19.11.2014 Views

ฉบับที่ 17 : พฤษภาคม 2554 - มหาวิทยาลัยนเรศวร

ฉบับที่ 17 : พฤษภาคม 2554 - มหาวิทยาลัยนเรศวร

ฉบับที่ 17 : พฤษภาคม 2554 - มหาวิทยาลัยนเรศวร

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

MED NU<br />

May 2011 3


Leader Guide<br />

“<br />

คณะแพทยศาสตร์<br />

<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong><br />

เลือกที่จะเป็น<br />

โรงเรียน<br />

แพทย์<br />

สร้างเสริม<br />

สุขภาพ<br />

“<br />

พ.ศ. ๒๕๕๔ คณะแพทยศาสตร์ <strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> ปรับวิสัยทัศน์ใหม่ “เป็นโรงเรียนแพทย์<br />

สร้างเสริมสุขภาพชั้นนําระดับประเทศ” (To be the leading medical school in promoting health for all<br />

stages of human life)<br />

วิสัยทัศน์นี้ รวบรวมจากความคิดเห็นในที่ประชุมภายในและภายนอกคณะแพทยศาสตร์หลายๆ ครั้ง<br />

จากองค์ประกอบผู้เข้าประชุมหลายๆ ระดับ เป็นการประชุมเพื่อค้นหาตัวตนของคณะแพทยศาสตร์ หลังจาก<br />

ก่อตั้งขึ้นมากว่า ๑๗ ปี มีสมาชิกองค์กรมากขึ้นเป็นจํานวนพันคน และยังมีเครือข่ายสถาบันร่วมผลิตแพทย์ อีก<br />

๖ แห่ง โดยโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์เป็นเครือข่ายในอดีต แต่ก็มีส่วนร่วมแข็งขันในการร่างวิสัย<br />

ทัศน์ใหม่ด้วย<br />

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ใหม่ในเวลาอันสมควร สมาชิกคณะแพทยศาสตร์ รวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องต้อง<br />

เข้าใจความหมายอันลึกซึ้งของวิสัยทัศน์ดังกล่าว<br />

คณะแพทยศาสตร์ <strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> เลือกที่จะเป็น “โรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพ” เพื่อ<br />

สร้างความโดดเด่นในการผลิตบัณฑิตแพทย์ให้เชี่ยวชาญด้านการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยและประชาชน<br />

การสร้างเสริมสุขภาพ ตีความไว้อย่างกว้างขวางว่า เป็นการเพิ่ม “สุขภาพ” หรือ “คุณภาพชีวิต” ให้<br />

กับกลุ่มเป้าหมายทุกคน ทุกระยะของช่วงชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าอยู่ในช่วงเจ็บป่วยหรือสุขภาพดี ถ้าเป็นช่วงเจ็บป่วย<br />

ผู้ป่วยควรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกสักนิด หรืออย่างน้อยไม่ทรุดลงเร็วเกินควร ถ้าเป็นช่วงสุขภาพดี ก็ให้ภาวะ<br />

สุขภาพดีเป็นไปอย่างยั่งยืน ยาวนานขึ้น<br />

การจะทําสิ ่งดังกล่าวได้ดี บัณฑิตแพทย์นเรศวรจะต้องมี ความปรารถนาดี และ ทักษะ ในการสนับสนุน<br />

ให้ผู้ป่วยและผู้มีสุขภาพดี สามารถเลือกและปฏิบัติตามวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาความหยั่งรู้ด้านสุขภาพ<br />

(health literacy) ได้อย่างถูกต้องและมีความสุข<br />

บัณฑิตแพทย์จะมีคุณสมบัติดังกล่าวได้ ก็ด้วยการอบรมบ่มเพาะจากอาจารย์เป็นตัวอย่างและวัฒนธรรม<br />

องค์กรเป็นปัจจัยเกื้อหนุน<br />

ที่กล้าและมั่นใจเช่นนี้ เพราะคณะแพทยศาสตร์ เชื่อว่าองค์กรมีความได้เปรียบ หรือสมรรถนะหลัก<br />

ได้แก่ การเป็นโรงเรียนแพทย์ต่างจังหวัดที่ใกล้ชุมชนและครัวเรือน ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่ การ<br />

มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจํานวนมาก ความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร และด้านระบบและนโยบายสุขภาพ<br />

อัตลักษณ์ของอาจารย์ บุคลากร และบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ จะบ่มเพาะกล่อมเกลาจนเป็น<br />

วัฒนธรรมองค์กร คือ การมีคุณสมบัติ Naresuan (นเรศวร) ได้แก่ Novelty สร้างสรรค์สิ ่งใหม่ Accountability<br />

รับผิดชอบต่อสังคม Respect เคารพผู้อื่น Excellence ใฝ่หาความเป็นเลิศ Sufficiency ยึดหลักพอเพียง<br />

Unity สามัคคี Agility คล่องแคล่วว่องไว Network มีเครือข่าย<br />

จึงเห็นได้ว่า วิสัยทัศน์ใหม่ นอกจากเน้นความเป็นตัวตนของคณะแพทยศาสตร์ที ่เป็นคณะแพทยศาสตร์<br />

ในภูมิภาค แต่ก็ไม่ละเลยความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ที่จะนําไปสู่การที่ประชาชนและผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น<br />

ศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย<br />

คณบดีคณะแพทยศาสตร์<br />

4 MED NU<br />

May 2011


กลุ่มอาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา 1 (อาคารโรงพยาบาลส่วนขยาย)<br />

ดําเนินการหล่อ ค.ส.ล.เสารับพื้น คานและพื้น ชั้นที่ 6 และชั้นที่ 7 แล้วเสร็จ 95%<br />

ก่ออิฐผนังบนพื้นชั้นที่1 รวมถึงติดตั้งท่อระบบที่ต้องฝังในผนังและบนพื้นชั้น 1 แล้วเสร็จ 60%<br />

กลุ่มอาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา 2 (อาคารศูนย์ความเป็นเลิศ)<br />

ดําเนินการหล่อ ค.ส.ล.เสารับพื้น คานและพื้น ชั้นที่ 8 แล้วเสร็จ 95%<br />

หล่อ ค.ส.ล. เสารับพื้น คานและพื้น ชั้นดาดฟ้า แล้วเสร็จ 95%<br />

ติดตั้งท่อระบบที่ต้องฝังในผนังและบนพื้นชั้น 1 แล้วเสร็จ 60%<br />

กลุ่มอาคารเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา 3 (อาคารจอดรถ)<br />

งานทางพื้น ค.ส.ล. ทางขึ้น Ramp (7ชั้น) แล้วเสร็จ 100%<br />

ก่ออิฐผนังบนพื้นและฉาบปูนผนังภายในพื้น ชั้นที่ 1, 2, 3 แล้วเสร็จ 95%<br />

ติดตั้งท่อระบบที่ต้องฝังในผนังและบนพื้นชั้น 1, 2, 3 แล้วเสร็จ 95%<br />

หล่อ ค.ส.ล. เสารับพื้นชั้นหลังคา คานและพื้นชั้นหลังคา 40%<br />

ประจํางวดงานที่ 9 ณ วันที่ 25 <strong>พฤษภาคม</strong> <strong>2554</strong><br />

MED NU<br />

May 2011 5


คณะแพทยศาสตร์ จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

เมื่อวันที่ 1 เมษายน <strong>2554</strong> ศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย<br />

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากรคณะแพทยศาสตร์<br />

ร่วมพิธีเทิดพระเกียรติและถวายพระพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ บริเวณหน้าห้อง<br />

ศูนย์สุขภาพ<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> ชั้น 1 โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong><br />

มูลนิธิโรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> มอบเงินช่วยเหลือผู ้ป่วย<br />

เมื่อวันที่ 1 เมษายน <strong>2554</strong> ศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย คณบดี<br />

คณะแพทยศาสตร์ ประธานมูลนิธิโรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> มอบ<br />

เงินให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง จํานวน 2 ราย เป็นเงิน 15,000 บาท<br />

ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์<br />

จัดการแสดงดนตรีบําบัด ครั้งที่ 1<br />

เมื่อวันที่ 4 เมษายน <strong>2554</strong><br />

6<br />

MED NU<br />

May 2010


รพ.ม.น. ซ้อมแผนเตรียมรับ<br />

อุบัติภัยหมู่ ประจําปี <strong>2554</strong><br />

เมื ่อวันที ่ 5 เมษายน <strong>2554</strong><br />

โดยหน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน<br />

ฝ่ายการพยาบาล<br />

University of Health Sciences (UHS) ประเทศ<br />

สาธารณรัฐประชาชนลาว เข้าศึกษาดูงานคณะ<br />

แพทยศาสตร์ ม.น.<br />

เมื ่อวันที ่ 7 เมษายน <strong>2554</strong><br />

โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong><br />

ร่วมสืบสานประเพณีวันสงกรานต์<br />

จัดสรงน้ําพระเคลื่อนที่ ประจําปี<br />

<strong>2554</strong><br />

เมื ่อวันที<br />

่ 11 เมษายน <strong>2554</strong><br />

MED NU<br />

May 2011 7


หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ รพ.ม.น. ตรวจสุขภาพเด็ก<br />

กว่า 100 คน ที่บ้านร่มพระคุณ จ.พิษณุโลก<br />

เมื่อวันที่ 23 เมษายน <strong>2554</strong><br />

คณะแพทยศาสตร์ <strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong><br />

จัดโครงการค่ายเด็กโรคหืด ครั้งที่ 4<br />

(Asthma Camp)<br />

เมื่อวันที่ 23 เมษายน <strong>2554</strong><br />

“สิทธิการรักษาในวาระสุดท้าย...<br />

เพื่อลมหายใจที่สงบ ณ รพ.ม.น.<br />

เมื่อวันที่ 4 <strong>พฤษภาคม</strong> <strong>2554</strong><br />

นายวรชัย อุตตมชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัด<br />

พิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการ<br />

เสวนาวิชาการเรื่อง “สิทธิการรักษาในวาระ<br />

สุดท้าย... เพื่อลมหายใจที่สงบ<br />

8<br />

MED NU<br />

May 2010


โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong><br />

จัดโครงการรณรงค์ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและอัมพาตโลก<br />

เมื่อวันที่ 24 เมษายน <strong>2554</strong> ณ เทศบาลตําบลบ้านใหม่ ต.วัดพริก อ.เมือง จ.พิษณุโลก<br />

นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย<br />

ผู้ตรวจราชการกระทรวง<br />

สาธารณสุข พร้อมทีม<br />

ตรวจเยี่ยมชม รพ.สต.วังน้ําคู้<br />

เมื่อวันที่ 27 <strong>พฤษภาคม</strong> <strong>2554</strong><br />

ชมรมรถถีบ คณะแพทยศาสตร์<br />

<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> จัดการแข่งขัน<br />

จักรยานแรลลี่ ครั้งที่ 2<br />

เมื่อวันที่ 18 <strong>พฤษภาคม</strong> <strong>2554</strong><br />

MED NU<br />

May 2011 9


MED NU<br />

May 2011 11


12<br />

MED NU<br />

May 2010


บทความ/ภาพ: จามรี อ่อนโฉม<br />

หนึ่งในภาพถ่ายชุด “ในต้นไม้มีกวีธรรม” ที่จัดแสดงในโครงการประชุมวิชาการ “สิทธิการรักษาในวาระสุดท้าย<br />

เพื่อลมหายใจที่สงบ : A living will that allows us to die In peace” เมื่อวันที่ 4 <strong>พฤษภาคม</strong> <strong>2554</strong> ที่คณะแพทยศาสตร์<br />

<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>เป็นเจ้าภาพร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มีผู ้เข้าร่วมกว่า 250 คน เป็นบุคลากรทางการแพทย์<br />

จากโรงพยาบาลในเขต 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง มาร่วมรับฟังรายละเอียดของกฎกระทรวง ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติ<br />

สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 วิทยากรโดยศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส ผู ้อํานวยการศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์คณะนิติศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายแพทย์ชาตรี เจริญศิริ รองผู ้อํานวยการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 2 พิษณุโลก เพื ่อให้เข้าใจ<br />

ถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย การนําไปใช้ แนวทางปฏิบัติ การอธิบายความหมายร่วมกัน เรื่องวาระสุดท้ายของชีวิต โดยมี นายแพทย์<br />

รัฐพล แสงรุ้ง รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ เป็นผู้ดําเนินรายการ<br />

ผลการประเมินโครงการพบว่าผู้เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจต่อโครงการครั้งนี้ในระดับมาก ก่อนการเข้ารับฟังการเสวนา<br />

มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหา อยู่ในระดับปานกลาง หลังการเข้ารับฟังการเสวนา อยู่ในระดับมากและสามารถนําความรู้ที่ได้รับจาก<br />

การเสวนาวิชาการในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหรือการดําเนินชีวิตได้ เท่านี้ก็นับว่าน่าภาคภูมิใจแล้วค่ะ<br />

เรื่องน่าทึ่งที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง คือ แขกรับเชิญ เธอเป็นเด็กวัยรุ่นที่ยินดีเล่าประสบการณ์ที่กําลังประสบอยู่ให้เราฟัง<br />

คุณแม่ของเธอเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายและกําลังเข้ารับการรักษาอยู่บนชั้น 5 ของโรงพยาบาล เธอบอกว่าที่เธอเข้มแข็งและเข้าใจ<br />

วาระนี้ของชีวิต เป็นเพราะว่าตั้งแต่เด็กจนโต คุณแม่ของเธอมอบธรรมะให้แก่เธอทางอ้อม คุณแม่ไม่ได้สอนตรงๆ แต่อาศัยเปิดวิทยุ<br />

ฟังธรรมและทําบุญสม่ําเสมอ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้อยู่กับเธอโดยไม่รู้ตัว และตอนนี้เธอก็ไม่ได้รู้สึกทุกข์และอยากให้แม่จากไปอย่างสงบ<br />

โดยไม่ต้องยื้อชีวิต<br />

ในขณะขึ้นพูดบนเวทีคุณพ่อและคุณแม่ของเธอก็ได้รับฟังผ่านการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัย<br />

นเรศวร FM 107.25 MHz. นอกจากนี้ยังจัดให้มีการถ่ายทอดสดทาง www.med.nu.ac.th อีกทางหนึ่ง<br />

ถึงแม้คุณแม่ของเธอจะไม่มีหนังสือแสดงเจตนารมณ์ในวาระสุดท้าย แต่ทุกคนรู้ดีว่าคุณแม่ต้องการจากไปอย่างสงบ<br />

ก่อนจากกันเธอบอกว่า “หนูเต็มใจที่จะมาเล่าประสบการณ์ แม้จะเป็นเวลาช่วงสุดท้ายที่หนูควรจะอยู่กับแม่ เพราะสิ่งที่แม่สอนไว้ก็จะ<br />

ได้มาถ่ายทอดให้คนอื่นฟังด้วยแม่ก็ได้เป็นครูอีกครั้ง” ... 2 วันต่อมาคุณแม่ของเธอก็จากไปอย่างสงบโดยปราศจากการยื้อชีวิตใดๆ<br />

หากจะเปรียบว่า หนังสือแสดงเจตนารมณ์ในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือ Living will คือ คําขอสุดท้ายที่เป็นลายลักษณ์<br />

อักษร ก็คงไม่ผิดนัก ยิ่งถ้าเราทําความเข้าใจเจตนาของมาตรา 12 นี้เท่าไหร่ Living will อาจเป็นได้มากกว่าเรื่องว่าวาระสุดท้าย<br />

จะตายอย่างไร<br />

Living will คือเครื่องเตือนใจว่า<br />

“เราจะใช้ชีวิตอย่างไร...<br />

และเมื่อถึงทางแยกไม่ว่าทางไหน<br />

หากเป็นทางที่เลือกเอง ทุกเส้นทางคือ ความ<br />

สบายใจ... เพียงแค่บอกไว้ให้คนอยู่ทําตาม”<br />

MED NU<br />

May 2011 13


เมื่อวันที่ 4-14 <strong>พฤษภาคม</strong> <strong>2554</strong> ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ พร้อม<br />

ผู้บริหารคณะ และผู้บริหารของโรงพยาบาลในเครือข่ายผลิตแพทย์ <strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> ศึกษาดูงานที่ the Northern Ontario School<br />

of Medicine (NOSM) เพื่อศึกษารูปแบบการเป็นโรงเรียนแพทย์ที่เน้นการสอนแบบ Community bases มีการเรียนการสอนและแหล่ง<br />

งานวิจัยกระจายอยู่ตามโรงพยาบาลชุมชน โดยมุ่งหวังที่จะดูแลสุขภาพของประชาชน และเปิดสอนในระดับ Residency Programs<br />

8 สาขา ได้แก่ Community medicine, General surgery, OB – GYN, Anesthesia, Psychiatry, Orthopedics, Pediatrics<br />

โดยภาพรวมที่ Sudbury นี้ มีบริบทหลายอย่างที่คล้าย<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> แนวคิดการจัดการและรูปแบบการเรียนการสอน<br />

อาจนํามา ประยุกต์ใช้ในรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชนโดยใช้โรงพยาบาลชุมชนเป็นแหล่งศึกษาของนักศึกษาแพทย์ได้ ทั้งนี้ต้องมีระบบ<br />

การสื่อสารที่ดี เพื่อให้นักศึกษาแพทย์สามารถค้นคว้าหาความรู้และสามารถปรึกษาและจัดทํางานส่งให้กับอาจารย์ในมหาวิทยาลัย<br />

หรือศูนย์แพทย์ได้<br />

14<br />

MED NU<br />

May 2010


จากนั้นในวันที่ 9-10 <strong>พฤษภาคม</strong> <strong>2554</strong> เข้าร่วมประชุม<br />

วิชาการ CANADIAN CONFERENCE ON MEDICAL EDUCATION<br />

(CCME) : SCHOLARSHIP IND MEDICAL EDUCATION<br />

ณ เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เพื ่อแลกเปลี ่ยนประสบการณ์ใน<br />

การศึกษาต่อเนื่องทางการแพทย์ใน ด้านการเรียนรู้ระดับการศึกษา<br />

ปริญญาตรี ปริญญาโท เพื่อพัฒนาทางการแพทย์ ซึ่งเป็นประโยชน์<br />

ต่อผู้บริหารทางการศึกษาด้านแพทยศาสตรศึกษาที่จะได้เข้าร่วม<br />

ประชุมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นในการพัฒนา<br />

แพทยศาสตรศึกษา<br />

ต่อมาในวันที ่ 11 <strong>พฤษภาคม</strong> <strong>2554</strong> ศึกษาดูงานที ่ Calgary<br />

ในระดับ primary care ในสถานดูแล ผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะสุดท้าย<br />

ของโรคผู ้สูงอายุที ่ต้องได้รับการดูแลทางกายภาพบําบัดอย่างต่อเนื ่อง<br />

ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยมีทีมดูแลหลัก ประกอบด้วย<br />

team health workers มีพยาบาลเป็นหลัก ผู้ช่วยพยาบาล เภสัชกร<br />

ส่วนแพทย์จะมาดูแลเป็นระยะๆ นอกจากนี ้ยังมีตารางการจัดกิจกรรม<br />

ต่างๆ ที่คนในชุมชนมาร่วมทํากิจกรรมกับกับผู้สูงอายุ<br />

ในอนาคตผู้สูงอายุในประเทศไทยและทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น การศึกษาดูงานที่ Calgary ในระดับ primary care นั้น<br />

เป็นแรงบันดาลใจให้หลายท่านอยากนําแนวคิดบางส่วนที่สามารถมาปรับใช้ได้มาเป็นฐานคิดแบบองค์รวมเพื่อก้าวสู่วิสัย<br />

ทัศน์ใหม่ของคณะแพทยศาสตร์ คือ<br />

“เป็นโรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพชั้นนําระดับประเทศ”<br />

“To be Thailand’s leading medical school<br />

in promoting health for all stages of human life”<br />

MED NU<br />

May 2011 15


บทความ: นสพ.พันภูมิ ชูชัยมังคลา อุปนายก สนพ.มน.


บทความ: เภสัชกรหญิงกนกวรรณ แพรขาว หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพการศึกษา<br />

Basic Building Block ของการพัฒนาคุณภาพ ได้แก่ 3P(PDSA)<br />

ทําได้ดี<br />

Purpose<br />

Plan/Design<br />

เราทํางานกันอย่างไร<br />

ทําไมต้องมีเรา<br />

Process<br />

Do<br />

จะทําให้ดีขึ ้นอย่างไร<br />

ทําไปเพื ่ออะไร<br />

Performance<br />

Study/learn<br />

การตามรอยเป็นกระบวนการหนึ่งในการสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจจากการนํามาตรฐานสู่การปฏิบัติโดยการเห็นของจริง<br />

จากการปฏิบัติงานจริง โดยลงไปตามรอยดูว่าเราทํางานกันอย่างไร ไปเยี่ยมชมกัน เล่าให้ฟัง ทําให้ดูว่าเราทํากันอย่างไร เราเข้าใจกันอย่างไร<br />

ความสเยงอยู่ตรงไหน เราป้องกันอย่างไร ถ้าเป็นอย่างนั้รจะทําอย่างไร เป็นอย่างนี้จะทําอย่างไร มีการทําจริงหรือไม่ ดูได้จากตรงไหน ถามได้<br />

จากใคร และจําทําอย่างไรให้ทําได้ง่ายขึ้น ในการตามรอยมีการวางแผนการตามรอยโดยใช้หลัก 5P<br />

Purpose เป้าหมายของมาตรฐาน ในการตามรอยนั้นควรเข้าใจเป้าหมายของมาตรฐานที่เราจะตามรอย เช่น เป้าหมายของหน่วยงาน<br />

เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยแต่ละโรค เป้าหมายของมาตรฐาน เป้าหมายขององค์กร<br />

Pathway เส้นทางที่จะตามรอย ควรมีการกําหนดเส้นทางที่จะตามรอยให้ชัดเจนว่าจะตามรอยหน่วยงานไหนหรือสัมภาษณ์ใคร<br />

เส้นทางที่จะตามรอยเป็นอย่างไร<br />

Process-Normal วิธีการทํางานในยามปกติ/การสื่อสาร/ส่งมอบในภาวะปกติมีกระบวนการ/ขั้นตอนการทํางานอย่างไร มีการสื่อสาร<br />

และการส่งมอบระหว่างขั้นตอนอย่างไร<br />

Preparedness การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ไม่ปกติ เช่นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเฉพาะ ช่วงเวลาบางช่วง สิ่งแวดล้อมที่ไม่พร้อมหรือ<br />

ไป่เป็นไปตามคาด อุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้น<br />

Performance-Learning เรียนรู้จากการประเมินและปรับปรุง มีการเรียนรู้จากการประเมินผลหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลเครื่องชี้วัด<br />

ที่ได้จากการวัดผลและนําไปสู่การปรับปรุงกระบวนการอย่างไร<br />

การตามรอยสามารถนําไปใช้กับระดับหน่วยงาน การดูแลผู้ป่วย ระบบงาน และองค์กรได้ โดยมีลักษณะและเป้าหมายของการตาม<br />

รอยแต่ละเรื่องดังนี้<br />

หน่วยงาน<br />

การดูแลผู้ป่วย<br />

ระดับ<br />

ระบบงาน/องค์กร<br />

ลักษณะและเป้าหมายของการตามรอย<br />

ตามรอย 3P ระดับหน่วยงาน ดูการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน<br />

ตามรอยอุบัติการณ์ ดูความรัดกุมของการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน<br />

ตามรอย SIMPLE ดูการปฏิบัติตาม Evidence-based guideline<br />

ตามรอยทางคลินิก ดูกระบวนการและผลลัพธ์ในภาพรวมของการดูแลผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม<br />

ตามรอยผู้ป่วยแต่ละราย ดูคุณภาพ ความปลอดภัยในแต่ละขั้นตอน และการสื่อสารระหว่างขั้นตอน<br />

ตามรอยมาตรฐาน ดูการปฏิบัติตามแนวทางในมาตรฐานและSPA<br />

ตามรอย 3P ระดับองค์กร ดูการบรรลุเป้าหมายในแผนกลยุทธ์<br />

ตามรอยการประเมินตนเอง ยันยันสิ่งที่ตอบในรายงานประเมินตนเอง<br />

20<br />

MED NU<br />

May 2011


MED NU<br />

May 2011 21


บทความ: วสี เลิศขจรสิน หัวหน้างานสนับสนุนบริการสุขภาพ<br />

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 5 กําหนดให้ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับ<br />

บริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กําหนดในพระราชบัญญัติ ซึ่งบุคคลในที่นี้หมายถึงบุคคล<br />

ที่มีสัญชาติไทย ดังนั้น ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจําตัว<br />

ประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้<br />

การเข้ารับบริการกรณีเจ็บป่วยทั่วไป<br />

1. เข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจํา<br />

ก่อนทุกครั้ง<br />

2. แจ้งความจํานงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตร<br />

ประจําตัวประชาชน หรือหลักฐานอื ่นใดที ่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็ก<br />

ใช้สูติบัตร (ใบเกิด)<br />

3. หากเกินศักยภาพของหน่วยบริการประจํา จะมีการส่งต่อผู้ป่วยไปยัง<br />

โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ตามระบบการส่งต่อผู้ป่วย<br />

การเข้ารับบริการกรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉิน<br />

ผู้มีสิทธิสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือ<br />

หน่วยประจําครอบครัวได้ไม่จํากัดจํานวนครั้ง<br />

การวินิจฉัยว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน แพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ ดังนี้<br />

1. โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต<br />

หรืออันตรายต่อผู้อื่น<br />

2. โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน<br />

3. โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต<br />

4. โรคหรือลักษณะอาการของโรคที่คณะกรรมการกําหนด<br />

ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาจากความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การ<br />

วินิจฉัยโรคแนวทางการรักษาและความเร่งด่วนในการรักษาประกอบ<br />

22<br />

MED NU<br />

May 2010 2011


บทความ: ร.อ.หญิง ธารินี ฟังเสนาะ รก.หัวหน้าหอผู้ป่วย 7B<br />

การสูบบุหรี่นอกจากจะเกิดผลร้ายโดยตรงต่อตัวเองแล้ว บางครั้งก็เกิดผลร้ายต่อคนอื่นหรือคนใกล้ชิด<br />

ที่สูดเอาควันบุหรี่ที่คุณกําลังสูบโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะเด็กซึ่งมีภูมิคุ้มกันน้อย หากสูดควันบุหรี่เข้าไปมากๆ ก็จะ<br />

เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และเป็นการสะสมสารก่อมะเร็งโดยตรง<br />

โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong> ได้ตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาดังกล่าว<br />

โดยเฉพาะในเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการสัมผัสกับควันบุหรี่ จึงร่วมกับสถาบันสุขภาพ<br />

เด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นเครือข่ายในการรณรงค์ให้บ้านปลอดบุหรี่ โดยมุ่งเน้นให้<br />

ผู้ปกครองของเด็กที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาล<strong>มหาวิทยาลัยนเรศวร</strong>มีความรู้ เข้าใจ<br />

ตระหนักถึงโทษของควันบุหรี่มือสองที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก การสนับสนุนให้ลด<br />

/เลิกสูบบุหรี่ รวมไปถึงการรณรงค์ให้บ้านเป็นเขตปลอดบุหรี่ โดยจัดสิ่งแวดล้อมของโรง<br />

พยาบาลที่สื่อถึงประชาชนที่มาใช้บริการในการทําบ้านให้ปลอดบุหรี่ เช่น ป้าย สติ๊กเกอร์<br />

โปสเตอร์ ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของโรงพยาบาล และมีการจัดกิจกรรมสร้างกระแส<br />

บ้านปลอดบุหรี่เป็นระยะๆ ในโอกาสต่างๆ เช่น วันงดสูบบุหรี่ วันเด็ก ร่วมการจัดกิจกรรม<br />

ของโรงพยาบาลที่อาจเกี่ยวข้องเช่นAsthma camp<br />

อีกหนึ่งกิจกรรมคือการประกวดคําขวัญบ้านปลอดบุหรี่ เพื่อกระตุ้นให้<br />

บุคลากรมีความสนใจและตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อเด็ก ซึ่งมีบุคลากรส่งคําขวัญเข้า<br />

ประกวดหลายท่าน คําขวัญที่ได้รับรางวัล ได้แก่<br />

รางวัลที่1 ลูกหลานสุขภาพดี ชีวีปลอดภัย ห่างไกลควันบุหรี่<br />

น.ส.ยุพิน ดอกไม้ (ผู้แต่ง)<br />

รางวัลที่2. ครอบครัวสดใส ร่วมมือร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่<br />

น.ส.สุขุมาล แสงอรุณ (ผู้แต่ง)<br />

รางวัลที่3. บุหรี่มีพิษ หยุดคิดก่อนสูบ เพื่อลูกหลานคุณ<br />

น.ส.นิรินธนา แจ้งเปี่ยม (ผู้แต่ง)<br />

ผลที่คาดว่าจะได้รับ<br />

1. โรงพยาบาลได้แสดงบทบาทของการเป็นศูนย์กลางในการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในบ้าน<br />

2. เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่คนไทยไม่สูบบุหรี่ในบ้าน<br />

3. ลดการเจ็บป่วยของเด็กๆ จากการได้รับควันบุหรี่มือสอง และลดอัตราการสูบบุหรี่ของประชาชนทั้ง ผู้ใหญ่และ<br />

เยาวชนในอนาคต<br />

MED NU<br />

May 2011 23

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!