตระเวนออกไปข้างหน้าที่มั่นรบหน่วงเวลาด้วยอากาศยานและทหารม้าอากาศจะช่วยให้การควบคุม และการติดต่อสื่อสารกระทําดีขึ ้น รวมทั้งจะช่วยขยายการตรวจการณ์ออกไปข้างหน้า และทางปี กด้วยอาจใช้เรดา ห์ทางพื ้นดินในอัตราของหน่วยเพื่อเพิ่มเติมการระวังป้ องกันไปทางปี ก และข้างหน้าได้กับยังอาจใช้ส่วนทหารม้าอากาศเพื่อดํารงการติดต่อไว้กับหน่วยรับการคุ ้มกัน และเพื่อป้ องกันมิให้ข้าศึกอ้อมผ่านกองระวังหลัง แล้วเข้าตีต่อท้ายขบวนหน่วยรับการคุ้มกันได้ ส่วนทหารม้าอากาศอาจทําฉากกําบังทางอากาศออกไปข้างหน้า และทางปี กทั้งสองข้างของกองระวังหลัง เพื่อแจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึก๔) ส่วนสนับสนุน ผู ้บังคับกองระวังหลังประสานงานกับผู ้แทนหน่วยทหารปื นใหญ่แล้วจัดทําแผนการยิงสนับสนุนการปฏิบัติการขึ ้น แผนการยิงสนับสนุนนี ้รวมถึง การยิง ตามแผนของปื นใหญ่(ทั้งนิวเคลียร์และมิใช่นิวเคลียร์) กําลังทหารอากาศยุทธวิธี รวมทั้งภารกิจของอาวุธในอัตราด้วย บ่อยครั้งที่อาจจัดทหารช่างขึ ้นสมทบหรือให้การสนับสนุนแก่กองระวังหลัง ผู ้บังคับกองระวังหลังจะต้องร่วมกับผูบังคับหน่วยทหารช่าง วางแผนสร้างเครื่องกีดขวางต่าง ๆ เพื่อหน่วงเหนี่ยวข้าศึก๕) การประสานงานระหว่างหน่วยรับการคุ ้มกัน จะต้องได้มีการจัดเจ้าหน้าที่ติดต่อไว้กับหน่วยรับการคุ ้มกันตลอดเวลาเพื่อกําหนดการถอนตัวของกองระวังหลัง ผู ้บังคับกองระวังหลังจะต้องทําความเข้าใจในแผนของหน่วยรับการคุ ้มกันอย่า งละเอียด การติดต่อสื่อสารระหว่างผู ้บังคับหน่วยรับการคุ ้มกันและผู ้บังคับกองระวังหลังนี ้ จะต้องต่อเนื่องกันตลอดเวลาจนผู ้บังคับหน่วยทั้งสองสามารถทราบสถานการณ์ใด ๆ อันมีผลกระทบกระเทือนต่อการถอนตัวของกองระวังหลังได้ค. กองระวังหลังเคลื่อนที่ติดตามหน่วยรับการคุ ้ มกัน แล้วเข้ายึดที่มั่นรบหน่วงเวลาตามลําดับขั ้นตามห้วงเวลา หรือระยะทางที่กําหนดไว้ เมื่อปะทะกับข้าศึกแล้วหรือเมื่อใกล้จะปะทะ กองระวังหลังจะเข้ายึดที่มั่นรบหน่วงเวลาแต่ละที่มั่นจนกว่าหน่วยรับการคุ ้มกันจะผ่านพ้นที่มั่นรบหน่วงเวลาถัดไปได้แต่ถ้าหน่วยรับการคุ้มกันเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและไม่มีการปะทะกับข้าศึก กองระวังหลังก็อาจเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วที่กําหนดให้อยู ่ข้างหลังของหน่วยรับการคุ ้มกัน และควบคุมความเร็วของตนไว้เพื่อรักษาระยะต่อที่ได้รับมอบง. กองระวังหลังเข้ารบปะทะกับหน่วยข้าศึกที่เข้าคุกคามต่อส่วนหลังของหน่วยรับการคุ ้มกันกองระวังหลังจะสู ้รบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้าศึกจะไม่สามารถขัดขวางการเคลื่อนที่ของหน่วยรับการคุ ้มกันได้ ในการนี ้กองระวังหลังจะรบหน่วงเวลาเพื่อแลกพื ้นที่กับเวลาไว้จนกว่าหน่วยรับการคุ ้มกันจะเคลื่อนที่ออกไปพ้นระยะปฏิบัติการที่หวังผลได้ของข้าศึก เมื่อเกาะข้าศึกไว้ได้ หรือจนกว่าข้าศึกส่วนนั้นจะเคลื่อนที่ออกพ้นไปจากพื ้นที่รับผิดชอบของตน


- ๘๗ -วิชา ทหารม้าหน่วยทําฉากกําบังก. หน่วยทําฉากกําบัง ในการแจ้งเตือนแต่เนิ่นด้วยการเฝ้ าตรวจเหนือกว้างด้านหน้ามาก ๆ โดยเฝ้ าตรวจไปข้างหน้า ทางปี กหรือทางข้างหลังของหน่วยที่กําลังเคลื่อนที่หรือหยุดอยู ่กับที่ภารกิจต่าง ๆ ของหน่วยทําฉากกําบัง คือ๑) ให้แจ้งการเตือนเกี่ยวกับการเข้ามาของข้าศึกแต่เนิ่น๒) เข้าเกาะข้าศึกด้วยสายตาและดํารงการเกาะนั้นไว้ตลอดเวลา แล้วรายงานการเคลื่อนไหวของข้าศึก๓) ทําลายล้างหรือผลักดันหมู ่ตรวจของข้าศึก๔) ขัดขวางการรุกเข้ามาของข้าศึกด้วยการยิงระยะไกลของอาวุธในอัตราและที่มาให้การสนับสนุนข. ภารกิจทําฉากกําบังนี ้ จะมอบให้ก็ต่อเมื่อจําต้องมีการปฏิบัติการเป็นหน่วยออมกําลังเพื่อเฝ้ าตรวจเหนือพื ้นที่ที่มีการขนาดกว้างใหญ่และมีหน่วยทหารสําหรับปฏิบัติภารกิจอยู ่เพียงเล็ กน้อย ภารกิจนี ้จะประสบความสําเร็จได้ก็ด้วยการจัดกําลังเข้าประจําที่ตรวจการณ์ต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมเส้นทางที่ข้าศึกน่าจะเคลื่อนที่ประชิดเข้ามาในเขตของหมู ่ตรวจเดินเท้าหมู ่ตรวจยานยนต์และหมู ่ตรวจทางอากาศ จะต้องปฏิบัติการลาดตระเวนพื ้นที่ที่ตรวจการณ์ทั้งหลายไม่อาจจะตรวจการณ์เห็นได้ค. ผู ้บังคับหน่วยรับการทําฉากกําบัง เป็นผู ้กําหนดแนวเขตโดยทั่วไปของฉากกําบัง ,หน่วยที่จะได้รับการทําฉากกําบังให้ และความรับผิดชอบต่อพื ้นที่ระหว่างหน่วยทําฉากกําบังกับหน่วยรับการทําฉากกําบัง ในการพิจารณากําหนดหน่วยที่จะรับการทําฉากกําบังนี ้ ผู้บังคับหน่วยจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยMETT-T รวมทั้งขีดความสามารถของหน่วยทําฉากกําบังในอันที่จะ๑) สามารถดํารงการติดต่อกับหน่วยรับการทําฉากกําบังไว้ได้๒) สามารถไปถึงและบรรจุกําลังให้แก่แนวที่มั่นทําฉากกําบัง (แนวที่ตรวจการณ์) ได้ง. ในการวางแผนการปฏิบัติก ารเป็นหน่วยทํา ฉากกําบังนั ้นผู ้บังคับหน่วยทําฉาก กําบังจะเป็ นผู้เลือกที่ตั้งโดยทั่วไปสําหรับการจัดตั้งที่ตรวจการณ์ต่าง ๆ ขึ ้นชุดหนึ่ง และเป็นผู ้กําหนดตําบลประสานการปฏิบัติระหว่างที่ตรวจการณ์ต่าง ๆ รวมทั ้งตําบลประสานการปฏิบัติต่าง ๆ ข้างหน้าแนวที่ตรวจการณ์ทั ้งหลายด้วย เมื่อเลือกที่ตั้งของที่ตรวจการณ์ต่าง ๆ แล้ว ก็จะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี ้๑) ย่านการตรวจการณ์ที่ทาบทับกันกับที่ตรวจการณ์แห่งอื่น ๆ๒) มีการซ่อนพรางต่อที่ตรวจการณ์ต่าง ๆ และต่อเส้นทางที่เข้าไปยังที่ตรวจการณ์นั ้น ๆ๓) ง่ายต่อการจัดตั ้ง๔) บํารุงรักษาการติดต่อสื่อสารได้๕) หลีกเลี่ยงลักษณะภูมิประเทศที่สังเกตเห็นเด่นชัด


- ๘๘ -วิชา ทหารม้าจ. ที่ตรวจการณ์ต่าง ๆ จะต้องอยู่ ณ ที่ที่มีการตรวจการณ์ และการซ่อนพรางดีที่สุดและต้องจัดให้มีการตรวจหมู ่ตรวจบนยานพาหนะหรือหมู ่ตรวจลงรบเดินดินขึ ้นในระหว่างตําบลประสานการปฏิบัติทั ้งหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับความจําเป็ นที่จะต้องจัดการป้ องกันขึ ้น เพื่อให้ปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยทําฉากกําบังจะต้องมีกําลังพลมากพอสําหรับบรรจุเข้าประจําที่ตรวจการณ์ต่าง ๆ ในระยะเวลาต่อเนื่องกันนาน ๆ รวมทั้งจะต้อง มีกําลังพลมากพอที่จะจัดเป็นหมู ่ตรวจก ารณ์ และตําบลประสานการปฏิบัติต่าง ๆ ด้วย ควรจะได้มีการใช้เรดาห์ภาคพื ้นดิน เพื่อให้สามารถครอบคลุมเส้นทางที่ข้าศึกน่าจะเคลื่อนที่เข้าประชิดสายสําคัญ ๆ ไว้ด้วยและอาจใช้อากาศยานและส่วนทหารม้าอากาศใช้ขยายขอบเขตการลาดตระเวนให้มากขึ ้น และเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพ ของฉากระวังป้ องกันนี ้ให้เด่นชัดขึ ้นด้วยสิ่งที่พึงประสงค์ยิ่งก็คือที่ตรวจการณ์แต่ละแห่งนั้น ควรจะได้มีอาวุธอัตโนมัติประจําอยู ่แห่งละหนึ่งกระบอกในทันทีที่สามารถเกาะข้าศึกด้วยสายตาได้ก็จะต้องดํารงการเกาะนั้นไว้ตลอดเวลา ที่ตรวจการณ์ต่าง ๆจะต้องรายงานอย่างถูกต้องและทันต่อเวลาและอาจอํานวยการยิงให้ส่วนที่มาให้การสนับสนุนเพื่อรบกวนการรุกเข้าของข้าศึกด้วย ถ้าได้รับอนุมัติให้ถอนตัวได้หน่วยทําฉากกําบังก็จะเคลื่อนที่เป็นห้วง ๆ และยังดํารงการเกาะข้าศึกด้วยสายตาไว้พร้อมกับยังคงปรับการยิงให้กับการยิงสนับสนุนต่อไปสภาวะแวดล้อ มบางประการอาจปล่อยให้หมู ่ตรวจขนาดย่อม ๆ ของข้าศึกแทรกซึมผ่านฉากการระวังป้ องกันนี ้เข้ามาเพื่อให้สามารถตรวจการณ์ต่อกําลังส่วนใหญ่ของข้าศึกได้แต่จะต้องระมัดระวังให้มั่นใจได้ว่าหน่วยที่แทรกซึมเข้ามานี ้จะไม่สามารถเข้าเชื่อมต่อกับหน่วยแทรกซึมหน่วยอื่น ๆ และเข้าคุกคามต่อหน่วยทําฉากกําบังได้ฉ. เมื่อจะต้องทําฉากกําบังให้แก่ปี กของหน่วยที่กําลังเคลื่อนที่ ภารกิจนี ้ก็จะปฏิบัติในลักษณะเดียวกับการเป็นกองกระหนาบเคลื่อนที่เร็ว เว้นแต่๑) ตามปกติแล้ว หน่วยทําฉากกําบังไม่ต้องรับผิดชอบพื ้นที่ระหว่างหน่วยรับการทําฉากกําบังเช่นอย่างที่กองกระหนาบจะต้องรับผิดชอบ๒) หน่วยทําฉากกําบังอาจจะไม่อยู ่ภายในระยะการสนับสนุน จากหน่วยรับการทําฉากกําบังเสมอไปก็ได้๓) หน่วยทําฉากกําบังเข้ายึดครองที่ตรวจการณ์ต่าง ๆ ตามลําดับขั ้นทางปี กแทนที่จะเข้ายึดครองที่มั่นสกัดกั้น


- ๘๙ -วิชา ทหารม้าการระวังป้ องกันพื้นที ่ส่วนหลังก. กล่าวโดยทั่วไป หน่วยระวังป้ องกันพื ้นที่ส่วนหลัง ให้การคุ ้มกันแก่หน่วยต่าง ๆ ในพื ้นที่ส่วนหลังที่ตั้งพื ้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งเส้นทางคมนาคม (เส้นทางทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นเส้นทางบก ,เส้นทางทางทะเล และเส้นทางทางอากาศ ซึ่งใช้ในการเคลื่อนย้ายและการเพิ่มเติมกําลั ง) ให้พ้นจากการโจมตีของหน่วยส่งทางอากาศ, หน่วยส่งลงทางอากาศข้าศึก กองโจรและหน่วยแทรกซึมต่าง ๆ ผู ้บังคับหน่วยระวังป้ องกันพื ้นที่ส่วนหลังจะต้องประสานงานกับหน่วยรบอื่น ๆ ในพื ้นที่ และจะต้องหลีกเลี่ยงการปฏิบัติการเป็นแบบเดียวกันของหมู่ตรวจการณ์ และฟังการณ์ โดยจะต้องคํานึงถึงเวลา พื ้นที่ และเส้นทางการลาดตระเวนของหมู ่ตรวจข. การระวังป้ องกันเส้นทางคมนาคม เทคนิคต่าง ๆ ในการระวังเหตุให้แก่เส้นทางคมนาคมนั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามภูมิประเทศ ข่ายถนน ความยาวของเส้นทางคมนาคมรวมทั้งการปฏิบัติของข้าศึกที่คาดว่าจะเกิดขึ ้นได้ เทคนิคต่าง ๆ ที่จะให้การระวังป้ องกันแก่เส้นทางคมนาคม๑) ถ้าเส้นทางคมนาคมที่จะต้องให้การระวังป้ องกันมีระยะทางสั้น ๆ ก็อาจมอบพื ้นที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยรองต่าง ๆ ของหน่วยระวังป้ องกันพื ้นที่ส่วนหลังได้ หน่วยระวังป้ องกันขนาดย่อม ๆ นี ้จะต้องจัดวางไว้ ณ ลักษณะภูมิประเทศที่สูงข่มเพื่อให้สามารถเฝ้ าตรวจเส้นทางที่ข้าศึกน่าจะเคลื่อนที่เข้าประชิดได้ตามเส้นทางคมนาคมนั้น ผู ้บังคับหน่วยระวังป้ องกันพื ้นที่ส่วนหลังจะต้องเก็บกองหนุนเคลื่อนที่เร็วไว้ในย่านกลางเพื่อตอบโต้การคุกคามของข้าศึกที่เกิดขึ ้น๒) ถ้าเส้นทางคมนาค มนั้นมีระยะทางยาว และจะต้องให้การระวังเหตุในระยะไกลมาก ก็จะต้องจัดที่ตรวจการณ์ต่าง ๆ ขึ ้นชุดหนึ่งเพื่อให้ครอบคลุมได้ทั้งสองข้างทางที่ตรวจการณ์เหล่านี ้มีหน้าที่แจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึก และอาจใช้อากาศยานหรือส่วนทหารม้าอากาศเพื่อแจ้งเตือนแต่เนิ่น ส่วนที่เหลือของหน่วยระวังป้ องกันพื ้นที่ส่วนหลัง ก็จะต้องใช้ให้ลาดตระเวนตรวจเส้นทางคมนาคมนั้น และติดตามคุ ้มกันยานพาหนะต่าง ๆ ที่แล่นผ่านพื ้นที่หรืออาจให้เข้าที่มั่นไว้ในฐานะเป็นกองหนุนขนาดย่อม ณตําบล ต่าง ๆ ตามเส้นทางคมนาคมนั้นก็ได้ ผู ้บังคับหน่วยระวังป้ องกันพื ้ นที่ส่วนหลังจะต้องควบคุมกลุ่มกองหนุนต่าง ๆ นี ้ไว้ให้ตนสามารถสั่งใช้กองหนุนเหล่านี ้ได้ทั้งทีละหน่วยหรือเป็นกลุ ่มก้อนจะต้องได้มีการเตรียมแผนที่จะส่งกองหนุน เข้าปฏิบัติการในพื ้นที่ที่น่าจะมีการปฏิบัติการของข้าศึก และอาจใช้อากาศยานเพื่อเพิ่มพูนความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ของส่วนลงรบเดินดินของกองหนุนด้วยก็ได้ค. การป้ องกันที่ตั้งต่าง ๆ ที่ตั้งหนึ่ง ๆ ในพื ้นที่ส่วนหลัง อาจมีความสําคัญมากพอที่การให้การคุ ้มกันอย่างสมเหตุสมผลอยู ่เกินขีดความสามารถของผู ้บังคับหน่วยในพื ้นที่ที่เป็นผู ้ใช้ที่ตั้งนั้นจะกระทําได้ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี ้จึงควรจะจัดกําลังเพิ่มเติมมาให้ขึ ้นสมทบกับผู ้บังคับหน่วยในพื ้นที่ หรืออาจเลือกให้ผู ้บังคับหน่วยระวังป้ องกันพื ้นที่ส่วนหลังรับผิดชอบในการจัดการป้ องกันที่ตั้งนั้น ๆ แต่ผู ้เดียวก็ได้ ในกรณีนี ้ก็ควรที่จะได้ปลดเปลื ้องความรับผิดชอบออกเสียจากผู ้บังคับที่ตั้งนั้น ๆง. การระวังป้ องกันต่อการโจมตีของหน่วยส่งทางอากาศ, หน่วยปฏิบัติการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศและหน่วยกองโจร


- ๙๐ -วิชา ทหารม้า๑) ในขณะที่ให้การระวังป้ องกันแก่พื ้นที่ส่วนหลังต่อหน่วยส่งทางอากาศ หน่วยเคลื่อนที่ทางอากาศและหน่วยกองโจรของข้าศึก ผู ้บังคับหน่ วยระวังป้ องกันพื ้นที่ส่วนหลังจะต้องจัดรูปขบวนรบหน่วยต่าง ๆ ของตนให้สามารถเข้าตอบโต้การคุกคามข้าศึกได้ดีที่สุด ผู ้บังคับหน่วยจะต้องลาดตระเวนพื ้นที่ และเลือกพื ้นที่ที่น่าจะเป็นเขตส่งลงของหน่วยส่งทางอากาศ พื ้นที่ร่อนลงของหน่วยเคลื่อนที่ทางอากาศ รวมทั ้งที่รวมพลที่น่าจะเป็นไปได้ของหน่วยกองโจร ผู ้บังคับหน่วยระวังป้ องกันจะต้องจัดตั้งที่ตรวจการณ์ต่าง ๆเพื่อจับตาดูพื ้นที่ที่น่าจะเป็นเขตส่งลง พื ้นที่ร่อนลง และพื ้นที่ต่าง ๆ เหล่านี ้จะต้องจัดการลาดตระเวน และเมื่อสามารถกระทําได้ ก็ให้เก็บกองหนุนขนาดย่อมไว้ในย่านกลาง และเตรียมการที่จะเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของพื ้นที่นั้นได้เมื่อขนาดของพื ้นที่และการขาดแคลนหน่วยเปิ ดโอกาสที่จะจัดให้มีกองหนุนไว้ในกํามือได้ พื ้นที่ที่ถูกคุกคามนั ก็จะต้องได้รับการเพิ่มเติมกําลังโดยหน่วยระวังป้ ้นองกันต่าง ๆที่ตั้งอยู ่ในพื ้นที่ข้างเคียง และยังไม่เข้าติดพันกับข้าศึกอย่างจริงจัง๒) หลักสําคัญที่จะประสบความสําเร็จ ในการปฏิบัติการต่อหน่วยส่งทางอากาศ หรือหน่วยส่งลงทางอากาศนี ้ก็คือ การจัดขบวนรบอย่างรวดเร็ว และการทุ ่มโถมการยิงอย่างรุนแรงที่สุดต่อหน่วยส่งทางอากาศหรือหน่วยเคลื่อนที่ทางอากาศเสียตั้งแต่ในตอนแรก ๆ ของการลงสู่พื ้นดิน ด้วยเหตุนี เองการเคลื่อนที่้เข้าตีหน่วยข้าศึกมีความสําคัญอย่างใหญ่หลวง และอาจจําต้องส่งหน่วยออกปฏิบัติการกระจัดกระจายเป็นหน่วยเล็กหน่วยน้อยด้วย๓) การปฏิบัติการต่อหน่วยกองโจรนั้น หมายรวมถึงการปฏิบัติการต่ าง ๆ ในอันที่จะป้ องกันหรือลดประสิทธิภาพของหน่วยกองโจรลงให้เหลือน้อยที่สุดตลอดจนการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก เพื่อเข้าทําลายล้างกองโจรนั้น ๆ โดยจะต้องตรวจค้นให้พบกองโจรนั้น ๆ โดยจะต้องตรวจค้นให้พบกองโจรนั้น ๆเสียแต่เนิ่น กดให้อยู ่ภายใต้อํานาจการยิง แล้วเข้าตีอย่างรวดเร็วเพื่อทําลายล้างเสียให้จงได้จ. หน่วยการบินทหารบก และหน่วยทหารม้าอากาศ หน่วยทหารเหล่านี ้อาจใช้เพื่อปฏิบัติการลาดตระเวนทางอากาศให้แก่พื ้นที่ส่วนหลัง และลาดตระเวนพื ้นที่ที่น่าจะเป็นพื ้นที่ลงสู ่ดินของหน่วยปฏิบัติการยุทธส่งทางอากาศและหน่วยปฏิบัติกา รยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศขีดความสามารถของหน่วยทหารม้าอากาศในอันที่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วสูง ยิ่งโดยไม่ต้องคํานึงถึงเครื่องกีดขวางต่าง ๆ ในภูมิประเทศนั้น ควรจะได้นํามาใช้ประโยชน์โดยไม่ต้องคํานึงถึงเครื่องกีดขวางต่าง ๆ ในภูมิประเทศนั้น ควรจะได้นํามาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดเพื่อค้นหาข้าศึก ทําลายล้างเสียภายในขีดความสามารถ และดํารงการเกาะหน่วยข้าศึกไว้----------------------------------


- ๙๑ -วิชา ทหารม้าสารบัญหน้าบทที่ ๑ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ๑ตอนที่ ๑ แนวความคิดและภารกิจขั ้นพื ้นฐาน ๑ตอนที่ ๒ การเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธีและมาตรการควบคุม ๔ตอนที่ ๓ การเคลื่อนที่เข้าปะทะ ๑๔ตอนที่ ๔ การเข้าตี ๑๗ตอนที่ ๕ รูปแบบและเทคนิคการใช้รถถัง และ ม. (ก) ในการเข้าตี ๒๖ตอนที่ ๖ ข้อพิจารณาในการปฏิบัติการขณะทัศนวิสัยจํากัด ๓๐บทที่ ๒ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ๓๔ตอนที่ ๑ โครงร่างของการตั ้งรับ ๓๔ตอนที่ ๒ หน่วยต่าง ๆ ในการตั ้งรับ ๓๕ตอนที่ ๓ การตั ้งรับในที่มั่นรบ ๔๑ตอนที่ ๔ การตั ้งรับในเขต ๔๔ตอนที่ ๕ การตั ้งรับในจุดต้านทานแข็งแรง ๔๖ตอนที่ ๖ กองหนุน ๔๘ตอนที่ ๗ ภารกิจการระวังป้ องกัน ๕๑ตอนที่ ๘ การตั ้งรับในขณะทัศนะวิสัยจํากัด ๕๔บทที่ ๓ การปฏิบัติการรบหน่วงเวลา ๕๖ตอนที่ ๑ การผ่านแนว ๕๖ตอนที่ ๒ การรบหน่วงเวลา ๕๘ตอนที่ ๓ การถอนตัว ๖๔บทที่ ๔ ทหารม้าในภารกิจลาดตระเวนและระวังป้ องกัน ๖๖ตอนที่ ๑ หลักการลาดตระเวน ๖๖ตอนที่ ๒ หลักการระวังป้ องกัน ๗๔หลักฐาน- FMFM 9-1 (1981) TANK EMPLOYMENT COUNTER- MECHANIZED OPERATIONS--------------------------------เรียบเรียงใหม่ เมื่อ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒โดย แผนกวิชาทั่วไป กศษ.รร.นย.ศฝ.นย.พิมพ์โดย พ.จ.อ.สุขสันติ์ ศิรินาโพธิ์หากพบข้อความผิดหรือสะกดผิด ขอความกรุณาแจ้ง แผนกเตรียมการ กศษ .รร.นย.ศฝ.นย. โทร. ๖๑๕๒๖ ขอขอบคุณ


- ๙๒ -วิชา ทหารม้าวิชา ทหารม้าหลักสูตรชั ้นนายเรือ นย.และหลักสูตรชั ้นนายเรืออาวุโส นย.โรงเรียนทหารนาวิกโยธินศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินค่ายกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ ์ปรับปรุงเมื ่อ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!