21.01.2019 Views

Beyond Ordinary_Living Vernacular Architecture

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

1.<br />

การเรียนการสอนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ในสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมของไทย<br />

การเรียนการสอนเกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื ้นถิ่นมีบรรจุอยู่ในหลักสูตรสถาปัตยกรรม<br />

ทุกแห่งตลอดมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหลักสูตร เพียงแต่ไม่ได้เรียกว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น”<br />

เนื้อหาของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแทรกอยู่ในรายวิชาสถาปัตยกรรมไทยมาตั้งแต่เริ่มแรก<br />

โดยเรียนในเนื้อหาของวัด วัง และเรือนไทยภาคต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อเริ่มก่อตั้งคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2482) นักศึกษาสถาปัตยกรรม<br />

ในยุคนั้นจะรู้จักกับหนังสือของท่านอาจารย์นารถ “สถาปัตยกรรมในประเทศไทย 2549”<br />

ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานของสถาปัตยกรรมในประเทศไทยรวมทั้งสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ภายใต้ร่มเงาของสถาปัตยกรรมไทยไปด้วย ในช่วงระยะเวลาต่อมาเมื่อเริ่มมีการเปิดหลัก<br />

สูตรวิชาชีพสถาปัตยกรรมเพิ่มขึ้นในมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า<br />

เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันการ<br />

ศึกษาอื่นๆ เรื่อยมาตามลำาดับ จะพบว่าทุกหลักสูตรจะบรรจุเนื้อหาของวัดและเรือนไทย<br />

ภาคต่างๆ ไว้ในเนื้อหาของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม โดยยังไม่ได้ใช้คำาเรียกขานว่า<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คำา “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” เริ่มปรากฏต่อสาธารณะชนเมื่อสถาบัน<br />

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตีพิมพ์หนังสือสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

ซี่งเป็นผลงานการศึกษาและสำารวจภาคสนามของ รองศาสตราจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์<br />

และคณะ ในวาระเฉลิมฉลอง 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2525) โดยใช้คำาเรียกชื่อว่า<br />

“สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” (<strong>Vernacular</strong> <strong>Architecture</strong>) เช่นเดียวกับ Bernard Rodofsky<br />

(1964) และ Amos Rapoport (1969) ซึ่งให้ความชัดเจนและเข้าใจในเนื้อหามากกว่าคำ าอื่นๆ<br />

การกล่าวถึง “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” ที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมนี้<br />

ใคร่จำาแนกประเด็นเกี่ยวเนื่องออกเป็น 5 ประเด็น คือ 1) การแทรกวิชาสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นในวิชาเกี่ยวเนื่อง 2) การระบุวัตถุประสงค์ของการบรรจุเนื้อหาดังกล่าวในหลักสูตร<br />

3) การเปิดรายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในหลักสูตร 4) การเปิดหลักสูตรเฉพาะในระดับ<br />

บัณฑิตศึกษา และ 5) การเปิดหลักสูตรเกี่ยวเนื่องที่เปิดให้ทำ าวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น<br />

23 ASA 2018<br />

ASA18_Book_180419.indd 23 24/4/18 16:10

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!