21.01.2019 Views

Beyond Ordinary_Living Vernacular Architecture

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ASA18_Book_180419.indd 1 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 2 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 3 24/4/18 16:10


ไม่ธรรมดา สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในวิถีชีวิตร่วมสมัย<br />

<strong>Beyond</strong> <strong>Ordinary</strong> :<br />

<strong>Living</strong> <strong>Vernacular</strong> <strong>Architecture</strong><br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 สำาหรับงานสถาปนิก'61<br />

พฤษภาคม 2561<br />

กองบรรณาธิการ<br />

ผศ.ดร. อภิรดี เกษมศุข<br />

ดร.สายธิวา รามสูต<br />

ดร.พินัย สิริเกียรติกุล<br />

รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ<br />

ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์<br />

ออกแบบปกและรูปเล่ม<br />

P.Library Desgin Studio<br />

ASA18_Book_180419.indd 4 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 5 24/4/18 16:10


สารบัญ<br />

10<br />

11<br />

12<br />

14<br />

19<br />

20<br />

40<br />

55<br />

56<br />

72<br />

77<br />

78<br />

84<br />

สารจากนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

สารจากประธานจัดงานสถาปนิก’61<br />

บทนำา<br />

พัฒนาการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไทย<br />

- สถานภาพของการสร้างสมองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทย<br />

- พื้นถิ่นเมือง: จิตวิญญาณใหม่ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา<br />

สถาปนิกวิชาการ<br />

- จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นถึงสถาปัตยกรรมร่วมสมัย<br />

- สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นใหม่<br />

มาสเตอร์เล่าเรื่อง<br />

- บทสัมภาษณ์ รศ. อนุวิทย์ เจริญศุภกุล<br />

- บทสัมภาษณ์ รศ.วิวัฒน์ เตมียพันธ์<br />

ASA18_Book_180419.indd 6 24/4/18 16:10


<strong>Beyond</strong> <strong>Ordinary</strong> ไม่ธรรมดา<br />

94<br />

96<br />

100<br />

106<br />

155<br />

227<br />

228<br />

230<br />

234<br />

238<br />

242<br />

แนวคิดหลักในการจัดงานสถาปนิก’61<br />

- แนวทางในการออกแบบนิทรรศการ <strong>Beyond</strong> <strong>Ordinary</strong> ไม่ธรรมดา<br />

- สถาปนิกและนักออกแบบ<br />

- Dialogues on <strong>Vernacular</strong> <strong>Living</strong><br />

- Making of Pavilions<br />

- เนื้อหานิทรรศการ "วิถีชีวิตพื้นถิ่นร่วมสมัย"<br />

The Interpretation of (New) <strong>Vernacular</strong> <strong>Living</strong><br />

- บทนำา<br />

- <strong>Living</strong> Pavilion<br />

- พลวัตสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในการปรับตัวสู่สังคมร่วม<br />

สมัยและเทคโนโลยีสมัยใหม่: มองผ่านพื้นที่ทำางาน<br />

- The Superimposed Layer on The (Contemporary)<br />

Public Space มิติซ้อนทับบนพื้นที่สาธารณะ (สมัยใหม่)<br />

- Responsive Mechanism Towards The Network<br />

Society กลไกที่ตอบสนองต่อสังคมเครือข่าย<br />

246<br />

247<br />

เครดิต<br />

- คณะกรรมการจัดงานสถาปนิก '61<br />

- ประวัติผลงาน คณะกรรมการจัดงานสถาปนิก '61<br />

ASA18_Book_180419.indd 7 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 8 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 9 24/4/18 16:10


สารจากนายกสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

อาคารที่รายล้อมคนเรามีทั้งที่ออกแบบโดยสถาปนิกและที ่ไม่ได้ออกแบบโดยสถาปนิก<br />

หากพิจารณาดูให้ละเอียดจะพบว่าอาคารที่สถาปนิกไม่ได้ออกแบบนั้นมีจำานวนมากกว่า<br />

อาคารที่สถาปนิกออกแบบเสียอีก อาจจะพอถือรวมๆกันได้ว่าอาคารที่สถาปนิกไม่ได้<br />

ออกแบบนั้นเข้าข่ายเป็น “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น”<br />

สถาปัตยกรรมพื ้นถิ ่นในประเทศไทยนั ้นเป็นที ่เข้าใจกันทั ่วไปว่าไม่ใช่อาคารที ่เป็นวัดหรือวัง<br />

ส่วนมากจัดว่าเป็นที่อยู่อาศัยในชนบท ในบางส่วนก็เป็นอาคารพักอาศัยหรืออาคารพาณิชย์<br />

ที ่พบเห็นกันทั ่วไปในเมือง นอกจากนี้คนในสังคมมักจะเห็นพ้องกันถึงรูปแบบและหน้าตา<br />

ของอาคารที่จัดได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเหล่านี้ ทั้งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบทหรือในเมือง<br />

ในระยะ 20 ปี มานี้ สถาปนิกไทยให้ความสนใจในเรื่องของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็น<br />

อย่างมาก มีการศึกษาและพยายามถอดองค์ความรู้ที่ได้จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นทั้งใน<br />

ชนบทและเมืองมาใช้ในงานออกแบบกันอย่างแพร่หลาย จึงเป็นที่น่าสนใจว่ามุมมองของ<br />

สถาปนิกไทยต่อสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและการออกแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ ่นจะพัฒนาไป<br />

สู่แนวทางที่เป็นอัตลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในประเทศไทยในอีกรูปแบบหนึ่งได้หรือไม่<br />

งานสถาปนิก’61 เป็นเวทีหนึ่งที่พยายามเสนอให้เห็นถึงแนวทางความเป็นไปได้นี้ว่า<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจะพัฒนาไปให้เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ “ไม่ธรรมดา” ได้อย่างไร<br />

ที่อาจเป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับวงการสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยท่ามกลาง<br />

สถาปัตยกรรมสากล อีกทั้งยังอาจถือได้ว่าเป็นการสืบสานความรู้และวัฒนธรรมที่สั่งสม<br />

มาให้ดำาเนินต่อไปได้ในอนาคตด้วย<br />

ดร.อัชชพล ดุสิตนานนท์<br />

นายกสมาคมสถาปนิกสยามใน<br />

พระบรมราชูปถัมภ์<br />

พ.ศ. 2559-2561<br />

10<br />

ASA18_Book_180419.indd 10 24/4/18 16:10


Message<br />

from ASA President<br />

Of those buildings surrounding us, some are designed by architects, others<br />

are not. The latter seems to be the majority. This building type might, perhaps,<br />

be considered as vernacular architecture.<br />

For Thailand’s context, vernacular architecture is not of temple or palace<br />

type, but more likely of residential type, particularly those houses in the rural<br />

areas. As for the urban vernacular architecture, some shop-houses occupied<br />

as residential, commercial, or mixed-use purposes can be considered ones.<br />

In general, the public tend to understand the style of vernacular architecture<br />

whether in the rural or the urban area.<br />

In the past 20 years, Thai architects are highly interested in vernacular<br />

architecture. There have been a number of studies and researches to establish<br />

knowledges from vernacular architecture and apply those knowledges<br />

on building designs. It might be appropriated to ask, now, of the ways in<br />

which Thai architects perceive vernacular architecture and the extend to which<br />

vernacular architecture design might lead to establish another character of Thai<br />

architecture.<br />

ASA 2018 is a platform to present this design possibility. To what extend can<br />

“<strong>Beyond</strong> <strong>Ordinary</strong>” vernacular architecture be preposed and designed? This<br />

might perhaps be another identity of Thai contemporary architecture whist<br />

continuing cultural heritage in vernacular architecture in Thailand.<br />

Dr. Ajaphol Dusitnanond<br />

President of the Association<br />

of Siamese Architects<br />

2016-2018<br />

11 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 11 24/4/18 16:10


สารจากประธานจัดงานสถาปนิก ’61<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น บางครั้งเหมือนเป็นเรื่องที่พอจะเข้าใจร่วมกันได้ บางครั้งเหมือน<br />

เป็นเรื่องที่อยู่ไกลตัว และหลายๆครั้งดูเป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามไป งานสถาปนิก’61<br />

ได้หยิบยกเอาเรื่องสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมาเป็นหัวข้อของการจัดงานในปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็น<br />

เพราะว่าการนำาเอาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมาใช้ในงานออกแบบของสถาปนิกไทยหรือ<br />

สถาปนิกในสากลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างเห็นได้ชัด และอีกส่วนหนึ่งคือถือ<br />

เป็นโอกาสในการที่จะตั้งคำาถามถึงนิยามและความเป็นไปได้ของการออกแบบในเชิง<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในสมัยปัจจุบันของสถาปนิกไทย ผ่านการออกแบบพื้นที่และเนื้อหา<br />

นิทรรศการของงานสถาปนิก ’61<br />

สถาปนิก 18 กลุ่ม และภัณฑารักษ์อีก 5 คน ได้รับเชิญให้มาร่วมกันออกแบบพื้นที่แสดง<br />

นิทรรศการและเนื้อหานิทรรศการของงานสถาปนิก’61 ภายใต้หัวข้อ “ไม่ธรรมดา” เพื่อสื่อ<br />

ให้เห็นถึงความ “ไม่ธรรมดา” ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่พร้อมจะพัฒนาและปรับตัวให้<br />

อยู่กับบริบทในปัจจุบันได้อย่างมีศักยภาพ ผ่านมุมมอง การตีความ การให้ความหมาย<br />

และการออกแบบของสถาปนิกและภัณฑารักษ์ทั้ง 23 กลุ่มนี้ ทั้งความ “ไม่ธรรมดา” ยัง<br />

ต่อเนื่องไปจนถึงกระบวนการทดลองวัสดุ การทำาแบบจำาลอง การก่อสร้าง การขนย้าย<br />

และการประกอบติดตั้งอีกด้วย<br />

สูจิบัตรเล่มนี้จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงแนวคิดเบื้องหลังการดำาเนินงานการจัดงาน<br />

สถาปนิก ’61 ทั้งในส่วนของงานวิชาการ งานออกแบบ แนวคิดในการออกแบบ และเนื้อหา<br />

ของนิทรรศการ ทางคณะกรรมการดำาเนินงานหวังว่าสูจิบัตรเล่มนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่เป็น<br />

จุดเริ่มต้นของการทบทวน ประเมินคุณค่า และพัฒนาต่อไปถึงความรู้ด้านสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นผ่านบริบทของประเทศไทย เพื่อให้เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรม<br />

ดร. อภิรดี เกษมศุข<br />

ประธานจัดงานสถาปนิก ’61<br />

12<br />

ASA18_Book_180419.indd 12 24/4/18 16:10


Message<br />

from the Chair of Architect Expo 2018<br />

<strong>Vernacular</strong> architecture sometimes seems to be collectively understood, yet<br />

vaguely distanced, but often taken for granted. Architect Expo 2018’s theme<br />

is about vernacular architecture, or to be precise ‘vernacular living’. On the<br />

one hand, it is because the ideas of vernacular architecture and living have<br />

become highly popular among Thai architects as well as those foreign ones.<br />

On the other hands, it is an opportunity to examine the definition and the<br />

possibility of vernacular architecture design within the contemporary context,<br />

using Architect Expo 2018 as a platform.<br />

Eighteen groups of architect and five curators are invited to participate with<br />

the design of the contents and the exhibition pavilions of the Architect Expo<br />

2018, under the title of ‘<strong>Beyond</strong> <strong>Ordinary</strong>’. They are challenged to present the<br />

idea of ‘<strong>Beyond</strong> <strong>Ordinary</strong>’ vernacular architecture, which is readily available to<br />

develop and adapt within the contemporary context, through their views, interpretations,<br />

values and meanings, and designs. This ‘<strong>Beyond</strong> <strong>Ordinary</strong>’ is also<br />

extended towards material experimentation, model making, construction and<br />

prefabrication, logistics and assembling at the exposition, to name but a few.<br />

This booklet presents the academic and designed-wised questions and the<br />

ideas behind the organising of the Architect Expo 2018. It is hoped that the<br />

booklet will be a part of the initiatives to re-evaluate the cultural heritage, and<br />

further develop and put forth the design of vernacular architecture as a solid<br />

alternative architectural design in Thailand, and the South-East Asia region,<br />

perhaps.<br />

Apiradee Kasemsook, PhD<br />

Chair, Architect Expo 2018<br />

13 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 13 24/4/18 16:10


บทนำา<br />

ไม่ธรรมดา:<br />

<strong>Beyond</strong> <strong>Ordinary</strong><br />

ดร. อภิรดี เกษมศุข<br />

ประธานจัดงานสถาปนิก ’61<br />

ที่มา<br />

กว่า 36 ปี มาแล้วที่ ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น’ ได้รับการกล่าวถึงและยอมรับอย่างเป็นทางการ<br />

ว่าเป็นหนึ่งในแนวทางการออกแบบและการก่อสร้าง ซึ่งนำาไปสู่การศึกษาสถาปัตยกรรมอีก<br />

แขนงในประเทศไทย (วิวัฒน์ เตมียพันธ์, 2525) ควบคู ่ไปกับ ‘สถาปัตยกรรมไทยประเพณี<br />

และ สถาปัตยกรรมสากล’ ในโอกาสครบรอบการก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์ มา 84 ปี ในปี พ.ศ. 2561 นี ้ สมาคมสถาปนิกฯ ได้เลือกเอา ‘สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่น’ มาเป็นหัวข้อของการจัดงาน ‘สถาปนิก’61’ งานสถาปนิกเป็นงานประจำาปีที่สมา<br />

คมสถาปนิกฯ จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่และส่งเสริมวิชาชีพและวิชาการด้านสถาปัตยกรรมและด้าน<br />

เกี่ยวเนื่องต่างๆ ให้ กับสมาชิกและประชาชนทั่วไป โดยจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 (ยกเว้น<br />

ปี พ.ศ. 2533) และในปีนี้ถือเป็นครั้งที่ 32 จึงถือได้ว่าเป็นโอกาสอันดีที่งานสถาปนิก ’61 จะ<br />

นำาเอาแนวทางของการยอมรับการมีอยู่ของ ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น’ มาใช้ เพื่อลองทบทวน<br />

เนื้อหา รูปแบบ และความหมายของการจัดงานในครั้งนี้<br />

14<br />

ASA18_Book_180419.indd 14 24/4/18 16:10


‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น’ คือ ?<br />

ดูเหมือนว่าทุกคนจะเข้าใจร่วมกันประมาณหนึ่งว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น’ คืออะไร แต่พอ<br />

ให้อธิบายถึงความหมายที่แท้จริง กลับยากที่จะสรุปความเห็นให้ตรงกันได้ แม้สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และพัฒนาโดยตัวมันเอง ที่อาจจะไม่ได้ต้องการให้ใครมาให้นิยาม<br />

ความหมาย เรียกร้องการยอมรับ หรือศึกษาคุณค่าอันใด แต่ปรากฎการณ์ที่สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับงานออกแบบ การศึกษา และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมก็เกิดขึ้น<br />

แล้ว คำานิยามหรือความหมายของ ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น’ เป็นประเด็นเริ่มต้นที่สำาคัญ<br />

ของการจัดงานสถาปนิก ’61<br />

‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น’ คืออะไร? หนังสือสูจิบัตรของงานสถาปนิก’61 เล่มนี้คงพอจะเป็น<br />

เวทีให้แลกเปลี่ยนถึงนิยามและความหมายของ ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น’ ที่คณะกรรมการจัด<br />

งานสถาปนิกและนักวิชาการกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับเชิญให้มาร่วมออกแบบพื้นที่จัดนิทรรศการ<br />

กำาหนดเนื้อหาและวิธีการแสดงนิทรรศการ บรรยาย หารือและสัมภาษณ์ ไปจนถึงเขียน<br />

บทความ ได้แสดงความเห็นไว้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและพลวัต<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในอนาคต หากบทนำานี้มีหน้าที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงประเด็นต่างๆ<br />

ที่มีการถกเถียงกันก่อนที่จะออกมาเป็นงานสถาปนิก’61 รวมถึงก่อนจะมาเป็นสูจิบัตรงาน<br />

เล่มนี้ด้วย<br />

ถ้า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคืออะไร?’ นั้นมีหลากหลายคำาตอบ ‘อะไรไม่ใช่สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่น?’ น่าจะเป็นตัวช่วยที่ดีของการพยายามทำาความเข้าใจถึงความหมายในเบื้องต้น<br />

สำาหรับการจัดงานและจัดทำาหนังสือเล่มนี้ ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น’ โดยเฉพาะในบริบทของ<br />

ประเทศไทย ไม่ใช่สถาปัตยกรรมไทยประเพณี แล้วก็ ไม่ใช่สถาปัตยกรรมสากล หรือกล่าวอีก<br />

อย่างหนึ่งได้ว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไม่ใช่วังแบบพระบรมมหาราชวังและก็ไม่ใช่วัดแบบ<br />

พระอารามหลวง แล้วก็ไม่เป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่ง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเกิดได้ทั้งใน<br />

ชนบทและในเมือง ครอบคลุมอาคาร พื้นที่ และวิธีการใช้งานได้หลากหลายประเภท<br />

มีประเด็นที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเกี่ยวข้องด้วยอยู่หลายๆ ประเด็น ทั้งประเด็นในเชิง<br />

สถาปัตยกรรม เช่น วัสดุ วิธีการก่อสร้าง ขนาดและสัดส่วน ฯลฯ หรือประเด็นในเชิง<br />

สังคมและเศรษฐกิจ เช่น ประเพณี ความเชื่อ และการทำามาหากิน ฯลฯ เป็นต้น พลวัต<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเคลื่อนตัวจากการสะสมและเกิดขึ้นของคนในชุมชนมาสู่การ<br />

ถูกหยิบยืมมาใช้ ประดิษฐ์หรือสร้างใหม่โดยนักออกแบบ ถูกศึกษาทำาความเข้าใจโดย<br />

นักวิชาการ ถูกให้คุณค่าและกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์โดยนักอนุรักษ์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้<br />

15 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 15 24/4/18 16:10


ยิ่งทำาให้นิยามและความหมายของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในปัจจุบันซับซ้อนขึ้นไปกว่าเดิม<br />

อย่างไรก็ตามหากมองในภาพรวมของสถานะการณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในปัจจุบัน<br />

ในประเด็นต่างๆ พอจะจัดเป็นเรื่องพื้นฐานหลักๆ ได้อยู่สองเรื่อง ได้แก่ เรื่องที่เกี่ยวข้อง<br />

ทางวิชาการและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ สูจิบัตรเล่มนี้จึงได้จัดกลุ่มเนื้อหาและ<br />

สะท้อนให้เห็นถึงความคิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทั้งสองเรื่องนี้<br />

เนื ้อหาในครึ่งแรกของสูจิบัตรเป็นเรื่องทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา วิจัย หรือการเชื่อมโยงระหว่างการศึกษาสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นกับการออกแบบ เนื้อหาในส่วนนี้แยกออกได้เป็นสามเรื่องย่อย เรื่องแรกเป็นเรื่อง<br />

ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หากนับถึงการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ในฐานะที่เป็นหลักสูตรของตัวเองในระดับบัณฑิตศึกษาไม่ใช่วิชาหนึ่งวิชาในหลักสูตร<br />

สถาปัตยกรรม ก็พอจะนับได้ว่าการศึกษาและค้นคว้าวิจัยในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

นั้นได้ดำาเนินการมากว่า 20 ปีแล้ว ถ้าเทียบกับอายุของคนเราคนหนึ่ง อายุ 20 ปี ก็ถือ<br />

ได้ว่าบรรลุนิติภาวะเป็นบุคคลสมบูรณ์ที่ควรจะได้ออกไปทำางานให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม<br />

ช่วงระยะเวลานี้จึงเป็นจุดก้าวเปลี่ยนที่สำาคัญ บทความของ ศ.อรศิริ ปาณินท์ ได้ทบทวน<br />

ให้เห็นถึงแนวทางการดำาเนินการศึกษาและวิจัยในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ผ่านมาใน<br />

อดีตและแนวทางการพัฒนาต่อไปในอนาคต และ บทความของ รศ.ชาตรี ประกิตนนทการ<br />

ตั้งคำาถามถึงศักยภาพที่การศึกษาและการวิจัยในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นน่าจะขยาย<br />

พื้นที่ออกไปได้ในอนาคต ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่กำาลังเปลี่ยนไป<br />

เรื่องที่สองเป็นเรื่องของการตั้งคำาถามและการพยายามเชื่อมโยงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

กับการออกแบบ บทความของ ศ.ดร.วีระ อินพันทัง แสดงถึงแนวทางการศึกษาวิจัย<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและการทดลองเชื่อมโยงสู่การออกแบบในปัจจุบันผ่านงานของ<br />

อาจารย์เอง ส่วนบทความของ ดร.พินัย สิริเกียรติกุล ตั้งคำาถามถึงความเป็นไปได้ที่จะ<br />

เกิด ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น - ใหม่’ ขึ้น ในบริบทปัจจุบัน ทั้งยังถามไปถึงแนวคิดและ<br />

การออกแบบที่สถาปนิกที่ได้รับเชิญมาให้ออกแบบพื้นที่แสดงนิทรรศการงานสถาปนิก’61<br />

แสดงออกมาด้วย ว่ามีทีท่าอย่างไรต่อนิยามของ ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น - ใหม่’<br />

เรื่องที่สามเป็นเรื่องการทบทวนถึงพลวัตของนิยามและความหมายของสถาปัตยกรรมพื้น<br />

ถิ่นที่เคลื่อนตัวไป จากนักวิชาการที่เป็นผู้ที่ทำาให้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้รับการยอมรับ<br />

16<br />

ASA18_Book_180419.indd 16 24/4/18 16:10


ว่าเป็นสาขาหนึ่งของสถาปัตยกรรมในประเทศไทย สูจิบัตรเล่มนี้ เสนอความเห็นของนัก<br />

วิชาการสองคน ได้แก่ รศ.วิวัฒน์ เตมียพันธ์ และ รศ.อนุวิทย์ เจริญศุภกุล เป็นเรื่องที่<br />

น่าสนใจว่านักวิชาการทั้งสองท่านนี้เห็นว่านิยามของสถาปัตยกรรมพื้นถิ ่นที่ได้เคยมีการ<br />

นิยามและให้ความหมายไว้ จริงๆ แล้วนิยามและความหมายนั้นยังใช้ได้อยู่อีกหรือไม่<br />

มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างไร<br />

เนื้อหาในครึ่งหลังของสูจิบัตร เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการดำาเนินการจัดงาน<br />

สถาปนิก’61 ที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการจัดงานและสถาปนิกที่ได้รับเชิญมาให้ออกแบบ<br />

พื้นที่แสดงนิทรรศการงานสถาปนิก ’61 ทั้ง 18 กลุ่ม ซึ่งแบ่งได้เป็นสามส่วนย่อย ได้แก่<br />

แนวคิดของการจัดงานสถาปนิก ’61 ของคณะกรรมการจัดงานที่มอบให้สถาปนิกรับเชิญ<br />

ตีความและออกแบบพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ ความเห็นของสถาปนิกรับเชิญต่อนิยาม<br />

และพลวัตของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และแนวคิดในการออกแบบพื้นที่จัดนิทรรศการใน<br />

งานสถาปนิก ’61 ของแต่ละกลุ่มสถาปนิก รวมถึงเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการ<br />

ที่แสดงอยู่ในพื้นที่จัดนิทรรศการหลัก 5 พื้นที่<br />

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น งานสถาปนิก’61 วางตัวเป็นพื้นที่เป็นเวที สำาหรับนักวิชาการ<br />

และสถาปนิกรับเชิญกลุ่มหนึ่ง ให้ลองทบทวนและตั้งคำาถามถึงนิยาม พลวัต และรูปแบบ<br />

การแสดงออกของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นผ่านการออกแบบงานสถาปนิก ’61 แน่นอนยังมี<br />

ความเป็นไปได้อีกมากมายที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในปัจจุบันจะเป็นได้ ที่เสนอมา ณ ตรงนี้<br />

เป็นเพียงแค่ตัวอย่างกลุ่มหนึ่งเท่านั้น กองบรรณาธิการซึ่งจัดทำาหนังสือเล่มนี้ก็เพียงแต่<br />

ต้องการให้เกิดการตั้งคำ าถามปลายเปิดขึ้นแล้วให้ผู้อ่านและผู้ชมนิทรรศการงานสถาปนิก ’61<br />

เป็นผู้หาคำาตอบของตัวเองเอง สำาหรับคณะกรรมการจัดงานสถาปนิก’61 ก็มุ่งหวังว่า<br />

แนวทางการจัดงานสถาปนิก’61 จะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสถาปนิกไทยในการ<br />

ออกแบบผ่านโจทย์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่น่าจะสะท้อนให้เห็นถึง ความ ‘ไม่ธรรมดา’<br />

ที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจะเป็นได้ผ่านสายตาและมุมมองของสถาปนิกและนักออกแบบ<br />

ที่จะต่างไปจากการรังสรรค์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เคยมีมาในอดีต และเป็นความหวัง<br />

สำาหรับแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมในประเทศไทยอีกแนวทางหนึ่งอนาคต รวมถึง<br />

สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปได้อีกแนวทางหนึ่งของการจัดงานสถาปนิก<br />

17 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 17 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 18 24/4/18 16:10


พัฒนาการ<br />

สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นไทย<br />

ASA18_Book_180419.indd 19 24/4/18 16:10


สถานภาพ<br />

ของการสร้างสมองค์ความรู้<br />

ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทย<br />

อรศิริ ปาณินท์<br />

20<br />

ASA18_Book_180419.indd 20 24/4/18 16:10


เกริ่นนำา<br />

เมื่อกล่าวถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ภาพที่ปรากฏในมโนภาพของแต่ละคนอาจคล้ายคลึงกัน<br />

คือมองเห็นสภาพของสถาปัตยกรรมซึ่งอาจเป็นเรือน วัด ยุ้งข้าว ห้างนา โรงสีประจำา<br />

หมู่บ้าน หรืออื่นๆ ตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน ภาพที่ปรากฏในมโนภาพคงเป็น<br />

สถาปัตยกรรมที่ปรากฏอยู่ในแต่ละท้องถิ่นซึ่งสถาปนิกไม่ได้ออกแบบ แต่เกิดขึ้นตามภูมิ<br />

ปัญญาที่ถ่ายทอดสร้างสมต่อเนื่องกันมาจากบรรพบุรุษ ไม่มีใครเป็นเจ้า ปัจจัยที่เป็นตัว<br />

กำาหนดรูปแบบสถาปัตยกรรม คือ สภาพแวดล้อมธรรมชาติ วิถีชีวิตและการดำารงชีพ<br />

ผนวกด้วยความเชื่อของแต่ละกลุ่มชน<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีปรากฏให้เห็นได้ในทุกพื้นที่ทั่วโลกทั้งในภูมิภาคตะวันออก ตะวันตก<br />

การให้คำานิยามคำาว่า “พื้นถิ่น” อาจอ้างอิงคำา “ถิ่นที่” ซึ่งมักใช้ร่วมกับการศึกษาเกี่ยว<br />

เนื่องกับภาษาถิ่น ซึ่งทำาให้เข้าใจได้ชัดเจนว่าเป็นของถิ่นที่นั้นๆ โดยเฉพาะ คำาว่าพื้นถิ่นใน<br />

ภาษาไทยอาจเทียบเคียงความหมายกับภาษาอังกฤษได้หลายคำา อาทิเช่น <strong>Vernacular</strong>,<br />

Anonymous, Spontaneous, Indigenous หรือ Rural (Rudofsky, Bernard. 1964)<br />

แต่ในภาษาไทยการใช้คำาว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคงให้ความหมายที่เข้าใจชัดเจนมากกว่า<br />

สถาปัตยกรรมนิรนาม สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นเอง หรือสถาปัตยกรรมชนบทตามคำาแปล<br />

จากภาษาอังกฤษ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทยมีความหลากหลาย ทั้งที่แตกต่างกันตามภูมิประเทศที่ตั้ง<br />

ของสถาปัตยกรรม แตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม แม้จะตั้งอยู่ในภูมิประเทศ<br />

เดียวกัน แตกต่างกันตามลักษณะของกลุ ่มชาติพันธุ ์ย่อยต่างๆ ที ่ตั ้งถิ ่นฐานกระจายตัวอยู่<br />

ทั่วประเทศไทย และยังปรากฏความแตกต่างในระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ไทย ที่ตั้งถิ่นฐาน<br />

กระจายตัวอยู่ทั้งในและนอกประเทศไทย อาทิเช่น กลุ่มไทลื้อในสิบสองสองปันนา มณฑล<br />

ยูนนานของจีน กลุ่มไทดำาในจังหวัดเดียนเบียนและเซินลา ในเวียดนาม กลุ่มไทเขินใน<br />

เชียงตุงเมียนมาร์ กลุ่มไทใหญ่ในแคว้นใต้คงของจีน ในเมียนมาร์ และในรัฐอัสสัมของ<br />

อินเดีย รวมทั้งกลุ่มไท-ลาวกลุ่มต่างๆ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นต้น<br />

ตามที่กล่าวข้างต้นแล้วว่าสภาพแวดล้อมของบริบท วิถีชีวิตและความเชื่อเป็นปัจจัยในการ<br />

กำาหนดรูปแบบของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่ในข้อเท็จจริงได้พบว่า ในรายละเอียดที่ปรากฏ<br />

ในการใช้งานในเรือนของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นต่างแหล่งที่ตั้ง ต่างกลุ่มชน ต่างภาษา มีรูป<br />

21 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 21 24/4/18 16:10


ลักษณ์บางประเภทที่เห็นได้ชัดว่าเหมือนกันทุกประการ อาทิเช่น “แม่เตาไฟ” หรือ เตาไฟ<br />

ที่ให้ความร้อนและความอบอุ่นในเรือนซึ่งตามแนวคิดแบบประเพณีของหลายกลุ่มชน<br />

เชื่อว่า “แม่เตาไฟ” เป็นแหล่งที่ให้กำาเนิดของชีวิต ให้ความอบอุ่นที่ทำาให้ชีวิตยืนยาว<br />

และแข็งแรง ในเรือนแบบบุพกาลของหลายกลุ่มชน ทั้งไทย-ไท ลาว กระเหรี่ยง ลั๊วะ<br />

อินโดเนเชีย และฟิลิปปินส์ มีรูปลักษณ์และการใช้งานเกี่ยวเนื่องต่างๆ ที่เหมือนกันทุก<br />

ประการ คือเป็น “แม่เตาไฟ” ที่ตั้งอยู่ประมาณกลางเรือนโดยทำาเป็นกระบะสี่เหลี่ยมจัตุรัส<br />

กว้างยาวประมาณ 0.90 เมตร ดาดด้วยสังกะสี กระบะดังกล่าววางหรือเจาะวางบนพื้นเรือน<br />

อาจมีเสา 4 ต้นตรงหัวมุมสูงไปถึงโครงหลังคา และติดตั้งชั้นโปร่ง 1-2 ชั้น เหนือเตา<br />

เพื่อวางเครื่องใช้และเนื้อสัตว์ตากแห้ง ซึ่งเป็นวิธีถนอมอาหารชั้นดี ในกระบะใส่ดินเหนียว<br />

จนเต็ม และวางก้อนเส้าหรือเตาสามเส้าตรงกลางเพื่อใช้หุงต้มอาหาร ลักษณะรูปลักษณ์<br />

ดังกล่าวของกลุ่มชนที่กล่าวมาข้างต้น เหตุใดจึงเหมือนกันทุกประการ เขาเคยเห็นของ<br />

กลุ่มชนอื่นมาก่อนหรือไม่? เขาลอกเลียนกันหรือไม่? ปรากฏว่าไม่ ลักษณะดังกล่าวมาจาก<br />

สัญชาติญาณในการดำารงชีพที่มีวิถีชีวิตรูปแบบเดียวกัน ทำาให้ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการ<br />

สร้างสรรค์เครื่องมือเครื่องใช้ออกมาในรูปแบบเดียวกัน ความพ้องกันเกี่ยวกับภูมิปัญญา<br />

ในการอยู่ของกลุ่มชนสามารถศึกษาและวิเคราะห์ได้จากการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

และวิถีชีวิต<br />

“สถานภาพการสร้างสมองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทยมีความต่อเนื่องควบคู่<br />

มากับการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมของไทย ซึ่งอาจตอบคำาถามเกี่ยวกับสถานภาพ<br />

อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตได้จากการศึกษาความเกี่ยวเนื่อง 4 ประเด็น คือ<br />

1) การเรียนการสอน 2) หนังสือและงานวิจัย 3) การประชุมวิชาการ และแนวโน้มใน<br />

อนาคตของทั้ง 3 ประเด็น<br />

22<br />

ASA18_Book_180419.indd 22 24/4/18 16:10


1.<br />

การเรียนการสอนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ในสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมของไทย<br />

การเรียนการสอนเกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื ้นถิ่นมีบรรจุอยู่ในหลักสูตรสถาปัตยกรรม<br />

ทุกแห่งตลอดมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหลักสูตร เพียงแต่ไม่ได้เรียกว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น”<br />

เนื้อหาของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแทรกอยู่ในรายวิชาสถาปัตยกรรมไทยมาตั้งแต่เริ่มแรก<br />

โดยเรียนในเนื้อหาของวัด วัง และเรือนไทยภาคต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อเริ่มก่อตั้งคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2482) นักศึกษาสถาปัตยกรรม<br />

ในยุคนั้นจะรู้จักกับหนังสือของท่านอาจารย์นารถ “สถาปัตยกรรมในประเทศไทย 2549”<br />

ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานของสถาปัตยกรรมในประเทศไทยรวมทั้งสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ภายใต้ร่มเงาของสถาปัตยกรรมไทยไปด้วย ในช่วงระยะเวลาต่อมาเมื่อเริ่มมีการเปิดหลัก<br />

สูตรวิชาชีพสถาปัตยกรรมเพิ่มขึ้นในมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า<br />

เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันการ<br />

ศึกษาอื่นๆ เรื่อยมาตามลำาดับ จะพบว่าทุกหลักสูตรจะบรรจุเนื้อหาของวัดและเรือนไทย<br />

ภาคต่างๆ ไว้ในเนื้อหาของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม โดยยังไม่ได้ใช้คำาเรียกขานว่า<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คำา “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” เริ่มปรากฏต่อสาธารณะชนเมื่อสถาบัน<br />

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตีพิมพ์หนังสือสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ซี่งเป็นผลงานการศึกษาและสำารวจภาคสนามของ รองศาสตราจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์<br />

และคณะ ในวาระเฉลิมฉลอง 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2525) โดยใช้คำาเรียกชื่อว่า<br />

“สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” (<strong>Vernacular</strong> <strong>Architecture</strong>) เช่นเดียวกับ Bernard Rodofsky<br />

(1964) และ Amos Rapoport (1969) ซึ่งให้ความชัดเจนและเข้าใจในเนื้อหามากกว่าคำ าอื่นๆ<br />

การกล่าวถึง “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” ที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมนี้<br />

ใคร่จำาแนกประเด็นเกี่ยวเนื่องออกเป็น 5 ประเด็น คือ 1) การแทรกวิชาสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นในวิชาเกี่ยวเนื่อง 2) การระบุวัตถุประสงค์ของการบรรจุเนื้อหาดังกล่าวในหลักสูตร<br />

3) การเปิดรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในหลักสูตร 4) การเปิดหลักสูตรเฉพาะในระดับ<br />

บัณฑิตศึกษา และ 5) การเปิดหลักสูตรเกี่ยวเนื่องที่เปิดให้ทำ าวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

23 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 23 24/4/18 16:10


1.1 การแทรกรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในรายวิชาเกี่ยวเนื่อง<br />

ลักษณะการดำาเนินการดังกล่าวมีมาตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้คำาเรียกว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดย<br />

จะพบว่าหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตทุกหลักสูตรมีรายวิชาสถาปัตยกรรมไทย<br />

ที่เรียกชื่อว่า วัด วัง เรือนไทยแบบประเพณีภาคต่างๆ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหลักสูตร<br />

รายวิชาเกี่ยวเนื่องดังกล่าวอาจเป็นรายวิชาสถาปัตยกรรมไทย รายวิชาประวัติศาสตร์<br />

สถาปัตยกรรมตะวันออกหรือสถาปัตยกรรมไทย หรือประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้ หรืออื่นๆ ใน พ.ศ.2529 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร เปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />

ได้บรรจุวิชาเลือกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไว้ในรายวิชาวัฒนท้องถิ่นในประเทศไทย ซึ่งทำาให้<br />

มีการบูรณาการระหว่างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น สภาพแวดล้อมธรรมชาติ<br />

วิถีชีวิต ความเชื่อซึ่งมีความสัมพันธ์แบบเป็นองค์รวม<br />

1.2 เปิดรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในหลักสูตรเป็นรายวิชาเฉพาะไม่รวมอยู่<br />

กับวิชาสถาปัตยกรรมไทย หรือประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย<br />

ในปัจจุบันนี้หลายหลักสูตรเปิดสอนรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นรายวิชาบังคับ หรือวิชา<br />

เลือกของกลุ่มวิชาในหลักสูตร เพื่อเป็นฐานความเข้าใจถึงการประยุกต์งานสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นไปสู่งานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย รายวิชาดังกล่าวมีทั้งบรรจุในรายวิชาระดับปริญญาตรี<br />

และวิชาเลือกในระดับบัณฑิตศึกษา อาทิเช่น หลักสูตรของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศรีปทุม และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น<br />

1.3 การระบุความสำาคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่ไว้ในหลักสูตร<br />

ได้พบว่าหลายหลักสูตรระบุความสำาคัญของการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่ไว้<br />

ในวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อพัฒนาและส่งเสริมความสำาคัญเพื่อการศึกษา ลักษณะ<br />

ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจูงใจให้มีการศึกษาค้นคว้าและวิจัยได้อย่างต่ อเนื่อง อาทิหลักสูตรของ<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น<br />

24<br />

ASA18_Book_180419.indd 24 24/4/18 16:10


1.4 การเปิดหลักสูตรสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระดับ<br />

ปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต<br />

ใน พ.ศ. 2546 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดการเรียนการสอน<br />

ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งประสบผลสำาเร็จเป็นอย่างดี<br />

ในทศวรรษถัดมา พ.ศ.2556 ได้เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขา<br />

วิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผู้สำาเร็จการศึกษา แต่เห็นได้ชัดว่ามีการ<br />

พัฒนาคุณภาพนักศึกษามีผู้ได้รับทุนการศึกษาปริญญาเอกกาญจนาภิเษกจากสำานักงาน<br />

กองทุนสนับสนุนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ผลจากการเปิดหลักสูตรทั้งสองระดับที่เกี่ยวเนื่อง<br />

กับการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ การ<br />

เพิ่มพูนงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษานับสิบโครงการ และการเพิ่มพูนข้อมูลการปฏิบัติงาน<br />

ภาคสนามหลายสิบพื้นที่ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างองค์<br />

ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สามารถทำาการต่อยอดงานวิจัยต่อไปได้หลายทิศทาง<br />

1.5 การเปิดหลักสูตรเกี่ยวเนื่องระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตที่เอื้ออำานวย<br />

ต่อการทำาวิทยานิพนธ์ในสายสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ปัจจุบันหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ของหลายสถาบันเปิด<br />

ทางเลือกของวิทยานิพนธ์อย่างกว้างขวาง สามารถเสนอวิทยานิพนธ์ด้านสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นและสิ่งแวดล้อมได้ อาทิเช่น หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมสรรค์<br />

สร้างของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เปิดกว้างให้เสนอ<br />

วิทยานิพนธ์ได้ 4 ทางเลือก คือ ผังเมืองและชุมชน นวัตกรรมอาคาร ภูมิสถาปัตยกรรม<br />

และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อม ซึ่งมีนักศึกษาที่จบการศึกษาแล้วและที่กำ าลัง<br />

ทำาวิทยานิพนธ์ในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสิ่งแวดล้อมอยู่ปริมาณหนึ่ง ทั้งยังมี<br />

นักศึกษาที่ทำาวิทยานิพนธ์ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้รับทุนปริญญาเอกกาญจนภิเษก<br />

จากสำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกอ) ด้วย นอกจากนี้นักศึกษาระดับปริญญา<br />

ดุษฎีบัณฑิตของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปริมาณหนึ่งก็<br />

สามารถทำาวิทยานิพนธ์ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นพร้อมมีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญงาน<br />

วิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นที่ปรึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย<br />

เชียงใหม่ ก็เช่นเดียวกัน นักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตสามารถ<br />

เสนอวิทยานิพนธ์ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและมีอาจารย์ที่พร้อมจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา<br />

จากตัวอย่างข้างต้นเห็นได้ชัดเจนว่าปัจจุบันมีการเพิ่มพูน และเสริมสร้างองค์ความรู้ด้าน<br />

สถาปัตยกรรมพื ้นถิ่นจากระบบการเรียนการสอนด้านสถาปัตยกรรมกระจายอยู่ตาม<br />

สถาบันการศึกษาต่างๆ ทุกภูมิภาค<br />

25 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 25 24/4/18 16:10


2.<br />

หนังสือและงานวิจัย<br />

ในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ทุกด้าน หนังสือ และงานวิจัยมักจะเป็นเครื่องมือในระดับ<br />

แรกที่ผู้สร้างสรรค์ต้องศึกษา ผนวกกับเครื่องมือต่างๆ อีกนานับประการ เพื่อให้ภาพรวม<br />

ของ “สถานภาพของการสร้างสรรค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทยชัดเจน ใคร่<br />

ยกตัวอย่างเฉพาะหนังสือและผลงานวิจัยที่เป็นหลักของการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง<br />

ของสถาปนิกและนักวิชาการของไทย โดยเริ่มจากหนังสือเล่มแรกที่ปูพื้นด้านสถาปัตยกรรม<br />

ในประเทศไทยเป็นต้นกำาเนิด ปริมาณของหนังสือในด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทย<br />

ปัจจุบันมีมากมาย ผู้เขียนใคร่ยกตัวอย่างเฉพาะบางเล่มที่เห็นว่าเป็นจุดเริ่มต้นในลักษณะ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทต่างๆ และภูมิภาคต่างๆ เป็นสำาคัญ<br />

2.1 หนังสือ<br />

พ.ศ. 2489<br />

พ.ศ. 2489<br />

พ.ศ. 2512<br />

พ.ศ. 2525<br />

พ.ศ. 2527<br />

พ.ศ. 2536<br />

พ.ศ. 2539<br />

ท่านอาจารย์นารถ โพธิประสาท ได้ปูพื้นให้สถาปนิกในประเทศไทยมีพื้นฐานความ<br />

รู้เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมของไทย ในหนังสือที่มีคุณค่ายิ่ง คือ “สถาปัตยกรรม<br />

ในประเทศไทย”<br />

รองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร หนังสือ “บันทึกอีสาน”<br />

ศาสตราจารย์อัน นิมมานเหมินท์ หนังสือ “เรือนล้านนา”<br />

รองศาสตราจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์ หนังสือ “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น”<br />

รองศาสตราจารย์เขต รัตนะจรนะ หนังสือ “เรือนไทยมุสลิม”<br />

รองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร “สิมอีสาน”<br />

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยคุณยอดเยี่ยม เทพธรานนท์<br />

นายกสมาคมฯ ในช่วงเวลานั้นได้ผลิตหนังสือชุดสำาคัญของสถาปนิกอาวุโสออกมา<br />

9 เล่ม เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9<br />

ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี อันประกอบด้วย<br />

26<br />

ASA18_Book_180419.indd 26 24/4/18 16:10


• เรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม โดย หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร<br />

• สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม โดย ศาสตราจารย์โชติ กัลยาณมิตร<br />

• วิวัฒนาการศิลปสถาปัตยกรรมไทยพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์เฉลิม รัตนทัศนีย์<br />

• ช่างหลวง โดย ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี<br />

• เรือนล้านนาไทยและประเพณีปลูกเรือน โดย รองศาสตราจารย์อนุวิทย์ เจริญศุภกุล<br />

และ รองศาสตราจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์<br />

• น้ำา โดย ดร.สุเมธ ชุมสาย<br />

• เรือนไทยเดิม โดย รองศาสตราจารย์ฤทัย ใจจงรัก<br />

• บ้านและหมู่บ้านพื้นถิ่น โดย ศาสตราจารย์อรศิริ ปาณินท์<br />

• สถาปนิกสยาม โดย ศาสตราจารย์ผุสดี ทิพทัส<br />

หนังสือชุดนี้ถือเป็นรากฐานสำาคัญในการศึกษาสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมไทย<br />

และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 5 เล่มในชุดนี้เป็นเนื้อหาโดยตรงของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

อีก 4 เล่ม เป็นเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสำาคัญกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

พ.ศ. 2541<br />

พ.ศ. 2545<br />

พ.ศ. 2545<br />

พ.ศ. 2552<br />

พ.ศ. 2556<br />

พ.ศ. 2556<br />

พ.ศ. 2559<br />

พ.ศ. 2559<br />

พ.ศ. 2560<br />

พ.ศ. 2560<br />

เรือนเครื่องผูก โดย ศาสตราจารย์พิเศษ เสนอ นิลเดช<br />

เรือนชาวสวน โดย รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก<br />

เรือนไทย โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์<br />

เรือนพื้นถิ่นผู้ไทในประเทศลาว โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงยศ วีระทวีมาศ<br />

และ อาจารย์วีละ อาโนลัก<br />

เรือนลาวโซ่ง: การกลายรูปในสองศตวรรษ โดย ศาสตราจารย์ ดร.วีระ อินพันทัง<br />

รูปแบบบ้านเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์ (หนังสือดีเด่นประเภทสารคดี<br />

พ.ศ.2557) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี<br />

บ้านเรือน ตัวตนคนไทในอินเดีย (หนังสือดีเด่นประเภทสารคดี พ.ศ. 2560)<br />

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (รวมบทความวิชาการ)<br />

โดย รองศาสตราจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์<br />

ถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นผู้พูดภาษาตระกูลไท (รวมบทความวิชาการ)<br />

โดย ศาสตราจารย์อรศิริ ปาณินท์<br />

อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย (เล่ม 1-4)<br />

โดย รองศาสตราจารย์สมคิด จิระทัศนกุล<br />

27 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 27 24/4/18 16:10


2.2 การเปิดหลักสูตรสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในระดับบัณฑิตศึกษา<br />

ทั้งระดับปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต<br />

การปฏิบัติงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมมีอาจารย์รุ่นบุกเบิกหลายท่านสนใจทำางานวิจัย<br />

ด้านสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมากว่า 4 ทศวรรษ โดยพิจารณาจาก<br />

หลักฐานเอกสารการให้รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวที่พอจะอ้างอิงได้ แต่จาก<br />

หลักฐานดังกล่าวทราบได้แต่เพียงว่านักวิชาการท่านนั้นได้รับรางวัลเมื่อไร แต่การสืบค้น<br />

ว่าแต่ละท่านเริ่มทำางานวิจัยเมื่อใดเป็นสิ่งสุดวิสัยที่จะทราบได้<br />

ในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนี้จะเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการ<br />

วิจัยในประเด็นต่างๆ อันประกอบด้วย 1) ประเภทของงานวิจัย 2) กลุ่มเนื้อหาของงาน<br />

วิจัย 3) ทุนอุดหนุนการวิจัย 4) รางวัลวิจัย 5) ขอบเขตพื้นที่วิจัย<br />

2.2.1<br />

2.2.2<br />

ประเภทงานวิจัย ที ่นักวิจัยปฏิบัติกันในปัจจุบันแบ่งประเภทง่ายๆ เป็นงานวิจัยเดี ่ยว ที ่อาจ<br />

ทำาคนเดียวหรือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มแต่เป็นเพียงกลุ่มเดียว งานลักษณะนี้เป็นงานวิจัยที่<br />

ปฏิบัติงานกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อดำาเนินงานเรียบร้อยแล้วต้องเผยแพร่ตาม<br />

ระบบที่ผู้ให้ทุนวิจัยกำาหนด อีกประเภทหนึ่งคือการปฏิบัติงานวิจัยแบบชุดโครงการ คือมี<br />

ผู้รับผิดชอบโครงการวิจัยใหญ่ ซึ่งแยกตัวเป็นชุดโครงการย่อยหลายโครงการที่เกี่ยวเนื่อง<br />

กัน ในชุดโครงการจะมีโครงการวิจัยย่อยกี ่โครงการแล้วแต่ลักษณะเฉพาะของโครงการนั ้นๆ<br />

เมื่อทำางานวิจัยเสร็จสิ้นต้องเสนอผลสรุปตามเกณฑ์ที่ทุนวิจัยกำาหนด<br />

กลุ่มเนื้อหาของการวิจัย การปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในปัจจุบัน<br />

มีทั้งในแบบที่นักวิจัยกำาหนดเนื้อหาเองเพื่อขอรับทุน และแบบที่เจ้าของทุนกำาหนดเนื้อหา<br />

เป็นกรอบเพื่อให้ได้ผลงานที่ครอบคลุมเท่าเทียมกันทุกกลุ่มในกรณีที่เป็นชุดโครงการ<br />

ยกตัวอย่างเช่นงานวิจัยที ่นักวิจัยปฏิบัติงานให้กับการเคหะแห่งชาติที ่ต้องการเน้นการ<br />

ศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับเรือนพื้นถิ่นในภูมิภาคต่างๆ โดยนักวิจัยจะปฏิบัติงานในภูมิภาคที่ตน<br />

ถนัดและสนใจ อาทิเช่น เนื้อหาเกี่ยวกับเรือนภาคเหนือ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโน<br />

โลยีราชมงคลล้านนาจะเป็นผู้รับผิดชอบ เรือนภาคอีสาน นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น<br />

รับผิดชอบ เรือนภาคกลาง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รับผิดชอบ และเรือน<br />

ภาคใต้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยศิลปากรรับผิดชอบ เนื่องจากมีโครงการวิจัยเกี่ยวเนื่อง<br />

อยู่นในภาคใต้หลายโครงการ เช่นนี้เป็นต้น<br />

28<br />

ASA18_Book_180419.indd 28 24/4/18 16:10


2.2.3<br />

2.2.4<br />

ทุนวิจัย ทุนวิจัยในปัจจุบันมีบรรจุอยู่ในงบประมาณของทุกสถาบันการศึกษา ซึ่งคล่องตัว<br />

พอสมควรทั้งเวลาปฏิบัติงานและงบประมาณ และสามารถขอรับทุนได้จากองค์กรอื่นที่<br />

ต้องการให้ปฏิบัติงานวิจัยอีกด้วย ซึ่งสามารถสืบค้นได้จากเวปไซด์ต่างๆ ได้สะดวก อีกทั้ง<br />

ยังสามารถขอรับทุนอุดหนุนวิจัยได้จากสำ านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำานักงาน<br />

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) สำานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)<br />

เป็นต้น แต่ในข้อกำาหนดการรับทุนบางประเภท เช่น ทุนเมธีวิจัยอาวุโส (สกว.) และทุน<br />

ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น (สกว.) ระบุบังคับไว้ว่าต้องเป็นกลุ่มวิจัยเพื่อสร้างเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่<br />

รางวัลวิจัย ในสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ<br />

จัดอยู่ในกลุ่มปรัชญา และแบ่งรางวัลเป็น 2 ประเภท คือ รางวัลผลงานวิจัย และรางวัล<br />

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ<br />

รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ที่อาจารย์ด้านสถาปัตยกรรมของไทยได้รับ<br />

เริ่มปรากฏมาตั้งแต่ พ.ศ.2538 เป็นต้นมาอันประกอบด้วย<br />

พ.ศ. 2538<br />

พ.ศ. 2540<br />

พ.ศ. 2541<br />

พ.ศ. 2543<br />

พ.ศ. 2547<br />

พ.ศ. 2553<br />

ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี<br />

ศาสตราจารย์ ดร.วิมลสิทธิ์ หรยางกูร<br />

ศาสตราจารย์ ดร.ผุสดี ทิพทัส<br />

ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ<br />

ศาสตราจารย์ อรศิริ ปาณินท์<br />

ศาสตราจารย์ ดร.วรรณศิลป์ พีรพันธ์<br />

และเป็นที่น่าสนใจในรายละเอียด คือ ผลงานของทุกท่านเกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมและ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นทั้งสิ้น แม้แต่งานวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ ซึ่ง<br />

แน่ชัดว่าเนื้อหาคือการอนุรักษ์พลังงาน แต่ในบทความวิชาการหลายบทความที่ท่านเขียน<br />

จะมีอ้างอิงถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ส่วนผลงานวิจัยของ ศาสตราจารย์อรศิริ ปาณินท์<br />

และ ศาสตราจารย์ ดร.วรรณศิลป์ พีรพันธ์ จะอยู่ในกลุ่มของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยตรง<br />

ผนวกด้วยชุมชนพื้นถิ่น<br />

นอกจากรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ยังมีรางวัลวิจัยอีกประเภทหนึ่ง คือ รางวัลผลงาน<br />

วิจัยดีเยี่ยม ดีเด่น ดี<br />

29 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 29 24/4/18 16:10


ในกลุ่มรางวัลผลงานวิจัยก็ปรากฏผลงานวิจัยในด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอยู่ในทุก<br />

รายการเช่นเดียวกัน อันประกอบด้วย<br />

พ.ศ. 2517<br />

พ.ศ. 2520<br />

พ.ศ. 2538<br />

พ.ศ. 2553<br />

พ.ศ. 2544<br />

พ.ศ. 2550<br />

พ.ศ. 2554<br />

รางวัลผลงานวิจัยรางวัลที่ 3 รองศาสตราจารย์ฤทัย ใจจงรัก ชื่อผลงาน เรือนไทย<br />

เดิม ในปี พ.ศ.2517 ยังไม่จำาแนกเป็นรางวัลดีเยี่ยม ดีเด่น ดี แบบปัจจุบัน<br />

รางวัลดีเยี่ยม ศาสตราจารย์โชติ กัลยาณมิตร ชื่อผลงาน พจนานุกรม<br />

สถาปัตยกรรมและศิลปะเกี่ยวเนื่อง<br />

รางวัลดีเยี่ยม ศาสตราจารย์ ดร.วิมลสิทธิ์ หรยางกูร ศาสตราจารย์ ดร.วีระ อินพันทัง<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.สันติ ฉันทวิลาสวงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กอบกุล อินทรวิจิตร<br />

ชื่อผลงาน พัฒนาแนวความคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรม อดีต ปัจจุบัน<br />

และ อนาคต<br />

รางวัลดีเยี่ยม ศาสตราจารย์ อรศิริ ปาณินท์ ชื่อผลงาน เรือนพื้นบ้านไทย-มอญ<br />

รางวัลดีเยี่ยม รองศาสตราจารย์สมคิด จิระทัศนกุล ชื่อผลงาน รูปแบบของวัดใน<br />

พระพุทธศาสนาในชุมชนท้องถิ่น<br />

พ.ศ.2554 รางวัลดีเด่น รองศาสตราจารย์สมคิด จิระทัศนกุล ชื่อผลงาน งาน<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรมไทยฝีพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

2.2.3 จะเห็นได้ว่ารางวัลผลงานวิจัยสาขาปรัชญา ตั้งแต่ พ.ศ.2517 ถึง พ.ศ.2554 ทุกรายการ<br />

เป็นงานวิจัยในสาขาสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นทั้งสิ้น<br />

ขอบเขตพื้นที่วิจัย หากพิจารณางานวิจัยชิ้นแรกๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ซึ่งในช่วงต้นยังไม่เรียกชื่อว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” แต่เรียกว่าเป็นเรือนภาคต่างๆ วัด<br />

ภาคต่างๆ พบว่าการศึกษาในช่วงแรกประมาณ พ.ศ.2506 เป็นต้นมา เน้นการศึกษาใน<br />

ประเทศไทยโดยการทำาการสำารวจภาคสนาม (พิจารณา 2.1 ประกอบ) เพื่อทำาการวิจัยและ<br />

เขียนสรุปเป็นหนังสือ ได้พบว่าตั้งแต่ พ.ศ.2510 เป็นต้นมา พื้นที่ศึกษาวิจัยจะเป็นภายใน<br />

ประเทศไทยแล้วค่อยๆ ขยับออกไปวิจัยเปรียบเทียบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เขมร<br />

พม่า มาเลเซีย จีน อินโดเนเซีย และ อินเดีย เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเรือนพื้นถิ่นของกลุ่ม<br />

ชาติพันธุ์ไทย-ไท ได้กว้างขวางและชัดเจน<br />

30<br />

ASA18_Book_180419.indd 30 24/4/18 16:10


3.<br />

การประชุมวิชาการ<br />

การจัดประชุมวิชาการเกี่ยวเนื่องในการปฏิบัติงานวิจัยเป็นเครื่องมือในการวิพากษ์ที่ดี<br />

ยิ่งของนักวิชาการและวิจัยที่จะสามารถทราบความคิดเห็นทั้งเห็นด้วยและโต้แย้งกับผล<br />

งานที่ตนเองปฏิบัติต่อเนื่องกันมา สามารถพัฒนาผลงานได้มากมาย สำาหรับการประชุม<br />

วิชาการด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสามารถจัดประชุมวิชาการได้หลายลักษณะ อาจจัด<br />

เฉพาะเรื่องสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยตรง หรือเป็นภาคีกลับกลุ่มวิชาเกี่ยวเนื่อง ก็อาจได้<br />

ความเห็นแตกต่างในแง่มุมอื่นบ้าง ทำาให้บรรยากาศของการประชุมมีความหลากหลาย<br />

ย้อนศึกษาจากอดีตการประชุมวิชาการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นหากเป็นระดับนานาชาติจะใช้<br />

ช่องทางของการประชุมอิโคโมสไทย และการประชุมไทยศึกษา ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ แต่ถ้า<br />

เป็นการประชุมระดับชาติปฏิบัติกันอยู่หลายช่องทาง เช่น การประชุมเสนอความก้าวหน้า<br />

ของการศึกษาวิจัยระดับปริญญโท เอก ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่นักศึกษาทำาวิทยา<br />

นิพธ์ในเนื้อหาสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมพื้นถิ่นเช่นเดียวกัน ภาคีที่จัดประชุมร่วมกัน<br />

มาหลายครั้งแล้วประกอบด้วย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีองค์<br />

ประกอบของ 4 ภาคีจัดประชุมเวียนกันไปตามภูมิภาคต่างๆ เป็นการประชุมที่น่าสนใจ<br />

และมีข้อคิดเห็นคำาติชมให้นักศึกษาปริญญาโท เอก ไปทำาเป็นการบ้านได้อย่างดี<br />

ลักษณะที่ 2 คือ การจัดประชุมเฉพาะกรณี อาทิเช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดประชุมวิชาการ “ความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นไทย” เมื่อวัน<br />

ที่ 22-23 มิถุนายน พ.ศ.2543 นับเป็นการรวบรวมปรมาจารย์ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ของไทยมาบรรยาย พบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งสำาคัญ สามารถบรรยายและ<br />

อภิปรายได้ 19 เนื้อหาที่สนุกสนานและน่าสนใจอันประกอบด้วย<br />

31 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 31 24/4/18 16:10


ท้องถิ่นวัฒนา<br />

ศรีศักร วัลลิโภดม<br />

สถาปัตยกรรมถิ่นไทยในฐานะที่เป็น<br />

มรดกทางวัฒนธรรมกับการออกแบบ<br />

ปัจจุบันและความหมายของที่อยู่อาศัย<br />

ตามโลกทัศน์ล้านนาโบราณ<br />

วิวัฒน์ เตมียพันธ์<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้<br />

วนิดา พึ่งสุนทร<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้น สำาคัญไฉน<br />

วิโรฒ ศรีสุโร<br />

เยี่ยมหมู่บ้านในจังหวัดแม่ฮ่องสอน<br />

ฤทัย ใจจงรัก<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ชาวสวน<br />

สมใจ นิ่มเล็ก<br />

เรือนพื้นถิ่นภาคเหนือตอนล่าง<br />

สามารถ สิริเวชภัณฑ์<br />

เรือนชาวเขา<br />

สุพล ปวราจารย์<br />

เฮือนบะเก่าล้านนา<br />

วิชุลดา นิลม่วง<br />

การก่อสร้างของหมู่บ้านจีนฮ่อ<br />

แม่ฮ่องสอนเรือนชาวเล<br />

เสาวลักษณ์ พงษธา โปษะยะนันท์<br />

เรือนไทยภาคเหนือ (เรือนล้านนา)<br />

สมคิด จิระทัศนกุล<br />

ว่าด้วยความงามและที่ว่างใน<br />

เรือนไทย-มิติทางวัฒนธรรม<br />

ดร.มล.ปิยลดา เทวกุล<br />

เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้<br />

เขต รัตนะจรนะ<br />

เล่าเรื่องการสำารวจหมู่บ้านปรางค์กู่<br />

อำาเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ<br />

พ.ศ. 2517-18<br />

อนุวิทย์ เจริญศุภกุล<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน<br />

(สหวัฒนธรรมไทย-ลาว)<br />

สุวิทย์ จิระมณี<br />

บ้านพักอาศัยในชนบทอีสาน<br />

แถบลุ่มน้ำาชี<br />

ธาดา สุทธิธรรม<br />

เรือนพื้นถิ่นภาคกลาง<br />

เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี<br />

บ้านไทลื้อเชียงคำา<br />

พินัย สิริเกียรติกุล<br />

การศึกษาบ้าน หมู่บ้านและเทคโนโลยี<br />

อรศิริ ปาณินท์<br />

32<br />

ASA18_Book_180419.indd 32 24/4/18 16:10


ลักษณะที่ 3 คือการประชุมวิชาการเพื่อเสนอรายงานความก้าวหน้าในแต่ละปี และเสนอ<br />

รายงานสรุปเมื่อสิ้นสุดการวิจัย การประชุมวิชาการดังกล่าวดำาเนินการตามข้อกำาหนดของ<br />

ผู้ให้ทุนอุดหนุนวิจัย อาทิเช่นผู้รับทุนอุดหนุนวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส และทุนศาสตราจารย์วิจัย<br />

ดีเด่นของสำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผู้รับทุนโดยสถาบันต้นสังกัดจะต้อง<br />

ดำาเนินการจัดประชุมรายงานความก้าวหน้าปีละครั้ง และประชุมสรุปผลงานในรอบปีที่ 3<br />

ดังเช่นที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดประชุมในโครงการ “เรือน<br />

พื้นถิ่นไทย-ไท: คุณลักษณะของสถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมในเรือนพื้นถิ่น” ในช่วงปี พ.ศ.<br />

2546-2549 รวม 3 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมจากสถาบันการศึกษาทุกภูมิภาค และคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดประชุมวิชาการในโครงการ<br />

“การศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบทใหญ่ที่แตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาว<br />

ในพื้นที่ลุ่มน้ำาภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งรับทุนอุดหนุนวิจัยศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น<br />

จากสำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รวม 3 ครั้ง ระหว่าง พ.ศ.2553 – พ.ศ.<br />

2555 โดยมีนักวิจัยในโครงการเสนอรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัยกลุ่มต่างๆ รวม<br />

18 คน นักวิจัยมาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัย<br />

เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตย<br />

ประชาชนลาว มีผู้เข้าร่วมประชุมจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทุกภูมิภาคและจาก สปป.<br />

ลาว การประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นการประชุมสรุปครั้งสุดท้าย ใน พ.ศ.2555 ทีมวิจัยได้<br />

จัดพิมพ์หนังสือเผยแพร่ตามเนื้อหาบูรณาการตามชื่อโครงการรวมทั้งสิ้น 11 เล่ม เขียน<br />

โดยนักวิจัย 14 คน ในเนื้อหาการศึกษาแบบองค์รวมที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

อันประกอบด้วย<br />

บ้านและเรือน<br />

พวนเชียงขวาง:<br />

บ้านและเรือน<br />

พวนบางปลาม้า:<br />

เรือนลาวโซ่ง:<br />

การกลับมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่เดิม<br />

โดย อรศิริ ปาณินท์ และ นพดล จันทวีระ<br />

จากเชียงขวางสู่ลุ่มน้ำาภาคกลางของไทย<br />

โดย อรศิริ ปาณินท์<br />

การกลายรูปในสองศตวรรษ<br />

โดย วีระ อินพันทัง<br />

สองสถาน....บ้าน-เรือนลาวเวียง<br />

โดย วันดี พินิจวรสิน<br />

33 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 33 24/4/18 16:10


พลัดถิ่นที่ย้อนแย้ง<br />

โดย ศรันย์ สมันตรัฐ<br />

เข้านอกออกในเรือนไทย-ลาว<br />

โดย จตุพล อังศุเวช<br />

ศรัทธาวิวัฒน์:<br />

ย่าง-เยือนเฮือนครั่ง:<br />

การแปรเปลี่ยน<br />

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม<br />

ลาวโซ่งหนองปรง:<br />

การปรับตัวเชิงนิเวศวิทยาวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำา<br />

โดย พัฒนปกรณ์ ลีลาพฤทธิ์<br />

การปรับตัวในการใช้ประโยชน์ที่ว่างที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวลาวครั่ง<br />

โดย สุธิดา สัตยากร และ พุดตาน จันทรางกูร<br />

ที่ว่างอันเกี่ยวเนื่องกับประเพณี<br />

โดย ศรุติ โพธิ์ไทร<br />

และ ชวาพร ศักดิ์ศรี<br />

ลาวโซ่ง เครื่องใช้งานจักสานกับการเปลี่ยนแปลง<br />

โดย อดิศร ศรีเสาวนันท์<br />

ภูมิทัศน์สร้างสรรค์เครื่องมือเครื่องใช้ในประเพณี พิธีกรรม ของชาวลาวโซ่ง<br />

โดย เจนยุทธ ล่อใจ<br />

จากตัวอย่างการประชุมวิชาการที่ยกมานี้แสดงให้เห็นได้ว่า ผลสรุปของการทำางานวิจัย<br />

นอกจากจะสรุปเป็นเอกสารวิจัย สรุปเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ทั้งทางบวกและทาง<br />

ลบแล้ว ยังอาจสรุปเป็นหนังสือตามเนื้อหาต่างๆ ได้หลากหลายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่<br />

ที่เกี่ยวเนื่อง<br />

ลักษณะสุดท้ายของการประชุมวิชาการด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่จะกล่าวถึงนี้คือการ<br />

ประชุมวิชาการนานาชาติไทยศึกษา ซึ่งในปี พ.ศ.2560 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

เป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติไทยศึกษานระหว่างวันที่ 15-18 กรกฏาคม 2560<br />

การประชุมครั้งนี้ คือ 13 th International Conference on “THAI STUDIES” GLO-<br />

BALIZED THAILAND? CONNECTIVITY, CONFLICT, AND CONUNDRUMS OF<br />

THAI STUDIES 15-18 JULY 2017 CHIANG MAI, THAILAND<br />

34<br />

ASA18_Book_180419.indd 34 24/4/18 16:10


การประชุมวิชาการในครั้งนี้ โดยการประสานงานของรองศาสตราจารย์ระวิวรรณ โอฬาร<br />

รัตน์มณี จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำาเนินการจัดให้ Tai<br />

Houses : Social and Symbolic Structures เป็นหัวข้อใน SESSIONS ของการประชุม<br />

โดยมีนักวิจัยที่ทำางานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ได้เสนอบทความในการประชุมครั้งนี้<br />

6 บทความ อันประกอบด้วย<br />

• The Dynamics of Tai <strong>Vernacular</strong> <strong>Architecture</strong> in Northeast India<br />

by Rawiwan Oranratmanee and Chaowalid Saicharoen.<br />

form Chiang Mai University<br />

• Forms and Special Organization of Lue <strong>Vernacular</strong> Dwelling Houses in<br />

Selected Villages in Yunnan of China, Shan State of Myanmar and<br />

Pongsali of Lao PDR. By Kreangkrai Kirdsiri, Thanick Muenkhamwang<br />

and Chantanom Soukaseum. From Silpakorn University<br />

• Similarity and Difference of the Tai-Kern <strong>Vernacular</strong> Houses : Chiang<br />

Mai and Keugtung. By Ornsiri Panin. From Kasetsart University<br />

• The Influences of Gender Beliefs on the Spatial Hierarch and<br />

Organization of the Tai-Puan Ethnic <strong>Vernacular</strong> Houses in<br />

Xiangkhouang Province, Lao PDR. By Chantanee Chirantanut.<br />

From Konkan University<br />

• Ancestral Beliefs and Spatial Organization of Tai-Dam house by<br />

Chotima Chaturawong. By Silpakorn University<br />

• Expression of Cultural Assimilation in in Lao Viang Houses in Central<br />

Thailand by Wandee Pinijvarasin and Ornsin Panin.<br />

From Kasetsart University<br />

การบรรจุหัวข้อ Tai Houses : Social and Symbolic Structures เข้าใน Sessions<br />

ของการประชุม ทำาให้เป็นการนำาร่องที่ดี สำาหรับการประชุมนานาชาติไทยศึกษาในครั้ง<br />

ต่อไป บทความวิชาการด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจะได้มีโอกาสเผยแพร่ในวงกว้างขึ้น<br />

35 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 35 24/4/18 16:10


่<br />

4.<br />

แนวโน้มในอนาคตของการศึกษา<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทย<br />

จากการศึกษาสถานภาพการสร้างสมองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยแยก<br />

ประเด็นการศึกษาออกเป็น 3 ประเด็น คือ การเรียนการสอน หนังสือและงานวิจัย และการ<br />

ประชุมวิชาการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบร่วมกันในการสร้างสมองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นในประเทศไทยมาร่วม 5 ทศวรรษได้พบว่า<br />

4.1 การเรียนการสอน<br />

มีการเพิ่มปริมาณการเรียนการสอนที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในหลักสูตรต่างๆ<br />

ของคณะสถาปัตยกรรมในทุกภูมิภาค เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีเพิ่มขึ้น<br />

อาทิ เช่น เริ่มมีความสนใจกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง เริ่มมีการเปิดการเรียนการสอน<br />

เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นร่วมสมัยทั้งในแง่ของการออกแบบและการวิจัย ซึ่งการดำ าเนิน<br />

งานดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตามแนวความคิดเดิมคือสถาปัตยกรรมที<br />

ปราศจากสถาปนิก (Bernard Rudofsky, 1964) มีความเปลี่ยนแปลงแนวคิดไปจากเดิม<br />

มีความสนใจในการศึกษาความสำาคัยของชีวิตท้องถิ่น นวัตกรรมวัสดุในท้องถิ่นเพื่อสร้าง<br />

สรรค์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นร่วมสมัยมากขึ้น (Asquith, Linsay & Vellinga, 2006)<br />

4.2 หนังสือและการวิจัย<br />

การผลิตหนังสือและทำางานวิจัยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการศึกษาแบบบูรณาการ<br />

ศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้การศึกษาได้คำาตอบที่ชัดเจนขึ้น (วิวัฒน์ เตมียพันธ์ : 2530) มีการ<br />

ศึกษาสถานภาพของการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ชัดเจน (วิมลสิทธิ หรยางกูร และ<br />

คณะ : 2536 และ อรศิริ ปาณินท์ : 2541) การมีผลผลิตหนังสือที่เป็นผลพวงจากการวิจัย<br />

(ดู 2.1 และ 2.2) แนวโน้มในอนาคตพบว่าการวิจัยแบบประชากรในพื้นที่มีส่วนร่วมจะใช้<br />

ประโยชน์ได้มากขึ้นและการศึกษาลงลึกในสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศพื้นถิ่นมีความ<br />

จำาเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาวิจัยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (วิวัฒน์ เตมียพันธ์ : 2559, อรศิริ<br />

ปาณินทร์ : 2547 ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี : 2552 และ วีระ อินพันทัง : 2550)<br />

ขอบเขตงานวิจัยในด้านพื้นที่แนวโน้มว่าจะขยายการศึกษาออกจากพื้นที่ในประเทศไทย<br />

ออกไปสู่พื้นที่ในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในอุษาคเนย์ (เกรียงไกร เกิดศิริ : 2560,<br />

36<br />

ASA18_Book_180419.indd 36 24/4/18 16:10


อรศิริ ปาณินท์:2545,2553,2556, ระวิวรรณ โอฬารรัตนมณี : 2556,2529) ทรงยศ วีระ<br />

ทวีมาศ และ มพดล ตั้งสกุล ; 2555, วีระ อินพันทัง : 2556)<br />

4.3 การประชุมวิชาการ<br />

มีแนวโน้มขยายไปสู่การประชุมนานาชาติมากขึ้น เพราะเริ่มมีการบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับ<br />

สถาปัตยกรรมพื ้นถิ่นในการประชุมไทยศึกษาที่ประเทศไทยโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

เป็นเจ้าภาพ เมื่อเดือนกรกฏาคม 2560 นอกเหนือจากการประชุมระดับชาติซึ่งมีสถาบัน<br />

การศึกษาในประเทศเป็นภาคีผู้รับผิดชอบการประชุมผลัดเปลี่ยนกันทุกปีต่อเนื่อง สถาบัน<br />

ภาคีที่จัดประชุมร่วมกันต่อเนื่องประกอบด้วย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

นอกเหนือจากการประชุมวิชาการหากพิจารณาปริมาณบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ใน<br />

วารสารวิชาการต่างๆ ได้พบว่าปริมาณบทความมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากมายในช่วงทศวรรษ<br />

ที่ผ่านมา (ตรวจสอบได้จากวารสารวิชาการของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)<br />

จากการสืบค้นที่นำาเสนอสถานภาพการสร้างองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทยได้<br />

พบว่าเนื้อหาของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นที่สนใจของวงการศึกษา และออกแบบสถาปัตย-<br />

กรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความเข้าใจและคำาจำากัดความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีความ<br />

แปรเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นบางส่วน ซึ่งเป็นสิ่งปกติของการปรับตัวและการแปรเปลี่ยน<br />

ของศาสตร์ต่างๆ โดยรวมซึ่งเป็นผลดีต่อการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมในอนาคตนวัตกรรม<br />

วัสดุที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีพัฒนาการและเริ่มมีความแปรเปลี่ยนขอบเขตพื้นที่<br />

ในการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีกว้างขึ้น และในอนาคตอาจข้ามไปถึงซีกโลกตะวันตก<br />

เพราะลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในซีกโลกตะวันตกมีความน่าสนใจ และมีทั้ง<br />

ความเหมือนและความต่างที่น่าศึกษาเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรม พื้นถิ่นไทยและ<br />

อุษาคเนย์ การศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในอนาคตจะไม่จบอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แต่จะ<br />

มีการศึกาข้ามศาสตร์ ข้ามพรมแดนที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่น่าสนใจได้ในอนาคต ซึ่งมี<br />

คุณค่าควรต่อการติดตามและร่วมในการเสริมสร้างองค์ความรู้ต่อไป<br />

37 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 37 24/4/18 16:10


บรรณานุกรม<br />

ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี (2552). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น การวิจัยและการปฏิบัติวิชาชีพ<br />

สถาปัตยกรรม Arch Journal 2009.<br />

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคณะ (2536). สถานภาพผลงานทางวิชาการสถาปัตยกรรมใน<br />

ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ<br />

วิโรฒ ศรีสุโร (2543). “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้นสำาคัญไฉน”. ความหลากหลายของ<br />

เรือนพื้นถิ่นไทย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ 22-23 มิถุนายน พ.ศ.<br />

2543 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (หน้า 44-51)<br />

วิวัฒน์ เตมียพันธ์ (2530). แนวทางการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น. เอกสารประกอบ<br />

การสัมมนา เรื่อง เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน. 29 ตค.-1 พย.2530<br />

ณ โรงแรมโฆษะ ขอนแก่น<br />

วีระ อินพันทัง (2550). ปลูกเรือนคล้อยตามพื้นดิน ปักถิ่นคล้อยตามสายน้ำา.<br />

กรุงเทพฯ : กิเลนการพิมพ์<br />

อรศิริ ปาณินท์ (2549). การอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมท้องถื่นอย่างยั่งยืน<br />

ในแนวทางบูรณาการข้ามศาสตร์. Proceedings of International Conference :<br />

Sustainable Local Heritage Conservation :<br />

The Trandisciplinary Approch and ICOMOS Thailand Annual<br />

Meeting. P.1-9.<br />

Amos Rapop. 1969. House Form and Culture. Englewood Clifts,<br />

N.J. : Prentice-Hall.<br />

Bernard Rudofsky. 1964. <strong>Architecture</strong> without Architects. New York :<br />

Doubleday.<br />

Program Book. 13th INTERNATIONAL CONFFERENCE ON THAI STUDIES<br />

GLOBALIZED THAILAND? CONNECTIVITY, CONFLICT, AND CO NUNDRUMS<br />

OF THAI STUDIES 15-18 JULY 2017 CHIANG MAI, THAILAND.<br />

38<br />

ASA18_Book_180419.indd 38 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 39 24/4/18 16:10


พื้นถิ่นเมือง: จิตวิญญาณใหม่<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา?<br />

ชาตรี ประกิตนนทการ<br />

40<br />

ASA18_Book_180419.indd 40 24/4/18 16:10


เป็นเวลากว่า 40 ปีมาแล้วที่แวดวงวิชาการสถาปัตยกรรมในสังคมไทยเริ่มให้ความสนใจ<br />

ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” (<strong>Vernacular</strong> <strong>Architecture</strong>) ระยะเวลา<br />

เกือบครึ่งศตวรรษดังกล่าวได้ทำาให้สิ่งที่เรียกว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา” (<strong>Vernacular</strong><br />

<strong>Architecture</strong> Studies) กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของการศึกษาวิจัยทาง<br />

สถาปัตยกรรมในวงการวิชาการไทยปัจจุบัน และไม่เพียงแค่นั้น แม้กระทั่งในวงการ<br />

วิชาชีพ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็ได้เข้ามาเป็นความคิดที่มีอิทธิพลไม่น้อยต่อการออกแบบ<br />

สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมร่วมสมัยของไทย ปรากฎการณ์นี้แม้ยังห่างไกลเกินกว่าจะเรียกว่า<br />

เป็นชัยชนะของกระแสสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเหนือความคิดกระแสความคิดแบบอื่น แต่ก็<br />

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา” จากจุดเริ่มต้นที่อาจเรียกได้ว่าเป็น<br />

“ชายขอบ” ทางความคิด แต่ในปัจจุบันได้กลายเป็น “กระแสหลัก” อย่างหนึ่งเป็นที่<br />

เรียบร้อยแล้ว<br />

ประเด็นสำาคัญคือ เมื่อแนวคิดใดก็ตามก้าวขึ้นมาดำ ารงสถานะของการเป็นกระแสหลัก โดย<br />

ธรรมชาติย่อมก่อให้เกิดสถานะที่หยุดนิ่งมากกว่าความเปลี่ยนแปลง ลดทอนมากกว่า<br />

หลากหลาย กีดกันมากกว่าเปิดกว้าง ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างแนวคิด<br />

กระแสหลักทั ้งหลายในหน้าประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของโลกในช่วงหลายร้อยปีที ่ผ่านมาได้<br />

ชี้บทเรียนเหล่านี้ให้เราเอาไว้มากมาย ซึ่งสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาก็หนีไม่พ้นธรรมชาติ<br />

ดังกล่าวเช่นกัน การทบทวนและปรับตัวอยู่เสมอคือทางออกเดียวที่จะทำาให้ทุกแนวคิดที่<br />

เริ่มกลายมาเป็นกระแสหลักสามารถที่จะพัฒนาต่อยอดไปข้างหน้าได้<br />

ด้วยเหตุผลดังกล่าวบทความขนาดสั้นชิ้นนี้จึงเกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายคือความพยายามจะ<br />

เป็นส่วนเล็กๆ ในการเข้ามานำาเสนอก้าวต่อไปของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาในสังคมไทย<br />

ว่าควรจะเปิดพื้นที่ทางวิชาการอะไรใหม่ๆ ที่จะทำาให้แนวคิดนี้มีพลวัตและตอบสนองต่อ<br />

ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่ผันแปรไปอยู่ตลอดเวลาได้<br />

แน่นอน สิ่งที่บทความนี้จะนำาเสนอต่อไปข้างหน้าอาจจะผิดทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็หวังว่า<br />

ความพยายามนี้จะนำาไปสู่ความตื่นตัวในการทบทวนตนเองในทุกมิติของแวดวงวิชาการ<br />

ทางด้านนี้ต่อไปในอนาคต<br />

41 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 41 24/4/18 16:10


จิตวิญญาณของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา<br />

โดยมิได้ทำาการสำารวจอย่างจริงจัง ผู้เขียนอยากเสนอในว่างานศึกษาวิจัยทางด้านนี้ใน<br />

ช่วงราว 10 ปีที่ผ่านมาเริ่มขาดสิ่งที่เรียกว่า “จิตวิญญาณ” (spirit) ที่เป็นหัวใจหลักของ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา อะไรคือจิตวิญญาณดังกล่าว ผู้เขียนอยากเริ่มด้วยการอ้างอิง<br />

กลับไปสู่หนังสือเล่มสำาคัญคือ <strong>Architecture</strong> Without Architects: A Short Introduction<br />

to Non-pedigreed <strong>Architecture</strong> ของ Bernard Rudofsky ตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2507<br />

ซึ่งถือเป็นหมุดหมายหลักของการศึกษาทางด้านนี้<br />

ในบทนำาหนังสือ Rudofsky (1964) อธิบายถึงเป้าหมายหลักว่าคือการเข้าไปทำาลายกรอบ<br />

ความคิดที่คับแคบในการนิยามคุณค่าของสิ่งเรียกว่าสถาปัตยกรรมซึ่ง ณ ขณะนั้นถูก<br />

ครอบงำาด้วยอคติบนฐานคิดทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่ให้คุณค่าเฉพาะแค่เรื่อง<br />

ราวในวัฒนธรรมกระแสหลักของโลกตะวันตกเพียงอย่างเดียว ตลอดจนแนวคิดที่มุ่งเน้น<br />

ความสำาคัญไปที่อัจฉริยภาพเชิงปัจเจกของ “สถาปนิก” ในฐานะผู้ออกแบบ โดยการเล็ง<br />

เห็นถึงข้อจำากัดและอคติดังกล่าว Rudofsky จึงเลือกที่จะนำาเสนอโลกของสถาปัตยกรรม<br />

อีกแบบที่ถูกละเลยและไม่ถูกจัดให้อยู่ในเส้นทางพัฒนาการประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />

กระแสหลักมานำาเสนอ ที่สำาคัญคือเป็นโลกที่สถาปัตยกรรมไม่ได้ถูกออกแบบโดย “สถาปนิก”<br />

และส่วนใหญ่ไม่ทราบแม้กระทั่งว่าใครเป็นผู ้ออกแบบเพราะสถาปัตยกรรมที่ถูกเลือกมา<br />

นั้นเกิดขึ้นจากประสบการณ์ และการแก้ปัญหาโดยชุมชนและสังคมมากกว่าการเป็นผล<br />

ผลิตเฉพาะของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นบ้านของกลุ่มชนเผ่าในซูดานและโมรอคโค<br />

หมู่บ้านใต้ดินในพื้นที่ตอนเหนือของจีน และ บ้านเรือริมน้ำาของเซี่ยงไฮ้ ฯลฯ<br />

หนังสือนี้ความจริงตีพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการในชื่อเดียวกันที่จัดขึ้นที่ MOMA<br />

นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2507 – 2 กุมภาพันธ์ 2508<br />

ภายในงานประกอบไปด้วยภาพถ่ายขาวดำาขนาดใหญ่ของงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นพร้อม<br />

ทั้งภูมิทัศน์และผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกราว 200 ภาพโดยปราศจากซึ่งคำา<br />

อธิบายภาพใดๆ ทั้งสิ้น นิทรรศการนี้ในอีกด้านหนึ่งคือการวิพากษ์วิจารณ์ตรงไปสู่กระแส<br />

“สถาปัตยกรรมสมัยใหม่” (Modern <strong>Architecture</strong>) ที่ยังคงมีอิทธิพลครอบงำาวงการ<br />

สถาปัตยกรรมในโลกตะวันตกอยู่ ณ ขณะนั้น นิทรรศการชุดนี้ได้รับการตอบรับจากผู้ชม<br />

เป็นจำานวนมากและถือเป็นนิทรรศการที่ประสบความสำาเร็จมากที่สุดนิทรรศการหนึ่งใน<br />

ประวัติศาสตร์ของ MOMA เลยก็ว่าได้<br />

อาจกล่าวได้โดยไม่เกินเลยไปนักว่าทั้งนิทรรศการและหนังสือได้ก่อให้เกิดกระบวนทัศน์<br />

ใหม่ในการมองและนิยามคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมครั้งสำาคัญ เป็นข้อเสนอที่เต็มไป<br />

42<br />

ASA18_Book_180419.indd 42 24/4/18 16:10


ด้วยจิตวิญญาณแห่งการท้าทายและต่อต้านความคิดกระแสหลัก ไม่ว่าจะเป็นการท้าทาย<br />

ต่อสุนทรียภาพแบบที่มีโลกตะวันตกเป็นศูนย์กลางผ่านการนำาเสนอสุนทรียภาพแบบใหม่<br />

ของสถาปัตยกรรมที่อยู่นอกตำาราประวัติศาสตร์ หรือการท้าทายแนวคิดแบบสถาปัตยกรรม<br />

สมัยใหม่ที่กำาลังอ้างความเป็นสากลของตนเองและกำาลังแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยนำา<br />

เสนอสถาปัตยกรรมที่สร้างบนความหลากหลายและเหตุปัจจัยเฉพาะที่สัมพันธ์กับบริบท<br />

ของแต่ละท้องถิ่น ตลอดจนการท้าทายระบบคุณค่าที่ให้ความสำาคัญกับ “สถาปนิก” ใน<br />

ฐานะผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบสร้างสรรค์ โดยชี้ให้เห็นว่าการออกแบบแก้ปัญหาทาง<br />

สถาปัตยกรรมซึ่งเป็นประสบการณ์ร่วมของชุมชนที่ถ่ายทอดจากรุ ่นสู่รุ่นที่มิใช่ผลผลิตของ<br />

ปัจเจกบุคคลนั้นมีคุณค่าสูงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันและในหลายกรณีมีคุณค่าสูงกว่าด้วย เพราะ<br />

วิธีการออกแบบที่ตรงไปตรงมาไร้จริตและตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนมากกว่า<br />

ซึ่งแนวคิดนี้จะพัฒนามาสู่สิ่งที่เรียกว่า “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” (Local Wisdom) ในเวลาต่อมา<br />

จิตวิญญาณแห่งการท้าทายกระแสหลักที่นำามาซึ่งการนำาสิ่งที่เคยถูกละเลยหรือดูแคลนมา<br />

ทำาการศึกษาหรือแม้กระทั่งนิยามคุณค่าใหม่ให้เกิดขึ้นคือหัวใจหลัก (ในทัศนะผู้เขียน) ที่งาน<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาได้มอบให้แก่วงวิชาการ และเมื่อแนวคิดนี้แพร่หลายเข้ามายัง<br />

วงวิชาการไทยราวทศวรรษที่ 2520 จิตวิญญาณดังกล่าวก็ถูกส่งผ่านต่อมาอย่างเห็นได้ชัด<br />

ในงานศึกษาของนักวิชาการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นรุ่นบุกเบิกไม่ว่าจะเป็นงาน “ความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมท้องถิ่น” ของ วิวัฒน์ เตมียพันธ์ (2525), “ธาตุอีสาน” ของ วิโรฒ ศรีสุโร<br />

(2531), “เรือนไทยมุสลิม” ของ เขต รัตนจรนะ (2527), “สิมอีสาน” ของ วิโรฒ ศรีสุโร<br />

(2536), “บ้านและหมู่บ้านพื้นถิ่น” ของ อรศิริ ปาณินท์ (2538), “เรือนพื้นถิ่นไทย-มอญ ที่<br />

สังขละบุรี” ของ อรศิริ ปาณินท์ (2539) ฯลฯ งานกลุ่มนี้เข้ามาท้าทายระบบคุณค่าแบบ<br />

เดิมในสังคมวัฒนธรรมไทยขณะนั้นที่เน้นแต่งานช่างหลวงจากส่วนกลางบนฐานทาง<br />

วัฒนธรรมแบบอยุธยา-กรุงเทพฯ<br />

อยากให้ลองนึกถึงยุคสมัยที่สิมอีสานทยอยถูกรื้อลงและแทนที่ด้วย “โบสถ์มาตรฐาน ก ข ค”<br />

โดยที่ไม่มีใครนึกเสียใจหรือเสียดาย จนวันหนึ่งก็ปรากฎงานเขียนเกี่ยวกับสิมอีสานที่มา<br />

พร้อมกับการรื้อฟื้น (หรือสร้างใหม่) คุณค่าและความงามที่ไม่มีใครเห็นอีกแล้วจนนำามาสู่<br />

การเริ่มต้นการเก็บรักษาแม้กระทั่งสืบทอดรูปแบบดังกล่าวอีกครั้งในปัจจุบัน แน่นอนว่า<br />

การหันกลับมาเห็นคุณค่าสิมอีสานมิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะมีงานวิจัยของ อ.วิโรฒ เพียงคน<br />

เดียว แต่ก็คงไม่มีใครปฏิเสธได้เช่นกันถึงพลังของงานชิ้นนี้ที่มีส่วนอย่างสำาคัญแน่ๆ ต่อ<br />

ความเข้าใจในคุณค่าของสิมอีสานของเราที่มีในปัจจุบัน งานเรื่องเรือนมุสลิมของ อ.เขต<br />

หรืองานมากมายของ อ.อรศิริ ที่เปิดพื้นที่ให้สถาปัตยกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยๆ ได้<br />

มีโอกาสเผยคุณค่าที่มีไม่แพ้เรือนไทยเดิมแบบภาคกลางจนเป็นงานที่มีส่วนสำาคัญที่ทำาให้<br />

ยุ้งข้าว เถียงนา แม่เตาไฟ ได้รับความสนใจศึกษาในฐานะที่เป็นภาพตัวแทนของความ<br />

ฉลาดในการออกแบบหรือแก้ไขปัญหาของชาวบ้านที่ดีไม่แพ้สถาปนิก ทั้งหมดนี้แม้ในด้าน<br />

43 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 43 24/4/18 16:10


หนึ่งเป็นเรื่องทางวิชาการ แต่ผลพวงที่ตามมาไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตามงาน<br />

กลุ่มนี้ได้กลายมาเป็นงานที่ก้าวเข้ามายืนเคียงข้างผู ้คนหรือกลุ่มวัฒนธรรมที่ถูกละเลย<br />

หรือถูกดูหมิ่นว่าต่ำาต้อย (ลาว มอญ เขมร กะเหรี่ยง มุสลิม ฯลฯ) ด้วยการเผยให้เห็น<br />

ภูมิปัญญาของพวกเขาผ่านการสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทต่างๆ สิ่งนี้<br />

คือคุณูประการหรือจิตวิญญาณที่สำาคัญที่สุดในทัศนะผู้เขียนที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา<br />

ของไทยสร้างขึ้นในทศรวรรษที่ 2520-2530<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาได้ผ่านยุคสมัยแห่งการท้าทายความคิดกระแสหลักเข้าสู่ยุค<br />

สมัยของการลงหลักปักฐานมั่นคงในราวทศวรรษ 2540 พร้อมๆ กับกระแสทางความคิด<br />

ชุดเดียวกัน อาทิ กระแส “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ที่แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางจนคำานี้<br />

ติดปากและถูกนำาไปใช้ในเกือบจะถูกเรื่องในสังคม การเกิดปรากฎการณ์ขยายตัวของ<br />

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างมหาศาลในช่วงเวลาดังกล่าว (ปริตตา และคณะ 2549, 18-20)<br />

และการเกิดขึ้นของ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นฐานคิดที่หนุนเสริมกระแส<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้อย่างพอเหมาะพอดี ฯลฯ ทั้งหมดนำาไปสู่การขยายตัวของวิชาการ<br />

ทางด้านนี้ มีนักวิชาการรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น มีงานวิจัย หนังสือ และบทความที่เกี่ยวข้องผลิต<br />

ออกมาเป็นจำานวนมาก ในแง่ของกรณีศึกษาเองก็ขยายตัวไปสู่กลุ่มวัฒนธรรมย่อยมากขึ้น<br />

หรือแม้กระทั่งข้ามไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในงานวิชาการรุ่นล่าสุด งานวิจัยด้านนี้เริ่มได้รับ<br />

รางวัลวิจัยอย่างต่อเนื่อง วงการวิชาชีพเองก็เริ่มเห็นว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นคำาตอบ<br />

ที่ควรนำามาต่อยอดเป็นงานออกแบบร่วมสมัยและหลายชิ ้นได้รับรางวัลสถาปัตยกรรม<br />

และสุดท้ายนำามาซึ่งการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นขึ้น<br />

โดยตรงในปี 2546 ทั้งหมดสะท้อนชัดถึงความสำาเร็จของการผลักดันสถาปัตยกรรมพื้น<br />

ถิ่นศึกษาในไทยจนทำาให้คุณค่าหลายอย่างที่แฝงอยู่ในงานสถาปัตยกรรมเหล่านั้นซึ่งเคย<br />

ถูกละเลยหรือดูถูกได้รับความสนใจและยกระดับขึ้นมาเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่<br />

สำาคัญของชาติ<br />

อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความสำาเร็จข้างต้นก็ทำาให้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาเปลี่ยนสถานะ<br />

จากที่เคยเป็นชายขอบมาสู่การเป็นกระแสหลักและเริ่มเข้าสู่สถานะของการกลายเป็น<br />

“บรรทัดฐานทางสังคม” (Social Norm) ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ แม้กระทั่งภาครัฐเองยัง<br />

หันมาให้ความสนใจมากขึ้น แน่นอน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นยังถูกจัดวางสถานะที่ต่ำาลง<br />

มากว่าสถาปัตยกรรมไทยประเพณีแบบช่างหลวงอยู่เช่นเดิมแต่ก็ต้องถือว่ามีสถานะที่เพิ่ม<br />

สูงขึ้นอย่างมากหากมองเทียบกับทศวรรษที่ 2520 และด้วยการกลายมาเป็นบรรทัดฐาน<br />

ทางสังคมดังกล่าวจึงทำาให้งานศึกษารุ่นหลังแม้จะเป็นกรณีศึกษาใหม่แต่ก็เริ่มขาดจิต<br />

วิญญาณที่ท้าทายและต่อสู้กับการกดทับหรือครอบงำาจากความคิดกระแสหลักไปมากขึ้น<br />

โดยลำาดับ<br />

44<br />

ASA18_Book_180419.indd 44 24/4/18 16:10


่<br />

ควรกล่าวไว้ก่อนว่า การหายไปของจิตวิญญาณนี้มิได้เป็นความรับผิดชอบของนักวิชาการ<br />

รุ่นหลังแต่อย่างใดและการกล่าวเช่นนี้ก็มิได้กำาลังอธิบายว่างานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นยุค<br />

หลังไม่มีคุณภาพ ความละเอียดในการศึกษาที่มากขึ้น ความก้าวหน้าของระเบียบวิธีวิจัย<br />

ตลอดจนกรณีศึกษาที่ไม่ซ้ำาเดิม ยังทำาให้งานทางด้านนี้มีคุณภาพทางวิชาการไม่ด้อยไป<br />

กว่าเดิมโดยเฉพาะในแง่มุมที่เข้ามาเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม<br />

ร่วมสมัยที่ดูจะมีความก้าวหน้าเป็นพิเศษ เพียงแต่สิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่าเป็นการหายไปของ<br />

“จิตวิญญาณแห่งการท้าทายความคิดประแสหลัก” นั้นผู้เขียนต้องการจะบอกว่ามันเป็น<br />

ปรากฎการณ์ธรรมชาติของทุกความคิดที่เมื่อกลายเป็นบรรทัดฐานทางสังคมแล้วย่อม<br />

ต้องสูญเสียพลังแห่งการท้าทายไปอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้<br />

ดังนั้น หากต้องการที่จะรักษาจิตวิญญาณดังกล่าวให้คงอยู่ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษา<br />

จะต้องปรับตัวอย่างไร สิ่งนี้คือประเด็นหลักที่บทความชิ้นนี้จะนำาเสนอต่อไป ซึ่งภายใต้<br />

ข้อจำากัดมากมายของผู้เขียนเองทั้งจากความรู้ในด้านนี้ตลอดจนเวลาในการสำารวจข้อมูล<br />

ต่างๆ ผู้เขียนจึงอยากทดลองเสนอความเป็นไปได้ใหม่ 3 ข้อที่อาจจะเป็นทางออกในการ<br />

ดึงจิตวิญาณของการศึกษาทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นให้กลับมามีพลังทางสังคมได้อีกครั้ง<br />

จาก “พื้นถิ่นชนบท” สู่ “พื้นถิ่นเมือง”<br />

พื้นที่ชนบทดูจะเป็นสนามหลักของการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมาโดยตลอด ตัวแบบ<br />

ศึกษายังคงเน้นไปที ่ เรือน ยุ ้งข้าว เถียงนา วัดพื้นถิ ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ย่อย ฯลฯ แม้พื ้นที<br />

ในเมืองจะมีงานศึกษาทางด้านนี ้อยู ่บ้างแต่ตัวแบบการศึกษาส่วนใหญ่ก็คือสถาปัตยกรรม<br />

ดั้งเดิมที่เป็นผลผลิตของความเป็นเมืองในยุคก่อนสมัยใหม่หรือก่อนยุคอุตสาหกรรมทั้งสิ้น<br />

เช่น ตึกแถวเก่า ตลาดโบราณ บ้านไม้ริมน้ำา ฯลฯ หรือหากจะมีการศึกษาที่คาบเกี่ยวมา<br />

สนใจยุคอุตสาหกรรม หัวข้อก็มักจะเป็นการศึกษาความเปลี่ยนแปลงหรือการปรับตัวของ<br />

สถาปัตยกรรมพื ้นถิ ่นดั ้งเดิมเมื ่อต้องมาปะทะเข้ากับยุคอุตสาหกรรมเพื ่อค้นหาภูมิปัญญา<br />

หรือคุณค่าดั้งเดิมในการต่อรองและรับมือกับการคุกคามของความเป็นสมัยใหม่ เราอาจสรุปได้ว่า<br />

สถานภาพของสถาปัตยกรรมพื ้นถิ ่นศึกษาในสังคมไทยเสมือนจะมีความคิดคู ่ตรงข้ามในเชิงพื ้นที่<br />

การศึกษาในสาขาวิชานี้ระหว่าง “ชนบท” กับ “เมือง” โดยมีแนวโน้มที่จะมองว่าสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นคือสิ่งที่เป็นผลผลิตจากสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเฉพาะในพื้นที่และเวลาแบบแรกเท่านั้น<br />

45 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 45 24/4/18 16:10


คำาถามคือ พื้นที่เมืองภายใต้ยุคอุตสาหกรรมไม่มีสิ่งที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจริงหรือ?<br />

จะตอบคำาถามนี้ได้อาจต้องเริ่มต้นที่การพิจารณานิยามของสิ่งที่เรียกว่า “สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่น” เป็นลำาดับแรก หากพิจารณาตามนิยาม Amos Rapoport (1969, 2) อธิบาย<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่ตรงข้ามกับสถาปัตยกรรมแบบทางการ มีความ<br />

ยิ่งใหญ่ และสร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีรสนิยมสูง ในขณะที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือ<br />

สิ่งก่อสร้างที่เกิดจากการแปล (ทั้งจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) สิ่งที่เป็นวัฒนธรรมมาสู่<br />

รูปธรรมทางกายภาพเพื่อสนองความต้องการในด้านต่างๆ ค่านิยม ตลอดจนความ<br />

ปรารถนา ความใฝ่ฝัน ของคนธรรมดาทั่วไปในวัฒนธรรมนั้นๆ โดยไม่มีผู้ออกแบบ ศิลปิน<br />

หรือ สถาปนิก หรือนิยามของ Paul Oliver (1997, xxi-xxviii) ที่อธิบายว่า สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นประกอบไปด้วยที่พักอาศัยตลอดจนอาคารประเภทอื่นทั้งหลายของมนุษย์ที่สร้างขึ ้น<br />

อย่างสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อมและทรัพยากรที่หาได้ในพื้นที่นั้นๆ ถูกสร้างขึ้นตามแบบ<br />

แผนและเทคโนโลยีที่สืบทอดต่อๆ กันมา รูปทรงทางสถาปัตยกรรมในทุกส่วนล้วนเกิดขึ ้น<br />

อย่างตอบสนองความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เต็มไปด้วยคุณค่าในมิติต่างๆ ตลอด<br />

จนสร้างขึ้นอย่างสอดรับกับเศรษฐกิจ และวิธีชีวิตในแต่ละวัฒนธรรมที่สร้างงานชิ้นเหล่า<br />

นั้นขึ้นมา หรือที่ดูเป็นรูปธรรมมากขึ้นเช่น Krisprantono (2003, 4) ที่ว่า สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นคือสถาปัตยกรรมที่มิได้สร้างโดยสถาปนิกแต่โดยสังคม ส่งผ่านกันจากรุ่นสู่รุ่นเป็น<br />

งานที่สร้างขึ้นบนความสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ<br />

ภายใต้นิยามโดยสังเขปข้างต้น สถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้บริบทแวดล้อมของ<br />

เมืองสมัยใหม่หลายอย่างเราอาจนิยามว่าเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบหนึ่งได้เช่นกัน<br />

แต่เป็น “พื้นถิ่นเมือง” มิใช่ “พื้นถิ่นชนบท” และควรอย่างยิ่งที่จะถูกยกขึ้นมาศึกษาอย่าง<br />

จริงจังในแวดวงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาของไทย<br />

ชุมชนแออัดเป็นตัวอย่างที่ดีในกรณีนี้ ในบทความของ Neha Goel (2010, 1-23) เรื่อง<br />

Squatter Settlements: The Urban <strong>Vernacular</strong>? ซึ่งทำาการศึกษาที่พักอาศัยในชุมชน<br />

แออัดหลายพื้นที่ในประเทศอินเดีย และ งานศึกษาของ สุพิชชา โตวิวิชญ์ (2545) เรื่อง<br />

“การศึกษาการใช้พื้นที่ วัสดุเหลือใช้ และวัสดุก่อสร้างของบ้านพักอาศัยสำาหรับคนราย<br />

ได้น้อยในเมือง” เป็นงานที่แสดงให้เห็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่คนจนเมืองเหล่านี้<br />

สร้างขึ้นว่ามีคุณค่าและคุณลักษณะพื้นฐานหลายประการไม่ต่างจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ชนบท ไม่ว่าจะเป็นการวางผัง การขยายตัว รูปแบบที่พักอาศัยที่เกิดจากการออกแบบ<br />

และแก้ปัญหาจากประสบการณ์ สัมพันธ์กับบริบทแวดล้อมภายใต้ทรัพยากรที่หาได้ง่าย<br />

รูปแบบเหล่านี้มีการเรียนรู้และส่งทอดถึงกันจากครอบครัวสู่ครอบครัว ที่น่าสนใจคือที่พัก<br />

อาศัยเหล่านี้มีการแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มเช่น ศาสนา และ ชาติพันธุ์ ผ่าน<br />

วัสดุการก่อสร้างสมัยใหม่ในยุคอุตสาหกรรมในรูปแบบใหม่ไม่ว่าจะเป็นพื้นผิววัสดุและ<br />

สีสันที่ใช้ประดับตกแต่งบ้านเรือน ชุมชนแออัดในเมืองที่ก่อตัวขึ้นในโลกยุคอุตสาหกรรม<br />

46<br />

ASA18_Book_180419.indd 46 24/4/18 16:10


ไม่ได้เป็นข้อจำากัดที่ทำาให้มนุษย์หยุดยั้งการสร้างสรรค์ตลอดจนการแก้ปัญหาเพื่อที่จะ<br />

ทำาให้คุณภาพชีวิตของตนและชุมชนดีขึ้นผ่านสิ่งก่อสร้างรอบๆ ตัว หากเราตัดประเด็น<br />

เชิงพื้นที่ออกไป สิ่งที่ปรากฏในชุมชนแออัดในประเทศอินเดียก็คือภูมิปัญญาในแบบที่ไม่<br />

ต่างกันเลยในการก่อรูปสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในชนบท แม้กระทั่งเรื่องความงามบ้านเรือน<br />

ในชุมชนเหล่านี้ต่างก็คิดสร้างสรรค์ความงามในแบบของเค้าอยู่ตลอดเวลาซึ่งนักวิชาการ<br />

จะต้องเข้าไปทำาความเข้าใจความงามแบบใหม่เหล่านี้เหมือนที่เคยเข้าไปทำาความเข้าใจ<br />

ความงามของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชนบทในอดีต<br />

อีกกรณีที่น่าสนใจคือ ปรากฎการณ์ทางสถาปัตยกรรมที่นิยมนำ าองค์ประกอบสถาปัตยกรรม<br />

ตะวันตก เช่น เสาคลาสสิค หลังคาโดม หน้าจั่วแบบวิหารกรีก ฯลฯ มาออกแบบและ<br />

ตกแต่งบ้านเรือน ปรากฎการณ์นี้แพร่หลายมากในช่วงราวทศวรรษที่ 2510-2530 หรือแม้<br />

กระทั่งปัจจุบันความนิยมนี้ก็ยังคงอยู่ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าปรากฎการณ์นี้เป็นสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นเมืองอีกแบบหนึ่ง คนกลุ่มนี้ทำาไมต้องใช้องค์ประกอบดังกล่าว อะไรคือค่านิยมที่<br />

ส่งผ่านกันในกลุ่มคนที่มีรสนิยมตกแต่งอาคารแบบนี้ พวกเค้าใช้มันเพื่อเป็นสัญลักษณ์<br />

อะไรและสื่อสารความหมายอะไร พื้นที่ส่วนไหนนิยมตกแต่งด้วยองค์ประกอบอะไร มีรูป<br />

แบบที่เราสามารถจัดเป็นลักษณะร่วมกันได้หรือไม่ แหล่งผลิตองค์ประกอบตกแต่งเหล่า<br />

นี้อยู่ที่ไหน ที่มาหรือตัวแบบขององค์ประกอบเหล่านี้อ้างอิงมาจากแหล่งใดและเพราะอะไร<br />

ทั้งหมดทั้งปวงล้วนเป็นคำาถามที่สัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาทั้งสิ้น คนกลุ่มนี้<br />

หากมองในนิยามชุมชนชนบทอาจไม่เข้าเกณฑ์เพราะมิได้อาศัยอยู่ใน ละแวกเดียวกันมิได้<br />

สื่อสารและส่งผ่านค่านิยม ความคิด ความเชื่อด้วยการพบปะแบบเห็นหน้า แต่หากมอง<br />

ในนิยามชุมชนเมืองสมัยใหม่ที่มิได้ตั้งอยู่บนฐานการอยู่อาศัยในละแวกเดียวกันแต่เชื่อม<br />

ผสานความเป็นชุมชนผ่านสื ่อต่างๆ เราย่อมไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสิ ่งที ่เป็นแรงผลักเบื ้องหลัง<br />

การประดับตกแต่งเช่นนี้เป็นฐานวิธีคิดที่มองค่านิยมและคุณค่าไปในแบบเดียวกัน ซึ่งใน<br />

ทางวิชาการเราสามารถนิยามกลุ่มคนเหล่านี้ว่ามีลักษณะร่วมทางวัฒนธรรมบางประการ<br />

หรือก็คือมีความเป็นชุมชนบางอย่างร่วมกันนั่นเอง<br />

จากกลุ่มชาติพันธุ์สู่กลุ่มคนที่หลากหลายในพื้นที่เมือง<br />

ความสนใจหลักอีกประการของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาในไทยคือการศึกษา<br />

สถาปัตยกรรมบนฐานความคิดในเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ลาว มอญ<br />

ญวน เขมร ไทลื้อ ไทดำา ไทยใหญ่ พวน กะเหรี่ยง ฮ้อ ฯลฯ ในรอบ 40 ปีที่ผ่านมาเรา<br />

จะพบงานวิจัยในประเด็นนี้มากมายและแน่นอนว่าแนวทางนี้ในงานศึกษารุ่นบุกเบิกได้<br />

47 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 47 24/4/18 16:10


้<br />

ทำาให้กลุ่มวัฒนธรรมย่อยที่ถูกละเลยหรือถูกดูถูกได้รับการยอมรับมากขึ้นดังที่กล่าวไป<br />

แล้ว แต่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาที่มโนทัศน์นี้กลายเป็นบรรทัดฐานแล้ว การศึกษากลุ่มชาติ<br />

พันธ์ย่อยๆ แม้จะมีประโยชน์ทางวิชาการเช่นเดิมแต่ก็ขาดจิตวิญญาณบางอย่างไป ดังนั้น<br />

การเริ่มต้นพิจารณากลุ่มวัฒนธรรมย่อยที่ไม่ใช่บนฐานคิดแบบชาติพันธุ์แต่เป็นกลุ่มทาง<br />

วัฒนธรรมในรูปแบบอื่นที่ปัจจุบันกำาลังถูกสังคมกระแสหลักมองข้ามหรือดูถูกจึงควรถูก<br />

นำามาศึกษาวิจัยในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมากขึ้น<br />

ดังที่กล่าวไปในหัวข้อก่อน สภาพแวดล้อมในพื้นที่เมืองสมัยใหม่แม้ไม่เอื้อให้เกิดชุมชน<br />

หรือกลุ่มวัฒนธรรมบนฐานละแวกบ้านเดียวกันแบบชนบท แต่นั้นก็มิได้หมายความว่า<br />

เมืองจะไม่มีชุมชนที่ประกอบไปด้วยคนที่มีรสนิยม ความเชื่อ ความฝัน และวิถีชีวิตแบบ<br />

เดียวกันแม้อาจจะไม่รู้จักหรือพบเจอกันแบบเห็นหน้าก็ตาม ชุมชนในพื้นที่เมืองแบบนี้ใน<br />

ทางมานุษวิทยาได้เข้าไปทำาการศึกษาในฐานะตัวแบบทางวิชาการมายาวนานมากกว่า 50 ปี<br />

แล้วในสาขาที่เรียกว่า “มานุษยวิทยาเมือง” (Urban Anthropology) ที่เน้นการศึกษา<br />

ระบบวัฒนธรรมของเมืองและให้ความสำาคัญกับการอธิบายวัฒนธรรมของกลุ่มคนต่างๆ<br />

และที่สำาคัญคือในโลกปัจจุบันที่พื ้นที่เมืองกับชนบทนั้นไม่อาจแยกขาดกันได้อย่างแท้จริง<br />

อีกต่อไป การทำาให้การทำาความเข้าใจชนบทไม่อาจตัดขาดจากการศึกษาเมืองได้อีกต่อไป<br />

ไม่ว่าจะเป็นปรากฎการณ์การอพยพย้ายถิ่นระหว่างเมืองกับชนบท ระบบเครือญาติในเขต<br />

เมือง ชนชั้น และชาติพันธุ์ในเขตเมืองที่ส่งผ่านหรือสืบบทอดต่อเนื่องมาจากชนบท ฯลฯ<br />

(Basham 1978)<br />

บนฐานความสัมพันธ์กันในทางระเบียบวิธีวิจัยที่คาบเกี่ยวกันมาโดยตลอดระหว่าง<br />

มานุษยวิทยากับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Oliver, 2003) การขยายความสนใจมาสู่กลุ่ม<br />

วัฒนธรรมย่อยในชุมชนเมืองตามแนวทางแบบมานุษยวิทยาเมืองจึงเป็นตัวแบบที่น่า<br />

สนใจที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาของไทยน่ารับมาพิจารณา เช่น กลุ่มคนรักรถประเภท<br />

เดียวกัน กลุ่มคนชอบแต่งครอสเพลย์ ชุมชนออนไลน์รูปแบบต่างๆ หรือแม้กระทั่งกลุ่ม<br />

วัฒนธรรรมที่สังคมกระแสหลักยังมองในแง่ลบ เช่น กลุ่มเพศทางเลือก ที่แม้จะถูกปิดกั้น<br />

และกดทับแต่กลุ่มคนเหล่านี้ก็สามารถหาที่ทางในการมาพบเจอหรือทำากิจกรรมร่วมกัน<br />

หลายกรณีเกิดเป็นการสร้างพื้นที่หรือปรับแปลงพื้นที่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ<br />

กลุ่มตน เกิดเป็นที่แลกเปลี่ยนความคิด ความฝัน รสนิยมต่างๆ ตลอดจนส่งผ่านความ<br />

หมายหรือสัญลักษณ์เหล่านี้ให้แก่สมาชิกกลุ่มต่อๆ ไป วิถีชีวิตของกลุ่มคนเมืองเหล่านี<br />

มาพร้อมกับการสร้างหรือปรับแปลงสภาพแวดล้อมในเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการ<br />

ในด้านต่างๆ ของตน ซึ่งภายใต้การขยายนิยามของสิ่งที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม<br />

ในปัจจุบันที่เป็นไปอย่างกว้างขวางเกินสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารสถานที่แล้วนั้น การปรับ<br />

สภาพแวดล้อมเมืองในลักษณะดังกล่าวย่อมเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบหนึ่งและเป็น<br />

“พื้นถิ่นเมือง” อีกรูปแบบหนึ่งที่ควรหันมาให้ความสนใจทางวิชาการ<br />

48<br />

ASA18_Book_180419.indd 48 24/4/18 16:10


ในงานเรื่อง “พื้นที่แห่งการซ่อนอาพรางของบาร์โชว์เกย์ในย่านสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่”<br />

ของ จิรันธนิน กิติกา (2556) เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจในกรณีนี้ งานชิ้นนี้เข้าไปศึกษาการ<br />

ออกแบบจัดวางพื้นที ่ในงานสถาปัตยกรรมเพื่อตอบสนองต่อกิจกรรมของกลุ ่มเกย์ที่ต้อง<br />

ทั้งปิดซ่อนเพราะค่านิยมทางสังคมกระแสหลักไม่ยอมรับ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีเทคนิค<br />

วิธีการตลอดจนภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออกผ่านหน้าตาอาคารเพื่อสื่อสารร่วมกันในกลุ่ม<br />

ตนให้ได้ การออกแบบใช้สอยพื้นที่ภายในก็ต้องเป็นไปอย่างถูกต้องตามรสนิยม แรง<br />

ปรารถนา และการใช้สอยเฉพาะด้าน ซึ่งผลการศึกษาของงานชิ้นนี้มีความน่าสนใจมาก<br />

ในแง่ที่มีการใช้ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ แต่ผู้เขียนเห็นว่า<br />

หัวข้อลักษณะนี้จะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจและมีคุณค่ามากขึ้นหากมีการบูรณาการข้ามมาใช้<br />

เทคนิควิธีในการศึกษาที่วงการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นถนัด ไม่ว่าจะเป็นการสำารวจลักษณะ<br />

ทางกายภาพ มองหาลักษณะร่วม อธิบายคติความเชื่อที่แฝงอยู่ในองค์ประกอบทาง<br />

สถาปัตยกรรมต่างๆ ที่กลุ่มคนเหล่านี้ใช้สื่อสารและส่งผ่านความหมายให้แก่กัน ซึ่งหาก<br />

เรามองชุมชนในพื้นที่เมืองให้กว้างขวางออกไปเราก็จะพบกลุ่มก้อนหรือชุมชนแบบนี้อีก<br />

เป็นจำานวนมากที่กำาลังรอการศึกษาในมิติของงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในอนาคต<br />

จากวัสดุธรรมชาติสู่วัสดุในระบบอุตสาหกรรม<br />

วัสดุเป็นประเด็นอีกข้อในวงการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาไทย งานที่ผ่านมาเกือบทั้งหมด<br />

สนใจเฉพาะวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ ไม่ไผ่ อิฐ ดิน แฝก จาก ฯลฯ เป็นหลัก วัสดุสมัย<br />

ใหม่ในระบบอุตสาหกรรม เช่น สังกะสี อิฐบล็อก คอนกรีต กระเบื้องลอนคู่ เป็นต้นแม้<br />

จะพบการศึกษาบ้างแต่ก็น้อยมากและทั้งหมดเป็นความสนใจในประเด็นเรื่องการปรับใช้<br />

หรือต่อรองระหว่างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นดั้งเดิมกับวัสดุสมัยใหม่โดยมีนัยยะของการมอง<br />

วัสดุสมัยใหม่ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ต้องหาวิธีการใช้ที่ไม่เข้าไปทำาลายคุณค่าดั้งเดิมของ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมากกว่าที่จะสนใจศึกษามันในฐานะที่เป็นวัสดุพื้นถิ่นโดยตัวของมันเอง<br />

ผู้เขียนเห็นว่างานวิจัยทางด้านนี้ควรเริ่มมองวัสดุในระบบอุตสากรรมในฐานะวัสดุพื้นถิ่น<br />

รูปแบบใหม่ที่คนธรรมดาทั่วไปที่มิใช่สถาปนิกหรือผู้เชี่ยวชาญต่างก็เข้ามามีส่วนร่วมใน<br />

การออกแบบและปรับใช้เพื่อตอบสนองบริบทเฉพาะของแต่ละปัญหา พื้นที่ ชุมชน และ<br />

สังคม งานศึกษาของ ยรรยง บุญ-หลง ที่เข้าไปอธิบายเรือหางยาวที่ใช้ขนส่งคนในคลอง<br />

49 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 49 24/4/18 16:10


แสนแสบอย่างละเอียดและแสดงให้เห็นถึงความฉลาดในการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหา<br />

การสัญจรภายใต้สภาพแวดล้อมของคลองแสนแสบที่มีข้อจำากัดมากมาย หรือ “รถพุ่มพวง”<br />

ซึ่งทำาหน้าที่ตอบสนองความต้องการไปตลาดสดในแบบเดิมแต่ปรับให้เข้ากับความ<br />

เป็นเมืองโดยเปลี่ยนเป็นตลาดสดเคลื่อนที่โดยอาศัยรถกระบะซึ่งเป็นผลผลิตของโลก<br />

อุตสาหกรรมมาเป็นเครื่องมือ (ประชาไท 2558)<br />

มองให้กว้างขึ้นมาสู่สถาปัตยกรรม ผู้เขียนเห็นว่าคอนกรีตเสริมเหล็กคือวัสดุที่น่าคิด<br />

โดยนับตั้งแต่มันถูกนำาเข้ามาใช้ในสังคมไทยครั้งแรกเมื่อราว 100 ปีที่ผ่านมาในฐานะวัสดุ<br />

ที่ต้องใช้ความรู้และผู้เชี่ยวชาญในการกำากับดูแลตลอดจนมีราคาแพง ปัจจุบันคอนกรีต<br />

กลายเป็นวัสดุพื ้นบ้านที ่ช่างท้องถิ ่นทั ่วไปสามารถใช้มันได้อย่างสะดวก หาง่าย และราคาถูก<br />

จนอาจกล่าวได้ว่าตัวมันได้เปลี่ยนสภาพกลายมาเป็น popular material ที่คนทั่วไปใช้<br />

ยิ่งกว่าวัสดุที่ถูกนิยามว่าเป็นวัสดุพื้นถิ่นหลายเท่าตัว และหากเรานิยามวัสดุพื้นถิ่นว่าเป็น<br />

วัสดุที่ใช้ง่ายและหาสะดวกได้ในสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวเรา คอนกรีตก็ได้ก้าวเข้ามาเป็น<br />

วัสุดพื้นถิ่นเรียบร้อยแล้ว แต่ในวงวิชาการไทยยังไม่มีงานศึกษาคอนกรีตในฐานะวัสดุพื้น<br />

ถิ่นแต่อย่างใด<br />

นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติของวัสดุที่อเนกประสงค์และสามารถนำาไปสร้างสิ่งก่อสร้าง<br />

ขนาดมหึมาได้ ทำาให้นับตั้งแต่ราวทศวรรษที่ 2530 เป็นต้นมา คอนกรีตได้ถูกนำาไปใช้ใน<br />

การออกแบบพระพุทธรูปขนาดใหญ่ (สูงเทียบเท่าตึกหลายชั้น) เป็นจำานวนมากทั้งในพื้นที่<br />

ศาสนสถานและพื้นที่ที่ไม่ใช่เป็นจำานวนมากจนกลายเป็นปรากฎการณ์ทางสถาปัตยกรรม<br />

ที่กระจายตัวไปทั่วทั้งในเขตชนบทและในเมือง แน่นอนหากมองในแง่หนึ่งสิ่งก่อสร้างนี้<br />

ต้องใช้สถาปนิกแต่ใครก็ตามที่สัมผัสงานก่อสร้างประเภทนี้เราก็จะรู้ว่ารูปแบบตลอดจนที่ตั้ง<br />

การจัดวาง ขนาดความสูง ฯลฯ เป็นเรื่องที่ถูกคิดขึ้นโดยกลุ่มคนที่มีลักษณะร่วมทาง<br />

ความคิดความเชื่อแบบหนึ่งที่ถ่ายทอดส่งผ่านกันและเปลี่ยนแปลงไปตลอดจากพื้นที่หนึ่ง<br />

สู่อีกพื้นที่หนึ่งผ่านสื่อสมัยใหม่ หรือสรุปให้ชัดก็คือมันเป็นผลผลิตของสังคมวัฒนธรรม<br />

บนฐานความคิดทางศาสนาแบบหนึ่งมากกว่าผลงานการออกแบบของสถาปนิกคนใดคน<br />

หนึ่ง ไม่ต่างจากที่เรานิยามงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแต่อย่างใดเลย ประเด็นนี้ก็เป็นอีก<br />

ตัวอย่างหนึ่งที่แวดวงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาน่าจะก้าวเข้ามาวิจัยอย่างจริงจัง ทั้งนี้<br />

ยังไม่จำาเป็นต้องนับรวมไปถึงสถาปัตยกรรมประเภท โบสถ์ขวดเบียร์ โบสถ์สังกะสี โบสถ์<br />

ที่ประดับพื้นผิวด้วยเหรียญ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจทางด้านนี้ทั้งสิ้น<br />

50<br />

ASA18_Book_180419.indd 50 24/4/18 16:10


ส่งท้าย<br />

บทความขนาดสั้นนี้มีเป้าหมายเพื่อนำาเสนอ “พื้นถิ่นเมือง” ในฐานะพื้นที่และตัวแบบใหม่<br />

ในการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในวงวิชาการไทย แน่นอนข้อเสนอนี้มีการถกเถียงกัน<br />

อยู่ในโลกวิชาการสากลบ้างแล้ว แต่ต้องยอมรับว่าในวงวิชาการไทยยังมีพูดถึงกันอยู่น้อย<br />

และที่สำาคัญคืองานศึกษาวิจัยด้านนี้ในสังคมไทย (เท่าที่สำารวจอย่างสังเขปภายใต้เวลา<br />

อันจำากัด) อาจกล่าวได้ว่าไม่ปรากฏตัวแบบของ “พื้นถิ่นเมือง” ในการศึกษาทางสถา-<br />

ปัตยกรรมพื้นถิ่นเลย เท่าที่มีก็มักไปปรากฎอยู่ในสาขาวิชาอื่น<br />

ผู้เขียนเข้าใจดีว่าธรรมชาติของนักวิชาการแต่ลคนย่อมไม่เหมือนกัน มีความถนัดในการ<br />

ศึกษาหรือความสามารถในการลงภาคสนามในพื้นที่ที่ไม่เหมือนกัน ตลอดจนมีความชอบ<br />

ในการมองสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ต่างกัน ดังนั้นการนำาเสนอตัวแบบ “พื้นถิ่นเมือง” ใน<br />

บทความนี้จึงมิใช่การเรียกร้องให้นักวิชาการที่ไม่ถนัดการศึกษาพื้นที่เมืองต้องหันมา<br />

ทำางานในแนวนี้ เป้าหมายของบทความนี้เป็นเพียงข้อเสนอที่อยากให้เกิดการผลักดันใน<br />

เชิงทางเลือกให้แก่นักวิชาการรุ่นใหม่ให้ลองเริ่มพิจารณา “พื้นถิ่นเมือง” เป็นตัวเลือกเพิ่ม<br />

ขึ้นในการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเท่านั้น<br />

การเรียกร้องให้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษาหันมาสนใจ “พื้นถิ่นเมือง” จะมีประโยชน์อะไร?<br />

เป็นอีกคำาถามที่หลายท่านอาจสงสัย ซึ่งคำาตอบก็คงขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนว่าสาขา<br />

วิชาทางด้านนี้ควรแสดงบทบาทต่อสังคมอย่างไรบ้าง ซึ่งในกรณีของผู้เขียนเห็นว่า นอก<br />

จากบทบาททางความรู้และวิชาการที่สาขาวิชานี้ให้แก่สังคมมาโดยตลอดอยู่แล้วนั้น หาก<br />

เรามองย้อนกลับไปที่งานด้านนี้ในรุ่นบุกเบิกเราจะพบ “จิตวิญญาณแห่งการท้าทายความ<br />

คิดกระแสหลัก” ที่นำามาซึ ่งการยืนเคียงข้างความคิดชายขอบหรือกลุ ่มวัฒนธรรมที ่ถูกกดทับ<br />

ทางสังคม (ไม่ว่าจะโดยตั้งใจของนักวิชาการรุ่นบุกเบิกหรือไม่ก็ตาม) ซึ่งเริ่มลดน้อยลง<br />

หรือแม้กระทั่งขาดหายไปจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นศึกษารุ่นปัจจุบันอันเนื่องมาจาก<br />

การที่ความคิดทางด้านนี้ได้กลายเป็นบรรทัดฐานทางสังคมไทยไปแล้ว<br />

51 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 51 24/4/18 16:10


ในทัศนะผู้เขียนการรื้อฟื้นจิตวิญญาณดังกล่าวเป็นเรื่องที่สำาคัญ และแนวทางที่จะรื้อฟื้น<br />

ได้ก็คือการขยายนิยามของสิ่งที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นออกไปให้ครอบคลุมสิ่ง<br />

ที่บทความนี้เรียกว่าสถาปัตยกรรม “พื้นถิ่นเมือง” ที่ปัจจุบันมีสถานะไม่ต่างจาก<br />

สถาปัตยกรรม “พื้นถิ่นชนบท” เมื่อ 50 ปีก่อนที่ถูกมองว่าด้อยค่า การเข้ามาศึกษาใน<br />

พื้นที่ใหม่นี้จะเป็นการช่วยให้สังคมมองเห็นวิถีชีวิต ความคิด ค่านิยม ความฝัน แรงปราถนา<br />

ตลอดจนการต่อสู้ของกลุ่มคนเหล่านี้เพื่อให้สามารถอยู่รอดในสภาพแวดล้อมเมืองผ่าน<br />

การสร้างหรือปรับแต่งพื้นที่และงานสถาปัตยกรรมต่างๆ และยังเป็นการเข้ามาศึกษาเพื่อ<br />

เผยให้เห็น (หรือสร้าง) สุนทรียภาพของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมืองให้สังคมเข้าใจและ<br />

สัมผัสได้ในแบบที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นรุ่นบุกเบิกได้เผยให้เห็นสุนทรียภาพของ สิมอีสาน<br />

ยุ้งข้าว เถียงนา ฯลฯ สำาเร็จมาแล้ว หรือในที่สุดแม้ว่าการศึกษาเหล่านี้จะไม่นำาไปสู่การ<br />

สร้างคุณค่าหรือความงามใหม่ให้เกิดขึ้น อย่างน้อยการศึกษาก็จะนำามาซึ่งความเข้าใจ<br />

“คนอื่น” ที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากเรามากขึ้น<br />

บรรณานุกรม<br />

เขต รัตนจรณะ. (2527). เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้: รายงานผลการวิจัย<br />

เบื้องต้น ปีที่ 1: จังหวัดปัตตานี = The domestic architecture of the Thai<br />

Muslims of the Southern border provinces of Thailand. กรุงเทพฯ: ศิริ<br />

วัฒนาการพิมพ์<br />

จิรันธนิน กิติกา. (2556). พื้นที่แห่งการซ่อนอาพรางของบาร์โชว์เกย์ในย่านสันติธรรม<br />

จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม<br />

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2556.<br />

ประชาไท. (2558). “ยรรยง บุญ-หลง: ขนส่งทำามือยุคดิจิทัล จากวิน จยย.รับจ้าง-เรือ<br />

เชื่อมราง ถึงเมืองสำาเร็จรูป” ใน ประชาไท [online] วันที่ 29 กันยายน 2558.<br />

สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2561 https://prachatai.com/journal/2015/09/61657<br />

ปริตตา เฉลิมเผ่า กอออนันตกูล และคณะ (2549). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ<br />

วิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).<br />

52<br />

ASA18_Book_180419.indd 52 24/4/18 16:10


วิโรฒ ศรีสุโร. (2531) ธาตุอีสาน. กรุงเทพฯ: บริษัทเมฆาเพรส.<br />

วิโรฒ ศรีสุโร. (2536). สิมอีสาน = Isan Sim: Northeast Buddhist holy temples.<br />

กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้า.<br />

วิวัฒน์ เตมียพันธ์. (2525). ความสำาคัญของสถาปัตยกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.<br />

สุพิชชา โตวิวิชญ์. (2545). การศึกษาการใช้พื้นที่ วัสดุเหลือใช้ และวัสดุก่อสร้างของบ้าน<br />

พักอาศัยสำาหรับคนรายได้น้อยในเมือง. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหา<br />

บัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2545.<br />

อรศิริ ปาณินท์. (2538). บ้านและหมู่บ้านพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย<br />

ธรรมศาสตร์.อรศิริ ปาณินท์. (2539) เรือนพื้นถิ่นไทย-มอญ ที่สังขละบุรี. กรุงเทพฯ:<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร.<br />

Basham, Richard. (1978). Urban Anthropology: The Cross-Cultural Study of<br />

Complex Societies. Mayfield Publishing Company.<br />

Goel, Neha. (2010). “Squatter Settlements: The Urban <strong>Vernacular</strong>?” in Urban<br />

Transformation: Controversies, Contrasts and Challenges. Conference Proceeding<br />

Volume III, 14th IPSH Conference 12-15 July 2010 Istanbul, Turkey.<br />

pp. 203-220.<br />

Krispantono. (2003). Introducing the Consciousness and Sensibility of<br />

<strong>Vernacular</strong> discourse of Architectural Thinking in the Tropic.<br />

Jogjakarta: Soegijapranata Catholic University.<br />

Oliver, Paul. (1997). Encyclopedia of <strong>Vernacular</strong> <strong>Architecture</strong> of the World.<br />

Cambridge: Cambridge University Press.<br />

Oliver, Paul. (2003). Dwellings: The <strong>Vernacular</strong> House Worldwide. Oxford: Phaidon.<br />

Rapoport, Amos. (1969). House Form and Culture. New York: Prentice-Hall.<br />

Rudofsky, Bernard. (1964). <strong>Architecture</strong> without Architects, A short introduction to<br />

non-pedigreed architecture. New York: Doubleday & Co. Inc.<br />

53 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 53 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 54 24/4/18 16:10


สถาปนิกวิชาการ<br />

ASA18_Book_180419.indd 55 24/4/18 16:10


จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ถึงสถาปัตยกรรมร่วมสมัย<br />

วีระ อินพันทัง<br />

56<br />

ASA18_Book_180419.indd 56 24/4/18 16:10


1. นำาเรื่อง: คุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

สำาหรับวงการสถาปัตยกรรมของไทย การอ้างอิงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นต้นแบบเพื่อ<br />

พัฒนาสู่สถาปัตยกรรมร่วมสมัยเกิดขึ้นราวครึ่งศตวรรษมาแล้ว แต่เป็นกระแสที่แผ่วเบา<br />

และจำากัดอยู่ในวงแคบ มาในระยะหลังโดยเฉพาะช่วง 1-2 ทศวรรษที่ผ่านมาการใช้<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นฐานอ้างอิงสู่การออกแบบร่วมสมัยกลายเป็นทิศทางหนึ่งที ่มี<br />

ความชัดเจนขึ้นโดยลำาดับ นักวิชาการหลายรายแสดงความเห็นในเรื่องนี้อย่างเป็นกิจจะ<br />

ลักษณะ ดังที่ศรีศักร วัลลิโภดม (2543) กล่าวว่า<br />

ทางเลือกอีกทางหนึ่งของผู้คนในสังคมที่พอแลเห็นแสงสว่างแต่เพียงรางๆ ก็คือ<br />

การฟื้นฟูและสร้างพลังท้องถิ่นให้เกิดขึ้น ไม่จำาเป็นต้องเหมือนเดิมแต่สานต่อจาก<br />

ของเดิม โดยปรับให้ทันกับโลกหรือสิ่งที่สยบกันหนักหนาว่า “โลกาภิวัตน์”<br />

หรือที่อรศิริ ปาณินท์ (2548) กล่าวไว้ในคำานำาของชุดโครงการวิจัย “ภูมิปัญญา<br />

พัฒนาการ และความสัมพันธ์ระหว่างกันของเรือนพื้นถิ่นไทย-ไท: คุณลักษณะของ<br />

สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมในเรือนพื้นถิ่น” ว่า<br />

การศึกษา...เน้นความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น วิถีชีวิต และสภาพแวดล้อม<br />

เพื่อให้ได้คำาตอบที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นผลต่อการศึกษา<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น การพัฒนาแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพ<br />

แวดล้อมสรรค์สร้างต่อไปในอนาคต<br />

ทั้งนี้ ธนิศร์ เสถียรนาม และ นพดล ตั้งสกุล (2557) ได้ศึกษาการให้คุณค่าสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นจากมุมมองของทั้งนักวิชาการตะวันตกและนักวิชาการไทย ประมวลสรุปได้ 2 ประการ<br />

หลัก คือ 1. คุณค่าในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละถิ่น ชนชาติ และเผ่าพันธุ์<br />

2. คุณค่าในฐานะสถาปัตยกรรมต้นแบบซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสภาพแวดล้อม<br />

ประสานแน่น สามารถนำาไปใช้แก้ปัญหาในสภาวะปัจจุบันได้<br />

คุณค่าประการแรกเป็นการมองสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเชิงรูปแบบ ส่วนคุณค่าประการหลัง<br />

เป็นการมองสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเชิงองค์ความรู้<br />

57 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 57 24/4/18 16:10


กล่าวได้ว่า การศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไม่ใช่เพียงเพื่อการเรียนรู้รูปแบบจากอดีตอีกต่อ<br />

ไป แต่ยังเป็นฐานความรู้เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาสถาปัตยกรรมแห่งปัจจุบันสมัยอีกด้วย<br />

ข้อเขียนนี้มุ่งมองสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทยในฐานะสิ่งปลูกสร้างทรงคุณค่า สามารถ<br />

ยึดถือเป็นต้นแบบสู่การปรับใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยบนแผ่นดินไทย<br />

ในกาลปัจจุบันและอนาคตได้<br />

2. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น: ความหมาย<br />

กล่าวถึงวงวิชาการของไทย คำาว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ปรากฏขึ้นตามชื่อหนังสือ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งจัดทำ าขึ้นในวาระการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ใน พ.ศ. 2525<br />

โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร<br />

ลาดกระบัง ในเอกสารทางวิชาการดังกล่าวได้อธิบายความหมายไว้ ดังนี้<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หมายถึง สิ่งก่อสร้างต่างๆ ตลอดจนสภาพแวดล้อมทาง<br />

กายภาพที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละท้องถิ่นที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพ<br />

แวดล้อม เพื่อสนองความต้องการของชุมชนนั้นๆ รูปแบบของสิ่งก่อสร้างอาจจะ<br />

พัฒนาไปจากรูปแบบเดิม โดยปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับการดำาเนินชีวิต ซึ่งต้อง<br />

อาศัยระยะเวลาในการพัฒนาเพื่อจะให้มีรูปแบบเฉพาะตัวขึ้นได้<br />

นักวิชาการทั้งต่างชาติและไทยได้สร้างนิยามของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นขึ ้นหลายสำานวน<br />

ทั้งนี้ นิยามคำาว่า vernacular architecture (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) ซึ่งได้รับการยกขึ้นมา<br />

อ้างอิงอย่างกว้างขวางในระยะหลังปรากฏอยู่ในหนังสือ Encyclopedia of <strong>Vernacular</strong><br />

<strong>Architecture</strong> of the World โดยมี Paul Oliver (1997) เป็นบรรณาธิการ ความว่า<br />

<strong>Vernacular</strong> architecture comprises the dwellings and all other buildings<br />

of the people. Related to their environmental contexts and available resources,<br />

they are customarily owned- or community-built, utilizing traditional<br />

technologies. All forms of vernacular architecture are built to meet<br />

specific needs, accommodating the values, economics and way of livings<br />

of the cultures that produce them.<br />

58<br />

ASA18_Book_180419.indd 58 24/4/18 16:10


ถอดความได้ ดังนี้<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประกอบด้วยที่พักอาศัยและอาคารอื่นๆ ทั้งหมดของมนุษย์ ได้<br />

รับการสร้างขึ้นอย่างสัมพันธ์กับบริบทที่แวดล้อมและทรัพยากรที่หาได้โดยเจ้าของ<br />

หรือชุมชนด้วยวิธีการตามแบบแผนที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา รูปทรงทั้งมวลของ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะ สมควรตามค่า<br />

นิยม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตในแต่ละวัฒนธรรมที่ผลิตขึ้นมา<br />

อย่างไรก็ตาม การย้อนกลับไปยังนิยามตั้งต้นที่ใช้คำาว่า architecture without architects<br />

(สถาปัตยกรรมไร้สถาปนิก) ดูจะเข้าใจได้ง่ายและชัดเจน ซึ่ง Bernard Rudofsky (1964)<br />

ใช้เป็นทั้งชื่อนิทรรศการที่จัดขึ้นที่ Museum of Modern Art (MoMA) นครนิวยอร์คและ<br />

ชื่อหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในนิทรรศการครั้งนั้น กล่าวได้ว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่ง<br />

เกิดจากคำา สถาปัตยกรรม+พื้นถิ่น ต้องการสื่อความถึงสิ่งปลูกสร้างที่ชาวบ้านในถิ่นที่<br />

ต่าง ๆ ทำาขึ้น (ภาพ 1) เพื่อสร้างความหมายเฉพาะให้แตกต่างจากคำาว่า สถาปัตยกรรม<br />

ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างจากการออกแบบของสถาปนิก<br />

3. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น: แก่นสาระ<br />

ในข้อเขียนนี้จะแยกพิจารณาแก่นสาระของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นออกเป็นด้านรูปลักษณ์<br />

และคุณลักษณ์<br />

รูปลักษณ์<br />

ลักษณะทางกายภาพซึ่งจับต้องได้ คือ สัมผัสได้หรือรับรู้ได้ ที่ปรากฏอยู่ในงาน<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นครอบคลุมทั้งด้านรูปธรรม นามธรรม และการประกอบสร้าง ดังนี้<br />

มิติทางรูปธรรม: ลักษณะทางกายภาพของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมื่อพิจารณาทางแนว<br />

ราบ จักเห็นได้ว่า คนไทยมีวิธีกำาหนดทิศทางเรือนให้คล้อยตามสภาพแวดล้อมของถิ่นฐาน<br />

กล่าวคือ กรณีที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บนที่ดอนมีคติในการวางเรือนตามตะวัน กรณีที่ตั้งบ้าน<br />

เรือนอยู่ริมแม่น้ำาลำาคลองมีคติในการวางเรือนตามสายน้ำา กรณีที่ตั้งบ้านเรือนอยู่เชิงเขา<br />

มีคติในการวางเรือนตามสันเขา ทิศทางเรือนดังกล่าวจะเป็นเงื่อนไขในการกำาหนดความ<br />

เป็นหน้าเรือน-หลังเรือน หัวเรือน-ท้ายเรือน หรืออีกนัยหนึ่งการวางผังเรือน โดยทั่วไป<br />

เรือนของคนไทยมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ห้อง (ช่วงเสา) ยาว 3 หรือ 5 ห้อง<br />

คลุมด้วยหลังคาจั่วที่มีสันหลังคาทอดไปตามแนวยาวของห้อง กรณีการวางเรือนตาม<br />

ตะวันหมายถึงการวางด้านยาวของเรือนทอดไปตามแนวตะวันออก-ตะวันตก สำาหรับ<br />

เรือนในภาคกลาง เมื่อวางเรือนตามตะวันนิยมหันหน้าเรือนซึ่งอยู่ด้านยาวไปทางทิศเหนือ<br />

59 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 59 24/4/18 16:10


และจัดพื้นที่ไล่ลำาดับสู่ด้านหลัง (ทิศใต้) จากชาน-ระเบียง-ห้อง เอื้อให้คนที่นอนใน<br />

ห้องหันหัวไปทางทิศใต้ตามคติการถือทิศใต้เป็นทิศหัวนอนและทิศเหนือเป็นทิศ<br />

ปลายตีน อย่างไรก็ตาม หากตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำาลำาคลอง ผู้คนให้ความสำาคัญกับ<br />

การหันหน้าเรือนสู่ลำาน้ำาซึ่งอยู่เบื้องหน้ามากกว่าการยึดเส้นทางโคจรของดวงตะวัน<br />

เป็นที่ตั้ง เมื่อพิจารณาทางแนวตั้ง เรือนประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือใต้ถุน บนเรือน<br />

และหลังคา ลักษณะทางกายภาพของเรือนพื้นถิ่นไทยที่มีใต้ถุนสูง พื้นยก หลังคาชัน<br />

เป็นการก่อรูปขึ้นตามเงื่อนไขของสภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัยบริเวณที่ราบลุ่มน้ำา<br />

ซึ่งมักมีน้ำานองท่วมในฤดูน้ำาหลากทำาให้ต้องทิ้งพื้นที่ชั้นล่างโล่งไว้ ยกพื้นสำาหรับอยู่<br />

อาศัยลอยขึ้นพ้นระดับน้ำาท่วม ส่วนหลังคามุงด้วยใบไม้ที่นำามากรองเป็นตับ จำาเป็น<br />

ต้องทำาหลังคาชันเพื่อให้สามารถระบายน้ำาฝนที่ตกชุกได้เร็ว ในเชิงสัดส่วน ใต้ถุน<br />

มักเตี้ยกว่าบนเรือน ขณะที่หลังคามักมีความสูงใกล้เคียงกับใต้ถุน สำาหรับเรือนใน<br />

ภาคกลาง จากการศึกษาของฤทัย ใจจงรัก (2539) สัดส่วนของ ใต้ถุน : บนเรือน :<br />

หลังคา = 4 : 5 : 4 ส่วนประกอบ 3 ส่วนดังกล่าวยังมีความเชื่อมโยงกับคติจักรวาล-<br />

ไตรภูมิ (ภาพ 2) ซึ่งประกอบด้วยโลกนรก โลกมนุษย์ และโลกสวรรค์ เรียงซ้อนขึ้น<br />

ไปตามแนวตั้ง โดยใต้ถุนซึ่งมักใช้เป็นคอกสัตว์เปรียบได้กับโลกนรก บนเรือนซึ่งเป็น<br />

ที่อยู่อาศัยของคนเปรียบได้กับโลกมนุษย์ และหลังคาซึ่งอยู่สูงสุดเปรียบได้กับโลก<br />

สวรรค์ (วีระ อินพันทัง, 2552)<br />

มิติทางนามธรรม: ลักษณะทางกายภาพของบ้านเรือนคนไทยดังกล่าวข้างต้น ใน<br />

เชิงความรู้สึก ผู้พบเห็นจะสัมผัสได้ถึงความโปร่งโล่ง เนื่องเพราะปลูกสร้างด้วย<br />

ไม้ ไม้มีคุณสมบัติในการรับแรงดึงได้ดี สถาปัตยกรรมไม้จึงมีลักษณะเป็นโครงที่มี<br />

ความโปร่ง ต่างจากสถาปัตยกรรมอิฐหินที่มีคุณสมบัติรับแรงกดได้ดี เหมาะแก่การ<br />

สร้างสถาปัตยกรรมผนังรับน้ำาหนักซึ่งมีความทึบตัน นอกจากนี้ ความโปร่งโล่งยัง<br />

เป็นผลจากการใช้รูปลักษณ์ที่ปรากฏเพียงแนวเสาลอยที่ชั้นล่าง ขณะที่ชั้นบนมีชาน<br />

เปิดรับแดด ระเบียงที่กำาหนดขอบเขตด้วยพื้นยกระดับและแนวเสา มีเพียงห้องนอน<br />

เท่านั้นที่มีการกั้นฝาโดยรอบ ความโปร่งโล่งนี้ช่วยให้ลมพัดผ่านระบายความร้อน<br />

และความชื้นออกไปได้เป็นอย่างดี อีกความรู้สึกหนึ่งที่สัมผัสได้คือความเบาลอย ทั้ง<br />

ลักษณะเรือนใต้ถุนโล่ง พื้นยกลอยขึ้นเหนือดิน ลักษณะโครงเสา-คานจากการใช้ไม้<br />

เป็นวัสดุปลูกสร้าง ล้วนเป็นปัจจัยทำาให้เกิดความรู้สึกเบาลอยต่อการรับรู้ สำาหรับ<br />

เรือนในภาคกลางซึ่งหลังคามีลักษณะจั่วทรงจอมแหที่มีระนาบทอดโค้งเล็กน้อย<br />

เมื่อประกอบกับปั้นลมที่ได้รับการแต่งรูปโค้งรับกับระนาบหลังคาแล้วตวัดปลายเป็น<br />

เหงา ยังผลให้เกิดความรู้สึกอ่อนช้อยต่อผู้ได้สัมผัสเห็นอีกด้วย ทั้งนี้ ความอ่อนช้อย<br />

เป็นลักษณะที่พบได้น้อยมากในงานสถาปัตยกรรมทั่วไป ถือเป็นลักษณะเฉพาะของ<br />

สถาปัตยกรรมไทยที่มีความพิเศษไม่เหมือนใคร<br />

60<br />

ASA18_Book_180419.indd 60 24/4/18 16:10


มิติการประกอบสร้าง: บ้านเรือนชาวบ้านใช้วัสดุปลูกสร้างที่หาได้จากทรัพยากร<br />

ธรรมชาติใกล้มือ “สถาปัตยกรรมชาวบ้าน...เกิดขึ้นจากการคงเนื้อแท้ของวัสดุปลูก<br />

สร้าง ดิน ไม้ ใบไม้ และอื่นใดเปลือยผิวโดยไม่ฉาบทาด้วยวัสดุสังเคราะห์ใดๆ คราบ<br />

ความเก่า ร่องรอยของกาลเวลาปรากฏบนผิวเนื้อวัสดุอย่างไม่มีการปิดบัง” (วีระ อิน<br />

พันทัง, 2550) สำาหรับแผ่นดินอันอุดมของไทยมีไม้นานาพรรณ บ้านเรือนของคนไทย<br />

จึงใช้ไม้ ไม้ไผ่ เป็นวัสดุปลูกสร้างโดยผ่านการแปรรูปอย่างง่ายๆ ด้วยเครื่องมือช่าง<br />

พื้นฐาน เรือนไม้ไผ่ใช้การยึดโยงตัวไม้โดยการผูกมัดด้วยหวายหรือเถาวัลย์เป็นที่มา<br />

ของการเรียกว่า เรือนเครื่องผูก (ภาพ 3) ขณะที่เรือนไม้จริงใช้วิธีบากสับเข้าปากไม้<br />

เป็นที่มาของการเรียกว่า เรือนเครื่องสับ (ภาพ 4) ส่วนหลังคาแต่เดิมมุงด้วยใบไม้มี<br />

หญ้าคา ใบจาก ใบพลวง (ตองตึง) เป็นต้น นำามากรองเป็นตับแล้วมุงซ้อนเหลื่อม<br />

กันขึ้นไป ภายหลังจึงมีวัสดุอื่นๆ อย่างกระเบื้อง สังกะสี เป็นต้น กุญแจสำาคัญของ<br />

เรือนไม้ชาวไทยคือรอยต่อซึ่งใช้การเข้าปากไม้ ตัวไม้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเรือนจะได้<br />

รับการตัด บาก เจาะ แล้วจึงนำามาประกอบกันเป็นเรือนทั้งหลัง เรือนไทยจึงปลูก<br />

สร้างด้วยวิธีการประกอบชิ้นส่วนสำาเร็จรูป เมื่อประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าเป็นเรือน<br />

ได้ก็สามารถรื้อถอดชิ้นส่วนเหล่านั้นออกจากกันได้ ในคราวที่ต้องการขยายเรือนก็นำา<br />

ชิ้นส่วนใหม่มาต่อเข้าด้วยกันที่ด้านหนึ่งของขอบชาน หากต้องการย้ายเรือนไปตั้งที่<br />

อื่นก็รื้อถอดออดเป็นชิ้น ๆ แล้วนำาไปประกอบในที่ใหม่<br />

คุณลักษณ์<br />

ภายใต้รูปลักษณ์ซึ่งจับต้องได้มีสิ่งที่จับต้องไม่ได้คือองค์ความรู้ซ่อนอยู่ ประมวลเป็น<br />

คุณลักษณ์ประการต่างๆ ได้ ดังนี้<br />

คุณลักษณ์ สถาปัตยกรรมแห่งชีวิต เรือนพื้นถิ่นสัมพันธ์แนบแน่นกับมนุษย์ เหตุ<br />

เพราะ ประการแรก สร้างสนองความต้องการเจ้าของ ด้วยน้ำามือเจ้าของ ตามขนาด<br />

สัดส่วนเจ้าของ ยังผลให้มีรูปทรงเรียบง่าย กะทัดรัด พอเหมาะพอดีตามความ<br />

จำาเป็นในการดำาเนินชีวิต ประการที่สอง ด้วยถือคติว่าเรือนคือที่อยู่ของคนเป็น จึง<br />

ทำาให้แตกต่างจากที่อยู่ของคนตาย อาทิ ทำาขนาดของเรือน (กว้าง 1 ห้อง) ยาว 3<br />

ห้อง 5 ห้อง ไม่ทำาเรือน 4 ห้อง ถือว่ามีสัดส่วนเหมือนโลงศพ ทำาขั้นบันไดเป็นเลข<br />

คี่ เช่น 5 7 9 ถือว่าบันไดขั้นคู่เป็นบันไดผี ปูกระดานห้องนอนตามขวาง ถือว่าปูตาม<br />

ยาวเหมือนโลงศพ เป็นต้น ประการที่ 3 เรือนเติบโตคู่ขนานไปกับการขยายตัวของ<br />

ครอบครัว สำาหรับคู่ชีวิตเริ่มต้นก็ปลูกเรือนหอเป็นเรือนเดี่ยว เมื่อมีสมาชิกในเรือน<br />

เพิ่มขึ้นก็ขยายเป็นเรือนแฝด เรือน 3 จั่ว หรือเรือนหมู่<br />

คุณลักษณ์ สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อม การตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านแปงเรือนของ<br />

ชาวบ้านเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สถาปัตยกรรม และธรรมชาติ เริ่มต้น<br />

61 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 61 24/4/18 16:10


จากการเลือกถิ่นฐานที่เหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนโดยไม่ต้องดัดแปลงหรือดัดแปลง<br />

น้อยที่สุด จากนั้นหาวัสดุปลูกสร้างที่หยิบฉวยได้ใกล้มือตามแต่ทรัพยากรธรรมชา<br />

ติรอบๆ ถิ่นฐานจะอำานวย แปรรูปอย่างง่ายๆ ด้วยเครื่องมือช่างพื้นฐาน แล้วปลูก<br />

สร้างเรือนโดยปักเสาหยั่งลงบนดิน เปิดพื้นที่เบื้องล่างให้น้ำาไหลนองผ่านไปได้ โดย<br />

ยกพื้นที่อยู่อาศัยลอยสูงขึ้นไป (ภาพ 5) สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา (2539) กล่าวว่า<br />

“...สถาปัตยกรรมไม้มีพื้นฐานมาจากสังคมในน่านน้ำา ไม่ว่าอยู่ตามเกาะแก่งในทะเล<br />

หรือในลุ่มน้ำาลำาคลอง และมีลักษณะพิเศษที่ว่าเป็นชุมชนและบ้านเรือนที่มีพื้นสูงบน<br />

เสา ซึ่งมีความกลมกลืนกับธรรมชาติอย่างยิ่ง” ทั้งนี้ การดัดแปลงสภาพแวดล้อม<br />

ของถิ่นที่อยู่ไม่เกินขีดขั้นที่ทำาให้เสียดุลยภาพ ก่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งการใช้ชีวิต<br />

ของมนุษย์และสภาพแวดล้อม<br />

คุณลักษณ์ สถาปัตยกรรมของสังคม ในท้องถิ่นหนึ่งๆ ผู้คนใช้แบบแผนเดียวกันใน<br />

การปลูกสร้างบ้านเรือน (ภาพ 6) ดังที่ นิจ หิญชีระนันทน์ (2537) กล่าวถึงลักษณะ<br />

เด่นประการหนึ่งของเรือนไทยภาคกลางว่า “เป็นเรือนแบบมาตรฐาน ได้รับการ<br />

พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายชั่วคน จนถือได้ว่าบรรลุถึงความ<br />

สมบูรณ์ กำาหนดเป็นแบบฉบับที่ยอมรับนับถือ จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบ<br />

มาจนทุกวันนี้” ทำาให้มีลักษณะบ้านเรือนคล้ายเหมือนกันทั้งหมู่ “เพราะไม่ได้เป็นงาน<br />

ที่ออกแบบมีลักษณะเฉพาะตัวของสถาปนิก หากแต่เป็นงานออกแบบที่เป็นลักษณะ<br />

ร่วมของสังคม ที่เรียกว่า “Communal architecture” ” (วิวัฒน์ เตมียพันธ์, 2543)<br />

คุณลักษณ์ สถาปัตยลักษณ์ไทย สืบเนื่องจากการเป็น 1. สถาปัตยกรรมแห่งชีวิต<br />

2. สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อม และ 3. สถาปัตยกรรมของสังคม ทำาให้สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นที่ก่อรูปขึ้นบนบนแผ่นดินไทยเปี่ยมไปด้วยลักษณะไทยในทุกอณูของเนื้องาน<br />

4. สถาปัตยกรรมร่วมสมัย-พื้นถิ่น<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นซึ่งทำาขึ้นโดยชาวบ้าน มีความเฉพาะถิ่นเฉพาะที่ ขณะที่<br />

สถาปัตยกรรมร่วมสมัยซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกมีความเป็นสากล สถาปัตยกรรม<br />

อย่างหลังมีต้นทางความคิดมาจากโลกตะวันตกและแพร่ขยายไปทั่วโลกรวมทั้ง<br />

ประเทศไทยด้วย อีกนัยหนึ่งสถาปัตยกรรมร่วมสมัยจึงมีความเป็นตะวันตก ในวงการ<br />

สถาปัตยกรรมไทย การอ้างอิงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นต้นแบบในการประยุกต์<br />

ใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยถือเป็นการออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่สอดคล้อง<br />

ต้องตามกาละและเทศะ คือเหมาะสมกับเวลาปัจจุบันและเหมาะสมกับถิ่นไทย ทุก<br />

วันนี้ สถาปนิกหลายรายมีความพยายามในการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยให้<br />

มีกลิ่นอายไทยๆ โดยการอ้างอิงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นต้นแบบ ขอยกตัวอย่าง<br />

กรณีที่น่าสนใจ ดังนี้<br />

62<br />

ASA18_Book_180419.indd 62 24/4/18 16:10


เป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษมาแล้วที่สถาปนิกสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ได้สร้างทิศทาง<br />

ชัดเจนที่สุดจากการกำาหนดหลัก 4 ประการหรือองค์ประกอบอันเป็นหัวใจสำาคัญในการ<br />

สร้างสรรค์ลักษณะไทย 4 อย่าง คือ 1. หลังคา 2. ยกพื้น 3. เสาลอย และ 4. น้ำา สาม<br />

ประการแรกเกี่ยวกับมิติทางรูปธรรมตามแนวตั้ง คือการแบ่งส่วนของเรือนตามแนวตั้ง<br />

ออกเป็นใต้ถุน บนเรือน และหลังคา ส่วนประการหลังเกี่ยวกับมิติทางรูปธรรมตามแนว<br />

ราบ คือการวางผังโดยอิงทิศทางกับสายน้ำา ซึ่งปรากฏในผลงานตึกโดม มหาวิทยาลัย<br />

ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (ภาพ 7) และโรงเรียนนานาชาติกรุงเทพ เป็นต้น (วีระ อินพัน<br />

ทัง และคณะ, 2558) แม้ว่าในปัจจุบันถนนกลายเป็นเส้นทางสัญจรสายหลักแทนลำาน้ำา<br />

และเป็นปัจจัยสำาคัญที่มีอิทธิพลต่อการวางผังอาคาร การวางผังอาคารโดยอิงสายน้ำา<br />

เป็นหลักยังพบได้ในงานออกแบบโรงแรมยูเดีย ออน เดอะ ริเวอร์ (ภาพ 8) จังหวัด<br />

พระนครศรีอยุธยา สถาปนิกผู้ออกแบบจงใจให้ความสำาคัญกับสายน้ำาด้วยการหันหน้าจั่ว<br />

อาคารซึ่งมีช่องเปิดกว้างสู่แม่น้ำาเจ้าพระยา ขณะที่ด้านติดถนนอู่ทองเป็นเพียงทางเข้าสู่<br />

โครงการซึ่งมีลักษณะแคบ กระชั้น และค่อนข้างปิด การอิงรูปลักษณ์โดยเฉพาะในมิติทาง<br />

นามธรรมในประเด็นความอ่อนช้อยยังมีกรณีตัวอย่างน้อยมาก ในงานออกแบบโบสถ์วัด<br />

พระธรรมกาย การใช้หลังคาที่มีระนาบโค้งอ่อนแบบทรงจอมแห ทำาให้พุทธศาสนาคาร<br />

แห่งนี้มีความอ่อนช้อยงามสงบ การอ้างอิงลักษณะอ่อนช้อยรวมทั้งโปร่งโล่งของเรือนไทย<br />

ภาคกลางเป็นต้นทางในการออกแบบห้องทำางาน บ้านที่โพธิ์สามต้น (ภาพ 9) เกิดจากการ<br />

ใช้เสาลอยที่ชั้นล่าง บันไดเหล็กที่มีขั้นเป็นตะแกรงโปร่ง รวมทั้งหลังคาใสในบางส่วนเป็น<br />

เครื่องมือสร้างความโปร่งโล่ง สำาหรับความอ่อนช้อยสร้างด้วยการใช้เส้นโค้งร่วมเป็นส่วน<br />

ประดิษฐ์องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม อาทิ ราวบันได กันสาด ระเบียง และหลังคา<br />

การแสดงความเป็นพื้นถิ่นอีกประการหนึ่งคือการใช้ไม้เป็นวัสดุหลักในการปลูกสร้าง<br />

โดยการคงสีสันของพื้นผิวไม้ไว้ตามธรรมชาติ ทั้งนี้ ในระยะหลัง การใช้วัสดุไม้ไผ่ใน<br />

งานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมีแนวโน้มเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น ไม้ไผ่เป็นพืชโตเร็ว<br />

เพียงระยะเวลา 3-5 ปีก็สามารถตัดมาใช้งานได้แล้ว และใช้กันอย่างกว้างขวางในงาน<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สำาหรับการใช้ในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย การผ่านกรรมวิธีรักษา<br />

ด้วยการละลายแป้งในเนื้อไม้ออกเป็นขั้นตอนที่จักขาดเสียมิได้ เพื่อให้ปลอดจากการกัด<br />

กินของมอดและปลวก กรณีโรงเรียนปัญญาเด่น จังหวัดเชียงใหม่ และร้านอาหารข้าวใหม่<br />

ปลามัน (ภาพ 10) จังหวัดสมุทรสงคราม แสดงถึงการใช้วัสดุไม้ไผ่บ่งบอกถึงความเป็น<br />

พื้นถิ่นในงานออกแบบร่วมสมัย โดยไม่อิงรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเดิม ๆ หากแต่<br />

ใช้คุณสมบัติของไม้ไผ่ที่แข็งเหนียว ดัดได้ งอได้ ก่อรูปอย่างอิสระ ข้ามข้อจำากัดของงาน<br />

สถาปัตยกรรมทั่วไปที่ติดอยู่กับรูปลักษณ์ที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมและแข็งทื่อ<br />

63 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 63 24/4/18 16:10


ที่กล่าวมาข้างต้น แม้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่อ้างอิง<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ แต่ก็สะท้อนให้เห็นภาพโดยรวม<br />

ซึ่งมีทิศทางที่เน้นการอ้างอิงรูปลักษณ์เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ด้านมิติการประกอบ<br />

สร้างโดยเฉพาะเรื่องข้อต่อไม้ยังไม่มีตัวอย่างที่ใช้เป็นต้นแบบในการสานต่อสู่งาน<br />

สถาปัตยกรรมร่วมสมัยอย่างจริงจัง เช่นเดียวกับแก่นสาระด้านคุณลักษณ์ที่ยัง<br />

ขาดแคลนตัวอย่างสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่นำาเรื่องนี้มาประยุกต์ใช้อย่างมีนัยสำาคัญ<br />

5. ทิ้งท้าย<br />

การอ้างอิงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นต้นแบบเพื่อการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมร่วม<br />

สมัยเป็นทิศทางที่ยอมรับกันมากขึ้นในวงการสถาปัตยกรรมไทย ผลเชิงประจักษ์<br />

คือสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่มีลักษณะเป็นสากลซึ่งสื่อถึงความทันสมัยเคล้าปนด้วย<br />

กลิ่นอายพื้นถิ่นซึ่งสื่อถึงความเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง รวมถึงความเป็นกันเอง ความเป็น<br />

ธรรมชาติ อันเป็นสารัตถะของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น อนึ่ง การอ้างอิงสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นประเภทบ้านเรือน ยุ้งฉาง หรือห้างนา เป็นต้น ทำาให้ก้าวผ่านปัญหาการละ<br />

เมิดฐานานุศักดิ์ทางสถาปัตยกรรมซึ่งมีธรรมเนียมใช้กับสถาปัตยกรรมประเพณี<br />

ประเภทวังและวัด<br />

ที่ผ่าน ๆ มาแก่นสาระในเนื้องานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ได้รับการอ้างอิงเป็นต้นแบบ<br />

ในการประยุกต์สู่การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมร่วมสมัย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องรูปลักษณ์<br />

ทั้งมิติทางรูปธรรมและมิติทางนามธรรม ทั้งนี้ มิติการประกอบสร้าง โดยเฉพาะข้อ<br />

ต่อไม้ทั้งการผูกมัดและการบากสับอันเป็นกุญแจสำาคัญของระบบการก่อสร้างแบบ<br />

ถอดประกอบยังไม่มีการศึกษา และวิเคราะห์ เพื่อสังเคราะห์สู่สถาปัตยกรรมร่วม<br />

สมัยอย่างจริงจัง<br />

การยึดรูปลักษณ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นต้นทางในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม<br />

ร่วมสมัยไม่ใช่เรื่องผิดและไม่มีข้อเสียใด ๆ แต่ต้องไม่ลืมว่าประเด็นเรื่องคุณลักษณ์<br />

ถือเป็นแก่นสาระสำาคัญของงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่พึงตระหนักรู้ ทั้งความเป็น<br />

สถาปัตยกรรมแห่งชีวิต สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรมของสังคม รวมทั้ง<br />

สถาปัตยลักษณ์ไทย ล้วนเป็นสิ่งเกื้อกูลให้สถาปัตยกรรมใกล้ชิดกับมนุษย์ กลมกลืน<br />

กับธรรมชาติ เป็นของธรรมดา และมีลักษณะเฉพาะถิ่นที่ ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ควร<br />

ค่าแก่การหยิบยกขึ้นเป็นแม่บทในการสร้างสรรค์ อาจทำาให้ก้าวข้ามการยึดติดในรูป<br />

ลักษณ์แห่งอดีตสู่การพัฒนาสถาปัตยกรรมร่วมสมัยที่เหมาะสมกับกาละแห่งปัจจุบัน<br />

และเทศะแห่งประเทศไทยได้กว้างไกลในที่สุด<br />

64<br />

ASA18_Book_180419.indd 64 24/4/18 16:10


(ภาพ 1) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น – เล้าเข้า (ยุ้งข้าว) ชาวไทดำาที่จังหวัดเพชรบุรี<br />

(ภาพ 2) เรือนไทยภาคกลาง – รูปด้านสกัด<br />

65 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 65 24/4/18 16:10


(ภาพ 3) เรือนเครื่องผูกที่จังหวัดเพชรบุรี<br />

(ภาพ 4) เรือนเครื่องสับที่จังหวัดเพชรบุรี<br />

66<br />

ASA18_Book_180419.indd 66 24/4/18 16:10


(ภาพ 5)<br />

เรือนชาวบ้านที่จังหวัดสุพรรณบุรี<br />

ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ<br />

(ภาพ 6) บ้านชาวไทดำาในประเทศเวียดนามปลูกเรือนด้วยแบบแผนเดียวกันทั้งหมู่<br />

67 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 67 24/4/18 16:10


(ภาพ 7) บน<br />

ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์<br />

ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี<br />

สถาปนิก: สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา<br />

สร้างเสร็จ: 2529<br />

(ที่มา: อาษา 2529)<br />

(ภาพ 8) ล่าง<br />

โรงแรมยูเดีย ออน เดอะ ริเวอร์<br />

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา – ด้านแม่น้ำา<br />

เจ้าพระยา<br />

สถาปนิก: พิรัส พัชรเศวต<br />

สร้างเสร็จ: 2552<br />

68<br />

ASA18_Book_180419.indd 68 24/4/18 16:10


(ภาพ 9)<br />

ห้องทำางาน บ้านที่โพธิ์สามต้น<br />

กรุงเทพฯ – รูปด้านเหนือ<br />

สถาปนิก: วีระ อินพันทัง<br />

สร้างเสร็จ: 2539<br />

69 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 69 24/4/18 16:10


(ภาพ 10)<br />

ร้านอาหารข้าวใหม่ปลามัน<br />

จังหวัดสมุทรสงคราม<br />

สถาปนิก: ธนพัฒน์ บุญสนาน<br />

สร้างเสร็จ: 2559<br />

(ภาพโดย: เจนยุทธ ล่อใจ)<br />

70<br />

ASA18_Book_180419.indd 70 24/4/18 16:10


บรรณานุกรม<br />

ธนิศร์ เสถียรนาม และ นพดล ตั้งสกุล. 2557. “6 กระบวนทัศน์ในการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น”<br />

หน้าจั่ว (สถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม) ฉบับที่ 28 (กันยายน 2556 –<br />

สิงหาคม 2557): 265-282.<br />

ฤทัย ใจจงรัก. 2539. เรือนไทยเดิม. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.<br />

วิวัฒน์ เตมียพันธ์. 2543. “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น: ฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมกับการออกแบบ<br />

ปัจจุบันและความหมายของที่อยู่อาศัยตามโลกทัศน์ล้านนาโบราณ” ใน เอกสารประกอบการ<br />

ประชุมทางวิชาการ เรื่อง ความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นไทย. (22-23 มิถุนายน 2543<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5-18.<br />

วีระ อินพันทัง. 2550. ปลูกเรือนคล้อยตามผืนดิน ปักถิ่นคล้อยตามสายน้ำา. กรุงเทพฯ: คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.<br />

วีระ อินพันทัง, 2552. “คติจักรวาลในเรือนไทย: ร่องรอยที่เลือนหาย” หน้าจั่ว ฉบับที่ 23 (ปีการ<br />

ศึกษา 2551): 61-84.<br />

วีระ อินพันทัง วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และอภินันท์ พงศ์เมธากุล. 2558. รายงานวิจัยฉบับ<br />

สมบูรณ์ โครงการ การสร้างสรรค์เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่: การก่อรูปทาง<br />

สถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: จี บี พี เซ็นเตอร์.<br />

ศรีศักร วัลลิโภดม. 2543. “ท้องถิ่นวัฒนา” ใน เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ เรื่อง<br />

ความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นไทย. (22-23 มิถุนายน 2543 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร) กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 1-4.<br />

สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา. 2539. น้ำา: บ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคม<br />

สถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.<br />

อรศิริ ปาณินท์. 2548. รายงานสรุปผลงานวิจัยโครงการส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.<br />

2545-2548) โครงการ ภูมิปัญญา พัฒนาการ และความสัมพันธ์ ระหว่างกันของเรือนพื้น<br />

ถิ่นไทย-ไท: คุณลักษณะของสถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมในเรือนพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.<br />

Bernard Rudofsky. 1964. <strong>Architecture</strong> without Architects: a short introduction to<br />

Non-Pedigreed architecture. New York: Doubleday.<br />

Paul Oliver, edited. 1998. Encyclopedia of <strong>Vernacular</strong> <strong>Architecture</strong> of the World. New<br />

York: Cambridge University Press.<br />

71 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 71 24/4/18 16:10


สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น-ใหม่<br />

พินัย สิริเกียรติกุล<br />

72<br />

ASA18_Book_180419.indd 72 24/4/18 16:10


“สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น-ใหม่” มาจากคำาว่า นีโอ-เวอร์แนคคูล่า (Neo-<strong>Vernacular</strong>) ในภาษาอังกฤษ เป็น<br />

งานสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมประเภทหนึ่งที่มีสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบ โดยได้แรงบันดาลใจจากลักษณะ<br />

บางประการของงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ราว 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยปรากฏการใช้ลักษณะบางประการของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในการ<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบ้านพักอาศัย บ้านจัดสรร โรงเรียน รีสอร์ท<br />

ห้างร้านขายของแบบคอมมูนิตี้มอล บางครั้งประยุกต์ใช้กับอาคารสำานักงาน กระทั่งธนาคารสาขาตาม<br />

ต่างจังหวัดที่ออกแบบให้ดูเสมือนเป็นเถียงนาก็มี แต่ไม่มีอาคารใดที่กล่าวมานี้จะมีสภาพคร่ำาครึโบราณ<br />

คานต่ำา อับชื้น ไร้สิ่งอำานวยความสะดวก ประเภทจะปลดทุกข์ทีก็ต้องเดินเข้าป่าแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจริงๆ<br />

ความขัดแย้งระหว่างภาพลักษณ์ภายนอกของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น-ใหม่ที่รังสรรค์ให้ดูกลมกลืนกับ<br />

สภาพแวดล้อมเสมือนว่าดำารงอยู่ในที่แห่งนั้นมาเนิ่นนาน กับการออกแบบภายในที่สนองตอบต่อความ<br />

ต้องการสมัยใหม่ในปัจจุบัน เป็นความย้อนแย้งที่อาจทำาความเข้าใจได้ด้วยเรื่อง มายาคติ (myth)<br />

นักโครงสร้างนิยมฝรั่งเศสกล่าวว่า มายาคติสามารถช่วยบรรเทาความขัดแย้งของคุณค่าทางสังคมที่<br />

ไม่มีทางลงรอยกันในสภาพความเป็นจริงได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือนวนิยายเรื่องบ้านทรายทอง เพราะ<br />

มีโครงเรื่องที่ให้ความหวัง (อย่างน้อยก็ในจินตนาการ) กับผู้ต่ำาต้อยทางสังคมอย่างพจมาน ว่าวันหนึ่งจะ<br />

สามารถไต่เต้าบันไดแห่งความเหลื่อมล้ำ าไปแต่งงานกับชายกลางผู้สูงศักดิ์ได้ แม้ความไม่เท่าเทียมทางชาติ<br />

กำาเนิดและสถานะทางสังคมจะเป็นอุปสรรคเพียงไรก็ตาม<br />

เรื่องเล่าประโลมโลก นิทาน ภาพยนตร์ และละครทีวี คือเครื่องมือแห่งมายาคติอันทรงพลังที่รู้จักกันดี<br />

นีโอ-เวอร์แนคคูล่าก็สามารถทำ าหน้าที่นั้นได้ไม่แพ้กัน เราอาจทำ าความเข้าใจปรากฏการณ์ของสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่น-ใหม่จากมุมมองที่ว่า กระบวนการที่สถาปัตยกรรมได้สร้างมายาคติขึ้นนั้นมีความคล้ายกับกลไก<br />

ความฝัน (Dream-like Mechanisms) เพราะตอนเราฝันนั้น จิตใต้สำานึก (subconscious mind) จะ<br />

ประมวลภาพต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นภาพตัวแทนของความคิดและอารมณ์ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูก<br />

กดทับซ่อนเร้นไม่ให้ปรากฏขึ้นมาในระดับจิตสำานึก<br />

แน่นอน ความฝันเป็นเรื่องของจิตใต้สำานึกที่ถูกกดทับของแต่ละบุคคล แต่ประเด็นที่เรากำาลังพิจารณา<br />

เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น-ใหม่นี้เป็นสำานึกทางสังคมที่ถูกกดทับ คำาถามจึงมีอยู่ว่า ด้วยศักยภาพ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น-ใหม่ในการสร้างภาพลักษณ์ที่เชื่อมโยงถึงวิถีชีวิตในอดีต ที่เชื่อกันเหลือเกินว่า<br />

แสน “บริสุทธิ์” และเป็นสังคมที่ “สงบสุข” กว่าในปัจจุบันนั้น ในเวลาเดียวกันนีโอ-เวอร์แนคคูล่าได้ซุกซ่อน<br />

ความขัดแย้งทั้งหลายที่จะพึงมีภายใต้เปลือกนอกทางสถาปัตยกรรมไว้อย่างไร ในที่นี้จะขอกล่าวถึง<br />

สถาปัตยกรรมประเภทรีสอร์ทพื้นถิ่นประยุกต์เพียงประเภทเดียว เพราะเป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ได้<br />

รับความนิยมเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยในราว 20 ปี ที่ผ่านมา<br />

73 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 73 24/4/18 16:10


รีสอร์ทพื้นถิ่นประยุกต์ กับ “ความเป็นหมู่บ้าน”<br />

การพัฒนาโครงการก่อสร้างใหม่ๆ มักก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์เสมอ เช่นใน<br />

กรณีของการออกแบบที่พักตากอากาศสมัยใหม่ในพื้นที่ที่เป็นสภาพแวดล้อมธรรมชาติ<br />

แน่นอนว่าเลี่ยงไม่พ้นที่การก่อสร้างจะต้องเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งนั้น<br />

ความแตกต่างระหว่างโครงการที่ออกแบบวางผังโดย “รักษา” สภาพแวดล้อมธรรมชาติ<br />

ไว้เป็นอย่างดี กับโครงการที่ตรงข้าม ไม่ได้หมายความว่าอย่างแรกจะไม่ “ทำาลาย”<br />

สภาพแวดล้อม หากแต่ต่างกันที่ระดับของการ “ทำาลาย” เพราะไม่ว่าอย่างไรการก่อสร้างก็<br />

หลีกไม่พ้นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแวดล้อมในพื้นที่ทั้งสิ้น<br />

ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าเราจะนับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมนั้นว่าเป็นการ “อนุรักษ์-ปรับปรุง”<br />

หรือ “ทำาลาย” เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์หรือกลับกลายสภาพเป็นมลภาวะ<br />

ทางสายตา ซึ่งอาชีพที่มีศักยภาพในการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น<br />

(หรือแย่ลง) นี้ก็คือ สถาปนิก ในแง่นี้สถาปนิกจึงคือนักสร้างมายาคติดีๆ นี่เอง เพราะเป็น<br />

ผู้ดูแลรับผิดชอบต่อการสร้างภาพลักษณ์ของโครงการทางสถาปัตยกรรม น่าสนใจว่างาน<br />

สถาปัตยกรรมพื ้นถิ ่น-ใหม่ที ่พวกเขารังสรรค์ขึ ้นนั ้นมีส่วนช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งของ<br />

คุณค่าทางสังคมที่เรามีต่อโครงการรีสอร์ทพื้นถิ่นประยุกต์นี้อย่างไร<br />

ใครก็ตามที่เคยไปพักตากอากาศในรีสอร์ทพื้นถิ่นประยุกต์ ย่อมต้องเคยสัมผัสกับคุณลักษณ์<br />

อันโดดเด่นของโครงการประเภทนี้ บ่อยครั้งเราจะรู้สึกประทับใจกับสถาปัตยกรรมที่แสดง<br />

ความอ่อนน้อมถ่อมตนกับธรรมชาติ จิตวิญญาณของสถานที่ และบางครั้งรวมไปถึง<br />

ประเพณีการก่อสร้างท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุธรรมชาติ รูปทรง และองค์ประกอบ<br />

ที่ดูซื่อๆ ตรงไปตรงมา ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น ซึ่งภายใต้<br />

ความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและบริบททาวัฒนธรรมที่สถาปนิกออกแบบขึ้นอย่าง<br />

พิถีพิถันน่าประทับใจนี้ มิเพียงช่วยหลีกเลี่ยงกระแสวิจารณ์ที่อาจมีต่อการเข้าไปเปลี่ยนแปลง<br />

สภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันยังก่อให้เกิดความประหลาดใจต่อ<br />

ตัวอาคาร ว่าจริงๆ แล้วเรากำาลังเดินเข้าสู่ “โรงแรม” หรือ “หมู่บ้านพื้นถิ่น” ในอดีตกันแน่<br />

ด้วยการออกแบบวางผังในแนวทางบริบทนิยมที่มักสร้างเส้นทางเดินยักเยื้องไม่ตรงไปตรงมา<br />

มีตรอกทางเดินแคบ ๆ ใช้วัสดุในท้องถิ่นอย่างหินธรรมชาติ ไม้ที่ไม่ผ่านการไส อิฐก่อ<br />

โชว์แนว หรือหากฉาบปูนปิดก็มักจะทิ้งรอยฉาบแบบดิบๆ ไม่เรียบร้อย รวมไปถึงการทิ้ง<br />

ชายคายื่นยาวโดยปราศจากรางน้ำา เพื่อที่ว่าเวลาฝนตกชายคาจะกรีดฝนให้เห็นเป็นสาย<br />

ทั้งหากพิจารณาการจัดผังบริเวณ จะพบการจัดพื้นที่จอดรถและส่วนบริการเป็นสัดส่วนหลบ<br />

สายตาอย่างแยบคายฯลฯ กลยุทธ์การออกแบบดังที่กล่าวมานี้ก็เพื่อทำ าให้ที่พักตากอากาศดู<br />

เสมือนเป็นส่วนหนึ ่งของ “หมู ่บ้าน” ในชุมชนแถบนั ้นมาก่อน แต่ทันทีที ่เข้าไปอยู ่ในห้องพัก<br />

74<br />

ASA18_Book_180419.indd 74 24/4/18 16:10


สิ่งอำานวยความสะดวกสบายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำา เครื ่องปรับอากาศ ตู ้เย็น ทีวี และ<br />

อินเตอร์เน็ตไร้สาย รวมไปถึงการออกแบบให้แทบทุกห้องมีขนาดใกล้เคียงกัน สร้างขึ้นใน<br />

เวลาไล่เลี ่ยกัน ด้วยฝีมือช่างที ่มีทักษะไม่หนีกัน ก็ทำาให้เราตระหนักได้ในทันทีว่า ที่นี่ไม่ใช่<br />

หมู่บ้านพื้นถิ่นจริงๆ อย่างที่ถูกทำาให้เป็น<br />

“ความเป็นหมู่บ้าน” ที่รีสอร์ทในแนวทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น-ใหม่พยายามสร้างขึ้น<br />

ส่วนหนึ่งจึงเป็นการพยายามจำาลองภาพสถานที่เพื่อระลึกถึงอุดมคติของวิถีชีวิตในแบบ<br />

ดั้งเดิมก่อนการเข้ามาของทุนนิยม ที่ที่ (เข้าใจกันว่า) ผู้คนล้วนมีความจริงใจต่อกัน มี<br />

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ใกล้ชิดสนิทสนม ดูแลซึ่งกันและกันแบบเพื่อนพ้องน้องพี่ ไม่ว่าความ<br />

“สงบสุข” ของความเป็นหมู่บ้านเช่นนี้จะเคยมีอยู่จริงหรือไม่ แต่สิ่งที่ไม่ถูกนำาเสนอในการ<br />

สร้างมายาคตินี้คือ ภาพด้านลบต่างๆ ของชีวิตจริงในหมู่บ้านห่างไกลความเจริญ กลิ่น<br />

โคลนสาบควาย การแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว การคมนาคมที่เข้าไม่ถึง ไม่มีไปรษณีย์และ<br />

สาธารณสุข มิพักต้องเอ่ยถึงความเป็นอริอิจฉาริษยากันของผู้คน การขูดรีดของเจ้าที่นา<br />

เหนือชาวนา ผัวเหนือเมีย นายเหนือบ่าว ลองจินตนาการดูเถิด ใช่หรือไม่ว่าทั้งหมดนี้คือ<br />

ความเป็นจริงของชีวิตในสังคมชนบทที่ไม่มีรีสอร์ทพื้นถิ่นใดต้องการเอ่ยถึง<br />

ในแง่นี้คุณค่าของรีสอร์ทพื้นถิ่นประยุกต์จึงอยู่ที่การสร้างภาพมายาคติของหมู่บ้าน<br />

ชนบทที่สอดคล้องกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม ส่วนการสร้างสิ่งอำานวยความสะดวกสบาย<br />

สมัยใหม่นั้นก็เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เดินทางมาพักผ่อน ให้สามารถซึมซับ<br />

บรรยากาศของหมู่บ้านในจินตนาการได้ โดยไม่จำาเป็นต้องทนลำาบากแบบในอดีตจริงๆ<br />

ความสำาเร็จของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น-ใหม่จึงอยู่ที่การผนวกรวมคุณค่าทางสังคมที่ไม่<br />

สอดคล้องลงรอยกันระหว่างกระแสอนุรักษ์ vs ทำาลาย ความเป็นหมู่บ้านห่างไกลความ<br />

เจริญ vs ความสะดวกสบายมี wi-fi ใช้ ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ<br />

สำาหรับสถาปนิกส่วนใหญ่ นีโอ-เวอร์แนคคูล่าเป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง<br />

สามารถยกระดับสถาปนิกไทยให้ก้าวไกลไปโลดแล่นในระดับโลกได้ อย่างไรก็ตามด้วย<br />

ธรรมชาติของนีโอ-เวอร์แนคคูล่าที่มีหัวใจสำาคัญอยู่ที่การสร้าง “ฉาก” ก็ทำาให้สถาปนิก<br />

บางกลุ ่มมองว่าเป็นแนวทางการออกแบบที่ “ดัดจริต” (ผู้เขียนเองเคยได้ยินสถาปนิกฝีมือ<br />

ฉกาจของไทยอย่างน้อย 2 คนพูดเช่นนี้) เพราะรูปแบบของอาคารที่แม้จะดูสบายๆ แต่<br />

จริงๆ แล้วเกิดมาจากการจัดวางองค์ประกอบอย่างเข้มงวด ชนิดที่หากมีการต่อเติมเปลี่ยน<br />

แปลงไปจากสิ่งที่สถาปนิกได้วางไว้อย่างเหมาะเจาะ ภาพของ “ความเป็นพื้นถิ่น” นั้นก็<br />

แทบจะมลายหายไปในทันที<br />

ข้อวิจารณ์ต่อสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น-ใหม่อีกประการหนึ่ง คือการเสื่อมสภาพของอาคาร<br />

ตามกาลเวลา มีคำากล่าวทำานองว่า “เวลา (time) นั้นทำาให้สถาปัตยกรรมสุกงอม” และ<br />

ผมอยากชี้ให้เห็นด้วยว่าเพราะมิติที่ 4 ทางสถาปัตยกรรมนี้เอง ที่เป็นส่วนสำาคัญทำาให้<br />

75 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 75 24/4/18 16:10


เราเกิดความประทับใจในงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่แม้จะสร้างขึ้นอย่างเรียบง่ายธรรมดา<br />

แต่ริ้วรอยของวัสดุที่เสื่อมสภาพไปตามเวลาได้สร้างคุณลักษณะทางพื้นผิวให้กับ<br />

สถาปัตยกรรมอย่างวิเศษ แต่ปัญหาของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น-ใหม่ในแง่นี้กลับเป็นว่า เมื่อ<br />

อาคารเหล่านี้เก่า มันจะเก่าในลักษณะที่ไม่น่าประทับใจ ต่างจากการเสื่อมสภาพของ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ผ่านการบ่มเพาะตามกาลเวลา<br />

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น<br />

เงื่อนไขของการก่อสร้างปัจจุบันที่ต้องใช้วัสดุมาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันก็เหลือ<br />

ทางเลือกให้ใช้ช่างฝีมือค่อนข้างน้อยจนแทบเป็นศูนย์ ฉะนั้นในทางปฏิบัติแล้ว ความเป็น<br />

พื้นถิ่น-ใหม่จึงสร้างขึ้นจากวัสดุอุตสาหกรรม แรงงานต่างถิ่นฝีมือปานกลางค่อนไปทางไร้<br />

ฝีมือ และกระบวนการก่อสร้างในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางการก่อสร้างที่ไม่ค่อยเอื้อต่อ<br />

การสร้างความหลากหลายของพื้นผิวให้เกิดขึ้นเฉกเช่นในงานพื้นถิ่นแท้ๆ<br />

หากนีโอ-เวอร์แนคคูล่ามีจุดแข็งอยู่ที่การสร้างมายาคติ จุดอ่อนที่สุดของมันก็คือการก่อ<br />

สร้างภายใต้เงื่อนไขของปัจจุบันที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอย่างในอดีตอีกต่อไปแล้ว และนี่<br />

คือประเด็นปัญหาที่ท้าทายสถาปนิกที่ได้รับเชิญมาออกแบบพาวิลเลี่ยนภายใต้แนวคิด<br />

“วิถีพื้นถิ่น” ในงานสถาปนิกปีนี้<br />

ในทัศนะของผม ประเด็นปัญหาที่น่าสนใจที่สุดของงานสถาปนิก’61 <strong>Beyond</strong> <strong>Ordinary</strong><br />

อยู่ที่วิธีที่สถาปนิกนักออกแบบพาวิลเลี่ยนทั้ง 18 หลัง จะเสนอการตีความ “นีโอ-เวอร์<br />

แนคคูล่า” ให้ “ห่างไกล” หรือ “ใกล้ชิด” จาก “วิถีพื้นถิ่น” เพียงไร<br />

76<br />

ASA18_Book_180419.indd 76 24/4/18 16:10


มาสเตอร์เล่าเรื่อง<br />

ASA18_Book_180419.indd 77 24/4/18 16:10


บทสัมภาษณ์<br />

รศ.อนุวิทย์ เจริญศุภกุล<br />

78<br />

ASA18_Book_180419.indd 78 24/4/18 16:10


จุดเริ่มต้นในความสนใจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ผมสอนหนังสือมาอย่างน้อย 40 ปี เพราะตั้งแต่เรียนจบผมก็มาเป็นอาจารย์เลย ตอนที่ผม<br />

เรียนปริญญาโทจบใหม่ๆ ผมรู้สึกว่าวัฒนธรรมของตะวันตก กับของตะวันออกอย่างไทยเนี่ย<br />

มันมีความต่างกันมาก ก็เลยอ่านหนังสือของตะวันออกอยู่สามเดือน ในเอกสารที่อ่านมา<br />

สามเดือนส่วนใหญ่จะเป็นงานแบบคลาสสิค แต่ก็เผอิญโชคดีมีอยู่เล่มนึงได้พูดถึงงานของ<br />

Geoffrey Bawa ที่ศรีลังกา นั่นเป็นเหตุเริ่มต้นที่ผมสนใจในเรื่อง <strong>Vernacular</strong> ต่อมาก็<br />

เป็นบทความของอาจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ ที่อยู่ในอาษาเมื่อ 30 ปีมาแล้ว ทำาให้เห็น<br />

ความแตกต่างของเรือนไทยภาคกลางกับเรือนกาแลภาคเหนือ แต่ไม่ได้หมายความว่า<br />

ทั้งสองแบบเป็น <strong>Vernacular</strong> จริงๆเพราะทั้งสองแบบเป็นงานวัฒนธรรมชั้นสูง ไม่ใช่<br />

วัฒนธรรมแบบพื้นเมืองจริงๆ ไม่ใช่งานพื้นถิ่น<br />

ตอนที่ผมเรียนจบมาแล้วผมยังไม่ได้เข้าทำ างานที่คณะสถาปัตย์ แล้วไหนๆมีเวลา ก็เลยจะ<br />

ตั้งใจศึกษาเรื่องพื้นถิ่นพื้นเมืองให้เข้าใจ รวมทั้งเรื่องงานคลาสสิคแบบพื้นเมือง ก็เลยไป<br />

ภาคเหนือเลย ซึ่งผมมีเพื่อนคืออาจารย์ปฐม เราก็พาตระเวนไปในภาคเหนือกัน ต่อมา<br />

ผมก็ได้เชิญไปบรรยายตามที่ต่างๆ โดยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ผมศึกษามากๆ ก็จะเป็น<br />

ทางภาคเหนือ ซึ่งไม่เหมือนอาจารย์วิวัฒน์ที่ตระเวนรอบประเทศไทยเลย<br />

79 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 79 24/4/18 16:10


<strong>Vernacular</strong> living การอยู่อาศัยใน<br />

สภาพแวดล้อมเฉพาะถิ่น คืออะไร<br />

พูดง่ายๆ นะ เหมือนกำาปั้นทุบดิน หมายความว่าการอยู่อาศัยแบบตามดีตามเกิด ตามที่สิ่ง<br />

แวดล้อมอำานวยให้ แต่ไม่ได้หมายความว่าอยู่อย่างไม่มีระเบียบหรืออยู่อย่างซังกะตาย<br />

ไปวันๆ หรือไม่ได้ดิ้นรนที่จะหาอะไรจากภายนอกเข้ามาช่วย นั่นคือพื้นถิ่นตอนในช่วงระยะ<br />

แรกที่เคยเกิดขึ้น<br />

มันมีสองคำา คำาว่า ‘พื้นบ้าน’ กับคำาว่า ‘พื้นถิ่น’ แต่ความหมายสองคำานี้มันคาบเกี่ยวกัน<br />

พื ้นบ้านมันไม่ใช่เมืองแต่เป็นทั ้งประเทศ พื ้นถิ ่นก็คือพื ้นบ้านเฉพาะถิ ่น เช่น ล้านนา ภาคใต้<br />

ภาคกลาง เป็นต้น ผมพบว่าสองสิ่งนี้ต้องมีความประหยัด และเป็นไปตามวิถีชีวิตของ<br />

ผู้อาศัย ใช้เนื้อที่น้อย มินิมอล อย่างเรือนเครื่องผูกพอขึ้นไปจะมีชาน มีครัว มีที่นอน<br />

แต่คำาจำากัดความของพื้นถิ่นบางทีมันก็กว้าง บางทีมันก็แคบเกินไป เหมือนสมัยนึงสถาปนิก<br />

ตะวันตกถึงกับพูดว่า สถาปัตยกรรมคือสิ่งสำาหรับคนมีอารยะ ซึ่งอันนี้โบราณมาก อย่าง<br />

เพิงพักของผีตองเหลืองที่ใช้ใบตองสร้าง นั่นก็คือสถาปัตยกรรมพื้นเมืองที่ตามสภาพ เขาก็<br />

เป็นสถาปนิก และมีชีวิตเร่ร่อนจึงต้องการแค่ที่กันฝนกันน้ำาก็พอ<br />

ซึ่งส่วนใหญ่เรามักจะพูดความเป็นไทยที่อาคารแบบโมเดิร์นสาธารณะ ซึ่งโดยรูปลักษณ์<br />

มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าทำาตามอย่างที่ Ken Yeang ทำาได้ เมืองไทยนั้นทำาตามได้สบาย แต่การ<br />

เอาองค์ประกอบไทยๆ พื้นถิ่น ไปแปะ มันเป็นแค่งานตกแต่งเป็นแค่องค์ประกอบ แต่ไทย<br />

เดิมจริงๆ ก็มีองค์ประกอบ แต่มันมีลำาดับขั้นของมัน อาทิเช่น โบสถ์ของวัดปฐมเจดีย์<br />

ซึ่งสมเด็จครูได้ออกแบบไว้ อันนี้มีทุนจำากัด ท่านก็เลยออกแบบเกลี้ยงๆ นั่นแหละจึงเป็น<br />

งานไทยโมเดิร์นที่เริ่มต้น แต่ไม่มีใครต่อยอด ซึ่งนี่เป็นงานที่ดีมากๆ พอๆ กับวัดราชาธิวาส<br />

80<br />

ASA18_Book_180419.indd 80 24/4/18 16:10


อาจารย์คิดอย่างไรกับความหมายของสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นที่ว่า <strong>Vernacular</strong> architecture is “<strong>Architecture</strong><br />

without architects. - Bernard Rudofsky”<br />

คือ Bernard Rudofsky เขาเป็นคิวเรเตอร์ของ Museum of Modern Art ที่นิวยอร์ก<br />

เขาจึงรวบรวมหนังสือขึ้นมาเล่มนึง ที่มีสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจจากทั่วโลกที่ไม่มี<br />

ใครเคยเห็น แบบไม่มีสถาปนิก Professional ที่เราเรียนออกแบบเลย ดังนั้น Bernard<br />

พูดได้ถูก ณ วันนั้น แต่ไม่ถูก ณ วันนี้ เพราะตอนนั้นผู้คนเขาสร้างเอง เขาเป็นสถาปนิก<br />

เอง เพราะฉะนั้นทุกอย่างเป็นอะไรที่เขาต้องการจะใช้จริงๆ และก็ใช้อย่างมีความสุข<br />

แต่ Bernard นั้น เขามองแบบคนโมเดิร์นว่า สถาปัตยกรรมต้องออกแบบโดยสถาปนิก<br />

เท่านั้นที่ถือว่าใช่ มันมีงานพื้นเมืองที่มีสถาปนิกก็มี อย่างเช่นงานของ Hassan Fathy<br />

ของอียิปต์ ซึ่งเป็นสถาปนิกพื้นเมืองเลย แล้วก็ดีไซน์งานพื้นเมืองที่ดีมากจนมีชื่อระดับโลก<br />

อย่างนี้เป็นต้น แต่เวลาที่สถาปนิกทั่วไปพยายามเข้าไปออกแบบงานเป็นพื้นถิ่นนั้นเป็น<br />

ความผิดพลาด ผิดพลาดที่ว่าคือวิถีชีวิตที่มันไม่เหมือนกัน<br />

อาจารย์มีมุมมองอย่างไรต่อ <strong>Vernacular</strong> living<br />

และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในปัจจุบัน<br />

ตอนนี้ <strong>Vernacular</strong> <strong>Living</strong> เปลี่ยนไปเเล้ว กลายเป็นใช้วัสดุสมัยใหม่ขึ้น เช่น พวกซีเมนต์<br />

บอร์ดและก็หลังคากระเบื้อง แต่ก็มีหลายส่วนที่เขาพยายามดำารงวิถีความเป็นอยู่ของเขา<br />

ตามเดิมแบบนั้น<br />

เคยมีการสนทนากับสถาปนิกอาวุโส ท่านก็ถามว่าพวกเราว่า ที่ชอบเชิดชูพื้นเมืองเนี่ยอยาก<br />

ไปอยู่แบบนั้นไหม ผมตอบไม่ไปอยู่แล้ว แต่ผมเชิดชูในแง่ที่ว่า เขาสามารถสร้างงาน<br />

ศิลปะสถาปัตย์ที่สามารถไปได้กับชีวิตเขา และเราก็ไม่ต้องให้เขาเอาแบบเมืองเข้าไปใช้ใหม่<br />

ให้สร้างความลำาบาก เช่นการใช้หลังคากระเบื้องแต่ไม่มีเพดานที่อยู่แล้วก็ร้อน ใต้ถุน<br />

โปร่งโล่งไม่มี เพราะใช้ซีเมนต์บอร์ดที่ต้องเรียงจากพื้นเป็นผนังรับน้ำาหนัก มันไปด้วยกัน<br />

ไม่ได้ ผมจะไม่ไปอยู่เพราะผมไม่ใช่คนพื้นเมืองแบบนั้น ผมเป็นคนเมือง ผมก็ใช้ชีวิตตาม<br />

วิถีเมือง ดังนั้นพวกเขาไม่ควรใช้ชีวิตวิถีเมือง เพราะสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม<br />

ของเขากับเรามันไม่เหมือนกัน<br />

81 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 81 24/4/18 16:10


“กระแสโลกาภิวัฒน์, ระบบการผลิตด้วยระบบโรงงาน,<br />

นวัตกรรมวัสดุการก่อสร้าง รวมไปถึงการพัฒนา<br />

เทคโนโลยี” อาจารย์คิดว่าสิ่งเหล่านี้มีผลต่อวิถีชีวิตของคน<br />

และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในปัจจุบันอย่างไร<br />

มีผลมากๆ เพราะกระแสโลกาภิวัฒน์มันรุกเข้าไป และพยายามยัดเยียดสิ่งที่เป็นเมือง<br />

เข้าไป แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ได้บีบให้สร้าง Urban <strong>Vernacular</strong> ขึ้นด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่<br />

ดีที่คนไม่ค่อยพูดถึงกัน เริ่มต้นจากสลัมเลย และก็ชุมชนต่างๆ ที่มีทุนจำากัด เขาก็ต้อง<br />

อยู่ตามแบบของเขาถึงจะพัฒนาไปต่อได้ เเต่พอเราพูดถึงสลัมแล้วเราก็จะรู้สึกรังเกียจ<br />

แต่ความจริงมันไม่ใช่ เมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว Jane Jacobs บอกไว้ว่า การรื้อสลัมเป็นสิ่ง<br />

ที่ผิดพลาด แต่ควรจะพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ดีต่างหากถึงถูกต้องกว่า จึงจะเกิด<br />

Urban <strong>Vernacular</strong> ขึ้นมา<br />

อาจารย์คิดว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ในอนาคตจะเป็นอย่างไร?<br />

ถ้าเราใช้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็น มันก็จะกลายเป็น Green <strong>Architecture</strong> เพราะนี่คือ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ถูกต้องในเมือง ยกตัวอย่างง่ายๆสมัยนึง Paul Rudolph ออกแบบ<br />

อาคารสูง ที่อินโดนิเซีย เขาพยายามสร้างกระถางต้นไม้ริมหน้าต่าง และพยายามเอา<br />

สีเขียวขึ้นมาในตึกสูง แต่คนที่สามารถทำาให้เป็นระบบได้คือ Ken Yeang สถาปนิก<br />

มาเลเซีย คือทำาให้อาคารในภูมิประเทศร้อนชื้น ที่มีแต่กระจกให้มีการระบายอากาศ และมี<br />

ระบบสวนที่เข้ามารวมกับอาคาร ในไทยก็มีบ้าง อันนี้ผมถือว่าเป็น Green <strong>Vernacular</strong><br />

แบบสมัยใหม่ แต่ถ้าเป็นแบบเก่าก็จะเป็นงานของ Bawa ที่ศรีลังกา<br />

จากศึกษางานตะวันตกมา แล้วกลับมา<br />

ศึกษางานตะวันออก มีผลอย่างไร<br />

มันทำาให้เรามองว่า เราเป็นฝรั่งไม่ได้ เราชอบอ้างว่าชีวิตปัจจุบันได้เปลี่ยนไปหมดแล้ว อันนี้<br />

ไม่เถียง แต่ว่าคุณอยู่บ้านกระจกสี่ด้านได้ไหม คุณก็อยู่ไม่ได้และก็ต้องใช้แอร์ แล้วมัน<br />

เปลืองแค่ไหน มันไม่ใช่วิถีชีวิตเราจริงๆ ใครก็ตามที่พยายามทำ าตาม Mies Van Der Rohe<br />

แล้วนำามาใช้ในไทย ก็ค่อนข้างจะยาก แต่เคยมีอยู่คนนึงเขาใช้แต่กระจกแต่พยายาม<br />

สร้างสวนขนาดใหญ่ที่ล้อมและมีช่องเปิดล้อมสูงมาก อันนี้พอได้ แต่ไม่ได้กับทุกที่<br />

82<br />

ASA18_Book_180419.indd 82 24/4/18 16:10


อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่<br />

เกี่ยวกับความสำาคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

สถาปนิกมักหลงตัวเองสูงเกินไป ยกตัวอย่างสมัยที่งานต่างจังหวัดเริ่มเป็นที่สนใจ ก็มี<br />

สถาปนิกอาวุโสท่านหนึ ่งออกมาบอกว่า สถาปนิกเป็นเหมือนมีดทอง จะเอามีดทองไปโค่น<br />

ต้นไม้ได้อย่างไร อันนี้น่าตกใจมากในสมัยนั้น คือมองว่าตัวเองเป็น High culture สูงมาก<br />

ไม่สามารถลงมาสัมผัสของทั่วไปได้ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แบบนั้นแล้ว<br />

ถ้าคุณเข้าใจแต่เรื่องเมือง แน่นอนว่าคุณไม่สามารถแตะระหว่างพื้นถิ่นได้ แต่ถ้าคุณเข้าใจ<br />

พื้นถิ่น คุณก็จะเข้าใจ Green architecture ซึ่งสิ่งนี้มันเพิ่งเข้ามาสวมบทบาท แต่สำาหรับ<br />

ผมสิ่งนี้มันคือตอบที่ดีสำาหรับการอ้างถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพราะว่า <strong>Vernacular</strong> มัน<br />

ก็มีขีดจำากัดของมัน ถ้าจะต่อยอดต้องต่อยอดด้วย Green เพราะว่า Green architecture<br />

นั้นกว้างมากกว่า ไม่ใช่แบบสมัยก่อนที่แค่ปลูกต้นไม้บนหลังคา สิ่งนี้เป็นคำาตอบของ<br />

<strong>Vernacular</strong><br />

ซึ่ง Green architecture จะเป็นเรื่องการระบายอากาศ อย่างงานปรับปรุงรัฐสภาของ<br />

เยอรมัน เขาออกแบบให้อากาศมีการไหลเวียนได้เลย หรือแม้กระทั่งงานบ้านอาจารย์ สุนทร<br />

ที่ค่าแอร์เดือนนึงไม่กี่บาท เพราะเขาออกแบบการระบายอากาศแบบ <strong>Vernacular</strong> แต่ที่สิ่ง<br />

เหล่านี้ยังเงียบ เพราะเรายังหลงสื่อ เรายังหลงฟอร์ม หลงสเปซแบบตะวันตก<br />

แต่ถ้าเราอยากเป็นไทย ที่ไม่เอาแค่องค์ประกอบ ช่อฟ้า หางหงส์ เราก็มีทางเลือกเยอะ ทั้ง<br />

การใช้ Plane การใช้เครื่องไม้ และการระบายอากาศ ถ้าทำาได้ก็น่าชื่นชม แล้วหลักสูตร<br />

การเรียนเรา ก็ควรมีการพัฒนาให้มีความร่วมสมัยด้วย ไม่ใช่แค่เรียนเฉพาะตัวมันเอง<br />

แล้วจบปริญญาเอกโทกันไป เสร็จแล้วไม่ได้ใช้จริงๆ ในปัจจุบัน<br />

83 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 83 24/4/18 16:10


บทสัมภาษณ์<br />

รศ. วิวัฒน์ เตมียพันธ์<br />

84<br />

ASA18_Book_180419.indd 84 24/4/18 16:10


้<br />

จุดเริ่มต้นในความสนใจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

จริงๆ ไม่รู้เหมือนกันว่า ทำาไมถึงเริ่มมาสนใจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่คิดว่าคงเพราะได้<br />

อิทธิพลมาจากฝรั่งนั่นแหละ และอาจเป็นเพราะตอนผมจบใหม่ๆ เผอิญผมได้ไปบ้าน<br />

คุณเทพ จุลดุลย์ ซึ่งตอนนั้นแกสนิทกับอาจารย์อาจารย์ น.ณ ปากน้ำ า ที ่ช่วงนั ้นผมได้เกาะ<br />

กลุ่มกับอาจารย์แก ไปกับค่ายสถาปัตย์ของอาจารย์แสงอรุณ และในวันนั้นทุกคนก็ชวนกัน<br />

ไปฟังเพลงคลาสสิคที่บ้านคุณเทพ จุลดุลย์ ซึ่งคุณเทพ จุลดุลย์ แกเป็นคนที่สุงสิงกับ<br />

ศิลปินค่อนข้างเยอะ และเป็นนักฟังเพลง ที่เคยเขียนบทความทางดนตรีในสมัยก่อน เป็นคน<br />

สนใจการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวทางศิลปะนี่แหละ พอตอนนั้นที่ไปฟังเพลงบ้านแก<br />

อยู ่ๆ แกก็เดินไปหยิบหนังสือเมืองนอกมาเล่มนึงที่เพิ่งซื้อกลับมา หนังสือที่แกหยิบมาก็<br />

คือ ‘<strong>Architecture</strong> Without Architect’ ของ Bernard Rudofsky และนั่นทำาให้ผมนั้น<br />

เอะใจ พอดีกับช่วงนั้นที่แมกกาซีนต่างประเทศหลายหัวก็เริ่มพูดถึง บทความที่ Bernard<br />

Rudofsky เขียนและเปิดประเด็นต่างๆ ทำาให้กระแสมันเริ่มเกิดขึ้น โดยที่ตอนแรกเขาไม่ได้<br />

เรียก <strong>Vernacular</strong> architecture นะ เขาเรียกเป็น Regional architecture หรืออื่นๆ หลาย<br />

ทฤษฎี ซึ่งประเด็นบทความของ Rudofsky นี้ได้กระเทือนไปถึง RIBA ที่ลอนดอนด้วย จน<br />

มีการพูดถึงว่าจะเอา <strong>Vernacular</strong> มารวมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างไร นี่เป็นปรากฏการณ์<br />

ที่สถาปนิกยุคนั้นที่ไม่ได้มองสถาปัตยกรรมแค่โมเดิร์นอย่างเดียว กระแสของสถาปัตยกรรม<br />

สมัยใหม่ก็เริ่มย้อนกลับมา<br />

นี่ก็น่าจะเป็นอิทธิพลต่อผมเองประมาณหนึ่ง และผมก็ซื้อหนังสือของ Rudofsky นี้เก็บไว้<br />

เป็นแนวทางไว้ทำางานศึกษา หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมผลงานที่ไม่ได้ออกแบบโดย<br />

สถาปนิก โดยการเดินทางไปเก็บภาพตามท้องถิ ่นต่างๆ ซึ ่งพอเรามาดูก็รู ้สึกว่า งานพวกนี<br />

มีความน่าสนใจเหมือนกัน เพราะว่าบางอย่างเป็นการแก้ปัญหาที่เราคาดไม่ถึง โดยการแก้<br />

ปัญหานั้น เขาใช้สภาพแวดล้อมกับวัสดุที่หาได้แถวนั้น มาประกอบเป็นอาคาร และในสภาพ<br />

ของแต่ละสังคมก็จะมีอะไรบางอย่างพิเศษซ่อนอยู่ ทำาให้ผมมองว่า ของเราก็น่าจะมี<br />

เหมือนกัน บวกกับในตอนนั้นกระแสของเราก็จะสนใจแค่เรือนไทยภาคกลาง เรือนไทย<br />

ภาคเหนือ โดยเฉพาะบ้านไทยภาคกลาง ในหนังสือประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศ<br />

ไทยของอาจารย์นารถ ก็เริ่มพูดถึงยุคต่างๆ และพูดถึงบ้านไทยที่อยุธยารวมทั้งทำ าโมเดล<br />

เอาไว้ ส่วนพี่ฤทัย* ก็ร่วมกับอาจารย์สมภพ* ซึ่งพี่ฤทัยเป็นคนแรกที่วิจัยบ้านไทยแบบ<br />

ละเอียด โดยการลงไปวัดระยะต่างๆ อย่างละเอียด และก็ได้ตีพิมพ์ออกมา ตอนนั ้นเรายัง<br />

85 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 85 24/4/18 16:10


ไม่เริ่มพูดถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเลย เรายังเรียกว่ารูปแบบเรือนไทยมาตรฐานในแต่ละ<br />

ท้องถิ่น ซึ่งพี่ฤทัย อาจารย์สมภพ หรือว่าอาจารย์นารถ จะสนใจ Bernard Rudofsky<br />

หรือเปล่าไม่รู้ แต่ผมมีสำานึกว่าท่านเหล่านี้ มีความสนใจรากเหง้า แต่เป็นรากเหง้าใน<br />

การพัฒนาการของฝีมือช่างชั้นสูง ซึ่งเรามองเห็นว่างานชาวบ้านก็น่าจะมี แต่ก็ไม่ได้คาด<br />

หวังอะไร ทำาให้ผมท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ และก็เก็บอะไรที่น่าสนใจ แต่บนความน่าสนใจของ<br />

เรา ก็ต้องบวกความคิดในการออกแบบไปด้วย ทำาให้เวลาไปมองงานชาวบ้านธรรมดาๆ<br />

ก็จะหาว่ามีอะไรซ่อนอยู่ในนั้น ซึ่งเราก็ไม่ได้เห็นชัดเจน มันมีความคลุมเคลืออยู่ แต่พอเรา<br />

ลงลึกเข้าไปเรื่อยๆ เราก็เริ่มเห็นคุณค่าโดยว่าของความเคยชิน อย่างเช่นเราเห็นหมู่บ้านนี้<br />

สามารถแก้ปัญหาโดยไม่ใช่งานประเพณี แบบคาดไม่ถึงได้ และงานในระดับชาวบ้านแบบนี้<br />

มันไม่ใช่งานฝีมือช่างชั้นสูง แต่ชาวบ้านเขามีสำ านึกที่ว่างานเขามันสามาถอยู่เองได้ และปรับ<br />

ปรุงแก้ไขกันมาเรื่อยๆ บ้านพวกนี้ก็มักเป็นการต่อเติม มีวัสดุสมัยใหม่มาปะปนกันบ้าง<br />

สอดแทรกกันไป จนตอนนี้ก็กลายเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และการแก้ปัญหาตรงนั้น<br />

จะอยู่ในเชิงที่เขาต้องการและกำาลังความสามารถที่เขาทำาได้ ซึ่งมีดีบ้าง เลวบ้าง ถ้าเรา<br />

เป็นสถาปนิกก็จะมองเห็นว่า บางอย่างมันซ้อนคุณค่าของการดีไซน์อยู่ จากประสบการณ์ที่<br />

ชาวบ้านเขาคุ้นเคย และเห็นการผสานระหว่างที่ว่างประโยชน์ใช้สอย กับวัสดุและเทคนิค<br />

ก่อสร้าง ที่ไม่ได้มีความมาตรฐานนะ แต่มันมีอะไรซ่อนอยู่ ซึ่งนี่ก็น่าจะเป็นภาษาในรูปแบบ<br />

หนึ ่งที่แตกต่างออกไปจากสถาปนิก<br />

จริงๆ แล้วคำาว่า <strong>Vernacular</strong> เริ่มมีตั้งแต่ Paul Oliver พิมพ์หนังสือออกมา สมัยก่อนผมไป<br />

ร้านประมวลวิทย์ และไปเจอหนังสือของ Paul Oliver ที่มีชื่อว่า ‘Shelter from Africa’ ซึ่ง<br />

ตอนหลังก็มีหนังสือชื่อว่า ‘Shelter and Society’ โดยในขณะนั้น กระแสของตะวันตก โดยเฉพาะ<br />

สถาปนิกอเมริกานั้น เขาเริ่มสนใจงานพื้นเมือง แล้วก็เริ่มพาเด็กอเมริกันไปเที่ยวแอฟริกา ไม่ได้<br />

ไปดูงานประเพณี แต่ไปดูงานของชนเผ่าแทน พอทีนี้ฝั่งญี่ปุ่นก็เริ่มสนใจจนเขาทำาหนังสือ<br />

ซีรีย์หนึ่ง ไปย้อนรอยหมู่บ้านที่ Oliver ไป ซึ่งนอกจากนั้น ญี่ปุ่นเองก็มีหนังสือรวบรวม<br />

หมู่บ้านแบบญี่ปุ่นต่างๆ เช่น หมู่บ้านชาวประมง ที่ลงไปรังวัดสำ ารวจกันจริงจังแบบญี่ปุ่นกลายเป็น<br />

กระแสที่บูมในตะวันตกอยู่พักนึง จนหลังๆ ก็ซาลง และก็กลายเป็นกระแสอื่นมาแทน<br />

*อาจารย์นารถ โพธิประสาท, *ร.ศ. ฤทัย ใจจงรัก,*ศ.พล.ร.ต.สมภพ ภิรมย์<br />

86<br />

ASA18_Book_180419.indd 86 24/4/18 16:10


<strong>Vernacular</strong> living การอยู่อาศัยใน<br />

สภาพแวดล้อมเฉพาะถิ่น คืออะไร<br />

คำาว่า <strong>Vernacular</strong> เนี่ย เริ่มมาใช้เป็นภาษาชัดเจน ก็ตั้งแต่ Paul Oliver เป็นคนเปิด<br />

ประเด็นขึ้นมา ตอนนั้นหนังสือหัวต่างๆ ก็ยังใช้คำาว่า Regional architecture แต่ก่อน<br />

หน้านั้นก็มีกลุ่มชาวอังกฤษพิมพ์หนังสือ <strong>Vernacular</strong> ออกมาก่อนแล้วบ้าง แต่จริงๆแล้ว<br />

คำาว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น มันเป็นประเด็นที่อธิบายจากคำาว่า <strong>Vernacular</strong> ที่อาจารย์<br />

ดร.วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ ในบทความที่แกเขียน อาจารย์แกเป็นสนใจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

สนใจงาน Folk Art สนใจงานทางมนุษย์วิทยาของพื้นถิ่นชาวบ้าน แล้วก็เขียนหนังสือ<br />

ลงในวารสารโบราณคดี ศิลปากร สมัยก่อนเราจะชินกับคำาว่างาน Folk arts แต่แกบอกว่า<br />

งานพื้นบ้านก็ต้องเป็นของงานฝีมือชาวบ้าน ส่วนคำ าว่า <strong>Vernacular</strong> ก็น่าจะใช้คำาว่า ‘พื้นถิ่น’<br />

เพราะในแต่ละพื้นถิ่นก็จะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นกายภาพที่แต่ละวัฒนธรรม<br />

ผลิตออกมา ก็จะเป็นของท้องถิ่นนั้น ก็เหมือนกับสำาเนียงภาษาที่แต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน<br />

ซึ่งมันกว้างกว่าคำาว่า Folk เยอะเลย<br />

พอผมได้คำานี้มาจาก อาจารย์วรรณี จนประมาณปี 2530 ที่ศิลปากร ผมก็ออกทริปกับ<br />

อาจารย์อนุวิทย์* อาจารย์ปฐม* อาจารย์ น.ณ ปากน้ำา ก็เดินทางไปเก็บข้อมูลพื ้นบ้านพื ้นถิ ่น<br />

ซึ่งอาจารย์ น.ณ ปากน้ำา เป็นคนสนใจงานคลาสสิค ส่วนอาจารย์ปฐมสนใจงานหัตถกรรมพื้น<br />

ถิ่น แกจึงเก็บภาพสภาพแวดล้อมท้องถิ่นของหมู่บ้านตอนนั้น ในมุมมองของศิลปิน และ<br />

ก็ได้มาพิมพ์เป็นบทความที่มีคุณค่ามาก ทำาให้ผมเห็นว่าไม่แค่เรื่องสถาปัตยกรรมท้อง<br />

ถิ่นอย่างเดียวแล้ว แต่สภาพแวดล้อมตรงนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ทั้งหมดเป็นความ<br />

คุ้นเคยจากประโยชน์ใช้สอยที่เราไม่รู้ตัว เป็นภูมิปัญญาที่เกาะอยู่กับระบบนิเวศน์ของมัน<br />

ซึ่งปกติเวลาผมลงไปเก็บข้อมูล ผมไม่ได้คาดหวังอะไร ไม่มีหัวมีหางเลย เวลาเดินเข้าไป<br />

ในหมู่บ้าน อันไหนน่าสนใจก็ถ่ายเอาไว้ แล้วค่อยมานั่งวิเคราะห์ดูว่าน่าสนใจอย่างไร แต่ถ้า<br />

เราไม่ฝึกสำานึกตรงนี้ ก็จะทำาให้เราผ่านเลยไป และก็จะดูถูกสิ่งเหล่านี้ ขณะที่ผมสอน<br />

หนังสือ ก็ยังมีคนมาเหน็บแนมว่านี่เป็นสถาปัตยกรรมโกโรโกโส เขามองว่าเราเก็บสะเปะ<br />

สะปะ แต่จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้ สะท้อนอะไรบางอย่างนะ นี่เป็นตัวตนของแต่ละชุมชนนะ<br />

แล้วมันก็มีภูมิปัญญาที่แฝงอยู่ มันสำาคัญที่ว่าเราจะอ่านภูมิปัญญาออกหรือเปล่า ซึ่งภูมิ<br />

ปัญญาเหล่านี้ไม่ได้ฝากไว้กับฝีมือ ไม่ได้ฝากไว้กับการดีไซน์ แต่มันเป็นจิตใจที่ผูกพันและ<br />

แก้ปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการตรงนั้น<br />

*ร.ศ. อนุวิทย์ เจริญศุภกุล<br />

87 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 87 24/4/18 16:10


<strong>Vernacular</strong> living และ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ในมุมมองของอาจารย์เป็นอย่างไร<br />

ไม่นานมานี้ ฝั่งอาศรมศิลป์ คุณธีรพล นิยม แกชวนผมไปกินข้าวและก็ได้คุยกัน แกเล่าว่า<br />

ตอนนี้สิงคโปร์เขาแกะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น จนเขามีเอกลักษณ์แล้ว แล้วสถาปนิกไทยเรา<br />

มีใครบ้างที่สามารถแกะให้ได้แบบเขา ผมก็บอกว่ามีหลายกลุ่ม เพียงแต่ไม่ได้เจาะ อย่าง<br />

ทางเหนือก็มีคุณอดุลย์ เหรัญญะ ประธานสมาคมสถาปนิกล้านนา แกไปซื้อบ้านเก่ามา<br />

แล้วเอามาทำาโฮมสเตย์ ที่บ้านหลองข้าว เกิดเป็นกระแสเข้าไปในพื้นที่ตรงนั้น ทำาให้คน<br />

เห็นว่างานบ้านท้องถิ่นนั้นมีคุณค่า บวกกับกระแสการท่องเที่ยวแบบเชิงอนุรักษ์ที่มาแรง<br />

อีกด้วย<br />

อีกกระแสนึงคือ คนไทยที่พยายามเอาของท้องถิ่นมาปรับ แล้วยกระดับให้เป็นของระดับสูง<br />

ซึ่งผมไม่เห็นด้วย เป็นเอาเปรียบภูมิปัญญาเดิม แล้วเอามาขายในราคาแพง ซึ่งจริงๆมันต้อง<br />

มีระดับล่างด้วย เราจะเห็นได้อาหารไทยทั่วๆ ไป ต้มยำากุ้ง ผัดไท ที่เน้นขายฝรั่ง ซึ่งตอนนี้<br />

ได้หลามมาถึงพวกขนมที่มีบรรจุภัณฑ์ กลายเป็นของตลาดบนหมดแล้ว<br />

แล้วผมเห็นตลาดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ที่สถาปนิกสนใจกันก็มักเป็นตลาดบน แต่จริงๆ<br />

เราสามารถทำาให้เป็นตลาดล่างได้ ลงมารับใช้ประชาชน และก็ต้องเข้าใจประชาชนด้วย<br />

ไม่ใช่ออกแบบอย่างเดียว แต่เราต้องถอดรหัสพวกเขาให้ได้ด้วย เพราะดีไซน์ของเรามัก<br />

ไปผูกพันกับงานที่สมบูรณ์ ที่มีกระแสตะวันตกมาครอบงำา ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้<br />

แต่ถ้าเราไปตามกระแสเขา เราก็ไม่รู้ว่าเราจะไปอยู่ที่ไหน สำาคัญที่ว่าเราจะเห็นตัวตนเรา<br />

ในปัจจุบันอย่างไร ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็นสำาคัญ<br />

ยกตัวอย่าง ถ้าคุณเรียนผังเมืองมา แล้วได้เข้าไปในหมู่บ้านหนึ่งเพื่อพัฒนา ทฤษฎีของเรา<br />

ที่เรียนมาใช้ได้นะ แต่บริบทของเราที่ไปเจาะ เราต้องเข้าใจวัฒนธรรมของเขาก่อน เพราะ<br />

ฉะนั้นการมองดีไซน์ เราต้องมองแบบมานุษยวิทยา ที่ไม่ปฏิเสธความเชื่อและวิถีชีวิตของ<br />

ดั้งเดิม ซึ่งตรงนี้สำาคัญที่สุด<br />

88<br />

ASA18_Book_180419.indd 88 24/4/18 16:10


กรณีหลองข้าว: ของเก่าและของใหม่?<br />

หลองข้าวมีอัตลักษณ์ชัดเจน มีเอกลักษณ์ของความสมบูรณ์ แต่เขามาแปรสภาพจาก<br />

ฟังก์ชันเดิมเป็นฟังก์ชันใหม่ สำ าคัญที่ว่าเขาเอาฟังก์ชันมาสวมได้แนบสนิทหรือเปล่า แล้วเข้า<br />

ไปอยู่แล้วความเป็นหลองข้าว มันหายไปหรือเปล่า รองรับวิถีชีวิตได้หรือเปล่า ถ้าทำ าไม่ได้<br />

นั่นคือของปลอม แต่ถ้ามือถึงทำาได้ก็ต้องยอม ของพวกนี้เป็นเรื่องตีประเด็นภูมิปัญญา<br />

ให้แตก และเข้าใจบริบทของความร่วมสมัยด้วย เหมือนคำาที่คนโบราณบอก ผีบ้านไม่ดี<br />

ผีป่ามันเข้า อย่างคุณเมธา บุนนาค นี่ผมถือว่าถึง แต่ถามว่าเขาใช่พื้นบ้านไหม ก็ไม่ใช่<br />

แต่ว่าเขาเห็นคุณค่าก็เลยทำาได้<br />

“กระแสโลกาภิวัฒน์, ระบบการผลิตด้วยระบบโรงงาน,<br />

นวัตกรรมวัสดุการก่อสร้าง รวมไปถึงการพัฒนา<br />

เทคโนโลยี” อาจารย์คิดว่าสิ่งเหล่านี้มีผลต่อวิถีชีวิตของคน<br />

และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในปัจจุบันอย่างไร<br />

เราต้องรับทั้งสองอย่าง เราไม่สามารถปฏิเสธกระแสโลกาภิวัฒน์ได้ เพราะเราอยู่ใน<br />

ระบบทุนนิยม ถ้าเราไม่มีสำานึกของทุนนิยมแล้ว ทุนนิยมมันจะฆ่าการพึ่งพาตัวเองของ<br />

สังคมทันที ดังนั้นเราต้องพึ่งพามัน ระบบอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นก็มาจากทุนนิยม แล้วถ้า<br />

ประชาชนยังพึ่งพาตนเองได้ สินค้าก็ขายไม่ได้ เงินก็ไม่มี โลกก็ตาย ซึ่งทุนนิยมมันดีตรงที่<br />

ได้ถูกดีไซน์ให้ถูกต้องกับความต้องการมาแล้ว แถมราคาก็ถูกด้วย เพราะฉะนั้นสถาปนิก<br />

ถูกกระแสโลกาภิวัฒน์ไปแล้ว ก็ปฏิเสธไม่ได้<br />

อย่างล่าสุดผมไปตรวจวิทยานิพนธ์ที่ศิลปากร ปรากฏว่าเด็กคนนึง เขาทำ าเรื่องเงาะป่าซาไกที่<br />

จังหวัดตรัง เราคุยแค่เรื่องใบตองแห้งใบเดียว เราเห็นภูมิปัญญามากมายเลย เพราะ<br />

บริบทการอยู่ของเขาเป็นอย่างนั้น ถ้าเราไม่เข้าใจแล้วเอาความคิดไปเปลี่ยนวัฒนธรรมเขา<br />

เป็นอะไรที่อันตรายมาก เราต้องมีการคัดสรรว่า อะไรเก่าที่ควรเก็บ อะไรใหม่ควรเข้ามา<br />

มันมีบทความหนึ่ง เรื่องวิทยาศาสตร์ที่ทำาให้เกิดความไม่เท่าเทียม กล่าวว่าวิทยาศาสตร์<br />

เป็นกลไกสำาคัญ ที่ทำาลายภูมิปัญญาเดิมหมดเลย แล้วยึดถึงตนเองอย่างเดียว ไม่ได้มอง<br />

แบบมานุษยวิทยา ซึ่งวิทยาศาสตร์ก็เป็นเรื่องที่ดีนะ แต่เขาปฏิเสธอย่างอื่นหมดเลย ซึ่ง<br />

ตอนนี้วิทยาศาสตร์ก็ร่วมมือกับนายทุนอยู่ แต่มนุษย์ก็ปรับตัวได้ แต่จะปรับตัวได้แบบ<br />

ภูมิใจ หรือจะปรับตัวได้แบบเป็นทาส<br />

89 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 89 24/4/18 16:10


สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในอนาคต จะเป็นอย่างไร?<br />

ผมไม่อยากพยากรณ์ แต่ถ้าคนกลับมาสนใจและเรียนโมเดิร์นแล้ว ต้องรู้ว่าวัฒนธรรม<br />

กับความโมเดิร์นมันจะแมตช์กันอย่างไร เมื่อสมัยก่อนมีประชุมเสวนาครั้งใหญ่เรื่อง<br />

‘วัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลง’ มันมีประเด็นที่ว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยง<br />

ไม่ได้ แต่ต้องเข้าใจพื้นฐานของการดำารงอยู่ในบริบทภูมิปัญญาวัฒนธรรมที่มีอยู่ แล้วเมื่อ<br />

รับกระแสการเปลี่ยนแปลงมา เรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัว แล้วอะไรดีไม่ดี แล้วมันจะผสานกันได้<br />

อย่างไร เรายังขาดตรงนี้ ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านฟื้นแนวคิดเหล่านี้ขึ้นมาหมดนะ<br />

อย่างเศรษฐกิจพอเพียง ท่านลึกซึ้งจริงๆ<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับ<br />

ความสำาคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ประเด็นนี้น่าสนใจ แต่ว่ามันจะหยั่งเข้าไปถึงความซาบซึ้งของผู้เปิดประเด็นหรือไม่ แล้ว<br />

ผู้เปิดประเด็นสามารถหยั่งเห็นถึงงานพื้นถิ่นได้หรือยัง ว่ามันอยู่ตรงไหนบ้าง ถ้าไม่คมพอ<br />

ก็จะกลายเป็นดัดจริต อาจารย์มั่นได้พูดไว้ว่า คำาสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่เข้าใจ<br />

เมื่อไหร่ ก็จะกลายเป็นของปลอมขึ้นมาทันที แต่ถ้าประดิษฐานอยู่ในอริยะเจ้าแล้ว สิ่งนั้น<br />

เป็นของจริงแท้ แล้วสถาปนิกใจถึงหรือยัง นี่พูดกันแบบเล่นๆ<br />

สำาหรับเรื่องการเรียนการสอน ก็อยากให้เด็กมีใจรัก จะเริ่มเรียนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นควร<br />

เรียนตอนปริญญาเอก อย่าไปเริ่มเรียนตอนปริญญาตรี เพราะจะทำาให้เราอยู่ในกะลา<br />

เราต้องดูโลกกว้างก่อน พอเห็นโลกกว้างแล้วค่อยมาดูในกะลา ถ้าเรียนสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นแล้วไม่เรียนดีไซน์อะไรมาก่อนนะ เราจะอ่านดีไซน์ได้คับแคบ แต่พอเห็นหลักดีไซน์<br />

ที่กว้างขวาง แล้วค่อยเอามาจับเรื่องพื้นถิ่นตรงนี้ ที่เหลืออยู่ที่บุญกรรมของนักศึกษา<br />

แล้ว เพราะโรงเรียนได้ดีไซน์ความสำานึกในท้องถิ่นมาแล้ว เวลาผมสอนก็ไม่ได้ลงไปรังวัด<br />

จริงจัง แต่ผมสอนให้แยกแยะให้เป็น แล้วต้องฝึกเป็นนิสัยให้มีใจรัก เวลาไปลงลึกแค่ไหน<br />

ก็ถ่ายรูปกลับมาวิเคราะห์ ด้วยการเอาดีไซน์มาจับ<br />

90<br />

ASA18_Book_180419.indd 90 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 91 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 92 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 93 24/4/18 16:10


แนวคิดหลักในการจัดงานงานสถาปนิก ’61<br />

BEYOND ORDINARY “ไม่ธรรมดา”<br />

94<br />

ASA18_Book_180419.indd 94 24/4/18 16:10


“ไม่ธรรมดา” มุ่งอภิปรายบทบาทของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในวิถีชีวิตร่วมสมัยของสังคมไทย<br />

ซึ่งมุ่งสนใจที่กระบวนการการสร้างสรรค์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดยพัฒนากรอบแนวคิด<br />

การให้ความหมายและคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ไม่จำากัดอยู่ที่เพียงรูปลักษณ์ของ<br />

สถาปัตยกรรม แต่พิจารณาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในฐานะองค์ประกอบของการใช้ชีวิต<br />

ประจำาวันของผู้อยู่อาศัย “ไม่ธรรมดา” ให้ความสนใจกับกระบวนการเกิดขึ้นของสถาปัตยกรรม<br />

ที่สะท้อนองค์ความรู้พื้นถิ่น เอกลักษณ์และรากฐานวัฒนธรรม ซึ่งย้อนกลับมาให้ความหมาย<br />

และคุณค่าใหม่ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของเราในปัจจุบัน<br />

“ไม่ธรรมดา” พิจารณาการแสดงออกของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นออกเป็นสองแนวทาง โดยที่<br />

ทั้งสองแนวทางมีความสัมพันธ์และสะท้อนความหมายซึ่งกันและกัน แนวทางแรกคือการ<br />

แสดงออกทางวัตถุหรือสิ่งของที่จับต้องได้และประเมินผลทางวัตถุได้ อันอาจหมายรวมถึง<br />

รูปทรงทางสถาปัตยกรรม วัสดุการก่อสร้าง กระบวนการก่อสร้าง และเทคโนโลยีเพื่อการ<br />

ก่อสร้างและการใช้งานสถาปัตยกรรม เป็นต้น รูปแบบการแสดงออกของสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นแนวทางที่สองคือ การแสดงออกที่จับต้องไม่ได้หรือการแสดงผลที่สร้างผลลัพธ์ทาง<br />

ความรู้สึกและตัวตน อันอาจหมายรวมถึง เอกลักษณ์ท้องถิ่น ลักษณะเฉพาะตน (ตัวตน)<br />

วิธีและกระบวนการทางความคิด ความเชื่อและระบบการให้คุณค่าเฉพาะถิ่น ระบบความ<br />

เชื่อที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพ เป็นต้น<br />

“ไม่ธรรมดา” เปิดพื้นที่ให้กลุ่มสถาปนิก นักออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญทั้งทางวิชาการและ<br />

งานปฏิบัติ (ช่างฝีมือ) ร่วมกันตั้งคำาถามและวิเคราะห์กระบวนการการตอบสนองของ<br />

สถาปัตยกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมและสังคมดังกล่าว บนคำาถามว่า<br />

สถาปนิกและผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นจะมีบทบาทในการพัฒนา<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไปข้างหน้าได้อย่างไร?<br />

95 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 95 24/4/18 16:10


แนวทางในการออกแบบนิทรรศการ<br />

BEYOND ORDINARY “ไม่ธรรมดา”<br />

ทีมอำานวยการ<br />

แนวทางในการออกแบบนิทรรศการของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ภายในงานสถาปนิก ’61 นี้<br />

ทีมอำานวยการเชิญสถาปนิกผู้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบหลากหลายแนวทาง<br />

เข้ามาร่วมออกแบบพาวินเลียนเพื่อจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ โดยแนวคิดของงานในปีนี้<br />

คือ <strong>Vernacular</strong> living ภายใต้ชื่องาน “<strong>Beyond</strong> ordinary: ไม่ธรรมดา” สถาปนิกรับเชิญ<br />

ทุกท่านจะได้รับโจทย์ในการออกแบบพาวิเลียน และความสนับสนุนจากนักวิชาการหรือผู้<br />

เชี่ยวชาญด้านวัสดุก่อสร้างและวิธีการก่อสร้างเฉพาะแบบ แยกเป็น 2 โจทย์ด้วยกัน คือ<br />

(1) โจทย์ทางด้านวัสดุ ได้แก่ ดิน, อิฐ, ไม้ไผ่ และไม้ โดยสามารถผสมกับวัสดุอื่นๆ ได้กึ่ง<br />

หนึ่ง (2) โจทย์ทางด้านการออกแบบและเทคนิคการก่อสร้าง โดยแยกออกเป็น 2 แนวทาง<br />

คือ การออกแบบโดยเน้นให้เห็นสัจจะของวัสดุและเทคนิคการก่อสร้างแบบเรียบง่าย (Craft<br />

materials and construction) และ การออกแบบโดยมีการประยุกต์ใช้วัสดุและการตี<br />

ความที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น (Advanced materials and interpretation)<br />

96<br />

ASA18_Book_180419.indd 96 24/4/18 16:10


สำาหรับเนื้อหานิทรรศการของธีมงานหลักนั้น ทางทีมอำานวยการเล็งเห็นว่า ในปัจจุบัน<br />

สถาปัตยกรรมในท้องถิ่นต่างๆ กำาลังถูกท้าทายด้วยกระบวนการการเปลี่ยนแปลงอย่าง<br />

ต่อเนื่องในหลายๆ ด้าน อาทิเช่น ปรากฎการณ์โลกาภิวัฒน์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพ<br />

ภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบท<br />

ไปสู่สังคมเมือง และชนบทกึ่งเมือง เป็นต้น งานนิทรรศการหลักที่จัดแสดงธีมงานของ<br />

สถาปนิก’61 <strong>Vernacular</strong> living จึงมุ่งอภิปรายกระบวนการที่สถาปัตยกรรมในพื้นถิ่น<br />

ปรับเปลี่ยนตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำาวัน<br />

ในพื้นที่สี่ประเภท ได้แก่ พื้นที่พักอาศัย พื้นที่ประกอบอาชีพ พื้นที่สาธารณะ และรูปแบบ<br />

การเดินทางและขนส่งในเมือง (อ่านรายละเอียดเนื้อหานิทรรศการได้ในคอลัมน์เนื้อหา<br />

นิทรรศการ) โดยถูกนำาเสนอผ่านนิทรรศการที่ปรากฎอยู่ในพาวิเลียนหลัก 5 พาวิเลียน<br />

ได้แก่ <strong>Living</strong> space pavilion, Working space pavilion, Meeting space pavilion,<br />

Moving system pavilion และ Introduction pavilion โดยกลุ่มพาวิเลียนหลักนี้<br />

สถาปนิกผู้ออกแบบพาวิเลียนได้รับโจทย์ทางวัสดุที่แตกต่างกันไป ได้แก่ ดิน อิฐ ไม้ไผ่<br />

และไม้ แต่ทุกพาวิเลียนได้รับโจทย์ในการออกแบบและประยุกต์เทคนิคกาารก่อสร้างแบบ<br />

ซับซ้อน โดยกลุ่มพาวิเลียนหลักนี้จะตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่นิทรรศการของสมาคมฯ ใกล้กับ<br />

ทางเข้าหลักของพื้นที่จัดแสดงงาน (ดูผังประกอบ)<br />

นอกจากนี้พื้นที่นิทรรศการของสมาคมฯ ยังประกอบด้วยอีกสิบสามพาวิเลียนย่อย ซึ่งจะจัด<br />

แสดงกิจกรรมต่างๆ ของงาน ได้แก่ ASA Awards, ASA club, บูธแสดงผลงานนิสิต<br />

นักศึกษา, ASA international design competition, เวทีกิจกรรมกลาง, นิทรรศการ<br />

จัดแสดงผลงานสมาชิกสมาคมฯ, หมอบ้าน, กลุ่มงานอนุรักษ์ฯ, ASA CAN, ASA Crew,<br />

กลุ่มพันธมิตรของสมาคมฯ และร้านจำาหน่ายหนังสือและของที่ระลึก โดยพาวิเลียนย่อย<br />

เหล่านี้สถาปนิกก็จะได้รับโจทย์ทางด้านวัสดุและกระบวนการก่อสร้างเฉพาะเช่นเดียวกัน<br />

โดยเน้นให้เห็นสัจจะของวัสดุและเทคนิคการก่อสร้างแบบเรียบง่าย (Craft material) ซึ่ง<br />

ตั้งอยู่ล้อมรอบพาวิเลียนหลัก และบริเวณโถงด้านหน้าของพื้นที่จัดแสดงงาน (ดูผังประกอบ)<br />

97 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 97 24/4/18 16:10


Master Plan<br />

A<br />

ASA Award B <strong>Living</strong> Space Pavilion C<br />

Working Space Pavilion<br />

98<br />

ASA18_Book_180419.indd 98 24/4/18 16:10


D<br />

ASA School Pavilion<br />

E<br />

Main Stage<br />

F<br />

Introduction Pavilion<br />

G<br />

ASA Shop + Book Shop<br />

H<br />

ASA Club<br />

I<br />

ASA Member<br />

J<br />

Meeting Space Pavilion<br />

K<br />

Moving Space Pavilion<br />

L<br />

International Design<br />

Competition<br />

M<br />

Morbaan<br />

N<br />

ASA Crew<br />

O<br />

ASA Conservation<br />

& Vernadoc<br />

P<br />

ASA CAN<br />

Q<br />

ASA Friend<br />

99 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 99 24/4/18 16:10


รายชื่อทีมสถาปนิกและเนื้อหา<br />

โดยย่อของนิทรรศการตามพาวิเลียน<br />

Main Pavilion<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

<strong>Living</strong> Space<br />

บุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ จาก Boon Design<br />

ดินและเทคนิคการก่อสร้างแบบประยุกต์<br />

นิทรรศการแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเรือนพื้นถิ่นที่อยู่อาศัย จากสมัยบุพกาล,<br />

สมัยพัฒนา และร่วมสมัย โดยชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคม และกระบวนการ<br />

ก่อสร้างที่อยู่อาศัยแบบ Mass production ที่ไม่ตอบสนองต่อการอยู่อาศัยที่แท้จริง<br />

นิทรรศการถูกจัดแสดงผ่านภาพถ่าย<br />

ออกแบบและจัดทำาเนื้อหานิทรรศการโดย: อิสรชัย บูรณะอรรจน์<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

Working Place<br />

จริยาวดี เลขะวัฒนา และ Luke Yeung<br />

จาก ARCHITECTKIDD<br />

อิฐและเทคนิคการก่อสร้างแบบประยุกต์<br />

นิทรรศการแสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ประกอบอาชีพ ที่เคยตั้งซ้อนทับไปกับพื้นที่<br />

อยู่อาศัยและครอบครัว จนถูกแยกออกจากกันในยุคอุตสาหกรรมในประเทศไทยขยายตัว<br />

ไปจนกระทั ่งการเกิดขึ ้นของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำาให้การใช้พื้นที่ประกอบอาชีพ<br />

และการใช้พื้นที่ส่วนตัวสามารถกลับมารวมกันอีกครั้ง ผ่านการตั้งคำาถามว่า “ภายใต้<br />

นวัตกรรมใหม่ที่ย่อโลกและการปรับตัวของท้องถิ่น..สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตอบสนอง<br />

และปรับตัวเข้าสู่สังคมร่วมสมัยและเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างไร” โดยมองผ่านพัฒนาการ<br />

และการเปลี่ยนแปลงใน 3 สังคม ได้แก่ สังคมชนบท สังคมชนบทกึ่งเมือง และสังคมเมือง<br />

นิทรรศการถูกจัดแสดงผ่านภาพวาด (Illustration)<br />

ออกแบบและจัดทำาเนื้อหานิทรรศการโดย: ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์<br />

100<br />

ASA18_Book_180419.indd 100 24/4/18 16:10


พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

Meeting Space<br />

สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ จาก Walllasia<br />

ไม้ไผ่และเทคนิคการก่อสร้างแบบประยุกต์<br />

นิทรรศการ The superimposed layers on the (contemporary) public space แสดง<br />

ถึงการซ้อนทับของกิจกรรมทางสังคมบนพื้นที่สาธารณะของเมือง ที่แสดงถึงเอกลักษณ์<br />

ในการประยุกต์ใช้พื ้นที ่แบบผสมผสาน จากอดีตที ่เป็นการผสมผสานของกิจกรรมบนพื ้นที่<br />

ทางกายภาพหลากหลายแบบ ปัจจุบันมีมิติของการซ้อนทับของกิจกรรมบนโลกออนไลน์<br />

เกิดขึ้นบนพื้นที่สาธารณะ นิทรรศการนี้ตั้งคำาถามถึงการปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์, โลก<br />

เสมือนจริง (AR) และพื้นที่ทางกายภาพนั้นจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร และจะทำาให้บทบาท<br />

พื้นที่สาธารณะของเมืองเปลี่ยนไปอย่างไร นิทรรศการจะถูกแสดงผ่านเทคนิค VR (Virtual<br />

Reality)<br />

ออกแบบและจัดทำาเนื้อหานิทรรศการโดย: พีรียา บุญชัยพฤกษ์<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

Moving System<br />

ศ.ดร.วีระ อินพันทัง และ พิช โปษยานนท์<br />

ไม้และเทคนิคการก่อสร้างแบบประยุกต์<br />

นิทรรศการนี้ มุ่งหวังให้ผู้ชมร่วมสังเกตการณ์รูปแบบวิถีชีวิต แนวโน้มพฤติกรรมและค่า<br />

นิยมของสังคมเครือข่ายที่ยึดเอาความสะดวกรวดเร็วและความต้องการเฉพาะของลูกค้า<br />

ในการรับสินค้าและบริการเป็นที่ตั้ง โดยมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าและ<br />

บริการอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น นิทรรศการจัดการแสดงผ่านภาพวิดีทัศน์เชิงทดลอง 3<br />

เรื่อง ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนไปของรูปแบบการเคลื่อนที่เฉพาะถิ่นในเมือง ทั้งการ<br />

เคลื่อนที่จากคนไปหาสิ่งของ บริการ และการใช้สินทรัพย์ร่วมกันตามแนวคิดเศรษฐกิจ<br />

แบ่งปัน และให้ผู้ชมร่วมตั้งคำาถามถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพของ<br />

เมืองในอนาคตว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด<br />

ออกแบบและจัดทำาเนื้อหานิทรรศการโดย: ปิยา ลิ้มปิติ<br />

101 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 101 24/4/18 16:10


พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

Introduction<br />

สาวิตรี ไพศาลวัฒนา และ Jakub Gardolinski<br />

จาก PAGAA ร่วมกับ เมธัส ศรีสุชาติ จาก MAGLA<br />

วัสดุประยุกต์<br />

นิทรรศการนำาเสนอวิดีทัศน์บทสัมภาษณ์ 2 เรื่อง เรื่องแรกเป็นบทสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

และผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทย อันได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ<br />

อรศิริ ปาณินท์ รศ.อนุวิทย์ เจริญศุภกุล และ รศ.วิวัฒน์ เตมียพันธ์ ซึ่งได้แสดงทัศนคติ<br />

และวิพากษ์ความเข้าใจต่อสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น รวมไปถึงระบบการศึกษาสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นในปัจจุบันและในอนาคต และบทสัมภาษณ์ของสถาปนิกรับเชิญผู้ออกแบบ<br />

พาวิเลียนทั้ง 18 กลุ่ม และสันธาน เวียงสิมา ที่ปรึกษาหลักของทีมอำานวยการซึ่งให้คำา<br />

ปรึกษาด้านวัสดุและงานก่อสร้างพาวิเลียน ที่แสดงความเห็นต่อ <strong>Vernacular</strong> living ใน<br />

รูปแบบบทสนทนา<br />

วิดีทัศน์อีกเรื่องหนึ่งเป็นบทสัมภาษณ์สถาปนิกรับเชิญผู้ออกแบบพาวิเลียนทั้ง 18 กลุ่ม<br />

ที่มาอธิบายแนวคิดในการออกแบบพาวิเลียนในงานสถาปนิก ’61ออกแบบและจัดทำา<br />

เนื้อหานิทรรศการโดย: ทีมอำานวยการจัดงานสถาปนิก ‘61<br />

ดูแลและเรียบเรียงเนื้อหานิทรรศการหลักโดย: พิชญา นิธิภัทรารัตน์<br />

ASA-Events Pavilion<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

Main Stage<br />

ศาวินี บูรณศิลปิน และ Tom Dannecker<br />

จาก THINGSMATTER<br />

ไม้ไผ่ โดยเทคนิคการก่อสร้างแบบงานช่างฝีมือ<br />

พื้นที่กิจกรรมกลาง จัดกิจกรรมการสัมภาษณ์, เวิคช้อป, การแสดงหนังสั้น และการตัดสิน<br />

งานประกวดแบบภายในงานสถาปนิก'61<br />

102<br />

ASA18_Book_180419.indd 102 24/4/18 16:10


พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

ASA Club<br />

ดนัย สุรสา และ สร้อยพลอย พานิช<br />

จาก STUDIO KRUBKA<br />

อิฐและดิน โดยเทคนิคการก่อสร้างแบบงานช่างฝีมือ<br />

พื้นที่สังสรรค์ระหว่างสมาชิกสมาคมฯ ที่มีกิจกรรมและการแสดงดนตรีโดยสมาชิกสมาคมฯ<br />

สามารถเข้าใช้พื้นที่ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

ASA Shop + Bookshop<br />

วิภาวี เกื้อสิริกุล และสิทธนา พงษ์กิจการุณ<br />

จาก A MILLIMETRE<br />

อิฐและดิน โดยเทคนิคการก่อสร้างแบบงานช่างฝีมือ<br />

พื้นที่ขายของที่ระลึกของสมาคมฯ และหนังสือจากมหาวิทยาลัยต่างๆ<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

ASA International Design Competition<br />

สุภาพร วิทยถาวรวงศ์ จาก BEAUTBUREAU<br />

ไม้ โดยเทคนิคการก่อสร้างแบบงานช่างฝีมือ<br />

พื้นที่แสดงงานของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ASA International Design Competition<br />

ภายใต้โจทย์ VEX<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

ASA <strong>Architecture</strong> School<br />

ชัชวาล ทรัพย์สืบสกุล และ กณพ มังคละพฤกษ์<br />

จาก ARCHIVE STUDIO<br />

อิฐ โดยช่างเมคนิคการก่อสร้างแบบงานช่างฝีมือ<br />

พื้นที่แสดงงานแนวความคิดการออกแบบของนักศึกษาภายใต้โจทย์ “<strong>Beyond</strong> ordinary”<br />

โดยพื้นที่จัดแสดงงานจะถูกออกแบบโดยนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย โดยได้รับโจทย์<br />

ให้ใช้อิฐประสานจำานวน 350 ก้อน<br />

103 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 103 24/4/18 16:10


พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

ASA Award<br />

เมธี รัศมีวิจิตรไพศาล จาก COMPOSITION A<br />

และ ศรัญญู เอื้อวิเศษวัฒนา<br />

-<br />

พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการผลงานที่ได้รับรางวัล ASA Awards 2018 จากทางสมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

ASA Member<br />

นพพล พิสุทธิอานนท์<br />

จาก QUINTRIX ARCHITECTS<br />

ไม้ไผ่ โดยเทคนิคการก่อสร้างแบบงานช่างฝีมือ<br />

พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกสมาคมฯ ที่ส่งผลงานเข้ามาเพื่อแสดงในงาน<br />

สถาปนิก'61<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

หมอบ้าน<br />

วรพงศ์ มนูพิพัฒน์พงศ์ และ อดา จิระกลานนท์<br />

จาก ATELIER 2+<br />

ไม้<br />

พื้นที่ให้คำาปรึกษาการออกแบบและก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมแก่ผู้ที่เข้ามาร่วมงาน<br />

สถาปนิก โดยสถาปนิกจิตอาสา<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

ASA Crew<br />

เสก สิมารักษ์ จาก SAR<br />

อิฐ<br />

พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของนิตยสาร ASA Crew<br />

104<br />

ASA18_Book_180419.indd 104 24/4/18 16:10


พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

ASA Conservation & Vernadoc<br />

พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล, หฤษฎี ลีละยุวพันธ์, ธนวรรธน์<br />

ปัจฉิมะศิริ และนัฐวัฒน์ คำารณฤทธิศร<br />

จาก PHTAA<br />

ดิน<br />

พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของกลุ่มงานอนุรักษ์ของสมาคมฯ<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

ASA CAN<br />

ธาริต บรรเทิงจิตร และภาสุร์ นิมมล<br />

จาก MOR AND FARMER<br />

วิธี วิสุทธิ์อัมพร, อภิชาติ รุ่งแสงวีรพันธ์,<br />

ฐากูร ลีลาวาปะ<br />

จาก CROSS AND FRIENDS<br />

ไม้ไผ่<br />

พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของกลุ่มงานสถาปนิกเพื่อชุมชนของสมาคมฯ<br />

พาวิเลียน<br />

สถาปนิก<br />

วัสดุและโจทย์การออกแบบ<br />

ASA Friend<br />

ศศิชลวรี สวัสดิสวนีย์ จาก SILP ARCHITECTS<br />

ไม้ไผ่<br />

จัดแสดงนิทรรศการของ Universal Design สภาสถาปนิก สภาคณบดี (CDAST) สถาบัน<br />

อาคารเขียว ARCASIA และสถาปนิกภูมิภาค<br />

105 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 105 24/4/18 16:10


DIALOGUES<br />

ON<br />

VERNACULAR<br />

LIVING<br />

สารจากผู้สัมภาษณ์<br />

พีรียา บุญชัยพฤกษ์<br />

106<br />

ASA18_Book_180419.indd 106 24/4/18 16:10


่<br />

เนื้อหาใน Dialogues on vernacular living เป็นการเรียงร้อยบทสัมภาษณ์ ของ คุณ<br />

สันธาน เวียงสิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุที่ปรึกษาของทีมอำ านวยการ และสถาปนิกรับเชิญ<br />

ผู้ออกแบบพาวิเลียนจัดนิทรรศการต่างๆ ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชู<br />

ปภัมภ์ ภายในงานสถาปนิก’61 ทั้ง 18 กลุ่ม โดยการสัมภาษณ์นั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน<br />

ส่วนที่หนึ่ง ได้แก่ ความคิดเห็นต่อคำาว่า <strong>Vernacular</strong> living มุมมองต่อสถาปัตยกรรมพื้น<br />

ถิ่น และสถานการณ์การปรับเปลี่ยนของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในกระแสสังคมปัจจุบันและ<br />

อนาคต ซึ่งก็คือเนื้อหาของหนังสือในคอลัมน์นี้ อีกส่วนหนึ่งคือ เนื้อหาในคอลัมน์ถัดไปที<br />

เป็นการอธิบายแนวความคิดในการออกแบบพาวิเลียนที่อยู่ภายในงาน<br />

จากการสัมภาษณ์สถาปนิกทุกกลุ่มโดยแยกนัดสัมภาษณ์ต่างวันและเวลาตลอดระยะเวลา<br />

สามเดือนก่อนงานสถาปนิกนั้น ผู้สัมภาษณ์ได้รับฟังมุมมองที่น่าสนใจจากผู้ตอบคำาถาม<br />

ทุกท่านที่มีต่อ “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” และ “การอยู่อาศัยแบบพื้นถิ่น” สถาปนิกรับเชิญ<br />

ผู้ออกแบบพาวิเลียนในปีนี้ ต่างก็มีพื้นเพ มีความสนใจ และความถนัดหลากหลายมาจาก<br />

คนละสาขา แต่ทว่าการได้รับฟังคำาตอบจากการสัมภาษณ์เกือบยี ่สิบครั ้ง ผู้สัมภาษณ์เปรียบ<br />

เสมือนได้ฟังคำาพูดโต้ตอบระหว่างกันในวงสนทนาสมมติ จึงเป็นที่มาของการเรียงร้อยคำา<br />

ตอบเป็นกลุ่มแนวคิดที่สะท้อนระหว่างกัน และขอเชิญชวนให้ผู้อ่านมองย้อนไปถึงคำาถาม<br />

ซึ่งท่านอาจมีคำาตอบที่แตกต่างไปจากบทสัมภาษณ์นี้ต่อๆ ไป<br />

107 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 107 24/4/18 16:10


สถาปนิกและนักออกแบบพาวิลเลียน<br />

นิทรรศการ BEYOND ORDINARY “ไม่ธรรมดา”<br />

จริยาวดี เลขะวัฒนา, ก่อพงษ์ เสน่หา และ Luke Yeung<br />

จาก ARCHITECTKIDD<br />

ศ.ดร.วีระ อินพันทัง และ พิช โปษยานนท์<br />

สุริยะ อัมพันศิริรัตน์<br />

จาก WALLLSIA<br />

สาวิตรี ไพศาลวัฒนา และ Jakub Gardolinski<br />

จาก PAGAA<br />

เมธัส ศรีสุชาติ<br />

จาก MAGLA<br />

108<br />

ASA18_Book_180419.indd 108 24/4/18 16:10


ศาวินี บูรณศิลปิน และ Tom Dannecker<br />

จาก THINGSMATTER<br />

ดนัย สุรสา และ สร้อยพลอย พานิช<br />

จาก STUDIO KRUBKA<br />

ชัชวาล ทรัพย์สืบสกุล และ กณพ มังคละพฤกษ์<br />

จาก ARCHIVE STUDIO<br />

บุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์<br />

จาก BOON DESIGN<br />

วิภาวี เกื้อศิริกุล และ สิทธนา พงษ์กิจการุณ<br />

จาก A MILLIMETRE<br />

สุภาพร วิทยถาวรวงศ์<br />

จาก BEAUTBUREAU<br />

109 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 109 24/4/18 16:10


นัฐพงษ์ พัฒนโกศัย และ ดลพร ชนะชัย<br />

จาก CLOUD FLOOR<br />

นพพล พิสุทธิอานนท์<br />

จาก QUINTRIX ARCHITECTS<br />

วรพงศ์ มนูพิพัฒน์พงศ์ และ อดา จิระกรานนท์<br />

จาก ATELIER 2+<br />

ศศิชลวรี สวัสดิสวนีย์<br />

จาก SILP ARCHITECTS<br />

สันธาน เวียงสิมา<br />

จาก สำานักงานไม้สถาปัตยกรรมสองนิ้วสี่<br />

110<br />

ASA18_Book_180419.indd 110 24/4/18 16:10


ณัฐวัฒน์ คำารณฤทธิศร, หฤษฎี ลีละยุวพันธ์, พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล และ ธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ<br />

จาก PHTAA<br />

ธาริต บรรเทิงจิตร และ ภาสุร์ นิมมล<br />

จาก MOR AND FARMER<br />

เสก สิมารักษ์<br />

จาก SAR<br />

วิธี วิสุทธิ์อัมพร<br />

จาก CROSS AND FRIENDS<br />

111 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 111 24/4/18 16:10


1.<br />

<strong>Vernacular</strong> <strong>Living</strong><br />

หรือ การอยู่อาศัย “พื้นถิ่น” คืออะไร<br />

ไม่มีจริต<br />

บุญเลิศ<br />

การคิดถึงสเปซโปรแกรมแบบ <strong>Vernacular</strong> จริงๆค่อนข้างยาก สำาหรับคนที่<br />

อยู่ตึกแถวตั้งแต่เด็กแบบผม ผมชินกับความเป็น 4x12 เมตร ของความเป็น<br />

ตึกแถว ผมจึงรู้สึกว่า <strong>Vernacular</strong> นั้นไกลตัว และเด็กต่างจังหวัดนั้น <strong>Vernacular</strong><br />

ของเขานั้นคืออะไร แต่เหมือนการได้เรียนในมหาวิทยาลัย มันเป็นการเปิดโลกว่า<br />

ประวัติศาสตร์ที่มีมามันคืออะไรบ้าง แต่จะไกลตัวหรือใกล้ตัวก็จะยาก ดังนั้นคำ าว่า<br />

<strong>Vernacular</strong> จึงเป็นสิ่งที่ไกลตัวสำาหรับผมนิดหน่อย แต่การเป็นแบบนี้ของผม<br />

จึงทำาให้ผมพยายามกลับไปมองว่า ความเป็นพื้นถิ่นของชาวบ้านเขาอยู่กันแบบ<br />

ไหน แบบไหนที่เขาอยู่แล้วสบายใจ พอผมเห็นแล้วก็ชื่นชมพวกเขา<br />

ศาวินี<br />

ต้องขอออกตัวก่อนว่า ปกติเราจะไม่ค่อยถามอะไรยากๆ แบบนี ้กับตัวเอง (หัวเราะ)<br />

และไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เลย โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าสถาปัตยกรรมพื้น<br />

ถิ่นก็คือสถาปัตยกรรมธรรมดาทั่วไปที่คนทั่วไปใช้ชีวิตอยู่ เรารู้สึกว่ามันเป็นอะไร<br />

ที่สบายๆ น่ารัก ไม่มีจริต ในฐานะสถาปนิก เราพยายามที ่จะนำาเสนอสไตล์หรือ<br />

ดีไซน์อะไรขึ้นมา เพื่อเสนอให้คนทั่วไปรับรู้ว่าต้องใช้ชีวิตแบบนี้สิ แต่ว่าเวลามอง<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เราจะมองแบบว่ามันไม่ได้มาด้วยความคิดแบบนั้น<br />

สาวิตรี<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น น่าจะเกิดจากพื้นที่ตั้งสภาพแวดล้อม ก่อเกิดจากวัฒนธรรม<br />

ในการสร้างงานในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะผสมผสานเพื่อทำ าให้เกิดสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นขึ้นมา โดยให้ความสำาคัญที่สุดก็คือการใช้งาน และหลักๆ ก็น่าจะเป็นเรื ่อง<br />

การปกป้องตัวจากภัยทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแดดลมฝน หลังจากนั้นมาก็จึงเกิด<br />

การพัฒนาให้เกิดรูปแบบที่แตกต่างกัน ในแต่ละวัฒนธรรม รวมทั้งวัสดุ สรุปคือสิ่งที่ทำ า<br />

ให้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีเสน่ห์คือเอกลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ ที่แสดงตัวตนของผู้ใช้งาน<br />

ออกมาได้อย่างชัดเจน โดยที่ไม่เสเเสร้งหรือนอกเหนือจากความต้องการพื้นฐาน<br />

112<br />

ASA18_Book_180419.indd 112 24/4/18 16:10


สอดคล้อง กับบริบท<br />

ศศิชลวรี<br />

การอยู่อาศัยพื้นถิ่นในสิ่งที่เป็นพื้นถิ่น สำ าหรับเราก็คือการที่เราอยู่ในสภาพบริบท<br />

นั้นๆ สิ่งแวดล้อมนั้นๆ หรือบรรยากาศนั้นๆ อยู่ยังไงให้มัน รู้สึกสะดวกสบาย สมดุล<br />

ไม่ใช่แค่อยู่แล้วรู้สึกว่าแค่อยู่ แต่ว่าต้องมีความบาลานซ์ และรู้สึกดีกับสภาพที่<br />

เป็นอยู่นั้นๆ<br />

หฤษฎี<br />

ความเฉพาะถิ่นคือบริบทของการอยู่สบาย ซึ ่งไม่จำาเป็นต้องอ้างถึงเรื่องราวสมัย<br />

ก่อน เพราะเมืองไทยทุกวันนี้ไม่ได้มีลมพัดเข้าถึงพื้นที่เหมือนในอดีต ตอนนี้เรามี<br />

ตึกสูงบัง ความอยู่สบายจึงไม่เหมือนในอุดมคติแต่ก่อน ดังนั้นความพื้นถิ่นใน<br />

ตอนนี้ จึงจำาเป็นต้องปรับตัวให้อยู่กับปัจจุบันเช่นกัน อย่างการออกแบบคอนโด<br />

ก็สามารถเป็นงานพื้นถิ่นได้ ถ้าเราออกแบบให้เขาอยู่สบายได้<br />

นพพล<br />

ถ้าเอาง่ายๆ เลย คำาว่าเฉพาะถิ่นก็คือ ‘อยู่ตรงนี้’ ซึ่งแน่นอนว่ามีความหมาย<br />

ไม่เหมือนกับ ‘อยู่ตรงนั้น’ เพราะว่าบริบทไม่เหมือนกัน เราอยู่ประเทศเมืองร้อน<br />

ก็ต้องสร้างบ้านต่างจากประเทศเมืองหนาว แล้วเมืองร้อนก็อยากสร้างให้บ้าน<br />

เย็น ส่วนเมืองหนาวก็อยากให้บ้านอุ่น<br />

สิทธนา<br />

<strong>Vernacular</strong> เหมือนเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม<br />

ในที่ใดที่หนึ่งตั้งแต่เรื่องสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศและ<br />

วัฒนธรรมความเชื่อ<br />

113 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 113 24/4/18 16:10


ดนัย<br />

คำาว่า <strong>Vernacular</strong> living เราคิดว่าเป็นเรื่องของการอยู่อาศัยของคนที่เหมาะ<br />

กับสภาพแวดล้อม ทั้งทางสภาพอากาศหรือสภาพท้องถิ่น รวมถึงเรื่องบริบท<br />

อื่นๆ เช่นเรื่องสภาพเศรษฐกิจสังคม รวมไปถึงเรื่องวัฒนธรรมความเชื่อต่างๆ<br />

ผมว่านี่เป็นคำานิยามของคำาว่า <strong>Vernacular</strong><br />

สุริยะ<br />

สำาหรับผมแล้ว <strong>Vernacular</strong> <strong>Living</strong> คือการอยู่อาศัยให้<br />

สอดคล้องพื้นที่และบริบท อาจทั้งสิ่งที่มองเห็นและมอง<br />

ไม่เห็น ทั้งความเชื่อหรือภูมิอากาศต่างๆ ซึ่งสิ่งสองนี้<br />

สำาหรับผม สามารถรวมกันได้<br />

สุภาพร<br />

คิดว่า <strong>Vernacular</strong> living เป็นการปรับตัวระหว่างคนกับ<br />

สถาปัตยกรรม ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ และสภาพ<br />

เศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม<br />

วิธี<br />

<strong>Vernacular</strong> ในความรู้สึกของผมนะ มันเป็นการอยู่อาศัยอย่างเหมาะสมในบริบท<br />

ที่มันเป็นอยู่ ในเมืองเราอาจจะรู้สึกว่าไม่ค่อยมี <strong>Vernacular</strong> living มาก เพราะ<br />

ว่าเราอยู่ในบริบทนี้ แต่จริงๆ เราก็สร้างสถาปัตยกรรม สร้างพื้นที่ที่มันเหมาะ<br />

สมกับพื้นที่เราอยู่ ที่ต่างจังหวัด พื้นที่ต่างๆ ก็มี <strong>Vernacular</strong> living ในแนวทาง<br />

ของเขา ในเมื่อบริบทมันแตกต่างกัน การดีไซน์การออกแบบพื้นที่มันก็เลยนำา<br />

ไปสู่คำาตอบที่ไม่เหมือนกัน<br />

114<br />

ASA18_Book_180419.indd 114 24/4/18 16:10


นัฐพงษ์<br />

ดลพร<br />

นัฐพงษ์: ในมุมมองของผมเอง คิดว่าน่าจะเป็นอะไรที ่เรา<br />

พยายามแสดงความเป็นลักษณะของบริบทที่เราเป็นอยู่<br />

ออกมา ในรูปแบบของการอยู่อาศัย หรือการออกแบบ<br />

ของการอยู่อาศัยร่วมกันในชีวิตประจำาวัน<br />

ดลพร: และสิ ่งเหล่านั ้นก็ถูกปรับเปลี่ยนไปตามวิถีช่วงเวลา<br />

ทั้งการดำารงชีวิต อาชีพ เศรษฐกิจ สังคม ดังนั ้น <strong>Vernacular</strong><br />

living จึงได้ถูกปรับเปลี่ยนตามโลกที่มันหมุนไป<br />

เสก<br />

ผมไม่อยากให้คิดให้ไกลตัวมาก แต่คิดแบบใกล้ตัวมากคือ ทุกวันนี้เราก็อยู่ใน<br />

<strong>Vernacular</strong> living โดยไม่รู้ตัวอยู่แล้ว คือการอยู่อาศัยในข้อกำ าหนดปัจจัยทางด้าน<br />

เศรษฐกิจ ทรัพยากร และสภาพแวดล้อม ที่แตกต่างกัน ล้วนทำ าให้เกิด <strong>Vernacular</strong><br />

living ขึ้นมาอยู่แล้ว ไม่ว่าจะในระดับ คนหนึ่งคน ระดับครอบครัว หรือว่าทั้ง<br />

สังคม ชุมชน ซึ่งมันสามารถขยายใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ตามปัจจัยที่มีผลเข้ามา<br />

สรุปก็คือสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสำาหรับผมคือ สถาปัตยกรรมที่ใช้ทรัพยากรรอบ<br />

ตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการก่อสร้าง<br />

หรือการตอบโจทย์ทางด้านจิตใจ<br />

จริยาวดี<br />

สถาปัตยกรรมพื ้นถิ ่นคือสถาปัตยกรรมที ่เคารพและตอบสนองกับสภาพแวดล้อม<br />

เหมือนกับว่าธรรมชาติของการก่อสร้าง จะอยู่บนฐานความเป็นอยู่อาศัยและ<br />

การมองสภาพแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์พัฒนาการในด้าน<br />

เทคโนโลยีต่างๆ เราก็เริ่มพยายามจะเอาชนะธรรมชาติ ทำาให้การเป็นอาศัยของ<br />

เราเริ่มห่างกับคำาว่าธรรมชาติ<br />

เวลาพูดถึงคำาว่า <strong>Vernacular</strong> living คนเราก็มักพูดถึงสไตล์ แต่ความ<br />

เป็นจริงมันไม่ใช่เรื่องสไตล์ แต่จริงๆ คือเรื่องของแนวทางและกระบวนการ<br />

มากกว่า ถามว่าเราจะรับผิดชอบสิ่งนี้ต่อการออกแบบได้อย่างไร แน่นอนว่า<br />

เราก็อยู่ในยุคที่เทคโนโลยีมามีบทบาทกับการอยู่อาศัย และออกแบบพัฒนา<br />

กระบวนการก่อสร้าง นั่นทำาให้เราถูกดึงออกมาห่างไกลจากคำาว่า <strong>Vernacular</strong><br />

ค่อนข้างมาก ซึ่งตอนนี้เราเป็นยุคที่น่าจะเริ่มคิดและย้อนกลับไป เชื่อมกับสิ ่ง<br />

115 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 115 24/4/18 16:10


่<br />

เหล่านี้ และก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันเรานั้นห่างจากคำ าว่าพื้นถิ่นมาก นอกจากว่า<br />

มันจะมีบริบทที่เราจะเข้าไปในอยู่ในสถานการณ์ที่กลับไปอยู่กับธรรมชาติเดิมจริงๆ<br />

ซึ่งเราเชื่อว่าสัญชาตญาณของมนุษย์นั้น พยายามจะกลับไปเชื่อมต่อกับธรรมชาติ<br />

เดิมอยู่แล้ว<br />

ภาสุร์<br />

จริงๆ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตัวมันเองมันทำาหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราว<br />

อีกทีนึงไม่ว่าสถาปัตยกรรมตรงนั้นมันจะไปอยู่พื้นที่บริบทไหนก็ตาม เช่นถ้าอยู่<br />

ในพื้นที่ชนบทอาจจะใช้เรื่องของวัสดุพื้นถิ่นในการนำาเสนอเรื่องราวของพื ้นที<br />

หรือว่ารูปทรงของสถาปัตยกรรมเองก็สามารถบ่งบอกสภาพแวดล้อม หรือการ<br />

ใช้งานของคนได้ จริงๆสถาปัตยกรรมในเมืองเองก็เหมือนกัน เพียงแต่ว่ามัน<br />

เปลี่ยนในเรื่องขององค์ประกอบเฉพาะตัวในการทำา<br />

สันธาน<br />

การอยู่อาศัยแบบเฉพาะถิ่นในมุมมองผม อย่างที่บอกว่าผมเป็นช่างเทคนิค<br />

สถาปัตยกรรม สิ่งที่จะเป็นมุมมองการอยู่อาศัยเฉพาะถิ่นหรือพื้นถิ่นนั้น ผมมอง<br />

ว่า เป็นอะไรก็แล้วแต่ที่มันเกิดขึ้นจากวัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งเศรษฐกิจเอง<br />

เมื่อรวมแล้วมันสะท้อนให้เกิดคำาว่า “พื้นถิ่น” ขึ้นมา จะเป็นการอยู่อาศัยแบบ<br />

พื้นถิ่น หรือรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากความจริง<br />

ของสิ่งที่แวดล้อม เป็นอย่างที่คนในถิ่นนั้นๆเป็น แต่ก็อาจจะเหมือนและแตก<br />

ต่างกับถิ่นอื่นในบางเรื่อง<br />

ชัชวาล<br />

เรื ่องที ่สำาคัญก็คือเทคนิคการก่อสร้างของสถานที่นั้นๆ<br />

ด้วยว่า คนตรงนั้นมีความรู้ความสามารถแค่ไหน เพราะ<br />

ว่าความคิดของสถาปนิกกับช่างที่ทำาการก่อสร้าง ก็ควร<br />

ต้องสอดคล้องกันไปด้วย<br />

เมธัส<br />

ในความคิดของผม นี่คือสถาปัตยกรรมที่เกิดจากบุคคล<br />

ในท้องถิ่น ซึ่งจะมองเขา เป็นสถาปนิกก็ไม่เชิง เพราะเขา<br />

มีความเป็นช่างที่สามารถใช้วัสดุท้องถิ่น ใช้สภาพแวด<br />

ล้อม เพื่อสร้างงานสถาปัตยกรรมนั้นๆ ขึ้นมา<br />

116<br />

ASA18_Book_180419.indd 116 24/4/18 16:10


วรพงศ์<br />

อดา<br />

วรพงศ์: เรามักจะนึกถึงเวลาที่เราเดินทางไปต่างจังหวัด ตามหมู่บ้านที่ไม่ต้อง<br />

พึ่งพาจากภายนอก หมู ่บ้านเหล่านี ้เรามักเห็นงานสถาปัตยกรรมและความเป็น<br />

อยู่ที่เกิดขึ้นเฉพาะตรงนั้นชัดเจน อย่างเช่นวัสดุก็เป็นวัสดุที่ไม่ได้หาซื้อได้ตาม<br />

ร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป<br />

อดา: หรืออุปกรณ์ในการดำารงชีวิตก็เป็นอะไรที่หาทำาได้เองจากวัสดุในพื้นที่ แต่<br />

ถ้าพูดถึงวัสดุในบริบทกรุงเทพฯ ก็สามารถเป็น <strong>Vernacular</strong> ได้เหมือนกัน เช่น<br />

วัสดุตามร้านขายของชำา ก็เป็นวัสดุที ่หาได้ในพื ้นที ่ตรงนั ้น ก็อาจถือว่า <strong>Vernacular</strong><br />

เช่นกัน<br />

วรพงศ์: อย่างตามไซต์งานก่อสร้าง เราเคยเห็นคนงานเขาใช้วัสดุบ้านๆ ใกล้ตัว<br />

ที่เราคาดไม่ถึงมาสร้างแคมป์คนงาน เช่น เอาป้ายหาเสียงมาทำาผนัง<br />

อดา: หรือเรื่องเทคนิคงานช่าง เช่น การผูก การมัด ที่ไม่ได้เรียบร้อยมากตรงนั้น<br />

มันก็เป็นแง่หนึ่งของ <strong>Vernacular</strong> <strong>Living</strong><br />

117 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 117 24/4/18 16:10


2.<br />

สถาปนิกคิดอย่างไรกับคำาว่า “<strong>Vernacular</strong> architecture is an<br />

architecture without architects” (B. Rudofsky, 1964)<br />

วิภาวี<br />

เรารู้สึกว่า <strong>Architecture</strong> สามารถ Without architects ได้ แต่จำาเป็นต้อง<br />

With designs เพราะถึงจะไม่มีสถาปนิก ก็ต้องมีจุดประสงค์ในการออกแบบ<br />

ซึ่งถ้ามีสถาปนิกเข้าไปช่วยในการออกแบบ ก็จะทำาให้สถาปัตยกรรมยิ่งสมบูรณ์<br />

มากยิ่งขึ้น<br />

นพพล<br />

ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับความคิดนี ้เพียงว่าในปัจจุบันก็จะถูกเปลี ่ยนไปบ้าง ซึ่งพอผม<br />

ได้ยินคำานี้ ผมก็มักจะนึกถึงคำาว่า ‘ป่า’ กับคำาว่า ‘สวน’ โดยที่ป่าก็คือเรื่อง<br />

ธรรมชาติ ซึ่งคล้ายกับ <strong>Architecture</strong> witout architects ป่าเกิดจากที่ชาว<br />

บ้านต้องการอะไรชาวบ้านเขาก็ปลูกอย่างนั้น ส่วนสวนนั้นแตกต่างกันออกแบบ<br />

เพราะว่ามีดีไซเนอร์เข้ามาจัดการตัดแต่ง เหมือนงานสถาปัตยกรรมที่มีสถาปนิก<br />

อยู่เบื้องหลังคอยกำากับ<br />

นัฐพงษ์<br />

สถาปนิกเป็นเหมือนกลุ่มคนตัวอย่าง ที่จะชี้ให้เห็นว่า สิ่งในชีวิตประจำาวันที่ผู้คน<br />

ทั่วไปเหล่านั้นออกแบบด้วยตัวเขาเอง กับสิ่งที่สถาปนิกออกแบบนั้น จะมีความ<br />

แตกต่างกัน ทั้งสุนทรียศาสตร์ และในแง่ของความงาม ถึงแม้ว่าจะเป็นฟังก์ชัน<br />

เดียวกัน<br />

วิธี<br />

สถาปนิกเหมือนเป็นผู้มีความเข้าใจคนใช้งาน การใช้งาน การจัดพื้นที่ การสร้าง<br />

สถาปัตยกรรมที่สร้างพื้นที่ สร้างสเปซ สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างลึกซึ้ง<br />

สถาปนิกก็เลยมีบทบาทในการเข้ามาช่วยสกัดความลึกซึ้งของวิถีชีวิตคน<br />

ออกมาเป็นสเปซได้มากขึ้น<br />

118<br />

ASA18_Book_180419.indd 118 24/4/18 16:10


้<br />

Jakub<br />

It is a provocative statement. In my view, vernacular architecture is<br />

local, minimal, unattached to fashion, and directly responding to the<br />

human need. However, at the moment an architect becomes involved<br />

(with architecture), he will try to impose his style on the design. He will<br />

not think a room is a room or as a shelter but as a configuration. And<br />

this is where architecture is started, having said that there is nothing<br />

wrong with it, but it does not correspond to, in my view, a meaning of<br />

vernacular architecture.<br />

ดนัย<br />

ผมว่าประโยคนี้น่าจะเป็นใจความหลักขอคำาว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพราะน่าจะ<br />

เกิดจากการที ่คนที ่อยู ่อาศัยในที ่นั ้นๆ คิดกลั ่นกรองและหาวิธีการที่จะอยู่ในที่นั้นๆ<br />

ให้เหมาะสมกับบริบทที่สุด ถ้าถามกับตัวเราที่เป็นสถาปนิกกับประโยคนี้ว่าคือ<br />

อะไร ผมว่า ณ ปัจจุบันสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมันเปลี่ยนไปเยอะ ในเชิงของสิ่ง<br />

ที่เข้ามามีผล ทั ้งเรื ่องเทคโนโลยีต่างๆ ทั ้งในแง่การผลิตและสิ ่งที ่ช่วยเสริมให้เรา<br />

อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น จนบางทีผมว่าชาวบ้านเอง ไม่สามารถนำาเทคโนโลยีเหล่านี<br />

มาสร้างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่แท้จริงได้ อาจจะต้องอาศัยสถาปนิกมาช่วยหยิบ<br />

หรือจัดระเบียบของเทคโนโลยีต่างๆ ให้เข้ากับชีวิตที ่เหมาะสมขึ ้น เช่น ชาวบ้าน<br />

ทุกวันนี ้จะติดแอร์ เขาก็ไม่รู้ว่ามันจะอยู่กับสภาพแวดล้อมได้ตรงไหน<br />

119 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 119 24/4/18 16:10


กณพ<br />

จริงๆ หนังสือของ Bernard เล่มนี้ ผมไม่เคยอ่านนะ แต่พอลองค้นใน<br />

อินเทอร์เน็ตดู พบว่าหนังสือเล่มนี้มีอายุถึง 50 ปีแล้ว ก็เลยเข้าใจว่าคงเหมือน<br />

ที่ผมบอกตอนแรก ว่าถ้าบ้านอยู่สวนมะพร้าวก็เลยเอาต้นมะพร้าวมาสร้าง<br />

บ้านเหมือนนกสร้างรังที่ว่าถ้าเจออะไร ก็จะหยิบตรงนั้นมาใช้ และผมนั้นคิดว่า<br />

<strong>Architecture</strong> without architects ตอนนี้มันกำาลังห่างไกลจากคำาว่า <strong>Vernacular</strong><br />

ขึ้นเรื่อยๆ เพราะ <strong>Vernacular</strong> เป็นเรื่องการวิวัฒนาการ ไม่ใช่แค่เรื ่องธรรมชาติ<br />

แล้ว มันมีเรื่องเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย หรือแม้กระทั่งราคาที่ดิน ที่มาผนวก<br />

เข้าไป ดังนั้นสถาปนิกจึงเป็นคนที่ควรทำาให้ <strong>Vernacular</strong> กลับขึ้นมาในมุมมอง<br />

ใหม่ด้วยซ้ำา<br />

ดลพร<br />

คิดว่าสิ่งที่คนทั่วไปออกแบบจนกลายเป็นชีวิตประจำาวัน เหมือนก็เป็นการแสดง<br />

ลักษณะของพื้นที่นั้นๆ ออกมาได้อย่างซื่อตรง แต่อย่างหน้าที่ของสถาปนิกหรือ<br />

นักออกแบบ เราจะมีการจัดระบบที่อาจจะตอบโจทย์ได้ชัดเจนและลงตัวกว่า ซึ่ง<br />

สิ่งนี้คนทั่วไป เขาสามารถนำาไปปรับเปลี่ยนและต่อยอดได้ จากตัวอย่างที่เราได้ทำา<br />

วรพงศ์<br />

อดา<br />

วรพงศ์: <strong>Vernacular</strong> คือการสั่งสมองค์ความรู้ของ<br />

คนที่อยู่ในบริเวณนั้นๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึง 10-20 ปี<br />

ที่คนตรงนั้นพยายามพัฒนาขึ้นมา จนมันใช้งานได้ดีจริงๆ<br />

ทั้งในเรื่องเทคนิค วัสดุ และกระบวนการก่อสร้าง<br />

อดา: เมื่อองค์ความรู้นี้ สามารถใช้ได้จริงอย่างประสิทธิภาพในที่ตรงนั้น พอคน<br />

แถวนั้นมาเห็น ก็จึงนำาไปทำาต่อ สั่งสมและพัฒนา จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของ<br />

พื้นที่ขึ้นมา ซึ่งนี่ไม่จำาเป็นต้องมีสถาปนิกเลย ถ้าองค์ความรู้เหล่านี้ถูก<br />

พัฒนามาจากลองผิดลองถูกจริงๆ<br />

วรพงศ์: มันไม่ใช่ Individual knowledge แต่มันคือ<br />

Collective knowledge ที่เกิดจากพื้นที่ตรงนั้นๆ<br />

120<br />

ASA18_Book_180419.indd 120 24/4/18 16:10


เมธัส<br />

ในขณะที่เขาทำางานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้ แสดงว่าเขาก็มีความเป็นสถาปนิก<br />

อยู่ในตัว เพียงแต่จะพูดถึงคำาว่าสถาปนิกในปัจจุบันก็อาจจะเป็นเรื่องการรองรับ<br />

นายทุน การรองรับโจทย์ที่หลากหลายกว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งเป็นอะไรที่<br />

ไม่ผิด ถ้าสถาปัตยกรรมดีๆ เกิดขึ้นจากคนที่ไม่ได้เรียนสถาปัตยกรรม และมัน<br />

ก็ยังมีคุณค่าอยู่<br />

บุญเลิศ<br />

มันเป็นความจริง ที่จริงเราไม่จำาเป็นต้องมีสถาปนิกนะ แต่ในโลกใบนี้ พอวิชา<br />

ชีพมันถูกแยกย่อยออกมาตามคุณสมบัติของสังคมที่เป็นทุนนิยม ในสมัยก่อน<br />

ทุกอย่างมันเกิดขึ้นตามข้อกำาหนดของธรรมชาติ อย่างเช่นเมืองไทยสมัยก่อนก็<br />

มีแต่ป่าอย่างเดียว มีแต่ไม้ ดังนั้นเราก็ต้องใช้ไม้ เวลามีดินก็ต้องเอามาเผาไฟ<br />

ให้เป็นอิฐที่แข็งแรง เพื่อทำาอาคารสาธารณะ เพราะต้องใช้กรรมวิธีเยอะ ทำาให้<br />

อาคารพื้นถิ่นและอาคารที่พักอาศัยก็จะแยกชัดเจนตามวัสดุก่อสร้าง และขนาด<br />

ของอาคาร ดังนั้นความเป็น <strong>Vernacular</strong> ที่พูดถึง จะเป็นอะไรที่ไม่ต้องมี<br />

สถาปนิก แต่ที่ทุกวันนี้สถาปนิกเป็นอาชีพที่ทุกคนกำาหนดขึ้นมาเอง ผมเชื่อว่า<br />

ทุกคนเป็นสถาปนิกได้ โดยไม่ต้องจบจากโรงเรียนสถาปัตยกรรม ถ้าเขา<br />

เข้าใจธรรมชาติของสถาปัตยกรรม พูดง่ายๆ สำาหรับผมสิ่งนี้คือ ‘การกระทำาที่<br />

ทำาให้ต้องสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นมา’<br />

วิภาวี<br />

อย่างเช่นบ้านสมัยก่อน ใครเป็นคนกำาหนดว่า บ้านไทยต้องมีใต้ถุนสูง มีหลังคา<br />

ยอดสูง ต้องทำาจากวัสดุไม้ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่า เรื่องนี้เกิดจากการที่เห็น<br />

ข้างบ้าน สร้างบ้านแบบนี้แล้วอยู่ดี น้ำาท่วมแล้วบ้านเขาไม่เป็นไร ถ้าถามว่า<br />

ณ เวลานั้นมีสถาปนิกหรือไม่ ก็ไม่มีนะ สิ่งเหล่านี้เกิดจากการถ่ายทอดองค์ความ<br />

รู้ภูมิปัญญาต่อๆ กันมา<br />

121 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 121 24/4/18 16:10


สันธาน<br />

ผมไม่ใช่นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ศิลปะด้วย แต่<br />

ผมตั้งคำาถามว่า คำาว่าสถาปนิก หรือคำาว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ในเอเชียเอง<br />

ถูกจำากัดความตั้งแต่เมื่อไร สำาหรับผมเอง เรานิยามคำาว่า สถาปนิก ว่าอะไร<br />

สถาปนิก คือผู้สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมหรือเปล่า ในทางกลับกันสถาปัตยกรรม<br />

จะต้องถูกสร้างโดยสถาปนิกเท่านั้นหรือ ผมตอบคำาถามนี้ไม่ได้<br />

“<strong>Architecture</strong> without architects.” ก็ต้องกลับมาตรงนี้ว่า จริงๆ แล้วมันไม่<br />

without architects หรอก ถ้ามันจะเกิดได้ต้องมี Architects แต่ก็กลับมา<br />

ที่คำาถามผมว่า แล้วคนไหนเป็น Architects คนที่สร้างสรรค์งานนั้นเป็น<br />

สถาปนิกในบริบทของเราหรือเปล่า<br />

ถ้าชาวบ้านสมัยก่อนที่เขาเริ่มทำาทุกอย่างเอง ตั้งแต่การคิดโครงบ้าน จะต้อง<br />

ปลูกห้องกี่เสา จะเลือกตำาแหน่งไหนว่าจะต้องอยู่ที่ลุ่มที่ดอน ต้องหันหน้าไป<br />

ทางทิศไหน ตามคติความเชื่อ หรือว่าตามเงื่อนไขของสภาพไซต์ ขึ้นเสาเอก<br />

เมื่อไร จะตั้งเสาเอกยังไง เลี้ยงสัตว์ตรงไหน หรือความสูงของบ้านควรสูงจาก<br />

พื้นดินเท่าไร เพื่อที่จะป้องกันน้ำา สิ่งพวกนี้ไม่ได้แตกต่างอะไรจากสถาปนิกใน<br />

ปัจจุบัน แต่ว่าเพราะการมาถึงของคำาว่าสถาปนิก ปู่ย่าตาทวดของเราก็เลยไม่ได้<br />

ถูกเรียกว่า สถาปนิก นี่เลยเกิดคำาขึ้นมาว่า สถาปัตยกรรมเกิดขึ้นมาจากชาวบ้าน<br />

ธรรมดาที่ไม่ใช่สถาปนิกหรือ สมัยนั้นเขาอาจจะคิดว่าตัวเองเขาอะไรก็ได้ ที่หน้า<br />

ที่เหมือนสถาปนิก แต่ไม่ได้ใช้คำาเดียวกัน<br />

ผมไม่เห็นด้วยกับ ประโยค “<strong>Architecture</strong> without architects.” <strong>Architecture</strong><br />

ทุกอันมันถูกสร้างสรรค์ โดยบุคคลหนึ่ง ที่ในอดีตจะเรียกว่า อะไรก็แล้วแต่ มันจะ<br />

ต้องถูกสร้างด้วยบุคคลอย่างน้อยหนึ่งคนเพราะงั ้นทุกอย่างมันไม่มีสถาปัตยกรรม<br />

โดยบังเอิญทำาไมเราไม่เรียก ซุ ้มต้นไม้ที ่เกิดขึ ้นโดยธรรมชาติว่าสถาปัตยกรรมล่ะ<br />

เมื่อมันคุ้มแดดคุ้มฝน ป้องกันอันตราย แล้วบอกว่าสถาปัตยกรรม มันคือ<br />

อะไร มันคือมนุษย์สร้างขึ้น เพื่อกำาหนดอาณาเขต ปกป้อง เพราะงั้น เมื่อมนุษย์<br />

สร้างขึ้นปุ๊บ มันจึงไม่มีสถาปัตยกรรมไหนที่ไม่ถูกคนสร้าง ถูกนิยามว่าเป็น<br />

ใครก็เป็นผู้สร้างแหละ สรุปว่าผมไม่มี ความเชื่อเรื่องคำาที่ว่า “<strong>Architecture</strong><br />

without architects.”<br />

122<br />

ASA18_Book_180419.indd 122 24/4/18 16:10


วิธี<br />

ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์เราก็สร้างบ้านเองอยู่แล้ว โดยที่ไม่ต้อง<br />

มีการบัญญัติว่าใครเป็นสถาปนิก แต่ด้วยวิถีชีวิตที ่เขาเข้าใจตัวเองว่าเขาจะต้อง<br />

อยู่ยังไง เขาจะต้องกินยังไง เขาจะต้องทำางานยังไง ชีวิตเขาขับเคลื่อนโดยอะไร เขา<br />

จึงสามารถสร้างพื้นที่ของเขาเองได้ เพราะว่าเขาเข้าใจชีวิตเขาอย่างลึกซึ้ง จน<br />

ช่วงหลังเรามีสถาปนิก เราบัญญัติว่าเราเป็นสถาปนิก มันมีตำาแหน่งมีบทบาท<br />

นี้เกิดขึ้นในสังคม <strong>Vernacular</strong> living จริงๆ น่าจะอยู่กับมนุษย์มานานแล้วก็ได้<br />

แต่เราไม่ได้บัญญัติมัน แค่พอมีสถาปนิก เราก็เลยต้องการคำามาจำากัดความมัน<br />

สิทธนา<br />

สมัยก่อนแล้วนั้น เขาไม่มีการแบ่งอาชีพอยู่แล้วว่า ใครเป็นอาชีพอะไร เพราะใน<br />

คนๆ หนึ่ง สามารถทำาได้หลายอย่าง ทำาให้องค์ความรู้เรื่องการออกแบบ<br />

สถาปัตย์ในอดีตก็ค่อยๆ ถ่ายทอดมาจนเริ ่มมีการจัดระบบอาชีพ และมากำาหนด<br />

ว่าสถาปนิกเท่านั้นที่สามารถทำางานสถาปัตย์ได้ ดังนั้นเราคิดว่า <strong>Architecture</strong><br />

without architects จริงๆ แล้ว ก็มี Architect อยู่ในนั้นแต่แรกอยู่แล้ว<br />

ศศิชลวรี<br />

ก่อนหน้านี้มันคงไม่ได้มีอาชีพ หรือคนที่ทำาหน้าที่ ที่เรียกว่า “สถาปนิก”<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็คือสิ่งที่สะท้อน <strong>Vernacular</strong> living คืออยู่ยังไงให้สมดุล<br />

และมีความสุข บางทีเหมือนเราเดินอยู่กลางแจ้งในพื้นที่เขตร้อน เราอาจจะไม่<br />

ได้รู้สึกสบายหรอก เพราะฉะนั้นอะไรที่มันทำาให้เกิดความสบายนี้ขึ้นมา ก็อาจ<br />

จะด้วยสิ่งปลูกอาศัย หรืออาคารต่างๆ ที่ทำาให้ตอบสนองความต้องการของคน<br />

เพราะฉะนั้น สถาปัตยกรรมที่ไม่ใช่สถาปัตยกรรมในอดีตก็คือการที่สิ่งก่อสร้าง<br />

บางอย่างมาตอบสนองให้คนอยู่ในโซนนั้นๆ ได้อย่างมีความสุข โดยที่ไม่ต้อง<br />

ใช้สถาปนิก และเมื่อมีสิ่งปลูกสร้างบางอย่างที่มันตอบสนองความต้องการของ<br />

คน มันอาจจะมากบ้าง น้อยบ้าง เกินบ้าง มันเลยทำาให้ต้องมีสถาปนิก ซึ่งทำาให้<br />

สิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดความพอดีมากขึ้น<br />

123 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 123 24/4/18 16:10


Luke<br />

There is a real truth in that. If you look at architecture as a building, and<br />

look at the entire lifespan of the building from the beginning to the end,<br />

an architect only plays a small part at the beginning of the building.<br />

After the building completed (the construction), they still hold another life<br />

that architecture goes beyond the design. So, I think the phase (“<strong>Architecture</strong><br />

without architects”) rehearses how architect only plays one part<br />

of the building in term of guiding it towards its birth. But, there are still<br />

a whole life to it that it would be interesting if architect could look more<br />

at the way building is inhabited, used, and changed over time as well.<br />

ภาสุร์<br />

จริงๆ สถาปนิกอาจจะเข้ามาช่วยเติมเต็มภาพบางอย่างมากกว่า เพราะว่า<br />

สุดท้ายแล้วผมมองว่า สถาปัตยกรรมชิ้นหนึ่งมันจะสำาเร็จได้ มันต้องเกิดจาก<br />

การใช้งานที่ตอบโจทย์กับพื้นที่ กับคนที่อยู่จริงๆ ถ้าหน้าที่ของมันเป็นที่อยู่<br />

อาศัย มันก็ต้องตอบโจทย์ให้กับคนที่อยู่อาศัยนั้น ฉะนั้นจริงๆ <strong>Vernacular</strong><br />

living ถ้ามองย้อนกลับก็คือโจทย์ที่เริ่มต้น มันอาจจะเป็นการประเมินของเรื่อง<br />

บริบทคนใช้งานจริงๆ โจทย์มันมาจากเจ้าของพื้นที่นี่แหละ ในการกำาหนดรูป<br />

แบบต่างๆ หรือว่าการที่เขาใช้ชีวิตยังไง สถาปนิกอาจจะแก้ในส่วนของการ<br />

เติมเต็มภาพ หรือว่าร้อยเรื่องให้มันเข้ามาด้วยกัน อาจจะเป็นเรื่องของการใช้<br />

เทคนิค ใช้องค์ความรู้บางอย่าง ใช้ประสบการณ์ในการออกแบบมาช่วย แต่ผม<br />

มองว่าโดยหลักแล้ว สถาปนิกมันก็ต้องอิงกับคนที่ใช้งานกับพื้นที่<br />

จริยาวดี<br />

สำาหรับเราคิดว่า คำานี้มีความหมายที่ค่อนข้างมีนัยยะในตัวมันเองอยู่แล้วอย่างที่<br />

พูดว่าสถาปัตยกรรมในปัจจุบันนั้น ได้ไปไกลกว่าความต้องการปกติทั่วไปแล้ว<br />

และเป็นช่วงที่เรากำาลังเรียนรู้ในสิ่งรอบๆ ตัว ที่เชื่อมโยงสิ่งที่ธรรมชาติให้ใน<br />

การออกแบบรวมถึงเรื่องการใช้ชีวิตด้วยซ้ำาไป ซึ่งมีบางคนที่กล่าวว่าโรงเรียน<br />

สถาปัตยกรรมนี่แหละ เป็นตัวการที่ทำาให้งานสถาปัตยกรรมไกลออกจาก<br />

คำาว่าพื้นถิ่น เพราะสิ่งที่เราเรียนมา บางครั้งมันมีมาตรฐานบางอย่าง ที่ใช้<br />

ความสะดวกสบายของมนุษย์เป็นหลัก จนทำาให้เราลืมมองถึงธรรมชาติของการ<br />

เกิดสิ่งต่างๆ และการเกิดถึงพื้นที่ใช้สอยที่มันสัมพันธ์กับความธรรมดา ซึ่งเรา<br />

ก็พยายามใช้เทคโนโลยีเอาชนะสิ่งต่างๆ ทำาให้สถาปัตยกรรมถูกบิดเบือนไปเป็น<br />

สิ่งต่างๆ ที่ไกลออกจากความเรียบง่าย จากจุดกำาเนิดของมัน<br />

124<br />

ASA18_Book_180419.indd 124 24/4/18 16:10


ศาวินี<br />

โดยในความคิดพื้นฐานเห็นด้วยนะคะ คือเราเข้าใจสิ่งที่ Rudofsky แกพยายาม<br />

จะพูดถึง หรือเปิดประเด็นสนทนา และมันเป็นสิ่งที่ดีที่แกใช้คำาที่ตรงไปตรงมา<br />

คือพอใช้ประโยคนี้มันทำาให้คนเข้าใจในทันทีหรือคิดว่าเข้าใจ ในฐานะคนที่เรียน<br />

ออกแบบมา ทั้งประวัติและทฤษฎีสถาปัตยกรรม เราก็จะเห็นว่าสิ่งที่เราเรียน<br />

มานั้นมันค่อนข้างจะแคบมาก เพราะมันก็มีความจำาเป็นบางอย่างที่เราต้อง<br />

เรียนแบบนี้ แล้วเมื่อเราอยู่ในวัฒนธรรมการเรียนแบบนั้น มันก็ทำาให้เราสนใจที่<br />

จะสร้างงานที่พูดถึงประเด็นเหล่านั้น แต่ไม่ใช่หมายความว่าเราไม่สนใจ หรือ<br />

ไม่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพราะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นค่อนข้าง<br />

มีอิทธิพลต่อเราตลอดเวลา หลายๆ งานที่เราทำาก็ได้รับมาจากสิ่งที่เราเห็นทั่วๆ<br />

ไปนี่แหละ<br />

รูปร่างหน้าตาหรือวัสดุของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น มันเกิดเป็นเรื่องของความต้อง<br />

การจริงๆ และที่เรารู้สึกว่ามันมีเสน่ห์มากก็คือ พวกเขาสามารถทำาอะไรจาก<br />

วัสดุหรือต้นทุนที่น้อยมาก แม้กระทั่งความรู้ เพราะไม่ได้ถูกฝึกมาให้เป็น<br />

สถาปนิกเลยและเสน่ห์อีกเรื่องนึงก็คือความไม่ตายตัวกับวิธีการและผล<br />

ที่ออกมา มันเหมือนกับการทดลองทำา เช่นเขาอาจจะลองขึ้นโครงสร้างจากวัสดุ<br />

นึงขึ้นมาแล้วมันรับน้ำาหนักไม่ไหว พอเห็นตรงไหนไม่แข็งแรงเขาก็ค่อยเสริมเอา<br />

ซึ่งในแง่นึง เราอยากเป็นอย่างเขา เพราะเราเองทำางานก็วาดงานเสร็จไปแล้ว<br />

โดยที่ยังไม่ได้ลองเลยเรากำาหนดทุกอย่างในงานไปแล้ว มันทำาให้งานตายตัว<br />

เกินไป ซึ่งจริงๆ พอเวลาที่พูดถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หลายคนก็จะมีภาพ<br />

อยู่ในหัว แต่ถ้าเราไม่ได้คิดในแง่ภาพ และมองในวิธีการแทนเราก็จะเห็นอะไรอีก<br />

เยอะแยะเลยที่รวมเข้ามาอยู่ในคำาว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และหลายครั้งมันเป็น<br />

งานออกแบบที่มีประสิทธิภาพและใช้ความคิดสร้างสรรค์สูงมาก<br />

เสก<br />

ผมว่า โดยหน้าที่ของสถาปนิก คือคนที่มีความสามารถในการทำางานก่อสร้าง<br />

หรือว่าทำาแบบในการก่อสร้างได้ แต่ว่าพอสุดท้ายแล้ว เรื่องของไอเดียในการอยู่<br />

อาศัย มันไม่ได้จำากัดอยู่เฉพาะสถาปนิก จริงๆ ผมว่าสถาปนิกเอง ควรจะมอง<br />

ตัวเองให้ไม่เป็นสถาปนิกมาก และพยายามมีความเห็นต่อสภาพแวดล้อมในการ<br />

ออกแบบ เพราะในความเห็นของผมคือ ประโยคนี้มันควรเกิดขึ้นเป็นคำาถามใน<br />

หัวของสถาปนิกในการออกแบบเสมอ ว่าถ้าเราออกแบบสถาปัตยกรรมโดยที่เรา<br />

ไม่ได้เป็นสถาปนิก หน้าตาของมันจะเป็นยังไง แต่พอยุคเรามีสถาปนิก แล้ว<br />

หน้าที่ของสถาปนิกมันกว้างมาก ซึ่งถามว่าจำ าเป็นไหม ผมว่าในมุมของกฎหมาย<br />

มันก็จำาเป็น บนขอบเขตของมัน แต่ถ้าในมุมของการออกแบบ ผมว่าไม่จำาเป็น<br />

ต้องมีก็ได้ หรือว่าจำาเป็นต้องมี ก็แล้วแต่กรณีไป<br />

125 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 125 24/4/18 16:10


่<br />

สุริยะ<br />

ในความคิดของผม ถึงแม้ว่าเราจะเป็นสถาปนิกก็ตาม เวลาเราลงมือทำาการ<br />

ออกแบบนั้น เราก็ต้องทำาด้วยที่ว่าเราเป็นคนใช้ชีวิตที่นั่น ให้เราลืมความเป็น<br />

สถาปนิก เราเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตบนพื้นที่ตรงนั้นจริงๆ เพราะเมื่อเราลืม<br />

สิ่งนี้ลงได้ ก็จะทำาให้งานที่เราออกแบบนั้นดูมีชีวิตและสอดคล้องกับการใช้งาน<br />

จริงๆ ไม่แข็งและทื่อเกินไป ไม่ใช่เราออกแบบแล้วคิดว่าตัวเองไม่ได้อยู่ตรงนั้น<br />

สุภาพร<br />

จริงๆ มันเป็นแนวความคิดที่ Humble สำาหรับสถาปนิกมาก และก็ Refreshing ใน<br />

เวลาเดียวกัน มันเป็นอะไรที่เราต้องตั้งคำ าถามในอาชีพของเราเองอยู่แล้วว่าบทบาท<br />

ของพวกเราอยู่ตรงไหน ถ้าชาวบ้านในวัฒนธรรมต่างๆ ของทุกมุมโลก เขาสามารถ<br />

จะสร้างสถาปัตยกรรม หรือสามารถจะสร้าง shelter ที ่อยู ่อาศัยของตัวเองได้ โดยที<br />

ไม่ต้องใช้สถาปนิก ซึ่งสถาปัตยกรรมเหล่านี้ก็เกิดขึ้นก่อนจะมีวิชาชีพสถาปนิกด้วยซ้ำ า<br />

การที่จะตอบคำาถามนี้ เราคิดว่ามันมีแนวความคิดของนักทฤษฎีอีกคนหนึ่งที่<br />

ค่อนข้างจะ Friendly กว่า ซึ่งเขาชื่อว่า Paul Oliver เขานิยาม <strong>Vernacular</strong><br />

architecture ว่า ‘<strong>Architecture</strong> by the people of the people’ เราคิดว่า<br />

สถาปนิกก็เป็นส่วนหนึ่งของ The people เป็นมุมมองที่ Humble กว่า ทำาให้<br />

เราก็จะดีไซน์จากมุมมองที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกว่า<br />

สาวิตรี<br />

เรามองว่าเป็นเรื่องของ Approach และเรื่องของความต้องการของเจ้าของ<br />

อาคารมากกว่า โดยส่วนตัวเชื ่อว่าการออกแบบทุกอย่าง มันมีที่มาที่ไป มีเหตุผล<br />

และความหมายในตัวเอง ส่วนที่เป็นของตกแต่งมันก็จะเป็นเรื่องของความชอบ<br />

ซึ่งความชอบของคนเรามันเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่ถ้ามันมาจากความต้อง<br />

การจริงๆ มาจากเหตุผลของสภาพที่ตั้ง ดังนั้นไม่ว่าจะ <strong>Architecture</strong> without<br />

architects หรือ <strong>Architecture</strong> with architects แล้วสุดท้ายสถาปัตยกรรมมัน<br />

บรรลุเป้าหมายของการใช้งาน หรือสิ่งตกแต่งที่เกิดขึ้นจากความต้องการจริงๆ<br />

โดยมีเหตุผล เราว่าทั้งสองอย่างก็มีคุณค่าไม่ต่างกัน<br />

126<br />

ASA18_Book_180419.indd 126 24/4/18 16:10


3.<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นปัจจุบันคืออะไร<br />

ได้รับผลกระทบจากระบบอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี<br />

สิทธนา<br />

วิภาวี<br />

สิทธนา: ตอนนี้ค่อนข้างเปลี่ยนไปเยอะเลย แต่ก่อนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ใน<br />

แต่ละพื้นที่ เราจะเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งพอมาในปัจจุบัน<br />

ความชัดเจนของความหลากหลายตรงนี ้ กลับค่อยๆ จางหายพอสมควร<br />

วิภาวี: เพราะแต่ก่อน เวลาเราจะสร้างอะไรสักอย่าง เราก็จะเลือกหยิบวัสดุที่อยู่<br />

ใกล้ๆตัว ตามสภาพแวดล้อมที ่เราอยู่แต่ปัจจุบันนี้พวกข้าวของวัสดุต่างๆ เริ่ม<br />

คล้ายกันไปหมดในทุกๆ พื้นที่ เพราะด้วยระบบอุตสาหกรรม<br />

วรพงศ์<br />

วิถีชีวิตในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปจากอดีตค่อนข้างมาก<br />

นั่นกลายเป็นว่าวัสดุพื้นถิ่นจากธรรมชาติหายากขึ้น<br />

หรือจริงๆ วัสดุอาจจะหาไม่ยาก แต่ว่าช่างที่สามารถ<br />

ทำางานเทคนิคพื้นถิ่นได้หายากแทน ทำาให้สิ่งเหล่านี้<br />

มีราคาสูง<br />

สุริยะ<br />

มันต้องตีความคำาว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก่อน ถ้าย้อนดูในอดีตเราอาจจะมีของที่มา<br />

จากธรรมชาติ แน่นอนว่าปัจจุบันนี้ของเหล่านี้หาได้ยากทำ าให้วัสดุที่มาจากธรรมชาติมี<br />

ราคาที่แพงกว่าวัสดุที่มาจากอุตสาหกรรม แต่สำ าหรับผมแล้ว คำาว่าสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นคือ ความเหมาะสม ที่สำาคัญกว่านั้นคือ สภาพภูมิอากาศภูมิประเทศ ส่วนใน<br />

เรื่องของวัสดุแล้ว สิ่งไหนสามารถ หาได้ง่ายกว่าวัสดุจากโรงงานก็ได้ วัสดุจาก<br />

อุตสาหกรรมก็ได้ แต่ก็ต้องยัง สอดคล้องกับวิถีชีวิต สภาพภูมิอากาศ อันนั้น<br />

สำาคัญมาก<br />

127 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 127 24/4/18 16:10


จริยาวดี<br />

ตัวอย่างง่ายๆ เราเพิ่งได้ทำา Mock-up ชิ้นส่วนตัวอย่างในงานพาวิเลียนที่เรา<br />

ได้พัฒนากับช่าง เราก็ได้คุยกันว่าในสมัยก่อน ในการทำาน้ำายาปูน หรือปูนสอ<br />

มันมีความละเอียดอ่อน มีขั้นตอนการนำาทรายมาร่อน ซึ่งในปัจจุบันทรายนั้น<br />

สามารถซื้อได้สำาเร็จจากร้านวัสดุก่อสร้าง และเป็นว่าเรื่องนี้กลายเป็นตัว<br />

กำาหนดผลลัพธ์ของงานสถาปัตยกรรมโดยปริยาย โดยที ่ทุกอย่างก็ยังดูเป็น<br />

งานเฉพาะชิ ้นที่มาจากระบบอุตสาหกรรมแล้ว ทำาให้ตอนนี้เราก็อยากกลับมา<br />

ใช้ทรายละเอียดแบบกระบวนการดั้งเดิม<br />

Scale and design<br />

ศาวินี<br />

อันนี้ไม่รู้จริงๆ แต่รู้ว่าปัจจุบันมีวัสดุหลากหลายมากขึ้น ไม่ได้มีแค่ไม้กับไม้ไผ่ อิฐ<br />

แต่การที่มันเกิดการผสมระหว่างวัสดุจากธรรมชาติและไม่ธรรมชาติ<br />

มันมีความน่าสนใจ และที ่ตอบไม่ได้เพราะรู ้สึกว่าเราไม่รู ้จริงๆว่าตอนนี ้ผู ้คนเขา<br />

ทำาอะไรกันอยู่บ้าง มันมีอะไรเกิดขึ้นเยอะแยะตลอดเวลาไปหมดเลย ซึ่งส่วนใหญ่<br />

เรามองว่าดูไม่ค่อยดี (หัวเราะ) แต่ปกติมันก็แบบนี้แหละใช่มั้ยปัจจุบันนี้มีสิ่ง<br />

ปลูกสร้างเยอะมาก บ้างก็ถูกออกแบบโดยสถาปนิก บ้างก็ผู้รับเหมา บ้างก็<br />

ออกแบบกันเอง หรือไม่ได้ออกแบบก็แล้วแต่ อย่างแค่เราขับรถจากในเมืองออกไป<br />

นอกเมือง ระหว่างทางก็จะเจออะไรสะเปะสะปะเต็มไปหมด แต่นานๆทีมันก็จะมี<br />

บ้างที่พิเศษหลุดออกมาบ้างก็ได้ ซึ่งเราหวังว่าสิ่งพิเศษนี้แหละจะกลายเป็นส่วน<br />

หนึ่งของบทสนทนาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่ควรค่าต่อการนำามาถกเถียงกัน<br />

และเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ก็ได้<br />

Luke<br />

I think as city has developed and grown, we have seen more larger and<br />

larger buildings and projects. We tend to forget that architecture is really<br />

designing very large spaces and structures for many reasons and<br />

requirements. But I think, sometimes, designing these big building<br />

tends to neglect or forget certain kinds of relationship with people.<br />

However, ultimately, architecture is about serving the human needs, it is<br />

really about human scale. So, I think vernacular architecture can lead<br />

us to really relate back to how we can design for human need as much<br />

as possible through the use of materials, techniques and processes.<br />

128<br />

ASA18_Book_180419.indd 128 24/4/18 16:10


ในเงื่อนไขของสังคมวันนี้<br />

สันธาน<br />

มันก็เป็นพื้นถิ่นหมดแหละสถาปัตยกรรมปัจจุบันที่มันเกิดขึ้นบ้านผมเป็นบ้านจัดสรร<br />

ก็พื้นถิ่นเหมือนกัน ทำาไมผมถึงมองว่าเป็นพื้นถิ่น มันเป็นพื้นถิ่นในยุคสมัยไหน<br />

ซึ่งเราก็ไปจำากัดความตรงนั้น ตะกี้พูดถึงเรื่องวิชาชีพ มันถูกจำากัดโดยผู้ประกอบ<br />

วิชาชีพ เพราะว่าในอดีตมันถูกเรื่องของกรอบวิชาชีพมาครอบคลุม ปัจจุบัน เมื่อ<br />

มีคนอยู่มากขึ้น สิ่งที่ให้สะท้อนเห็นถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชัดเจนในปัจจุบัน<br />

กลับไม่ใช่ภูมิปัญญา คติความเชื่อ หรือเงื่อนไขทางสังคมเพียงอย่างเดียว สิ่งที่<br />

ชัดเจนที่สุดที่เป็นกรอบจำากัด คือ กฏหมาย ความปลอดภัย<br />

เรากำาลังพูดว่าการที่เราจะอยู่ร่วมกันกับคนอื่น มันสร้างสถาปัตยกรรมขึ้นมา<br />

ที่ไม่ทำาให้เมืองมันแออัด ไม่ทำาให้เสี่ยงอันตรายต่อโรค ไม่ทำาให้เกิดปัญหา<br />

ในสังคมเกิดภาระต่อระบบสาธารณูปโภคโดยรวม สิ่งเหล่านี้ก็เป็นข้อจำากัดหนึ่ง<br />

ที่ทำาให้เกิดรูปแบบของสถาปัตยกรรมในยุคนั้นๆ ตรงนี้ผมไม่รู้ว่า Neo หรือเปล่า<br />

แต่มันเป็นยุคสมัยที่ทำาให้เกิดสิ่งเหล่านี้ สมัยก่อน ร้อยหรือห้าสิบปีที่แล้ว<br />

ก็อาจมีข้อจำากัด แต่ผมไม่รู้ แต่ในปัจจุบัน เมืองมันมีข้อจำากัดเต็มไปหมด<br />

บ้านในสมัยก่อนจะให้ได้ชัด บ้านที่สุรินทร์ กับบ้านที่กรุงเทพ ก็จะมีเงื่อนไข<br />

ต่างกันไม่ใช่ว่าคุณอยากจะสร้างรูปแบบเดียวกัน ในที่ต่างกันจะได้ ตอนนี้ไม่<br />

เหมือนในอดีตแล้ว สิ่งเหล่านี้ผมมองว่า มันก็เป็นพื้นถิ่นนะ นีโอไม่นีโอผมไม่<br />

ทราบ แต่ผมว่าเราอย่าไปติดตรงนั้น เราอยู่ในยุคไหน เราก็ตัดสินหรือเสพ<br />

สถาปัตยกรรมในเงื่อนไขของยุคนั้น ดูสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในยุคปัจจุบัน<br />

ก็ต้องใช้เงื ่อนไขในยุคปัจจุบัน อย่าเอาเงื ่อนไขในอดีตมาตัดสินสถาปัตยกรรมยุค<br />

ปัจจุบัน อย่างคนไทยเมื ่อก่อนอยู ่บ้านไม้ ตอนนี้อยู่คอนกรีต วัสดุสภาพแวดล้อม<br />

มันต่าง เราอยู่บ้านคนไทย ไม่ใช่เรือนไทย ซึ่ง สถาปัตยกรรม อาจจะกลายเป็น<br />

เอกลักษณ์ในอีกสามสิบห้าสิบปีข้างหน้าก็ได้ /คำาว่าประเพณี คำาว่าพื้นถิ่น ของ<br />

แต่ละช่วงเวลาอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ ดังนั้นเราไม่ควรจะยึดติด<br />

วิธี<br />

ผมคิดว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นยังมีให้เห็นอยู่ทุกที่เลย สังเกตได้จากงานที่ทีมเรา<br />

ได้ทำาเราจะได้ไปที่ต่างจังหวัด เราจะเห็นคน เราจะเห็นบ้านที่คนสร้างเองโดยที่<br />

ไม่ต้องจ้างสถาปนิก ซึ่งในระดับหนึ่งมันถูกนำาเสนอออกมาด้วยวัสดุ ด้วย<br />

Resource ที่เขามี ซึ่งแน่นอนว่า Resource ที่คนในชุมชนมีย่อมไม่เหมือน<br />

กับสิ่งที่คนเมืองมี หลายๆอย่างเราขับเคลื่อนเราสร้างด้วยสื่อกลางที่เป็นเงิน<br />

129 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 129 24/4/18 16:10


แลกกับพื้นที่ แลกกับกำาลังคน แต่ว่าในพื้นที่ชุมชนเขามี Resource อีกแบบหนึ่ง<br />

Resource ที่เขามีเป็นความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นต้นไม้ที่เขามีอยู่ เป็นป่าไผ่<br />

ที่อยู่ข้างๆ หมู่บ้าน มันก็เลยเป็นสาเหตุให้เขาเลือกที่จะใช้ Resource พวกนี้<br />

สิ่งที่เขามีอยู่แล้วก็ดึงเอามาใช้ เขาไม่ต้องไปซื ้อปูนมาเพื ่อสร้างกำาแพง เขาสามารถ<br />

ตัดไผ่มาสานกำาแพง สานฝาผนัง ทำานู่นทำานี่ได้ด้วยสิ่งที่เขามีอยู่ใกล้ตัว<br />

อัตลักษณ์?<br />

สร้อยพลอย<br />

ดนัย<br />

สร้อยพลอย: <strong>Vernacular</strong> ของทั้งเมืองนอกและเมืองไทย ในเชิงความคิด<br />

แบบเบสิกมันเหมือนกัน การที่จะใช้วัสดุและคนโลคอลที่จะมาสร้างในความรู้<br />

ของเขา ทำาให้ <strong>Vernacular</strong> หน้าตาของอาคารก็จะมีความใกล้เคียงกัน ประตู<br />

หน้าต่าง อะไรก็จะเหมือนๆ กันหมด แต่ก็แล้วแต่วัฒนธรรมด้วย เพราะบาง<br />

วัฒนธรรมก็ต้องการแพทเทิร์นบางอย่าง เพื่อจะสื่อถึงวัฒนธรรมของแต่ละคน<br />

แต่ละกลุ่มนั้นไปเมืองนอกเขาก็มี เมืองไทยเราก็มี ซึ่งไม่สามารถเทียบได้<br />

ว่าอันไหนดีกว่ากันที่มันแตกต่างกันเพราะว่าวัฒนธรรมเขาแตกต่างกันอยู่แล้ว<br />

ถ้าพูดถึงนิยามของคำาว่า Modern vernacular ในสมัยนี้คืออะไร มันก็คืออิฐ ปูน<br />

เหล็ก ที่มันง่ายสะดวก แต่ในเชิงของสไตล์มันก็จะสะเปะสะปะไป แล้วแต่ว่า<br />

คนมีเงินสร้างเท่าไหร่หรืออยากจะสร้างอะไร มันเป็นแบบกึ่งๆ เป็น Decorative ไป<br />

ดนัย: อย่างพลอยบอกว่า ถ้าเราไปเรียนเมืองนอกมาและนำากลับมาแค่รูปแบบ<br />

มันก็ไม่มีทางที ่จะอยู ่ในที ่ไทยอย่างเหมาะสม จริงๆ เราก็ได้ในแง่ระบบการจัดสรร<br />

พื ้นที ่ของตะวันตกมา แต่ก็ต้องกลับมาปรับใช้กับเมืองไทย ส่วนรูปแบบในเชิง<br />

อาคารพื้นถิ่นจริงๆ ผมมองว่ารูปแบบอาคารพื้นถิ่นไทย มันเป็นมรดกมากกว่า<br />

เป็นสิ่งที่เขาทิ้งไว้แต่เราต้องเข้าไปศึกษาเพื่อคลี่คลายออกมา และจะนำามา<br />

ใช้อย่างไรกับรูปสถาปัตยกรรม ณ ปัจจุบัน<br />

วิภาวี<br />

เวลาออกแบบพวกโรงแรมอะไรพวกนี้ มันมักจะมีโจทย์หนึ่งที่ลูกค้าชอบให้กันก็คือ<br />

‘ทำาอย่างไรก็ได้ ให้งานดูไทย’ คือถ้าจะให้เราทำ าแบบไทยเดิมๆ ไปเลย ก็จะไม่ใช่<br />

บุคลิกของพวกเรา นั่นทำาให้เราต้องตีความเป็นไทยและพยายามดัดแปลงมันออก<br />

มาใหม่ ให้ดูแตกต่างจากอะไรที่ดู Modernism แต่มีความเอกลักษณ์ออกมา<br />

ซึ่งความพื้นถิ่นนี่แหละตอบโจทย์<br />

130<br />

ASA18_Book_180419.indd 130 24/4/18 16:10


ศศิชลวรี<br />

โลกมันเปลี่ยนไป ทุกอย่างมันก็เปลี่ยนไป การที่เราจะใช้วัสดุพื้นถิ่นเพื่อที่จะมา<br />

สร้างพื้นที่ความเป็นพื้นถิ่นนั้นๆ เพื่อให้คนอยู่ได้อย่างสบาย มันก็อาจจะเป็นไป<br />

ได้ยาก เรายกตัวอย่างง่ายๆ ถึงวัสดุที่เอามาใช้ ซึ่ง<strong>Vernacular</strong> มันไม่ใช่แค่วัสดุ<br />

มันอาจจะด้วยวัฒนธรรม ด้วยการที ่ใช้ดินน้ ำาอากาศต่างๆ เหล่านี้ บางทีเราเอา<br />

วัสดุมาใช้อย่างเดียวไม่ได้ เนื ่องด้วยของที่หายากมากขึ้น เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้<br />

หน้าที่ของเราเอง หรือแม้กระทั่งจริงๆ งานของเรามันก็สะท้อนถึง อย่างที่เรา<br />

เอาวัสดุธรรมชาติพื้นถิ่นนั้นๆ มาใช้ แล้วมันก็เข้าบริบทต่างๆ แต่ว่าเอามาใช้<br />

อย่างเดียวก็สิ้นเปลือง อย่างการติดตั้งไม้ ไม้ไผ่ในเรือนเครื่องผูก เรือนเครื่องสับ<br />

ในอดีต ปัจจุบันมันก็ด้วยความไม่คงทน ด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ ทำาให้หน้าที่ของเรา<br />

ในปัจจุบันนี้คือการที่เอาสิ่งที่มีอยู่ธรรมชาติมาพัฒนายังไงให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆ ให้<br />

เกิดความรู้สึกของการเป็น <strong>Vernacular</strong> ที่สะท้อนอยู่ในประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน<br />

FASHION?<br />

บุญเลิศ<br />

ปัจจุบันพอมีสถาปนิกแล้ว ก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย เหมือนเราดูหนัง ถ้าผู้กำากับทำาถึง<br />

เราก็ว่ารู้สึกใช่ แต่พอทำาไม่ถึงก็รู้สึกแปลกๆ ซึ่งก็น่าเป็นไปในทางเดียวกัน<br />

ถ้ามองในงานสถาปัตยกรรมสมัยก่อน สิ่งที่พวกชาวไทยเผ่าต่างๆ สร้างบ้าน<br />

อะไรมาก็ดูมีเสน่ห์ แต่พอให้สถาปนิกไปทำาแบบนั้น ก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่ วัสดุก็<br />

ไม่ใช่ ขนาดสัดส่วนก็ไม่ใช่ ฟังก์ชันที่เดิมเขาใช้ เราก็เอาไปใช้อย่างอื่น เป็นอะไร<br />

ที่การดีไซน์ต้องระวัง เพราะบางทีเราใช้ความอยากของตัวเอง บนความไม่รู้<br />

ของตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัว ทำาให้บางงานออกมาแล้วดูน่าเสียดาย แต่ถ้าทำา<br />

ออกมาถึงก็สุดยอดไปเลย<br />

วรพงศ์<br />

อดา<br />

วรพงศ์: พอดีเราก็ได้คลุกคลีกับงานคราฟท์ด้วย เราพบว่างานหัตถกรรมไม่ได้<br />

เหมาะสมกับการใช้งานในชีวิตจริงนัก ของพวกนี้มักเป็นของที่ถูกโชว์เสียมากกว่า<br />

ทำาให้ผมคิดว่า <strong>Vernacular</strong> architecture คงคล้ายๆ กัน ที่อาจนำามาเพียงแค่<br />

รูปแบบมากกว่าการใช้งานจริงๆ ในชีวิตประจำาวัน<br />

131 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 131 24/4/18 16:10


อดา: คนที่หยิบ <strong>Vernacular</strong> มาใช้งานจริงๆ ก็มักใช้เป็นกิมมิคหรืองานตกแต่ง<br />

โดยที่เราไม่ได้นำาแก่นของมันมาใช้ จะออกไปในทางรูปลักษณ์หรืองานกราฟฟิก<br />

ของพื ้นถิ ่นแทน ไม่ใช่ว่าไม่ดีแต่มันไม่ได้ถูกต่อยอดต่อไป ซึ ่งก็มีหลายๆ หน่วยงาน<br />

ที่พยายามเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์พื ้นบ้าน ให้ชาวบ้านนำาไปต่อยอดได้ และก็มีที่<br />

ชาวบ้านไม่สามารถนำาไปทำาต่อได้ นั่นหมายความว่า <strong>Vernacular</strong> มีทั้งที่ไปรอด<br />

กับไปไม่รอด<br />

Jakub<br />

Nowadays, I think it is, in a way, a fashion. It is ironic because I<br />

think vernacular architecture should be independent from fashion.<br />

However, it may be a reaction to global development- or globalisation.<br />

People now become aware of (self) identity, and feel that they have<br />

need to associate with something closely. Whilst this phenomenon is<br />

translated to an architecture field, then vernacular architecture seems to<br />

be a general trend at present. Speeds of city life also contribute to the<br />

trend in which people desire a more peaceful environment.<br />

สาวิตรี<br />

โดยส่วนตัวก็รู้สึกว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นบางที ถ้ามองผิวเผินก็อาจจะดูเป็นเทรนด์<br />

แต่ว่าถ้าเรามองมันเป็นแค่นั้น ไม่นานมันก็จะหายไปเหมือนเทรนด์อื่นๆ ส่วนตัว<br />

ก็ยังเชื่อเรื่องการออกแบบที่ตอบสนองความต้องการจริงๆ เพราะปัจจุบันคนต้องการ<br />

โหยหาอะไรบางอย่าง ที่เป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ชัดเจน แต่จริงๆ แล้ว<br />

เอกลักษณ์ที่ชัดเจนเกิดขึ้นจากการสะสม ไม่ใช่อะไรที่เกิดภายในวันเดียว<br />

กระแสอย่างคาเฟ่ หรือ Co-working space ถ้าเกิดขึ้นจากความต้องการจริงๆ<br />

มันก็จะอยู่ต่อไปได้<br />

นัฐพงษ์<br />

ผมมองว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ไม่ใช่เรื่องรูปลักษณ์จากภายนอก แต่เป็น<br />

รากเหง้าที่ติดตัวมา หมายความว่า ทุกสิ่งที่ออกมานั้น มันก็จะมีกระบวนการ<br />

ติดออกมาด้วยเสมอ ไม่ว่าเรื่องการคิด หรือการหยิบวัสดุออกมาใช้ หรือเรื่องเทคนิค<br />

ในการทำา ส่วนในยุคนี้ ผมมองว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้ย้อนกลับไปแสดง<br />

ให้เราได้เห็นว่า เขามีคุณค่าอยู่แล้วทั้งในด้านกระบวนการและลักษณะเดิมที่<br />

เป็นอยู ่ในโลกของโลกาภิวัฒน์ และยุคอุตสาหกรรม<br />

132<br />

ASA18_Book_180419.indd 132 24/4/18 16:10


หฤษฎี<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในปัจจุบัน คือ สถาปัตยกรรมที่ผ่านวิธีการ ออกแบบแล้ว<br />

ไม่ได้ไปทำาร้ายงาน <strong>Vernacular</strong> ที่มีอยู่จริงๆ บนพื้นที่นั้น ตัวอย่างเช่น ถ้ามีวิน<br />

มอเตอร์ไซค์อยู่ตรงไซต์ แล้วจะทำาอย่างไรให้สถาปัตยกรรมที่เราสร้างออกมาก<br />

ลมกลืนและเป็นส่วนหนึ่งกับตรงนั้นได้<br />

สุภาพร<br />

จริงๆ เราไม่คิดว่ามันเป็นกระแสเลย คือ <strong>Vernacular</strong><br />

เป็นอะไรที่จะต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปตามโลกตลอด<br />

เวลา ดังนั้นมันควรจะอยู่ในกระแสตลอดเวลา มันไม่<br />

น่าจะมีคำาว่าตอนนี้หรือตอนนั้นเทรนด์เป็น <strong>Vernacular</strong><br />

ภาสุร์<br />

ในบางพื้นที่คนเมืองอาจจะไม่รับรู ้ในเชิงรายละเอียดของความสัมพันธ์ของ<br />

สังคมในบางจุดเหมือนในชนบทบางแห่ง ผมเลยไม่ได้มองมันเป็นกระแสที่กำาลัง<br />

เข้ามาในช่วงนี้ เพียงแต่ว่ามันอาจจะเป็นการรับรู้ในวงกว้างขึ้นมากกว่ากว่า มัน<br />

มีสิ่งนี้ในชุมชน แล้วเราจะเชื่อมโยงกันยังไงมากกว่า เราจะเข้าใจวิถีชีวิตของกัน<br />

และกันยังไงมากกว่า จริงๆ ในชนบทเองก็ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกบาง<br />

อย่าง ในเรื่องเทคโนโลยีทางวัสดุก็พัฒนาด้วยเหมือนกัน<br />

เป็นสถาปัตยกรรมอนุรักษ์ ?<br />

สันธาน<br />

ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยไหน ความงามของรูปแบบพื้นถิ่นก็จะคงเอกลักษณ์อยู่เหมือน<br />

เดิมเราไม่ควรจะไปแช่แข็งพัฒนาการของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไว้ ถ้าเราเข้า<br />

ใจและยอมรับการเปลี ่ยนแปลงของทุกสิ ่งทุกอย่างไปตามกาลเวลาได้ เราก็จะเข้าใจ<br />

ว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้นยังไม่ตาย เพราะเมื่อไรที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นหยุด<br />

เปลี่ยนแปลงก็จะแสดงว่ามันตายแล้ว<br />

133 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 133 24/4/18 16:10


เสก<br />

ในด้านการศึกษา เท่าที่ผมเรียนมา คำาว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้น ถูกแยกออก<br />

มาจากการออกแบบตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว หมายถึงว่าวิธีการสอนของเราได้พยายาม<br />

ให้ข้อมูลที่โดดออกมา แม้แต่สถาปนิกเองก็ยังแยกงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ออกมาจากการออกแบบในปัจจุบัน ซึ่งผมก็ค่อนข้างงงเหมือนกันว่า บางทีเรา<br />

ก็มีความรู้พื้นถิ่นที่มีคุณค่า แต่พอไปวิชาออกแบบเราก็ไม่สามารถใช้มันได้เพราะมัน<br />

ไม่มีจุดเชื่อมเลยมันอาจจะเป็นด้วยค่านิยม หรืออะไรก็ตามในการตรวจแบบ<br />

ในการสร้าง คะแนน ในมุมของการศึกษามันเริ่มมาอย่างนี้<br />

ทีนี้พอมองมุมกว้างของในสังคม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็ถูกมองเป็นสถาปัตยกรรม<br />

อนุรักษ์ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งผมคิดว่าอันนี้ไม่ถูกต้องเหมือนกัน เพราะโลกมัน<br />

เปลี่ยนไปเรื่อยๆ สภาพแวดล้อมมันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ทำาไมเรายังมองว่า<br />

พื้นถิ่นมันควรจะเป็นแบบเดิมอยู่ ผมว่าวิธีการคิดแบบนี้ทำาให้สถาปัตยกรรม<br />

พื ้นถิ ่นมันตาย แต่ถ้าเรามองถึงสภาพแวดล้อม ทรัพยากร รอบๆ ตัวว่า ใน<br />

ปัจจุบันมันใช้อะไรได้บ้าง สภาพสังคมมันเป็นยังไง แล้วออกแบบ ผมว่านี่ก็<br />

เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้<br />

ดลพร<br />

ดลพร: ถ้าเรามองว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นสไตล์ ก็อาจจะไม่ยั่งยืนมากถ้าเรา<br />

ไม่รู้ว่าการที่นำาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมาใช้คืออะไร ในขณะที่ทุกๆ อย่างที่แวดล้อม<br />

เปลี่ยนไปสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็จะไม่ได้เปลี่ยนตาม แล้วก็อาจจะถูกปัดตกไป<br />

กลายเป็นอย่างอื ่น ไม่อย่างนั้นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็จะไม่เป็นเรื่องของพื้นถิ่น<br />

จริงๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามกาลเวลา<br />

134<br />

ASA18_Book_180419.indd 134 24/4/18 16:10


4.<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในอนาคตจะเป็นอย่างไร<br />

Advanced technology and contemporary materials<br />

วรพงศ์<br />

ผมว่าในอนาคต เรื่องการเข้าถึงวัสดุที่จะง่ายขึ้น แม้ว่าจะเป็นวัสดุที่หายากและ<br />

เกิดขึ้นในเฉพาะชุมชนนั้นๆ ก็จะสามารถเข้าถึงง่ายมากขึ้น ซึ่งน่าจะสนุกดีว่า<br />

ถ้าร้านวัสดุก่อสร้างในจังหวัดแต่ละจังหวัด มีวัสดุเด่นๆ ของจังหวัดนำามาขาย<br />

เช่นถ้าเราไปอีสาน เราก็อาจจะเจอไม้อัดแบบอีสานมาขายเลย แทนที่จะต้องวิ่งเข้าไป<br />

หาชาวบ้านและต้องยืมตัวเขามาสานงานให้เราแทน ในอนาคตคำาว่า ‘หัตถกรรม’<br />

ก็อาจจะกลายเป็น ‘หัตถอุตสาหกรรม’ ก็ได้ เป็นการผสมผสานงานพื้นถิ่นกับ<br />

ระบบอุตสาหกรรม เพื ่อให้เข้าถึงคนได้มากขึ ้นนั ่นเอง ซึ่งเราอยากให้สถาปนิกเข้า<br />

มาเริ่มพัฒนางานจากวัสดุกันก่อนออกแบบจริงๆ เหมือนกัน<br />

นัฐพงษ์<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในยุคก่อน เรามักจะมองว่าต้องพื้นถิ่นมากๆ ต้องมีความเป็น<br />

คราฟท์ ต้องมาจากวัสดุธรรมชาติ แต่ถ้าในอนาคตเมื่อไหร่ที่เทคโนโลยีสามารถ<br />

เข้ามารวมกับสิ่งเหล่านี้ได้ ก็จะกลายเป็น <strong>Vernacular</strong> แบบใหม่ขึ้นมา เป็นงาน<br />

ที่ผสมภูมิปัญญาเข้ากับเทคนิคสมัยใหม่ หรืองานคราฟท์ที่รวมกับระบบอุตสาห-<br />

กรรมไว้ด้วยกัน ก็น่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจต่อไปในอนาคต<br />

ศศิชลวรี<br />

ปัจจุบันมันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น บ้านดินแต่ก่อนก็<br />

เป็นบ้านดิน แต่ปัจจุบันเริ่มมีโครง และมีวิวัฒนาการต่างๆ ที่เปลี่ยไป ที่เห็นได้ชัด<br />

คือ โซเชียลมีเดียมาแรง ก็อาจจะมีการรวมระหว่างมีเดียกับสถาปัตยกรรม<br />

ต่างๆ ในอนาคตที่เรายังคาดไม่ถึงก็เป็นได้<br />

จริงๆ ปัจจุบันถ้าเราจะเอาวัสดุเดิมๆ หรือสิ่งเดิมๆ มาใช้มันเวิร์คยากด้วยปัจจัย<br />

ต่างๆ อย่างเช่น ในสมัยก่อนถ้าเราจะทำ าห้องประชุม เราก็อาจจะนำาโครงไม้ไผ่มาทำา<br />

135 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 135 24/4/18 16:10


ได้ง่าย แต่ห้องประชุมสมัยนั้นกับสมัยนี้มันไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นนวัตกรรม<br />

ในยุคปัจจุบันมันสามารถพัฒนาวัสดุเดิมที่สามารถนำามาใช้กับห้องประชุม<br />

ที่ใหญ่ขึ้นได้ เช่น แต่ก่อนหรือปัจจุบันเราอาจจะมองว่ามันขาดแต่จริงๆแล้วมัน<br />

อาจจะไม่ได้ขาดก็ได้ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีมันมาเติมเต็มสิ่งต่างๆเหล่านั้นได้<br />

ดังนั้น ในอนาคตอาจจะมีสิ่งที่มาเติมเต็มในสิ่งที่ปัจจุบันเรามองว่ามันขาดได้<br />

เหมือนกันสิ่งที่เราอยากจะทำาคือ อยากจะค้นหาสิ่งที่ขาด แต่สิ่งต่างๆที่พวกเรา<br />

คิดว่าปัจจุบันยังขาดอยู่ บางทีเราอาจมาจากอะไรที่สถาปนิกตัวเล็กๆ อย่างเรา<br />

ค้นพบก็เป็นได้<br />

พลวิทย์<br />

ยกตัวอย่างง่ายๆ จากซีรี่ย์ใน Netflix เรื่อง Black Mirror ซึ่งเป็นตัวอย่าง<br />

ที่มีความชัดเจนมากๆ คือในเรื่องนั้น เป็นยุคที่มีนวัตกรรม Digital อยู่บ้านหลัง<br />

เก่าๆ ซึ่งบริบทในบ้านก็ดูเป็นอะไรที่ไม่ได้ล้ำาอนาคตมาก สิ่งที่ตัวละครเขาใช้ใน<br />

เรื่อง เช่น จอทีวีในการทำางานหรือการที่เขาเข้าไปอาบน้ำา ทุกอย่างดูเป็นบริบท<br />

ปัจจุบัน แต่มีการใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยทำางาน ซึ่งนี่ทำาให้การอยู่อาศัยแบบเดิม<br />

มีความสะดวกสบายมากขึ้น ผมคิดว่านี่เป็นภาพที่ดูมีความเป็นจริง ที่ความพื้น<br />

ถิ่นสามารถอยู่กับเทคโนโลยีดิจิตอลได้ในอนาคต<br />

ศาวินี<br />

เรื่องโลกาภิวัฒน์ กับเรื่องโซเชียลมีเดียนั้นมีผลมาก ซึ่งมีผลที่ไม่ค่อยดีก็เยอะ<br />

แต่หวังว่าในอนาคตมันจะค่อยๆ เริ่มคงที่ ทำาให้เราสามารถแยกออกว่าอะไร<br />

เป็นความจริงหรือไม่จริง ที่แน่ตอนนี้มันทำ าให้คนเราทั้งคนออกแบบเองหรือคนใช้<br />

งานมีความสนใจสั้นและเวลาที่สถาปัตยกรรมที่ถูกการโปรโมทเผยเพร่ มันก็เป็น<br />

แค่ภาพเฉยๆ โดยแทบไม่มีเรื่องราว ไม่มีบริบทอะรไรเลย เราจะเห็นคนจำานวน<br />

มากดู ArchDaily หรือ Pinterest ที่มีภาพสวยๆ และคนก็จะติดภาพนั้น จนลืม<br />

นึกถึงเนื้อหาหรือแม้แต่บริบทจริงๆ ที่สถาปัตยกรรมนั้นๆ ตั้งอยู่ แต่หวังว่าใน<br />

อนาคตมันจะเบาๆ ลงนะคะ<br />

136<br />

ASA18_Book_180419.indd 136 24/4/18 16:10


สุริยะ<br />

ถ้ามองไปไกลๆ ในอนาคตเราอาจจะไม่มีบ้านก็ได้ แต่อาจจะอยู่ในรูปแบบอื่น อัน<br />

นั้นผมไม่ทราบจริงๆ เทคโนโลยีในอนาคตก็จะคงก้าวหน้ามากจนเราคาดไม่ถึง<br />

แต่ผู้คนจะคิดสวนทางกัน คนจะความสนใจธรรมชาติด้วยเช่นกัน ทำาให้อนาคต<br />

สองสิ่งนี้ก็จะสามารถอยู่คู่กัน เช่น คุณอาจจะอยู่ในบ้านที่ทันสมัย แต่ก็สามารถ<br />

ปลูกผักไว้กินเองได้ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาดูแลต้นไม้ให้ เช่นน้ำามาจากไหน<br />

การผลิตกระแสไฟมายังไง แต่ที่เหลือคุณใช้ชีวิตอยู่ในโซเชียลมีเดียหมดเลย คุณ<br />

จะไม่ต้องผักที่มาจากสารพิษ คุณจะปลูกผักกินเองแทนที่มันง่ายมากด้วยการใช้<br />

เทคโนโลยี ซึ่งนี่อาจเป็นการใช้ชีวิตในสถาปัตยกรรม ที่ทุกอย่างรวมกันเป็นหนึ่ง<br />

ก็เป็นได้<br />

Nostalgia<br />

จริยาวดี<br />

ปัจจุบันเรื่องการตั้งคำาถามในเรื่องการกลับไปเชื่อมโยงธรรมชาตินั้นเป็นเรื่อง<br />

ที่เกิดขึ้นไม่เฉพาะส่วนบุคคล แต่มันเกิดขึ้นในทั่วโลกพร้อมๆ กันทั้งในเชิง<br />

สถาปัตยกรรมและสังคม ดังนั้นในอนาคต เราควรถอดอัตตาออกแล้วค่อยๆ<br />

แยกแยะสิ่งรอบๆ ตัวของเราว่า ทุกสิ่งนั้นมีที่มาและมีที่ไปอย่างไรและใน<br />

ความสนใจของแต่ละคนที่แตกต่างกันก็จะนำ าไปสู่คำาถามที่แตกต่างกัน และสุดท้าย<br />

ในอนาคตก็คงหนีไม่พ้นองค์ประกอบรวมที่เราจะต้องหาวิธีรักษาธรรมชาติ<br />

ให้ได้อย่างไร ซึ่งนี่ก็น่าจะเป็นหัวใจสำาคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หากเรา<br />

ทำาตัวฝืนธรรมชาติโดยเอาความสะดวกสบายเป็นหลัก แล้วสุดท้ายสิ่งที่เราทำา<br />

นั้นไม่ถูกต้อง เราก็จะได้คำาตอบของมันเอง<br />

นพพล<br />

ผมว่าในอนาคต ผู้คนจะยิ่งโหยหาความเป็นพื้นถิ่น ดังนั้นคนที่มีฐานะก็จะชอบ<br />

อะไรที่ดูพื้นๆ เขาจะไม่อยากอยู่คอนโด แต่จะพยายามกลับไปหาอะไรง่ายๆ เป็น<br />

กระแสแบบนั้น และในเรื่องสิ่งแวดล้อมก็จะเป็นเรื่องสำาคัญมากขึ้น สถาปนิกเรา<br />

ก็จะพยายามทำาอาคารให้ผ่านกฎหมาย EIA ให้ได้และดีกว่าเดิม บนฐานะที่มี<br />

ส่วนในการออกแบบให้โลกดีขึ้น<br />

137 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 137 24/4/18 16:10


Adaptability<br />

เสก<br />

ผมไม่สามารถทำานายอนาคตได้ แต่ผมว่าสิ่งที่เปลี่ยนควรจะเป็นมุมมองของผู้<br />

ใช้งานและผู้ออกแบบมากกว่า เพราะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด<br />

ไม่ใช่ปล่อยให้มันแช่แข็งกลายเป็นของอนุรักษ์ แล้วพอพูดถึงพื้นถิ่นก็ต้องเอา<br />

สิ่งอนุรักษ์มาใช้เท่านั้น คือถ้าเราเอาของเก่ามาใช้ในต่อๆ ไปโดยไม่ได้คำานึงถึง<br />

ทรัพยากร สังคม สภาพแวดล้อม ณ ตอนนั้น มันก็ไม่เป็นพื้นถิ่นแล้ว<br />

วิภาวี<br />

สิทธนา<br />

วิภาวี: ตึกแถวก็เป็น Urban vernacular architecture คือตึกแถวมันมีข้อดีคือ<br />

มันสามารถปรับจากอาคารพักอาศัย ไปเป็นร้านค้า ไปเป็นโรงแรม หรือกลับมา<br />

เป็นที่พักอาศัยเหมือนเดิมค่อนข้างง่าย โดยที่ตึกพวกนี้ไม่จำาเป็นต้องไปทุบทิ้ง<br />

เพื่อสร้างใหม่ แต่สามารถใช้อาคารเดิมแต่ปรับการใช้สอยให้เหมาะกับปัจจุบัน<br />

เช่น ตึกแถวนี้แต่ก่อนเป็นบ้าน แต่กลับเป็นทำ าเลดี ก็สามารถปรับตัวการเป็นร้านค้า<br />

สิทธนา: เหมือนการปรับปรุงตึกแถว ก็เหมือนการชุบชีวิต <strong>Vernacular</strong> ไป<br />

เรื่อยๆ เพียงจะโดนการทับซ้อนของภาษาจากเก่าไปใหม่ และทิ้งร่องรอยให้คนได้<br />

เห็นอยู่ตรงนั้น<br />

วิภาวี: ซึ ่งเป็นข้อดีด้วยแหละ ที ่ไม่ต้องปรับอะไรมาก ปรับเพียงข้างนอกและข้างใน<br />

ก็สามารถตอบโจทย์กับชีวิตในปัจจุบันหรือในอนาคตไปเรื่อยๆ ได้<br />

วิธี<br />

หัวใจของ <strong>Vernacular</strong> จริงๆ แล้วคือการเข้าใจวิถีชีวิตและบริบทอย่างลึกซึ้ง<br />

จริงๆ ถึงนำามาออกแบบได้ ถ้าเกิดว่าเราติดกับคำาว่า <strong>Vernacular</strong> มากเกินไป มัน<br />

จะเหมือนว่าเราไปติดกับคำานิยามของมันมาก แล้ววันหนึ่งความพยายามที่จะ<br />

เข้าใจบริบท เข้าใจความลึกซึ้งของมันจะหายไป เพราะว่าเราเริ่มจะไปยึดกับ<br />

นิยามของมันมากแล้ว เราต้องกลับมาที่ใจความสำาคัญของ <strong>Vernacular</strong> แล้ว<br />

แต่ละยุคก็จะเปลี่ยนไปตามทางของมัน มันจะเป็น <strong>Vernacular</strong> ที่เหมาะสมใน<br />

วิถี ในความลึกซึ้งของมัน<br />

138<br />

ASA18_Book_180419.indd 138 24/4/18 16:10


หฤษฎี<br />

เราว่าตอนนี้ยังขาดความตรงกลาง เรายังมีความสุดโต่งของอยู่สองอย่าง คือ<br />

ความ <strong>Vernacular</strong> พื้นถิ่นจริงๆ ที่ยังหยุดอยู่กับอดีตตรงนั้นกับสิ่งใหม่จาก<br />

กระแสโลกาภิวัฒน์ ที่ไม่ได้ถอยกลับมาหา คือเรายังเห็นได้น้อยที่สามารถ<br />

เอาสองอย่างมาอยู่ตรงกลาง<br />

ดนัย<br />

คำาว่ามรดก ผมรู้สึกว่ามันมีสองอย่างคือ อย่างเมื่อบรรพบุรุษเราเสียไปเขาก็<br />

จะทิ้งมรดกไว้ให้เรา มันมีอะไรบางอย่างที่เราพัฒนาต่อได้ และมันมีอะไร<br />

บางอย่างที่ตายไปแล้วถ้าพูดในเชิงรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย ความดั ้งเดิมของ<br />

มันเป็นรูปแบบมรดกที ่ตายไปแล้วในระดับนึง แต่ไม่ได้ตายโดยสมบูรณ์ เพียงแค่<br />

เราไม่สามารถนำามันกลับมาใช้ได้เหมือนแบบเมื่อก่อน ทั้งเรื่องข้อจำากัดในเรื่อง<br />

วัสดุก็ตาม เรื่องของการใช้ชีวิตก็ตาม เพราะที่ดินมันแพงขึ้น แต่ไอเดียสำาคัญ<br />

บางอย่างเราก็สามารถดึงมาใช้ได้ เช่นเรื่องของชาน คือสิ่งที่ผมพยายามจะใส่<br />

ให้ได้ในอาคารปัจจุบัน และพยายามทำาต่อไปในอนาคต<br />

เมธัส<br />

จริงๆ มันก็วนเป็นวัฎจักร ตั้งแต่ยุคโมเดิร์น ก็มาเป็นยุค Art & Craft มี Post<br />

modernism จากกระแส Globalisation มันก็มีกระแส Localisation เข้ามา<br />

ผมไม่อยากให้มองว่างานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นแค่สไตล์ที่เอามาเป็นส่วน<br />

ประดับตกแต่งเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ย้อนไปให้นึกถึงบริบทของท้องถิ่น<br />

ถ้าอย่างนั้นมันก็ไม่ต่างอะไรจากดิสนีย์แลนด์ แต่ถ้าเรากลับไปศึกษาว่าอะไรที่ใช้<br />

เป็นประโยชน์ได้และจำาเป็นเอามาใช้ในการออกแบบปัจจุบันมันก็น่าจะเป็นสิ่งที่<br />

ยั่งยืนได้และไม่ยึดติดกับกาลเวลา<br />

139 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 139 24/4/18 16:10


อดา<br />

การที่จะให้งานสถาปัตยกรรมหรือภูมิปัญญาพื้นถิ่นไปต่อได้ มักจะเป็นเรื่องของการ<br />

อนุรักษ์จนไม่มีใครกล้ามาดัดแปลง ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีและควรจะทำ าต่อไปนะ แต่<br />

ก็จะมีสิ่งที่ควรจะทำาคู่กันไปด้วยเช่นกัน คือการประยุกต์ดัดแปลงสิ่งเหล่านี้ด้วย<br />

เทคนิคหรือวัสดุใหม่ๆเพื่อให้ความรู้สามารถอยู่ได้ปัจจุบันและอนาคต<br />

สุภาพร<br />

คิดว่า <strong>Vernacular</strong> architecture มันควรจะจับมือกับกระแสโลกาภิวัฒน์<br />

เทคโนโลยี และวิถีของผู้คนสมัยใหม่ อะไรที่มันหยุดนิ่งเป็น <strong>Vernacular</strong><br />

architecture เมื่อ 50 ปีที่แล้ว มันก็คงไม่สามารถจะถูกนิยามเป็น Vernaclar<br />

living ได้ในปัจจุบัน เพราะคนก็เปลี่ยน สภาพสังคมก็เปลี่ยน คนที่เคยอยู่ใน<br />

ป่าก็เข้ามาในเมือง คนที่อยู่เมืองก็อยากออกไปอยู่ป่า ดังนั้นมันควรจับมือกับ<br />

เทคโนโลยี แทนที่จะคิดว่ามันเป็นผู้ร้าย เป็นอะไรที่จะไปเข็นฆ่าวิถีชีวิตเก่า ฆ่า<br />

<strong>Vernacular</strong> architecture ไป เราว่ามันควรเป็นการจับมือไว้แล้วไปด้วยกันมากกว่า<br />

140<br />

ASA18_Book_180419.indd 140 24/4/18 16:10


5.<br />

สถาปัตยกรรมได้รับผลกระทบจากพลวัตของเทคโนโลยี<br />

สังคม และเศรษฐกิจอย่างไร<br />

Opportunity<br />

วิภาวี<br />

ในเรื่องวัสดุจะเข้ามามีผลแน่นอน ปกติผู้รับเหมาก็ต้องชอบ<br />

วิ่งหาสิ่งที่หาซื้อได้ง่าย ถ้าเราอยากจะได้ไม้ที่สวยมากๆ<br />

แต่หามันไม่ได้เลย ก็อาจจะยากในการทำางาน ซึ่งการ<br />

ใช้ในวัสดุทั่วไป ก็มีข้อดีนะ เช่นของที่เราระบุในแบบที่<br />

กรุงเทพฯ ที่เชียงใหม่ก็อาจจะมีให้ใช้ได้เหมือนกัน<br />

วรพงศ์<br />

เรามองว่าวัสดุไม่ต้องจำาเป็นต้องผลิตได้ในที่ใดที่หนึ่ง แต่<br />

ควรเป็นวัสดุที ่เหมาะสมในขณะนั ้นอย่างงานออกแบบ<br />

Pavilion ในงานอาษา เราเลยเลือกวัสดุที่มีความเข้าถึง<br />

ง่ายจริงๆ ซึ่งเราเลือกวัสดุอุตสาหกรรมไปเลย<br />

เรามอง <strong>Vernacular</strong> ว่าเป็นอะไรที่หาได้ง่ายในพื้นที่<br />

นั้นๆ ใครๆ ก็ทำาได้ ไม่จำาเป็นต้องไม้ไผ่หรืออะไรแบบนั้น<br />

อดา<br />

สาวิตรี<br />

เราว่ามันน่าสนใจตรงที่ว่า แต่ก่อนถ้าพูดถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น วัสดุมันคือ<br />

สิ่งที่เราสามารถหาได้รอบตัว แต่ถ้าถามว่าในปัจจุบัน ที่มีอุตสาหกรรมในการ<br />

ผลิตแบบทีละเยอะๆ วัสดุสำาหรับพื้นถิ่นมันอาจจะเปลี่ยนไป มันอาจจะไม่ใช่ของ<br />

ที่หารอบๆ ตัวในธรรมชาติอีกต่อไป อาจจะกลายเป็นการเอาของเหลือจาก<br />

การก่อสร้างในเมืองมาใช้หรือเปล่า<br />

141 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 141 24/4/18 16:10


เมธัส<br />

การใช้วัสดุอาจจะเปลี่ยนไป แต่การความคิดของพื้นถิ่น<br />

ในปัจจุบันนั้น ไม่จำาเป็นต้องยึดติดกับวัสดุจากธรรมชาติ<br />

แต่ให้ใช้วิธีคิดบางอย่างที่มีความยั่งยืน มันก็จะมีความ<br />

เข้ากันกับเรื่องการก่อสร้างที่ค่อนข้างง่ายได้เอง<br />

ศศิชลวรี<br />

การที่ใช้วัสดุทดแทน เช่น ถ้าเราอยากให้สเปซแบบมินิมอล แต่ก่อนเราก็เอาไม้มา<br />

ทำาเป็นระแนง มาทำาเป็นสาน ปัจจุบันที่เราก็เอางานเหล็กที่มาปรับใช้ โดยที่เราก็<br />

ยังได้สเปซที่มันใกล้เคียงกัน ความรู้สึกมันอาจจะเปลี่ยนไป แปลกขึ้น แต่ว่าสเปซ<br />

ต่างๆ ในเรื่องของการตอบโจทย์เรื่องบริบทต่างๆ มันก็ยังเหมือนเดิม ซึ่งอิทธิพล<br />

จากตะวันตกก็จะขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ คือเราไม่คิดว่าวัสดุใหม่ๆ จะทำาให้ความ<br />

เป็นพื้นถิ่นเปลี่ยนไป ถ้าเรายังใส่ใจกับเรื่องบริบทของพื้นที่ อย่างสมัยที่<br />

เราเรียน เวลาเราจะออกแบบสถาปัตยกรรมสักหลัง เราไม่ได้เริ่มจากการดึง<br />

วัสดุมา แต่เราเริ่มต้นจากการดูว่าที่ตั้ง ทิศทางแดดลมฝนเป็นอย่างไร และ<br />

ปัจจัยพื้นฐานเหล่านั้นมันมีผลต่อ ความต้องการในไซต์ยังไง ว่าฟอร์มของการ<br />

ไหลของอากาศเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเราจะใช้วัสดุอะไรก็ตาม รูปแบบ<br />

ไหนก็ตาม ถ้าเรายังใส่ใจกับสิ่งเหล่านี้อยู่ แล้วเราประยุกต์สิ่งเหล่านั้นมาใช้ สเปซ<br />

ที่มันเหมาะกับความร้อนชื้นยังไง มันก็คือสเปซนั้นๆ ที่มันเหมาะจะอยู่ในไซต์นั้นๆ<br />

พลวิทย์<br />

มันคือสถาปัตยกรรมแบบ Fast work ซึ่งมีนิยามคล้ายๆ กับ Fast food ที่ไม่ใช่<br />

ว่าไม่อร่อย แต่มีดีตรงที่รวดเร็วกว่า สะดวกกว่า ทำาให้ใครๆ ก็ชอบกิน แมคโดนัล<br />

หรือเบอร์เกอร์คิง เหมือนผมเองเวลาหิวและต้องการความไว ยังไงผมก็เลือก<br />

กิน Fast food อยู่ดี ถ้าผมอยากกินอะไรช้าๆ ก็จะไปเลือกกินอย่างอื่น ดังนั้น<br />

ก็ไม่ใช่ว่างานสถาปัตยกรรมที่เกิดจากระบบอุตสาหกรรมจะไม่ดี แต่มันยิ่งช่วย<br />

ส่งเสริมให้งานสถาปัตย์เราก้าวไปข้างหน้าได้ แต่ตอนนี้กลายเป็นหลายคนหลอก<br />

ตัวเองว่า เราไม่ชอบความรวดเร็วของระบบอุตสาหกรรมเลย ซึ่งอาจเพราะว่า<br />

เราไม่ได้อัพเดทสิ่งใหม่ๆ ให้ทันต่างหาก<br />

142<br />

ASA18_Book_180419.indd 142 24/4/18 16:10


สิทธนา<br />

วิภาวี<br />

สิทธนา: การเป็น <strong>Vernacular</strong> นั้น ก็ต้องมีการปรับตัว<br />

ไม่ใช่ว่าจะต้องใช้ไม้เท่านั้น แต่เราจะต้องศึกษาภาษาของ<br />

ความเป็นพื้นถิ่นจริงๆ เพื่อที่จะออกแบบให้ออกมาเป็น<br />

<strong>Vernacular</strong> ให้ได้<br />

วิภาวี: อาจต้องมีการตีความกันมากขึ ้น ปรับให้เข้ากับวัส<br />

ดุใหม่ๆ ซึ่งนั่นทำาให้เราได้สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา<br />

Jakub<br />

I think the definition of vernacular materiality should be redefined.<br />

In this sense, it also relates to our chosen material for the design<br />

of Introduction pavilion. If we believe that nowadays, local materials<br />

in Bangkok are different from the past, cardboard or plastic are the<br />

common local material than wood. In this way, vernacular materials<br />

are not assigned to the particular items but they are the material that<br />

are available in the local area.<br />

Luke<br />

Mass production, quantities of scale and automation are affecting<br />

construction constantly. I think we should look at it in both positive<br />

and negative way. There are benefits to be explored. I do not<br />

see a tension between low-tech and hi-tech. I feel like it is possible<br />

to look at different techniques, trying to find a way to appropriately<br />

apply them within the given project that we have had.<br />

143 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 143 24/4/18 16:10


ภาสุร์<br />

จากการที่มีเทคโนโลยีในการผลิตหรือการออกแบบมาช่วยคิดค้นวัสดุก็ดี หรือ<br />

การที่ใช้ mass production ในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็มีทั้งดีและไม่ดี มันอยู่ที่<br />

คนที่คิดและคนที่เอามาใช้ มันตอบโจทย์เรื่องการอำานวยความสะดวกในการ<br />

ผลิตให้ง่ายขึ้น เพื่อที่จะกระจายให้ถึงมือคนที่เขาต้องการให้เร็วขึ้น ก็ถือ<br />

เป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือคน<br />

แต่ถ้ามองในมิติที ่แคบลงหรือมองในมิติที ่ไม่ได้มองประโยชน์ในการใช้งาน<br />

เป็นหลัก ก็อาจจะตอบโจทย์แค่คนบางกลุ่ม อาจจะถูกใจในเรื่องของความสวยงาม<br />

แต่ไม่ได้คิดถึงในเรื่องของการรักษาสภาพทรัพยากร ผมคิดว่าถ้าจุดประสงค์<br />

ของสิ่งนี้ทำาให้คนเข้าใจแล้ว เขาตระหนักถึงการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าผมก็มองว่า<br />

การผลิตที่ไม้หรือปูน เทคนิคพวกนี้ก็ทำ าให้สะดวกมากขึ้น แต่ถ้าเกิดว่าคนรู้จักวัสดุ<br />

ชิ้นนั้นดี และรู้จักการรีไซเคิลใช้ไม้ก็ดีแล้วทำาให้ตัวคนเปลี่ยนแปลงความคิดของ<br />

ตัวเองว่าเราจะใช้ทรัพยากรในโลกของเรายังไงให้มันเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน<br />

และส่งผลดีถึงคนรุ่นต่อไปได้<br />

สุริยะ<br />

วัสดุในระบบอุตสาหกรรมนั้น ก็สามารถทำาให้อากาศไม่ร้อนได้ ทำาให้เหมาะสม<br />

กับบริบทได้เช่นกัน ถ้าเรารู้จักใช้ ซึ่งในปัจจุบัน อย่างที่ผมบอกไม้มีราคาแพง<br />

จนหาใช้ยาก แต่มันก็อาจใช้ไม้ได้ในบางกรณี เช่น ผมเคยได้ไปเกาะช้าง และได้<br />

พบว่าป่าที่นั่นมีไม้ไผ่เยอะมาก ซึ่งถ้าเราไม่ตัดไผ่ เดี๋ยวมันก็ต้องตาย ต้นไม้ก็จะ<br />

ไม่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งกรณีแบบนี้ เราก็ต้องรู้จักวิธีการตัด ตัดยังไง เหมือนเวลาหา<br />

ปลาก็ต้องรู้ว่าล่าได้กี่เปอร์เซ็นต์ ถึงจะพอดีได้ ไม่ใช่ว่าล่าจนหมดโดยไม่สนใจ<br />

อะไรเลย<br />

ดลพร<br />

เรามองว่า ระบบอุตสาหกรรมที่เข้ามาเปลี่ยนโลก มันก็ทำาให้รูปลักษณ์ของ<br />

ความพื้นถิ่นเปลี่ยนไปด้วย แต่เมื่อระบบการผลิตของเราดีขึ้นแล้ว สิ่งที่มาจาก<br />

ระบบนั้นก็จะมีราคาที่ถูกลง และทำาให้สิ่งที่เป็นภูมิปัญญาแท้ๆ ราคาสูงขึ้น<br />

อย่างประสบการณ์ของเรา เมื่อเวลานำามาสร้างจริง ก็มักมีเรื่องงบการก่อสร้างเลย<br />

เป็นว่าเราต้องใช้ของราคาถูก ที่ต้องทำาให้ดูเหมือนดีไซน์มาแล้ว ด้วยระบบความ<br />

คิดต่างๆ ก็จะกลายเป็นสิ ่งที ่ค่อนข้างท้าทายในการออกแบบ ทำาให้เราชื่นชอบที่จะ<br />

นำากระบวนเหล่านี้มาใช้ในการออกแบบ และมันช่วยในการลดงบประมาณในการ<br />

ผลิตด้วย เพราะอะไรที่อยู่ในระบบโรงงาน แล้วเราเอาเปลี่ยนแปลงด้วยการ<br />

ออกแบบ ก็อาจทำาให้ราคาลดลง ซึ่งมูลค่าก็จะไปอยู่ที่ค่าของความคิดมากกว่า<br />

144<br />

ASA18_Book_180419.indd 144 24/4/18 16:10


Observing<br />

ศาวินี<br />

เราคิดว่าสิ่งเหล่านี้ต้องมีผลอยู่แล้วแต่มันใช้เวลานานกว่าจะเห็น อย่างพูดแค่<br />

เรื่องระบบการผลิตโรงงาน มันก็มีมาตั้งนานแล้ว ซึ่งเราก็เคยฝันถึงบ้านที่สร้าง<br />

ออกมาจากโรงงานหรือสร้างโดยหุ่นยนต์มาตลอด แต่จริงๆแล้วเนี่ยของแบบ<br />

นี้มันใช้เวลาขับเคลื่อนช้ามากถึงจะเข้ามาในกระบวนการออกแบบหรือใน<br />

ชีวิตประจำาวัน แม้ว่าเทคโนโลยีพวกนี้จะเริ่มน่าสนใจขึ้นเรื่อยๆ แต่ถึงอย่างไรก็<br />

ต้องมีคนมาออกแบบ คือเทคโนโลยีพวกนี้ไม่สามารถจบด้วยตัวมันเองได้ อย่าง<br />

นี่ก็จะ 20 ปีแล้ว ตั้งแต่ตอนที่เราเรียน พวก CNC, Laser cut, 3D printing ก็เกิดขึ้น<br />

แล้ว จนมาถึงตอนนี้ เราเพิ่งจะเริ่มเห็นว่ามันเข้ามามีผลกับการออกแบบมากขึ้นจริงๆ<br />

ซึ่งนี่แค่เฉพาะในฝั่งสถาปัตยกรรมนะ ดังนั้นในฝั่งอื่นๆ มันก็คงจะช้าขึ้นไปอีก<br />

กณพ<br />

ตอนนี้ทุกคนต่างตื่นเต้นกับนวัตกรรมใหม่ๆ ตั้งแต่การใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ หรือ<br />

อะไรต่างๆ สำาหรับผมว่ามันไม่ใช่ทิศทางที่เราควรไปทางนั้น แต่เราควรจะไปใน<br />

เรื่องของการผลิตวัสดุแบบระบบโรงงาน หรือนวัตกรรมก่อสร้าง ที่ทำาให้ของ<br />

บ้านๆ มีศักยภาพในการทำางานที่หลากหลายมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น อิฐ 1 ก้อน<br />

ที่เป็นของโบราณตั้งแต่ยุคคลาสสิค นอกจากก่อเป็นผนังธรรมดา แต่ยังสามารถ<br />

ทำาโครงสร้าง Vault หรือ Arch ได้ ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้เกิดจากการที่เข้าใจว่าอิฐมี<br />

ศักยภาพในก่อสร้างอะไรได้บ้าง ซึ่งเป็นหลักการที่น่าสนใจและดีไซเนอร์ควรนำา<br />

มาประยุกต์ใช้วิธีคิดนี้ในปัจจุบัน<br />

วิธี<br />

ผมเคยตั้งคำาถามนี้เหมือนกัน ผมไม่มีคำาตอบ แต่ผมมีข้อสังเกต หลังจากผมไป<br />

ทำางานที่ต่างจังหวัดและต่างประเทศ พอกลับมาอยู่เมืองไทยแล้วผมก็ถามตัวเอง<br />

เหมือนกันว่า อะไรคือ vernacular ของกรุงเทพฯ นึกไม่ออกจริงๆ บริบท<br />

กรุงเทพฯ เรามีมลพิษมีแดด ดังนั้น resource ที่จะหาได้มันไม่ใช่ต้นไม้ มันเป็น<br />

ของที่เราหาได้จากร้านค้าวัสดุ<br />

145 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 145 24/4/18 16:10


นพพล<br />

ผมมองว่าปัจจุบันนี้ อินเตอร์เน็ต นั้นมีบทบาทและอิทธิพลค่อนข้างเยอะ ซึ่งมัน<br />

มีข้อดีแต่ก็กลับทำาลายหลายๆอย่างเช่นกัน สำาหรับเรื่องสถาปัตยกรรมแล้ว<br />

อินเตอร์เน็ตนั้น ทำาให้โลกเราแบนขึ้น นั่นทำาให้ความเป็นพื ้นถิ ่นเห็นไม่ค่อยชัดแล้ว<br />

เพียงเราเปิดอินเตอร์เน็ตก็ทำาให้เรา เห็นสถาปัตยกรรมจากอีกซีกโลกนึง และ<br />

ในเรื่องวัสดุก็หาง่ายขึ้น เพราะอินเตอร์เน็ตทำาให้เราค้นหาและสั่งซื้อมาได้<br />

ง่าย ซึ่งนั่นทำาให้ความเป็นพื้นถิ่นลดน้อยลงไป<br />

และสำาหรับในเรื่องสถาปนิกก็ยังคงมีความสำาคัญอยู่มาก ทั้งบ้านและอาคารใหญ่<br />

เริ่มมีความซับซ้อนที ่มากขึ ้น เพราะหลังจากที ่มีอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมสำาเร็จ<br />

รูปขึ้น ผู้คนก็เริ่มไม่ทำาอะไรเองแล้ว จากที่เคยต้องสร้างบ้านเอง ก็ต้องมาพึ่งผู้<br />

เชี่ยวชาญ อย่างเวลาจะสร้างบ้านก็ต้องเรียกใช้สถาปนิก ทำาให้สถาปนิกมีผลต่อ<br />

การตัดสินใจในการก่อสร้างมากขึ้น ทำาให้สถาปนิกที่มีความรู้เรื่อง <strong>Vernacular</strong> จะ<br />

มีความสำาคัญมากขึ้น<br />

Caution !!!<br />

จริยาวดี<br />

ถ้าพูดถึงผลกระทบกับความเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คิดว่าเราคงหยุดการเปลี่ยน<br />

แปลงของโลกนี้ไม่ได้ ทุกอย่างล้วนเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การ<br />

ปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งในวงการก่อสร้างและ<br />

การใช้ชีวิตของพวกเราโดยรวม และอย่างที่บอกว่า ตอนนี้เราเป็นยุคที่กำาลังกลับ<br />

มาตั้งคำาถามว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มันส่งข้อดีและข้อเสีย<br />

อย่างไร ซึ่งตัวเราเองไม่ใช่คนที่ต่อต้าน ความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการ<br />

เพราะเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ที่ทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไป ซึ่งการตั้ง<br />

คำาถามนี่เอง จะเป็นกระบวนการที่ทำาให้เรากลับมา เลือกในสิ่งที่เป็นประโยชน์<br />

และเอื้ออำานวยต่อสภาพที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน แน่นอนว่าคนในปัจจุบันก็ต้อง<br />

แตกต่างกับคนสมัยก่อน ซึ่งในสมัยก่อนวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างเอื้ออำ านวยกับคำาว่า<br />

<strong>Vernacular</strong> เพราะไม่ได้โดนระบบอุตสาหกรรมเข้ามาครอบงำา ก็จึงเป็นความเป็น<br />

<strong>Vernacular</strong> ตามธรรมชาติ แต่พวกเราเองอยู่ในระบบที่โดนเทคโนโลยีอุตสาหกรรม<br />

เข้ามาและเราก็หยิบสิ่งเหล่านี้เข้ามาใช้ก่อสร้าง<br />

ถามว่านี่คือ <strong>Vernacular</strong> ของพวกเราไหม ก็อาจจะเป็น <strong>Vernacular</strong> ของพวกเรา<br />

ได้เช่นกัน แต่การที่เราหยิบมาใช้โดยที่ไม่ได้ตั้งคำาถามเลย สิ่งที่ถูกเปลี่ยนแปลง<br />

146<br />

ASA18_Book_180419.indd 146 24/4/18 16:10


เหล่านี้ ก็อาจย้อนมาทำาลายเราเองได้ เพราะฉะนั้นยุคนี้จึงเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ<br />

ที่เราจะมาตั้งคำาถามเกี่ยวกับพวกเทคโนโลยีว่าอันไหนเราสามารถควบ<br />

คุมได้ หรืออันไหนเทคโนโลยีเข้ามาควบคุมเรากับธรรมชาติ<br />

ดนัย<br />

สร้อยพลอย<br />

ดนัย: พอมันมีระบบ Mass production หนึ่งมันทำาให้ก่อสร้างง่ายขึ้น แต่สิ่ง<br />

หนึ่งที่ผมมองว่าเป็นผลลบ คือคนที่สร้างบ้านและออกแบบบ้าน ไม่ได้คำานึงถึง<br />

หัวใจหลักในการออกแบบจริงๆ มันจะเป็นการทำางานที่มีความไม่รอบคอบ<br />

อย่างเช่นการเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะแต่เร็วและถูก หรืออย่างเรื่องการปรับอากาศ<br />

ที ่จริงๆ เขาก็อาจจะไม่ต้องปรับอากาศทั้งหมด แต่คนเขาอาจจะคิดว่ามันง่าย<br />

ก็เลยใส่ปรับอากาศทั้งหมด มันก็อาจจะเป็นผลที่ทำาให้ทุกวันนี ้ ความเป็นตัวตน<br />

ของความเป็นสถาปัตยกรรมค่อนข้างจะหายไป<br />

สร้อยพลอย: ในเรื่องของเทคโนโลยี Mass production มันให้ทุกอย่างราคา<br />

ถูกลง เร็วขึ้น ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น แข็งแรงขึ้น และไม่จำาเป็นต้องใช้ทักษะของ<br />

ช่าง ไม่ต้องการความทำาสลักไม้ที่ต้องมาตัด มันกลับเป็นว่าของโมเดิร์นเนี่ย ไม่<br />

ต้องใช้ทักษะช่างมาก บ้านก็ออกมาแข็งแรงได้ แต่มันไม่ได้เหมาะสมกับสภาพ<br />

ความเป็นไทย ไม่ว่าจะเรื่องน้ำารั่วอะไรต่างๆ ปัญหามันมีมากเลย เรากลับมอง<br />

ข้ามในเรื่องตรงส่วนนี้ไป แล้วก็ไม่ได้มองกลับมาใน <strong>Vernacular</strong> ดั้งเดิมของไทย<br />

เสก<br />

มีผลอย่างมากในสังคมเรา แม้แต่ชีวิตของผมเอง ขนาดว่าผมก็เกิดในต่างจังหวัด<br />

แต่ว่าชีวิตผมมันก็ไม่ได้ แตกต่างจนเป็นพื้นถิ่นมาก ผมว่าระบบ Globalisation<br />

ทำาให้เราเรียนเหมือนกันทุกที่ บริโภค กินได้เหมือนกันทุกที่ เลยทำ าให้เหมือนกับว่า<br />

การใช้ชีวิตที่มีความเฉพาะเจาะจงมันน้อยลง ซึ่งมันก็ยังมีอยู่ แต่ว่าเราอาจ<br />

จะไม่ได้มองเห็น เพราะว่าทุกคนพยายามจะทำาให้เหมือนกัน ผมว่าสิ่งนี้<br />

ได้ไปถึงในระดับของสื่อด้วย เพราะสื่อมักทำาให้ผู้คนให้คุณค่ากับสถาปัตยกรรม<br />

แบบๆ หนึ่ง แค่ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ช่วงหนึ่งเวลาลูกค้าเข้ามา ก็จะต้องการ<br />

บ้านโมเดิร์น บางช่วงก็ชอบบ้านลอฟท์ บางช่วงเป็นอินดัสเทรียล ถึงดูตลก<br />

แต่นี่เป็นความเป็นจริงมากเลยที่ว่า Globalisation มันมีผลต่อเรายังไง<br />

คือทุกๆ วันนี้ ใช้เฟสบุ๊คอยู่ที่ขอนแก่น หรือกรุงเทพ เราก็ได้รับสื่อแบบเดียวกัน<br />

มันดีที่เรามองได้กว้างขึ้น แต่บางทีมุมมองเราก็อาจจะแคบลงก็ได้ เพราะ<br />

ความเฉพาะ ความเป็นพื้นถิ่นมันหายไป<br />

147 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 147 24/4/18 16:10


สันธาน<br />

การอยู่อาศัยเฉพาะถิ่น ผลที่มันสะท้อนเหตุพฤติกรรมจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ<br />

ตัวเขา สถาปัตยกรรมพื ้นถิ ่นก็เช่นกัน ก็เป็นผลที ่แสดงออกถึงสิ ่งที ่มันเกิดขึ ้น อย่าง<br />

กลุ ่มคนถิ ่นนั ้น เขามีพื้นฐานความเชื่อวัฒนธรรม จารีต วิถีประชา กฏหมาย อะไร<br />

ก็แล้วแต่ของเขาเป็นอย่างไร สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศเขาเป็น<br />

อย่างไร สิ่งเหล่านั้นมันมารวมกัน บวกกับเวลา บวกกับการเรียนรู้ในเชิงพัฒนา<br />

ของคน รูปแบบสถาปัตยกรรมมันก็เปลี่ยนได้ ยกตัวอย่างเช่น เราเรียนพื้นถิ่น<br />

ที่สร้างเมื่อ 50 ปีที่แล้ว สมัยนั้น เครื่องไม้เครื่องมือในการสร้าง คนยังใช้กบ<br />

ไสไม้เพื่อปรับไม้กระดานให้เรียบด้วยมือ เงื่อนไขของมันก็ต่างกัน แต่พอเวลา<br />

เปลี่ยนไป คนมีเวลาน้อยลง มีความพยายามน้อยลง ค่าแรงสูงขึ้น กำาลังน้อยลง<br />

อะไรก็แล้วแต่ เราเริ่มใช้เครื่องมือไฟฟ้า ผลที่ได้จากเครื่องมือไฟฟ้ากับทำามือ<br />

ในรูปแบบสถานการณ์เดียวกัน รายละเอียดก็ต้องแตกต่างกัน นี่ก็เป็น<br />

คาแรคเตอร์หนึ่งที่สะท้อน<br />

การเปลี่ยนแปลงแตกต่างนี้ก็เพราะระบบอุตสาหกรรมมันเป็นเหตุ ไอ้ระบบ<br />

อุตสาหกรรมที่มันเข้ามา เป็นเรื่องของเวลา และเงื่อนไขทางสัมคมและเศรษฐกิจ<br />

โรงงานเกิดขึ้นเพราะว่าเราต้องการผลผลิตมากขึ้น ในขณะที่กำาลังคน ใช้เวลา<br />

เท่ากัน แต่เราได้ผลผลิตไม่เพียงพอ มันก็ทำาให้มีการพัฒนาขึ้นมา นั่นคือการ<br />

เปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ ซึ่งนี่ก็เป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนว่า มันทำาให้<br />

รูปแบบของสถาปัตยกรรมเปลี่ยนไป<br />

148<br />

ASA18_Book_180419.indd 148 24/4/18 16:10


6.<br />

อะไร คือ สถาปัตยกรรมไม่ธรรมดา<br />

บุญเลิศ<br />

พอคิดเป็นคำาว่าไม่ธรรมดาแล้วรู้สึกจะกว้างไปนิดหน่อย ผมว่าอะไรที่ธรรมดานั่น<br />

แหละพิเศษแล้ว เหมือนลมหายใจของเรา ที่ดูเป็นเรื่องธรรมดา พอเราตั้งใจให้<br />

หายใจเมื่อไหร่ เราจะรู้สึกเหนื่อย เพราะอะไรที่เป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดามันมี<br />

ดีในตัวอยู่แล้ว ความพิเศษตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องมองให้ออก พอเรามองออก<br />

เมื่อไหร่ นั่นจะเป็นพลังในการสร้างสรรค์ที่ไปได้เยอะมาก เหมือนคนเล่าเรื่อง<br />

ตลก เมื่อพยายามจะให้มันตลก มันก็ดูไม่ตลก แต่เมื่อว่าเรื่องมันตลก และจังหวะ<br />

มันได้ มันก็จะตลกเอง<br />

ก่อพงษ์<br />

สำาหรับสถาปัตยกรรมไม่ธรรมดา น่าจะเป็นเรื่องของเทคนิค<br />

ในการทดลองกับวัสดุที่ดูเป็นวัสดุพื้นฐาน อย่างอิฐที่เรา<br />

เห็นทั่วไป ถ้าเราค้นหาเทคนิควิธีการใหม่ๆได้ ก็จะเป็น<br />

สถาปัตยกรรมไม่ธรรมดา<br />

สุริยะ<br />

คำาว่า ‘ไม่ธรรมดา’ ผมว่ามันอยู่ที่ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เพราะฉะนั้นเรา<br />

จะเข้าไปนิยามก็จะไม่ได้ เหมือนการดูงานศิลปะ ที่คือการได้แชร์ประสบการณ์ให้<br />

กัน ดังนั้นคำาว่า ‘ไม่ธรรมดา’ ของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน แต่สำาหรับผมคำาว่า<br />

‘ไม่ธรรมดา’ ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ธรรมดาที่สุดก็ได้ หรือสิ่งที่ทุกคนหลงลืมกัน<br />

ก็ได้ เพราะความรู้สึกของผม ความไม่ธรรมดานั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ ‘เกิดขึ้น’<br />

กับ ‘ลืมไปแล้ว’ ผมไม่สามารถตอบคำาถามเป็นรูปธรรมตรงๆ ได้ แต่นี่เป็นความรู้สึก<br />

สิ่งที่ผมทำามันธรรมดา (หัวเราะ) เป็นของธรรมดา<br />

ศ.ดร.วีระ<br />

149 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 149 24/4/18 16:10


Jakub<br />

I think it depends on how you define an ordinary architecture which, to<br />

me, is the mass-built architecture, for example; condominium or gated<br />

community villages. They are built accordingly to the contemporary<br />

trends which one of them is the “modern-luxury” that does not actually<br />

relevant to the modern (-ist style) or luxury characteristic. So,<br />

in this way, I think beyond ordinary architecture is a customized<br />

architecture which is tailored to the client or user’s requirements.<br />

Tom<br />

“<strong>Beyond</strong> <strong>Ordinary</strong>” is a theme we have seen before. At a different fair, a<br />

few years ago, the theme was “<strong>Ordinary</strong> Extra”. The theme of my high<br />

school yearbook was “Traditions with a Twist”. This basic idea comes up<br />

again and again because it is hard-wired into us. We want things that we<br />

feel familiar with, and yet are new at the same time. We are constantly<br />

struggling to do this. We like remixes. Architects are like contemporary<br />

DJs who don’t just spin old playlists, but combine them with original<br />

production. In a sense, “<strong>Beyond</strong> <strong>Ordinary</strong>” is a synonym for “architecture”.<br />

สถาปัตยกรรมที่ไม่ธรรมดา ก็คือสถาปัตยกรรมที่ใส่ความ<br />

คิดเข้าไป อันไหนที่ไปลอกคนอื่นเขามานี่ก็จะธรรมดาไปเลย<br />

นพพล<br />

สุภาพร<br />

คำาว่าไม่ธรรมดา น่าจะเป็นความไม่ธรรมดาในกระบวนความคิด กระบวนการ<br />

ออกแบบ กระบวนการวิเคราะห์ว่าปัจจัยแวดล้อมมีอะไรที่เป็นปัญหา และเป็น<br />

การตั้งปัญหาที่ถูกต้อง มันไม่ควรเป็นแค่การมองแต่เบื้องหน้า แต่ควรจะเป็น<br />

การมองแบบเบื ้องหลังของการจะได้มาของสถาปัตยกรรมว่าเกิดขึ ้นได้อย่างไร<br />

เมื่อปัจจุบันนี้เรามีสื่อเยอะมาก เรามี #<strong>Architecture</strong>Porn สวยๆ ของงาน<br />

สถาปัตยกรรม เราไม่มีเวลาพอที่จะทำาความเข้าใจเบื้องหลังวิธีการที่มันเกิดขึ้น<br />

อันนี้เป็นการทำาให้เราจะควรฟังเลคเชอร์มากขึ้น จากเหล่าสถาปนิกที่พูดถึงกระบวน<br />

การแก้ไขปัญหาและความคิดมากขึ้น<br />

150<br />

ASA18_Book_180419.indd 150 24/4/18 16:10


ดนัย<br />

ภาพที่ผมเห็นคือสถาปัตยกรรมง่ายๆ หลังหนึ่ง แต่ในนั้นมันมี กระบวนความคิด<br />

อะไรต่างๆ ที่ซับซ้อนลึกซึ้ง และแฝงอยู่ในนั้น เพราะเมื่อเรามองอะไรง่ายๆ<br />

ที่ละเอียดลง เราก็จะเจออะไรที่น่าสนใจเยอะแยะไปหมด จนผมมองว่าตึกที่ดู<br />

เฟี้ยวฟ้าวมันดูธรรมดาไปกว่าสิ่งเหล่านี้ เอาง่ายๆ อย่างบ้านที่คิดครบทั้งในแง่<br />

ของการอาศัย แง่สังคมเศรษฐกิจความเชื่ออะไรต่างๆ ทุกอย่างที่ทำาได้ในตัว<br />

มันเอง ผมว่าจะดูไม่ธรรมดา<br />

สิทธนา<br />

เราว่าสถาปัตยกรรมทุกชิ้นมันไม่ธรรมดาอยู่แล้ว สถาปัตยกรรมต้องถูกสร้าง<br />

ขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง ถึงหน้าตาสถาปัตยกรรมบางอย่างอาจจะ<br />

ดูคล้ายๆ กันไปหมด แต่สุดท้ายก็ต้องมีความต้องการอะไรบางอย่างที่ไม่เหมือนกัน<br />

ชาวบ้านข้างเคียงอยู่แล้ว ดังนั้นคิดว่าสถาปัตยกรรมทุกชิ้นทุกรูปแบบ ต้องไม่ธรรมดา<br />

ชัชวาล<br />

การทำาให้สถาปัตยกรรมธรรมดา กลายเป็นไม่ธรรมดา คือการที่ต้องมีสื่อกลาง<br />

บางอย่างที่เข้าไปจับให้เป็นแบบนั้นได้ ซึ่งสื่อที่เรานิยามก็คือ เรื่องความคิด<br />

สร้างสรรค์ หรือเทคนิคการก่อสร้าง ที่สามารถเปลี่ยนจากสถาปัตยกรรม<br />

ทั่วไป กลายเป็นไม่ธรรมดาได้<br />

วรพงศ์<br />

เหมือนบางทีสถาปัตยกรรมที่ธรรมดา ถ้าถูกมองในอีกมุมมองหนึ่งแล้วมีคุณค่า<br />

ก็จึงอาจมีความหมายที่ไม่ธรรมดา เหมือน Pavilion ที่เราออกแบบด้วยวัสดุ<br />

ที่ดูธรรมดามากแต่เราจะพยายามใช้อย่างไรให้ดูไม่ธรรมดา<br />

เสก<br />

ผมว่าความไม่ธรรมดา ควรจะเกิดจากความธรรมดา ไม่งั ้นถ้ามันไม่มีความ<br />

ธรรมดาปุ๊บ มันจะเป็นสถาปัตยกรรมแบบเซอเรียลไปในทันที เพราะงั้นสถาปัตย-<br />

กรรมไม่ธรรมดาคือสถาปัตยกรรมที่มันมีคุณค่าในตัวของมันโดยที่ไม่จำาเป็น<br />

ต้องเรียกร้องอะไรพิเศษ เหมือนกับสถาปัตยกรรมที ่ถูก เข้าใจ รับรู ้ ถูกสัมผัส หรือว่า<br />

มีประสบการณ์กับมันแล้ว ผมว่ามันก็กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่ธรรมดาไปแล้ว<br />

151 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 151 24/4/18 16:10


ธนวรรธน์<br />

จากแนวคิดการทำางานของพวกเรา จะมีอีกคำานึงคือคำาว่า Sculptural เพราะใน<br />

งานที่เราทำาส่วนมาก ก็ไม่ได้เป็นงานที่ Form follows function เท่าไหร่นัก แต่<br />

จะมีองค์ประกอบโดยเฉพาะบางอย่างที่เราออกแบบขึ้น โดยตั้งใจที่ทำาให้งานนั้น<br />

มีคุณค่าด้วยตัวมันเองได้ เราคิดว่าการทำาให้เกิด Sculpture นี้ขึ้นมา เป็นการ<br />

ทำาให้สถาปัตยกรรมนั้นไม่ธรรมดา<br />

ธาริต<br />

สถาปัตยกรรมที่ไม่ธรรมดาก็คือสถาปัตยกรรมธรรมดาทั่วๆ ไป ที่ตอบสนองต่อ<br />

ชีวิตคนคือ คนที่อยู่จริงๆ ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ ได้มีส่วนร่วมในการ<br />

สร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีและวัสดุพื้นถิ่นผสานกับวิถีชีวิตของเขาเพื่อที่จะ<br />

สร้างสถาปัตยกรรมที่มันธรรมดาที ่สุด แต่ว่าเหมาะสมแล้วก็มีความหมายที ่สุดกับ<br />

คนที ่อยู ่คนที ่ใช้งานสถาปัตยกรรม เพราะจริงๆ สถาปัตยกรรมที่ไม่ธรรมดาของที่<br />

หนึ่งอาจจะเป็นสถาปัตยกรรมธรรมดาของคนอีกที่หนึ่งก็ได้<br />

ศศิชลวรี<br />

ถ้าพูดถึงลักษณะที่มันไม่ธรรมดาสำ าหรับเรา มันจะเป็นลักษณะที่เราเห็นของธรรมดา<br />

แล้วร้องว้าว การเห็นของทั่วๆ ไปที่เราคิดว่ามันต้องเป็นแบบนี้แหละแต่ว่ามัน<br />

ไม่ใช่ พอเห็นแล้วว้าวก็จะเป็นสิ่งไม่ธรรมดา ดังนั้นการที่จะทำาของปกติทั ่วๆ ไป<br />

โดยที่มีเงื่อนไขต่างๆ ให้ว้าว เราก็ต้องรู้สึกว่านั่นมันไม่ธรรมดาหรือปกติ<br />

นัฐพงษ์<br />

ผมว่าสถาปัตยกรรมไม่ธรรมดา คือ สถาปัตยกรรมที่อยู่ในชีวิตประจำาวันของเรา<br />

โดยทั่วไป แต่เมื่อเรารู้จักประยุกต์และปรับใช้ เวลาไปเจอความต้องการที่แปลก<br />

ใหม่ หรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป สิ่งที่ดูธรรมดาเหล่านี้เมื่อรวมกับความ<br />

คิดของเรา มันก็อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่ธรรมดาได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ประหลาด<br />

แต่หมายความว่าสิ่งนี้ถูกออกแบบให้ได้ตามโจทย์ต่างหาก<br />

152<br />

ASA18_Book_180419.indd 152 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 153 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 154 24/4/18 16:10


ASA18_Book_180419.indd 155 24/4/18 16:10


LIVING SPACE<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย บุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์<br />

จาก Boon Design<br />

ASA18_Book_180419.indd 156 24/4/18 16:10


แนะนำาตัว<br />

ผม บุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ ครับ บริษัท Boon Design เริ่มมา 8 ปีแล้ว แต่ก่อนหน้านี้จะ<br />

ใช้ชื่อ Boonlert ไปเลย เป็น Office Practice ที่ทำาบ้านเป็นหลังต่อหลังเลย แต่พอจังหวะ<br />

ชีวิตมันได้ก็เลยจดทะเบียนเป็นบริษัทจริงจัง<br />

แนวทางของตนเอง<br />

จริงๆ ผมเป็นคนที่ไม่ได้คิดอะไรเยอะ ด้วยความที่เป็นคนจริงใจ และทำาสิ่งลูกค้าที่ชอบให้<br />

เป็นสิ่งนั้น เช่นถ้าชอบตู้คอนเทนเนอร์ ผมก็ออกแบบตู้คอนเทนเนอร์เลย เพราะอารมณ์<br />

มันต้องได้แต่แรกเลย แต่ภาพรวมกับดีเทล เป็นสิ่งสำาคัญที่ต้องไปด้วยกัน ถ้าทำางานแล้ว<br />

ดีเทลดูหลอกๆ เราก็ไม่ชอบ<br />

เหมือนบ้านเรือนไทยก็ต้องเป็นดีเทลแบบบ้านเรือนไทย ดูเหมือนจะง่ายแต่จริงๆ ดีเทล<br />

ค่อนข้างลึกซึ้งมาก เพราะทุกอย่างเกิดจากไม้ พอต้องทำาทุกอย่างจากไม้ เวลาทำาผนัง<br />

ก็จะต้องใช้เศษไม้ประกอบเป็นแผ่นฝาปะกน โครงสร้างก็ต้องทำาให้สอบลงมาให้น้ำาไหล<br />

ทุกอย่างมีความหมายและคุณสมบัติที่มีพลัง ซึ่งเราก็อยากทำางานแบบนั้นแหละ แต่สื่อ<br />

ของวัสดุก่อสร้างในปัจจุบันทำาให้เราไม่สามารถทำาแบบนั้นได้<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

ผมรับโจทย์วัสดุในการสร้างพาวิเลียนจากดิน และต้องมีนวัตกรรมเข้ามาผนวกด้วย ผมเลย<br />

มองว่าจะทำาอย่างไรให้ดิน กลายเป็นวัสดุที่สามารถก่อสร้างได้ในเวลาที่จำากัด ผมก็เลยไป<br />

มองถึงเรื่องของที่มีอยู่แล้ว อย่างเช่น ลังที่ใส่ผลไม้ ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถให้ดินเข้าไป<br />

เกาะและก่อรูปได้ ผมก็เอาทั้งสองอย่างนี้มาพบกันง่ายๆ เลย<br />

157 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 157 24/4/18 16:10


ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

ในเรื่องของการออกแบบ ผมมองถึงเรื่องความรู้สึกของคนที่เดินเข้าไป แล้วเขาจะได้<br />

ประสบการณ์ที่สัมผัสกับดินที่สถาปัตยกรรมได้อย่างไร จึงสร้างดินที่สามารถทำ าเป็นกำาแพง<br />

ปิดกั้นได้ เมื่อสามารถปิดกั้นได้ ก็สามารถเป็นบันไดได้ สามารถเป็นเก้าอี้ได้ เพราะ<br />

สถาปัตยกรรมจริงๆ ฟังก์ชันก็คล้ายๆ กันหมด แต่ที่จะแตกต่างกันก็คือความรู้สึกที่<br />

สามารถสัมผัสได้<br />

มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงานการ<br />

ออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

ผมไม่ได้คาดหวังกับคนที่เขามาเยี่ยมชมนัก แต่ผมคาดหวังกับคนที่สร้างก่อน (หัวเราะ)<br />

ต้องสร้างให้ได้ว่าดินก็คือดิน เพราะว่าเราหลอกตัวเองไม่ได้ เหมือนที่เราเดินเข้าไปใน<br />

โรงงานที่ทำาจากเหล็กก็จะรู้สึกร้อน เพราะด้วยคุณสมบัติของเหล็ก ถ้าจะให้คนเขารู้สึก<br />

อย่างไร ก็ต้องเกิดจากการสร้างของเราก่อน คนอื่นถึงตามมา<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

คำาว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสำาหรับบางคน เขาอาจรู้สึกว่ามันไกลตัว แต่จะทำาอย่างไรให้<br />

สามารถเอาความเป็นพื้นถิ่น มาใช้ในชีวิตประจำาวันของเราได้ อย่างสิ่งที่ผมพยายามทำา<br />

ในพาวิเลียนบ้านดินนี้ ผมใช้ดินในเรื่องราวที่เหมาะสมและถูกควร เพราะเห็นโอกาสว่า<br />

สามารถทำาการก่อสร้างได้<br />

สิ่งที่อยากจะฝากจริงๆ ก็คือ อุปสรรคไม่ใช่สิ่งที่อยู่ภายนอก แต่คือภายในตัวเรานั่นเอง<br />

อยู่ที่เราจะก้าวข้ามตัวเองได้หรือเปล่า และอยากฝากเรื่องดูจิตเอาไว้อีกเรื่องหนึ่ง เพราะ<br />

การดูจิตคือการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง คล้ายๆ การนั่งสมาธิ ซึ่งเมื่อเราสามารถนำาการ<br />

ดูจิต มารวมกับการทำางานและการใช้ชีวิตได้ มันก็จะสำาคัญการดีไซน์มากๆ เพราะเรา<br />

จะเห็นทุกอย่างไปตามจริง เห็นสภาวะการเกิดดับของเรา ทำาให้เราเข้าใจเรื่องราวชัดขึ้น<br />

มากกว่าการชอบใจหรือไม่ชอบใจ<br />

158<br />

ASA18_Book_180419.indd 158 24/4/18 16:10


การทดลองวัสดุ และขั้นตอนการติดตั้ง โดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้รับเหมา<br />

159 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 159 24/4/18 16:10


WORKING SPACE<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย จริยาวดี เลขะวัฒนา, Luke Yeung<br />

และ ก่อพงศ์ เสน่หา์<br />

จาก ARCHITECTKIDD<br />

ASA18_Book_180419.indd 160 24/4/18 16:10


แนะนำาตัว<br />

จริยาวดี: เราเป็นออฟฟิศ Small practice มีสมาชิกประมาณ 12 คน และทิศทางงาน<br />

ออฟฟิศเราจะเป็นงานในระดับงานคราฟท์ เพราะฉะนั้นเราก็มักจะทดลองเรื่องวัสดุต่างๆ<br />

บนกระบวนการทำางานใหม่ๆ<br />

Luke: We are a small studio and we have remained as a small studio. I think,<br />

we are very hands-on about the way that we try to do things in our projects.<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

จริยาวดี: โจทย์ที่เราได้รับก็คือ Working place ที่เป็น Innovative brick ทำาให้เราต้อง<br />

กลับมาดูคำาว่าอิฐคืออะไร ซึ่งอิฐก็มีความเป็น <strong>Vernacular</strong> ด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว ส่วนใน<br />

เรื่องนวัตกรรม เราก็มาตั้งคำาถามกับสิ่งที่ทำาในปัจจุบัน และลองเอาชนะขีดจำากัดของมัน<br />

ให้ได้ เราจึงมองว่าอิฐธรรมดาๆ นี้ ในสมัยก่อนก็มักจะก่อในอาคารที่ต้องการความมั่นคง<br />

เช่น เจดีย์ โบสถ์ วิหาร อาคารสำาคัญต่างๆ ซึ่งโยกย้ายไปไหนไม่ได้เหมือนไม้ ทำาให้เรา<br />

ท้าทายตัวเองในการออกแบบว่า อิฐก็น่าที่จะลองโยกย้ายได้ แล้วจะทำาอย่างไรให้อิฐ ที่เกิด<br />

ขึ้นจากลักษณะการก่อ มีความเเข็งแรงได้ด้วยตัวเอง รวมทั้งสร้างฟอร์มต่างๆ ได้ และ<br />

ถ้าเราทำาให้มันเคลื่อนย้ายได้แล้ว หน้าตามันออกมาเป็นอย่างไร<br />

Luke: I think the material is very important because it really forms the building<br />

block of architecture. It is a building block of the space that we have created as<br />

an architect. We look at the idea that maybe one single material can perform<br />

more than one task. In the case of brick, we want to use brick not only to create<br />

the space, but also to provide the structure and the support that is needed to<br />

create the space as well. In this sense, the material (brick) is very authentic<br />

because it can serve different functions in order to create architecture.<br />

161 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 161 24/4/18 16:10


ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ และกระบวน<br />

การออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

ก่อพงษ์: เราพยายามมองภาพรวมของเรื ่องการขนย้ายวัสดุบนฐานของน้ ำาหนักของอิฐก่อน<br />

ทำาให้เราออกแบบพัฒนาอิฐออกมาให้เป็นโมดูล ซึ่งในจำานวนอิฐของแต่ละโมดูลก็จะคำานึง<br />

ถึงน้ำาหนักของการยกทั้งหมด และถ้ามองภาพรวมของพาวิเลียนทั้งหมด ก็จะสามารถ<br />

เห็นได้ในลักษณะของวงกลม ซึ่งเราเริ่มมาจากหกเหลี่ยม แปดเหลี่ยมก่อน และก็ดูเรื่อง<br />

ขนาดไซต์ของโมดูลอิฐหนึ่งอัน ให้สามารถประกอบกันแล้วได้พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด ในส่วน<br />

ของเรื่องการเคลื่อนย้ายได้ การก่ออิฐในแบบธรรมดาปกติ จะไม่มีโครงสร้างรองรับเพื่อ<br />

ให้สามารถจับยกเป็นโมดูลได้ ทำาให้เราออกแบบโครงหิ้วตรงเพิ่มเข้ามา เพื่อช่วยในเรื่อง<br />

การขนย้าย และในการติดตั้งนั้น โมดูลอิฐมันจะอยู่ด้วยเองอันเดียวไม่ได้ แต่ต้องอยู่สอง<br />

อัน ซึ่งการตั้งอยู่ของโมดูลสองอันก็เพื่อทำาให้เกิดสเปซให้สามารถใช้สอยได้<br />

จริยาวดี: และฟอร์มโดยรวมก็มาจาก Arch ในสมัยก่อน ถ้าเราก่อฟอร์มแบบนี้ในการทำา<br />

ซุ้มทางเข้าเจดีย์ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่พอเราสร้างในแบบโมดูลชิ้นเดียว เราก็ต้องหาวิธีให้<br />

น้ำาหนักไม่มากเกินไปสำาหรับการขนย้าย และก็สามารถอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง ในขณะเดียวก็<br />

สามารถติดตั้งบนไซต์และรื้อถอนกลับมาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง<br />

มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

จริยาวดี: จริงๆ แล้ว สิ ่งที ่จะออกมาเป็นสรุปสุดท้ายของพาวิเลียนนี ้ มันได้ผ่านกระบวนการ<br />

เพื่อตอบคำาถามของเรามาค่อนข้างเยอะ ทำาให้เราคาดหวังว่าอย่างน้อย คนที่เข้ามาเยี่ยม<br />

ชมจะได้มองวัสดุที่เป็น <strong>Vernacular</strong> และยังเห็นประโยชน์ของมันอยู่ แล้วได้นำาวัสดุเหล่านี้<br />

ไปคิดพัฒนากระบวนการใช้มันต่อไปได้ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ กระบวนการก่อสร้าง pavilion<br />

นี้ก็จะถูกบันทึกไว้ว่า ได้ผ่านกระบวนการคิดของทั้งเราและช่างก่อสร้างมาเยอะแค่ไหน<br />

ซึ่งการบันทึกนี้น่าจะเป็นส่วนที่สำาคัญมาก<br />

162<br />

ASA18_Book_180419.indd 162 24/4/18 16:10


้<br />

Luke: I would love the visitors to take away the idea that vernacular architecture<br />

is not the traditional or old-fashion way of doing things. We have tried<br />

to make something that is alive and new, possibly have a relationship with<br />

modern lifestyle as well. Also, we address a message that material is not<br />

something that you just buy and get (them) off the shelves but something that<br />

can be researched, investigated, studied and developed that you can come<br />

out with the new discovery.<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

จริยาวดี: สำาหรับคนรุ่นใหม่ที่ผ่านเหตุการณ์มาไม่เยอะ ก็อาจจะไม่ตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม<br />

กับสถาปัตยกรรมมากนัก แต่นี่จะเป็นยุคที่จะโดนผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวด<br />

ล้อมของโลกค่อนข้างเยอะ เทียบกับยุคก่อนหน้านี้ ที่โลกค่อนข้างคงที่กว่า ขอให้ตระหนักถึง<br />

ธรรมชาติให้มาก และคิดถึงว่าจะอยู่ร่วมธรรมชาติได้อย่างไรให้ดีกว่ านี<br />

Luke: Possibly, they have a fairly bad impression that vernacular architecture<br />

is something a very traditional and out of style. But we just would like to<br />

show them an essence through this pavilion in which vernacular architecture<br />

is relevant in contemporary society. It is possible to investigate the traditional<br />

things as well as modern things in order to create a new combination that<br />

people have not seen before.<br />

ก่อพงษ์: สถาปนิกรุ่นใหม่อย่างผมก็ได้พยายามหาความรู้พื้นถิ่นเพื่อมาอ้างอิง เราก็ต้อง<br />

การคนรุ่นเก่าที่มีองค์ความรู้เหล่านี้เพื่อมาแนะนำา และในงานครั้งนี้ทางทีมงานจัดงาน<br />

สถาปนิก ‘61 ก็ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้ความรู้เราค่อนข้างเยอะเช่นกัน<br />

163 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 163 24/4/18 16:10


MEETING SPACE<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย สุริยะ อัมพันศิริรัตน์<br />

จาก Walllasia<br />

ASA18_Book_180419.indd 164 24/4/18 16:10


แนะนำาตัว<br />

ผม สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ เป็นสถาปนิกที่ทำางานเกี่ยวกับภูมิสถาปัตยกรรมและงาน<br />

สถาปัตยกรรม ซึ่งเราทำางานด้านภูมิสถาปัตยกรรมก่อน ตอนนี้เป็นเวลากว่า 20 ปี<br />

แล้ว แต่เพิ่งจดบริษัทชื่อว่า Walllasia ที่จดทะเบียนได้มาประมาณ 10 ปีกว่า ซึ่งทาง<br />

สถาปัตยกรรมก็เริ่มจากงานวัดก่อน แต่หลังๆ ก็จะมีงานพาณิชย์เข้ามาเยอะ ปกติแล้ว<br />

การทำางานของเรา ก็ทำาภูมิสถาปัตยกรรมกับงานสถาปัตยกรรมไปด้วยกัน ข้อดีก็คือ<br />

เราเห็นและเข้าใจบริบทโดยรวม ทั้งเรื่องเมืองและการเข้าถึงกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว รวมทั้ง<br />

ธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำาคัญของการออกแบบสถาปัตยกรรมของเรา คือการ<br />

ต้องเข้าไปดูว่าในพื้นที่นั่นมีอะไร อยู่ที่ไหนอยู่ก่อน ทิศทางแดดลมฝนมันเป็นอย่างไร นี่คือ<br />

สิ่งสำาคัญมากๆ พูดง่ายๆ ก็คือ งานของเราต้องมีความเกี่ยวพัน อยู่ง่าย และเหมาะสม<br />

อยู่กับบริบทนั้นๆ<br />

ก่อนหน้าที่ผมทำางานภูมิสถาปัตยกรรมนั้น ตอนที่ผมจบมาผมไม่เคยคิดจะเป็นสถาปนิก<br />

คืออยากทำางานศิลปะ ผมเลยทำาทุกอย่าง สมัยก่อนผมรับจัดงาน Exhibition และทำา<br />

ทุกอย่างเลย ตั้งแต่เขียนภาพ Perspective บางวันก็เลื่อยไม้ แกะสลัก จนสุดท้ายแล้ว<br />

เพื่อนผมที่เป็นพาร์ทเนอร์คนปัจจุบันนี่แหละ เขามาบอกว่าผมน่าจะทำางานสถาปัตยกรรม<br />

นะ และประจวบพอดีกับที่หลานผมไปบวช เขาให้ทำากุฏิ พอทำาหลังแรกนี้เท่านั ้นแหละ ได้<br />

รางวัลที่ AR เลยพอทำาเสร็จ หลวงพ่อก็ทำาอีก 4-5 หลัง แล้วทาง ART4D ส่งไปให้ อีกปี<br />

หนึ่งมีหนังสือมาสัมภาษณ์เต็มเลย คือเราไม่รู้อิทธิพลของรางวัลนั้นมันเป็นอย่างไร สิ่งที่<br />

เราทำานั้นมาทั้งหมด พอผสมผสานแล้วมันก็กลายเป็นสถาปัตยกรรม แต่ใช่ว่ากุฏินั้นเป็น<br />

หลังแรกนะ มันก็มีอีกหลายงานที่ผมทำา แต่ว่ามองไม่เห็น เราไม่ได้เก็บภาพไว้เลย เพราะ<br />

ทำาเยอะมาก คือคนเห็นงานเราเฉพาะงานวัด<br />

ผมวาดภาพทุกวันเป็น A1 ตอนทำาภูมิสถาปัตยกรรมสมัยก่อนนั้นผมทำาเป็น A0 เลยนะ<br />

เป็นสเก็ตล้วนๆ สถาปัตยกรรมจริงๆ ตัวมันไม่มี แต่มันเป็นหลายๆ อย่างมารวมกัน<br />

สำาหรับผมนะ มันเป็นทั้งภูมิสถาปัตยกรรม เป็นทั้งปรัชญา งานทางด้านการจัดการ งาน<br />

ทางด้านการตลาด เป็นวิถีชีวิต เป็นทุกๆ อย่างอยู่ในนั้นหมดเลย ในการทำางานผมชอบ<br />

เปรียบเทียบกับดอกไม้ ยกตัวอย่างงานที่ได้รางวัล AR มีคนถามผมว่ามันให้รางวัลกัน<br />

165 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 165 24/4/18 16:10


อย่างไร ผมก็ตอบไม่ได้ แต่รู้สึกแบบว่า มีป่าอยู่แห่งหนึ่ง ที่มันมีดอกไม้เกิดขึ้น คือเรารู้ว่า<br />

นี่คือป่าประเภทไหน แล้วดอกไม้มันก็เกิดขึ้นในป่านั้นได้แบบน่าประหลาดใจ โดยที่เรารู้ว่า<br />

ดอกไม้มันเกิดขึ้นได้ ในอุณหภูมิแบบไหน ทำาให้เกิดดอกไม้ขึ้นมาแบบน่าประหลาด แต่ก็<br />

เข้ากันได้กับป่าและดีกว่าปลูกเอง นี่ก็คือสถาปัตยกรรมที่ผมพูดถึง ซึ่งดอกไม้ที่มันแปลก<br />

ประหลาดอาจเพราะว่ากำาลังเตรียมพร้อมกับอีก 10 ปีข้างหน้าก็น่าจะเห็นภาพชัด เพราะ<br />

ว่างานสถาปัตยกรรม ถ้าสถาปนิกมองไปถึงอนาคตได้ดีกว่า มันก็จะออกแบบงานได้ดีกว่า<br />

บางงานเราใช้เวลา 2-3 ปี ถ้าเราทำาอยู่กับที่ก็อาจจะตกยุคเลยก็ได้ เวลาเราทำางานก็ต้อง<br />

คิดถึงอนาคต สถาปนิกก็เลยต้องศึกษาตลาดเวลา เพราะว่าสถาปัตยกรรมเป็นงานศิลปะ<br />

ที่ใช้เงินเยอะมากแล้วก็ทำาลายทรัพยากรเยอะมาก ถ้าเราไม่มีองค์ความรู้พอ แน่นอนว่า<br />

มันจะทำาลายเยอะจริงๆ และไม่ได้อะไรกลับมาด้วย<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

วัสดุที่ผมได้รับคือ ไม้ไผ่ นั่นทำาให้ผมได้กลับไปดูว่า ไผ่นั้นมีคุณสมบัติอย่างไรก่อน และ<br />

สามารถทำาอะไรได้บ้าง หลังจากนั้นก็จะเป็นเรื่องของคอนเทนต์ที่ได้มา ก็คือที่นั่งพักคอย<br />

ที่ต้องออกแบบ สิ่งเหล่านี้จะสามารถออกแบบร่วมกันได้อย่างไร<br />

ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ และกระบวนการ<br />

ออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

นอกจากในเรื่องวัสดุแล้ว ผมคิดว่าไผ่มันน่าจะทำาโค้งได้ดีกว่าตรง ผมก็เลยทำาให้มันโค้ง<br />

ดีกว่า (หัวเราะ) แต่จะทำาโค้งอย่างไรก็จำาต้องมีจุดยึดตัวจับ เมื่อจุดยึดมารวมกันก็ทำาให้<br />

ชุดโครงสร้างเกิดขึ้น ซึ่งชุดโครงสร้างนี้ก็ควรเกิดประโยชน์อย่างอื่นด้วย ผมจึงออกแบบ<br />

โครงให้กลายเป็นที่นั่งได้ ยืนได้ ที่เหลือก็จะเรื่องการผสานจุดต่อต่างๆ โดยสิ่งที่ผมคิด<br />

ก็คือ ผมตั้งใจทำาให้วัสดุที่ดูเก่าสุด เกิดการใช้งานในรูปแบบที่ดูใหม่ที่สุด เพราะกลุ่มคน<br />

ที่เข้าไปใช้พาวิเลียนจะเป็นคนรุ่นใหม่ ที่มานั่งเล่น นั่งพัก นั่งใช้โซเชียลมีเดีย แบบอเนก<br />

ประสงค์จริงๆ<br />

166<br />

ASA18_Book_180419.indd 166 24/4/18 16:10


มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

จริงๆ ผมว่าไผ่เป็นสิ่งที่เขาเห็นอยู่เป็นประจำ า เพียงแต่ผมแสดงให้พวกเขาได้เห็นว่า โดยวิชา<br />

ชีพสถาปนิกนั้น สามารถออกแบบสิ่งใหม่ๆ ได้ในวัสดุเดิมๆ เป็นการสร้างเข้าใจเรื่องการ<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรมกับคนทั่วไป<br />

เพราะสถาปัตยกรรมสำาหรับผมนั้น จะประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ หนึ่งคืองานช่าง สอง<br />

คืองานก่อสร้าง สามก็คือเรื่องของปรัชญา ที่ว่าด้วยเรื่องชีวิตมนุษย์และศิลปะ งาน<br />

ก่อสร้างที่สร้างแล้วไม่เป็นศิลปะก็คืองานก่อสร้าง งานก่อสร้างที่สร้างเสร็จเเล้วเป็นศิลปะ<br />

ก็คืองานสถาปัตยกรรม<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ผมอยากให้คนรุ่นใหม่มีความเข้าใจและคอยติดตามกระแสโลก แต่ก็ต้องไม่ลืมย้อนมาดู<br />

รากตัวเองเช่นกันว่า เรามีของดีอะไรอยู่ และจะนำามาใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างไร โดยที่<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สามารถเป็นการร่วมกันระหว่างวัสดุสมัยใหม่กับวิถีชีวิตดั้งเดิมได้<br />

ด้วยการผสานเรื่องเทคนิคงานช่างเข้าไป ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ ก็ต้องสอดคล้องกับบริบท<br />

พื้นที่ตรงนั้นด้วย จึงจะทำาให้งานสถาปัตยกรรมมีความงดงาม<br />

167 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 167 24/4/18 16:10


MOVING SPACE<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย ศ.ดร.วีระ อินพันทัง และ พิช โปษยานนท์<br />

สัมภาษณ์ ศ.ดร.วีระ อินพันทัง<br />

ASA18_Book_180419.indd 168 24/4/18 16:10


แนะนำาตัว<br />

อาจารย์วีระ อินพันทัง อยู่สังกัดภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร สอนมาแล้ว 30 กว่าปี ผมเป็นคนท้องถิ่นโดยกำาเนิด อยู่เรือนไทย<br />

ตอนเด็กๆ ก็เลยแวดล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ช่วงที่เรียนแรกๆ จบใหม่ๆ ผม<br />

ถูกดึงเข้าไปสู่โลกของสถาปัตยกรรมสากล จนลืมรากเหง้าของตัวเองไประยะนึง ทั้งๆที่<br />

ธีสิสปริญญาตรี ผมทำาเรือนชาวไร่ ผมต้องกลับไปที่ต่างจังหวัด ไปค่อยๆ ดูเรือนของ<br />

ชาวบ้าน แล้วก็ทำาธีสิสออกมา แต่พอจบออกมาก็ลืม และโดนดึงเข้าไปในโลกสถาปัตย-<br />

กรรมโมเดิร์น จนถึงจุดนึงก็ได้มาเป็นอาจารย์ ได้มาเริ่มสนใจงานวิจัย โดยมีอาจารย์<br />

อรศิริ ปาณินท์ เป็นแบบอย่าง ผมเริ่มทำาวิจัยพื้นถิ่น ผมทำาที่เรือนเครื่องผูกในแถบภูมิภาค<br />

ตะวันตกใน 4 จังหวัด ทั้ง เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี เพราะว่าผมคุ้นเคยกับ<br />

เรือนพื้นถิ่นและคุ้นเคยกับพื้นที่<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

ผมได้รับโจทย์เป็นวัสดุไม้ จุดเริ่มต้นก็คือ ข้อต่อไม้แบบ เถร-อด-เพล (ข้อต่อแบบไร้ตะปู)<br />

ซึ่งมีมานานแล้ว และผมก็รู้จักข้อต่อนี้แบบผ่านงานเขียนของอาจารย์เอนก นาวิกมูล ที่ลง<br />

ในวารสารเมืองโบราณ แกเขียนถึงว่ามีที่วัดไทร และเราก็ตามไปดู แล้วคือพระเป็นคนที่<br />

เอามาประยุกต์ข้อต่อนี้จากของเล่น จนกลายเป็นข้าวของเครื่องใช้ และซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ<br />

แม้กระทั่งวามารถทำาเครื่องตั้งที่มีหน้าตัดไม้ไผ่ 1x1 ซม. เอามาทำาข้อต่อ เถร-อด-เพล<br />

กลายเป็นเครื่องตั้งหรือที่ตั้งสงฆ์ขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 เมตรได้ ที่มันซับซ้อนมาก<br />

เพราะว่า Member มันมีแค่ขนาด 1x1 ซม. เท่านั้น ซึ่งตอนนั้นมีโอกาสได้ทำางานวิจัย<br />

กับ อาจารย์อภิรดี เกษมศุข และอาจารย์สุคตยุติ จารุนุช ซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์ที่นำาข้อ<br />

ต่อแบบนี้ มาพัฒนาเป็นสถาปัตยกรรม เพราะพระที่วัดไทรท่านก็สามารถทำาเป็นเก้าอี้<br />

โต๊ะเครื่องแป้ง ส่วนใหญ่เป็นข้าวของเครื่องใช้ แต่เราเห็นว่ามันมีศักยภาพพอที่จะทำาเป็น<br />

สถาปัตยกรรม ก็เลยลองเอามาใช้<br />

169 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 169 24/4/18 16:10


้<br />

ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

ตอนได้รับโจทย์พาวิเลียนเป็นไม้ ผมเลยเอาข้อต่อนี้มาออกแบบเฉพาะ Pavilion นี้เลย<br />

เพราะว่างานนี้ต้องอยู่ภายในอาคาร และมีแนวคิดที่จะทำ าเป็นโครงถอดประกอบได้ วิธีการ<br />

ใช้ออกแบบง่ายๆ เลย ก็คือเอาข้อต่อนี้มายืด ถ้ายืดไปทางนอนก็เป็นคาน ถ้ายืดไปทางตั้ง<br />

ก็เป็นเสา และเมื่อต่อกันทั้งหมดก็จะเป็นเฟรมได้ ก็เลยทดลองเป็นโมเดลในเชิงแนวความ<br />

คิดว่า ถ้าเรายืดข้อต่อแล้วทำาเป็นเฟรม หน้าตามันจะออกมาเป็นยังไง ทั้งหมดเป็นข้อต่อ<br />

แบบเดียวกัน แล้วทุกข้อต่อใช้วิธีแบบเดียวกันนี ้ ก็รวมกลายเป็นเฟรม นี ่คือตัวแนวคิดเริ ่มต้น<br />

แล้วจากนั้น ก็นำามาปรับให้เข้ากับพื้นที่ประมาณ 12x12 เมตร ก็เลยต้องมาทำาเฟรมที่มี<br />

ขนาด 9x9 เมตร ซึ่งเฟรมพวกนี้เกิดจากการออกแบบผ่านโมเดลนะ เพราะว่าสเก็ตแล้ว<br />

มันซับซ้อนเกินไป(หัวเราะ) ก็เลยเริ่มจากหุ่นจำาลอง โดยที่มีเงื่อนไขว่า เราจะทำาการต่อไม้<br />

เฉพาะในแนวตั้ง ส่วนในแนวนอนจะใช้ไม้แค่ 2 ช่วง ซึ่งช่วงนึงระยะ 1.50 เมตร ถ้ามีไม้<br />

ที่เกินกว่าสองช่วง เราจะมีการต่อไม้ทางนอน ซึ่งทำาให้ความแข็งแรงลดลง จะสังเกตได้<br />

ว่าทางนอนทั้งหมดจะไม่ยาวเกิน 2 ช่วง ซึ่งมันจะมีความซับซ้อนจากข้อต่อนิดนึง แต่ข้อ<br />

ต่อจะมีความซ้ำากันอยู่ ทำาให้นี่เป็นความซับซ้อนที่ทำ าได้ไม่ยาก ข้อดีของการใช้ข้อต่อแบบนี<br />

คือตรงที่เราสามารถถอดทุกอันออกมากองได้ และขนไปประกอบได้ที่อื่นต่อได้ แล้วการ<br />

ประกอบใหม่ก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเลย ไม่ต้องใช้ตะปู ไม่ต้องเลื่อย เพราะว่านี่การต่อ<br />

แบบเข้าไม้ทั้งหมด<br />

มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

สำาหรับคนที่ไม่สนใจก็สามารถเดินเข้าออกได้อย่างอิสระ แต่สำาหรับคนที่เข้าใจ สนใจ มอง<br />

ในรายละเอียดเห็นข้อต่อเห็นตัวอย่าง ก็จะเห็นความสนใจมากขึ้นๆ และก็จะรู้อีกด้วยว่า<br />

ทั้งหมดนี่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาเดิมๆ โดยไม่ได้ใช้ตะปูเลย และสามารถถอดมาประกอบ<br />

ใหม่ได้ ผมว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งคนที่เข้ามาจะสามารถเล่นข้อต่อได้ยาก<br />

ซึ่งข้อต่อตัวเล็กนั้นสามารถเล่นได้ ผมอยากให้มีวางไว้ ให้คนได้ทดลอง ถ้าเป็นไปได้<br />

อยากให้มีเฟรมเล็กๆ ให้เขาต่อดู<br />

170<br />

ASA18_Book_180419.indd 170 24/4/18 16:10


อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ผมคิดว่าถ้าย้อนไปเรื่องกำ าเนิดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สถาปัตยกรรมนั้นเกิดจากสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่น กำาเนิดแรกเราสามารถย้อนกลับไปดูชนเผ่าเร่ร่อน พวกซาไก ผีตองเหลือง เราจะ<br />

เห็นว่านี่การที่สถาปัตยกรรมกำาเนิดขึ้น จากการเป็นเพิงขึ้นง่ายๆ จากวัสดุท้องถิ่น แล้วค่อยๆ<br />

พัฒนาเป็นเรือนชั่วคราวและมั่นคงขึ้นตามลำาดับ เพราะฉะนั้นผมถือว่าสถาปัตยกรรมพื้น<br />

ถิ่นให้กำาเนิดสถาปัตยกรรม<br />

ถ้าในอุดมคติ ถ้าคนทั่วไปเข้าใจ เรียนรู้ และเห็นคุณค่า มันจะมีการรักษาและสืบสาน<br />

กันเอง เรามีภูมิปัญญา มีองค์ความรู้อยู่ แต่ว่าเราวางมันเอาไว้ และไปหยิบความรู้ที่อื่นมา<br />

ใช้ ทำาให้เกิดความไม่ลงรอยกับพื้นที่ ไม่ลงลอยกับวิถีชีวิต ถ้าเกิดเราสามารถเอาทั้งสอง<br />

ขั้วมาผสมผสานกันได้กันอย่างพอดี ก็อาจจะเกิดขั้วที่สามารถพัฒนาเป็นพื้นบ้าน และขั้วที่<br />

พัฒนาเป็นสมัยใหม่ได้<br />

ข้อต่อไม้ที่ใช้ในพาวิเลียน ที่ประยุกต์จากข้อต่อไม้แบบ เถร-อด-เพล<br />

171 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 171 24/4/18 16:10


INTRODUCTION<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย สาวิตรี ไพศาลวัฒนา และ JAKUB GARDOLINSKI<br />

ร่วมกับ เมธัส ศรีสุชาติ<br />

จาก PAGAA ร่วมกับ MAGLA<br />

ASA18_Book_180419.indd 172 24/4/18 16:10


แนะนำาตัว<br />

Jakub: Our company, PAGAA, is roughly two years old and growing slowly. Right<br />

now,we are open to all assignments. We have varying projects- from an exhibition<br />

up to a hospital. Personally, I am mostly interested in a discourse on society and<br />

architecture- the meaning of architecture upon us. However, I see every other works<br />

as an experience. Right now, it is an establishing period (of our company) whilst we<br />

are learning and exploring as well as interrelating with other creative fields.<br />

Our approach to architecture, in my view, has not been fixedly defined yet. Each<br />

project is married with different approach which based on distinct function,<br />

client and context. In this way, we see every project as a small experiment.<br />

For example, a commercial project in Bangkok is always involved with (some)<br />

limitation of cooperation client but we still try to initiate the better options.<br />

In this way, some projects could be highly focused on materiality whilst the<br />

others are emphasised on contextual surrounding. We see this approach as a<br />

dynamic experience which may be crystallised into a concrete practice.<br />

เมธัส: บริษัท MAGLA เราเป็นบริษัทขนาดเล็ก แนวทางการออกแบบของเราคือ การที่<br />

พยายามไม่ออกแบบในโจทย์นั้นๆ แต่พยายามจากหาวิธีการเพื่อที่จะได้ผลลัพธ์ออกมา<br />

โดยเราสนใจในเรื่องวัสดุ ทำาให้เราทดลองกับวัสดุที่หลากหลายในทุกๆ โครงการ เพื่อหา<br />

พระเอกในหนึ่งงานนั้นๆ ซึ่งเราก็อยู่ในช่วงการพัฒนากระบวนการของบริษัท<br />

โจทย์ที่ได้รับคือ วัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

เมธัส: งานนี้เราได้ถกเถียงอยู่กันสักพักใหญ่ๆ เพราะเราพยายามจะจับจิตวิญญาณของ<br />

พื้นถิ่นออกมา ก็คือพยายามจะเข้าใจว่าพื้นถิ่นคืออะไร พอถึงจุดนึงก็ทำาให้เราเข้าใจว่า<br />

สถาปนิกอาจจะไม่สามารถทำาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้นะ ถ้าถึงจุดนั้นเราก็จะไม่พยายามฝืน<br />

ก็เลยกลับมามองโจทย์ว่า Pavilion ของเรา ต้องการจะให้เกิดอะไร<br />

173 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 173 24/4/18 16:10


ในส่วนของวัสดุก็นึกถึงเรื่องของความยั่งยืน ความท้องที่ และวัสดุที่ไม่ต้องมาจากธรรมชาติ<br />

แต่อาจจะเป็นวัสดุรีไซเคิลแทน เราก็เลยไปมองพวกการ์ดบอร์ดและรีไซเคิลพลาสติกเพื่อ<br />

นำามาใช้ในการทำางาน และพยายามดึงวิธีการบางอย่างของสถาปัตยกรรมในอดีต เช่น<br />

อาคารที่ต้องวางอยู่บนฐานที่มีความหนัก เราเลยพยายามยกตัวงานเราบนฐาน โดยที่<br />

ฐานนั้นแทนที่จะหนัก แต่เราใช้พลาสติกที่เบา เพราะเราพยายามเปิดมุมมองใหม่ แม้<br />

กระทั่งใช้การ์ดบอร์ดเป็นผนัง มันก็ต้องมีดีเทลที่ทำาให้โมดูลของวัสดุแผ่นแข็งแรงได้ ทน<br />

เรื่องการรับแรง ทั้งอัดและดึง เราเลยพยายามไม่ใช้วัสดุที่ธรรมดาในการก่อสร้างในระบบ<br />

อุตสาหกรรมด้วย เช่น ไม้ อิฐ หิน ปูน แต่เราใช้กระดาษและพลาสติก ซึ่งนี่เป็นการเปิดมุม<br />

มองของเราเพื่อหาคำาตอบของคำาว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

สาวิตรี : เราได้รับโจทย์เป็น Introduction pavilion มันเหมือนเป็นแกลลอรี ่สเปซ ทำาให้<br />

เราย้อนกลับไปมองอดีตว่า จริงๆ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมันไม่เคยมีการทำ าเป็นมิวเซียมนะ<br />

ในอดีตทุกอย่างเป็นสเปซเพื่อการใช้ชีวิตและทำ างาน รวมถึงพื้นที่สาธารณะเท่านั้น มันไม่<br />

เคยมีสเปซมิวเซียมเลย เพราะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นเรื่องของฟังก์ชันเป็นหลัก แล้วอะไร<br />

สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้พาวิเลียนนี้ได้ ทำ าให้เราจึงใช้เรื่องฟังก์ชันเป็นหลักก่อน แล้ว<br />

เรื่องดีไซน์ค่อยตามมา เพราะหัวใจของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไม่ใช่เรื่องดีไซน์ ดังนั้นหัวใจของ<br />

พาวิเลียนนี ้คือควรจะทำาหน้าที ่เป็นแบ็คกราวด์ให้คนได้เข้าใจเรื ่องสถาปัตยกรรมพื ้นถิ ่นได้ดี<br />

ขึ้นนั่นเอง แต่ก็ยังสามารถเปิดความหมายให้เขาสามารถต่อยอดเองได้ด้วย<br />

มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

Jakub: We would like our pavilion to be a thought provoking. We would like<br />

to stretch the potential of the material and then people could have a new<br />

impression about it. In my view, it is important that people would realise what<br />

can be done with this cheap and simple material (cardboard). This approach<br />

is also applied in the way in which we challenge the static property of the<br />

structure with something that is very light such as the balloon to show the<br />

alternative potential of such material.<br />

174<br />

ASA18_Book_180419.indd 174 24/4/18 16:10


เมธัส: ผมอยากเห็นคนรีแอคชั่นกลับกับงานของเราในวิธีที่คาดไม่ถึง เพราะเราพยายาม<br />

ทำาให้พาวิเลียนมีความแตกต่างไปจากสเปซที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นเหมือนห้องที่ถูกยก<br />

ลอยขึ ้น มีขาที ่โล่ง มีช่องเปิดที ่อยู ่ในมุมแปลกๆ แล้วยังมีลูกบอลเป่าลมที ่กั ้นพื ้นที ่บางส่วน<br />

ที่พยายามท้าทายการรับแรงของโครงสร้าง<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

Jakub: I think, vernacular architecture is a true (meaning of) architecture. It<br />

responds to the certain needs that architecture should do which is not just an<br />

art or sculpture but replying to the functional purpose. Nowadays, especially<br />

in younger generation, they are overly fixated on star architects with specular<br />

renderings. In this way, I suspiciously wonder that architecture could be easily<br />

only a show case. But I believe that vernacular architecture could show us a<br />

different way and people can learn that what is the genuine value of architecture.<br />

เมธัส: ผมเชื่อว่าสถาปนิกจบใหม่ๆ เขาได้ความรู้จากสถาบันในเชิงการเป็นสถาปนิกมา<br />

ค่อนข้างเยอะแล้ว การที่เขาได้ไปเห็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ผมว่าน่าจะช่วยเปิดมุมมอง<br />

ให้เกิดความน่าประหลาดใจอย่างที่ผมเคยเห็น พอเขาเกิดความน่าประหลาดใจที่เห็นว่า<br />

มีความเป็นไปได้ ก็จะทำาให้เขาลงไปค้นคว้าต่อยอด กลายเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ได้<br />

เกิดมาจากโรงเรียนได้<br />

สาวิตรี: เรายังคิดว่าทุกวันก็ยังเรียนอยู่ ก็ยังตื่นเต้นกับการได้เจอสิ่งใหม่ๆ ทั้งในเมือง<br />

ในชนบท ก็ยังมีอะไรใหม่ๆ ให้ได้เรียนรู้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเด็กที่จบใหม่ หรือทำางาน<br />

มาแล้ว เราคิดว่าองค์ความรู้เก่าๆ พวกนี้ มันเปิดโลกให้เราเห็นว่าจริงๆ แล้ว คุณสมบัติ<br />

ของวัสดุในแต่ละชนิด ไม่ได้มีลิมิตแค่ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน แต่ถ้าเราเข้าใจมันจริงๆ ว่าใน<br />

แต่ละวัสดุมีของดีของเสียอย่างไร บางทีเราก็อาจไม่ต้องใช้มันในแบบปกติทั่วไปก็ได้ แต่<br />

ถ้าเรามีความต้องการอะไรบางอย่างที่มาสอดคล้องพอดี เราอาจจะประยุกต์หรือว่าปรับ<br />

ตัววัสดุให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันนั้นๆ ก็ได้ ซึ่งการเรียนรู้แบบนี้ก็น่าจะทำาให้งานเรา<br />

น่าสนใจมากขึ้น<br />

175 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 175 24/4/18 16:10


MAIN STAGE<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย ศาวินี บูรณศิลปิน และ Tom Dannecker<br />

จาก THINGSMATTER<br />

ASA18_Book_180419.indd 176 24/4/18 16:10


แนะนำาตัว<br />

Tom: Our practice responds to the material culture around us. We’re always<br />

trying to find the optimum relationship between people, object, and environments.<br />

In practice, this means that we often find ourselves trying to convince<br />

clients that something they are very familiar with, or even have grown up with<br />

is actually OK to do again. Some old ideas are still very good ideas.<br />

We often go to parties at a house we designed a few years ago. All the Thai<br />

guests say “This is exactly like the house I grew up in. This is a typical Thai<br />

house, like a Thai modernist house from the 70s.” And all the foreign guests say,<br />

“This is nothing like anything in Thailand.” We think they are both wrong. We<br />

think it is exactly like a Thai house right now. That’s what we’re trying to do.<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

Tom: We were given bamboo as a material to work with. It is not a material that I would<br />

have chosen because, viewed through the lens of Western tourism, I feel strongly that<br />

bamboo presents a cliche`d image of Thailand. As a Westerner myself, I would not feel<br />

comfortable introducing bamboo – I think it would feel somehow exploitive. Bamboo<br />

is not the material of vernacular architecture of the Thailand I know. Thai vernacular<br />

architecture that I know is made of steel, glass, plastic and fluorescent lights. So in<br />

general, those are the materials that we try to use. But, I will try to get over my cultural<br />

hang-up with bamboo. When we talk about some of our earlier projects, we explain<br />

that we are trying to “liberate technology from kitsch”. We took dumb, cheap things that<br />

we saw all the time on street corners, and by arranging them, and contextualizing them<br />

into a gallery space, we made them beautiful. We made them into art. There’s no reason<br />

we can’t do the same thing with bamboo. And when we are done, we will make THIS cool.<br />

177 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 177 24/4/18 16:10


ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

Tom: We will try to make a pavilion that is the opposite of a bamboo hut. A<br />

hut is small and enclosed; we want something big and open. Also, it needs<br />

to be a shape that demonstrates the physics of bamboo – it is actually an<br />

amazing material. It is super-strong and light, and it is cheap because it grows<br />

fast. However, it does not last very long; that is why it is not a good material for<br />

permanent architecture. But this pavilion is not permanent architecture so it is a<br />

logical material to use here.<br />

We tried to design the pavilion as big as possible in the space we were given<br />

- 21x15x4 metres, but it has almost no volume; it is very delicate. It does not<br />

fit the 90-degree geometry of the trade show. It creates two internal spaces at<br />

the bottom – the conversation baskets, and a third one behind the stage. But<br />

for the most part, the created space is kind of there but not there. The pavilion<br />

contains space without enclosing it. The shape of the pavilion is very computer-generated,<br />

all smooth and curvy. But the reality will be a little different. We<br />

always have a tension between a totally rigid design and how things actually<br />

get built by real people who have developed their own way of working with<br />

materials over a long time, and also with the nature of the material itself. We<br />

aim to be surprised with the final production of the pavilion.<br />

Bamboo is a natural product, which has its traditional assembly methods –<br />

you usually put it together in its final position. But we have to combine that<br />

with the unique properties of the trade show, where you have to build the<br />

whole thing very fast. So, we break down the structure into pieces according<br />

to the size of a truck so then they can be reassembled at the final place. In a<br />

sense, it is a combination of the mindsets of mass production, and prefabrication,<br />

and traditional craft.<br />

178<br />

ASA18_Book_180419.indd 178 24/4/18 16:10


มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

ศาวินี: จริงๆ แล้วไม่ได้คาดหวังอะไรจากคนอื่น เพราะงานนี้ค่อนข้างมีความเปิดกว้างมากๆ<br />

ถ้าคนที่เข้ามาใช้งานแล้วรู้สึกสนุก รู้สึกสนใจ เราก็ดีใจ แต่เรากลับมีความคาดหวังกับตัวเรา<br />

เองมากกว่า เพราะว่าเราไม่เคยทำางานแบบนี้ ดังนั้นนี่จึงเป็นงานทดลองงานนึง และอย่าง<br />

ที ่บอกไปแล้วว่าชอบงานสถาปัตยกรรมพื ้นถิ ่นอย่างนึงคือ ความที ่ไม่ต้องยึดติดอะไรตายตัว<br />

งานนี้เราก็จะได้ลองไอเดียนี้พร้อมกับทดลองร่วมกับหลายๆ ฝ่าย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

Tom: I would love them to expand the definition of vernacular a little bit. I<br />

have given the impression that the way “vernacular” is often used in Thai it<br />

means “old-timey”. Also, when you (Thais) look at traditional architecture, it<br />

is just a fixed thing from the past that you either make a replica of, or then<br />

you go on to design something that is totally different. You are missing a lot of<br />

connections that you could make to traditions. In my opinion, people should look<br />

at contemporary vernacular architecture, with or without architects. There’re<br />

some very special examples in the everyday.<br />

ศาวินี: อยากให้ลองมองสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นให้มากขึ้น เพราะเรารู้สึกว่าเวลาที่สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นรวมตัวเกิดขึ้นนั้น มันเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ระหว่างหลายๆ สิ่งรวมกัน และพัฒนา<br />

ไปด้วยกัน คือเรานำาความรู้จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมาสร้างงานสถาปัตยกรรมปกติร่วม<br />

สมัย แล้วเมื่อเวลาผ่านไปเจ้าสถาปัตยกรรมอันนี้มันก็อาจจะกลายเป็นของปกติหรือของ<br />

พื้นถิ่นในต่อไปโดยที่เราไม่รู้ตัว<br />

179 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 179 24/4/18 16:10


ASA MEMBER<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย นพพล พิสุทธิอานนท์<br />

จาก QUINTRIX ARCHITECTS<br />

ASA18_Book_180419.indd 180 24/4/18 16:10


แนะนำาตัว<br />

นพพล พิสุทธิอานนท์ จากบริษัท QUINTRIX ครับ เราเป็นบริษัท Design architect<br />

ที่ปกติรับงานทุกประเภท แต่ที่ถนัดจะเป็นอาคารตั้งแต่ขนาดกลางขึ้นไป โดยเฉพาะ<br />

อาคารสูง ซึ่งก่อตั้งมาได้ปีนี้เป็นปีที่ 8<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

ทางเราได้รับมอบหมายในการออกแบบส่วน ASA Member ก็คือส่วนที่ให้สมาชิกสมาคม<br />

เอางานตนเองมาจัดแสดง ซึ่งวัสดุที่นำามาใช้ในส่วนนี้จะเป็นไม้ไผ่ โดยที่ความน่าสนใจ<br />

ของไม้ไผ่นี้ก็คือ สามารถขึ้นรูปได้หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะดัดโค้งหรืออะไรก็แล้วแต่<br />

จึงเป็นวัสดุที่มีความน่าสนใจในการทดลองขึ้นรูปทรงใหม่ๆ<br />

ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

แนวความคิดในการออกแบบ เราจะคำานึงถึงในส่วนจัดแสดงของสมาชิกที่มีความหลาก<br />

หลายในพื้นที่อันจำากัดเป็นอย่างแรก เราจึงพยายามทำาให้ตัวพาวิเลียนไม่ไปรบกวนกับผล<br />

งานของสมาชิกมากที่สุด โดยที่เราได้ใช้ไม้ไผ่ทั้งต้น ตั้งตรงทั้งหมดด้วยความสูง 4 เมตร<br />

และส่วนข้างล่างออกแบบให้พยายามเรียบที่สุด แต่เราจะไปเล่นดีไซน์ในส่วนของหลังคา<br />

ด้านบนแทน โดยนำาไม้ไผ่มาสานและดัดขึ้นรูปเป็นไฮเพอร์โบลิกพาราโบลอยด์ และมีการ<br />

เล่นระดับลดหลั่นกันไป<br />

181 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 181 24/4/18 16:10


มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

ผมตั้งใจให้เป็นพาวิเลียนนี้ สามารถดึงคนเข้ามาเพื่อดูผลงานของเหล่าสถาปนิก ว่าแต่ละ<br />

บริษัททำาอะไรกันอยู่ โดยที่ตัวหลังคาไม้ไผ่ที่เราตั้งใจออกแบบก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ในการ<br />

ดึงดูดคนให้เข้ามา และเมื่อคนเข้ามาก็ลืมส่วนหลังคาไป แล้วไปตั้งใจดูผลงานของแต่ละ<br />

สมาชิกแทน รวมทั้งมีการกำาหนดเส้นทางการเดินชมให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วย<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

พื้นถิ่นนั้นมีความสำาคัญมากๆ โดยเฉพาะที่เราเป็นสถาปนิกด้วยแล้ว แต่ผมก็อยากให้<br />

แปลคำาว่าพื้นถิ่นเป็นสมัยใหม่เพิ่มขึ้นนิดนึง ว่าไม่ใช่พื้นถิ่นแบบสมัยโบราณที่เราเคยพูด<br />

ถึงกัน แต่จะใส่ความคิดเข้าไปอย่างไรให้มีความน่าสนใจ<br />

182<br />

ASA18_Book_180419.indd 182 24/4/18 16:10


การทดลองวัสดุ และขั้นตอนการติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้รับเหมา<br />

183 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 183 24/4/18 16:10


ASA<br />

INTERNATIONAL<br />

DESIGN COMPETITION<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย สุภาพร วิทยถาวรวงศ์<br />

จาก BEAUTBUREAU<br />

ASA18_Book_180419.indd 184 24/4/18 16:10


แนะนำาตัว<br />

สุภาพร วิทยถาวรวงศ์ เป็น Design director ของ Beautbureau<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

เราได้รับให้ออกแบบ ASA International Competition Design Pavilion โจทย์ที่ได้รับ<br />

ก็คือวัสดุไม้และโจทย์ของกระบวนการที่เป็นคราฟท์ เป็นงานทำามือ<br />

ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

เราเริ่มต้นกระบวนการความคิดจากเป้าหมายก่อนว่าพาวิเลียนนี้มันควรจะตอบสนองกับ<br />

ธีมของ Design competition ประจำาปีนี้ ซึ่งมีชื่อว่า VEX-Agitated <strong>Vernacular</strong> ทำาให้<br />

เราก็เริ่มคิดว่าแต่ละชนิดของ Agitation ที่จะเอามาทำาให้เข้ากันกับวัสดุที่เราได้รับได้บ้าง<br />

และจะเข้ากับกระบวนการ Prefabricated หรือเทคนิคการก่อสร้างได้อย่างไร เราก็คิด<br />

ตั้งแต่วิธีการปลอกเปลือก ขัดสี อาบน้ำายาให้เขียว ขัดสีทำาให้ขาว นำาเผาไฟให้ดำา เผาให้<br />

เป็นถ่าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็น Agitation ที่เราคิดว่าสามารถนำามาใช้ได้กับวัสดุ<br />

ทีนี้พอเราพูดถึงกระบวนการ พูดถึงการ Prefabricated หรือเทคนิคการก่อสร้าง เราก็<br />

คิดถึงวิธีการตัดคว้านเพื ่อให้เกิดสเปซ ซึ ่งก็เป็นวิธีที ่เราค้นพบใน <strong>Vernacular</strong> architecture<br />

และ Traditional architecture มานานแล้ว ซึ่งเราก็สามารถอ้างอิงได้จากกระบวนการ<br />

ตรงนี้ได้ หรือว่าวิธีการผูกวัสดุให้เข้าด้วยกัน มันก็สามารถอ้างอิงได้จากเรือนเครื่องผูก<br />

แล้วเราแยกเป็นมินิพาวิเลียนสองอันหลัก เป็นสีขาวกับสีดำาอย่างที่พูดถึงกระบวนการทำา<br />

สีไม้ อันที่เป็นสีดำาเราใช้กระบวนการตัดคว้าน แรกๆ เรามีชื่อ Matta Clark แต่พอหลัง<br />

จากที่เราเริ่มประสานงานกับทางผู้รับเหมา มันก็มีชื่อเล่นใหม่ว่า Jason The Chainsaw<br />

Massacre คือด้วยวิธีการของกระบวนการทำางานที่ใช้การตัด ที่ค่อนข้างจะดิบเถื่อนเพื่อ<br />

ให้เกิดสเปซขึ้นมา<br />

185 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 185 24/4/18 16:10


มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

ความคาดหวังของเราในการดีไซน์งานนี้ตั้งแต่แรก เราคิดว่ามันควรจะเป็นเจ้าบ้านที่ดีให้<br />

กับผลงานที่คนส่งเข้ามาประกวดและก็มาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น คือเราอยากจะให้<br />

ผลงานและความคิดเหล่านั้นเป็นพระเอกมากกว่า คือเราไม่ได้ตั้งใจให้พาวิเลียนจะต้อง<br />

สื่อสารได้โดยตรงกับผู้ที่เข้ามาชมงาน แต่ตั้งใจจะสร้างสเปซที่สามารถ Host ผลงานที่<br />

เกี่ยวกับ <strong>Vernacular</strong> architecture เหล่านั้นมากกว่า ซึ่งถ้าคนที่มาชมเมื่อยก็สามารถ<br />

เข้ามานั่งแสกน QR CODE เพื่อดูผลงานต่างๆ ซึ่งเขาก็อาจจะได้ไอเดียความคิดใหม่ๆ<br />

เกี่ยวกับ <strong>Vernacular</strong> architecture ที่ผู้คนส่งมาแลกเปลี่ยนจากทั่วโลก<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

จริงๆ เราไม่ได้มอง <strong>Vernacular</strong> architecture ต่างจากสถาปัตยกรรมทั่วไปปกติอย่างไร<br />

เลย แต่ถ้าแก่นหรือหัวใจของ <strong>Vernacular</strong> architecture คือการต้องปรับกระบวน<br />

เปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลาไปตามโลกปัจจัยแวดล้อม มันก็ไม่ได้เป็นกระบวนการที่<br />

ต่างไปจากคิดงานสถาปัตยกรรมปกติเลย ดังนั้นเรามองว่ามันก็เป็นประโยชน์ในการที่<br />

จะช่วยให้แรงบันดาลใจ ช่วยให้เกิดความคิดใหม่ๆ และก็ในขณะเดียวกันก็ช่วยพัฒนาให้<br />

งาน <strong>Vernacular</strong> architecture ให้ไม่หยุดนิ่งอยูกับที่ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจว่ามันไม่ใช่<br />

เป็นแค่ Traditional ที่ตายตัวอย่างเดียว แต่เป็นความคิดปัจจัยแวดล้อมและการวิเคราะห์<br />

ของการตั้งปัญหาที่อยู่ในนั้น<br />

186<br />

ASA18_Book_180419.indd 186 24/4/18 16:11


187 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 187 24/4/18 16:11


ASA CLUB<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย ดนัย สุรสา และ สร้อยพลอย พานิช<br />

จาก STUDIO KRUBKA<br />

ASA18_Book_180419.indd 188 24/4/18 16:11


แนะนำาตัว<br />

ดนัย: สตูดิโอเปิดมาตั้งแต่ปี 2011 ตอนนี้ก็เป็นเวลา 6 ปี ตอนนี้เข้าปีที่ 7 บริษัทเราไม่<br />

ได้มีสไตล์อะไรแบบชัดเจนมากมาย แต่ธรรมชาติของงานบริษัทเราจะเป็นงานบ้าน เพราะ<br />

ฉะนั้นสำาหรับผมแล้ว บ้านเป็นงานที่ถือว่าเป็น Custom made อย่างนึง ซึ่งเราก็ต้อง<br />

ไปศึกษาเรื่องการใช้ชีวิตทุกอย่าง จนบ้านกลายเป็น Personal vernacular ในระดับนึง<br />

ซึ่งเป็นอะไรที่เหมาะสมกับเขาในสังคมนั้นๆ ณ ช่วงเวลานั้นๆ<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

สร้อยพลอย: ในตัววัสดุที ่เราได้รับคือ อิฐ เราก็มาคิดว่าอิฐในเชิงประวัติศาสตร์ของมันเอง<br />

การสร้างบ้านของคนสมัยก่อนจริงๆ แล้วเราใช้ดิน ขนมาเป็นกระบะแล้วนำามาแปะตรง<br />

ผนังบ้าง พื้นบ้าง เพื่อสร้างฟอร์มขึ้นมา ดังนั้นการที่ดินเริ่มกลายเป็นอิฐ เป็นเรื่องของ<br />

การเอื้ออำานวยในการเดินทางและขนส่ง และก็ทำาให้ดินมันแข็งแรงขึ้น พอมันกลายเป็น<br />

ดินที่ Mass product ขึ้นมา เราก็มีการผสมวัสดุอื่นๆ เข้าไปช่วยผสาน เช่น ปูน และ<br />

กลับกลายเป็นว่าของที่มันแข็งแรงขึ้น เบาขึ้น แต่มันก็มี Waste ที่เกิดขึ้นมากขึ้นด้วย<br />

เราก็เลยอยากที่ใช้ตัว Waste เหล่านี้ มาโชว์ในบางส่วนว่ามันสามารถที่นำากลับมาใช้ได้<br />

ในเชิงการก่อสร้างผนังและตกแต่ง ในขณะเวลาที่เดียวกันที่เราอยากจะโชว์ว่า อิฐที่เป็น<br />

ของเบาๆ แบบใหม่ เช่นพวกอิฐคอนกรีต มันสามารถนำามาใช้ที่ไม่ใช่แค่เรื่องโครงสร้าง<br />

อย่างเดียวได้ แต่ว่ามันสามารถโชว์ได้อย่างมีระดับ<br />

ดนัย: คืออิฐมันถูกผลิตมาเพื่อก่อผนัง ความน่าสนใจที่เราเห็นก็คือทุกๆ วันนี้ อิฐมันเป็น<br />

เรื่องของแพทเทิร์นในการวาง ดังนั้นมันอาจทำาให้ผนังที่ค่อนข้างแข็งมีฟังก์ชันที่มากขึ้นได้<br />

เช่นการที่สามารถระบายอากาศ หรือสามารถปิดกั้นมุมมอง และสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์<br />

ภายนอกกับภายในโดยที่ไม่เสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งในเรื่องแพทเทิร์นการเรียงของอิฐคือ<br />

สิ่งที่เราหยิบมาใช้ในการออกแบบ เป็น Installation กึ่งๆ Backdrop ของเวที จากของ<br />

ง่ายๆ ก็สร้างอะไรที่น่าสนใจขึ้นมาได้<br />

189 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 189 24/4/18 16:11


ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

สร้อยพลอย: เราได้ออกแบบพาวิเลียนของ อาษาคลับ ซึ่งก็คือเป็น Meeting point ของ<br />

ที่นั่งกิน ที่นัดเจอกัน มีดนตรีคอนเสิร์ตอะไรแบบนี้ เราก็เลยคิดถึงว่าพื้นที่ที่จะอำานวยให้<br />

สิ่งเหล่านี้ มันเกิดจากอะไร อันแรกเกิดจากที่เราคิดว่าสมัยก่อน เวลานัดเจอกัน มันเป็น<br />

ฟังก์ชันเดียว เวลาที่เราจะประชุม จะกินข้าว เราก็จะไปที่ที่ตรงนั้นไปแบบเดียว แต่พอถึง<br />

สมัยนี้เรากลับมีคำาถามขึ้นมาว่า ตอนนี้เราจะเจอกันอย่างไรดี เราจะเจอกันทางดิจิตอล<br />

หรือเราจะเจอกันจริงๆ แล้วก็ไปที่อื่นต่อ ก็เลยคิดว่าพื้นที่นี้เราอยากให้เป็นเหมือน Pocket<br />

park อันนึง คือเราดูงานอาษาในเชิง Urban และเจ้าอาษาคลับก็เหมือนเป็นจุดเล็กๆ ที่<br />

นัดเจอกันมากกว่า โดยที่อิฐที่ใช้ ก็อยากนำาเสนอในเรื่องแพทเทิร์น และก็เรื่องวัสดุที่เป็น<br />

ทางเลือกว่ามันสามารถนำามาใช้ในอีกแบบนึงได้ ที่ไม่ใช่แค่โครงสร้างผนัง<br />

ดนัย: อย่างที่พลอยบอก ว่าทุกวันนี้เวลาที่เราเจอกัน สิ่งที่เราให้ความสำาคัญคือการเจอกัน<br />

อย่างไรมากกว่า สิ่งที่เราตั้งใจทำาใน Pavilion นี้ก็คือ การจัดพื้นที่ได้พบปะ และสามารถ<br />

กิจกรรมได้หลายรูปแบบ ที่เอื้อต่อเขาในการสามารถไปเลือกพื้นที่ของตัวเองได้ ไม่ใช่แค่<br />

เฉพาะมาดูคอนเสิร์ตอย่างเดียว เขาอาจจะมาเพื่อนั่งแชทกับคนอื่น แล้วก็ส่งรูปที่ถ่ายใน<br />

งานออกไป ก็เหมือนคนที่อยู่ภายนอกงานก็ได้มาเจอเขา มาอยู่ในงานนี้ด้วยเหมือนกัน<br />

สร้อยพลอย: สิ่งที่เราคิดถึงจากการก่อสร้างอิฐ ก็คืองานเปียก คืองานปูน งานฉาบ ที่<br />

เกิดขึ้น ในแนวคิดของเราที่เกิดขึ้นจากว่าพาวิเลียนเป็นอะไรที่ต้องขึ้นเร็วลงเร็ว ก็เลย<br />

ออกแบบโมดูลของตัวการติดตั้งอิฐ ให้ใช้โครงเหล็กเป็นหลัก แล้วก็ใช้แพทเทิร์นของอิฐ<br />

มาต่อกัน เพื่อให้มันติดตั้งง่าย<br />

190<br />

ASA18_Book_180419.indd 190 24/4/18 16:11


มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

ดนัย: อย่างที่เราบอกมาแต่แรก คือการที่เราทำาให้เขาสามารถหาพื้นที่ของตัวเอง เราก็<br />

คาดหวังว่าในสิ่งที่เราสร้างไป คือมันไม่ใช้พื้นที่ค่อนข้างฟังก์ชันเป๊ะๆ บางส่วนก็จะเป็นก<br />

องของกล่องไม้ที่วางดูคล้ายๆ กองอิฐ ที่คนสามารถเข้าไปนั่งได้ ผมคิดว่าถ้าคนสามารถ<br />

เข้าไปจัดการพื้นที่ แล้วสร้างจุดนัดพบของตัวเองขึ้นมาได้โดยไม่ฟิกซ์กิจกรรม เราก็อาจ<br />

จะได้อะไรที่แบบเป็นการต่อยอดได้ เช่นการจัดแบบนี้ถ้าเอาไปทำาตรงระเบียงก็อาจจะดี<br />

สร้อยพลอย: แค่เราสร้างพื ้นที ่ขึ ้นมาเพื ่อให้คนเข้ามาใช้ ในการที ่เขามาใช้ในแง่ไหน เราค่อน<br />

ข้างเปิดกว้างให้เขาคิดเองทำ าเอง แต่ในเวลาเดียวกันที ่เราใช้วัสดุในการสร้างตัว Pocket park<br />

หรือการจัดวางที่นั่ง ก็อยากให้เขามีอะไรกลับบ้านไปนิดนึง ว่าวัสดุมันใช้อะไรได้มากกว่า<br />

แค่อิฐก่อและฉาบ หรือสวนไม่จำาเป็นต้องแค่เอาเก้าอี้มาแค่ตั้งเฉยๆ แต่มันสามารถมี<br />

อย่างอื่นได้ ซึ่งนี่เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่อยากเอากลับไปคิดได้<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ดนัย: สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในบ้านเราจริงๆ ดีไซน์หรือแม้กระทั่งคนทั่วไปก็ตาม มันจะ<br />

โดนมองว่าเป็นแค่บ้านชนบทธรรมดา เพราะเขาเห็นกันจนคุ้นตา แต่สิ่งที่ผมอยากจะให้<br />

ทุกคนใส่ใจกับมันคือ การลองเข้าไปสำารวจมันจริงๆ ศึกษามันจริงๆ ลองเข้าไปอยู่ใน<br />

บ้านแบบนี้จริงๆ ผมว่าความธรรมดาของมัน มันซ่อนอะไรไว้เยอะ ถ้าเราสามารถเรียนรู้<br />

จดจำาบันทึก และเปลี่ยนรูปแบบมันให้ยังคงมีประสิทธิภาพเหมือนเดิมได้ มันก็จะสามารถ<br />

สืบสานภูมิปัญญาความเป็นพื้นถิ่นของบ้านเราต่อไปได้<br />

สร้อยพลอย: ซึ่งถ้าเราศึกษามันจริงๆ เราก็จะรู้ว่าพื้นถิ่นมันเป็นอะไรที่ไม่ <strong>Ordinary</strong> เลย<br />

191 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 191 24/4/18 16:11


ASA<br />

SHOP &BOOK SHOP<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย วิภาวี เกื้อสิริกุล และ สิทธนา พงษ์กิจการุณ<br />

จาก A MILLIMETRE<br />

ASA18_Book_180419.indd 192 24/4/18 16:11


ขาวดำา<br />

แนะนำาตัว<br />

วิภาวี : บริษัท A Millimetre ได้เปิดมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว แต่ก่อนหน้านี้ พวกเราก็ทำางาน<br />

ดีไซน์กันเองมาบ้างแล้ว<br />

สิทธนา : พวกเราเชี่ยวชาญ ในงานประเภทปรับปรุงอาคาร เพราะว่าบริษัทเราเริ่มถูกพูด<br />

ถึง ก็จากงานปรับปรุงอาคารนี่แหละ ทำาให้งานที่เข้ามาส่วนมาก ก็มักจะเป็นงานปรับปรุง<br />

อาคาร ซึ่งจริงๆ แล้วพวกเราก็รับงานประเภทอื่นนะ(หัวเราะ) งานปรับปรุงอาคาร มักจะ<br />

เริ่มจากบริบทที่อยู่แต่เดิมก่อน ซึ่งมันส่งผลต่องานออกแบบเราอย่างไร<br />

วิภาวี : สำาหรับเรา งานออกแบบควรเริ่มจากที่ลูกค้ามีความต้องการอย่างไรมากกว่า<br />

โดยที่อาคารเดิมหรือบริบทเดิมก็มีผลในเรื่องที่ว่า หน้าตาเขาเป็นอย่างไร เราชอบมันหรือ<br />

ไม่ หรือเขาจะเข้ากับสิ่งใหม่ที่ลูกค้าต้องการหรือเปล่า ซึ่งถ้าเรายังสามารถคงของเดิมเอา<br />

ไว้และตอบโจทย์ได้ มันก็น่าเก็บไว้ แต่ถ้าอะไรบางอย่าง ที่ไม่ได้เข้าอะไรกับบริบทที่ลูกค้า<br />

อยากได้เลย ก็ต้องพยายามคิดให้เขากลายเป็นของใหม่ขึ้นมาจากบริบทเดิมเลย<br />

ส่วนในเรื่องการคิดถึงบริบทเดิมโดยรอบ ก็เป็นสิ่งที่เราที่เราต้องคำานึงอยู่แล้ว เช่นการทำา<br />

Site analysis ของถนนหน้าโครงการ การดูการเคลื่อนไหวของผู้คนคนแถวนั้น ว่าเขาเดิน<br />

ไปทางไหน เดินด้วยท่าอะไร ไม่ว่าจะเป็นตึกเก่าหรือตึกใหม่ ก็ต้องทำ าการคิดวิเคราะห์ตรงนี้<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

วิภาวี: เราได้รับโจทย์มาให้ใช้อิฐเป็นวัสดุในการออกแบบ อิฐนั้นมีรูปแบบมากมายหลายแบบ มี<br />

มาทุกยุคทุกสมัยมาตั้งแต่อดีต และมีใช้แทบทุกประเทศ เพราะอิฐเกิดมาจากดิน และดินมี<br />

อยู่ทุกสถานที่ในโลก ทำาให้อิฐค่อนข้าง <strong>Vernacular</strong> ในตัวมันเองอยู่แล้ว แต่อิฐมักออกมาในรูป<br />

แบบที่แตกต่างกันด้วยตัวมันเอง ตั้งแต่เรื่องสีของดินที่ไม่เหมือนกัน ผิวสัมผัสที่ไม่เหมือนกัน<br />

193 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 193 24/4/18 16:11


สิทธนา: ถึงแม้จะเป็นดินจากที ่เดียวกัน แต่พอมันผ่านกระบวนการอบเผา ก็ทำาให้อิฐเกิด<br />

ความหลากหลายของสี ตั้งแต่สีส้มไปจนถึงสีดำ า ทำาให้เราอยากจะหยิบเรื่องสีของอิฐมาเล่น<br />

วิภาวี: เราก็จะเล่นแนวทางเหมือนงานอื่นๆ ที่เราเคยทำ า คือใช้เทคนิคการออกแบบสมัยใหม่<br />

กับวัสดุที่มีความ <strong>Vernacular</strong> เพื่อที่จะเกิดสิ่งใหม่ขึ้นได้อย่างไร<br />

ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

สิทธนา: พาวิเลียนนี้จะเป็นร้านหนังสือและขายของที่ระลึกในงานอาษา พอกลับมาถึง<br />

เรื่องอิฐ ทำาให้เราคิดต่อไปได้ว่า ปกติอิฐนั้นจะมักซ่อนตัวอยู่ผนังเงียบๆ ของมัน เราจึง<br />

อยากจะแสดงความเป็นพระเอกของอิฐออกมาให้ได้เห็นกัน เราจึงนำาเสนอการใช้อิฐที่<br />

ทำาให้มันสวยได้ด้วยตัวมันเอง ด้วยการนำาอิฐมาใช้เป็นฟังก์ชันที่ผสมผสานเป็นดิสเพลย์<br />

ล้อไปกับชั้นของหนังสือสลับไปมา พอหนังสือถูกหยิบออก อิฐก็จะเข้ามาถูกแทนที่ แพทเทิร์น<br />

ของอิฐก็จะค่อยๆ เปลี่ยนตามหนังสือ<br />

วิภาวี: แต่ก็จะมีแพทเทิร์นที่ตายตัวอยู่ ซ้อนกับไปอีกที ซึ่งก็น่าจะได้เอฟเฟกต์ที่น่าสนใจ<br />

สิทธนา: โดยที่อิฐจะประกอบลงไปกับโครงเหล็ก และเอาอิฐเข้าไปเรียงให้เกิดแพทเทิร์น<br />

ตั้งต้น ซึ่งมีความเป็นขนบนิดนึง ที่เกิดอิฐสีส้มสลับกับสีดำา<br />

วิภาวี: ซึ่งเราดูมาหลายแพทเทิร์น เรามาถูกใจแพทเทิร์นที่มาจากผ้าไทยสานแบบสามเหลี่ยม<br />

เฉียง ซึ่งมันก็ไม่ได้ดูออกทันทีว่าเป็นผ้าไทย แต่ก็สามารถเข้าใจว่ามีความเป็นแพทเทิร์น<br />

ไทยอยู่ กลายเป็นเอฟเฟกต์ของชั้นหนังสือที่ซ้อนไปกับแพทเทิร์นอิฐ รวมทั้งมีโต๊ะที่เรียง<br />

มาจากอิฐแทรกไปตามส่วนต่างๆ ให้เป็นเรื่องเดียวกัน<br />

194<br />

ASA18_Book_180419.indd 194 24/4/18 16:11


มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

วิภาวี: อย่างน้อยคนที ่มาเดินชมคงจะได้ไอเดียที ่ว่า วัสดุที ่เขาคุ ้นเคยสามารถนำามาประกอบ<br />

ใหม่ ให้ดูทันสมัยได้ ด้วยความรู้สึกที่ยังดูพื้นถิ่นอยู่ และได้เห็นภาษาของสถาปัตยกรรม<br />

ใหม่ๆ ที่มากกว่ามาเดินซื้อหนังสือเฉยๆ<br />

สิทธนา: ผู้ชมเขาอาจจะตื่นเต้นกับสีของอิฐที่ประกอบเรียงขึ้นใหม่ และชอบอิฐมากขึ้นมา<br />

ก็ได้<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

สิทธนา: อยากให้เวลาทำางาน ลองศึกษาภาษาของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจากพื้นที่ตรงนั้นๆ<br />

ก่อน ว่าเขาทำาอย่างไรได้บ้าง และจัดการกับวัสดุพื้นถิ่นตรงนั้นได้อย่างไร ซึ่งเรื่องวัสดุจะ<br />

เป็นเรื่องที่คนรุ่นใหม่ค่อนข้างเป็นจุดอ่อน โดยเฉพาะนักศึกษา<br />

วิภาวี: อยากให้คิดถึงความสำาคัญถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมากๆ เพราะองค์ความรู้ของพื้น<br />

ถิ่นเหล่าจะทำาให้เราแตกต่างจากโลกสากล และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของเราก็ไม่จำาเป็น<br />

ต้องดูล้าสมัย ถ้าเรารู้จักนำามาประยุกต์ให้เข้ากับโลกาภิวัฒน์ ซึ่งถ้าเราลองนำาไอเดียตรงนี้<br />

มาคิดต่อนิดนึง ก็จะทำาให้งานสนุกขึ้นและโดดเด่นไม่ซ้ำาใคร<br />

195 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 195 24/4/18 16:11


ASA<br />

ARCHITECTURE SCHOOL<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย ชัชวาล ทรัพย์สืบสกุล และ กณพ มังคละพฤกษ์<br />

จาก ARCHIVE STUDIO<br />

ASA18_Book_180419.indd 196 24/4/18 16:11


แนะนำาตัว<br />

กณพ: Archive เปิดมาประมาณ 3 ปีครึ่งแล้ว หลักๆ เราก็จะทำางานด้วยโจทย์จากทาง<br />

ลูกค้าเป็นสิ่งตั้งต้น เพียงแต่เอาความต้องการของลูกค้าเหล่านั้นมาเปลี่ยนเป็นกายภาพ<br />

อะไรได้บ้าง แน่นอนว่ามีตัวเลือกหลากหลาย แต่หน้าที่ของเราคือ จะเลือกตัวที่ดีที่สุด<br />

ให้ลูกค้าและเหมาะสมกับความต้องการในการนำาเสนอเรื่องสถาปัตยกรรมของเราด้วย<br />

ทั้งในเรื่องสถานที่ตั้งของไซต์ที่เราไปทำาด้วย<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

กณพ: ทางเราได้รับโจทย์วัสดุเป็นอิฐ ซึ่งความน่าสนใจคือการมีแค่อิฐเพียง 3 ขนาด ก็<br />

สามารถก่อให้เกิดสเปซที่หลากหลายมากๆ เราก็สนใจหลักการตรงนี้แหละ โดยมีแค่การ<br />

สร้างกรอบคร่าวๆ ที่ให้นักศึกษาได้ช่วยเข้ามีส่วนร่วมทำาให้เกิดทางกายภาพ<br />

ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

ชัชวาล: โจทย์ในการออกแบบของเราคือ <strong>Architecture</strong> School Pavilion ที ่ให้นักศึกษา<br />

สถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัย 37 แห่งได้เข้ามาจัดแสดงผลงานแนะนำาคณะของตน<br />

กณพ: โดยเราให้โจทย์กับนักศึกษาคือให้ใช้อิฐหลักเป็นรูปแบบผืนผ้า 2 ขนาด มาทดลอง<br />

จัดเรียงด้วยวิธีต่างๆ ดูว่าจะเกิดรูปแบบอะไรได้บ้างจาก ซึ่งจาก 37 มหาวิทยาลัย ที่เริ่ม<br />

ด้วยโจทย์ที่เหมือนกันมันจะออกมาเป็นอย่างไรได้บ้าง ยิ่งไม่เหมือนกันเลยยิ่งดี สำาหรับ<br />

เรานี่คือการนำาเสนอความธรรมดาที่ไม่ธรรมดา แบบตรงไปตรงมาที่สุด<br />

197 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 197 24/4/18 16:11


มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

กณพ: เราคาดหวังให้ผู้ชมจะได้เข้าใจวัสดุอิฐมากขึ้น แม้ว่าอิฐจะเป็นของทั่วไปที่ค่อนข้าง<br />

แพร่หลายอยู่แล้ว แต่มันกลับถูกใช้ในวิธีเดิมๆ ซ้ำาๆ แบบง่ายๆ ทำาให้เราเลยพยายามจะ<br />

สร้างแคตตาล็อกการเรียงอิฐขึ้นมา และหวังว่าก่อรูปทรงให้เกิดพื้นที่ว่างในรูปแบบต่างๆ<br />

จะเป็นรูปที่ตัวอย่างในอนาคต ซึ่งจะมีตั้งแต่ทึบสุดไปโปร่งสุด ใช้อิฐให้น้อยที่สุด ดังนั้น<br />

มันก็จะมีความหลากหลายของสเปซที่เกิดขึ้น ซึ่งแคตตาล็อกนี้ไม่ใช่แค่พูดถึงรูปทรงอย่าง<br />

เดียว แต่ยังพูดไปเรื่องการขึ้นรูปของโครงสร้างผนังหรือผิวของอาคาร ทั้งเรื่องการนำาแสง<br />

เข้ามาที่มีผลต่อ ดิน ฟ้า อากาศ ด้วย ซึ่งโยงย้อนกลับมาเรื่อง <strong>Vernacular</strong> living ที่เป็น<br />

เรื่องของการปรับตัวและวิวัฒนาการตลอดเวลา<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

กณพ: ความจริงทางเราก็พยายามจะค้นหาสิ่งเหล่านี้อยู่เช่นกัน ทำ าให้อยากจะฝากว่าสถา-<br />

ปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้นสามารถยกระดับงานเราขึ้นมาได้ เพราะว่าสถาปัตยกรรมในประเทศไทย<br />

ยังได้รับอิทธิพลจากประเทศโดยรอบค่อนข้างมาก ตอนนี้มีเพียงไม่กี่ท่านที่พยายามดึง<br />

ความเป็นตัวตนของพวกเราขึ้นมา ซึ่งถ้าเรามาพยายามค้นหาตรงนี้และสำาเร็จขึ้นวันนึง<br />

มันก็จะเป็นทิศทางที่ทำาให้สถาปัตยกรรมของบ้านเราแข็งแกร่งขึ้น และมีที่ยืนในโลกสากล<br />

มากขึ้น ก็หวังว่าจะเริ่มจากนิสิตนักศึกษากลุ่มนี้ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด<br />

198<br />

ASA18_Book_180419.indd 198 24/4/18 16:11


ตัวอย่างผลงานส่งประกวดของนิสิต นักศึกษา<br />

199 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 199 24/4/18 16:11


MOR-BAAN<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย วรพงศ์ มนูพิพัฒน์พงศ์ และ อดา จิระกลานนท์<br />

จาก ATELIER 2+<br />

ASA18_Book_180419.indd 200 24/4/18 16:11


แนะนำาตัว<br />

วรพงศ์: Atelier2+ เปิดมาประมาณ 7 ปีแล้วครับ ความหมายของชื่อสตูดิโอคือ เลขสอง<br />

หมายถึงเราสองคน ส่วน + ก็คือเราสนใจที่จะทำางานกับดีไซเนอร์หรือครีเอทีฟในหลาก<br />

หลายสาขา เพื่อให้เกิดไอเดียและรูปแบบงานใหม่ๆ ซึ่งนี่เป็นทิศทางในการทำางานของสตู<br />

ดิโอเรา เราสองคนจบสถาปัตยกรรมภายในกันมา แล้วผมก็ไปเรียนต่อทางด้านสถาปัตย์<br />

และเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ ส่วนอดาไปเรียนเท็กซ์ไทล์ นี่เป็นส่วนที่ทำาให้เราสนใจงานออกแบบ<br />

หลากหลายสาขา ตั้งแต่สถาปัตยกรรม จนถึงพวกงานออกแบบผลิตภัณฑ์<br />

อดา: ดังนั้นเราจะเด่นในเรื่องการผสมผสานงานออกแบบ<br />

วรพงศ์: เช่นบางทีเราทำางานตกแต่งภายใน เราก็จะไปคาบเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม หรือ<br />

ออกแบบผลิตภัณฑ์ไปด้วย อย่างงานเฟอร์นิเจอร์เราก็จะมีความสถาปัตยกรรมแทรกตัว<br />

เข้าไปอยู่<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

วรพงศ์: วัสดุที่เราได้คือไม้ อย่างที่เราบอกไป เราสนใจในวัสดุที่เข้าถึงง่าย หาง่าย ราคา<br />

ไม่แพง ในการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมสักชิ้นหนึ่ง จะมีวัสดุที่ทำ าตัวเป็นเบื้องหลัง นั่นทำา<br />

ให้เราสนใจวัสดุพวก ไม้ที่ทำานั่งร้าน ไม้ที่ทำาค้ำายัน หรือไม้ที่เอาไว้หล่อแบบ ซึ่งเป็นวัสดุ<br />

ที่ราคาถูกมาก และสามารถใช้งานได้ทุกสถานที่ ในมุมมองของเราถือว่าไม้พวกนี้เป็น<br />

<strong>Vernacular</strong> นะ แต่การที่ไม้พวกนี้ไม่เคยนำาไปใช้ทำาวัสดุปิดผิวของอาคารเลย เราจึง<br />

พยายามหาวิธีนำาเสนอวัสดุพวกนี้แบบใหม่ โดยที่จะพยายามไม่ได้ผ่านการกระบวนทำาให้<br />

เรียบร้อยมาก อย่างไม้ค้ำายันยูคาเราก็ไม่ได้ปลอกเปลือกเลย ไม้หน้าสามก็นำามาใช้เลยไม่<br />

ได้ขัดแต่ง ไม้หล่อแบบที่นำามาก็ยังคงหน้าที่ของมันอยู่<br />

201 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 201 24/4/18 16:11


ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

วรพงศ์: เรามองว่าพาวิเลียนของหมอบ้าน เป็นส่วนที่ไม่ค่อยโดดเด่นอะไร ทำาให้เราอยาก<br />

สร้างภาพลักษณ์ใหม่ของส่วนหมอบ้านขึ้นมา โดยพยายามออกแบบให้ตัวเฟอร์นิเจอร์และ<br />

โครงสร้างนั้น ผสานไปด้วยกันกลายเป็นเรื่องเดียวกัน และอิมแพคกับคนที่มาใช้ การจัด<br />

เลย์เอ้าท์เลยเป็นเหมือนบาร์ที่สามารถนั่งได้รอบ โดยส่วนสถาปนิกที่ให้คำาปรึกษาก็จะนั่ง<br />

อยู่ข้างใน และคนที่มาปรึกษาก็จะนั่งอยู่โดยรอบ และยังมีไอเดียเกี่ยวกับวัสดุที่เราอยาก<br />

จะทดลองก็คือ หลังจากที่เราสร้างพาวิเลียนนี้เสร็จ เวลาที่เรารื้องานออก ก็ยังสามารถ<br />

นำาวัสดุไปใช้ได้ต่อที่ไซต์งานได้ เพราะไม้พวกนี้ไม่ต้องการความสวยงามที่ 100% เราเลย<br />

พยายามหาวิธีตัดที่ ทำาให้เหลือเศษน้อยที่สุด รวมทั้งนำาขนาดไม้ที่ใช้ในไซต์งาน มาเป็นข้อ<br />

จำากัดในงานออกแบบตัวพาวิเลียน<br />

มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

วรพงศ์: เราอยากให้คนที่เข้ามาชม รู้สึกว่าทุกวัสดุมันมีคุณค่ากันหมดในตัวมันเอง ไม่ใช่<br />

ว่าวัสดุที่ดีคือ ไม้สัก ไม้นำาเข้าจากต่างประเทศ อย่างวัสดุที่นำามาใช้ในพาวิเลียนก็มีคุณค่า<br />

ของการเป็นวัสดุที่อยู่เบื้องหลังในการก่อสร้าง ที่ไม่เคยนำามาใช้โชว์ในการออกแบบ<br />

อดา: เรื่องของการจัดเลย์เอ้าท์นั้น ก็เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ก่อนเวลาคนที่มางานนึกถึง<br />

ส่วนหมอบ้าน ก็นึกถึงว่าจะต้องเป็นโต๊ะตัวต่อตัว ให้คำาปรึกษาจริงจัง ไม่ค่อยได้ให้ความ<br />

สนใจ แต่ครั้งนี้เราพยายามทำาให้ดูเป็นคอมมูนิตี้นิดหนึ่ง ให้รู้สึกกันเองและใครๆ ก็เข้ามาได้<br />

202<br />

ASA18_Book_180419.indd 202 24/4/18 16:11


อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

วรพงศ์: ทุกวันนี้ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อง่าย และสื่อก็มาจากแหล่งเดียวกัน ไม่ว่าจาก<br />

ส่วนไหนของโลก ทำาให้เราได้เห็นงานที่มีความทิศทางเดียวกัน การที่เรากลับมาศึกษา<br />

สถาปัตยกรรมที่เป็นของเราจริงๆ จากรากของเราจริงๆ จะช่วยสร้างความแตกต่างให้<br />

เรากับคนอื่นๆ ได้<br />

อดา: เหมือนว่าทิศทางของสถาปัตยกรรมทั่วโลก ก็มีความคล้ายคลึงกันไปหมด เพราะ<br />

ด้วยยุคโลกาภิวัฒน์ การที่เรามีอะไรที่เป็นเอกลักษณ์ ก็จะทำาให้เรามีคุณค่าในตัวเอง<br />

และสร้างความแตกต่างในระดับโลกได้ด้วย<br />

203 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 203 24/4/18 16:11


ASA CREW<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย เสก สิมารักษ์<br />

จาก SAR<br />

ASA18_Book_180419.indd 204 24/4/18 16:11


แนะนำาตัว<br />

บริษัท SAR เปิดมา 1 ปี ถือว่าใหม่มาก ตอนนี้แนวทางทำางานที่ชัดเจนของบริษัทเรายัง<br />

ไม่มีชัดเจนนัก คือตอนนี้เราพยายามจะสร้างแนวทางให้เกิดจากงานมากกว่า และก็เน้น<br />

รับงานในสเกลที่เราไหว คือรับงานสถาปัตยกรรมทั่วไป ในสเกลงานขนาดเล็ก<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

ผมได้รับวัสดุเป็นอิฐ ซึ่งอิฐถ้ามองแบบง่ายสุดก็คือวัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่ง ที่ผลิตขึ้นมาขาย<br />

แต่ว่าบริบทในการออกแบบคือเราไม่สามารถใช้อิฐในปริมาณมากได้ และน้ำาหนักขนาดนี้<br />

ได้ในการออกแบบของผม มันก็เลยกลายเป็นเหมือนโจทย์ต่อมาว่า เราควรใช้อะไรใน<br />

ลักษณะแบบอิฐแทนได้ สุดท้ายก็ไปลงเอยที่โฟม EPS ที่มีความหนาแน่นสูงที่ไม่ลามไฟ<br />

กลายเป็นวัสดุหลักที่มาออกแบบแทน<br />

ซึ่งผมมองว่า อิฐ มันก็เป็นวัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่ง ซึ่งจริงๆ มันก็ไม่ได้จำากัดว่าถูกใช้แบบ<br />

ไหน แต่มันมักถูกใช้ในการต่อกันจากชิ้นส่วนเล็ก ส่วนโฟมโดยปกติจะผลิตที่ชิ้นใหญ่ ผม<br />

มองว่าคุณสมบัติของโฟมสามารถตัดออกมาเป็นก้อนๆ ใน ลักษณะเดียวกับอิฐ เพื่อให้<br />

การถูกนำาไปใช้ในการก่อสร้างในอนาคต ถูกเคลื่อนย้ายได้ หรือเอามาต่อกันได้<br />

ในมุมหน้าที่ของมันต้องเป็น ASA Crew ที่เป็นสื่อของสมาคม สิ่งแรกที่ผมคิดถึง ASA<br />

Crew ก็คือวารสาร ซึ่ง วารสารของ ASA Crew จริงๆ แล้วมีศักยภาพในการทำาให้คอน<br />

เทนต์น่าดูอยู่แล้ว โดยที่ขนาดวารสารไซส์ A3 นี้ เป็นสิ่งที่ผมว่า ไม่ค่อยถูกเปิดเผยออกให้<br />

คนทั่วๆ ไปเห็นนัก เพราะส่วนใหญ่จะถูกพับอยู่อย่างนั้น ผมเลยคิดว่าพาวิเลียนนี้ควรจะ<br />

ช่วยคลี่ตัวเนื้อหาของวารสารข้างในออกมาให้คนเห็น ผ่านชิ้นส่วนของตัวพาวิเลียน<br />

205 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 205 24/4/18 16:11


ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

ลองทำาความเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่ออกแบบอยู่ มันไม่ใช่สถาปัตยกรรมโดยสมบูรณ์ เพราะว่า<br />

ที่ตั้งของงานเราอยู่ที่อิมแพค และระยะเวลาการจัดงานไม่ได้ยาวนาน เพราะงั้นมันก็จะเป็น<br />

สถาปัตยกรรมประเภทหนึ่งที่เรียกว่า สถาปัตยกรรมชั่วคราว ผมมองว่า สถาปัตยกรรม<br />

ชั่วคราวแบบไหนทำาให้เกิดสถานที่พิเศษ หรือสถานที่ที่ทำาให้เกิดคนจดจำาได้<br />

และผมมองว่าตามในไซต์ก่อสร้าง พวกวัสดุของสถาปัตยกรรมเนี่ย เขาจะมีการจัดเรียง<br />

จัดวางของ ตามความต้องการของแต่ละวัสดุ ทำาให้ ณ จุดนั้น มันเกิดสถานที่เฉพาะ ที่ทุกคน<br />

จดจำาได้ ตอนเด็กๆ บางคนอาจจะเคยเข้าไปเล่นกองหินกองทราย หรือว่าเข้าไปวิ่งเล่นอยู่<br />

ในดงอิฐที่กองอยู่ อันนี้เหมือนกัน ไอเดียของเราก็คือเอา โฟม มาสต๊อกไว้ที่นี่ก่อนชั่วคราว<br />

เพื่อให้มันเกิดสถานที่เฉพาะ แล้วก็พอหลังจากงานเราก็จะเอาวัสดุนี้มอบส่งต่อ บริจาคต่อ<br />

ให้คนสามารถไปใช้ได้<br />

ซึ่งพอมันเกิดสถานที่ชั่วคราวอย่างนี้ ก็เหมือนกับว่า เวลาที่เราเข้าไปในตัวพาวิเลียนมัน<br />

จะได้เซนส์ของวัสดุจริงๆ แบบหนึ่ง แม้ว่าเรายังไม่ได้ใช้งาน แต่เราก็มองเห็นมันว่า มัน<br />

กลายไปเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นหนึ่ง หรือกลายเป็นตัว Pavilion และจำานวนของวัสดุที่ใช้<br />

ก็เป็นปัจจัยสำาคัญ งบประมาณที่มี ก็ควรจะไปลงทุนกับวัสดุชิ้นนั้นให้เยอะที่สุด เพื่อที่ว่า<br />

วัสดุชิ้นนั้นจะถูกใช้ต่อให้เยอะที่สุด ก็เลยเกิด Stack ของโฟม EPS ที่ถูกตัดออกเป็นชิ้น<br />

2 ชิ้น ซึ่งชิ้นหนึ่งขนาดจะเท่ากับอิฐก้อนหนึ่ง เพื่อให้คนสามารถเทียบระหว่างสองวัสดุนี้<br />

ได้ โดยที่เป็นการบอกเพียงแค่ข้อมูล เพื่อที่คนจะเข้าใจได้ว่า อิฐจะน้ำาหนักมันลดลงไปถึง<br />

ประมาณเกือบสิบเท่า ในปริมาณเท่ากัน<br />

มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

ผู้เข้าชมงาน จะได้เข้ามานั่งพักและชาร์จแบต เป็นความคาดหวังแรก และก็น่าจะเป็นพื้นที่<br />

ที่ทำาให้คนเกิดทัศนคติที่ดีต่อวัสดุโฟม และความคาดหวังที่สองคือ อยากให้เขาสามารถ<br />

จดจำาพาวิเลียนนี้ได้ เพราะว่าด้วยความที่มันเป็นพาวิเลียนของ ASA Crew อันเป็นสื่อ<br />

ของสมาคมที่ควรจำาจดได้ ส่วนความคาดหวังสุดท้ายก็จะเชิงลึกหน่อยคือ สร้างความ<br />

เข้าใจใหม่ขึ้นมาว่า วัสดุประเภทอิฐนี้มันสามารถถูกทดแทนได้ด้วยวัสดุประเภทอื่นได้<br />

206<br />

ASA18_Book_180419.indd 206 24/4/18 16:11


อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ผมอยากจะฝากให้เราเข้าใจว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นนั้นไม่ไกลตัว มองมันเป็นสิ่งใกล้ตัว<br />

อย่าไปมองมันเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้และหยุดนิ่ง เพราะคุณค่าของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

เรามองเห็นได้ เราใช้ความรู้ของมันได้ เราชื่นชมมันได้ แต่ว่าไม่ได้แปลว่าเราไม่สามารถ<br />

สร้างในแบบของเราได้<br />

207 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 207 24/4/18 16:11


ASA CONSERVATION<br />

& VERNADOC<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล, หฤษฎี ลีละยุวพันธ์,<br />

ธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ และนัฐวัฒน์ คำารณฤทธิศร<br />

จาก PHTAA<br />

ASA18_Book_180419.indd 208 24/4/18 16:11


แนะนำาตัว<br />

ธนวรรธน์: PHTAA เปิดมาได้สามปีแล้ว แนวทางของออฟฟิศเกิดจากที่ ผมและพี่พลอย<br />

(หฤษฎี) เองเป็นอินทีเรีย ส่วนพี่วิทย์(พลวิทย์)เป็นสถาปนิก ปกติงานคนอื่นๆ โดยทั่วไป<br />

จะเริ่มด้วยสถาปัตยกรรมก่อนที่อินทีเรียจะเข้าไปทำางาน แต่ที่ออฟฟิศของเราจะเริ่มสอง<br />

อย่างนี้ไปพร้อมกัน และพยายามผสานทั้งสองเข้าหากัน ซึ่งไอเดียในการทำางานแต่ละชิ้น<br />

ก็จะปรับเปลี่ยนไปตามลูกค้าได้มอบหมาย<br />

แนวทางของออฟฟิศเรามาจาก 2 คีย์เวิร์ด อันแรกคือ Autonomous ที่แปลว่าความอิสระ<br />

คืออิสระในการออกแบบ เพราะในบางทีเราเอางานอินทีเรียขึ้นก่อน หรือบางทีเราเอา<br />

สถาปัตยกรรมขึ้นก่อน หรือบางครั้งก็ให้ความสำาคัญของหัวข้อของโจทย์ก่อน ทำาให้งาน<br />

แต่ละงานที่เราทำาจึงมีความอิสระและแตกต่างกันไป อันที่สองคือ Ambiguous ที่แปลว่า<br />

ความคลุมเครือหรือความไม่แน่ใจ เพราะงานที่เราออกแบบ ก่อนที่จะได้สร้างขึ้นนั้น มัน<br />

ไม่มีอะไรที่สามารถอ้างอิงได้เลยว่าสวยหรือเปล่า ซึ่งทำาให้เกิดสิ่งใหม่ๆ และสร้างความ<br />

ตื่นเต้นให้ได้เราเสมอ ไม่ได้เป็นสถาปนิกเศร้าๆ แบบทั่วไป<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

ณัฐวัฒน์: เราได้รับโจทย์ให้ออกแบบ Pavilion ส่วนของ Conservation & Vernadoc<br />

โดยที่วัสดุของเราคือ ‘ดิน’ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมมองเห็นว่า เป็นวัสดุที่ระบบการก่อสร้างอยู่ตรง<br />

กลางระหว่าง Prefabrication ที่สามารถสร้างได้ทีละเยอะๆ เช่น อิฐ กับระบบงานคราฟท์<br />

ที่ต้องใช้ภูมิปัญญาของพื้นถิ่นในการทำางาน โดยที่ความสามารถของดิน ที่เราสนใจก็คือ<br />

การฉาบ เพราะมันมีบางอาคารเก่าๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยก่อน ที่เกิดจากการฉาบดินขึ้น<br />

มาจากโครงสร้างเลย ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นในการที่เราอยากใช้วัสดุนี้นั่นเอง<br />

เราท้าทายตัวเองที่ว่า ดินสามารถสร้างแบบไหนได้บ้าง ก่อนที่จะเป็นรูปร่างชัดเจน ก็เลย<br />

กลับไปศึกษาก็พบว่า ดินสามารถเป็นอิฐ หรือผนังดินอัดได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นโครงสร้าง<br />

209 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 209 24/4/18 16:11


ที่เน้นรับแรงอัด ก็เลยตั้งโจทย์ว่าจะทำาดินให้ดูเป็นแผ่นบางๆ ในตอนแรกเราจะทำาใน<br />

ลักษณะที่เป็นโครงสร้างแขวนขึ้นมา แล้วนำาดินที่ทำาเป็นกระเบื้องเข้าไปเรียงเป็นแผง<br />

ถ่วงน้ำาหนักตัวเองลงมา หลังจากนั้นจึงฉาบดินไปตามร่อง เพื่อให้ตัวเองเรียบเป็นเนื้อ<br />

เดียวกันและสามารถตั้งด้วยตัวมันเองได้ ในทางทฤษฎี แต่เราไปไม่ถึงจุดนั้น (หัวเราะ)<br />

พลวิทย์: จริงๆ เพราะเราทำางานอินทีเรียมาเยอะ เราก็เลยคิดว่าวิธีการเรียงผืนของกระเบื้อง<br />

มีความสนใจมาก เพราะไม่ต้องมาตั้งใจเรียงใหม่หน้างานแต่สามารถวางๆ ไปได้เลย ถ้า<br />

เราไม่ได้เอาดินมาเป็นการวางปิดแบบทั่วไป แต่เราเปลี่ยนมันให้กลายเป็นผนังแบ่งพื้นที่<br />

สักอย่าง<br />

ณัฐวัฒน์: ซึ่งตอนนี้รูปแบบของดินก็เปลี่ยนได้ไปแล้ว กลายเป็นรูปแบบดินของยูนิตกล่อง<br />

เรียงเป็นผืนดินที่ยังไม่ได้ทำาการฉาบใดๆ ทั้งสิ้น เหมือนแค่ติดตั้งให้เป็นแผงขึ้นมาก่อน<br />

คือตั้งใจให้ตัวสีของวัสดุกลืนไปกับบรรยากาศของ Conservation & Vernadoc โดยที่ว่า<br />

กระบวนการของการออกแบบยังไม่จบเท่านี้ เมื่อหลังจบงานแล้ว ก็อยากลองกล่องยูนิต<br />

เหล่านี้มาเรียงเป็นพาวิเลียนใหม่ แล้วก็เอาดินมาฉาบดูสิว่า พื้นผิวมันเวิร์คเหมือนที่สิ่งที่<br />

เราคิดตอนแรกไหม ดูว่ามันจะแตกไหม หรือว่ามีความยืดหดของดินได้แค่ไหน เมื่อมัน<br />

ผ่านสภาพอากาศภายนอกแบบจริงๆ<br />

ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

พลวิทย์: มันคำาว่า ‘In-between space’ หรือคำาว่า ‘พื้นที่ระหว่าง’ ที่เป็นสิ่งที่เราสนใจ<br />

เพราะเราได้โจทย์ว่าต้องออกแบบพาวิเลียนให้ทั้ง Conservation และ Vernadoc ซึ่ง<br />

คอนเทนต์ทั้งสองอย่างดูแข็งแรงมากๆ ในตัวเองอยู่แล้ว การทำาให้ทั้งอย่างนี้อยู่ด้วยกัน<br />

ให้ได้ มันต้องตัวผสานสักอย่างหนึ่ง ซึ่งนั่นก็คือ In-between space นั่นเอง<br />

ถ้ามองจากผังที่เราออกแบบแล้ว มันจะมี 3 เลเยอร์ เลเยอร์แรกคือผู้คนที่เข้ามาชมงาน<br />

ส่วนเลเยอร์ที่สองคือเนื้อหา Vernadoc ส่วนอีกเลเยอร์คือ Conservation ซึ่งสองเลเยอร์<br />

หลังทำาให้เกิดผนังขึ้นมาด้านในเพื่อแบ่งในแต่ละส่วน เกิดเป็น In-between space ขึ้น<br />

มาอยู่รอบนอก ซึ่งเมื่อเรากั้นผนังที่ทึบแล้ว ก็จะทำาให้พื้นที่ข้างในมีเนื้อหาที่คลี่คลาย และ<br />

ได้อีกความรู้สึกนึง โดยสอดแทรกสิ่งที่เราคิดเข้าไปในผนังที่กั้นเอาไว้ระหว่าง Conservation<br />

กับ Vernadoc ให้สองสิ่งนี้อยู่ด้วยกันได้อย่างเป็นสัดส่วน และไม่รบกวนกัน<br />

210<br />

ASA18_Book_180419.indd 210 24/4/18 16:11


มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

พลวิทย์: อย่างน้อยผมหวังว่าคนที่มาชม ไม่สับสนระหว่าง Conservation กับ Vernadoc<br />

ก็พอ แค่นี้ผมว่าก็ประสบความสำาเร็จในการออกแบบแล้ว(หัวเราะ) และถ้าเรื่ิองกระเบื้อง<br />

ดิน ที่ผมเอาเข้าไปสร้างพื้นที่ สามารถคลี่คลาย In-between space ได้จริงๆ ก็แปลว่า<br />

คนที่เข้ามาเดินก็จะพบกับอะไรที่ค่อนข้างใหม่ เพราะว่าจะไม่เห็นวิธีใช้กระเบื้องแบบเดิมๆ<br />

แล้ว แต่จะเห็นวิธีใช้อีกแบบหนึ่งแทน<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

พลวิทย์: ผมว่า <strong>Vernacular</strong> จะทำาให้เรายืนอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ผมเชื่อว่าทุกคน<br />

มีความคิดสร้างสรรค์ในตัวเองกันหมด แต่ว่าการที่เรายืนอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงนิด<br />

นึง จะช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์ของเราสามารถมีทิศทางที่เป็นไปได้ เช่น การเลือกใช้<br />

วัสดุที่มีวิธีการที่แปลกไป เหมือนการหยิบวัสดุที่ทำาเป็นพื้นมาใช้เป็นผนัง หรือหยิบวัสดุ<br />

ที่ทำาให้ผนังมาใช้เป็นพื้น ก็ทำาให้เราได้ทางออกใหม่ๆ เช่นกัน สมมุติถ้าเราหาวัสดุใน<br />

โรงน้ำาแข็ง เราก็สามารถหยิบพวกแผ่นกันความเย็น มาใช้ในการสร้างพื้นที่ได้เหมือนกัน<br />

ผมว่าอันนี้ก็คือ <strong>Vernacular</strong> เเบบหนึ่งแล้ว นั่นคือการใช้ของทั่วไปให้เกิดทางออกและ<br />

ประโยชน์ใหม่ๆ<br />

211 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 211 24/4/18 16:11


ASA CAN<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย ธาริต บรรเทิงจิตร และ ภาสุร์ นิมมล /<br />

วิธี วิสุทธิ์อัมพร, อภิชาติ รุ่งแสงวีรพันธ์ และ ฐากูร ลีลาวาปะ<br />

จาก MOR AND FARMER / CROSS AND FRIENDS<br />

ASA18_Book_180419.indd 212 24/4/18 16:11


แนะนำาตัว<br />

วิธี: ชื่อวิธีครับ จากบริษัท CROSS AND FRIENDS พวกเราเป็นสถาปนิกที่สนใจการตั้ง<br />

คำาถามเรื่องสถาปัตยกรรม พื้นที่ และการออกแบบต่างๆ จะมีบทบาทส่งผลให้สังคมดีขึ้น<br />

ได้อย่างไร ผมคิดว่าถ้าเกิดว่าเราตีกรอบบทบาทสถาปนิกแค่การออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

พื้นที่ และสเปซ ทำาให้เราพลาดความสำาคัญต่างๆ รอบๆ ไป ทีนี้การทำางานของสถาปนิก<br />

ชุมชนก็เลยมีบทบาทในการสร้างพื้นที่ให้คนเข้ามามีส่วนร่วม แล้วก็เอาสิ่งที่เขามีออกมา<br />

เอาศักยภาพของเขาออกมา แล้วดึงให้ทุกคนมีส่วนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงนั้น<br />

ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพ ทางสังคม ทางวิถีชีวิต ทางความรู้สึก ทุกอย่างมันสามารถ<br />

ออกแบบได้หมดเลย<br />

ธาริต: ภาสุร์ นิมมล และ ธาริต บรรเทิงจิตร เป็นนักออกแบบจาก MOR AND FARMER<br />

บริษัทของเราก็เป็นบริษัทออกแบบสื่อ เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ใช่สื่อในความหมายที่ทุกคน<br />

เข้าใจว่าคือ วีดีโอ หนังสือ จริงๆ อันนั้นเราก็ทำาด้วย แต่ว่าสื่อในความหมายของเราคือการ<br />

สื่อสาร สิ่งที่เราสามารถสื่อสารออกไปได้ ด้วยสื่อกลางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ วีดีโอ<br />

ดิจิทัลแพล็ตฟอร์ม รวมถึงงานสถาปัตยกรรมที่ยังชีพเรา ก็คือเรามองสถาปัตยกรรมเป็น<br />

สิ่งที่สามารถเล่าเรื่องด้วยตนเองได้ สื่อความหมาย มีความหมายให้คนเข้ามาใช้มาเสพ<br />

ได้ เพื่อจะช่วยสถาปนิกในการสื่อสารว่างานออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสังคมมันไม่ใช่แค่<br />

งานชุมชน การกุศล แต่ว่าคืองานออกแบบที่มีความสร้างสรรค์ มีความสวยงาม แล้วก็มัน<br />

ได้สร้างความหมาย ร่วมสร้างชุมชนขึ้นมา หรือว่าได้สร้างผลกระทบ ได้สร้างประโยชน์ให้<br />

กับชุมชนนั้นจริงๆ ทำาให้ชุมชนนั้นดีขึ้น อย่างไรได้บ้าง<br />

ภาสุร์: จริงๆ MOR เกิดจากการรวมตัวของคนที่สนใจในหลายๆ เรื่อง เช่นจะมีคนที่<br />

สนใจเรื่องงานชุมชน มีคนที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี แล้วก็จะมีเรื่องของการใช้การเล่าเรื่อง<br />

โดยภาพ วิดีโอ องค์ประกอบที่หลากหลาย แต่จริงๆ แกนกลางของมันคือการที่เราต้องการ<br />

จะสื่อสารสารบางอย่างออกไปโดยใช้เทคนิคต่างๆ ที่เราสนใจมาร่วมกัน งานมันเลยมี<br />

ความคาบเกี่ยว ระหว่างงานที่ทำากับชุมชน กับสถาปนิกชุมชนด้วย เช่น งานสารคดี ที่ต้อง<br />

ออกแบบ แอปพลิเคชั่น เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหานี้ ก็จะเป็นเหมือนกึ่งกลางระหว่าง<br />

งานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตัวเองสนใจ<br />

213 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 213 24/4/18 16:11


โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

ธาริต: เราได้รับโจทย์เป็น “ไม้ไผ่” ลักษณะของไม้ไผ่คล้ายๆ ใช้ในระบบสำาเร็จรูป มาใช้ใน<br />

เชิงโครงสร้าง เราก็มองว่า ถ้าเราเอาโครงสร้างนี้มาปรับลงง่ายๆ ให้มันเป็นโครงสร้าง<br />

บางอย่าง เป็นรูปตัวอย่างให้ต่อได้ง่าย เคลื่อนย้ายได้ง่าย แล้วก็มาจัดสเปซง่ายๆ จะทำา<br />

ยังไงได้บ้าง เราก็เลยจัดออกมาเป็นรูปแบบโมดูลที่สามารถถอดประกอบแล้วก็สร้างสเปซ<br />

เป็นรูปทรงลูกบาศก์ได้ง่าย แล้วก็ในตัวนิทรรศการเองเราก็มองว่าโมดูลนี้ทำ าหน้าที่เป็นคล้ายๆ<br />

โครงสร้างอันนึง โดยที่เหมือน <strong>Vernacular</strong> โดยที่เราผสานวิถีชีวิตคนเข้าไป ผสานเนื้อหา<br />

ผสานธรรมชาติ ผสานเทคโนโลยีเข้าไป ให้เกิดเป็นสเปซสถาปัตยกรรมหนึ่งที่คนสามารถ<br />

ใช้ชีวิต ใช้งานร่วมกันได้โดยที่มันมีความหมายกับคนที่เข้ามาใช้<br />

ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

ภาสุร์: ถ้าพูดถึงโจทย์ของ Pavilion ตัวของ ASA CAN มันเป็นโจทย์ของมันเอง เพราะ<br />

กรรมาธิการสถาปนิกเป็นสถาปนิกชุมชน สังคม และเมือง เพราะฉะนั้น จริงๆ ตัว<br />

กรรมาธิการนี้จะมีโปรเจคที่เขาทำางานอยู่แล้วในแต่ละปี ซึ่งเป็นโปรเจคที่เกี่ยวข้องกับการ<br />

ออกแบบ การมีส่วนร่วมระหว่างพื้นที่ของคนในเมืองกับคนชนบท โจทย์หลักของ Pavilion<br />

ก็คือการนำาเสนอโปรเจคต่างๆ ที่ ASA CAN ได้ทำา และนอกเหนือจากกลุ่ม ASA CAN<br />

ก็จะมีเครือข่ายสถาปนิกชุมชน อย่างเช่น ทีม CROSS ที่เป็นสถาปนิกที่ทำางานกับบริบท<br />

พื้นที่ที่หลากหลาย ก็จะเป็นการแสดงให้คนทั่วไปเห็นว่าเครือข่ายของเราทำาอะไรกันบ้าง<br />

ผมมองว่าพวกนี้มันเป็นปัจจัย เป็นแกนหลักของ ASA CAN ส่วนตัวพาวิเลียนเองเป็นตัว<br />

สร้างเรื่องราวมันร้อยเรียงเข้ามา แต่ละงานก็จะมีเนื้อหาที่สำาคัญและมีประโยชน์อยู่ในนั้น<br />

อยู่แล้ว เราทำาหน้าที่แค่ผลักดันคอนเท้นต์ ออกมาให้มันน่าสนใจโดยการใช้ไม้ไผ่<br />

วิธี: พูดถึงตัวสเปซของพาวิเลียนของ ASA CAN ผมรู้สึกว่าเราไม่ได้มุ่งแค่จะสร้างตัว<br />

สถาปัตยกรรมอย่างเดียว นอกจากที่บอกไว้ว่าสถาปัตยกรรมเป็นกรอบให้เรื่องราวของ<br />

คนเข้าไปอยู่ ใน Pavilion ของเราจะมีสเปซตรงกลางที่เป็นพื้นที่ที่ยืดหยุ่นมากเพราะ<br />

เราแปรรูปการที่คนได้เข้ามาอยู่กับมัน สัมผัสกับมัน หรือแม้กระทั้งพบปะคนใหม่ มี<br />

ปฏิกริยา ต่อกัน คือที่ตรงกลางก็สามารถจัดให้เป็นอย่างที่เขาอยากได้เป็นได้ มีโต๊ะมีเก้าอี้<br />

ที่สามารถเลื่อนได้ มีเสื่อที่ถ้าอยากนอนก็นอนคุยกันตรงนั้นก็ได้<br />

214<br />

ASA18_Book_180419.indd 214 24/4/18 16:11


มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

ภาสุร์: อันดับแรกผมมองว่าอยากจะให้เขารับรู้ข้อมูลและเข้าใจงานสถาปนิกของ ASA CAN<br />

ที่ทำาว่าเราทำาอะไรบ้าง เราทดลองอะไรบ้าง อันนี้เป็นโจทย์ที่ทางทีมเองก็กำาหนดให้เขาเข้า<br />

มาแล้ว นอกจากจะได้พื้นที่สร้างสรรค์แบ่งปันกัน เขายังได้ศึกษาข้อมูลที่อยู่ในพาวิเลียน<br />

ด้วย ซึ่งพาวิเลียนทำาหน้าที่เหมือนนิทรรศการ และมีตัวผลงานที่อยู่ในนั้น อันดับที่สอง<br />

ก็คือให้คนได้มีพื้นที่ที่อย่างน้อยๆ ในงานสถาปนิกก็มีที่ที่เขานั่งคุยกันได้ หรือว่าเขา<br />

สามารถนอนเอกเขนกเหมือนบ้านตัวเองได้ ผมมองว่าเป็นกิจกรรมเล็กๆ อันหนึ่ง ส่วนที่<br />

สามก็คือ จริงๆ เราไม่ได้มองว่าตัวโครงสร้างไม้ไผ่เป็นการนำาเสนอเรื่อง ทักษะหรือเรื่อง<br />

วิธีการต่อไม้ไผ่อะไรขนาดนั้น เราก็พยายามทดลองนิดๆ หน่อยๆ อย่างเช่นเอาไม้ไผ่มาท<br />

ดลองร่วมกับการใช้ลวดสลิงสร้างเป็นโครงสร้างขึ้นมา ก็อาจจะทำาให้คนเขานำาไปต่อยอด<br />

อะไรเล่นๆ ขึ้นมาได้ แต่ไม่ใช่เป็นความคาดหวัง สำาคัญ<br />

วิธี: ที่คาดหวัง คืออยากให้คนเข้ามาแล้วตั้งคำาถามว่า สถาปนิกชุมชนคืออะไร เขาทำา<br />

อะไรกัน บทบาทของ คำาว่าสถาปนิกจริงๆ มันไม่ใช่แบบที่เราเคยเรียนกันมา แต่ด้วย<br />

ศักยภาพของเรา ด้วยการมองเห็นความเชื่อมโยงมิติทางกายภาพ ทางสังคม ทางเวลา<br />

ทางเงื่อนไขข้อจำากัดต่างๆ เราเป็นวิชาชีพที่ค่อนข้างจะเห็นภาพรวม แล้วก็ถูกฝึกฝนมาให้<br />

หาทางออกที่มันเชื่อมโยงหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน โดยศักยภาพแล้วเนี่ย อยากให้ลอง<br />

ตั้งคำาถามต่อว่าเราสามารถทำาอะไรได้บ้าง และในเมื่อเราก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เรา<br />

สามารถทำาอะไรนอกจากแค่ออกแบบ เราจะมีส่วนร่วมกับสังคมได้ อย่างไรบ้าง<br />

ภาสุร์: จริงๆ ตัวคอนเซ็ปต์ที่เราออกแบบเรื่อง สร้างโมดูลของไม้ไผ่เสมือนว่าจากโมดูล<br />

เดียวมัน สามารถประกอบกันขึ้นมาเป็นพื้นที่ ผมมองว่ามันน่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้คน<br />

มาคิดต่อว่ามันสามารถเป็นอะไรได้มากกว่านี้ เพราะรายละเอียดของพาวิเลียนเราก็จะมี<br />

ทั้งที่เป็นเก้าอี้สามารถให้คนเข้าไปนั่งได้ หรือถ้ามันสูงกว่านั้นหน่อยก็อาจจะเป็นเนื้อที่แปะ<br />

บอร์ดนิทรรศการ สูงกว่านั้นมากหน่อยอาจจะเป็นที่สำาหรับเอาต้นไม้มาใส่ จริงๆ เชปหนึ่ง<br />

เชปของเรา Module ลูกบาศก์เนี่ยถ้ามันถูก Adapt จะคล้ายๆ การต่อเลโก้ มันเป็นพื้นที่<br />

เป็นฟังก์ชั่น เป็นอะไรที่หลากหลายในเชิงโครงสร้างทางเทคนิค ไม้ไผ่เองเนี่ยอาจจะทำาให้<br />

คนได้คิดต่อยอดไปจากอันนี้มันสามารถทำาอะไรได้อีก โดยตัวไม้ไผ่เองแล้ว วัสดุของมัน<br />

สุดท้ายแล้วมันก็ถูกย่อยแล้วนำาเอาไปใช้อย่างอื่นได้เหมือนกัน<br />

215 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 215 24/4/18 16:11


อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ภาสุร์: ถ้ามองในเรื่องของภาพรวมงาน ASA อย่างน้อยๆ อาจจะเป็นน้องนักศึกษาที่เข้า<br />

มาดู น้อยที่สุดผมว่าเขาก็ได้ทางเลือกเพิ่มขึ้นในการตัดสินใจ ถ้าเป็นนักศึกษาก็อาจจะดู<br />

ว่า เราสามารถออกแบบโดยใช้วัสดุอื่นๆ ได้นอกจากอิฐ ปูน เหล็ก จริงๆ เราเคยคุยเล่นๆ<br />

กันเวลาทำางานในเครือข่าย เรามองว่าเราเป็นสถาปนิกไหม จริงๆ แล้วเวลาทำางาน เราไม่<br />

ได้มองว่าเราเป็นสถาปนิกกับคนใช้งานแค่นั้น แล้วเราก็ไม่สามารถทำางานแค่นั้นได้ เพราะ<br />

งานที่เราทำาเราต้องอาศัยองค์ความรู้อีกเยอะมากในการประกอบเรื่องราว เราจะออกแบบ<br />

ชุมชนยังไง มันไม่ได้สร้างแค่บ้าน เราต้องเข้าใจเรื่องระบบนิเวศน์ เรื่องของสังคม เรา<br />

ต้องการนักโบราณคดี นักมานุษยวิทยา องค์ความรู้ของชุมชน บางเรื่องประกอบกัน ถึง<br />

จะรู้ว่าเราทำาอะไรร่วมกัน ผมเลยมองว่าจริงๆ สถาปนิกชุมชน หรือว่าสถาปนิกก็ตาม ถ้า<br />

เราในฐานะนักออกแบบ ให้เราลดบทบาทหรือความตั้งใจของตนเองลง แล้วเปิดรับฟังคน<br />

รอบข้าง สำาหรับผมนะใครๆ ก็เป็นนักออกแบบได้ ใครๆ ก็เป็นสถาปนิกได้ ในบางเรื่องที่<br />

เขาทำาได้ ผมก็เลยมองว่าถ้าเราลดของเราลงแล้วเราเปิดรับคนรอบข้าง มันก็จะเกิดไอเดีย<br />

ออกแบบใหม่ๆ สถาปนิกจริงๆ อาจจะมีหน้าที่แค่รับฟังแล้วก็สังเกต แล้วก็เป็นคนขมวด<br />

ข้อมูลที่หลายๆ คนช่วยกันแสดงความคิดเห็นเข้ามา แล้วก็เป็นคนกำาหนดทิศทางบ้าง<br />

ในบางเรื่อง ผมไม่ได้มองว่ามันต้องออกมาเป็นกายภาพถึงจะออกมาเป็นสถาปัตยกรรม<br />

ชุมชน ดังนั้นจริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าคนที่ไม่รู้จักเลยก็มองว่าสถาปนิกบางคน ต้องใช้ทุก<br />

อย่างแบบสมถะ ต้องอุทิศอะไรขนาดนั้นจริงๆ เราก็ใช้ชีวิตทั่วไปปกติจริงๆ มันไม่ใช่แค่<br />

สถาปนิกอย่างเดียวที่มาอยู่ในเครือข่ายนี้ กราฟิกดีไซเนอร์ก็มีแลนด์สเคปก็มี อย่างอื่นก็มี<br />

ใครก็ได้ที่มีความถนัด ความสนใจของตัวเอง และต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ<br />

คนอื่น หรือว่าในการทำางานร่วมกันก็มาร่วมกันได้ ถ้าให้นิยามจริงๆ มันเป็น พื้นที่ว่างๆ<br />

เลย ไม่ใช่ว่าต้องมีสถาปนิกไปยืนอยู่ตรงกลางแล้วก็มีพื้นที่ มันเป็นพื้นที่ว่างๆ ที่ใครจะ<br />

เดินเข้ามาก็ได้ แล้ว มาร่วมกันคิดว่าเราอยากจะทำาอะไร? เพื่อใคร?<br />

216<br />

ASA18_Book_180419.indd 216 24/4/18 16:11


217 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 217 24/4/18 16:11


ASA FRIEND<br />

PAVILION<br />

ออกแบบโดย ศศิชลวรี สวัสดิสวนีย์<br />

จาก SILP ARCHITECTS<br />

ASA18_Book_180419.indd 218 24/4/18 16:11


แนะนำาตัว<br />

ศศิชลวรี สวัสดิสวนีย์ ปัจจุบันทำาบริษัทของตัวเอง ชื่อว่า Silp Architects บริษัทเราไม่<br />

เรียกว่ามีแนวทาง แต่ว่าสนุกกับการที่เราชอบใช้วัสดุธรรมดาให้มาอยู่ในรูปแบบอื่น ส่วน<br />

ใหญ่งานต่างๆ ของเราที่ทำาออกมาก็จะเป็นลักษณะของการที่เราเล่นกับวัสดุ เช่นว่าดีเทล<br />

หรือของที่ปัจจุบันใช้ทำาผนัง เราก็เอามาทำาฝ้า หรือของบางอย่างที่ใช้มุงหลังคา เราก็เอา<br />

ออกมามุงผนัง แม้กระทั่งการใช้ดีเทลต่างๆ กับสิ่งเหล่านั้น ในการพัฒนาและเอามาจับ<br />

รวมกัน ให้มันสะท้อนถึงความธรรมดา ที่เอามาใช้ให้เห็นแล้วมันรู้สึกว้าว เรารู้สึกว่าสนุก<br />

กับการทดลองอะไรแบบนั้น คือมันไม่ใช่เหมือนกับแค่เอามาทำางาน เอามาสร้าง แต่ว่ามัน<br />

เหมือนกับเป็นการทดลองตัวเราเอง แล้วก็กับลูกค้าด้วย เพราะว่าลูกค้าบางคนเป็นผู้รับ<br />

เหมา วิศวกร บางคนเป็นเจ้าของกิจการ เขาก็จะสนุกกับการที่ทดลองอะไรอย่างนี้ไปด้วย<br />

กันกับเรา ก็เรียกว่าโชคดีที่ได้ลองไปด้วยกัน<br />

โจทย์ที่ได้รับคือวัสดุอะไร มีคุณสมบัติ<br />

และ ลักษณะพิเศษ อย่างไร<br />

ส่วนในเรื่องของวัสดุ โจทย์ที่ได้เป็นไม้ไผ่ คือปกติไม้ไผ่มันสามารถเป็นตัวจัดนิทรรศการ<br />

ได้หลายอย่าง แต่ว่าที่เคยเห็นแล้วรู้สึกสวย คือการที่ไม้ไผ่มาสานกันแล้วทำาให้เกิดสเปซ<br />

แล้วเราก็รู้สึกทำาแบบนี้มันแพง เลยต้องคิดว่าจะทำายังไงให้มันยังถูก ด้วยการที่ไม้ไผ่มัน<br />

ยังสวยด้วยตัวของมันเอง เพราะฉะนั้นเราอยากให้ไม้ไผ่ถูกมองให้มันเป็น Volume จาก<br />

การที่ปกติมันโดนสานโดนผูกกันโดยตัวของมันเอง ไม่ว่าจะมองด้านข้างหรือด้านบนและ<br />

Volume นั้นๆ เมื่อมันอยู่รวมกันก็จะทำาให้เกิดสเปซที่ไหลได้ ซึ่งก็ตอบโจทย์อันแรก<br />

ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

พาวิเลียนนี้เรามองว่ามันคือการ โซนสเปซ ดังนั้นสเปซที่ออกแบบเนี่ยอยากออกแบบอะไร<br />

ที่มันอยู่ที่โซน หมายความว่าเวลาเดินไปแล้วไม่เจอทางตัน ผนวกกับการที่มันคือการ Exhibit<br />

หลายๆ โซนเข้าด้วยกัน ดังนั้นเราจึงอยากให้ทุกโซนได้รับการเดินผ่าน แล้วการไหลของ<br />

สเปซเอย มันก็จะแสดงเข้ามาในแบบที่คิดเริ่มต้นจริงๆ ได้ยังไง คือ เราเสิร์ชคำ าว่า <strong>Vernacular</strong><br />

ก่อนว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับคำาเหล่านี้ แล้วก็เสิร์ชหาไม้ไผ่ ซึ่งภาพที่จะเห็นมันจะเป็นเรื่องของ<br />

สเปซต่างๆ ที่เกิดจากไผ่ เราก็เลยมองว่า โดยปกติเมื่อทำางานสถาปัตยกรรม หรือทำางาน<br />

ตกแต่งภายใน เราจะไม่ค่อยชอบดูเรฟเฟอเรนซ์ของงานนั้นๆ เช่น ถ้าเราออกแบบโรงแรมเรา<br />

จะพยายามไม่ดูโรงแรม เพราะไม่งั้นเราก็จะทำาโรงแรมเป็นโรงแรม เราอยากทำาโรงแรมเป็น<br />

อย่างอื่นเพื่อให้คนอื่นรู้สึกว่าเป็นโรงแรม อาจจะงงๆ หน่อย แต่ก็อยากทำาสิ่งนั้นให้ใช่<br />

219 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 219 24/4/18 16:11


เราก็เลยมองอะไรที่มันเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น อะไรที่มันเป็นไม้ไผ่ และอะไรที่มันตอบ<br />

สนองเพื่อบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นนั่งร้านไม้ไผ่ยักษ์ ที่เคยอยู่ฮ่องกงแล้ว ทำาให้เรารู้สึก<br />

ประทับใจมาก่อน หรือมุมบนของไม้ไผ่เวลามันโดนตัดแล้วมันเป็นยังไง แล้วก็อะไรที่ Reflex<br />

ของสิ่งต่างๆ เหล่านั้น กระบวนการในการเล่นกับไม้ไผ่หรือของอะไรก็ตามที่ไม่ใช่<br />

ไม้ไผ่แต่ คล้ายไม้ไผ่ แล้วหัวข้องานนี้คือ งาน Craftsmanship มันจะเกิดอะไรขึ้นได้ ไม่<br />

ว่าจะในเรื่องของเครื่องสาน ที่จับปลา สุ่ม หรือกระบวนการต่างๆ ที่ต้องใช้ฝีมือคนในการ<br />

ทำา เราก็นั่งดูไปเรื่อยๆ แล้วเราก็มาสะดุดตาว่าไม้ไผ่มันมี Pattern ของมันไม่ว่ามันจะเป็น<br />

Pattern ที่จะเอามาใช้ในงานผนังต่างๆ เนี่ย มันเกิดขึ้นเป็น Pattern ที่ไม่ซ้ำากัน ซึ่งทำาให้<br />

เกิดเลเยอร์ต่างๆ บางทีก็เกิดการพัฒนากลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ก็เลยรู้สึกสนุก<br />

แต่ว่าโลกเปลี่ยนไป การใช้ไม้ไผ่อย่างเดียวก็ไม่ได้ เราก็เลยค้นคว้าไปอีกว่า อะไรที่มัน<br />

ไม่ใช่ไม้ไผ่ แต่ว่ามันเอามาสร้างหรือแสดงอะไรให้ได้ใกล้ๆ กับไม้ไผ่ มันก็จะมีทั้งโลหะและ<br />

เสื้อผ้า หรือไม่ก็นำาเงื่อนไขต่างๆ เช่น ช่องแสง หรือสเปซที่มันเกิดการถักการสานขึ้น แม้<br />

กระทั่งงานเหล็ก งานฉลุต่างๆ ตอนแรกเราก็เลยมองว่าเราอยากจะทำาอะไรที่มันเกี่ยวกับ<br />

ไม้ไผ่แล้วก็ทำาให้มันออกมาเป็น Volume เราก็เลยมาดูว่าเลยเอ้าท์ที่เราได้มามันคืออะไร<br />

เราก็เลยพบว่าจริงๆ พาวิเลียนของเรามันเหมือนกับมีหลายอย่าง มันก็จะมีหลายฟังก์ชั่น<br />

ก่อนหน้านี้มันก็จะมีฝั่งซ้ายฝั่งขวา แล้วถ้าเกิดในงานปกติเราจะเดินผ่านมัน เราจะหยุด<br />

แค่นี้ แล้วเราก็เดินออก เพราะฉะนั้น ฝั่งซ้ายฝั่งขวาปัจจุบันตรงนี้มันติดกับบันไดเลื่อน<br />

เราอยากให้คนไหลเข้าไป ไม่อยากให้ทุกอันโดนละเลย<br />

เราก็เลยมองให้เป็นสามมิติ เดินแล้ววนเป็นตัว U หรือเดินแล้วเลยออกไปเลย เราอยาก<br />

เริ่มด้วย Pattern ต่างๆ ของไม้ไผ่ เราก็จะได้ลักษณะของการผสานกัน แล้วก็มีทางเดิน<br />

ตรงกลาง ดังนั้น การที่คนจะเกิดการไหลได้ ไม่ว่าเขาจะเดินมาจากทางซ้ายทางขวา หรือ<br />

อีกฝั่งหนึ่งเราก็อยากให้เขาไหลไปในสเปซได้ เราก็เลยเอาไม้ไผ่มาผ่านกระบวนการมาวาง<br />

ในแนวตั้ง มันก็จะเกิดสเปซในลักษณะแบบนี้ขึ้น แต่ว่ามันก็บล็อกสายตาคน เราก็เลย<br />

สไลด์ผังมันให้เป็นสามเหลี่ยม คนที่อยู่แต่ละจุดหรืออยู่อีกฝั่งก็จะได้มุมมองที่ต่างกัน แล้ว<br />

ก็จะเห็นภาพรวมตั้งแต่อยู่ไกลๆ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดจากผังที่โดน Reflex ขึ้นมาเป็นสาม<br />

มิติแล้วก็ให้คนเดินไป ในเชิงฟังชั่นมันเป็นการจัดนิทรรศการ สิ่งต่างๆ ตามความสูงของ<br />

สิ่งที่เป็น เช่น อยู่ต่ำาๆ ก็มองเหมือนเรากำาลังก้มมอง อยู่สูงๆ ก็เหมือนกับเป็นผนัง อันนี้<br />

ก็เลยกลายเป็นไอเดียอะไรบางอย่าง<br />

ส่วนในแง่ของกระบวนการก่อสร้าง มันเริ่มต้นจากที่เราไม่อยากเอามาผูกหรือมัดกัน เรา<br />

อยากให้เห็นสิ่งที่มันเป็นเพียวๆ เลย เพราะว่าในอุดมคติเราอยากวางเฉยๆ แล้วตัดมัน<br />

แต่มันไม่ได้ เราก็เลยมองว่าถ้ามันมีฐานที่หนักแล้วขึ้นมาจาก ผังกราฟฟิกตอนแรกที่เรา<br />

220<br />

ASA18_Book_180419.indd 220 24/4/18 16:11


คิดเอาไว้ มันก็กลายเป็นฐานเหล็ก ที่เราก็ทำาเป็นที่ครอบเหล็กยึดฐานเอาไว้สานกันให้<br />

เกิดสเปซซึ่งตอนแรกมองว่ามันคือการรวมกันของวัสดุสองอย่าง คือ วัสดุยุคปัจจุบัน<br />

กับวัสดุที่มันเป็นพื้นถิ่น เป็นการล็อคกันของตัวโลหะกับไม้ไผ่ ในความสูงต่างๆ แล้ว<br />

ลักษณะของการแสดงนิทรรศการงาน ก็คือการที่มันคว้านเข้าไปแล้วเกิดสเปซข้างในที่<br />

ใช้สอยได้ หรือบางอันที่ต่ำาๆ เราก็วางของบนนั้นเพื่อที่จะให้คนก้มลงไปมองได้<br />

มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

อยากให้ได้ความรู้สึกว่าสวย แต่จริงๆ คืออยากให้เขาเดินให้ทั่ว เพราะเรารู้สึกว่าทุกปี<br />

โซนนี้มักจะไม่มีคนเดิน แม้กระทั่งเราเองก็ไม่เดิน เราก็เลยอยากทำาสเปซที่มีคนเดินเข้าไป<br />

ทุกโซน เพราะจะมี 6 บูธ ย่อยๆ อยู่ในนั้น อยากให้เขาเดินวนดูได้ทั้งหมด เขาอาจจะไม่<br />

ต้องดูก็ได้ แต่แค่เขาเดินวนได้ทั้งหมดเราก็จะรู้สึกว่าสิ่งที่เราพยายามทำามานั้นประสบ<br />

ความสำาเร็จ และด้วยตัวพาวิเลียนที่เป็นไม้ไผ่ เราอยากให้เขารู้สึกถึงตื่นเต้นถึงความไม่<br />

ธรรมดาของไม้ไผ่ที่มันว้าว ที่ไม้ไผ่สามารถนำามาทำาให้เกิดสเปซอย่างนี้ได้ โดยที่คนเดินดู<br />

งานแล้วเอนจอยกับสเปซนั้นๆ ไปด้วยกัน<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ถ้าพูดถึงคนทั่วไปหรือนักเรียนที่ไม่ใช่สถาปนิก งานนี้เป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งที่ทำาให้คนมางาน<br />

สถาปนิก (ASA) ไม่ได้มาดูแค่ของแต่งบ้าน แต่ที่หน้างานนี้มีวัสดุพื้นถิ่นต่างๆ ซึ่งอาจจะ<br />

เป็นจุดเริ่มต้นทำาให้คนที่มางานได้รู้สึก หรืออย่างน้อยมาถ่ายรูปมาสนุกกับมัน สำาหรับ<br />

ตัวนักเรียนสถาปัตยกรรมเองเราเทียบกับตัวเองสมัยก่อนนี้ เริ่มต้นถ้าให้เราเขียนแบบ<br />

เองเลยมันไม่สนุก ไม่รู้จะมาเขียนทำาไม และเซนส์ของเด็กก็อาจจะยังไม่ได้รู้ลึกขนาดที่จะ<br />

เอนจอยกับสิ่งที่ทำา เพราะปกติเราจะสนุกก็ต่อเมื่อเรารู้ว่าเราจะเอาไปใช้ทำาอะไร อ้างถึง<br />

อาจารย์ตัวเองนิดหนึ่ง คือ เขาเป็นอาจารย์สมัยปีหนึ่ง เป็นคนที่จะให้เราเรียนรู้ด้วยการ<br />

ได้ไปเห็นจริงๆ เพราะถ้าเด็กกำาลังเรียนเรื่องวัสดุอยู่แต่ไม่ได้ไปเห็นของจริงมันก็เปล่า<br />

ประโยชน์ ดังนั้นการได้เรียน ได้จับ ได้ดูว่ามันเอาไปใช้จริงๆ ยังไง จะได้รู้ว่าถ้ามันเจ๊งแล้ว<br />

จะเป็นแบบไหน มันจะทำาให้สนุกกับการเรียนและอยากรู้อยากเข้าใจมันมากขึ้น และรู้ว่าจะ<br />

เอาไปใช้อะไร เมื่อเบสิกมันแน่นเราก็จะทำาอะไรได้อีกเยอะ ดังนั้น ในเบื้องต้น ถ้าเราได้เข้า<br />

ใจเบสิกชัดๆ ต่อไปมันก็ง่ายที่จะนำาไปต่อยอด<br />

221 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 221 24/4/18 16:11


CUSTOM THAINESS:<br />

SUPEREVERYDAY<br />

OBJECTS<br />

INSTALLATION<br />

ออกแบบโดย นัฐพงษ์ พัฒนโกศัย และ ดลพร ชนะชัย<br />

จาก Cloud-floor<br />

ASA18_Book_180419.indd 222 24/4/18 16:11


แนะนำาตัว<br />

นัฐพงษ์: Cloud Floor เปิดมาเป็นปีที่ 4 แล้วครับ เราเป็นออฟฟิศสถาปนิกที่สนใจใน<br />

การออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการสร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่สาธารณะในเมืองเป็นหลัก<br />

แต่เราก็สนใจงานในหลายแง่มุม ทั้งสถาปัตยกรรม อินสตอลเลชั่น งานศิลปะ หรือแม้<br />

กระทั้งการเวิร์คช็อป คือเราพยายามจะรวบรวมในหลายความสนใจ แล้วพยายามทำา<br />

ออกไป โดยที่เราทำาไปทั้งหมด เรามีจุดมุ่งหมายเดียว ก็คือการทำางานออกแบบเพื่อเป็น<br />

ประโยชน์ต่อสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก ทำาให้เราต้องมีงานที่หลากหลายรูปแบบ<br />

เพื่อที่จะกระจายให้ถึงคนหมู่มาก<br />

ดลพร: เพราะเราไม่ได้กำาหนดผลลัพท์ตั้งแต่ต้น แต่เรามีโจทย์หนึ่งโจทย์ก่อน แล้วปลาย<br />

ทางเป็นอะไรก็ขึ้นอยู่กับการพัฒนาโจทย์นั้น ทำาให้เรามีงานทั้งในสเกลเล็กไปถึงใหญ่<br />

ช่วยอธิบายแนวความคิดในการออกแบบ<br />

และกระบวนการออกแบบพาวิเลียนนี้<br />

ดลพร: โจทย์ที่ได้รับก็คือ การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ในบริเวณงาน ซึ่งเราตีความเป็น<br />

Street Furniture ที่อยู่ในพื้นที่ระหว่างพาวิเลียนหลัก กับนิทรรศการหลัก ดังนั้นสิ่งที่เรา<br />

ออกแบบก็คือพื้นที่ที่เหมือนพื้นที่สาธารณะ โดยเราตั้งโจทย์ในการออกแบบก็คือ จะทำา<br />

อย่างไรให้คนที่เดินผ่านไปมา รู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นจุดที่เขาสามารถมานั่งพักคอยได้อย่างไม่<br />

เคอะเขิน ซึ่งเฟอร์นิเจอร์นี้ก็จะทำาหน้าที่ก้ำากึ่ง ระหว่างนิทรรศการกับที่นั่งพักไปด้วยกัน<br />

นัฐพงษ์: คือด้วยตัวธีมงานปีนี้ จะประกอบด้วย 4 ปัจจัย ตั้งแต่ ที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำางาน<br />

พื้นที่ทางสังคม และเรื่องการขนส่งเคลื่อนย้าย เราเลยพยายามดึงเรื่องเหล่านี้ให้ออกมา<br />

ในเฟอร์นิเจอร์ แล้วเราก็ดูว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง อย่างเช่นลวดเหล็กดัดของที่พัก<br />

อาศัย ก็นำามาเป็นโครงสร้าง หรือเรื่องการขนส่งเราก็ดึงความเป็นจักรยานมาใช้<br />

223 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 223 24/4/18 16:11


มีความคาดหวังต่อผู้เข้าชมผลงาน<br />

การออกแบบพาวิเลียนอย่างไร<br />

นัฐพงษ์: ผมคาดหวังให้เขาหัวเราะก่อน อยากให้เขาสนุกกับมัน กับการที่เราหยิบสิ่งที่อยู่<br />

ใกล้ตัวเขามากๆ เอามาแปรรูปให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ และเมื่อเขาได้สัมผัสมันแล้ว ก็อยาก<br />

ให้รู้สึกว่านี่คือ <strong>Vernacular</strong> จริงๆ ในชีวิตประจำาวัน อย่างที่ผมบอกว่าความไม่ธรรมดาก็<br />

คือ การทำาของธรรมดามาบวกกับโจทย์ใหม่ แล้วก็กลายเป็นสิ่งที่ไม่ธรรมดาออกมา<br />

ดลพร: คือเราเลือกใช้อารมณ์ขันที่เกิดจากความคุ้นเคย แต่เอามาออกแบบด้วยระบบใหม่<br />

ที่ทำาให้เขารู้สึกว่า ของที่เจอทุกวันแค่ถูกปรับนิดเดียว มันก็สามารถเกิดเป็นสิ่งใหม่ได้<br />

แล้วพอเฟอร์นิเจอร์พวกนี้มาจับกลุ่มกัน ก็จะเห็นชัดมากขึ้น ภายใต้เนื้อหาของการจัดงาน<br />

อาษาครั้งนี้<br />

อยากฝากอะไรกับสถาปนิกรุ่นใหม่เกี่ยวกับความสำาคัญ<br />

ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

นัฐพงษ์: อย่างแรกเลยก็คือ อย่าลืมว่าเราเป็นสถาปนิกไทย เราไม่ใช่คนยุโรป ไม่คน<br />

อเมริกัน ไม่ใช่คนญี่ปุ่น เพราะฉะนั้น เรามีเอกลักษณ์และภูมิปัญญาที่สั่งสมกันมา เวลา<br />

เราออกแบบสถาปัตยกรรมใหม่ๆ เราก็ควรใช้พื้นฐานในการแสดงเอกลักษณ์ของในแบบ<br />

ของเรา ซึ่งจะทำาให้งานสถาปัตยกรรมของเราในอนาคต เมื่อมีคนได้เห็นสถาปัตยกรรมที่<br />

ลักษณะแบบนี้ที่ไหน ก็จะได้กลับมานึกถึงงานของเรา<br />

ดลพร: เราอาจจะคิดว่าในเรื่องเทคนิค เป็นเรื่องที่ต้องใช้การฝึกฝนเป็นเวลานาน แต่ถ้า<br />

มองในเรื่องสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เราก็จะเห็นเทคนิคที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งไม่จำาเป็นต้อง<br />

มองเฉพาะเรื่องการออกแบบ แต่การมองในวิธีคิดของคนขายก๋วยเตี๋ยว ป้าแผงลอย<br />

หรือพี่วินมอเตอร์ไซค์ การปรับตัวของเขาให้กับวิถีชีวิตได้ ก็ถือว่าเป็นเทคนิคหนึ่งเช่นกัน<br />

ดังนั้นเราอาจไม่ใช้เวลามากในการฝึกเทคนิค ถ้าเราเริ่มฝึกที่จะสังเกตสิ่งเหล่านี้<br />

224<br />

ASA18_Book_180419.indd 224 24/4/18 16:11


ASA18_Book_180419.indd 225 24/4/18 16:11


ASA18_Book_180419.indd 226 24/4/18 16:11


THE INTERPRETATION OF<br />

(NEW) VERNACULAR LIVING<br />

by curators<br />

เนื้อหานิทรรศการ "วิถีชีวิตพื้นถิ่นร่วมสมัย"<br />

ASA18_Book_180419.indd 227 24/4/18 16:11


บทนำา<br />

พีรียา บุญชัยพฤกษ์ และ พิชญา นิธิภัทรารัตน์<br />

จากแนวคิดในการจัดงานนิทรรศการของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ภายใต้หัวข้อ <strong>Vernacular</strong><br />

living เนื้อหาของนิทรรศการถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม<br />

ในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากการแปรเปลี่ยนไปของสภาพแวดล้อม บริบททางสังคม<br />

กระแสโลกาภิวัตน์ และการพัฒนาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ อันสัมพันธ์กับการเปลี ่ยนแปลง<br />

และปรับตัวของสถาปัตยกรรมพื ้นถิ ่นตลอดไปจนถึงลักษณะทางกายภาพของเมืองท้องถิ ่น<br />

โดยนิทรรศการสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวผ่านกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำาวันใน<br />

พื้นที่สี่ประเภท ได้แก่ พื้นที่พักอาศัย พื้นที่ประกอบอาชีพ พื้นที่สาธารณะ และรูปแบบการ<br />

เดินทางและขนส่งในเมือง โดยตั้งอยู่ในพาวิเลียนหลัก 4 พาวิเลียน ได้แก่ <strong>Living</strong> space<br />

pavilion, Working space pavilion, Meeting space pavilion, Moving system<br />

pavilion ซึ่งภัณฑารักษ์ในแต่ละนิทรรศการได้ขยายความออกไปจากแนวความคิดหลัก<br />

อันจะแสดงรายละเอียดในเนื้อหาถัดไปจากส่วนบทนำานี้<br />

นอกจากนี้ใน Introduction pavilion ยังได้นำาเสนอวิดีทัศน์บทสัมภาษณ์ 2 เรื่อง เรื่อง<br />

แรกเป็นบทสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทย อัน<br />

ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ รศ.อนุวิทย์ เจริญศุภกุล และ รศ.ดร.วิวัฒน์<br />

เตมียพันธ์ ซึ่งได้แสดงทัศนคติและวิพากษ์ความเข้าใจต่อสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น รวมไป<br />

ถึงระบบการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในปัจจุบันและในอนาคต และบทสัมภาษณ์ของ<br />

สถาปนิกรับเชิญผู้ออกแบบพาวิเลียนทั้ง 18 กลุ่ม และสันธาน เวียงสิมา ที่ปรึกษาหลัก<br />

ของทีมอำานวยการซึ่งให้คำาปรึกษาด้านวัสดุและงานก่อสร้างพาวิเลียนในงานสถาปนิก'61<br />

ที่แสดงความเห็นต่อความหมายของคำาว่า <strong>Vernacular</strong> living ในรูปแบบบทสนทนาที่<br />

มีการจัดพิมพ์ลงในหนังสือเล่มนี้เช่นกัน วิดีทัศน์อีกเรื่องหนึ่งเป็นบทสัมภาษณ์สถาปนิก<br />

รับเชิญผู้ออกแบบพาวิเลียนทั้ง 18 กลุ่ม ที่มาอธิบายแนวคิดในการออกแบบพาวิเลียนใน<br />

งานสถาปนิก ’61 ทั้งนี้วิดีทัศน์ที่แสดงใน Introduction Pavilion นี้เป็นการตัดต่อเพื่อ<br />

เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ ผู้อ่านสามารถดูวิดีทัศน์บทสัมภาษณ์ของทุกท่านแบบฉบับ<br />

เต็มได้ที่ YouTube Channel: ASA EXPO 2018<br />

228<br />

ASA18_Book_180419.indd 228 24/4/18 16:11


นิทรรศการทั้ง 5 ส่วนนี้ ภัณฑารักษ์ทุกท่านประยุกต์ใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อสื่อสารกับผู้เข้า<br />

ชมนิทรรศการ ทั้งภาพถ่าย ภาพวาดเล่าเรื่อง หนังสั้นเชิงทดลอง ตลอดไปจนถึงการใช้<br />

เทคโนโลยี VR (Virtual reality) เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาและประเด็นสำาคัญที่ทางผู้<br />

ออกแบบต้องการสื่อสารไปยังผู้ชมนิทรรศการ นอกจากสื่อที่ติดตั้งอยู่ในพาวิเลียนหลัก<br />

แล้ว นิทรรศการทั้ง 5 พาวิเลียนยังถูกถ่ายทอดผ่านเทคนิค AR (Augmented reality)<br />

ซึ่งเป็นเทคนิคการรวม สภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนเข้าไว้ในเวลาเดียวกัน โดยวัตถุ<br />

เสมือนนั้นจะเป็นภาพหรือวิดีทัศน์ที่ช่วยขยายความเข้าใจต่อเนื้อหาของแต่ละนิทรรศการ<br />

ที่ไม่สามารถจัดทำาเป็นสภาพแวดล้อมจริงได้ รวมไปถึงกระบวนการก่อสร้างและขึ้นรูป<br />

ของพาวิเลียนอีกด้วย โดยผู้เข้าชมสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่จัดทำาขึ้นเฉพาะใน<br />

งานนี้เพื่อใช้ในการชมนิทรรศการแต่ละจุด รวมไปถึงมีการติดตั้งอุปกรณ์ให้ผู้เข้าชมได้<br />

ทดลองสร้างประสบการณ์ดังกล่าวใน Introduction pavilion อีกด้วย<br />

ทางทีมอำานวยมีความมุ่งหวังว่า การจัดทำานิทรรศการผ่านมุมมองของภัณฑารักษ์ทั้ง 5<br />

ท่าน จะทำาให้ผู้เข้าชมนิทรรศการมีความเข้าใจต่อการอยู่อาศัยแบบพื้นถิ่น สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่น และเมืองในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงตั้งข้อสังเกตต่อการแปรเปลี่ยนไปของ<br />

องค์ประกอบต่างๆ และตั้งคำาถามถึงแนวทางที่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจะพัฒนาต่อไปใน<br />

อนาคตผ่านการตีความของผู้เข้าชมนิทรรศการเอง<br />

229 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 229 24/4/18 16:11


LIVING PAVILION<br />

อิสรชัย บูรณะอรรจน์<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คือ สถาปัตยกรรมที่ไม่ได้สร้างขึ้นตามองค์ความรู้ หรือหลักการ<br />

ออกแบบที่ได้เรียนรู้ในสถาบันการศึกษา หากแต่เกิดจากภูมิปัญญาและประสบการณ์ของ<br />

ช่างพื้นบ้านที่ได้ถ่ายทอดกันมา เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมของมนุษย์ในการปรับตัวเพื่อ<br />

ให้สามารถดำารงอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นได้อย่างปกติสุข อย่างไร<br />

ก็ตาม สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมิได้เป็นเพียงภาพสะท้อนของวิถีการอยู่อาศัยในบริบท<br />

วัฒนธรรมของอดีตเท่านั้น หากยังคงมีการปรับตัวตามเงื่อนไขของปัจจัยแวดล้อมที่<br />

เปลี่ยนแปลงตามแต่ละยุคสมัย อีกทั้งรูปแบบและวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนในแต่ละท้อง<br />

ถิ่นเอง ก็ย่อมมีความแตกต่างกันตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ดัง<br />

สะท้อนให้เห็นผ่านการปรับตัวเพื่อการอยู่อาศัยในลักษณะต่างๆ<br />

ในส่วนนิทรรศการของ “<strong>Living</strong> Pavilion” นำาเสนอลักษณะและรูปแบบการอยู่อาศัยภายใน<br />

เรือนพื้นถิ่นในหลากหลายรูปแบบ ผ่านการสื่อความหมายด้วยภาพถ่ายของสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นทั้งในบริบทวัฒนธรรมของประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง<br />

ใต้ ทั้งนี้ การจัดวางภาพถ่ายจะจำาแนกตามลักษณะการใช้สอยพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการอยู่<br />

อาศัยทั้งภายในเรือนและภายนอกเรือน เพื่อให้ผู้ชมนิทรรศการสามารถสร้างกระบวนการ<br />

เรียนรู้ผ่านการเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างในบริบทวัฒนธรรมของแต่ละท้อง<br />

ถิ่น โดยแบ่งประเภทของชุดภาพเป็นหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้<br />

การตั้งถิ่นฐาน (Settlement)<br />

นำาเสนอลักษณะการตั้งถิ่นฐานที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยในระดับมหภาค<br />

ที่ส่งอิทธิพลต่อรูปแบบและวิถีการดำารงชีวิต<br />

รูปทรงอาคาร (Building Form)<br />

เป็นลักษณะทางกายภาพภายนอกที่แสดงให้เห็นถึง องค์ประกอบและสัดส่วนของเรือนที่<br />

สัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ภูมิปัญญาในการก่อสร้างและการเลือกใช้วัสดุ<br />

ก่อสร้าง รวมไปถึง ในบางพื้นที่ยังสะท้อนถึงคติความเชื่อและค่านิยมผ่านรูปทรงและองค์<br />

ประกอบภายนอกของเรือน<br />

230<br />

ASA18_Book_180419.indd 230 24/4/18 16:11


พื้นที่เปลี่ยนผ่าน (Transition area)<br />

พื้นที่เปลี่ยนผ่าน (Transition area) เป็นคุณลักษณะของพื้นที่ที่แสดงถึงความเชื่อมโยง<br />

ระหว่างพื้นที่ภายในกับพื้นที่ภายนอก โดยทั่วไปจะเป็นลักษณะของพื้นที่เปลี่ยนผ่านระหว่าง<br />

ความเป็นสาธารณะ (Public) และความเป็นส่วนตัว (Private) อย่างไรก็ตาม ในบาง<br />

วัฒนธรรมมีการให้ความหมายในเชิงนามธรรม เพื่อแบ่งแยกระหว่างความดีกับความชั่ว<br />

หรือระหว่างความเป็นมนุษย์กับวิญญาณ<br />

พื้นที่ทำางาน (Working area)<br />

เป็นพื้นที่ใช้สอยที่ต้องการคุณลักษณะของพื้นที่ที่มีความเฉพาะเจาะจง โดยพื้นที่ทำางาน<br />

สามารถอยู่ได้ทั้งพื้นที่ภายใน พื้นที่เปลี่ยนผ่าน หรือพื้นที่ภายนอกของเรือน ขึ้นอยู่กับ<br />

ลักษณะกิจกรรมของการทำางานแต่ละประเภท ความต้องการแสงสว่าง ความร้อน รวมไป<br />

ถึงขนาดของอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำางาน<br />

พื้นที่พักผ่อน (<strong>Living</strong> area)<br />

เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ภายในเรือน ทำาหน้าที่รองรับกิจกรรมต่างๆ ภายในครอบครัว<br />

มีคุณลักษณะการใช้สอยที่มีความยืดหยุ่นสูง ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้<br />

พื้นที่ทางความเชื่อ (Belief area)<br />

เป็นพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการให้ความหมายในมิติเชิงนามธรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงคติความ<br />

เชื่อซึ่งสัมพันธ์บริบททางวัฒนธรรมของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ การให้ความหมายของ<br />

พื้นที่ทางความเชื่อในมิติเชิงนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรมในเชิงกายภาพนั้น สามารถ<br />

ทำาได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการกำาหนดตำาแหน่ง ขนาดและพื้นที่ รวมไปถึงการประดับ<br />

ตกแต่งด้วยองค์ประกอบและการใช้สี<br />

พื้นที่ครัว (Kitchen area)<br />

เป็นพื้นที่สำาหรับใช้ประกอบอาหาร ซึ่งสัมพันธ์กับวัฒนธรรมการกินของแต่ละพื้นที่ โดย<br />

เฉพาะในบริบทของเรือนแบบบุพกาลที่ใช้แม่เตาไฟ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางเปรียบ<br />

เสมือนหัวใจหลักของเรือน ซึ่งนอกเหนือจากการใช้หุงหาอาหารแล้ว ยังทำ าหน้าที่ให้ความ<br />

231 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 231 24/4/18 16:11


อบอุ่นภายเรือน รวมไปถึงเป็นที่เก็บพืชผลและเมล็ดพันธุ์สำาหรับการเพาะปลูกโดยอาศัย<br />

ความร้อนและควันจากแม่เตาไฟในการป้องกันแมลง อย่างไรก็ตาม เมื่อบริบทสังคมและ<br />

วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไป ก็ย่อมส่งผลต่อขนาดและกิจกรรมในส่วนครัวที่มีการปรับตัวไป<br />

ตามแต่ละยุคสมัย<br />

พื้นที่ใต้ถุน<br />

พื้นที่ใต้ถุน เนื่องจากในวัฒนธรรมการปลูกสร้างเรือนของประเทศไทยและประเทศในเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้โดยส่วนใหญ่ นิยมการปลูกสร้างเรือนยกพื้นเพื่อหนีน้ำาท่วมในเขตที่<br />

ราบลุ่ม หรือการป้องกันแมลงและสัตว์ร้ายในเขตพื้นที่สูง ด้วยคุณลักษณะดังกล่าว<br />

ทำาให้เกิดพื้นที่บริเวณใต้ถุนของเรือน และมีการเข้าไปใช้สอยพื้นที่ใต้ถุน เป็นลักษณะของ<br />

การจัดการสภาพแวดล้อมโดยรอบเรือน ทั้งในส่วนของการปรับสภาพพื้นที่โดยรอบ รวมไปถึง<br />

การปลูกพืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภูมินิเวศของท้องถิ่น ทั้งนี้ การจัดการดัง<br />

กล่าว อาจให้ประโยชน์ทั้งในแง่ของหน้าที่ใช้สอย ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อภูมิทัศน์ที่<br />

สวยงามโดยรอบเรือนด้วย<br />

เนื้อหานิทรรศการในส่วนของ <strong>Living</strong> Pavilion มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ชมนิทรรศการได้เห็น<br />

ถึงความหลากหลายของรูปแบบและลักษณะการใช้สอยพื้นที่ที่สะท้อนถึงแนวคิดของ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพื่อขยายพรมแดนการรับรู้และมุมมองทางด้านสถาปัตยกรรม<br />

ในอีกมิติหนึ่ง โดยมุ่งหวังให้เกิดแรงบันดาลใจในการต่อยอดความคิดเพื่อสร้างสรรค์<br />

งานสถาปัตยกรรมต่อไป นอกจากนี้ ในนิทรรศการได้นำาเสนอเนื้อหาทั้งในบริบทของ<br />

ประเทศไทย และในบริบทของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นภาพสะท้อนถึง<br />

บริบทความสัมพันธ์และรากฐานทางวัฒนธรรมของผู้คนในภูมิภาค อีกทั้ง ยังเป็นการ<br />

สร้างบรรยากาศของความเข้าใจในความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยมี<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นตัวบอกเล่า<br />

รูปแบบการนำาเสนอนิทรรศการ<br />

นิทรรศการในส่วนของ <strong>Living</strong> Pavilion จะใช้สื่อการเสนอหลักในรูปแบบของการปริ้นรูป<br />

ภาพลงบน Canvas และมีการจัดกลุ่มรูปภาพตามหัวข้อทั้ง 9 ประเภท ได้แก่ 1) การตั้ง<br />

ถิ่นฐาน 2) รูปทรงอาคาร 3) พื้นที่เปลี่ยนผ่าน 4) พื้นที่พักผ่อน/รับแขก 5) พื้นที่ทำางาน<br />

6) พื้นที่ทางความเชื่อ 7) พื้นที่ใต้ถุน 8) พื้นที่สวน ทั้งนี้ตำาแหน่งของกลุ่มรูปภาพ จะจัด<br />

วางตามคุณลักษณะของพื้นที่ในแต่ละหัวข้อให้สัมพันธ์กับพื้นที่ของ Pavilion โดยหัวข้อ<br />

มีคุณลักษณะของพื้นที่ภายนอกจะติดตั้งในตำาแหน่งที ่ความสัมพันธ์พื้นที่ภายนอกของ<br />

Pavilion ในขณะที่หัวข้อมีคุณลักษณะของพื้นที่ภายในจะติดตั้งในตำาแหน่งอยู่ในที่ความ<br />

สัมพันธ์พื้นที่ภายในของ Pavilion<br />

232<br />

ASA18_Book_180419.indd 232 24/4/18 16:11


การจัดวางกลุ่มรูปภาพของนิทรรศการใน <strong>Living</strong> Pavilion<br />

1) การตั้งถิ่นฐาน (Settlement)<br />

2) รูปทรงอาคาร (Building Room)<br />

3) พื้นที่เปลี่ยนผ่าน (Transition are)<br />

4) พื้นที่ทำางาน (Working area)<br />

5) พื้นที่พักผ่อน (<strong>Living</strong> area)<br />

6) พื้นที่ครัว (Kitchen area)<br />

7) พื้นที่ทางความเชื่อ (Belief area)<br />

8) พื้นที่ใต้ถุน<br />

9) พื้นที่โดยรอบ (Surrounding area)<br />

233 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 233 24/4/18 16:11


พลวัตสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ในการปรับตัวสู ่สังคมร่วมสมัย และเทคโนโลยีสมัยใหม่:<br />

มองผ่านพื้นที่การทำางาน<br />

ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์<br />

ที่มาและคำาถาม<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบในการใช้ชีวิตประจำาวันของผู้อยู่อาศัย<br />

ภายใต้บริบทและสังคมแวดล้อม หากพิจารณาสถาปัตยกรรมเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ผ่าน<br />

การใช้สอยในหลากหลายกิจกรรมทั้งการพักอาศัย กิน อยู่ หลับ นอน ทำางาน ต่อเนื่อง<br />

ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ย่อมผ่านการลองผิดลองถูกและปรับตัวให้เหมาะสม<br />

กับการดำารงชีวิตซึ่งถือเป็น “พลวัต” ที่เคลื่อนผ่านรอบตัวเราโดยผู้ใช้สอยไม่รู้ตัว จึงเป็น<br />

ที่มาที่ควรให้ความสนใจกับพลวัตของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเพื่อตอบสนองและปรับตัว<br />

เข้าสู่สังคมร่วมสมัยและเทคโนโลยีสมัยใหม่ผ่านพื้นที่ของการประกอบอาชีพ ในประเด็น<br />

คำาถามว่า “ภายใต้นวัตกรรมใหม่ที่ย่อโลกและการปรับตัวของท้องถิ่น..สถาปัตยกรรมพื้น<br />

ถิ่นตอบสนองและปรับตัวเข้าสู่สังคมร่วมสมัยและเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างไร” โดยมอง<br />

ผ่านพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงใน 3 สังคม ได้แก่ สังคมชนบท สังคมชนบทกึ่ง<br />

เมือง และสังคมเมือง จากนั้นแล้วเมื่อย้อนกลับมาพิจารณาความหมายและคุณค่าของ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในยุคปัจจุบัน เราจะให้คำานิยามและมองคุณค่าของสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ รวมถึง “เรา” จะสามารถออกแบบและปรับใช้เทคโนโลยี<br />

สมัยใหม่กับชีวิตงาน ชีวิตครอบครัว และชีวิตส่วนตัวของตนเองอย่างไร<br />

ในอดีตพื้นที่การดำาเนินชีวิตประจำาวัน “วิถีชีวิตของครอบครัว” และ “วิถีการประกอบ<br />

สัมมาอาชีพ” นั้นเคยสัมพันธ์อยู่ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมาก่อน พื้นที่ของการประกอบ<br />

อาชีพนอกจากจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ของการทำางาน อันยังผลทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ยัง<br />

ผนวกรวมกิจกรรมของครอบครัวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำาวัน และในบางพื้นที่ยัง<br />

หมายรวมถึงวิถีทางสังคมวัฒนธรรมอีกด้วย เช่น พื้นที่ไร่นาในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว วิถีชนบท<br />

ชักชวนเพื่อนบ้านลงแขกเกี่ยวข้าว นอกจากจะได้รวงข้าวอันเป็นผลิตผลซึ่งแปลงเป็นราย<br />

ได้หลักของครอบครัวแล้ว การทำางานร่วมกันระหว่างเก็บการเกี่ยว ได้พูดคุยแลกเปลี่ยน<br />

ถกถึงปัญหาในชุมชนและหาแนวทางแก้ไข เป็นการทำางานที่ทุกเพศทุกวัยสามารถมีส่วน<br />

ร่วมได้ ในขณะเดียวกันท้องนายังเป็นที่วิ่งเล่นของลูกเด็กเล็กแดง เรียนรู้และเติบโตใกล้หู<br />

ใกล้ตาผู้ใหญ่ในสังคม<br />

234<br />

ASA18_Book_180419.indd 234 24/4/18 16:11


จนกระทั่งในช่วงอุตสาหกรรมในประเทศขยายตัวก่อให้เกิดอาชีพและความต้องการ<br />

แรงงานเพิ่มขึ้น เป็นผลให้สมาชิกในครอบครัวจะต้องเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปทำางาน<br />

ข้างนอก ดังนั้นแล้วพื้นที่ของครอบครัวและพื้นของการทำางานจึงถูกแยกขาดจากกัน<br />

แต่ในปัจจุบัน การพัฒนาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การทำางานผ่านอุปกรณ์สื่อสาร<br />

เคลื่อนที่ การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทำางานอีกครั้ง<br />

ทางเลือกหนึ่งของการทำางานถูกการออกแบบและได้รับการจัดการให้สามารถผนวกรวม<br />

พื้นที่ทำางานซึ่งสร้างรายได้ และพื้นที่ชีวิตครอบครัวให้กลับมาซ้อนทับกันได้อีกครั้ง<br />

การใช้พื้นที่และการนำาเสนอ<br />

ภายใต้พาวิเลียนที่ออกแบบโดยการใช้ “อิฐ” อันเป็นวัสดุก่อสร้างที่รังสรรค์กระบวนการ<br />

ผลิตผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งพัฒนาวัสดุในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ อิฐดินดิบ อิฐ<br />

มอญตัน อิฐรูหรืออิฐกลวง อิฐพิเศษที่ผ่านกรรมวิธีการอัดด้วยแรงกดสูงเพื่อเพิ่มความ<br />

สามารถในการป้องกันความร้อนและทนความชื้น อิฐ จึงเป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานสำาหรับ<br />

การก่อสร้างอาคารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การก่อสร้างอาคารด้วยระบบโครงสร้างผนัง<br />

รับน้ำาหนัก (Load bearing wall) สื่อแสดงถึงคุณลักษณะสำาคัญของอิฐคือรับแรงอัดได้ดี<br />

ด้วยลักษณะสำาคัญข้อนี้จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการออกแบบรูปลักษณ์ของพาวิเลียน<br />

นอกจากจะเลือกใช้รูปทรงของ Arch โค้งซึ่งแสดงถึงลักษณะพิเศษของวัสดุแล้ว ในทาง<br />

โครงสร้างยังเป็นการถ่ายแรงแบบ Pointed vault โดยผนวกรูปทรงดังกล่าวเข้ากับเหล็ก<br />

รูปพรรณดัดโค้งซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อให้ขนย้ายสะดวก ก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว<br />

อีกทั้งรูปทรงของพาวิเลียนที่เกิดจากการเชื่อม Arch แต่ละหน่วย (Unit) ต่อเนื่องกัน ทำา<br />

หน้าที่เป็นตัวกำาหนดพื้นที่ในการจัดแสดงพื้นที่การทำ างานในแต่ละสังคมที่แตกต่างกันอีกด้วย<br />

235 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 235 24/4/18 16:11


บริเวณทางเข้าพาวิเลียนเปิดด้วยคำาถามว่า “ภายใต้นวัตกรรมใหม่ที่ย่อโลกและการปรับ<br />

ตัวของท้องถิ่น..สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นตอบสนองและปรับตัวเข้าสู่สังคมร่วมสมัยและ<br />

เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างไร?”<br />

เนื้อหาด้านในพาวิเลียน ทำาหน้าที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของอาชีพด้านเกษตรกรรม อาชีพ<br />

ด้านอุตสาหกรรม-หัตถกรรม และอาชีพด้านบริการ-พาณิชยกรรมที่เคยใช้ชีวิตการทำางาน<br />

และชีวิตครอบครัวในพื้นที่เดียวกัน ร่วมกันมาก่อน ผ่านมาในยุคอุตสาหกรรมในประเทศ<br />

ขยายตัวที่แยกขาดพื้นที่ของครอบครัวและพื้นของการทำางานออกจากกัน จนในปัจจุบัน<br />

นี้ความทันสมัยของเทคโนโลยีน้อมนำาให้พื้นที่ทำางานและพื้นที่ชีวิตครอบครัวกลับมาซ้อน<br />

ทับกันอีกครั้ง<br />

236<br />

ASA18_Book_180419.indd 236 24/4/18 16:11


ตัวอย่างภาพประกอบในนิทรรศการ<br />

การนำาเสนอเนื้อหาภายใน Working space pavilion แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ผ่านการ<br />

บอกเล่าพัฒนาการ 3 ช่วงใน 3 สังคม ได้แก่ (1) สังคมชนบทที่มีความหนาแน่นและ<br />

หลากหลายของอาชีพเกษตรกรรม (2) สังคมชนบทกึ่งเมืองที่มีความหนาแน่น และ<br />

หลากหลายของอาชีพด้านอุตสาหกรรม-หัตถกรรม (3) สังคมเมืองที่มีความหนาแน่น<br />

และหลากหลายของอาชีพด้านบริการ-พาณิช ทั้งนี้เนื้อหาในแต่ละโซนนำาเสนอผ่าน<br />

Graphic timeline ที่คลี่คลายเป็นลายเส้น พริ้นท์ลงบน Canvas<br />

ส่วนพื้นที่ตรงกลาง Pavilion เป็นพื้นที่ที่สื่อแสดงถึงการผนวกรวมกันของ เทคโนโลยี<br />

การทำางาน การปฏิสัมพันธ์กันของคนในสังคม ผ่านเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวและ Graphic เป็น<br />

การตั้งคำาถามสุดท้ายก่อนออกจากพาวิเลียน ว่า “เราจะออกแบบและปรับใช้เทคโนโลยี<br />

สมัยใหม่ กับชีวิตงาน ชีวิตครอบครัว และชีวิตส่วนตัวของตนเองอย่างไร?”<br />

237 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 237 24/4/18 16:11


THE SUPERIMPOSED LAYERS ON<br />

THE (CONTEMPORARY) PUBLIC SPACE<br />

มิติซ้อนทับบนพื้นที่สาธารณะ (ร่วมสมัย)<br />

พีรียา บุญชัยพฤกษ์<br />

วิธีการหนึ่งในการทำาความเข้าใจพื้นที่สาธารณะของไทยนั้น อาจมองผ่านแนวความคิด<br />

การตีความเชิงปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology approach) ซึ่งให้ความสำาคัญกับ<br />

ลักษณะที่เป็นที่จดจำาของผู้ใช้งาน และความเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ที่มีความหลากหลาย<br />

ของกลุ่มคนใช้งานและเกิดกิจกรรมหลายประเภท คุณลักษณะร่วมกันเหล่านี้ทำาให้พื้นที่<br />

สาธารณะถูกพัฒนาและสร้างซ้อนทับกลายเป็นพื้นที่ทางสังคม ที่มีความหมายลึกซึ้งมาก<br />

ไปกว่าจะพิจารณาลักษณะความเป็นสาธารณะของพื้นที่เพียงอย่างเดียว คุณลักษณะดัง<br />

กล่าวนี้อาจพบเห็นได้จากการใช้พื้นที่สาธารณะของเมืองโดยคนในชุมชน เช่น พื้นที่ลาน<br />

วัด ที่ถูกใช้จัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา การจัดงานรื่นเริง<br />

หรือกระทั่งพื้นที่ริมน้ำาของบางวัดก็กลายเป็นตลาดนัดหรือตลาดสดของชุมชน เป็นต้น<br />

มิติการซ้อนทับของการใช้พื้นที่สาธารณะและพื้นที่ทางสังคมยังปรากฎให้เห็นในการใช้<br />

ชีวิตประจำาวันของคนในชุมชนเมืองทั่วไป เช่น การดัดแปลงเอาพื้นที่โครงข่ายสาธารณะ<br />

ของเมือง อย่างเช่นทางรถวิ่งและทางเท้าที่มีร่มเงา มาใช้เพื่อทำากิจกรรมทางสังคมหรือ<br />

ใช้เพื่อกิจกรรมเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ลักษณะการซ้อนทับของกิจกรรม<br />

ประเภทกิจกรรม และผู้คนหลายกลุ่ม เป็นลักษณะที่สำาคัญอย่างหนึ่งของพื้นที่สาธารณะ<br />

และการสร้างพื้นที่ทางสังคมเฉพาะถิ่นแบบไทยๆ<br />

ในปัจจุบัน นอกจากการพูดถึงการซ้อนทับของกิจกรรมที ่หลากหลายบนพื ้นที ่สาธารณะแล้ว<br />

การเปลี่ยนแปลงของสังคมเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ที่การพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องมือสื่อสาร<br />

ช่วยให้เข้าถึงสังคมออนไลน์ได้ทุกหนทุกแห่งและตลอดเวลา โซเชียลมีเดีย (Social media)<br />

ถูกมองเป็นพื้นที่ทางสังคมที่สมาชิกสามารถสร้าง มีส่วนร่วม และแลกเปลี่ยนความ<br />

สัมพันธ์ต่อกัน และอาจกล่าวได้ว่าสังคมออนไลน์สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่บน<br />

พื้นที่ที่ปราศจากพื้นที่ทางกายภาพ (Spaceless) อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นมิติการซ้อน<br />

ทับบนพื้นที่สาธารณะระหว่างโลกทางกายภาพ (Real world) และการปฏิสัมพันธ์บนโลก<br />

ออนไลน์ ที่แม้ผู้คนจะอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่กลับตัดขาดการสื่อสารออกจากกัน และ<br />

ต่างสร้างปฏิสัมพันธ์กันบนพื้นที่ออนไลน์กับผู้คนบนโลกเสมือน (Virtual community)<br />

สิ่งเหล่านี้ทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิธีการใช้พื้นที่สาธารณะ และรูปแบบการสร้าง<br />

ปฏิสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีแนวโน้มว่ามีการสื่อสารแบบประจัน<br />

238<br />

ASA18_Book_180419.indd 238 24/4/18 16:11


หน้า (Face-to-face) กันน้อยลง การพบปะกันอย่างไม่ตั้งใจ (Encounter) จากการเดิน<br />

ทางหรือการทำากิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะไม่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ตามธรรมชาติ<br />

ต่อกันเท่าที่ควร เพราะเราต่างก็นำาตัวเองเข้าไปสู่โลกเสมือนจริง คนมีความตระหนักต่อ<br />

สภาพแวดล้อมรอบข้างต่างๆ ที่ตนกำาลังดำารงอยู่น้อยลง การใช้พื้นที่สาธารณะจึงเริ่ม<br />

มีลักษณะการใช้งานเพื่อตัวบุคคลหรือด้วยคนเพียงคนเดียวมากขึ้นกว่าการทำากิจกรรม<br />

แบบกลุ่ม อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาลงไปในปรากฎการณ์ดังกล่าวเราอาจมองได้ว่า<br />

ปรากฎการณ์นี้มีแนวโน้มลดความสัมพันธ์ของผู้คนในระดับสังคมในพื้นที่สาธารณะ แต่<br />

จากมุมมองเสรีนิยมกลับเพิ่มคุณลักษณะของความเป็นปัจเจกของผู้คนในพื้นที่สาธารณะ<br />

(Individulisation in the public space) 1 ผู้คนมีอิสระที่จะสามารถทำากิจกรรมของตนเอง<br />

มองและถูกมองอยู่ภายในพื้นที่สาธารณะของสังคม โดยแยกกันไปตามวัตถุประสงค์และ<br />

ความสนใจของตนเอง<br />

การซ้อนมิติของโลกออนไลน์และพื้นที่ทางกายภาพของเมืองยังส่งผลกระทบถึงการ<br />

ออกแบบพื้นที่สาธารณะให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้คนใน<br />

พื้นที่สาธารณะซึ่งเกิดขึ้นในเมืองหลายๆ แห่งทั่วโลก เช่น การสร้างเลนทางเดินสำาหรับ<br />

คนเล่นมือถือโดยเฉพาะ การออกแบบเชิงทดลองของ Street furniture ที่สอดคล้องกับ<br />

พฤติกรรมการใช้มือถือเชื่อมต่อโลกออนไลน์มากขึ้น เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ก็ทำาให้<br />

เริ่มมีกระแสตื่นตัวในการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่จะช่วยให้คนหันกลับมามีปฏิสัมพันธ์<br />

ประจันหน้ากันมากขึ้น<br />

ตัวอย่างหนึ่งของมิติใหม่ของการซ้อนทับของพื้นที่สาธารณะที่น่าสนใจ และก่อให้เกิดการ<br />

วิพากษ์วิจารณ์ถึงแนวทางการใช้พื้นที่สาธารณะในยุคดิจิตอล คือ ความนิยมอย่างแพร่<br />

หลายของเกม Pokemon-go ในปี 2016 เกม Pokemon-go ได้สร้างปรากฎการณ์<br />

ใหม่ที่ทำาให้ผู้คนออกมาใช้พื้นที่สาธารณะเป็นวงกว้างทั่วโลก และรวมถึงในเมืองไทย<br />

Pokemon-go เป็น เกมที่ใช้เทคนิค Augmented reality (AR) สร้างมิติการซ้อนทับ<br />

ของโลกเสมือนที่ถูกสร้างขึ้นโดยเลียนแบบสภาพแวดล้อมจริงโดยการใช้ที่ตั้งของสถานที่<br />

จริง (Location-based) เกม Pokemon-go สร้างปรากฏการณ์ที่ทำาให้คนออกไปสู่พื้นที่<br />

239 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 239 24/4/18 16:11


สาธารณะและกึ่งสาธารณะของเมือง และสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบๆ ที่มีความสนใจ<br />

ใกล้เคียง เป็นนวัตกรรมที่เชื่อมมิติการซ้อนทับของสังคมออนไลน์และโลกเสมือนจริง<br />

ที่เป็นรูปธรรม จนอาจกล่าวได้ว่า นี่อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พื้นที่<br />

สาธารณะร่วมสมัย ที่อาจทำาให้เราสร้างความเข้าใจพื้นที่สาธารณะในนิยามใหม่ การตั้ง<br />

คำาถามถึงสิทธิการใช้พื้นที่สาธารณะ และรวมไปถึงคำาถามที่ว่าคนในเมืองอาจต้องการ<br />

แนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะแบบใหม่ๆ ?<br />

ตัวอย่างการเกิดขึ้นของเกม Pokemon-go และ Urban game อื่นๆ สะท้อนถึงศักยภาพ<br />

การใช้พื้นที่สาธารณะของเมือง และวิธีการจดจำาและใช้เมืองที่มีความหลากหลายจากคน<br />

หลายๆ กลุ่ม นิทรรศการ The superimposed layers on the (contemporary) public<br />

space ในงานสถาปนิก ’61 ครั้งนี้ ตั้งคำาถามถึงมิติการซ้อนทับระหว่างโลกออนไลน์และ<br />

พื้นที่ทางกายภาพ โดยผ่านเทคนิค Virtual reality ว่า หากพาวิเลียน Meeting space<br />

ถูกตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ทางสังคมของไทยในบริบทอื่นๆ จะมีลักษณะอย่างไร<br />

พร้อมกับการนำาเอารูปแบบการสื่อสารบนโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น Twitter แบบเรียลไทม์<br />

ซ้อนทับลงบนแบคกราวน์ของสถานที่จุดนัดพบต่างๆ ที่มีชื่อเสียงของกรุงเทพมหานคร<br />

จุดมุ่งหมายเชิงลึกของการใช้เทคนิค Virtual reality นี้ มุ่งตั้งคำาถามถึงการดำารงอยู่ของ<br />

ร่างกายและความคิด (Body and mind) ของผู้เล่นในนิทรรศการ บนโลกเสมือนจริงที่<br />

ซ้อนทับอยู่บนพื้นที่สาธารณะของพาวิเลียนในงานสถาปนิก 61 ว่าเราควรจะหันกลับมามี<br />

ความตระหนักต่อการดำารงอยู่ในสภาพแวดล้อม ณ ตอนนี้อย่างไร และสร้างความสมดุล<br />

ระหว่างการปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์และการพบปะแบบประจันหน้าอย่างไร<br />

1<br />

อ่านการวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างคำาจำากัดความเกี่ยวกับความเป็นสาธารณะ การนิยาม<br />

ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่สาธารณะและการสร้างตัวตนได้ใน Parkinson, J. (2012), Democracy<br />

and Public Space: The Physical Sites of Democratic Performance, Oxford: Oxford Press.<br />

240<br />

ASA18_Book_180419.indd 240 24/4/18 16:11


241 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 241 24/4/18 16:11


RESPONSIVE MECHANISM TOWARDS<br />

THE NETWORK SOCIETY<br />

กลไกที่ตอบสนองต่อสังคมเครือข่าย<br />

ปิยา ลิ้มปิติ<br />

If we take variations of vernacular mobility as evidence of responsive<br />

mechanism to contemporary society, what would be the possible scenarios of<br />

city/place in the future?<br />

การเคลื่อนที่และสัญจรเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดสังคมเมือง เมื่อเราทำาความเข้าใจก่อน<br />

ว่าเมืองเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของผู้คนเพื่อบริหารจัดการผลผลิตที่มากเกินความ<br />

จำาเป็นขั้นพื้นฐานและกลายเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การเคลื่อนที่ของคนและ<br />

สินค้าจึงเป็นปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้เกิดความเป็นเมือง ยิ่งพื้นที่ไหนมีรูปแบบการเคลื่อนที่ของ<br />

คนและสิ่งของมาก ยิ่งจำาเป็นต้องมีระบบขนส่งรองรับที่มีความหนาแน่นและหลากหลาย<br />

มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ระบบขนส่งที่หลากหลายจึงมีความเฉพาะถิ่นและเป็นสิ่งซึ่งสะท้อน<br />

วิถีชีวิตและความต้องการในสังคมนั้นจนกลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในชีวิตประจำาวัน<br />

สังคมเมืองแต่เดิมมีรูปแบบการเคลื่อนที่ในลักษณะที่คนเดินทางไปหาสินค้าอุปโภค<br />

บริโภคและบริการเป็นหลัก โดยเจาะจงไปในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งของเมืองและในช่วงเวลา<br />

ที่สอดคล้องกันไปเป็นความเคยชินของสังคม คนเดินทางไปหาของกินในลักษณะเป็น<br />

กิจวัตรประจำาวันช่วงเวลาเช้า-กลางวัน-เย็นที่ร้านค้าและตลาด ส่วนการจับจ่ายข้าวของ<br />

เครื่องใช้อาจเดินทางไปห้างสรรพสินค้าทุกสุดสัปดาห์ ในขณะที่มีการเดินทางไปรับบริการ<br />

อื่นในระหว่างสัปดาห์เป็นครั้งคราว เช่น การเดินทางไปทำาธุรกรรมการเงินที่ธนาคาร การ<br />

เดินทางไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล หรือไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน จึงจะเห็นได้ว่า รูป<br />

แบบการเคลื่อนที่ของคนไปหาสินค้าและบริการที่มีความถี่และช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันนี้<br />

ทำาให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในระหว่างการทำากิจกรรม และเกิดระบบขนส่งรองรับ<br />

เฉพาะบางช่วงเวลาในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง(เท่านั้น) หรืออาจกล่าวได้ว่า รูปแบบการ<br />

เคลื่อนที่และกิจกรรมมีผลกระทบอย่างใกล้ชิดต่อการสร้างรูปแบบของระบบการขนส่ง<br />

ย่อย เพื่อตอบสนองการเดินทางไปถึงกิจกรรมแต่ละประเภท และสอดคล้องไปกับลักษณะ<br />

ทางกายภาพเฉพาะถิ่นของพื้นที่นั้นๆ<br />

242<br />

ASA18_Book_180419.indd 242 24/4/18 16:11


บริบทสังคมเครือข่ายในปัจจุบันมีแนวโน้มว่ารูปแบบการเคลื่อนที่จะเปลี่ยนไปกลายเป็น<br />

สินค้าและบริการสามารถเดินทางไปหาผู้บริโภคได้ในทุกที่ทุกเวลา เมื่อพฤติกรรมและ<br />

ค่านิยมสังคมยึดเอาความสะดวกรวดเร็วและความต้องการเฉพาะของลูกค้าในการรับ<br />

สินค้าและบริการเป็นที่ตั้ง อย่างเช่นการสั่งอาหารจากร้านดังมาส่งถึงที่ทำางาน หรือการ<br />

สั่งอาหารสดหรือของใช้เฉพาะอย่างที่ต้องการจากซุปเปอร์มาร์เกตให้มาส่งที่บ้าน ซึ่งต่าง<br />

จากรถพุ่มพวงที่บริการของสดเคลื่อนทีไปให้ได้เลือกเองในย่านที่อยู่อาศัยไกลเมือง ส่วน<br />

การบริการบางอย่างเราสามารถทำาได้เองผ่านระบบออนไลน์ เช่น การบริการทางการเงิน<br />

และระบบชำาระเงินผ่านมือถือ กิจกรรมบางประเภทเราสามารถเรียกมาบริการได้ถึงที่ ขึ้น<br />

อยู่กับความต้องการเรา ตั้งแต่ครูสอนโยคะจนถึงแพทย์และพยาบาล ทั้งนี้ เมื่อเทคโนโลยี<br />

เครือข่ายยกระดับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการให้เป็นตามความต้องการของลูกค้า<br />

แล้ว ระบบขนส่งจึงต้องรองรับคนและสินค้าได้ในทุกที่ทุกเวลาเช่นกัน<br />

นอกจากการรูปแบบเคลื่อนที่ของสินค้าและบริการแล้ว ในสังคมปัจจุบันยังมีการพัฒนา<br />

รูปแบบการเคลื่อนที่เพื่อแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ตามแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing<br />

economy) อย่างเช่นการแลกเปลี่ยนห้องพักสำาหรับนักท่องเที่ยวในช่วงเวลาหนึ่ง การ<br />

แบ่งปันอุปกรณ์ของใช้ต่างๆร่วมกัน รวมถึงระบบขนส่งที่ใช้พาหนะส่วนตัวมาบริการรับ-<br />

ส่งสาธารณะ ด้วยระบบการทำางานที่ยืดหยุ่นนี้ เราจึงอาจเห็นวินมอเตอร์ไซค์ที่ในตอนเช้า<br />

รับส่งคน ขณะที่เวลากลางวันส่งอาหาร และกลางคืนส่งของก็เป็นได้<br />

243 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 243 24/4/18 16:11


ความสามารถในการตอบสนองพฤติกรรมสังคมเครือข่ายแบบไทยๆ และการเปิดรับเอา<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศมารองรับรูปแบบการเคลื่อนที่ที่หลากหลายจึงเป็นคุณสมบัติหนึ่ง<br />

ที่ “ไม่ธรรมดา” ของระบบขนส่งท้องถิ่น เมื่อมีทางเลือกในการรับสินค้าและบริการที่<br />

ปรับเปลี่ยนไปและยืดหยุ่นไปตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ระบบขนส่งท้องถิ่นจึง<br />

ต้องเพิ่ม-ลดจำานวนตามความต้องการในแต่ละช่วงเวลาได้ ไม่จำากัดเฉพาะรูปแบบยาน<br />

พาหนะแต่รวมถึงระบบการบริหารจัดการด้วย อย่างไรก็ตามความสามารถในการตอบ<br />

สนองพฤติกรรมสังคมได้อย่างรวดเร็วนี้กลับไม่ได้คำานึงถึงมิติการประหยัดทรัพยากรร่วม<br />

กันมากนัก และสร้างผลกระทบ (ทางอ้อม) ให้เกิดการเปลี่ยนไปของปฏิสัมพันธ์ระหว่าง<br />

ผู้คนในระดับสังคม เช่น ทำาให้ผู้คนไม่จำาเป็นต้องพูดคุยกันโดยตรง หรือลดความเป็นไป<br />

ได้ที่จะพบเจอกันในระหว่างการเดินทางไปหาสิ่งของต่างๆ น้อยลง ซึ่งการสื่อสารเหล่านี้<br />

ถือเป็นองค์ประกอบหลักของการความเป็นสังคมเมืองแต่เดิม รวมไปถึงอาจก่อให้เกิดการ<br />

เปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเมือง และประเภทของกิจกรรมบางอย่างที่อาจลดน้อยหรือ<br />

เลือนหายไป<br />

นิทรรศการนี้ มุ่งหวังให้ผู้ชมร่วมสังเกตการณ์รูปแบบวิถีชีวิต แนวโน้มพฤติกรรมและค่า<br />

นิยมของสังคมเครือข่ายที่ยึดเอาความสะดวกรวดเร็วและความต้องการเฉพาะของลูกค้า<br />

ในการรับสินค้าและบริการเป็นที่ตั้ง โดยมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าและ<br />

บริการอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น นิทรรศการจัดการแสดงผ่านภาพวิดีทัศน์เชิงทดลอง<br />

3 เรื่อง ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนไปของรูปแบบการเคลื่อนที่เฉพาะถิ่นในเมือง ทั้งการ<br />

เคลื่อนที่จากคนไปหาสิ่งของ บริการ และการใช้สินทรัพย์ร่วมกันตามแนวคิดเศรษฐกิจ<br />

แบ่งปัน และให้ผู้ชมร่วมตั้งคำาถามถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพของย่าน<br />

ในอนาคตว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด หน้าร้านขายของกินของใช้ยังจำาเป็นอีกต่อไป<br />

ไหม? สาขาธนาคารจำาเป็นต้องมีจำานวนมากเท่านี้หรือไม่?<br />

244<br />

ASA18_Book_180419.indd 244 24/4/18 16:11


ASA18_Book_180419.indd 245 24/4/18 16:11


คณะกรรมการจัดงานสถาปนิก’61<br />

ฝ่ายอำานวยการ ฝ่ายผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุ และฝ่ายวิชาการ<br />

ประธานจัดงาน<br />

ผศ.ดร. อภิรดี เกษมศุข<br />

รองประธานจัดงาน<br />

ดร. พีรียา บุญชัยพฤกษ์<br />

กรรมการ<br />

ผศ.ดร. สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย<br />

ดร. พินัย สิริเกียรติกุล<br />

สาวิตรี ไพศาลวัฒนา<br />

ดลพร ชนะชัย<br />

นัฐพงษ์ พัฒนโกศัย<br />

พิชญา นิธิภัทรารัตน์<br />

อิสรชัย บูรณะอรรจน์<br />

ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์<br />

ภูมิ ศุภกิจจานุสันติ์<br />

พิช โปษยานนท์<br />

ปิยา ลิ้มปิติ<br />

ศรัญญู เอื้อวิเศษวัฒนา<br />

วิรัลพัชร นารานิติธรรม<br />

กรรมการ<br />

ดร. สายทิวา รามสูต<br />

รศ. ชาตรี ประกิตนนทการ<br />

ผศ.ดร. นวลลักษณ์ วัตสันตชาติ<br />

สันธาน เวียงสิมา<br />

ธนพัฒน์ บุญสนาน<br />

ฝ่ายอาษาไนท์ / อาษาคลับ<br />

กรรมการ<br />

กิตติพัฒน์ ปราการรัตน์<br />

รัฐภูมิ วงค์ประดู่<br />

เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดงานสถาปนิก<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมถ์<br />

รติรัตน์ จันทร<br />

246<br />

ASA18_Book_180419.indd 246 24/4/18 16:11


่<br />

ประวัติคณะกรรมการจัดงานสถาปนิก’61<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิรดี เกษมศุข ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิรดี เกษมศุข อาจารย์ประจำ า<br />

ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) จบการศึกษาปรัชญา<br />

ดุษฎีบัณฑิตสาขาสถาปัตยกรรม จาก University<br />

College London ประเทศสหราชอาณาจักร สาขา<br />

วิชาที่เชี่ยวชาญ คือด้าน Spatial morphology of<br />

buildings and settlements สาขาวิชาที่สอนและ<br />

ทำางานวิจัย ได้แก่สาขา สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่น การออกแบบชุมชนเมือง การวางผังเมือง และ<br />

ศิลปะและการออกแบบเสียง<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิรดี เกษมศุข เป็นอาจารย์<br />

พิเศษให้กับหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศ มี<br />

ผลงานบทความตีพิมพ์หลากหลายทั้งระดับชาติและ<br />

ระดับนานาชาติ มีผลงานด้านการออกแบบอาคาร<br />

การออกแบบชุมชน และการวางผังเมืองในประเทศ<br />

หลายโครงการ รวมถึงเป็นประธานจัดงาประกวดแบบ<br />

และงานปฏิบัติการด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

ทั้งยังเป็นภัณฑรักษ์นิทรรศการทางด้านศิลปะและ<br />

สถาปัตยกรรมต่างๆ หลายโครงการ ทั้งระดับชาติ<br />

และระดับนานาชาติ<br />

ในด้านการบริหาร ผู ้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิรดี<br />

เกษมศุข เคยเป็นหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม ปี<br />

พ.ศ. 2553-2557 เคยเป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการ<br />

พ.ศ. 2549-2553 เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

ฝ่ายวิจัย มศก. พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน และ พ.ศ.<br />

2549-2553 เคยเป็นประธานอนุกรรมการฝ่ายวิจัย<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ.<br />

2551-2555 และเป็นประธานจัดงานสถาปนิก‘61<br />

ดร.พีรียา บุญชัยพฤกษ์ จบการศึกษาสถาปัตยกรรม-<br />

ศาสตร์ ระดับปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร และจบการศึกษาระดับปริญญาโทและ<br />

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชา รูปทรงของเมืองและ<br />

บริบททางสังคม (Urban form and society) จาก<br />

Space syntax laboratory, The Bartlett School<br />

of <strong>Architecture</strong>, University College London<br />

ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำาภาควิชาการออกแบบ<br />

และวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสาขาวิชาที่สอนและทำางาน<br />

วิจัย ได้แก่ การออกแบบชุมชนเมือง การวางผังเมือง<br />

การเปลี ่ยนแปลงของชุมชนเมือง และ Gentrification<br />

ในเมืองไทย<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย อาจารย์<br />

ประจำาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์-<br />

มหาวิทยาลัย จบการศึกษา Doctor of Design และ<br />

Master in Design Studies จาก Harvard Graduate<br />

School of Design ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาวิชา<br />

ที่เชี่ยวชาญคือด้าน Computer-Aided Design and<br />

Manufacturing, Tangible User Interface and<br />

Multimedia Design ทำางานวิจัยด้าน Interface<br />

Design and Intelligent Roomware Systems ที<br />

Fuji-Xerox Palo Alto Laboratory ใน Silicon Valley<br />

เป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จะกลับมาทำางานเป็นอาจารย์ใน<br />

ระดับอุดมศึกษา และเป็นที่ปรึกษาให้หน่วยงานภาค<br />

รัฐ เช่น SIPA, DITP, TCEB, DEPA ในเรื่อง Digtial<br />

Content และการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อ<br />

247 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 247 24/4/18 16:11


เนื่อง ในด้านงานวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. สุรพงษ์<br />

เลิศสิทธิชัย มีผลงานประดิษฐ์และสิทธิบัตรนานาชาติ<br />

รวม 14 ผลงาน มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ 21<br />

ผลงาน และมีผลงานด้าน Creative Economy เป็นผล<br />

งานการต่อยอดทางด้านศิลปะวัฒนธรรมไทยในรูปแบบ<br />

Software, Mobile Application, Animation และ<br />

ผลิตภัณฑ์รวมกว่า 30 ผลงาน<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย มีบทบาท<br />

สำาคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้าน Digital<br />

Content โดยเป็นนายกสมาคม Bangkok ACM<br />

SIGGRAPH Association และได้เป็นผู้จัดงานระดับ<br />

นานาชาติ SIGGRAPH Asia ครั้งที่ 10 เป็นครั้งแรก<br />

ในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2560 ในฐานะ Conference<br />

Chair ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานจากหลากหลายประเทศรวม<br />

6,500 คน นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. สุรพงษ์<br />

เลิศสิทธิชัย ยังเป็นกรรมการด้านประชาสัมพันธ์<br />

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ปี<br />

พ.ศ. 2559-2561 กรรมการจัดงานสถาปนิก‘60 และ<br />

สถาปนิก‘61<br />

ดร. พินัย สิริเกียรติกุล<br />

พินัย สิริเกียรติกุล จบการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

ระดับปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยศิลปากร,<br />

และประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมระดับปริญญาโท<br />

และเอกจาก University College London. ปัจจุบัน<br />

เป็นอาจารย์ประจำาภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ<br />

เป็นบรรณาธิการวารสารหน้าจั ่ว ประวัติศาสตร์<br />

สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ตั้งแต่ปี 2556<br />

ถึงปัจจุบัน<br />

สาวิตรี ไพศาลวัฒนา<br />

นางสาวสาวิตรี ไพศาลวัฒนา สถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง<br />

บริษัท ผกาสถาปนิก จำากัด (Paisalwattana<br />

Gardolinski Architects co.,ltd.) จบการศึกษา<br />

ปริญญามหาบัณฑิตด้านการจัดการและการออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรม จาก IE Business School, Madrid<br />

และ อนุปริญญามหาบัณฑิต จาก Eidgenossische<br />

Technische Hochschule Zürich (ETH) และ<br />

ปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ประสบการณ์ทำางานวิชาชีพสถาปนิก 8 ปี ทั้งในและ<br />

ต่างประเทศ สาวิตรีมีผลงานออกแบบและปรับปรุง<br />

อาคารหลากหลาย ทั้งโรงพยาบาล อาคารอนุรักษ์<br />

โรงเรียน อาคารที่พักอาศัย รวมถึงงานออกแบบ<br />

ปรับปรุงรถไฟไทยขบวนพิเศษรถประชุม และร่วมจัด<br />

แสดงผลงานในงาน Singapore design week 2018<br />

ในด้านวิชาการ สาวิตรีเป็นอาจารย์พิเศษ ภาควิชา<br />

สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) และ ภาควิชา<br />

สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นวิทยากรรับเชิญ<br />

ให้กับหลายสถาบัน และในโอกาสงานสถาปนิก’61 นี้<br />

สาวิตรีเป็นประธานอนุกรรมการฝ่าย ASA International<br />

Forum และได้รับเกียรติในการร่วมออกแบบ<br />

Introduction pavilion ร่วมกับนายจาคอบ ฟิลิป<br />

การ์ดอลินสกี้ และ นายเมธัส ศรีสุชาติ ในการนำา<br />

ความเป็นพื้นถิ่นมาตีความบนสภาพแวดล้อมปัจจุบัน<br />

248<br />

ASA18_Book_180419.indd 248 24/4/18 16:11


ดลพร ชนะชัย<br />

ดลพร ชนะชัย อาจารย์พิเศษภาควิชาสถาปัตยกรรม<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

จบการศึกษาปริญญาโทสาขา <strong>Architecture</strong> and<br />

Performative Design จากสถาบัน Städelschule<br />

<strong>Architecture</strong> Class ประเทศเยอรมัน และปริญญาตรี<br />

ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท<br />

คลาวด์ฟลอร์ จำากัด โดยมุ่งเน้นการศึกษาและ<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่ส่งผลต่อ<br />

การพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเมือง ผ่านการออกแบบ<br />

โครงการร่วมกับภาครัฐและเอกชน และเป็นวิทยากร<br />

รับเชิญในการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ร่วมกับ<br />

มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ<br />

นัฐพงษ์ พัฒนโกศัย<br />

นัฐพงษ์ พัฒนโกศัย อาจารย์พิเศษภาควิชาสถาปัตย-<br />

กรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์<br />

มหาวิทยาลัย จบการศึกษาปริญญาโทสาขา Master<br />

of Engineer in Membrane structures จากสถาบัน<br />

Anhalt University ประเทศเยอรมัน และปริญญาตรี<br />

ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท<br />

คลาวด์ฟลอร์ จำากัด โดยมุ่งเน้นการศึกษาและ<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่ส่งผลต่อ<br />

การพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเมือง ผ่านการออกแบบ<br />

โครงการร่วมกับภาครัฐและเอกชน และเป็นวิทยากร<br />

รับเชิญในการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ร่วมกับ<br />

มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ<br />

พิชญา นิธิภัทรารัตน์<br />

พิชญา นิธิภัทรารัตน์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี<br />

จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

และจบการศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตร Narrative<br />

Environments จาก Central Saint Martins<br />

ประเทศสหราชอาณาจักร ปัจจุบันพิชญา นิธิภัทรารัตน์<br />

ทำางานด้านการออกแบบประสบการณ์ (Experience<br />

design) และออกแบบงานนิทรรศการ รวมถึง<br />

ออกแบบงานอีเว้นท์ให้กับบริษัทเอกชนต่างๆ<br />

อิสรชัย บูรณะอรรจน์<br />

อิสรชัย บูรณะอรรจน์ เป็นนักศึกษาหลักสูตรปรัชญา<br />

ดุษฎีบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร และได้รับคัดเลือกเป็นนักศึกษาทุนใน<br />

โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) รุ่นที่ 17<br />

จากสำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สาขาวิชาที่<br />

เชี่ยวชาญคือสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อม<br />

สรรค์สร้าง (<strong>Vernacular</strong> <strong>Architecture</strong> and Built<br />

Environment) อิสรชัย บูรณะอรรจน์ มีประสบการณ์<br />

เป็นนักวิจัยและผู้ช่วยวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ทั้งในพื้นที่ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

หลายโครการ อาทิเช่น โครงการวิจัยการจัดการองค์<br />

ความรู้ด้านวัสดุก่อสร้างพื้นถิ่น และเทคโนโลยีการ<br />

ก่อสร้าง ในภาคกลาง 9 จังหวัด สนับสนุนโดย การ<br />

เคหะแห่งชาติ, โครงการศึกษาวิจัยภูมิปัญญาในการ<br />

ตั้งถิ่นฐาน และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในประชาคม<br />

อาเซียน สนับสนุนโดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียน<br />

รู้แห่งชาติ ปัจจุบันกำาลังทำาวิจัยในวิทยานิพนธ์ระดับ<br />

ปริญญาเอกในหัวข้อ “การตั้งถิ่นฐานและสภาพ<br />

แวดล้อมสรรค์สร้างชุมชนเรือนเสาสูง พื ้นที ่ลุ ่มน้ ำาโตน<br />

เลสาบ ประเทศกัมพูชา” และโครงการวิจัย “ความ<br />

สัมพันธ์ระหว่างสยามและกัมพูชา ในคริสต์ศตวรรษที่<br />

18: ภาพสะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาใน<br />

249 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 249 24/4/18 16:11


เมืองพระตะบอง” ภายใต้ชุดโครงการเมธีวิจัยอาวุโส<br />

สกว. ศาสตราจารย์ ดร.เสมอชัย พูลสุวรรณ “พุทธ<br />

ศาสนาเถรวาทในบริบทวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์<br />

(คริสต์ศตวรรษที่ 11-ปัจจุบัน)”<br />

ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์<br />

ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์ จบการศึกษาจากคณะสถาปัตย-<br />

กรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับ<br />

ปริญญาโทสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น จากคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบัน<br />

กำาลังศึกษาปริญญาเอกสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์ ได้รับทุนการศึกษา และรางวัล<br />

งานวิจัยดีเด่นจากสำานักงานสนับสนุนการวิจัยอย่าง<br />

ต่อเนื่อง และมีประสบการณ์การทำางานในเชิงอนุรักษ์<br />

สถาปัตยกรรม ออกแบบบูรณะอาคารประวัติศาสตร์<br />

และพื้นที่โดยรอบ<br />

ภูมิ ศุภกิจจานุสันติ์<br />

ภูมิ ศุภกิจจานุสันติ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี<br />

จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร และระดับปริญญาโท สาขา Housing and<br />

Urbanism จากสถาบัน Architectural Association<br />

School of <strong>Architecture</strong> ณ กรุงลอนดอน ประเทศ<br />

สหราชอาณาจักร ปัจจุบันประกอบวิชาชีพ ในตำาแหน่ง<br />

สถาปนิกอาวุโส และเจ้าของร่วม บริษัท พี.เอ. ดี<br />

ซายน์ จำากัด โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาโครงการที่อยู่<br />

อาศัยขนาดใหญ่เป็นหลัก และมีความสนใจส่วนตัวใน<br />

เรื่องการออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง นอกจากนี้ นาย<br />

ภูมิ ศุภกิจจานุสันติ์ ยังเป็นทำาหน้าที่เป็น อาจารย์<br />

รับเชิญพิเศษ ในวิชาออกแบบชุมชนเมือง คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

พิช โปษยานนท์<br />

พิช โปษยานนท์ จบการศึกษาระดับสถาปัตยกรรม<br />

ศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ2) จาก<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร และสำาเร็จการศึกษาระดับ<br />

Master of Arts (Distinction) สาขา <strong>Architecture</strong><br />

and Historic Urban Environments จาก The<br />

Bartlett, University College London พิชเคย<br />

ทำางานในตำาแหน่งสถาปนิกของ บริษัท ออนเนี่ยน<br />

จำากัด โดยมีหน้าที่รับผิดชอบงานออกแบบ พัฒนา<br />

และดูแลประสานงานก่อสร้างสถาปัตยกรรมหลาก<br />

หลายประเภท ทั้งโครงการบ้านพักอาศัย สำานักงาน<br />

บูธนิทรรศการ และโรงแรม พิชมีส่วนร่วมเป็นหนึ่งใน<br />

ทีมสถาปนิกหลักในโครงการโรงแรมศาลาเขาใหญ่<br />

และศาลาอยุธยา จากประสบการณ์การศึกษาและการ<br />

ทำางานที่ผ่านมา ทำาให้พิชมีความสนใจเป็นพิเศษใน<br />

ด้านการตีความและนำาบริบทของพื้นที่ที่มีอยู่มาใช้<br />

เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาที่ผสมผสานการอนุรักษ์<br />

อย่างสร้างสรรค์ มรดกทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม<br />

และสิ่งแวดล้อมเมือง<br />

ปัจจุบัน นอกจากผลงานออกแบบและบูรณะอาคารทั้ง<br />

ในและต่างประเทศแล้ว พิชยังเป็นที่ปรึกษาด้านการ<br />

ออกแบบปรับปรุงอาคารให้กับโครงการของเอกชน<br />

ควบคู่ตำาแหน่งอาจารย์พิเศษ คณะสถาปัตยกรรม-<br />

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในโอกาส<br />

งานสถาปนิก’ 61 นี้ พิชได้รับเกียรติเป็นอย่างสูง<br />

ให้รับหน้าที่สถาปนิกผู้ช่วย ศ.ดร.วีระ อินพันทัง ใน<br />

การออกแบบ Moving Space Pavilion ที่ได้นำาราย<br />

ละเอียดงานก่อสร้างไม้ไทยโบราณ มาประยุกต์ใช้ใน<br />

งานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />

250<br />

ASA18_Book_180419.indd 250 24/4/18 16:11


้<br />

ปิยา ลิ้มปิติ<br />

ปิยา ลิ้มปิติ สถาปนิกอาวุโส ศูนย์ออกแบบและพัฒนา<br />

เมือง (UddC) จบการศึกษาอนุปริญญามหาบัณฑิต<br />

ด้านออกแบบเมือง จาก The Berlage Institute<br />

ประเทศเนเธอร์แลนด์ และปริญญาบัณฑิต จากคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ประสบการณ์ทำางานวิชาชีพสถาปนิก 7 ปี ทั้งในและ<br />

ต่างประเทศ ปิยามีผลงานออกแบบปรับปรุงอาคาร<br />

สาธารณะ ออกแบบชุมชนเมือง และบริหารจัดการ<br />

โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านริมแม่น้ำา และโครงการ<br />

นำาร่องอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านเมืองเก่ากรุงเทพมหานคร<br />

และร่วมออกแบบผังแม่บทสีเขียวเมือง Almere<br />

ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในด้านวิชาการ ปิยาเป็น<br />

อาจารย์พิเศษ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

และวิทยากรรับเชิญหัวข้อการออกแบบอย่างมีส่วน<br />

ร่วม การพัฒนาฟื้นฟูย่านริมแม่น้ำา และเป็นผู ้ช่วยผู<br />

ออกแบบนิทรรศการหนึ่งในงานโซลเบียนาเล่<br />

ศรัญญู เอื้อวิเศษวัฒนา<br />

ศรัญญู เอื้อวิเศษวัฒนา จบการศึกษาระดับสถาปัตย-<br />

กรรมศาสตร์บัณฑิต จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันประกอบวิชาชีพด้าน<br />

สถาปัตยกรรมที่บริษัท PAA STUDIO และงานอิสระ<br />

หลากหลายโครงการทั้งในและต่างประเทศ<br />

วิรัลพัชร นารานิติธรรม<br />

วิรัลพัชร นารานิติธรรม ผู ้ก่อตั ้งบริษัท โซลาส อิส ไลท์<br />

ทำาผลงานเกี่ยวกับการออกแบบแสงสว่างให้กับงาน<br />

สถาปัตยกรรม วิรัลพัชร นารานิติธรรม ได้รับปริญญา<br />

โทสาขา การออกแบบแสงสว่างในงานสถาปัตยกรรม<br />

ที่มหาวิทยาลัย Hochschule Wismar จากประเทศ<br />

เยอรมัน. จากฐานความรู้ด้าน การออกแบบแสงสว่าง<br />

และการออกแบบสถาปัตยกรรม วิรัลพัชร นารา<br />

นิติธรรมยังได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนา และ workshop<br />

มากมายในหลากหลายประเทศ ทำาให้ วิรัลพัชร นารา<br />

นิติธรรม มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มากขึ้น<br />

ประสบการณ์ทางด้านการทำางานต่างๆของ วิรัลพัชร<br />

นารานิติธรรม ได้แก่ โครงการพาณิชย์ ร้านค้า ร้าน<br />

อาหาร โรงแรม รีสอร์ท และโครงการที่พักอาศัย ทั้ง<br />

ในและต่างประเทศ วิรัลพัชร นารานิติธรรม ทำางาน<br />

ในฐานะผู้ออกแบบแสงสว่าง มาโดยตลอด โดยได้เข้า<br />

ร่วมงานกับทีมออกแบบของบริษัท L-Plan Lichtplanung<br />

กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ในปี พ.ศ.<br />

2552-2553 ต่อมาได้ร่วมงานกับบริษัท Meinhardt<br />

Light Studio ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2553-<br />

2556 ซึ่งทำาให้เธอมีประสบการณ์ทั้งการออกแบบและ<br />

การจัดการเพิ่มมากขึ้น ในปี 2556 เธอเป็นผู้ออกแบบ<br />

หลักของบริษัท Solas is light ถึงปัจจุบัน<br />

ดร. สายทิวา รามสูต<br />

อ.ดร. สายทิวา รามสูต หัวหน้าภาคและอาจารย์<br />

ประจำาภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม-<br />

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบการศึกษา<br />

Doctor of Philosophy (<strong>Architecture</strong>) จาก School<br />

of Design, University of Pennsylvania ประเทศ<br />

สหรัฐอเมริกา มีความเชี่ยวชาญและความสนใจใน<br />

งานวิจัยและวิชาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง<br />

ความเก่าและใหม่ของ สถาปัตยกรรมและ<br />

251 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 251 24/4/18 16:11


สภาพแวดล้อม การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยของ<br />

อาคารเก่า ทฤษฎีและประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />

การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม<br />

สรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ นอกจากงานสอนทั้งใน<br />

ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ณ มหาวิทยาลัย<br />

เกษตรศาสตร์แล้ว อ.ดร. สายทิวา รามสูต เคยดำารง<br />

ตำาแหน่งผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และผู้ช่วย<br />

คณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นอาจารย์พิเศษและกรรมการ<br />

วิทยานิพนธ์ให้กับหลายสถาบัน มีผลงานตีพิมพ์และ<br />

ผลงานวิจัยและบริการวิชาการตามสาขาที่เชี่ยวชาญ<br />

อีกทั้งเป็นคณะทำางานให้กับสภาสถาปนิกและมีส่วน<br />

ร่วมในการจัดงานสถาปนิกให้กับสมาคมสถาปนิก<br />

สยามในพระบรมราชูปถัมภ์ในหลายปีที่ผ่านมา<br />

สันธาน เวียงสิมา<br />

สันธาน เวียงสิมาช่างไม้ สถาปนิก และ LEED<br />

AP(BD+C) จบการศึกษาด้านเทคนิคสถาปัตยกรรม<br />

และ การจัดการทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม รวม<br />

ทั้งการอบรมด้านการอนุรักษ์งานศิลปกรรม เป็นผู้<br />

มีความชำานาญด้านการออกแบบรายละเอียดการ<br />

ก่อสร้าง construction detailed design และ การ<br />

ตรวจสอบควบคุมงานก่อสร้างอาคารซึ่งก่อสร้างด้วย<br />

วัสดุธรรมชาติ อาทิ ไม้ ไผ่ และ ดิน เป็นต้น เคย<br />

เป็นผู้บรรยายพิเศษวิชาการก่อสร้างอาคารไม้ในคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ หลายมหาวิทยาลัยปัจจุบัน<br />

เป็นสถาปนิกและที่ปรึกษาด้านการออกแบบราย<br />

ละเอียดและเทคนิคการก่อสร้างให้กับโครงการ บริษัท<br />

ออกแบบและบริษัทบริหารการก่อสร้างในประเทศไทย<br />

และประเทศพม่า และ ทำางานศึกษาค้นคว้าราย<br />

ละเอียดและวิธีการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมไม้แบบ<br />

อย่างช่างพื้นถิ่นในประเทศไทย<br />

รศ. ชาตรี ประกิตนนทการ<br />

รองศาสตราจารย์ ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์<br />

ประจำาภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตย-<br />

กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความสนใจ<br />

ทางวิชาการในด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />

โดยเฉพาะในประเด็นสถาปัตยกรรมกับการเมือง มี<br />

บทความและหนังสือที ่ได้รับการตีพิมพ์หลายชิ้นใน<br />

ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ทางการเมืองในงาน<br />

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ผลงานวิชาการล่าสุดคือ “ศิลป<br />

สถาปัตยกรรมคณะราฎร: สัญลักษณ์ทางการเมืองใน<br />

เชิงอุดมการณ์” ตีพิมพ์ปี 2552 และ “สถาปัตยกรรม<br />

ไทย หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” ตีพิมพ์<br />

ปี 2558 ความสนใจทางวิชาการในปัจจุบันมุ่ง<br />

ประเด็นไปที่เรื่องประวัติศาสตร์ของประวัติศาสตร์<br />

ศิลปะ, การเมืองในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย<br />

และ การเมืองในการอนุรักษ์เมืองเก่าในพื้นที่กรุง<br />

รัตนโกสินทร์ ส่วนในด้านการบริหาร เคยดำารง<br />

ตำาแหน่งหัวหน้าภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2556-<br />

2560 และตั้งแต่ พ.ศ. 2555 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน<br />

ดำารงตำาแหน่งกรรมการมูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์<br />

ธนพัฒน์ บุญสนาน<br />

ธนพัฒน์ บุญสนาน จบการศึกษาจากคณะสถาปัตย-<br />

กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มต้นสนใจงาน<br />

ไม้ไผ่จากการเข้าร่วม workshop ที่จังหวัดเชียงใหม่<br />

ในปี 2011 แล้วศึกษาด้วยตัวเองเรื่อยมาจนเปิด<br />

บริษัท ธ.ไก่ชน จำากัด ในปี 2012 ที่ อ.บางกรวย<br />

จ.นนทบุรี หลังจากนั้นก็มีผลงานทางสถาปัตยกรรม<br />

และงานศิลปะที่ใช้ไม้ไผ่เป็นองค์ประกอบหลัก ออกมา<br />

อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทั้งในประเทศ และต่าง<br />

ประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เป็นต้น<br />

252<br />

ASA18_Book_180419.indd 252 24/4/18 16:11


กิตติพัฒน์ ปราการรัตน์<br />

กิตติพัฒน์ ปราการรัตน์ จบการศึกษาระดับสถาปัตย-<br />

กรรมศาสตร์บัณฑิต (สถาปัตยกรรมไทย) จากคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบัน<br />

เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ซาเกี๊ยะ จำากัด และ<br />

บริษัท สโมคาเฟ่ จำากัด และเป็นสถาปนิกอิสระ<br />

รวมไปถึงรับราชการระดับท้องถิ่น กิตติพัฒน์<br />

ปราการรัตน์ มีส่วนร่วมในการดำาเนินการกิจกรรม<br />

ของคณะกรรมการสมาคมนักศึกษาเก่า คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกทั้ง<br />

เป็นคณะทำางานและมีส่วนร่วมในการจัดงานสถาปนิก<br />

ให้กับสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ใน<br />

หลายปีที่ผ่านมา<br />

รัฐภูมิ วงค์ประดู่<br />

รัฐภูมิ วงค์ประดู่ จบการศึกษาระดับสถาปัตยกรรม-<br />

ศาสตร์บัณฑิต (สถาปัตยกรรมไทย) จากคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร และ<br />

กำาลังศึกษาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (ธุรกิจอสังหา-<br />

ริมทรัพย์) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี<br />

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รัฐภูมิ วงค์ประดู่ประกอบ<br />

อาชีพสถาปนิกอิสระ และเป็นอาจารย์พิเศษให้กับคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัย<br />

ธรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการ<br />

ออกแบบ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี รัฐภูมิ<br />

วงค์ประดู่ มีส่วนร่วมในการดำาเนินการกิจกรรม<br />

ของคณะกรรมการสมาคมนักศึกษาเก่า คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกทั้ง<br />

เป็นคณะทำางานและมีส่วนร่วมในการจัดงานสถาปนิก<br />

ให้กับสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ใน<br />

หลายปีที่ผ่านมา<br />

ผศ.ดร. นวลลักษณ์ วัสสันตชาติ<br />

ผศ.ดร. นวลลักษณ์ วัสสันตชาติ เป็นอาจารย์<br />

ประจำาภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลัง<br />

จากจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สอบชิงทุนรัฐบาลไป<br />

ศึกษาต่อปริญญาโทและเอกทางด้านการอนุรักษ์<br />

สถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศ<br />

สหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยยอร์ค ประเทศสหราช<br />

อาณาจักร โดยมีความเชี่ยวชาญในการอนุรักษ์วัสดุใน<br />

โบราณสถานและการประเมินสภาพความเสียหายของ<br />

อาคาร ปัจจุบันสาขาวิชาที่สอนและทำางานวิจัยคือการ<br />

อนุรักษ์วัสดุในโบราณสถานและอาคารประวัติศาสตร์<br />

การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ย่าน และชุมชน<br />

ประวัติศาสตร์ ระเบียบวิธีวิจัย และสถาปัตยกรรม<br />

ไทยร่วมสมัย ผศ.ดร. นวลลักษณ์ วัสสันตชาติ เป็น<br />

วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ และที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์<br />

โบราณสถานให้แก่หลายองค์กรและสถาบันการ<br />

ศึกษา อาทิเช่น องค์การยูเนสโก สำานักงานกองทุน<br />

สนับสนุนการวิจัย (สกว.) กรมศิลปากร รวมทั้งเป็น<br />

คณะทำางานพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรการศึกษา<br />

สาขาสถาปัตยกรรมหลักให้กับสภาสถาปนิก ส่วน<br />

ในด้านการบริหารเคยเป็นหัวหน้าภาควิชาศิลป<br />

สถาปัตยกรรม (พ.ศ. 2553-2556) และผู้ช่วยคณบดี<br />

ฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ (พ.ศ. 2549-2553)<br />

253 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 253 24/4/18 16:11


ASA18_Book_180419.indd 254 24/4/18 16:11


ASA18_Book_180419.indd 255 24/4/18 16:11


ASA18_Book_180419.indd 256 24/4/18 16:11

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!