11.07.2018 Views

ASA NEWSLETTER 05-06_61

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ครั ้งที่ 1 เมื่อเริ่มทำการก่อสร้าง ครั ้งที่ 2 เมื่อทำการก่อสร้าง<br />

โครงสร้างของอาคาร และครั ้งที่ 3 เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้ว<br />

เสร็จ<br />

• การออกใบรับรองการก่อสร้างอาคาร กำหนดให้<br />

อาคารประเภทควบคุมการใช้ที่ไม่เป็นอาคารขนาดใหญ่ ต้อง<br />

ดำเนินการออกใบรับรองการก่อสร้างภายใน จากเดิม 30 วัน<br />

เหลือ 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงาน<br />

ท้องถิ่นทราบ<br />

• หากพบว่ามีการก่อสร้างโดยมิได้รับอนุญาต ให้ทำ<br />

รายงานพร้อมความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามล ำดับชั้นโดย<br />

เร็ว เพื่อให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ออกคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง<br />

และให้ถือปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับคดีความ<br />

ผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่ผู้ว่าฯ กทม. สั่งการ<br />

อนึ่ง ระเบียบกรุงเทพมหานครฉบับนี ้ ได้ยกเลิกระเบียบ<br />

ฉบับเดิมคือ ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ<br />

การขออนุญาตและการควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2525<br />

ซึ่งออกมานานแล้วและครอบคลุมถึงขั้นตอนการอนุญาตด้วย แต่<br />

ในระเบียบฉบับใหม่ ไม่ได้ครอบคลุมถึงขั ้นตอนดังกล่าวด้วย<br />

ดาวน์โหลด : www.asa.or.th/laws/news2018<strong>05</strong>17/<br />

พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก<br />

14 พ.ค. 25<strong>61</strong><br />

พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 25<strong>61</strong><br />

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.<br />

25<strong>61</strong> เพื่อดำเนินการพัฒนาพื ้ นที่ภาคตะวันออกให้เป็นระบบ<br />

และโดยสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะ<br />

อย่างยิ่งการส่งเสริมการประกอบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม<br />

ที่ใช้เทคโนโลยีขั ้นสูง ทันสมัย สร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อ<br />

สิ่งแวดล้อม<br />

ก่อนหน้านี ้ รัฐบาลที่จัดตั ้งโดยคณะรักษาความสงบ<br />

แห่งชาติ (คสช.) ได้กำหนดพื ้ นที่ “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค<br />

ตะวันออก” (Eastern Economic Corridor) ขึ ้ นเพื่อส่งเสริมการ<br />

ค้าและการลงทุนและการอำนวยความสะดวกในการประกอบ<br />

กิจการ ครอบคลุมพื ้ นที่สามจังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่<br />

จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และเขตจังหวัดอื่นที่ติดต่อ<br />

หรือเกี่ยวข้อง ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาด้วยความพร้อมด้าน<br />

การคมนาคม การขนส่ง โครงสร้างพื ้ นฐาน ความต้องการของผู้<br />

ประกอบการ การจัดหาทรัพยากรต่าง ๆ และความเชื่อมโยงกับ<br />

ศูนย์กลางเศรษฐกิจอื่น ๆ และ คสช. ได้ออกคำสั่งหัวหน้าคณะ<br />

รักษาความสงบแห่งชาติหลายฉบับเพื่อกำหนดมาตรการพัฒนา<br />

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกขึ ้ นเพื ่อดำเนินการไป<br />

พลางก่อนมาตั ้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2560 รวมทั ้งต่อมาได้มีการออก<br />

ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเรื่องมาตรการส่งเสริม<br />

การลงทุนในพื ้ นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และประกาศ<br />

คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวัน<br />

ออกเพื่อกำหนดเขตส่งเสริมในนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง<br />

“เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” ได้แก่พื ้ นที่จังหวัด<br />

ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และพื ้ นที่อื่นใดที่อยู่ในภาคตะวัน<br />

ออกที่กำหนดเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเป็นเขตพัฒนาพิเศษ<br />

ภาคตะวันออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ<br />

(1) พัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทันสมัยและเป็น<br />

มิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ<br />

ประเทศ<br />

(2) จัดให้มีการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบ<br />

วงจรเพื่อลดอุปสรรคและต้นทุนในการประกอบกิจการ<br />

(3) จัดทำโครงสร้างพื ้ นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่<br />

มีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่อง ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดย<br />

สะดวกและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบโดยสมบูรณ์<br />

(4) กำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสมกับ<br />

สภาพและศักยภาพของพื ้ นที่โดยสอดคล้องกับหลักการพัฒนา<br />

อย่างยั่งยืน<br />

(5) พัฒนาเมืองให้มีความทันสมัยระดับนานาชาติที่<br />

เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยอย่างสะดวก ปลอดภัย เข้าถึงได้โดย<br />

ถ้วนหน้าและการประกอบกิจการอย่างมีคุณภาพ<br />

พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.<br />

25<strong>61</strong> ได้ให้เหตุผลในการตราพระราชบัญญัติฉบับนี ้ ไว้ว่า โดยที่<br />

ภาคตะวันออกเป็นพื ้ นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง หากมี<br />

การพัฒนาพื ้ นที่อย่างต่อเนื่อง เป็นระบบและโดยสอดคล้องกับ<br />

หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้วจะทำให้การใช้ที่ดินในภาคตะวัน<br />

ออกเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสภาพและศักยภาพของพื ้ นที่ได้<br />

อย่างแท้จริง ทั ้งยังจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน<br />

ของประเทศโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมให้มีการ<br />

ประกอบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทัน<br />

สมัย สร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการเกษตร<br />

กรรมดั ้งเดิม ตลอดจนวิถีชีวิตของชุมชนในพื ้ นที่ดังกล่าว แต่<br />

กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่เอื ้ อต่อการพัฒนาพื ้ นที่ตาม<br />

แนวทางดังกล่าว ไม่มีการวางแผนการบริหารพื ้ นที่แบบองค์รวม<br />

การพัฒนาด้านต่าง ๆ จึงเป็นไปอย่างแยกส่วนและกระจัดกระจาย<br />

ผลของการขาดการบูรณาการดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถพัฒนา<br />

พื ้ นที่ภาคตะวันออกได้อย่างเต็มศักยภาพทั ้งการจัดทำระบบ<br />

สาธารณูปโภคขั ้นพื ้ นฐานของหน่วยงานของรัฐต่างๆ ยังขาด<br />

ความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน กรณีจึงสมควรกำหนดให้ภาค

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!