31.10.2014 Views

TNSC Newsletter : November 2012 Vol.3

TNSC Newsletter : November 2012 Vol.3

TNSC Newsletter : November 2012 Vol.3

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

EXPORT CORNER<br />

นวัตกรรมทางการค้า และบทบาทของกระทรวงด้านเศรษฐกิจ<br />

“นโยบายค่าแรง 300 บาททั่วประเทศใน ปี 2556 ส่งผลให้ประเทศไทย<br />

สูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันด้านแรงงานอย่างสมบูรณ์<br />

และตอกย้ำอย่างชัดเจนว่าประเทศไทยได้ติดกับดักเช่นเดียวกับ<br />

ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากที่ล้วนพึ่งพาแรงงานราคาถูกสำหรับ<br />

เป็นขีดความสามารถในการแข่งขัน จนละเลยการพัฒนาด้านเทคโนโลยี”<br />

เป็นคำกล่าวของ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการที่ประชุมสหประชาชาติ<br />

ว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD ในงานเปิดตัว “รายงาน<br />

เทคโนโลยีและนวัตกรรม <strong>2012</strong>” ซึ่งจัดโดยสถาบันระหว่างประเทศ<br />

เพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) โดยเนื้อหาในรายงานได้ชี้ให้เห็นถึง<br />

การเติบโตของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีระหว่างประเทศกำลังพัฒนา<br />

ที่มีสัดส่วนสูงถึง 55% เมื่อเทียบกับการค้าโลกในปี 2010 เทียบกับ<br />

สัดส่วนเพียง 41% ในปี 1995 แสดงให้เห็นถึงทิศทางการรวมกลุ่ม<br />

และการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งในปัจจุบันมีบทบาท<br />

ในการลงทุนมากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว<br />

อย่างไรก็ตาม เลขาธิการ UNCTAD ได้เน้นย้ำว่าการลงทุนและ<br />

พัฒนาในเทคโนโลยีก็ต้องมีการคัดเลือกและให้ความสำคัญ<br />

กับเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมและจำเป็นกับแต่ละประเทศ สำหรับ<br />

ประเทศไทยก็คือ เทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการ<br />

ทางการค้าและเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันยังมีอยู่น้อย การดำเนินการ<br />

หลายด้านที่เป็นองค์ประกอบก็ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยี<br />

อาทิ การพัฒนาด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยในปัจจุบันได้ให้<br />

ความสำคัญกับการ “ปกป้อง” สิ่งที่มีอยู่เพียงน้อยนิด แต่ยังไม่ได้<br />

ทุ่มเทให้มีการ “สร้าง” ทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถใช้ประโยชน์<br />

ทางการค้าให้มากขึ้น เป็นต้น<br />

ทั้งนี้ การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน<br />

มักจะเป็นการถ่ายทอดให้กับสมาชิกในซัพพลายเชนของตนเอง<br />

เป็นหลัก แต่ขีดจำกัดสำคัญคือประเทศผู้รับมีความพร้อมหรือไม่<br />

เพราะการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างประเทศที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน<br />

มาก นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้รับ หลายครั้งยังทำให้เกิด<br />

การสูญเสียทรัพยากรโดยใช่เหตุ ประเทศผู้รับจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา<br />

พื้นฐานของตนเองให้มีความพร้อมเสียก่อน<br />

ความเห็นของเลขาธิการ UNCTAD ข้างต้น สอดคล้องกับแนวทางของ<br />

สภาผู้ส่งออกฯ ที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการดำเนิน<br />

งานของภาครัฐว่า “กระทรวงเศรษฐกิจ” ไม่ได้มีแค่เพียงกระทรวง<br />

การคลัง กระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงอุตสาหกรรม เท่านั้น แต่<br />

การค้าและการลงทุนของไทยในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับหลาย<br />

กระทรวง อาทิ กระทรวงพลังงานกับบทบาทในการพัฒนาพลังงาน<br />

ทดแทนสำหรับภาคอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

กับบทบาทในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อทดแทนต้นทุนแรงงานที่<br />

สูงขึ้น กระทรวงคมนาคมกับบทบาทในการเพิ่มประสิทธิภาพด้าน<br />

โลจิสติกส์ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงแรงงานกับบทบาท<br />

ในการยกระดับศักยภาพแรงงานให้มี “Economies of Skills” และ<br />

สามารถปฏิบัติงานกับเทคโนโลยีจากประเทศที่พัฒนาแล้วได้เป็น<br />

อย่างดี สิ่งเหล่านี้คือตัวอย่างของนโยบายด้านเศรษฐกิจของ<br />

กระทรวงต่างๆ ซึ่งสภาผู้ส่งออกฯ จะมีการผลักดันให้เกิดการ<br />

เปลี่ยนแปลงแนวคิดการทำงานและให้มีการบูรณาการหน่วยงาน<br />

ภาครัฐเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการส่งออกให้เกิดขึ้นในระยะยาว<br />

สภาผู้ส่งออกฯ : สภาผู้ส่งสินค้า<br />

ทางเรือแห่งประเทศไทย แถลงข่าว<br />

ดัชนีการส่งออก<br />

(Export Performance Index)<br />

ประจำาเดือน กันยายน 2555<br />

มูลค่าการส่งออกของไทยในเดือนกันยายน 2555 เท่ากับ 20,788.4<br />

ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 0.2% ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 648,610.8<br />

ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.55% ในขณะที่มูลค่าการส่งออกในระยะ 9 เดือน<br />

แรกของปี มีมูลค่า 172,347.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 1.13%<br />

ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 5,346,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.17% โดย<br />

มูลค่าการส่งออกที่ยังลดลงดังกล่าวเกิดจากผลของการชะลอตัว<br />

ของเศรษฐกิจ ในประเทศคู่ค้าหลักของไทย<br />

อย่างไรก็ตาม การเติบโตของการส่งออกมีความแตกต่างกันในแต่ละ<br />

อุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตประกอบไปด้วยกระดาษ<br />

และสิ่งพิมพ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับเคมีภัณฑ์<br />

ปิโตรเลียม รถยนต์ เหล็ก ของใช้สัตว์เลี้ยง มันสำปะหลัง เครื่องครัว<br />

น้ำตาล อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ ไก่ อาหารทะเล พลาสติก ซึ่ง<br />

ต้องส่งเสริมโดยการพัฒนาตลาดใหม่เพิ่มเติม ในขณะที่อุตสาหกรรม<br />

ที่มีการเติบโตติดลบ อาทิ รองเท้า ผักและผลไม้ เครื่องจักร กุ้ง<br />

แช่เย็นแช่แข็ง สิ่งทอ อาหารสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์<br />

ยางและผลิตภัณฑ์ยาง และข้าว จำเป็นต้องหาทางแก้ไขปัญหาและ<br />

อุปสรรค เพื่อให้สามารถแข่งขันและรักษาตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบัน<br />

ได้ต่อไป<br />

ทั้งนี้ จากการประเมินสถานการณ์ล่าสุดของโครงการดัชนีการ<br />

ส่งออก พบว่าภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2555 อาจเติบโตอยู่<br />

ระหว่าง 4.6 - 5.9% ในขณะที่ทิศทางการส่งออกในไตรมาสแรก<br />

ของปี 2556 น่าจะเติบโตอยู่ที่ 5.5% และทั้งปี 2556 น่าจะเติบโต<br />

เป็นบวกเมื่อเทียบกับปี 2555<br />

4

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!