10.01.2018 Views

ASA NEWSLETTER 10_11 59

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

์<br />

สวัสดีครับ<br />

ด้วย สำนักพระราชวังประกาศ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต ในฐานะนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

ขอน้อมเกล้าถวายอาลัย ให้พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัยและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น อันหาที่สุดมิได้ ทั ้งนี ้ ทางสมาคมฯ ยังได้มีการจัดสถานที่<br />

บริเวณ ชั ้น 2 ของอาคารสมาคมฯ เพื่อให้สมาชิกและผู้ที่มาติดต่อ ได้ร่วมลงนามถวายความอาลัย<br />

ตั ้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม สถาบันสถาปนิกสยาม ได้เริ่มดำเนินการทดลองบริหารโครงสร้างใหม่ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพสถาปัตยกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั ้งยัง<br />

เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และให้คำปรึกษา เพื่อดำเนินการช่วยเหลือสมาชิกในด้านต่างๆ โดยต้องอาศัยผู้ชำนาญการพิเศษในการบริหาร<br />

จัดการให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีช่วงระยะเวลาการประเมินผลสัมฤทธิ ์ในกรอบเวลา 1 ปี โครงสร้างของสถาบันสถาปนิกสยาม<br />

สามารถดูรายละเอียดสรุปในหน้า ISA<br />

สมาคมฯ ได้มีแผนการจัดตั ้งมูลนิธิสมาคมสถาปนิกสยาม มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเหล่าสมาชิกสมาคมฯ ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ลำบาก ขาดการดูแล<br />

จากครอบครัวในวัยชรา ได้รับอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต ฯลฯ มอบให้เป็นสวัสดิการแก่สมาชิก ทั ้งนี ้ จะมีการแต่งตั ้งคณะกรรมการ เพื่อเข้ามาดูแลและร่างระเบียบของ<br />

มูลนิธิฯ ต่อไป<br />

ความคืบหน้าการคัดค้านรื ้ อชุมชนป้อมมหากาฬ กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้มีแผนการดำเนินงานโดยวิธีการ<br />

เก็บข้อมูลอาคารเก่าที่มีคุณค่าด้วยวิธี VERNADOC เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการยับยั ้งรื ้ อถอนอาคารของชุมชนบริเวณนั ้น อีกทั ้งกรรมาธิการสถาปนิกเพื่อสังคมและ<br />

เมือง ได้มีการจัดกิจกรรม Co - Create Design Workshop : Mahakan Living Museum ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อช่วยกันคิดและออกแบบการจัดทำแผน<br />

แม่บทในการพัฒนาชุมป้อมมหากาฬ โดยมีความเชื่อว่าชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับมรดกสถาปัตยกรรมได้<br />

ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน ผศ.ดร.ธนะ จีระพิวัฒน์ อุปนายกฝ่ ายต่างประเทศ เป็นผู้แทนสมาคมฯ พร้อมกับคุณสถิรัตร์ ตัณฑนันทน์ ในฐานะ<br />

ประธานสภาสถาปนิกเอเชีย ได้รับเชิญเข้าร่วมพิธีเปิดงาน <strong>10</strong>th KOREA ARCHITECTS National Convention 2016 ณ เมืองอินชอน สาธารณะรัฐเกาหลี และ<br />

ประชุม International President’s Forum เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาวิชาชีพสถาปัตยกรรมระหว่างภาคีสมาชิกในอนาคตต่อไป<br />

วันที่ 16 พฤศจิกายน ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อหาข้อสรุป โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น ้ำเจ้าพระยา บริเวณแยกเกียกกาย กรณีผลกระทบกับอาคารรัฐสภา<br />

แห่งใหม่ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานในที่ประชุม สมาคมฯ ในฐานะที่เป็นผู้ศึกษาปรับรูปแบบการ<br />

สร้างแนวสะพาน ได้เสนอหุ่นจำลองเปรียบเทียบ 4 แนวทาง เพื่อช่วยลดผลกระทบทางด้านภูมิทัศน์และปัญหาทางวิศวกรรมจราจร ซึ่งในที่ประชุมได้พิจารณารับ<br />

หลักการในการแก้ปัญหาและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันศึกษารายละเอียด เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาแบบก่อสร้างต่อไป<br />

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมประชุมโครงการออกแบบอาคารสำนักงานแห่งใหม่ของ บริษัท วิทยุการบิน<br />

แห่งประเทศไทย จำกัด ในฐานะเป็นคณะกรรมการดำเนินการจ้าง เพื่อหารือการจัดทำข้อกำหนดและจัดทำแบบก่อสร้างให้มีมาตรฐาน<br />

ในระดับสากลต่อไป<br />

นายอัชชพล ดุสิตนานนท์<br />

นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 25<strong>59</strong>-2561<br />

คณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 25<strong>59</strong>-2561<br />

นายกสมาคม<br />

นายอัชชพล ดุสิตนานนท์<br />

อุปนายก<br />

นาวาเอกสันติ พรหมสุนทร<br />

ผศ.ดร.ธนะ จีระพิวัฒน์<br />

ผศ.กิจโชติ นันทนสิริวิกรม<br />

ผศ.สุดจิต สนั่นไหว<br />

นายปรีชา นวประภากุล<br />

นายนันทพล จั่นเงิน<br />

เลขาธิการ<br />

นายชาติเฉลิม เกลียวปฏินนท์<br />

นายทะเบียน<br />

พ.ต.ท.สักรินทร์ เขียวเซ็น<br />

เหรัญญิก<br />

นางภิรวดี ชูประวัติ<br />

ปฏิคม<br />

นายทรงพจน์ สายสืบ<br />

ประชาสัมพันธ์<br />

ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย<br />

กรรมการกลาง<br />

นายณัฐสิทธิ ์ อิทธิถาวร<br />

ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ<br />

ประธานกรรมาธิการ<br />

สถาปนิกล้านนา<br />

นายขวัญชัย สุธรรมซาว<br />

ประธานกรรมาธิการ<br />

สถาปนิกอีสาน<br />

ผศ.สุรศักดิ ์ โล่ห์วนิชชัย<br />

ประธานกรรมาธิการ<br />

สถาปนิกทักษิณ<br />

นายวิวัฒน์ จิตนวล<br />

คณะกรรมการกองทุนสมาคม<br />

สถาปนิกสยาม ในพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์ ปี 2558-2560<br />

ประธานกรรมการกองทุน<br />

นายบุญญวัฒน์ ทิพทัส<br />

กรรมการกองทุน<br />

นายวีระ ถนอมศักดิ<br />

ดร.ศุภกิจ มูลประมุข<br />

ผศ.ณัฐธร ธรรมบุตร<br />

ผศ.มนต์ผกา วงษา<br />

นายอัชชพล ดุสิตนานนท์<br />

นางภิรวดี ชูประวัติ<br />

คณะผู้บริหารสถาบันสถาปนิกสยาม<br />

ประธานสถาบันสถาปนิกสยาม<br />

ดร. วีระพันธุ์ ชินวัตร<br />

ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและหัวหน้าศูนย์<br />

อบรมวิจัยและพัฒนาวิชาชีพ<br />

นายธานินทร์ ศรีเบญจรัตน์<br />

ผู้อำนวยการสำนักมรดกเมืองและหัวหน้าศูนย์<br />

อนุรักษ์สถาปัตยกรรม<br />

นางปองขวัญ ลาซูส<br />

ผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศและ<br />

หัวหน้าศูนย์อาษาคลาวด์<br />

ดร.กมล จิราพงษ์<br />

หัวหน้าศูนย์ข้อมูลกฎหมายอาคาร<br />

นายสุพินท์ เรียนศรีวิไล<br />

หัวหน้าศูนย์คุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพ<br />

สถาปัตยกรรม<br />

นายสุทธิศักดิ ์ ชยุตสาหกิจ<br />

หัวหน้าศูนย์ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรม<br />

นางสาวลัคณา สันติณรงค์<br />

หัวหน้าศูนย์อาษาครู<br />

นายชนพ ศิริกมลมาศ


้<br />

ค ว บ ค ุ ม ส ั ญ ญ า ก า ร ร ั บ จ ้ า ง ก่ อ ส ร ้ า ง อ า ค า ร<br />

เพื่อการอยู่อาศัย<br />

14 พ.ย. 25<strong>59</strong><br />

คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ออก “ประกาศคณะกรรมการว่า<br />

ด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการรับจ้างก่อสร้างอาคารเพื่อการ<br />

อยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 25<strong>59</strong>” ลงวันที่ 16<br />

มิถุนายน พ.ศ. 25<strong>59</strong><br />

ประกาศฉบับนี ้ ออกตามมาตรา 35 ทวิ แห่งพระราช<br />

บัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย<br />

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 เพื่อ<br />

ประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นส่วนรวม โดยได้กำหนดควบคุม<br />

สัญญาสำหรับธุรกิจการรับจ้างก่อสร้างอาคารที่ผู้บริโภคมี<br />

วัตถุประสงค์ในการใช้อาคารเพื่อการอยู่อาศัย มิได้นำอาคาร<br />

ทั ้งหมดหรือบางส่วนไปขาย ให้เช่า ให้เช่าซื ้ อหรือจัดหาโดยเรียก<br />

ค่าตอบแทน<br />

ตามประกาศฉบับดังกล่าว สัญญารับจ้างก่อสร้างอาคาร<br />

ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภค ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทย<br />

ขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่า 2 มม. มีจำนวนไม่เกิน <strong>11</strong> ตัวอักษร<br />

ในหนึ่งนิ ้ ว และต้องมีสาระสำคัญและเงื่อนไขตามที่กำหนด<br />

ได้แก่<br />

- รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ทำสัญญา วันเดือน<br />

ปีที่ทำสัญญา วัตถุประสงค์ของการใช้อาคาร รูปแบบอาคาร<br />

สถานที่ทำการก่อสร้าง ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวประชาชน<br />

ของทั ้งสองฝ่ าย กรณีผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล ให้ระบุ<br />

รายละเอียดตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของ<br />

หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องด้วย<br />

- รายละเอียดเกี่ยวกับราคาค่าก่อสร้างทั ้งหมดที่รวม<br />

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หน้าที่ในการจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ ตามชนิด<br />

ขนาดและคุณภาพตามที่ระบุไว้ในสัญญา หรือตามรายการที่<br />

แนบท้ายสัญญาที่ใช้ในการก่อสร้าง<br />

- บัญชีแสดงปริมาณวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและราคา<br />

- รายละเอียดเกี่ยวกับงวดงานกับการชำระเงินตาม<br />

เนื ้ องานที่ได้สัดส่วนกันในแต่ละงวด<br />

- กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขออนุญาตก่อสร้าง<br />

อาคารภายในกำหนดนับแต่วันทำสัญญา<br />

- กำหนดระยะเวลาการรับจ้างสร้างอาคารให้แล้วเสร็จ<br />

นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคาร<br />

- ความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อความเสียหาย<br />

ใดๆที่เกิดขึ ้ น เนื่องจากความชำรุดบกพร่อง กรณีโครงสร้างของ<br />

อาคารภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่รับมอบ<br />

อาคาร กรณีส่วนควบและอุปกรณ์อันเป็น ส่วนประกอบที่สำคัญ<br />

ของอาคารรั ้วและกำแพง ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับ<br />

แต่วันที่รับมอบอาคาร หรือวันที่รับมอบรั ้วหรือกำแพง<br />

- ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะแก้ไข เพิ่มเติม หรือลดงานได้โดย<br />

ไม่ต้องเลิกสัญญา<br />

- ผู้ประกอบธุรกิจจะดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตาม<br />

รูปแบบและรายการที่ได้รับอนุญาต และต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำ<br />

กว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ตามกฎหมายและวิชาชีพ<br />

- การผิดสัญญาของผู้บริโภคที่ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิ<br />

เลิกสัญญา ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องระบุเหตุในเรื่องนั ้นๆ ไว้<br />

เป็นการเฉพาะโดยเน้นข้อความให้เด่นชัดกว่าข้อความทั่วไป<br />

และก่อนบอกเลิกสัญญาต้องแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้บริโภค โดย<br />

กำหนดระยะเวลาให้ผู้บริโภคแก้ไขการผิดสัญญาเรื่องนั้นไม่น้อย<br />

กว่า 30 วัน<br />

- หากผู้ประกอบการไม่เริ่มทำการก่อสร้างภายใน<br />

กำหนดเวลาตามสัญญาหรือภายในระยะเวลาอันสมควร หรือ<br />

ทำการก่อสร้างล่าช้าโดยมิใช่ความผิดของผู้บริโภคจนคาด<br />

หมายได้ว่าการก่อสร้างนั ้นไม่อาจแล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา<br />

ที่กำหนดในสัญญา ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงิน<br />

ที่ได้ชำระไปแล้วในงวดงานที่ยังมิได้ดำเนินการก่อสร้าง รวมถึง<br />

ค่าเสียหายอื่นๆ หรือในกรณีผู้บริโภคไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา<br />

ผู้ประกอบธุรกิจยินยอมให้ปรับเป็นรายวันตามที่ตกลงกันซึ่ง<br />

ต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.01 ของราคาการรับจ้างก่อสร้างอาคาร<br />

ถ้าปรับครบร้อยละ <strong>10</strong> ของราคาค่าก่อสร้างทั ้งหมดแล้ว เห็น<br />

ว่าผู้ประกอบธุรกิจไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้บริโภค<br />

ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้<br />

- กรณีเกิดเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เป็นเหตุ<br />

ให้การก่อสร้างต้องหยุดชะงักลงโดยมิใช่ความผิดของผู้ประกอบ<br />

ธุรกิจ ให้สามารถขยายระยะเวลาแล้วเสร็จตามสัญญาออกไป<br />

เท่ากับเวลาที่ต้องเสียไป โดยผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแจ้งเหตุ<br />

พร้อมหลักฐานเป็นหนังสือให้ผู้บริโภคทราบภายใน 7 วันนับ<br />

แต่เหตุนั ้นได้สิ ้ นสุดลง<br />

นอกจากนั้น ข้อสัญญาต้องไม่มีลักษณะหรือความหมาย<br />

ทำนองเดียวกันที่ไม่เป็นธรรม อย่างเช่น<br />

- การยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดจากการผิดสัญญา<br />

ความชำรุดบกพร่อง หรือละเมิดของผู้ประกอบธุรกิจ<br />

- การให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจเลิกสัญญากับผู้บริโภค<br />

โดยไม่ต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร หรือโดยผู้บริโภค<br />

มิได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ<br />

- การให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจเรียกร้องให้ผู้บริโภคชำระ<br />

หนี ้ ก่อนกำหนดเวลาในสัญญาโดยผู้บริโภคมิได้ผิดนัดชำระหนี<br />

หรือผิดสัญญา<br />

- การให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงรายละเอียด


และเงื่อนไขต่างๆ ตามที่กำหนดในสัญญาจนทำให้ผู้บริโภคต้อง<br />

รับภาระเพิ่มขึ ้ นมากกว่าที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา โดยไม่ได้รับ<br />

ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้บริโภค<br />

- การจะไม่คืนเงินที่ผู้บริโภคได้ชำระมาแล้วไม่ว่ากรณี<br />

ใดๆ<br />

- การกำหนดว่าผู้บริโภคหรือผู้แทนจะเข้าไปตรวจ<br />

ตราการงานในสถานที่ที่ก่อสร้างจะต้องได้รับความยินยอมจาก<br />

ผู้ประกอบธุรกิจก่อน<br />

- ฯลฯ<br />

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค หากสัญญาที่<br />

ทำขึ ้ นไม่ใช้ข้อสัญญาตามที่ประกาศกำหนดหรือใช้ข้อสัญญาดัง<br />

กล่าวแต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข จะถือว่าสัญญานั ้นใช้ข้อสัญญา<br />

ดังกล่าวหรือใช้ข้อสัญญาดังกล่าวตามเงื่อนไขนั ้น แล้วแต่กรณี<br />

ส่วนข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ถ้าสัญญาที่ทำขึ ้ นใช้ข้อสัญญาดัง<br />

กล่าว ก็ให้ถือว่าสัญญานั ้นไม่มีข้อสัญญาเช่นว่านั ้น<br />

ดาวน์โหลด : www.asa.or.th/node/149473<br />

ร่วมจัดพิธีน้อมรำลึกและถวายความอาลัย<br />

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 25<strong>59</strong> คณะกรรมการบริหารสมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ และเจ้าหน้าที่ ร่วมจัดพิธีน้อมรำลึก<br />

ในพระมหากรุณาธิคุณ และลงนามถวายความอาลัยแด่<br />

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ห้อง<br />

ประชุมชั ้น 3 อาคารสมาคมฯ ทั ้งนี ้ ยังได้มีการจัดพื ้ นที่บริเวณ<br />

หน้าห้องประชุม ชั ้น 2 ของอาคาร เพื่อให้สมาชิกและผู้ที่มา<br />

ติดต่อร่วมลงนามถวายอาลัย<br />

ร่วมเป็ นเจ้าภาพ งานสวดพระอภิธรรมศพ<br />

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ<br />

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> สมาคมสถาปนิกสยามฯ ร่วม<br />

เป็นเจ้าภาพงานสวดพระอภิธรรมศพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ<br />

ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ ณ ศาลากลางน ้ำ วัดเทพศิรินทราวาส<br />

โดยมีนายกสมาคมฯ พร้อมทั ้งคณะกรรมการบริหาร และ<br />

เจ้าหน้าที่สมาคมฯเข้าร่วม ในฐานะที่ท่านเคยเป็นผู้มีคุณูปการ<br />

ต่อวงการวิชาชีพสถาปัตยกรรม<br />

โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น ้ำเจ้าพระยา บริเวณ<br />

แยกเกียกกาย<br />

เมื่อวันที ่ 16 พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> นายกสมาคมฯ ได้เข้าร่วม<br />

ประชุมเพื่อหาข้อสรุป โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา<br />

บริเวณแยกเกียกกาย กรณีผลกระทบกับอาคารรัฐสภาแห่ง<br />

ใหม่ ณ กระทรวงมหาดไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

มหาดไทย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นประธานในที่ประชุม<br />

และมีผู้แทนเข้าร่วมประชุมจากองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่<br />

กรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานนโยบาย<br />

และแผนการขนส่งและจราจร<br />

สมาคมสถาปนิกสยามฯ ในฐานะที่เป็นผู้ศึกษาเพื่อปรับ<br />

รูปแบบการสร้างแนวสะพาน เพื่อลดผลกระทบทางด้านภูมิทัศน์<br />

และปัญหาทางวิศวกรรมจราจร โดยได้เสนอหุ่นจำลองเปรียบเทียบ<br />

รูปแบบและผลกระทบในด้านต่างๆ จำนวน 4 แนวทาง ซึ่งที่ประชุม<br />

ได้พิจารณารับหลักการในการแก้ไขปัญหาและให้หน่วยงานที่<br />

เกี่ยวข้องร่วมมือกับสมาคมฯ ในการศึกษารายละเอียด เพื่อจะนำ<br />

ไปปรับปรุงและพัฒนาเป็นแบบก่อสร้างในอนาคตต่อไป


The 37th ARCASIA Council Meeting and 17th<br />

Asian Congress of Architects<br />

การประชุมสภาสถาปนิกเอเชีย ครั ้งที่ 37 และงานสัมมนา<br />

Asian Congress of Architects (ACA) ครั ้งที่ 17 จัดขึ ้ นระหว่าง<br />

วันที่ 25 กันยายน – 1 ตุลาคม 25<strong>59</strong> ณ ศูนย์การประชุมและ<br />

การจัดแสดงสินค้าฮ่องกง โดยมีคณะผู้แทนจากสมาคมสถาปนิก<br />

สยามฯ เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย คุณอัชชพล ดุสิตนานนท์<br />

นายกสมาคม เข้าร่วมประชุม ARCASIA Council Meeting พร้อม<br />

ด้วย ดร. ธนะ จีระพิวัฒน์ อุปนายกฝ่ ายต่างประเทศ ซึ่งเป็น<br />

ผู้แทนเข้าร่วมประชุม ARCASIA Committee on Social Responsibility<br />

(ACSR) คุณสุภกร อักษรสว่าง รองกรรมาธิการ<br />

สถาปนิกทักษิณ ฝ่ ายต่างประเทศ เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม<br />

ARCASIA Committee on Professional Practice (ACPP)<br />

ดร.อัฉราวรรณ จุฑารัตน์ กรรมการสถาบันอาคารเขียว เป็น<br />

ผู้แทนเข้าร่วมประชุม ARCASIA Committee on Green and<br />

Sustainable Architecture (ACGSA) และ ดร. รัฐพงษ์ อังกา-<br />

สิทธิ ์ รองกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา ฝ่ ายต่างประเทศ เป็นผู้<br />

แทนเข้าร่วมประชุม ARCASIA Committee on Young Architects<br />

(ACYA) ผศ.ดร.ธราวุฒิ บุญเหลือ รองกรรมาธิการสถาปนิก<br />

อีสาน ฝ่ ายต่างประเทศ เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม ARCASIA<br />

Committee of Architecture Education (ACAE)<br />

เนื ้ อหาการประชุม ARCASIA Council Meeting โดย<br />

ทั่วไปจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม การดำเนิน<br />

การ และสถานการณ์การปฏิบัติวิชาชีพของแต่ละประเทศ<br />

ประเด็นสำคัญในการประชุมครั ้งนี ้ ได้แก่ การลงนามบันทึกข้อ<br />

ตกลงความร่วมมือระหว่างสมาพันธ์สถาปนิกนานาชาติ (UIA)<br />

และสภาสถาปนิกเอเชีย (ARCASIA) การรับประเทศบรูไน และ<br />

เมียนมาร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิก เลือกเจ้าภาพจัดงาน ACA 18<br />

(2018) โดยประเทศญี่ปุ ่ นได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพ<br />

รวมทั ้งการเลือก ARCASIA Vice President โดย Vice President<br />

Zone A คือ Ar. Nuno Soares จากสมาคมสถาปนิกมาเก๊า Vice<br />

President Zone B คือ Ar. Theodore Chan จากสมาคมสถาปนิก<br />

สิงคโปร์ และ Vice President Zone C คือ Ar. Abu Sayeed M<br />

Ahmed จากสมาคมสถาปนิกบังคลาเทศ และเลือก Fellowship<br />

Chairman คือ Ar. Rita Soh จากสมาคมสถาปนิกสิงคโปร์<br />

การประชุม ACAE Committee เนื ้ อหาหลักเป็นการ<br />

สร้างความร่วมมือทางการศึกษาวิจัยด้านสถาปัตยกรรม โดย<br />

ประเด็นที่แต่ละประเทศให้ความสำคัญคือ การรับรองมาตรฐาน<br />

หลักสูตรวิชาชีพสถาปัตยกรรม และปรับปรุงหลักสูตรให้<br />

ทันสมัย การฝึกอบรมเชิงวิชาการ กระบวนการสอนวิชาปฏิบัติ<br />

การออกแบบสถาปัตยกรรม และการให้รางวัลทางวิชาการ โดย<br />

โครงการที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ ประกอบด้วย แนวทางการ<br />

จัดการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมให้มีมาตรฐานเดียวกัน การ<br />

จัดทำวารสารทางวิชาการ การฝึกงานในต่างประเทศ การจัด<br />

กิจกรรมระหว่างนิสิต รวมถึงการจัดประกวดวิทยานิพนธ์ Thesis<br />

of the Year (TOY) ARCASIA โดยประเทศไทยจะเป็น ผู้ดำเนิน<br />

การในปีแรก ส่วนแผนที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ ได้แก่ การแลก<br />

เปลี่ยนนิสิต และคณาจารย์รายวิชาเพื่อการสอนในวิชาปฏิบัติ<br />

การออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

การประชุม ACPP Committee เน้นการแลกเปลี่ยน<br />

ข้อมูลในการพัฒนาการปฏิบัติวิชาชีพให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน<br />

โดยประเด็นสำคัญในการประชุม ได้แก่ การจัดทำฐานข้อมูลการ<br />

ปฏิบัติวิชาชีพในแต่ละประเทศสมาชิก การจัดทำคู่มือการปฏิบัติ<br />

วิชาชีพ (ARCASIA Practice Manual) การจัดทำคู่มือการอบรม<br />

พัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (ARCASIA CPD Guideline) เพื่อส่งเสริม<br />

ให้เกิดความร่วมมือในการจัดอบรมพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง และ<br />

การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการปฏิบัติวิชาชีพระหว่างประเทศ<br />

สมาชิกและประเทศต่างๆ และการจัดทำโครงการความร่วมมือ<br />

ในการปฏิบัติวิชาชีพและการบริการการออกแบบระหว่าง


์<br />

(ARCASIA Standard for MRA) ภายใต้เงื่อนไขในการทำงาน<br />

ร่วมกับสถาปนิกท้องถิ่นโดยจะทำการศึกษาเกี่ยวกับข้อกำหนดของ<br />

หน่วยงานรัฐ ระเบียบ ข้อบังคับ และกรณีศึกษาต่าง ๆ<br />

การประชุม ACSR Committee มีวัตถุประสงค์เพื่อแลก<br />

เปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสถาปนิกใน<br />

การทำงานเพื่อสังคม และการช่วยเหลือประชาชนกรณีภัยพิบัติ<br />

ทางธรรมชาติ โดยประเด็นสำคัญในการประชุม ได้แก่ การจัด<br />

ทำหลักสูตรอบรมสถาปนิกฉุกเฉิน (Emergency Architects)<br />

การกำหนดคณะอนุกรรมการ 4 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการ<br />

ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสถานการณ์ฉุกเฉิน<br />

(Emergency Architecture) คณะอนุกรรมการด้านการออกแบบ<br />

เพื่อการใช้งานของคนทุกกลุ่มในสังคม (Inclusive Design) คณะ<br />

อนุกรรมการด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม (Preservation &<br />

Conservation) และคณะอนุกรรมการด้านอาคารสงเคราะห์<br />

และเคหะชุมชน (Social & Public Housing) หลัก 5’Cs สำหรับ<br />

สถาปัตยกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม และการสร้างสถาปนิกที่มี<br />

ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม<br />

โดยการประชุม ACYA Committee มีวัตถุประสงค์เพื่อ<br />

สนับสนุนให้สถาปนิกรุ่นใหม่ได้พัฒนาวิชาชีพให้ไปสู่ระดับสากล<br />

โดยประเด็นสำคัญในการประชุม ได้แก่ การสร้างเครือข่าย<br />

ความร่วมมือในการปฏิบัติวิชาชีพ และการสร้างกระบวนการแก้<br />

ปัญหาระหว่างสถาปนิกรุ่นใหม่ รวมทั ้งสร้างความเป็นไปได้ใน<br />

การร่วมมือเชิงวิชาชีพกับนักธุรกิจรุ่นใหม่ (Joints Project) การ<br />

ส่งเสริมให้สถาปนิกรุ่นใหม่ทำงานเพื่อสังคม การบูรณาการด้าน<br />

วิชาชีพ และการให้เครดิตการทำงาน และการให้รางวัลสถาปนิก<br />

รุ่นใหม่<br />

นอกจากนี ้ ยังมีกิจกรรม ARCASIA STUDENTS’ JAMBO-<br />

REE ภายใต้หัวข้อ Green Lifestyle เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา<br />

สถาปัตยกรรมในแต่ละประเทศ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์<br />

และองค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ และเปิดโอกาส<br />

ให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ประกอบด้วย การ<br />

แข่งขันวาดภาพด้วยมือ (Sketching Competition) การเยี่ยม<br />

ชมโครงการและรับฟังบรรยายเกี่ยวกับการออกแบบทางด้าน<br />

สถาปัตยกรรม การนำเสนอผลงานในหัวข้อ “The Newest<br />

Green Building in Your City” โดยนิสิตได้รับการคัดเลือกจาก<br />

สมาคม คือ นายวศิน เหมชาติวิรุฬห์ และณัฐวัฒน์ คำรณฤทธิ<br />

ศร จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และนางสาวอภิสรา เลิศรัตนกิจ<br />

จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์<br />

Responsible<br />

Responsible Architecture<br />

Architecture<br />

principles<br />

Principles<br />

-1 @Rita Soh<br />

การประชุม ACGSA Committee เน้นการแลกเปลี่ยน<br />

ข้อมูลด้านสถาปัตยกรรมสีเขียวและสถาปัตยกรรมยั่งยืน<br />

โดยประเด็นสำคัญในการประชุม ได้แก่ การจัดทำหนังสือ<br />

Vernacular Wisdom เพื่อรวบรวมบทความเกี่ยวกับภูมิปัญญา<br />

พื ้ นถิ่นทางสถาปัตยกรรมของแต่ละประเทศเพื่อใช้เป็นหนังสือ โดยในปีนี ้ สถาปนิกและนักศึกษาไทย ได้รับรางวัล<br />

ประกอบการเรียนการสอน การจัดทำ ACGSA Archive : Green 3 รางวัล ได้แก่ นางสาวบุตรีญา รวมธรรมรักษ์ บริษัท ไซต์<br />

Building Rating Tools เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐาน สเปซิฟิค จำกัด ได้รับทุนวิจัยโครงการ Filter Floating House<br />

หรือฉลากอาคารเขียวในแต่ละประเทศ การจัดทำจดหมายเหตุ ในการประกวดโครงการ ARCASIA Travel Prize 2016<br />

ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ (ACGSA E Newsletter) เพื่อกระจายข่าวสาร ภ า ย ใ ต ้ห ัว ข ้อ H u m a n i t a r i a n A r c h i t e c t าu งr e ส าน<br />

ว อ ภิ ส รา<br />

และกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสีเขียว และการจัดการประชุม เลิศรัตนกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ จาก<br />

ACGSA Round Table ครั้งที่ 19 โดยประเทศไทยได้รับคัดเลือกให้ ผลงาน TRANSFARMATION ในการประกวดโครงการ ARCASIA<br />

เป็นเจ้าภาพจัดงาน<br />

Students Design Competition 2016 และนายจีรเวช หงสกุล


บริษัท สถาปนิก ไอดิน จำกัด ได้รับรางวัล Honorable Mention<br />

จากผลงาน บ้านคุณสุรีย์ ศิริวัจนางกูร (Siri House) ในการ<br />

ประกวดโครงการ ARCASIA Awards for Architecture 2016<br />

ประเภท MULTIPLE FAMILY RESIDENTIAL COMPLEXES<br />

การร่วมงาน JIA National Convention 2016<br />

ในระหว่างวันที่ 27-29 ตุลาคม 25<strong>59</strong> ผศ.ดร.ธนะ<br />

จีระพิวัฒน์ อุปนายกฝ่ ายต่างประเทศ นายชาติเฉลิม เกลียว-<br />

ปฏินนท์ เลขาธิการสมาคม และนางสาวกษมา วรรณศิลป์<br />

ผู้จัดการสมาคม ได้รับเชิญจากสมาคมสถาปนิกญี่ปุ ่ น (The<br />

Japan Institute of Architects – JIA) ให้ไปร่วมเป็นเกียรติ<br />

ในงาน JIA National Convention 2016 ณ เมืองโอซากะ<br />

ประเทศญี่ปุ ่ น โดยสมาคมสถาปนิกญี่ปุ ่ นให้เกียรติ ผศ.ดร.ธนะ<br />

จีระพิวัฒน์ ขึ ้ นกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดงานฯ<br />

ในโอกาสเดียวกัน ทางสมาคมสถาปนิกญี่ปุ ่ นได้<br />

จัดประชุมหารือร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยาม โดยสาระ<br />

สำคัญในการประชุม คือ โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้าน<br />

สถาปัตยกรรม รุ่นที่ 4 โดยที่ประชุมเสนอให้ทำแบบประเมิน<br />

โครงการสำหรับรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 เพื่อเป็นแนวทางในการ<br />

พัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมสอดคล้องระหว่างบุคลากร<br />

และงานขององค์กร การจัดสถาปัตย์สัญจรเพื่อไปเยี่ยมชมและ<br />

ศึกษาดูงานสถาปัตยกรรม และการจัดการโครงการอบรมเชิง<br />

ปฏิบัติการเรื่องการออกแบบเพื่อรองรับแผ่นดินไหว ณ ประเทศ<br />

ญี่ปุ ่ น หลังจากเสร็จพิธีทางสมาคมสถาปนิกญี่ปุ ่ น ได้พาคณะ<br />

ผู้แทนจากสมาคม และสถาปนิกไทยที่เข้าร่วมโครงการแลก<br />

เปลี่ยนบุคลากร รุ่นที่ 3 เยี่ยมชมระบบการบริหารจัดการ<br />

ภัยพิบัติของเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ ่ น (Kyoto Disaster<br />

Management System)<br />

<strong>10</strong>th KOREA ARCHITECTS National Convention<br />

2016<br />

ระหว่างวันที่ 15 - 16 พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> ผศ.ดร.ธนะ<br />

จีระพิวัฒน์ อุปนายกฝ่ ายต่างประเทศ ผู้แทนสมาคมสถาปนิก<br />

สยามฯ และคุณสถิรัตร์ ตัณฑนันทน์ ในฐานะประธานสภา<br />

สถาปนิกเอเชีย (ARCASIA) เข้าร่วมพิธีเปิดงาน <strong>10</strong>th KOREA<br />

ARCHITECTS National Convention 2016 ณ เมืองอินชอน<br />

สาธารณะรัฐเกาหลี และเข้าร่วมการประชุม International<br />

President’s Forum นำเสนอประเด็น “Architecture –Culture<br />

– Recreation ” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และปรึกษา<br />

หารือแนวทางการพัฒนาวิชาชีพสถาปัตยกรรมในภาคีเครือข่าย<br />

สมาชิกร่วมกันต่อไป<br />

ท ั้ ง นี้ ย ัา ง ร่ ไ ด ว้ มเ ขกิ ้ จ ก ร ร ม ดู า น ง “ S o n g d o<br />

Architecture Tour” ศึกษาโครงการ “IFEZ” (Incheon Free<br />

Economic Zone) ทั ้งการวางแผนพัฒนาการสร้างเมืองใหม่ การ<br />

วางผังเมือง แนวทางการพัฒนาธุรกิจ อาคารประหยัดพลังงาน<br />

ระบบความปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเมืองแห่งอนาคตที่<br />

สมบูรณ์แบบ


้<br />

้<br />

สถาบันสถาปนิกสยาม<br />

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันสถาปนิกสยาม เพื่อรองรับกิจกรรมที่จะเกิดขึ ้ นอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์<br />

ปัจจุบันและนโยบายสมาคมฯ ติดอาวุธทางปัญญาให้กับสถาปนิกรุ่นใหม่ ดังนั ้นจึงต้องอาศัยผู้ชำนาญการพิเศษ เข้ามาบริหาร<br />

จัดการ ได้เริ่มดำเนินการทดลองการบริหารโครงสร้างใหม่มาตั ้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ในกรอบเวลา 1 ปี เพื่อประเมินผล<br />

สัมฤทธิ ์ โครงสร้างสถาบันสถาปนิกสยาม ประกอบด้วย 3 สำนัก ดังนี<br />

1. สำนักวิชาการ มีขอบเขตงานแบ่งเป็น 3 ศูนย์ คือ<br />

1.1 ศูนย์อบรมวิจัยและพัฒนาวิชาชีพ มีหน้าที่การจัดอบรมและพัฒนาเทคนิควิชาชีพ วิชาการด้านการออกแบบ<br />

รวมถึงการจัดทำฐานข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรม<br />

1.2 ศูนย์ข้อมูลกฎหมายอาคาร มีหน้าที่ติดตาม ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม และจัดระบบข้อมูลกฎหมายอาคารและกฎหมาย<br />

ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม<br />

1.3 ศูนย์คุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม มีหน้าที่ศึกษาปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ ของวิชาชีพ เช่น พรบ. ควบคุม<br />

อาคาร และกฎข้อบังคับต่างๆ ที่มีผลต่อการประกอบวิชาชีพ รวมถึงการจัดตั ้งอนุญาโตตุลาการเพื่อชี ้ ขาดการตีความข้อกฎหมาย<br />

ต่างๆ กับหน่วยงานของรัฐ<br />

2. สำนักมรดกเมือง มีขอบเขตงานแบ่งเป็น 2 ศูนย์ คือ<br />

2.1 ศูนย์อนุรักษ์สถาปัตยกรรม มีหน้าที่ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์และข้อมูลมรดก<br />

สถาปัตยกรรม พร้อมสนับสนุนทางวิชาการด้านสถาปนิกชุมชน ในเรื่องการออกแบบชุมชน ผังเมือง และสิ่งแวดล้อมเมือง<br />

2.2 ศูนย์ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรม ทำหน้าที่จัดทำฐานข้อมูลและกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวที่เกี่ยวกับแหล่งมรดก<br />

สถาปัตยกรรม พร้อมประสานงานร่วมมือกับหน่วยงานการท่องเที่ยวทั ้งในและต่างประเทศ รวมถึงการขยายฐานให้บริการด้าน<br />

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบครบวงจรในอนาคต<br />

3. สำนักสารสนเทศ มีขอบเขตงานแบ่งเป็น 2 ศูนย์ คือ<br />

3.1 ศูนย์อาษาคลาวด์ ทำหน้าที่เป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้บริการแก่<br />

สมาชิกและประชาชน ในรูปแบบของนิทรรศการและการแสดง จนถึงการจัดตั ้งพิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมในอนาคต<br />

3.2 ศูนย์อาษาครู ทำหน้าที่เป็น Content Development Center เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตเนื ้ อหาและองค์ความรู้ เผยแพร่<br />

ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ รวมถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศทั ้งหมดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อใช้เป็นช่องทางการ<br />

ประชาสัมพันธ์ศักยภาพของสถาปนิกไทย<br />

โดยโครงสร้างของสถาบันทั ้งหมดนี ้ จะมี ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร ประธานสถาบันเป็นผู้กำกับดูแล และมีผู้อำนวยการสำนัก<br />

3 สำนัก ดังนี<br />

1. คุณธานินทร์ ศรีเบญจรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ<br />

2. คุณปองขวัญ ลาซูส ผู้อำนวยการสำนักมรดกเมือง<br />

3. ดร.กมล จิราพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศ<br />

พร้อมกับหัวหน้าศูนย์แต่ละศูนย์บริหารจัดการให้เกิดความมั่นคงและเป็นประโยชน์สูงสุด ประกอบด้วย<br />

1. คุณธานินทร์ ศรีเบญจรัตน์ หัวหน้าศูนย์อบรมวิจัยและพัฒนาวิชาชีพ<br />

2. คุณสุพินท์ เรียนศรีวิไล หัวหน้าศูนย์ข้อมูลกฎหมายอาคาร<br />

3. คุณสุทธิศักดิ ์ ชยุตสาหกิจ หัวหน้าศูนย์คุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม<br />

4. คุณปองขวัญ ลาซูส หัวหน้าศูนย์อนุรักษ์สถาปัตยกรรม<br />

5. คุณลัคณา สันติณรงค์ หัวหน้าศูนย์ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรม<br />

6. ดร.กมล จิราพงษ์ หัวหน้าศูนย์อาษาคลาวด์<br />

7. คุณชนพ ศิริกมลมาศ หัวหน้าศูนย์อาษาครู<br />

ทั ้งนี ้ ในช่วงต้น (ต.ค. <strong>59</strong> - ก.พ. 60 ) จะเป็นช่วงเวลาเตรียมตัวตามโครงสร้างใหม่ของ ISA ซึ่งในอนาคตสถาบันสถาปนิก<br />

สยาม จะทำหน้าที่เป็น Profit Center ให้กับสมาคมฯ ทั ้งนี ้ หากมีความคืบหน้าจะรายงานให้สมาชิกทราบต่อไป


ประมวลภาพข่าว<br />

ISA โครงการพัฒนาวิชาชีพ ครั ้งที่ 23/<strong>59</strong> ISA<br />

Building Materials Lecture Series รอบรู้เรื่องวัสดุ<br />

ก่อสร้าง ครั ้งที่ 5-<strong>59</strong> : “Architectural Metal<br />

works”<br />

เมื่อวันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 25<strong>59</strong> เวลา 9:00 - 16:00 น.<br />

สถาบันสถาปนิกสยาม โดย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์ ได้จัดกิจกรรมอบรมความรู้โครงการ ISA โครงการ<br />

พัฒนาวิชาชีพ ครั ้งที่ 23/<strong>59</strong> ISA Building Materials Lecture<br />

Series รอบรู้เรื่องวัสดุก่อสร้าง ครั ้งที่ 5-<strong>59</strong> : “Architectural<br />

Metal works” สถาบันสถาปนิกสยาม โดยคุณวิญญู วานิชศิริ-<br />

โรจน์ นำน้อมถวายความอาลัย แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา<br />

ภูมิพลอดุลยเดช ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้<br />

รศ.ดร.ยุทธนันท์ บุญยงมณีรัตน์ จากสถาบันวิจัยโลหะ<br />

และวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเริ่มต้นให้ความรู้ทางด้าน<br />

โลหะศาสตร์ ด้วยความเข้าใจสถาปนิกมากขึ ้ น (ท่านเคยมาครั ้ง<br />

หนึ่งเมื่อปี 2555) ท่านลดการใช้ภาษาทางวิทยาศาสตร์ สมการ<br />

และพันธะเคมีต่างๆ วันนี ้ ฟังเพลิดเพลินเข้าใจได้ง่าย เรื่องของ<br />

Galvanic Corrosion, Anode-อันตรธาน, Cathode-คงกระพัน,<br />

การป้องกันการกัดกร่อน, ตัวอย่างการใช้ก้อนโลหะยึดติดกับ<br />

ลำเรือป้องกันการกัดกร่อน, ความหมายของกัดกร่อน สึกกร่อน,<br />

อื่นๆ อีกมากมายในเวลาจำกัด น่าเสียดายท่านมีภารกิจจึงไม่<br />

สามารถอยู่กับเราได้ทั ้งวัน<br />

คุณตวงภูมิ สาทรานุวัฒน์ จาก สมาคมการชุบสังกะสี<br />

ไทย มาต่อเรื่องของท่าน รศ.ดร.ยุทธนันท์ ด้วยระบบการชุบ<br />

สังกะสีแบบจุ่มร้อน เรื่องราวสามัญที่น่าจะเป็นประโยชน์มากกับ<br />

งานออกแบบอาคาร แต่สถาปนิกไทยยังไม่ค่อยคุ้นเคยนำมาใช้<br />

ในงานออกแบบกัน การทำเหล็กให้มีอายุการใช้งาน 30 ปี <strong>10</strong>0<br />

ปี นอกจากนั ้นยังได้นำตัวอย่างการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์<br />

เฟอร์นิเจอร์เหล็กชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนแบบเท่ๆ ได้รับรางวัล<br />

ออกแบบในระดับสากลมาให้ได้ชมกันด้วย ทั ้งนี ้ เดือนมกราคม<br />

ปีหน้าจะแวะไปเยี่ยมชมกระบวนการผลิตกันที่ฉะเชิงเทรา ผู้ที่<br />

สนใจก็เตรียมตัวกันไว้ คุณตวงภูมิบอกว่าใครไปก็สนุกตื่นเต้น<br />

ได้ความรู้ โดยจะแถมไปเยี่ยมโรงงานวีว่าบอร์ดซึ่งอยู่ใกล้กัน<br />

ด้วย งานนี ้ ขอจับแพะชนแกะ<br />

คุณวุฒินันท์ ผลภาษี จาก NS BlueScope (Thailand)<br />

Limited มาขยายต่อเรื่องเทคโนโลยีการเคลือบป้องกันสนิมเพื่อ<br />

การใช้งานแผ่นโลหะในลักษณะต่างๆ ทำให้เราได้รู้จัก Aluzinc,<br />

Zincalume, Galvalume, Superdyma, Zam, …การพัฒนาวัสดุ<br />

เคลือบกันสนิมแบบจุ่มร้อน ด้วยการประสมประสานโลหะวัสดุ<br />

การค้นคว้าวิจัย ได้เปิดมุมมองเพื่อความรู้ความเข้าใจ และ<br />

การนำผลิตภัณฑ์ไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอีกครั ้งหนึ่ง<br />

ที่ทาง NS BlueScope ได้มาร่วมกิจกรรมส่งเสริมความรู้ดีๆ<br />

ให้กับสถาปนิกไทย<br />

คุณขจรศักดิ ์ จิรรัตน์จรัสธร จาก ฐาปนินทร์ ผู้มี<br />

ประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับงานเหล็กกล้าไร้สนิม หรือเหล็ก<br />

สเตนเลส เป็นที่สุดคนหนึ่งในยุทธจักรไทย ดีใจมากที่ลากเสือ<br />

ออกจากถ ้ำได้ งานนี ้ เราขาดท่านไม่ได้ ยังพบว่าท่านเข้าธรรมะ<br />

ไปทำงานให้กับหลายๆ ศาสนสถาน ขออนุโมทนาบุญด้วย (ท่าน<br />

บอกว่าได้เงินบ้าง ไม่ได้บ้าง ไม่รู้วัดไหนไม่จ่าย?) จำไม่ได้ว่าท่าน<br />

พูดถึงช้อนสเตนเลส กับตัวเลข 18-8 เป็นโลหะอะไรกับอะไร<br />

เดี๋ยวต้องหาโอกาสไปติดตามคำตอบ นอกจากนี ้ เรายังได้รู้เรื่อง<br />

ที่น่าสะพรึงกลัวว่าวันนี ้ แม่เหล็กไม่ได้ช่วยในการตรวจสอบเหล็ก<br />

สเตนเลสเกรด 304 และ 316 ที่หน้างานแล้ว<br />

ช่วงบ่าย Mr.Leif Ho จาก Structural Dynamics Co.,Ltd.<br />

อีกท่านที่นำความตื่นเต้นเกี่ยวกับ Dynamic Façade มาให้<br />

พวกเราได้รับฟัง โดยเฉพาะโครงการ Plum Tower ในไต้หวัน<br />

งานสเตนเลสตกแต่งผนังอาคารระดับโลกที่ผลิตจากราชบุรี<br />

ประเทศไทย Mr.Leif เป็นวิทยากรที่มีความรู้ทางด้านเทคนิค<br />

มาก enjoy การให้ความรู้กับสถาปนิกอย่างมากๆ ขอบอก ตอน<br />

อยู่บนเวทีท่านส่ง thumb drive ให้ผมนำภาพขึ ้ นจอตลอด ...เล่น<br />

เอาเหนื่อย<br />

ขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านจริงๆ สุดท้ายผม<br />

(คุณปฏิกร ณ สงขลา) ขอเป็นตัวแทนทีมงาน ISA material<br />

info series ขอน้อมถวายการทำกิจกรรมวิชาการครั ้งนี ้ ครั ้ง<br />

ที่ผ่านๆ มา และจะมีในครั ้งต่อๆ ไป เป็นการทำความดีให้กับ<br />

ในหลวง อันเป็นที่รักเคารพยิ่งของพวกเราตราบชั่วนิรันดร์


โครงการอบรมเตรียมความพร้อม ก่อนเข้าสู่<br />

เส้นทางสถาปนิกอาชีพ ’<strong>59</strong><br />

เมื่อวันที่ 6 และ 12 - 13 พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> สถาบันสถาปนิก<br />

สยาม ได้จัดโครงการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนเข้า สู่เส้นทาง<br />

สถาปนิกอาชีพ’ <strong>59</strong> ณ ห้อง Auditorium 1 ชั ้น 14 อาคาร <strong>11</strong><br />

มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน เป็นการบรรยายเพื่อทบทวนและ<br />

เสริมความรู้ทางด้านวิชาการสำหรับสถาปนิกจบใหม่ ให้มีความ<br />

ความพร้อมสำหรับการปฏิบัติวิชาชีพและการสอบรับใบอนุญาต<br />

ประกอบวิชาชีพ การจัดอบรมในครั ้งนี ้ มีสมาชิกให้ความสนใจ<br />

และเข้าร่วมเป็นจำนวน 3<strong>59</strong> คน ถือได้ว่าได้รับการตอบรับเป็น<br />

อย่างดีและเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้<br />

การสำรวจเรือนจำกลางเดิม นครปฐม<br />

เมื่อวันที่ <strong>11</strong> พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> ผศ.สุดจิต สนั่นไหว ประธาน<br />

กรรมาธิการอนุรักษ์สมาคมฯ คุณปองขวัญ ลาซูส ผู้อำนวย<br />

การสำนักมรดกเมืองสถาบันสถาปนิกสยาม และ อ.พินัย<br />

สิริเกียรติกุล กรรมาธิการอนุรักษ์ ได้ลงพื ้ นที่เพื่อร่วมสำรวจและ<br />

ให้คำแนะนำในการประเมินคุณค่าของสิ่งก่อสร้างภายในพื ้ นที่<br />

เรือนจำกลางเดิม นครปฐม เพื่อนำมาต่อยอดการอนุรักษ์และ<br />

พัฒนาพื ้ นที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเมืองเชิงอนุรักษ์<br />

ตามคำเชิญของประชาคมชาวจังหวัดนครปฐม<br />

ประชุมร่วมกับคณะกรรมการด้านอนุรักษ์<br />

มรดกสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกมาเลเซีย<br />

(Pertubuhan Akitek Malaysia)<br />

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> สถาบันสถาปนิกสยาม โดย<br />

คุณปองขวัญ ลาซูส ผู้อำนวยการสำนักมรดกเมือง ประชุมร่วม<br />

กับ คณะกรรมการด้านอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม สมาคม<br />

สถาปนิกมาเลเซีย (Pertubuhan Akitek Malaysia) และผู้แทน<br />

จากInternational Council on Monuments and Sites Malaysia<br />

(Icomos Malaysia) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหารือ<br />

แนวทางความร่วมมือในการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม<br />

การประชุมสำนักมรดกเมือง<br />

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> สำนักมรดกเมือง ศูนย์อนุรักษ์<br />

สถาปัตยกรรม และศูนย์ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรม โดยสถาบัน<br />

สถาปนิกสยามฯ ร่วมกับเครือข่ายท่องเที่ยวสถาปัตยกรรม<br />

และเมืองเก่า ได้หารือเรื่องการดำเนินการบริหารจัดการ<br />

ท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าและการจัดทำฐานข้อมูลบุคคลากร<br />

ทางการท่องเที่ยวของสถาบันสถาปนิกสยาม


ISA โครงการพัฒนาวิชาชีพ ครั้งที่ 1/60<br />

ISA Building Material Visit Series รอบรูเรื่องวัสดุกอสราง ครั้งที่ 1-60<br />

ขอเชิญสมาชิกสมาคม สถาปนิก นิสิต – นักศึกษา สถาปัตยกรรมเข้าร่วมกิจกรรมทัศนศึกษา<br />

หาความรู้ เกี ่ยวกับเหล็กชุบสังกะสีกันสนิมแบบจุ่มร้อน และเยี ่ยมโรงงานผลิตแผ่นไม้อัดซีเมนต์<br />

จากสถาบันสถาปนิกสยาม โดย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

รับฟังการบรรยายให้ความรู้เกี ่ยวกับระบบปองกันการกัดกร่อน การเกิดสนิม ให้กับเหล็กอย่างมีประสิทธิภาพ<br />

เปนมิตรกับสิ ่งแวดล้อม และเยี ่ยมโรงงานผลิตไม้อัดซีเมนต์ วัสดุใชงานทดแทนไม้ธรรมชาติ และไม้แปรรูป<br />

ให้ความรู้และสนับสนุนรายการโดย Union Galvanizer และ Viva Industries<br />

ดําเนินรายการโดย: คุณปฏิกร ณ สงขลา<br />

วันเสารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.15 - 17.30 น. ณ Union Galvanizer และ Viva Industries อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา<br />

อัตราคาลงทะเบียนพรอม อาหารกลางวัน / อาหารวาง และรถรับสงไปกลับ จาก สมาคมฯ ไปยังสถานที่<br />

● สมาชิกสมาคมฯ/ นิสิต นักศึกษา (ระดับ ป.ตรี) ทั่วไป 700 บาท ● สถาปนิกและผูสนใจทั่วไป 1,500 บาท<br />

● นิสิต นักศึกษา (ระดับ ป.ตรี) ที่เปนสมาชิกสมาคมฯ 300 บาท<br />

ทานที่มาสัมมนาในครั้งนี้จะได คะแนน ISA PLUS 1 POINT เพื่อแลกของรางวัล กรุณานําบัตร ISA PLUS ติดตัวมาทุกครั้งที่เขารวมสัมมนา<br />

(ผูเขารวมสัมมนาจะไดรับวุฒิบัตรจากสถาบันสถาปนิกสยาม โดย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ)<br />

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนลวงหนา ไดที่ สถาบันสถาปนิกสยาม ฝายจัดอบรม<br />

โทรศัพท 0-2319-6555 ตอ 202, 206 / โทรสาร ตอ 204, 0-2319-6419 หรือดาวนโหลด ใบตอบรับลงทะเบียนไดที่ www.asa.or.th<br />

(รับเพียง 30 ทานเทานั้น กรณีมีผูสมัครเกินจํานวนที่กําหนด สมาคมฯ สงวนสิทธิ์สําหรับผูที่ชําระเงินลงทะเบียนกอน)<br />

หมายเหตุ : ผูเขารวมกิจกรรมกรุณาแตงกายสุภาพ และสวมรองเทาหุมสน


้<br />

์<br />

กรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ เขตภาคใต้ตอนล่าง สมาคม<br />

สถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดกิจกรรมการบรรยาย<br />

และเสวนางานสถาปัตยกรรม และงานศิลปะ วันอาทิตย์ที่ 2<br />

ตุลาคม 25<strong>59</strong> ณ MELAYU LIVING STUDIO อำเภอเมือง จังหวัด<br />

ปัตตานี โดยสถาปนิก คุณ ปิตุพงศ์ เชาวกุล จาก บริษัท supermachine<br />

studio จำกัด มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั ้งนี ้ จำนวนมากทั ้ง<br />

สถาปนิก และวิศวกร<br />

กรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ สมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ บริษัท เวลคราฟท์ โปรดักส์ จำกัด<br />

จัดสัมมนาวิชาการสถาปัตยกรรมหัวข้อ “Behavior” วิทยากร<br />

โดย คุณจูน เซคิโน ในวันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> เวลา<br />

17.00 - 21.00 น. ณ ห้องยูงทอง โรงแรม บุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล<br />

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา<br />

เมื่อวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 25<strong>59</strong> กรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ เขต<br />

ภาคใต้ตอนบน สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้<br />

จัดโครงการเสวนา Dance on The Beach เวลา 17.00 – 22.00<br />

น. ณ THE BEACH BAR หาดเฉวงน้อย เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี<br />

มีสถาปนิก และผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมครั ้งนี ้ จำนวนมากมาย<br />

เมื่อวันที่ 19 - 20 พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> กรรมาธิการสถาปนิก<br />

ทักษิณ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัด<br />

โครงการอบรมคอมพิวเตอร์ Building Information Modeling<br />

(BIM) ด้วยโปรแกรม Revit Autodesk เพื่อฝึกปฏิบัติการทักษะ<br />

การใช้งานโปรแกรม Building Information Modeling(BIM) ด้วย<br />

โปรแกรม Revit Autodesk ให้แก่กลุ่มเป้าหมายให้สามารถใช้<br />

งานได้ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ณ มหาวิทยาลัยสงขลา<br />

นครินทร์ วิทยาเขตตรัง ตำบลควนปริง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง<br />

กรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ สมาคมสถาปนิกสยาม ใน<br />

พระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จ<br />

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี<br />

จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 กรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ สมาคมสถาปนิกสยาม<br />

เมื่อวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 25<strong>59</strong> ณ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดสัมมนาวิชาการสถาปัตยกรรม หัวข้อ<br />

อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา<br />

“ SEE THROUGH THE TWO SEAS ” วิทยากรโดย คุณดวงฤทธิ<br />

บุนนาค บรรยายในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ คือ ความเป็นไป<br />

ได้ในบริบท Creative At The Source ในวันศุกร์ที่ 25<br />

พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> เวลา 15.00–21.00 น. ณ โรงสีแดง<br />

หับโห้หิ ้ น อาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี<br />

เมื่อวันที่ 29 – 30 ตุลาคม 25<strong>59</strong> กรรมาธิการสถาปนิก 2556 ถนนนครนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา<br />

ท ั ก ษิ ณ สา มค ม ส ถ า ป นิ ก ส ยา ม ใ น พ ร ะ บ ร ม ร า ชู ป ถ ั ม ภ มีอาจารย์ ์ นักศึกษา สถาปนิก และผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการนี<br />

จัดโครงการจัดอบรมความรู้เพื่อเตรียมตัวในการทดสอบความ จำนวนมากมาย<br />

รู้ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม<br />

เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้สอบใบประกอบวิชาชีพสถาปนิก<br />

ณ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา<br />

มีอาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการนี ้ จำนวน<br />

มากมาย


กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน<br />

กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์ ได้รับเชิญจากสมาคมสถาปนิกและวิศวกรก่อสร้าง<br />

ลาว (ALACE) เข้าร่วมเป็นเกียรติในการแข่งขันกีฬา ALACE<br />

WILLY CUP 2016 ระหว่างวันที่<strong>11</strong>-13 พฤศจิกายน 25<strong>59</strong><br />

เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อ<br />

เป็นการกระชับความสัมพันธ์ในกลุ่มสถาปนิกในกลุ่มประเทศ<br />

AEC<br />

เมื่อวันที่ 26 - 27 พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> กรรมาธิการสถาปนิก<br />

อีสาน สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัด<br />

โครงการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่เส้นทางสถาปนิก<br />

อาชีพ ’<strong>59</strong> ณ ห้องประชุม ชั ้น 3 อาคาร 22 ตึกคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน<br />

นครราชสีมา เพื่อให้ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมแก่สมาชิก<br />

และบัณฑิตด้านสถาปัตยกรรมในภาคอีสานที่มีความประสงค์<br />

ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวก<br />

ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้เข้าสอบและเตรียมความพร้อม<br />

สำหรับการปฏิบัติวิชาชีพและการสอบรับใบอนุญาตประกอบ<br />

วิชาชีพต่อไป<br />

สรุปผลการแข่งขัน Badminton <strong>ASA</strong> 2016<br />

เมื่อวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 25<strong>59</strong> ณ อาคารศูนย์กีฬา<br />

กิจกรรมพนักงาน SCG สมาคมฯ ได้จัดงาน Badminton <strong>ASA</strong><br />

2016 และร่วมถวายความไว้อาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมิน<br />

ทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ปีนี ้ สมาคมฯ จัดการแข่งขันเป็นครั ้งที่<br />

12 เป็นปีที่ปวงชนชาวไทยต่างร่ำไห้เสียใจสุดจะบรรยาย<br />

เ มื่ อ พ ่ อ ห ล ว ง ข อ ง แ ผ่ น ดิ น ไ ด ้ เ ส ด็ จ ก ล ัา บล สู่ ั ย ส ว ร ร<br />

ปวงข้าพระพุทธเจ้าต่างล้วนสำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณ<br />

เป็นล้นพ้น อันหาที่สุดมิได้<br />

Badminton <strong>ASA</strong> 2016 ปีนี ้ มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน ทั ้งสิ ้ น<br />

21 ทีม แบ่งเป็น รุ่นสมาชิกทั่วไป 16 ทีม รุ่นอาวุโส 5 ทีม<br />

สมาคมฯ ขอขอบคุณ คุณชาตรี ชลประเสริฐสุข ประธานจัดการ<br />

แข่งขัน และคณะกรรมการจัดการแข่งขันทุกท่าน ที่ทำให้การ<br />

แข่งขันครั ้งนี ้ ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง<br />

สรุปผลการแข่งขัน<br />

รุ่นสมาชิกทั่วไป DIVISION 1<br />

ชนะเลิศ<br />

ทีม SUPER WHALE<br />

รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม JA-B<br />

รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม นั่นสินะ , ทีม อาม่า<br />

ทีม น่าใส , ทีม โรตี สายไหม<br />

ทีม WAW 2 (แวว) , ทีม เป็ด ก๊ าบ ก๊าบ<br />

รุ่นสมาชิกทั ่วไป DIVISION 2<br />

ชนะเลิศ<br />

ทีม TOP<br />

รองชนะเลิศอันดับ 1<br />

รองชนะเลิศอันดับ 2<br />

ทีม SCG<br />

ทีม มารดำ มารขาว , ทีม HB+<br />

ทีม ZONG-A (2A) , ทีม A Architect<br />

ทีม ฮอมแฮงอาเชอร์ , ทีม FORMICA<br />

รุ่นอาวุโส<br />

ชนะเลิศ<br />

ทีม O’Sarin (โอ สริน)<br />

รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม T&T<br />

รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม <strong>ASA</strong> , ทีม WAW 1 (แวว)<br />

ทีม สว.<br />

ขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุน Badminton <strong>ASA</strong> 2016 ได้แก่


้<br />

โครงการสถาปัตย์สัญจร ครั ้งที่ 1/25<strong>59</strong><br />

“Architectural Tour of Korea”<br />

โครงการสถาปัตย์สัญจรเป็นโครงการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีในหมู่สมาชิกที่ทางสมาคมสถาปนิกสยามฯได้จัดขึ ้ นมาอย่างต่อเนื่อง<br />

ทุกปี เพื่อสร้างประสบการณ์และเพิ่มแรงบันดาลใจในการทำงานใหม่ๆให้แก่สมาชิก โดยการเดินทางในครั ้งนี ้ เป็นโอกาสพิเศษที่<br />

สมาชิกโครงการสถาปัตย์สัญจรจากทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้รับเกียรติจาก สมาคมสถาปนิกเกาหลี (Korean Institute of<br />

Registered Architects - KIRA) ร่วมงานในฐานะแขกพิเศษ ในงาน KIRA Convention 2016 และนอกจากนั ้นสมาคมสถาปนิก<br />

เกาหลียังได้ประสานงานในการเข้าเยี่ยมชมอาคารและรับฟังบรรยายจากสถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร เป็นการสร้างเครือข่ายระหว่าง<br />

สถาปนิกไทยกับสถาปนิกในต่างแดนอีกทางหนึ่ง<br />

การเดินทางในครั ้งนี ้ ได้จัดขึ ้ นเมื่อวันที่ 15-19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยนอกจากการเข้าร่วมงาน สัมมนาในงาน KIRA<br />

Convention 2016 และเยี่ยมชม Central Park แห่งใหม่แล้วยังจัดแบ่งการดูงานออกเป็น 3 กลุ่มเนื ้ อหา เพื่อให้เกิดความหลาก<br />

หลาย ประกอบไปด้วย เนื ้ อหาที่ 1 พาสมาชิก ดูงานแนว Traditional Architecture / Town ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม<br />

ของเกาหลี อันประกอบไปด้วย Gyeongbokgung Palace, หมู่บ้าน Bukchon Hanok Village, Hwaseong Haenggung Palace,<br />

Hwaseong Fortress เป็นต้น เนื ้ อหาที่ 2 ดูงานแนว Eco Architecture and World Architecture in Seoul ในวันนี ้ สมาชิกนอกจากจะ<br />

ได้ประสบการณ์ใหม่ๆแล้วยังได้รับฟังการบรรยายและพบปะพูดคุยกับสถาปนิกผู้ออกแบบอาคารดังกล่าว อันประกอบไปด้วย Seoul<br />

City Hall, Posco Center, Lotte World Tower, Ewha Womans Univercity Campus Complex and Dongdaemun Design Park &<br />

Plaza ซึ่งออกแบบโดย Zaha Hadid สถาปนิกหญิงระดับโลกผู้ล่วงลับ และสุดท้าย เนื ้ อหาที่ 3 นำสมาชิกเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สำคัญ<br />

ในกรุงโซล เพื่อทำความรู้จักเกาหลีให้มากยิ่งขึ ้ น ครั ้งนี ้ โครงการได้พาเยี่ยมชม National Museum of Korea, The War Memorial<br />

of Korea และปิดท้ายด้วย Leeum : Samsung Museum of Art ซึ่งกำลังจัดแสดงนิทรรศการศิลปะสมัยใหม่ สร้างความสนใจให้กับ<br />

สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการได้อย่างมาก โดยทั ้งนี ้ คณะผู้ดำเนินโครงการขอขอบคุณสำหรับการให้การสนับสนุน จาก บริษัท เตียวฮง<br />

สีลม จำกัด และภาพถ่ายสวยๆ จากสมาชิกผู้ร่วมโครงการในครั ้งนี<br />

โครงการสถาปัตย์สัญจรมีความพยายามที่จะสร้างความหลากหลายให้มากขึ ้ น เพื่อตอบสนองทุกความสนใจของสมาชิก<br />

ทั ้งการจัดสัญจรในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการแทรกกิจกรรมเพื่อให้เกิดความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อสมาชิก<br />

โดยทั ้งนี ้ สมาชิกสามารถให้คำแนะนำหรือแจ้งความสนใจผ่านช่องทางติดต่อของสมาคมเพื่อการพัฒนากิจกรรมโครงการสถาปัตย์<br />

สัญจรให้ตอบโจทย์ทุกความต้องการในโอกาสต่อไป<br />

ทรงพจน์ สายสืบ<br />

ปฏิคม


สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมกรรมการบริหาร<br />

ประจาเดือนตุลาคม 25<strong>59</strong><br />

สมาชิกประเภท สามัญ ราย 5 ปี<br />

สมาชิกประเภท ภาคี รายปี<br />

สมาชิกประเภท สมทบ รายปี<br />

• บุคคลทั่วไป<br />

• นักศึกษา<br />

จำนวน 15 คน<br />

จำนวน 30 คน<br />

จำนวน 2 คน<br />

จำนวน - คน<br />

MEMBER CORNER<br />

ประจาเดือนพฤศจิกายน 25<strong>59</strong><br />

สมาชิกประเภท สามัญ ราย 5 ปี<br />

สมาชิกประเภท ภาคี รายปี<br />

สมาชิกประเภท สมทบ รายปี<br />

• บุคคลทั่วไป<br />

• นักศึกษา<br />

จำนวน 41 คน<br />

จำนวน 218 คน<br />

จำนวน 1 คน<br />

จำนวน - คน<br />

สมาชิกประเภท นิติบุคคล<br />

• ต่ออายุสมาชิก<br />

• ขึ ้ นทะเบียนใหม่<br />

จำนวน 5 บริษัท<br />

จำนวน - บริษัท<br />

สมาชิกประเภท นิติบุคคล<br />

• ต่ออายุสมาชิก<br />

• ขึ ้ นทะเบียนใหม่<br />

จำนวน 3 บริษัท<br />

จำนวน 3 บริษัท

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!