21.01.2019 Views

Beyond Ordinary_Living Vernacular Architecture

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

1.4 การเปิดหลักสูตรสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระดับ<br />

ปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต<br />

ใน พ.ศ. 2546 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดการเรียนการสอน<br />

ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งประสบผลสำาเร็จเป็นอย่างดี<br />

ในทศวรรษถัดมา พ.ศ.2556 ได้เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขา<br />

วิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผู้สำาเร็จการศึกษา แต่เห็นได้ชัดว่ามีการ<br />

พัฒนาคุณภาพนักศึกษามีผู้ได้รับทุนการศึกษาปริญญาเอกกาญจนาภิเษกจากสำานักงาน<br />

กองทุนสนับสนุนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ผลจากการเปิดหลักสูตรทั้งสองระดับที่เกี่ยวเนื่อง<br />

กับการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ การ<br />

เพิ่มพูนงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษานับสิบโครงการ และการเพิ่มพูนข้อมูลการปฏิบัติงาน<br />

ภาคสนามหลายสิบพื้นที่ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างองค์<br />

ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สามารถทำาการต่อยอดงานวิจัยต่อไปได้หลายทิศทาง<br />

1.5 การเปิดหลักสูตรเกี่ยวเนื่องระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตที่เอื้ออำานวย<br />

ต่อการทำาวิทยานิพนธ์ในสายสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ปัจจุบันหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ของหลายสถาบันเปิด<br />

ทางเลือกของวิทยานิพนธ์อย่างกว้างขวาง สามารถเสนอวิทยานิพนธ์ด้านสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นและสิ่งแวดล้อมได้ อาทิเช่น หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมสรรค์<br />

สร้างของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เปิดกว้างให้เสนอ<br />

วิทยานิพนธ์ได้ 4 ทางเลือก คือ ผังเมืองและชุมชน นวัตกรรมอาคาร ภูมิสถาปัตยกรรม<br />

และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อม ซึ่งมีนักศึกษาที่จบการศึกษาแล้วและที่กำ าลัง<br />

ทำาวิทยานิพนธ์ในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสิ่งแวดล้อมอยู่ปริมาณหนึ่ง ทั้งยังมี<br />

นักศึกษาที่ทำาวิทยานิพนธ์ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้รับทุนปริญญาเอกกาญจนภิเษก<br />

จากสำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกอ) ด้วย นอกจากนี้นักศึกษาระดับปริญญา<br />

ดุษฎีบัณฑิตของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปริมาณหนึ่งก็<br />

สามารถทำาวิทยานิพนธ์ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นพร้อมมีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญงาน<br />

วิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นที่ปรึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย<br />

เชียงใหม่ ก็เช่นเดียวกัน นักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตสามารถ<br />

เสนอวิทยานิพนธ์ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและมีอาจารย์ที่พร้อมจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา<br />

จากตัวอย่างข้างต้นเห็นได้ชัดเจนว่าปัจจุบันมีการเพิ่มพูน และเสริมสร้างองค์ความรู้ด้าน<br />

สถาปัตยกรรมพื ้นถิ่นจากระบบการเรียนการสอนด้านสถาปัตยกรรมกระจายอยู่ตาม<br />

สถาบันการศึกษาต่างๆ ทุกภูมิภาค<br />

25 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 25 24/4/18 16:10

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!