07.05.2014 Views

Rebranding with Succeed Model

Rebranding with Succeed Model

Rebranding with Succeed Model

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

รีแบรนดิ้ง<br />

บทสัมภาษณ์<br />

แบบซี้ดๆ<br />

จาก Guru ระดับเทพ<br />

R e b r a n d<br />

อ ย่ า ง เ ม พ ...<br />

R e b r a n d<br />

แ บ บ ซั ค ซี้ ด<br />

เมล็ดพันธุแหงการทำรีแบรนดิ้ง<br />

ใหประสบความสำเร็จ<br />

So you think<br />

you know?<br />

แบรนด์คืออะไร<br />

แล้วทำไมต้องรีแบรนด์<br />

Case Study<br />

ตามแบบฉบับซัคซี้ดด<br />

Brand Strategy


CHADARAT POOANUSORNCHAI 5450321<br />

TAWEEWAT TACHATARNWANICH 5450325<br />

NAPISPORN THONGSOM 5450329<br />

NATTIKA HO 5400331<br />

PARINYA RUNGROJN 5450334<br />

MANATSAWAN NERNSAWAI 5450337


Editor Talks<br />

Rebrand อย่างเมพ...<br />

Rebrand แบบซัดซี้ดดดด<br />

หลังจากนั่งค้น คุ้ย เขี่ย บทความจากอินเตอร์เน็ตมาเกือบ 26 ล้านบทความ ว่าจะทำเรื่องอะไร ในที่สุด<br />

พวกเราก็ได้สรุปกันว่าจะทำเรื่อง <strong>Rebranding</strong> ค่ะ สาเหตุหลักมาจากพวกเราเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกัน<br />

ว่า ปัจจุบันทุกธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก น่าสะพรึงมาก หลายๆกิจการอยู่ในช่วงขาลงกันแทบทั้งนั้น ซึ่ง<br />

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นมักเกิดจากความล้มเหลว ทางด้านการวางแผนธุรกิจนั่นเอง<br />

การทำ <strong>Rebranding</strong> ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการการตลาดค่ะ หลายๆบริษัทฯที่ถูกยัดเยียดความพังจากพิษ<br />

เศรษฐกิจต่างเคยใช้กลยุทธ์นี้มาแล้วแทบทั้งสิ้น ซึ่งก็ประสบความส ำเร็จบ้าง เฟลบ้างตามสไตล์ไทย บิสสิเนส ค่ะ<br />

ในหนังสือที่ท่านกำลังถืออยู่นี้อยากบอกว่าของเค้าแรงมาก แรงตั้งแต่ตั้งชื่อหนังสือแล้วค่ะ เรามั่นใจใน<br />

คุณภาพการผลิตที่คัดสรรมาจากการอ่านบทความโดยอิงจาก Grounded Theory Methodology หรือทฤษฎี<br />

รากฐาน หลังจากนั้นจึงคิดเป็น <strong>Succeed</strong> <strong>Model</strong> นี้ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเป็นอีกหนึ่งทฤษฎีการ<br />

รีแบรนด์แบบใหม่ ฉีกทุกกฎที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นไปได้ หลุดกรอบแนวคิดทฤษฎีแบบเดิมๆและเพื่อความ<br />

น่าเชื่อถือที่มากขึ้น เราได้ท ำการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิถึง 2 ท่านด้วยกัน ถึงความคิดเห็นและข้อเสนอ<br />

แนะที่มีต่อทฤษฎีนี้ ในส่วนท้ายเล่มพวกเราได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาของบริษัทต่างๆที่ผลประกอบการอ่อนง่อย<br />

เปลี้ย จนในที่สุดต้องหันมาใช้กลยุทธ์รีแบรนด์แล้วประสบความส ำเร็จอย่างท่วมท้นถึง 4 บริษัทด้วยกัน<br />

พวกเรามีความตั้งใจในการสร้างโมเดลนี้มากๆ ทุ่มทั้งแรงกายและใจ เพื่อที่จะให้ออกมาเป็นพอคเก็ตบุค<br />

เล่มนี้ สีสันที่ฉูดฉาด ลักษณะการท ำอาร์ตเวิร์คของเล่ม น่าจะเพียงพอที่จะสื่อให้ท่านได้ทราบถึงความสด ความ<br />

แปลก สิ่งเหล่านี้อาจเป็นซิมโบลิคที่เชิญชวนให้ท่านได้พลิกหน้าต่อไปค้นหา อ่าน และท ำความเข้าใจกับมันค่ะ<br />

ด้วยรักและปราถนาดีตามแบบฉบับซัคซี้ดสไตล์<br />


“CLINGING TO HISTORY.<br />

<strong>Rebranding</strong> well means staying<br />

relevant. Assumptions made when the<br />

brand was established may no longer<br />

hold true. Analyze changes in target<br />

”<br />

markets when exploring opportunities<br />

for brand expansion, repositioning and<br />

revitalization.


7<br />

15 35<br />

41<br />

19<br />

What’s Brand,<br />

Branding?<br />

ทำความรู้จักกับความหมายของแบรนด์<br />

What’s <strong>Rebranding</strong>?<br />

Why Rebrand?<br />

รีแบรนด์คืออะไร แล้วทำไมต้องรีแบรนด์<br />

<strong>Succeed</strong> <strong>Model</strong><br />

การทำ <strong>Rebranding</strong> Style สไตล์ซัคซี้ด<br />

ซึ่งสร้างจาก Grounded Theory<br />

I n s i d e<br />

Interview<br />

บทสัมภาษณ์แบบ Exclusive<br />

จากกูรูผู้คร่ำหวอดในวงการการตลาด<br />

Case Study<br />

กรณีศึกษาการทำ <strong>Rebranding</strong><br />

ให้ประสบความสำเร็จของบริษัทต่างๆ


7<br />

แ บ ร น ด์<br />

คื อ อ ะ ไ ร ?


8 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

แบรนด์คืออะไร?<br />

มี<br />

ผู้ให้คำนิยามคำว่า “Brand” แตกต่างกันออกไป แต่คำจำกัดความยอดนิยม<br />

มาจากประโยคแรกในหนังสือชื่อ Marketing Management ที่เขียนโดย<br />

ศาสตราจารย์ฟิลิป คอตเลอร์ (Philip Kotler) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1984 บรรยายไว้ว่า....<br />

“แบรนด์คือ ชื่อ คำ ตรา สัญลักษณ์ หรือรูปแบบ หรือสิ่งเหล่านั้นรวมๆ กันเพื่อ<br />

ที่จะแสดงว่าสินค้าหรือบริการ นั้นเป็นของใคร และแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร”<br />

(A Brand is a name, term, sign, symbol or design or a combination<br />

of them, which is intended to identify the goods or services of one<br />

seller or group of sellers and to differentiate them from those of<br />

competitors.)<br />

ต่อมาในปี 1991 Kotler ได้ขยายความเพิ่มเติมว่า “ถ้าเป็น Brand ต้อง<br />

สามารถจำแนกได้ 4 อย่างด้วยกัน” ได้แก่<br />

(1) Attribute รูปร่างหน้าตาภายนอกที่จะทำให้เกิดความจดจำ<br />

(2) Benefit บอกคุณประโยชน์<br />

(3) Value ทำให้รู้สึกใช้แล้วภาคภูมิใจ ไว้ใจ และ<br />

(4) Personality มีบุคลิกภาพ เช่น ใช้แล้วเป็นวัยรุ่น ใช้แล้วเป็นคนทันสมัย<br />

(วิทวัส ชัยปาณี. 2546: 6-7)


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

9<br />

สรุปได้ว่า ตราสินค้า (Brand) หมายถึงสัญลักษณ์อันเป็นที่รวมความรู้สึก<br />

ของผู้บริโภค ที่มีต่อตราสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งในแง่ของลักษณะทางกายภาพ<br />

ชื่อ บรรจุภัณฑ์ ราคา ความเป็นมา ชื่อเสียง วิถีทาง การสื่อสารของสินค้านั้นทั้ง<br />

มวล และหมายรวมไปถึงประสบการณ์ที่ผู้บริโภค มีต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจ<br />

ของเจ้าของสินค้านั้นด้วย กล่าวอย่างง่ายๆ ตราสินค้า (Brand) ก็คือ ความสัมพันธ์<br />

ระหว่างผู้บริโภค กับสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทุกแง่มุมของสินค้านั้นๆ รวมกัน<br />

และสร้างรอยประทับอยู่ในใจผู้บริโภคนั่นเอง<br />


“THINKING THE BRAND IS<br />

THE LOGO, STATIONERY<br />

OR CORPORATE COLORS.<br />

Brands encompass everything from<br />

customer perception and experience<br />

”<br />

to quality, look and feel, customer<br />

care, retail and web environments, the<br />

tone and voice of communications,<br />

and more.


11<br />

B r a n d i n g<br />

คื อ อ ะ ไ ร ?


12 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

13<br />

Branding คืออะไร<br />

“แ<br />

บรนดิ้ง” มีการนิยามที่หลากหลายกันไป แต่พอจะสรุปได้ว่าคือ การสร้าง<br />

ตราสินค้า (Brand) ให้เป็นที่รู้จักและนิยมชมชอบไว้วางใจในหมู่ผู้บริโภค<br />

กลุ่มเป้าหมาย<br />

การสร้างแบรนด์ (Branding) เป็นภารกิจสำคัญยิ่งประการหนึ่ง ซึ่งแต่ละ<br />

องค์กรธุรกิจต่างพยายาม แสวงหาแนวทาง วิธีการ หรือกลยุทธ์ในการสร้าง<br />

แบรนด์ของตน เพื่อทำให้แบรนด์มีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับจาก<br />

ผู้บริโภค นำไปสู่การขยายตัวของยอดขายและกำไร ในขณะเดียวกัน “แบรนด์ตาย<br />

แล้วเกิดใหม่ได้” หรือมีอาการร่อแร่ปางตาย ก็สามารถฟื้นฟูชุบชีวิตใหม่ได้ ซึ่งเรียก<br />

กันว่า “Re-brand” แต่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยก็ตาม แก่นของแบรนด์ที่<br />

สำคัญที่สุดก็คือ การเข้าถึง การเข้าใจผู้บริโภค และสังคมวัฒนธรรมของผู้บริโภคที่<br />

เป็นกลุ่มเป้าหมาย<br />


“NAVIGATING WITHOUT A PLAN.<br />

Effective rebrands rely on a creative<br />

brief to keep everyone focused as the<br />

project progresses. Include sections for<br />

a situation analysis, objectives, target<br />

”<br />

markets, budget and resources,<br />

time-frame, point person, known<br />

parameters, approval structure,<br />

stakeholders and metrics for<br />

assessing results.


15<br />

R e b r a n d i n g<br />

คื อ อ ะ ไ ร ?


16 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

<strong>Rebranding</strong> คืออะไร<br />

แล้วทำไมต้อง Rebrand?<br />

<strong>Rebranding</strong> คือการสร้างชื่อใหม่ คำศัพท์ สัญลักษณ์ การออกแบบ และ<br />

หรือการประสมประสาน จากสิ่งเหล่านี้ เพื่อสร้างเครื่องหมายการค้า<br />

(Brand) ใหม่ ด้วยความตั้งใจที่จะพัฒนาและกำหนดจุดยืนใหม่ ในใจของผู้มี<br />

ส่วนร่วมได้ร่วมเสียและคู่แข่งขัน (Stakeholders & competitors)<br />

<strong>Rebranding</strong> อาจเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเอกลักษณ์ที่คนมองเห็น (Visual<br />

identity) หรือ <strong>Rebranding</strong> อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ที่ควรเป็นส่วนหนึ่ง<br />

ของยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าและบริการ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทิศทางการ<br />

ดำเนินการของบริษัทใหม่<br />

Identity = เอกลักษณ์, ความเหมือนกัน,<br />

ลักษณะเฉพาะตัว, สถานะ, ฐานานุรูป


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

17<br />

<strong>Rebranding</strong> นี้ อาจเป็นการ<br />

เปลี่ยนตราของบริษัทอย่างเฉียบพลัน<br />

การใช้ชื่อย่อ ยุทธศาสตร์การตลาด<br />

และแนวการโฆษณา สิ่งเหล่านี้มี<br />

เพื่อกำหนดให้บริษัทสามารถกำหนด<br />

ตำแหน่งและยี่ห้อของบริษัทได้ใหม่<br />

บางทีเป็นการวางระยะห่างของตนเอง<br />

ออกจากยี่ห้อของสินค้าและบริการบาง<br />

อย่างของบริษัทที่มีลูกค้าแบบดั้งเดิม<br />

ไปสู่การได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่สูงขึ้น<br />

(Upmarket) หรือกลุ่มลูกค้าที่มีฐาน<br />

กว้างขวางกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ตาม<br />

เหตุผลหลักของการสร้างยี่ห้อใหม่<br />

นี้ คือการต้องสื่อสัญญาณและสาระ<br />

ใหม่ของบริษัท บางที่เกี่ยวข้องกับการ<br />

เปลี่ยนคณะกรรมการของบริษัทใหม่<br />

ที่เขาต้องการสื่อสารในสิ่งใหม่และ<br />

ทิศทางใหม่<br />


“REFUSING TO HIRE A BRANDING<br />

CONSULTANT WITHOUT<br />

INDUSTRY EXPERIENCE.<br />

It’s ok to consider an agency that<br />

hasn’t worked in your specific industry<br />

”<br />

before. Sometimes it’s ideal – especially<br />

if you’re serious about a turnaround.<br />

Smart companies recognize the value<br />

of a fresh perspective.


19<br />

S u c c e e d<br />

M o d e l


20 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

21<br />

SUCCEED MODEL<br />

คือ โมเดลที่เป็นกุญแจไขความลับในเรื่องการทำรีแบรนดิ้งให้ประสบความ<br />

สำเร็จ<br />

SUCCEED MODEL<br />

ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน<br />

1. BRAND ANALYZE<br />

2. BRAND ARRANGE<br />

3. BRAND ACTION<br />

4. BRAND ASSESS<br />

SUCCEED MODEL<br />

การทำงานของโมเดล มีลักษณะดำเนินการเป็นวัฏจักรอย่างต่อเนื่อง เปรียบ<br />

เสมือนกับการทำรีแบรนดิ้งที่มีการลงมือทำหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และ<br />

กาลสมัย ไม่ใช่ทำแค่ครั้งเดียวแล้วจะประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนตลอดไป


22 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

23<br />

BRAND ANALYZE:<br />

การวิเคราะห์แบรนด์<br />

ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการรีแบรนดิ้ง สิ่งแรกที่ต้องลงมือทำก่อน คือ การ<br />

วิเคราะห์แบรนด์ โดยการวิเคราะห์แบรนด์นั้นจะวิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม<br />

ด้านต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อแบรนด์ จากการวิเคราะห์จะทำให้รู้ว่าแบรนด์ของ<br />

เรามีจุดแข็งหรือจุดอ่อนด้านใดบ้าง จะนำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์ตัวแบรนด์ให้มี<br />

ประสิทธิภาพมากขึ้น<br />

ปัจจัยที่ต้องวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่มีต่อแบรนด์<br />

■■<br />

■■<br />

คู่แข่งขัน ■■<br />

■■<br />

■■<br />

■■<br />

■■<br />

■■<br />

■■<br />

ลูกค้า (CONSUMER)<br />

ตลาด (MARKET)<br />

(COMPETITORS)<br />

สังคม (SOCIAL)<br />

วัฒนธรรม (CULTURE)<br />

การเมือง (POLITIC)<br />

เศรษฐกิจ (ECONOMIC)<br />

เทคโนโลยี (TECHNOLOGY)<br />

นโยบายทางการค้า (TRADE)


24 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

25<br />

BRAND ARRANGE:<br />

การเตรียมแผนรีแบรนดิ้ง<br />

ก่อนที่จะเริ่มการทำรีแบรนดิ้ง จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน<br />

ก่อน การทำรีแบรนดิ้งทำไปเพื่อใคร ทำไปเพื่ออะไร เพื่อกระบวนการรีแบรนดิ้งจะ<br />

ได้ดำเนินการได้ตรงตามแผนที่กำหนดไว้<br />

ตัวอย่างการกำหนดแผนเป้าหมายการทำรีแบรนดิ้ง<br />

ป้องกันตนเองจากคู่แข่ง<br />

■<br />

■<br />

ปกป้องตำแหน่งทางการตลาดของตนเอง<br />

แบรนด์อยู่ในภาวะถดถอย<br />

■<br />

เพื่อความอยู่รอดของแบรนด์<br />

■<br />

เกิดข่าวแง่ลบกับแบรนด์เดิม<br />

แบรนด์เดิมล้าสมัย<br />

มีการเปลี่ยนผู้บริหาร<br />

■<br />

มีการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายใหม่<br />

■<br />

ต้องการกำจัดจุดอ่อนที่พบ<br />

■<br />

แบรนด์เดิมไม่สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน<br />

■<br />

ต้องการสร้างกระแส<br />

แสวงหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ<br />

ต้องการสร้างคุณค่าและจุดเด่นให้กับแบรนด์<br />

■■<br />

■<br />

■<br />

■■<br />

■■<br />

■<br />

■<br />

■<br />

■<br />

■■<br />

■■<br />

■■<br />

เสริมสร้างส่วนที่เสียไป<br />

■■<br />

สร้างโมเดลให้ธุรกิจดีกว่าเดิม<br />

■■<br />

ต้องการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค<br />

■■


26 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

27<br />

BRAND ACTION:<br />

การลงมือทำรีแบรนดิ้ง<br />

เมื่อกำหนดเป้าหมายของการทำรีแบรนดิ้งแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือลงมือทำการ<br />

รีแบรนดิ้ง โดยทั่วไปการรีแบรนดิ้งจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ<br />

1. INTERNAL REBRANDING<br />

2. EXTERNAL REBRANDING<br />

ตัวอย่างการทำ INTERNAL REBRANDING<br />

การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ ■■<br />

การปรับเปลี่ยนชื่อแบรนด์ ■■<br />

การปรับเปลี่ยนโลโก้สินค้า ■■<br />

การปรับเปลี่ยนสโลแกนสินค้า ■■<br />

การปรับเปลี่ยนฉลากสินค้า ■■<br />

การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ■■<br />

การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ■■<br />

การปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารทางการตลาด ■■<br />

การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ ■■<br />

การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ■■<br />

การปรับเปลี่ยนคุณภาพ ■■<br />

การปรับเปลี่ยนช่องทางการขาย ■■<br />

(RE-PRODUCT)<br />

(RE-BRANDNAME)<br />

(RE-LOGO)<br />

(RE-SLOGAN)<br />

(RE-LABELLING)<br />

(RE-PACKAGING)<br />

(RE-POSITIONING)<br />

(RE-IMC)<br />

(RE-IMAGE)<br />

(RE-PERSONALITY)<br />

(RE-QUALITY)<br />

(RE-CHANNEL)


28 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

29<br />

ตัวอย่างการทำ EXTERNAL REBRANDING<br />

การปรับเปลี่ยนองค์กร/บริษัท<br />

การปรับเปลี่ยนผู้นำ/ผู้บริหาร<br />

การปรับเปลี่ยนทรัพยากรคน<br />

การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม<br />

การปรับเปลี่ยนทัศนคติ<br />

การปรับเปลี่ยนระบบการทำงาน<br />

การปรับเปลี่ยนการให้บริการ<br />

การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี<br />

การปรับเปลี่ยนงบการลงทุน<br />

การปรับเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ


30 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

31<br />

BRAND ASSESS:<br />

การประเมินผลการทำรีแบรนดิ้ง<br />

การลงมือทำรีแบรนดิ้งสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ การประเมินผลหรือการชี้<br />

วัด ว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นส่งผลให้แบรนด์มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลง<br />

การรีแบรนดิ้งประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้นต้องพิจารณาจากตัวชี้วัดที่กำหนดไว้<br />

ตัวอย่างดัชนีตัวชี้วัดการประเมินผลแบรนด์<br />

ชื่อเสียงของแบรนด์ ■■<br />

ยอดขายของแบรนด์ ■■<br />

ส่วนครองตลาดของแบรนด์ ■■<br />

■■<br />

ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ■■<br />

■■<br />

■■<br />

ความสัมพันธ์ของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ ■■<br />

การรับรู้ในตัวแบรนด์ของลูกค้า ■■<br />

■■<br />

เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ■■<br />

แตกต่างจากคู่แข่ง ■■<br />

(ดีขึ้น/แย่ลง)<br />

(เพิ่มขึ้น/ลดลง)<br />

(เพิ่มขึ้น/เท่าเดิม/ลดลง)<br />

ความพึงพอใจของลูกค้า (พอใจ/ไม่พอใจ)<br />

(มากขึ้น/เท่าเดิม/น้อยลง)<br />

ลูกค้าเกิดความคิดเชิงบวกต่อแบรนด์ (เชิงบวก/เชิงลบ)<br />

ความภักดีต่อแบรนด์ของลูกค้า (ภักดี/ไม่ภักดี)<br />

(ผูกพัน/ไม่ผูกพัน)<br />

(รับรู้/ไม่รับรู้)<br />

รักษาฐานลูกค้าเดิม (ได้/ไม่ได้)<br />

(สำเร็จ/ไม่สำเร็จ)<br />

(ชัดเจน/ไม่ชัดเจน)<br />


32 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

33


“NOT LEVERAGING EXISTING<br />

BRAND EQUITY AND GOODWILL.<br />

Dismissing brand equity when<br />

rebranding alienates established<br />

customers, while unnecessary<br />

overhauls can irreparably damage a<br />

brand’s perception. Consider the needs<br />

and mindset of the target market<br />

carefully before digging into the<br />

process. Sometimes a small evolution<br />

– or a new coat of paint is all that’s<br />

needed to rejuvenate and make<br />

a brand relevant.<br />


35<br />

G u e s t s<br />

I n t e r v i e w


36 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

ผศ.ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม<br />

ปริญญาเอก Technopreneurship<br />

and Innovation Management<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ปริญญาโท M.B.A (Marketing)<br />

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์บัณฑิต<br />

สาขาวิชาโทสถิติ มหาวิทยาลัย<br />

เชียงใหม่<br />

ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและการวาง<br />

■■<br />

กลยุทธ์ทางธุรกิจ<br />

แนะนำให้ใช้คำแบบโดนๆอ่ะ แปลกๆ เท่ๆอ่ะ ยกตัวอย่างเช่น Creative Juice<br />

เค้าก็จะขึ้นต้นด้วยคำว่าตัวอักษร D 4 ตัว อะไรอย่างนี้ เช่น Discover,<br />

Disruption, Disparity, Determine หรือที่เรียกเต็มๆว่า<br />

4-D planning ที่เกี่ยวกับการทำงาน 4 ขั้นตอน<br />

คือการค้นคว้าข้อมูลร่วมกับลูกค้า ทำเวิร์คช้อปด้วยกันเพื่อนำมา<br />

วิเคราะห์ปัญหาและโจทย์เชิงธุรกิจ ว่าทำอย่างไรลูกค้าถึงสามารถเพิ่มกำไรให้<br />

กับสินค้าได้<br />

หาไอเดียที่แปลกๆแตกต่างจากคู่แข่งเพื่อนำมาสนับสนุน ธุรกิจ<br />

ของลูกค้าเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าอัตราการเติบโตปกติ ซึ่งขั้นตอนนี้จะรวมถึง<br />

Discovery ■■<br />

Disruption ■■<br />

■■<br />

■■<br />

■■


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

37<br />

หาไอเดียแปลกๆ เพื่อที่จะสื่อสารผ่านสื่อโฆษณาไปยังผู้บริโภคด้วย<br />

Disparity การนำไอเดียจากขั้นตอนที่ 2 Disruptionไปกระจายให้ผู้บริโภค<br />

■■<br />

พนักงานในบริษัททุกคนรับรู้<br />

Determine เป็นการประเมินผลก่อนและหลังการทำกลยุทธ์ผ่านเครื่องมือ<br />

■■<br />

ทางความคิดทั้ง 3 ส่วน ว่ามีความเปลี่ยนแปลงในตัวแบรนด์ และสินค้า ของ<br />

ลูกค้าอย่างไร<br />

แล้วอธิบายก็คงต้องให้ครบลูป เพราะลูปของมัน ไม่ว่าจะโมเดลของใครก็แล้ว<br />

แต่จะตั้งต้นที่การวิเคราะห์ การวางกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ให้ได้ตามนั้น<br />

คือการสร้างกิจกรรมต่างๆให้เป็นไปตามกลยุทธ์แล้วก็วนกลับมาประเมิน คือไม่ว่า<br />

จะโมเดลไหนมันก็จะป้วนเปี้ยนอยู่แค่นั้น ไม่ว่าจะลองศึกษาโมเดลของใครทั่วโลก<br />

ก็ตามแต่ ดังนั้นหากเราจะเอาโมเดลขของใครมาใช้เราควรจะเข้าใจความหมายของ<br />

มันจริงๆอีกเสียก่อน ว่าโมเดลแต่ละโมเดลเราเอามันมาใช้เพื่ออะไร เช่นถ้าเราจะ<br />

บอกว่าเราจะใช้โมเดล Brand Equity ของ Kevin Len Keller เราก็จะรู้ว่าเอามา<br />

ประเมินตอนท้าย ว่าท้ายที่สุดแล้วแบรนด์นั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ให้ประเมิน<br />

จาก Brand Equity ข้อเสนอแนะสำหรับผมมีนิดเดียวครับ คือถ้าเราจะบอกว่าใน<br />

เรื่องของการทำ Action Implementation หรือ Execution ของพวกคุณ คำๆนี้อาจ<br />

เป็นเรื่องของ Experiential Marketing, Customer Engagement คำว่า IMC<br />

หรืออะไรก็ตาม โมเดลที่เอามาประกอบของคำแต่ละคำของคุณ คงต้องเอามาใส่<br />

เพิ่มซักนิดว่า วัตถุประสงค์ของการนำมาใช้คืออะไร เพื่อที่จะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่<br />

โดยรวมแล้วโอเคครับ<br />


38 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

อาจารย์ นราธิป อ่ำเที่ยงตรง<br />

■■<br />

■■<br />

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ<br />

■■<br />

■■<br />

■■<br />

บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัย<br />

กรุงเทพ<br />

ศบ. (เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ)<br />

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ<br />

สายการตลาด สถาบัน CAC<br />

คอลัมนิสต์ นิตยสาร Food<br />

Beverage Marketing<br />

ผจก. หลักสูตรโครงการเสริมสร้าง<br />

ผู้ประกอบการใหม่ (NEC) กระทรวง<br />

อุตสาหกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัย<br />

กรุงเทพ<br />

ตอนที่ส่ง <strong>Succeed</strong> <strong>Model</strong> มาให้ดูทางอีเมล์ ตอนแรกอ่านแล้วงงๆว่ามันคือ<br />

อะไร มาจากไหน แต่พอบอกว่าเป็นโมเดลที่มาจาก Grounded Theory ก็<br />

พอจะจับจุดได้ว่า ที่มาที่ไปเป็นยังไง แต่ก็ต้องไปตั้งต้นที่ความหมายของ Grounded<br />

Theory ก่อนว่ามันคือแนวทางการวิจัย หรือเป็น Research Methodology ที่<br />

ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหาข้อสรุปทฤษฎีขึ้นจากปรากฎการณ์ต่างๆทางสังคม ตาม<br />

ความหมายของชนกลุ่มนั้นๆ เพื่อนำเอาข้อมูลที่ได้มาสู่ขั้นตอนการวิเคราะห์<br />

สังเคราะห์ แล้วทำให้เกิดความเข้าใจลักษณะทางสังคมที่กำลังเกิดขึ้นนั่นเอง


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

39<br />

แนะนำง่ายๆสั้นๆสำหรับ <strong>Succeed</strong> <strong>Model</strong> นะครับว่า โมเดลนี้ถามว่าเข้าใจ<br />

ง่ายมั๊ย ตอบว่าเข้าใจง่ายเพราะไม่ได้ใช้ศัพท์ที่ผิดแปลกอะไรไปมากมาย มันมี<br />

ความหมายในตัวอยู่แล้ว แต่อยากให้เพิ่มคำอธิบายลงไปในโมเดลนั้นๆด้วย ว่ามี<br />

ที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมถึงมาเป็นโมเดลรูปร่างหน้าตาแบบนี้ เราต้องการอะไรจาก<br />

ความรู้นี้ เราต้องการอะไรจากงานวิจัยย่อยๆนี้ อาจตั้งต้นที่ 3 คำถามว่า<br />

ทำไมต้องทำอย่างนั้น เพื่อเป็นการอธิบาย<br />

■■<br />

ถ้าเกิดสถานการณ์นี้ จะเกิดผลกระทบอย่างไรในอนาคต<br />

■■<br />

ทำอย่างไร วิธีการแบบไหนที่จะบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้น<br />

■■<br />

อะไรประมาณนี้ครับ เพราะบางทีเพียงแค่ภาพอาจอธิบายได้ไม่หมด แล้วก็<br />

เรื่อง <strong>Rebranding</strong> เป็นสิ่งที่ก็ไม่ได้ใหม่ในสังคมปัจจุบันมากนัก มันมีทฤษฎีอื่นๆมา<br />

รองรับอยู่แล้วมากมาย และแต่ละทฤษฎีก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก ถ้ามีโอกาสทำเรื่อง<br />

ต่อไปอยากให้จับกระแสที่น่าสนใจมากกว่านี้ จะทำให้โมเดลของคุณดูใหม่ ดูเฟรช<br />

ดูน่าค้นหาว่ามันคืออะไรมากขึ้นครับ<br />


“NOT TRYING ON YOUR<br />

CUSTOMER’S SHOES.<br />

Simply calling your own 800-number<br />

or receptionist may reveal challenges<br />

customers face and inform your<br />

”<br />

rebranding strategy. Take the time to<br />

navigate your own website, buy your<br />

products and return something. Better<br />

yet, ask a friend or family member to<br />

do so and learn from their experiences.


41<br />

C a s e<br />

S t u d y


42 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

รีแบรนดิ้ง<br />

“ยาสีฟันสมุนไพรดอกบัวคู่”<br />

แบบ “ซัคซี้ด”<br />

ความสำเร็จของการรีแบรนดิ้งยาสีฟันสมุนไพรดอกบัวคู่ จะประสบความ<br />

สำเร็จและส่งให้เป็นที่หนึ่งในตลาดยาสีฟันสมุนไพรและยังคงรั้งตำแหน่ง<br />

มาจนถึงปัจจุบันเช่นทุกวันนี้ไม่ได้เลย หากขาดการรีแบรนดิ้งที่เข้าใจถึงจุดอ่อน<br />

และจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ตัวเองที่มีอยู่อย่างถ่องแท้ และสามารถเปลี่ยนให้ทุก<br />

อย่างกลายมาเป็นจุดขายได้อย่างลงตัว บวกกับการไม่หยุดอยู่กับที่และการคิดค้น<br />

ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาให้สอดคล้องกับกระแสความต้องการของตลาด และย้ำด้วย<br />

ภาพยนตร์โฆษณาทีโดนใจกลุ่มเป้าหมาย


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

43<br />

ซึ่งเมื่อนำ <strong>Rebranding</strong> <strong>Model</strong> ในแบบฉบับ “ซัคซี้ด” มาวิเคราะห์ตาม จะ<br />

พบว่าการทำรีแบรนดิ ้งของยาสีฟันสมุนไพรดอกบัวคู่ สอดคล้องตามขั้นตอนทั้ง<br />

4 ขั้นตอน อย่างลงตัว ดังนี้<br />

BRAND ANALYZE:<br />

การวิเคราะห์แบรนด์<br />

เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลา ก่อนการท ำรีแบรนดิ้ง<br />

ทางยาสีฟันสมุนไพรดอกบัวคู่ได้ให้<br />

ความสำคัญกับขั้นตอนการวิเคราะห์<br />

ถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหากับ<br />

แบรนด์ เป็นอย่างมาก เพื่อหาสาเหตุ<br />

ที่แท้จริงของปัญหาและทำให้การรี<br />

แบรนดิ้งนั้นไม่ผิดทิศทาง และประสบ<br />

ความสำเร็จในที่สุด จะเห็นได้จาก<br />

พบว่าลูกค้ารู้สึกว่า ยาสีฟันดอกบัวคู่ มีภาพลักษณ์ที่ดู<br />

ไม่ทันสมัย เหมือนเป็นสินค้าของคนต่างจังหวัด ไม่โดนใจคนเมืองกรุง อีกทั้ง<br />

ถูกมองว่าคนที่ใช้มักจะเป็นคนมีอายุ<br />

เทรนตลาดยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสมุนไพร<br />

เริ่มได้รับความนิยมและการตอบรับที่ดีขึ้นจากเมื่อก่อน เนื่องจากทัศนคติ<br />

และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ที่ให้ความสำคัญและใส่ใจกับสุขภาพมาก<br />

ยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนกับตำแหน่งในตลาดที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น<br />

ของยาสีฟันสมุนไพรดอกบัวคู่ที่ว่า “ยาสีฟันสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพเหงือกและ<br />

ฟัน”แต่ถึงอย่างไรคู่แข็งอย่างเจ้าตลาดยาสีฟันอันดับหนึ่งอย่างคอลเกต ก็<br />

การวิเคราะห์ลูกค้า ■■<br />

การวิเคราะห์ตลาดและคู่แข่ง ■■


44 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

ต้องการที่จะชิงเป็นเบอร์หนึ่งในเซกเม้นยาสีฟันสมุนไพร โค่นยาสีฟันสมุนไพร<br />

ดอกบัวคู่ให้ได้ ดังนั้นคงไม่เป็นผลดีแน่ถ้าดอกบัวคู่จะนิ่งเฉย ไม่ทำการป้องกัน<br />

และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ต่อเนื่อง<br />

BRAND ARRANGE:<br />

การเตรียมแผนรีแบรนดิ้ง<br />

หลังจากที่ได้วิเคราะห์สถานการณ์ภาพรวมของแบรนด์ทำให้ทราบถึงจุดแข็งที่<br />

ต้องรักษา และพัฒนา รวมถึงจุดอ่อนหรือปัญหาที่ต้องแก้ไขแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่<br />

จะต้องมีการวางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนที่จะเริ่มการทำรีแบรนดิ้ง<br />

ว่าต้องการทำรีแบรนดิ้ง ไปเพื่อใคร ทำเพื่ออะไร ซึ่งทางยาสีฟันดอกบัวคู่ก็คำนึงถึง<br />

จุดนี้เป็นสำคัญ จากปัญหาเรื่องภาพลักษณ์ของสินค้าที่ดูไม่ทันสมัย และถูกมอง<br />

ว่าคนที่ใช้มักจะเป็นกลุ่มคนที่มีอายุ ดังนั้นทางยาสีฟันดอกบัวคู่จึงวางแผนกำหนด<br />

เป้าหมายในการทำรีแบรนดิ้งครั้งใหญ่โดย<br />

การปรับภาพลักษณ์ใหม่ให้ดูทันสมัย<br />

เพื่อปกป้องตำแหน่งทางการตลาด<br />

ของตนเอง รวมถึงป้องกันตนเองจากคู่แข่ง โดยเฉพาะคอลเกตที่กำลังจะบุก<br />

ตลาดยาสีฟันเซกเม้นต์สมุนไพรและหวังจะโค่นยาสีฟันดอกบัวคู่ซึ่งเป็นผู้นำใน<br />

เซกเม้นต์นี้ให้ได้<br />

■■<br />

ขยายสู่กลุ่มลูกค้าที่แมสขึ้นและเด็กลง ■■<br />

BRAND ACTION:<br />

การลงมือทำรีแบรนดิ้ง<br />

หลังจากกำหนดเป้าหมายแผนรีแบรนดิ้งเรียบร้อยแล้ว ทางยาสีฟันดอกบัวคู่ก็<br />

ไม่รอช้าลงมือทำขั้นตอนการรีแบรนดิ้งต่อไปคือ การปฏิบัติตามแผนทันที โดย


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

45<br />

(RE-IMAGE) ให้มีความทันสมัยและน่าสนใจยิ่ง<br />

ขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนเมืองและเพื่อขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้าที่แมสขึ้นและ<br />

เด็กลง ที่อายุ 18-25 ปี จากเดิมที่ผู้ใช้ยาสีฟันสมุนไพรจะมีอายุ 25 ปีขึ้นไป<br />

(RE-PACKAGING) ที่มีการดีไซน์ลวดลายตัว<br />

หนังสือและภาพให้มีความทันสมัย แต่คงความสีเขียวสื่อถึงความรู้สึกของ<br />

สมุนไพรเช่นเดิม<br />

(RE-SLOGAN) ภายใต้แนวคิด “ดำแต่ดี..<br />

เพราะทำจากสมุนไพรล้วน ๆ” เพื่อชูคุณภาพจากสมุนไพร เป็นการนำเอา<br />

จุดด้อยของยาสีฟันที่มีเนื้อยาสีดำ มาพลิกให้กลายเป็นจุดแข็งและความ<br />

แตกต่าง ลบจุดอ่อนด้านความรู้สึกที่ผู้บริโภคมีต่อเนื้อยาสีฟันที่มีสีดำ<br />

การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ ■■<br />

การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ■■<br />

การปรับเปลี่ยนสโลแกนสินค้า ■■<br />

(RE-PRODUCT) นอกเหนือจากยาสีฟันสมุนไพร<br />

การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ ■■<br />

ดอกบัวคู่ สูตรดั้งเดิม ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สูตรใหม่สู่ตลาด โดยส่ง<br />

ยาสีฟันสูตรเฟรช แอนด์ คูล (สูตรเย็น) เพื่อเจาะกลุ่มวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ และ<br />

ลูกค้ากลุ่มที่ไม่เคยใช้ยาสีฟันสมุนไพร เนื่องจากไม่ชอบสีและรสชาติ และสูตร<br />

เค็มตัวล่าสุด เพิ่มเกลือเพื่อให้ประสิทธิภาพในการขจัดปัญหากลิ่นปาก และ<br />

เป็นเทรนด์ของตลาดสีฟันในยุคล่าสุดที่ต้องมีความหลากหลายให้ลูกค้าเลือก<br />

ตามความต้องการ อีกทั้งการขยายไลน์พัฒนาสินค้าในรูปแบบอื่นๆ เช่น สบู่<br />

ก้อน สบู่เหลว แชมพู ครีมนวดผม น้ำยาบ้วนปาก ครีมทาหน้า โลชั่นทาผิว ซึ่ง<br />

ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดล้วนมีส่วนผสมของสมุนไพรด้วยกันทั้งสิ้นออกสู่ตลาดอีกด้วย


46 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

BRAND ASSESS:<br />

การประเมินผลการทำรีแบรนดิ้ง<br />

เมื่อยาสีฟันดอกบัวคู่ได้ลงมือทำการรีแบรนดิ้งแล้ว จะต้องทำการประเมินผล<br />

ด้วยตัวชี้วัดที่สามารถวัดผลได้ เพื่อดูว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นส่งผลให้แบรนด์มีการ<br />

เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น/แย่ลง หรือการรีแบรนดิ้งประสบผลสำเร็จหรือไม่ ซึ่ง<br />

พบว่าการรีแบรนดิ้งในครั้งนี้ของยาสีฟันดอกบัวคู่ได้รับการตอบรับในวงกว้าง และ<br />

ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จากการประเมินผลตัวชี้วัด ดังนี้<br />

เพิ่มขึ้น<br />

ส่วนครองตลาดของแบรนด์ ■■<br />

จะเห็นได้จากปี 2548 หลังจากที่ได้ทำการรีแบรนดิ้งปรับภาพลักษณ์และขยาย<br />

กลุ่มลูกค้า ดอกบัวคู่มีส่วนแบ่งในตลาดยาสีฟันสมุนไพรสูงถึง 70% และแม้จะ<br />

จำหน่ายแต่ยาสีฟันสมุนไพร แต่เมื่อเทียบกับตลาดยาสีฟันมาตรฐานทั้งหมด<br />

ดอกบัวคู่ยังสามารถสร้างส่วนแบ่งขึ้นมาเป็นถึงอันดับ 3 ของตลาด โดยเป็น<br />

ลองเพียงคอลเกตและดาลี่ ซึ่งมีส่วนแบ่ง 30% และ 18% ตามลำดับ ส่วน<br />

ดอกบัวคู่สามารถเบียดใกล้ชิดให้ตกไปอยู่อันดับ 4 และทำส่วนแบ่งตลาดให้<br />

ตัวเองในตลาดยาสีฟันโดยรวมถึง 14%<br />

ได้สำเร็จ<br />

ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้นรวมถึงเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ■■<br />

จากการปรับภาพลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัยและตรงกับความต้องการ<br />

ของลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์โดยส่งยาสีฟันสูตรเฟรช<br />

แอนด์ คูล (สูตรเย็น) ออกมาเพื่อหวังขยายฐานกลุ่มวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ และ<br />

ลูกค้ากลุ่มที่ไม่เคยใช้ยาสีฟันสมุนไพร ผลปรากฏว่าลูกค้าพึงพอใจและสนใจ<br />

มากขึ้น กระตุ้นให้เกิดการอยากทดลองใช้และสามารถขยายตลาดสู่กลุ่มลูกค้า<br />

ที่แมสขึ้นและเด็กลงที่อายุ 18-25 ปี ได้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่ผู้ใช้ยาสีฟัน


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

47<br />

สมุนไพรจะมีอายุ 25 ปีขึ้นไป<br />

ลูกค้าเกิดความคิด “เชิงบวก” ต่อแบรนด์<br />

เมื่อมีการปรับเปลี่ยนสโลแกนและทำโฆษณาภายใต้แนวคิด “ดำแต่ดี”..เพราะ<br />

ทำจากสมุนไพรล้วน ๆ” ซึ่งถือว่าเป็นการนำเอาจุดด้อยของยาสีฟันที่มีเน<br />

สีดำ มาพลิกให้กลายเป็นจุดแข็งและความแตกต่าง เพื่อชูคุณภาพจากสมุนไพร<br />

และลบจุดอ่อนด้านความรู้สึกที่ผู้บริโภคมีต่อเนื้อยาสีฟันที่มีสีดำ ทำให้ลูกค้า<br />

เกิดความคิด “เชิงบวก” ว่าสีดำของตัวยาสีฟันนั้น ให้ประโยชน์และดีต่อ<br />

สุขภาพช่องปาก<br />

■■<br />


48 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

รีแบรนดิ้ง<br />

“ธนาคารทหารไทย”<br />

แบบ “ซัคซี้ด”<br />

BRAND ANALYZ:<br />

การวิเคราะห์แบรนด์<br />

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ซึ่งเป็นวิกฤตครั้งรุนแรงที่สุด ทำให้


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

49<br />

ธนาคารพาณิชย์ไทยต้องเผชิญกับผลกระทบจากความผันผวนที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ<br />

การค้าเสรีที่เปิดโอกาสให้ต่างประเทศเข้ามาทำธุรกรรมทางการเงิน ทำให้ธนาคาร<br />

พาณิชย์ไทย มีการแข่งขันอย่างรุนแรง ธนาคารทหารไทย ก็ได้รับผลกระทบจาก<br />

ภาวะการณ์แข่งขันที่รุนแรง จึงต้องพยายามปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันในธุรกิจ<br />

ธนาคารพาณิชย์ได้ และได้รวมกิจการกับธนาคารดีบีเอสสิงคโปร์ ไทยทนุ และ<br />

บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้บริการครบวงจรตามสถานะความ<br />

เป็น Universal Banking<br />

BRAND ARRANGE:<br />

การเตรียมแผนรีแบรนดิ้ง<br />

ต้องการปรับแบรนด์ให้ลูกค้าสามารถจดจำได้มากขึ้น และต้องการปรับ<br />

ภาพลักษณ์จากเดิมเป็นธนาคารสำหรับราชการ ทหาร ดูโบราณ โดยปรับเปลี่ยนให้<br />

ดูเป็นธนาคารสำหรับคนรุ่นใหม่ทันสมัยมากขึ้น<br />

BRAND ACTION<br />

การลงมือทำรีแบรนดิ้ง<br />

EXTERNAL REBRANDING<br />

การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ (RE-PRODUCT)<br />

■■<br />

TMB ริเริ่มและเป็นผู้นำในการให้บริการ การฝากถอนเงินไม่ต้องใช้สลิป,<br />

ผลิตภัณฑ์เงินฝากไม่มีค่าธรรมเนียม, ฝากประจำถอนก่อนดอกเบี้ยไม่ลด,<br />

เงินฝากไม่ประจำดอกเบี้ยสูง, ME Bank<br />

(RE-BRANDNAME)<br />

การปรับเปลี่ยนชื่อแบรนด์ ■■<br />

จากชื่อเดิมธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ The Thai Military Bank


50 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

(TMB) ถูกเปลี่ยนเป็น TMB หรือชื่อเต็มคือ TMB Bank Public Company<br />

การปรับเปลี่ยนโลโก้สินค้า (RE-LOGO)<br />

■■<br />

โลโก้ใหม่ จาก ธนาคารทหารไทยไปเป็น TMB ซึ่งเป็นแนวคิดหลักที่สะท้อน<br />

การเป็นรวมเป็นหนึ่งเดียว จุดเด่นสัญลักษณ์นี้ ได้นำเอาตัวภาษาอังกฤษมาใช้<br />

ในการออกแบบ เพื่อให้สะดุดตา จดจำง่าย ซึ่งอักษร T มาจากคำว่า Team<br />

หมายถึง ร่วมคิด ร่วมทำ, อักษร M มาจากคำว่า Mutual หมายถึง การร่วม<br />

มือ ร่วมก้าวไปด้วยกัน และ B อักษรตัวสุดท้าย หมายถึง Benefit หมายถึง<br />

ผลประโยชน์สูงสุด<br />

(RE-SLOGAN)<br />

การปรับเปลี่ยนสโลแกนสินค้า ■■<br />

เมื่อยังเป็นธนาคารทหารไทยมีสโลแกน “ธนาคารทหารไทย รับใช้ประชาชน”<br />

และหลังจากรีแบรนด์ เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น “TMB” ได้ เปลี่ยนสโลแกน<br />

เป็น Make THE Difference - พลังในตัวคุณ เปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น”<br />

(RE-POSITIONING)<br />

การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ■■<br />

จากเดิมที่ธนาคารทหารไทย เป็นแบงก์ข้าราชการ แบงก์ที่ทหารเข้าใช้บริการ<br />

ได้ปรับเปลี่ยนเป็น ผู้นำเสนอทางเลือกใหม่ของบริการทางการเงินที่มีคุณค่าให้<br />

กับลูกค้า ที่เมื่อลูกค้าเดินเข้าหา TMB แล้วจะไม่ได้ใช้เพียงบริการเดียวเท่านั้น<br />

แต่มีโอกาสที่จะสนใจใช้บริการอื่นๆอีกด้วย


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

51<br />

การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ (RE-IMAGE)<br />

■■<br />

การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของธนาคารทหารไทยยุคโบราณที่บริหารโดย<br />

รัฐวิสาหกิจ มาเป็นธนาคารรูปแบบใหม่ที่ตอบสนอง lifestyle ชีวิตคนเมืองที่<br />

ชื่นชอบการทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง เพิ่มความสะดวก รวดเร็วและไม่จำกัดด้วย<br />

เงื่อนไขของวันและเวลา<br />

(RE-IMC)<br />

การปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารทางการตลาด ■■<br />

ดำเนินการผ่านการสื่อสารทางการตลาดที่จะสร้างภาพลักษณ์และบุคลิกภาพของ<br />

แบรนด์ โดยได้มีการออกตัวแคมเปญ ภายใต้แนวคิด make the difference<br />

เพื่อประกาศถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีๆ สู่กลุ่มเป้า<br />

หมาย โดยมีแนวคิดที่ว่า ทุกคนสามารถเปลี่ยนโลกตัวเอง เปลี่<br />

ตัวเอง ให้กลายเป็นโลกที่ดีขึ้น กลายเป็นพลังที่ทำให้โลกน่าอยู่ ด้านการ<br />

โฆษณามีพรีเซ็นเตอร์อย่าง คุณสัญญา คุณากร ซึ่งเป็นคนที่มีบุคลิก เป็นคน<br />

รุ่นใหม่ ที่ประสบความสำเร็จ มาเป็นตัวแทนของการสื่อสารให้กับทีเอ็มบี


52 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

(RE-PERSONALITY)<br />

บุคลิกภาพเดิมที่ผู้ใช้บริการธนาคารทหารไทยเป็นผู้สูงอายุ ดูแก่ ไม่ทันสมัย ได้<br />

ปรับเปลี่ยนเป็น TMB ท ำให้รู้สึกว่าเป็นคนที่ทันสมัย รักการออม สนใจการลงทุน<br />

(RE-CHANNEL)<br />

จากเดิมที่มีการให้บริการผ่านสำนักงานสาขา ที่พนักงานให้บริการ, ตู้ ATM,<br />

อินเตอร์เน็ต ได้เพิ่มช่องทางการให้บริการลูกค้าที่ต้องการผลตอบแทนสูง ผ่าน<br />

ME by TMB เป็น Electronic Banking ที่เน้นการทำธุรกรรมผ่านออนไลน์<br />

ทั้งหมด มีเพียงกรณีเดียวเท่านั้นที่เราต้องติดต่อธนาคาร คือการนำเอกสารไป<br />

เพื่อยืนยันตนที่ ME Place ในครั้งแรกเท่านั้น<br />

การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ ■■<br />

การปรับเปลี่ยนช่องทางการขาย ■■<br />

INTERNAL REBRANDING<br />

การปรับเปลี่ยนองค์กร/บริษัท<br />

■■<br />

TMB ได้มีการปรับองค์กรให้บริการโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง Customer<br />

Centric Organization และมีผู้บริหารจากธนาคารที่มีวัฒนธรรมองค์กรแบบ<br />

เอกชนเต็มรูปแบบ ที่ต่างกันกับธนาคารทหารไทยที่มีลักษณะอนุรักษ์นิยม เข้า<br />

มาบริหาร มีการเพิ่มทุนและมีไอเอ็นจี แบงก์ จากเนเธอร์แลนด์เข้าถือหุ้น<br />

การปรับเปลี่ยนทรัพยากรคน<br />

■<br />

TMB ได้ทำการเปิดให้เกษียณก่อนกำหนด (เออรี่รีไทร์) เมื่อเกิดจากการ<br />

ควบรวมของทั้ง3บริษัท จึงมีพนักงานธนาคารดีบีเอสไทยทนุ บรรษัทเงินทุน<br />

อุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (IFCT) เข้ามาร่วมทำงานด้วย และการเปิดรับ<br />

พนักงานใหม่บางส่วน รวมไปถึงการเทรนนิ่งพนักงานใหม่ โดยจะเริ่มต้นจาก<br />

การมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เข้าใจความต้องการของลูกค้า และมีผู้บริหาร<br />

จากภายนอกเข้ามาร่วมงานด้วย<br />


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

53<br />

BRAND ASSESS:<br />

การประเมินผลการทำรีแบรนดิ้ง<br />

หลังจากที่ TMB ได้ทำ rebranding ในขั้นตอน BRAND ACTION นั้นได้มี<br />

การเปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีขึ้น ลูกค้าสามารถจดจำ TMB ได้มาขึ้นภาพลักษณ์<br />

ของ TMB จากเดิมเป็นธนาคารสำหรับราชการ ทหาร ดูโบราณ ได้ปรับเปลี่ยนเป็น<br />

ธนาคารสำหรับคนรุ่นใหม่ทันสมัยมากขึ้น ผลประกอบการและจำนวนลูกค้า ใหม่<br />

ที่เพิ่มขึ้น ในปี 2554 เป็นปีแรกในรอบ 14 ปี เริ่มให้เงินปันผล และปี 2555 จ่าย<br />

เงินปันผลครั้งที่สองไตรมาสแรก<br />


54 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

รีแบรนดิ้ง<br />

“ยูบีซี”<br />

แบบ “ซัคซี้ด”<br />

BRAND ANALYZE:<br />

การวิเคราะห์แบรนด์<br />

ในส่วนนี้ทาง UBC เองก็ได้วิเคราะห์ว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งก็ควรจะต้องมีการรีเฟรช<br />

บ้าง และควรชูประเด็น Fashionable, Emotional เพื่อให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่า<br />

อยากที่จะติด UBC เพราะเขาต้องการที่จะได้ หรืออยากติดเพราะมันเป็นอารมณ์<br />

หรืออยากติดเพราะ UBC จะเป็นตัวช่วยเสริมฐานทางสังคมให้กับเขา หลังจากที่ชู<br />

เรื่องของประโยชน์ใช้สอย (Product Benefit) จนสินค้าติดตลาดแล้ว<br />

นอกจากนี้ UBC วิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายของ UBC ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลง<br />

ไปจากเดิมจากกลุ่มฐานคนชั้นบนก็ค่อยๆลงมาเป็นกลุ่มคนระดับกลางมากขึ้น


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

55<br />

นอกจากนี้ Product บางตัวก็ถึงเวลาที่ต้อง edging พอดี<br />

BRAND ARRANGE:<br />

การเตรียมแผนรีแบรนดิ้ง<br />

UBC กำหนดให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการทำโครงการนี้ไม่ใช่แค่ฝ่าย<br />

การตลาด โดยเริ่มทำจากภายในออกสู่ภายนอก UBC จะร่วมเอาทุกจุดสัมผัสที่<br />

ลูกค้าสามารถสัมผัสได้ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ตัวแทนติดตั้ง ช่างซ่อมบำรุง รวม<br />

ถึง Customer Service มาทำการอบรมเพื่อให้ความรู้ เมื่อลูกค้าต้องการที่จะรู้<br />

อะไรเกี่ยวกับ UBC พวกเขาเหล่านี้จะต้องสามารถให้พนักงานเข้าใจสามารถเป็น<br />

ทูตถ่ายทอดสื่อสารไปยังลูกค้าได้<br />

BRAND ACTION:<br />

การลงมือทำรีแบรนดิ้ง<br />

แบ่งออกเป็น 2 อย่างคือเป็นการ Re-branding ภายในองค์กรเอง และ<br />

ภายนอกองค์กร ซึ่งการ Re-branding ภายในพัฒนาเป็น 2 ส่วน คือการทำ


56 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

Empowering และ Connecting โดยในด้านของ Empowering จะแบ่งออกเป็น<br />

2 แนวทาง คือ<br />

1. การให้อำนาจและทางเลือกใหม่แก่สมาชิกของ UBC<br />

2. UBC จะให้โอกาสในการได้ฝันได้สัมผัส<br />

ส่วนในด้านของ Connecting จะเป็นการปรับเปลี่ยนความรู้สึกของพนักงาน<br />

ทุกคนให้มีส่วนร่วมในการสร้าง Brand Communication โดย UBC เชิญวิทยากร<br />

มาพูดถึงในสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่นเรื่องของ Brand ว่าทำไมถึงมีความ<br />

สำคัญกับองค์กร<br />

นอกจากนี้ UBC ยังจะจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ เช่นการทำ สัมมนา เวิร์คช้อป<br />

และจัดการแข่งขันกันระหว่างภายในองค์กรขึ้น ฯลฯ เพื่อให้ทุกส่วนขององค์กรได้<br />

สัมผัสถึงแบรนด์ UBC เพื่อนำความรู้ที่ได้จากภายในไปเผยแพร่กับบุคคลภายนอก<br />

สำหรับตัวแทนต่างจังหวัดหรือเซลล์ต่างจังหวัดเราก็มีการปรับปรุงด้วย เพื่อ<br />

ให้ทุกคนมีแบรนด์ UBC อยู่ในใจเขา และยังเป็นการสร้างบริการที่แตกต่างจาก<br />

คนอื่น นอกจากนี้ยังได้มีการลงทุนในเรื่องของการทำ Shop ใหม่ทั้งหมดด้วยการ<br />

เปลี่ยนแปลงบูธ ชุดของพนักงานทั้งหมด เพื่อให้ Shop ของ UBC มีความโดดเด่น<br />

โดยเราจะเน้น Reflex Color Skill ของแบรนด์เรานั้นคือสีแดง โดยต่อไปส่วน<br />

โฆษณาของ UBC จะเน้นอะไรในเรื่องของความเป็นสีแดงมากขึ้น<br />

BRAND ASSESS:<br />

การประเมินผลการทำรีแบรนดิ้ง<br />

สำหรับการประเมินผลภายนอกนั้น UBC ทำออกมาในรูปแบบของการวิจัย<br />

เพื่อดูว่าลูกค้ามีความรู้สึกยังไงกับองค์กรบ้าง เขารู้สึกรักองค์กรของเรามากขึ้นหรือ<br />

เปล่าหลังจากที่เราได้มีการทำ Re-branding ไปแล้ว


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

57<br />

ส่วนการประเมินผลภายในองค์กรคงต้องดูผลตอบรับจากฝ่ายพัฒนาทรัพยากร<br />

บุคคลเป็นหลัก นอกจากนี้ยังต้องดูว่าพนักงานสามารถทำให้แบรนด์มัน Permitted<br />

ได้หรือไม่ หรือเข้าใจใน Positioning ของแบรนด์ที่ตรงกับความต้องการของเรา<br />

หรือไม่ โดยทำการสำรวจดูว่าพนักงานมีการนำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปใช้ในชีวิต<br />

ประจำวันบ้างหรือไม่ และเมื่อใช้แล้วได้รับผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง คนข้างตัว<br />

ของพนักงานมีความรู้สึกเหมือนกับที่เราต้องการหรือไม่ ซึ่งผลการประเมินที่ออกมา<br />

ก็เป็นไปในเชิงบวก ทั้งตัวพนักงานในองค์กรเองและการตอบรับของลูกค้า ส่งผลให้<br />

UBC เปลี่ยนจากสภาวะขาดทุนเป็นกำไรในที่สุด<br />


58 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

รีแบรนดิ้ง<br />

“อุทัยทิพย์”<br />

แบบ “ซัคซี้ด”<br />

อุทัยทิพย์ หรือ น้ำยาอุทัยทิพย์สีแดงใช้หยดลงในน้ำ มีสรรพคุณทางยาช่วยแก้<br />

ร้อนใน และกระหายน้ำ ที่มาของน้ำยาอุทัยที่ว่านี้เกิดขึ้นนานนับหลายปี เป็น<br />

หนึ่งในสิบของยาไทยที่บริษัทโอสถสภาได้ร่วมกับโอสถศาลาของรัฐบาลเพื่อ<br />

ปรุงสูตรต้นตำหรับขึ้นมา แต่ด้วยกาลเวลาผ่านไปนาน ทำให้แบรนด์ อุทัยทิพย์<br />

กลายเป็นแบรนด์แก่ รุ่นเก่า จึงทำให้ อุทัยทิพย์ ได้เวลาต้องปรับเปลี่ยนแบรนด์<br />

ใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่ผ่าน และเพื่อให้เข้ากับผู้บริโภคในปัจจุบัน จึงจำเป็น<br />

อย่างยิ่งที่ต้องมีการวิเคราะห์วางแผนและทำการรีแบรนด์โดยได้นำเอา <strong>Succeed</strong><br />

<strong>Model</strong> มาปรับใช้ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ และทำให้สามารถมองเห็นภาพความ<br />

สำเร็จได้ชัดเจนยิ่งขึ้น<br />

BRAND ANALYZE:<br />

การวิเคราะห์แบรนด์<br />

ลูกค้า - การวิเคราะห์แบรนด์นั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆก็คือ ลูกค้า<br />

ในโลกยุคปัจจุบันนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และบวกกับผลิตภัณฑ์ที่เกิด<br />

ขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าผลิตภัณฑ์นั้นให้คุณค่ากับลูกค้ามากเพียง<br />

ใด ซึ่งในปัจจุบันนั้นทุกผลิตภัณฑ์ก็มีกลยุทธ์ต่างๆนาๆออกมา ฉะนั้นความต่างของ<br />

คุณค่าที่มอบให้กับลูกค้า ย่อมสำคัญ และส่งเสริมให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

59<br />

และเกิดเป็นความภักดีต่อไป โดยลูกค้าเดิมของน้ำยาอุทัยทิพย์นั้นเป็นกลุ่มที่มีอายุ<br />

รุ่นแม่ขึ้นไป เพื่อให้การรีแบรนด์ครั้งนี้สำเร็จ จึงจำเป็นต้องศึกษาว่า ปัจจุบันเป็นยุค<br />

ของวัยรุ่น และอะไรที่เป็น Insight ของวัยรุ่น ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ทำการศึกษาวิจัย<br />

และค้นคว้าเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุด โดยจะ<br />

เห็นได้ว่ามีการวิเคราะห์ Consumer Insight คือ ต้องการสวยใสสไตล์ธรรมชาติ<br />

และวัยใสจะไม่สนใจการสื่อสารเรื่องคุณสมบัติ จึงต้องสื่อสารเชิงไลฟ์สไตล์


60 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

เปรียบเทียบความสวยใสกับความสวยงามตามธรรมชาติของดอกไม้ซึ่งเป็น<br />

Positioning ของยูทิป<br />

ตลาด - ในโลกยุคปัจจุบันนั้น การแข่งขันทางการตลาด ดุเดือดเข้มข้นขึ้น<br />

และซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นการแข่งขันทางตลาดก็เป็นสิ่งที่องค์กรไม่ควรมองข้าม<br />

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหมั่นตรวจสอบ ทำวิจัยต่างๆ เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค<br />

ที่เปลี่ยนแปลงรายวันในยุคนี้ เพื่อให้สามารถรู้จักตลาด และสร้างความแตกต่างให้<br />

กับสินค้า เช่นกันกับที่ อุทัยทิพย์ที่ศึกษาตลาดมาเป็นอย่างดี จึงทำให้คู่แข่งยังคง<br />

ตามหลังแบรนด์อย่างเห็นได้ชัด<br />

คู่แข่งขัน - เมื่อตลาดเกิดการแข่งขันสูง แน่นอนว่าคู่แข่งย่อมทำเช่นเดียว<br />

กับที่เราทำ แต่ที่เราสามารถทำได้ในการป้องกันเพื่อไม่ให้คู่แข่งเข้ามาได้ คือการ<br />

ศึกษาว่า คู่แข่งของเรามีจุดแข็งจุดอ่อนอะไรและทำการวิเคราะห์ว่าอะไรที่เป็น<br />

จุดแข็ง เพื่อนำมาวิเคราะห์และต่อยอดกลยุทธ์ของเรา และเรียนรู่จุดอ่อน เพื่อไม่<br />

เป็นบทเรียนให้เราเรียนรู้นั่นเอง และกลยุทธ์ที่สำคัญของอุทัยทิพย์นั่นก็คือ การเป็น<br />

ผู้นำในตลาด เพื่อหนีคู่แข่งที่จะตามมาทันนั่นเอง<br />

BRAND ARRANGE:<br />

การเตรียมแผนรีแบรนดิ้ง<br />

แบรนด์อยู่ในภาวะถดถอย - เราจะเห็นว่า แบรนด์เนม อุทัยทิพย์ นี้เกือบจะ<br />

สาบสูญตามผู้บริโภครุ่นเก่าๆไปแล้ว เนื่องจากความโบราณของสินค้า และการอยู่<br />

มานานโดยเริ่มมีมาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2445 ซึ่งถือว่าเป็นแบรนด์ที่มีมานาน และกำลัง<br />

จะล้าสมัยลงไปเรื่อยๆ เราจึงต้องสำรวจ และวิเคราะห์ว่าสิ่งใดคือปัจจัยหลักที่มำให้<br />

แบรนด์อยู่ในภาวะถดถอย และจะใช้กลยุทธ์ใดเพื่อความอยู่รอดของแบรนด์


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

61<br />

ต้องการสร้างกระแส - ด้วยกระแส การรักสุขภาพด้วยสมุนไพรไทยเริ่มเป็นที่<br />

นิยม ก็ทำให้แบรนด์ การแต่งหน้าด้วยน้ำยาอุทัยทิพย์ กระโดดขึ้นสู่ความนิยมไป<br />

ด้วย และยังสามารถเพิ่มช่องทางตลาดใหม่เพิ่มขึ้นอีกด้วย<br />

ต้องการสร้างคุณค่าของแบรนด์ - ด้วยคุณลักษณะของแบรนด์ที่ ที่สามารถ<br />

ให้สีแดงระเรื่อแบบธรรมชาติบนใบหน้าได้ จึงทำให้แบรนด์อุทัยทิพย์ต้องการการ<br />

ปรับเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน มีการพัฒนารูปแบบ<br />

และขนาดให้สามารถใช้ได้ง่าย สะดวกต่อการพกพากว่าแบบเดิมๆ และเพื่อสร้าง<br />

จุดเด่นให้กับแบรนด์เพิ่มขึ้นอีก<br />

เสริมสร้างส่วนที่เสียไป - เนื่องจากแบรนด์อุทัยทิพย์ มีความน่าเชื่อถือในเรื่อง<br />

ของผลิตภัณฑ์อยู่แล้วภาพลักษณ์ที่เป็นตำหรับยาไทย ยังคงโดดเด่น แต่สิ่งที่ยัง<br />

ขาดหายไปคือความปราดเปรียวของผลิตภัณฑ์ และความทันสมัยของสินค้า ฉะนั้น<br />

สิ่งที่เราควรคำนึงถึงในเรื่องของการเสริมสร้างสิ่งเหล่านี้ให่กับแบรนด์ เพื่อให้การ<br />

รีแบรนดิ้งเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และเสิรมสร้างโมเดลทางธุรกิจให้ดีกว่าเดิมยิ่งขึ้น<br />

BRAND ACTION:<br />

การลงมือทำรีแบรนดิ้ง<br />

การปรับเปลี่ยนชื่อแบรนด์ - อุทัยทิพย์ได้มีการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์โดยการ<br />

เปลี่ยนชื่อ แบรนด์ เป็น ยูทิป โดยใช้ภาษาอังกฤษเข้ามา เพื่อให้ดูทันสมัยและดู<br />

อ่อนวัยลง ให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายและตลาดใหม่<br />

การปรับเปลี่ยนฉลากสินค้า - ทั้งนี้ในส่วนของฉลากสินค้าก็เปลี่ยนไปให้ดูมี<br />

สีสันที่สดใสขึ้น เข้ากับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น


62 รี<br />

แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

การปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารทางการตลาด - แน่นอนว่าเรื่องของการ<br />

ปรับเปลียนรูปแบบการสื่อสารนั้นเป็นที่รู้จักันดีในการจัดการประกวด Miss U-Tip<br />

ซึ่งใช้วิธีการนำเอาตัวอักษร U ที่เป็นตัวแทนของคำว่า University ซึ่งถือเป็นกลุ่ม<br />

เป้าหมายหลักในครั้งนี้ มีการทำ PR โดยการแถลงข่าวต่างๆ พร้อมกันนี้ก็ยังมีการ<br />

สื่อสารในลักษณะ WOM โดยเมื่อผู้ที่ได้รับตำแหน่งจะเป็นผู้ที่บอกต่อเรื่องราว<br />

และประสบการณ์ของสินค้าผ่านทางบุคคล โดยบุคคลที่เป็นที่รู้จักกันดี ก็คือ เต้ย<br />

จริญพร ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์คนรุ่นใหม่<br />

การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ - การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง<br />

ของความทันสมัย เด็กขึ้น วัยรุ่นขึ้นของแบรนด์นั่นเอง<br />

การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพ - บุคลิกภาพของแบรนด์ คือ คนรุ่นใหม่ ใส่ใจ<br />

สุขภาพ


รี แ บ ร น ดิ้ ง S u c c e e d M o d e l ! !<br />

63<br />

BRAND ASSESS:<br />

การประเมินผลการทำรีแบรนดิ้ง<br />

ชื่อเสียงของแบรนด์ - แน่นอนว่าชื่อเสียงของยูทิปเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นใน<br />

ตลาดใหม่และในตลาดเดิมก็ยังคงเป็นที่รู้จักดี<br />

ยอดขายของแบรนด์ - ยอดขายของแบรนด์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมียอด<br />

ติดอันดับขายดีที่สุดใน 7-11 Best Seller อย่างต่อเนื่อง<br />

การรับรู้ในตัวแบรนด์ของลูกค้า - แน่นอนว่ายูทิปเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และ<br />

สามรถทำให้ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวเกิดการรับรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเกิดความพึงพอใจ<br />

จนไปถึงความภักดีของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นด้วย<br />

รักษาฐานลูกค้าเดิม - ด้วยเหตุผลที่ว่า น้ำยาอุทัยทิพย์หรือ ยูทิปนั้น ยังคงรักษา<br />

ฐานเดิมของลูกค้าโดยไม่ได้ตัดขาดการผลิตสินค้าแบบเดิม ก็เนื่องมาจาก การคง<br />

ความเป็นต้นฉบับเอาไว้เพื่อให้ลูกค้าฐานเดิมยังคงสามารถซื้อสินค้าได้เช่นเดิม<br />

เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ - การรีแบรนด์ใหม่ในครั้งนี้ สามารถเข้าถึงกลุ่ม<br />

เป้าหมายใหม่ได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากการทำตลาดได้ตรงจุด บวกกับโอกาสของ<br />

แบรนด์ที่สามารถเพิ่มความหลากหลายให้กับแบรนด์มากขึ้น<br />


“THE REBRAND LACKS<br />

CREDIBILITY OR IS A<br />

SUPERFICIAL FACELIFT.<br />

The rebrand’s story must be believable<br />

given the existing brand experience and<br />

”<br />

customer perception. It must also hold<br />

credibility internally. If employees who<br />

live the brand day-to-day don’t believe,<br />

the target audience won’t either.


บรรณานุกรม<br />

จุฑาทิพ อิงวัฒนโภคา (บรรณาธิการ). 2546. สร้างแบรนด์.<br />

กรุงเทพฯ : ทิปปิ้งพอยท์.<br />

ณรงค์ จิวังกูร. 2545. Brand Building Dynamic<br />

10 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์. กรุงเทพฯ : ทิปปิ้งพอยท์.<br />

บุณยะรัตเวช. 2545. Brand Voice. กรุงเทพฯ :<br />

ทิปปิ้งพอยท์.<br />

รัชดา เบญจรัตนานนท์. “จะปกป้อง Brand Image อย่างไร<br />

ให้คงมี Power ตลอดไป” วารสารนิเทศศาสตร์. ปี่ที่ 16<br />

(กรกฎาคม- กันยายน) 2541: หน้า 61 - 69<br />

วรกาญจน์. คำบรรยายจากการสัมมนาเรื่อง “รู้เท่าทัน<br />

ตราสินค้า (Branding Literacy Seminar)” จัดโดยโครงการ<br />

ปริญญาเอกสาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และ<br />

สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 16 กุมภาพันธ์ 2547.<br />

■■<br />

■■<br />

ดลชัย ■■<br />

■■<br />

วรวุฒิ ■■<br />

ศิริกุล ■■<br />

■■<br />

■■<br />

เลากัยกุล. 2546. สร้างแบรนด์. พิมพ์ครั้งที่ 2.<br />

กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง<br />

ชลิต ลิมปนะเวช. (สิงหาคม 2549). “แนวความคิดของการ<br />

ทำ Re-Branding”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.<br />

brandage.com<br />

BrandAge. (ธันวาคม 2545). “สิงห์-ช้าง Rise & Fall”.<br />

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.brandage.com


Re Branding”. [ออนไลน์].<br />

เข้าถึงได้จาก http://incquity.com/articles/grow-yourbiz/rebranding-technique<br />

Alex Goslar. (เมษายน 53). “Re-Branding”. [ออนไลน์].<br />

เข้าถึงได้จาก http://www.brandage.com<br />

ขอพรประเสริฐ. (มิถุนายน 2551). “Branding &<br />

<strong>Rebranding</strong>: จากประสบการณ์นักสร้างแบรนด์”. [ออนไลน์].<br />

เข้าถึงได้จาก http://www.oknation.net<br />

ดร.สุมาส วงศ์สุนพรัตน์. (2551). “Strategic Branding<br />

ตอน 4 [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก.http://www.marketeer.co.th<br />

ชมัยพร วิเศษมงคล. (14 กรกฎาคม 2553). “Branding<br />

กลยุทธ์เพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก<br />

http://cms.sme.go.th<br />

แซ่ตั้ง. “อย่าทำแค่การ Re-Branding”. [ออนไลน์].<br />

เข้าถึงได้จาก http://www.thespecialistcoach.com<br />

ชัยมุสิก. “รีแบรนดิ้ง...คิง เพาเวอร์”. [ออนไลน์].<br />

เข้าถึงได้จาก http://www.power-knowhow.com<br />

รุ่งรัตน์ธวัชชัย. (พฤษภาคม 2551). “ที่หนึ่งยาสีฟัน<br />

ถ้าสมุนไพรต้องแบรนด์ไทย”. Positioning Magazine.<br />

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.positioningmag.com<br />

“ฟื้นฟูธุรกิจไปกับกลยุทธ์ ■ ■<br />

■■<br />

บุญอยู่ ■■<br />

■■<br />

■■<br />

ธีรพล ■■<br />

จิราจารีย์ ■■<br />

ปิยาณี ■■


อรวรรณ บัณฑิตกุล. (กรกฎาคม 2547). “ถึงเวลาดอกบัว<br />

คู่ Re-Branding”. นิตยสารผู้จัดการ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก<br />

http://info.gotomanager.com<br />

สุกรี แมนชัยนิมิต. (กุมภาพันธ์ 2553). กระบวนการรีแบรนด์<br />

ทีเอ็มบี. Positioning Magazine. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก<br />

http://www.positioningmag.com<br />

จิราจารีย์ ชัยมุสิก. (ธันวาคม 2548). ทหารไทย ถอดรูป<br />

มุ่งแบงก์ทันสมัย. Positioning Magazine. [ออนไลน์]. เข้าถึง<br />

ได้จาก http://www.positioningmag.com<br />

นภาพร ไชยขันแก้ว. (มิถุนายน 2555). “TMB Stand by ME”.<br />

นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก<br />

http://info.gotomanager.com<br />

UBC ให้ชีวิต”Re-Branding ครั้งใหญ่”. (มกราคม 2546).<br />

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.marketeer.co.th<br />

(24 กันยายน 2553). “กรุงไทย” ปั้นองค์กรการ<br />

เรียนรู้”. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.<br />

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th<br />

เหมือนมาตย์. (พฤศจิกายน 2550). “แมคโดนัลด์<br />

24 ชั่วโมง”. Positioning Magazine. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก<br />

http://www.positioningmag.com<br />

■■<br />

■■<br />

■■<br />

■■<br />

“เปิด ■ ■<br />

Sunanta. ■■<br />

อรรถสิทธิ์ ■■


■■<br />

อรรถสิทธิ์ ■■<br />

ASTVผู้จัดการออนไลน์. ■■<br />

■■<br />

ปิยาณี ■■<br />

ASTV ■■<br />

บิสิเนสไทย. ■■<br />

Kobkarn. “บทเรียนจากการทำธุรกิจไปรษณีย์ไทย”. [ออนไลน์].<br />

เข้าถึงได้จาก http://wwisartsakul.wordpress.com<br />

เหมือนมาตย์. (23 พฤศจิกายน 2554). “ทำไม<br />

ต้องรีแบรนด์ให้แข็งแรงกว่าเดิม”. Positioning Magazine.<br />

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.positioningmag.com<br />

(21 ธันวาคม 2549). “ทายาทธุรกิจ<br />

วิถีทางสู่เส้นชัย, ฟาร์มโชคชัย-อมรินทร์”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้<br />

จาก http://www.manager.co.th<br />

Gob Pongsakorn. (9 ตุลาคม 2554). “แนวทางการประเมิน<br />

CEO ของหุ้นเติบโต : กรณีศึกษา Steve Jobs”. [ออนไลน์].<br />

เข้าถึงได้จาก http://pongsakorne.blogspot.com<br />

รุ่งรัตน์ธวัชชัย. (24 สิงหาคม 2555). “กสิกรไทย<br />

เปลี่ยนชื่อ ((อีกแล้ว)) !!”. Positioning Magazine.<br />

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.positioningmag.com<br />

ผู้จัดการออนไลน์. (17 กันยายน 2548). “แบรนด์<br />

รุ่นเก๋า...ปฏิวัติ ปรับกลยุทธ์สู้ศึกหนีการลงหลุม”. [ออนไลน์].<br />

เข้าถึงได้จาก http://www.manager.co.th<br />

(29 กรกฎาคม 2551). “การตลาดแบบปัดฝุ่น”.<br />

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.arip.co.th<br />


“LIMITING THE INFLUENCE<br />

OF BRANDING PARTNERS.<br />

Good branding consultants are more<br />

than graphic designers. The best<br />

ones help develop new products,<br />

expand demographic focuses and even<br />

streamline business operations.<br />

”<br />

Rein<br />

them in when needed, but don’t limit<br />

their areas of influence.


รีแบรนดิ้ง<br />

“REBRANDING<br />

SUCCEED MODEL”<br />

เมล็ดพันธุแหงการทำรีแบรนดิ้ง<br />

ใหประสบความสำเร็จ<br />

R e b r a n d<br />

อ ย่ า ง เ ม พ ...<br />

R e b r a n d<br />

แ บ บ ซั ค ซี้ ด<br />

อีกหนึ่งทฤษฎีการรีแบรนด์แบบใหม่<br />

ฉีกทุกกฎบนพื้นฐานความเป็นไปได้<br />

หลุดกรอบแนวคิดทฤษฎีเดิมๆ<br />

ตามแบบฉบับซัคซี้ดสไตล์!!

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!