08.06.2013 Views

ธรรมะใกล้ตัว

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

dharma at hand<br />

Free Online Magazine<br />

ธรรมะสำหรับคนยุคใหม่ ที่อยู่ใกล้แค่เอื้อม<br />

http://dungtrin.com/dharmaathand/<br />

ฉบับที่<br />

๐๗๑<br />

๒๕ มิ.ย. ๕๒


ธรรมะจากพระผู้รู้<br />

๘<br />

ไดอารี่หมอดู<br />

๑๑<br />

คำคมชวนคิด ๑๕<br />

สัพเพเหระธรรม ๑๗<br />

• ตัวกู ของกู<br />

เรื่องสั้นอิงธรรมะ<br />

๑๘<br />

• ความรักนอกกำมือ<br />

รูปชวนคิด ๒๘<br />

พาเที่ยว<br />

เอี่ยวธรรม<br />

๓๒<br />

• แสงประทีปแห่งธรรมโชติช่วงบนยอดเขาที่เกาะสมุย<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

dharma at hand<br />

ที่ปรึกษาและผู้จุดประกาย: ศรันย์ ไมตรีเวช<br />

หัวหน้าบรรณาธิการ<br />

จากใจบ.ก.ใกล้ตัว: อลิสา ฉัตรานนท์<br />

ธรรมะจากพระผู้รู้: อนัญญา เรืองมา<br />

เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว: อนัญญา เรืองมา<br />

เขียนคนให้เป็นเทวดา: อนัญญา เรืองมา<br />

ไดอารี่หมอดู: จรินทร์ธร ธนชัยหิรัญศิริ<br />

กวีธรรม: ศิราภรณ์ อภิรัฐ<br />

คำคมชวนคิด: ศิราภรณ์ อภิรัฐ<br />

สัพเพเหระธรรม: ชนินทร์ อารีหนู<br />

ธรรมะจากคนสู้กิเลส: พราวพรรณราย<br />

มัลลิกะมาลย์ ทองเลี่ยมนาค<br />

ของฝากจากหมอ: พริม ทัพวงศ์<br />

แง่คิดจากหนัง: เกสรา เติมสินวาณิช<br />

นิยาย/เรื่องสั้นอิงธรรมะ: สุปราณี วอง<br />

เที่ยววัด: เกสรา เติมสินวาณิช<br />

ธรรมะปฏิบัติ: ชนินทร์ อารีหนู<br />

ธรรมะกับไลฟ์สไตล์: ศดานันท์ จารุพูนผล<br />

กองบรรณาธิการ: กนกเรขา กฤษฎารักษ์<br />

กานต์พัทธ์ รัชพันธ • กิษรา รัตนาภิรัต<br />

จรินทร์ธร ธนชัยหิรัญศิริ • ชนินทร์ อารีหนู<br />

ณัฐชญา บุญมานันท์ • ณัฐธีรา ปนิทานเต<br />

ณัฐพร สกุลอุทัยศักดิ ์ • ปรียาภรณ์ เจริญบุตร<br />

ปิยมงคล โชติกเสถียร • พราวพรรณราย<br />

มัลลิกะมาลย์ ทองเลี่ยมนาค<br />

พรหมเนตร สมรักษ์ • พิจิตรา โตวิวิชญ์<br />

พิทา จารุพูนผล • พีรยสถ์ อุบลวัตร<br />

มยุรฉัตร พงษ์ผาตินันท์ • เมธี ตั ้งตรงจิตร<br />

เยาวลักษณ์ เกิดปราโมทย์ • วรางคณา บุตรดี<br />

วิบูรณ์ศักดิ์ ใจภักดี • วิมล ถาวรวิภาส<br />

วิมุตติยา นิวาดังบงกช • ศดานัน จารุพูนผล<br />

ศศิธร ศิวะนันทากรณ์ • ศิราภรณ์ อภิรัฐ<br />

สมเจตน์ ศฤงคารรัตนะ • สาริณี สาณะเสน<br />

สิทธินันท์ ชนะรัตน์ • สุปราณี วอง<br />

อนัญญ์อร ยิ่งชล • อนัญญา เรืองมา<br />

อมรา ตั้งบริบูรณ์รัตน์ • อัจจนา ผลานุวัตร<br />

ฝ่ายรวบรวมบทความ: สิทธินันท์ ชนะรัตน์<br />

ฝ่ายสื่อเสียงอ่านนิตยสาร: อนุสรณ์ ตรีโสภา<br />

ฝ่ายสื่อเว็บไซต์: สมเจตน์ ศฤงคารรัตนะ<br />

ไพลิน ลายสนิทเสรีกุล • กฤษฎ์ อักษรวงศ์<br />

ฝ่ายสื่อ Word: ชัญญา พันธจารุนิธิ<br />

พีรยสถ์ อุบลวัตร • โสภิต ตันยานนท์<br />

ฝ่ายสื่อ PDF: บุณยศักดิ์ ธีรวงศ์กิจ<br />

เกียรติภูมิ จารุเสน<br />

ฝ่ายระบบ Send mail: สมเจตน์ ศฤงคารรัตนะ<br />

ภาพปก: กวิน ฉัตรานนท์<br />

และทีมงานอาสาท่านอื่นๆ อีกจำนวนมาก<br />

ท่านสามารถรับนิตยสารฉบับนี<br />

้ได้<br />

ในรูปแบบ เสียงอ่าน · Word


จากใจบ.ก.ใกล้ตัว<br />

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน<br />

ในโลกอันน่าสับสนนี้<br />

แค่คุณทำดี<br />

ก็เป็นเหตุให้คนบางคนเกลียดได้แล้ว<br />

และในทางกลับกัน<br />

ถ้าคุณทำเลว<br />

ก็อาจเป็นเหตุให้คนบางคนชื่นชอบได้<br />

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?<br />

เพราะแรงจูงใจของคนเรา<br />

ไม่ได้ขับดันจากความอยากดีหรืออยากเลว<br />

แต่ขับดันมาจากการได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์<br />

ความดีของคุณอาจทำให้ใครบางคนเสียหาย<br />

ขณะที่ความชั่วของคุณอาจทำให้ใครบางคนได้ดี<br />

ความชอบใจหรือไม่ชอบใจเขาตัดสินกันที่ตรงนี้<br />

เสียหายหรือได้ดี<br />

ความเห็นแก่ตัวของคนที่เข้าใจว่าตนเป็นฝ่ายธรรมะ<br />

อาจแปรเป็นความเลวร้ายที่น่าสะพรึงกลัว<br />

เสียยิ่งกว่าความเห็นแก่ตัว<br />

ของคนที่รู้ว่าตนเองเป็นฝ่ายอธรรม<br />

คนที่ตระหนักว่าตนเองเป็นอธรรม<br />

ย่อมทราบว่าทุกการกระทำเป็นไปเพื่อตนเอง<br />

ไม่หลอกตัวเอง ไม่หลอกคนอื่น<br />

ว่ากำลังทำเรื่องเลวร้ายไปเพื่อประสงค์อันใด<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

3


4<br />

แต่หากมีศักดิ์ศรีค้ำคอเสียแล้ว<br />

แปะภาพไว้เสียแล้วว่าตนเป็นฝ่ายธรรมะ<br />

ทุกความเห็นแก่ตัวย่อมถูกห้อมล้อมด้วยเหตุผล<br />

ที่ฟังดูดี<br />

หรือปรุงแต่งให้ดูดี<br />

หลอกตัวเองสำเร็จ หลอกคนอื่นได้แนบเนียน<br />

ว่ากำลังประสงค์ดีแม้จะต้องก่อความเดือดร้อนบ้าง<br />

พระพุทธเจ้าท่านตรัสหลักการป้องกันภัยไว้สามข้อใหญ่<br />

หนึ่งคืออย่าก่อกรรมชั่วเลย<br />

สองคือเร่งสร้างกรรมดีไป<br />

สามคืออย่าติเตียนอริยเจ้า<br />

จากบันทึกในพระไตรปิฎก<br />

เราพอทราบกันได้ว่าวิธีเป็นศัตรูกับพระพุทธเจ้า<br />

มีอยู่<br />

๒ หนทางใหญ่ๆ ได้แก่<br />

๑) มีกรรมสัมพันธ์เชิงลบกับท่านโดยตรง<br />

เช่น พระเทวทัตเคยผูกใจเจ็บพระพุทธเจ้ามาแต่ปางก่อน<br />

๒) ปรามาสอริยสาวก<br />

ในพระอภิธรรมปิฎกชี้ว่า<br />

การปรามาสพระโสดาบัน<br />

จะเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระโสดาบัน<br />

แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระสกทาคามี<br />

แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระอนาคามี<br />

แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระอรหันต์<br />

แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระปัจเจกพุทธเจ้า<br />

แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้คิดประทุษร้ายพระพุทธเจ้าในที่สุด<br />

สรุปคือเพียงพลาดไปปรามาสพระโสดาบัน<br />

ก็โน้มเอียงแล้วที่จะก่ออนันตริยกรรม<br />

เที่ยงที่จะปิดกั้นสวรรค์และนิพพานได้ในที่สุด<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong>


นอกจากนั้น<br />

วิธีเป็นคนนอกศาสนาก็เกิดขึ้นง่าย<br />

แบ่งเป็น ๒ เหตุใหญ่ๆ ได้แก่<br />

๑) คิดค้านแบบไม่ต้องมีเหตุผล<br />

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคัดค้านคำกล่าวอันเป็นโลกุตตระ<br />

หรือทางอันไปสู่มรรคสู่ผลที่ถูกต้อง<br />

๒) ชักชวนคนไปสู่ศาสนาอื่น<br />

ด้วยความเข้าใจว่ามีศาสนาอื่นดีกว่า<br />

หรือเห็นศาสนาพุทธเป็นเพียงลัทธิความเชื่อธรรมดาๆ<br />

ศึกษาแบบลูบคลำ<br />

ไม่ศึกษาโดยแยบคาย<br />

เมื่อเห็นใครจุดไฟเผาเรือน<br />

ควรเอาน้ำเข้าไปช่วยกันสาดให้ไฟดับ<br />

ไม่ควรเอาไฟใหม่ไปเสริมให้โหมกระพือขึ้นอีก<br />

ไฟในปากควรดับด้วยน้ำในปาก<br />

ไฟในใจควรดับด้วยน้ำในใจ<br />

พ้นจากนี้ไฟไม่มีทางสงบครับ<br />

ดังตฤณ<br />

มิถุนายน ๕๒<br />

เรื่องน่าสนใจประจำฉบับ<br />

<br />

แค่รู้<br />

แค่ดู โดยไม่อ่านจากตำรา จะเข้าใจธรรมะแท้ๆ ได้จริงหรือ?<br />

ลองฟังคำถามจากคนไม่มีความรู้ทางปริยัติกันบ้าง<br />

ในคอลัมน์ “ธรรมะจากพระผู้รู้”<br />

ตอน “คำถามจากคุณกาลามชน” ค่ะ _/|\_<br />

กองไฟเผาขยะในวัด เคยกระซิบบอกอะไรคุณไหม?<br />

คอลัมน์ “รูปชวนคิด” ฉบับนี้<br />

จะชวนคุณนั่งดูไฟเผาขยะ<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

5


6<br />

ผ่านเลนส์กล้องและมุมมองของ “คุณดังตฤณ” ค่ะ<br />

ลองดูสิว่า มีใครเคยมองอย่างนี้บ้างไหม<br />

(0_0)<br />

ฟังเสียงกลองแห่งธรรมะ ที่ดังมาไกลจากเกาะกลางทะเล<br />

ใน “แสงประทีปแห่งธรรมโชติช่วงบนยอดเขาที่เกาะสมุย”<br />

โดย “คุณแก้ว” ในคอลัมน์ “พาเที่ยว<br />

เอี่ยวธรรม”<br />

ค่ะ<br />

หากคุณรู้สึก<br />

“รัก” ใครสักคน โดยไม่หวังครอบครอง<br />

พอใจเพียงได้เห็นความสุขฉายในแววตาของเขา<br />

แอบร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขาอยู่เงียบๆ<br />

พลาดไม่ได้เลยกับ “เรื่องสั้น”<br />

หวานๆ ใสๆ<br />

“ความรักนอกกำมือ” โดย “คุณชลนิล” ค่ะ *^_^*<br />

อีกหนึ่งเรื่องเพื่อความเข้าใจในรักที่มากขึ้น<br />

สำหรับคู่รักที่ปล่อยให้ต้นรักเติบโตขึ้นบนความหวาดระแวง<br />

“หมอพีร์” จะมีคำแนะนำดีๆ ให้กับคู่ที่ว่านี้อย่างไรบ้าง<br />

ติดตามได้ในคอลัมน์ “ไดอารี่หมอดู”<br />

ค่ะ<br />

ข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจ<br />

•<br />

•<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

<br />

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช รับนิมนต์สอนกรรมฐาน<br />

ที่วัดบูรพาราม<br />

ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์<br />

วันอาทิตย์ที่<br />

๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๗.๐๐ น.<br />

ใครที่อยู่บริเวณใกล้เคียง<br />

และมีเวลาว่าง ขอเชิญเข้าร่วมฟังธรรมได้ค่ะ _/|\_<br />

แผนที่<br />

: http://i605.photobucket.com/albums/tt133/Yaowalak_K/cb037ea0.gif<br />

ข่าวดีสำหรับผู้มีเพื่อนชาวต่างชาติที่สนใจธรรมะและการปฎิบัติ<br />

และผู้ที่ต้องการเผยแผ่ธรรมะดีๆไปยังต่างแดนนะคะ<br />

ขอแนะนำ ธรรมะในรูปแบบภาษาอังกฤษ ที่เว็บไซต์<br />

http://dhamma.com/


และขออนุโมทนาทุกท่านที ่มีส่วนช่วยกระจายธรรมะไปสู ่วงกว้างยิ ่งๆขึ ้นไปค่ะ<br />

/|\_<br />

• สำหรับใครที่พลาดชมการสัมภาษณ์คุณดังตฤณในรายการ<br />

“ตาสว่าง”<br />

พุธที่<br />

๑๗ มิถุนายน ที่ผ่านมา<br />

สามารถชมคลิปย้อนหลังได้ที่นี่ค่ะ<br />

http://larndham.net/index.php?showtopic=34747&st=0#top<br />

<br />

พบกันใหม่พฤหัสหน้ากับฉบับ Lite ที่<br />

http://www.dlitemag.com นะคะ<br />

สวัสดีค่ะ : )<br />

สารบัญ <br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

7


8<br />

สันตินันท์<br />

(พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)<br />

คุณกาลามชนถาม ...คุณสันตินันท์ตอบ<br />

เมื่อเช้านี้ผมได้รับเมล์ที่น่าอ่านอีกฉบับหนึ่ง<br />

เห็นว่าเป็นประโยชน์<br />

เพราะเป็นตัวอย่างของผู้ไม่มีความรู้ความเข้าใจทางปริยัติ<br />

แต่ธรรมอันเกิดจากการปฏิบัตินั้น<br />

น่าอัศจรรย์เป็นอย่างมาก<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

ธรรมะจากพระผู้รู้<br />

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน<br />

เพื่อนคนนี้คือ<br />

คุณกาลามชน<br />

ซึ่งน้อยครั้งจึงจะเห็นชื่อในห้องสมุดหรือลานธรรม<br />

และไม่เคยเข้ากลุ่มกับใคร<br />

ส่วนมากจะก้มหน้าก้มตาปฏิบัติไปอย่างเงียบๆ เท่านั้น<br />

นานๆ ถึงจะเมล์มาถาม หรือมาคุยกับผมบ้าง ไม่บ่อยนัก<br />

ลองฟังธรรม ของคนไม่มีความรู้ทางปริยัติดูบ้างนะครับ<br />

<br />

กาลามชน<br />

เมื่อก่อนเวลาปฏิบัติ<br />

พอจิตรู้อะไรสักอย่างชัดๆ<br />

จะเกิดความรู้สึกสงสัย<br />

แล้วก็เกิดความคิดวิเคราะห์ว่า<br />

ที่เห็นนั้นคืออะไร<br />

คล้ายกับว่าพอเกิดความรู้ตัว<br />

ก็เกิดนิวรณ์ต่างๆตามมา แต่ไม่รู้ทันนิวรณ์เหล่านั้น<br />

ทำให้การดูจิตไม่ต่อเนื่อง<br />

เมื่อเดือนที่แล้ว<br />

ผมตั้งใจว่าจะต้องมานะปฏิบัติ<br />

ผ่านไปได้สักสัปดาห์หนึ่ง<br />

ก็ไม่ได้ดีขึ้นสักเท่าไร<br />

ตอนหนึ่งเห็นการซัดส่ายของจิตที่บังคับไม่ได้<br />

ตอนนั้นถึงได้เห็นว่าจิตมันรู้อยู่ตลอดเวลา<br />

ถึงแม้จะไม่รู้ตัว<br />

แต่จิตก็รับรู้สิ่งต่างๆ


สันตินันท์<br />

อันนี้ถูกต้องเลยครับ<br />

เราจะมีสติสัมปชัญญะหรือไม่<br />

จิตก็ทำหน้าที่ของเขาอย่างคงเส้นคงว่า<br />

คือทำหน้าที่รู้<br />

แต่รู้โดยมีสติปัญญา<br />

กับรู้ตามกระแสกิเลสต่างหาก<br />

ที่ต่างกัน<br />

สันตินันท์<br />

ครับ<br />

สันตินันท์<br />

ครับ<br />

กาลามชน<br />

แล้วก็เข้าใจว่าลักษณะนี้กระมังที่นิยามว่าจิตคือธรรมชาติรู้<br />

ทำให้เกิดความคิดว่าแต่ก่อนพอจิตรู้อะไรสักอย่างชัดๆ<br />

แล้วทำให้เกิดความอยากที่จะวิเคราะห์ตามมา<br />

จิตที่เป็นต้นเหตุนั้นต้องมีความรู้ตัวอย่างชัดเจน<br />

และเก็บไว้เป็นสัญญาที่ชัดเจนพอจะระลึกวิเคราะห์ได้<br />

ความคิดอยากวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นตามมานั้น<br />

เป็นวิตกวิจารณ์ และจิตไม่รู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้น<br />

กาลามชน<br />

ถ้าจิตที่เป็นต้นเหตุมีความรู้ตัว<br />

ก็น่าจะย่อมมีปัญญาเป็นองค์ประกอบ<br />

ปัญญาในความคิดจึงน่าจะเป็นคนละอย่าง<br />

กับปัญญาที่เป็นองค์ประกอบของจิต<br />

ถ้ารักษาระดับความรู้ตัวให้มีเท่าๆกับจิตที่เป็นต้นเหตุ<br />

ที่ว่านั้นก็น่าจะใช้ได้<br />

กาลามชน<br />

ที่ผ่านมาการปฏิบัติไม่ดีเพราะรู้ไม่เท่าทันนิวรณ์<br />

พอคิดได้เช่นนี้<br />

ก็เกิดความรู้ตัวต่อเนื่องมากขึ้นกว่าเดิม<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

9


10<br />

สันตินันท์<br />

ยินดีด้วยครับ<br />

พอเกิดจิตที่มีความรู้ตัวชัดๆขึ้นมา<br />

ก็เห็นความอยากวิเคราะห์<br />

เห็นความคิดต่างๆที่เกิดขึ้นตามมา<br />

ทำให้การปฏิบัติก็ดีขึ้น<br />

กาลามชน<br />

เวลาผ่านไปจิตเริ่มเห็นสิ่งที่ละเอียดขึ้นซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน<br />

แล้วก็เห็นความคิดอยากวิเคราะห์ที่วุ่นวายเพราะไม่รู้จัก<br />

ก็เลยต้องยอมปล่อยให้เป็นว่ารู้อะไรก็ช่างมัน<br />

สันตินันท์<br />

ดีครับ รู้อะไรก็ได้<br />

ขอให้รู้อย่างมีสติปัญญาเป็นเครื่องมือของจิตก็แล้วกัน<br />

กาลามชน<br />

ผมคิดว่าการปฏิบัติคล้ายๆกับนั่งดูคนเดินผ่านไปมา<br />

บางครั้งเห็นคนรู้จักผ่านมา<br />

บางทีก็เห็นคนแปลกหน้า<br />

บางทีก็นั่งใจลอยเห็นคนผ่านไปแต่ไม่ได้สังเกตว่าเป็นใคร<br />

บางทีก็เหม่อ เผลอลืมดู มีคนผ่านเท่าไรก็ไม่รู้<br />

สันตินันท์<br />

ใช่ครับ แต่เราหมั่นฝึกฝนไว้<br />

ต่อไปอะไรผ่านมา<br />

ก็จะรู้ว่า<br />

สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป<br />

เท่านั้นเองครับ<br />

ที่พิจารณาดำเนินมาอย่างนี้<br />

ดีแล้วครับ อนุโมทนาด้วย<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

<br />

เมล์ฉบับนี้<br />

เป็นเมล์ที่ผมตอบง่าย<br />

เพราะเพียงเขียนคำว่าครับๆๆ เท่านั้นเอง<br />

โดยคุณ สันตินันท์ วัน พุธ ที่<br />

16 กุมภาพันธ์ 2543 10:22:45<br />

สารบัญ


ไดอารี่หมอดู<br />

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน<br />

ไดอารี่หมอดูประจำฉบับที่<br />

๗๑<br />

โดย หมอพีร์<br />

มิถุนายน ๒๕๕๒<br />

สวัสดีค่ะทุกคนที่อ่านไดอารี่หมอดู<br />

ฉบับที่แล้วได้แจ้งเรื่องที่มีสถานที่ปฏิบัติธรรมให้พัก<br />

ครั้งนี้มีรูปมาให้ดู<br />

สำหรับพิจารณาว่าพักได้หรือไม่ และถ้าใครสนใจพัก ติดต่อมาขอพักได้ค่ะ แต่จะมี<br />

แค่ที่พักนะคะไม่มีใครสอนต้องปฏิบัติเอง<br />

ที่พักเป็นศาลามุงจากมุงแฝกสมถะมาก<br />

ๆ<br />

เลยค่ะ อากาศค่อนข้างเย็นสบาย<br />

อาทิตย์นี้มีเรื่องราวของความรักที่มีช่องว่าง<br />

ทำให้เกิดการทะเลาะ ความขัดแย้ง<br />

การไม่เข้าใจกันทำให้มีปัญหากันตลอด โดยที่ต่างคนต่างไม่สามารถ<br />

รู้ได้ว่า<br />

ทำไมต้องเป็นแบบนี้<br />

ทำให้แทนที่จะประคองกันไปด้วยดี<br />

กลับมีเรื่องให้เกิดปัญหาตลอด<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

11


12<br />

วันนี้ทั้งคู่มาดูดวงกับเพื่อนสามสี่คน<br />

เริ่มต้นดูดวงของผู้หญิงก่อน<br />

เธอมีหน้าตาที่สวย<br />

ด้วยอานิสงส์ของบุญเก่า หน้าตาเธอคมน่ามอง จัดว่าเธอเป็นผู้หญิงที่มีเสน่ห์<br />

มาก ๆ ปัญหาของชีวิตเธอไม่มีอะไรมาก เรื่องงานไม่ตกอับมีคนเกื้อกูลตลอด<br />

การเงินไม่ได้ลำบากเลย เพื่อนก็ดีมาก<br />

แต่สิ่งหนึ่งที่เธอมีปัญหาคือจิตใจ<br />

และความรัก<br />

เธอไม่มีความภูมิใจในตัวเอง จิตใจมีแต่ความเหงาเศร้าว้าเหว่ น้อยใจง่ายเสียใจง่าย<br />

ส่วนหนึ่งที่เห็นวิบากของเธอได้ชัดเจนมาก<br />

คือกรรมเรื่องคำพูด<br />

เธอเป็นคนที่<br />

เวลาเจ็บใจเสียใจน้อยใจ จะพูดแรง ๆ เจตนาให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความเสียใจ<br />

เจ็บปวดใจขึ้นมาให้จงได้<br />

พอทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแบบนั้นได้<br />

เธอจะมีความดีใจในการ<br />

ทำบาป และอีกสิ่งหนึ่งที่เธอทำกรรมเรื่องคำพูดโดยไม่รู้ตัวก็คือ<br />

มักจะพูดข่มเพื่อน<br />

เล่าเรื่องแต่ละอย่างเพื่อให้เพื่อนเกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ<br />

หรือพูดด้วยจิตที่อิจฉา<br />

เจตนาที่ทำให้อีกฝ่ายเสียใจ<br />

พร้อมกับมีความยินดีในบาปที่ทำสำเร็จ<br />

ทำให้กรรมที่<br />

ได้รับค่อนข้างพุ่งกลับมาเล่นงานจิตใจของเธอเป็นสำคัญ<br />

เพื่อให้เกิดความเจ็บปวด<br />

เสียใจมากเป็นพิเศษ<br />

เธอเริ่มใช้กรรมโดยการที่ต้องเสียใจกับคำพูดของคนในที่ทำงาน<br />

และเสียใจกับ<br />

คำพูดของเพื่อนได้ง่ายขึ้น<br />

จิตใจเธอค่อนข้างเป็นทุกข์กับคำพูดของคนมาเรื่อย<br />

ๆ<br />

จนทำให้จิตเศร้าหมองสะสม ส่วนหนึ่งเพราะในปัจจุบันเธอใช้แต่บุญเก่า<br />

ไม่ค่อยได้<br />

ทำบุญใหม่บ่อยนัก ไม่ได้ฟังธรรมเท่าไหร่ จิตใจของเธอเลยกลายเป็นเหมือนฟองน้ำ<br />

ไปเรื่อย<br />

ๆ ลักษณะของจิตใจที่เป็นเหมือนฟองน้ำคือจะซึมซับเรื่องของคนอื่นแบบ<br />

ไม่รู้ตัว<br />

จะทุกข์ตามคนอื่นตลอด<br />

การมีจิตใจอินเข้าไปในเรื่องของคนอื่น<br />

เวลาสงสารจะเกิดความสงสารคนอื่นจนจิต<br />

ตัวเองเศร้าหมอง กลัว คิดมาก ฟุ้งซ่านตาม<br />

หรือจะทุกข์ตามมาก ๆ ทั้งที่ไม่ใช่ทุกข์<br />

ของตัวเอง แต่ต้องทุกข์ไปกับเพื่อนจนขาดสติ<br />

จนลืมมองไปว่าเป็นกรรมของเพื่อนที่<br />

ต้องเป็นแบบนั้น<br />

ที่ต้องเจอแบบนั้น<br />

จิตใจที่ไม่เป็นกลางมองไม่ออกว่าเป็นกรรมของ<br />

เพื่อนจนทำให้ซึมซับความทุกข์คนอื่น<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong>


พอต้องมาเป็นที่ปรึกษาปัญหาให้ชีวิตเพื่อน<br />

ๆ ทำให้ติดขยะความทุกข์ นำมาปน<br />

กับชีวิตของตัวเองจนแยกไม่ออกว่ามาจากเรื่องราวของใคร<br />

เพื่อนของเธอที่ทุกข์<br />

ทุกคนจะเจอแฟนนอกใจไปมีคนอื่น<br />

ห้าหกคนเป็นเหมือนกันหมดและคนที่กำลัง<br />

ทุกข์ต้องการคนที่มีจิตใจที่ไม่ผิดหวังเป็นที่ปรึกษาอยู่แล้ว<br />

เธอเกิดอาการสงสาร<br />

ทุกข์แทนเพื่อนจนเกิดปัญหากับตัวเองโดยไม่รู้ตัว<br />

คือเธอเริ่มเกิดมาระแวง<br />

กลัวแฟนตัวเองนอกใจไปมีคนอื่น<br />

ทั้ง<br />

ๆ ที่เธอเองไม่ได้มีกรรมเรื่องความรักติดตัว<br />

มาจนทำให้ต้องมาเป็นทุกข์เพราะเรื่องนี้<br />

ได้บอกเธอไปว่าถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้<br />

ไปเรื่อย<br />

ๆ จะทำให้ทะเลาะกับแฟนหนักขึ้น<br />

อีกฝ่ายอาจเกิดความรำคาญ เบื่อ<br />

ไม่มีความสุข ไม่อยากคุยด้วย เพราะคุยกันทีไรก็เป็นเรื่องการไม่ไว้ใจ<br />

สิ่งที่ทำให้<br />

แฟนจะเลิกไม่ได้เกิดจากการนอกใจ แต่เกิดจากตัวเองที่ทำร้ายตัวเองโดยไม่รู้ตัว<br />

ด้วยการคิดแบบนี้ซ้ำ<br />

ๆ อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้กลัวแฟนนอกใจ<br />

คือความไม่ภูมิใจใน<br />

ตัวตนของตัวเองจนทำให้เกิดการฟุ้งซ่าน<br />

เลยแนะนำให้เธอเองมาเริ่มฟังธรรม<br />

อ่านหนังสือกฎแห่งกรรม โดยเริ่มต้นจากการให้อ่านเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัวให้ได้<br />

มากที่สุดเท่าที่จะทำได้<br />

ซึ่งจะทำให้เข้าใจกรรมในระดับความคิด<br />

และทำให้มองเรื่อง<br />

ราวของคนอื่นว่าเป็นกรรมของเขาได้<br />

แฟนเธอก็บอกว่าทะเลาะกันเรื่องนี้มานานมากจริง<br />

ๆ ตัวเขาเองบอกออกมาเองว่า<br />

ไม่ได้คิดนอกใจเธอเลย แต่ผู้หญิงไม่ยอมเชื่อ<br />

เป็นปัญหาที่เขาพยายามแก้แต่ไม่เคย<br />

ทำสำเร็จ ซึ่งความจริงยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เธอเกิดความกลัวแฟนนอกใจคือ<br />

ตัวผู้ชายเอง<br />

เลยดูดวงให้ฝ่ายชายต่อไปเลย และบอกว่าอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้เธอเกิดความกลัว<br />

คือคุณเอง เขาทำหน้างง ๆ ว่าเป็นผมได้ไง ไม่ได้ทำอะไรผิดเลยนะ บอกเขาไปว่า<br />

ปัจจุบันคุณไม่ได้ผิด เห็นจิตใจคุณอยากจะหยุด และตั้งใจจะหยุดได้แล้ว<br />

ให้ลอง<br />

สำรวจชีวิตก่อนหน้าจะมาคบเธอสิคะว่า คุณทำผิดมามากแค่ไหน คุณเคยทำให้<br />

ผู้หญิงหลายคนเสียใจ<br />

โดยการที่พอเบื่อคนเก่าก็มีคนใหม่นอกใจเขาทันที<br />

ทำซ้ำกัน<br />

ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว<br />

ผลของกรรมที่ทำมามันทำให้ปัจจุบันมีหน้าตาโหงวเฮ้งที่ดูเจ้าชู้<br />

เป็นเพลย์บอยในสายตาผู้หญิง<br />

แถมจิตภายในก็มีเสน่ห์ดึงดูดเพศเดียวกันแล้ว<br />

ผู้หญิงที่เป็นแฟนพูดแทรกขึ้นมาทันทีว่า<br />

เพื่อน<br />

ๆ ก็บอกให้เลิกคบกันหมดเลย<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

13


14<br />

บอกว่าหน้าตาเจ้าชู้<br />

เพลย์บอย มากๆ ไม่น่าคบ เลิกไปเถอะ ทำให้เธอเก็บคำพูด<br />

เพื่อนมาคิดมากลัวจริง<br />

ๆ<br />

บอกเขาไปอีกว่า ถ้าพี่ไม่คิดจะหยุดทำผิด<br />

ทำอีกแค่ไม่กี่ครั้งกรรมก็จะเริ่มทำให้เบื่อ<br />

ผู้หญิงและเริ่มอยากทดลองอยากคบเพศเดียวกันโดยอัตโนมัติ<br />

พี่ผู้ชายทำหน้างง<br />

แต่ก็ยอมรับออกมาว่าเจ้าชู้มาจริง<br />

ๆ ทำให้ผู้หญิงเสียใจมาเยอะ<br />

แต่พอมาเจอเธอ<br />

คนนี้ทำให้เกิดการอยากหยุดอยากมีชีวิตคู่<br />

อยากเริ่มต้นสร้างครอบครัว<br />

ไม่คิดจะมี<br />

ใครอีก มีคนมาชอบก็ไม่ยุ่ง<br />

ซึ่งก็บอกว่าพี่ทำถูกทางแล้วที่ปฏิเสธไม่ทำผิดเพิ่ม<br />

พยายามรักษาศีลห้าไปเรื่อยๆ<br />

นะ เดี๋ยวหน้าตาที่เจ้าชู้<br />

จะค่อย ๆ จางลงไปเอง<br />

ให้ยอมรับอีกสิ่งหนึ่งว่าที่ผู้หญิงเกิดความกลัวการนอกใจ<br />

ไม่ไว้ใจ ระแวงไม่ได้มาจาก<br />

ตัวของเธออย่างเดียว แต่ส่วนหนึ่งมาจากบาปของพี่ด้วย<br />

ที่เป็นสาเหตุทำให้เธอต้อง<br />

เป็นแบบนี้<br />

ดังนั้นต้องไม่โทษว่าเป็นความผิดของเธอฝ่ายเดียว<br />

ไม่อย่างนั้นจะมี<br />

ช่องว่างมากขึ้นเรื่อย<br />

ๆ และให้พยายามทำกิจกรรมที่เป็นบุญร่วมกันทั้งสองคน<br />

เป็นประจำ ประมาณสองอาทิตย์ครั้ง<br />

ห้ามทะเลาะกันในวัดด้วย<br />

ทั้งสองคนพอได้เข้าใจที่มาที่ไปของปัญหาที่เกิดขึ้นก็เกิดความเบาใจ<br />

จิตใจไม่ค่อย<br />

เป็นหนามต่อกัน กลมกลืนกันมากขึ้น<br />

เพราะสองคนนี้ก่อนดูดวง<br />

จิตเป็นเหมือน<br />

หนามทิ่มแทงกัน<br />

แต่ฝ่ายหญิงริดหนามได้ไว จากจิตที่เศร้าพอเข้าใจในกรรมของ<br />

ตัวเองและคนอื่น<br />

ทำให้ใจเธอวางลงเร็วมาก มีความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด<br />

เลยบอกเธอว่าเห็นไหมว่าจิตใจมีความสุขกว่าตอนที่จะเริ่มคุยกัน<br />

เธอบอกว่าเห็น<br />

จึงบอกให้ค่อย ๆ ปรับกันนะคะ<br />

จิตมนุษย์สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องพูดอะไรกัน<br />

ดังนั้นคนที่เป็นแฟนกัน<br />

ยิ่งสื่อสารได้ง่าย<br />

คนที่มีศีลเสมอกัน<br />

มีความยินดีในการทำทานร่วมกันจะทำให้<br />

เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น<br />

ช่องว่างที่มีอยู่จะลดลง<br />

ความเจ็บใจ ความเศร้าหมอง<br />

ความน้อยใจ ความคิดมาก ฟุ้งซ่านถ้ามีมาก<br />

จะเป็นตัวลดทอนเสน่ห์ของตัวเอง<br />

จิตที่มีความสุขมีการให้อภัย<br />

ไม่คิดมากไม่ฟุ้งซ่านจะทำให้มีเสน่ห์โดยไม่ต้องทำเสน่ห์<br />

ทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง<br />

มีความสุขตามไม่ขัดแย้งกัน<br />

สารบัญ <br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong>


คำคมชวนคิด<br />

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน<br />

สุภาษิตนานาชาติ<br />

Wisdom and virtue are like the two wheels of a cart.<br />

ปัญญาและความดีเปรียบเสมือนล้อสองข้างของเกวียนที่ต้องไปคู่กันเสมอ<br />

สุภาษิตญี่ปุ่น<br />

ถอดความโดย พิณธารา<br />

<br />

Better a hundred enemies outside the house than one<br />

inside.<br />

มีศัตรูนอกบ้านเป็นร้อยคนดีกว่ามีศัตรูในบ้านตนเพียงคนเดียว<br />

สุภาษิตอาหรับ<br />

ถอดความโดย อภิวันท์<br />

<br />

A single arrow is easily broken, but not ten in a bundle.<br />

สามัคคีคือพลัง<br />

สุภาษิตญี่ปุ่น<br />

ถอดความโดย พิณธารา<br />

<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

15


16<br />

A weapon is an enemy even to its owner.<br />

อาวุธนั้นเป็นศัตรูต่อทุกคน<br />

รวมทั้งเจ้าของของมันด้วย<br />

สุภาษิตตุรกี<br />

ถอดความโดย ศิราภรณ์ อภิรัฐ<br />

<br />

We make more enemies by what we say than friends by<br />

what we do.<br />

พวกเราสร้างศัตรูเพราะคำพูด มากกว่าสร้างมิตรเพราะการกระทำของพวก<br />

เรา<br />

สุภาษิตสเปน<br />

ถอดความโดย ภริมา<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

<br />

Don’t look where you fall, but where you slipped.<br />

อย่ามองตรงจุดที่ล้มเหลว<br />

ให้มองตรงสาเหตุที่ท่านล้มเหลว<br />

สุภาษิตแอฟริกา<br />

ถอดความโดย สิทธินันท์<br />

<br />

สารบัญ


สัพเพเหระธรรม<br />

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน<br />

“ ตัวกู ของกู ”<br />

โดย แอน<br />

เรื่องมีอยู่ว่าดิฉันได้ไปปฏิบัติธรรมที่สถานสำหรับปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งของ<br />

จังหวัดเชียงใหม่ สถานที่นี้มีการจัดระเบียบไว้ได้อย่างดีเยี่ยม<br />

เวลาจะเดินจงกรม<br />

ผู้ปฎิบัติธรรมจะมีหมายเลขและ<br />

Lock ที่จะเดินให้ทุกคนเดินในที่<br />

ๆ จัดไว้ให้อย่าง<br />

เป็นระเบียบเรียบร้อย<br />

ดิฉันได้เดินใน Lock ที่จัดไว้ให้เป็นเวลา<br />

3 วันแล้ว พอเข้าวันที่<br />

4 ของการ<br />

ปฏิบัติธรรม ดิฉันก็ได้ประสพกับเหตุการณ์จริง ในขณะที่ดิฉันพักจากการเดิน<br />

จงกรมชั่วคราวเพื่อไปห้องน้ำและกลับมายังที่<br />

Lock ที่ดิฉันเดินจงกรมประจำก็เห็น<br />

ผู้ปฎิบัติธรรมหญิงอีกคนหนึ่งกำลังเดินอยู่ใน<br />

Lock ที่ดิฉันเดินประจำ<br />

ทันทีที่เห็นก็<br />

รู้สึกร้อนวูบขึ้นที่ใบหน้ารู้ทันทีว่านั้นคืออาการโกรธ<br />

แต่จิตก็บอกว่าดูไปก่อนอย่าเพิ่ง<br />

ไปทำอะไร อีกใจหนึ่งก็แย้งว่า<br />

“ยายนี้จะเดินใน<br />

Lock ฉันอีกนานไหม” พอเห็น<br />

ผู้ปฎิบัติธรรมนั้นเดินจนไปสุด<br />

Lock เพื่อไปหยิบฟูกรองนั่งที่อยู่ริมหน้าต่างซึ่ง<br />

ต้องเดินผ่าน Lock ที่ดิฉันเดินประจำนั้น<br />

ความรู้สึกอีกแบบหนึ่งก็วูบขึ้นมา<br />

ในใจ “น่าละอายใจจริง ๆ เขามาแค่เดินผ่านเพื่อหยิบฟูกที่รองนั่ง”<br />

ดิฉันไม่กล้า<br />

แม้แต่จะมองหน้าเขา ในใจก็บอกตัวเองว่า Lock ที่เดินอยู่นี้ก็ไม่ใช่ของเรา<br />

เขาแค่จัดไว้ให้เราเดินชั่วคราว<br />

รู้สึกได้ประจักษ์ในธรรมของท่านพระพุทธทาสที่ว่าด้วยเรื่อง<br />

“ตัวกู ของกู”<br />

เป็นเช่นนี้เอง<br />

และได้นำมาเป็นคติธรรมสอนตนเองจวบจนทุกวันนี้คะ<br />

สารบัญ <br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

17


18<br />

ความรักนอกกำมือ<br />

โดย ชลนิล<br />

หลายคนเคยบอก...มนุษย์เรามักไม่เห็นคุณค่าสิ่งของที่อยู่ในกำมือ<br />

ตราบเมื่อสูญเสียมันไป<br />

ถึงได้รู้ค่าของมัน<br />

แล้วค่อยมานึกเสียดาย...<br />

...เสียดายแน่หรือ?...น่าแปลกที่ฉันคิดผิดแผกจากผู้อื่น...<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

เรื่องสั้นอิงธรรมะ<br />

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน<br />

งานเลี้ยงรุ่นคืนนี้ครึกครื้นกว่าทุกปี<br />

เพราะนายเอก ประธานรุ่นของเรา<br />

สามารถพาตัว “ลาน” เพื่อนร่วมรุ่นที่กลายเป็นศิลปิน<br />

ดารานักร้องชื่อดัง<br />

สาว ๆ<br />

กรี๊ดกันทั่วเมืองมาได้<br />

ทุกคนสนุกสนานกันใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนหนุ่มสาวที่ห้อมล้อม<br />

หยอกล้อลานเป็นดาวล้อมเดือน<br />

ลานยังเหมือนเดิม เป็นผู้ชายยิ้มง่าย<br />

หัวเราะง่ายเข้าได้กับเพื่อนทุกคน<br />

สมัยเป็นนักเรียนหัวเกรียน เขาแทบไม่ฉายแววดาราดังเลย แค่เด็กหนุ่มตัวสูงโย่ง<br />

ผอมขาว หน้าตี๋<br />

ตาตี่<br />

ๆ แต่มีแววบริสุทธิ์ใส<br />

ไม่เป็นพิษภัยกับใคร<br />

“ลาน ขอลายเซ็นหน่อย จะเอาไปให้ลูก” แป๋ว เพื่อนสาวร้องบอกต่อเขา<br />

“หา...อะไรนะ เธอมีลูกแล้วเหรอ” ลานแกล้งทำตาโต ตกใจ<br />

“ย่ะ รอเธอมาขอไม่ไหว เลยรีบเออออกับหนุ่มคนแรกที่มาจีบ”<br />

แป๋วตอบอย่างร่าเริง<br />

หลายคนหัวเราะครื้นเครง<br />

จะมีสักกี่คนรู้<br />

กว่าแป๋วจะมายืนยิ้มตรงจุดนี้ได้<br />

ต้องผ่านอะไรมาบ้าง...


ที่จริงเธอพลาดตั้งท้องตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย<br />

ต้องหยุดเรียนไปคลอดลูกเป็นปี<br />

กัดฟัน อดทนกลับมาเรียนใหม่จนจบ ระหว่างนั้นต้องทำงาน<br />

เรียน และแบ่งหน้าที่<br />

เลี้ยงลูกกับแฟนจนเป็นที่กล่าวขวัญกันในหมู่เพื่อนสนิท<br />

แป๋วเป็นตัวอย่างของเพื่อนที่พลาดล้มแล้วไม่ยอมท้อถอย<br />

รอยยิ้มของแป๋ว<br />

เป็นยิ้ม<br />

ที่ผ่านคราบน้ำตามาไม่รู้กี่ครั้ง<br />

<br />

งานเลี้ยงของเราได้รวบรวมเพื่อนฝูงสมัยมัธยมที่แยกย้ายกันไปเรียน<br />

และเพิ่งเริ่มต้น<br />

ชีวิตการทำงานหลังจบมหาวิทยาลัยกันไม่กี่ปี<br />

จึงมีความหลากหลายของสีสันอาชีพ<br />

มาเล่าสู่กันฟัง<br />

แต่ละคนมีความสดใสของวัยหนุ่มสาวที่ยังมองโลกในแง่ดี<br />

นัยน์ตามี<br />

ประกายงดงามความหวังของวันข้างหน้า<br />

“เอาล่ะ ต่อไปนี้เป็นการเผาดารา”<br />

เอก ประธานรุ่นประกาศก้องถึงไฮไลต์ของงาน<br />

“เฮ้ย ไหนบอกว่างานนี้ไม่มีการเผากันไงวะ”<br />

ลานรีบโวยวาย<br />

“เฮอะ ขืนบอกไป ก็หลอกให้เอ็งมางานนี้ไม่ได้สิ...”<br />

เอกย้อนพร้อมรอยยิ้มเจ้าเล่ห์<br />

“มีใครอยากรู้เรื่องความรักครั้งแรกของไอ้ลานกันบ้าง”<br />

เสียงเฮรับ ยกมือกันสลอน ข้าวปลาอาหารวางเต็มโต๊ะแทบไม่มีใครสนใจ เครื่องดื่ม<br />

ในแก้วถูกปล่อยทิ้งจนน้ำแข็งละลาย<br />

“ตอนนั้นมันอยู่ม.๕”<br />

เอกเริ่มเรื่อง<br />

“แอบไปปิ๊งสาวคนหนึ่งเข้า<br />

คอยแอบตามต้อย ๆ<br />

ไปส่งเขาที่บ้านทุกวันโดยผู้หญิงเขาก็ไม่รู้”<br />

“ใครวะ ใครวะ” แทบทุกคนอยากรู้ว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นใคร<br />

เอกยิ้มกริ่ม<br />

ไม่ตอบ แกล้งเล่าต่อ<br />

“มันคอยตามไปส่งเขาจนขึ้นม.๖<br />

โน่นแน่ะ”<br />

“เออ...แล้วยังไงต่อ” เพื่อนเร่ง<br />

อยากรู้<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

19


20<br />

“แม่สาวนั่นก็เพิ่งสังเกตเห็นน่ะสิ”<br />

“โหย...ความรู้สึกช้าจัง”<br />

มีเสียงบ่นปนหมั่นไส้<br />

“แล้วยังไงอีก”<br />

“ผู้หญิงคนนั้นก็จู่โจมถามไอ้ลานตรง<br />

ๆ เลยว่า...ตามมาทำไม บ้านไม่ได้อยู่ทางเดียว<br />

กันสักหน่อย” เอกหลิ่วตาล้อเลียนเพื่อนหนุ่มคนดัง<br />

“เป็นไงลาน...บอกรักเลยหรือเปล่า” มีคำถามถึงเจ้าตัว<br />

เจ้าของเรื่องไม่ตอบ<br />

เอาแต่อมยิ้มนั่งฟังราวกับไม่ใช่เรื่องของตัวเอง<br />

“ฟังกูนี่<br />

ๆ...เดี๋ยวเล่าต่อเอง”<br />

เอกรีบเรียกความสนใจคืน<br />

พอเพื่อนหันกลับมาให้ความสนใจ<br />

เขาก็ต่อเรื่องด้วยประโยคเด็ด<br />

“ไอ้ลานมันก็เอ๋อไปสามวิฯ แล้วตอบว่า...เอ่อ...เราต้องมาซื้อก๋วยเตี๋ยวฝากแม่ก่อนก<br />

ลับบ้านน่ะ!”<br />

เพื่อน<br />

ๆ ต่างฮาครืน รวมทั้งลานและฉันด้วย...ความทรงจำย้อนไปถึงวันนั้น...<br />

เนิ่นนานหลายปี<br />

แต่รู้สึกราวกับเพิ่งผ่านไปเมื่อวาน...<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

<br />

“ฉันไม่เคยรู้เลยนะ<br />

ว่าแถวบ้านมีก๋วยเตี๋ยวเจ้าอร่อย”<br />

จำได้ว่าฉันเคยตอบไปอย่างนั้น<br />

“เหรอ...งั้นส้มตำล่ะ<br />

แม่เราชอบกินส้มตำเหมือนกัน แถวนี้มีส้มตำอร่อยหรือเปล่า”<br />

สีหน้าท่าทางของลาน ทำให้ใครเห็นก็อดขันไม่ได้<br />

“นี่ลาน<br />

นายมีอะไรกับฉันก็บอกมา”<br />

“เอ่อ...ก็...มีนิดหน่อย” เขาตอบแบบเขิน ๆ<br />

“ว่ามาสิ มัวอ้ำอึ้งอยู่ได้”<br />

ฉันเริ่มรำคาญนิด<br />


“คือ...ฉันชอบเธอน่ะ” คำพูดโพล่ง ๆ ง่าย ๆ ของเขาทำให้ฉันอึ้งไปนานเหมือนกัน<br />

เด็กมัธยมสมัยนั้นไม่ไร้เดียงสากับเรื่องพวกนี้แล้ว<br />

หนุ่มสาวควงกันเป็นแฟนออกเกร่อ<br />

ฉันก็เคยมีผู้ชายมาจีบเหมือนกัน<br />

เพียงแต่ไม่มีใครดูบริสุทธิ์<br />

จริงใจเหมือนลาน<br />

ฉันจำคำพูดตัวเองต่อจากนั้นไม่ได้แล้ว<br />

รู้แค่มันเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นของวันที่สวยงาม<br />

ครั้งหนึ่งในชีวิต<br />

<br />

“สรุปว่าไอ้ลานมันก็จีบติด” เสียงเอกเรียกฉันกลับสู่ปัจจุบัน<br />

“ทำไมไม่มีใครรู้เลยว่าไอ้ลานมันมีแฟน”<br />

มีคนสงสัย<br />

“โธ่...ตอนนั้นไอ้ลานมันไม่ใช่คนดังนี่หว่า<br />

อีกอย่างผู้หญิงเขาก็ขี้อาย<br />

เลยคบกับแบบเงียบ ๆ ไม่ยอมเปิดตัวให้ใคร ๆ รู้กัน”<br />

“เออ...แล้วยังไงต่อ” เพื่อนอยากรู้ตอนจบ<br />

ฉันหันไปมองลานโดยไม่ตั้งใจ<br />

พบว่าเขาทอดสายตารออยู่ก่อนแล้ว<br />

แววตามีรอยยิ้ม<br />

ของมิตรภาพที่เห็นแล้วก่อให้เกิดความอบอุ่นใจ<br />

“คบกันแค่ปีเดียว มันก็อกหักตอนจบม.๖” เอกสรุป<br />

“อ้าว ทำไม?”<br />

“ผู้หญิงบอกว่ามัน<br />

“ดี” เกินไป” คำตอบนี้เรียกเสียงแหวะจากคนฟังทั่วหน้า<br />

ฉันอมยิ้ม<br />

จำได้ว่า...ไม่เคยพูดอย่างนั้น<br />

“โหย...น้ำเน่า...แล้วทีนี้ไอ้ลานทำไงล่ะ”<br />

“มันก็ไปนั่งดีดกีตาร์<br />

ร้องเพลงอกหักอยู่กลางถนน<br />

รอให้รถมาเหยียบ” เอกตอบ<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

21


22<br />

“แล้วมันรอดมาได้ยังไงวะ” ความสงสัยยังมีต่อ<br />

“โธ่...ก็รถที่ไหนจะมา...มันไปดีดกีตาร์ร้องเพลงเศร้ากล่อมหมากลางถนนในซอย<br />

บ้านมัน แล้วซอยนั้นมันตัน<br />

ไม่มีรถผ่านหรอก”<br />

“แหม...แต่ก็ดีนะ ไม่งั้นเราคงไม่ได้มีเพื่อนเป็นศิลปินดังอย่างนี้แน่”<br />

รอยยิ้มจุดพราวในดวงตาลาน<br />

เป็นรอยยิ้มของคนที่มองความเศร้าในวันวาน<br />

เป็นเพียงสายลมที่ผ่านเลย<br />

ไม่อาจมาเกาะเกี่ยวหัวใจให้เป็นทุกข์ได้อีก<br />

“แล้วผู้หญิงคนนั้นเป็นใครวะ<br />

โคตรโง่เลย” เพื่อนผู้ชายบางคนสงสัย...<br />

เรื่องราวความรักครั้งนั้น<br />

มีเพื่อนสนิทรู้ไม่กี่คน<br />

“นั่นสิ<br />

ถ้าเขามาเห็นลานตอนนี้นะ<br />

รับรองต้องร้องไห้ เสียดายแทบผูกคอตาย<br />

ที่ปล่อยให้ลานหลุดมือ”<br />

สาว ๆ ออกความเห็นบ้าง<br />

ฉันอมยิ้ม<br />

เคยถามใจตัวเองตั้งแต่ตอนที่ได้เห็นลานขึ้นเป็นนายแบบหน้าปกนิตยสาร<br />

ชื่อดังครั้งแรกแล้วว่า...เสียดายหรือไม่<br />

ที่ปล่อยผู้ชายดี<br />

ๆ คนนี้ให้หลุดมือ...<br />

ไม่เลย...ฉันตอบด้วยสัตย์จริง ซึ่งคงไม่มีใครเชื่อ<br />

<br />

ช่วงเวลาหลังจบม.๖ เป็นช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต<br />

พ่อกับแม่ฉัน<br />

แยกทางกันด้วยเหตุผลที่เด็กไม่เข้าใจ<br />

มันทำให้ฉันหวาดกลัวอนาคต ไม่มั่นใจ<br />

ในเรื่องของความรัก<br />

กลัวความเปลี่ยนแปลง<br />

กลัวความผิดหวังอย่างคาดไม่ถึงที่อาจ<br />

มาเยือนได้ทุกเมื่อ<br />

ฉันบอกเลิกลาน ด้วยเหตุผลมากมายที่ตัวเองก็จำไม่ได้...ความรู้สึกแท้จริงที่ยากจะ<br />

บอกใครก็คือ...ฉันกลัวตัวเองเป็นฝ่ายถูกบอกเลิกก่อน กลัวจะต้องเสียใจอย่างแม่<br />

ที่ไม่คาดฝันว่าจะได้ยินคำบอกลาจากพ่อ<br />

ฉันไม่รู้ว่าอนาคตความรักระหว่างตนเองกับลานจะเป็นอย่างไร<br />

ถ้าความรักมัน<br />

เปลี่ยนแปลงอย่างไม่เคยบอกใครล่วงหน้า<br />

ถ้าหากอนาคตจะมีการเลิกรากัน<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong>


ฉันก็ขอเป็นฝ่ายเลือกที่จะบอกเลิกเสียในวันนั้น<br />

ก่อนที่จะต้องเสี่ยงกับการถูกเขา<br />

ทอดทิ้งอย่างเจ็บปวดเจียนตายอย่างแม่<br />

ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย ฉันเป็นฝ่ายชอบเฝ้าดูความรักของเพื่อนในแต่ละคู่<br />

เห็นคู่รักหลายรูปแบบประสบความสุข<br />

ความทุกข์ สลับกัน<br />

มีระยะเวลาแห่งการคบหา ที่สั้นยาวกำหนดไม่ได้<br />

คาดการณ์ไม่ถูก<br />

น่าแปลกที่พอฉันถอยมาเป็นผู้เฝ้าดูความรักของเพื่อนฝูง<br />

ความขลาดกลัวความรัก<br />

ในใจก็เลือนหาย มุมมองความรักในใจก็เปลี่ยนไป<br />

รู้สึกเป็นผู้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม<br />

ลานยังติดต่อมาสม่ำเสมอในรูปแบบของเพื่อน<br />

ซึ่งฉันไม่เคยปฏิเสธ<br />

รักษามิตรภาพของเราอย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนเขาเริ่มมีชื่อเสียง<br />

เวลาน้อยลง การติดต่อก็ห่างออกไป สิ่งหนึ่งซึ่งยังดำรงในใจคือความรู้สึกดี<br />

ๆ<br />

ที่งดงามเสมือนดอกไม้ไมตรี<br />

ฉันมักรู้สึกว่าสัมพันธ์ฉันท์คู่รัก<br />

จะมีคำว่า “คนของเรา” อยู่เสมอ<br />

ราวกับว่าตนเอง<br />

สามารถกำใครสักคนไว้ในกำมือ โดยที่เขาไม่อาจหลุดรอดไปได้<br />

ทั้งที่จริง<br />

ไม่เคยมีใครเป็น “ของเรา” อย่างถาวร แม้จะใช้ความรัก<br />

เป็นเครื่องพันธนาการก็ตาม<br />

เพราะกระทั่ง<br />

“ความรัก” ก็ยังไม่เป็นตัวของมันเอง มันเกิดขึ้นเมื่อไหร่...<br />

อยู่นานแค่ไหน<br />

หายไปอย่างไร มีใครบังคับ ชี้นำได้บ้าง<br />

ฉันไม่เคยปฏิเสธความรู้สึก<br />

“รัก” ในหัวใจ แต่ก็ไม่ได้ยึดถือมันเป็นเรื่องสำคัญ<br />

ยิ่งใหญ่เหมือนเพื่อนหนุ่มสาววัยเดียวกัน<br />

<br />

งานเลี้ยงสังสรรค์ยังสนุกสนาน<br />

เฮฮาตามประสา ลานถูกเพื่อนอีกกลุ่มลากตัวไป<br />

ร้องคาราโอเกะ วงสนทนาเผาดาราก็แตกโดยปริยาย แป๋วลุกมานั่งข้าง<br />

ๆ<br />

พยักพเยิดให้ฉันมองไปทางลานแล้วถามทีเล่นทีจริง<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

23


24<br />

“แน่ใจน้า...ว่าไม่เสียดาย” แป๋วเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่รู้ว่าลานเคยจีบฉัน<br />

“จะให้ย้ำกี่ครั้งกันยะ”<br />

ฉันแกล้งขี้เกียจตอบ<br />

“อ้าว เผื่อเปลี่ยนใจไง<br />

ลานเขายังน่ารักเหมือนเดิม หายากจะตายผู้ชายแบบนี้”<br />

ข้อนั้นฉันไม่เถียง<br />

แต่อยากบอกแป๋วเหมือนกันว่า...พ่อฉันก็เป็นคนดี น่ารักมาตลอด<br />

จนถึงวันบอกเลิกกับแม่...<br />

“ถ้าลานมาจีบเธออีกครั้งจะว่ายังไง”<br />

แป๋วตั้งคำถามใหม่<br />

“จะให้ว่ายังไง” ฉันยิ้ม<br />

รู้สึกเหมือนได้ยินคำถามที่เป็นไปไม่ได้...ข่าวของลานกับ<br />

ดาราสาวในวงการมีมาเรื่อย<br />

ๆ ซึ่งฉันไม่เคยใส่ใจว่ามันเป็นเรื่องจริง<br />

หรือแค่การขายข่าว<br />

จุดที่เขายืนอยู่เวลานี้<br />

คงไกลจากฉันมาก เหมือนโลกกับพระจันทร์<br />

“ก็พูดมาสิ” แป๋วเร่งเอาคำตอบ<br />

“ไม่รู้สิ<br />

ตอบไม่ถูก ไม่เคยคิดสักที” ฉันตอบอย่างไม่เสแสร้ง<br />

“คบกับแบบเพื่อนอย่างนี้ก็ดีออก<br />

สบายใจดี ไม่เห็นจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น<br />

เลย”<br />

“แหม...หล่อน ไม่อยากลองลิ้มชิมรสชาติดุเด็ดเผ็ดมันของความรักบ้างเหรอ”<br />

แป๋วหยอก<br />

ฉันไม่ตอบ มองเห็นมาตลอดว่าความรักของเพื่อนคนนี้มีครบทุกรสชาติจริง<br />

ๆ<br />

ประคองคู่กันมาแบบตก<br />

ๆ หล่น ๆ มีลูกตอนเรียน ยันมีงานการทำเป็นหลักแหล่ง<br />

พ่อแม่วางใจ ถึงอย่างนั้นก็ยังมีเรื่องทะเลาะ<br />

ร้าวฉาน เลิกรา สลับกับคืนดีมาเข้าหู<br />

ให้เพื่อนสนิทได้ฟังไม่ขาด<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong>


ค่ำคืนแห่งการสังสรรค์เคลื่อนผ่านแล้ว<br />

แต่ละคนเริ่มทยอยกลับ<br />

บางกลุ่มนัดกันไปเที่ยวต่อ<br />

เอกพยายามชวนลานไปเที่ยวด้วย<br />

แต่เจ้าตัวปฏิเสธ<br />

อ้างว่าเดี๋ยวเป็นข่าว<br />

มีผลลบต่องาน<br />

“เอ็งนี่จริง<br />

ๆ เล้ย ไม่มีเวลาเป็นส่วนตัวหรือไงวะ”<br />

“ก็มี...แต่ต้องในที่ลับหูลับตาคนหน่อย<br />

อย่างที่ปิดห้องจัดมิตติ้งเผากูนี่ไง...”<br />

ลานตอบแกมหยอก<br />

“เออ...แล้วเอ็งมีเบอร์ส่วนตัวมั้ยวะ<br />

เบอร์ที่ให้มานี่<br />

โทร.ทีไร<br />

เจอแต่ผู้จัดการรับสายทุกที”<br />

เอกถาม<br />

“ก็เบอร์นั่นแหละ<br />

ของกูเอง แต่ส่วนใหญ่ทำงาน ไม่ค่อยมีเวลารับสายหรอก<br />

พี่เขาเลยช่วยรับแทนให้”<br />

“เบื่อจริง<br />

ๆ พวกคนดังนี่”<br />

เอกบ่นพลางเดินนำหน้าเพื่อนกลุ่มสุดท้ายออกจากร้าน<br />

ฉันอยู่ในกลุ่มสุดท้ายเหมือนกัน<br />

เดินกันเป็นกลุ่มใหญ่<br />

เกือบสิบคน<br />

“นุ่นจะกลับบ้านยังไง”<br />

เสียงนุ่ม<br />

ๆ ของลานดังใกล้ตัวฉัน<br />

“อ๋อ...ขับรถมาเองน่ะ” ฉันเงยหน้าตอบเขา<br />

“ไงจ๊ะ ถ้านุ่นไม่มีรถ<br />

จะอาสาไปส่งเองหรือเปล่า” แป๋วแซวทันที<br />

“ได้สิ...ตั้งใจอยู่แล้ว<br />

แป๋วก็เหมือนกันนะ ถ้าไม่มีรถ ผมไปส่งก็ได้”<br />

ลานพูดจากใจจริง<br />

“แหม เสียดายจริง ๆ ฝาละมีดันมารอรับซะแล้ว เดี๋ยวขอไปไล่มันกลับบ้านก่อนได้<br />

มั้ยนี่”<br />

แป๋วพูดอย่างเห็นขัน<br />

ลานหัวเราะเบา ๆ ก้มหน้ามองฉัน<br />

“เสียดายจัง วันนี้ไม่ค่อยได้คุยกับนุ่นเลย”<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

25


26<br />

“โธ่...ก็ลานเป็นคนดังนี่<br />

พวกเพื่อนเขาก็อยากคุยด้วยทั้งนั้น<br />

แล้วอีกอย่าง ตอนนี้เรา<br />

ก็กำลังคุยกันอยู่ไม่ใช่หรือจ๊ะ”<br />

เขายิ้มใส<br />

รอยยิ้มสว่างจุดให้ดวงตาเป็นประกาย<br />

ฉายแววบางอย่างแทนคำพูดจา<br />

ระหว่างทางจากในร้านถึงที่จอดรถ<br />

เสมือนเส้นทางอันอบอุ่น<br />

อบอวลด้วยกลิ่นอายความสุข<br />

รถยนต์ขับออกไปทีละคัน รถของฉันอยู่ด้านในจึงต้องรอ<br />

ที่ข้างหน้ามีรถจอดขวางอีกคัน<br />

ฉันหันไปมองเพื่อนที่ยังไม่ขึ้นรถ<br />

พบว่าเหลือลานเพียงคนเดียว<br />

“ขอโทษที ผมจอดรถขวางนุ่นเอง”<br />

เขาพูดพลางรีบเปิดประตูรถ แต่ก็ชะงัก<br />

ลังเลชั่วครู่ก่อนเดินเข้ามาหา<br />

“มีอะไรเหรอลาน” ฉันถาม<br />

“เอ่อ...” ท่าทางเขากลับไปเป็นเหมือนเด็กหนุ่มเมื่อหลายปีก่อน<br />

“ผมมีโทรศัพท์ส่วนตัวจริง ๆ อยู่เบอร์นึง<br />

รับรองไม่ผ่านผู้จัดการแน่<br />

ๆ”<br />

พูดแล้วยัดกระดาษแผ่นหนึ่งใส่กำมือฉัน<br />

“ถ้านุ่นวางก็โทร.มาคุยได้ตลอดเวลาเลยนะ”<br />

คำพูดหนักแน่น พร้อมรอยยิ้มที่<br />

ไม่ผิดแผกจากเด็กหนุ่มหัวเกรียนคนเดิม<br />

“จ้ะ” ฉันตอบรับจากใจจริง<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

<br />

ขณะนั่งอยู่ในรถ<br />

มองรถของลานแล่นห่างออกไป ฉันรู้สึกคล้ายเห็นรอยยิ้มของเขา<br />

ประทับความทรงจำ และ “เห็น” ความรู้สึกยินดี<br />

พอใจเกิดขึ้นในจิตใจตน<br />

จะแปลกไหม...หากเรารู้สึก<br />

“รัก” ใครสักคนโดยไม่หวังคิดครอง ไม่เคยมองเขาเป็น<br />

“ของเรา” พอใจเพียงได้มองเห็นความสุขฉายในแววตาเขา ร่วมชื่นชมอยู่ห่าง<br />


เมื่อเห็นเขาก้าวเดินไปสู่ความสำเร็จ<br />

ร่วมสุขกับเขาโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้<br />

คอยส่งกำลังใจยามเขาทุกข์ ไม่สบายใจ<br />

ความรักเช่นนี้มันคงไม่อาจอยู่ในกำมือของใครได้<br />

มันเกิดขึ้น<br />

และเดินจาก<br />

ด้วยเหตุและปัจจัยของมันเอง<br />

ความรักเช่นนี้ทั้งไม่อาจเรียกร้องให้อยู่<br />

ทั้งไม่อาจผลักไสขับไล่ให้มันจากไปได้<br />

ฉันเพียงแค่ดู...และรับรู้ว่ามันยังอยู่ก็พอใจแล้ว<br />

อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน<br />

วันหนึ่งข้างหน้าลานอาจมีผู้หญิงตัวจริงสักคนในชีวิต<br />

ซึ่งฉันเชื่อว่าตนเองสามารถร่วมยินดีกับเขาอย่างจริงใจ<br />

ไม่มีแม้รอยเสี้ยนทุกข์<br />

มาเสียดแทงใจ<br />

<br />

พอกลับมาถึงบ้าน ฉันนึกถึงเบอร์โทรศัพท์ที่ลานยัดใส่มือมาให้<br />

จึงหยิบออกมาเพื่อจะจดใส่สมุด<br />

แต่ก็ต้องชะงัก เมื่อเห็นข้อความที่เขาเขียนต่อท้าย<br />

หมายเลขโทรศัพท์นั้น<br />

มันเป็นข้อความที่เรียกรอยยิ้มให้ฉันได้อีกครั้ง<br />

“ถ้ามีความสุขแล้วไม่รู้จะบอกใครก็โทร.มานะ...ถ้าไม่สบายใจ<br />

อยากหาคนรับฟังก็โทร.มาได้...หรือถ้าเบื่อนักไม่รู้จะคุยกับใครก็โทร.มาหาเถอะ...<br />

เบอร์นี้เปิดสายตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง...จนกว่าคนโทร.จะเบื่อ<br />

แล้วคิดว่า...ไปเรียกให้<br />

เจ้าของโทรศัพท์มันมาหา แล้วสั่งให้นั่งคุยอยู่ใกล้<br />

ๆ จะดีกว่ากันเยอะเลย”<br />

ฉันยิ้มเต็มหน้า<br />

สัมผัสความอบอุ่นอ่อนโยนจากกระดาษแผ่นนั้นเข้าสู่กลางฝ่ามือ<br />

และมันค่อยซึมแทรกเข้าสู่หัวใจอย่างเชื่องช้า...อิ่มเต็ม<br />

“ความรักนอกกำมือ” เคยลงในนิตยสารขวัญเรือน ปักษ์แรกสิงหาคม ๒๕๔๙<br />

สารบัญ <br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

27


28<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

รูปชวนคิด<br />

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน<br />

สิ่งละอัน<br />

พันละน้อย ที่เราพบเห็นผ่านตากันจนเคยชินในทุกวันของชีวิต<br />

แท้จริง อาจจะมีบางมุม... ที่ชวนสะกิดใจ<br />

ให้เราได้ย้อนหันมาเห็นเหมือนกันว่า<br />

ธรรมะนั้น<br />

สอนเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน<br />

รอบ ๆ ตัว และใกล้ ๆ ตัวเรานี่เอง<br />

ภาพหนึ่งพร้อมคำบรรยาย<br />

อาจเป็นหนึ่งในสื่อที่ดีที่สุด<br />

ในการสะท้อนข้อคิดมาสู่ใจผู้ชม<br />

ธรรมาภิสมัย<br />

<br />

คำว่าธรรมาภิสมัย คือการสนธิกันระหว่าง “ธรรมะ” ซึ่งในที่นี้แปลว่าความจริง<br />

กับคำว่า “อภิสมัย” ซึ่งในที่นี้แปลว่าการเข้าถึง<br />

ลักษณะของจิตที่เข้าถึงความจริงแบบอริยะนั้น<br />

จะมีการเบ่งบานไม่มีประมาณ<br />

และรับรู้ความมีอยู่ของนิพพานอันปราศจากประมาณเช่นกัน<br />

ท่านจึงเปรียบบัวบานออกรับแสงอาทิตย์<br />

เสมือนจิตที่เบ่งบานด้วยแสงธรรมอันโอฬาร<br />

ไร้ขอบเขต ไร้นิมิต ไร้ที่ตั้ง<br />

ภาพ และคำ โดย ดังตฤณ


จะปิดฝาล่ะ...<br />

ลองมองกลางรูปนี้แบบที่จะเห็นครอบทั้งหมดด้วยจิตใสใจเบาให้ได้สัก<br />

10 วินาที<br />

แล้วจะผุดความสว่างเบิกบานที่ีแปลกประหลาดขึ้นมากลางอก<br />

ประสบการณ์แบบนี้จะทำให้คุณเริ่มสัมผัสและเข้าใจ<br />

ว่าบุญอันเกิดจากการทำสังฆทานนั้น<br />

หน้าตาเป็นอย่างไร<br />

ภาพ และคำ โดย ดังตฤณ<br />

<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

29


30<br />

ไฟเผาขยะ<br />

คุณมักได้เห็นกองไฟเผาขยะในวัดเสมอ<br />

จะดีมากหากเราได้ทราบว่ามีไฟล้างกิเลสเกิดขึ้นในวัดบ่อยๆ<br />

แต่เสียดายที่ในความเป็นจริง<br />

ไฟล้างกิเลสเกิดขึ้นยากยิ่ง<br />

ไม่ว่าจะเป็นนอกวัด หรือในวัด<br />

เพราะเส้นทางไปนิพพาน หาได้ยากกว่าเส้นทางมาวัดมากนัก<br />

ขอเดชะแห่งการถวายหนังสือมหาสติปัฏฐานสูตร<br />

จงมีส่วนก่อไฟอันเป็นมหาธรรมาภิสมัยได้บ่อยกว่าที่ผ่านมาด้วยเทอญ<br />

_/\_<br />

ภาพ และคำ โดย ดังตฤณ<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong>


หากคุณเป็นคนหนึ่ง<br />

ที่เห็นภาพของผู้คนและสิ่งแวดล้อมต่าง<br />

ๆ รอบตัว<br />

ที่แม้จะดูแสนธรรมดา<br />

แต่สะท้อนธรรมะให้ปรากฏเด่นชัดขึ้นในใจคุณ<br />

อย่าเก็บภาพ และข้อความนั้นไว้เพียงลำพัง<br />

ทีมงานขอเชิญชวนให้คุณส่งภาพและข้อคิดนั้น<br />

มาร่วมเป็นกำลังใจให้กับเพื่อร่วมทางไปพร้อม<br />

ๆ กับนิตยสารของเรา<br />

โดยมีกติกามีดังนี้<br />

๑. ผู้ส่งต้องใส่ข้อความประกอบภาพ<br />

ที่เรียบเรียงขึ้นด้วยตนเอง<br />

๒. ลักษณะของข้อความควรกระชับ และให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน<br />

โดยเฉพาะความเจริญทางด้านจิตใจ<br />

๓. ไม่มีข้อความที่ขัดแย้งกับพุทธพจน์<br />

หรือพระไตรปิฎก<br />

๔. ถ้านำภาพมาจากที่อื่น<br />

ต้องเป็นภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์<br />

ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพแล้ว และให้เครดิตที่มาของภาพด้วย<br />

๕. ไม่มีข้อความที่จาบจ้วง<br />

ดูหมิ่น<br />

สถาบันพระมหากษัตริย์<br />

สถาบันสงฆ์ หรือศาสนาอื่น<br />

๖. งดรับภาพและข้อความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง<br />

หรือข้อความที่นำไปสู่ความขัดแย้งทะเลาะวิวาท<br />

ส่งภาพ (โดยไม่ต้องตกแต่งกรอบรูป) และคำบรรยายมาได้ที่<br />

http://www.howfarbooks.com/dharmamag/posting.php?mode=post&f=56<br />

สารบัญ <br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

31


32<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

พาเที่ยว<br />

เอี่ยวธรรม<br />

อ่านบนเว็บ • ฟังเสียงอ่าน<br />

แสงประทีปแห่งธรรมโชติช่วงบนยอดเขาที่เกาะสมุย<br />

โดย แก้ว<br />

สวัสดีค่ะ<br />

แก้วเพิ่งกลับมาจากการไปปฏิบัติธรรมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี<br />

เดินทางไป<br />

เกาะสมุยเมื่อวันที่<br />

๑๐ พฤษภาคมที่ผ่านมา<br />

ตั้งใจจะไปปฏิบัติธรรมที่เกาะสมุย<br />

แต่ขอเที่ยวชมเกาะสมุยสัก<br />

๒ วัน ก่อนขึ้นเขาอันเป็นสถานปฎิบัติธรรมในวันที่<br />

๑๒ – ๑๗ สถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้เพิ่งสร้างขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง<br />

ชื่อว่า<br />

“ทีปภาวัน<br />

ธรรมสถาน” ตั้งอยู่บนเขาโคกทรวย<br />

ตำบลมะเร็ด อำเภอเกาะสมุย เป็นจุดที่<br />

สามารถมองเห็นสีเขียวชอุ่มของทิวยอดมะพร้าว<br />

และเมื่อทอดสายตาไกลออกไป<br />

ก็เห็นสีครามของน้ำทะเลสุดลูกหูลูกตา<br />

เพียงแค่ได้ยืนอยู่บนจุดนี้<br />

ความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทาง<br />

และการได้พบเห็น<br />

ความเปลี่ยนแปลงของเกาะสมุยที่มุ่งไปในทางวัตถุเสียมาก<br />

ก็ผ่อนคลายลง ได้<br />

หายใจลึก ๆ หวนคิดถึงความหลังย้อนไปเมื่อครั้งที่เคยมาเยี่ยมเยือนเกาะแห่งนี้<br />

เมื่อ<br />

๑๕ – ๑๗ ปีที่แล้ว<br />

วันนั้นยังเห็นต้นมะพร้าวเอียงลำต้นอ่อนเอนยื่นยาวไป<br />

ในทะเล มีมุมสงบให้ได้พักผ่อนร่างกายและจิตใจ แต่วันนี้หาความสงบได้ยากเต็มที<br />

มุมทะเลสวย ๆ ก็ถูกรีสอร์ท และร้านอาหารบดบังไปจนหมด บนชายหาดก็ตั้ง<br />

ร้านอาหารกันจนลูกค้าแทบจะต้องจุ่มเท้าในน้ำทะเลพร้อมกับรับประทานอาหารเย็น<br />

น้ำทะเลบางแห่งก็มีทุ่นลอยจัดแบ่งเป็นสัดส่วนของใครของมัน<br />

แขกของใครก็บังคับ<br />

ให้ว่ายอยู่ในเฉพาะกรอบของทุ่นลอยนั้น<br />

ๆ สงสารชาวต่างชาติที่ข้ามน้ำข้ามทะเล<br />

มาเพื่อชมความงามของเกาะสมุย<br />

กลับไม่ได้เห็นธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น<br />

สำหรับเราผู้ตั้งใจจะขึ้นไปบนเขาเพื่อปฏิบัติธรรมนั้นเมื่อได้มายืนยังจุดที่สีเขียว<br />

จัดของต้นมะพร้าวบดบังความเสื่อมโทรมของเกาะสมุยไว้เบื้องล่าง<br />

รู้สึกว่าข้างบน<br />

นี้ช่างห่างไกลจากความวุ่นวายที่ได้พบเห็นบนเกาะ...<br />

ความวุ่นวายในเมืองหลวง...


และความวุ่นวายใด<br />

ๆ ในโลกนี้...<br />

สถานที่นี้คือสถานที่สำหรับผู้ต้องการหาความ<br />

สงบทางจิตใจเป็นสำคัญ...<br />

เมื่อมาถึงทีปภาวันธรรมสถาน<br />

โดยโทรนัดแนะให้รถมารับที่หน้าวัดศิลางู<br />

ซึ่งมีจัดบริการให้ตั้งแต่เวลา<br />

บ่ายโมงถึงบ่ายสี่โมง<br />

รถกระบะโฟร์วีลก็มารับขึ้นไป<br />

บนเขาที่มีถนนค่อนข้างชัน<br />

แม่ชีสุปราณีให้การต้อนรับ จัดอุปกรณ์มุ้ง<br />

ผ้าห่ม<br />

ให้ยืมใช้ และพานำชมสถานที่ที่เราจะใช้ร่วมกันกับผู้ปฏิบัติธรรมอื่น<br />

ๆ ในเวลา<br />

๕ วันนี้<br />

ที่นี่เราได้พบและอบรมกับพระภาวนาโพธิคุณ<br />

หรือพระอาจารย์โพธิ์<br />

เจ้าอาวาสสวนโมกขพลารามอย่างใกล้ชิด รวมทั้งพระอาจารย์อีกหลายท่าน<br />

จากสวนโมกขพลาราม มีการเทศน์อบรมทั้งในเรื่องธรรมะอันเป็นหัวใจของ<br />

พระพุทธศาสนา ทั้งในเรื่องของทุกข์<br />

การดับทุกข์ เรื่องอริยสัจสี่<br />

และเรื่อง<br />

ปฏิจจสมุปบาท รวมถึงได้แนะนำและฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา ซึ่งเป็น<br />

แนวทางเดียวกันกับท่านพุทธทาสที่สวนโมกข์<br />

หากไปฝึกที่สวนโมกข์ต้องใช้เวลา<br />

๘ คืน ๙ วัน สำหรับผู้ที่ไม่สามารถลาหยุดได้นาน<br />

ๆ ที่นี่ก็มีการอบรมจิตภาวนา<br />

แบบ ๓ วัน หรือต้องการมาแบบหนึ่งวันก็มาได้ในวันเสาร์แรกของเดือน<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

33


34<br />

ทีปภาวันธรรมสถานเป็นสถานปฏิบัติธรรมที่พระอาจารย์โพธิ์และญาติโยมผู้มี<br />

จิตศรัทธาจัดสร้างขึ้น<br />

เพื่อให้เป็นตัวอย่างของการนำเสนอธรรมะอันเป็นสิ่งที่<br />

พระพุทธเจ้าได้ฝากไว้เพื่อให้เป็นสมบัติของคนทั้งโลกมาไว้ที่เกาะสมุย<br />

อันเป็น<br />

สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีชาวต่างชาติมาเที่ยวกันมาก<br />

ท่านอยากให้ชาวต่างชาติ<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong>


มองเมืองไทยในแง่ที่เราเป็นเมืองพุทธ<br />

เป็นประเทศที่มีคนนับถือพุทธศาสนา<br />

มากที่สุด<br />

และได้เผยแผ่สิ่งที่พระพุทธเจ้าฝากไว้แก่คนทั่วโลก<br />

ไม่เกี่ยงว่าเป็น<br />

ศาสนาใด ที่นี่จึงมีการอบรมธรรมะทั้งเพื่อชาวไทย<br />

ในวันที่<br />

๑๒ – ๑๗ และมี<br />

การอบรมชาวต่างชาติในวันที่<br />

๒๒ – ๒๗ ของทุกเดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ<br />

ที่นี่จัดให้ทั้งที่พักและอาหารมังสวิรัติวันละ<br />

๒ มื้อ<br />

ถ้าใครคิดจะมาลดน้ำหนักไปในตัว<br />

อาจต้องใช้ความพยายามมากสักหน่อยเพราะอาหารที่นี่อร่อยมาก<br />

ๆ<br />

การฝึกปฏิบัติที่นี่ต้องตื่นตี<br />

๔ เพื่อทำวัตรเช้า<br />

ฟังเทศน์ นั่งสมาธิ<br />

และออกกำลังกาย<br />

เสร็จสิ้นกิจกรรมในราวสองทุ่มครึ่งจึงเข้านอน<br />

บางวันได้ติดตามพระอาจารย์โพธิ์<br />

ไปยังสถานที่ปฏิบัติธรรมในที่ต่าง<br />

ๆ ที่ท่านได้สร้างไว้<br />

มิใช่โบสถ์หรือศาลาที่เลิศหรู<br />

อลังการ แต่คือลานดิน ลานหิน หรือลานทรายที่สวยงามอย่างธรรมชาติ<br />

ตามแต่<br />

ตรงไหนที่ท่านเห็นว่าเหมาะสม<br />

ลานดินถูกสร้างทำขึ้นเพื่อเป็นที่สำหรับนั่งสมาธิใน<br />

แบบที่ผู้นั่งต้องนั่ง<br />

สมาธิราบลงไปบนดิน บนหิน หรืออย่างดีก็นั่งกันบนถังซีเมนต์<br />

ที่ท่านหามาจัดตั้งไว้<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

35


36<br />

การนั่งสมาธิแบบใกล้ชิดกับธรรมชาติเช่นนี้เป็นแบบเดียวกับที่พระพุทธองค์<br />

ได้ทรงกระทำเป็นแบบอย่างไว้ในครั้งพุทธกาล<br />

จะมาถึงที่นี่ต้องปีนเขาขึ้นไป<br />

ไม่ยากเย็นนักเพราะมีการทำขั้นบันไดเล็ก<br />

ๆ ไว้ให้ เดินขึ้นไปประมาณ<br />

๓๐๐ ขั้น<br />

จะได้นั่งสมาธิบนหน้าผาที่มองเห็นทะเล<br />

พระอาจารย์โพธิ์ให้ชื่อที่แห่งนี้ว่า<br />

“ถีรธารา”<br />

อันแปลว่าน้ำนมแห่งธรรมะ เพราะบนหน้าผานี้มีต้นนมสวรรค์ขึ้นอยู่มาก<br />

เวลานั่ง<br />

สมาธิจะมีปัสสาวะของจั๊กจั่นเรไรประพรมให้อยู่ตลอดเวลา<br />

พระอาจารย์โพธิ์ว่า<br />

นี่แหละคือน้ำนมแห่งธรรมะ...<br />

อีกที่หนึ่งเป็นจุดท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาตินิยมเช่ารถจี๊ปมาขับตะลุยบุกป่าแบบ<br />

ซาฟารี สามารถมาได้ด้วยรถแต่จะให้ดีควรเป็นโฟร์วีล หรือกระบะที่แรงดี<br />

ๆ<br />

หน่อย ที่นี่ท่านจัดเป็นสถานที่นั่งสมาธิเช่นกัน<br />

ให้ชื่อว่า<br />

“ลานธรรมะเภรี”<br />

อันแปลว่ากลองแห่งธรรมะ ท่านอยากจะตีกลองธรรมะให้ดังไปทั่ว<br />

แต่ที่นี่ไม่มี<br />

กลองใด ๆ ให้ตี หากแต่ความเงียบอันเกิดจากสมาธิ และความสุขใจของผู้มาปฏิบัติ<br />

สมาธินั่นเองคือเสียงที่ดังที่สุดที่สามารถแผ่ขยายออกไปได้ในทุกทิศทุกทาง<br />

พวกเรามากันในวันเปิดใช้สถานที่นี้อย่างเป็นทางการในวันแรก<br />

มีการทำพิธี<br />

เปิดอย่างง่าย ๆ พระอาจารย์โพธิ์มีโครงการที่จะนำแผ่นป้ายธรรมะมาติดทั้งภาษา<br />

ไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อให้ชาวเกาะสมุย<br />

ชาวไทย และชาวต่างชาติที่แวะ<br />

มาเที่ยว<br />

ได้ใช้ประโยชน์จากบริเวณนี้ในการสงบจิตใจ<br />

นั่งสมาธิ<br />

หรือได้รับธรรมะ<br />

เล็ก ๆ น้อย ๆ ติดตัวกลับไป นี่คงเป็นอีกอย่างที่พระอาจารย์โพธิ์พยายามชี้แนะ<br />

แนวทางการพัฒนาให้มุ่งเน้นไปทางด้านการพัฒนาจิตใจ<br />

มิใช่มุ่งสร้างเพียงวัตถุ<br />

โดยหลงลืมแก่นแท้ของคนไทยที่มีศาสนาพุทธหยั่งรากลึกมานานกว่า<br />

๒,๕๐๐ ปี<br />

เรายังมีสิ่งมีค่าที่คนทั่วโลกต่างค้นหา<br />

มิใช่บ่อเพชร หรือบ่อทอง แต่เรามี<br />

“บ่อแห่งธรรม” ที่หากใครมาค้นหาและได้พบจะมีความสุขชั่วนิรันดร์...<br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong>


นอกจากจะได้เห็นความงามของเกาะสมุยในมุมมองที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนแล้ว<br />

ที่ทีปภาวันธรรมสถานยังทำให้เราได้ซาบซึ้งในการเสียสละทั้งทรัพย์และเวลาของ<br />

ชาวเกาะสมุย เพื่อให้สถานปฏิบัติธรรมนี้เกิดประโยชน์มิเพียงแต่ชาวเกาะสมุย<br />

ชาวไทย แต่รวมถึงชาวต่างประเทศทั่วโลก<br />

ที่นี่เราได้เรียนรู้ธรรมะ<br />

และยังได้<br />

ปฏิบัติอานาปานสติภาวนาร่วมกับพระอาจารย์โพธิ์<br />

ซึ่งเรามิได้เรียนรู้จากสิ่งที่ท่าน<br />

เทศน์อบรมเพียงอย่างเดียว แต่เราเรียนรู้อย่างมากจากการได้เห็นวัตรปฏิบัติ<br />

ของท่าน ทั้งความสงบเย็น<br />

เรียบง่าย แต่มีพลังมหาศาลในการทำงานอย่างไม่รู้จัก<br />

เหน็ดเหนื่อย<br />

กลับบ้านคราวนี้ขอให้ได้สักเศษเสี้ยวของพระอาจารย์โพธิ์ชีวิตของเราคงมีความสุข<br />

และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้อีกมาก<br />

ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่ทีปภาวันธรรมสถาน<br />

ที่ทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่<br />

ๆ มากมาย ที่ที่ทำให้เรารักเกาะสมุย<br />

รักเมืองไทย และ<br />

ภูมิใจที่ได้มีโอกาสศึกษาธรรมะของพระพุทธองค์...<br />

สารบัญ <br />

<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

37


ร่วมส่งบทความ<br />

นิตยสาร เล่ม นี จะ ้ เป็น นิตยสาร คุณภาพ ได้ ก็ ด้วย เนื้อหา<br />

ดี ๆ ภายใน ฉบับ ที่<br />

จัดสรร ลง อย่าง ต่อ เนื่อง<br />

นะ คะ<br />

หาก คุณ ผู้<br />

อ่าน ท่าน ใด มีค วาม สามารถ ใน การ เขียน มี<br />

ศรัทธา และ ความ เข้าใจ ใน คำ สอน ของ พุทธ ศาสนา ไม่<br />

ว่า จะ ใน ระดับ เบื้องต้น<br />

เบื้อง<br />

กลาง หรือ เบื้อง<br />

ปลาย<br />

และ มี ใจ รัก ที อยาก ่ จะ สื่อสาร<br />

ถ่ายทอด สิ่ง<br />

นั้น<br />

ให้ กับ ผู อื ้ ่น<br />

ได้ ทราบ และ ได้ ประโยชน์ จาก สิ่ง<br />

เหล่า นั้น<br />

เช่น เดียว กับ<br />

ที่<br />

เรา อาจ เคย ได้ รับ จาก ผู้<br />

อื่น<br />

มา แล้ว ก็ ขอ เชิญ ทุก ท่าน<br />

ส่ง บทความ มา ร่วม เป็น ส่วน หนึ่ง<br />

ของ <strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

ด้วย กัน นะ คะ<br />

คุณ อาจ ไม่ จำเป็น ต้อง เป็น นัก เขียน ฝีมือ เลิศ แต่ หาก มี<br />

ใจ ที่<br />

คิด อยาก จะ ถ่ายทอด มี สิ่ง<br />

ที่<br />

คิด ว่า อยาก แบ่งปัน<br />

ความ รู้ความ<br />

เข้าใจ นั้น<br />

ให้ กับ คน อื่น<br />

ๆ ก็ ลอง เขียน ส่ง<br />

เข้า มา ได้ เลย ค่ะ<br />

<br />

๑. คอ ลัมน์ที่<br />

เปิด รับ บทความ<br />

คอลัมน์: ธรรมะ จากคนสู้กิเลส<br />

เนื้อหา:<br />

เปิด โอกาส ให้ คุณๆ ได้ เล่า ประสบการณ์ จริง<br />

ของ ตน เอง ว่า ผ่าน อะไร มา บ้าง มี อะไร เป็น ข้อคิด ที เป็น ่<br />

ประโยชน์ บ้าง อะไร ทำให้ คน ธรรมดา คน หนึ่ง<br />

กลาย<br />

เป็น คน ดี ขึ้น<br />

มา และ ทำให้ คน มี กิเลส เยอะ กลาย เป็น<br />

คน กิเลส บาง ลง ได้ มี แต่ คน ที่<br />

เปลี่ยนแปลง<br />

ตัว เอง แล้ว<br />

เท่านั้น<br />

จึง จะ เขียน ธรรมะใกล้ ตัว ได้ สำเร็จ<br />

คอลัมน์: นิยาย/เรื่องสั้นอิง<br />

ธรรมะ<br />

เนื้อหา:<br />

เปิด โอกาส กว้าง สำหรับ คน ที่<br />

ชอบ คิด ชอบ<br />

เขียน โดย เฉพาะ อดีต นัก ฝัน ที่<br />

เพิ่ง<br />

ผัน ตัว มา อยู่<br />

ใน<br />

โลก ธรรมะ เพื่อ<br />

สร้างสรรค์ เรื่องราว<br />

ให้ คน ได้ ข้อคิด ข้อ<br />

ธรรม ผ่าน ความ สนุก ของ รูป แบบ นิยาย หรือ เรื่องสั้น<br />

ได้ อย่าง เพลิดเพลิน<br />

คอลัมน์: คำคมชวน คิด<br />

เนื้อหา:<br />

รวบรวม ข้อคิด หรือ คำคม ของ บุคคล ต่าง ๆ<br />

ที่<br />

เคย ได้ยิน มา แล้ว สะดุดใจ มาบ อก ต่อ ยิ่ง<br />

ถ้า ใคร<br />

สามารถ สร้างสรรค์ วรรค ทอง ได้ เอง ยิ่ง<br />

ดี เพราะ จะ<br />

ได้ ฝึก ริเริ่ม<br />

วลี สะดุดใจ ซึ่ง<br />

เป็น แม่บท ของ กรรม ที ทำให้ ่<br />

มีค วาม คิด สร้างสรรค์ ได้ อย่าง สุด ยอด เนื่องจาก<br />

แง่ คิดดีี<br />

ๆ จะ ช่วย ให้ คน อ่าน คิด ดี หรือ ได้คิด เพื่อ<br />

เปลี่ยนแปลง<br />

ชีวิต วิบาก ที ย้อน ่ กลับ มาส นอง ตอบแทน<br />

คุณ ก็ คือ การ ผุด ไอ เดียเหมือน น้ำพุ ไม่ รู้<br />

จบ รู้<br />

สิ้น<br />

กับ ทั้ง<br />

เป็น ที่<br />

ยอม รับ ใน วง กว้าง ด้วย<br />

กติกา: หาก เป็นการ คัด มา จาก ที่<br />

อื่น<br />

หรือ แปล มา จาก<br />

ภาษา อังกฤษ กรุณา ระบุ แหล่ง ที่มา<br />

หรือ ชื่อ<br />

ของ บุคคล<br />

ผู้<br />

เป็น เจ้าของ คำคม ด้วย นะ คะ<br />

คอลัมน์: สัพเพเหระธรรม<br />

เนื้อหา:<br />

เรื่องราว<br />

เรื่อง<br />

เล่า อาจ มา จาก ฉาก หนึ่ง<br />

ใน<br />

ชีวิต ของ คุณ ที่<br />

มี เกร็ด ข้อคิด ทาง ธรรม หรือ ข้อคิด ดี ๆ<br />

อันเป็น ประโยชน์ อาจ เป็น เรื่อง<br />

เล่า สั้น<br />

ๆ ใน รูป แบบ ที่<br />

เสมือน อ่านเล่น ๆ แต่ อ่าน จบ แล้ว ผู อ่าน ้ ได้ เกร็ด ธรรม<br />

หรือ ข้อคิด ดี ๆ ติด กลับ ไป ด้วย<br />

คอลัมน์: กวีธรรมะ<br />

เนื้อหา:<br />

พื้นที่<br />

ที่<br />

เปิด กว้าง สำหรับ กวี ธรรมะ ทั้งหลาย<br />

โดย ไม่ จำกัด รูป แบบ และ ความ ยาว ของ บท กวี หรือ<br />

หาก จะ คัด เอา บท กวี ที่<br />

น่า ประทับใจ ให้ แง่ คิด อะไร<br />

ใน เชิง บวก ก็ สามารถ นำ มา ลง ได้ เช่น กัน แต่ ถ้า ให้ ดี<br />

กลั่นกรอง<br />

ออก มา ด้วย ตน เอง ได้ ก็ ยิ่ง<br />

ดี ค่ะ<br />

กติกา: หาก เป็นการ คัด มา จาก ที่<br />

อื่น<br />

ต้อง ระบุ ที่มา<br />

ที่<br />

ไป อย่าง ชัดเจน ด้วย นะ คะ<br />

คอลัมน์: เที่ยววัด<br />

เนื้อหา:<br />

รับ หมด ไม่ ว่า จะ เป็น วัด สวย หรือ สถาน ที่<br />

ปฏิบัติธรรม ข้อมูล ข่าวสาร จาก ทั่ว<br />

ประเทศ นั้น<br />

ไม่ มี<br />

วัน ที่<br />

ใคร คน เดียว จะ รู้<br />

ได้ หมด ถ้า ช่วย เป็น หู เป็น ตา ให้<br />

แก่ กัน ก็ คง จะ มี ประโยชน์ อย่าง มหาศาล<br />

กติกา: นอกจาก ข้อมูล เกี่ยว<br />

กับ สถาน ที่<br />

บรรยากาศ<br />

ปฏิปทา ฯลฯ ของวัด แล้ว ต้อง ขอ รบกวน ส่ง ภาพ<br />

สวย ๆ มา ประกอบ บทความ อีกทั้ง<br />

ไม่ พา ชม หรือ<br />

แทรก ธรรมะ ด้าน การปฏิบัติ ที่<br />

ขัดแย้ง กับ แนวทาง ของ<br />

นิตยสาร นะ คะ<br />

คอลัมน์: ธรรมะปฏิบัติ<br />

เนื้อหา:<br />

ร่วม บอก เล่า ประสบการณ์ จริง ประสบการณ์<br />

ตรง จาก การ ปฏิบัติธรรม เพื่อ<br />

เป็น ทั้ง<br />

ธรรม ทาน และ


เป็น ทั้ง<br />

กำลังใจ สำหรับ ผู้<br />

ที่<br />

กำลัง ร่วม เดินทาง อยู่<br />

บน<br />

เส้น อริยมรรค เส้น เดียวกัน นี้<br />

คอลัมน์: ของ ฝากจากหมอ<br />

เนื้อหา:<br />

นำ เสนอ ข่าวสาร ใน วงการ แพทย์ หรือ<br />

สาระ น่า รู้<br />

อันเป็น ประโยชน์ เกี่ยว<br />

กับ สุขภาพ ที่<br />

คน<br />

ทั่วไป<br />

สนใจ หรือ นำ ไป ใช้ได้ เพื่อ<br />

เป็น วิทยาทาน ให้ กับ<br />

ผู้อ่าน<br />

จาก แง่มุม ต่าง ๆ ทีแพทย์<br />

่ แต่ละ แขนง มีค วาม รู้<br />

ความเชี่ยวชาญ<br />

ต่าง ๆ กัน<br />

กติกา:<br />

• หาก เป็น บทความ ที่<br />

แนะนำ ให้ มี การ ทดลอง กิน<br />

ยา หรือ แนะนำ ให้ ผู้<br />

อ่าน ปฏิบัติ ตาม ด้วย ขอ<br />

จำกัด เฉพาะ ผู้<br />

เขียน ที่<br />

เป็น ผู้<br />

เรียน หรือ ทำ งาน<br />

ใน สาขา วิชาชีพ ที่<br />

เกี่ยวข้อง<br />

เท่านั้น<br />

เพื่อ<br />

ป้องกัน<br />

การ นำเสนอ ข้อมูล ที คลาดเคลื ่ ่อน และ อาจ ส่งผล<br />

ต่อ ผู้<br />

อ่าน ได้ ค่ะ<br />

• หาก นำ เสนอ ประเด็น ที่<br />

ยัง เป็น ที่<br />

ถกเถียง อยู่<br />

ใน<br />

วงการ แพทย์ ขอ ให้ มี การ อ้างอิง ด้วย เช่น มา<br />

จาก งาน วิจัย ชิ้น<br />

ไหน หรือ หาก เป็น เพียง ความเห็น<br />

ส่วนตัว ของ หมอ ก็ กรุณา ระบุ ให้ ชัดเจน ด้วย ค่ะ<br />

<br />

๒. อ่าน สัก นิด ก่อน คิด เขียน<br />

เนื่องจาก<br />

ใน แต่ละ สัปดาห์ มี งาน เขียน ส่ง เข้า มา เป็น<br />

จำนวน มาก ชิ้น<br />

ขึ้น<br />

เรื่อย<br />

ๆ ดังนั้น<br />

เพื่อ<br />

เป็นการ ช่วย ลด<br />

เวลา และ ลด ภาระ ให้ กับ อาสา สมัคร ใน การ เข้า มา<br />

ช่วยกัน คัดเลือก และ พิสูจน์ อักษร ของ ทุก บทความ<br />

ต้อง ขอ รบกวน ผู ส่ง ้ บทความ เรียบเรียง งาน เขียน ตาม<br />

แนวทาง ดังนี้<br />

ด้วย นะ คะ<br />

๒.๑ ตรวจ ทาน คำ ถูก ผิด ให้ เรียบร้อย<br />

ก่อน ส่ง บทความ รบกวน ผู เขียน ้ ทุก ท่าน ช่วย ตรวจ ทาน<br />

ให้ แน่ใจ ก่อน นะ คะ ว่า ไม่ มี จุด ไหน พิมพ์ ตกหล่น พิมพ์<br />

เกิน พิมพ์ ผิด พลาด หรือ เขียน ตัวสะกด ไม่ ถูก ต้อง ผ่าน<br />

สายตา ของ ผู้<br />

เขียน แล้ว<br />

หาก ไม่ แน่ใจ ตัวสะกด ของ คำ ไหน สามารถ ตรวจ สอบ<br />

ได้ จาก ที่<br />

นี่<br />

เลย ค่ะ<br />

เว็บ เครือ ข่าย พจนานุกรม ราชบัณฑิต ยสถาน<br />

http://rirs3.royin.go.th/ridictionary/lookup.html<br />

๒.๒ จัด รูป แบบ ตาม หลัก งาน เขียน ภาษา ไทย<br />

เพื่อให้<br />

ทุก บทความ มี ลักษณะ ของ การ จัด พิมพ์ ที่<br />

สอดคล้อง กัน ขอ ให้ ใช้ การ จัด รูป แบบ ใน ลักษณะ ดังนี้<br />

นะ คะ<br />

• เครื่องหมาย<br />

คำ ถาม (?) และ เครื่องหมาย<br />

ตกใจ (!)<br />

เขียน ติดตัว หนังสือ ด้านหน้า และ วรรค ด้าน หลัง<br />

เช่น “อ้าว! เธอ ไม่ ได้ ไป กับ เขา หรอก หรือ? ฉัน<br />

นึก ว่า เธอ ไป ด้วย เสีย อีก ”<br />

• การ ตัด คำ เมื่อ<br />

ขึ้น<br />

บรรทัด ใหม่<br />

สำหรับ คน ที่<br />

นิยม เขียน แบบ เคาะ [Enter] เพื่อ<br />

ตัด ขึ้น<br />

บรรทัด ใหม่ แทน การ รวบ คำ อัตโนมัติ ของ<br />

โปรแกรม คอมพิวเตอร์ อยาก ให้ ช่วย ดู การ ตัด<br />

คำ ด้วย นะ คะ ว่า ตัด ได้ อย่าง เหมาะสม คือ อ่าน<br />

ได้ ลื่น<br />

ไม่ สะดุด ไม่ แยก คำ หรือ ไม่ ขึ้น<br />

บรรทัด<br />

ใหม่ ผ่า กลาง วลี ที่<br />

ควร อ่าน ต่อ เนื่อง<br />

กัน โดย ไม่<br />

จำเป็น เช่น<br />

“ฉัน ไม่ อยาก ให้ เธอ ทำ แบบ นั้น<br />

ก็ เลย บอก เธอ ไป ว่า ผลก รรม<br />

ข้อ กา เม นั้น<br />

หนัก ไม่ ใช่ เล่น ”<br />

“ฉัน ไม่ อยาก ให้ เธอ ทำ แบบ นั้น<br />

ก็ เลย บอก เธอ ไป ว่า<br />

ผลก รรม ข้อ กา เม นั้น<br />

หนัก ไม่ ใช่ เล่น ” (อ่าน ง่าย กว่า ค่ะ)<br />

หรือ ดู หลักเกณฑ์ อื่น<br />

ๆ ได้ จาก ที่<br />

นี่<br />

เพิ่มเติม<br />

ด้วย ก็ได้ ค่ะ<br />

ราชบัณฑิต ยสถาน > หลักเกณฑ์ ต่าง ๆ<br />

http://www.royin.go.th/th/profile/index.php<br />

๒.๓ ความ ถูก ต้อง ของ ฉันทลักษณ์ สำหรับ ชิ้น<br />

งาน ร้อยกรอง<br />

สำหรับ ท่าน ที่<br />

แต่ง ร้อยกรอง เข้า มา ร่วม ใน คอลัมน์<br />

กวีธรรม ขอ ให้ ตรวจ ทาน ให้ แน่ใจ สัก นิด นะ คะ ว่า<br />

บทกลอน นั้น<br />

ถูก ต้อง ตาม ฉันทลักษณ์ แล้ว หรือ ยัง จะ<br />

ได้ ช่วย กัน ใส่ใจ และ เผยแพร่ แต่ ใน สิ่ง<br />

ที่<br />

ถูก ต้อง ให้ ผู้<br />

อื่น<br />

กัน ค่ะ<br />

คุณ ผู้<br />

อ่าน สามารถ ตรวจ สอบ หรือ หาความ รู้<br />

เพิ่มเติม<br />

เกี่ยว<br />

กับ ฉันทลักษณ์ ของ กวี ไทย ได้ จาก ที่<br />

นี่<br />

ด้วย นะ คะ


ร้อยกรอง ของ ไทย<br />

(โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย)<br />

http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/index.html<br />

๒.๔ ความ ยาว ของ บทความ และ การ จัด ย่อหน้า<br />

ปกติ แล้ว เรา ไม่ จำกัดความ ยาว ของ ชิ้น<br />

งาน ใน ทุก คอ<br />

ลัมน์ค่ะ แต่ ก็ อยาก ให้ ผู้<br />

เขียน ใช้ ดุลยพินิจ ดู ด้วย ค่ะ ว่า<br />

ความ ยาว ประมาณ ใด น่า จะ เหมาะสม โดย ลอง ดู จาก<br />

บทความ ที ลง ่ ใน เล่ม และ ลอง เทียบเคียง ความ รู้สึก<br />

ใน<br />

ฐานะ ผู้<br />

อ่าน ดู นะ คะ<br />

สำหรับ เรื่องสั้น<br />

หรือ นวนิยาย ทีอาจ<br />

่ มีค วาม ยาว มาก<br />

กว่า บทความ อื่น<br />

ๆ และ มี การ เปลี่ยน<br />

ฉาก อยู บ้าง ่ อย่า<br />

ลืม เบรก สายตา ผู้<br />

อ่าน โดย การ ขึ้น<br />

ย่อหน้า ใหม่ เมื่อ<br />

ถึง<br />

จุด หนึ่ง<br />

ๆ ของ เรื่อง<br />

ที่<br />

เหมาะสม ด้วย นะ คะ เพราะ<br />

การ เขียน เป็น พรืด เห็น แต่ ตัวหนังสือ ติด ๆ กันลง มา<br />

ยาว ๆ จะ ลด ทอน ความ น่า อ่าน ของ บทความ ไป อย่าง<br />

น่า เสียดาย ค่ะ<br />

หาก บทความ ใด อ่าน ยาก ๆ หรือ มี จุด บกพร่อง ที ต้อง ่<br />

แก้ไข เยอะ มาก ๆ ทาง ทีม งาน อาจ จะ ต้อง ขอ อนุญาต<br />

เก็บ ไว้ เป็นอัน ดับ หลัง ๆ ก่อน นะ คะ<br />

<br />

๓. ส่ง บทความ ได้ที่<br />

ไหน อย่างไร<br />

๓.๑ กระดาน ส่ง บทความ<br />

เมื่อ<br />

เขียน อ่าน ทาน และ ตรวจ ทาน บทความ พร้อม ส่ง<br />

เรียบร้อย แล้ว งาน เขียน ทุก ชิ้น<br />

สามารถ โพ สท์ส่ง ได้ที่<br />

กระดาน “ส่ง บทความ ” ได้ เลย ค่ะ ที่:<br />

http://dungtrin.com/forum/viewforum.php?f=2<br />

โดย หัวข้อ กระทู้<br />

ขอ ให้ ใช้ ฟอร์แมท ลักษณะ นี้<br />

นะ คะ<br />

(ชื่อ<br />

คอลัมน์) ชื่อ<br />

เรื่อง<br />

โดย ชื่อ<br />

ผู้<br />

แต่ง<br />

เช่น<br />

(สัพเพเหระ ธรรม) เทพธิดา โรง ทาน โดย คน ไกล วัด<br />

(ธรรมะ ปฏิบัติ) เส้นทาง การ ปฏิบัติ 1 โดย satima<br />

(ของ ฝาก จาก หมอ) เครียด ได้...แต่ อย่า นาน โดย หมอ อติ<br />

เพื่อ<br />

ช่วย ให้ ทีม งาน สามารถ จัด หมวด หมู่<br />

ของ ชิ้น<br />

งาน<br />

ได้ เร็ว ขึ้น<br />

ค่ะ<br />

๓.๒ แนบไฟล์ Word มา ด้วย ทุก ครั้ง<br />

หาก แปะ เนื้อความ<br />

ลง ใน กระทู้<br />

เลย ฟอร์แมท ต่าง ๆ<br />

เช่น ตัว หนา ตัว บาง ตัว เอียง จะ หาย ไป ค่ะ เพื่อ<br />

ความ<br />

สะดวก รบกวน ทุก ท่าน แนบไฟล์ Word ทีพิมพ์<br />

่ ไว้ มา<br />

ด้วย นะ คะ (ใน หน้า โพสต์ จะ มี ปุ่ม<br />

Browse ให้ เลือก<br />

Attach File ได้ เลย ค่ะ)<br />

ใคร มี รูป ประกอบ ก็ Attach มา ด้วย วิธี เดียวกัน นี้<br />

เลย<br />

นะ คะ<br />

และ หาก ไฟล์มี ขนาด ใหญ่ ทำเป็น zip เสีย ก่อน ก็ จะ<br />

ช่วย ประหยัด พื้นที่<br />

ได้ ไม่ น้อย ค่ะ<br />

<br />

๔. ส่ง แล้ว จะ ได้ ลง หรือ ไม่<br />

ปกติ แล้ว เวที แห่ง นี เป็น ้ เวที ที เปิด ่ กว้าง หาก บทความ<br />

นั้น<br />

ให้ เนื้อหา<br />

สาระ ที เป็น ่ ไป เพื่อ<br />

เกื้อกูล<br />

กัน ใน ทาง สว่าง<br />

และ เป็น แนวทาง ที่<br />

ตรง ตาม แนวทาง คำ สอน ของ<br />

พระพุทธเจ้า หรือ เป็น ประโยชน์ ต่อ ผู้<br />

อ่าน จาก ผู้<br />

รู้<br />

จริง<br />

ใน ด้าน ที่<br />

เชี่ยวชาญ<br />

ก็ จะ ได้ รับ การ ลง แน่นอน ค่ะ<br />

ทั้งนี้<br />

รวม ถึง ความ ยาก ง่าย ใน การ อ่าน พิจารณา<br />

บทความ การ แก้ไข จุด บกพร่อง ต่าง ๆ ใน งาน พิสูจน์<br />

อักษร หาก เป็น ไป อย่าง คล่องตัว ก็ จะ ช่วย ให้ พิจารณา<br />

ชิ้น<br />

งาน ได้ ง่าย ขึ้น<br />

ด้วย ค่ะ<br />

แต่ หาก บทความ ใด ยัง ไม่ ได้ รับ คัดเลือก ให้ ลง ก็ อย่า<br />

เพิ่ง<br />

หมด กำลังใจ นะ คะ วัน หนึ่ง<br />

คุณ อาจ รู้<br />

อะไร ดี ๆ<br />

และ เขียน อะไร ดี ๆ ใน มุม ที่<br />

ใคร ยัง ไม่ เห็น เหมือน คุณ<br />

อีก ก็ได้ ค่ะ : )<br />

และ ถ้า อยาก เริ่ม<br />

ต้น การ เป็น นัก เขียน ธรรมะ ที ดี ่ ก็ ลอง<br />

ติดตาม อ่าน คอลัมน์ เขียน ให้ คนเป็น เทวดา ที คุณ ่ ‘ดัง<br />

ตฤณ ’ มา ช่วย เขียน เป็น นัก เขียน ประจำ ให้ ทุก สัปดาห์<br />

ดู นะ คะ<br />

ขอ อนุโมทนา ใน จิต อัน มี ธรรม เป็น ทาน ของ ทุก ท่าน ค่ะ


<strong>ธรรมะใกล้ตัว</strong><br />

dharma at hand<br />

มาร่วมเป็นอีกหนึ่งกำลัง<br />

ที่ช่วยสร้างภาพใหม่ให้กับพระพุทธศาสนา<br />

ด้วยการร่วมส่งบทความ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ท้ายเล่ม<br />

หรือที่<br />

http://dungtrin.com/dharmaathand/

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!