13.07.2015 Views

อทร.4004

อทร.4004

อทร.4004

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

อทร. ๔๐๐๔คูมือการตรวจรับพัสดุพ.ศ. ๒๕๔๑


จัดทําเมื่อ มี.ค.๔๑อทร. ๔๐๐๔คูมือการตรวจรับพัสดุพ.ศ. ๒๕๔๑


เอกสารอางอิงของกองทัพเรือ หมายเลข ๔๐๐๔คูมือการตรวจรับพัสดุจัดทําโดยคณะทํางานพิจารณาและจัดทํา อทร.ดานการสงกําลังบํารุงมีนาคม ๒๕๔๑พิมพครั้งที่ ๑มีนาคม ๒๕๔๑


อนุมัติบัตรเรื่อง อนุมัติใชเอกสารอางอิงของ ทร.หมายเลข ๔๐๐๔ เรื่อง "คูมือการตรวจรับพัสดุ"(อทร.๔๐๐๔)---------------------------ตามคําสั่ง กองทัพเรือ (เฉพาะ)ที่ ๑๑/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๒๒ ม.ค.๔๑ เรื่องแตงตั้งคณะกรรมการและคณะทํางานพิจารณาและจัดทําเอกสารอางอิงของ ทร. ใหประธานกรรมการพิจารณาและจัดทําเอกสารอางอิงของ ทร. มีอํานาจในการอนุมัติใชเอกสารอางอิงของ ทร. (อทร.) นั้น เพื่อใหการดําเนินการเปนไปดวยความเรียบรอย จึงใหใชเอกสารอางอิงของ ทร.หมายเลข ๔๐๐๔ เรื่อง "คูมือการตรวจรับพัสดุ" (อทร.๔๐๐๔)เลมนี้เปนเอกสารประกอบการปฏิบัติราชการใน ทร. โดยให กบ.ทร.เปนหนวยควบคุมเอกสาร ตั้งแตบัดนี้เปนตนไปประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑รับคําสั่ง ผบ.ทร.(ลงชื่อ) พล.ร.ท. ประเสริฐ บุญทรง(ประเสริฐ บุญทรง)ประธานกรรมการพิจารณาและจัดทํา อทร.และรอง เสธ.ทร.


อทร.๔๐๐๔บันทึกการเปลี่ยนแปลงแกไขลําดับที่ รายการแกไข วัน/เดือน/ปที่ทําการแกไขผูแกไข(ยศ – นาม – ตําแหนง)หมายเหตุ


แนวทางและหลักเกณฑในการตรวจรับพัสดุเพื่อใหการตรวจรับพัสดุประเภท สป.๕ และพัสดุทั่วไป ซึ่งมีการซื้อในปริมาณมากเปนไปดวยความเรียบรอย กบ.ทร.จึงไดรวบรวมแนวทางและหลักการเพื่อใหหนวยที่มีหนาที่ตรวจรับพัสดุใช ตามเอกสารที่แนบดังนี้- แนวทางการตรวจรับพัสดุประเภท สป.๕ และพัสดุทั่วไป ซึ่งมีการซื้อในปริมาณมากแบบสุมตัวอยางที่ไมไดกําหนดมาตรฐานสินคาอุตสาหกรรมไว- การตรวจรับพัสดุที่เปนของใหมและผลิตในตางประเทศ


- 1 -แนวทางการตรวจรับพัสดุประเภท สป.๕ และพัสดุทั่วไป ซึ่งมีการซื้อในปริมาณมาก แบบสุมตัวอยางที่ไมไดกําหนดมาตรฐานสินคาอุตสาหกรรมไว๑. การตรวจรับพัสดุโดยวิธีเลือกสุมตัวอยาง หมายถึง การสุมจํานวนพัสดุออกมาจากพัสดุที่ตองการซื้อทั้งหมดในรุน (LOT) เพื่อเอามาทดสอบคุณสมบัติและใชตัวอยางที่สุมมานั้นเปนตัวแทนของการยอมรับพัสดุทั้งรุน โดยที่จํานวนที่สุมมานั้นจะตองไมมากหรือนอยเกินไปการสุมตัวอยางเพื่อการยอมรับนี้ จะเปนขบวนการในการตัดสินใจในดานสถิติแกหนวยในเรื่องของคุณภาพพัสดุที่จัดซื้อในรุน (LOT) นั้นวามีลักษณะเปนมาตรฐาน หรือขอกําหนดทางเทคนิคตางๆ (SPECIFICATION) ที่สามารถยอมรับไว ใชในราชการหรือไม๒. ขั้นตอนการสุมตัวอยางพัสดุจากตารางสําเร็จรูป MIL – STD (ตารางที่ ๑ – ๗) มีคาตัวแปรตางๆ ดังนี้- แบบการสุมตัวอยาง (๒ แบบ)- ประเภทการตรวจสอบ (๓ ประเภท)- ระดับในการตรวจสอบ (INSPECTION LEVEL)- ระดับคุณภาพในการยอมรับ(ACCEPTANCE QUALITY LEVEL ; AQL)- ปริมาณพัสดุในแตละรุน (LOT)๒.๑ แบบของการสุมตัวอยางพัสดุแบงไว ๒ แบบ ไดแก๒.๑.๑ การสุมตัวอยางเดี่ยว (SINGLE SAMPLING PLAN) หมายถึงการหยิบตัวอยางเพียงครั้งเดียวก็สามารถตัดสินใจไดวายอมรับพัสดุนั้นหรือไม๒.๑.๒ การสุมตัวอยางคู (DOUBLE SAMPLING PLAN) หมายถึงการหยิบตัวอยางหนึ่งจากรุน แลวยังไมสามารถตัดสินใจไดวาจะยอมรับพัสดุรุนนั้นหรือไม จะตองมีการหยิบตัวอยางจากรุนเปนตัวอยางที่สองและนําผลจากการตรวจสอบทั้งสองตัวอยางรวมกันจึงตัดสินใจไดวาจะยอมรับพัสดุนั้นหรือไมหมายเหตุ ในการสุมตัวอยางทั้ง ๒ แบบ จะใหผลเหมือนกันคือจะยอมรับหรือไมยอมรับ โดยในการตัดสินใจที่จะเลือกใชแบบใด จะขึ้นอยูกับขอตกลงใจของหนวยเทคนิค หรือคณะกรรมการตรวจรับที่จะพิจารณาจากองคประกอบตางๆ เชน ราคาพัสดุขอมูลดานเทคนิค


- 2 -จํานวนหนวยตรวจสอบ และความสําคัญของพัสดุที่มีผลกระทบกับความพรอมรบของหนวยเปนตน๒.๒ การกําหนดแผนการสุมตัวอยางเพื่อตรวจสอบ (SAMPLING PLAN DESIGN)คือการหาคาจํานวนพัสดุที่จะนํามาตรวจสอบ (n) และจํานวนของเสียที่ยอมใหมีได (c) ไดจากตารางสําเร็จรูปใน MIL – STD 105 D และกําหนดแผนการสุมตัวอยาง 105 D จากการสุมตัวอยางเดี่ยว และการสุมตัวอยางคู ซึ่งทั้ง ๒ แบบ สามารถเลือกตรวจสอบได ๓ ประเภท คือ๒.๒.๑ การตรวจสอบแบบปกติ (NORMAL INSPECTION)๒.๒.๒ การตรวจสอบแบบผอนคลาย (REDUCED INSPECTION)๒.๒.๓ การตรวจสอบแบบเขมงวด (TIGHTENED INSPECTION)หมายเหตุ การตรวจสอบทั้ง ๓ ประเภทนี้ จะไดคาของจํานวนพัสดุที่นํามาตรวจสอบ (n) แตกตางกัน โดยทั่วไปแลวจะใชการตรวจสอบแบบปกติ ซึ่งมีจํานวนตัวอยางปานกลาง แตถาผลที่ไดไมดีก็อาจเปลี่ยนเปนแบบผอนคลาย ซึ่งมีจํานวนตัวอยางต่ํากวาปกติ โดยการกําหนดแบบการตรวจสอบทั้ง ๓ ประเภทนี้ใหเปนไปตามดุลยพินิจและการตัดสินใจของหนวยเทคนิคหรือคณะกรรมการตรวจรับ จะพิจารณาตามแตกรณี๒.๓ ระดับ หรือความรัดกุมในการตรวจสอบ (INSPECTION LEVEL) ซึ่งหนวยจะตองพิจารณาจากประเภทความสําคัญของพัสดุ โดยแยกเปน ๔ ระดับ คือ๒.๓.๑ ระดับ I เปนระดับคอนขางหยอน๒.๓.๒ ระดับ II เปนระดับปานกลางทั่วไป๒.๓.๓ ระดับ III เปนระดับที่เขมงวดกวาระดับ II๒.๓.๔ ระดับพิเศษ (SPECIAL INSPECTION LEVEL) ซึ่งใชในกรณีที่มีการตรวจสอบแบบผอนคลาย ยอมใหมีความเสี่ยงไดมาก และจํานวนตัวอยางนอยการตรวจสอบแบบพิเศษนี้ ยังตองแยกเปน ๔ ระดับ คือ S – 1 S – 2 S – 3 และ S – 4 ตามลําดับความเขมงวดจากนอยไปหามาก๒.๔ ระดับคุณภาพในการยอมรับ (ACCEPTANCE QUALITY LEVEL : AQL) คือเปอรเซ็นตของพัสดุที่มีขอบกพรองสูงสุด (MAXIMUM PERCENT DEFECTIVE) หรือจํานวนพัสดุที่มีขอบกพรองสูงสุดตอ ๑๐๐ ชิ้น (MAXIMUM NUMBER OF DEFECTS PER


- 3 –HUNDRED UNITS)ซึ่งหนวยเทคนิคจะใชเปนเกณฑ ในการตรวจรับพัสดุ โดยจะกําหนดใหมีคาตั้งแต ๐.๑๐ % ถึง ๑๐%๒.๕ ปริมาณพัสดุในแตละรุน (LOT) หมายถึง จํานวนพัสดุที่รวมกันโดยที่พัสดุแตละชิ้นจะตองมีแบบเดียวกันระดับ (GRADE OF CLASS) ขนาดและไดมาจากการจัดหาแบบเดียวกันในรุนนั้น และนํามาสุมตัวอยาง เพื่อตรวจสอบดูคุณสมบัติวาเปนไปตามกฎเกณฑที่หนวยยอมรับหรือไม๓. ตัวอยางการใชตาราง MIL – STD 105 D (ตารางที่ ๑ – ๗)สมมติใหคณะกรรมการตรวจรับ จะทําการสุมตัวอยางลูกปน M.16 จากปริมาณลูกปนที่จะทําการซื้อ จํานวน ๑๐,๐๐๐ นัด โดยคณะกรรมการฯ ไดพิจารณากําหนดคาตัวแปรตางๆ ดังนี้๑. เลือกใชตารางที่ ๒ แผนการสุมตัวอยางเดี่ยวแบบปกติ๒. กําหนดระดับการตรวจสอบ II๓. ใชคา AQL = 2.5จากตารางที่ ๑ ที่คา LOT = ๑๐,๐๐๐ นัด ระดับตรวจสอบ II จะเปดไดรหัสอักษรLจากตารางที่ ๒ ที่คา AQL = 2.5 รหัสอักษร L จะไดคาจํานวนลูกปนที่สุมตัวอยาง (n) = ๒๐๐ นัดจํานวนของเสียที่ยอมใหมีได (Ac) = ๑๐ นัดจํานวนของเสียที่จะปฏิเสธ LOT (Re) = ๑๑ นัดหมายเหตุ การเลือกคาตัวแปรตางๆเพื่อนํามาหาจํานวนตัวอยาง (n) และจํานวนของเสียที่ยอมใหมีไดนั้น หนวยหรือคณะกรรมการตรวจรับ จะเปนผูพิจารณาวางแผนการสุมตัวอยางไดจากองคประกอบตางๆ เชน ผลกระทบในดานราคาพัสดุ ขอมูลดานเทคนิคขอมูลดานสถิติ ความเชื่อถือของบริษัทตัวแทนจําหนายความสําคัญของพัสดุ และวิธีการตรวจสอบในทางเทคนิค เปนตน


ตารางที่ ๑ การกําหนดรหัสอักษรของจํานวนตัวอยางLot or Batch Size2 to 89 to 1516 to 25Special Inspection Levels General Inspection LevelsS – 1 S- 2 S – 3 S – 4 I II IIIA A A A A A BA A A A A B CA A B B B C D26 to 5051 to 9091 to 150ABBBBBBCCCCDCCDDEFEFG151 to 280281 to 500501 to 1,200.00BBCCCCDDEEEFEFGGHJHJK1,201.00 to 3,200.003,201.00 to 10,000.0010,001.00 to 35,000.00CCCDDDEFFGGHHJKKLMLMN35,001.00 to 150,000.00150,001.00 to 500,000.00500,001.00 and overDDDEEEHJJKLMNNPQPQR


แบบฟอรมการทดสอบ สป.๕ เพื่อใชเปนแนวทางในการตรวจรับหัวขอ / รายการทดสอบ๑. การทดสอบขอบกพรองดวยสายตา(VISUAL TEST)- สภาพหีบหอ , การบรรจุ- ความสกปรก , สนิม , สารไหล- รอยแตก- รอยนูน และรอยบุบ- ขนาด ความยาว รูปทรง- อื่นๆ๒. การทดสอบโดยการยิง (FIRING TEST)- การคัดปลอกกระสุน- การทํางานทั่วไปของปน- การระเบิดของหัวลูกปน- การดาน- หัวลูกปนคางในลํากลอง-สภาพลองลูกปน- อื่นๆ๓. การทดสอบการทํางาน(FUNCTION TEST)- ความเร็วตน- การกั้นน้ํารั่วซึม- ทดสอบแรงดึง- ทดสอบน้ําหนัก- การตรวจสอบคันสงกระสุน- กําลังดันในรังเพลิงN / Cจํานวนของเสียที่ ผลการทดสอบตรวจพบ ผาน ไมผานสรุปความเห็นการตรวจรับหมายเหตุ n = จํานวนพัสดุที่จะสุมตัวอยาง c = จํานวนของเสียที่ยอมใหมีไดการเลือกใชหัวขอและรายการทดสอบดังกลาว ใหหนวยเทคนิค หรือคณะกรรมการตรวจรับพิจารณาเพิ่มเติมหรือปรับลดรายการไดตามขั้นตอนของการทดสอบดานเทคนิค และคุณลักษณะเฉพาะของ สป.๕ เชน กระสุนปนเล็ก (ตั้งแต ๒๐ มม. ลงมา) กระสุนปนใหญ และอมภัณฑชนิดอื่น


การตรวจรับพัสดุที่เปนของใหมและผลิตในตางประเทศการตรวจรับพัสดุที่เปนของใหมและผลิตในตางประเทศใหหนวยที่เกี่ยวของดําเนินการตามมาตรการเกี่ยวกับการตรวจรับพัสดุที่เปนของใหมและผลิตในตางประเทศ รายละเอียดตามบันทึก กบ.ทร. รับที่ ๑๐๒๕/๓๕ ลง ๒๑ ก.พ.๓๕ ที่แนบ


บันทึกขอความสวนราชการ กบ.ทร. (กองวิจัยและพัฒนา โทร. ๔๘๘๐)ที่ ตอ กบ.ทร. รับที่ ๑๐๒๕ / ๓๕ วันที่ ๒๑ ก.พ. ๓๕เรื่อง มาตรการเกี่ยวกับการตรวจรับพัสดุที่เปนของใหมและผลิตในตางประเทศเสนอ สบ.ทร.๑. ปล.กห.สั่งการให นขต.ทร., นขต,สป. และรัฐวิสาหกิจยึดถือเปนแนวทางปฏิบัติตามหนังสือสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ.) ๑๐๐๒ /ว ลง ๒๐ ม.ค. ๓๕ ซึ่งสรุปความไดวาตามที่คณะกรรมการวาดวยการพัสดุไดซักซอมวิธีการปฏิบัติในการตรวจรับพัสดุที่ผลิตและนําเขามาจากตางประเทศ ตามหนังสือสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ.) ๑๐๐๒ /ว ลง ๑๗ ก.ย. ๓๓ นั้น คณะรัฐมนตรีไดมีมติ เมื่อ ๒๒ ต.ค. ๓๔ อนุมัติตามความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ฝายสังคมและกฎหมาย ในเรื่องมาตรการตรวจรับพัสดุที่เปนของใหมและผลิตในตางประเทศ และใหคณะกรรมการวาดวยการพัสดุแจงเวียนใหสวนราชการ รัฐวิสาหกิจและหนวยราชการบริหารสวนทองถิ่นปฏิบัติ ดังนั้นจึงขอยกเลิกวิธีการปฏิบัติตามหนังสือสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ.) ๑๐๐๒ /ว ๒๙ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๓ และใหกําหนดวิธีการปฏิบัติในการตรวจรับพัสดุที่ผลิตและนําเขามาจากตางประเทศ ตามหนังสือสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ.) ๑๐๐๒/ว ๒ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๓๕ ตามที่แนบกับหนังสือฉบับนี้แทน๒. กบ.ทร. พิจารณาแลว เห็นสมควรแจงให นขต.ทร. , หนวยถืองบประมาณ , สน.ผชท.ทร. ไทย /ประเทศตางๆ และ บอท. ทราบ เพื่อถือเปนแนวทางปฏิบัติตามหนังสือสํานักนายกรัฐมนตรี ตามที่ สงป.กห.แจงมาในขอ ๑.จึงเสนอมาเพื่อโปรดพิจารณาดําเนินการตอไป(ลงชื่อ) น.อ. ปรีชา ทองมาลาผช.จก.กบ.ทร.ทําการแทนจก.กบ.ทร.เสนอ นขต.ทร. , หนวยถืองบประมาณ , สน.ผชท.ทร. ไทย / ประเทศตางๆ และ บอท.เพื่อโปรดทราบตามที่ กบ.ทร. แจงมา(ลงชื่อ) น.อ. หญิง สุทธิปราณี กระเทศรอง จก.กบ.ทร.ทําการแทนจก.กบ.ทร.


การแจกจาย- สล. , สม. , สนผ.กห. , ธน. , กง.กห. , อท. , รอ. , พท. , สลก.สป. , สตช.กห. , สยธ.กห. ,ศอพท.. , สวพ.กห. , สง.ปสท.- กลาง.สงป.กห. , กงป.สงป.กห. , กผค.สงป.กห. , กตป.สงป.กห. , กจก.สงป.กห. ,สกง.สงป.กห.- บก.ทหารสูงสุด , ทบ. , ทร. , ทอ. , อ.บ.ต. , อ.ฟ.น. , อ.ท.ผ. , อก. , บริษัท อูกรุงเทพ จํากัดสําเนาถูกตองเสนอ ทร.(ลงชื่อ) พล.อ.ต. จินดา อมระดิษ(จินดา อมระดิษ)รอง ผอ.สงป.กห.ทําการแทนผอ.สงป.กห.๔ ก.พ. ๓๕


บันทึกขอความสวนราชการ สงป.กห. (กพด.สงป.กห. โทร. ๒๒๑๗๙๐๗ , ๕๒๕๒๒๒๓)ที่ ฉบับ สงป.กห. เลขรับ ๔๐๔ / ๓๕ วันที่ ๓๐ ม.ค. ๓๕เรื่อง มาตรการเกี่ยวกับการตรวจรับพัสดุที่เปนของใหมและผลิตในตางประเทศเสนอ ปล.กห.๑. สํานักนายกรัฐมนตรีแจงมาตามหนังสือสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ.) ๑๐๐๒ /ว ลง ๒๐ ม.ค. ๓๕ สรุปความวา ตามที่คณะกรรมการวาดวยการพัสดุไดซักซอมวิธีการปฏิบัติในการตรวจรับพัสดุที่ผลิต และนําเขามาจากตางประเทศ ตามหนังสือสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ.) ๑๐๐๒ /ว ๒๙ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๓ นั้น คณะรัฐมนตรีไดมีมติเมื่อ ๒๒ ม.ค. ๓๔ อนุมัติตามความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองฯฝายสังคมและกฎหมายในเรื่องมาตรการการตรวจรับพัสดุที่เปนของใหมและผลิตในตางประเทศ และใหคณะกรรมการวาดวยการพัสดุ แจงเวียนใหสวนราชการรัฐวิสาหกิจ และหนวยราชการบริหารสวนทองถิ่น ถือปฏิบัติ ซึ่งคณะกรรมการวาดวยการพัสดุไดกําหนดวิธีการปฏิบัติในการตรวจรับพัสดุที่ผลิตและนําเขาจากตางประเทศ ดังนี้๑.๑ ใหยกเลิกวิธีการปฏิบัติตามหนังสือสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ.) ๑๐๐๒ /ว ๒๙ ลงวันที่ ๑๗กันยายน ๒๕๓๓๑.๒ ใหกําหนดวิธีการปฏิบัติในการตรวจรับพัสดุที่ผลิตและนําเขามาจากตางประเทศ ดังนี้๑.๒.๑ ใหคณะกรรมการตรวจรับพัสดุตรวจสอบใหเกิดความชัดเจนวา พัสดุที่สั่งซื้อเปนของใหมและเปนของจากตางๆประเทศ๑.๒.๒ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุมีปญหาสงสัยวาพัสดุที่ผูขายนํามาสงมอบ จะเปนของใหม และหรือเปนของที่ผลิตจากตางประเทศที่ระบุไวในสัญญาหรือไม ใหคระกรรมการตรวจรับพัสดุขอใหผูขายนําบัญชีราคาสินคา (INVOICE) และใบขนสินคา ของกรมศุลกากรที่มีรายการสิ่งของที่จะสงมอบ มาแสดงประกอบการพิจารณาตรวจรับดวย๒. สงป.กห. พิจารณาแลว เห็นควรเสนอ นขต.กห. . นขต.สป. และรัฐวิสาหกิจ ในความควบคุมของ กห.ทราบและถือปฏิบัติตามที่สํานักนายกรัฐมนตรีแจงมาเสนอจึงเสนอมาเพื่อกรุณาพิจารณา(ลงชื่อ) พล.ท. ระวิ พรหมสาขา ณ สกลนครผอ.สงป.กห.นขต.กห. , นขก.สป. และ รัฐวิสาหกิจเพื่อทราบและถือปฏิบัติตามที่สํานักนายกรัฐมนตรีแจงมา(ลงชื่อ) พล.อ. วันชัย เรืองตระกูล (ลงชื่อ) พล.อ.อ. สุวิช จันทประดิษฐปล.กห.รอง ปล.กห.๓๑ ม.ค. ๓๕ ๓๑ ม.ค. ๓๕


ที่ นร (กวพ.) ๑๐๐๒ / ว ๒ สํานักนายกรัฐมนตรีทําเนียบรัฐบาล กทม. ๑๐๓๐๐๒๐ มกราคม ๒๕๓๕เรื่อง มาตรการเกี่ยวกับการตรวจรับพัสดุที่เปนของใหมและผลิตในตางประเทศเรียนปลัดกระทรวงกลาโหมอางถึง หนังสือสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ.) ๑๐๐๒ / ๑๘๐๕๒ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๓๓ตามหนังสือที่อางถึง คณะกรรมการวาดวยการพัสดุไดซักซอมวิธีการปฏิบัติในการตรวจรับพัสดุที่ผลิตและนําเขามาจากตางประเทศ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุมีปญหาสงสัยวา พัสดุ ที่ผูขายนํามาสงมอบจะเปนของใหม และหรือเปนของที่ผลิตจากตางประเทศที่ระบุไวในสัญญาหรือไม ใหคณะกรรมการตรวจรับพัสดุขอใหผูขายนําบัญชีราคาสินคา (INVOICE) และใบขนสินคา ของกรมศุลกากรที่มีรายการสิ่งของที่จะสงมอบ มาแสดงประกอบการพิจารณาตรวจรับดวย นั้นเนื่องจากคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๔ ไดมีมติอนุมัติตามความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองฯฝายสังคม และกฎหมายในเรื่องมาตรการการตรวจรับพัสดุที่เปนของใหม และผลิตในตางประเทศ และใหคณะกรรมการวาดวยการพัสดุแจงเวียนใหสวนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหนวยราชการบริหารสวนทองถิ่นถือปฏิบัติคณะกรรมการวาดวยพัสดุอาศัยอํานาจตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๒๑ และที่แกไขเพิ่มเติม ขอ ๘ (๕) และ (๑๐) จึงกําหนดวิธีในการปฏิบัติในการตรวจรับพัสดุที่ผลิตและนําเขาจากตางประเทศ ดังนี้๑. ใหยกเลิกวิธีการปฏิบัติตามหนังสือสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ.) ๑๐๐๒ /ว ๒๙ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๓๒. ใหกําหนดวิธีการปฏิบัติในการตรวจรับพัสดุที่ผลิตและนําเขามาจากตางประเทศ ดังนี้๒.๑ ใหคณะกรรมการตรวจรับพัสดุตรวจสอบใหเกิดความชัดเจนวา พัสดุที่สั่งซื้อเปนของใหม และเปนของจากตางๆประเทศ


๒.๒ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุมีปญหาสงสัยวาพัสดุที่ผูขายนํามาสงมอบ จะเปนของใหม และหรือเปนของที่ผลิตจากตางประเทศที่ระบุไวในสัญญาหรือไม ใหคระกรรมการตรวจรับพัสดุขอใหผูขายนําบัญชีราคาสินคา (INVOICE) และใบขนสินคา ของกรมศุลกากรที่มีรายการสิ่งของที่จะสงมอบ มาแสดงประกอบการพิจารณาตรวจรับดวยจึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และแจงใหสวนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดทราบและถือปฏิบัติตอไปดวยขอแสดงความนับถือ(ลงชื่อ) อภิลาศ โอสถานนท(นายอภิลาศ โอสถานนท)ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีคณะกรรมการวาดวยการพัสดุฝายเลขานุการโทร. ๒๘๒๙๑๒โทรสาร ๒๘๒๕๑๓๑

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!