29.03.2014 Views

file_20140204135352

file_20140204135352

file_20140204135352

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

VOLUME 7 ISSUE 29 JANUARY • MARCH 2014<br />

ไปเยี่ยม<br />

LAB<br />

เมืองมะกัน<br />

• VOLUME 7 • ISSUE 29 • JANUARY • MARCH 2014<br />

ท่องเมืองใน<br />

พิพิธภัณฑ์<br />

ร่างกายมนุษย์<br />

คณะทันตแพทยศาสตร์<br />

จุฬาฯ


ปี 2557 นี้แมกกาซีนเราปรับปรุงใหม่ เพิ่มความเข้มข้นด้านการ<br />

ต่างประเทศให้ “ทันโลก” แนะนำระบบบริการของประเทศใน AEC ให้กับสมาชิก<br />

เพิ ่มเรื่องเล่าเกี่ยวกับการทำฟันในต่างประเทศ แต่ด้านวิชาการเรายังคงมุ่งมั่นคัด<br />

สรรสาระวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการทำคนไข้ของเรา และวิชาการทันสมัยใน<br />

แนวกว้างเพื่อความ “รอบรู้” ในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนั้นยังคง<br />

พยายามนำเสนอ “ราก” หรือประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวงการทันตแพทย์ไทย<br />

ตามจังหวะที่ทำได้ค่ะ<br />

การดูแลคนไข้ในอนาคตต้องเป็นไปแบบบูรณาการสหวิชาชีพ คำนึงถึง<br />

สังคมสิ่งแวดล้อม เราจึงมีบทความที่เขียนโดยหมอ หู คอ จมูก ที่ทำงานประสานกับทันตแพทย์เพื่อดูแลคนไข้กลุ่มปากแหว่ง<br />

เพดานโหว่ ว่าทำอย่างไรจะส่งต่อคนไข้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด<br />

และเราทำงานดักกระแสการอ่าน online ของท่านๆ โดยเราปรับโฉม online magazine<br />

ให้โดนใจและเป็นที่อ้างอิงได้มากขึ้น มี QR code กะเขาด้วย<br />

ทั้งหมดทั้งมวลนี้เกิดขึ้นได้ ด้วยความอนุเคราะห์จากกูรู และพี่น้องทันตแพทย์ที่น่ารักทั้ง<br />

หลาย บางท่านช่วยแนะนำประเด็น บางท่านช่วยเขียน บางท่านแนะนำคนให้เราไปสัมภาษณ์<br />

ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้<br />

สวัสดีปีมะเมียค่ะ ขอสัญญาว่าจะทำดีที่สุด เพื่อท่านสมาชิกค่ะ<br />

บรรณาธิการ<br />

ทญ. แพร จิตตินันทน์<br />

CONTENTS<br />

VOLUME 7 ISSUE 29<br />

JANUARY-MARCH 2014<br />

65<br />

04 TPP PART 2<br />

09 ภาพ TIDC 2013<br />

12 ล้างให้หมด Episode 2<br />

14 Health tip - กินยาปฏิชีวนะทำาให้อ้วน<br />

19 2014 Online magazine update<br />

20 ย้อนรอยการแปรงฟันของคนไทย<br />

24 สหสาขาเพื่อรอยยิ้มที่สดใส<br />

26 เล่าสู่กันฟัง<br />

28 Current Stage of art for<br />

Zirconia and new dental<br />

adhesives<br />

32 พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์<br />

40 เยี่ยมแลบ US<br />

46 Brunai Darussalam<br />

52 สมดุลชีวิต<br />

54 Dent Dining<br />

56 ทันตแพทย์กับการอดบุหรี่<br />

58 Dent Adirek ต่อยมวย<br />

60 Dent Adirek ตีกอล์ฟ<br />

65 Dental Away มอสโคว<br />

70 ดื่มด่ำาความเดิม เชียงใหม่<br />

54<br />

40<br />

32


สารจากนายก<br />

เจ้าของ<br />

ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

ที่ปรึกษา<br />

ทพ.อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา<br />

ทพ.สุชิต พูลทอง<br />

รศ.ดร.ทพ.ประสิทธิ์ ภวสันต์<br />

บรรณาธิการ<br />

ทญ.แพร จิตตินันทน์<br />

กองบรรณาธิการ<br />

ทพ.ปริญญา อมรเศรษฐชัย<br />

ทญ.อภิญญา บุญจารัส<br />

ทพ.สุธี สุขสุเดช<br />

ทญ.ดวงตา อิสสระพานิชกิจ<br />

ทญ.ธิติมา วิจิตรจรัลรุ่ง<br />

ทพ.กิตติธัช มงคลศิวะ<br />

ทญ.เดือน ปัญจปิยะกุล<br />

ทพ.สมดุลย์ หมั่นเพียรการ<br />

ทพ.อภิสิทธิ์ อารยะเจริญชัย<br />

นายอนุสรณ์ ศรีคาขวัญ<br />

ทพ.บัญชา เหลืองอร่าม<br />

ติดต่อโฆษณาที่<br />

คุณ ชิตศักดิ์ สุวรรณโมลี 02-539-4748<br />

ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ<br />

71 ลาดพร้าว 95 วังทองหลาง<br />

กรุงเทพฯ 10310<br />

โทร. 02-5394748<br />

แฟกซ์ 02-5141100<br />

e-mail: thaidentalnet@gmail.com<br />

เรื่อง ศาสตราจารย์พิเศษ พลโท พิศาล เทพสิทธา<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐอเมริกาในการเจรจา<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐอเมริกาที่สำคัญมี ดังนี้<br />

ประการที่ 1 ภาพรวมการเจรจาการค้าสินค้า<br />

แนวทางการเจรจาในหัวข้อการเปิดตลาดสินค้า แบ่งเป็นสินค้า เกษตรกรรม<br />

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และ อุตสาหกรรม<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ<br />

ต้องการการเจรจาแบบทวิภาคี แบ่งสินค้าเป็น 4 ตะกร้า คือ<br />

สินค้าที่ลดภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ทันที<br />

สินค้าที่ลดภาษีนำเข้าภายใน 5 ปี<br />

สินค้าที่ลดภาษีนำเข้าภายใน 10 ปี<br />

สินค้าที่ยกเว้นการลดภาษี<br />

ประการที่ 2 ทรัพย์สินทางปัญญา<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ<br />

สิทธิบัตรยาและการเข้าถึงยาที่จำเป็น<br />

ขยายอายุสิทธิบัตร จาก 20 ปี ออกไปอีกไม่เกิน 5 ปี<br />

การผูกขาดข้อมูลยา 5 ปี สำหรับยาใหม่ และ 3 ปี สำหรับ<br />

ยาที่ได้รับสิทธิบัตรแล้ว และระบบการเชื่อมโยงสถานะสิทธิบัตรกับ<br />

การขึ้นทะเบียนยา (Patent Linkage System)<br />

สิทธิบัตรพืชและสัตว์<br />

ไทยต้องเข้าร่วมอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV)<br />

ประการที่ 3 แรงงาน<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ไทยต้อง<br />

ยอมรับหลักการของปฏิญญา ILO ว่าด้วย หลักการและสิทธิ<br />

บัตรขั้นพื้นฐานในการทำงาน 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ การยกเลิก<br />

แรงงานเด็กอย่างมีประสิทธิผล ห้ามมิให้มีการใช้แรงงานเด็กใน<br />

รูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและ<br />

ประกอบอาชีพ การยอมรับสิทธิในการร่วมเจรจาเสรีภาพในการ<br />

สมาคม และการขจัดแรงงานบังคับและการเกณฑ์แรงงานในทุก<br />

รูปแบบ<br />

ประการที่ 4 สิ่งแวดล้อม<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ไทยต้อง<br />

เข้าร่วมเป็นสมาชิกในความตกลงสิ่งแวดล้อม<br />

ระหว่างประเทศ 7 ฉบับ<br />

ลดภาษีสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือศูนย์ทั้งหมด<br />

และขยายขอบเขตของมาตรการห้ามการค้าสินค้า<br />

ของป่าที่เก็บเกี่ยวโดยผิดกฎหมาย ร่างกรอบ<br />

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม<br />

ให้มีบทบัญญัติเฉพาะการอนุรักษ์ สัตว์ป่า การประมงทางทะเล<br />

และไม้แปรรูป หรือการลักลอบตัดต้นไม้<br />

ประการที่ 5 การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ<br />

• ไทยต้องไม่ให้มีการจัดซื้อจัดจ้างโดยหน่วยงานรัฐ เช่น<br />

รัฐวิสาหกิจ<br />

• ไทยต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส<br />

สหรัฐฯ เห็นว่าไทยมีหน่วยงานของรัฐ ที่ทำหน้าที่บริหารเรื่อง<br />

การจัดซื้อยาของประเทศ ตามนโยบายสาธารณสุขของประเทศ<br />

และเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวของหน่วยงานของรัฐ ส่งผล<br />

กระทบต่อผู้ผลิตยาของสหรัฐฯ เนื่องจากการบริหารจัดการโดย<br />

รัฐบาล และกระบวนการจัดทำบัญชียาหลักนั ้น สามารถกีดกัน<br />

สินค้ายาของสหรัฐฯ ระหว่างการจัดซื้อ นอกจากนี้อาจมีความไม่<br />

โปร่งใสเกิดขึ้นในกระบวนการดังกล่าว<br />

4 • THAI DENTAL MAGAZINE


ประการที่ 6 นโยบายการแข่งขัน<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ<br />

ประเทศไทยฯ ต้องป้องกันพฤติกรรมกีดกันการแข่งขัน และ<br />

ดูแลให้รัฐวิสาหกิจใช้อำนาจในลักษณะที่ไม่เลือกปฏิบัติสอดคล้อง<br />

กับพันธกรณีในข้อตกลง<br />

ประการที่ 7 การค้าบริการและการลงทุน<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ไทยต้อง<br />

• เปิดให้ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100%<br />

• ให้การโอนเงินทำได้โดยเสรีและไม่มีอุปสรรค<br />

• ห้ามกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในการลงทุนประกอบธุรกิจ เช่น<br />

การบังคับให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือกำหนดสัดส่วนภายใน<br />

ประเทศ<br />

• ต้องกำกับดูแลที่โปร่งใส และไม่เลือกปฏิบัติ<br />

• ต้องมีการคุ้มครองการลงทุนจากการเวนคืน<br />

• ต้องมีบทบัญญัติเรื่องการอนุญาโตตุลาการ<br />

ประการที่ 8 การเงินและประกันภัย<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ไทยต้อง<br />

• เปิดเสรีให้ชาวต่างชาติสามารถลงทุนได้ 100%<br />

• มีการเปิดเสรีบริการทางการเงินใหม่<br />

• ให้เปิดให้มีบริการข้ามพรมแดน<br />

• มีมาตรการกำกับดูแลที่ไม่เป็นภาระต่อการทำธุรกิจ<br />

ประการที่ 9 โทรคมนาคม<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ไทยต้องทำให้<br />

• มีการเข้าถึงโครงข่าย และโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคม<br />

อย่างเท่าเทียมกัน<br />

• ต้องมีการแข่งขันที่เป็นธรรม<br />

• ต้องมีหน่วยงานกำกับดูแลที่โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ<br />

ประการที่ 10 บริการจัดส่งด่วน<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ไทยต้อง<br />

ไม่ให้ผู้ผูกขาดบริการไปรษณีย์ ใช้อำนาจผูกขาดไปในทางที่<br />

เอาเปรียบผู้ให้บริการจัดส่งด่วนในตลาดมีการปรับปรุงกระบวน<br />

การศุลกากร<br />

ประการที่ 11 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์<br />

ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ไทยต้อง<br />

• ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อสินค้าดิจิตอล<br />

• นิยามคำว่าสินค้าดิจิตอล ให้ครอบคลุมสินค้าดิจิตอลที่<br />

บรรจุอยู่ในวัสดุสื่อกลาง และสินค้าเสมือน (Virtual Goods) เช่น<br />

ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น<br />

• ให้งดเว้นการเก็บภาษีศุลกากรจากการซื้อขายสินค้าทาง<br />

อิเล็กทรอนิกส์<br />

• การเก็บภาษีสินค้าดิจิตอล ให้ประเมินราคาจากวัสดุสื่อ<br />

กลาง มิใช่ราคาของข้อมูลที่บรรจุในสื่อนั้น<br />

• การยอมรับการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์<br />

• ให้คุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์<br />

• ยืนยันสิทธิของผู้บริโภคในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และ<br />

เลือกใช้<br />

• ให้มีการส่งข้อมูลข้ามพรมแดนโดยเสรีและลดอุปสรรคด้าน<br />

การปิดกั้นข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต<br />

เป็นที่เสียดายว่าหมดพื้นที่นำเสนอในฉบับนี้แล้ว<br />

ท่านผู้อ่านคงกำลังคิดว่าแล้วไทยจะได้อะไรเสียอะไร และ<br />

ท่าน อ.พิศาลของเราท่านคิดเห็นประการใดต่อประเด็นนี้<br />

ลองประเมินกันดู หากท่านใจร้อนอยากอ่านต่อจนจบ เข้าไป<br />

อ่านได้ที่ www.thaidentalmag.com เราลงฉบับเต็มที่นั่นค่ะ<br />

AD<br />

6 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 7


TIDC 2013<br />

AD<br />

8 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 9


TIDC 2013<br />

AD<br />

10 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 11


Episode 2<br />

ฉบับที่แล้ว<br />

เราได้ทำาความรู้จัก<br />

สารละลาย<br />

โซเดียมไฮโปคลอไรต์<br />

ในบางแง่มุมที่<br />

คุณหมอหลายท่าน<br />

อาจจะยังไม่ทราบ<br />

นอกจากเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหลักในคลองรากฟันแล้ว<br />

เชื้อบางชนิด เช่น E.faecalis ที่มักพบในเคสรักษารากฟันซ้ำ หรือ<br />

ล้างและใส่ยาหลายครั้ง ก็ไม่หาย ซึ่งหลายการศึกษาพบว่าเชื้อ<br />

ดังกล่าวสามารถทนต่อฤทธิ์ของสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์<br />

ได้มากกว่าเชื้ออื่นๆ รวมถึงชั้นเสมียร์ (smear layer) ที่ปกคลุม<br />

ท่อเนื้อฟันของผนังคลองรากฟัน ซึ่งสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์<br />

ไม่สามารถกำจัดได้<br />

เรื่อง อาจารย์ทันตแพทย์หญิง ฐิตารีย์ จิรธัญญาณัฎ และกองบรรณาธิการ<br />

พูดเป็นภาษาเด็กแนว ก็ต้องบอกว่า แค่โซเดียมไฮโปคลอไรต์<br />

ยังไม่ ‘ฟิน’<br />

ฉบับนี้ กอง บก. ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ทันตแพทย์หญิง<br />

ฐิตารีย์ จิรธัญญาณัฎ อาจารย์ประจำภาควิชาทันตกรรมหัตถการ<br />

และวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล อีกครั้ง ซึ่งอาจารย์จะมาอัพเดตน้ำยาล้างคลองรากฟัน<br />

ตัวใหม่ที่ต้องติดป้าย recommended อีก 2 ตัว เพื่อให้การล้าง<br />

คลองรากฟัน ‘ฟิน’ อย่างสมบูรณ์แบบ<br />

คลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนต<br />

(chlorhexidine gluconate) :<br />

‘ทางเลือก’ ใหม่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด<br />

สารละลายคลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนต มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ<br />

สูงมาก ทั้งยังระคายเคืองเนื้อเยื่อน้อยกว่า แต่ทำไมจึงไม่อาจมา<br />

ใช้ทดแทนโซเดียมไฮโปคลอไรต์ได้<br />

Q : เราเอานำายาบ้วนปากคลอร์เฮกซิดีนกลู<br />

โคเนต มาใช้ล้างคลองรากฟันได้ด้วยหรือครับ ?<br />

A : คลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนต เป็นสารละลายชนิดเดียวกับ<br />

ที่ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก ต่างกันที่ความเข้มข้นที่ใช้เป็นน้ำยาบ้วน<br />

ปาก คือ 0.12% แต่ที่นำมาใช้ล้างคลองรากฟันมีความเข้มข้น 2%<br />

Q : เคยรักษารากฟัน ทั้งขยายคลองรากฟัน<br />

ล้างคลองรากฟัน ร่วมกับใส่ยาสารพัดแล้วหลาย<br />

ครั้งก็ไม่หาย ว่ากันว่า คลอร์เฮกซิดีนช่วยได้ จริง<br />

ไหม ?<br />

A : จากการศึกษาของ Gomes และคณะ 2001 พบว่าที่<br />

ความเข้มข้น 1% และ 2% สามารถกำจัดเชื้อ Enterococcus<br />

faecalis ได้ในเวลาที่เท่ากับโซเดียมไฮโปคลอไรต์ 5.25% ซึ่งเชื้อ<br />

ชนิดนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าค่อนข้างทนทาน พบได้ในรายที่ดื้อต่อการ<br />

รักษาและในรายที่การรักษาคลองรากฟันล้มเหลว ต้องรักษาคลอง ดีขึ้น รวมทั้งยังส่งเสริมให้อุดคลองรากฟันได้แนบสนิทกับผิวท่อ<br />

รากฟันซ้ ำ นอกจากนี้ฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อยังสามารถเข้าไปในท่อ<br />

เนื้อฟันและคงอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่งแม้หยุดล้าง<br />

การล้างคลองรากฟัน<br />

ด้วยคลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนตก็เป็น<br />

ทางเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณาเลือกใช้<br />

Q : ถ้าอย่างนั้น เราเปลี่ยนมาใช้คลอร์เฮกซิ<br />

ดีนกลูโคเนตแทนเลยดีไหม ?<br />

A : แม้ว่าสารละลายคลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนต มีประสิทธิภาพ<br />

ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียไม่ต่างกับ โซเดียมไฮโปคลอไรต์ และมีการ<br />

ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อต่ำ<br />

แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่ไม่มีฤทธิ์ในการละลายเนื้อเยื่อที่อาจหลง<br />

เหลืออยู่ในคลองรากฟัน ไม่สามารถกำจัดชั้นเสมียร์รวมถึงมีราคา<br />

แพงและหาซื้อได้ยากกว่าสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์<br />

คลอร์เฮกซิดีน จึงไม่อาจใช้แทนได้ในทุกกรณี<br />

อีดีทีเอ (EDTA) :<br />

เพราะในคลองรากฟัน<br />

ไม่ได้มีแค่เชื้อ<br />

แม้โซเดียมไฮโปคลอไรต์หรือคลอร์เฮกซิดีน จะสามารถกำจัด<br />

เชื้อในคลองรากฟันได้ดี แต่การล้างคลองรากฟัน จะไม่ ‘ฟิน’ ถ้าไม่<br />

จบด้วย EDTA<br />

Q : EDTA คืออะไร ?<br />

A : EDTA (อีดีทีเอ) ย่อมาจาก สารละลายกรดเอทิลีนไดเอ<br />

มีนเตตระอะซิติก (Ethylenediamine tetraacitic acid) เป็นน้ำยา<br />

ล้างคลองรากฟัน ที่อยากแนะนำให้ใช้ค่ะ<br />

เพราะถึงแม้ว่าจะมีรายงานว่ามีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ แต่อยู่ระดับ<br />

ที่ต่ำไม่เพียงพอต่อการใช้กำจัดเชื้อในคลองรากฟัน วัตถุประสงค์ข้อ<br />

เดียวที่นำสารชนิดนี้มาใช้คือ ใช้เพื่อกำจัดชั้นเสมียร์ที่ผนังคลองราก<br />

Q : เราใช้ EDTA ตอนไหน และอย่างไรครับ ?<br />

A : ความเข้มข้นที่นิยมใช้คือ 17% โดยแนะนำให้ล้าง17%<br />

อีดีทีเอ 2 มิลลิลิตร เป็นเวลา 1 นาทีแล้วตามด้วยสารละลายโซเดียม<br />

ไฮโปคลอไรต์ ก่อนใส่ยาฆ่าเชื้อภายหลังจากที่ขยายคลองรากฟัน<br />

เรียบร้อย หรือ ก่อนอุดคลองรากฟัน เพื่อส่งเสริมให้ประสิทธิภาพ<br />

ของน้ำยาฆ่าเชื้อหรือยาฆ่าเชื้อที่ใส่ในคลองรากมีประสิทธิภาพ<br />

เนื้อฟันที่เปิดโล่งแล้ว<br />

EDTA จึงเป็นเหมือนส่วนเติมเต็ม ที่ทำให้การล้างคลองรากฟัน<br />

หมดจด สมบูรณ์<br />

The bottom line.<br />

Nobody’s perfect :<br />

น้ำยาล้างคลองรากฟันแต่ละชนิดต่างก็มีคุณสมบัติที่เด่นและ<br />

ข้อจำกัดต่างกัน เมื่อเรารู้จักและเข้าใจ จะทำให้สามารถเลือกใช้ได้<br />

อย่างถูกต้อง และจบการล้างคลองรากฟัน แบบ ‘ฟิน’ ที่สุด<br />

References<br />

1. Basrani B and Haapasalo M. Update on endodontic irrigating solutions.<br />

Endod Topics. 2012;27(1):74-102.<br />

2. Siqueira JF Jr, Rocas IN, Favieri A, Lima KC. Chemomechanical reduction<br />

of the bacterial population in the root canal after instrumentation and irrigation<br />

with 1% 2.5% and 5.25% sodium hydrochloride. J Endod 2000;26(6):331-4.<br />

3. Okino LA, Siqueira EL, Santos M, Bombana AC, Figueiredo JA.<br />

Dissolution of pulp tissue by aqueous solution of chlorhexidine digluconate<br />

and chlorhexidine digluconate gel. Int Endod J 2004;37(1):38-41.<br />

4. Moorer WR, Wesselink PR. Factors promoting the tissue dissolving capability<br />

of sodium hypochlorite. Int Endod J 1982;15(4):187-96.<br />

5. Gomes BP, Ferraz CC, Vianna ME, Berber VB, Teixeira FB, Souza-Filho FJ.<br />

In vitro antimicrobial activity of several concentrations of sodium hypochlorite<br />

and chlorhexidine gluconate in the elimination of Enterococcus travails. Int<br />

Endod J 2001;34(6):424-8.<br />

12 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 13


Health tip<br />

เรื่อง ศ.ดร.ทพ.ประสิทธิ์ ภวสันต์<br />

เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ที่มนุษย์ค้นพบว่า การใช้ยา<br />

ปฏิชีวนะในปริมาณน้อยๆ (low doses antibiotic<br />

treatment) สามารถส่งเสริมการเจริญ และเพิ่ม<br />

นำาหนักตัวของปศุสัตว์ โดยเฉพาะในไก่ และหมู โดยพบว่า<br />

การผสมยาปฏิชีวนะปริมาณน้อยๆ ลงในอาหารหรือนำาดื่ม<br />

ของสัตว์เหล่านี้ จะทำาให้นำาหนักตัวของสัตว์เหล่านี้<br />

เพิ่มขึ้นได้มากกว่า 15% เมื่อเทียบกับการเลี้ยงโดยไม่ใช้<br />

ยาปฏิชีวนะ ดังนั้น จึงมีการผสมยาปฏิชีวนะลงในอาหาร<br />

และนำาดื่มของสัตว์ในฟาร์มอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก<br />

โดยที่ ไม่มีคำอธิบายอย่างชัดเจน ว่ายาปฏิชีวนะ<br />

เหล่านี้ มีกลไกการทำงานอย่างไร ในการส่งเสริม<br />

การเจริญ ของสัตว์ในฟาร์ม โดยทราบแต่เพียง<br />

ว่า การใช้ยาต้านเชื้อรา หรือ ยาต้านไวรัส นั้น<br />

ไม่มีผลต่อ การเจริญเติบโต และการเพิ่มน้ำหนัก<br />

ของฝูงปศุสัตว์<br />

อย่างไรก็ดี การใช้ยาปฏิชีวนะนี้ ก็ก่อให้เกิด<br />

ผลเสียเช่นกัน คือ จะเพิ่มปริมาณของเชื้อที่ดื้อต่อ<br />

ยา รวมทั้งเกิดความกังวลว่า เชื้อดื้อยาเหล่านี้ จะ<br />

ถ่ายทอดมาสู่ผู้บริโภค และก่อให้เกิดผลเสียต่อ<br />

ผู้บริโภค ดังนั้น ในปี 2006 กลุ่มประเทศ EU จึง<br />

ออกประกาศห้ามการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง<br />

ปศุสัตว์ และมีการห้ามใช้ในอีกหลายๆ ประเทศ<br />

ต่อมา<br />

โดยที่ยาปฏิชีวนะถูกผสมลงในอาหารและ<br />

น้ำดื่ม ดังนั้น จึงเกิดข้อสันนิษฐาน ว่า ผลของยา<br />

ปฏิชีวนะที่เกิดขึ้นนั้น น่าจะเกิดขึ้นภายในทาง<br />

เดินอาหาร โดยอาจมีผลต่อเซลล์ และ/หรือ เชื้อ<br />

แบคทีเรียที่อยูในทางเดินอาหาร<br />

การศึกษาโดย Cho และคณะ ที่ทดลองให้ยาปฏิชีวนะใน<br />

ปริมาณน้อยๆ แก่หนูที่ยังไม่หย่านมแม่ โดยการผสมลงในน้ำดื่ม<br />

เป็นระยะ 7 สัปดาห์นั้น พบว่าหนูเหล่านี้ มีการสะสมของไขมันใน<br />

ร่างกาย เพิ่มมากขึ้น การสะสมไขมันนี้ เกิดขึ้น แม้ว่าหนูเหล่านี้จะกิน<br />

อาหารในปริมาณเท่าๆกับกลุ่มควบคุม รวมทั้งมีระดับของฮอร์โมน<br />

ที่เกี่ยวกับความอยากอาหารไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม แต่เมื่อ<br />

วิเคราะห์ชนิด และปริมาณของแบคทีเรียในทางเดินอาหาร พบว่า<br />

หนูที่ได้รับยาปฏิชีวนะ มีชนิดของแบคทีเรีย ในทางเดินอาหาร แตก<br />

ต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างชัดเจน ในขณะที่ปริมาณแบคทีเรียโดย<br />

รวม ไม่เปลี่ยนแปลง หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ยาที่ผสมในอาหาร ไม่มี<br />

ผลต่อปริมาณของแบคทีเรียในทางเดินอาหาร แต่มีผลต่อชนิดของ<br />

แบคทีเรียที่เจริญเติบโตในทางเดินอาหาร<br />

คำถามที่เกิดขึ้น คือ การเปลี่ยนแปลงชนิดของแบคทีเรีย มีผล<br />

ต่อการเพิ่มไขมัน หรือน้ำหนักตัว ของร่างกายจริงหรือไม่<br />

โดยทั่วไปแล้ว ในทางเดินอาหารของหนู (และของคน) จะ<br />

ประกอบด้วยแบคทีเรีย สอง ไฟลัม ใหญ่ๆ คือ Bacteroidestes<br />

และ Firmicutes ผลการศึกษาพบว่า หนูกลุ่มที่ได้รับยาปฏิชีวนะ<br />

จะมีสัดส่วนของ Firmicutes/Bacteroldestes เพิ่มขึ้น หรืออีกนัย<br />

หนึ่ง มี Firmicutes เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่มี Bacteroldestes จำนวน<br />

ลดลง โดยจำนวนรวมของแบคทีเรียทั้งหมดไม่มีการเปลี่ยนแปลง<br />

การเพิ่มสัดส่วนของ Firmicutes นั้น ยังพบได้ในหนูที่มีน้ำหนักตัว<br />

มาก (คือหนูอ้วน) เมื่อเทียบกับหนูผอม โดยหนูผอม จะมีสัดส่วน<br />

ของ Firmicutes/Beacteroidestes น้อยกว่าหนูอ้วน (คือมีปริมาณ<br />

ของ Bacteroidestes มากกว่าหนูอ้วน) สนับสนุนว่า สัดส่วนของ<br />

Firmicutes/Bacteroidestes ในทางเดินอาหาร น่าจะสัมพันธ์กับ<br />

น้ำหนักตัวของร่างกาย<br />

หลักฐานนี้ สนับสนุนแนวคิดที่ว่า ชนิดและปริมาณของ<br />

แบคทีเรียในทางเดินอาหารนั้น มีผลต่อ ประสิทธิภาพในการดูดซึม<br />

ของสารอาหารในลำไส้ และสะท้อนถึงสุขภาพโดยรวมของร่างกาย<br />

รวมทั้ง ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอ้วน และการเพิ่มขึ้นของ<br />

น้ำหนักตัวด้วย รายงานของ Cho และคณะข้างต้นนั้น แสดงให้<br />

เห็นว่า หนูที่ได้รับยาปฏิชีวนะ จะมีระดับของ Short Chain Fatty<br />

Acid (SCFAs) ในอุจจาระเพิ่มขึ้น ซึ่ง SCFAs นั้น เป็นผลผลิตของ<br />

การย่อยไฟเบอร์ในลำไส้ใหญ่ โดยแบคทีเรีย บางชนิด ระดับของ<br />

Firmicutes ที่เพิ่มขึ้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการย่อย ใน<br />

ลำไล้ใหญ่ ทำให้เกิด SCFAs มากขึ้น โดยที่ SCFAs เป็นแหล่ง<br />

พลังงานของทั้งแบคทีเรียและของมนุษย์ โดย SCFAs สามารถ ถูก<br />

ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เพื่อเข้าสู่ กระบวนการเผาผลาญอาหาร ดังนั้น<br />

การเพิ่มของ Firmicutes จะทำให้ร่างกายสามารถย่อย และสร้าง<br />

พลังงานจากอาหารที่รับประทานได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายได้พลังงาน<br />

มากขึ้นจากการรับประทานอาหารเท่าเดิม<br />

ข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ Cho และคณะ ใช้ยาปฏิชีวนะสาม<br />

ชนิดในการทดลอง คือ เพนนิซิลิน แวนโคมัยซิน (vancomycin)<br />

และ คลอร์เตตราไซคลิน (chlortetracyclin) และพบว่ายาทั้ง<br />

สาม ให้ผลไม่เท่ากัน โดย เพนนิซิลิน จะให้ผลดีที่สุด ซึ่งแสดงว่า<br />

การเพิ ่มประสิทธิภาพการย่อยนี้ ขึ้นกับชนิด ของยาปฏิชีวนะ ที่มี<br />

ฤทธิ์ต่อแบคทีเรียแต่ละชนิดไม่เท่ากัน และรายงานนี้ สนับสนุน<br />

ความสัมพันธ์ระหว่าง อาหาร และกลุ่มของแบคทีเรียในลำไส้ กับ<br />

ความอ้วนและการสะสมไขมันในร่างกายอีกด้วย<br />

อย่างไรก็ดี ยาปฏิชีวนะ อาจมีผลโดยตรงต่อความสามารถใน<br />

การดูดซึมของลำไส้ก็ได้ โดยไม่เกี่ยวข้องกับชนิดของแบคทีเรีย ซึ่ง<br />

แนวคิดนี้ จะต้องมีการพิสูจน์ต่อไป<br />

14 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 15


ผลการศึกษาในคน<br />

ในตอนต้น เราได้พูดถึงผลของยาปฏิชีวนะมีผลต่อการเพิ่มน้ำ<br />

หนักของปศุสัตว์ ซึ่งนำมาสู่คำถาม ว่า ยาปฏิชีวนะจะให้ผลแบบ<br />

เดียวกันในคนหรือไม่<br />

ผลการศึกษาในเด็กกว่าหมื่นคน ที่เมือง เดวอน ประเทศอังกฤษ<br />

พบว่า ทารกที่ได้รับยาปฏิชีวนะ ตั้งแต่เมื่ออายุต่ำกว่า 6 เดือนนั้น<br />

จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่ 10 ถึง 38 อย่างมีนัยสำคัญ<br />

แต่การให้ยาปฏิชีวนะแก่ทารก เมื่อมีอายุมากกว่า 6 เดือนนั้น ไม่<br />

พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว อย่างมีนัยสำคัญ<br />

นอกจากนี้ การศึกษาโดย Danish National Birth Cohort พบ<br />

ว่า ทารกที่ได้รับ ยาปฏิชีวนะ ในช่วงอายุไม่เกิน 6 เดือน มีแนวโน้ม<br />

ที่จะมีน้ำหนักมากกว่าปกติ เมื่อเด็กมีอายุ 7 ปี ผลการศึกษาเหล่า<br />

นี ้ สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับยาปฏิชีวนะ ในช่วง<br />

อายุน้อย กับความอ้วนเมื่อเด็กคนนั้นมีอายุมากขึ้น ซึ่งบ่งชี้ถึงข้อ<br />

พึงระวังในการใช้ยาปฏิชีวนะในเด็กเล็ก<br />

อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์กับชนิดและปริมาณของแบคทีเรียใน<br />

ลำไส้ของคนนั้น ยังไม่ชัดเจนเหมือนที่พบในหนูทดลอง เนื่องจาก<br />

สัดส่วนของ Firmicutes/Bacteroidestes ในทางเดินอาหารของคน<br />

นั้น ไม่สัมพันธ์กับการเพิ่มของน้ำหนักตัวที่ชัดเจน ในความเป็นจริง<br />

แล้ว ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดานั้น จะไม่มีแบคทีเรียอาศัยอยู่ในทาง<br />

เดินอาหาร จนเมื่อเด็กคลอดออกมา ก็จะได้สัมผัสกับแบคทีเรียจาก<br />

แม่ และแบคทีเรียเหล่านั้นก็จะเข้าไปอาศัย และกลายเป็นแบคทีเรีย<br />

หลัก ในลำไส้ แม้ว่าในปัจจุบัน จะยังไม่ชัดเจนว่า การเพิ่มขึ้นของ<br />

แบคทีเรียในกลุ่มใด ที่สัมพันธ์กับ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น แต่ก็มีหลัก<br />

ฐานที่แสดงว่า การได้รับยาปฏิชีวนะ จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง<br />

ชนิด ของแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อการดูดซึม และ<br />

การย่อยอาหาร และ จะส่งผลต่อ เมตาบอลิซึมของร่างกายในที่สุด<br />

รูปแสดงโมเดลที่นำเสนอโดยนักวิทยาศาสตร์ถึงผลกระทบที่น่า<br />

จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้รับยาปฏิชีวนะ ในลำไส้เล็ก และในลำไส้ใหญ่<br />

โดยการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในทางเดินอาหาร จะมีผลต่อ<br />

การย่อยและดูดซึมสารอาหาร โดยเฉพาะในลำไส้ใหญ่ ที่จะมีผล<br />

ให้เกิด SCFAs เพิ่มขึ้น (ดูรายละเอียดในบทความ)<br />

ผลของการใช้ Probiotic<br />

เมื่อการใช้ยาปฏิชีวนะ อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการ<br />

ดื้อยา และอาจมีผลกระทบต่อผู้บริโภค ผู้เลี้ยงปศุสัตว์หลายราย<br />

จึงมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ โปรไบโอติกส์ (probiotics) แทน และ<br />

พบว่า การใช้ probiotics สามารถส่งเสริมการเจริญของปศุสัตว์<br />

ได้เช่นเดียวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยพบว่า probiotics มีผลใน<br />

การเปลี่ยนแปลงชนิดของเชื้อในทางเดินอาหารได้เช่นกัน<br />

Probiotics หมายถึง แบคทีเรียในสภาพที่ยังมีชีวิตอยู่ ใน<br />

รูปที่เป็นอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริม อาหาร ที่สามารถส่งเสริมสุข<br />

ภาพของผู้บริโภค หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม พวกเราก็คงคุ้น<br />

กับ probiotics กันเป็นอย่างดี โดยมีการใส่ลงในนมเปรี้ยว หรือใน<br />

โยเกิร์ต และมีการโฆษณาว่า มีประโยชน์แก่ร่างกาย แบคทีเรีย<br />

สายพันธ์ที่เป็นที่นิยมนำมาผสมในอาหาร ได้แก่ แบคทีเรียในกลุ่ม<br />

Lactobacilli, Streptococci และ Bifidobacteria โดยเชื้อเหล่านี้<br />

จะเข้าไปอาศัยในทางเดินอาหาร และส่งผลต่อกระบวนการย่อย<br />

และดูดซึมสารอาหารของร่างกาย<br />

ประโยชน์ของ probiotics นี้ เริ่มมีการโฆษณาอย่างแพร่หลาย<br />

โดยบริษัทที่ผลิตอาหารเสริม และมีการนำเสนอการใช้อาหารเสริม<br />

probiotic ในการลดความรุนแรงของภาวะ severe acute malnutrition<br />

ของประชาชนในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา (มีรายงานว่า พบ<br />

ภาวะ severe acute malnutrition นี้ในประชากรถึง 30% ทั่วโลก)<br />

อาหารเสริมนี้ ถูกเรียกว่าเป็น ready-to-use therapeutic food และ<br />

พบว่าผลของการรับประทานอาหารเสริมนี้ จะช่วยเพิ่มปริมาณของ<br />

Lactobacillus spp และ Bifidobacteria spp ในทางเดินอาหาร<br />

อย่างมีนัยสำคัญ และมีผลในการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน<br />

ของทางเดินอาหารและเพิ่มน้ำหนักตัวได้อย่างมีนัยสำคัญ<br />

อย่างไรก็ดี การใช้ probiotic จะต้องมีการศึกษาโดยนักวิจัยมากขึ้น เพราะ แบคทีเรียแต่ละ<br />

ชนิด มีผลต่อการเพิ่ม หรือลดของน้ำหนักที่แตกต่างกัน ดังแสดงในตาราง<br />

ตารางแสดงผลของ probiotic และยาปฏิชีวนะที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวของสัตว์<br />

ทดลอง (Angelakis et al., Lancet Infect Dis 2013;13:899-99)<br />

รูปแสดงการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในทางเดินอาหารเปรียบ<br />

เทียบระหว่าง (A) ภาวะปกติ(B) ภาวะที่ได้รับ probiotics (C) ภาวะ<br />

ที่ได้รับ antibiotics สังเกตการเปลี่ยนแปลงของชนิดแบคทีเรียใน<br />

ภาวะที่ได้รับ antibiotic เทียบกับการเพิ่ม probiotic bacteria ใน<br />

ภาวะที่ได้รับ probiotic<br />

อย่างไรก็ดี การใช้ probiotic ก็น่า<br />

จะมีผลดีมากกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ ดัง<br />

แสดงแนวคิด ในรูปสุดท้าย ซึ่งแสดงว่า<br />

การใช้ probiotic จะเป็นการเพิ่มชนิด<br />

ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ โดยที่ชนิด<br />

ของแบคทีเรียเดิมในลำไส้ยังคงอยู่ ใน<br />

ขณะที่การใช้ยาปฏิชีวนะ จะมีผลใน<br />

การกำจัดแบคทีเรียบางชนิด และปรับ<br />

เปลี่ยนสัดส่วนของชนิดของแบคทีเรีย<br />

รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงในการเพิ่มเชื้อที่<br />

มีการดื้อยาด้วย<br />

ในวงการแพทย์ปัจจุบัน เริ่มมีการ<br />

ทดลองนำ probiotics มาใช้ในการ<br />

รักษาโรคทางเดินอาหาร เช่น การใช้<br />

Lactobacillus rhamnosus GG ในการ<br />

ป้องกันอาการท้องร่วงในเด็กทารก หรือ<br />

การใช้ Bifidobacteria และ Lactobacilli<br />

ในการรักษาอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง<br />

เป็นต้น ดังนั้น probiotics อาจจะมี<br />

บทบาททางการแพทย์มากขึ้นในอนาคต<br />

ที่จะต้องจับตาดูต่อไป<br />

รูปแสดง ชนิดของ probiotic และ antibiotic ที่มีผลต่อ น้ำหนัก<br />

ของร่างกาย<br />

บทความอ่านประกอบ<br />

Flint HJ. Antibiotics and adiposity Nature 2012;488:601-2.<br />

Angelakis E, Merhej V, Raoult D. Related actions of probiotics and<br />

antibiotics on gut microbiota and weight modification. Lancet Infect<br />

Dis 2013;13:889-99.<br />

Trasande L, Blustein J, Liu M, et al. Infant antibiotic exposures and<br />

early-life body mass. Int J Obes 2013;37:16-23<br />

Million M, Lagier JC, Yahav D, et al. Gut bacterial microbiota and<br />

obesity. Clin Microbiol Infect 2013;19:305-13.<br />

16 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 17


ad<br />

ปรับโฉมเวบใหม่ อ่านได้ทั้ง คลิก และ พลิก<br />

เวบ www.thaidentalmag.com ปรับโฉมแล้วจ้าาาาา<br />

ไฉไลกว่าเดิม เอาใจนักอ่านด้วยการรวมเล่ม ที่พร้อมจะให้<br />

download เป็น pdf ทั้งเล่มไปอ่านกันได้เลย<br />

นอกจากนี้เรายังจัดหมวดหมู่ column ที่มีผู้อ่านมากที่สุด<br />

และ column สุด Hot ให้คลิกอ่านกันง่ายๆ<br />

และพิเศษสุดคือการรวม blog จากทันตแพทย์ Blogger<br />

ทั่วราชอาณาจักร และทั่วโลก มาให้ท่านอ่านอย่างง่ายๆ<br />

เพราะความตั้งใจของเราคือการทำให้เวบแมกกาซีนนี้<br />

เป็นที่พบปะ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้<br />

ในวงการวิชาชีพทันตแพทย์ไทยอย่างแท้จริง<br />

18 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 19


ภาพ โฆษณา<br />

ยาสีฟันวิเศษนิยม<br />

ในปีพ.ศ. 2478<br />

จากเว็บไซต์ของนักสะสมของเก่าในประเทศไทย<br />

จะพบยาสีฟันแบบก้อนคล้ายแป้งแข็งหลายยี่ห้อ<br />

ระบุว่ามีการผลิตและจำหน่าย ปีพ.ศ. 2497<br />

คนไทยแปรงฟันเฉลี่ยวันละ 2 ครั้ง แต่ละครั้ง<br />

ถ้าบีบยาสีฟันยาว 1 นิ้วเท่ากับ 1 กรัม วันหนึ่ง<br />

จะใช้ยาสีฟันประมาณ 2 กรัม ปีละ 730 กรัม<br />

หรือราว 4 หลอดใหญ่ ในหนึ่งปี คนไทย<br />

60 ล้านคนจึงใช้ยาสีฟันขนาดครอบครัว<br />

ประมาณ 240 ล้านหลอด หลอดละ 40 บาท<br />

ตกเป็นเงิน 9,600 ล้านบาท<br />

ลองคิดเล่นๆ ก็ใกล้เคียงกับข้อมูลปี 2555 ยาสีฟันมีมูลค่าการ<br />

ตลาดรวมกว่า 9,500 ล้านบาท ส่วนปี 2556 คาดว่าจะเติบโต<br />

ขึ้นอีกประมาณ 4–5% น่าจะมีมูลค่าถึง 1 หมื่นล้านบาท พวกเรา<br />

ทันตแพทย์จะเป็นผู้ที่ถูกถามความเห็นเกี่ยวกับการเลือกใช้ยาสีฟัน<br />

มากที่สุด และถูกอ้างอิงโดยผู้ประกอบการยาสีฟันมากที่สุดเช่น<br />

กัน จึงรวบรวมเกร็ดความรู้เรื่องยาสีฟันที่น่าสนใจและสมควรเก็บ<br />

บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การดูแลอนามัยช่องปากของคนไทยมา<br />

เล่าสู่กันฟังค่ะ<br />

เรื่อง ทญ.วิกุล วิสาลเสสถ์ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย<br />

ภาพรวมตลาดยาสีฟันปี 2554<br />

ประเภท สัดส่วน (%)<br />

ยาสีฟันเพื่อลมหายใจสดชื่น 30-35<br />

ยาสีฟันสมุนไพร 30<br />

ยาสีฟันเชิงรักษา 20<br />

ยาสีฟันสำาหรับเด็ก 15<br />

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ รวบรวม<br />

พัฒนาการของยาสีฟันในประเทศไทย น่าจะเริ่มจากการผลิตใช้เอง<br />

ในคนชั้นสูงก่อน ดังที่มีการกล่าวถึงยาสีฟันสูตรชาววัง ที่มีส่วนผสม<br />

ของดินสอพอง เกลือ การบูร ใบข่อย และดอกกานพลูตากแห้งบด<br />

ละเอียด ส่วนการผลิตออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการ มีบันทึก<br />

ว่าเป็นยาสีฟันชนิดผงยี่ห้อวิเศษนิยมเป็นเจ้าแรก ในปี พ.ศ. 2464<br />

โดยนางผิน แจ่มวิชาสอน ซึ่งได้ตำรามาจาก จมื่นสิทธิแสนยารักษ์<br />

แพทย์แผนโบราณประจำโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา<br />

ภาพยาสีฟัน<br />

ตลับโบราณยี่ห้อ Royal<br />

ข้างกล่องพิมพ์ว่าผลิตที่<br />

Bangkok Siam<br />

ประมาณ<br />

ปีพ.ศ. 2497<br />

แป้งสีฟันเบอร์ลิน บอกสรรพคุณบนฝากล่อง ว่า “มีคุณภาพ<br />

พิเศษ หากสูบบุหรี่และรัปทานหมากมาก ใช้เบอร์ลินเป็นประจำ<br />

รักษาฟันขาวสอาดถาวรเสมอ Made by asia chemical enterprise”<br />

ยี่ห้อนี้ทำให้นึกถึงยาสีฟัน Zact ในปัจจุบัน สำหรับ<br />

กำจัดคราบบุหรี่โดยเฉพาะ<br />

ยาสีฟันแบบก้อน วิธีใช้ต้องเอาแปรงสีฟันจุ่มน้ำให้เปียก<br />

ก่อน นำไปถูที่ก้อนยาสีฟัน แล้วจึงเอามาสีฟัน คล้ายกับการใช้<br />

สบู่ แต่คาดว่าน่าจะไม่ได้รับความนิยมเท่ายาสีฟันชนิดผง<br />

ยาสีฟันรูปแบบครีมบรรจุหลอดที่คุ้นเคยกันในปัจจุบัน<br />

เริ่มจากค่ายที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูง<br />

ยาสีฟันคอลเกต มีจำหน่ายในประเทศไทยกว่า 60 ปี<br />

เริ่มจากการนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกาจนกระทั่งตั้ง<br />

บริษัทคอลเกต-ปาล์มโอลีฟในไทย ปีพ.ศ. 2501 และมีการ<br />

สร้างโรงงานยาสีฟันในไทยปีพ.ศ. 2506<br />

ภาพ โฆษณายาสีฟัน<br />

แบบก้อนบรรจุตลับ<br />

ยี่ห้อกิ๊บส์ แสดงให้เห็น<br />

วิธีใช้กับแปรงสีฟัน<br />

20 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 21


ภาพยาสีฟัน<br />

คอลเกต<br />

ในยุคแรก<br />

ยาสีฟันสมุนไพรไทย ดอกบัวคู่ เริ่มจำหน่ายในปีพ.ศ. 2520<br />

เป็นยาสีฟันที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทยเป็นเจ้าแรก มี<br />

ลักษณะเด่นที่เนื้อยาเป็นสีดำ ระยะแรกจึงไม่ได้รับการยอมรับจาก<br />

ผู้บริโภค แต่ภายหลังมีกระแสความนิยมเรื่องสารสมุนไพร ทำให้<br />

สามารถเจาะตลาดได้ และในปีพ.ศ. 2555 มีส่วนแบ่งการตลาด<br />

ร้อยละ 28 นับเป็นอันดับสองรองจากคอลเกต ปัจจุบันยาสีฟัน<br />

ดอกบัวคู่ส่งออกไปขายทั้งในเอเซียและยุโรป แต่เนื่องจากเป็น<br />

ยาสีฟันที่ไม่ผสมฟลูออไรด์ จึงไม่ได้รับการสนับสนุนจากวงการ<br />

ทันตสาธารณสุขไทยซึ่งเน้นเรื่องการป้องกันฟันผุเป็นหลัก<br />

ภาพโฆษณายาสีฟัน<br />

ไอปานา พ.ศ.2500<br />

ถูกนำมา cover ใหม่ใน<br />

ละครทีวีสุดฮิต<br />

“คุณชายรณพีร์”<br />

ปีพ.ศ.2556<br />

ภาพโฆษณา<br />

คอลเกต<br />

ปี พ.ศ.2504<br />

ภาพโฆษณา<br />

ยาสีฟันดาร์กี้<br />

ปีพ.ศ. 2494<br />

ยาสีฟันดาร์กี้ (Darkie)<br />

เริ่มผลิตจากบริษัทเฮาเลย์<br />

แอนด์ ฮาเซิล ในฮ่องกง<br />

ภายหลังถูกซื้อโดยบริษัท<br />

คอลเกต และเปลี่ยนชื่อ<br />

เป็น ดาร์ลี่ (Darlie) เพื่อ<br />

ลดปัญหาการเหยียดสีผิว<br />

ภาพยาสีฟัน<br />

กามัน ผสมยูเรีย<br />

ยอดยาสีฟันไทย<br />

ยาสีฟันใกล้ชิด เริ่มจำหน่ายในปีพ.ศ. 2517 และยาสีฟัน<br />

เปปโซเดนท์ ในปีพ.ศ. 2532 ผลิตโดยบริษัทลีเวอร์บาร์เดอร์<br />

หรือ ยูนิลีเวอร์(ประเทศไทย) ในปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่ได้รับความ<br />

น ิ ย ม ม า ก นั ก ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย<br />

แต่เป็นยักษ์ใหญ่จากประเทศ<br />

สหราชอาณาจักร มีส่วนแบ่ง<br />

การตลาดมากในประเทศ<br />

เวียดนาม และมีฐานการผลิต<br />

อยู่ที่นั่น<br />

ภาพโฆษณา<br />

ยาสีฟันในยุคเก่า<br />

ช่วยประติดประต่อ<br />

เรื่องราวในอดีต<br />

ได้ดีทีเดียว<br />

บทความนี้มีฉบับเต็ม ท่านที่สนใจตามอ่านได้ใน<br />

online magazine นะคะ<br />

ขอขอบคุณแหล่งภาพและข้อมูล<br />

www.atcloud.com/stories/51568<br />

www.cokethai.com/forum/viewtopic.php?f=95&t=21391<br />

www.oknation.net/blog/print.php?id=546357<br />

www.board.postjung.com/m/625993.html<br />

www.topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/07/K8136002/K8136002.html<br />

www.forum.thaidvd.net/lofiversion/index.php/t116067-4950.html<br />

www.info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=31666<br />

22 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 23


เรื่อง นายแพทย์กฤษณ์ ขวัญเงิน<br />

หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาศัลยศาสตร์<br />

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

สวัสดีครับพี่น้องทันตแพทย์ทุกคน<br />

ผมดีใจครับที่ได้มีโอกาสมาเล่าอะไรให้ฟัง<br />

เกี่ยวกับ “การดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง<br />

และ/หรือเพดานโหว่“ ผมหมอกฤษณ์ ขวัญเงิน<br />

เป็นศัลยแพทย์ตกแต่ง ที่บังเอิญไปเรียนต่อเกี่ยวกับ<br />

การแก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ<br />

ที่สหรัฐอเมริกา และได้รับโอกาสที่สำาคัญ<br />

ในการดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง และ/หรือเพดานโหว่<br />

แถบภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย<br />

และขอบชายแดนประเทศเมียนมาร์ ทำาให้มี<br />

ประสบการณ์ตรงมาแชร์กับพวกเราครับ<br />

เรามาทบทวนกันก่อนว่าคนไข้ปากแหว่งและเพดานโหว่<br />

จะเผชิญกับปัญหาที่สำคัญอะไรบ้าง สรุปง่ายๆ ปัญหาที่สำคัญ<br />

4 ประการแรก คือ ปากแหว่ง (cleft lip) เพดานโหว่ (cleft palate)<br />

เหงือกโหว่ (alveolar cleft ) และจมูกผิดรูป (cleft lip nose<br />

deformity) โดยที่กล่าวมา 4 ความผิดปกตินั้นอาจเรียกได้ว่าเป็น<br />

ความผิดปกติเบื้องต้นแต่คนไข้ปากแหว่งและเพดานโหว่ยั งอาจต้อง<br />

เผชิญกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นตามมาเมื่อพวกเค้าโตขึ้น (แม้ว่าจะ<br />

ผ่าตัดแก้ไขภาวะปากแหว่ง และเพดานโหว่ ไปแล้ว) เช่น พูดไม่ชัด<br />

จากการทำงานได้ไม่เต็มที่ของเพดานและคอหอย (Velopharyngeal<br />

Insufficiency หรือ VPI ) และ กระดูกกรามบนเจริญเติบโตน้อยกว่า<br />

ปกติ (maxillary hypoplasia) เป็นต้น<br />

คราวนี้ผมจะพาทุกท่านเข้าสู่โลกของการรักษาคนไข้ปากแหว่ง<br />

และเพดานโหว่ กำลังคิดอยู่ว่าทำอย่างไรดีให้พวกเราทุกคนไม่เบื่อ<br />

และเข้าใจการรักษาที่ซับซ้อนและยาวนาน (เพราะคนไข้ปากแหว่ง<br />

และเพดานโหว่ต้องรักษาตัวกันจนถึงอายุอย่างน้อยก็ 18-20 ปี คือ<br />

จนทุกส่วนของใบหน้าโตเต็มที่ครับ)<br />

สิ่งแรกที่ทุกคนที่รักษาผู้ป่วยปากแหว่งและ/หรือเพดานโหว่ควร<br />

รู้ คือระยะเวลาในการผ่าตัดภาวะความผิดปกติที่สำคัญ 4 ประการ<br />

ของคนไข้ ปากแหว่งและเพดานโหว่ สรุปสั้นๆ ประมาณนี้ครับ<br />

ปากแหว่ง ( cleft lip ) ผ่าตัดตอนอายุประมาณ 3 เดือน<br />

หรือ 10 สัปดาห์<br />

เพดานโหว่ ( cleft palate ) ผ่าตัดตอนอายุประมาณ 6<br />

เดือนถึง 1 ปีครึ่ง (ผมก็มักเลือกช่วงไม่เกิน 1 ปีครับ )<br />

ความผิดปกติของจมูก( cleft lip nose deformity) อัน<br />

นี้มีหลาย protocol ครับ บางศูนย์ฯ ผ่าพร้อมผ่าตัดแก้ไขปากแหว่ง<br />

บางศูนย์ฯ ผ่าตัดตอนก่อนเข้าโรงเรียนครับ (แต่ผมอยู่ในกลุ่มที่ผ่าตัด<br />

ความผิดปกติของจมูกพร้อมผ่าตัดแก้ไขปากแหว่งครับ ขอบอกว่าความ<br />

นิยมการผ่าตัดแก้ไขจมูกผิดรูป (cleft lip nose deformity) พร้อมการ<br />

ผ่าตัดปากแหว่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ)<br />

เหงือกโหว่ (alveolar cleft) ผ่าตัดช่วงอายุที่ฟันแท้<br />

เริ่มขึ้นครับ<br />

สำหรับระยะเวลาในการประเมินเพื่อผ่าตัดภาวะความผิดปกติ<br />

ที่อาจหลงเหลืออยู่หลังการแก้ไขภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ที่<br />

สำคัญๆ ที่พวกเราควรรู้ คือ<br />

ภาวะพูดไม่ชัดจากการทำงานได้ไม่เต็มที่ของเพดานและ<br />

คอหอย ( Velopharyngeal Insufficiency หรือ VPI) ก็จะเริ่มประเมิน<br />

ตอนประมาณอายุ 3 – 5 ปี<br />

ภาวะ maxillary hypoplasia ก็มักจะผ่าตัดตอนคนไข้<br />

โตเต็มที่แล้วครับ เช่นประมาณ 17 – 18 ปีขึ้นไป ยังมีการผ่าตัดบาง<br />

อย่างที่ผมยังไม่อยากกล่าวลงลึกในตอนนี้เดี๋ยวงง พวกนี้ส่วนมากเป็น<br />

esthetic surgery ครับ (คือการผ่าตัดเพื่อให้มีรูปร่าง หรือรูปลักษณ์<br />

ใกล้เคียงปกติ) เช่น การผ่าตัดแก้ไขปากและจมูกในรายละเอียดเพื่อ<br />

ให้มีลักษณะปาก และจมูกใกล้เคียงปกติ เป็นต้น ไว้พวกเราคุ้นเคย<br />

กับการผ่าตัดหลักๆที่กล่าวไปแล้วและ กอง บก. ยังเมตตาให้เขียน<br />

บทความจะมาเล่าให้ฟังต่อ (จริงๆ อยากเขียนบทความลงนานๆ เลย<br />

แกล้งลากยาววววววววครับ)<br />

สำหรับพวกเราที่มีโอกาสได้ดูแลผู้ป่วยปากแหว่งและเพดาน<br />

โหว่ผมอยากให้เข้าใจถึงแก่นแท้ว่าทำไมต้องผ่าตัดภาวะต่างๆในช่วง<br />

เวลาที่กล่าวมา (จะเป็นประโยชน์มากๆ ในการเจอ case ที่ไม่ตรงไป<br />

ตรงมา)<br />

ระยะเวลาในการผ่าตัดแก้ไขภาวะปากแหว่ง<br />

(cleft lip)<br />

การเลือกว่าจะผ่าช่วงไหนดีเป็นการต่อสู้กันระหว่าง “ความ<br />

ต้องการของผู้ปกครองที่ต้องการผ่าตัดให้เร็ว” กับ “ความปลอดภัย<br />

ของเด็กในการดมยาสลบและผ่าตัด” ในสมัยก่อนที่การแพทย์ยังไม่มี<br />

เครื่องมือต่างๆ มากมาย หมอเค้าประชุมกันแล้วสรุปว่า ถ้าเด็กมี rule<br />

of 10 (อายุ 10 weeks, น้ำหนัก 10 ปอนด์ และ Hb 10 gm%) ก็จะ<br />

ปลอดภัยในการดมยาสลบและผ่าตัดครับ จากหลักที่สำคัญนี้ทำให้<br />

หมอๆ ในแต่ละโรงพยาบาล ก็สามารถปรับระยะเวลาในการผ่าตัดปาก<br />

แหว่งได้ตามคนไข้ที่พบ หรือแนวทางการรักษาของแต่ละโรงพยาบาล<br />

ได้ครับ(ไม่ผิด) ผมยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆ เช่น<br />

ศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ โรงพยาบาล<br />

มหาราชนครเชียงใหม่ที่ผมทำงานอยู่จะผ่าตัดปากแหว่ง 2 ช่วง<br />

อายุ แล้วแต่พ่อแม่เด็กและความยากลำบากในการเดินทางมา โรง<br />

พยาบาลครับ ประมาณว่า ถ้าเป็นคนใกล้โรงพยาบาลมาตรวจได้เร็ว<br />

หลังเด็กคลอดก็จะผ่าตัดช่วง 3 – 4 เดือนตามเกณฑ์ rule of 10 แต่<br />

มีเด็กจำนวนไม่น้อยอยู่ไกลครับ ประมาณแม่ฮ่องสอน แม่สอด หรือ<br />

พม่า จะมาพบหมอครั้งแรกก็อายุประมาณ 4-5 เดือน(ไปแล้ว) ถ้า<br />

เด็กเหล่านี้มีภาวะปากแหว่งร่วมกับเพดานโหว่ คือเป็นทั้งปากแหว่ง<br />

และเพดานโหว่ ผมก็จะผ่าตัดปากแหว่งและเพดานโหว่ พร้อมกันครับ<br />

คือช่วงอายุประมาณ 1 ปีครับ (เด็กเริ่มพูดครับ)<br />

หรืออีกที่ ถ้าจำไม่ผิดนะครับ คือ โรงพยาบาลมหาราชโคราช<br />

จะใส่ NAM (Nasoalveolar Molding) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ปรับรูปปาก<br />

ระดับเหงือก และจมูก ให้เด็กก่อนแล้วจึงผ่าตัดแก้ไขปากแหว่ง ตอน<br />

อายุประมาณ 5 – 6 เดือน (เกริ่นให้อยากรู้ครับ เรื่อง Nasoalveolar<br />

Molding เรื่องนี้หมอฟันเป็นพระเอกครับ และงานวิจัยจำนวนมาก บ่ง<br />

ชี้ว่าผลการผ่าตัดดีกว่าถ้าคนไข้ได้รับการใส่ NAM ( Nasoalveolar<br />

Molding) ก่อนการผ่าตัด) ผมเลยชวนหมอฟันมาทำบุญกับคนไข้และ<br />

หมอผ่าตัดกันนะครับ ทำ NAM หรือ Nasoalveolar Molding กันก่อน<br />

ผ่าตัดนะครับบบบ<br />

ระยะเวลาในการผ่าตัดแก้ไขภาวะเพดานโหว่<br />

(cleft palate)<br />

ที่ตกอยู่ในช่วงอายุ 6 เดือน – 1 ปีครึ่ง ก็เพราะช่วงนั้นเป็นช่วง<br />

ที่เด็กเริ่มพูดครับ หมอก็เลยต้องผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่ครับไม่งั้น<br />

เด็กจะพูดไม่ชัดอย่างมาก ถามว่าทำไมไม่ผ่าตัดให้เร็วกว่านี้ เป็น<br />

เพราะว่าปัญหาทาง surgical technique หรือเปล่า คำตอบคือ ไม่<br />

ครับแต่ปัญหาคือ ถ้าเราผ่าตัดเด็กยิ่งอายุน้อยปัญหาเรื่อง maxillary<br />

hypoplasia ตอนโตเป็นผู้ใหญ่จะยิ่งรุนแรง (เรื่องนี้ประเด็นที่แตก<br />

ต่างสำหรับแนวทางการรักษาจากค่ายประเทศแถบยุโรป เอาไว้มี<br />

คนสนใจจะมาเล่าให้ฟังนะครับ กระซิบให้อยากรู้ว่า เค้าผ่าตัดแยก<br />

กันระหว่าง soft palate กับ hard palate)<br />

ระยะเวลาในการผ่าตัดเอากระดูกมาใส่บริเวณ<br />

alveolar cleft<br />

แฮ่ๆ อันนี้ผมข้ามดีกว่าไม่งั้นเราอาจหน้าแตก เพราะ<br />

ทันตแพทย์ทุกคนรู้ลึกกว่าผม ก็อย่างที่รู้ๆ กันนะครับ คือผ่าตัดช่วง<br />

ที่ฟันแท้เริ่มขึ้น โดยจะช่วงอายุเท่าไรก็ขึ้นกับว่า alveolar cleft ของ<br />

คนไข้เป็นซี่ไหน ส่วนมากไม่ lateral incisor ก็ canine ครับ (ประเด็น<br />

สำคัญเรื่องนี้มีหลายประเด็นครับ เช่น จัดฟันให้ alveolar cleft เป็น<br />

อย่างไรถึงจะเหมาะสมที่จะผ่าตัด อันนี้สำคัญมากครับเพราะว่าจัด<br />

ให้ alveolar cleft กว้างเกินไปก็ทำให้มีโอกาสการปลูก graft แล้ว<br />

ไม่ติดได้นะครับ)<br />

การประเมิน หรือผ่าตัดแก้ไขภาวะ VPI<br />

(Velopharyngeal Insufficiency)<br />

สงสัยไหมครับว่าทำไมต้องเป็นช่วง 3 – 5 ขวบ ก็ไม่มีอะไร<br />

หรอกครับ เพราะการประเมินภาวะ VPI (ภาวะที่เด็กพูดไม่ชัดหลัง<br />

การผ่าตัดเพดานโหว่ ที่เกิดจาก soft palate และ pharynx ทำงาน<br />

ไม่มีประสิทธิภาพ) ต้องใช้กล้องส่องเข้าไปในจมูกเด็กเพื่อดูการ<br />

เคลื่อนไหวของ soft palate และ pharynx ว่าปิดสนิทไหม ถ้าไม่<br />

สนิทเกิดจากอะไร พวกเราก็คิดดูซิครับว่าถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 3<br />

ขวบจะยอมให้หมอเค้าส่องกล้องเพื่อตรวจไหมครับ<br />

อันสุดท้ายค่อนข้างตรงไปตรงมาครับ คือ การ<br />

ผ่าตัดแก้ไข maxillary hypoplasia<br />

จะผ่าตัดเมื่อผู้ป่วยโตเต็มที่ เพราะเราต้องรอให้ทั้ง maxillary<br />

และ mandible โตเต็มที่ก่อน เล่ามาตั้งนานยังไม่เข้า theme เลย<br />

ว่า “ทันตแพทย์สำคัญ (มาก) อย่างไรกับเด็กปากแหว่งและ/หรือ<br />

เพดานโหว่” เอาเป็นว่าสำคัญมากถึงมากที่สุดส่วนสำคัญอย่างไร<br />

เดี๋ยวผมเล่าให้ฟังในครั้งต่อไปนะครับ<br />

ขอฝากประชาสัมพันธ์หน่อยครับ คือ วันที่ 6 -7<br />

พฤศจิกายน ปี 2557 นี้มีการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคม<br />

ปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ<br />

ที่ เชียงใหม่ ครับ ลอยกระทงพอดีครับ ชวนมาฟังวิชาการและ<br />

มาเที่ยวลอยกระทงไปพร้อมๆ กันเลยครับพวกเราทุกคน<br />

24 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 25


ad<br />

เรื่อง FDI FDI หรือสหพันธ์ทันตแพทย์โลกเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยทันตแพทย์<br />

มากกว่าล้านคนทั่วโลก ประกอบด้วยสมาชิกจากมากกว่า 200 ประเทศ<br />

ท่านสมาชิกบางท่านอาจทราบว่า<br />

ทั่วโลก ทั้งองค์กรของทันตแพทย์ทั่วไปและองค์กรทันตแพทย์เฉพาะ<br />

ประเทศไทยของเราจะได้เป็นเจ้าภาพ ทาง FDI มีบทบาทช่วยพัฒนานโยบายสาธารณะและโปรแกรมการ<br />

ศึกษาต่อเนื่องของวิชาชีพ และยังเป็นตัวแทนวิชาชีพทันตแพทย์ใน<br />

จัดงานประชุมวิชาการทันตแพทย์โลก<br />

เวทีโลก สหพันธ์ช่วยสนับสนุนสมาคมวิชาชีพต่างๆ ที่เป็นสมาชิกใน<br />

หรือประชุม FDI ในปี 2558 บางท่าน กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่มีขึ้นทั่วโลก ในช่วงที่ผ่านมา FDI สนับสนุน<br />

นวตกรรม การณรงค์ และนโยบายในรัฐสภาได้มากกว่าหน่วยงาน<br />

ทราบว่าปีที่ผ่านมามีประชุมที่ตุรกี<br />

ไม่หวังผลกำไรอื่นๆ<br />

(เป็นการประชุมทันตแพทย์<br />

การทำงานของ FDI นั้นมีทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ<br />

ที่ประสบความสำาเร็จมาก มีคนเข้าร่วม<br />

ผ่านกิจกรรมทั้งของ FDI เองและขององค์กรสมาชิก FDI ทำงาน<br />

ร่วมกับองค์การอนามัยโลก หรือ WHO อย่างไม่เป็นทางการ และ<br />

ประชุมถึง 16,197คน) และปีนี้ FDI เป็นสมาชิกของเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพโลกหรือ World Health<br />

จะมีประชุมที่อินเดีย ช่วง 11-14<br />

Professionals Alliance(WHPA)<br />

วิสัยทัศน์ของ FDI นั้น มุ่งสู่การชี้นำการดูแลสุขภาพช่อง<br />

กันยายนที่จะถึงนี้ บทความนี้เราเลย<br />

ปากให้ดีที่สุดในเวทีโลก โดยตระหนักว่าการทำงานด้านสุขภาพ<br />

จะมาเล่าสู่ท่านฟังเกี่ยวกับ FDI<br />

ช่องปากที่สัมพันธ์กับสุขภาพกายและสุขภาพองค์รวม<br />

ฉบับหน้าจะมาเล่าต่อนะคะว่า FDI มีพันธกิจในฐานะ<br />

ตัวแทนวิชาชีพในเวทีโลกอย่างไร อ่านกันคราวละสั้นๆ สวัสดี<br />

ค่ะ<br />

26 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 27


CURRENT STATE<br />

OF ART FOR ZIRCONIA<br />

AND NEW DENTAL<br />

ADHESIVES<br />

เรื่อง Professor Edward Mclaren จาก UCLA, USA.<br />

International Dental Congress 2013<br />

เรียบเรียง ทญ.ชรินธร อิสสระยางกูล<br />

ในปัจจุบันคนไข้มีความใส่ใจสภาพช่องปาก<br />

มากขึ้น และต้องการรอยยิ้มที่สวยงามอย่าง<br />

เป็นธรรมชาติ เซรามิกจึงเข้ามามีบทบาท<br />

สำาคัญและใช้กันอย่างแพร่หลาย<br />

ในงานทางทันตกรรม แต่หากมีความเข้าใจ<br />

ในคุณสมบัติของวัสดุเพียงอย่างเดียว<br />

จะยังไม่สามารถออกแบบและพัฒนารูปร่าง<br />

และการใช้งานเพื่อลอกเลียนฟันได้สวยงาม<br />

อย่างเป็นธรรมชาติได้<br />

เราควรที่จะสามารถมองเห็นรายละเอียดของสิ่งที่เราต้องการจะ<br />

ลอกเลียนด้วย ดังนั้น Dr.Mclaren แห่งมหาวิทยาลัย UCLA จึง<br />

จัดสอนรายวิชา Art class 1 (Fig1&2) อยู่ในหลักสูตรทันตแพทย์<br />

เป้าหมายของรายวิชาจะเริ่มด้วยการ ฝึกให้นักเรียนทุกๆ คน ทั้ง<br />

ทันตแพทย์ และ ceramists มีมุมมองของงานทางทันตกรรมที่ต่าง<br />

ไปจากเดิม กล่าวคือมีความเป็นศิลปะมากขึ้น ไม่ได้มองฟันเป็น<br />

แค่บล็อกสีขาวเพียงอย่างเดียว แต่มองถึงองค์ประกอบอื่นๆ เช่น<br />

แสงและเงา นอกจากนั้นยังเพิ่มทักษะในการคำนวณสัดส่วนของ<br />

ฟันและอวัยวะที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อที่จะสามารถออกแบบ รอยยิ้ม 2<br />

ที่เหมาะสม และมีขนาดของฟันที่ได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับใบหน้า<br />

และริมฝีปาก อีกทั้งเรียนรู้วิธีการทำ Bonded Functional Esthetic<br />

Prototype 3 หรือแม่แบบในปากคนไข้ เพื่อช่วยในการสื่อสารระหว่าง<br />

ทันตแพทย์กับคนไข้ ให้สามารถเห็นหรือจินตนาการ ผลสุดท้ายหลัง<br />

การรักษาตรงกันระหว่างคนไข้และทันตแพทย์ การทำแม่แบบนี้ยัง<br />

ช่วยให้ทันตแพทย์เอง มองเห็นรอยยิ้มที่ออกแบบขึ้นมา ว่าสวยงาม<br />

เหมาะสมเพียงใด และหัวใจสำคัญในรายวิชานี้คือการสื่อสารที่มี<br />

ประสิทธิภาพระหว่างทันตแพทย์กับห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นปัจจัย<br />

สำคัญที่จะให้ได้ผลงานออกมาตามที่เราตั้งใจไว้<br />

Ceramic Selection guideline4<br />

การเลือกชนิดของเซรามิกให้เหมาะสมกับสภาวะในช่องปาก<br />

ของผู้ป่วยนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความคงทนของวัสดุใน<br />

ช่องปาก โดยมีหลักใหญ่ๆ ที่ควรใช้ประกอบการพิจารณา คือ<br />

1. บริเวณที่จะ bond เป็นอะไร<br />

2. ฟันที่จะใส่ต้องรับแรง หรือมี stress มากน้อยเพียงใด<br />

3. บริเวณที่จะ bond สามารถกั้นน้ำลายหรือมี seal ที่ดี<br />

หรือไม่<br />

ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ มีผลต่อความแข็งแรงของ glass<br />

ceramic อย่างมาก เนื่องจาก glass ceramic จะมีความแข็งแรง<br />

ที่ดี หากมี Substrate มี่แข็งแรงเพียงพอสำหรับวัสดุชนิดนั้นๆ มาร<br />

องรับ และมี bond ที่ดีเพื่อกระจายแรง เนื่องจากการกระจายแรง<br />

ของ glass ceramic จะต่างจากครอบฟัน Zirconia หรือ Metal<br />

ceremic ที่มี core ที่แข็งแรงมารองรับเซรามิกด้านบนแล้ว<br />

ตารางแสดงคุณสมบัติของ ceramics<br />

รายละเอียดในองค์ประกอบของเซรามิกแต่ละชนิด 5,6 สามารถเข้าไป<br />

หาข้อมูลได้ตาม references ด้านท้าย<br />

Zirconia in dentistry<br />

จากตารางในรูปที่ 3 (Fig 3) จะเห็นว่า แม้จะเป็น Zirconia<br />

เหมือนกัน มีองค์ประกอบพื้นฐานที่เหมือนกัน แต่วิธีการผลิตที่<br />

แตกต่างกันจากแต่ละบริษัท ก็จะให้ zirconia ที่มีความแข็งแรงที่<br />

ไม่เท่ากัน เมื่อวิเคราะห์ลักษณะของ Zirconia จาก 3 บริษัท ด้วย<br />

SEM ดังแสดงใน รูปที่ 4 (Fig 4) วัสดุทางด้านซ้ายจะไม่พบ flaw<br />

หรือ defect ในเนื้อวัสดุ และมีการเรียงตัวของ crystal ที่เหมาะสม<br />

ในขณะที่วัสดุจากอีก 2 บริษัทที่เหลือพบ processing flaw ในเนื้อ<br />

วัสดุ และการเรียงตัวของ crystal รวมถึงเนื้อวัสดุก็แตกต่างกันอีก<br />

ด้วย ความแตกต่างของ zirconia นอกจากจะเกิดจากกระบวนการ<br />

ผลิตแล้ว วิธีการกรอ และ การขัดแต่ง ก็มีผลกับความแข็งแรงของ<br />

วัสดุเช่นเดียวกัน จากกราฟ ในรูปที่ 5 (Fig 5) จะเห็นว่า Zirconia ที่<br />

มีความเสียหายของพื้นผิว จะมีค่าความแข็งแรงต่ำลงอย่างชัดเจน<br />

เมื่อเทียบกับ Zirconia ที่ผ่านการกลึงเป็นแกนแล้ว และความแข็ง<br />

แรงของแท่ง Zirconia ที่ตัดแลัวขัดเท่านั้น จะสูงกว่าชิ้นงานที่กลึง<br />

แล้ว ผลดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับความแข็งแรงของ Lithium Disilicate<br />

ซึ่งเป็น glass ceramic อีกชนิดหนึ่ง (กราฟแท่งสีฟ้า) กล่าว<br />

คือ block ที่ตัดออกมาแล้วขัด มีความแข็งแรงมากกว่าชิ้นที่เพิ่ง<br />

ผลิตเสร็จ (pressed and divested คือเอา investment ออกจาก<br />

ชิ้นงาน) และแข็งแรงมากกว่าชิ้นที่ผิวมีความเสียหาย<br />

ในระหว่างปี 2004-2007 พบรายงาน core fracture 2 ตัวอย่าง<br />

จาก Single unit Zirconia ที่ทำจาก Lava, YZ และ Procera 1200<br />

ตัวอย่าง, framework หัก 1 ตัวอย่าง จากมากกว่า 30 ตัวอย่าง, วัสดุ<br />

บูรณะถูกเปลี่ยนเนื่องจาก porcelain แตก ประมาณ 6%ต่อปี ใน 3<br />

ปีแรก และพบการแตกหักเล็กน้อยประมาณ 15% ที่ไม่จำเป็นต้อง<br />

เปลี่ยนวัสดุบูรณะ<br />

ปัจจัยที่ทำาให้ porcelain หลุดออกจากตัวแกน<br />

ในปี 2007-2011 กลุ่มตัวอย่าง 400 กว่าตัวอย่าง ที่ทำจาก<br />

Lava, YZ และ Procera และ VM9 รวมกับเทคนิคในการเผาแบบ<br />

ใหม่ ไม่พบรายงาน core fracture, วัสดุบูรณะถูกเปลี่ยนเนื่องจาก<br />

28 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 29<br />

วัสดุ<br />

Feldspathic<br />

porcelain<br />

High strength<br />

Glass Ceramics<br />

Zirconia/ Metal<br />

Ceramics<br />

substrate<br />

ที่จะ bond<br />

ส่วนใหญ่เป็น<br />

enamel<br />

ส่วนใหญ่เป็น<br />

dentin<br />

ทั้งหมดเป็น dentin<br />

หรือต้องคลุมผนัง<br />

ทุกด้านของฟัน<br />

Flexure & Stress<br />

ที่จะเกิดกับวัสดุ<br />

น้อย-ปานกลาง<br />

ปานกลาง-สูง<br />

สูง<br />

ฟันอยู่ในสภาวะ<br />

ตำาแหน่งสามารถ<br />

bond ได้ดีหรือไม่<br />

ได้<br />

ได้<br />

ไม่ได้<br />

porcelain แตก 1 ตัวอย่าง และ marginal ridge แตกเล็กน้อย 2<br />

ตัวอย่าง<br />

สาเหตุหนึ่งที่ veneering porcelain มีการแตกหัก หรือ ร่อนออก<br />

มาจากโครง zirconia นั้น เนื่อง จากวัสดุมีอัตราการขยายและหด<br />

ตัวที่ไม่เท่ากันเมื่อได้รับความร้อน และเมื่อเย็นลง เมื่อลดอุณหภูมิ<br />

ลงอย่างรวดเร็วหลังเผา ก็สามารถทำให้ veneering porcelain แยก<br />

ตัวออกจากโครง หรือมีการแตกร้าวในเนื้อวัสดุได้ จากการทดลอง<br />

(Fig 6) พบว่า อัตราการเพิ่มความร้อนขณะเผามีผลน้อย แต่อัตรา<br />

ในการลดอุณหภูมิมีผลอย่างมากต่อการหลุดร่อนของ veneering<br />

porcelain<br />

Framework Design and Translucency<br />

โดยทั่วไปมักเข้าใจว่า Zirconia นั้นทึบแสง และสามารถใช้<br />

ปิดทับสีฟันที่เข้มได้ 100% แต่ในความเป็นจริงนั้น Zirconia ที่<br />

บางลงจะมีความใสมากขึ้น และไม่สามารถปิดสีเข้มข้างใต้ได้<br />

หมด จากภาพที่ 7 (Fig 7) จะเห็นว่า หากโครง Zirconia มีความ<br />

หนาประมาณ 0.6 มิลลิเมตร จะสามารถปิดสีดำข้างใต้ได้ แต่หาก<br />

เราทำให้บางลงสีดำข้างใต้จะสามารถส่องทะลุมาได้ ปกติบริเวณ<br />

คอฟันจะเป็นส่วนที่บางที่สุดของครอบฟัน ดังนั้นหากฟันหลักมีสี<br />

เข้มหรือมีเดือยโลหะ จึงไม่สามารถปิดสีด้วย Zirconiaได้หมด ใน<br />

กรณีที่ฟันสีเข้มอาจพิจารณาใช้โครงที่มีสีสว่างกว่าปกติ 1 shade<br />

เพื่อชดเชย value ที่จะลดลงเนื่องจากความเข้มของ stump shade<br />

(Fig 8) นอกจากนี้ Zirconia แต่ละยี่ห้อก็มีความทึบแสงแตกต่าง<br />

กัน ดังที่แสดงในตารางด้านล่าง ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบความทึบ<br />

แสงของ Zirconia 3 ยี่ห้อ ที่ความหนา 1 มิลลิเมตร<br />

Chroma and translucency gradient<br />

ในฟันธรรมชาตินั้น บริเวณที่ทำให้เกิดสีสันต่างๆ คือ เนื้อฟัน<br />

คือส่วนที่ทึบแสงที่สุดและใสที่สุดของฟันน ซึ่งเห็นได้จากภาพด้าน<br />

ล่าง (Fig 9) ซึ่งแสดงลักษณะของเนื้อฟัน และเคลือบฟันในบริเวณ<br />

ต่างๆ การเลือกสี และ translucency ให้เหมาะสมจึงมีความสำคัญ<br />

ในการสร้างวัสดุบูรณะฟันที่เหมือนธรรมชาติ<br />

Abrasiveness ต่อฟันคู่สบจาก veneering<br />

porcelain (Fig 10)<br />

Overglazed สึกมากที่สุด<br />

Overglazed แล้วขัด<br />

ขัดอย่างเดียว<br />

CONTRAST RATIO:I mm disc<br />

Crytal ZirconiaHT 81.74 79.47 avg. 80.61 Zirkon ZahnA3 lot 1 86.81 85.89 avg. 86.35<br />

Zirkon Zahn NS 79.78 80.93 avg 80.36 Zirkon ZhnA3 lot 2 85.96 87.72 avg. 86.84<br />

Lava Plus NS 77.67 78.15 avg.77.91 Lava Plus A3 84.91 83.24 avg. 84.08<br />

100 represents total opacity 0 represents total translucent<br />

สึกน้อย<br />

สึกน้อยกว่า Overglazed<br />

แล้วขัดเล็กน้อย


Bonding technique<br />

ในการยึดชิ้นงานด้วย resin cement การมี cure ที่สมบูรณ์<br />

ของชั้น bonding ก็เป็นสิ่งสำคัญ บางท่านอาจเลือกใช้ activator,<br />

ฉายแสง bonding ก่อน cement หรือ ฉายแสง bonding พร้อม<br />

กันกับ cement เนื่องจากเกรงว่าความหนาของ bonding จะทำให้<br />

ชิ้นงานไม่ลงที่ แต่ในกรณีหลังสุด bonding ไม่ได้รับการ cure ที่<br />

สมบูรณ์ และทำให้ bond strength ต่ำกว่าการฉายแสง bonding<br />

ก่อน cement (Fig 11) อีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ และช่วยเพิ่ม<br />

bond strength คือ immediate dentin sealing<br />

Immediate dentin sealing<br />

เทคนิคนี้ ถูกพัฒนาขึ้นโดย Pascal Magne ในปี 2005 โดย<br />

แนะนำให้ seal dentin ก่อนพิมพ์ปากในวันที่มีการกรอแต่งฟัน ซึ่ง<br />

จะใช้เป็น Filled หรือ Unfilled adhesive ก็ได้ วิธีนี้พบว่ามีรายงาน<br />

อาการเสียวหลังทำน้อย และได้ bond strength สูง<br />

Dr. Mclaren ได้เสนอให้ทำ immediate dentin sealing (Fig<br />

12) หลังการพิมพ์ปากแล้ว เพื่อลดปัญหาวัสดุพิมพ์ปากไม่แข็งตัว<br />

ในบริเวณที่สัมผัสกับ ผิว bonding ที่ไม่แข็งตัวเต็มที่เนื่องจากโดน<br />

ออกซิเจน โดยแนะนำให้ใช้ unfilled adhesive ซึ่งมี film thickness<br />

ที่บาง เพื่อป้องกันการใส่ชิ้นงานไม่ลง bond strength ที่ได้ ไม่มี<br />

ความแตกต่างกันไม่ว่าจะ seal dentin ด้วย total etch technique<br />

หรือ self etch technique (Fig 13-14)<br />

Fig 1 : Drawing on the Right Side<br />

of the Brain ; www.drawright.com<br />

Uncut enamel<br />

etching time<br />

การใช้กรดกัดฟันที่ยัง<br />

ไม่ได้กรอแต่งนั้น พบว่า<br />

มี Bond strength ที่ดี<br />

ที่สุดเมื่อ Sandblast หรือ<br />

air-abraded ผิวฟันร่วมกับ<br />

การใช้กรดกัดฟัน 15-60<br />

วินาที ส่วนการขัดฟันด้วย<br />

พัมมิสแลัวจึงใช้กรดกัด<br />

60 วินาทีจะให้ค่า bond<br />

strength ที่รองลงมา<br />

Fig 2 : รูปปั้นจำลองขนาดมินิประมาณ10 มิลลิเมตร ทำจาก dental<br />

porcelain ด้วย layering technique ล้วนๆ<br />

Fig 7 : ภาพแสดงความทึบแสงของ Zirconia ที่แตกต่างกัน เมื่อมีความ<br />

หนาที่แตกต่างกัน<br />

Fig 8 : ภาพแสดง stump shade, โครง Zirconia และ ภาพหลังการรักษา<br />

Fig 9 : ภาพด้านซ้ายเป็นภาพของฟันที่กัดเอาเคลือบฟันออกทั้งหมด ภาพ<br />

ขวาเป็นภาพของเคลือบฟันหลังกัดเนื้อฟันออกทั้งหมด<br />

Fig 13: กราฟแสดง Bond Strength จาก IDS โดยใช้ Self Etch Technique<br />

Fig 14 : กราฟเปรียบเทียบ IDS ด้วย Adhesive 3 ยี่ห้อ: Optibond FL,<br />

All bond 3 และ Scotchbond Universal<br />

Fig 15 : กราฟแสดง Bond Strength ที่ได้รับจากการเตรียมผิวฟันที่แตก<br />

ต่างกัน และใช้ระยะเวลาในกัดด้วยกรดที่แตกต่างกัน<br />

การเตรียมผิวชิ้นงาน Zirconia<br />

แนะนำให้ใช้กรด Hydrofluoric (HF) กัด Glass ceramic โดยใช้<br />

ความเข้มข้นและระยะเวลาตามที่บริษัทกำหนด ควรทากรดให้เลย<br />

margin ออกมาเล็กน้อย (Fig 16) เนื่องจากกรดมักจะดึงตัวออก<br />

จากเซรามิกเล็กน้อยบริเวณขอบ ทำให้บริเวณขอบไม่ได้ถูกกรด<br />

กัด ทั้งนี้ผิวเซรามิกที่ผ่านการ Glaze แล้วจะไม่ถูกกรดกัด จากนั้น<br />

จึงทา Silane และ adhesive<br />

ข้อควรระวังในการใช้งาน Zirconia<br />

ไม่ควรใช้ Phosphoric acid ในการทำความสะอาดผิว Zirconia<br />

เนื่องจาก phosphate group สามารถ bond กับออกซิเจนใน<br />

Zirconia ได้ ซึ่งจะทำให้ bonding site ใน Zirconia ถูกใช้ไปจน<br />

หมดไม่เหลือที่ให้เกิดปฏิกิริยา (Bonding agents สำหรับ Zirconia<br />

ในปัจจุบันจะใช้ phosphate monomer ชนิดพิเศษในการยึดกับ<br />

Zirconia ด้วยวิธีการเดียวกัน)<br />

Fig 3 : ตารางแสดงความแข็งแรงของ Zirconia แต่ละยี่ห้อ<br />

Fig 4 : ภาพ SEM ของ Zirconia 3 ยี่ห้อ<br />

Fig 5 : กราฟแท่งเปรียบเทียบความแข็งแรงของวัสดุในสภาวะต่างๆ<br />

Fig 10: กราฟแสดงอัตราการสึกของเคลือบฟันและวัสดุจากการเสียดสี<br />

Fig 11: กราฟเปรียบเทียบ Bond strength เมื่อฉายแสง Bonding ก่อน<br />

cement และฉาย Bonding พร้อม cement<br />

Fig 16 : ลักษณะการทา HF เมื่อเตรียมผิวเซรามิก<br />

References<br />

1. www.drawright.com<br />

2. McLaren, Edward A., and Phong Tran Cao. “Smile analysis and<br />

esthetic design:“in the zone.” Inside Dentistry 5.7 (2009) : 44-48.<br />

3. Mclaren, Edward A., and Schoenbaum, Todd. “The Bonded<br />

Functional Esthetic Prototype: Part 1”. “Inside Dentistry 9.1<br />

(2013): 70-74.<br />

4. McLaren, Edward A., and Yair Y. Whiteman. “Ceramics :<br />

rationale for material selection.” Compend Contin Educ Dent 31.9<br />

(2010): 666-668.<br />

5. McLaren, Edward A., and Phong Tran Cao. “Ceramics in<br />

dentistry—part I: classes of materials.” Inside dentistry 5.9<br />

(2009): 94-103.<br />

6. Giordano, Russell, and Edward A. McLaren. “Ceramics overview:<br />

classification by microstructure and processing methods.”<br />

Compend Contin Educ Dent 31.9 (2010): 682-684.<br />

7. www.edmclaren.com<br />

8. www.oralfacialarts.com<br />

Fig 6 : กราฟแสดงแรงที่ใช้ในการทำให้ porcelain<br />

หลุดร่อนจากโครงเมื่อลดอุณหภูมิลงในอัตราที่แตกต่างกัน<br />

Fig 12: กราฟเปรียบเทียบ Immediate Dentin Sealing ก่อนพิมพ์ปาก, หลังพิมพ์ปาก, cement ตามปกติ โดยฉายแสง<br />

Primer (All bond 3) ก่อน และ cement ตามปกติโดยไม่ได้มีการฉายแสง Bonding ก่อนโดยใช้ Optibond FL<br />

30 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 31


พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ คณะทันตแพทยศาสตร์<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดดำาเนินการ<br />

เมื่อวันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2555<br />

โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล<br />

อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ได้เป็นประธานในพิธีเปิดตัวพิพิธภัณฑ์<br />

ตั้งอยู่ ณ ห้อง 909-910 ชั้น 9<br />

อาคารทันตแพทยศาสตร์ เฉลิมนวมราช 80<br />

โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดง<br />

กายวิภาคศาสตร์ของร่างกายมนุษย์<br />

แห่งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาค<br />

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

เปิดทำาการ<br />

ทุกวันราชการ<br />

เวลา<br />

8.30 - 16.30 น.<br />

หุ่นร่างกายมนุษย์ที่นำมาจัดแสดงนั้น ได้รับบริจาคจากบริษัท<br />

เมดิคัลดอกเตอร์ซอฟท์เฮ้าส์ จำกัด ผ่านมาทาง ศาสตราจารย์<br />

คัชสุฮิโร เอะโตะ อดีตคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

แพทย์และทันตแพทย์แห่งโตเกียว (Tokyo Medical and Dental<br />

University) โดยมีการเซ็นสัญญาบริจาคระหว่าง คุณคัทสุมิ คิตามูระ<br />

ประธานบริษัทเมดิคัลดอกเตอร์ซอฟท์เฮ้าส์ จำกัด กับ ศาสตราจารย์<br />

นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

เ ม ื ่ อ วั น ที่ 3 1 ตุ ล า ค ม 2 5 5 4 โ ด ย ห ุ ่ น ช ุ ด น ี ้ ท า ง บ ร ิ ษ ั ท เ<br />

ดอกเตอร์ซอฟท์เฮ้าส์ จำกัด ได้ใช้เพื่อจัดนิทรรศการทั่วประเทศ<br />

ญี่ปุ่นมาเป็นระยะเวลา 8 ปีแล้ว และมีความประสงค์จะบริจาคโดย<br />

ไม่คิดมูลค่าแก่สถาบันทางการศึกษา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์<br />

ต่อไป แต่ผู้รับบริจาคจะต้องดำเนินการเสียค่าขนส่ง ค่าติดตั้ง และ<br />

ดำเนินการทางศุลกากรเอง<br />

หุ่นร่างกายมนุษย์ชุดนี้ ประกอบด้วย ชุดหุ่น<br />

และชิ้นส่วน ต่างๆ รวม 131 ชิ้น ได้แก่<br />

1. หุ่นร่างกายมนุษย์แบบเต็มร่าง จำนวน 13 ชุด<br />

2. ชิ้นส่วนอวัยวะภายใน จำนวน 50 ชิ้น<br />

3. ชิ้นส่วนอวัยวะ จำนวน 27 ชิ้น<br />

4. ชิ้นส่วนกล้ามเนื้อ จำนวน 23 ชิ้น<br />

5. หุ่นร่างกายมนุษย์ตัดแบ่งย่อย จำนวน 6 ชุด<br />

6. ชิ้นหล่อแสดงระบบหลอดเลือด จำนวน 5 ชิ้น<br />

7. หุ่นร่างกายทารกในครรภ์ จำนวน 7 ชุด<br />

เนื่องจากคณะแพทยศาสตร์ขาดแคลนสถานที่และงบประมาณ<br />

ดังนั้น หุ่นชุดนี้จึงถูกนำมาจัดแสดงที่คณะทันตแพทยศาสตร์ ที่<br />

ชั้น 9 อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80 โดยใช้พื้นที่<br />

จัดแสดง รวม 308 ตารางเมตร และใช้งบประมาณปรับปรุงและ<br />

ขนส่งเป็นเงิน 1,239,176 บาท โดยการจัดเตรียมสถานที่สำหรับ<br />

แสดงหุ่นร่างกายมนุษย์นั้น จัดในลักษณะที่เน้นความสว่างเพื่อให้<br />

เห็นส่วนประกอบต่างๆ ชัดเจน โดยไม่เน้นการจัดแสงและเงาเหมือน<br />

ในการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อื่นๆ<br />

หุ่นร่างกายมนุษย์ และเทคนิค Plastination<br />

พลาสทิเนชัน (Plastination) เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อรักษาสภาพ<br />

ร่างกายหรือชิ้นส่วนอวัยวะให้อยู่ในสภาพที่ปราศจากน้ำหรือ<br />

ของเหลว โดยทำการแทนที่ของเหลวและไขมันในร่างกายทั้งหมด<br />

ด้วยพลาสติกสังเคราะห์ ในกลุ่มของซิลิโคน โพลีเอสเตอร์ หรือ<br />

อีพ็อกซีเรซิน เทคนิคนี้คิดค้น โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ<br />

กุนเธอร์ ฟอน ฮาเก้นส์ (Gunther von Hagens) แห่งมหาวิทยาลัย<br />

ไฮเดลเบอร์ก (University of Heidelberg) ในปีค.ศ. 1977 โดยมี<br />

หลักการคร่าวๆ คือ หลังจากการตรึงเนื้อเยื่อด้วยน้ำยาคงสภาพ เช่น<br />

ฟอร์มัลดีไฮด์ (formaldehyde) เพื่อคงสภาพเซลล์แล้ว เนื้อเยื่อจะ<br />

32 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 33


ถูกนำไปแช่ในอะซิโตนที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อให้อะซิโตนเข้าไปแทนที่<br />

น้ำและไขมันในเนื้อเยื่อ จากนั้นจึงนำไปแช่ในสารละลายพลาสติก<br />

สังเคราะห์ภายใต้สภาวะสูญญากาศ เพื่อทำให้อะซิโตนที่อยู่ใน<br />

เซลล์ถูกแทนที่ด้วยพลาสติกสังเคราะห์ จากนั้นจึงนำไปบ่มด้วย<br />

แสงอัลตราไวโอเลต หรือความร้อน เพื่อทำให้พลาสติกแข็งตัวและ<br />

คงสภาพ เทคนิคการรักษาเนื้อเยื่อนี้ จะไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยาคง<br />

สภาพเช่น ฟอร์มาลีน รวมทั้งไม่มีการเน่าสลายของเนื้อเยื่อ ทำให้<br />

สามารถคงสภาพอยู่ได้นาน<br />

นอกจากนี้ การดูแลรักษาเนื้อเยื่อที่ผ่านกระบวนการ<br />

Plastination นั ้น ยังทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก เพียงเก็บรักษาหุ่น<br />

และชิ้นส่วนของร่างกายไว้ในที่แห้งที่อุณหภูมิห้อง รวมทั้งหลีกเลี่ยง<br />

การถูกแสงแดดและฝุ่นละออง<br />

The Body Worlds<br />

กุนเธอร์ ฟอน ฮาเก้นส์ ได้จดสิทธิบัตรวิธีการทำ plastination ใน<br />

ปี 1979 จากนั้น ได้จัดตั้ง Institute for Plastination ขึ้นที่เมือง<br />

Heidelberg ประเทศเยอรมนีในปีค.ศ. 1993 เพื่อจัดการแสดงหุ่น<br />

ร่างกายทั้งของมนุษย์ และสัตว์ รวมทั้งแสดงชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆ<br />

ต่อมาได้จัดตั้ง “The Body Worlds” ซึ่งเป็นชื่อของนิทรรศการ<br />

สัญจร เพื่อจัดแสดงหุ่นและชิ้นส่วนของร่างกายร่วมกับพิพิธภัณฑ์<br />

ต่างๆทั่วโลก โดยเริ่มจัดการแสดงครั้งแรกที ่กรุงโตเกียว ประเทศ<br />

ญี่ปุ่น ในปีค.ศ. 1995 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก จากนั้นจึง<br />

ได้จัดการแสดงนิทรรศการ The Body Worlds อย่างต่อเนื่องในอีก<br />

หลายประเทศ ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และในปีค.ศ. 2006<br />

กุนเธอร์ ฟอน ฮาเก้นส์ จึงได้เปิดพิพิธภัณฑ์ Plastinarium ขึ้นที่<br />

เมือง Guben ประเทศเยอรมนี เพื่อจัดการแสดงหุ่นร่างกายมนุษย์<br />

และ ชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆ แบบถาวร<br />

ในปัจจุบัน มีห้องปฏิบัติการมากกว่า 400 แห่ง ใน 40 ประเทศ<br />

ที่สามารถรักษาสภาพเนื้อเยื่อด้วยเทคนิค plastination และมี<br />

การจัดตั้ง Institute for Plastination ขึ้นในประเทศคีร์กีซสถาน<br />

(Kyrgyzstan) และประเทศจีน รวมทั้งมีการจัดการแสดงของ<br />

หุ่นร่างกายมนุษย์เป็นการถาวร ณ โรงแรมลักซอร์ (Luxor) เมือง<br />

ลาสเวกัส (Las Vegas) ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วย<br />

คุณค่าของหุ่นร่างกายมนุษย์<br />

และปัญหาทางจริยธรรม<br />

การจัดแสดงหุ่นร่างกายมนุษย์นี้ แม้ว่าจะได้รับความสนใจจาก<br />

ประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยตั้งแต่ นิทรรศการ The Body Worlds<br />

ได้เปิดการแสดงมา คาดว่ามีผู้เข้าชมหุ่นร่างกายมนุษย์มากกว่า 30<br />

ล้านครั้งแล้ว ทั้งนี้คุณค่าและคุณประโยชน์ของหุ่นร่างกายมนุษย์<br />

เหล่านี้ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนทั้งในสาขาแพทย์ และ<br />

ทันตแพทย์ เนื่องจากนิสิตนักศึกษาสามารถศึกษาอวัยวะต่างๆ<br />

ของร่างกายมนุษย์ในมุมมองสามมิติ นอกเหนือจากการศึกษา<br />

จากตำราแพทย์ นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์กับนิสิตนักศึกษา<br />

ในสาขาอื่นๆ เช่น ศิลปกรรมศาสตร์สาขาทัศนศิลป์ วิทยาศาสตร์<br />

สุขภาพสาขากายภาพบำบัด รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่จะได้เข้ามา<br />

เรียนรู้เกี่ยวกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย<br />

ปัญหาใหญ่ที่เป็นข้อถกเถียงทั้งในวงวิชาการและสังคมเกี่ยว<br />

กับการจัดแสดงหุ่นร่างกายมนุษย์ คือปัญหาเกี่ยวกับการได้มาของ<br />

ร่างกายและอวัยวะต่างๆ ซึ่งนอกจากประเด็นในเรื่องของความถูก<br />

ต้องในการได้ร่างกายมาแล้ว ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับความถูก<br />

ต้องเหมาะสมในการนำเอาร่างกายของผู้วายชนม์มาจัดแสดงใน<br />

รูปแบบของนิทรรศการด้วย นอกจากนี้ ในเรื่องของการได้มาของ<br />

ร่างกายและอวัยวะนั้น ยังมีรายงานว่า เกี่ยวข้องกับขบวนการค้า<br />

อวัยวะมนุษย์ โดยเฉพาะในประเทศจีนอีกด้วย ซึ่งในประเด็นแรก<br />

นั้น มีเอกสารของ Institute for Plastination ที่เมือง Heidelberg<br />

ที่แสดงถึงการรับบริจาคร่างกายเพื่อนำมาจัดทำหุ่นร่างกายอย่าง<br />

ถูกต้อง รวมทั้งมีรายงานแสดงว่ามีผู้แสดงความจำนงในการบริจาค<br />

จำนวนหลายพันคนในปัจจุบัน<br />

แม้ว่า จะยังมีประเด็นถกเถียงในทางจริยธรรมเกี่ยวกับความ<br />

ถูกต้องเหมาะสม ในการจัดแสดงหุ่นร่างกาย และอวัยวะต่างๆ ซึ่ง<br />

ขึ้นกับมุมมองและความเชื่อของสังคม และวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี<br />

การจัดแสดงหุ่น ร่างกายมนุษย์ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นั้น<br />

มีความประสงค์เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้เข้า<br />

มาศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายและอวัยวะในร่างกาย<br />

ของเรา โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ทางด้านธุรกิจ การเข้าชมหุ่นเหล่านี้<br />

ด้วยความเคารพ และเพื่อศึกษาหาความรู้ทางด้านวิชาการ ย่อมจะ<br />

ยังประโยชน์แก่วงการวิชาการ และสังคม สมตามความตั้งใจและ<br />

วัตถุประสงค์ของผู้ที่เป็นเจ้าของร่างกายเหล่านี้<br />

34 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 35


160 ชิ้น แผนกรับข้อมูลทาง e-mail เป็นแผนกที่กำลังโตขึ้นตลอด<br />

เวลาค่ะ เพราะนับวันทันตแพทย์ที่ใช้ dental scanner ก็มีมากขึ้น<br />

เรื่อยๆ ค่ะ เจ้าหน้าที่การตลาดให้ตัวเลขไว้ถึง 7% ของทันตแพทย์<br />

ในอเมริกา เชียวค่ะ<br />

มาดูข้างในแลบกันค่ะ เมื่อรับงานมาหลายพันชิ้น จากรถบรรทุก<br />

ก็จะมีพนักงาน มาแกะ แยกประเภท และจัดเรียงลงในกล่องแลบ<br />

เรื่อง ทญ. สุภาพร สุทธิ์ประเสริฐพร<br />

(Jim Glidewell, CDT) ภาพจาก www.glidewelldental.com<br />

ถ่ายภาพกับป้ายแลป หน้าตึกเลขที่ 2181 (1 ใน 5 ตึกของสาขานี้)<br />

บทความนี้เป็นเรื่องราวที่เขียนขึ้นหลังจากการไปเยี่ยมชมแลปทันตกรรมที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา ซึ่งไม่ได้<br />

แค่ทำาแลปทันตกรรมให้กับทันตแพทย์เท่านั้น ยังผลิตรากเทียม ผลิตวัสดุสำาหรับงานทันตกรรมหลาย<br />

ชนิด เช่น Zirconia (BruxZir), Glass ceramic (Obsidian), Temporary crown &Bridge (Biotemp),<br />

ผลิตเครื่องกลึงบล็อกดังกล่าว และผลิตภัณฑ์อีกมากมายกว่า 600 ชนิด สร้างรายได้ปีละ 300 กว่าล้าน<br />

เหรียญ (เดิมทีแชร์กันอยู่ในกลุ่ม Line และบก. แอบเข้าไปอ่านและขอให้มาแบ่งปันกับทันตแพทย์ใน<br />

Thai dental magazine นี้ค่ะ)<br />

แลบ Glidewell สร้างขึ้นเมื่อปี 1970 นับถึงวันนี้ก็มีอายุกว่า<br />

40 ปีแล้ว โดยคุณ Jim Glidewell ซึ่งเป็นช่างทันตกรรม<br />

แรกๆ เป็นแลบเล็กๆ และค่อยๆ ขยายสาขา จนมีถึง 8 สาขาใน<br />

ปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอีกมาก ด้วยการขยายผลิตภัณฑ์<br />

ต่างๆ โดยเฉพาะรากเทียม<br />

สาขาที่เราไปเยี่ยมเป็นสาขาใหญ่ที่สุด ตั ้งอยู่ที่รัฐ California<br />

ใกล้ John Wayne Airport (domestic airport) ฝั่งตรงข้าม<br />

มหาวิทยาลัย University of California, Irvine (UCI) ห่างจาก<br />

โรงงานผลิตรากเทียมของ Nobel biocare 20 ไมล์ และห่างจาก<br />

Disneyland ประมาณ 16 ไมล์ พูดถึงความใหญ่ของสาขานี้ มีตึก<br />

ทำการ 5 ตึก พื้นที่ใช้สอย 300,000 ตารางฟุต มีพนักงาน 3,200 คน<br />

ห้องแลบทันตกรรม มี 8 ห้องใหญ่ๆ เพื่อรองรับงานประเภท PFMS,<br />

All-Ceramics, BioTemps (temporary crown & bridge), Bite<br />

Splints, Implants, Composites, and Complete Denture<br />

ปริมาณงานที่แลบรับมาทำให้กับทันตแพทย์ในแต่ละวัน คือ<br />

กว่า 6,000 ชิ้น จาก Fedex รับมาวันละหลายคันรถบรรทุกเลยที<br />

เดียว และจาก e-mail (คือข้อมูล abutment ที่ทันตแพทย์ scan<br />

ส่งมาให้ โดยไม่ต้องพิมพ์ปาก และแลบไม่ต้องเทปูน) วันละกว่า<br />

ช่างกำลังแกะ และจัดเรียงงานแลปลงกล่องของแลบ<br />

เพื่อประเมินวางแผนว่าจะต้องผ่านช่างแผนกใดบ้าง (เช่น แผนก<br />

เทปูน แผนกออกแบบครอบฟัน แผนกกลึงครอบฟัน แผนกตรวจ<br />

คุณภาพ) จะมี Barcode เป็นสติกเกอร์เป็นแผงแปะที่ข้างกล่อง<br />

ติดตัวไปเลยค่ะ งานเข้า-ออกจากแผนกไหน ก็ยิง barcode ข้อมูล<br />

ก็จะไปปรากฏโชว์ให้ดูในจอได้ตลอดเวลาค่ะ<br />

ในแต่ละแผนก<br />

จะมีจอมอนิเตอร์<br />

ติดผนังแสดง<br />

performance<br />

ให้ผู้บริหารและ<br />

ช่างทุกคนได้เห็น<br />

แบบ real-time<br />

หากมีข้อสงสัย หรือต้องติดต่อกับทันตแพทย์เจ้าของงาน ก็มี<br />

แผนก call center โดยเฉพาะเลยค่ะ<br />

40 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 41


metal bar ที่กลึงแล้ว<br />

หน้าแผนก call center แสดงป้ายที่เขียนว่าได้โทรศัพท์กว่า<br />

16,800 ครั้ง สำหรับเคสรากเทียม ในปี 2011 และ<br />

technical advisor ใช้เวลาเพียง 7 วินาที ในการติดตามเคส<br />

บรรยากาศในแลบ มีห้องแลปใหญ่ๆ แบบนี้ 8 ห้องค่ะ จะเห็นว่าไม่<br />

เลอะเทอะเลย ทุกโต๊ะมีจอคอมพิวเตอร์ และ barcode scanner<br />

block zirconia ที่กลึงได้<br />

เครื่องกลึง metal bar<br />

มีขนาดใหญ่มาก<br />

ในรูปเป็นด้านหลังเครื่อง<br />

(น้ำทิ้งจากเครื่องมีสีของ<br />

โลหะปนออกมา)<br />

เครื่องกลึง block zirconia<br />

มีเรียงกันหลายตัว ทำงาน<br />

ตลอดเวลา หัวกรอและส่วนประกอบ<br />

จะต้องเปลี่ยนยกเครื่องใหม่ทุก<br />

16 เดือน เนื่องจากใช้งานหนักมาก<br />

และฝุ่นผงจากการกรอเข้าไปติด<br />

ข้างใน ทางแลปเค้ามีช่างที่ทำการ<br />

ประกอบเครื่องและ maintenance<br />

เองค่ะ<br />

ห้อง bake porcelain ก็อยู่ในห้องกระจกปิดมิดชิด<br />

งานเทปูน ที่จะมีฝุ่น น้ำ จะอยู่ในห้องกระจกปิดมิดชิด<br />

แลบนี้เค้าใช้เทคโนโลยี CAD-CAM เยอะค่ะ ถ้าทันตแพทย์<br />

ส่งงานมาเป็นรอยพิมพ์ (impression) แลบก็จะเทปูน และนำมา<br />

สแกนเป็นข้อมูลดิจิทัล แต่ถ้าทันตแพทย์ส่งงานมาเป็นไฟล์ข้อมูลที่<br />

สแกนมาแล้ว (ทางอีเมล) ช่างแลบที่เรียกว่า designer ก็สามารถ<br />

ออกแบบงานในคอมพิวเตอร์ได้เลย (ค่าแลบจะถูกกว่า 20 เหรียญ)<br />

เมื่อออกแบบชิ้นงานในคอมพิวเตอร์เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลให้<br />

เครื่องจักรกลึงชิ้นงานออกมา วัสดุที่กลึงได้ ก็มีหลากหลาย ตั้งแต่<br />

วัสดุกึ่งคอมโพสิท, zirconia, metal (abutment, crown, bridge<br />

หรือ bar) เป็นต้นค่ะ ตัวอย่างราคาค่าแลบ เช่น ครอบฟัน zirconia<br />

1 ชิ้น (ยี่ห้อ BruxZir ที่แลบผลิตเอง), Empress Emax Crown,<br />

Porcelain veneer ราคาเท่ากันคือ unit ละ 99 USD ถ้าส่งมาเป็น<br />

ไฟล์ดิจิทัล ราคา 79 USD ค่ะ (Lava crown ของ 3M แพงกว่าใคร<br />

ราคา unit ละ 192 USD)<br />

designer กำลังสแกนงาน working เพื่อออกแบบ abutment หรือ ครอบฟัน<br />

มีเครื่องพิมพ์พร้อม<br />

แท่งโลหะ สำหรับทำ custom abutment<br />

ก่อนกลึง (ซ้าย) และหลังกลึง (ขวา)<br />

แผง แท่งโลหะสำหรับทำ<br />

custom abutment หน้าห้องกลึง<br />

นอกจากจะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการกลึงชิ้นงานแล้ว ยังมี<br />

3D printer ที่สามารถพิมพ์ die, model, surgical template หรือ<br />

แม้กระทั่งขากรรไกรจำลอง (ที่เราไว้ใช้สาธิตให้คนไข้ดู หรือไว้ทำ<br />

hand-on การฝังรากเทียม) อีกด้วยค่ะ<br />

ขากรรไกรจำลอง<br />

(กลาง), Surgical<br />

template (ซ้าย),<br />

individual tray (ขวา)<br />

ที่ใช้ในการทำ hand<br />

on เป็นผลิตผลจาก<br />

เครื่อง 3D printer ค่ะ<br />

ด้านหน้าเครื่องกลึง<br />

metal bar มีปุ่มมากมาย<br />

ใช่ค่ะ มีการทำ hand-on รากเทียมระบบของแลบ Glidewell<br />

(Inclusiv) เค้ามีศูนย์ CE พร้อมสำหรับการเรียนการสอนทันตแพทย์<br />

เรียกว่า technology center ประกอบด้วย classroom auditorium<br />

มีจอ ทีวีข้างห้อง 2 จอ และบนโต๊ะของผู้เรียนด้วยค่ะ กระจกบาน<br />

ใหญ่หน้าห้องถ้าปรับให้ใส (กดปุ่มให้ขุ่นได้เป็นจอฉายภาพ และ<br />

กดปุ่มให้ใสได้ กลายเป็นกระจกใสกั้นห้องธรรมดา) จะมองเห็นห้อง<br />

ถัดไป เป็น operatory หรือห้องทำฟัน ที่ใช้สำหรับทำ live surgery<br />

ให้ทันตแพทย์ในห้องเรียนดู (จะดูโดยตรง หรือผ่านจอก็ได้) ห้องนี้<br />

ยังใช้ถ่ายทำการผ่าตัด (อัดวิดีโอ, ถ่ายภาพ) สำหรับทำสื่อโฆษณา<br />

ประชาสัมพันธ์ของแลปด้วย<br />

42 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 43


ภาพถ่าย classroom auditorium (แลปให้ภาพนี้มาค่ะ) ถ่ายจาก<br />

ด้านนอกซึ่งเป็น Lounge มีโซฟา จอ และมุมอาหาร เครื่องดื่ม<br />

เครื่องทำกาแฟ และบริเวณสำหรับทานอาหาร ห้องเรียน มีอุปกรณ์<br />

พร้อม มองทะลุผ่านกระจกใสหน้าห้องเรียน จะเห็น operatory room<br />

ซึ่งมักใช้ถ่ายทอดการผ่าตัด live surgery<br />

จบแล้ว ได้ model กลับไปแสดงให้<br />

คนไข้ดูค่ะ<br />

ถ่ายรูปกับ Dr. Michael<br />

McCracken ผู้สอน<br />

ก่อนปฏิบัติงาน ทันตแพทย์ discuss กับช่าง<br />

แลบและทีมช่าง (เสื้อขาว) ผู้ทำ surgical<br />

template โดยมีทันตแพทย์ (เสื้อดำ)<br />

และพวกเรา คอยสังเกตการณ์<br />

ชุดเครื่องมือ ในวันที่ผ่าตัด<br />

ฝังรากเทียม 5 ซี่ โดยใช้<br />

surgical template<br />

plan ห้องต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในการทำฟัน และถ่ายทอด,<br />

ถ่ายภาพ และวิดีโอ<br />

คอร์สที่เราได้เข้าร่วม เป็นหลักสูตร 2 วัน ประกอบด้วยการฟัง<br />

lecture, ดู live surgery และทำ hand-on work shop เรามีรูปมา<br />

ฝากค่ะ<br />

clinical tip จาก Dr.McCracken ใช้ clear acrylic ทำเป็น​impression<br />

tray ในการพิมพ์ปาก pick up ตัว locator housing เพื่อให้เห็นชัดว่ากด<br />

tissue มากไปหรือไม่ ตำแหน่งใด ชน housing หรือเปล่า<br />

อุปกรณ์กล่องที่ 1 และรายการอุปกรณ์สำหรับ work shop<br />

อุปกรณ์กล่องที่ 2 และรายการอุปกรณ์สำหรับ work shop<br />

ขณะทำwork shop เมื่อเสร็จ work shop<br />

โต๊ะก็กลายเป็นแบบนี้ค่ะ<br />

เราได้มีโอกาสเข้าสังเกตการณ์ ใน operatory ของเค้าอย่างใกล้<br />

ชิดด้วยค่ะ ห้องนี้ นอกจากใช้ถ่ายทอด live surgery ให้ทันตแพทย์<br />

ที่มาเรียนแล้ว ก็ยังใช้รักษาคนไข้จริงๆ ด้วยค่ะ คนไข้ที่นี่ ก็คือพนักงาน<br />

ของบริษัทที่นี่เองค่ะ มีสิทธิในการรับบริการทันตกรรมฟรี รวมทั้งราก<br />

เทียม และฟันเทียมด้วยค่ะ (คลินิกพนักงาน ยังมีอีกแห่งให้บริการ<br />

รักษาทั้งโรคทันตกรรมและโรคทั่วไปค่ะ) อย่างไรก็ดี ความฟรี ก็ต้อง<br />

แลกมาด้วยการถูกถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ และการถูกสังเกตการณ์โดย<br />

ทันตแพทย์ที่มาเรียน หรือแม้แต่ technician ฝึกงานค่ะ<br />

ข้างใน operatory room<br />

(หลังกระจกหน้าห้องเรียน)<br />

ทีมช่างถ่ายภาพ และวิดีโอ<br />

ที่ทำให้เราเห็นจากจอติดผนัง<br />

(สำหรับ web version มีวิดิโอ 40 แสดงการทำงานของช่าง<br />

ภาพ ช่างถ่ายวิดีโอ ขณะที่หมอกำลังทำงาน)<br />

ถาดเครื่องมือ ที่มี surgical<br />

template ใช้ 2 ชุด เพื่อการวิจัยด้วย<br />

(ไปอ่านงานวิจัยของ Dr. Abai<br />

ท่านนี้มาแล้ว เรื่องความคลาดเคลื่อน<br />

ของการใช้ template เค้าพบว่าคลาด<br />

เคลื่อนประมาณ 0.4 mm ค่ะ)<br />

โต๊ะวางอุปกรณ์ข้างห้อง ด้านซ้าย<br />

เป็นพื้นที่ของผู้ช่วยทันตแพทย์ มุม<br />

บนขวาเป็นจอแสดง CT scan ของ<br />

ผู้ป่วย สามารถหมุนดูกายวิภาคได้<br />

ตลอดเวลา<br />

ซูมไปที่จอ CT scan<br />

ซูมไปที่รากเทียมที่ใช้วันนั้นค่ะ เป็น<br />

brand ที่แลบผลิตเอง (Inclusive)<br />

วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร และสถานที่สำหรับทำฟันเค้าพร้อม<br />

มากค่ะ ถ้าให้ห้องทำฟันอยู่ตรงกลาง มุมทั้ง 4 ของห้องทำฟัน มี<br />

ประตูสำหรับเชื่อมห้องเล็กๆ อีก 4 ห้องทำงาน คือห้อง 1 media<br />

สำหรับช่างภาพตรวจดูภาพถ่าย และวิดีโอ 2 ห้อง supply สำหรับ<br />

เก็บอุปกรณ์ วัสดุ และล้าง sterile 3 ห้อง x-ray เป็น CT scan และ<br />

4 ห้องแลป เผื่อกรอแต่งฟันเทียมค่ะ เดี๋ยวดูในรูปวาดประกอบ<br />

ได้ค่ะ<br />

Dr. Abai กำลังกรอแต่งฟันปลอม ใน<br />

ห้องแลบ ซึ่งมีอุปกรณ์พร้อม<br />

เป็นการ chairside adjustment ที่<br />

ห่างเก้าอี้ทำฟันสัก 6-7 ก้าว<br />

ภาพการทำงาน ของหมอ และผู้<br />

ช่วย ฝาตู้ด้านหลัง เป็นภาพแสดง<br />

Treatment plan ของเคส จาก CT<br />

scan ที่ print มาแปะ<br />

(สำหรับ web version มีวิดิโอ 51 แสดงการทำงานของ Dr.Abai<br />

และผู้ช่วย ขณะใส่รากเทียม โดยใช้surgical template)<br />

(สำหรับ web version มีวิดิโอ 52 แสดงการสแกน abutment<br />

หรือที่เรียกว่า digital impression ในคลินิก)<br />

ท้ายนี้ ผู้เขียนก็หวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ให้ผู้อ่าน<br />

ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย อาจจะเป็นเรื่องการบริหารแลบทันตกรรม<br />

ที่ใหญ่โตทันสมัย เรื่องคลินิกและงานทันตกรรม ซึ่งเราเห็นว่าวัสดุ<br />

อุปกรณ์พร้อมมาก ทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะช่างแลบมาดูงานด้วย<br />

ตัวเอง ก่อนคุณหมอจะใช้ชิ้นงานตลอด มีช่างภาพ ช่างวิดีโอ ห้อง<br />

แลบ ห้องตัดต่อ ห้อง x-ray ห้องจ่ายกลาง ที่ออกแบบมาได้อย่าง<br />

ลงตัว และท้ายสุดศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง Glidewell International<br />

Technology Center ที่มีความพร้อมมาก ในเรื่องสถานที่ อุปกรณ์<br />

การสอน การถ่ายทอดการผ่าตัดสด พร้อมจริงๆ (สามารถหาข้อมูล<br />

เพิ่มเติมเกี่ยวกับศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง และหลักสูตรสั้นๆ ได้ที่<br />

www.glidewellce.com)<br />

ขอขอบคุณบริษัท Integnty Dental Solution ประเทศไทย & USA<br />

ที่ให้การสนับสนุนการเดินทาง<br />

ขอขอบคุณแลบ Glidewell คุณ Tim Torbenson<br />

ผู้ประสานงาน และดูแลพวกเราค่ะ<br />

44 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 45


เรื่อง สาระเทศ<br />

ความนำา<br />

จากการที่ ท่าน บก. Thai Dental Magazine<br />

มีความเห็นว่าไหนๆประเทศไทยก็กำาลังจะเข้าสู่<br />

AEC ในอีกไม่ถึง 2 ปีนี้ จึงอยากให้มีบทความ<br />

ที่เกี่ยวกับประเทศในอาเซียน เพื่อให้สมาชิกได้รู้จัก<br />

ระบบบริการของเขา ซึ่งนอกจากจะได้เข้าใจเพื่อน<br />

บ้านเราแล้ว ยังอาจได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดีๆ<br />

ของเขานำามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในประเทศของเรา<br />

ได้บ้าง ผู้เขียนจึงรับอาสาเข้ามาเขียนบทความนี้<br />

เสนอต่อสมาชิก ข้อมูลที่นำามาเสนอได้จาก<br />

ผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุขของแต่ละประเทศ<br />

โดยตรง และผู้เขียนหาข้อมูลเพิ่มเติม<br />

บางส่วนจาก เว็บไซต์ หรือ จากเอกสาร<br />

บรูไนดารุสซาลาม เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว อยู่ใน<br />

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้<br />

พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวักของ<br />

มาเลเซีย บรูไนเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลัก เมือง<br />

หลวงของประเทศคือ บันดาร์เสรีเบกาวัน บรูไนเป็นประเทศเล็กๆ<br />

ในปี 2555 มีประชากรเพียง 412,238 คน มีพื้นที่ 5,765 ตาราง<br />

กิโลเมตร (มีพื้นที่และจำนวนประชากรประมาณจังหวัดลำพูน) มี<br />

ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวประชากร (GDP per capita) มากกว่า<br />

ของประเทศไทยถึงเกือบ 7 เท่า<br />

ทันตแพทย์ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลกับเรา คือคุณหมอ Sylviana Haji<br />

Moris เธอเป็นหัวหน้ากองบริการทันตสุขภาพปฐมภูมิ จากกรมทันต<br />

สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขบรูไน เธอเริ่มต้นด้วยการเล่าถึง วิสัย<br />

ทัศน์กระทรวงสาธารณสุขบรูไนของเธอที่ว่าไว้สั้นๆ แต่ได้ความ<br />

หมายลึกซึ้งกว้างไกล ว่า “Together towards a Healthy Nation”<br />

กรมทันตสุขภาพจะบรรลุถึงวิสัยทัศน์ของกระทรวงของเขาด้วย<br />

ภารกิจในให้การดูแลทันตสุขภาพแก่ประชาชนของเขา ด้วยระบบ<br />

ที่มีประสิทธิผล เท่าเทียม เข้าถึง ปลอดภัย และยั่งยืนในราคาที่ทุก<br />

คนสามารถจ่ายได้<br />

ประเทศบรูไนไม่มีโรงเรียนทันตแพทย์ ปัจจุบันทั้งประเทศมี<br />

ทันตแพทย์อยู่ 81 คน เป็นคนบรูไน 52 คน ที่เหลือเป็นชาวต่างชาติ<br />

เช่นคนอินเดีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย เป็นต้น ในแต่ละปีจะมี<br />

นักเรียนบรูไนที่สอบชิงทุนเพื่อไปศึกษาต่อในสาขาทันตแพทยศาสตร์<br />

ในต่างประเทศ ปีละไม่เกิน 4 คน บรูไนนิยมส่งนักเรียนทุนไปศึกษา<br />

ต่อที่ อังกฤษ ออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์ บัณฑิตที่เรียนจบกลับมา<br />

หรือชาวต่างชาติที่จะมาทำงานในบรูไนจะต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์<br />

และการตรวจสอบคุณสมบัติอย่างถี่ถ้วน จากคณะกรรมการของ<br />

วิชาชีพก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมใน<br />

บรูไนได้ บรูไนกำลังวางแผนเปิดการเรียนการสอนทันตาภิบาล<br />

เองเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนทันตแพทย์ โดยอนุญาตให้ทันตา<br />

ภิบาลสามารถให้การรักษาและให้ทันตสุขศึกษาได้ ปัจจุบันบรูไน<br />

46 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 47


มีทันตาภิบาลอยู่ 104 คน มีผู้ช่วยทันตแพทย์ 88 คน และช่างทันต<br />

กรรม 37 คน ทันตแพทย์บรูไนเพียงร้อยละ 12 เท่านั้นที่ทำงานใน<br />

ภาคเอกชน นอกนั้นจะทำงานในภาคราชการและมีทันตแพทย์ถึง<br />

ร้อยละ 73 ที่ทำงานอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข Dr. Sylviana บอก<br />

ว่าแม้แต่เศรษฐีบรูไนก็ยังมารับบริการจากกระทรวงสาธารณสุข<br />

ข้อนี้เป็นข้อยืนยันถึงบริการที่ได้คุณภาพ และมีมาตรฐานของภาค<br />

ราชการ<br />

คลินิกทันตกรรมของบรูไนตั้งอยู่หนาแน่นในเขตเมือง มีคลินิก<br />

ทันตกรรมในชนบทบ้างแต่ไม่มากนัก ด้วยการคมนาคมจากพื้นที่<br />

ชนบทเข้าเมืองที่ไกลที่สุดใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง การออกหน่วยทำฟัน<br />

เคยมีการดำเนินการทางเฮลิคอปเตอร์แต่เลิกไปเพราะคนใช้บริการ<br />

น้อย จากสถิติพบว่าชาวบรูไนในทุกกลุ่มอายุมาใช้บริการทันตกรรม<br />

ประมาณร้อยละ 15 ต่อปี (มากกว่าประเทศไทยประมาณ 2 เท่า)<br />

กรมทันตสุภาพของบรูไนตั้งขึ้นปีเมื่อปี 2549 และเริ่มดำเนิน<br />

งานส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในปีนั้น ทั้งในกลุ่มวัยเรียน วัยก่อน<br />

เ ร ี ย น ม า ต ร ก า ร ป ้ อ ง กั น ฟ ั น ผ ุ ท ี ่ เ ป ็ น ม า ต ร ก า ร ห ล ั ก ไ ด ้ แ ก ่ ก า ร เ ติ ม<br />

ฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่มซึ่งเริ่มเติมตั้งแต่ปี 2539 และสามารถครอบคลุม<br />

ประชากรได้ถึงร้อยละ 98 ในปี 2551 โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ<br />

ในกลุ่มเด็กวัยก่อนเรียนของบรูไนคล้ายกับของไทย กล่าวคือมีการ<br />

ตรวจฟันในคลินิกฝากครรภ์และคลินิกเด็กดี เด็กอายุ 9 เดือนจะได้<br />

รับแจกแปรงอันแรก และถ้วยดื่มนม เพื่อลดการดูดนมจากขวด<br />

จากนั้นจะมีนัดครั้งต่อไปในอีก 6 เดือนซึ่งจะมีการแจกแปรงและ<br />

ยาสีฟันอันใหม่ให้ทุกครั้งที่มาตรวจฟัน มีการทาฟลูออไรด์วานิชปี<br />

ละสองครั้งให้เด็กอายุ 2 ขวบถึง 5 ขวบ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ<br />

ในโรงเรียนเน้นการแปรงฟันทุกวันโดยใช้ยาสีฟัน Polypaste ที่ผลิต<br />

จากประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีฟลูออไรด์ 1,450 ppm นอกจากนี้ยังมี<br />

การตั้งคลินิกทันตกรรมในโรงเรียนเพื่อให้บริการแก่นักเรียนโดย<br />

ทันตาภิบาล และมีระบบส่งต่อในรายที่เกินขอบเขตความสามารถ<br />

ของทันตาภิบาลมายังทันตแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้วย การดำเนิน<br />

งานในโรงเรียนทำโดยมีการประสานกับกระทรวงศึกษาธิการอย่าง<br />

ใกล้ชิด<br />

การให้ความรู้ดำเนินการผ่านสื่อสาธารณะได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ<br />

ซีดี กรมทันตสุขภาพจะดำเนินการร่วมกับสำนักเทคโนโลยี มีการ<br />

จัดประกวดร้องเพลงส่งเสริมสุขภาพช่องปากไปเมื่อปี 2554<br />

สถานะสุขภาพช่องปากของคนบรูไนเริ่มดีขึ้น ตั้งแต่มีการตั้ง<br />

กรมทันตสุขภาพ โดยอัตราการเกิดฟันผุของเด็กอายุ 12 ปีลดลง<br />

เล็กน้อย แต่ อัตราฟันผุ อุด ถอนในเด็กก่อนวัยเรียนวัดที่ อายุ 5<br />

ขวบยังคงเพิ่มขึ้น (มีกราฟ ฟันผุอายุ 12 และ 5 ปี )<br />

การบริการทันตกรรมภาครัฐของบรูไนจะเปิดบริการในเวลา<br />

7.45 - 10.00 น.ในตอนเช้า และ 13.30-15.00 น. ในตอนบ่าย<br />

คนไข้ฉุกเฉินจะไปรับบริการที่ห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล และมี<br />

ทันตแพทย์รับผิดชอบที่สามารถเรียกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ถ้าผู้ป่วย<br />

มีความต้องการจัดฟัน ต้องรอคิวประมาณ 4 ปี คิวรักษารากฟัน 4<br />

เดือน คิวทันตกรรมประดิษฐ์ 6 เดือน คิวศัลยศาสตร์ 3 สัปดาห์ และ<br />

ปริทันต์อยู่ที่ 3 เดือน ส่วนทันตกรรมสำหรับเด็ก สามารถรับบริการ<br />

ได้เลย นอกจากนี้ระบบบริการทันตกรรมของบรูไนยังให้การบริการ<br />

พิเศษแก่เด็กพิการอีกด้วย ระบบข้อมูลทันตกรรมของบรูไน เริ่มปรับ<br />

มาตรฐานในปี 2554 และคาดว่าจะใช้ระบบเดียวกันทั้งประเทศได้<br />

ในปี 2557<br />

ถ้าจะถามว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้คุณภาพของบริการทันตกรรม<br />

ภาครัฐของบรูไนได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ก็อาจเป็นเพราะ<br />

บรูไนมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบบริการ มีการวาง<br />

ระบบตรวจสอบคุณภาพบริการ ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2554 มี<br />

วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพทันตบุคลากร และเสริมสร้างระบบ<br />

การเรียนรู้โดยมีการทบทวนคุณภาพบริการอย่างเป็นระบบ ข้อมูล<br />

ในการพัฒนาคุณภาพนำมาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สัมพันธ์กับ<br />

สภาพของท้องถิ่น นอกจากนี้เขายังมีการประเมินความพึงพอใจ<br />

ของผู้รับบริการเป็นประจำบรูไนมีระบบการพัฒนาคุณภาพวิชาชีพ<br />

(Continuing Professional Development- CPD) ทันตแพทย์บรูไน<br />

ทุกคนต้องเก็บคะแนน CPD และต้องได้คะแนน CPD อย่างน้อยปี<br />

ละ 30 คะแนน (เข้าฟังวิชาการ 1 ครั้งได้ 1 คะแนน) และคะแนน<br />

จะสามารถเก็บได้จากการทำกิจกรรมพัฒนาวิชาการ ทันตแพทย์<br />

ทุกคนต้องให้การรักษาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วันเพื่อรักษาสถานะ<br />

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม<br />

ในเรื่องกำลังคนทางทันตสาธารณสุข บรูไนมองว่าการผลิต<br />

ทันตแพทย์มีราคาแพง และหาคนเข้ามาทำงาน และทำให้คงอยู่<br />

ในระบบได้ยาก เขาเห็นว่าการผลิตบุคลากรที่มีความสามารถครบ<br />

ได้แก่ เป็นทั้ง Dental hygienist และ Dental therapist ในคน<br />

เดียวกัน จะมีความคุ้มค่ากว่า ทั้งนี้เพื่อให้บริการปฐมภูมิ บริการใน<br />

เด็ก และ การให้ทันตสุขศึกษา นอกจากนี้เขายังเน้นเรื่องการอบรม<br />

เพิ่มพูนความรู้อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องแก่บุคลากรเหล่านี้ เพื่อ<br />

คงไว้ซึ่งมาตรฐานของการให้บริการอีกด้วย<br />

การให้บริการทันตกรรมนอกจากบุคลากรที่มีคุณภาพแล้ว ยัง<br />

ต้องอาศัยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในสภาพที่พร้อมให้บริการ<br />

อยู่เสมอ ประเทศบรูไนมีหน่วยงานวิศวกรโดยเฉพาะที่ให้การดูแล<br />

เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆเพื่อให้พร้อมใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ<br />

อยู่เสมอ หน่วยงานนี้จะให้การดูแลยูนิตทำฟันทุกตัวให้ทำงานได้<br />

อย่างมีประสิทธิภาพ คอยเปลี่ยนครุภัณฑ์ เครื่องมือ เมื่อหมดอายุ<br />

หรือล้าสมัย มีคณะกรรมการที่มีหน้าที่กำหนด ตรวจสอบเครื่องมือ<br />

เครื่องใช้ทุกชิ้นให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ<br />

ส่วนด้านความปลอดภัย และสุขภาพของผู้ให้บริการก็มีการ<br />

ดูแลอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการควบคุมการติดเชื้อใน<br />

คลินิก การกำจัดขยะ การป้องกันรังสี ตลอดไปจนถึงการจัดสภาพ<br />

แวดล้อมในคลินิกให้เอื้อต่อการทำงาน และส่งเสริมสุขภาพของ<br />

ผู้ทำงานบรูไนมีมาตรฐานในเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด มีการพิมพ์ออก<br />

มาเป็นคู่มือ และคู่มือนี้ต้องมีการปรับปรุงทุก 2 ปีเพื่อให้ทันสมัย<br />

อยู่เสมอ และแน่นอนต้องมีการตรวจประเมินเพื่อให้มีการดำเนิน<br />

การตามมาตรฐานเหล่านี้อย่างเคร่งครัดด้วย<br />

เห็นการบริการที่คำนึงถึงคุณภาพในทุกๆ ด้านเช่นนี้พวกเราคง<br />

ต้องคิดถึงราคาค่าบริการกันแล้ว เมื่อดูในค่าบริการแล้ว จะเห็นว่าถ้า<br />

คุณเป็นประชากรชาวบรูไนแล้วละก็ คุณจะเสียค่าลงทะเบียนเพียง<br />

1 ดอลลาร์ เท่านั้น (1 ดอลลาร์บรูไน มีค่าประมาณ 25 บาท) หรือ<br />

ถ้าคุณเป็นข้าราชการบรูไนคุณต้องเสียค่าลงทะเบียน 3 ดอลลาร์<br />

แล้วจะได้รับบริการทุกอย่างฟรี แต่ถ้าคุณไม่ใช่ชาวบรูไนแล้วละ<br />

ก็ คุณจะต้องเสียค่าลงทะเบียน 5 ดอลลาร์ (ค่าลงทะเบียนนี้น่าจะ<br />

เทียบได้กับที่บ้านเราเคยต้องจ่าย 30 บาท) และคุณจะต้องจ่ายค่า<br />

บริการในอัตราพอสมควรที่เดียว เช่น ถ้าคุณถอนฟันคุด คุณจะต้อง<br />

จ่าย ถึง 50 ดอลลาร์ ขณะที่คนบรูไน และข้าราชการบรูไนจะได้รับ<br />

บริการนี้ฟรี<br />

แม้บรูไนจะมีการดำเนินการในมิติของคุณภาพครบถ้วนทุก<br />

ด้านเช่นนี้ แต่เขาก็ยังคิดว่าเขามีด้านที่ยังท้าทายให้ปรับปรุง<br />

อยู่อีกหลายประการด้วยกันอันได้แก่ เรื่องความขาดแคลนทันต<br />

บุคลากร ทันตแพทย์บรูไนต้องทำงานในหลายหน้าที่ การหา<br />

กำลังคนใหม่ๆ และการคงกำลังคนเก่าให้อยู่ในระบบยังเป็น<br />

ปัญหา การมีสถานที่จำกัด ทำให้การขยายบริการออกไปทำได้<br />

ยาก การที่ประชาชนมีความต้องการบริการอย่างมาก และการ<br />

จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ทางทันตกรรมที่ต้องสั่ง<br />

จากต่างประเทศ นอกจากนี้เขายังเห็นว่างานด้านการป้องกัน<br />

ของเขายังไม่เพียงพอ เหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายของงาน<br />

ทันตสาธารณสุขของบรูไนทั้งสิ้น<br />

48 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 49


สมดุล คุณค่า ชีวิต<br />

ถ้ามีโอกาสได้หยุดงานยาวถึง 12 วัน<br />

การเที่ยวเมืองนอก เคยเป็นทางเลือกหนึ่ง<br />

ที่ผมใช้ไปชาร์จแบตให้ชีวิต<br />

แต่มักกลายเป็นว่า กลับจากท่องเที่ยว เหมือนแบตแทบหมด<br />

จากร่าง จากการพิชิตภารกิจ ชิม ช็อป ชม จนต้องวิ่งหาพาวเวอร์<br />

แบงก์มาสำรองพลัง<br />

การเดินทางครั้งล่าสุด มีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่ลงตัวทั้งกาย<br />

และใจ เหมือนเวลาที่ ‘มะม่วงสุก’ พอดี<br />

ผมไม่ได้ไป ‘เที่ยวเมืองนอก’ แต่ไป ‘ท่องเมืองใน’<br />

‘เมือง’ ที่สร้างขึ้นจากอณูของเซลล์นับล้าน ‘ใน’ ร่างกายของ<br />

ตนเอง และใช้วีซ่าผ่านทางชื่อ... วิปัสสนา<br />

..........<br />

เรื่อง ทพ.สมดุลย์ หมั่นเพียรการ www.dhamrongdul.wordpress.com<br />

การท่องเมืองใน ณ ศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนา ธรรมกาญจนา<br />

จ.กาญจนบุรี ตามแนวทางของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า เริ่มต้นจาก<br />

ความเงียบ<br />

Please keep ‘Noble silence’ strictly at all time<br />

เราต้องรักษาความเงียบอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่เย็นวันแรก จนถึง<br />

เช้าวันที่ 10 ก่อนเดินทางกลับหนึ่งวัน<br />

ปิดการติดต่อกับทุกคน ทั้งการพูด การเขียน ภาษากาย แม้แต่<br />

โต๊ะกินข้าวที่หันหน้าเข้าหาผนัง และมีเส้นแบ่งพื้นที่เฉพาะคน<br />

การปิดการสื่อสาร หรือลด contact กับภายนอก ช่วยเปิดการ<br />

รับรู้ภายในจิตใจให้ชัดเจนขึ้น คล้ายกับการลด contact surface<br />

ในการเตรียมคลองรากส่วนต้น ที่ช่วยเพิ่ม tactile sense เมื่อเรา<br />

เดินทางลึกลงไปถึงปลายรากฟัน<br />

..........<br />

‘ตั๋ว’ ท่องเมืองใน มีชื่อว่า ‘ปัญญา’ ซึ่งไม่มีวางขาย แต่ต้อง ‘ทำ’<br />

เพื่อให้ได้มาด้วยตัวเอง<br />

จะได้ ปัญญา ต้องอาศัยการทำ ‘วิปัสสนา’<br />

ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ให้ความหมายของวิปัสสนา ไว้อย่าง<br />

เรียบง่ายว่า ‘to see things as they are’ คือ เห็นว่าเป็นเช่นนั้น<br />

เอง โดยเคลื่อนความสนใจไปรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นทีละ<br />

ส่วนๆ ตลอดทั้งร่างกาย ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่เป็นกลาง ไม่<br />

ปรุงแต่ง ตอบโต้<br />

ทำเช่นนี้ทุกวัน ตั้งแต่ตีสี่ครึ่ง ถึง สามทุ่ม วันละประมาณ 12<br />

ชั่วโมง โดยไม่มีกิจกรรม หรือออพชันอื่นเสริม<br />

..........<br />

ตลอด 120 ชั่วโมง ที่นั่งปฏิบัติวิปัสสนา<br />

ผมรับรู้แต่เพียงว่า ขณะกำลังสนใจความรู้สึกที่ร่างกายส่วน<br />

หนึ่ง มักมีความรู้สึกที่ตำแหน่งอื่นเกิดขึ้นมาด้วย แต่เมื่อเราเคลื่อน<br />

ความสนใจไปที่ตรงนั้น ความรู้สึกนั้นกลับเปลี่ยนแปลงไปแล้ว หรือ<br />

แม้แต่เคลื่อนความสนใจกลับมายังจุดเดิม ความรู้สึกเดิมก็ไม่คงอยู่<br />

อีกต่อไป<br />

ไม่มี ปาฏิหาริย์ หรืออะไรพิเศษไปกว่านั้นเลย<br />

เกิดขึ้น..แล้วก็ดับไป เกิดขึ้น..แล้วก็ดับไป<br />

ผมคงไม่สามารถนำผลจากการรับรู้ใดๆนั้นมาเล่าสู่กันฟังได้<br />

ทั้งหมด เพราะสิ่งเหล่านั้นล้วน เกิดขึ้น และ ดับไป แล้วเช่นกัน<br />

ทุกสิ่งเป็นเช่นนั้นเอง<br />

... เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป<br />

... อนิจจัง อนิจจัง อนิจจัง<br />

..........<br />

จนวันที่ 10 (Day 10) ของการปฏิบัติ เราเรียนรู้การทำเมตตา<br />

ภาวนา เผื่อแผ่ความรักความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย<br />

ในคำแผ่เมตตา จะขึ้นต้นประโยคว่า ขอให้ข้าพเจ้าจง... ขอให้<br />

สรรพสัตว์ทั้งหลายจง...<br />

ขอ.. ขอ.. แล้วก็ ขอ จนผมเกิดความคลางแคลงใจว่า ในเมื่อ<br />

ตลอดมาท่านสอนอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง<br />

จึงจะเกิดผล แล้วทำไมสุดท้าย ท่านจึงให้เรา ‘ขอ..’<br />

ตะกอนของความสงสัยก่อเป็นกำแพงบดบังปีติที่เกือบจะเต็ม<br />

เปี่ยมในใจ หรือพูดแบบวัยรุ่นว่า เกือบจะฟิน แต่ไม่ฟิน<br />

เป็นเรื่องแปลกอยู่อย่างหนึ่งว่า ตั้งแต่ก่อนสมัคร จนมาถึงที่นี่<br />

ผมไม่เคยเห็นหน้าท่านอาจารย์โกเอ็นก้าเลย !<br />

รู้เพียงแต่ว่าถ้าคิดจะท่องเมืองใน จะเดินทางมาตามวิถีนี้<br />

การปฏิบัติทั้งหมดตลอด 10 วันที่ผ่านมา ก็ได้ยินแต่เสียงคำ<br />

สอนจากเทป ชั่วโมงธรรมบรรยาย สำหรับศิษย์ใหม่ ก็ได้ฟังจาก<br />

เสียงพากย์ไทย ซึ่งถูกแยกให้ไปฟังในห้องปฏิบัติเล็ก จนแล้วจน<br />

รอดจึงไม่เคยเห็นภาพท่านเลย<br />

จนชั่วโมงสุดท้าย ก่อนเดินทางกลับ (Day 11) จึงได้รับอนุญาต<br />

ให้เข้ามาฟังในห้องปฏิบัติรวม<br />

นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็นภาพท่านขณะแสดงธรรมบรรยาย<br />

และสัมผัสถึงความเมตตาที่แผ่ฉายผ่านน้ำเสียง สีหน้า และแววตา<br />

จบธรรมบรรยาย จึงเริ่มต้นแผ่เมตตาเป็นครั้งสุดท้าย<br />

ครั้งนี้เอง ที่น้ำเสียงและคำแผ่เมตตาของท่าน สั่นสะเทือน<br />

เข้าไปทลายกำแพงของความคลางแคลงใจจากความเขลาของตัว<br />

เอง จนหมดสิ้น ทำนบน้ำตาไหลอาบแก้มอย่างไม่ขาดสาย<br />

ผมได้ประจักษ์กับคำว่า เมตตา<br />

..ได้แผ่เมตตา ขออโหสิกรรม และ ให้อภัย แก่สรรพสัตว์ทั้ง<br />

หลาย ด้วยความรู้สึกที่มาจากหัวใจอย่างแท้จริง<br />

ผมก้มลงกราบท่าน ทั้งน้ำตาที่ยังนองหน้าด้วยศรัทธาอย่างไม่<br />

กังขาสงสัย<br />

..........<br />

มีคำหลายคำที่เรารู้มาตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นอนิจจัง หรือ เมตตา<br />

แต่เราจะไม่กระจ่างแจ้งแก่ใจ จนกว่ารับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ตรง<br />

เมื่อเราเข้าไปอ่านเฟซบุ๊กเจอคนโพสว่า ช็อกโกแลต เค้กร้าน<br />

นี้อร่อย จะเกิดปัญญาขึ้นในระดับหนึ่ง เมื่อเหลือบตามาอ่านความ<br />

เห็นด้านล่าง หรือเสิร์ชกูเกิลเพิ่ม จะทำให้ปัญญานี้เพิ่มพูนขึ้น<br />

แต่คุณจะไม่มีวันรู้เลยว่า เค้กนี้รสชาติเป็นอย่างไร จนกว่าจะ<br />

ตักมันใส่เข้าปาก ... ธรรมะ ก็เช่นกัน<br />

ธรรมะ ถ้าเอาแต่อ่านออกเสียง ว่า ทำ-มะ ก็คงเป็นแต่ประโยค<br />

คำถาม ว่า ทำ-มะ?<br />

จนกว่า จะลงมือ ‘ทำ’ จึง จะ เห็น ‘ธรรม’<br />

ปัญญา ที่แท้จริง ย่อมเกิดจาก การปฏิบัติ<br />

ทริป ‘ท่องเมืองใน’ ครั้งนี้ จึงมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘ปฏิบัติ<br />

ธรรม’<br />

..........<br />

ทุกชั่วโมงก่อนเริ่มต้นปฏิบัติใหม่ ท่านโกเอ็นก้าจะบอกกับเรา<br />

ทุกครั้งว่า start again... start again<br />

... เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง<br />

คอยย้ำเตือนให้เราไม่ติดอยู่กับผลการปฏิบัติชั่วโมงที่ผ่านมา<br />

เพราะไม่ว่าจะเป็นเช่นไร มันก็ได้ผ่านไปแล้ว<br />

ให้เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง..ด้วยจิตที่ตั้งมั่นกับปัจจุบัน ก่อนที่มันจะ<br />

กลายเป็นอดีตของอนาคตในอีกไม่ช้า<br />

และในที่สุด การท่องเมืองในครั้งนี้ก็ได้ผ่านไปแล้วเช่นกัน<br />

……….<br />

สำหรับ มือใหม่หัดธรรมอย่างผม ครั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้น<br />

ซึ่งจุดหมายบนเส้นทาง ยังอยู่ห่างไกลจากจุดหมายอีกมาก เพียง<br />

แต่สัญญากับตัวเองว่าจะไม่หยุดเดิน ก็เท่านั้น<br />

เมื่อมะม่วงผลใหม่เริ่มสุก ผมจะกลับมาที่นี่อีกครั้ง<br />

.... เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง<br />

52 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 53


Dent Dining<br />

เรื่อง น้องแป้งกะพี่ตุ๋น<br />

SchoolFood เสิร์ฟอาหารเกาหลีฟิวชัน ที่มี<br />

เอกลักษณ์เฉพาะตัว รสชาติจัดจ้านเหมาะกับ<br />

คนไทยแต่คงไว้ด้วยเครื่องปรุงดั้งเดิมส่งตรง<br />

จากเกาหลี แถมบรรยากาศในร้านตกแต่งสไตล์<br />

โมเดิร์น สบายๆ เหมาะกับการนั่งเม้ากับเพื่อนๆ<br />

หรือพาครอบครัวมาสังสรรค์ เมนูที่เชฟแนะนำ<br />

วันนี้ ได้แก่ มาริหมึกดำ (Squid Ink Mari) ข้าว<br />

ผสมหมึกดำจากสเปนสอดไส้ปลาหมึกย่างซอส<br />

เทอริยากิ ห่อด้วยสาหร่ายบางกรอบ, คาลบี โจล<br />

เมี่ยน (Cal-Bi Jjolmyeon) เส้นโจลเมี่ยนเหนียว<br />

นุ่มทานกับหมูย่างหมักซอส, สำหรับคนที่ชอบ<br />

พาสต้าชีสล้นสไตล์อิตาเลี่ยน ลอง คาโบนาร่า<br />

ต๊อกบ๊กกี (Soy Carbonara Topokki), และห้าม<br />

พลาด ข้าวยำไข่ข้น เนื้อตุ๋นจางอาชิ (Grilled<br />

Butter Bibimbap with Jjang-A-Chi) ใครไม่<br />

ทานเนื้อวัว สั่งเป็นหมูตุ๋นแทนได้ด้วย นอกจาก<br />

อาหารจานหลักอร่อยๆ แล้ว อย่าลืมสั่งเครื่อง<br />

ดื่ ม ที่ ม ี ส ่ ว น ผ ส ม เ ป ็ น เ นื ้ อ ผ ล ไ ม ้ ส ด ๆ ม า ด ื ่ ม<br />

ความชื่นใจ เช่น Cotton Strawberry Athie<br />

(สตรอเบอรี่), Ruby Orange Athie (ส้มและ<br />

เกรปฟรุ๊ต), Fine Blue Athie (สับปะรดและ Citrus<br />

จาก Blue Caracao) ปิดท้ายด้วยขนมหวานจาน<br />

โต เมล่อนกับน้ำแข็งใสรสนมหวานมัน<br />

นักกินและสาวกเกาหลี ห้ามพลาด!!! ร้าน<br />

อาหารเกาหลีแฟรนไชส์ ที่มีกว่า100 สาขาอยู่<br />

ในเมืองใหญ่ทั่วโลก ตอนนี้ได้มาเปิดสาขา<br />

แรกในประเทศไทย ที่ food destination โซน<br />

ใหม่ล่าสุดของกรุงเทพฯ “The Mercury Ville”<br />

ชั้น 3 ตรงข้ามห้างเซ็นทรัลชิดลม<br />

54 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 55


แผนงานวิชาชีพทันตแพทย์ในการควบคุม<br />

การบริโภคยาสูบ ขอเชิญชวนทันตแพทย์ทุกท่าน<br />

ช่วยเหลือคนไข้เลิกบุหรี่ แผนงานฯ<br />

ได้จัดทำาวิดีิโอคลิป สามชุด ที่จะทำาให้ท่าน<br />

ทราบว่า เพราะเหตุใดทันตแพทย์จึงเป็นบุคลากร<br />

ที่มีศักยภาพสูงสุด ในการช่วยเหลือคนไข้<br />

รวมถึงวิธีการที่จะช่วยให้คนไข้เลิกบุหรี่ได้<br />

ทำาอย่างไร พร้อมเชื่อมโยงไปยัง<br />

แหล่งข้อมูล และประสบการณ์ต่างๆ<br />

เกี่ยวกับการช่วยคนไข้เลิกบุหรี่<br />

เชิญชวนเข้าไปที่<br />

56 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 57


Dent Adirek<br />

เรื่อง ทพ.ปริญญา อมรเศรษฐชัย<br />

หลายคนคงไม่รู้จัก กีฬา Mixed Martial Arts<br />

หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า MMA เพราะเป็นกีฬาที่ใหม่<br />

แต่เป็นที่นิยมมากในหมู่ชาวต่างชาติที่นิยมความ<br />

แปลกใหม่ของกีฬาประเภทต่อสู้ เป็นการประยุกต์<br />

ศิลปะป้องกันตัวแบบผสมผสาน ทั้งมวยไทย<br />

มวยสากล มวยปลำา สามารถใช้ได้ทั้ง หมัด เท้า<br />

เข่า ศอก และที่สำาคัญ คือเป็นกีฬาที่สามารถ<br />

ออกกำาลังได้ทุกส่วน<br />

สามารถเผาผลาญพลังงานได้เป็นอย่างดี ใครที่อยากจะมีหุ่น<br />

ดี ร่างกายมีความยืดหยุ่น มีการทรงตัวที่ดี มีการตอบโต้ได้อย่าง<br />

รวดเร็ว มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างนุ่มนวล และที่สำคัญคือการ<br />

ได้ปลดปล่อยความเครียด Mixed Martial Art ก็เป็นอีกทางเลือก<br />

หนึ่ง สำหรับทันตแพทย์ที่ทำงานหนักอย่างพวกเรา<br />

“ผมเริ่มสนใจและรู้จักกีฬานี้มานานแล้วครับ แต่ไม่ค่อยได้<br />

มีโอกาสเล่น เพราะงานทันตกรรมที่พวกเราทำกันอยู่ทำให้ไม่ค่อย<br />

มีเวลาไปออกกำลังกาย อีกทั้งยังมีความเครียดเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว<br />

รับเอาความเครียดจากคนไข้มาเป็นของเราซะเอง มีการปวดเมื่อย<br />

กล้ามเนื้อเนื่องจากการเกร็งเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง<br />

และคอ ระยะหลังมานี้เลยต้องหาวิธีออกกำลังเพื่อให้เหมาะสมกับ<br />

วิถีชีวิตที่เราดำเนินอยู่ เลยมาศึกษา MMA นี่แหละครับ ตอนแรก<br />

คิดว่าคงต้องเจ็บตัว ไปทำงานไม่ได้แน่ๆ เนื่องจากในการแข่งขัน<br />

จริงจะแข่งกัน 3-5 ยก แล้วแต่รุ่น ยกละ 5 นาที แต่จริงๆ แล้วผม<br />

เล่นเพื่อออกกำลังไม่ได้ไปแข่งขันกับใคร MMA จึงเป็นกีฬาที่ดีมาก<br />

สามารถใช้ออกกำลังได้ทุกส่วน เผาผลาญพลังงานได้เป็นอย่าง<br />

ดี เพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย โดยใช้เวลาไม่มากเลยครับ แค่<br />

1ชั่วโมงต่อวันก็พอแล้ว และเหมาะมากสำหรับทันตแพทย์หญิง<br />

เมื่ออยู่ในภาวะคับขัน ก็สามารถนำมาใช้ป้องกันตัวเองได้เป็นอย่าง<br />

ดีครับ” ทันตแพทย์ วีรสิทธิ์ มโนมัยอุดม หรือ หมอใหม่ กล่าว<br />

ใครที่สนใจสามารถมาฝึก หรือหาข้อมูลได้ทางอินเทอร์เน็ต<br />

หรือ สอบถามที่คุณหมอใหม่ได้โดยตรงครับ “ผมยินดีที่จะสอน<br />

ตั้งแต่เบสิกเลยครับ ซึ่งข้อดีของพวกเราคือเราสามารถทำ เมาท์<br />

การ์ด (Mouth Guard)หรือฟันยางที่จะมาใส่ได้เองอย่างฟิตพอดี<br />

มีความหนาที่เหมาะสม ซึ่งตัวนี้จะเป็นตัวช่วยป้องกันอันตรายจาก<br />

การกระแทกได้เป็นอย่างดี ซึ่งในหมู่นักมวยต้องการเป็นอย่างมาก<br />

แต่เนื่องจากมีราคาสูงมาก และต้องมีการทำที่ซับซ้อน ซึ่งชั้นนอก<br />

ของเมาท์การ์ดจะต้องมีความหนาพอสมควร แต่ต้องนิ่มเพื่อซึมซับ<br />

แรงกระแทก ชั้นกลางจะต้องบางและแข็ง เพื่อคงรูปร่าง ชั้นในสุด<br />

จะต้องบางและกระชับกับฟันได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผมได้ใช้ความรู้ ทางทันตแพทย์<br />

extend เมาท์การ์ด ให้ยาวขึ้นไปจนถึง Alveolar process เพื่อป้องกันอันตรายใน<br />

ส่วนนี้จากการกระแทกด้านข้างด้วยครับ โดยเราสามารถใช้ความรู้ในการทำฟัน<br />

ปลอมที่เรียนมาผสมผสานกับศิลปะการกีฬาได้โดยตรงครับ” สมกับเป็นทันตแพทย์<br />

จริงๆ ครับ คุณหมอใหม่ ทันตแพทย์วีรสิทธิ์ e-mail: maiweerasit @gmail.com<br />

58 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 59


Dent Adirek<br />

ทำาไมถึงชอบ? ทำาไมถึงต้องเป็นกอล์ฟ?<br />

เพราะเป็นกีฬาที่ต่างจากกีฬาอื่นๆ เล่นด้วยกันได้ทุกเพศทุก<br />

วัย ระดับความเก่งที่ไม่เท่ากันก็สามารถเล่นด้วยกันหรือแข่งกันได้<br />

เพราะมีการกำหนดความเก่งด้วยแต้มต่อ (handicap) ให้แต่ละ<br />

คนอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังเป็นกีฬาที่แข่งกับตัวเอง เป็น mental<br />

นี้ได้รางวัลในรอบ national round แต่อยากได้ final round ซึ่งจะ<br />

ได้ไปแข่งกับต่างประเทศด้วย<br />

ได้อะไรจากการเล่นกอล์ฟ?<br />

แข็งแรงมากขึ้น แทบไม่เคยป่วยเลย เป็นหวัดน้อยลง และ<br />

เรื่อง ทญ. วีระพร วีระประว้ติ<br />

ตีกอล์ฟ บ่อยแค่ไหน?<br />

และเอาเวลาตอนไหนไปตีกอล์ฟ?<br />

ส่วนใหญ่จะไปตีกอล์ฟทุกสัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่ง<br />

วัน อาจเป็นเสาร์หรืออาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุด<br />

จากภาระงานในตำาแหน่ง<br />

ผู้อำานวยการศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาล<br />

กรุงเทพ ซึ่งน่าจะต้องใช้เวลาในฐานะผู้บริหาร<br />

จนน่าจะไม่มีเวลาส่วนตัวมากนัก<br />

แต่ทันตแพทย์หญิงวลัยลักษณ์ เกียรติธนากร<br />

หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อหมอเอ กลับไม่ได้มีชื่อ<br />

เสียงเป็นที่รู้จักในวงการทันตแพทย์เท่านั้น<br />

แต่ในแวดวงกีฬานักกอล์ฟสมัครเล่นหญิง..<br />

ชื่อนี้ก็เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีเช่นกัน<br />

เริ่มเล่นกอล์ฟตั้งแต่เมื่อไร<br />

และเริ่มเข้ามาสู่วงการนี้ได้อย่างไร?<br />

เริ่มเล่นน่าจะประมาณปีค.ศ. 1997-1998<br />

ปกติเป็นคนชอบเล่นกีฬา และเล่นกีฬาได้หลายประเภท<br />

มีเพื่อนมาชวน ก็เลยลองเล่นดู ทีแรกก็คิดว่า<br />

คงเล่นไม่นานเพราะกลัวดำ ผิวเสีย<br />

แต่ยิ่งเล่นก็ยิ่งติดใจ และตอนนี้ชอบกีฬา<br />

ชนิดนี้มากที่สุด<br />

60 • THAI DENTAL MAGAZINE<br />

game ด้วย ไม่ใช่แค่ physical game อย่างเดียว ต้องใช้ความ<br />

เก่งและความสามารถในหลายๆด้าน นอกจากความแข็งแรงแล้ว<br />

ทำให้รู้จักตัวเอง รู้ว่าเป็นคนอย่างไร ต้องรู้จักวางแผน ต้องเลือก<br />

ใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม ต้องสามารถต้านทานแรงกดดัน จิตใจต้อง<br />

นิ่ง และหาทางแก้ปัญหา และยังได้รู้จักตัวตนของคนอื่น บางคนที่<br />

ไปเล่นด้วยกัน ดูเป็นคนใจเย็นไม่น่าขี้โมโห ก็สามารถโกรธ โยนไม้<br />

หรือแสดงอารมณ์ที่แท้จริงออกมา บางคนเพื่อให้ได้คะแนนที่ดีใช้<br />

กลโกงต่างๆ ก็มี<br />

ดูเหมือนจะคล้ายๆ กับการทำางานบริหาร ที่ทำาอยู่ ?<br />

ใช่ ..หลักการนะ แต่รูปแบบไม่เหมือนกัน<br />

ได้รางวัลอะไรมาบ้าง?<br />

ได้ถ้วยมาเยอะนะ ได้ hole in one มาสองครั้ง และถ้วยจาก<br />

การแข่งรายการต่างๆหลายที่<br />

ยกตัวอย่างรางวัลที่ภูมิใจ<br />

ก็มีถ้วยรางวัลเลดี้ Flight A จากสนามอัลไพน์ รางวัลนักกอล์ฟ<br />

สมัครเล่นของ BMW ซึ่งเป็นกอล์ฟสมัครเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตอน<br />

รู้สึกว่านอกจากได้ออกกำลังกายแล้ว ยังได้พักผ่อน ได้ผ่อนคลาย<br />

ฝึกจิตใจให้นิ่ง มีสมาธิ ได้รู้ยุทธวิธีที่จะเอาชนะ<br />

คนอื่น เหมือนกับการบริหารคน ถ้ารู้วิธี<br />

ที่จะเอาชนะใจคนได้ อย่างอื่นก็ไม่ยาก<br />

ข้อคิดจากการเล่นกอล์ฟ?<br />

“คนเราต้องมีเป้าหมายในการทำอะไร<br />

ต้องตั้งเป้าหมายให้เหมาะสมกับตัวเรา<br />

และต้องทำให้ได้ตามเป้าหมายนั้น<br />

อย่างการเล่นกอล์ฟ ตอนนี้ตั้งเป้าว่า<br />

ต้องให้ได้ระดับ handicap ที่ต่ำลงมา<br />

และตัวเองจะมีการตั้งเป้าไว้ทุกปี<br />

เพื่อไปให้ถึง ...ซึ่งการทำงาน และชีวิต<br />

จริง เราก็ควรทำแบบนั้น เช่นกัน<br />

จากบทสัมภาษณ์ สมแล้วที่เป็น<br />

ผู้บริหาร และไม่แปลกใจเลยที่กีฬา<br />

กอล์ฟนี้ถูกเรียกให้เป็นกีฬาสำหรับ<br />

ผู้บริหาร<br />

THAI DENTAL MAGAZINE • 61


Dental Away<br />

AD<br />

โบสถ์เซนต์เบซิล<br />

เพราะอำานาจ ทำาให้คนเราฆ่ากันได้โดยไม่รู้สึกผิด<br />

และเพราะอำานาจ จึงทำาให้เกิดการสังหารราชวงศ์หนึ่ง<br />

ที่ทารุณโหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก<br />

ราชวงศ์โรมานอฟ แห่งรัสเซีย<br />

เรื่อง ขนมผิง<br />

จัตุรัสแดง<br />

64 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 65


ห้างกุม<br />

Tsar cannon<br />

ทหารรัสเซีย<br />

วันนี้ลมสงบดีท่ามกลางความหนาวเย็นยะเยือก แม้อยู่ในช่วง<br />

กลางเดือนกรกฎาคมแล้วข่าวส่งมาว่าพวกบอลเชวิกสายมอสโก<br />

จะมาชิงตัวราชวงศ์โรมานอฟทุกพระองค์ที่นี่ เลนินและตรอตสกี<br />

จะมาด้วยอาวุธทันสมัยครบมือ และหากเป็นเช่นนั้นจริงบอลเชวิก<br />

ไซบีเรียอย่างเขาคงจะต้องพ่ายแพ้ยูรอฟกีจึงตัดสินใจที่จะสังหารโร<br />

มานอฟทั้งหมดให้สิ้นซากหลังการกักขังมานานกว่าห้าเดือน อย่าง<br />

น้อยก็จะไม่มีใครได้ประโยชน์อะไร เยอรมันต้องไม่พอใจ สัมพันธมิตร<br />

คงจะสลดสังเวชที่สูญเสียกษัตริย์ที่เข้าข้างพวกเขา แต่ต้องไม่มีใคร<br />

ได้ประโยชน์จากการเอาซาร์มาต่อรอง<br />

ยูรอฟกีให้คนไปเชิญซาร์นิโคลัส ซารินา เจ้าหญิงทั้งสี่พระองค์<br />

เจ้าชายรัชทายาทและผู้ติดตามทุกคนมารวมกันที่ห้องใต้ดินกลาง<br />

ดึก ด้วยอ้างว่าจะฉายพระรูปเพื่อส่งไปยืนยันว่าทุกพระองค์ยัง<br />

ปลอดภัย เพียงสิ้นเสียงยูรอฟกี ลูกกระสุนพุ่งก็เข้าไปปลิดชีพอดีต<br />

กษัตริย์เป็นพระองค์แรก จากนั้นทหารมากกว่าสิบนายก็ระดมยิง<br />

ทุกพระองค์ในที่นั้นอย่างไม่ปรานี ปิดตำนานราชวงศ์โรมานอฟ<br />

ที่ยาวนานกว่าสามร้อยปีลงอย่างเศร้าสลด ไม่ต่างจากคำทำนาย<br />

ของรัสปูตินที่เขียนจดหมายส่งมาให้ซารีนาของเขา ว่าราชวงศ์จะ<br />

ต้องสิ้นภายในสองปี หากเขาถูกคนในราชวงศ์เป็นผู้ปลิดชีพ มี<br />

เพียงเรื่องเล่าขานว่าองค์หญิงอนาสตาเซียเพียงพระองค์เดียวที่หนี<br />

รอด แต่ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้เพราะดีเอ็นเอจากกระดูก<br />

ของทุกพระองค์ในที่สังหารและของผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าหญิงกลับไม่<br />

สัมพันธ์กันในทางสายใยพันธุกรรม<br />

เรื่องราวประวัติศาสตร์เหล่านี้เองที่ผลักดัน สร้าง Passion<br />

นำฉันเดินทางมาเหยียบดินแดนหลังม่านเหล็กแห่งนี้จนได้ รัสเซีย<br />

ไม่ได้มีดีแค่ความยิ่งใหญ่ของขนาดประเทศเพียงอย่างเดียว แม้<br />

ด้วยประวัติศาสตร์อันแสนสับสน ผู้คนผ่านความยากลำบากทั้ง<br />

ในแง่สภาพอากาศและความผันแปรทางการเมือง ผ่านยุคคลั่ง<br />

คอมมิวนิสต์ ผ่านช่วงสงครามเย็น กระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลาย<br />

ในปี ค.ศ.1992 รัสเซียก็ยังยืนหยัดอย่างแข็งแกร่งและสง่างามได้<br />

บนเวทีโลก หลายคนบอกว่าการเดินทางหิ้วกระเป๋าเที่ยวเองเป็น<br />

เรื่องอันตรายและลำบากมาก รัสเซียเพิ่งเปิดประเทศมาได้เพียง<br />

ยี่สิบปี มีมาเฟียมีโจรชุกชุม ผู้หญิงสองคนจะไปกันเองเนี่ยนะ!<br />

เชอะ กลัวเสียเมื่อไร เมื่อหาหนังสือมาอ่านและวางแผนอย่างรัดกุม<br />

เสร็จสรรพ ผิงผิงกับน้องกุ๊ ก็เหินฟ้าสู่ดินแดนหมีขาว ในช่วงเดือน<br />

กรกฎาคม หรือช่วงไวท์ไนท์ในฤดูร้อนอันเป็นไฮซีซั่นในการไปเที่ยว<br />

เอาล่ะ ทุลักทุเลทัวร์เริ่มขึ้นแล้ว…<br />

เราเหยียบผืนแผ่นดินรัสเซียด้วยเวลาท้องถิ่นเป็นเวลาเกือบ<br />

ห้าโมงเย็น สนามบินที่มอสโกมีทั้งหมดห้าแห่ง การบินไทยเลือก<br />

ลงสนามบิน Domodedovo แหม แค่ชื่อสนามบินนี่ก็เรียกไม่ถูก<br />

แล้ว อย่าได้คิดว่าจะมีป้ายภาษาอังกฤษ และอย่าหวังว่าฝรั่งที่นี่จะ<br />

พูดภาษาอังกฤษได้ดี มีแต่รัสเซียใหม่ที่เป็นวัยรุ่นอายุน้อยเท่านั ้น Tsar bell<br />

ล่ะที่พูดได้ ถ้าไปถามป้าลุง รับประกันได้ว่าโดนภาษารัสเซียพ่นใส่<br />

หน้าฟังไม่ทัน<br />

อย่างแรกที่ไก่สาวตาแตกสองนางต้องมองหา ก็คือรถไฟเร็วที่<br />

จะเชื่อมจากสนามบินเข้าสู่ตัวเมือง ให้อารมณ์แบบแอร์พอร์ตลิงก์<br />

แต่ด้วยอานิสงส์แห่งเย็นวันศุกร์ที่พระอาทิตย์จะตกก็โน่น ห้าทุ่มไป<br />

แล้ว ทำให้ประชาชนรัสเซียออกมาท่องเที่ยว จิบเบียร์ยามเย็นตาม<br />

สถานที่ต่างๆกันแยะ(แม้แต่ในรถไฟ) และแล้ว...สิ่งที่คาดคิดว่าจะ<br />

เกิด แต่มันไม่ควรจะเร็วขนาดนี้ก็คือ พวกเราขึ้นรถไฟผิด อุตส่าห์<br />

รอดจากการลงแอร์พอร์ตลิงก์มาแล้ว คิดว่าขึ้นรถไฟสายสีเขียวมา<br />

66 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 67


จัตุรัสแดง<br />

จากสถานีPavelletskaya ก็ถูก แต่มันผิดตอนไหนหว่า ทำไมไม่ถึง<br />

จัตุรัสแดงเสียที ขึ้นลงขึ้นลง หอบข้าวของจนเริ่มเข้าใจว่าในสถานี<br />

เชื่อมมันไม่หมูขนาดลงจากบีทีเอสสายสุขุมวิทมาต่อสายสีลม แต่<br />

มันอาจต้องเดินไปอีกเกือบกิโลภายในสถานีใต้ดินเพื่อขึ้นอีกสาย<br />

โอว แม่เจ้า นี่ทำเอาระบบรถไฟของญี่ปุ่นง่ายเป็นอนุบาลไปเลย<br />

แบกเท่านั้น ไม่มีทางลาด ไม่มีลิฟท์ ลูกหนูขึ้นแขนแน่งานนี้ และ<br />

อย่าไปจำชื่อสถานีเป็นภาษาอังกฤษให้เสียพื้นที่สมองเล้ย จำเป็น<br />

อักษรโรมันนะจ๊ะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายามก็อยู่ที่นั่น<br />

(จริงไหม) และแล้วพวกเราก็มาถึงสถานี Tverskaya ที่คิดว่าใกล้<br />

โรงแรมของเราตรงจัตุรัสแดงมากที่สุด<br />

กรรม ! นี่มันจะสามทุ่มอยู่แล้ว ถ้าเมืองไทยก็เกือบจะตีหนึ่ง<br />

สี่ชั่วโมงจากสนามบินแต่เรายังหลงกันอยู่เลย แผนที่ที่เตรียมมา<br />

ไม่ช่วยอะไร ทางออกจากสถานีสี่ทาง แค่นี้ก็คิดไม่ออกแล้วว่า<br />

จะไปทางไหน เดชะบุญของผิงที่หนุ่มสาวรัสเซียสวยหล่อคู่หนึ่ง<br />

เดินเข้ามาทัก และอาสาพาไปส่ง โอว น้ำตาจะไหล ขอบคุณน้อง<br />

สาวคนสวยชาวรัสเซียนาม อนาสตาเซีย เจ้าหญิงผมน้ำตาลทอง<br />

กับแฟนหนุ่มผู้ส่งความอารีมาให้ ช่วยทั้งลากกระเป๋าและพามา<br />

ส่งที่โรงแรมนาม โฮมโฮเทลเปรูล็อค ที่สภาพเหมือนตึกแถวอยู่ใน<br />

ซอกหลืบข้างจัตุรัสแดง ลำพังคนรัสเซียยังหาแทบไม่เจอ นับประสา<br />

อะไรกับสาวไทย แม่บ้านที่นี่ก็พูดอังกฤษไม่ได้ น้องอนาสตาเซีย<br />

เจรจาพูดคุยให้เรียบร้อย เราขอกอดและถ่ายรูปกับน้องเขาหน่อย<br />

สวยและใจดีอย่างนี้พี่ไม่มีวันลืม<br />

นอนหลับสลบ อากาศร้อนทีเดียวเมื่อไม่มีแอร์ราคาสามพันกว่า<br />

บาทที่จ่ายถือว่าไม่คุ้ม ตรวจสอบมาแล้วจากอโกดาว่าที่นี่สะอาดดี<br />

แม้ใช้ห้องน้ำรวม แต่เรื่องค่าครองชีพที่แพงมากก็ทำเอาลำบากใจ<br />

บ้าง เอาวะ ซดมาม่าคัพ กับกระดกแลคตาซอยจากเมืองไทยต่าง<br />

อาหารเช้า แล้วไปเที่ยวสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุด และสวย<br />

ที่สุดในโลกกันดีกว่า<br />

สถานีรถไฟฟ้าแห่งแรกเปิดในปีค.ศ. 1935 ปัจจุบันมีรถไฟฟ้า<br />

ใต้ดินทั้งสิ้น 11 สาย 9,300 ขบวน 165 สถานี ความยาวรวม 265<br />

กิโลเมตร รวมทั้งสายวงแหวนหรือสายสีน้ำตาลที่มีสถานีสวยๆ ให้<br />

นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เหล่าภาพโมเสก แฝงโฆษณาชวนเชื่อ<br />

ในแบบหลังม่านเหล็กว่า “ทุกท่านเอ๋ย เราก็สามารถสร้างนั่นนี่<br />

ได้ดีไม่แพ้ระบบทุนนิยม” สตาลินใช้สถานี Mayakovskaya เป็น<br />

ฐานบัญชาการใต้ดิน สู้กับพวกนาซีในสงครามโลกครั้งที่สอง จะ<br />

ได้มีทางหนีออกได้หลากหลายตามจับตัวกันไม่ได้ ปัจจุบันมีผู้ใช้<br />

บริการวันละ 7-8 ล้านคน เวลาถ่ายรูปหรือเข็นกระเป๋าก็ต้องคอยหา<br />

จังหวะเหมาะ แต่หนุ่มรัสเซียส่วนใหญ่ใจดี เห็นน้องกุ๊สาวร่างบาง<br />

ของเรายกกระเป๋าทีไร ได้เดินเข้ามาหิ้วขึ้นลงบันไดให้บ่อยๆ ผิดกับ<br />

ผิงผิงร่างกำยำ ยังไม่มีหนุ่มตาน้ำข้าวคนไหนมาช่วยเลย ( ชิส์!!!)<br />

สิ่งที่หน้าสังเกตอีกอย่างคือ ใบหน้าของชาวรัสเซียจะมีตั้งแต่ ฝรั้ง<br />

ฝรั่ง ฝรั่งหมวย ฝรั่งแขก นั่นแสดงว่า ในมอสโกเองก็เหมือนเมือง<br />

ใหญ่ๆ ทั่วไปในโลกที่มีการผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์ ตั้งแต่สมัย<br />

ที่ชาวมองโกลยกทัพมาก็มีมรดกเป็นลูกหลานหน้าตาหมวยตี๋เป็น<br />

ของแถม รัสเซียเป็นเมืองขึ้นของมองโกลอยู่นานถึง 240 ปีส่วน<br />

พวกหน้าแขกก็คงมากันตั้งแต่ยุคที่มอสโกเป็นศูนย์กลางอาณา<br />

จักรไบแซนไทน์ตอนปลายขนาดที่เรียกขานกันว่าโรมที่สาม และ<br />

ก็คงจะมีเหล่าชาวเปอร์เซียจากอาณาจักรออตโตมันเติร์กข้ามมา<br />

ทำมาค้าขายแล้วก็เลยตั้งหลักปักฐานกันเสียเลย เห็นสาวรัสเซีย<br />

หุ่นสะบึม อกเป็นอกเอวเป็นเอว แต่ถ้าแก่เป็นคุณป้าเมื่อไร จะเป็น<br />

ทรงเดียวกันหมดคือกระปุกตั้งฉ่าย แต่ทุกคนก็ยังอยากสวยเป็นเจ้า<br />

แม่แฟชั่นได้ สังเกตจากร้านขายเสื้อผ้า ที่นี่เป็นสวรรค์ของสาวไซส์<br />

XL อย่างฉันเชียวล่ะ ร้านซาร่าในประเทศนี้สามารถหาชุดแซกใหญ่<br />

บิ๊กบึ้มโดยจ่ายแค่ไม่ถึงหนึ่งพันบาทไทย เจ๋งใช่ไหมล่ะ<br />

มอสโกเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ สร้างตั้งแต่สมัยเจ้าชาย<br />

ยูริโดลโกรูกี้เมื่อประมาณเก้าร้อยปีที่แล้ว(ค.ศ.1690) เป็นเมือง<br />

หลวงอยู่นานก่อนย้ายไปยังเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และกลับมาเป็น<br />

เมืองหลวงอีกครั้งในสมัยคอมมิวนิสต์ เป็นทั้งศูนย์กลางเศรษฐกิจ<br />

พิพิธภัณฑ์และศูนย์กลางของศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ซึ่ง<br />

นับคือพระแม่มาเรียเป็นสำคัญ สังเกตได้จากที่ไหนเป็นวังและ<br />

เป็นเมืองหลวงจะต้องมีโบสถ์อัสสัมชัญ ถือเป็นโบสถ์หลวงในการ<br />

ทำศาสนพิธี เวลาเข้าโบสถ์อย่าลืมทำตัวสงบเสงี่ยมและสวมผ้า<br />

คลุมผมเป็นการเคารพสถานที่กันด้วยนะคะ<br />

เมื่อมีเวลาจำกัด เราจึงเที่ยวในมอสโกเฉพาะบริเวณจัตุรัสแดง<br />

ถ้ามีเวลาเหลือเฟือ อาจไปเดินเก๋ๆ ที่ถนนอารบัต ถนนสายศิลปะ<br />

แต่ข้าวของแพงมากสามารถขึ้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลไปได้ หรือ<br />

จะช็อปปิ้งของพื้นเมืองที่ตลาดนัด แบบถูกและคุณภาพดีแต่จะเปิด<br />

เฉพาะเสาร์อาทิตย์ ก็ต้องย่าน Izmailovsky ที่นี่มีโรงละครสัตว์อยู่<br />

ไม่ไกล สามารถดูรอบซื้อตั๋วเข้าชมได้เลย ขึ้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน<br />

ไปถึงแน่นอน แนะนำให้ซื้อตั๋วสิบเที่ยว 300 รูเบิล ใช้ได้ เจ็ดวัน ก็<br />

สะดวกดีไม่ต้องต่อคิวซื้อตั๋วใหม่บ่อยๆ<br />

จัตุรัสแดงมีอะไรบ้าง? ก็มีพระราชวังเครมลิน ซึ่งบูรณะใหม่หลัง<br />

ประกาศอิสรภาพจากมองโกล (พ.ศ.2028-2038) เป็นสถาปัตยกรรม<br />

แบบบารอกและคลาสสิก โบสถ์เซนต์เบซิลทรงหัวหอมสีๆ หรือชื่อ<br />

ทางการคือ Cathedral of the Intercession of the Virgin ที่ใครต้อง<br />

ไปเก็บภาพก็สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการได้ชัยชนะในครั้งนี้<br />

รั้วพระราชวังทาสีแดง ล้อมรอบพื้นที่ภายในที่เป็นรูปสามเหลี่ยมที่<br />

มีพื้นที่ 170 ไร่ กว้างมากดังนั้นควรไปต่อคิวซื้อบัตรตั้งแต่เช้า เปิด<br />

เวลาสิบโมงแต่เก้าโมงครึ่งแถวก็เกือบกิโลไปแล้ว ภายในมีสถาน<br />

ที่ให้เที่ยวชม 12 แห่ง การตรวจตรากระเป๋าและฝากของค่อนข้าง<br />

เข้มงวด หากจะบันทึกภาพต้องไปจ่ายเงินที่ด่านก่อนด้วย เสียเวลา<br />

มากมาย หากจะเข้าไปชมสมบัติของชาติรัสเซียที่ถือว่าร่ำรวยที่สุด<br />

ราชวงศ์หนึ่งในโลก ก็ต้องไปต่อคิวซื้อบัตรเพื่อเข้าชมในพิพิธภัณฑ์<br />

อาร์เมอรีแยกอีกที มิเช่นนั้นก็เอาแค่เดินดุ่มดูวิหารต่างๆ ได้แก่<br />

วิหารอัสสัมชัญ วิหารดอร์มิชั่น วิหารอันนันซิเอชั่น วิหารอาร์ค<br />

แอนเจิล ไมเคิล ปืนใหญ่พระเจ้าซาร์ (Tsar Cannon) กับระฆัง<br />

ยักษ์ที่แตก (Tsar Bell) แล้วค่อยออกมาเดินเล่นจัตุรัสแดงอีกที<br />

คนมักเข้าใจผิดว่าแดงหมายถึงเลือด แต่จริงๆ แล้วมาจาก<br />

ภาษารัสเซียโบราณ คราสนายา ที่หมายถึงลานแห่งความสวยงาม<br />

แต่ก่อนเคยเป็นตลาดนัด ปัจจุบันกลายเป็นจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ<br />

ที่สุดของรัสเซีย สุสานของเลนินอยู่ทางด้านหน้า ยังมีคนถือดอกไม้<br />

มาไหว้เคารพศพ เขายกย่องว่าท่านเป็นวีรบุรุษ ขณะที่ผู้นำรุ่นน้อง<br />

อย่างสตาลินกลับเป็นที่ชิงชัง จากการสังหารคนในชาติเรือนล้าน<br />

แม้กระทั่งเพื่อนรอบข้างเพื่อกำจัดเสี้ยนหนามและปูทางสู่บัลลังก์<br />

แห่งอำนาจแก่ตน พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์อยู่ถัดไปไม่ไกล และ<br />

ก็มีบอลชอยส์เธียร์เตอร์ สำหรับผู้ที่สนใจดูบัลเลต์ รวมทั้งห้างเก่า<br />

แก่ ให้ออกแรงช็อปปิ้ง ห้าง Gum ออกเสียงว่ากุม ไม่ใช่กัมที่แปล<br />

ว่าเหงือกหรอกนะคะคุณหมอฟัน<br />

ส่วนใครสนใจศิลปะต้องไปเดินพิพิธภัณฑ์แห่งชาติพุชกิ้น แต่<br />

ผิงผิงไม่อินเมื่อเห็นแถวยาวเหยียด ขอเดินข้ามฝั่งถนนมาชมหอ<br />

สีทอง วิหารแห่งพระเยซูพระผู้ไถ่ สร้างขึ้นใหม่ได้ไม่นาน แต่เดิม<br />

นั้นสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะต่อทัพของนโปเลียน แต่<br />

สตาลินกลับเห็นว่าเป็นความอัปลักษณ์ของยุคอัตตาธิปไตย จึง<br />

สั่งระเบิดทิ้งเสียอย่างนั้น แล้ววางแผนสร้างตึกสูงระฟ้า ให้ชื่อว่า<br />

วังโซเวียต แต่แผนการนี้ไม่สำเร็จ รอยระเบิดจึงกลายเป็นสระน้ำ<br />

สาธารณะและโบสถ์ที่สร้างใหม่นี้ ยังได้อัญเชิญอัฐิของราชวงศ์<br />

โรมานอฟทุกพระองค์ที่ถูกสังหารในบ้านอิมปาตีฟมาบรรจุไว้ ณ<br />

ที่แห่งนี้<br />

เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก ต้องรีบขึ้นรถไฟฟ้าความเร็วสูง<br />

น้องแสบแสน (Sapsan) เพื่อข้ามไปยังเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สอง<br />

สาวยังไม่รู้เลยว่าไปขึ้นตรงไหน จะหลงจนตกรถหรือเปล่าก็ยัง<br />

ป้ายบอกสถานี<br />

มีแต่ภาษารัสเซีย<br />

บรรยากาศในรถไฟใต้ดิน<br />

วิหารพระเยซูพระผู้ไถ่<br />

Sapsan<br />

เสียวๆ ขอรองท้องด้วยแมคโดนัลด์สาขาแรกในรัสเซียเสียก่อน<br />

พอมีเรี่ยวแรงแล้วค่อยว่ากัน ไว้คราวหน้าจะเล่าเรื่องเที่ยวเองแบ<br />

บงงๆ ในเมืองสวยเซี้ยวอย่างเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เรื่องอาหารการ<br />

กิน และของฝาก สำหรับท่านที่อยากอ่าน Moscow ฉบับเต็มก่อน<br />

บก.ตัด และเรื่องราวที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กโดยไม่ต้องรอฉบับหน้า<br />

เข้าไปอ่านใน online magazine ได้เลยค่ะ<br />

68 • THAI DENTAL MAGAZINE THAI DENTAL MAGAZINE • 69


ถ้าเอ่ยถึงคณะทันตแพทยศาสตร์ในภาคเหนือ ย่อมหมายถึง<br />

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีประวัติยาวนานมาร่วม<br />

๔๗ ปี โดยผู้บุกเบิกและเป็นคณบดีคนแรกคือ ท่านอาจารย์ทันตแพทย์หญิง<br />

ถาวร อนุมานราชธน เริ่มจากแผนกทันตกรรมเล็กๆ ในโรงพยาบาล<br />

นครเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๘ และได้ย้ายมาสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์<br />

ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ จนปี พ.ศ.๒๕๐๙ เริ่มมีการสอนวิชาชีพทันตแพทยศาสตร์<br />

รุ่นแรกในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อนที่จะมีประกาศจัดตั้ง<br />

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๕๑๕<br />

เรื่อง นายท้ายมล<br />

คณาจารย์จากซ้าย รศ.ทพ.ปราโมทย์ ลิมกุล, ผศ.ทพ.ศักดา อภิสริยะกุล,<br />

อจ.ทพ.กรีฑา วิทิตพันธุ์ , ท่านคณบดีอาจารย์หมอถาวร อนุมานราชธน,<br />

ผศ.ทญ.ธนะเพ็ญ ศรีสุวรรณ , ผศ.ทญ.ผุสดี ศรีเจริญ อจ.ทญ.ศรีระยับ<br />

วินิจฉัยกุลและผศ.ทญ.มัทนา อินทรศิริสวัสดิ์ ถ่ายภาพร่วมกับบัณฑิตรุ่น<br />

แรกๆ ของคณะ<br />

ภาพอาคาร ๒๐ ปี คณะทันตแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

อดีตนักศึกษาทันตฯมช.รหัส ๑๙ ถ่ายภาพกับอาจารย์หมอนภาพร<br />

หลังจบการศึกษามาได้ ๒๕ ปี ในภาพคงจะจำาคุณหมอพัชรวรรณ<br />

และคุณหมอภาณุ ได้ (คนที่ ๒ และ ๕ จากซ้าย)<br />

นักศึกษารุ่นรหัส ๑๐ ถึงรหัส ๑๓ ถ่ายรูปร่วมกันระหว่างกิจกรรม<br />

ปี ๒๕๑๓ จะเห็น นทพ.นภาพร อัจฉริยพิทักษ์ อยู่กลางภาพ<br />

วันเวลาผ่านไปรวดเร็วจากสมัย พ.ศ.๒๕๐๙ จนถึงปัจจุบัน ทำาให้นักศึกษา<br />

รุ่นเก่านึกย้อนไปสมัยก๋วยเตี๋ยวชามละ ๕ บาท ที่ซ้ายมือหน้าวัดสวนดอก<br />

หรือขนมครกแม่หล่าย ใต้ต้นฉำาฉาหน้าวัดที่พวกเราอุดหนุนกันเป็นประจำา<br />

70 • THAI DENTAL MAGAZINE

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!