31.10.2014 Views

TNSC Newsletter : November 2012 Vol.3

TNSC Newsletter : November 2012 Vol.3

TNSC Newsletter : November 2012 Vol.3

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ซึ่งจากทิศทางข้างต้น เราสามารถสรุปแนวทางในการแข่งขันของ<br />

ธุรกิจในอนาคตได้ว่าการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรจะต้อง<br />

สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ประกอบไปด้วย<br />

1. Make Our Business More Sustainable :<br />

from Niche to Norm<br />

สิ่งสำคัญประการแรกคือ ธุรกิจต้องสามารถทำให้ลูกค้าและผู้บริโภค<br />

เกิดความมั่นใจทั้งในส่วนของบริษัท อุตสาหกรรม และซัพพลายเชน<br />

ของเรา ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ครั้งใหญ่ ควบคู่<br />

ไปกับการทำให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงความสำคัญในการเปลี่ยนแปลง<br />

แนวทางการทำธุรกิจและการดำรงชีวิตจากเดิมไปสู่ไลฟ์สไตล์<br />

เพื่อสิ่งแวดล้อม และการทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ของกิจการ<br />

เพื่อทำให้มีการยกระดับการทำงานให้มีมาตรฐานเป็นหนึ่งเดียวกัน<br />

ซึ่งจะทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างยั่งยืน<br />

2. Optimize a Shared Supply Chain :<br />

Collaboration Differently, Complete<br />

Differently<br />

จากทิศทางในการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นของ<br />

ผู้บริโภค จะทำให้บริษัทและซัพพลายเชนทั้งหมดต้องร่วมกันกำหนด<br />

ตัวชี้วัดการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 2 รายการ ประกอบ<br />

ไปด้วย จำนวนการปล่อย CO2 ลดน้อยลง และปริมาณการใช้<br />

พลังงาน<br />

3. Engage with technology - Enabled<br />

Consumers : the Consumer in the<br />

Driver’s Seat<br />

การเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีของผู้บริโภคจะทำให้ลักษณะ<br />

การดำรงชีวิตและการเลือกซื้อสินค้าเปลี่ยนแปลงไป ทุกที่ ทุกแห่ง<br />

ทุกเวลา สามารถกลายเป็นตลาดได้สำหรับผู้ที่มีโทรศัพท์มือถือ<br />

ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต้องหาทางตอบสนองความต้องการ<br />

เหล่านี้ โดยพัฒนา Application ที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว มี<br />

การลงทุนในระบบการตรวจสอบข้อมูลที่สามารถเชื่อถือได้ และ<br />

การเพิ่มบทบาทของผู้บริโภคเมื่อมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น<br />

โดยสินค้าเพื่อสุขภาพจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นในทุกระดับราคา<br />

ลูกค้าจะมีการเลือกซื้อสินค้าเหล่านี้มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ<br />

เจ็บป่วย เพื่อทำให้มีอายุยืนมากขึ้น ซึ่งธุรกิจสามารถตอบสนองความ<br />

ต้องการเหล่านี้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการทำธุรกิจไป<br />

สู่การพัฒนาร่วมกันในซัพพลายเชน เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่มี<br />

ความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด<br />

จากกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว บริษัทยักษ์ใหญ่จำนวนมาก<br />

ได้มีการปรับตัว ทั้งในส่วนของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร และ<br />

การร่วมมือกับสมาชิกในโซ่อุปทานเพื่อให้สามารถรองรับความ<br />

ต้องการของผู้บริโภคในอนาคต โดยมีการนำเสนอเป็นกรณีศึกษา<br />

เพื่อให้เห็นแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ซึ่งท่านสมาชิกสามารถ<br />

Download รายงาน Future Value Chain 2020 ฉบับเต็ม ได้ที่<br />

www.futurevaluechain.com<br />

สำหรับผู้ประกอบการไทย สิ่งที่เรียนรู้ได้จาก Future Value Chain<br />

2020 คือโจทย์สำหรับการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมและการค้า<br />

ซึ่งแม้ว่าลักษณะของตลาดในประเทศไทยจะไม่ได้เหมือนกับ<br />

ประเทศที่เจริญแล้ว แต่โลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันจะทำให้พฤติกรรม<br />

ผู้บริโภค และการรับรู้ของผู้บริโภคถึงกระแสของตลาดในต่างประเทศ<br />

จะทำให้เกิดการลอกเลียนแบบและการถ่ายโอนเทคโนโลยีต่างๆ<br />

อย่างรวดเร็ว แม้ว่าปัจจัยหลายอย่างในประเทศไทยจะแตกต่างไป<br />

แต่ผู้บริโภคอาจเรียกร้องหรือคัดเลือกสินค้าและบริษัทที่เป็นไป<br />

ตามกระแสที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ส่งออกที่ทำธุรกิจ<br />

ร่วมกับ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จำเป็นต้องเกาะกระแส<br />

ดังกล่าว เพื่อให้สินค้าของตนเองสามารถอยู่รอดได้ในตลาด<br />

ทั้งนี้ การพัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่<br />

เปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญ<br />

และใช้ความพยายามในการสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิก<br />

ในซัพพลายเชนเพื่อยกระดับการบริหารจัดการและทำให้เกิดเป็น<br />

Trusted Industry และสามารถลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการ<br />

ปฏิบัติไม่ได้มาตรฐานโดยสมาชิกรายใดรายหนึ่งในซัพพลายเชน<br />

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยความเชื่อใจและระยะเวลาใน<br />

การทำงานร่วมกัน ดังนั้นภาคธุรกิจจึงต้องเริ่มดำเนินการนับตั้งแต่<br />

บัดนี้เป็นต้นไป<br />

4. Serve the Health and Well-being of<br />

Consumers : Focus on Quality of Life<br />

ผู้บริโภคจำนวนมากจะเพิ่มความเอาใจใส่ในสุขภาพของตนเอง<br />

มากขึ้นทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และความเป็นอยู่ที่ดี<br />

Volume 3 ❘ <strong>November</strong> ❘ <strong>2012</strong><br />

7

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!