10.07.2015 Views

รายงานประจำปี 2552 - การท่าเรือแห่งประเทศไทย

รายงานประจำปี 2552 - การท่าเรือแห่งประเทศไทย

รายงานประจำปี 2552 - การท่าเรือแห่งประเทศไทย

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

วิสัยทัศน์ พันธกิจวิสัยทัศน์ การท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการท่าเรือทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยจะเป็นท่าเรือที่ทันสมัยระดับโลก (World Class) มีกิจการต่อเนื่อง เป็นประตูการค้าของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS : GreaterMekong Sub-region) และเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลแห่งหนึ่งของเอเชีย (Hub Port of Asia) พันธกิจ• บริหารและพัฒนาท่าเรือให้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่สำคัญ เพื่อเป็นปัจจัยเสริมสร้างความ สามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั ่งยืน (Sustainable Competitiveness)• ร่วมทุนกับภาครัฐ ภาคเอกชนในกิจการท่าเรือและกิจการที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบการขนส่งและการขนถ่ายสินค้าให้มีโครงข่ายเชื่อมโยง (Logistics Chain) ระหว่างท่าเรือ และส่งเสริมการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ• เตรียมความพร้อมการเข้าสู ่ธุรกิจแบบเอกชนตามนโยบาย รัฐบาลเป้าหมายการดำเนินงาน• สนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ• พัฒนาเป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port)• มีระบบการบริหารจัดการที่ดียุทธศาสตร์การดำเนินงาน การท่าเรือฯ กำหนดยุทธศาสตร์ให้รองรับประเด็นยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคม และประเด็นยุทธศาสตร์บริหารราชการแผ่นดิน เพื่อสนับสนุนและเชื่อมโยงระบบการขนส่ง ได้แก่• ด้านการบริหารจัดการองค์กร• ด้านการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์• ด้านการพัฒนาท่าเรือเป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์• ด้านการพัฒนาท่าเรือภูมิภาค• ด้านการบริหารสินทรัพย์หน้าที่ความรับผิดชอบมีหน้าที่หลักในการรับเรือและสินค้า ขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำทางเดินเรือและแอ่งจอดเรือ ควบคุมการขนถ่ายและบรรทุกสินค้า ยกขน เคลื่อนย้าย เก็บรักษา และส่งมอบสินค้าให้แก่เจ้าของสินค้า ตลอดจนร่วมมือและประสานงานกับส่วนราชการและท่าเรือต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงกิจการท่าเรือให้เจริญก้าวหน้า ทันสมัยตามสภาวะเศรษฐกิจ และมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมการท่าเรือแห่งประเทศไทย


จริยธรรมการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปการ สังกัดกระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานของรัฐปฏิบัติงานเสมือนประตูเศรษฐกิจของชาติ จึงตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานท่าเรือ การพัฒนาคุณค่าของบุคลากร เพื่อให้บรรลุภารกิจและเป้าหมายในการพัฒนาไปสู่ระบบการทำงานที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพ จึงจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้คณะกรรมการผู้บริหาร และพนักงานยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการทำงาน อันจะนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มีระบบการกำกับดูแลที่ดี มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการการท่าเรือฯ ต่อองค์กร1. การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม2. การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริตและรับผิดชอบ3. การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน4. การยืนหยัดทำในสิ ่งที ่ถูกต้อง เป็นธรรมและถูกกฎหมาย5. การให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัยและไม่เลือกปฏิบัติ6. การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง7. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานรักษามาตรฐาน มีคุณภาพโปร่งใสและตรวจสอบได้8. การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข9. การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กรมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารต่อองค์กร1. ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำ2. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยแสดงถึงความเป็นมืออาชีพด้วยการประยุกต์ความรู้ความชำนาญ และทักษะการบริหารจัดการมาใช้ในการท่าเรือฯ อย่างเต็มความสามารถในทุกกรณี3. รักษาและใช้ทรัพย์สินของการท่าเรือฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ละเว้นการใช้ทรัพย์สินเพื ่อประโยชน์ส่วนตนและผู ้อื ่น4. จัดทำแผนวิสาหกิจ แผนการเงิน และงบประมาณ แผนบริหารสินทรัพย์ และแผนต่างๆ ของการท่าเรือฯ ที ่สนองนโยบายรัฐบาล และการบริหารงานของคณะกรรมการการท่าเรือฯ 5. จัดทำรายงานทางบัญชี การเงิน สภาวะของธุรกิจที่มีผลต่อการดำเนินงาน รวมทั้งข้อมูลฝ่ายปฏิบัติการ เพื่อแสดงฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของการท่าเรือฯ อย่างสม่ำเสมอถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบได้6. ละเว้นการเปิดเผยข้อมูลลับหรือสารสนเทศของการท่าเรือฯ(ที่ยังไม่ได้รับอนุญาต) ต่อสาธารณชน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง และผู้เกี่ยวข้อง ไม่กระทำการใดๆ อันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของการท่าเรือฯ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม7. ไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งแสวงหาผลประโยชน์มาตรฐานทางจริยธรรมของพนักงานต่อองค์กร1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ปราศจากอคติและไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตนในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบให้แก่ตนเอง หรือผู้อื่น2. ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของการท่าเรือฯ และสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ3. ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือสร้างความสัมพันธ์ใดๆ ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับการท่าเรือฯ 4. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังรอบคอบในการใช้ข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล และไม่เปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ที่มีอำนาจ ยกเว้นเป็นการเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมาย5. ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่นำข้อมูลที่ได้ หรือไม่พึงควรเปิดเผยมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว พวกพ้อง หรือญาติพี่น้อง หรือในรูปแบบอื่นใด ที่ถือเป็นการขัดต่อกฎหมาย หรือวัตถุประสงค์ของกฎหมาย6. ประพฤติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลา พร้อมที่จะอุทิศตนและเวลาให้กับการปฏิบัติงานของการท่าเรือฯ อย่างเต็มที่7. ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของการท่าเรือฯ อย่างประหยัดคุ้มค่า โดยระมัดระวังมิให้เสียหาย หรือสิ้นเปลืองเสมือนปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง8. ไม่กระทำการใดๆ อันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของการท่าเรือฯ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม9. รักษาความลับของการท่าเรือฯ โดยการดูแลระมัดระวังมิให้เอกสารลับในความรับผิดชอบรั่วไหลตกไปถึงผู้ไม่เกี่ยวข้องอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การท่าเรือฯ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตก่อนรายงานประจำปี <strong>2552</strong>


้สารประธานกรรมการปี <strong>2552</strong> นับเป็นอีกปีหนึ่งที่ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งการท่าเรือแห่งประเทศไทยตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อรับมือกับปัญหาและสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ให้สอดคล้องและต่อเนื่องจากปี 2551 โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล สมกับที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port) มุ่งเน้นจากผลการดำเนินงานของการท่าเรือฯ ที ่ผ่านมาตลอดปี <strong>2552</strong>นับได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นที ่น่าพอใจ โดยการท่าเรือฯ มีรายได้รวม 9,571 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 2,342 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา จำนวน 32.14 ล้านบาท หรือ 1.39% ในขณะที่ปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าลดลง 10% เทียบจากปี 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากความสามารถในการดำเนินการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมี“ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ให้สอดคล้องและต่อเนื่องจากปี 2551โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล สมกับที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port)”การพัฒนาด้านการขนส่ง ส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในการบริหารสินทรัพย์ เพื ่อเพิ ่มรายได้อีกทางหนึ ่ง และที ่สำคัญได้พัฒนาด้านบุคลากรควบคู่ไปพร้อมกัน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพให้พร้อมรับกับระบบบริหารจัดการใหม่และเทคโนโลยีที่ทันสมัยประสิทธิผล นอกจากนี ้ การท่าเรือฯ ยังสามารถดำเนินการเบิกจ่ายงบลงทุนตามแผนปฏิบัติการปี <strong>2552</strong> ได้สูงถึงร้อยละ 99.99 เหล่านีแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการของฝ่ายบริหารและความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเป็นอย่างดี10 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


ในขณะที ่การท่าเรือฯ ได้มุ ่งสร้างประสิทธิภาพในการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดของผู้ใช้บริการ นั้น ยังมีสิ่งสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ยังคงตระหนักถึง คือการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปีนี้ ได้ดำเนินโครงการใหญ่ๆ 2 โครงการ คือ โครงการ “การท่าเรือฯรวมใจ คืนความสะอาดใสให้เจ้าพระยา” เป็นกิจกรรมที่รณรงค์ในเรื่องการรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำในชุมชน และโครงการ“รักษ์น้ำตามรอยพ่อหลวง” ซึ่งมีกิจกรรม “เยาวชนรักษ์ทะเล”เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนเรียนรู้การรักษาแหล่งน้ำจากวิสัยทัศน์ นโยบาย และการกำกับดูแลที่ดี โปร่งใสประกอบกับประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและบุคลากรรวมถึงความตั้งใจ ร่วมมือร่วมใจของพนักงาน ตลอดจนการสนับสนุนของผู้ใช้บริการเป็นอย่างดีเสมอมา ทุกองค์ประกอบคือสิ ่งสำคัญที ่ผลักดันให้การท่าเรือฯ ประสบผลสำเร็จ และดำรงอยู ่ได้อย่างสง่างามในสภาวะปัจจุบันในนามของคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ขอขอบคุณผู้บริหารและพนักงานทุกท่าน รวมถึงผู้ใช้บริการและหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการท่าเรือฯ ด้วยดีมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานกระผมเชื ่อมั ่นเป็นอย่างยิ ่งว่าการท่าเรือฯ มีความมุ ่งมั ่นที ่จะพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ ่งขึ ้นต่อไป เพื ่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ องค์กรตลอดจนประชาชนและผู้ใช้บริการ(นายชลอ คชรัตน์)ประธานกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 11


สารผู้อำนวยการปี <strong>2552</strong> เป็นปีที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในภาคการส่งออก ซึ่งในส่วนของการขนส่งสินค้าทางทะเลทั้งกิจการท่าเรือ สายการเดินเรือ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเร่งรัดการลงทุนและเบิกจ่ายงบประมาณในการดำเนินโครงการต่างๆอันจะเป็นการช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนมากขึ้นในส่วนของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักให้บริการด้านการขนส่งสินค้าทางน้ำของประเทศ ได้ดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการโดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อก้าวสู่การเป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port) อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งระบบต่างๆมีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมให้บริการได้ประมาณปลายปี <strong>2552</strong> นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเชื่อมโยงการขนส่งในระบบโลจิสติกส์ด้วย ทั้งนี้การพัฒนาดังกล่าวนอกจากตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ยังจะช่วยลดเวลาการทำงานและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศและการเป็นท่าเรือที่ทันสมัยได้มาตรฐานในระดับสากล เพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลแห่งหนึ่งของเอเชีย (A Hub Port of Asia) “...การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการของการท่าเรือฯนอกจากจะเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ยังจะช่วยลดเวลาการทำงานและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศและการเป็นท่าเรือที่ทันสมัยได้มาตรฐานในระดับสากล เพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลแห่งหนึ่งของเอเชีย(A Hub Port of Asia)”12 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


นอกจากการพัฒนาการดำเนินงานของการท่าเรือฯดังกล่าวแล้ว การท่าเรือฯ ยังดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้าน CSRเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามนโยบายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี <strong>2552</strong> นี้ ได้จัดทำโครงการเปิดบ้านรักษ์นกเพื่อเป็นสถานที่ศึกษาชีวิตนกป่าชายเลน โครงการการท่าเรือฯ รวมใจคืนความสะอาดใสให้เจ้าพระยา และโครงการรักษ์น้ำตามรอยพ่อหลวง เพื่อร่วมรณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของน้ำที่จะต้องช่วยกันดูแลรักษา ซึ่งทุกโครงการประสบความสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ และได้รับการตอบรับจากกลุ ่มเป้าหมายอย่างดียิ ่ง โดยเฉพาะโครงการ “รักษ์น้ำตามรอยพ่อหลวง” ซึ่งมีกิจกรรม “เยาวชนรักษ์ทะเล” ที่การท่าเรือฯ ได้รับรางวัลองค์กรผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติจากสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชนผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเกียรติประวัติที่น่าภูมิใจเป็นอย่างยิ่งจากความสำเร็จทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นผลจากความร่วมมือ ร่วมใจของพนักงานการท่าเรือฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างเสริมความแข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจขององค์กรและประเทศชาติ ตลอดจนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ ่งต้องขอขอบคุณอย่างจริงใจมา ณ โอกาสนี ้ และขอให้ทุกคนมีกำลังกายและใจที่เข้มแข็งพร้อมเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาประเทศสืบไป(นางสุนิดา สกุลรัตนะ)กรรมการการท่าเรือฯ รักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 13


คณะกรรมการ กทท.ปีงบประมาณ <strong>2552</strong>นายชลอ คชรัตน์ประธานกรรมการวัน เดือน ปีเกิด• 3 มกราคม 2493 ตำแหน่ง• อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีประวัติการศึกษา/อบรม• นิติศาสตรบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• วารสารศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์• รัฐศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์• หลักสูตรนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 22• หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร(วปอ.) รุ่นที่ 43 • หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหาร ระดับสูง รุ่นที่ 9 สถาบันพระปกเกล้า• หลักสูตร Director CertificationProgram (DCP) รุ่นที่ 101/2551 • สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยความรู้ความชำนาญ• ด้านกฎหมาย• ด้านคมนาคมและการสื่อสารตำแหน่งปัจจุบันที่มีกับหน่วยงานอื่น• กรรมการ บริษัทขนส่ง จำกัด• กรรมการ องค์การคลังสินค้าพลเรือโท สีวิชัย สิริสาลีกรรมการวัน เดือน ปีเกิด• 16 ตุลาคม 2492 ตำแหน่ง• ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือประวัติการศึกษา/อบรม• วิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายเรือ• โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 45• วิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 34ความรู้ความชำนาญ• ด้านการบริหารงานองค์กร14 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


นางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุลกรรมการวัน เดือน ปีเกิด• 20 มกราคม 2498 ตำแหน่ง• รองอธิบดีกรมศุลกากรประวัติการศึกษา/อบรม• วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• Master of Science (AnalyticalChemistry), Kansas State University,สหรัฐอเมริกา• Ph.D (Analytical Chemistry), KansasState University, สหรัฐอเมริกา• หลักสูตรนักบริหารระดับสูง(นบส.) 1 รุ่นที่ 40• หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 47• หลักสูตร Certified ManagementConsultantความรู้ความชำนาญ• ความตกลงการค้าระหว่างประเทศ • ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับงานศุลกากร • การบริหารงานยุคใหม่พลตำรวจตรี คำรณวิทย์ ธูปกระจ่างกรรมการวัน เดือน ปีเกิด• 22 สิงหาคม 2497 ตำแหน่ง• รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ประวัติการศึกษา/อบรม• รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 30• หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมชั ้นสูงความรู้ความชำนาญ• ด้านการบริหาร นายไพศาล พวงเงินกรรมการวัน เดือน ปีเกิด• 13 กุมภาพันธ์ 2505 ตำแหน่ง• กรรมการผู้จัดการบริษัท ธนินันท์ จำกัด ประวัติการศึกษา/อบรม• ศิลปศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ความรู้ความชำนาญ• ด้านการบริหาร16 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการวัน เดือน ปีเกิด• 31 ธันวาคม 2508 ตำแหน่ง• รักษาการผู้อำนวยการองค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน)ประวัติการศึกษา/อบรม• สถิติศาสตรบัณฑิต(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• Master of Science (OperationsResearch), Stanford University,สหรัฐอเมริกา• Ph.D. (Engineering Management),Massachusetts Institute ofTechnology, สหรัฐอเมริกา• หลักสูตรเสนาธิการทหารบก รุ ่นที 78 • หลักสูตร Director CertificationProgram รุ่นที่ 82/2549 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย• หลักสูตร Role of Chairman Programรุ่นที่ 17 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย• หลักสูตร Role of the CompensationCommittee Program รุ่นที่ 4 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยความรู้ความชำนาญ• การกำกับดูแลองค์กรที่ดี• การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารตำแหน่งปัจจุบันที่มีกับหน่วยงานอื่น• ประธานบริษัท อติภัคเรียลตี้ จำกัด• ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจคาร์ด จำกัดนายพลฑิตย์ ภุกพิบูลย์กรรมการวัน เดือน ปีเกิด• 12 สิงหาคม 2517 ตำแหน่ง• กรรมการบริหารบริษัท นวกิจบ้านเมือง จำกัดประวัติการศึกษา/อบรม• บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • Master of Business Administration(Finance), University of San Francisco,สหรัฐอเมริกา• หลักสูตรผู ้นำการเมืองยุคใหม่ รุ ่นที 4 สถาบันพระปกเกล้าความรู้ความชำนาญ• ด้านการเงิน • ด้านการบริหารจัดการตำแหน่งปัจจุบันที่มีกับหน่วยงานอื่น• กรรมการ บริษัท บ้านเมืองการพิมพ์จำกัดนางสุนิดา สกุลรัตนะกรรมการและเลขานุการวัน เดือน ปีเกิด• 9 พฤศจิกายน 2491 ตำแหน่ง• รักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยประวัติการศึกษา/อบรม• ครุศาสตรบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย• หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือรุ่นที่ 28 สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง• หลักสูตรการบริหารงานแบบเหนือชั ้น• หลักสูตรการบริหารงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม• หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชนและการเมือง พ.ศ. 2547ความรู้ความชำนาญ• ด้านการบริหารจัดการท่าเรือ• ที่ปรึกษานายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดพังงา รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 17


คณะผู้บริหาร กทท.ปีงบประมาณ <strong>2552</strong>นางใจแผ้ว โชติกะพุกกณะรองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยสายบริหารทรัพยากรบุคคลและการเงินนางสุนิดา สกุลรัตนะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยรักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยนายพิเชฐ มั่นคงรองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยสายบริหารธุรกิจเรือตรี วิโรจน์ จงชาณสิทโธ รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยสายพัฒนาองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศนายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยมผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพนายเฉลิมเกียรติ สลักคำผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบังนายสุรพงษ์ รงศิริกุลนักบริหาร 16 ประจำผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย18 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


นายพิทักษ์ ศิลป์ประสิทธิ์รองผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพนายเอกรินทร์ ภู่แสนธนาสารผู้ช่วยผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยสายบริหารธุรกิจเรือเอก อิทธิชัย สุพรรณกูลรองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบังนายประกอบ ประจนปัจจนึกผู้ช่วยผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยสายบริหารทรัพยากรบุคคลและการเงินนายศักดา ตั้งปณิธานสุขนักบริหาร 15 ประจำผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยเรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูรนักบริหาร 15 ประจำผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 19


โครงสร้างองค์กรปีงบประมาณ <strong>2552</strong>คณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพท่าเรือเเหลมฉบังสายบริหารธุรกิจกองบริหารงานทั่วไปกองรักษาความปลอดภัยฝ่ายอำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเรือและสินค้าฝ่ายบริการท่าและเครื่องมือทุ่นแรงฝ่ายการร่องน้ำ ฝ่ายการช่าง ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและบริหารสินทรัพย์สำนักบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในสำนักเลขานุการคณะกรรมการ กทท.กองกลางกองกฎหมายกองบริการการให้บริการและข้อมูลข่าวสารกองประชาสัมพันธ์กองพัสดุกองปฏิบัติการสินค้า 1กองปฏิบัติการสินค้า 2กองปฏิบัติการสินค้า 3กองคลังสินค้ากองท่าบริการตู้สินค้า 1กองท่าบริการตู้สินค้า 2กองเครื่องมือทุ่นแรงกองซ่อมเครื่องมือทุ่นแรงกองบริการท่ากองการสำรวจร่องน้ำกองการขุดลอกกองบริการกองช่างโยธากองแบบแผนและคำนวณกองช่างกลกองช่างไฟฟ้ากองบริหารงานทั่วไปกองแผนงานกองการบุคคลกองการเงินกองนิติการและจัดการทรัพย์สินกองบริการกองการช่างกองการท่ากองวิจัยและพัฒนาธุรกิจกองจัดการสินทรัพย์กองธุรกิจสัมพันธ์และการตลาด20 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


คณะกรรมการกำกับดูแล กทท.คณะกรรมการตรวจสอบสายบริหารทรัพยากรบุคคลและการเงินสายพัฒนาองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลฝ่ายการเงินและบัญชีฝ่ายนโยบายและแผนฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศฝ่ายตรวจสอบและประเมินผลสำนักท่าเรือภูมิภาคสำนักแพทย์และอนามัยสำนักบัญชีสำนักบริหารการเงินกองทรัพยากรบุคคลกองพัฒนาบุคคลกองสวัสดิการกองแรงงานสัมพันธ์กองบัญชีการเงินกองบัญชีบริหารกองบัญชีงบประมาณกองบริการค่าภาระเงินสดกองบริการค่าภาระเงินเชื่อกองจัดการการเงินกองแผนวิสาหกิจกองวิจัยและพัฒนาองค์กรกองกำกับดูแลองค์กรกองพัฒนาระบบงานกองปฏิบัติการด้านคอมพิวเตอร์กองตรวจสอบและประเมินผลท่าเรือกรุงเทพกองตรวจสอบและประเมินผลท่าเรือแหลมฉบังกองตรวจสอบและประเมินผลสำนักบริหารกลางกองบริหารงานตรวจสอบและประเมินผลรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 21


สิ่งอำนวยความสะดวกท่าเรือกรุงเทพ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ +26.5 ถึง +28.5 ปากคลองพระโขนง เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร พื้นที่ทางน้ำ ร่องน้ำตอนนอก จากปากร่องน้ำกิโลเมตรที่ -18 ถึงป้อมพระจุลฯ กิโลเมตรที่ 0 ยาว 18 กิโลเมตร และร่องน้ำตอนในตั้งแต่ป้อมพระจุลฯ กิโลเมตรที่ 0 ถึงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ กิโลเมตรที่ 48 ยาว 48 กิโลเมตร รวมระยะทาง 66 กิโลเมตร ร่องน้ำทางเข้า ร่องน้ำสันดอนท่าเรือกรุงเทพมีความยาว 18 กิโลเมตร ความกว้างร่องน้ำในทางตรง 150 เมตร และความกว้างร่องน้ำในทางโค้ง 250 เมตร ร่องน้ำดังกล่าวได้รับการบำรุงรักษาให้คงความลึกที ่ 8.5 จากระดับทะเลปานกลาง ในส่วนของแม่น้ำบริเวณท่าเรือกรุงเทพ จะมีความลึกระหว่าง 8.5-11 เมตร จากระดับทะเลปานกลางพื้นที่ทางบก เนื้อที่ทั้งหมด 2,353.2 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ในเขตรั้วศุลกากรใช้ในกิจการ 898.2 ไร่ นอกเขตรั้วศุลกากร 115.2 ไร่หน่วยงานรัฐขอใช้ 216.4 ไร่ หน่วยงานรัฐเช่าใช้ 344.4 ไร่ เอกชนเช่า 390.9 ไร่ ชุมชนแออัด 197.5 ไร่ และทางสัญจร 190.6 ไร่การบริการขุดลอกร่องน้ำ ในปี <strong>2552</strong> ได้ดำเนินการขุดลอกบำรุงรักษาและสำรวจร่องน้ำในเขตท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง โดยขุดดินได้รวมทั้งสิ้น 3,893,288 ลูกบาศก์เมตร สำหรับท่าเอกชนได้ดำเนินการขุดลอกตามคำขอใช้บริการ เพื่อให้เรือผ่านเข้า-ออกได้สะดวกและปลอดภัย ตลอดจนการสำรวจร่องน้ำในอาณาบริเวณท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมทั้งบำรุงรักษาเครื่องหมายทางเดินเรือ เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินเรือพื้นที่ปฏิบัติงานด้านสินค้า ประกอบด้วย• พื้นที่เขื่อนตะวันตก เป็นพื้นที่สำหรับให้บริการตู้สินค้า/สินค้าทั่วไป ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปและท่าเทียบเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงของท่าเรือกรุงเทพ หน่วยงานที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบในพื้นที่ คือ กองปฏิบัติการสินค้า 1-3 และกองคลังสินค้า ท่าเทียบเรือ/หลักผูกเรือท่าเทียบเรือ/หลัก/ทุ่น ความยาว(เมตร)จำนวน ขนาดจำกัดของเรือความยาว/กินน้ำลึก (เมตร)สมรรถวิสัย(ลำ)ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป (ท่า 22B-H) 1,179 7 ท่า 172.25/8.23 7ท่าเทียบเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงของท่าเรือกรุงเทพ (ท่า 22I-22J) 348 2 ท่า 172.25/8.23 2ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว (ท่า 22A) 133 1 ท่า 172.25/8.23 1หลักผูกเรือกลางน้ำคลองเตย 1,400 36 หลัก 172.25/8.23 7หลักผูกเรือกลางน้ำบางหัวเสือ 1,600 25 หลัก 172.25/8.23 8ทุ่นผูกเรือสาธุประดิษฐ์ 1,580 5 ทุ่น 137.19/7.62 491.46/7.00 1พื้นที่วางสินค้าพื้นที่ภายใน รส. ภายนอก รส.(ตร.ม.) (ตร.ม.)พื้นที่วางสินค้าชาน รส.(ตร.ม.)ลานวางตู้สินค้า(ตร.ม.) (Ground Slots)(ที.อี.ยู.)โรงพักสินค้า (1-2) 10,400 7,200 7,200 230 460 โรงพักสินค้า (3-8) 26,670 9,476 2,400 22,269 850 1,700โรงพักสินค้า (9,11,13,15-17) 40,569 73,582 5,280 57,562 1,964 1,964 โรงพักสินค้าเพื่อการส่งออก 5,569 15,376 4,380 168 168(โรงพักสินค้า 14 เดิม)ลานบรรจุตู้สินค้า (เดิม) 148,194 2,464 2,464 22 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


พื้นที่วางสินค้าพื้นที่ภายใน รส. ภายนอก รส. ชาน รส. ลานวางตู้สินค้า(ตร.ม.) (ตร.ม.) (ตร.ม.) (ตร.ม.) (Ground Slots)(ที.อี.ยู.)ลานบรรจุตู้สินค้า (45 ไร่) 72,000 912 912(อยู่ระหว่างก่อสร้าง)ลานตู้สินค้าเปล่าพื้นที่ลาน C 61,998 1,748 6,118 สถานีบริการตู้สินค้า (เกาะลาว) 55,650 1,500 5,250คลังสินค้าผ่านแดน 7,800 18,324 444 888 คลังสินค้าทัณฑ์บน (ตึกแดง) 6,434 คลังสินค้าทัณฑ์บน (ตึกใหม่) 3,120 คลังสินค้าตกค้าง 8,955 1,120 คลังสินค้ารถยนต์ 2,000 3,439 3,561 29 58คลังสินค้าอันตรายหมวดสินค้าอันตราย 1,220 14,976 262 786 หมวดสินค้าปอ ฝ้าย นุ่น 6,400 9,900 268 804หมายเหตุ Ground Slots : หน่วยนับพื้นที่สำหรับวางตู้สินค้าขนาดมาตรฐาน 20 ฟุต ชั้นเดียว • พื้นที่เขื่อนตะวันออก เป็นพื้นที่สำหรับให้บริการสินค้าประเภทตู้สินค้า และท่าเทียบเรือตู้สินค้า หน่วยงานที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบในพื้นที่ คือ กองท่าบริการตู้สินค้า 1 และ 2 กองท่าบริการตู้สินค้า 1 กองท่าบริการตู้สินค้า 2ท่าเทียบเรือ 4 ท่า ท่าเทียบเรือ 4 ท่าท่า 20A 162 เมตร ท่า 20D 183 เมตร ท่า 20AB 152 เมตร ท่า 20E 183 เมตร ท่า 20B 183 เมตร ท่า 20F 183 เมตร ท่า 20C 183 เมตร ท่า 20G 91.5 เมตรความยาวหน้าท่ารวม 680.00 เมตร ความยาวหน้าท่ารวม 640.50 เมตรระดับความลึก 8.23 เมตร ระดับความลึก 8.23 เมตรขนาดน้ำหนักเรือเทียบท่า 10,000-12,000 เดดเวทตัน ขนาดน้ำหนักเรือเทียบท่า 10,000-12,000 เดดเวทตันพื้นที่วางตู้สินค้า พื้นที่วางตู้สินค้าลานวางตู้สินค้า 98,600 ตารางเมตร ลานวางตู้สินค้า 49,000 ตารางเมตรความสามารถในการจัดวางตู้สินค้า 3,036 Ground Slots ความสามารถในการจัดวางตู้สินค้า 1,554 Ground Slotsลานกองเก็บตู้สินค้าบล็อค A, B, C และ D 7,590 ที.อี.ยู. ลานกองเก็บตู้สินค้า Block E, F, G และ H 4,446 ที.อี.ยู. ปลั๊กเต้าเสียบตู้สินค้าห้องเย็น 460 จุด ปลั๊กเต้าเสียบตู้สินค้าห้องเย็น 180 จุดด่านตรวจสอบภายในขาเข้า 5 ช่อง ด่านตรวจสอบภายในขาเข้า 4 ช่องด่านตรวจสอบภายในขาออก 3 ช่อง ด่านตรวจสอบภายในขาออก 3 ช่องเครื่องมือทุ่นแรง เครื่องมือทุ่นแรงปั้นจั่นหน้าท่าชนิดเดินบนราง ขนาด 40 ตัน 8 คัน ปั้นจั่นหน้าท่าชนิดเดินบนราง ขนาด 32.5-40 ตัน 6 คัน รถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้า รถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้า แบบ 4+1 ซ้อนตู้ได้ 3 ชั้น 23 คัน แบบ 4+1 ซ้อนตู้ได้ 3 ชั้น 5 คันแบบ 6+1 ซ้อนตู้ได้ 4 ชั้น10 คัน รถหัวลากพ่วงตู้สินค้า 59 คัน รถหัวลากพ่วงตู้สินค้า 47 คันแซสซีสรับตู้สินค้า 59 คัน แซสซีสรับตู้สินค้า 47 คัน ระบบคอมพิวเตอร์บริการระบบคอมพิวเตอร์บริการComputer IBM RISC 6000 1 หน่วย Computer IBM RISC 6000 1 หน่วยSoftware “M.E.S.” System 1 หน่วย Software “M.E.S.” System 1 หน่วยรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 23


เครื่องมือทุ่นแรงกองท่าบริการตู้สินค้า 1 กองท่าบริการตู้สินค้า 2การให้บริการการให้บริการให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ ศุลกากรประจำหน่วยงานให้บริการศุลกากรประจำหน่วยงานให้บริการหมายเหตุ จำนวนเครื่องมือทุ่นแรง เป็นเครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติงานจริง ณ กันยายน <strong>2552</strong>นอกจากนี้ ในปี <strong>2552</strong> มีการให้บริการเกี่ยวกับเรือและเครื่องมือทุ่นแรง สำหรับการปฏิบัติงานให้บริการ (ส่วนกลาง) ดังนี้เรือบริการประเภทเรือ สมรรถวิสัย จำนวน (ลำ) เรือลากจูง 1,225-2,400 แรงม้า 9เรือรับขยะ 160-200 แรงม้า 2เรือรับเชือก 115-187 แรงม้า 8เรือบรรทุกน้ำ 450X2 แรงม้า 1เรือรับรอง 1,000X2 แรงม้า 1เรือสันดอน 2,500 ลูกบาศก์เมตร 3เรือขุด 206.47-420 เมตริกตัน 3เรือดิน 120 ลูกบาศก์เมตร 7เรือจูง 200-350 แรงม้า 4เรือวางทุ่น 600 แรงม้า 1เรือสำรวจ 194.37-335.12 แรงม้า 3เรือร่องน้ำ 150-240 แรงม้า 2เรือน้ำ 140 ตัน 1เรือโรงงาน 15-18 เมตริกตัน 2เรือน้ำมัน 21.5 เมตริกตัน 1หมายเหตุ จำนวนเรือบริการที่ใช้ปฏิบัติงานจริง ณ กันยายน <strong>2552</strong>ท่าเรือแหลมฉบังรายการ ขนาด (ตัน) จำนวน (คัน) รถยกตู้สินค้าหนัก 40 31รถยกตู้สินค้าเปล่า 7 23รถปั้นจั่นเคลื่อนที่ 10 350 5รถหัวลากพ่วงตู้สินค้า 30-40 47รถพ่วงบรรทุกตู้สินค้า 30-45 64รถพ่วงบรรทุกสินค้า 30 220 4 รถยกสินค้า ขนาดต่างๆ 189 รถยนต์บรรทุก 5-7 45หมายเหตุ จำนวนเครื่องมือทุ่นแรงที่ใช้ปฏิบัติงานจริง ณ กันยายน <strong>2552</strong>ตั ้งอยู ่ที ่ตำบลทุ ่งสุขลา อำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีพื ้นที ่ประมาณ 6,340 ไร่ มีท่าเทียบเรือในแอ่งจอดเรือที่ 1 จำนวน 11 ท่า โดยให้เอกชนเช่า บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือทั้งหมด ปัจจุบันได้เปิดให้บริการแล้วทั้งหมดจำนวน 11 ท่า ได้แก่ ท่า A0-A5 และท่า B1-B5 มีขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้ารวม 4.3 ล้าน ที.อี.ยู. ต่อปี 24 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


สำหรับแอ่งจอดเรือที่ 2 จำนวน 7 ท่า เปิดให้บริการแล้ว จำนวน 4 ท่า ได้แก่ ท่า C3 (เดือนกรกฎาคม 2547) ท่า C0 (เดือนกุมภาพันธ์ 2550) ท่า C1-C2 (เดือนตุลาคม 2550) สำหรับท่า D1-D3 จะเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2554 มีขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้ารวม 6.8 ล้าน ที.อี.ยู. ต่อปีทั้งนี้ เมื่อเปิดให้บริการครบทุกท่าทั้งในแอ่งจอดเรือที่ 1 และแอ่งจอดเรือที่ 2 จะมีขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้ารวม11.1 ล้าน ที.อี.ยู. ภายในปี 2554 ดังนี้ ขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าหน่วย : ล้าน ที.อี.ยู. แอ่งจอดเรือที่ 1แอ่งจอดเรือที่ 2ท่า A0 0.3 ท่า C1 1.4ท่า A2 0.4 ท่า C2 1.0ท่า A3 0.4 ท่า C3 1.0ท่า B1 0.6 ท่า D1 1.4ท่า B2 0.6 ท่า D2 1.0ท่า B3 0.6 ท่า D3 1.0ท่า B4 0.6 ท่า B5 0.8 รวม 4.3 รวม 6.8 ท่าเทียบเรือเรือบริการท่าเทียบเรือความยาว/ลึก(เมตร) จำนวน(ท่า)ขนาดน้ำหนักเรือ/ลำที่เทียบท่า (DWT)สมรรถวิสัย(ลำ)แอ่งจอดเรือที่ 1 ท่าเทียบเรือชายฝั่งและอเนกประสงค์ (A0) 590/10 1 1,000 2ท่าเทียบเรือโดยสาร (A1) 365/14 1 70,000 1ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ (A2) 400/14 1 50,000 1ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ (A3) 350/14 1 83,000 1ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปประเภทเทกอง (A4) 250/14 1 40,000 1ท่าเทียบเรือ Ro/Ro (A5) 527/14 1 70,000 1ท่าเทียบเรือตู้สินค้า (B1-B4) 300/14 4 50,000 4ท่าเทียบเรือตู้สินค้า (B5) 400/14 1 50,000 1 แอ่งจอดเรือที่ 2 ท่าเทียบเรือ (C0) 500/16 1 80,000 1ท่าเทียบเรือตู้สินค้า (C1) 700/16 1 80,000 1ท่าเทียบเรือตู้สินค้า (C2) 500/16 1 80,000 1ท่าเทียบเรือตู้สินค้า (C3) 500/16 1 80,000 1ท่าเทียบเรือตู้สินค้า (D1) 700/16 1 80,000 1ท่าเทียบเรือตู้สินค้า (D2-D3) 500/16 2 80,000 2ประเภทเรือ สมรรถวิสัย (แรงม้า) จำนวน (ลำ) เรือลากจูง 3,000-3,200, 800 7เรือรับขยะ 180 1 เรือรับเชือก 123.5-210 4 เรือบริการ 445 2 เรือวางทุ่นและขจัดคราบน้ำมัน 1,000 1หมายเหตุ 1. ไม่รวมเรือลากจูงของเอกชน จำนวน 3 ลำ2. ข้อมูล ณ กันยายน <strong>2552</strong>รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 25


เครื่องมือทุ่นแรงพื้นที่วางสินค้ารายการ ขนาด (ตัน) จำนวน (คัน) ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าชนิดเดินบนราง 35-50 32รถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้า 30.5-40 60 รถยกตู้สินค้า 40-45 33รถยกตู้สินค้า 8-30.5 24 รถปั้นจั่นเคลื่อนที่ 40-160 3รถหัวลากพ่วงตู้สินค้า - 292 รถพ่วงบรรทุกตู้สินค้า - 310รถยกสินค้า 2.5-10 77 รถยนต์บรรทุก 6 5หมายเหตุ รวมเครื่องมือทุ่นแรงของผู้ประกอบการในแต่ละท่า ข้อมูล ณ กันยายน <strong>2552</strong>พื้นที่วางสินค้าหน้าท่าพื้นที่ (ตารางเมตร)ลานกองเก็บ โรงพักสินค้าท่าเทียบเรือ (A1, A2, A4, A5) 49,425 163,875 30,570ท่าเทียบเรือตู้สินค้า (B1-B5) 41,475 574,430 18,480 43,286 ท่าเทียบเรือตู้สินค้า C3 12,500 123,424 4,944 84,132ลานตู้สินค้ารถไฟ (Basin 1) 57,305 ลานตู้สินค้ารถไฟ (Basin 2) 57,465ลานสินค้าภายนอก (Basin 1) 51,490ลานสินค้าภายนอก (Basin 2) 303,900ลานสำรองตู้สินค้าเปล่า (Basin 1) 160,400ลานสำรองตู้สินค้าเปล่า (Basin 2) 324,012คลังสินค้าทัณฑ์บน 4,800คลังสินค้าตกค้าง 4,800คลังสินค้าอันตราย 119,943 10,478 4,776พื้นที่คลังสินค้าทั่วไป 63,030พื้นที่คลังแยกและบรรจุตู้สินค้าทั่วไป 111,750คลังสินค้า (Basin 2) 4,800พื้นที่สำรอง (Basin 2) 929,661ท่าเรือภูมิภาค• ท่าเรือเชียงแสนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เนื้อที่ประมาณ 9 ไร่ ด้านหน้าติดแม่น้ำโขง ฝั่งตรงข้ามเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ด้านหลังติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1290 (ถนนริมโขง) ซึ่งเชื่อมระหว่างอำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ ท่าเทียบเรือท่าเทียบเรือมีลักษณะเป็นทุ่นลอยน้ำ จำนวน 2 ทุ่น ขนาด 12 X 50 เมตร มีสะพานเชื่อมระหว่างทุ่นกับเขื่อนขนาด 6 X 30 เมตรสามารถรองรับเรือสินค้าได้ 8 ลำ เขื่อนเทียบเรือความยาว 250 เมตร ให้รถบรรทุกขึ้น-ลง เพื่อทำการบรรทุกขนถ่ายสินค้าข้างเรือได้ ตัวทุ่นและสะพานเชื่อมมีหลังคาคลุมกันแดดและฝน อื่นๆ26 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


เครื่องมือทุ่นแรงและสิ่งอำนวยความสะดวก รายการ ขนาด จำนวนรถปั้นจั่นเคลื่อนที่ 10-50 เมตริกตัน 3 คันรถยกสินค้า 5-10 เมตริกตัน 2 คันรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ - 2 คันเครื่องจับยกตู้สินค้า 40 ฟุต 1 ชุดสายพานลำเลียงสินค้า - 1 ชุดปลั๊กตู้สินค้าห้องเย็น - 4 ชุดหมายเหตุ ข้อมูล ณ กันยายน <strong>2552</strong>• ท่าเรือเชียงของตั้งอยู่ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ด้านหน้าติดแม่น้ำโขง ฝั่งตรงข้ามคือเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป. ลาว ด้านหลังติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1290 ซึ่งเชื่อมระหว่างอำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ ดำเนินการโดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการนำเข้า-ส่งออกสินค้า และส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่าง สปป. ลาวกับประเทศไทย ท่าเทียบเรือท่าเทียบเรือขนาด 22 x 160 เมตร สามารถรับเรือประเภทเรือเพลาใบจักรยาว (เรือยนต์) ขนาด 80-150 ตัน ได้จำนวน 3-5 ลำ • ท่าเรือระนองตั้งอยู่ริมฝั่งปากแม่น้ำกระบุรีฝั่งตะวันออก ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เนื้อที่ประมาณ 315 ไร่ มีร่องน้ำทางเดินเรือเริ ่มตั ้งแต่บริเวณทิศตะวันตกของเกาะช้างจนถึงท่าเทียบเรือ รวมระยะทาง 28 กิโลเมตร โดยมีความลึกของร่องน้ำ 8 เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด และความกว้างของร่องน้ำ 200 เมตร ตลอดระยะแนวร่องน้ำ มีเครื่องหมายช่วยการเดินเรือเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินเรือ ท่าเทียบเรือท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ ขนาดความกว้าง 26 เมตร ยาว 134 เมตร สามารถรับเรือสินค้าขนาดไม่เกิน 500 ตันกรอส จอดเทียบท่าได้พร้อมกัน 2 ลำ มีสะพานเชื่อมกับฝั่งกว้าง 7.5 เมตร ยาว 212 เมตร จำนวน 2 สะพานท่าเทียบเรือตู ้สินค้า ขนาดความกว้าง 30 เมตร ยาว 150 เมตร สามารถรับเรือสินค้าขนาดไม่เกิน 12,000 เดดเวทตัน จอดเทียบท่าครั ้งละ 1 ลำ มีสะพานเชื ่อมกับฝั ่งกว้าง 7.5 เมตร ยาว 210 เมตร และสะพานเชื ่อมกับท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ กว้าง 10 เมตร ยาว 40 เมตร เครื่องมือทุ่นแรงและสิ่งอำนวยความสะดวกรายการ ขนาด (ตัน) จำนวน (คัน)รถยกสินค้า 2.5-10 7รถยกตู้สินค้าหนัก 30-40 2รถยกตู้สินค้าเปล่า 7 1รถหางลากพ่วงตู้สินค้า 30 4รถหางลากพ่วงอเนกประสงค์ 30 2รถปั้นจั่นเคลื่อนที่ 50 1ปั้นจั่นหน้าท่าล้อยางชนิดขับเคลื่อนด้วยตัวเองยกน้ำหนักได้ 63 1ไม่น้อยกว่า 63 เมตริกตัน(ที่รัศมีการยก 20 เมตร)รถยนต์หัวลาก - 6หมายเหตุ ข้อมูล ณ กันยายน <strong>2552</strong>นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนี้• พื้นที่วางสินค้าทั่วไป 7,200 ตารางเมตร พื้นที่วางตู้สินค้า 11,000 ตารางเมตร และพื้นที่วางตู้สินค้าเปล่า 8,000 ตารางเมตร• โรงพักสินค้า จำนวน 1 หลัง ขนาด 1,500 ตารางเมตร ด่านตรวจสอบ 1 หลัง ที่ทำการศุลกากร 1 หลัง และอาคารศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (OSS) 1 หลัง• เครื่องหมายช่วยการเดินเรือ ทุ่นกำหนดแนวร่องน้ำเดินเรือ 14 ทุ่น หอไฟฉายบริเวณลานวางสินค้าและตู้สินค้า 3 หอ และหลักไฟนำ 3 คู่รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 27


สถิติบริการเรือและสินค้าจำนวนเรือเทียบท่าหน่วย : เที่ยวปีงบประมาณ <strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548ท่าเรือกรุงเทพ เขื่อนเทียบเรือ 2,541 2,795 2,888 2,826 2,570หลักผูกเรือกลางน้ำคลองเตย 188 295 240 201 255หลักผูกเรือกลางน้ำบางหัวเสือ 53 82 47 26 50ทุ่นผูกเรือสาธุประดิษฐ์ 110 152 177 152 171ท่าเรือเอกชนอื่นๆ (กรุงเทพฯ) 2,666 3,319 3,024 3,172 3,200ท่าเรือแหลมฉบัง 6,288 7,012 6,645 6,149 5,112จำนวนสินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพ-ท่าเรือแหลมฉบังหน่วย : ล้านตันปีงบประมาณ <strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548ท่าเรือกรุงเทพ สินค้าขาเข้า 7.852 9.599 9.405 8.985 8.852สินค้าขาออก 7.717 8.169 8.910 8.044 7.180 รวม 15.569 17.768 18.315 17.029 16.032ท่าเรือแหลมฉบัง สินค้าขาเข้า 15.791 20.150 15.478 13.415 12.604สินค้าขาออก 31.190 34.411 29.114 24.907 22.891สินค้าถ่ายลำ (ขาเข้า-ขาออก) 0.107 0.276 0.272 0.134 0.239รวม 47.088 54.837 44.864 38.456 35.734จำนวนตู้สินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพ-ท่าเรือแหลมฉบัง หน่วย : ล้าน ที.อี.ยู.*ปีงบประมาณ <strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548ท่าเรือกรุงเทพ ตู้บรรจุสินค้าขาเข้า 0.547 0.624 0.621 0.602 0.577ตู้บรรจุสินค้าขาออก 0.622 0.666 0.749 0.738 0.674ตู้บรรจุสินค้าขนส่งทางน้ำ (เรือชายฝั่ง) 0.024 0.042 0.040 N Nและทางรถไฟ (ขาเข้า-ขาออก)ตู้เปล่า (ขาเข้า-ขาออก) 0.117 0.129 0.148 0.111 0.098 รวมตู้สินค้าผ่านท่า 1.310 1.461 1.558 1.451 1.349ท่าเรือแหลมฉบัง ตู้บรรจุสินค้าขาเข้า 0.990 1.266 0.975 0.842 0.806ตู้บรรจุสินค้าขาออก 2.272 2.614 2.311 2.037 1.877ตู้เปล่า (ขาเข้า-ขาออก) 1.360 1.360 1.355 1.244 1.082 รวมตู้สินค้าผ่านท่า 4.622 5.240 4.641 4.123 3.765หมายเหตุ * ที.อี.ยู. = ตู้สินค้าขนาดมาตรฐาน ความยาว 20 ฟุต (* T.E.U. = Twenty Equivalent Unit)28 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


จำนวนเรือเทียบท่าหน่วย : เที่ยว2,666188เขื่อนเทียบเรือหลักผูกเรือกลางน้ำคลองเตยหลักผูกเรือกลางน้ำบางหัวเสือทุ่นผูกเรือสาธุประดิษฐ์ท่าเรือเอกชนอื่น ๆ (กรุงเทพฯ)ท่าเรือแหลมฉบัง531102,541<strong>2552</strong>6,288จำนวนสินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพ-ท่าเรือแหลมฉบัง47.08854.83744.86438.45635.734หน่วย : ล้านตัน15.569 17.768 18.315 17.029 16.032ท่าเรือแหลมฉบังท่าเรือกรุงเทพ<strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548จำนวนตู้สินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพ-ท่าเรือแหลมฉบัง 4.6225.2404.641 4.1233.765หน่วย : ล้าน ที.อี.ยู.*1.3101.461 1.558 1.451 1.349ท่าเรือแหลมฉบังท่าเรือกรุงเทพ<strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 29


จำนวนสินค้ารถยนต์ผ่านท่าเรือแหลมฉบังหน่วย : คันปีงบประมาณ <strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548ขาเข้า 43,100 62,494 54,084 41,805 38,326ขาออก 533,553 799,264 643,125 525,280 410,156รวม 576,653 861,758 697,209 567,085 448,482จำนวนเรือเทียบท่าที่ท่าเรือภูมิภาคหน่วย : เที่ยวปีงบประมาณ <strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548ท่าเรือเชียงแสนและเชียงของ 2,180 3,137 3,966 3,429 3,106ท่าเรือระนอง 321 385 234 180 287จำนวนสินค้าที่ท่าเรือภูมิภาคหน่วย : เมตริกตันปีงบประมาณ <strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548ท่าเรือเชียงแสนและเชียงของ สินค้าขาเข้า 83,497 92,884 86,435 53,565 48,904สินค้าขาออก 64,464 83,246 109,868 134,985 135,294 รวม 147,961 176,130 196,303 188,550 184,198ท่าเรือระนอง สินค้าขาเข้า 9,970 12,183 3,271 1,766 1,885สินค้าขาออก 17,420 15,803 21,994 7,224 2,372 รวม 27,390 27,986 25,265 8,990 4,257จำนวนตู้สินค้าที่ท่าเรือภูมิภาคหน่วย : ที.อี.ยู.ปีงบประมาณ <strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548ท่าเรือระนอง (ตู้สินค้าขาเข้า-ตู้สินค้าขาออก) 644 395 289 48 3030 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


จำนวนสินค้ารถยนต์ผ่านท่าเรือแหลมฉบัง799,264หน่วย : คัน533,553643,1<strong>2552</strong>5,280410,15643,10062,49454,08441,805 38,326ขาออกขาเข้า<strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548จำนวนเรือเทียบท่าที่ท่าเรือภูมิภาค3,1373,9663,4293,106หน่วย : เที่ยว2,180ท่าเรือเชียงแสนและเชียงของท่าเรือระนอง321 385 234 180<strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548287จำนวนสินค้าที่ท่าเรือภูมิภาคหน่วย : เมตริกตัน176,130 196,303 188,550 184,198147,961ท่าเรือเชียงแสนและเชียงของท่าเรือระนอง27,390 27,986 25,265 8,990 4,257<strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548จำนวนตู้สินค้าที่ท่าเรือภูมิภาคหน่วย : ที.อี.ยู.644395289ท่าเรือระนอง4830<strong>2552</strong> 2551 2550 2549 2548รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 31


การกำกับดูแลกิจการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Governance)ในการที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างมูลค่าขององค์กร พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายให้สูงขึ้นในระยะยาว โดยการท่าเรือฯ มีการกำกับดูแลให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง ความยุติธรรมหน้าที่ความรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคม อันจะส่งผลให้การท่าเรือฯ ได้รับความเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าโดยยั่งยืนต่อไป ความเป็นอิสระคำนิยาม “ความเป็นอิสระ” ของคณะกรรมการการท่าเรือฯ หมายถึง “การแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีบนพื้นฐานของความถูกต้อง ชอบธรรม และตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจหรือใช้ดุลพินิจเพื่อประโยชน์ขององค์กรอย่างแท้จริง ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตน หรือบุคคลอื่นอันจะพึงได้จากการตัดสินใจหรือใช้ดุลพินิจนั้นๆ และปราศจากความสัมพันธ์อันใดที่มีประโยชน์ทับซ้อนกับการท่าเรือฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อม”การประชุมและค่าตอบแทนของคณะกรรมการการท่าเรือฯกำหนดให้กรรมการรัฐวิสาหกิจได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรือตามที่ประชุมผู ้ถือหุ ้นได้มีมติ แล้วแต่กรณี สำหรับอัตราค่าเบี้ยประชุมกรรมการเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่แยกตามกลุ่มรัฐวิสาหกิจ และหากกรรมการรัฐวิสาหกิจท่านใดได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการอื่นๆ มากกว่า1 คณะ ก็ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงคณะใดคณะหนึ่งที่มีการประชุมในเดือนนั้นๆ เท่านั้น 32 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


การประชุมคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2551) ลำดับที่ รายชื่อ การเข้าประชุม(ครั้ง) ค่าเบี้ยประชุมที่ได้รับ (บาท) หมายเหตุ1. นายชลอ คชรัตน์ 14 150,000 2. พลเรือโท สีวิชัย สิริสาลี 14 120,0003. นายสี่พร มณีโชติ 10 100,0004. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ 11 90,0005. นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท 11 110,0006. นางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล 11 90,0007. พลตำรวจตรี คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง 12 110,0008. นายไพศาล พวงเงิน 14 120,0009. พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท 11 90,00010. นายพลฑิตย์ ภุกพิบูลย์ 14 120,000 11. นางสุนิดา สกุลรัตนะ 13 120,000 รวม1,220,000หมายเหตุ - คณะกรรมการการท่าเรือฯ ได้รับแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 - นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ มีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ตามมติคณะกรรมการอัยการสูงสุด - นางสุนิดา สกุลรัตนะ ลาออกจากกรรมการการท่าเรือฯ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2551 - นางสุนิดา สกุลรัตนะ ได้รับแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551คณะกรรมการและหน้าที่ความรับผิดชอบคณะกรรมการการท่าเรือฯ ได้แต่งตั้งกรรมการการท่าเรือฯ ให้ร่วมเป็นคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของการท่าเรือฯ ดังนี้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องที่นำเสนอคณะกรรมการการท่าเรือฯ ประกอบด้วยลำดับที่ รายชื่อ1. นายชลอ คชรัตน์2. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์3. นางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล4. นายไพศาล พวงเงิน5. นางสุนิดา สกุลรัตนะมีอำนาจหน้าที่กลั่นกรองเรื่องต่างๆ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการการท่าเรือฯ พิจารณาต่อไปคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ประกอบด้วยลำดับที่ รายชื่อ1. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์2. นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท3. พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิทมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีและกระทรวงการคลังกำหนด(ตั้งแต่ 2 ธันวาคม 2551)(ตั้งแต่ 2 ธันวาคม 2551)รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 33


คณะกรรมการกำกับดูแลการท่าเรือฯ ประกอบด้วยลำดับที่ รายชื่อ1. พลเรือโท สีวิชัย สิริสาลี2. นางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล3. นายสี่พร มณีโชติ4. นายพลฑิตย์ ภุกพิบูลย์5. นางสุนิดา สกุลรัตนะ(ตั้งแต่ 2 ธันวาคม 2551)มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้1. กำกับดูแลการบริหารงานของการท่าเรือฯ ให้เป็นไปตามหลักการบริหารจัดการองค์กรที่ดี (Good Governance) และนโยบายของคณะกรรมการการท่าเรือฯ2. กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรที่ดี (Good Governance) 3. ติดตามและรายงานผลการดำเนินการเสนอคณะกรรมการการท่าเรือฯ เป็นระยะ4. ตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานได้ตามความจำเป็น5. ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการการท่าเรือฯ มอบหมายคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ประกอบด้วย(ตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน 2551) ลำดับที่ รายชื่อ การเข้าประชุม (ครั้ง) ค่าเบี้ยประชุมที่ได้รับ (บาท)มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ดังนี้1. พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาการแรงงานสัมพันธ์2. หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในรัฐวิสาหกิจ3. พิจารณาปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับในการทำงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐวิสาหกิจ4. ปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน รวมถึงการร้องทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษทางวินัย5. ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้างคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ของการท่าเรือฯ ประกอบด้วยพันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท (ตั้งแต่ 2 ธันวาคม 2551)1. พลตำรวจตรี คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง 12 137,5002. นางสุนิดา สกุลรัตนะ 10 90,000มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้1. กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางในการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของการท่าเรือฯ2. ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และแผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของการท่าเรือฯ3. ให้ข้อเสนอแนะในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้โดยคุ้มค่าและได้ประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสม4. พิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศของการท่าเรือฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถสนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเป็นเครื่องมือนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้5. กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของการท่าเรือฯ และเป็นไปโดยถูกต้อง โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการในรายละเอียดได้ตามความเหมาะสม7. รายงานความก้าวหน้าให้คณะกรรมการการท่าเรือฯ ทราบเป็นระยะ34 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


คณะกรรมการแก้ไขปัญหาความแออัดของตู้สินค้าและการจราจรภายในเขตท่าเรือแหลมฉบัง ประกอบด้วย (ตั้งแต่ 12 มกราคม <strong>2552</strong>)ลำดับที่ รายชื่อ1. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ 2. นางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล3. พลตำรวจตรี คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง 4. นางสุนิดา สกุลรัตนะมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้1. รวบรวมปัญหา และข้อเท็จจริงที่ทำให้เกิดความแออัดของตู้สินค้าและการจราจรภายในเขตท่าเรือแหลมฉบัง2. กำหนดวิธีปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วง โดยให้เป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย3. เชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือให้ข้อมูล และขอเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร4. รายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการการท่าเรือฯ ทราบตามระยะเวลาที่สมควรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ประกอบด้วย(ตั้งแต่ 12 มกราคม <strong>2552</strong>)ลำดับที่ รายชื่อ1. พลเรือโท สีวิชัย สิริสาลี2. นายไพศาล พวงเงิน3. นายพลฑิตย์ ภุกพิบูลย์มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้1. พิจารณาและอนุมัตินโยบายกรอบการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน2. พิจารณาและอนุมัติแผนบริหารความเสี่ยง3. กำกับและติดตามการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในให้เป็นไปตามกรอบการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน 4. เชิญผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือให้ข้อมูล และขอเอกสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร5. รายงานผลการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในให้คณะกรรมการการท่าเรือฯ ทราบตามระยะเวลาที่เหมาะสมคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการการท่าเรือฯ ประกอบด้วย(ตั้งแต่ 12 พฤษภาคม <strong>2552</strong>)ลำดับที่ รายชื่อ1. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์2. นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท3. พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิทมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้สรรหาบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เหมาะสมที่จะเป็นผู้อำนวยการการท่าเรือฯ เสนอคณะกรรมการการท่าเรือฯ พิจารณาตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 และฉบับแก้ไขเพิ ่มเติมแนวทางการกำกับดูแลที่ดีการบริหารกิจการภาครัฐแนวใหม่ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบงานรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีมาตรฐานเทียบเท่ามาตรฐานสากล เพื่อให้บริการที่ดีมีคุณภาพภายใต้หลักธรรมาภิบาลอันจะนำประโยชน์สูงสุดสู่ประชาชนการดำเนินงานตามหลักการกำกับดูแลที่ดี เพื่อให้การกำกับดูแลการท่าเรือฯ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และเป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการกำกับดูแลการท่าเรือฯ จึงได้ดำเนินการดังนี้รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 35


• ดำเนินการจัดทำระเบียบการท่าเรือฯ ว่าด้วยจริยธรรมของคณะกรรมการ ผู ้บริหาร และพนักงานการท่าเรือฯ พ.ศ. <strong>2552</strong> เพื ่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที ่ต้องการให้หน่วยงานต่างๆ จัดทำประมวลจริยธรรมขององค์กรให้สอดคล้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 โดยให้นำค่านิยมหลัก 9 ประการ (Core Value) ของมาตรฐานจริยธรรม สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที ่ของรัฐ ตามที ่สำนักงานผู ้ตรวจการแผ่นดินได้จัดทำขึ ้นมาเป็นแนวทางในการจัดทำ ตลอดจนให้มีกลไกและระบบในการดำเนินงานรวมทั้งมีขั้นตอนการลงโทษเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ• ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประจำปีงบประมาณ <strong>2552</strong>-2555 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ <strong>2552</strong>-2555 และให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 ที่เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ โดยให้มีการตรวจสอบติดตามประเมินผล และรายงานต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ เป็นประจำทุก 6 เดือนนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการการท่าเรือฯ มีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้การท่าเรือฯ เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจท่าเรือ และธุรกิจที ่เกี ่ยวเนื ่องกับกิจการท่าเรือ โดยมุ ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ ่มให้แก่องค์กร และมีคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจที ่มีความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ตามหลักปฏิบัติการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ ดังนี้1. บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการการท่าเรือฯ2. คณะกรรมการชุดเฉพาะเรื่อง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการท่าเรือฯ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คณะกรรมการการท่าเรือฯ ได้จัดให้มีคณะกรรมการชุดเฉพาะเรื่อง เพื่อช่วยศึกษาและกลั่นกรองงานตามความจำเป็น ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> คณะกรรมการชุดเฉพาะเรื่องประกอบด้วย• คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องที่นำเสนอคณะกรรมการการท่าเรือฯ• คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)• คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของการท่าเรือฯ• คณะกรรมการกำกับดูแลการท่าเรือฯ• คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ของการท่าเรือฯ• คณะกรรมการแก้ไขปัญหาความแออัดของตู้สินค้าและการจราจรภายในเขตท่าเรือแหลมฉบัง• คณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการการท่าเรือฯ• คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ของการท่าเรือฯ3. การประเมินผลคณะกรรมการการท่าเรือฯ การท่าเรือฯ ได้ใช้แบบประเมินผลคณะกรรมการการท่าเรือฯ เป็นรายคณะตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง ประเมินบทบาทและความมีประสิทธิผลในการบริหารงาน และการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการการท่าเรือฯ โดยรวม โดยมีเกณฑ์การประมวลผลคะแนน ดังนี้คะแนน 90% ของคะแนนรวมขึ้นไป ประสิทธิภาพดีเยี่ยม” 80% ” ประสิทธิภาพดีมาก” 70% ” ประสิทธิภาพดี” 60% ” ประสิทธิภาพเกณฑ์ปกติต่ำกว่า 60% ของคะแนนรวมต่ำกว่าเกณฑ์ปกติสรุปผลการประเมินของคณะกรรมการเป็นรายคณะเห็นว่าการดำเนินงาน มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม เท่ากับร้อยละ 92.04. การเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศมีการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศ ที่เป็นข้อมูลที่สำคัญขององค์กร และข้อมูลอื่นๆ ตามที่กำหนดโดยกฎหมาย และหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศผ่านช่องทางต่างๆ ที่หลากหลายและทันสมัย ซึ่งเป็นสิ่งที่การท่าเรือฯแสดงให้สาธารณชนเห็นว่าการท่าเรือฯ เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้36 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


การบริหารความเสี่ยงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การแข่งขันทางธุรกิจ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เป็นตัวผลักดันสำคัญที่ทำให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้รองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น การท่าเรือฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงภายใต้ท่ามกลางวิกฤติต่างๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก อย่างไรก็ตาม การบริหารความเสี่ยงนับเป็นเครื่องมือการบริหารงานที่สำคัญของการท่าเรือฯ เพื่อให้กระบวนการต่างๆ มีการเชื่อมโยงกันในระดับทั่วทั้งองค์กร โดยกำหนดนโยบายและกรอบของการบริหารความเสี่ยงซึ่งพนักงานทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้มีการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบการท่าเรือฯ ได้จัดทำโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน และจัดตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน และอื่นๆ เพื่อทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงขององค์กรโดยรวม การจัดการและควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และลดความเสียหายและสูญเสียทั้งในปัจจุบันและอนาคต สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของการท่าเรือฯ• คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของการท่าเรือฯ• คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของการท่าเรือฯ• คณะทำงานบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน• สำนักบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในการท่าเรือฯ นำกรอบ COSO ERM (Enterprise Risk Management) มาใช้ เพื่อการบริหารทั่วทั้งองค์กรตามมาตรฐานสากล มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงที่สำคัญได้รับการจัดการและควบคุมเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นได้โดยเร็วตามมาตรการที่มีในแต่ละด้าน ได้แก่ 1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategy Risk)2. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk)3. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk)4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฏระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance Risk)ในปี <strong>2552</strong> กลยุทธ์ด้านการบริหารความเสี ่ยงเชิงรุกนั ้น การท่าเรือฯ สนับสนุนการสื ่อสารเผยแพร่ เพื ่อเสริมสร้างความรู ้ ความเข้าใจโดยสำนักบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในได้มีการปรับปรุงคู่มือบริหารความเสี่ยงให้เป็นปัจจุบันตามหลักสากล ซึ่งจะเป็นแนวทางเบื้องต้นในกระบวนการบริหารความเสี่ยง สามารถนำมาใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกันทั้งองค์กรและการเชื่อมโยงการบริหารความเสี่ยงองค์กรกับ IT Governance (ITG) เนื่องจากศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยี ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานต่างๆ ประกอบกับการท่าเรือฯ มุ่งพัฒนาบริการสู่ระดับโลก ได้ดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port) โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการท่าเรือฯ การปฏิบัติงานในระบบอัตโนมัติ ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับ ก่อให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์กร (Corporate Governance)การควบคุมภายในการท่าเรือฯ ให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายใน และนำหลักของการควบคุมภายในที่ดีตามมาตรฐาน COSO (Committeeof Sponsoring Organization of The Tradeway Commission) มาเป็นกรอบแนวปฏิบัติตามนโยบายขององค์กร ที่ต้องยึดปฏิบัติเป็นกลไกขับเคลื่อนให้องค์กรสามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลด้วยความมุ่งมั่นพัฒนาให้การควบคุมเป็นไปอย่างบูรณาการ ส่งเสริมให้มีการประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน และประสิทธิผลของการควบคุมภายในที่วางไว้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ มุ่งเน้นการอบรมเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในการประเมินการควบคุมด้วยตนเอง CSA (Control Self Assessment) แก่บุคลากรทุกระดับ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นจริงการมีส่วนร่วมและสามารถประเมินกิจกรรมหลักด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ และนำสิ ่งที ่ได้มาปรับปรุงแก้ไขร่วมกันก่อนที ่จะเกิดความผิดพลาดหรือเสียหายต่อการปฏิบัติงาน มีการควบคุมภายในที่สอดคล้องกับมาตรฐานการควบคุมภายใน 5 องค์ประกอบ 3 วัตถุประสงค์สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) กิจกรรมการควบคุม (ControlActivities) สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications) และการติดตามประเมินผล (Monitoring) เพื่อให้บรรลุในวัตถุประสงค์ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการรายงาน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 37


รายงานคณะกรรมการตรวจสอบคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้แต่งตั ้งคณะกรรมการตรวจสอบการท่าเรือแห่งประเทศไทย (Audit Committee) เมื ่อวันที ่ 2ธันวาคม 2551 ประกอบด้วย กรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่เป็นอิสระ 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญด้านการเงินและบัญชี การบริหารจัดการ กฎหมาย ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการองค์กร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ได้แก่1. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ เป็น ประธานกรรมการ 2. นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท เป็น กรรมการ3. พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท เป็น กรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบ การท่าเรือฯ ได้ปฏิบัติตามกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการท่าเรือฯ ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> มีการประชุมรวม 7 ครั้ง โดยประชุมร่วมกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ฝ่ายบริหารและหัวหน้าหน่วยงานของการท่าเรือฯ อย่างสม่ำเสมอ และมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ สรุปดังนี้1. การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติของกระทรวงการคลัง1.1 รายงานทางการเงินและปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง1.1.1 สอบทานงบการเงินประจำปี 2551 และงบการเงินไตรมาส 1 2 และ 3 ประจำปี <strong>2552</strong> และประชุมหารือกับฝ่ายบริหารและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีของการท่าเรือฯ เกี่ยวกับประเด็นที่ตรวจพบทางการเงินและบัญชี ความเหมาะสมของนโยบายการบัญชี ความพอเพียงในการเปิดเผยข้อมูล ตลอดจนการให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้การท่าเรือฯ ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมีรายงานการเงินที่แสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินด้วยข้อมูลที่มีสาระสำคัญอย่างเพียงพอ ถูกต้อง เชื่อถือได้1.1.2 สอบทานรายงานการสังเกตการณ์สำรวจทรัพย์สิน พัสดุคุมจำนวน และพัสดุคงคลัง ประจำปีงบประมาณ 2551 และแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างไตรมาส 1 2 และ 3 ประจำปีงบประมาณ <strong>2552</strong>1.1.3 สอบทานการบริหารสัญญาของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ (B1-B5) และติดตามรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับคดีความระหว่างการท่าเรือฯ กับคู่ความ1.1.4 สอบทานการดำเนินงานของสำนักท่าเรือภูมิภาค1.2 การควบคุมภายในกำกับดูแลเพื ่อให้การท่าเรือฯ มีระบบการควบคุมภายในที ่มีประสิทธิภาพ โดยมีการประเมินการควบคุมด้วยตนเอง และสอบทานรายงานผลการสอบทานการประเมินการควบคุมภายใน โดยผู้ตรวจสอบภายใน (ปส.) ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 25441.3 การตรวจสอบภายในคณะกรรมการตรวจสอบ การท่าเรือฯ ได้อนุมัติแผนการตรวจสอบประจำปี 2553 แผนการตรวจสอบประจำ 3 ปี (2553-2555)และดัชนีวัดผลสำเร็จและแนวทางการวัดผลงานของฝ่ายตรวจสอบและประเมินผล รวมทั้งกำกับดูแลงานตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามแผนการตรวจสอบประจำปี <strong>2552</strong> โดยติดตามความคืบหน้าของการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบ สอบทานผลการตรวจสอบผลการติดตามการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะและประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งสรุปว่าระบบงานที่สำคัญมีความเพียงพอ และมีประสิทธิผลที่จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์1.4 การบริหารอนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายตามปฏิทินประจำปีงบประมาณ 2554 ของฝ่ายตรวจสอบและประเมินผล ติดตามผลการบริหารงานและการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ และนโยบายของคณะกรรมการการท่าเรือฯ ติดตามความก้าวหน้าด้านการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อให้ฝ่ายบริหารดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง38 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


1.5 การกำกับดูแลมีการแลกเปลี ่ยนความคิดเห็นกับผู ้บริหารระดับสูงและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเกี ่ยวกับผลการดำเนินงาน การบริหารงานตามนโยบาย และการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและรองรับการดำเนินงานในอนาคต สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและความเจริญเติบโตให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน1.6 การรักษาคุณภาพของคณะกรรมการตรวจสอบการท่าเรือฯคณะกรรมการตรวจสอบการท่าเรือฯ มีการทบทวนและปรับปรุงกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ และได้มีการประเมินตนเองในการปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มีการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น2. การบริหารจัดการของการท่าเรือฯ ในอนาคตคณะกรรมการตรวจสอบการท่าเรือฯ ได้ประชุมหารือแลกเปลี ่ยนข้อคิดเห็นกับฝ่ายบริหารของการท่าเรือฯ เกี ่ยวกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และทิศทางการพัฒนาธุรกิจ บุคลากรและองค์กรในอนาคต ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีสาระสำคัญ กล่าวคือ2.1 ด้านโครงสร้างองค์กร การท่าเรือฯ ได้ว่าจ้างที่ปรึกษามาปรับปรุงโครงสร้างองค์กร การบริหารจัดการ และพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เหมาะสมสามารถขับเคลื่อนกลยุทธ์ของการท่าเรือฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งแล้วเสร็จในปีงบประมาณ <strong>2552</strong>2.2 ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การท่าเรือฯ ได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อมุ่งมั่นสู่ท่าเรือระดับโลก (World Class Port) โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) มาเป็นเครื่องมือ สำหรับการพัฒนาธุรกิจหลักปัจจุบันท่าเรือกรุงเทพ ได้ดำเนินการติดตั้งระบบการแจ้งข้อมูลเรืออัตโนมัติ (Automatic Ship Identification System : AIS) และส่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งได้แก่ ระบบงานการให้บริการด้านเรือสินค้าคลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่างๆ (Vessel Cargo Management System : VCMS) ระบบควบคุมการผ่านเข้า-ออกประตูตรวจสอบโดยอัตโนมัติ (e-Gate) การจัดหาระบบการให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้า (Container Terminal ManagementSystem : CTMS) และระบบจัดเก็บค่ายานพาหนะผ่านท่า (e-Toll Collection System) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง อีกทั้งมีโครงการต่างๆ ที่ต้องดำเนินการตามแผนความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของการท่าเรือฯ (ICT Security Plan) ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ISO/IEC 27001 อาทิ โครงการจัดทำนโยบายความมั่นคงปลอดภัยและเอกสารสนับสนุนต่างๆโครงการจัดอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงปลอดภัย โครงการจัดทำและทดสอบแผนกู้คืนระบบงานสำคัญขององค์กร โครงการพัฒนากระบวนการตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายตามมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัย ISO/IEC 27001 รวมทั้งได้เริ่มใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งจะมีการพัฒนาและขยายการดำเนินงานต่อไปยังระบบอื่นๆ อีก อาทิ ระบบการลา ระบบการเบิกค่ารักษาพยาบาล ซึ่งฝ่ายตรวจสอบและประเมินผลได้พัฒนาบุคลากรในสังกัดให้มีความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบด้านคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะนำความรู้มาใช้เสริมสร้างระบบการตรวจสอบและประเมินผลด้านคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบการท่าเรือฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้ความสามารถอย่างรอบคอบ มีความเป็นอิสระในการแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์ของการท่าเรือฯ อย่างเหมาะสมแล้ว(นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์)ประธานกรรมการตรวจสอบการท่าเรือแห่งประเทศไทยรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 39


การดำเนินงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540การท่าเรือฯ ได้ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ในด้านต่างๆ ดังนี้1. จัดตั้งกองบริการการให้บริการและข้อมูลข่าวสารของการท่าเรือฯซึ่งมีข้อมูลข่าวสารตามหมวด 1 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร มาตรา 7-17 หมวด 2 ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย มาตรา14-20 หมวด 3 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล มาตรา 21-28 และหมวด 4 เอกสารประวัติศาสตร์ มาตรา 26 รวมทั้งประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ กฎกระทรวง และมติคณะรัฐมนตรีที่ออกตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้สะดวก โดยจัดทำเป็นแฟ้มจำแนกข้อมูลแต่ละประเภทไว้เผยแพร่2. ปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศของการท่าเรือฯ ดังนี้2.1 เรื่องที่นำไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา จำนวน 21 เรื่อง ประกอบด้วย2.1.1 ข้อบังคับ จำนวน - เรื่อง2.1.2 ระเบียบ จำนวน 5 เรื่อง2.1.3 คำสั่ง จำนวน - เรื่อง2.1.4 ประกาศ จำนวน 16 เรื่อง2.2 เรื่องที่ไม่ได้นำไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา จำนวน 44 เรื่อง ประกอบด้วย2.2.1 ข้อบังคับ จำนวน - เรื่อง2.2.2 ระเบียบ จำนวน 3 เรื่อง2.2.3 คำสั่ง จำนวน 41 เรื่อง2.2.4 ประกาศ จำนวน - เรื่อง2.2.5 ประกาศ จัดซื้อ จัดจ้าง จำนวน 3,043 เรื่อง 3. ส่งเสริมความรู้ให้แก่พนักงานการท่าเรือฯบรรจุเรื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ เป็นหัวข้อหนึ่งในหลักสูตร “ก้าวสู่ผู้บริหาร”4. ด้านการดำเนินการตามคำร้องขอของประชาชนที่มาขอข้อมูลข่าวสาร และการพิจารณาไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในปี <strong>2552</strong> มีผู้ใช้บริการขอข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติฯ จำนวน 287 ราย สามารถให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารทั่วไปได้ทุกราย 5. ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการท่าเรือฯ ได้อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงและสืบค้นข้อมูลข่าวสารได้ 5 ช่องทาง ได้แก่• มาด้วยตนเอง ที่กองบริการการให้บริการและข้อมูลข่าวสาร อาคารบี ชั้น 2 การท่าเรือฯ• โทรศัพท์สายด่วน 0-2269-5555 และทางโทรศัพท์ 0-2269-5464• ทางโทรสาร 0-2269-5466• จดหมายถึงกองบริการการให้บริการและข้อมูลข่าวสาร ฝ่ายอำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เลขที่ 444 ถนนท่าเรือ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110• e-mail ที่ Info@port.co.th6. ด้านการดำเนินการเรื่องอุทธรณ์การไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารในปี <strong>2552</strong> ไม่มีการอุทธรณ์การไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ 7. การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน ประกอบด้วย7.1 เรื่องเกี่ยวกับเงินนอกระบบ จำนวน - เรื่อง7.2 เรื่องเกี่ยวกับการให้คำแนะนำและการให้บริการ จำนวน 13 เรื่อง7.3 เรื่องเกี่ยวกับสินค้า จำนวน 1 เรื่อง7.4 เรื่องทั่วไป จำนวน 17 เรื่อง40 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


ผลการดำเนินงานในรอบปีด้านการบริหารจัดการองค์กร การจัดการองค์กรการประเมินผลการดำเนินงานการท่าเรือฯ ได้เข้าสู่ระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจกับกระทรวงการคลังตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ 3 เกณฑ์ คือ การดำเนินงานตามนโยบายผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ และการบริหารจัดการองค์กร โดยในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> มีตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก 18 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดย่อย 5 ตัวชี้วัด รวมทั้งสิ้น 23 ตัวชี้วัด ดังนี้การดำเนินงานตามนโยบาย (น้ำหนักร้อยละ 30) ประกอบด้วยตัวชี้วัดหลัก 5 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดย่อย 3 ตัวชี ้วัด ได้แก่ • การดำเนินงานตามนโยบายการจำกัดปริมาณตู้มีสินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพที่ 1.34 ล้าน ที.อี.ยู• การดำเนินงานตามนโยบายด้านโลจิสติกส์ แบ่งเป็น 3 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ จำนวนเที่ยวเรือที่เข้าสู่ระบบ Shift Mode ของท่าเรือกรุงเทพ การให้บริการยกขนตู้สินค้าทางรถไฟท่าเรือแหลมฉบัง(Single Rail Transfer Operator : SRTO) และการพัฒนาท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์โดยมีโครงการจัดหาระบบการให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้า (Container Terminal Management System : CTMS) และโครงการติดตั้งระบบควบคุมการผ่านเข้า-ออกประตูตรวจสอบโดยอัตโนมัติ (e-Gate)• การดำเนินการตามแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของการท่าเรือฯ• ระดับของการนำระบบบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ (EVM) มาใช้• ความสามารถในการบริหารแผนลงทุนผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ (น้ำหนักร้อยละ 35) แบ่งเป็น 2 ส่วนคือตัวชี้วัดทางการเงิน ประกอบด้วยตัวชี้วัดหลัก 2 ตัวชี้วัด ได้แก่• ค่าใช้จ่ายพนักงาน/รายได้จากการดำเนินงาน• การสร้างค่า Economic Profit (EP) เทียบกับค่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ทางการเงิน ประกอบด้วยตัวชี้วัดหลัก 5 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดย่อย 2 ตัวชี้วัดได้แก่• ระยะเวลารับ-ส่งมอบตู้สินค้า ท่าเรือกรุงเทพ แบ่งเป็น 2 ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ ระยะเวลารับมอบตู้สินค้าขาออก และระยะเวลาส่งมอบตู้สินค้าขาเข้า• ประสิทธิภาพการยกตู ้สินค้าหน้าท่า (Crane Productivity) ท่าเรือกรุงเทพ• อัตราการลดลงของความเสียหายในการขนส่งสินค้า (ท่าเรือกรุงเทพ)• ระดับความสำเร็จของโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือฯ• การจัดการระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมท่าเรือ (Port Safety, Healthand Environment al Management System : PSHE-MS) การบริหารจัดการองค์กร (น้ำหนักร้อยละ 35) มี 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ บทบาทของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน การบริหารจัดการสารสนเทศ และการบริหารทรัพยากรบุคคล สำหรับการเข้าสู่ระบบประเมินผลของกระทรวงการคลัง รัฐวิสาหกิจจะได้ผลประโยชน์จูงใจทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลคะแนนรวมที่ได้ตามผลงานจริงในส่วนของการท่าเรือฯ ใช้หลักเกณฑ์นี้เช่นกัน ซึ่งการที่ได้คะแนนประเมินผลในระดับที่ดีขึ้นจะแสดงให้เห็นว่าการท่าเรือฯ มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ เพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินกิจการท่าเรือบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ ตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลและสามารถสร้างความเจริญเติบโตให้แก่การท่าเรือฯ ได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งจะได้รับผลตอบแทนในรูปของโบนัสเพิ่มขึ้นเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานได้อีกส่วนหนึ่งรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 41


การนำระบบบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์มาใช้ การท่าเรือฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงการคลังโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)ที่กำหนดให้รัฐวิสาหกิจนำระบบการบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic Value Management หรือ EVM)มาใช้ในองค์กรรวมทั้ง การท่าเรือฯ ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการประเมินผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการของการท่าเรือฯ ภายใต้หลักการกำกับดูแลที่ดีการท่าเรือฯ มีการจัดทำแผนการดำเนินงาน EVM ที ่สอดคล้องรองรับหลักเกณฑ์ สคร. เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานดำเนินการรวมทั้งการท่าเรือฯ ได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิดระบบ EVM และให้มีการขยายผลจนเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานและปฏิบัติงานจริงทั่วทั้งองค์กร อาทิ การจัดทำแผนธุรกิจ การวิเคราะห์โครงการและการประเมินและติดตามผลโครงการลงทุน การติดตามประเมินผลตัวชี้วัดตามระบบ EVM และรายงานผลงานค่า EP (Economic Profit)การพิจารณาเชื่อมโยง EP หรือ KPI (Key Performance Indicator)กับการกำหนดผลตอบแทนผู้บริหารระดับสูง และการฝึกอบรมEVM และ BSC (Balanced Scorecard) อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> การท่าเรือฯ ได้ประยุกต์แนวคิดระบบEVM มาใช้ในการจัดทำแผนวิสาหกิจ (แผนกลยุทธ์) ฉบับที่ 10(ปีงบประมาณ 2553-2557) ด้วยการท่าเรือฯ ตระหนักถึงความสำคัญของ EVM ในการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบ และเป็นเรื่องที่ทุกคน ทุกหน่วยงานในองค์กร ตั้งแต่ผู้นำองค์กรเป็นผู้มอบนโยบายให้ผู้บริหารทุกสายงาน ทุกฝ่าย รับไปเป็นภารกิจของตน และถ่ายทอดไปยังหน่วยงานและพนักงานในความรับผิดชอบที่จะร่วมกันบริหารจัดการและดำเนินการผลักดันการสร้างมูลค่า เพื่อให้การท่าเรือฯ สามารถพัฒนาและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ภายใต้หลักการกำกับดูแลที่ดี และภายใต้การดำเนินการตามภารกิจทางสังคมที่ได้รับมอบจากรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปด้วยการสำรวจ วิจัย ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ การท่าเรือฯ เตรียมจัดจ้างที่ปรึกษาทำการสำรวจ และวิจัยความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ การท่าเรือฯ ในปีงบประมาณ 2553เพื่อนำผลการสำรวจ และความคิดเห็นของผู้ใช้บริการมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของการท่าเรือฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยดำเนินการในลักษณะปีเว้นปี ซึ่งเริ่มสำรวจครั้งแรก เมื่อปีงบประมาณ 2539 และครั้งล่าสุดเมื่อปีงบประมาณ 2551สำหรับในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> การท่าเรือฯ ได้นำผลการสำรวจฯ ดังกล่าว ในส่วนที่ได้รับคะแนนต่ำกว่าปกติ รวมทั้งข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการมาจัดทำแผนดำเนินการแก้ไขปรับปรุงการให้บริการ เพื่อสนองตอบความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการต่อไปปรับปรุง แก้ไข ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และประกาศดำเนินการพิจารณาปรับปรุง แก้ไข ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งและประกาศต่างๆ ของการท่าเรือฯให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และกฎหมายอื ่นๆ ที ่เกี ่ยวข้อง จำนวน 65 เรื ่องประกอบด้วย 1) เรื่องที่ผ่านการพิจารณาแล้ว จำนวน 23 เรื่อง 2) เรื่องที่ส่งคืนหน่วยงานเพื่อพิจารณาใหม่ จำนวน 34 เรื่อง3) เรื่องที่รอการพิจารณา จำนวน 8 เรื่อง การฝึกอบรมการท่าเรือฯ ได้พัฒนาบุคลากรของการท่าเรือฯ โดยมุ่งเน้นให้บุคลากร มีความรู้ ประสบการณ์ในด้านวิชาการและปฏิบัติการแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร(Competency) ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์กร ดังนี้การพัฒนาบุคลากรโดยการฝึกอบรมภายในการท่าเรือฯ• การจัดอบรมหลักสูตรพื้นฐาน หลักสูตรด้านการบริหารเชิงธุรกิจ/ด้าน e-Port (IT, English) จำนวน 60 หลักสูตร• การจัดส่งพนักงานไปอบรม/สัมมนา กับหน่วยงานต่างๆทั้งในและต่างประเทศ• การจัดให้พนักงานไปศึกษาดูงาน และเยี่ยมชมกิจการท่าเรือรูปแบบใหม่ (e-Port) และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทั้งในและต่างประเทศโครงการฝึกอบรมโดยความร่วมมือระหว่างการท่าเรือฯและสถาบันภายนอก เช่น Washington National Guard/JUSMAGTHAI สถาบัน Shipping and Transport College ประเทศเนเธอร์แลนด์ สถาบัน Wall Street Pacrim Siam Wilson Learningและ สถาบัน Bits Thailandนอกจากนี้ ยังดำเนินการหารายได้เข้าองค์กรเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) โดย• การจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานภายนอก ได้แก่หลักสูตรการดับไฟชั้นสูง หลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น หลักสูตรการฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ• การให้บริการเช่าห้องฝึกอบรม/สัมมนาด้านการตอบแทนและช่วยเหลือสังคม (CooperateSocial Reasonability) การท่าเรือฯ ได้ดำเนินการรับนักศึกษาเข้าฝึกงานในหน่วยงานต่างๆ ของการท่าเรือฯ42 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


อัตรากำลัง ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> หน่วยงานจำนวน (คน)ประจำผู้อำนวยการการท่าเรือฯ20สำนักเลขานุการคณะกรรมการการท่าเรือฯ9สำนักบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน9ฝ่ายตรวจสอบและประเมินผล45ฝ่ายอำนวยการ122สายบริหารทรัพยากรบุคคลและการเงิน2ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล202ฝ่ายการเงินและบัญชี254สายพัฒนาองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศ2ฝ่ายนโยบายและแผน39ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ42สายบริหารธุรกิจ2ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและบริหารสินทรัพย์50สำนักท่าเรือภูมิภาค12ท่าเรือกรุงเทพ156ฝ่ายปฏิบัติการเรือและสินค้า 1,157ฝ่ายบริการท่าและเครื่องมือทุ่นแรง617ฝ่ายการช่าง233ฝ่ายการร่องน้ำ228ท่าเรือแหลมฉบัง184รวม 3,385การพัฒนาการให้บริการท่าเรือกรุงเทพ• ปรับปรุงพื้นที่ลานวางตู้สินค้า Terminal 1• จ้างเหมาสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าชนิดเดินบนรางขนาดยกน้ำหนักไม่น้อยกว่า 40 เมตริกตัน จำนวน 4 คัน• จ้างเหมาสร้างรถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้าแบบ 6+1 และ4+1 สามารถยกตู ้สินค้าน้ำหนักไม่น้อยกว่า 35 เมตริกตัน จัดเรียงซ้อนตู้สินค้าได้สูง 4 และ 3 ชั้น ตามลำดับ จำนวน 4 คัน • ซื้อรถหัวลากพ่วงบรรทุกตู้สินค้าขนาดน้ำหนักไม่น้อยกว่า30 เมตริกตัน จำนวน 38 คัน ท่าเรือแหลมฉบังในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> ท่าเรือแหลมฉบังได้มีแผนการพัฒนาท่าเทียบเรือและมีการขยายขีดความสามารถเพื่อรองรับปริมาณตู ้สินค้าที ่เพิ ่มขึ ้น พัฒนาโครงสร้างพื ้นฐาน สิ ่งอำนวยความสะดวกรวมถึงจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมาใช้ที่ท่าเรือแหลมฉบัง อาทิ• โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาออกแบบรายละเอียดทางด้านวิศวกรรมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 (Phase 3) คาดว่าใช้ระยะเวลาในการศึกษา ออกแบบ และก่อสร้าง ประมาณ 5 ปี และจะสามารถเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือชุดแรกได้ในปี 2562• โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือบริการของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อให้มีท่าเทียบเรือบริการไว้เป็นการเฉพาะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและจัดระเบียบการจอดเรือบริการภายในท่าเรือแหลมฉบัง • โครงการจ้างเหมาต่อเรือลากจูงขนาดกำลังฉุดไม่น้อยกว่า 40 เมตริกตัน จำนวน 1 ลำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเรือลากจูงนอกจากนี้ การท่าเรือฯ ยังได้พัฒนาปรับปรุงระบบสารสนเทศ โดยเน้นให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีการนำระบบบริหารท่าเทียบเรือตู้สินค้า(CTMS) ติดตั้งระบบแจ้งข้อมูลเรืออัตโนมัติ (AIS) ติดตั้งระบบควบคุมการผ่านเข้า-ออกประตูตรวจสอบโดยอัตโนมัติ (e-Gate)ที่ท่าเรือกรุงเทพ และจัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางและระบบเครือข่ายเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลพร้อมทั้งติดตั้งระบบจัดเก็บค่ายานพาหนะผ่านท่า (e-Toll) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้นความร่วมมือระหว่างประเทศการท่าเรือฯ ได้ดำเนินนโยบายประสานความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงาน และการอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ทั้งในรูปของการแลกเปลี่ยนความรู้รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 43


้ข้อมูลข่าวสาร การประชุม การศึกษาอบรม และดูงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการท่าเรือ ตลอดจนการร่วมกิจกรรมต่างๆ กับหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนของต่างประเทศเป็นประจำ โดยปัจจุบันการท่าเรือฯ ได้เป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศ ดังนี ้• สมาคมท่าเรืออาเซียน (The ASEAN Ports Association :APA)• สมาคมประภาคารระหว่างประเทศ (The InternationalAssociation of Lighthouse Authorities : IALA)• สมาคมการเดินเรือระหว่างประเทศ (The InternationalNavigation Association : PIANC)ผลการดำเนินงานผู้แทนการท่าเรือฯ เดินทางเข้าร่วมการประชุมใหญ่สมาคมท่าเรืออาเซียน ครั้งที่ 34 (The 34 th APA Meeting) ระหว่างวันที่25-27 พฤศจิกายน 2551 ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม และเดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานสมาคมท่าเรืออาเซียนครั้งที่ 30 (The 30 th APA Working Committee Meeting) ระหว่างวันที่ 13-15 กรกฎาคม <strong>2552</strong> ณ เมือง Kota Kinabalu ประเทศมาเลเซีย เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานและพิจารณาในประเด็นด้านการขนส่งทางน้ำและกิจการท่าเรือระหว่างกัน โดยการท่าเรือฯ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือกับท่าเรือต่างๆ ดังนี้• ข้อตกลงท่าเรือพี่น้องกับท่าเรือคิตาคิวชู ประเทศญี่ปุ่น(Sister Port Agreement between Kitakyushu Port and LaemChabang Port)• ข้อตกลงความร่วมมือมิตรภาพกับรัฐบาลแคว้นแฟลนเดอร์สประเทศเบลเยียม (The Friendship Agreement between the PortAuthority of Thailand and the Government of Flanders)ผลการดำเนินงาน• รัฐบาลแคว้นแฟลนเดอร์ส ให้ความช่วยเหลือการท่าเรือฯ ในการจัดส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมระยะสั้นในหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการท่าเรือ ณ สถาบัน AntwerpPort Engineering and Consulting (APEC) ประเทศเบลเยียม เป็นประจำทุกปีจำนวนปีละ 3 หลักสูตร• การท่าเรือฯ ให้การสนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรให้แก่วิศวกรจากประเทศเบลเยียมภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือมิตรภาพระหว่างการท่าเรือฯ และรัฐบาลแคว้นแฟลนเดอร์ส เพื่อเดินทางมาศึกษาดูงานการปฏิบัติงานท่าเรือในความรับผิดชอบของการท่าเรือฯ รวมทั ้งโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของหน่วยงานต่างๆ ของประเทศไทย ระหว่างวันที ่ 16-27 มีนาคม <strong>2552</strong>ความร่วมมือด้านต่างๆ ที่จะดำเนินการร่วมกันในอนาคต อาทิโครงการ “Sustainable Port Development in the ASEANRegion” ซึ่งรัฐบาลเยอรมันได้ให้ความช่วยเหลือโดยจัดส่งผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงาน The Deutsche Gesellschaft FurTechnische Zusammenarbeit หรือ GTZ มาปฏิบัติงานเพื่อศึกษาเสนอแนะ ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งปัจจุบันมีสำนักงานโครงการ(Regional Office) ตั ้งอยู ่ ณ อาคารที ่ทำการการท่าเรือฯ นอกจากนียังมีโครงการสำคัญอื่นๆ อีก เช่น โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันในเรื่องเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ความร่วมมือในระดับทวิภาคีการท่าเรือฯ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือกับท่าเรือต่างๆภายใต้ข้อตกลงท่าเรือพี่น้อง ข้อตกลงความร่วมมือมิตรภาพ และข้อตกลงความร่วมมือด้านการตลาด เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์และเทคโนโลยี ตลอดจนร่วมมือกันในการพัฒนา• การท่าเรือฯ และรัฐบาลแคว้นแฟลนเดอร์ส ประเทศเบลเยียม ร่วมจัดการสัมมนาภายใต้หัวข้อ “Cooperationbetween Public and Private Sector in Port and LogisticsDevelopment” ในวันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน <strong>2552</strong> ณ ห้องประชุมชั้น 19 อาคารที่ทำการการท่าเรือฯ • การท่าเรือฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมท่าเรือพี่น้อง(The Sister Port Conference) ครั้งที่ 9 ระหว่างท่าเรือคิตาคิวชู(Kitakyushu Port) และท่าเรือแหลมฉบัง ระหว่างวันที่ 10-16มกราคม <strong>2552</strong> ณ โรงแรมอาน่า รีสอร์ท เกาะช้าง จังหวัดตราด การมีส่วนร่วมในเวทีความร่วมมือด้านการขนส่งทางน้ำของประเทศการท่าเรือฯ ได้จัดส่งผู้แทนเข้าร่วมในเวทีความร่วมมือด้านการขนส่งทางน้ำที่สำคัญในฐานะองค์ประกอบคณะผู้แทนไทย รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมภายใต้กรอบความร่วมมืออื่นๆได้แก่44 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


• ร่วมประชุม APEC Port Services Network (APSN)Council ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 พฤศจิกายน 2551 ณเมือง Ningbo สาธารณรัฐประชาชนจีน • การท่าเรือฯ ร่วมกับ APSN Council จัดการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูล แผนงาน กิจกรรมและโครงการที ่จะดำเนินการในอนาคต รวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมเป็น APSNRegular Member ในวันที่ 24 มีนาคม <strong>2552</strong> ณ ห้องประชุมชั้น 19อาคารที่ทำการการท่าเรือฯ• เรือตรี วิโรจน์ จงชาณสิทโธ รองผู ้อำนวยการการท่าเรือฯสายพัฒนาองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้แทนประเทศไทยในฐานะ Member Council และรองประธานของ APSN ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุม The Extraordinary Meeting of the APSNCouncil ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม <strong>2552</strong> ณ เมืองVancouver ประเทศแคนาดา• ร่วมประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งของเอเปค ครั้งที่32 (The 32 nd APEC Transportation Working Group Meeting :APEC TPT-WG 32) ระหว่างวันที่ 26-31 กรกฎาคม <strong>2552</strong> ณประเทศสิงคโปร์• ร่วมประชุมคณะทำงานอาเซียนว่าด้วยการขนส่งทางน้ำ(ASEAN Maritime Transport Working Group Meeting : MTWG)ครั้งที่ 18 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 สิงหาคม <strong>2552</strong>• ร่วมประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางทะเล ระหว่างอาเซียน-จีน(Implementation Meeting on the ASEAN-China MaritimeTransport Agreement : ACMTA) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม<strong>2552</strong> ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบังกับกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งสินค้าให้ได้รับความสะดวกและประหยัดมากขึ้น โดยดำเนินการ ดังนี้ท่าเรือกรุงเทพ • ส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการ ShiftMode ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดพลังงานโดยรวมของประเทศ• ส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางน้ำแทนทางถนนด้วยเรือชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง โดยใช้พื้นที่บริเวณโรงพักสินค้า 1-2 ให้บริการเป็นท่าเทียบเรือชายฝั่ง ทำการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือกรุงเทพกับท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าเรือแหลมฉบัง • โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (RailTransfer Terminal) ที ่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื ่อให้มีสิ ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าที่จะมาใช้บริการมากขึ้นภายหลังจากระบบรถไฟรางคู่แล้วเสร็จ โดยจะพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟของท่าเรือแหลมฉบังให้สามารถรองรับการให้บริการได้ถึงระดับ 2.0 ล้าน ที.อี.ยู. ต่อปี คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการ Phase 1 ได้ภายในปีงบประมาณ 2556และ Phase 2 ภายในปีงบประมาณ 2562• ร่วมประชุมคณะกรรมการประสานการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน <strong>2552</strong> ณ จังหวัดเชียงราย • การท่าเรือฯ จัดการเสวนา “นานาทรรศนะ… โครงข่ายขนส่งทางน้ำไทย ปรับตัวอย่างไรจึงจะอยู่รอด” ในวันศุกร์ที่ 18กันยายน <strong>2552</strong> ณ ห้องประชุมชั้น 19 อาคารที่ทำการการท่าเรือฯ ด้านการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์การท่าเรือฯ ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงท่าเรือ เพื่อสนับสนุนการขนส่งทางน้ำและระบบรางแทนการขนส่งทางถนนตามนโยบายพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ และสามารถ• โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A)ที ่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื ่อพัฒนาพื ้นที ่ริมน้ำบริเวณก้นแอ่งจอดเรือที ่ 1ระหว่างท่าเทียบเรือผู้โดยสาร A1 และท่าเทียบเรือชายฝั่งและอเนกประสงค์ A0 เพื่อให้บริการแบบสาธารณะ สำหรับขนส่งสินค้าทางเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงภายในประเทศ ให้สามารถรับเรือสินค้าชายฝั่งได้พร้อมกัน 2 ลำ ขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการและงบประมาณต่อไป คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการภายในปีงบประมาณ 2556รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 45


• โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 เพื่อพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ในส่วนของโครงการพื้นฐานที่จำเป็นเช่น การขุดลอกและถมทะเล การก่อสร้างร่องน้ำทางเดินเรือการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น เป็นต้น อยู่ระหว่างร่างเอกสาร TORเพื่อใช้ในการคัดเลือกที่ปรึกษา คาดว่าจะคัดเลือกที่ปรึกษาภายในเดือนธันวาคม <strong>2552</strong> ด้านการพัฒนาท่าเรือเป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์การท่าเรือฯ มีนโยบายที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของท่าเรือให้มีความสะดวก คล่องตัว รวดเร็วยิ่งขึ้น ยกระดับมาตรฐานการให้บริการสู่การเป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port)ด้วยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ซึ่งได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี <strong>2552</strong> ได้ดำเนินการ ดังนี้ท่าเรือกรุงเทพเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและการให้บริการที่ทันสมัย รวดเร็ว โปร่งใส ลดขั้นตอนการให้บริการรวมทั้งอำนวยความสะดวกในการนำเข้า-ส่งออก ซึ่งประกอบด้วยโครงการต่างๆด้านการพัฒนาท่าเรือภูมิภาคท่าเรือเชียงแสนและเชียงของเป็นประตูการค้าของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้แก่สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกัมพูชา เวียดนาม พม่า และไทย ได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพด้านต่างๆ โดยจัดให้มีเครื่องมือทุ่นแรงเพื่อรองรับสินค้าที่หลากหลาย และเพื่อให้การขนถ่ายสินค้าเป็นไปด้วยความรวดเร็วลดเวลาเรือจอดเทียบท่า จึงได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับจอดรถบรรทุกสินค้าที่รอการขนถ่ายสินค้า แต่ท่าเรือเชียงแสนไม่สามารถขยายท่าเทียบเรือ และพื ้นที ่หลังท่า เนื ่องจากมีพื ้นที ่จำกัด จึงมุ ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในการให้บริการที่รวดเร็ว ไม่ซ้ำซ้อนด้วยการให้บริการจุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Services) นอกจากนี้การก่อสร้างท่าเรือเชียงแสน 2 โดยกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) แล้วเสร็จ การท่าเรือฯ อาจเข้าบริหารประกอบการท่าเรือดังกล่าวด้วยเช่น ติดตั้งระบบการแจ้งข้อมูลเรือโดยอัตโนมัติ (Automatic ShipIdentification System : AIS) พัฒนาระบบการให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้า (Container Terminal Management System : CTMS)ทดแทนระบบเดิม พัฒนาระบบการให้บริการด้านเรือ สินค้า คลังสินค้า เครื่องมือทุ่นแรง และใบแจ้งหนี้ค่าภาระต่างๆ (VesselCargo Management System : VCMS) และติดตั้งระบบควบคุมการผ่านเข้า-ออกประตูตรวจสอบโดยอัตโนมัติ (e-Gate) เป็นต้นท่าเรือแหลมฉบัง• ติดตั้งระบบจัดเก็บค่ายานพาหนะผ่านท่าแบบอัตโนมัติท่าเรือแหลมฉบัง (e-Toll Collection System) คาดว่าจะดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จในปีงบประมาณ <strong>2552</strong> และเริ่มเปิดใช้ได้ในปีงบประมาณ 2553• จัดตั้งระบบศูนย์ข้อมูลกลางและระบบเครือข่ายเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลของท่าเรือแหลมฉบัง (Data Center) คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554ท่าเรือระนองเป็นประตูการค้าทางชายฝั่งทะเลตะวันตก เชื่อมโยงการค้ากับกลุ่มประเทศ BIMSTEC และเป็นฐานสนับสนุนหลัก (MainSupply Base) การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทางฝั่งอันดามัน โดยมีการพัฒนาให้มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือทุ่นแรงระบบ IT รวมทั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย สามารถให้บริการเรือสินค้า ตู้สินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการให้บริการสำหรับ การขนส่งวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ ของเรือส่งกำลังบำรุงฐานขุดเจาะ สำรวจและผลิตปิโตรเลียมด้านการบริหารสินทรัพย์ท่าเรือกรุงเทพการท่าเรือฯ ได้ว่าจ้างคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาเพื่อจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามแผนพัฒนาการใช้ประโยชน์สินทรัพย์ของการท่าเรือฯ พ.ศ.2551 ซึ่งที่ปรึกษาฯ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ46 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


และได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงคมนาคม แล้วเมื่อวันที่ 30กันยายน <strong>2552</strong> พร้อมทั ้งได้ส่งเรื ่องดังกล่าวต่อไปยังกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาซึ่งหากกระทรวงการคลังเห็นชอบจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการของโครงการต่อไป หากโครงการได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในปีงบประมาณ 2553คาดว่าจะสามารถพัฒนาโครงการได้ภายในปีงบประมาณ 2554นอกจากนี้ได้เตรียมการจัดทำแผนแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่ของการท่าเรือฯ ทั้งหมดในภาพรวม (Master Plan) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการท่าเรือฯ เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกเขตรั้วศุลกากร บริเวณท่าเรือกรุงเทพที่ชัดเจนสามารถใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่าเรือฯ ในอนาคต ซึ่งการจัดทำแผนแม่บทฯ ดังกล่าว การท่าเรือฯ จะนำส่งกระทรวงการคลังใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาโครงการที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ต่อไปท่าเรือแหลมฉบังผลการดำเนินงานด้านบริหารสินทรัพย์ มีดังนี้• พื้นที่โซนที่ 1 พื้นที่ส่วนกลางสำหรับการบริหาร(Common Use Areas) ได้จัดทำโครงการพัฒนาลานจอดรถบรรทุกในเขตท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อแก้ไขปัญหาการแออัดของตู้สินค้าและการจราจรในเขตท่าเรือแหลมฉบัง คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณ 2553• พื้นที่โซนที่ 2 พื้นที่สำหรับรองรับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับท่าเรือ (Port Related Commercial Areas) อยู่ระหว่างการจัดทำเงื่อนไขจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำการศึกษาและวิเคราะห์การใช้ที่ดินของ ทลฉ. โซนที่ 2 เพื่อรองรับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับท่าเรือ• พื้นที่โซนที่ 3 พื้นที่สำหรับลานกองเก็บตู้สินค้า(Storage Yard) พื้นที่ว่างที่นำมาหาประโยชน์ คือ โซน 3.2 จำนวน2 แปลง ขณะนี้อยู่ระหว่างสรรหาเอกชนเช่า• พื้นที่โซนที่ 4 พื ้นที ่สำหรับพัฒนาเป็นย่านขนส่งตู ้สินค้าทางรถไฟ (Rail Related Container Yard) อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณ• พื้นที่โซนที่ 5 พื้นที่สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งต่อเนื่อง (Multimodal Center) ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์เต็มพื้นที่แล้ว• พื้นที่โซนที่ 6 พื้นที่สำหรับชุมชนและสันทนาการ อยู่ระหว่างการจัดทำเงื่อนไขจ้างที่ปรึกษาเพื่อทำการศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว• พื้นที่โซนที่ 7 พื้นที่สำหรับกิจกรรมเกี่ยวเนื่องที่หลากหลายและเขตปลอดภาษี (Multi used Free Zone) ขณะนี้อยู่ระหว่างสรรหาเอกชนเช่าด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยพลังงานการท่าเรือฯ ร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน และมีการดำเนินงานตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานของรัฐบาล ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนดังนี้• การประหยัดพลังงานในอาคารสำนักงาน • ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทนและมีมาตรการลดมลพิษทางอากาศในเขตพื้นที่การท่าเรือฯ• เพิ ่มพื ้นที ่สีเขียวในเขตการท่าเรือฯ เพื ่อช่วยลดภาวะโลกร้อน• รณรงค์ลดการใช้วัสดุและส่งเสริมการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอย• กำหนดมาตรการและรณรงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือจากพนักงานและผู้ใช้บริการ ให้ช่วยกันประหยัดไฟฟ้าและพลังงาน สิ่งแวดล้อมมีการดำเนินการโครงการและมาตรการเพื่อเป็นการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและตามมาตรฐานของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้• จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม มาดำเนินการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งคุณภาพ น้ำทิ้ง คุณภาพแหล่งน้ำอาณาบริเวณการท่าเรือฯ คุณภาพอากาศและระดับเสียง ทั้งที่ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี• โครงการลดมลพิษทางอากาศ โดยร่วมกับกรมการขนส่งทางบก ตรวจวัดมลพิษจากรถที่ใช้ปฏิบัติงานในสังกัดของการท่าเรือฯ เป็นประจำทุกปี• เข้าร่วมโครงการการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมท่าเรือ (Port Safety Health andEnvironmental Management System : PSHE-MS) ภายใต้โครงการสร้างพันธมิตรเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในทะเลเอเชียตะวันออก (Partnership in Environmental Management forthe Seas of East Asia : PEMSEA) โดยให้ท่าเรือกรุงเทพเป็นท่าเรือสาธิต จัดทำโครงการการนำระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมท่าเรือ มาใช้ในการดำเนินงานเกี่ยวกับสินค้าอันตรายของท่าเรือกรุงเทพ ตั้งแต่ปี2547 ซึ่งได้มีการวางแผน การฝึกอบรม การตรวจติดตามภายใน(Internal Audit) และได้มีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง จนได้รับใบรับรอง (Certificate of Recognition) เมื่อเดือนธันวาคม 2549ซึ่งนับเป็นท่าเรือของรัฐแห่งแรกในเอเชียตะวันออกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว และขณะนี้กำลังขยายระบบให้ครอบคลุมการปฏิบัติงานทั้งหมดของท่าเรือกรุงเทพ โดยจะแล้วเสร็จในปี 2553รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 47


• เข้าร่วมโครงการ Sustainable Port Development inASEAN Ports ซึ่งเป็นโครงการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของท่าเรือต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน และรัฐบาลเยอรมันให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว ซึ่งท่าเรือกรุงเทพได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในท่าเรือสาธิต รวมทั้งเป็นสถานที่ตั้งของ Regional Project Office ของโครงการด้วย เนื่องจากมีสถานที่ตั้งที่เหมาะสมเป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างภูมิภาคอาเซียนและมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อีกทั้งยังสามารถให้บริการและควบคุมดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล โดยมีระยะเวลาโครงการ 6 ปี• จัดให้มีอุปกรณ์รองรับของเสียจากเรือ ตามข้อกำหนดของอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ (MARPOL 73/78) ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO)• ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานต่างๆ ทั ้งภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรมเนื ่องในวันทางทะเลโลก โดยในปี <strong>2552</strong> องค์การทางทะเลระหว่างประเทศอยู่ระหว่างเสนอขอความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)• ท่าเรือแหลมฉบังได้จัดจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นที ่ปรึกษาเพื ่อจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ ่งแวดล้อมและตรวจติดตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือบริการของท่าเรือแหลมฉบัง ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอรายงานฯ เพื่อขอความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ความปลอดภัยการท่าเรือฯ ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานขนถ่ายสินค้า โดยปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พร้อมได้จัดทำแผนความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้ากำหนดมาตรการในการลงโทษพนักงานที ่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งการประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน พิจารณาข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ดังนี้ได้กำหนดหัวข้อ “Climate change : a challenge for IMO too!”ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดหัวข้อ “ภาวะโลกร้อน : ความท้าทายของกองเรือไทย”• ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน ตามแนวทางที่กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีกำหนด เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขเมื่อเกิดการหกรั่วไหลของน้ำมันในแหล่งน้ำอาณาบริเวณการท่าเรือฯ• ท่าเรือแหลมฉบังได้จัดจ้างที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อดำเนินการตรวจติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งคุณภาพน้ำทิ้งคุณภาพแหล่งน้ำอาณาบริเวณการท่าเรือฯ คุณภาพอากาศและระดับเสียงในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี• ท่าเรือแหลมฉบังได้จัดจ้างบริษัท เทคนิคสิ่งแวดล้อมไทย จำกัด เป็นที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์พื้นที่หลังท่าของท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 1 และ 2 ขณะนี้• มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานได้นำระบบการจัดการด้านความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานมาใช้ • นำระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยมอก. 18001 มาใช้ที่กองบริการท่า ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นระบบการจัดการเรือที่เกี่ยวข้องกับเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เรือสินค้าเข้าเทียบท่าจนกระทั่งเรือสินค้าออกจากท่า ระบบมาตรฐานนี้ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม • นำระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมท่าเรือ (Port Safety Health andEnvironmental Management System : PSHE-MS) มาใช้ในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อมและเป็นไปตามมาตรฐานท่าเรือสากลโดย48 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


• ท่าเรือกรุงเทพ ใช้ในงานบริการสินค้าอันตราย โดยรวมมาตรฐาน 4 ระบบ เข้าด้วยกัน คือ ระบบคุณภาพ (ISO 9002)ระบบจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย (OHSAS 18001) และข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของท่าเรือ (PSHEM Code)เข้าด้วยกัน และขณะนี้ขยายระบบให้ครอบคลุมการปฏิบัติงานทั่วทั้งท่าเรือกรุงเทพ โดยจะแล้วเสร็จในปี 2553• ท่าเรือแหลมฉบัง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นท่าเรือนำร่องจาก ASEAN/APA/GTZ โดยให้ความช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาในการนำระบบฯ มาใช้ในการปฏิบัติงาน ร่วมกับท่าเรือ Iloilo ของประเทศฟิลิปปินส์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ• จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานตามกฎหมายขึ้นที่ท่าเรือกรุงเทพท่าเรือแหลมฉบัง และกองบริการ จังหวัดสมุทรปราการ• ด้านการรักษาความปลอดภัย • จัดทำแผนรักษาความปลอดภัยตามข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ(International Ship and Port Facility Security Code : ISPS Code)ตามข้อกำหนดขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) โดยมีการฝึกซ้อมแผนรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือระนอง เพื่อป้องกันภัยจากควบคุม ตรวจสอบที่ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง• โครงการว่าด้วยความปลอดภัยเบื้องต้นของการขนส่งตู้สินค้า เป็นโครงการที่ศุลกากรสหรัฐอเมริกา ขอความร่วมมือให้ท่าเรือขนาดใหญ่ที่มีตู้สินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ มากที่สุด 20อันดับแรกของโลก โดยมีการติดตั้งระบบ x-Ray ตรวจสอบตู้สินค้าขาออกและตู้สินค้าถ่ายลำก่อนจะบรรทุกลงเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อจะขนส่งโดยตรงเข้าในสหรัฐฯ• โครงการความร่วมมือ Washington State PartnershipProgram (WASH.PP.) โดยทาง Washington State National Guardของสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือท่าเรือแหลมฉบังและหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อเสริมสร้างระบบรักษาความปลอดภัยให้มีความมั่นคง เข้มแข็งยิ่งขึ้น• จัดตั้งศูนย์ประสานงานข่าวนางนวล (SeagullCooperation Center : SCC) เพื่อแลกเปลี่ยนและรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับภัยคุกคามและหรืออาจจะส่งผลต่อการรักษาความปลอดภัย กิจกรรมเพื่อสังคมนอกจากกิจกรรมหลักที่ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าทางน้ำแล้ว การท่าเรือฯ ยังได้มีส่วนร่วมพัฒนาและช่วยเหลือสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม มีทั้งด้านบริการสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมด้านการกุศล ด้านการศึกษา ตลอดจนบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนกิจกรรมสาธารณประโยชน์มาอย่างต่อเนื่อง การก่อวินาศกรรม • จัดให้มีศูนย์รักษาความปลอดภัยคมนาคม ทำหน้าที่ประสานเกี่ยวกับเหตุด่วน เหตุร้าย อุบัติเหตุ อุบัติภัยทั้งปวง เป็นหน่วยงานที่ประสานภายในการท่าเรือฯ เอง และการท่าเรือฯ กับหน่วยงานภายนอก • ติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เพื่อใช้ในการในปี <strong>2552</strong> ได้ร่วมกิจกรรมหลากหลายกิจกรรม เพื่อช่วยพัฒนาสังคมและสาธารณกุศล ได้แก่• โครงการ “การท่าเรือฯ รวมใจคืนความสะอาดใสให้เจ้าพระยา” เพื่อรณรงค์ปลูกจิตสำนึก และเสริมสร้างให้ประชาชนร่วมมือกันดูแลรักษาความสะอาดแม่น้ำลำคลอง เพื่อสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดีรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 49


• โครงการ “บ้านรักษ์นก” เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ธรรมชาตินกในระบบนิเวศน์ ป่าชายเลน และสิ่งแวดล้อมโครงการ “รักษ์น้ำตามรอยพ่อหลวง” โดยจัดกิจกรรม “เยาวชนรักษ์ทะเล” เพื่อปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของน้ำ และรักษาธรรมชาติน้ำและทะเลให้คงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีตลอดไป• โครงการ “ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ขนส่งทางน้ำเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ”ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ72 พรรษา และใช้เป็นสถานศึกษาเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและการพัฒนาการขนส่งทางน้ำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน• โครงการ “อนุรักษ์ป่าชายเลนและชายฝั่งทะเลแหลมฉบัง” เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนตลอดจนปลูกจิตสำนึกแก่เยาวชนและประชาชน ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม• มอบเงินบริจาค หรือสิ่งของช่วยเหลือสังคมหลากหลายรูปแบบ ให้แก่ มูลนิธิต่างๆ โรงเรียน วัดโรงพยาบาล เช่น • มอบเงินให้มูลนิธิพระดาบส• มอบเงินสนับสนุนสมาคมกีฬาเรือพายแห่งประเทศไทยตามนโยบายการส่งเสริมกีฬาของรัฐบาลในโครงการหนึ่งรัฐวิสาหกิจหนึ่งสมาคมกีฬา เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม 2549 จนถึงวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> • โครงการ “สวนป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระชนมายุครบ 77 พรรษา และใช้เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติ พรรณไม้ต่างๆ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อฟื้นคืนความสมบูรณ์อย่างยั่งยืน และลดภาวะโลกร้อน• มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย• มอบเงินช่วยเหลือโครงการต่างๆ ใน 3 จังหวัดภาคใต้• ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า• มอบอุปกรณ์การแพทย์ • สนับสนุนงานกาชาด • จัดสร้าง และปรับปรุงอาคารเรียน สนับสนุนการศึกษา มอบอุปกรณ์การเรียน • มอบเงินให้องค์กรการกุศล และสถานสงเคราะห์ต่างๆ ฯลฯ50 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


ประมวลภาพกิจกรรมในรอบปี17 สิงหาคม <strong>2552</strong>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินยังเรือ DOULOS และทรงร่วมเปิดงานFamily Book Fair โดยนางสุนิดา สกุลรัตนะ กรรมการการท่าเรือฯรักษาการแทนผู ้อำนวยการการท่าเรือฯ พร้อมผู ้บริหารการท่าเรือฯกรมศุลกากร และสำนักงานเขตคลองเตย ร่วมรับเสด็จฯณ ท่าเทียบเรือชายฝั่ง (โรงพักสินค้า 1) ท่าเรือกรุงเทพ20 กันยายน <strong>2552</strong>สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า-ศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานโล่เกียรติคุณรางวัลองค์กรผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนสาขาสื่อมวลชนเพื่อเด็กและเยาวชนที่ป้องกันปัญหาสังคมประจำปี <strong>2552</strong> จากกิจกรรม “เยาวชนรักษ์ทะเล” ในโครงการ“รักษ์น้ำตามรอยพ่อหลวง” โดย นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยมผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ เป็นผู้แทนการท่าเรือฯ เข้ารับพระราชทานรางวัลดังกล่าว ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) 2-6 ตุลาคม 2551การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้จัดพิธีรับมอบธงสัญลักษณ์โครงการ “จากวันแม่ถึงวันพ่อ 116 วันสร้างสามัคคี” ในวันที่ 2 ตุลาคม2551 โดยนางสุนิดา สกุลรัตนะ ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ รับมอบธงสัญลักษณ์ฯ จากนายพิเณศวร์ พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ โดยมีคณะผู้บริหารและพนักงานการท่าเรือฯ เข้าร่วมพิธี ณ อาคารที่ทำการการท่าเรือฯ โอกาสนี้ การท่าเรือฯได้จัดกิจกรรมวิ่งเฉลิมพระเกียรติฯ ในวันที่ 3 ตุลาคม 2551 เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเพื ่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีของพนักงานในองค์กร และทำการส่งมอบธงสัญลักษณ์โครงการฯให้แก่ นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู ้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ในวันที ่ 6 ตุลาคม 2551 เพื ่อนำไปประดับและจัดกิจกรรมโครงการฯ ต่อไปรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 51


15 ตุลาคม และ 14 พฤศจิกายน 2551นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ตรวจเยี่ยมกิจการการท่าเรือฯ พร้อมมอบนโยบายแก่คณะกรรมการการท่าเรือฯ และคณะผู้บริหารการท่าเรือฯ พร้อมกันนี้ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมระบบการขนส่งสินค้าท่าเรือแหลมฉบัง โดยมีคณะกรรมการการท่าเรือฯ และผู้บริหารของการท่าเรือฯ ให้การต้อนรับ และบรรยายสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของท่าเรือแหลมฉบัง3 ตุลาคม 2551นางสุนิดา สกุลรัตนะ ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ ลงนามในสัญญาซื้อขายพร้อมติดตั้งระบบการให้บริการท่าเทียบเรือตู้สินค้าทดแทนระบบเดิม กับ Mr.Chol Jang Soo ผู้แทนกลุ่มบริษัท เทราเนท ทีเอสบี มูลค่า 138,030,000 บาท โดยมีกำหนดระยะเวลาติดตั้งและส่งมอบงานทั้งหมดภายใน 270 วันณ ห้องประชุมชั้น 19 อาคารที่ทำการการท่าเรือฯ6 ตุลาคม 2551 เรือตรี วิโรจน์ จงชาณสิทโธ รองผู้อำนวยการการท่าเรือฯสายพัฒนาองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ร่วมลงนามในข้อตกลง Agreed Minutes on the Support for the ASEAN-German Technical Cooperation Project “Sustainable PortDevelopment in the ASEAN Region” กับ Mr. Roland Haasผู้แทนจากหน่วยงาน GTZ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลเยอรมันที่ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและที่ปรึกษาวิชาการของโครงการพัฒนาท่าเรือในระดับภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน (SustainablePort Development in the ASEAN Region) ภายใต้โครงการของAPA โดยการท่าเรือฯ จะได้รับความช่วยเหลือในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการบรรทุกขนถ่ายสินค้าอันตรายควบคู่ไปกับการรักษาและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 9 พฤศจิกายน 2551นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม ผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ เป็นผู้แทนการท่าเรือฯ เข้าร่วมพิธีรับรางวัลชนะเลิศเรือ “การท่าเรือฯเปิดประตูเศรษฐกิจไทยผ่านสายน้ำสายวัฒนธรรม” โดยได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมเงินรางวัลจำนวน 1,000,000.-บาท จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการประกวดเรือประดับไฟฟ้าในงานเทศกาล “สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง” ประจำปี2551 ซึ่งจัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ สวนสันติ-ชัยปราการ ระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2551 52 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


10-17 มกราคม <strong>2552</strong>ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมท่าเรือพี่น้องครั้งที่ 9 (The 9 th Sister Port Conference) ระหว่างท่าเรือแหลมฉบังกับท่าเรือคิตาคิวชู ซึ ่งจะสลับกันเป็นเจ้าภาพการประชุมทุก 2 ปี โดยมีผู้แทนจากท่าเรือคิตาคิวชูเดินทางมาเยี่ยมคารวะผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง ชมกิจการผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ และเดินทางไปประชุมเพื่อลงนามในบันทึกข้อตกลงท่าเรือพี่น้อง ณ โรงแรมอาน่า รีสอร์ท เกาะช้าง จังหวัดตราด6 และ 11 กุมภาพันธ์ <strong>2552</strong>นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมกิจการการท่าเรือฯพร้อมมอบนโยบายแก่ผู้บริหารการท่าเรือฯ โดยมีนายชลอคชรัตน์ ประธานกรรมการการท่าเรือฯ คณะกรรมการการท่าเรือฯนางสุนิดา สกุลรัตนะ กรรมการการท่าเรือฯ รักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือฯ และผู้บริหารของการท่าเรือฯ ให้การต้อนรับ ณ อาคารที่ทำการการท่าเรือฯ พร้อมกันนี้ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมท่าเรือแหลมฉบัง โดยนายเฉลิมเกียรติ สลักคำผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปเกี่ยวกับผลดำเนินงานและภาพรวมกิจการและโครงการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ณ หอสังเกตการณ์ท่าเรือแหลมฉบัง9 เมษายน <strong>2552</strong>นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “การท่าเรือฯ รวมใจคืนความสะอาดใส ให้เจ้าพระยา” พร้อมด้วยผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม คณะกรรมการการท่าเรือฯผู้อำนวยการการท่าเรือฯ และผู้บริหารการท่าเรือฯ ณ บริเวณวัดยาง ซอยอ่อนนุช 23 พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมรณรงค์รักษาความสะอาดด้วยการลงเรือเก็บขยะ และวัชพืชในคลองพระโขนง ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคลองแรก รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 53


21 พฤษภาคม <strong>2552</strong>พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการการท่าเรือฯให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “เยาวชนรักษ์ทะเล” ในโครงการ “รักษ์น้ำตามรอยพ่อหลวง” ณ บริเวณท่าเรือแหลมฉบังและร่วมในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการศึกษาธรรมชาติทางทะเลบนเรือ ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี ร่วมกับเยาวชนผู้ด้อยโอกาสจากมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก มูลนิธิดวงประทีป และชุมชนบางคอแหลม 4 มิถุนายน <strong>2552</strong> นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายชลอ คชรัตน์ ประธานกรรมการการท่าเรือฯและนางสุนิดา สกุลรัตนะ กรรมการการท่าเรือฯ รักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือฯ และคณะ เดินทางไปประชาสัมพันธ์โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 จังหวัดเชียงราย เพื่อชี้แจงความก้าวหน้าแผนงานก่อสร้าง และภาพรวมของโครงการฯ แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หน่วยงานเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ณ ศาลาการเปรียญวัดพระธาตุผาเงาตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย19 มิถุนายน <strong>2552</strong>นางสุนิดา สกุลรัตนะ กรรมการการท่าเรือฯ รักษาการแทนผู้อำนวยการการท่าเรือฯ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา“Cooperation between Public and Private Sector in Port and Logistics Development” ซึ่งเป็นหนึ่งในความร่วมมือระหว่างการท่าเรือฯและรัฐบาลแคว้นแฟลนเดอร์ส โดยมีกรรมการการท่าเรือฯ ผู้บริหารการท่าเรือฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการสัมมนาฯ โอกาสนี้นายเฉลิมเกียรติ สลักคำ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ Development of Port under the Supervision of PATand How They Contribute to the Economy of the Country ณ ห้องประชุม ชั้น 19 อาคารที่ทำการการท่าเรือฯ54 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


3 กรกฎาคม <strong>2552</strong>เรือตรี วิโรจน์ จงชาณสิทโธ รองผู้อำนวยการการท่าเรือฯสายพัฒนาองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะประธานศูนย์ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของการท่าเรือฯ พร้อมสมาชิกศูนย์ส่งเสริมฯ และพนักงานการท่าเรือฯ รวม 120 คน ร่วมกิจกรรมงานวันอาสาฬหบูชา ในการทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีสร้างสะพานบุญ โดยรวบรวมเงินทำบุญได้ทั้งสิ้น273,859.-บาท และร่วมปลูกต้นไม้ ณ วัดบางปลากด คลอง 14จังหวัดนครนายก 31 กรกฎาคม และ 24 สิงหาคม <strong>2552</strong>การท่าเรือฯ จัดกิจกรรม “จากต้นน้ำสู่ทะเล” ส่งเสริมการพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่งทางน้ำของประเทศแบบบูรณาการจากแม่น้ำสู่ทะเล สร้างความเชื่อมั่นสู่การคมนาคมทางน้ำของประเทศ โดยนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหารการท่าเรือฯ และผู้บริหารกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการขนส่งสินค้าทางน้ำที่จังหวัดต้นทาง คือ นครสวรรค์และพระนครศรีอยุธยา 7 สิงหาคม <strong>2552</strong>นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีต้อนรับเรือสินค้าใหญ่ที่สุดในโลก “ZIM DJIBOUTI” ขนาดบรรทุกตู้สินค้า 10,062 ที.อี.ยู.ณ บริเวณท่าเทียบเรือ C1 ท่าเรือแหลมฉบัง 17 กันยายน <strong>2552</strong>เรือตรี วิโรจน์ จงชาณสิทโธ รองผู้อำนวยการการท่าเรือฯสายพัฒนาองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้แทนการท่าเรือฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการพัฒนาการแลกเปลี ่ยนข้อมูลระหว่างระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้มาตรฐาน TH e-GIF ณ ห้อง 601อาคารรวมหน่วยราชการ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 55


่แผนงานในอนาคต56 การท่าเรือแห่งประเทศไทยการท่าเรือฯ ได้เตรียมแผนงาน/โครงการ ในอนาคตที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงสานต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและรองรับเป้าหมายการดำเนินงานของการท่าเรือฯ ดังนี้การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพการท่าเรือฯ เร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 2 และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆได้แก่ ระบบถนน รถไฟ ที่เชื่อมโยงกับท่าเรือ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถประกอบการได้อย่างคล่องตัว และสามารถแข่งขันกับท่าเรือต่างประเทศได้ พร้อมจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและออกแบบโครงสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 เพื่อรองรับปริมาณสินค้าผ่านท่าที่จะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต สำหรับท่าเรือกรุงเทพ มีแผนปรับปรุงรางปั้นจั่นหน้าท่าและจัดหาเครื่องมือทุ่นแรงทดแทนในส่วนของท่าเรือภูมิภาค ได้จัดหาเครื่องมือยกขนสินค้าเพิ่มเติมเพื่อให้บริการสะดวกขึ้น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะระบบถนน รถไฟ เพื่อให้การขนส่งสะดวก และมีต้นทุนที่สามารถจูงใจให้เกิดการใช้ท่าเรือได้การพัฒนาระบบโลจิสติกส์การท่าเรือฯ ได้เตรียมพื้นที่ท่าเทียบเรือ Phase 1 และ 2 เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟโดยจัดโครงสร้างการบริหารจัดการในรูปแบบหน่วยธุรกิจ (Business Unit) โดยพื้นที่ดังกล่าวได้รวมการลงทุนก่อสร้างรถไฟรางคู ่เข้าเป็นโครงการเดียวกัน นอกจากนี ้ ยังมีโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั ่ง (ท่าเทียบเรือ A) ทีท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งทั้ง 2 โครงการ จะสนับสนุนนโยบายการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งทางถนนมาสู่ระบบรางและทางน้ำ (Shift Mode) ด้วยการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์การท่าเรือฯ ได้เตรียมการจัดทำแผนแม่บทการใช้ประโยชน์พื้นที่ของการท่าเรือฯ ทั้งหมดในภาพรวม(Master Plan) ตามมติคณะกรรมการการท่าเรือฯ เพื่อเป็นกรอบการพัฒนาพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกเขตรั้วศุลกากร บริเวณท่าเรือกรุงเทพที่ชัดเจน สามารถใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่าเรือฯ ในอนาคต ซึ่งการจัดทำแผนแม่บทดังกล่าว ต้องเร่งรีบดำเนินการเพื่อนำส่งให้กระทรวงการคลังเป็นข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาโครงการที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535


ท่าเรือกรุงเทพมีโครงการให้เอกชนเช่าพื้นที่นอกเขตรั้วศุลกากร โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 4 โซน ประกอบด้วย1. พัฒนาเป็นอาคารศูนย์ธุรกิจพาณิชยนาวี (Maritime Business Center) 2. พัฒนาศูนย์โลจิสติกส์และกระจายสินค้า เช่น เขตปลอดอากร คลังสินค้าทั ่วไปและทัณฑ์บนเป็นต้น 3. พัฒนาศูนย์บริการการค้าธุรกิจครบวงจร เช่น ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ศูนย์แสดงสินค้า และศูนย์ประชุม เป็นต้น4. พัฒนาอาคารสำนักงานในรูปแบบทันสมัย เช่น อาคารสำนักงาน บริษัทสายการเดินเรือ Freight Forwarder Shipping การประกันภัยขนส่งต่างๆ เป็นต้น ท่าเรือแหลมฉบังได้จัดสรรพื้นที่ออกเป็น 7 โซน เพื่อให้การใช้พื้นที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจท่าเรือ ซึ่งได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเปิดให้เอกชนเช่า และมีเอกชนเช่าแล้ว คือ โซนที่ 5ส่วนโซนที่ 3 และ 7 ยังเหลือพื้นที่เล็กน้อย และโซนอื่นๆ จะทยอยให้เอกชนเช่าพัฒนาต่อไปท่าเรือภูมิภาค 1. ท่าเรือเชียงแสน การท่าเรือฯ เตรียมเข้าบริหารประกอบการท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 แทนท่าเรือเชียงแสนในปัจจุบัน โดยประสานความร่วมมือให้กรมเจ้าท่า นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้การท่าเรือฯ เป็นผู้บริหารท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 2 ในขณะเดียวกัน การท่าเรือฯ ได้เตรียมความพร้อมด้านการลงทุนเครื่องมือทุ่นแรง ระบบ IT รวมทั้งการปรับโครงสร้างบุคลากรให้เหมาะสมพร้อมเปิดให้บริการ เมื่อกรมเจ้าท่าดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 25552. ท่าเรือระนอง มีศักยภาพด้านการสนับสนุนโครงการการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทางฝั่งอันดามัน ทำให้ปัจจุบันมีบริษัทธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำนวนมากเข้ามาใช้บริการที่ท่าเรือระนอง ดังนั้น การท่าเรือฯ จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) วางแผนพัฒนาพื้นที่หลังท่าเป็นคลังน้ำมันดีเซลปลอดอากร เพื่อสนับสนุนงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม และเพื่อการส่งออก ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุน การขนส่งน้ำมันทางบก โดยเปลี่ยนเป็นการขนส่งทางน้ำแทน และจะช่วยลดความเสี่ยงด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม และด้านความปลอดภัย ด้วยการติดตั้งระบบการบรรทุกขนถ่ายน้ำมัน ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2554พัฒนาท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port)การท่าเรือฯ มีนโยบายพัฒนาท่าเรือให้เป็นท่าเรืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Port) เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ ลดระยะเวลา ค่าใช้จ่าย และบุคลากรในการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่สำคัญอาทิ จัดซื้อฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟท์แวร์ (Software) และจัดทำระบบการเชื่อมต่อ NationalSingle Windows (NSW) ของรัฐบาล เพื่อผู้ใช้บริการสามารถติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อที่หน่วยงานแต่ละแห่งการพัฒนาระบบบริหารจัดการ การท่าเรือฯ ได้นำระบบบริหารจัดการเพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ (EVM) และนำระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมมาใช้ พร้อมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM) โดยจัดทำโครงการประเมินประสิทธิผลโครงสร้างองค์กร การปรับโครงสร้างองค์กร และการประมาณการอัตรากำลังของการท่าเรือฯ เพื่อให้การท่าเรือฯ มีโครงสร้างองค์กรและอัตรากำลังที่เหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินการตามภารกิจหลักของหน่วยงานและสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของการท่าเรือฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีแผนในการจัดทำระบบวางแผนทดแทนตำแหน่ง (Succession Plan) และแผนการจัดทำระบบประเมินผลการดำเนินงานโดยอิงตัวชี้วัด (KPI) ในปีงบประมาณต่อไปด้วยรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 57


รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินงบการเงินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย ซึ่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบงบการเงินคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลทางบัญชี เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการบันทึกข้อมูลทางบัญชีมีความถูกต้องครบถ้วนเพียงพอที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตหรือการดำเนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำคัญ และมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี(นายชลอ คชรัตน์)ประธานกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย(นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม)ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย58 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


งบการเงินรายงานของผู้สอบบัญชี งบการเงินงบดุลงบกำไรขาดทุนงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของทุนงบกระแสเงินสดหมายเหตุประกอบงบการเงิน


รายงานของผู้สอบบัญชีเสนอ คณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551 งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของทุน และงบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้บริหารของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าว จากผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินต้องวางแผนและปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที ่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเชื ่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที ่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3.13 และข้อ 3.29 ในงวดบัญชีปี 2549 การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้จ่ายเงินสมทบเงินประเดิมสำหรับพนักงานที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว จำนวน3,273.24 ล้านบาท โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้บันทึกเงินสมทบเงินประเดิมจำนวนดังกล่าวเป็นรายการรอการตัดบัญชีและตัดจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายภายใน 5 ปีๆ ละเท่าๆ กัน ตั้งแต่งวดบัญชีปี 2549 เป็นต้นไปโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง แต่ไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปที่กำหนดให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันทีในงวดบัญชีปี 2549 หากการท่าเรือแห่งประเทศไทยปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิสำหรับปี <strong>2552</strong> และ 2551 จะเพิ่มขึ้น 654.65 ล้านบาท และ 654.65 ล้านบาท ตามลำดับยอดรวมสินทรัพย์และกำไรสะสม ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551 จะลดลง 654.65 ล้านบาท และ 1,309.30 ล้านบาทตามลำดับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเห็นว่า ยกเว้นผลกระทบต่องบการเงินของเรื่องที่กล่าวไว้ในวรรคสาม งบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551 ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีรับรองทั่วไป(นางดาหวัน วงศ์พยัคฆ์)นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน 9 ชช.สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินOffice of the Auditor Generalวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553ที่มา : ฝ่ายการเงินและบัญชี เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553(นางเลิศลักษณ์ หนหาญรบ)ผู้อำนวยการกลุ่ม 260 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


งบดุลณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551หน่วย : บาทหมายเหตุ <strong>2552</strong> 2551(ปรับปรุงใหม่) สินทรัพย์สินทรัพย์หมุนเวียนเงินสดและเงินฝากธนาคาร 3.1 1,615,249,779.20 1,127,076,767.93เงินลงทุนชั่วคราว 3.3 4,710,223,250.21 5,297,811,365.43ลูกหนี้การค้า-สุทธิ 3.4 361,992,019.11 276,699,473.70ลูกหนี้อื่น-สุทธิ 3.5 54,479,903.66 41,711,675.33พัสดุคงเหลือ 3.6 173,479,830.22 164,446,977.06ลูกหนี้กรมสรรพากร - 5,019,998.65ลูกหนี้เงินกู้กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน 3.7 537,456,269.19 423,614,280.78สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 3.8 417,244,249.59 478,418,232.05รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 7,870,125,301.18 7,814,798,770.93 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ 3.9 14,967,159,329.47 14,117,516,200.99สินทรัพย์ระหว่างก่อสร้างและติดตั้ง 3.10 465,052,951.48 667,748,697.46สินทรัพย์โครงการเคหะชุมชนรอตัดจ่าย 3.11 339,293,171.77 386,531,052.64สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-สุทธิ 3.12 63,869,029.77 65,302,129.50เงินสมทบเงินประเดิมรอการตัดบัญชี 3.13 654,648,577.94 1,309,297,155.92สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 15,166,626.00 15,166,626.00รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 16,505,189,686.43 16,561,561,862.51รวมสินทรัพย์ 24,375,314,987.61 24,376,360,633.44หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 61


งบดุล (ต่อ)ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551หน่วย : บาทหมายเหตุ <strong>2552</strong> 2551(ปรับปรุงใหม่) หนี้สินและส่วนของทุน หนี้สินหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า 603,952,948.46 487,054,127.77เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี - 225,000,000.00เจ้าหนี้กรมสรรพากร 10,669,703.15 -ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 3.14 307,494,866.23 303,726,699.23รายได้แผ่นดินค้างนำส่งคลัง 3.15 664,660,000.00 599,554,000.00เงินมัดจำและเงินประกัน 137,975,218.54 122,231,820.52เงินฝากเพื่อถอนคืน 106,665,451.91 104,800,796.35หนี้สินหมุนเวียนอื่น 3.16 595,581,738.86 804,227,944.04รวมหนี้สินหมุนเวียน 2,426,999,927.15 2,646,595,387.91หนี้สินไม่หมุนเวียนเงินกู้ยืมระยะยาว 3.17 - 450,000,000.00รายได้สินทรัพย์รับบริจาครอการรับรู้ 3.18 303,367,968.32 330,792,444.27กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน 3.19 2,159,249,813.70 2,254,827,594.42เงินสะสมและดอกเบี้ยเงินสะสมค้างจ่าย 3.20 547,591,068.46 558,101,789.76รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 3,010,208,850.48 3,593,721,828.45รวมหนี้สิน 5,437,208,777.63 6,240,317,216.36 ส่วนของทุนทุน 3.21 7,185,159,731.60 7,185,159,731.60ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ถาวร 49,385,678.05 49,385,678.05กำไรสะสมจัดสรรแล้วสำรองเพื่อขยายงานและลงทุน 8,625,662,587.26 8,625,662,587.26ยังไม่ได้จัดสรร 2,499,163,395.42 1,697,100,602.52กองทุนประกันภัยทรัพย์สินแบบประกันตนเอง 3.22 578,734,817.65 578,734,817.65รวมส่วนของทุน 18,938,106,209.98 18,136,043,417.08รวมหนี้สินและส่วนของทุน 24,375,314,987.61 24,376,360,633.44 (นายชลอ คชรัตน์)ประธานกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย(นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม)ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้62 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


งบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551หน่วย : บาทหมายเหตุ <strong>2552</strong> 2551(ปรับปรุงใหม่)รายได้รายได้เกี่ยวกับเรือ 1,170,232,326.86 1,202,001,483.29รายได้เกี่ยวกับสินค้า 6,655,990,709.15 7,030,053,621.77รายได้เกี่ยวกับบริการ 255,165,482.27 220,029,788.00รายได้กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน 3.23 10,436,604.09 11,384,181.50รายได้กองทุนประกันภัยทรัพย์สินแบบประกันตนเอง 34,231,550.84 40,626,087.20 ดอกเบี้ยรับ 99,601,031.82 121,788,707.86 กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ 19,666,691.61 37,696,401.86รายได้อื่น 3.24 1,325,804,482.23 1,298,689,029.27 รวมรายได้ 9,571,128,878.87 9,962,269,300.75ค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายด้านบุคคล 2,377,140,732.89 2,337,937,858.46ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา 595,342,031.68 629,270,862.56ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพลังงาน 797,283,248.29 1,116,716,753.11ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 1,227,848,640.34 1,119,615,959.21ค่าใช้จ่ายกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน 1,980.00 1,848.00ค่าใช้จ่ายกองทุนประกันภัยทรัพย์สินแบบประกันตนเอง 13,385,489.43 3,880,441.87เงินสมทบกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน 808,295,579.70 1,056,691,593.59เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานฯ 77,453,416.62 77,871,399.59เงินสมทบเงินประเดิมตัดจ่าย 654,648,577.98 654,648,577.98ค่าใช้จ่ายอื่น 3.25 666,039,088.09 629,383,149.63รวมค่าใช้จ่าย 7,217,438,785.02 7,626,018,444.00 กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย 2,353,690,093.85 2,336,250,856.75ดอกเบี้ยจ่าย 11,231,300.95 25,934,710.69กำไรสุทธิ 2,342,458,792.90 2,310,316,146.06หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 63


งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551หน่วย : บาททุนส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ถาวรสำรองเพื่อขยายงานและลงทุนกำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรรกองทุนประกันภัยทรัพย์สินแบบประกันตนเองยอดคงเหลือ 30 กันยายน 2550 7,185,159,731.60 49,385,678.05 8,625,662,587.26 899,656,456.46 578,734,817.65 17,338,599,271.02กำไรสุทธิ - - - 2,310,316,146.06 - 2,310,316,146.06 สำรองรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง - - - (1,512,872,000.00) - (1,512,872,000.00) ยอดคงเหลือ 30 กันยายน 2551 7,185,159,731.60 49,385,678.05 8,625,662,587.26 1,697,100,602.52 578,734,817.65 18,136,043,417.08กำไรสุทธิ - - - 2,342,458,792.90 - 2,342,458,792.90สำรองรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง- ปี 52 - - - (1,539,950,000.00) - (1,539,950,000.00)- เพิ่มเติมปี 51 - - - (446,000.00) - (446,000.00)ยอดคงเหลือ 30 กันยายน <strong>2552</strong> 7,185,159,731.60 49,385,678.05 8,625,662,587.26 2,499,163,395.42 578,734,817.65 18,938,106,209.98รวมหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้64 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


งบกระแสเงินสดสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551หน่วย : บาท<strong>2552</strong> 2551(ปรับปรุงใหม่) กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานกำไรสุทธิ 2,342,458,792.90 2,310,316,146.06รายการปรับกระทบกำไรสุทธิเป็นเงินสดรับ (จ่าย)จากกิจกรรมดำเนินงานหนี้สงสัยจะสูญ 1,098,410.42 796,125.11ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 1,227,848,640.34 1,119,615,959.21กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ (19,666,691.61) (37,696,401.86)เงินสมทบเงินประเดิมตัดจ่าย 654,648,577.98 654,648,577.98รายได้สินทรัพย์รับบริจาค (27,424,475.95) (27,496,520.12)ปรับราคาซากสินทรัพย์ (6.00) (5,649.00)ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย 11,231,300.95 25,934,710.694,190,194,549.03 4,046,112,948.07การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ (เพิ่มขึ้น) ลดลงลูกหนี้การค้า (83,935,163.95) 23,339,467.68ลูกหนี้อื่น (15,224,020.21) 20,672,203.87พัสดุคงเหลือ (9,032,853.16) (8,019,942.79)ลูกหนี้กรมสรรพากร 7,404,267.35 84,156,779.34ลูกหนี้เงินกู้กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน (113,841,988.41) 3,946,889.51สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 61,162,940.07 (87,953,491.85)การเปลี่ยนแปลงในหนี้สิน เพิ่มขึ้น (ลดลง)เจ้าหนี้การค้า 116,898,820.69 14,519,868.48เจ้าหนี้กรมสรรพากร 8,285,434.45 (13,328,966.77) ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 4,694,303.99 12,533,825.38เงินมัดจำและเงินประกัน 15,743,398.02 6,569,142.66เงินฝากเพื่อถอนคืน 1,864,655.56 80,978,859.36หนี้สินหมุนเวียนอื่น (208,646,205.18) 263,519,478.26กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน (95,577,780.72) 296,088,689.52เงินสะสมและดอกเบี้ยเงินสะสมค้างจ่าย (10,510,721.30) 19,834,581.87เงินสดรับจากการดำเนินงาน 3,869,479,636.23 4,762,970,332.59จ่ายดอกเบี้ย (12,157,437.94) (26,449,212.33)เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 3,857,322,198.29 4,736,521,120.26หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 65


งบกระแสเงินสด (ต่อ)สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551หน่วย : บาทหมายเหตุ <strong>2552</strong> 2551(ปรับปรุงใหม่)กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนเงินลงทุนชั่วคราวลดลง (เพิ่มขึ้น) 144,986,950.00 (489,687,164.27)เงินรับจากการขายสินทรัพย์ 28,493,452.16 40,483,483.10รายจ่ายลงทุนในที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (54,637,328.81) (13,605,761.27)รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์ระหว่างก่อสร้างและติดตั้ง (1,780,303,425.59) (1,457,943,101.02)เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน (1,661,460,352.24) (1,920,752,543.46)กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาว (450,000,000.00) -ชำระคืนเงินกู้ยืมที่ครบกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี (225,000,000.00) (225,000,000.00)เงินนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (1,475,290,000.00) (1,752,816,000.00)เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน (2,150,290,000.00) (1,977,816,000.00)เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ 45,571,846.05 837,952,576.80เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นงวด 4,659,427,295.20 3,821,474,718.40เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นงวด 3.2 4,704,999,141.25 4,659,427,295.20 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้66 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25511. ข้อมูลทั่วไปการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นรัฐวิสาหกิจสาธารณูปการในสังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการท่าเรือ เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชนการท่าเรือฯ มีหน้าที่หลักในการรับเรือและสินค้า ขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำทางเดินเรือและแอ่งจอดเรือควบคุมการขนถ่ายและบรรทุกสินค้าและตู้สินค้า ยกขน เคลื่อนย้าย เก็บรักษา และส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้าหรือเจ้าของตู้สินค้า ตลอดจนร่วมมือและประสานงานกับส่วนราชการและท่าเรือต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงกิจการท่าเรือให้เจริญ ก้าวหน้า ทันสมัยตามสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน การท่าเรือฯ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบท่าเรือ ดังนี้(1) ท่าเรือกรุงเทพ เป็นท่าเรือแม่น้ำที่สำคัญในการให้บริการเรือสินค้าทั่วไป และเรือตู้สินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบการและบริหารท่าเทียบเรือโดยการท่าเรือฯ เองทั้งหมด(2) ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือน้ำลึกหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยการท่าเรือฯ ทำหน้าที่เป็นองค์กรบริหารท่าเรือโดยรวม ส่วนงานด้านปฏิบัติการเป็นการให้เอกชนเช่าประกอบการท่า(3 ) ท่าเรือภูมิภาค เป็นท่าเรือที่ก่อสร้างโดย กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ท่าเรือภูมิภาคแต่ละแห่งเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ต้องส่งมอบให้กรมธนารักษ์ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ การท่าเรือฯ ได้เข้าบริหารจัดการและประกอบการท่าเรือภูมิภาคตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546 ท่าเรือภูมิภาค ประกอบด้วย• ท่าเรือเชียงแสน เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546• ท่าเรือเชียงของ เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2547 ซึ่งท่าเรือเชียงของบริหารจัดการโดยท่าเรือเชียงแสน• ท่าเรือระนอง เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 25472. สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ2.1 การรับรู้รายได้2.1.1 รายได้จากการให้บริการ รับรู้ในงวดบัญชีที่มีการให้บริการ2.1.2 รายได้จากการให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการ (Fixed Fee) และประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติม (Add Fee) เมื่อมีการออกใบแจ้งหนี้ โดยค่าเช่าคงที่นั้นผู้เช่าประกอบการท่าเทียบเรือจะต้องชำระค่าเช่าปีละ 4 งวด จนสิ้นสุดสัญญาเช่า ทั้งนี้จะต้องชำระค่าเช่าก่อนวันเริ่มต้นของแต่ละงวดสำหรับผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติม (Additional Fee) จะต้องชำระตามปริมาณตู้สินค้าหรือสินค้าที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปีตามอัตราที่กำหนดไว้ในแต่ละสัญญา2.1.3 ดอกเบี้ยรับ รับรู้ตามเกณฑ์สัดส่วนของระยะเวลา โดยคำนึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง2.2 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตั้งเป็นจำนวนเท่ากับผลขาดทุนโดยประมาณ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ โดยประมาณขึ้นจากประสบการณ์ในการเก็บเงินในอดีต และตามสถานการณ์ในปัจจุบันของลูกหนี้ที่มิใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจคงค้าง ณ วันที่ในงบดุล และถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบัญชีและการเงินของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2548 และหลักเกณฑ์ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการการท่าเรือฯ ครั้งที่ 9/2549 วันที่ 16 ตุลาคม 2549 โดยตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้ ที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ดังนี้ ระยะเวลาที่หนี้ค้างชำระ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอัตราร้อยละเกินกว่า 3 เดือน-6 เดือน 50 เกินกว่า 6 เดือน-1 ปี 75เกินกว่า 1 ปี 100การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รับรู้เป็นค่าใช้จ่าย และเมื่อมีหนี้สูญเกิดขึ้นจริงจะหักจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 67


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25512.3 พัสดุคงเหลือบันทึกบัญชีตามราคาทุน โดยถือเกณฑ์วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving-Average Method) 2.4 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ ที่มีราคาตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป แสดงตามราคาทุน ณ วันที่ได้มาหรือก่อสร้างแล้วเสร็จหักค่าเสื่อมราคาสะสม ยกเว้นที่ดินที่รับโอนมาเมื่อจัดตั้งการท่าเรือฯ ในปี 2494 แสดงในราคาทุนบวกราคาที่ตีเพิ่ม ส่วนที่มีราคาต่ำกว่า 30,000 บาทลงมา รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่ซื้อมาสินทรัพย์จากการบริจาคจะบันทึกสินทรัพย์จากการบริจาคคู่กับรายได้สินทรัพย์รับบริจาครอการรับรู้และทยอยรับรู้รายได้สินทรัพย์รับบริจาครอการรับรู้เป็นรายได้เท่ากับค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์จากการบริจาคค่าเสื่อมราคา คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ถาวรแต่ละประเภท ซึ่งอยู่ในระหว่าง2-25 ปี โดยมีราคาซาก2.5 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือเชียงแสน เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงท่าเทียบเรือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้าซึ่งกรรมสิทธิ์ท่าเทียบเรือเป็นของกรมธนารักษ์ จะตัดจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายภายใน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไปโครงการพัฒนาระบบบัญชีการเงิน บัญชีบริหารและระบบวางแผนทรัพยากรองค์กรรวมลิขสิทธิ์ซอฟแวร์โปรแกรมSAP เป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบบัญชีการเงินและบัญชีบริหาร ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบพัสดุ ระบบงานซ่อมบำรุงรักษาและระบบงานสารสนเทศเพื่อการบริหารของการท่าเรือฯ จะตัดจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายภายใน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป2.6 กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานการท่าเรือฯ ได้จัดตั้งกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน เพื่อจ่ายสงเคราะห์พนักงานในเวลาพ้นจากตำแหน่ง ตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 42แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ประกอบด้วย1. เงินสะสมที่เก็บจากพนักงานและคนงานเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือนทุกเดือน2. เงินสมทบที่การท่าเรือฯ จ่ายสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนทุกเดือน โดยจ่ายสมทบเข้ากองทุน 1 ในอัตราร้อยละ 5 และสมทบเข้ากองทุน 2 ในอัตราร้อยละ 53. ดอกเบี้ยเงินสะสมค้างจ่าย เป็นเงินค่าดอกเบี้ยที่คำนวณให้กับเงินสะสมของพนักงานโดยคำนวณในอัตราร้อยละ 9ของเงินสะสมและดอกเบี้ยเงินสะสมยกมา ส่วนเงินสะสมที่รับในระหว่างปีงบประมาณ จะคำนวณดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4.1 ต่อปี จะจ่ายให้เมื่อพนักงานออกจากงานหรือพ้นสภาพการเป็นพนักงานณ วันสิ้นงวด การท่าเรือฯ จะคำนวณภาระผูกพันที่พึงจ่ายในกรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่ง โดยรับเงินบำเหน็จและจ่ายเงินสมทบเพิ ่มเข้ากองทุนสงเคราะห์ฯ ให้เท่ากับภาระผูกพัน เงินสมทบที ่การท่าเรือฯ จ่ายเข้ากองทุนสงเคราะห์ฯ รับรู ้เป็นค่าใช้จ่ายสินทรัพย์และหนี้สินของกองทุนสงเคราะห์ฯ ได้รวมแสดงอยู่ในสินทรัพย์และหนี้สินของการท่าเรือฯ รายได้และค่าใช้จ่ายของกองทุนสงเคราะห์ฯ รับรู้เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายของการท่าเรือฯ68 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25512.7 กองทุนประกันภัยทรัพย์สินแบบประกันตนเอง จัดตั ้งขึ ้นตามระเบียบการท่าเรือแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการจัดตั ้งกองทุนประกันภัยทรัพย์สินแบบประกันตนเอง พ.ศ.2528ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29 (1) แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินกองทุนสำหรับการประกันภัยในทรัพย์สินของการท่าเรือฯ สินทรัพย์และหนี้สินของกองทุนประกันภัยฯ ได้รวมแสดงอยู่ในสินทรัพย์และหนี้สินของการท่าเรือฯ ส่วนกองทุนได้แสดงไว้ในกำไรสะสมของการท่าเรือฯ เพื่อรอจัดสรรต่อไป รายได้และค่าใช้จ่าย ของกองทุนประกันภัยฯ รับรู้เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายของการท่าเรือฯ2.8 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หมายความรวมถึงเงินสดและเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน ออมทรัพย์ และเงินลงทุนชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน โดยไม่มีภาระผูกพัน3. ข้อมูลเพิ่มเติม3.1 เงินสดและเงินฝากธนาคาร ประกอบด้วย หน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551เงินสด 19.80 22.42เงินฝากธนาคารประเภท- กระแสรายวัน (35.82) (46.64) - ออมทรัพย์ 1,631.27 1,151.30รวม 1,615.25 1,127.08เงินสดและเงินฝากธนาคาร จำนวน 1,615.25 ล้านบาท เป็นของการท่าเรือฯ จำนวน 1,483.23 ล้านบาท กองทุนสงเคราะห์ฯ จำนวน 110.94 ล้านบาท และกองทุนประกันภัยฯ จำนวน 21.08 ล้านบาท 3.2 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดในงบกระแสเงินสด ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551เงินสด 19.80 22.42เงินฝากธนาคารประเภท- กระแสรายวัน (35.82) (46.64)- ออมทรัพย์ 1,631.27 1,151.30 รวม 1,615.25 1,127.08เงินลงทุนชั่วคราว- เงินฝากประจำ 3 เดือนไม่มีภาระผูกพัน 3,089.75 3,532.35 รวม 4,705.00 4,659.43รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 69


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25513.3 เงินลงทุนชั่วคราว ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท<strong>2552</strong> 2551เงินฝากธนาคารประเภท - ประจำ 3 เดือน ไม่มีภาระผูกพัน 3,089.75 3,532.35 - ประจำเกิน 3 เดือน - มีภาระผูกพัน 14.92 14.47 - ไม่มีภาระผูกพัน 1,605.55 1,750.99รวม 4,710.22 5,297.81 เงินฝากธนาคารประเภทประจำ 3 เดือน ไม่มีภาระผูกพัน จำนวน 3,089.75 ล้านบาท เป็นของการท่าเรือฯ จำนวน3,054.75 ล้านบาท และกองทุนประกันภัยฯ จำนวน 35.00 ล้านบาทเงินฝากธนาคารประเภทประจำเกิน 3 เดือน มีภาระผูกพัน จำนวน 14.92 ล้านบาท การท่าเรือฯ ได้นำไปค้ำประกันการใช้ไฟฟ้า จำนวน 0.30 ล้านบาท และค้ำประกันเงินกู ้เพื ่อที ่อยู ่อาศัยของโครงการพัฒนาเคหะชุมชนคลองเตยระยะที ่ 3 จำนวน 14.62 ล้านบาทเงินฝากธนาคารประเภทประจำเกิน 3 เดือน ไม่มีภาระผูกพัน จำนวน 1,605.55 ล้านบาท เป็นของการท่าเรือฯ จำนวน405.65 ล้านบาท และกองทุนประกันภัยฯ จำนวน 1,199.90 ล้านบาท 3.4 ลูกหนี้การค้า-สุทธิ ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ลูกหนี้การค้า 370.93 286.99หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 8.94 10.29ลูกหนี้การค้า-สุทธิ 361.99 276.703.5 ลูกหนี้อื่น-สุทธิ ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ลูกหนี้ค่าเช่าที่ดิน อาคาร ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา 76.33 71.55ลูกหนี้ค่าภาระสินค้า 43.48 43.59ลูกหนี้เงินยืมทดรอง 3.64 3.96ลูกหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์ 0.21 0.23ลูกหนี้ชดใช้ค่าเสียหาย 0.39 0.43ลูกหนี้เบ็ดเตล็ด 16.34 5.40140.39 125.16หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 85.91 83.45ลูกหนี้อื่น-สุทธิ 54.48 41.7170 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จำนวน 85.91 ล้านบาท เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ค่าเช่าที่ดิน อาคาร ค่าไฟฟ้า และน้ำประปา จำนวน 42.43 ล้านบาท และเป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ค่าภาระสินค้า จำนวน 43.48 ล้านบาทลูกหนี้เบ็ดเตล็ด จำนวน 16.34 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นลูกหนี้หักโอนจำนวน 9.59 ล้านบาท เป็นของท่าเรือกรุงเทพ0.03 ล้านบาท เนื่องจากเป็นพัสดุที่รอขึ้นบัญชีในปีงบประมาณ 2553 และเป็นของท่าเรือแหลมฉบัง 9.56 ล้านบาท เป็นอะไหล่เครื่องมือทุ่นแรงที่บริษัท เอเวอร์กรีน คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด ต้องชดใช้ให้ครบจำนวนตามสภาพเดิม ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า3.6 พัสดุคงเหลือ ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551อะไหล่เครื่องมือยกขนสินค้า 131.56 120.70อะไหล่เรือ 8.81 9.52อุปกรณ์ไฟฟ้าและโทรศัพท์ 7.37 8.75วัสดุซ่อมแซมอาคารและสิ่งปลูกสร้าง 1.46 1.65น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น 5.06 5.20เครื่องเขียนแบบพิมพ์และของใช้สิ้นเปลือง 6.38 5.84อุปกรณ์ประปาและสุขาภิบาล 0.71 0.76อะไหล่รถยนต์และเครื่องมือกล 1.14 1.79พัสดุอื่นๆ 10.99 10.24รวม 173.48 164.45อะไหล่เครื่องมือยกขนสินค้า จำนวน 131.56 ล้านบาท มีส่วนหนึ่ง จำนวน 5.06 ล้านบาท เป็นอะไหล่รถคานเคลื่อนที่ของท่าเทียบเรือที ่ 2 ของท่าเรือแหลมฉบัง ซึ ่งตามสัญญาเช่าจะต้องมอบให้อยู ่ในความครอบครองของผู ้เช่าท่าเทียบเรือฯ และผู ้เช่าท่าเทียบเรือฯต้องหามาชดใช้ให้ครบจำนวนตามสภาพเดิม ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า ทั้งนี้ ท่าเรือแหลมฉบังได้รับมอบรถคานเคลื่อนที่ จำนวน 3 คันคืนจากบริษัท เอเวอร์กรีน คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เช่าประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าหมายเลข 2 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 สำหรับอะไหล่รถคานเคลื่อนที่นั้น ยังไม่ได้รับคืนจากบริษัทฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่างคณะกรรมการรับมอบรถคานเคลื่อนที่ของการท่าเรือฯ ดำเนินการตรวจสอบและรับมอบคืนจากบริษัทฯ ต่อไป3.7 ลูกหนี้เงินกู้กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ลูกหนี้เงินกู้ทั่วไป 215.38 266.69ลูกหนี้เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย 15.69 20.89ลูกหนี้เงินกู้เพื่อซื้อรถจักรยานยนต์ 1.47 1.50ลูกหนี้เงินกู้พิเศษ 100.81 128.01ลูกหนี้เงินกู้บรรเทาความเดือดร้อนภาวะทางการเงิน - 0.05ลูกหนี้เงินกู้ภาวะเศรษฐกิจ 0.01 0.01ลูกหนี้เงินกู้กรณีพิเศษเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภาวะหนี้สินของพนักงาน 0.01 6.46ลูกหนี้เงินกู้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย 204.09 -รวม 537.46 423.61รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 71


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25513.8 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ประกอบด้วยราคาทุน ยอดยกมา1 ต.ค. 51 เพิ่ม ลดหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค้างรับ 12.50 21.99รายได้ค้างรับ 252.50 348.01ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 0.54 0.71เงินมัดจำ 0.92 0.93ภาษีซื้อรอเครดิต 37.21 23.03เงินจ่ายล่วงหน้าอื่นๆ 108.27 78.75สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ 5.30 5.00รวม 417.24 478.42 3.9 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาทยอดคงเหลือ30 ก.ย. 52ที่ดิน 364.12 - - 364.12สิ่งปลูกสร้าง 17,672.02 491.01 18.53 18,144.50สินทรัพย์ให้เช่า 556.04 - - 556.04สินทรัพย์ลอยน้ำ 3,624.80 23.44 1.54 3,646.70เครื่องมือยกขนสินค้า 5,714.36 1,271.70 734.86 6,251.20สินทรัพย์อื่น- การท่าเรือฯ 2,370.03 236.57 59.08 2,547.52 - กองทุนสงเคราะห์ฯ 0.06 - - 0.06- กองทุนประกันภัยฯ 0.04 - - 0.04รวม 30,301.47 2,022.72 814.01 31,510.18ในงวดบัญชีปี <strong>2552</strong> มีเครื่องมือยกขนสินค้าเพิ่มขึ้น จำนวน 1,271.70 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นรถปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า 72 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551 ค่าเสื่อมราคาสะสม ยอดยกมา 1 ต.ค. 51 เพิ่ม ลด ราคาสุทธิยอดคงเหลือ 30 ก.ย. 52 30 ก.ย.52หน่วย : ล้านบาทราคาสุทธิ30 ก.ย.51ที่ดิน - - - - 364.12 364.12สิ่งปลูกสร้าง 6,935.69 583.85 12.12 7,507.42 10,637.08 10,736.33สินทรัพย์ให้เช่า 263.04 19.59 - 282.63 273.41 293.00สินทรัพย์ลอยน้ำ 2,813.97 137.38 1.54 2,949.81 696.89 810.83 เครื่องมือยกขนสินค้า 3,998.07 349.93 734.86 3,613.14 2,638.06 1,716.29สินทรัพย์อื่น- การท่าเรือฯ 2,173.08 73.52 56.68 2,189.92 357.60 196.95 - กองทุนสงเคราะห์ฯ 0.06 - - 0.06 - -- กองทุนประกันภัยฯ 0.04 - - 0.04 - -รวม 16,183.95 1,164.27 805.20 16,543.02 14,967.16 14,117.52ในงวดบัญชีปี <strong>2552</strong> มีค่าเสื่อมราคาประจำปี จำนวน 1,163.92 ล้านบาท ส่วนหนึ่งจำนวน 27.42 ล้านบาท เป็นค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์จากการบริจาค 3.10 สินทรัพย์ระหว่างก่อสร้างและติดตั้ง ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551งานจัดซื้อรถปั้นจั่นเคลื่อนที่ จำนวน 1 คัน - 44.33งานปรับปรุงพื้นที่บริเวณท่าบริการตู้สินค้า (CONTAINER TERMINAL) โครงการ 3-5 - 242.81งานจ้างเหมาจัดหาพร้อมติดตั้งระบบบัญชีการเงิน บัญชีบริหารและทรัพยากรองค์กร - 2.64งานพัฒนาพื้นที่ 45 ไร่ บริเวณล็อก 7-12 54.92 17.64งานสร้างรถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้าแบบ 4+1, 6+1 45.98 48.74งานสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้า ปตส. 5, 6, 1, 2 - 194.07โครงการจัดหาระบบการให้บริการท่าเทียบเรือ 32.25 -งานจ้างเหมาพร้อมติดตั้งระบบควบคุมการผ่านเข้า-ออกประตูตรวจสอบโดยอัตโนมัติ (e-Gate) ของท่าเรือกรุงเทพ 46.20 -งานจ้างเหมาพร้อมติดตั้งระบบจัดเก็บค่ายานพาหนะผ่านท่า(e-Toll Collection System) ของท่าเรือแหลมฉบัง 37.84 -ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อควบคุมงานสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าชนิดเดินบนราง ปตส. 7, 8, 9, 10 6.72 -งานสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่า ชนิดเดินบนราง ปตส. 7, 8, 9, 10 225.50 -ค่าจ้างที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบพิพิธภัณฑ์ขนส่งทางน้ำ - 6.39โครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์การขนส่งทางน้ำฯ - 58.26ค่าจ้างที่ปรึกษางานสร้างท่าเทียบเรือบริการ แหลมฉบัง 7.28 6.54อื่นๆ 8.36 46.33รวม 465.05 667.75รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 73


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25513.11 สินทรัพย์โครงการเคหะชุมชนรอตัดจ่าย ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551 สินทรัพย์โครงการเคหะชุมชนรอตัดจ่าย จำนวน 339.29 ล้านบาท และจำนวน386.53 ล้านบาท ตามลำดับ มีรายละเอียดดังนี้หน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551สินทรัพย์โครงการเคหะชุมชนรอตัดจ่าย 386.53 386.53หัก ตัดจ่ายระหว่างปี 47.24 -ยอดคงเหลือ 339.29 386.53สินทรัพย์โครงการเคหะชุมชนรอตัดจ่ายเป็นโครงการที่การท่าเรือฯ ดำเนินการเพื่อพัฒนาเคหะชุมชนคลองเตยร่วมกับการเคหะแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ในการรื้อย้ายชุมชนแออัดออกจากที่ดินของการท่าเรือฯ จำนวน 4,200 ครอบครัว และชุมชนแออัดบริเวณล็อก 7-12 จำนวน 600 หน่วย เพื่อพัฒนาพื้นที่สำหรับใช้ในกิจการของการท่าเรือฯ ประกอบด้วยการก่อสร้างอาคารแฟลตในที่ดินของการท่าเรือฯ จำนวน 1,680 หน่วย ซึ่งการท่าเรือฯ ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และในส่วนของการจัดหาที่ดินแปลงโล่งนอกเขตการท่าเรือฯ จำนวน 2,520 หน่วย จะตัดจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อมีการโอนที่ดินให้ชุมชนแล้ว ในปี <strong>2552</strong> มียอดยกมาจำนวน 386.53 ล้านบาท ได้มีการตัดจ่ายโอนโฉนดที่ดินให้กับชาวชุมชน 14 แปลง และเป็นสาธารณประโยชน์รวมเป็นจำนวน 47.24 ล้านบาท คงเหลือ 339.29 ล้านบาท 3.12 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน-สุทธิ ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท ราคาทุนตัดจ่ายสะสม คงเหลือ ยกมา ตัดจ่าย รวม 30 ก.ย. 52 1 ต.ค. 51 งวดนี้ 30 ก.ย. 52 30 ก.ย. 52 30 ก.ย. 51โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือเชียงแสน 12.16 11.78 0.38 12.16 - 0.38โครงการพัฒนาระบบบัญชีบริหารและระบบวางแผนทรัพยากรบุคคล 82.98 7.70 15.67 23.37 59.61 64.92ลิขสิทธิ์ซอฟแวร์โปรแกรมสำเร็จรูปCOGNOS BUSINESS 4.90 - 0.64 0.64 4.26 - รวม 100.04 19.48 16.69 36.17 63.87 65.303.13 เงินสมทบเงินประเดิมรอการตัดบัญชีณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551 เงินสมทบเงินประเดิมรอการตัดบัญชี จำนวน 654.64 ล้านบาท และจำนวน1,309.29 ล้านบาท ตามลำดับ มีรายละเอียดดังนี้หน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551เงินสมทบเงินประเดิมรอการตัดบัญชี 1,309.29 1,963.94หัก ตัดจ่ายระหว่างปี 654.65 654.65ยอดคงเหลือ 654.64 1,309.2974 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551ในงวดบัญชีปี 2549 การท่าเรือฯ ได้จ่ายเงินสมทบเงินประเดิมสำหรับพนักงานที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้วเข้ากองทุนสงเคราะห์ฯ จำนวน 3,273.24 ล้านบาท โดยการท่าเรือฯได้บันทึกเงินสมทบเงินประเดิมจำนวนดังกล่าวเป็นรายการรอการตัดบัญชีและตัดจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายภายใน 5 ปีๆ ละเท่าๆ กัน ตั้งแต่งวดบัญชีปี 2549 เป็นต้นไป โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง3.14 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ดอกเบี้ยเงินกู้ค้างจ่าย - 0.93ค่าแรงและค่าล่วงเวลาค้างจ่าย 17.45 17.82โบนัสกรรมการและพนักงานค้างจ่าย 224.11 211.91อื่นๆ 65.93 73.07รวม 307.49 303.733.15 รายได้แผ่นดินค้างนำส่งคลัง ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ยอดยกมา 599.55 839.50บวก สำรองรายได้แผ่นดินนำส่งคลัง- จากกำไรสุทธิประจำปี 1,539.95 1,513.40 - จากกำไรสุทธิปี 2550 ปรับปรุง (ลด) - (0.53) - จากกำไรสุทธิปี 2551 ปรับปรุง เพิ่ม 0.45 -2,139.95 2,352.37หัก นำส่งกระทรวงการคลัง 1,475.29 1,752.82ยอดคงเหลือ 664.66 599.55ในงวดบัญชีปี <strong>2552</strong> การท่าเรือฯ ได้สำรองรายได้แผ่นดินนำส่งคลังจากกำไรสุทธิประจำปี <strong>2552</strong> ในอัตราร้อยละ 60เป็นเงิน จำนวน 1,539.95 ล้านบาท ซึ่งค้างนำส่งกระทรวงการคลัง จำนวน 664.66 ล้านบาท และได้ปรับปรุงเพิ่มสำรองรายได้แผ่นดินนำส่งคลังจากกำไรสุทธิประจำปี 2551 จำนวน 0.45 ล้านบาท รวมเป็นสำรองรายได้แผ่นดินนำส่งคลังในงวดนี ้จำนวน 1,540.40 ล้านบาท 3.16 หนี้สินหมุนเวียนอื่น ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 42.71 42.72ภาษีขายรอการชำระ 28.41 21.73เจ้าหนี้บริษัทผู้ประกอบการท่าเรือ 28.23 33.58รายได้รับล่วงหน้า 292.88 287.03เช็คจ่ายระหว่างทาง 191.79 404.01หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ 11.56 15.16รวม 595.58 804.23รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 75


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25513.17 เงินกู้ยืมระยะยาว ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ยอดยกมา 450.00 675.00หัก เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี - 225.00ยอดคงเหลือ 450.00 450.00หัก ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาว 450.00 -- 450.00การท่าเรือฯ ได้ทำสัญญากู ้ยืมเงินกับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ตามสัญญากู ้ยืมเงินลงวันที ่ 15 กันยายน 2546วงเงินกู้ จำนวน 1,800 ล้านบาท กำหนดชำระคืนภายใน 8 ปี อัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำบุคคลธรรมดา6 เดือน เฉลี ่ย 7 วัน ของ 5 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่บวกด้วย 0.98% ต่อปี โดยผ่อนชำระคืนเงินต้นและดอกเบี ้ยเป็นงวด งวดละ 6 เดือนในวันที่ 15 กันยายน และ 15 มีนาคม ของทุกปี และได้ชำระเงินกู้ที่เหลือทั้งหมดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม <strong>2552</strong> 3.18 รายได้สินทรัพย์รับบริจาครอการรับรู้ หน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ยอดยกมา 330.79 358.29หัก รับรู้เป็นรายได้ 27.42 27.50ยอดคงเหลือ 303.37 330.793.19 กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท<strong>2552</strong>2551กองทุน 1 กองทุน 2 รวม รวมยอดยกมา 237.02 2,017.80 2,254.82 1,958.74บวก เงินสมทบจากการท่าเรือฯเงินสมทบ ร้อยละ 5 22.85 22.85 45.70 47.30ให้เท่ากับภาระผูกพัน - 762.62 762.62 1,009.39รับโอนจากกองทุน 1 - 27.81 27.81 16.85 ดอกผลกองทุนสงเคราะห์ฯ - 8.77 8.77 10.97รวม 259.87 2,839.85 3,099.72 3,043.25หัก จ่ายบำเหน็จบำนาญ - 911.55 911.55 769.58 จ่ายเงินกองทุนกรณีไม่ได้บำเหน็จบำนาญ 0.53 0.53 1.06 1.98จ่ายโอนไปกองทุน 2 27.81 - 27.81 16.84จ่ายเงินกองทุนใช้คืน กทท. 0.01 0.01 0.02 0.02รายการปรับปรุงของงวดก่อน - 0.03 0.03 0.01รวม 28.35 912.12 940.47 788.43ยอดคงเหลือ 231.52 1,927.73 2,159.25 2,254.8276 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551 ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551 กองทุนสงเคราะห์ฯ มียอดตามบัญชีคงเหลือ จำนวน 2,159.25 ล้านบาท และจำนวน 2,254.82 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งเท่ากับค่าภาระที่พึงจ่ายในกรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งโดยรับบำเหน็จ ทั้งนี้ภาระผูกพัน ณวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551 มีรายละเอียด ดังนี้หน่วย : ล้านบาท<strong>2552</strong>2551กองทุน 1 กองทุน 2 รวม รวมพนักงานที่มีสิทธิรับบำเหน็จ 158.23 596.30 754.53 779.07พนักงานที่ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จ 73.29 73.29 146.58 149.02บำเหน็จตกทอด 30 เท่า - 1,258.14 1,258.14 1,326.73 รวม 231.52 1,927.73 2,159.25 2,254.823.20 เงินสะสมและดอกเบี้ยเงินสะสมค้างจ่าย ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท<strong>2552</strong>2551เงินสะสม ดอกเบี้ย ค้างจ่าย สะสมค้างจ่าย รวม รวมยอดยกมา 236.75 321.35 558.10 538.27บวก เพิ่มระหว่างปี 22.84 44.23 67.07 68.57 รวม 259.59 365.58 625.17 606.84หัก จ่ายระหว่างปี 28.34 49.24 77.58 48.74ยอดคงเหลือ 231.25 316.34 547.59 558.10ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> เงินสะสมและดอกเบี้ยเงินสะสมค้างจ่าย จำนวน 547.59 ล้านบาท การท่าเรือฯ จะจ่ายให้เมื่อพนักงานออกจากงานหรือพ้นสภาพการเป็นพนักงาน 3.21 ทุน ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ทุนท่าเรือกรุงเทพทุนประเดิม 47.79 47.79ทุนดำเนินการท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ 117.22 117.22ทุนพัฒนาเศรษฐกิจ 9.79 9.79เงินกู้และดอกเบี้ยที่รัฐบาลจ่ายแทน 82.08 82.08ทุนดำเนินการหน่วยบำรุงรักษาร่องน้ำสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา 3.24 3.24260.12 260.12ทุนท่าเรือแหลมฉบังทุนจากงบประมาณแผ่นดิน 6,688.23 6,688.23ทุนจากการงดนำเงินส่งคลังเพื่อเป็นเงินบาทสมทบเงินกู้ 40.00 40.00ทุนได้รับจัดสรรจากเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ งวดที่ 2 (SAL2) 96.74 96.74ทุนจากการรับโอนสินทรัพย์จากท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ 100.07 100.07 6,925.04 6,925.04รวม 7,185.16 7,185.16รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 77


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25513.22 กองทุนประกันภัยทรัพย์สินแบบประกันตนเองณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551 สินทรัพย์และหนี้สินของกองทุนฯ มีรายละเอียดดังนี้หน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551สินทรัพย์ เงินสดและเงินฝากธนาคาร 21.08 4.67 เงินลงทุนชั่วคราว 1,234.90 1,357.96 ลูกหนี้กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน 205.00 15.00 ลูกหนี้-การท่าเรือฯ 0.07 0.02เบี้ยประกันภัยค้างรับ - 0.03ดอกเบี้ยค้างรับ 4.93 7.40รวม 1,465.98 1,385.08หนี้สินและกองทุนกองทุน 578.73 578.73กำไรสะสม 806.34 711.62รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย 80.91 94.73 รวม 1,465.98 1,385.083.23 รายได้กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 0.30 0.39ดอกเบี้ยเงินกู้กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน 54.18 55.78รายได้เบ็ดเตล็ด 0.18 0.13 รวม 54.66 56.30หัก ดอกเบี้ยเงินสะสม 44.23 44.92ยอดคงเหลือ 10.43 11.383.24 รายได้อื่น ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ค่าเช่าที่ดิน อาคาร และคลังสินค้า 746.80 611.76ค่าธรรมเนียมการเช่า ต่อสัญญา โอนสิทธิ 12.37 6.71ค่าธรรมเนียมขออนุญาตขนส่งสินค้า 7.91 11.67รายได้ค่าปรับผิดสัญญา 9.07 8.87ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจำหน่ายให้ผู้ประกอบการ 299.82 555.51ส่วนลดรับ - 0.45รายได้สินทรัพย์รับบริจาค 27.42 27.50รายได้เบ็ดเตล็ด 32.08 60.96รายได้ชดใช้ค่าเสียหาย 174.13 0.28อื่นๆ 16.20 14.98 รวม 1,325.80 1,298.6978 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25513.25 ค่าใช้จ่ายอื่น ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาท <strong>2552</strong> 2551ค่าฝึกอบรมและสัมมนาในประเทศ 17.51 12.13ค่าฝึกอบรมและสัมมนาต่างประเทศ 10.10 10.22ค่าใช้จ่ายเดินทาง-ภายในประเทศ 6.00 6.20ค่าใช้จ่ายเดินทาง-ต่างประเทศ 0.71 2.07ค่าเช่าและติดตั้งโทรศัพท์ ค่าน้ำประปา 46.33 44.65ค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ และแบบพิมพ์คอมพิวเตอร์ 13.60 13.65ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ 12.73 9.25ค่าใช้จ่ายพัสดุคุมจำนวน 12.53 20.75ค่าดำเนินงานประชาสัมพันธ์และการตลาด 88.89 68.53ค่าเช่าเครื่องและค่าถ่ายเอกสาร 1.83 3.80ค่าสอบบัญชี 0.65 0.65ค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษา 16.01 35.79ค่าจ้างบุคลากรภายนอก 87.32 63.87ค่าใช้จ่ายการกีฬาของพนักงาน 21.32 17.19ค่ายาและเวชภัณฑ์ 63.53 55.21ค่ารักษาพยาบาลพนักงานบำนาญและครอบครัว 125.59 97.41ค่าเช่ารถอื่นๆ 16.31 12.49ค่าเบี้ยประกันภัย 2.41 1.16ค่ารับรอง 7.68 6.16เงินบริจาค 8.83 13.55ค่าของที่ระลึกพนักงาน 3.76 18.82ค่าตอบแทนพิเศษโครงการลาออกก่อนเกษียณอายุ - 44.21ส่วนเฉลี่ยภาษีมูลค่าเพิ่มที่เครดิตไม่ได้ 4.55 5.92หนี้สงสัยจะสูญ 6.00 9.74เงินชดใช้ค่าเสียหาย 0.54 3.77ดอกผลกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน กลับรายการ 8.77 10.97อื่นๆ 82.54 41.22รวม 666.04 629.38รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 79


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25513.26 ผลการดำเนินงาน การท่าเรือฯ มีผลการดำเนินงานในงวดบัญชีปี <strong>2552</strong> เปรียบเทียบกับงวดบัญชีปี 2551 สรุปได้ ดังนี้ ท่าเรือกรุงเทพหน่วย : ล้านบาทเพิ่ม (ลด)<strong>2552</strong> 2551 จำนวนเงิน ร้อยละรายได้จากการดำเนินงาน8,081.39 8,452.08(370.69) (4.39)รายได้กองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน 10.44 11.38 (0.94) (8.26)รายได้กองทุนประกันภัยทรัพย์สินแบบประกันตนเอง 34.23 40.63 (6.40) (15.75)รายได้อื่น 1,445.07 1,458.18 (13.11) (0.90) รวมรายได้ 9,571.13 9,962.27 (391.14) (3.93)ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 3,769.77 4,083.93 (314.16) (7.69)ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย 1,227.85 1,119.62 108.23 9.67ค่าใช้จ่ายกองทุนประกันภัยทรัพย์สินแบบประกันตนเอง 13.38 3.88 9.50 244.85เงินสมทบกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงาน 808.30 1,056.69 (248.39) (23.51)เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานฯ 77.45 77.87 (0.42) (0.54)เงินสมทบเงินประเดิมตัดจ่าย 654.65 654.65 - -ค่าใช้จ่ายอื่น 666.04 629.38 36.66 5.82 รวมค่าใช้จ่าย 7,217.44 7,626.02 (408.58) (5.36)กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย 2,353.69 2,336.25 17.44 0.75หัก ดอกเบี้ยจ่าย 11.23 25.93 (14.70) (56.69)กำไรสุทธิ 2,342.46 2,310.32 32.14 1.39ในงวดบัญชีปี <strong>2552</strong> การท่าเรือฯ มีกำไรสุทธิ จำนวน 2,342.46 ล้านบาท ซึ่งมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากงวดบัญชีปี 2551จำนวน 32.14 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื ่องจากในงวดบัญชีปี <strong>2552</strong> การท่าเรือฯ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง จำนวน 314.16 ล้านบาทเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานลดลง จำนวน 248.39 ล้านบาทในงวดบัญชีปี <strong>2552</strong> รายได้จากการดำเนินงาน จำนวน 8,081.39 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการดำเนินงานของท่าเรือกรุงเทพ จำนวน 4,571.42 ล้านบาท และท่าเรือแหลมฉบัง จำนวน 3,490.63 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้หน่วย : ล้านบาทท่าเรือแหลมฉบังรายได้เกี่ยวกับเรือ 499.90 666.24รายได้เกี่ยวกับสินค้า 4,057.56 2,584.56รายได้เกี่ยวกับบริการ 13.96 239.83 รวม 4,571.42 3,490.6380 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551ท่าเรือกรุงเทพ มีรายได้จากการดำเนินงานมาจากปริมาณสินค้าผ่านท่า 15.57 ล้านตัน ตู้สินค้าผ่านท่า 1.31 ล้าน ที.อี.ยู.และจำนวนเที่ยวเรือ 2,534 เที่ยวท่าเรือแหลมฉบัง มีรายได้จากการดำเนินงานมาจากปริมาณสินค้าผ่านท่า 47.14 ล้านตัน ตู ้สินค้าผ่านท่า 4.62 ล้าน ที.อี.ยู.และจำนวนเที่ยวเรือ 7,582 เที่ยว โดยรายได้เกี่ยวกับสินค้าส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการให้เอกชนบริหารและประกอบการท่า ซึ่งมีการกำหนดรายได้เป็นค่าเช่าตามสัญญาสัมปทานที่ให้กับเอกชนในงวดบัญชีปี <strong>2552</strong> มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำนวน 3,769.77 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคคล จำนวน 2,377.14ล้านบาท ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา จำนวน 595.34 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพลังงาน จำนวน 797.29 ล้านบาท 3.27 ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น3.27.1 ภาระผูกพัน3.27.1.1 ณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> การท่าเรือฯ มีภาระค้ำประกัน โดยบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทประจำ12 เดือน ประกอบด้วยหน่วย : ล้านบาทภาระค้ำประกัน ธนาคาร จำนวนเงินการใช้ไฟฟ้า ธนาคารกรุงไทยฯ 0.30การชำระหนี้เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยโครงการพัฒนาเคหะชุมชนคลองเตยระยะที่ 3 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 14.62 รวม 14.923.27.1.2 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2528 อนุมัติตามมติของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้กรมธนารักษ์อนุญาตให้การท่าเรือฯ ใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ บริเวณตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แปลงหมายเลขทะเบียน ชบ.341 ไปก่อน และให้ดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะของที่ราชพัสดุ เพื่อขายให้แก่การท่าเรือฯ ในราคาผ่อนปรนต่อไป กรมธนารักษ์จึงอนุญาตให้กระทรวงคมนาคมใช้ที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ 1,910-0-09 ไร่ เพื่อก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังเป็นการชั่วคราวตามมติคณะรัฐมนตรีปัจจุบันได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะของที ่ราชพัสดุ ในท้องที ่ตำบลทุ ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2548 โดยให้ถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที ่ใช้เพื ่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะของที ่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ชบ.341 เนื ้อที ่ทั ้งหมดประมาณ 1,941-2-15 ไร่บางส่วน โดยมีเนื้อที่ประมาณ 1,456-0-83 ไร่ ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีการดำเนินการเกี่ยวกับการขายที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวให้กับการท่าเรือฯ กรมธนารักษ์ได้ดำเนินการตามที ่กฎหมายที ่ราชพัสดุกำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว คือกระทรวงการคลังได้ให้ความยินยอมแล้ว ตามข้อ 2 (2) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที ่ 11(พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 และกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบในราคาขายแล้วตามข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงดังกล่าว โดยมีราคาทั ้งแปลงไร่ละ 1,827,000.00 บาท คิดตามส่วนที ่ได้ดำเนินการถอนสภาพฯ เรียบร้อยแล้วเนื ้อที ่ 1,456-0-83 ไร่ คิดเป็นเงิน จำนวน 2,660,491,103.00 บาท และให้การท่าเรือฯ ผ่อนชำระเป็น 4 งวดๆ ละเท่าๆ กันโดยเริ่มต้นชำระในปีงบประมาณ 2550 จนถึงปีงบประมาณ 2553 รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 81


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551การท่าเรือฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าราคาที่ดินที่กรมธนารักษ์แจ้งมานั้นเป็นราคาที่ยังไม่เหมาะสมและเพื่อให้ปัญหายุติลงโดยเร็ว คณะกรรมการการท่าเรือฯ ให้ การท่าเรือฯ ดำเนินการเจรจาต่อรองราคาขายที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ชบ.341 ในราคาผ่อนปรนตามมติคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติตามมติของคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคาขายที่ดินที่การท่าเรือฯ ได้จ่ายทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2521 มีจำนวนทั้งสิ้น1,260 ราย ราคาทดแทนสูงสุดไร่ละ 100,000 บาท และราคาต่ำสุดไร่ละ 35,000 บาท เนื้อที่เวนคืนทั้งสิ้น 4,388-2-92 ไร่ เป็นเงิน199,555,638.45 บาท โดยเฉลี่ยราคาไร่ละ 45,993.99 บาท มาใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคาขายที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ชบ.341 จำนวนเนื้อที่ทั้งหมด 1,456-0-83 ไร่ เป็นเงินทั้งสิ้น 66,976,793.19 บาท คิดราคาผ่อนปรนตามมติคณะรัฐมนตรี โดยปรับลดร้อยละ 10 (10%) เหลือราคาขายเป็นเงิน 60,279,113.87 บาท ซึ่งการท่าเรือฯ ได้มีหนังสือถึงกรมธนารักษ์เพื่อโปรดพิจารณาแล้วเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 และปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมธนารักษ์3.27.1.3 สำนักงานเทศบาลตำบลแหลมฉบัง ได้ประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินท่าเทียบเรือ บี 1 ถึงบี 4 ท่าเรือแหลมฉบัง การท่าเรือแห่งประเทศไทย ตั ้งแต่ปี 2545 ถึงปี 2550 จากการท่าเรือฯ แต่การท่าเรือฯ และผู ้ประกอบการท่าเทียบเรือบี 1 ถึง บี 4 ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนการท่าเรือฯ ไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของเทศบาลตำบลแหลมฉบัง ที่เรียกเก็บภาษีโรงเรือนฯ สูงกว่าที่เคยเรียกเก็บในปี 2544 มาก โดยเทศบาลตำบลแหลมฉบังได้ประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ในปี 2545 ถึง 2550 เป็นเงิน จำนวน 52.82, 57.75, 58.08, 59.75, 56.18 และ 55 ล้านบาท ตามลำดับ รวมทั้งสิ้น จำนวน 339.58ล้านบาท เนื่องจากเทศบาลตำบลแหลมฉบัง ได้คำนวณค่ารายปีตามสัญญาเช่าจากค่าตอบแทนคงที่รายปีที่ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือต้องชำระให้แก่การท่าเรือฯ ตามสัญญาเช่า ซึ่งเป็นไปตามคำวินิจฉัยของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดังนั้นการท่าเรือฯ โดยกระทรวงคมนาคมจึงได้นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีขอลดหย่อนค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมร่วมกันพิจารณาเรื ่องอัตราค่าภาษีโรงเรือนและที ่ดินให้ได้ข้อยุติภายใน 30 วัน เมื ่อได้ข้อยุติแล้วให้สอบถามความเห็นไปที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาทบทวนว่า การท่าเรือฯ มีภาระจะต้องจ่ายค่าภาษีโรงเรือนและที ่ดินตามกฎหมายหรือไม่ เมื ่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยเป็นประการใดก็ให้ถือเป็นข้อยุติและให้การท่าเรือฯ ปฏิบัติตามนั ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยแล้วเห็นว่า เมื่อการท่าเรือฯนำท่าเทียบเรือ บี 1 ถึง บี 4 ไปให้ผู้ประกอบการเช่า การท่าเรือฯ จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 และไม่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีตามมาตรา 9(2) ของ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ พ.ศ.2475ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 การท่าเรือฯ จึงได้ประชุมหารือร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในรายละเอียดและวิธีการการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 เมื่อได้ข้อยุติในอัตราค่าภาษีโรงเรือนฯปี 2546-2550 แล้ว สำนักงานเทศบาลฯ จึงมีหนังสือถึงการท่าเรือฯ แจ้งค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของผู้ประกอบการท่า บี 1 ถึง บี 4ประจำปี 2546 ถึง 2550 ในอัตราใหม่ที่ได้มีการลดหย่อนแล้ว เป็นเงิน 157,157,423.61 บาท พร้อมเงินเพิ่ม ร้อยละ 10 เป็นเงิน15,715,742.29 บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 172,873,165.90 บาท โดยผู้ประกอบการท่า บี 1 ถึง บี 4 ได้นำส่งค่าภาษีโรงเรือนฯปี 2546-2550 ให้แก่การท่าเรือฯ เพื่อนำไปชำระแก่สำนักงานเทศบาลฯ เรียบร้อยแล้ว ยังคงเหลือแต่ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของปี 2545จำนวน 56,684,375.00 บาท ซึ่งอยู่ระหว่างเรียกเก็บจากผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการแจ้งว่ายินดีจะพิจารณาชำระค่าภาษีปี 2545 ในอัตราที่ได้ลดหย่อนตามปี 2546-2550 โดยผู้ประกอบการท่าเทียบเรือได้แจ้งขอชะลอการชำระค่าภาษีฯ ปี 2545 ออกไปจนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งสำนักงานเทศบาลฯ แจ้งว่า ไม่สามารถให้ชะลอการชำระค่าภาษีฯ ได้ และหากคำพิพากษาออกมาว่า การท่าเรือฯ ไม่มีภาระในการชำระค่าภาษีฯ สำนักงานเทศบาลฯ จะคืนค่าภาษีฯ ดังกล่าวให้ภายหลัง ขณะนี้การท่าเรือฯ กำลังรวบรวมค่าภาษีฯ ปี 2545 จากผู้ประกอบการเพื่อนำไปชำระให้สำนักงานเทศบาลฯ ต่อไป82 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551สำหรับในปี 2551 สำนักงานเทศบาลฯ ได้แจ้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของท่า บี 1 ถึง บี 4ดังนี้ 7.8, 9.6, 9.6, 9.6 ล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราที่ได้ลดหย่อนแล้ว เพื่อให้ไปชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งรายการประเมิน โดยผู้ประกอบการท่าเทียบเรือขอให้การท่าเรือฯ ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายเนื่องจากยังเห็นว่าหลักเกณฑ์การประเมินค่าภาษีฯ ดังกล่าวยังมีความคลาดเคลื่อน การท่าเรือฯ ได้อุทธรณ์ภาษีปี 2551 ต่อสำนักงานเทศบาลฯ ซึ่งสำนักงานเทศบาลฯ ยังคงยืนยันราคาประเมินถูกต้องผู้ประกอบการท่าเรือ บี 1 ถึง บี 4 จึงชำระค่าภาษีต่อสำนักงานเทศบาลฯ และได้ยื่นฟ้องสำนักงานเทศบาลฯ ต่อศาลภาษีอากรกลาง เนื่องจากผู้ประกอบการเป็นผู้มีภาระในการชำระค่าภาษีตามสัญญา จึงเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและเป็นผู้เสียหายพิเศษ ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาดังนี้ท่า บี 1 กำหนดค่าภาษี 4,538,910.00 บาท คืนเงิน 3,356,355.43 บาทท่า บี 2 กำหนดค่าภาษี 4,535,439.43 บาท คืนเงิน 5,081,285.69 บาทท่า บี 3 กำหนดค่าภาษี 5,687,096.02 บาท คืนเงิน 3,929,629.10 บาทท่า บี 4 กำหนดค่าภาษี 5,687,096.02 บาท คืนเงิน 3,929,629.10 บาทคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลสูงสำหรับในส่วนของการท่าเรือฯ นั้น ได้เสนอขอลดหย่อนค่าภาษีฯ ปี 2551 ต่อคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา31 พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือน พ.ศ.2475 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า ศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วจึงขอถอนเรื่องคืนไปก่อน ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติให้ถอนเรื่องคืนตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแจ้งสำหรับภาษีโรงเรือนและที่ดิน ปี <strong>2552</strong> นั้น สำนักงานเทศบาลฯ ได้ประเมินค่าภาษีฯ ท่า บี 1 เป็นเงิน10.9 ล้านบาท และท่า บี 2 ถึง บี 4 ท่าละ 13.3 ล้านบาท ซึ ่งผู ้ประกอบการได้ชำระค่าภาษีฯ เต็มตามจำนวนต่อสำนักงานเทศบาลฯ แล้วและเตรียมยื่นฟ้องสำนักงานเทศบาลฯ ต่อศาลภาษีอากรกลาง ใน 2 ประเด็น กล่าวคือ ประเด็นแรก สัญญาระหว่างผู้ประกอบการ กับการท่าเรือฯ มิใช่สัญญาเช่า จึงไม่มีภาระการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน และประเด็นที่ 2 หากการท่าเรือฯ ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก็ควรจะเสียภาษีเป็นเงิน ท่าละ 4,538,910.00 บาท ตามอัตราที่การท่าเรือฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อสำนักงานเทศบาลฯ ปี <strong>2552</strong> ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลการอุทธรณ์การประเมินจากสำนักงานเทศบาลฯ 3.27.2 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นณ วันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> มีคดีที่การท่าเรือฯ ถูกฟ้องร้อง จำนวน 26 คดี ทุนทรัพย์ จำนวน 1,910.04 ล้านบาทซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล มีรายละเอียดดังนี้หน่วย : ล้านบาท จำนวนคดี ทุนทรัพย์ศาลชั้นต้น 16 1,590.56ศาลอุทธรณ์ 3 14.12ศาลฎีกา 7 305.36 รวม 26 1,910.04รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 83


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551คดีที่การท่าเรือฯ ถูกฟ้อง และอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล คดีที่มีทุนทรัพย์สูง ดังนี้3.27.2.1 บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเป็นคดีข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 53/2550 ระหว่างบริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจำกัด (มหาชน) ผู้เสนอข้อพิพาท กับ การท่าเรือฯ ผู้คัดค้าน ทุนทรัพย์ จำนวน 927.68 ล้านบาท กรณีบริษัทฯ ทำสัญญากับการท่าเรือฯในการลงทุนก่อสร้างโครงการโรงบำบัดของเสียปนน้ำมันจากเรือบนพื้นที่บนบก จำนวน 15 ไร่ และพื้นที่วางท่ออีก 250 ตารางเมตรโดยมีบันทึกการรับมอบพื้นที่จากการท่าเรือฯ ไปครบถ้วนตามสัญญาเรียบร้อยแล้ว ต่อมาในระหว่างการก่อสร้างโครงการ บริษัทฯ ขอให้การท่าเรือฯ ดำเนินการให้ผู้บุกรุกพื้นที่ก่อสร้างออกจากพื้นที่ตามสัญญา ซึ่งการท่าเรือฯ ได้ดำเนินคดีอาญากับผู้บุกรุกดังกล่าวแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการฟ้องขับไล่ บริษัทฯ เห็นว่าเกิดความเสียหายกับบริษัทฯ ที่ไม่สามารถเข้าใช้พื้นที่ได้ จึงบอกเลิกสัญญากับการท่าเรือฯ และเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ ปัจจุบันคู่กรณีได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการของแต่ละฝ่ายเสนอสถาบันอนุญาโตตุลาการแล้ว อยู ่ระหว่างการพิจารณา ปัจจุบันคู ่กรณีนัดหมายที ่จะมีการเจรจาเพื ่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกันหากสามารถยุติคดีได้3.27.2.2 บริษัท สหายสันต์ จำกัด ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เป็นคดีข้อพิพาทหมายเลขดำที ่ 70/2546 ระหว่างบริษัท สหายสันต์ จำกัด ผู ้เสนอข้อพิพาท กับ การท่าเรือฯ ผู ้คัดค้าน ทุนทรัพย์ จำนวน 171 ล้านบาทกรณีการท่าเรือฯ ได้ว่าจ้างบริษัท สหายสันต์ จำกัด ให้เป็นผู้รับจ้างเหมาสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าชนิดเดินบนรางขนาดไม่น้อยกว่า 40เมตริกตัน จำนวน 2 คัน เมื่อได้ลงนามในสัญญาจ้างต่อกันแล้ว แต่ภายหลังบริษัทฯ มีหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างเหตุ1. บริษัทฯ ขอเปลี่ยนกลุ่มบริษัทร่วมทุน 2. บริษัทฯ ขอเปลี่ยนตราอักษรการควบคุม 3. บริษัทฯ ขอเปลี่ยนหนังสือสัญญาค้ำประกันจากเดิมไม่มีกำหนดเวลาค้ำประกัน เป็นมีกำหนดเวลาค้ำประกัน การท่าเรือฯ ไม่ยินยอมตามเหตุอ้างถือว่า ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาการท่าเรือฯ ไม่จ่ายค่าจ้างงวดแรกให้แก่บริษัทฯ ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้บอกเลิกสัญญาและนำคดีฟ้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการการท่าเรือฯ ได้มอบอำนาจให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้แก้ต่างคดีแทน ปัจจุบันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการของแต่ละฝ่ายแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเลือกประธานอนุญาโตตุลาการ เพื่อดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไป3.27.2.3 บริษัท เอ ไอ จี ยุโรป เอส เอ จำกัด เป็นโจทก์ ฟ้องการท่าเรือฯ ต่อศาลแพ่ง กรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่9624/2544 ทุนทรัพย์ จำนวน 19.30 ล้านบาท กรณีพนักงานขับรถยกสินค้าของการท่าเรือฯ ได้ยกสินค้าประเภทเครื ่องพิมพ์อันประกอบด้วยเครื่องพิมพ์ และส่วนประกอบหลายหน่วย แยก บรรจุในลังไม้ จำนวน 10 ลัง ของบริษัท เอ ไอ จี ยุโรป เอส เอ จำกัด ตกเสียหายเฉพาะเครื่องพิมพ์หน่วยที่ 1 แต่โจทก์ฟ้องร้องให้การท่าเรือฯ ชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับสินค้าพิพาททั้งหมดเสียหายโดยสิ้นเชิง การท่าเรือฯได้มอบอำนาจให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้แก้ต่างคดีแทน ปัจจุบันศาลฎีกามีคำสั่งให้จำเลยร่วมถอนฎีกาและจำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยร่วมออกจากสาระบบความ และศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้กำหนดนัดไกล่เกลี่ยวันที่ 16 มีนาคม 25533.27.2.4 บริษัท โอเวอร์ซีฟิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นโจทก์ ฟ้องการท่าเรือฯที่ศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขดำที่ 3285/2544 ทุนทรัพย์ จำนวน 203.41 ล้านบาท กรณีการท่าเรือฯ ประกาศ ประกวดราคาจ้างเอกชนบริหารจัดการท่าเทียบเรือตู้สินค้า ซี 3 ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งคณะกรรมการการท่าเรือฯ เห็นชอบให้บริษัท โอเวอร์ซีฟิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้รับคัดเลือกให้บริหารท่าเทียบเรือ ซี 3 แต่ต่อมาคณะกรรมการการท่าเรือฯ ชุดใหม่ได้มีมติให้ระงับการลงนามในสัญญากับบริษัทฯ เนื ่องจากตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ต้องเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนครบถ้วนแล้วจึงจะทำสัญญาได้ แต่บริษัทฯ ยังไม่ได้ดำเนินการ จึงเป็นการขัดต่อกฎหมายการท่าเรือฯ จึงยกเลิกการประกาศประกวดราคาและไม่พิจารณาผู้ยื่นซองประกวดราคารายใด เป็นผลให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อน การท่าเรือฯ ได้มอบอำนาจให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู ้แก้ต่างคดีแทน ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้การท่าเรือฯ ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 6.57 ล้านบาทการท่าเรือฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ปัจจุบันคดีอยู่ในขั้นพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด84 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25513.27.2.5 บริษัท เอแอนด์มารีน จำกัด เป็นโจทก์ฟ้องการท่าเรือฯ ที ่ศาลปกครองกลางคดีหมายเลขดำที ่ 355/2550ทุนทรัพย์ 66.62 ล้านบาท กรณีการท่าเรือฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายระบบแจ้งข้อมูลเรืออัตโนมัติพร้อมติดตั้งจาก บริษัท เอแอนด์มารีนจำกัด ต่อมาเมื่อการท่าเรือฯ ได้ตรวจรับงานดังกล่าวพบว่าอุปกรณ์และการทำงานของระบบไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา จึงถือว่าบริษัทฯ ยังไม่ได้ส่งมอบงาน การท่าเรือฯ จึงบอกเลิกสัญญาและแจ้งริบหลักประกันสัญญา หลังจากบริษัทฯ ได้รับหนังสือจากการท่าเรือฯ แล้ว บริษัทฯ ปฏิเสธการบอกเลิกสัญญา และขอให้พิจารณาอนุมัติให้เปลี่ยนสิ่งของตามที่บริษัทฯ เสนอกับทำการตรวจรับมอบงานตามสัญญา และได้นำเรื ่องฟ้องต่อศาลปกครองกลาง การท่าเรือฯ ได้มอบอำนาจให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู ้แก้ต่างคดีแทนปัจจุบันคดีอยู่ในขั้นพิจารณาของศาลปกครองกลาง 3.27.2.6 กรมศุลกากร เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องการท่าเรือฯ เป็นจำเลย ทุนทรัพย์ 13.53 ล้านบาท โดยกรมศุลกากรฟ้องการท่าเรือฯ ให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันทัณฑ์บนเนื่องจากเหตุเพลิงไหม้โรงพักสินค้าดังนี้1. เพลิงไหม้ รส.7 (เสริม) เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2519 กรมศุลกากรเรียกร้องค่าเสียหายเท่ากับค่าภาษีอากรที่ไม่อาจเรียกเก็บจากสินค้าที่ถูกเพลิงไหม้ 13.38 ล้านบาท2. เพลิงไหม้ตู้สินค้า รส.6 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2534 กรมศุลกากรเรียกร้องค่าเสียหายเท่ากับค่าภาษีอากรที่ไม่อาจเรียกเก็บจากสินค้าที่ถูกเพลิงไหม้ 149,966.00 บาทการท่าเรือฯ ได้ปฏิเสธการชดใช้ค่าเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ต่อกรมศุลกากรตลอดมา การท่าเรือฯ เห็นว่าเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ทุกครั้งเป็นเหตุสุดวิสัย ปัจจุบันคดียังอยู่ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการชี้ขาดในการยุติการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งคณะกรรมการฯ ยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้กับกรมศุลกากรหรือไม่3.27.2.7 นางสาวกรรณิกา บุญโยธา กับพวกรวม 404 คน เป็นโจทก์ยื ่นฟ้องการท่าเรือฯ ต่อศาลแพ่ง คดีหมายเลขดำที่ 2280/<strong>2552</strong> กรณีโจทก์ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เช่าตลาดคลองเตยของ การท่าเรือฯ ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว แต่ไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่าโดยอ้างว่าสัญญาเช่าที่การท่าเรือฯ ให้บริษัท ลีเกิ้ล โปรเฟสชั่นแนล จำกัด มาเช่าต่อจากโจทก์เป็นสัญญาเช่าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำนวนทุนทรัพย์ 64.64 ล้านบาท การท่าเรือฯ ได้ส่งเรื่องขอความอนุเคราะห์สำนักงานอัยการแก้ต่างคดี และพนักงานอัยการได้ทำคำให้การแก้ต่างคดีให้แก่การท่าเรือฯ แล้ว ต่อมาพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลปกครองกลางหรือไม่ และศาลนัดฟังความเห็นของศาลว่าคดีอยู ่ในอำนาจของศาลแพ่งหรือศาลปกครองกลาง ในวันที ่ 26 มีนาคม 2553 3.27.2.8 นายระวัง อินทรกล่อม กับพวกรวม 37 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องการท่าเรือฯ จำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ 4291-4327/47, 5518-5546/49 จำนวนทุนทรัพย์ 93.81 ล้านบาท กรณีพนักงานการท่าเรือฯ โจทก์ กล่าวหาการท่าเรือฯ ว่าได้จ่ายเงินค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดไม่ชอบด้วยกฎหมายแรงงาน ศาลแรงงานกลางยกฟ้อง โจทก์ถอนฟ้องเหลือ 29 คน อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีในส่วนค่าล่วงเวลาในวันทำงาน ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ไปตามรูปความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243 (3) (ข) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ศาลแรงงานกลางพิพากษาเมื ่อวันที ่ 28 มกราคม 2553 ให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ทั ้ง 29 คน รวมเป็นเงิน 24.21 ล้านบาท ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการท่าเรือฯ ขอความอนุเคราะห์พนักงานอัยการทำคำอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาเพื่อต่อรองค่าเสียหายรายงานประจำปี <strong>2552</strong> 85


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 25513.27.2.9 บริษัท ไทยอัมพ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด กับพวกรวม 2 คน ผู้เรียกร้อง ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ ให้การท่าเรือฯ ผู้คัดค้าน ตามคดีหมายเลขดำที่ 14/<strong>2552</strong> ชำระค่าเสียหาย กรณี บริษัทฯ ผู้เรียกร้องกล่าวหาการท่าเรือฯ ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาสร้างปั้นจั่นชนิดเดินบนราง จำนวน 2 คัน และให้การท่าเรือฯ ชำระเงิน จำนวนทุนทรัพย์ 324.82 ล้านบาท การท่าเรือฯ ได้ขอความอนุเคราะห์พนักงานอัยการแก้ต่างคดีแทนการท่าเรือฯ และ ปัจจุบันอยู่ระหว่างนัดสืบพยาน วันที่ 21 พฤษภาคม 2553 และวันที่ 4, 11, 18 มิถุนายน 25533.28 การแปรรูปกิจการการท่าเรือฯ ได้มีหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ กทท.0800/3690 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2546เพื่อขอขยายระยะเวลาการแปรรูปออกไปจนกว่าการท่าเรือฯ จะมีความพร้อมในด้านโครงสร้างองค์กร การบริหารจัดการบุคลากรและการเงิน จึงจะดำเนินการแปรรูปให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลต่อไป ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่15 ธันวาคม 2546 และกระทรวงคมนาคมมีหนังสือถึงกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาแล้วตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ คค 0805.3/9362ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2546สำหรับการดำเนินการเพื่อให้การท่าเรือฯ มีความพร้อมนั้น การท่าเรือฯ จะดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร โดยการจัดตั้งบริษัทจำกัดขึ้น เพื่อดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการท่าเรือ อันเป็นการสร้างรายได้เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้องค์กร ซึ่งการท่าเรือฯได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ รวมทั้งจัดทำแผนธุรกิจของบริษัทลูก จำนวน 7 บริษัท โดยที่ปรึกษาได้ส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว แต่การท่าเรือฯ ได้เสนอขออนุมัติจัดตั้งบริษัทลูกที่เห็นว่ามีความพร้อมก่อน จำนวน 3 บริษัท ประกอบด้วยบริษัท กทท. โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท บริหารสินทรัพย์ จำกัด และ บริษัท ท่าเรือภูมิภาค จำกัด ต่อกระทรวงคมนาคมแล้ว แต่เนื่องจากระยะเวลาได้ล่วงเลยมาพอสมควร กระทรวงคมนาคมจึงขอให้การท่าเรือฯ พิจารณาทบทวนอีกครั้ง ซึ่งคณะกรรมการฝ่ายบริหารการท่าเรือฯ มีมติที่ประชุมครั้งที่ 5/2548 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2548 ให้การท่าเรือฯ ดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรในเชิงธุรกิจ โดยให้จัดตั้งหน่วยธุรกิจ จำนวน 5 หน่วยธุรกิจ คือ ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือภูมิภาค โลจิสติกส์ และบริหารสินทรัพย์ เพื่อเตรียมความพร้อมตามนโยบายการแปรรูปองค์กร ซึ่งขณะนี้การท่าเรือฯ อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยธุรกิจดังกล่าว3.29 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้วการท่าเรือฯ และพนักงานการท่าเรือฯ ได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการท่าเรือฯ ซึ่งจดทะเบียนแล้วตามทะเบียนเลขที่ 4/2548 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2548 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมทรัพย์และเพื่อเป็นสวัสดิการและหลักประกันแก่พนักงานที่เป็นสมาชิกและครอบครัวในกรณีที่พนักงานตายหรือลาออกจากงานหรือลาออกจากกองทุนฯ การเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ ให้เป็นไปตามความสมัครใจ การดำเนินการของกองทุนฯจะต้องเป็นไปตามข้อบังคับของกองทุนฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้ให้ความเห็นชอบไว้กองทุนฯ เริ ่มรับสมัครพนักงานเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯ ตั ้งแต่วันที ่ 1 กรกฎาคม 2548 ถึงวันที ่ 30 กันยายน 2548 เป็นกลุ ่มแรกและมติคณะกรรมการการท่าเรือฯ ครั้งที่ 14/2548 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 ได้อนุมัติให้พนักงานสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนฯเพิ่มเติมตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 โดยได้รับสิทธิภายใต้หลักเกณฑ์เดียวกับกลุ่มแรกเป็นกรณีพิเศษซึ่งผู้สมัครในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งสองกลุ่ม จะได้รับเงินเพิ่มพิเศษตอบแทนตามมาตรการจูงใจจากการท่าเรือฯ เป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 10 ของอัตราเงินเดือน ณ เดือนที่กองทุนฯ รับเข้าเป็นสมาชิกในจำนวนคงที่ จนถึงวันที่พ้นจากสมาชิกภาพของกองทุนฯ และได้รับสิทธิในการคำนวณเงินประเดิมและเงินเพิ่มพิเศษจากฐานของเงินเดือนปีงบประมาณ 2549 โดยการท่าเรือฯ เป็นผู้รับภาระภาษีให้กับพนักงานที่นำเงินประเดิมมาหักชำระหนี้ตามมาตรการปลดหนี้ในโครงการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของการท่าเรือฯ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ณ วันที ่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> มีพนักงานสมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี ้ยงชีพของการท่าเรือฯ มี จำนวน 1,737 ราย86 การท่าเรือแห่งประเทศไทย


หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน <strong>2552</strong> และ 2551ตามข้อบังคับกองทุนฯ กำหนดให้สมาชิกต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนฯ ในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละห้าของเงินเดือน แต่ต้องไม่เกินอัตราเงินสมทบที่การท่าเรือฯ จ่าย และให้การท่าเรือฯ จ่ายสมทบเข้ากองทุนฯ ในอัตราร้อยละห้าถึงร้อยละสิบสองของเงินเดือนตามอายุงาน ซึ่งในงวดปี <strong>2552</strong> การท่าเรือฯ ได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ จำนวน 77.45 ล้านบาท 3.30 โครงการพัฒนาตลาดคลองเตยตลาดคลองเตยตั้งอยู่บริเวณถนนสุนทรโกษา แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร มีขนาดพื้นที่รวม 10 ไร่ 72 ตารางวา ตลาดคลองเตยแบ่งออกเป็น 5 ตลาด โดยมี บริษัท วัฒนอาคาร จำกัด บริษัท โซวเคี่ยมเส็ง จำกัด และ สหกรณ์เครดิตยูเนียนชุมชนพัฒนาคลองเตย 79 จำกัด เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเดิมกับการท่าเรือฯ ซึ่งสัญญาเช่าสิ้นสุดเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 การท่าเรือฯ ได้รับแจ้งจากกรมควบคุมมลพิษให้ก่อสร้างหรือติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสียที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการท่าเรือฯ ต้องถือปฏิบัติและเห็นว่าที่ผ่านมาตลาดคลองเตยมีการพัฒนาน้อยมากเนื่องจากการบริหารในลักษณะผูกขาดเป็นเวลานาน ดังนั้นเพื่อความโปร่งใสในการพัฒนา การท่าเรือฯ จึงเปิดประมูลทั่วไปให้เอกชนมาลงทุนพัฒนาบริหารและประกอบการ โดยได้บริษัท ลีเกิ้ล โปรเฟสชั่นแนล จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาสูงสุดวงเงิน 613.59 ล้านบาท ต่อระยะเวลาประกอบการ 10 ปี แต่กลุ่มผู้บริหารตลาดคลองเตยเดิม ผู้แทนชุมชนและผู้ค้าขายรายย่อยได้คัดค้านการประมูลของการท่าเรือฯ โดยขอต่อสัญญาเช่าออกไปอีก การท่าเรือฯ ไม่สามารถดำเนินการให้ได้ ซึ่งได้ทำความเข้าใจให้ทราบถึงเจตนาในการพัฒนาตลาด โดยคำนึงถึงการพัฒนาให้ตลาดคลองเตยมีความทันสมัยถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ตลอดจนการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนให้ดีขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ค้า ผู้บริโภค และชุมชนโดยรวม ปัจจุบันยังคงมีการคัดค้านการพัฒนาตลาดคลองเตยอยู่ ซึ่งการท่าเรือฯ กำลังดำเนินการทำความเข้าใจกับผู้แทนชุมชนและผู้ค้าขายรายย่อยต่อไปสำหรับข้อพิพาทระหว่างกลุ่มผู้ค้ารายย่อย กับ บริษัท ลีเกิ้ล โปรเฟสชั่นแนล จำกัด และการท่าเรือฯ นั้น อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง ซึ่งผู้เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดต่อไป3.31 ค่าปรับงานจ้างเหมาสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าชนิดเดินบนรางการท่าเรือฯ ได้ทำสัญญาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 จ้างเหมาสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าชนิดเดินบนราง (RailMounted Shore Side Gantry Crane) ขนาดยกน้ำหนักไม่น้อยกว่า 40 เมตริกตัน จำนวน 2 คัน กับกิจการร่วมค้ากลุ่มบริษัท PAOLO DENICOLA SPA และบริษัท ไทรอัมฟ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 กลุ่มบริษัทฯ ได้ส่งมอบปั้นจั่นยกตู้สินค้า จำนวน2 คัน คณะกรรมการตรวจการจ้างฯ ได้ตรวจรับงานงวดที่ 4 และงวดที่ 5 เป็นมูลค่างานรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 139.96 ล้านบาท ได้หักค่าปรับจากการส่งมอบงานล่าช้าเป็นมูลค่ารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 88.87 ล้านบาท กลุ่มบริษัทฯ ไม่ยินยอมโดยไม่ส่งเอกสารยินยอมให้มีการปรับให้กับการท่าเรือฯ การท่าเรือฯ จึงได้นำเงินค่าปรับดังกล่าวบันทึกในบัญชีเงินฝากเพื่อถอนคืน และเมื่อวันที่ 2 มีนาคม <strong>2552</strong> กลุ่มบริษัทฯ ได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้พิจารณา การท่าเรือฯ ได้มอบให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้แก้ต่างคดีแทน ปัจจุบันอยู่ระหว่างสืบพยาน วันที่ 21 พฤษภาคม 2553 และวันที่ 4 ,11,18 มิถุนายน 2553 3.32 เหตุการณ์สารเคมีรั่วที่ท่าเรือแหลมฉบังเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน <strong>2552</strong> เวลาประมาณ 16.00 น. ที่บริเวณท่าเทียบเรือ B3 ภายในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง โดยมีบริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด หรือ ESCO เป็นผู้รับสัมปทานบริหาร เกิดเหตุสารเคมีฟุ้งกระจายในบริเวณใกล้เคียงโดยสารเคมีที่รั่วไหลเป็นสารเคมีโซเดียมเปอร์ซัลเฟต (Sodium persulfate) หรือสารฟอกขาวมีปริมาณ 9,142 กิโลกรัม บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ ขนาด 40 ฟุต นำเข้าโดยบริษัท YAMAHATSU (THAILAND) จำกัด เกิดการรั่วไหลบางส่วน มีการฟุ้งกระจายของควันจากสารเคมีที่ลุกไหม้มีปริมาณไม่มาก โดยสันนิษฐานว่าเกิดจากซองบรรจุภัณฑ์ฉีกขาดหรือมีเศษสารเคมีตกหล่นอยู่นอกซองบรรจุภัณฑ์เมื่อสัมผัสความชื้นในบรรยากาศจึงเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้เกิดความร้อนจนถึงจุดติดไฟท่าเรือแหลมฉบังได้บริจาคเงินเพื ่อช่วยเหลือแก่ผู ้ที ่ได้รับผลกระทบที ่อาศัยอยู ่ในหมู ่บ้านแหลมฉบังจำนวน 248 ครอบครัวๆ ละ5,000.00 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 1,240,000.00 บาท รายงานประจำปี <strong>2552</strong> 87


88 การท่าเรือแห่งประเทศไทย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!