12.07.2015 Views

TNSC Newsletter : October 2012 Vol.2

TNSC Newsletter : October 2012 Vol.2

TNSC Newsletter : October 2012 Vol.2

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

➔<strong>TNSC</strong> MOVEMENT6SEMINAR ON “FREIGHT MANAGEMENT :PRACTICE ON SEA FREIGHT”เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา สภาผู้ส่งออกฯ ได้ร่วมมือกับสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯ จัดสัมมนาหัวข้อ “FreightManagement : Practice on Sea Freight” โดยได้รับเกียรติจากประธานสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ คุณสุวัฒน์ อัศวทองกุลผู้จัดการสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ คุณเหรียญ วรพิพัฒน์กำธร และรองผู้อำนวยการบริหารสภาผู้ส่งออกฯ คุณคงฤทธิ์ จันทริกให้เกียรติเป็นวิทยากร และได้นำเสนอแนวทางที่ถูกต้องในการใช้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลในหลายประการสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในตลาดโลกปัจจุบันได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจใน Eurozone และสภาพเศรษฐกิจจีนที่เริ่มตกต่ำจากยอดการส่งออกที่เติบโตลดน้อยลง ทำให้การส่งออกของไทยมีการเติบโตได้มากที่สุดเพียง 5.9% ในปี <strong>2012</strong> และอาจได้รับผลกระทบต่อเนื่องไปในปี 2013 ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสายเรือได้รับผลกระทบและมีการจอดเรือไว้เฉยๆ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างDemand & Supply ในตลาดขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศและมีการเรียกเก็บค่า Surcharge ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนการใช้บริการ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่ตู้สินค้าอาจมีไม่เพียงพอ ในการขนส่งเพราะสายเรือมีการนำเข้าตู้เปล่ามาสำรองลดน้อยลง และผู้ใช้บริการต้องหันไปพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมโลจิสติกส์ในองค์กรโดยต้องมีการคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีประสิทธิภาพตรงตามหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางทะเล (รางวัล Best ContainerLiner Award) ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องของการให้บริการก่อนการขายค่าระวาง ความตรงต่อเวลา บริการหลังการขาย คุณภาพการขนส่ง และความต้องการเฉพาะด้านของบริษัท โดยต่อรองต้นทุนการให้บริการในระดับราคาที่เหมาะสมกับบริการที่เราต้องการในการติดต่อใช้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ผู้ใช้บริการต้องทำความเข้าใจถึงความพร้อมและความสามารถในการให้บริการของผู้ให้บริการ / สายเรือ โดยในปัจจุบันสามารถติดต่อใช้บริการได้ทั้งการโทรศัพท์ การส่งโทรสาร และการติดต่อผ่านระบบ Internet บนWebsite ของบริษัท / สายเรือ แต่ละแห่ง และต้องมีการให้ข้อมูลที่สำคัญของสินค้าและความต้องการใช้บริการอย่างชัดเจนแก่สายเรือ เพื่อให้สามารถคำนวณราคาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งสายเรือส่วนใหญ่จะมีการกำหนดBasic Ocean Freight ตามขนาดของตู้ 20’/40’/40’HC และมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มที่สำคัญ อาทิ Currency Adjustment Factor,Bunker Adjustment Factor, Peak Season Surcharge เป็นต้นรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการยกขนสินค้า (Terminal Handling Charge) และค่าใช้จ่าย Local Charge ที่อาจเรียกเก็บได้ทั้งต้นทางและปลายทางทั้งนี้ มีข้อแนะนำสำคัญสำหรับการใช้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยตรงกับสายเรือเพิ่มเติม อาทิ• ให้พยายามหลีกเลี่ยงการขนส่งสินค้าในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของแต่ละเดือน เนื่องจากมักเกิดเหตุการณ์ Overbooking คือมีสินค้าต้องการใช้บริการ 120% จากความจุของเรือ จึงทำให้สินค้าตกเรือ โดยเฉพาะสินค้าหนักซึ่งจะถูกตัดออกเป็นลำดับแรก และแนะนำให้มีการใช้บริการขนส่งสินค้าในสัปดาห์ที่ 1 - 2 ของแต่ละเดือนจะทำให้สามารถต่อรองราคาได้ดีกว่า• เนื่องจากสินค้าจำนวนมากที่ขนส่งจากประเทศไทยเป็นสินค้าหนักทำให้การใช้บริการผ่านท่าเรือคลองเตยมีปัญหาเรื่องน้ำหนักการบรรทุกของเรือในการผ่านสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา จึงควรใช้บริการส่งออกผ่านท่าเรือแหลมฉบัง จะทำให้มีโอกาสที่สินค้าตกเรือน้อยกว่า เป็นต้นนอกจากนี้ วิทยากรได้มีการนำเสนอแนวทางการดำเนินการที่สำคัญ อาทิการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์และการบรรจุสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์การตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าที่ได้รับ และการเคลมกรณีเกิดความเสียหายกับสินค้า เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อมูลและแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญในการใช้บริการขนส่งสินค้าทางทะเลให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรอนึ่ง สมาชิกที่สนใจข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถ Downloadเอกสารประกอบการสัมมนา และสามารถติดตามความคืบหน้าการจัดสัมมนาหัวข้อ “Freight Management : Practice on Sea Freight”ในครั้งต่อไป ได้จาก www.tnsc.comEXPORT CORNERมูลค่าการส่งออกของไทยในเดือนสิงหาคม 2555 เท่ากับ 19,750.20ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยลดลง 6.95% ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 621,324.20ล้านบาท ลดลง 1.44% เนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจยุโรปและการลุกลามของปัญหาซึ่งส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าของไทยในเกือบทุกตลาด โดยการส่งออกที่ลดลงดังกล่าว ได้ส่งผลทำให้มูลค่าการส่งออกในระยะ 8 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-ส.ค.) มีการเติบโตติดลบ โดยมีมูลค่าเพียง 151,559.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง 1.31% ในรูปเงินบาท มีมูลค่า 4,698,200.30 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 1.72%ทั้งนี้ สภาผู้ส่งออกฯ ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ส่งออกทั้งปีจาก 5.9% เหลือเพียง 4.6% ซึ่งประเมินจากการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น World Bank หรือ IMF ที่คาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจโลกอยู่ในระดับ 2.5-3.5% เท่านั้น เช่นเดียวกับที่ผู้ส่งออกจากหลายอุตสาหกรรม คาดการณ์การส่งออกโดยรวมที่2.6% เท่านั้น โดยสถานการณ์ส่งออกในไตรมาสที่ 4 อาจจะจะเพิ่มขึ้นเพียง 3.5% เนื่องจากปัจจัยกดดันด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวทำให้ลูกค้าหลายรายมีการกดราคาสินค้าเช่น อุตสาหกรรมไก่สด แม้ว่าจะได้รับอนุญาตให้ส่งไก่สดเข้าสู่สหภาพยุโรปได้แล้ว แต่ราคายังคงต่ำ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้มากนัก แม้ว่าผู้ประกอบการจะสามารถฟื้นฟูกำลังการผลิตได้เต็มที่จากสถานการณ์น้ำท่วมก็ตามอย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกยังคงมีทัศนคติที่ดีต่อแนวโน้มการส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 4 เนื่องจากคาดการณ์คำสั่งซื้อในช่วงปลายปีที่มีเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่จะทำให้ยอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น แต่อยากให้รัฐบาลมีนโยบายด้านการเงินเพื่อช่วยลดความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยนและลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการ รวมทั้งขอให้รัฐดำเนินมาตรการช่วยเหลือด้านภาษีที่ผู้ส่งออกเคยเสนอไว้ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!