02.08.2017 Views

2

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

คือชื่อกันเกรา หมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาท าอันตรายใดๆ ชื่อต าเสา คือ จะเป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้<br />

ปลวก มอด แมลงต่างๆเจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ าไขมัน<br />

ของปลาในถ้วยน้ าแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด นอกจากนี้ต้น<br />

กันเกราเป็นต้นไม้ประจ า มหาวิทยาลัยนครพนม และเป็นต้นไม้ประจ าจังหวัดนครพนม ด้วย<br />

อ้างอิง http://nongtomotop1.blogspot.com/<br />

แหล่งข้อมูลที่ 2<br />

ต้นกันเกรา ต้นไม้ประจ าจังหวัดนครพนม ชื่อกันเกราเป็นที่รู้จักจากกลิ่นหอมเย็นๆ ของมัน และด้วย<br />

ความที่เป็นต้นไม้หายาก และเป็น 1 ใน 9 ไม้มงคลที่น ามาใช้ประกอบพิธีเวลาสร้างบ้านเพื่อความสิริมงคล คน<br />

สมัยก่อนเชื่อกันว่าบ้านไหนมีต้นกันเกราอยู่ที่บ้าน จะช่วยปัดเป่าอันตราย คล้ายๆ กันสิ่งไม่ดีไม่ให้เข้ามาในบ้าน<br />

ประมาณนั้นล่ะค่ะ แต่ถ้าไปเห็นปลูกอยู่ที่ภาคเหนือ หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขาจะเรียกกันว่าต้นมันปลา ว่า<br />

กันว่าดอกของมันสีเหมือนไขมันปลาที่ออกเหลืองๆ ขาวๆ ส่วนภาคใต้จะเรียกว่า ต าแสงหรือต าเสา เพราะว่าไม้<br />

กันเกราเป็นไม้เนื้อแข็ง นิยมน ามาเสาบ้าน เสาสะพาน<br />

อ้างอิง http://community.akanek.com/th/green/plant-proflie/tembusu-tree<br />

แหล่งข้อมูลที่ 3<br />

กันเกรามีเนื้อไม้สีเหลืองอ่อน ละเอียด แข็ง ทนทาน ป้องกันปลวกได้ดี คนไทยรู้จักกันเกราเป็นอย่างดีทุก<br />

ภาค เพราะเป็นต้นไม้พื้นบ้านดั้งเดิมที่มีถิ่นก าเนิดในประเทศไทยนี้เอง ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ.๒๔๑๖<br />

กล่าวถึงกันเกราว่า "กันเตรา : ต้นไม้อย่างหนึ่ง แก่นท าเสาทนนัก ใช้ท ายาแก้โรคบ้าง มีอยู่ในป่า" น่าสังเกตว่าใน<br />

หนังสืออักขราภิธานศรับท์ เรียกกันเกราว่า กันเตรา แต่สุนทรภู่เรียกชื่อในนิราศพระบาทว่ากันเกรา เช่นเดียวกับใน<br />

ลิลิตตะเลงพ่าย พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ภาคเหนือและอีสานเรียก มันปลา<br />

ภาคใต้เรียก ต าเสา หรือท าเสา ส่วนภาษาอังกฤษเรียก Tembusu<br />

ในประเทศไทยถือว่ากันเกราเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง แม้ไม่ระบุให้ใช้ปลูกรอบบ้านเรือนที่อยู่อาศัย แต่ใช้เป็นไม้เสาเข็ม<br />

ในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร ซึ่งเสาเข็มนี้มีไม้ ๙ ชนิด ไม้กันเกราเป็นไม้มงคลอันดับที่ ๓ เชื่อว่ากันเกราช่วยปกป้อง<br />

คุ้มครองและป้องกันภยันตรายต่างๆ ได้ กันเกราเป็นต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบ รูปทรงพุ่มงดงาม กล่าวคือ เมื่อยังไม่โตเต็มที่<br />

ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยปลายมน เมื่อโตเต็มที่แล้วทรงพุ่มค่อนข้างกลม ใบเขียวเข้มเป็นมัน ปลูกง่ายแข็งแรงทนทาน<br />

เหมาะปลูกในบริเวณบ้านหรือที่สาธารณะ ประกอบกับดอกที่มีกลิ่นหอมแรง ส่งกลิ่นไปไกล ทั้งยังหอมสดชื่นไม่ฉุน<br />

จึงน่าปลูกอย่างยิ่ง แม้กันเกราจะค่อนข้างโต้ช้า แต่หากผู้ปลูกเอาใจใส่บ้างพอสมควรก็จะได้ชื่นชม รูปทรง ร่มเงา และ<br />

กลิ่นหอม ภายในเวลาไม่เกิน ๑๐ ปี แล้วหลังจากนั้นก็จะได้รับคุณค่าดังกล่าวจากกันเกราไปอีกนานแสนนาน<br />

อ้างอิง https://www.doctor.or.th/article/detail/1654<br />

แหล่งข้อมูลที่ 4<br />

กันเกรา คือ ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae<br />

ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็น<br />

สีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น<br />

เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ต าเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.<br />

อ้างอิง http://www.royin.go.th/dictionary/

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!