21.01.2019 Views

Beyond Ordinary_Living Vernacular Architecture

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เกริ่นนำา<br />

เมื่อกล่าวถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ภาพที่ปรากฏในมโนภาพของแต่ละคนอาจคล้ายคลึงกัน<br />

คือมองเห็นสภาพของสถาปัตยกรรมซึ่งอาจเป็นเรือน วัด ยุ้งข้าว ห้างนา โรงสีประจำา<br />

หมู่บ้าน หรืออื่นๆ ตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน ภาพที่ปรากฏในมโนภาพคงเป็น<br />

สถาปัตยกรรมที่ปรากฏอยู่ในแต่ละท้องถิ่นซึ่งสถาปนิกไม่ได้ออกแบบ แต่เกิดขึ้นตามภูมิ<br />

ปัญญาที่ถ่ายทอดสร้างสมต่อเนื่องกันมาจากบรรพบุรุษ ไม่มีใครเป็นเจ้า ปัจจัยที่เป็นตัว<br />

กำาหนดรูปแบบสถาปัตยกรรม คือ สภาพแวดล้อมธรรมชาติ วิถีชีวิตและการดำารงชีพ<br />

ผนวกด้วยความเชื่อของแต่ละกลุ่มชน<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีปรากฏให้เห็นได้ในทุกพื้นที่ทั่วโลกทั้งในภูมิภาคตะวันออก ตะวันตก<br />

การให้คำานิยามคำาว่า “พื้นถิ่น” อาจอ้างอิงคำา “ถิ่นที่” ซึ่งมักใช้ร่วมกับการศึกษาเกี่ยว<br />

เนื่องกับภาษาถิ่น ซึ่งทำาให้เข้าใจได้ชัดเจนว่าเป็นของถิ่นที่นั้นๆ โดยเฉพาะ คำาว่าพื้นถิ่นใน<br />

ภาษาไทยอาจเทียบเคียงความหมายกับภาษาอังกฤษได้หลายคำา อาทิเช่น <strong>Vernacular</strong>,<br />

Anonymous, Spontaneous, Indigenous หรือ Rural (Rudofsky, Bernard. 1964)<br />

แต่ในภาษาไทยการใช้คำาว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคงให้ความหมายที่เข้าใจชัดเจนมากกว่า<br />

สถาปัตยกรรมนิรนาม สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นเอง หรือสถาปัตยกรรมชนบทตามคำาแปล<br />

จากภาษาอังกฤษ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของไทยมีความหลากหลาย ทั้งที่แตกต่างกันตามภูมิประเทศที่ตั้ง<br />

ของสถาปัตยกรรม แตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม แม้จะตั้งอยู่ในภูมิประเทศ<br />

เดียวกัน แตกต่างกันตามลักษณะของกลุ ่มชาติพันธุ ์ย่อยต่างๆ ที ่ตั ้งถิ ่นฐานกระจายตัวอยู่<br />

ทั่วประเทศไทย และยังปรากฏความแตกต่างในระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ไทย ที่ตั้งถิ่นฐาน<br />

กระจายตัวอยู่ทั้งในและนอกประเทศไทย อาทิเช่น กลุ่มไทลื้อในสิบสองสองปันนา มณฑล<br />

ยูนนานของจีน กลุ่มไทดำาในจังหวัดเดียนเบียนและเซินลา ในเวียดนาม กลุ่มไทเขินใน<br />

เชียงตุงเมียนมาร์ กลุ่มไทใหญ่ในแคว้นใต้คงของจีน ในเมียนมาร์ และในรัฐอัสสัมของ<br />

อินเดีย รวมทั้งกลุ่มไท-ลาวกลุ่มต่างๆ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นต้น<br />

ตามที่กล่าวข้างต้นแล้วว่าสภาพแวดล้อมของบริบท วิถีชีวิตและความเชื่อเป็นปัจจัยในการ<br />

กำาหนดรูปแบบของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แต่ในข้อเท็จจริงได้พบว่า ในรายละเอียดที่ปรากฏ<br />

ในการใช้งานในเรือนของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นต่างแหล่งที่ตั้ง ต่างกลุ่มชน ต่างภาษา มีรูป<br />

21 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 21 24/4/18 16:10

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!