29.03.2014 Views

file_20140204135352

file_20140204135352

file_20140204135352

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ถูกนำไปแช่ในอะซิโตนที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อให้อะซิโตนเข้าไปแทนที่<br />

น้ำและไขมันในเนื้อเยื่อ จากนั้นจึงนำไปแช่ในสารละลายพลาสติก<br />

สังเคราะห์ภายใต้สภาวะสูญญากาศ เพื่อทำให้อะซิโตนที่อยู่ใน<br />

เซลล์ถูกแทนที่ด้วยพลาสติกสังเคราะห์ จากนั้นจึงนำไปบ่มด้วย<br />

แสงอัลตราไวโอเลต หรือความร้อน เพื่อทำให้พลาสติกแข็งตัวและ<br />

คงสภาพ เทคนิคการรักษาเนื้อเยื่อนี้ จะไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยาคง<br />

สภาพเช่น ฟอร์มาลีน รวมทั้งไม่มีการเน่าสลายของเนื้อเยื่อ ทำให้<br />

สามารถคงสภาพอยู่ได้นาน<br />

นอกจากนี้ การดูแลรักษาเนื้อเยื่อที่ผ่านกระบวนการ<br />

Plastination นั ้น ยังทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก เพียงเก็บรักษาหุ่น<br />

และชิ้นส่วนของร่างกายไว้ในที่แห้งที่อุณหภูมิห้อง รวมทั้งหลีกเลี่ยง<br />

การถูกแสงแดดและฝุ่นละออง<br />

The Body Worlds<br />

กุนเธอร์ ฟอน ฮาเก้นส์ ได้จดสิทธิบัตรวิธีการทำ plastination ใน<br />

ปี 1979 จากนั้น ได้จัดตั้ง Institute for Plastination ขึ้นที่เมือง<br />

Heidelberg ประเทศเยอรมนีในปีค.ศ. 1993 เพื่อจัดการแสดงหุ่น<br />

ร่างกายทั้งของมนุษย์ และสัตว์ รวมทั้งแสดงชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆ<br />

ต่อมาได้จัดตั้ง “The Body Worlds” ซึ่งเป็นชื่อของนิทรรศการ<br />

สัญจร เพื่อจัดแสดงหุ่นและชิ้นส่วนของร่างกายร่วมกับพิพิธภัณฑ์<br />

ต่างๆทั่วโลก โดยเริ่มจัดการแสดงครั้งแรกที ่กรุงโตเกียว ประเทศ<br />

ญี่ปุ่น ในปีค.ศ. 1995 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก จากนั้นจึง<br />

ได้จัดการแสดงนิทรรศการ The Body Worlds อย่างต่อเนื่องในอีก<br />

หลายประเทศ ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และในปีค.ศ. 2006<br />

กุนเธอร์ ฟอน ฮาเก้นส์ จึงได้เปิดพิพิธภัณฑ์ Plastinarium ขึ้นที่<br />

เมือง Guben ประเทศเยอรมนี เพื่อจัดการแสดงหุ่นร่างกายมนุษย์<br />

และ ชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆ แบบถาวร<br />

ในปัจจุบัน มีห้องปฏิบัติการมากกว่า 400 แห่ง ใน 40 ประเทศ<br />

ที่สามารถรักษาสภาพเนื้อเยื่อด้วยเทคนิค plastination และมี<br />

การจัดตั้ง Institute for Plastination ขึ้นในประเทศคีร์กีซสถาน<br />

(Kyrgyzstan) และประเทศจีน รวมทั้งมีการจัดการแสดงของ<br />

หุ่นร่างกายมนุษย์เป็นการถาวร ณ โรงแรมลักซอร์ (Luxor) เมือง<br />

ลาสเวกัส (Las Vegas) ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย<br />

คุณค่าของหุ่นร่างกายมนุษย์<br />

และปัญหาทางจริยธรรม<br />

การจัดแสดงหุ่นร่างกายมนุษย์นี้ แม้ว่าจะได้รับความสนใจจาก<br />

ประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยตั้งแต่ นิทรรศการ The Body Worlds<br />

ได้เปิดการแสดงมา คาดว่ามีผู้เข้าชมหุ่นร่างกายมนุษย์มากกว่า 30<br />

ล้านครั้งแล้ว ทั้งนี้คุณค่าและคุณประโยชน์ของหุ่นร่างกายมนุษย์<br />

เหล่านี้ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนทั้งในสาขาแพทย์ และ<br />

ทันตแพทย์ เนื่องจากนิสิตนักศึกษาสามารถศึกษาอวัยวะต่างๆ<br />

ของร่างกายมนุษย์ในมุมมองสามมิติ นอกเหนือจากการศึกษา<br />

จากตำราแพทย์ นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์กับนิสิตนักศึกษา<br />

ในสาขาอื่นๆ เช่น ศิลปกรรมศาสตร์สาขาทัศนศิลป์ วิทยาศาสตร์<br />

สุขภาพสาขากายภาพบำบัด รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่จะได้เข้ามา<br />

เรียนรู้เกี่ยวกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย<br />

ปัญหาใหญ่ที่เป็นข้อถกเถียงทั้งในวงวิชาการและสังคมเกี่ยว<br />

กับการจัดแสดงหุ่นร่างกายมนุษย์ คือปัญหาเกี่ยวกับการได้มาของ<br />

ร่างกายและอวัยวะต่างๆ ซึ่งนอกจากประเด็นในเรื่องของความถูก<br />

ต้องในการได้ร่างกายมาแล้ว ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับความถูก<br />

ต้องเหมาะสมในการนำเอาร่างกายของผู้วายชนม์มาจัดแสดงใน<br />

รูปแบบของนิทรรศการด้วย นอกจากนี้ ในเรื่องของการได้มาของ<br />

ร่างกายและอวัยวะนั้น ยังมีรายงานว่า เกี่ยวข้องกับขบวนการค้า<br />

อวัยวะมนุษย์ โดยเฉพาะในประเทศจีนอีกด้วย ซึ่งในประเด็นแรก<br />

นั้น มีเอกสารของ Institute for Plastination ที่เมือง Heidelberg<br />

ที่แสดงถึงการรับบริจาคร่างกายเพื่อนำมาจัดทำหุ่นร่างกายอย่าง<br />

ถูกต้อง รวมทั้งมีรายงานแสดงว่ามีผู้แสดงความจำนงในการบริจาค<br />

จำนวนหลายพันคนในปัจจุบัน<br />

แม้ว่า จะยังมีประเด็นถกเถียงในทางจริยธรรมเกี่ยวกับความ<br />

ถูกต้องเหมาะสม ในการจัดแสดงหุ่นร่างกาย และอวัยวะต่างๆ ซึ่ง<br />

ขึ้นกับมุมมองและความเชื่อของสังคม และวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี<br />

การจัดแสดงหุ่น ร่างกายมนุษย์ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นั้น<br />

มีความประสงค์เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้เข้า<br />

มาศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายและอวัยวะในร่างกาย<br />

ของเรา โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ทางด้านธุรกิจ การเข้าชมหุ่นเหล่านี้<br />

ด้วยความเคารพ และเพื่อศึกษาหาความรู้ทางด้านวิชาการ ย่อมจะ<br />

ยังประโยชน์แก่วงการวิชาการ และสังคม สมตามความตั้งใจและ<br />

วัตถุประสงค์ของผู้ที่เป็นเจ้าของร่างกายเหล่านี้<br />

34 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 35

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!