04.08.2016 Views

DoiNhok Phayao Perspectives

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

2 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 กันยายน 2559<br />

ดอยหนอก :<br />

ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

บรรณาธิการ<br />

ปกและศิลปกรรม<br />

สุนทร สุขสราญจิต<br />

กฤษณพงษ์ บุญจันทร์<br />

สุนทร สุขสราญจิต<br />

นักเขียน นาระดา สนามทอง, จารุมน งิ้วทั่ง, ณัฐพล ปีอาทิตย์, ชัยวัฒน์ วงศ์นภาไพศาล,<br />

บุญวิภา สินธุชัย, ณรงค์ฤทธิ์ จิตรบรรจง, อํานาจ ศรสุกอง, สุขสอน อักษร,<br />

นนทฤทธิ์ มูลศรี, อภิชัจ สุดเฉลียว, กมลชนก ด้วงคํา, แพรวพรรณ ทองแจ่ม,<br />

กฤษณพงศ์ บุญจันทร์, ณัฐพล องการ<br />

ที่ปรึกษา รองศาสตรจารย์พรรณยุพา นพรัก, รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล, ผศ.มนตรา พงษ์นิล,<br />

รศ.ดร.พระครูโสภณปริยติสุธี, อาจารย์วิมล ปิงเมืองเหล็ก, อาจารย์แคะเว่น<br />

ศรีสมบัติ, อาจารย์ถิรายุส์ บําบัด, อาจารย์วัชรินทร์ แก่นจันทร์<br />

สนับสนุนโครงการ<br />

สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะยา


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

3<br />

ดอยหนอก :<br />

ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง


4 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

แด่<br />

ทุก ๆ รอยเท้าที่ค่อย ๆ บรรจงบดเบียดผงดิน<br />

จนกลายเป็นเส้นทางบุญ


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

5<br />

บทบรรณาธิการ<br />

สุนทร สุขสราญจิต<br />

ผู้เขียนขึ้นดอยหนอกครั้งแรกในเดือน<br />

กุมภาพันธ์ 2540 ตอนนั้นเพิ่งสอบปลายภาคชั้น<br />

มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เสร็จไป<br />

หมาด ๆ<br />

จําได้ว่า ขึ้นดอยหนอกไป 3 วัน แต่กลับมานอน<br />

นิ่ง ๆ เพราะร่างร้าวไป 3 คืน ถึงจะเดินเหินเป็นปกติได้<br />

กระนั้น ความหลาบจําก็เป็นเสียงเพียงแผ่วใน<br />

หัวใจ เมื่อเทียบกับเสียงดอยหนอกที่ร้องเรียกให้ไปเยี่ยม<br />

หา ยิ่งในยามเดินทางผ่านกว๊านพะเยา แล้วแหงนมอง<br />

จากวันนั้นถึงวันนี้ ผู้เขียนขึ้นดอยหนอกทั้งหมด<br />

6 ครั้ง ใน 4 ครั้งแรกมุทะลุขึ้นไปในช่วงเวลาเพียง 2 ปี<br />

ดีกรี<br />

เคยไปทั้งยามหน้าแล้งร้อนเหม็นไฟปุา<br />

ทั้งในยามหนาวเหน็บเข้ากระดูกจนต้องซด 28<br />

ทั้งในยามฝนกระหน่ําซัดทําเต็นท์และผ้าห่ม<br />

เปียก จนต้องลุกออกมาจุดไฟผิงกายตลอดทั้งคืน อีกทั้ง<br />

เมื่อกลับมายังบ้าน ก็ยังพบว่ามีของฝาก เป็นซากทากตาย<br />

ในร่มผ้ามาอีกด้วย<br />

ผู้เขียนเคยไปทั้งในฐานะผู้ตาม เดินต้อย ๆ ในใจ<br />

พร่ําคิดว่าเมื่อไหร่จะถึง และเคยไปทั้งในฐานะผู้นําทาง<br />

จนตนเองและเพื่อน ๆ หลงอยู่กลางปุาในค่ําคืนที่มอง<br />

แม้กระทั่งมือตัวเองไม่เห็น นอกจากนั้น ยังเคยใช้เส้นทาง<br />

ที่ยาวไกล สูงชัน และแสนลําบากนี้ ให้ผู้นํานิสิตจิต<br />

สาธารณะ ผู้ขัดแย้งกันทางความคิด ได้เรียนรู้ตัวตนของ<br />

กันและกันโดยไม่ต้องใช้คําพูดใดอีกด้วย<br />

และไม่ว่าจะเป็นเช่นใด ทุกครั้งเที่ยวของการ<br />

เดินทาง ผู้เขียนก็จะรู้สึกถึงบางสิ่งบางอย่าง ที่คอย<br />

ช่วยเหลือระหว่างทางอยู่เสมอ...<br />

ทั้งช่วยไม่ให้หลงไปไกลเกิน ไม่ให้เดินพลัดไปใน<br />

หุบเหว หรือถึงที่หมายก่อนพายุใหญ่เข้าซัดอย่างหวุดหวิด<br />

ฯลฯ<br />

ดังนั้น แม้นคนนอกจะมองว่าการขึ้นดอยหนอก<br />

คือการพิชิต แต่นักเดินทางทุกท่านย่อมจะรู้ดีว่า สิ่งที่เรา<br />

ขึ้นไปพิชิต มิใช่ดอยหนอก แต่คือข้อจํากัดของตัวเราเอง<br />

โดยเราใช้หยาดเหงื่อ พลีมันเพื่อสักการธรรมชาติและสิ่ง<br />

ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย


6 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

จากเด็กมัธยมปลายจนกลายมาเป็นอาจารย์<br />

จากครั้งแรกเมื่อปี 2540 กระทั่งครั้งล่าสุดในปี 2557 จาก<br />

เพียงการเดินปุาในครั้งนั้น สู่การเดินทางรวบรวมองค์<br />

ความรู้ในครั้งนี้ มิอาจเรียกเป็นอย่างอื่นได้ นอกเสียจาก<br />

โชคชะตา<br />

ในฐานะบรรณาธิการและอาจารย์ ผู้เขียน<br />

ขอขอบคุณคณะทํางานทุกคน เพราะมิใช่เพียงแรงกาย<br />

เท่านั้น เรี่ยวแรงทางปัญญาก็ต้องถูกขับออกมาผลิต<br />

วารสารฉบับนี้อยู่มากเช่นกัน และก็มิใช่เพียงแรงปัญญา<br />

เท่านั้น หากต้องมีแรงศรัทธาเสริมต่อด้วยถึงจะสามารถ<br />

ผลิตงานชิ้นนี้ออกมาได้ในระยะเวลาเพียง 5-6 เดือน<br />

ท่ามกลางภาระที่ต่างคนต่างมี<br />

แน่นอน ถึงที่สุด ย่อมต้องมีข้อผิดพลาดไม่มากก็<br />

น้อย ในฐานะบรรณาธิการ ผู้เขียนเห็นว่าก็คงเฉกเช่นการ<br />

เดินปุา การกลัวหลง กลัวเดินผิดเส้นทาง ด้วยการไม่ยกขา<br />

ก้าว ก็คงมิสามารถเรียกได้ว่าเป็นการเดินทางแต่อย่างใด<br />

และในทางหนึ่ง การหลงทาง การนําเสนอข้อมูลผิดพลาด<br />

ก็อาจเป็นหนทางหนึ่งในการพบทางและข้อมูลที่ถูกต้องได้<br />

หวังว่าผู้อ่านจะกรุณาชี้ทางให้เมื่อพบ และให้<br />

อภัยความพลาดพลั้งทั้งหมดที่มี<br />

สําหรับวารสารพะเยาปริทัศน์นี้ เกิดขึ้นเพื่อสาน<br />

ต่อเจตนารมณ์ของรายวิชาพะเยาศึกษา ที่ต้องการ<br />

รวบรวม บันทึก ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้ต่าง ๆ ว่า<br />

ด้วยพะเยา<br />

น่าเสียดายที่วิชานี้กําลังจะหมดลมหายใจไปแล้ว<br />

วารสารพะเยาปริทัศน์ มุ่งหวังจะเป็นพื้นที่ใน<br />

การตีพิมพ์เรื่องราว แง่มุม และมุมมองต่าง ๆ เกี่ยวกับ<br />

พะเยา จะเพียงบอกเล่าในชั้นพื้นผิว เพื่อบันทึกเป็นความ<br />

ทรงจํา หรือจะลงลึกถึงชั้นหิน เพื่อเจาะใจความสําคัญ ก็<br />

ย่อมได้ แต่ทั้งหมดก็จะกลายเป็นข้อถกเถียงและสนทนา<br />

ต่อ และไม่ว่าข้อมูลจะ “สาน” หรือ “สาง” กัน เหล่านี้ก็<br />

คือการ “ปริทัศน์” พะเยา เข้าแล้ว<br />

วารสารพะเยาปริทัศน์ ฉบับแรก ๆ ไม่ว่าจะเล่ม<br />

ดอยหนอก ที่ถืออยู่นี้ หรือเล่ม ร้านอาหารเก่าแก่ ภูลังกา<br />

แม่ญิงพะเยา สุราพะเยา นางสาวพะเยา กว๊านพะเยา<br />

และงานศพคนพะเยา ทั้งหมดเกิดขึ้นในรายวิชาสัมมนา<br />

ของนิสิตรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 รหัส 56 โดยมีวิชาพะเยา<br />

ศึกษา เป็นผู้สนับสนุนการนําเสนอผลงาน เพื่อให้อาจารย์<br />

ปราชญ์ และผู้รู้เรื่องเมืองพะเยาอย่าง รศ.ดร.ไชยันต์<br />

รัชชกูล, ผศ.มนตรา พงษ์นิล, รศ.ดร.พระครูโสภณปริยัติ-<br />

สุธี, อาจารย์วิมล ปิงเมืองเหล็ก, อาจารย์แคะเว่น<br />

ศรีสมบัติ, อาจารย์ถิรายุส์ บําบัด, อาจารย์วัชรินทร์<br />

แก่นจันทร์, และคุณอัฒฑชัย เอื้อหยิ่งศักดิ์ ได้ให้<br />

ข้อแนะนํา ผู้เขียนจึงขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาใน<br />

โอกาสนี้ และหวังว่าวารสารพะเยาปริทัศน์จะเป็นที่พบปะ<br />

กันทางความคิดเรื่องพะเยากันต่อไป<br />

ZEN Home Resort and Garden <strong>Phayao</strong><br />

2 สิงหาคม 2559


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

7<br />

สารบัญ<br />

เรื่อง หน้า<br />

1. บทบรรณาธิการ.......................................................................................................................................สุนทร สุขสราญจิต 5<br />

2. บทนํา...........................................................................................................................ณัฐพล ปีอาทิตย์ สุนทร สุขสราญจิต 9<br />

3. ดอยหนอก : ธรรมชาติ สภาพแวดล้อม และอุทยานแห่งชาติดอยหลวง.......สุนทร สุขสราญจิต 10<br />

4. ดอยหนอก : เรื่องเล่าและประวัติศาสตร์การสร้างพระธาตุ......................................นาระดา สนามทอง 11<br />

5. ตํานานดอยหนอก...............................................................................................................................................จารุมน งิ้วทั่ง 16<br />

6. มีอะไรบนดอยหนอกและระหว่างทาง...................................................................................กฤษณพงษ์ บุญจันทร์ 17<br />

7. เก่ากว่าพระธาตุดอยหนอก และอื่นใดในพะเยา คือ เจดีย์ดอยหลวงโดยชาวลัวะ (?)<br />

...........................................................ชัยวัฒน์ วงศ์นภาไพศาล 25<br />

8. ดอยหนอก : มากกว่าแรงกายคือแรงศรัทธา.............................................................................บุญวิภา สินธุชัย 28<br />

9. สิ่งลี้ลับบนดอยหนอก......................................................................................................................ณรงค์ฤทธิ์ จิตรบรรจง 30<br />

10. อุทยาน ฯ กับชาวบ้าน.............................................................................................................................อํานาจ ศรสุกอง 32<br />

11. แร่ธาตุบนดอยหนอก........................................................................................................................................สุขสอน อักษร 33<br />

12. ลูกหาบบนดอยหนอก.................................................................................................................................นนทฤทธิ์ มูลศรี 34<br />

13. กลยุทธ์การอนุรักษ์ธรรมชาติบนดอยหนอก..............................................................................อภิชัจ สุดเฉลียว 36<br />

14. กระเช้าขึ้นดอยหนอก : ความเห็นกระแสลัก............................................................................กมลชนก ด้วงคํา 37<br />

15. กระเช้าขึ้นดอยหนอก : กระแสความเห็นต่างและวิวาทะ.....................................แพรวพรรณ ทองแจ่ม 39<br />

16. ดอยหนอกและบทบาทของผู้นํา..............................................................................................................ณัฐพล องการ 42<br />

17. ดอยหนอก : บันทึกการเดินทางขึ้นและเขียน................................................................กฤษณพงษ์ บุญจันทร์ 44<br />

18. เพลงดอยหนอก พะเยาปริทัศน์......................นาระดา สนามทอง กฤษณพงษ์ บุญจันทร์ จารุมน งิ้วทั่ง 49<br />

19. บรรณานุกรม.................................................................................................................................................................................... 50


8 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

เส้นทางหลัก 3 สายสู่ดอยหนอก<br />

(ปรับปรุงจาก google map)


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

9<br />

บทนํา<br />

ณัฐพล ปีอาทิตย์<br />

สุนทร สุขสราญจิต<br />

ด้วยความที่เป็นภูเขาแสนประหลาด รูปร่าง<br />

คล้ายหนอกวัว โด่เด่บนแนวเทือกเขาผีปันน้ําที่สูงที่สุด<br />

ดอยหนอกจึงเป็นที่สะดุดตาเรื่อยมา<br />

เมื่อสะดุดตา รูปธรรมของดอยหนอก จึง<br />

กลายเป็นพื้นที่ว่าง เติมเต็มด้วยนามธรรมมากมาย<br />

ไม่ว่าจะในนามความเชื่อ ศรัทธา และศาสนา<br />

ผ่านการค้นพบรอยพระพุทธบาทบนโขดหิน การสร้าง<br />

สถูปเจดีย์ และพระพุทธรูปน้อยใหญ่ ตลอดจนการ<br />

เชื่อมโยงกับพญานาค และพระเจ้าตนหลวง<br />

หรือจะในนามการเดินปุา ไต่หน้าผา และการ<br />

พิชิต ซึ่งเป็นกิจกรรมของชนชั้นกลาง ในนามเวลาว่างและ<br />

การท่องเที่ยว นับตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เรื่อยมา<br />

หรือจะในนามการอนุรักษ์ ซึ่งดอยหนอกตั้งอยู่<br />

กลางปุาที่ถูกยกเป็นอุทยานแห่งชาติ<br />

นับรวมถึงการเป็นแหล่งแร่ ไม้ปุา และ<br />

สิงสาราสัตว์ ซึ่งสามารถถูกมองในนามการพาณิชย์ หรือ<br />

ปากท้องได้<br />

หรือหากเราจะมองย้อนถอยเวลาไปหน่อย เมื่อ<br />

ปุายังถูกให้คํานิยามว่าเป็นพื้นที่ไกลปืนเที่ยง อุดมด้วย<br />

สิงสาราสัตว์ร้าย เส้นทางค้าและถ่ายเทยาเสพติดก็แทรก<br />

ผสานบนเส้นทางนี้อย่างปลอดภัย<br />

ยิ่งเราถอยเวลาห่างไปไกล เจดีย์ร้างบนยอดดอย<br />

หลวง แนวกําแพงธรรมชาติกั้นระหว่างชุมชน ก็อาจเป็น<br />

บันทึกถึงความเชื่อต่อเจ้าที่เจ้าทางที่สถิตเชื่อมกลาง<br />

ระหว่างพื้นที่ก็ย่อมได้ เช่นกัน<br />

วารสารพะเยาปริทัศน์ ฉบับดอยหนอก นี้ เป็น<br />

การพยายามรวบรวมแง่มุมต่าง ๆ ที่ผู้คนมีต่อดอยหนอก<br />

ดังข้างต้น ซึ่งพวกเราพบว่า ผู้คนมีแง่มุมที่ใช้มองดอย<br />

หนอกแตกต่างกันไป บ้างก็เป็นมุมมองเชิงเดี่ยว เช่น ไม่<br />

เน้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสุดขีด ก็เน้นในเชิงอนุรักษ์<br />

อย่างสุดโต่ง แต่โดยมากกลุ่มผู้คนก็ใช้แง่มุมต่าง ๆ<br />

ผสมผสานกัน เช่น เน้นเศรษฐกิจแต่พ่วงเอาการอนุรักษ์<br />

เข้าไปด้วย เน้นการรักษาปุา โดยผสานความเชื่อและ<br />

ศาสนาเข้าเสริม หรือบางส่วนก็มองว่าปุากับคน เขต<br />

อนุรักษ์กับชาวบ้านก็ไม่ควรแยกออกจากกัน เป็นต้น<br />

และกระทั่งล่าสุด การมองในมุมท่องเที่ยวและ<br />

รายได้ ผสานกับมุมอื่น ๆ ดอยหนอกก็ยังเป็นพื้นที่ที่ถูก<br />

นําเสนอให้มีการสร้างกระเช้าไฟฟูา


10 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

ดอยหนอก : ธรรมชาติ สภาพแวดล้อม<br />

และอุทยานแห่งชาติดอยหลวง<br />

ดอยหนอก เป็นเขาหินปูนคล้ายหนอกของวัว<br />

ตั้งตระหง่านอยู่บนความสูง 1,077 เมตรจาก<br />

ระดับน้ําทะเลปานกลาง เป็นส่วนหนึ่งในเขตอุทยาน<br />

แห่งชาติดอยหลวง ซึ่งมียอดดอยหลวงเป็นจุดสูงสุด<br />

ของสันเขาที่ความสูง 1,694 เมตรจากระดับน้ําทะเล<br />

ปานกลาง 1 อุทยานแห่งชาติดอยหลวงมีอา ณาเขต<br />

ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ พะเยา ลําปาง และ<br />

เชียงราย มีเนื้อที่ทั้งหมด 731,250 ไร่ หรือ 1,170 ตาราง<br />

กิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติลําดับที่ 61 ของประเทศ<br />

ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 16 เมษายน<br />

2533 โดยยกฐานะมาจากวนอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง คือ<br />

วนอุทยานน้ําตกจําปาทอง (พะเยา) วนอุทยานน้ําตกผา<br />

เกล็ดนาค (พะเยา) วนอุทยานน้ําตกปูแกง (เชียงราย)<br />

และวนอุทยานน้ําตกวังแก้ว (ลําปาง)<br />

อุทยานแห่งชาติดอยหลวงตั้งอยู่ในเขตเทือกเขา<br />

ผีปันน้ํา สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนทอดตัว<br />

ตามแนวยาวจากเหนือลงมาใต้ สภาพดินเป็นดินลูกรังผสม<br />

หินโดยเฉพาะบนยอดเขา ส่วนบริเวณหุบเขา ดินจะมีสีดํา<br />

อุดมด้วยแร่ธาตุ สภาพปุาประกอบด้วยปุาไม้ 5 ประเภท<br />

คือ ปุาเบญจพรรณ ปุาเต็งรัง ปุาดิบชื้น ปุาดิบแล้ง และปุา<br />

สนเขา มีบางส่วนเป็นพื้นที่ลุ่มน้ําชั้นที่ 1A หรือพื้นที่ต้นน้ํา<br />

ลําธารที่ยังมีสภาพปุาสมบูรณ์ ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ําวัง ทางฝั่ง<br />

ลําปาง ไหลลงสู่แม่น้ําลาว ทางฝั่งเชียงราย 2 ส่วนทางฝั่ง<br />

พะเยาจะกลายเป็นแม่น้ําตุ่น แม่น้ําต๊ํา แม่น้ําต๋อม<br />

1 สํานักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปุา และพันธุ์พืช, ดอย<br />

ห ล ว ง -ด อ ย ห น อ ก , จ า ก<br />

http://park.dnp.go.th/visitor/scenicshow.php?id=215, (สืบค้นเมื่อ<br />

วันที่ 2 กรกฎาคม 2559)<br />

2<br />

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง, อุทยานแห่งชาติดอยหลวง, จาก<br />

http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid<br />

=143&lg=1, (สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2559)<br />

แม่น้ําต๋ํา แม่น้ําแม่ใส และแม่น้ําร่องคํา ซึ่งทั้งหมดไหลลงสู่<br />

กว๊านพะเยา 3<br />

เส้นทางขึ้นดอยหนอกและดอยหลวงจะมีอยู่ 5<br />

เส้นทาง จาก 4 จุดเริ่มต้น คือ<br />

1. เส้นทางจากบ้านต๋อมใน ตําบลบ้านต๋อม<br />

อําเภอเมืองพะเยา หรือบ้านห้วยหม้อ<br />

ตําบลบ้านตุ่น อําเภอเมืองพะเยา รวม<br />

ระยะทางประมาณ 8-10 กิโลเมตร<br />

2. เส้นทางจากบ้านปงถ้ํา อําเภอวังเหนือ<br />

จังหวัดลําปาง รวมระยะทางประมาณ 4-8<br />

กิโลเมตร (ขึ้นอยู่กับจะเดินด้วยเท้าจากตัว<br />

หมู่บ้านหรือเริ่มในจุดที่รถไปไม่ถึง)<br />

3. เส้นทางจากบ้านปากบอก อําเภองาว<br />

จังหวัดลําปาง (ถนนพะเยา-เชียงใหม่) รวม<br />

ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร<br />

4. เส้นทางจากอ่างเก็บน้ําแม่ตุ่น ซึ่งเดินทาง<br />

ไปได้ 2 เส้นทาง<br />

การเดินทางขึ้นดอยหนอกไม่ว่าจะเส้นทางไหน<br />

จําเป็นที่จะต้องมีผู้นําทาง เนื่องจากเป็นเส้นทางเดินปุา<br />

แคบ ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้นนักเดินทางต้องตระเตรียม<br />

ร่างกายให้พร้อม เนื่องจากเรียกได้ว่าเป็นเส้นทางที่แสน<br />

ทรหด มีทั้งการเดินในปุาโปร่ง ปุาดิบชื้น ทุ่งหญ้า ไต่หิน<br />

เดินเลียบหน้าผาสูง ฯลฯ นอกจากนั้น หากไม่จ้างลูกหาบ<br />

นักเดินทางก็ต้องแบกข้าวของเครื่องใช้ขึ้นไปเอง เพราะไม่<br />

มีร้านขายของอยู่บนนั้น ไม่มีทั้งไฟฟูา ประปา หรือ<br />

แม้กระทั่งห้องน้ํา (แต่ปัจจุบันมีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ<br />

เกือบทุกค่าย) สิ่งอํานวยความสะดวกที่มี ได้แก่ ศาลาพัก<br />

ด้านบน ซึ่งมีเครื่องครัว หม้อ ไห จาน ชาม ช้อน ถังน้ํา<br />

และผ้าปู ผ้าห่ม (ตามสภาพ) ให้หยิบยืม ส่วนน้ําใช้และน้ํา<br />

กิน นักเดินทางต้องเดินลงไปกรอกน้ําจากตาน้ํา ซึ่งห่าง<br />

จากจุดกางเต็นท์ไปประมาณ 1 กิโลเมตร<br />

3 สัมภาษณ์ อ.วิมลปิง เมืองเหล็ก ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา, วันที่<br />

สัมภาษณ์ 12 กุมภาพันธ์ 2559


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

11<br />

ดอยหนอก :<br />

เรื่องเล่าและประวัติศาสตร์การสร้างพระธาตุ<br />

นาระดา สนามทอง<br />

การพบรอยพระพุทธบาทและการเริ่มต้น<br />

สร้างพระธาตุดอยหนอก เท่าที่ค้นพบ มีคําบอกเล่า<br />

แบ่งออกเป็น 4 ทาง<br />

ในทางแรก เชื่อกันว่าครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่ง<br />

ล้านนา เป็นผู้ค้นพบรอยพระพุทธบาทบนดอยหนอกจาก<br />

การเดินธุดงค์จากจังหวัดพะเยาไปจังหวัดลําพูนและ<br />

เชียงใหม่ แต่ก็ยังไม่มีการสร้างพระธาตุดอยหนอกใน<br />

ช่วงเวลานั้นแต่อย่างใดกระทั่งในปี พ.ศ. 2482 หนึ่งปี<br />

หลังจากที่ครูบาศรีวิชัยมรณภาพ ก็จึงมีการสร้างพระธาตุ<br />

บนดอยหนอกขึ้น 4 แต่ก็ไม่พบว่าใครเป็นผู้สร้างและไม่มี<br />

บันทึกถึงรูปร่าง ขนาด สัณฐานของพระธาตุแต่อย่างใด<br />

ผู้คนจะได้รู้ว่า พระพุทธเจ้าเคยมาเหยียบเมืองไทยมา<br />

ก่อน 6 ในทางที่สี่ ผนวกเอาคําบอกเล่าที่สองและสาม<br />

เข้าด้วยกัน กล่าวคือ ผู้ค้นพบรอยพระพุทธบาท ก็คือ ครู<br />

บานันตา นันโท พระลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัย (การเป็น<br />

ลูกศิษย์นี้ อาจเป็นเหตุผลของความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน<br />

ของชาวบ้านบางคนที่ว่าครูบาศรีวิชัยมาสร้างด้วยตนเอง)<br />

ผู้นําปูนมาปิดทับรอยพระพุทธบาทบนหิน หลังจากนั้น<br />

พระขาวแก้วก็ได้สร้างพระธาตุ 3 ชั้นครอบพระพุทธบาท<br />

ไว้<br />

7<br />

สําหรับ พระขาวแก้วนั้น แม้ว่าจะได้รับสมญา<br />

นามว่า “พระ” แต่ก็มิได้บวชเป็นพระภิกษุแต่อย่างใด<br />

ท่านเป็นผู้ถือศีล 5 อย่างเคร่งครัด นุ่งขาวห่มขาวตลอด<br />

อีกทั้งมีคาถาอาคม จึงได้รับการเรียกดังนั้น<br />

ในทางที่สอง สันนิษฐานว่าครูบานันตา นันโท<br />

แห่งวัดทุ่งม่านใต้ อําเภอเมือง จังหวัดลําปาง เป็นผู้ค้นพบ<br />

รอยพระพุทธบาท และได้นําปูนเททับปิดไว้ เพื่อปูองกัน<br />

การถูกทําลาย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2468 5<br />

ในทางที่สาม มีคําบอกเล่าไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2497<br />

นายแก้ว รักบุตร หรือที่รู้จักกันในนาม “พระขาวแก้ว” ผู้<br />

เป็นเสมือนนักบุญในแถบพื้นที่ อําเภอแม่เจดีย์ จังหวัด<br />

เชียงราย อําเภอวังเหนือ จังหวัดลําปาง และอําเภอเมือง<br />

จังหวัดพะเยา ได้ขึ้นไปสร้างพระธาตุครอบรอยพระพุทธ<br />

บาทไว้ โดยรอยพระพุทธบาท มีขนาดกว้าง 2 ฝุามือ และ<br />

ยาว 1 ศอก จุดประสงค์ที่สร้างก็เพื่อให้คนรู้ว่ามีรอย<br />

พระพุทธบาทอยู่ที่นั่น และให้คนได้ไปสักการบูชา หรือ<br />

4 ช้อมูลจากการสัมภาษณ์ นายเสน่ห์ ซองดี (ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา จ.ลําปาง),<br />

อาจารย์สุวัตร์ เลิศชยันตรี (บ้านแสงธรรมชาติ จ.พะเยา), นายอนุชา รัศมี<br />

(เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยหลวง จ.พะเยา), และนายสุพล ศรีชัย<br />

(รองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลบ้านตุ่น จ.พะเยา)<br />

5<br />

จาก facebook ประเพณีทรงน้ํารอยพระพุทธบาทดอยหนอก,<br />

https://www.facebook.com/<strong>DoiNhok</strong><strong>Phayao</strong>/ วันที่ 1 มิถุนายน<br />

2559, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559<br />

นายแก้ว รักบุตร หรือ พระขาวแก้ว<br />

อนุเคราะห์ภาพโดย นางแก้วไหลมา รักบุตร<br />

6 สัมภาษณ์ นางแก้วไหลมา รักบุตร (ภรรยาพระขาวแก้ว) อายุ 83 ปี ,<br />

บ้านแม่เลี้ยบ ต.ทุ่งฮั้ว อ.วังเหนือ จ.ลําปาง, วันที่สัมภาษณ์ 19 พฤษภาคม<br />

2559<br />

7 สัมภาษณ์ อาจารย์สุวัตร์ เลิศชยันตรี (บ้านแสงธรรมชาติ จ.พะเยา)


12 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

นางแก้วไหลมา รักบุตร ผู้เป็นภรรยาของพระ<br />

ขาวแก้วได้บอกเล่าไว้ว่า ก่อนที่จะไปสร้างพระธาตุดอย<br />

หนอก พระขาวแก้วได้นั่งสมาธิและภาวนาจิต จึงรู้ว่ามี<br />

รอยพระพุทธบาทอยู่บนยอดดอยหนอก<br />

คําบอกเล่าเรื่องเวลาการสร้างพระธาตุของนาง<br />

แก้วไหลมา สอดคล้องกับคําบอกเล่าของหนานอ้าย หรือ<br />

นายอ้าย ทองชัย อายุ 80 ปี ปราชญ์ชาวบ้านประจําศูนย์<br />

เรียนรู้ชุมชน หมู่ 5 บ้านห้วยหม้อ จังหวัดพะเยา ซึ่งได้ให้<br />

ข้อมูลว่า มีการสร้างพระธาตุดอยหนอกขึ้นในขณะที่<br />

ตนเองมีอายุได้ประมาณ 30 ปี เพราะก่อนหน้านั้นได้เข้า<br />

ไปหาของปุาตลอด แต่ไม่มีพระธาตุแต่อย่างใด ตลอดจน<br />

นางแก้ว หาดไร่ (อายุ 73 ปี) ชาวพะเยาเชื้อสายลัวะ<br />

บ้านต๊ํากลาง ซึ่งได้เล่าว่าเคยเห็นพระขาวแก้วตอนอายุราว<br />

10 ขวบ พระขาวแก้วได้ลงมาจากการสร้างพระธาตุบน<br />

ดอยหนอกแล้วเดินทางมาที่หมู่บ้านของตน 8<br />

จากคําบอกเล่าของทั้งสองจึงประมาณการได้ว่า<br />

พระธาตุดอยหนอกถูกสร้างครั้งแรกเมื่อ 50-63 ปีที่แล้ว<br />

หรือก็คือปี พ.ศ. 2497 ตามคําบอกเล่าของนางแก้วไหล<br />

มา นั่นเอง<br />

อย่างไรก็ตาม ประวัติการสร้างพระธาตุดอย<br />

หนอกนี้ โดยมากผู้คนสองฟากฝั่งพะเยาและลําปาง จะ<br />

เชื่อว่า ผู้ที่มาค้นพบคือครูบาศรีวิชัยมากกว่า และเรื่องการ<br />

สร้างโดยพระขาวแก้ว จะมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ยืนยัน<br />

เรื่องนี้<br />

ชั้น หรือในทางภาคเหนือเรียกว่า แท่นแก้วหรือรัตน<br />

บัลลังก์สามชั้น ก็ได้สร้างยอดเจดีย์ทรงระฆังคว่ําเพิ่มต่อ<br />

จากฐานบัลลังก์ขึ้นไป ทําให้ลักษณะดังกล่าวคล้ายกับพระ<br />

ธาตุของพุกาม พร้อมกับนํารอยพระพุทธบาทจําลอง ทํา<br />

ด้วยโลหะทองเหลืองขนาดกว้าง 0.75 เมตร ยาว 1.5<br />

เมตร ไปประดิษฐานในตัวพระธาตุอีกด้วย<br />

ทั้งนี้ ภายใต้การนําของอาจารย์สุวัตร์ยังมีการนํา<br />

กระจกขึ้นไปติดบริเวณรอบฐานพระธาตุ เพื่อให้คนที่อยู่<br />

ในพื้นด้านล่างหรือแม้กระทั่งในตัวเมืองพะเยา ได้<br />

สังเกตเห็นพระธาตุจากแสงอาทิตย์ที่เข้ามากระทบกระจก<br />

หลังจากการบูรณะพระธาตุดอยหนอกครั้งใหญ่<br />

ในปี พ.ศ. 2530-2532 ก็มีการสร้างวัตถุมงคล การบูรณะ<br />

และการสักการะพระธาตุเรื่อยมาทุกปี โดยมีเส้นทางบุญ<br />

อยู่ 2 เส้นทางที่สําคัญ คือจากฝั่งพะเยา นําโดยอาจารย์<br />

สุวัตร์ เลิศชยันตี ทางบ้านต๋อมใน และจากฝั่งลําปาง<br />

นําโดยผู้ใหญ่บ้านเสน่ห์ ซองดี ทางบ้านปงถ้ํา อําเภอ<br />

วังเหนือ ซึ่งผู้ใหญ่บ้านเสน่ห์ ซองดีนั้นถืออาจารย์สุวัตร์<br />

เลิศชยันตี เป็นพ่อบุญธรรมของตนเอง<br />

ล่าสุด ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559 ก็ได้มี<br />

การนํากระจกขึ้นไปเปลี่ยน และในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.<br />

2559 ก็ได้มีการจัดงานสรงน้ําพระธาตุดอยหนอกอีกด้วย<br />

การสร้างและบูรณะพระธาตุดอยหนอกอย่างมี<br />

หลักฐานปรากฏชัดเจน เริ่มในปี พ.ศ. 2530 – 2532 นํา<br />

โดยอาจารย์สุวัตร์ เลิศชยันตรี จากบ้านแสงธรรมชาติ9 ซึ่งได้<br />

ขึ้นไปบูรณะพระธาตุดอยหนอก จากแต่เดิมพระธาตุมี 3<br />

8<br />

สัมภาษณ์ นายเสน่ห์ ซองดี ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ<br />

จ. ลําปาง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559, นายสุวัตร์ เลิศชยันตรี บ้านแสง<br />

ธรรมชาติ จ.พะเยา วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 , นายอ้าย ทองชัย บ้าน<br />

ห้วยหม้อ ต.บ้านสาง จ.พะเยา วันที่สัมภาษณ์ 17 กุมพาพันธ์ 2559, และ<br />

นางแก้ว หาดไร่ บ้านต๊ํากลาง อ.เมือง จ.พะเยา วันที่สัมภาษณ์ 20<br />

เมษายน 2559.<br />

9 สถานที่ปฏิบัติธรรมบ้านแสงธรรมชาติ หมู่บ้านต๋อม ตําบลต๋อม อําเภอ<br />

เมือง จังหวัดพะเยา


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

13


14 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

พระธาตุดอยหนอก<br />

เมื่อบูรณะแล้วเสร็จ<br />

ปี พ.ศ. 2532<br />

ภาพโดยอาจารย์สุวัตร์ เลิชยันตรี


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

15<br />

2559<br />

การรื้อและติดกระจกบนตัวพระธาตุ<br />

การสรงน้ําพระธาตุดอยหนอก<br />

ภาพประเพณีสรงน้ําจาก<br />

facebook ประเพณีสรงน้ําพระธาตุดอยหนอก


16 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

ตํานานดอยหนอก 10 จารุมน งิ้วทั่ง<br />

ตํานานดอยหนอกได้มีการเล่าขานสืบต่อกัน<br />

มาแบบมุขปาฐะ (ปากต่อปาก) ผ่านผู้คนที่มีความเชื่อ<br />

ความศรัทธา ไปในทางเดียวกัน ตํานานถูกสร้างขึ้น<br />

และเล่าต่อ เพื่อตอบข้อสงสัยในสิ่งที่ผู้คนได้ไปพบเห็น<br />

เช่น รอยพระพุทธบาท<br />

บางครั้ง ตํานานก็คือเรื่องเล่าที่พยายามโยง<br />

ตัวตนและสถานที่ให้เชื่อมกับศาสนาที่ตนนับถือผ่านห้วง<br />

กาลเวลา อดีตสู่ปัจจุบัน<br />

ตํานานดอยหนอก เล่ากันปากต่อปาก ความว่า<br />

ในครั้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จธุดงค์<br />

มายังบริเวณยอดดอยหนอก พระองค์ได้เหยียบพระพุทธ<br />

บาทลงบนยอดดอย โดยหัวแม่เท้าหันไปทางหนองเอี้ยง<br />

หรือกว๊านพะเยาในปัจจุบัน 11<br />

ตํานานเล่าว่า หลังจากพระพุทธเจ้าประทับรอย<br />

พระพุทธบาทที่ยอดดอยหนอกแล้ว จึงได้ตรัสให้พระ<br />

อานนท์ไปตักน้ําที่หนองเอี้ยง แต่บริเวณนั้นมีพญานาคตน<br />

หนึ่งเฝูาอยู่ และไม่ยอมให้พระอานนท์ตักน้ําไปถวาย<br />

พระพุทธเจ้า เพราะพญานาคอยากเห็นพระพุทธเจ้าตัว<br />

จริง พระอานนท์จึงนําความมากราบทูล เมื่อพระพุทธเจ้า<br />

ทราบ จึงเสด็จลงจากยอดดอยหนอกไปยังหนองเอี้ยง เมื่อ<br />

พญานาคเห็นก็กล่าวขึ้นมาว่า<br />

“ทําไมพระพุทธเจ้าตัวเล็ก”<br />

ด้วยความทะนงตน พญานาคได้เสกตัวเองให้ตัว<br />

ใหญ่ขึ้น และคิดว่าหากพระพุทธเจ้าที่อยู่ตรงหน้านี้เป็น<br />

พระพุทธเจ้าจริง ก็ขอให้พระพุทธเจ้าแปลงกายให้รูปร่าง<br />

สูงใหญ่กว่าตนเอง มิเช่นนั้นจะไม่ให้น้ํา<br />

พระพุทธเจ้าทราบโดยจิตเช่นนั้นจึงแสดง<br />

อิทธิฤทธิ์โดยการแปลงกายจนขนาดเท่ากับพระเจ้า<br />

ตนหลวง ที่อยู่ ณ วัดศรีโคมคําในปัจจุบัน 12<br />

เรื่องเล่าที่กล่าวมานี้ หากเป็นชาวพะเยาจะคุ้นหู<br />

มาก เนื่องจากคล้ายคลึงกับตํานานพระธาตุจอมทอง พระ<br />

ธาตุริมฝั่งหนองเอี้ยง กว๊านพะเยา จะแตกต่างก็ตรงเรื่อง<br />

พระพุทธเจ้าเหยียบพระพุทธบาทเป็นรอยจารึกบนหิน ซึ่ง<br />

ไม่มีในตํานานพระธาตุจอมทอง และรายละเอียดปลีกย่อย<br />

อาทิเช่น ตัวบุคคลในตํานาน ซึ่งในตํานานพระธาตุ<br />

จอมทองจะมีมากกว่า<br />

๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕<br />

10 ภาพพื้นหลังเป็นภาพเขียนสีน้ํามันว่าด้วยตํานานการสร้างพระเจ้าตน<br />

หลวง จาก สุจิตต์ วงษ์เทศ, เมืองพะเยา : ประวัติศาสตร์ สังคมและ<br />

วัฒนธรรม, (กรุงเทพฯ : มติชน, 2538), หน้า 414.<br />

11 กว๊านพะเยาเกิดจากการสร้างของมนุษย์โดยการสร้างผนังกั้นน้ําในปี<br />

พ.ศ. 2482-2484 ก่อนหน้านั้นมีสภาพเป็นที่ลุ่มแม่น้ําอิง เป็นบวก หนอง<br />

มีน้ําท่วมในฤดูฝน<br />

12 สัมภาษณ์ นายเสน่ห์ ซองดี ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ จ.<br />

ลําปาง วันที่สัมภาษณ์ 18 กุมภาพันธ์ 2559


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

17<br />

มีอะไรบนดอยหนอกและระหว่างทาง<br />

กฤษณพงษ์ บุญจันทร์<br />

“ดอยหนอก” สร้างขึ้นจากธรรมชาติ ก่อร่าง<br />

ด้วยความเชื่อและความศรัทธา<br />

ภูมิศาสตร์อันประกอบด้วยขุนเขา ปุาเต็งรัง ปุา<br />

ดิบชื้น ลําธาร น้ําตก หุบเหว ถ้ํา และทุ่งหญ้า ระหว่างทาง<br />

อันยาวไกลและอันตรายนี้ กลายเป็นบทพิสูจน์ และ<br />

ท้าทายในศรัทธาต่อศาสนา<br />

รอยเท้ามนุษย์ที่ค่อย ๆ สร้างเส้นทางขึ้นมา<br />

บดเบียดผงดินจนกลายเป็นเส้นทางบุญ<br />

บนดอยหนอก นอกจากพระธาตุ และหยาด<br />

เหงื่อแล้ว ไม่ว่าท่านจะไปในนามเป็นนักเดินปุา นักไต่เขา<br />

หรือพุทธศาสนิกชน ท่านยังจะได้พบกับสถานที่และสิ่ง<br />

ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้<br />

พระพุทธบาทบนดอยหนอกมีอยู่ด้วยกัน 3 ชั้น<br />

ชั้นแรกประทับบนหินบนยอดดอยหนอก ซึ่ง<br />

ครูบานันตา นันโท ได้นําปูนปิดทับไว้<br />

ชั้นที่สองมีธรรมจักรวงใหญ่ที่ฝุาพระบาท ชั้นที่<br />

สองนี้ยึดติดกับพื้นของพระธาตุ<br />

ส่วนชั้นที่สาม เป็นพระพุทธบาทที่นําขึ้นไปวาง<br />

ทับบนชั้นที่ 2 ในปี พ.ศ. 2530 เมื่อมีการบูรณะพระธาตุ<br />

ครั้งใหญ่<br />

1. พระพุทธบาทด้านขวา 3 ชั้น<br />

ภาพพระพุทธบาทจําลองชั้นที่ 2<br />

จาก Facebook ประเพณีสรงน้ําพระพุทธบาทพระธาตุ<br />

ดอยหนอก<br />

ภาพพระพุทธบาทจําลองชั้นที่ 3<br />

ถ่ายในปี พ.ศ. 2559


18 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

2. พระพุทธรูปรูปแรก ที่นําขึ้นมาบนดอย<br />

หนอก<br />

บนดอยหนอกมีพระพุทธรูปมากมาย มีทั้งที่ปั้น<br />

ขึ้นบนภูเขาแห่งนี้ และที่แบกขึ้นมาด้วยแรงคน หากใคร<br />

เคยเดินทางขึ้นมาบนยอดดอยแห่งนี้ ย่อมต้องตระหนักดี<br />

ว่า<br />

แล้ว...”<br />

“แค่ลําพังพยุงร่างกายตนเองขึ้นมาก็แทบไม่รอด<br />

“...แล้วพระพุทธรูปน้ําหนักกว่า 20-30 กิโลกรัม<br />

คนที่มีหัวใจขนาดเท่าไหร่กันถึงจะแบกขึ้นมาได้”<br />

อย่างไรก็ตาม จํานวนพระพุทธรูปบนดอยหนอก<br />

ในปัจจุบัน คงบอกได้เป็นอย่างดีว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่<br />

อย่างใด ดังนั้นพระพุทธรูปองค์ไหนเล่าที่เป็นองค์แรก ที่<br />

ถูกแบกขึ้นมาด้วยความศรัทธาอันเปี่ยมล้น<br />

การอัญเชิญพระพุทธรูปรูปแรกขึ้นดอยหนอก<br />

ภาพโดยสุวัตร์ เลิศชยันตรี<br />

คําตอบก็คือ พระพุทธรูป พระประธานในเจดีย์<br />

ดอยหนอกนั่นเอง


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

19<br />

3. รูปจ าลองพระวิสุทธิเทพ 13<br />

สร้างในปี พ.ศ. 2530 พระวิสุทธิเทพ<br />

หมายถึง พระที่หมดซึ่งจากกิเลส เป็นพระที่อยู่บนพระ<br />

นิพพาน ซึ่งหลวงพ่อฤๅษีลิงดําได้ถอดจิตและไปพบ<br />

พระพุทธเจ้าที่นิพพานไปแล้ว เป็นองค์ที่สวมชุดในแบบ<br />

ลักษณะเช่นนี้ ท่านจึงได้จําลองภาพมาให้ลูกศิษย์เห็นว่า<br />

เป็นลักษณะเช่นนี้<br />

พระวิสุทธิเทพบนดอยหนอก แต่เดิมใช้<br />

กระจกตัดเป็นโมเสสประดับเข้าไป ทําให้มีลักษณะเป็นสี<br />

ขาว ดั่งดินแดนในพระนิพพาน ที่เต็มไปด้วยแก้วสีขาว<br />

นั่นเอง 14<br />

13 ภาพปี 2532 โดยอาจารย์สุวัตร์ เลิศชยันตรี<br />

ภาพปี 2540 โดยนายสุนทร สุขสราญจิต<br />

ภาพปี 2559 ที่ 1 โดยคณะทํางาน<br />

ภาพปี 2559 ที่ 2 โดย facebook ประเพณีสรงน้ํารอยพระบาทพระธาตุ<br />

ดอยหนอก จาก https://www.facebook.com/<strong>DoiNhok</strong><strong>Phayao</strong>/<br />

14 สัมภาษณ์อาจารย์สุวัตร์ เลิศชยันตรี บ้านแสงธรรมชาติ จ.พะเยา วันที่<br />

28 กุมภาพันธ์ 2559


20 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

4. พระสังกัจจายน์<br />

จุดประสงค์ของการสร้าง ก็เพราะบริเวณ<br />

ด้านข้างพระธาตุทางฝั่งพะเยาเป็นหินว่าง มีรูปทรง<br />

เหมาะสมที่จะสร้างเป็นพระสังกัจจายน์ นอกจากนั้น<br />

พระสังกัจจายน์ยังถือเป็นพระมหาลาภ ผู้คอยให้พรและ<br />

ปกปักรักษาผู้คนอีกด้วย<br />

5. มังกร<br />

ประติมากรรมซึ่งกลายเป็นที่จุดธูป เทียน เนื่องจาก<br />

เป็นที่บังลมได้เป็นอย่างดี<br />

2559<br />

พระสังกัจจายน์<br />

ภาพโดยสุนทร สุขสราญจิต<br />

2540<br />

ประติมากรรม<br />

มังกร<br />

ภาพโดยสุนทร สุขสราญจิต


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

21<br />

6. ประติมากรรมบนโขดหินรูปพระพุทธเจ้า<br />

บรรทม<br />

เป็นรูปพระพุทธเจ้าบรรทมบนตัวพญานาคและ<br />

มีเทวดากางร่ม แนวคิดในการสร้างก็คือ ในสมัยนั้น มี<br />

ปัญหาเรื่องนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งได้ไปพบ<br />

ที่ประเทศอเมริกา จึงมีการทวงคืน และแอ๊ด คาราบาว ได้<br />

แต่งเพลง นารายณ์บรรทมสินธุ์ขึ้น โดยมีประโยคเด็ดที่ว่า<br />

“เอาไมค์เคิลแจ็คสันคืนไป เอาพระนารายณ์คืนมา” จึงมี<br />

การนํามาปั้นที่ดอยหนอก เพื่อล้อการเมืองไปในตัว โดย<br />

เอาแบบอย่างการทํามาจากพุทธมณฑล นครปฐม<br />

2530-2532<br />

ภาพโดยอาจารย์สุวัตร์ เลิศชยันตรี<br />

2540<br />

ภาพโดยสุนทร สุขสราญจิต


22 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

7. สมเด็จองค์ปฐมบรมศาสดา พระพุทธรูป<br />

หน้าตัก 4 ศอก<br />

สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2552 บริเวณจุด<br />

กางเต็นท์ ภายใต้การนําของผู้ใหญ่บ้านนายเสน่ห์ ซองดี<br />

ฝั่งบ้านปงถ้ํา อําเภอวังเหนือ จังหวัดลําปาง โดยสีของ<br />

พระพุทธรูปแรกเริ่มนั้นเป็นสีแดง เนื่องจากเป็นสีรองพื้น<br />

กันเชื้อรา และเพื่อให้สีทอง ซึ่งเป็นสีที่ตั้งใจว่าจะทายึด<br />

เกาะดี<br />

หลังจากทาด้วยสีแดงแล้ว ปรากฏว่ามีแม่<br />

ชีท่านหนึ่งได้ขึ้นไปสักการะและบําเพ็ญภาวนาอยู่บนดอย<br />

หนอก และระหว่างการปฏิบัติธรรมนั้น ก็ได้ทาสีขาวทับ<br />

พระพุทธรูป อย่างไรก็ตาม หลังจากที่แม่ชีได้ลงมาจาก<br />

ดอยหนอกแล้ว ผู้ใหญ่บ้านเสน่ห์จึงได้นําชาวบ้านขึ้นไป<br />

ทาสีทองทับตามเดิม 15<br />

2551<br />

ภาพโดยสุนทร สุขสราญจิต<br />

2552<br />

ภาพโดยน้าวิทย์005<br />

จาก ThaiTripDD.com<br />

2557<br />

ภาพโดยสุนทร สุขสราญจิต<br />

15 สัมภาษณ์ นายเสน่ห์ ซองดี ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ จ.<br />

ลําปาง วันที่สัมภาษณ์ 18 กุมภาพันธ์ 2559


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

23<br />

8. ศาลาพักค้างแรมและพักผ่อน<br />

สร้างในปี พ.ศ. 2532 เพื่อเป็นที่พักของผู้ที่มีจิต<br />

ศรัทธา ผู้ขึ้นไปสร้างและบูรณะพระธาตุดอยหนอก โดยมี<br />

การบูรณะศาลาแห่งนี้เรื่อยมา คือในปี พ.ศ. 2538 พ.ศ.<br />

2540 และ พ.ศ. 2542 กระทั่งปัจจุบัน<br />

ว่ากันว่าถูกค้นพบในยุคพระขาวแก้ว ถ้ํา<br />

หมีกลายเป็นที่เก็บพระพุทธรูปต่าง ๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธานํา<br />

ขึ้นมา ซึ่งทํากันจนกลายเป็นประเพณี<br />

ศาลาแห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นที่พักผ่อนค้างแรมอย่าง<br />

ดี เนื่องจากปลอดจากลมแรง ไม่เหมือนจุดกางเต็นท์บน<br />

ยอดเขา อีกทั้งมีข้าวของเครื่องใช้ให้หยิบยืมโดยไม่ต้อง<br />

เตรียมมาเอง ไม่ว่าจะเป็นถ้วย ชาม ช้อน หม้อ กระทะ<br />

ตลอดจนเครื่องนอนต่าง ๆ นอกจากนั้น นักเดินทางที่มา<br />

ก่อนหน้า ก็มักจะมอบสิ่งของที่เหลือใช้หรือบริจาคให้ผู้<br />

ที่มาภายหลัง เช่น เทียน กาแฟ น้ําตาล ปลากระป๋อง ไฟ<br />

แช็ค ตลอดจนเต็นท์นอน เป็นต้น<br />

ทั้งนี้ ภายในศาลาก็ยังมีพระพุทธรูป ชื่อว่า พระ<br />

พุทธวิโมกข์ ประดิษฐานเป็นศิริมงคลกับผู้ที่มาพักแรมอีก<br />

2559<br />

ด้วย 16 9. ถ้ าหมี<br />

2532<br />

2541<br />

ภาพโดยสุนทร สุขสราญจิต<br />

ภาพโดยอาจารย์สุวัตร์ เลิศชยันตรี<br />

16 สัมภาษณ์อาจารย์สุวัตร์ เลิศชยันตรี บ้านแสงธรรมชาติ จ.พะเยา วันที่<br />

สัมภาษณ์ 28 กุมภาพันธ์ 2559


24 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

10. ตาน้ า<br />

ตาน้ํามีด้วยกัน 2 จุด เรียกได้ว่าเป็นแหล่งน้ํา<br />

ของดอยหนอกและดอยหลวงอย่างละดอยเลยก็ว่าได้<br />

เนื่องจากอยู่ไม่ห่างจากทั้งสองดอยมากเท่าไหร่<br />

สําหรับตาน้ําของดอยหนอก อยู่ห่างจากจุดกาง<br />

เต็นท์ไม่เกิน 1 กิโลเมตร โดยเป็นเส้นทางแยกลงทางขวา<br />

แทนที่จะเดินขึ้นดอยหนอกทางด้านซ้าย หากมาจากจุด<br />

กางเต็นท์<br />

น้ําที่ไหลออกมาจากหน้าผา มีผู้ใจบุญนํา<br />

กระบอกไม้ไผ่มาทําเป็นทางเพื่อให้ผู้กระหายดื่มและเติม<br />

น้ําลงกระป๋องได้สะดวก<br />

ปัจจุบันบริเวณนี้มีการสร้างเพิงพักด้วยสังกะสี<br />

มีหม้อ ชาม ช้อน ไว้ให้หยิบยืมทําอาหารได้<br />

11. สถานที่และสิ่งสําคัญอื่น ๆ<br />

ยังมีสถานที่และสิ่งสําคัญอื่นอีกมากมายบนดอย<br />

หนอกที่ไม่สามารถบรรยายได้ทั้งหมดในที่นี้ เช่น น้ําตกผา<br />

เกล็ดนาค น้ําตกที่มองเห็นได้แต่ไกลจากในตัวเมืองพะเยา<br />

หากแสงอาทิตย์สาดส่องเข้ามาจับมุมพอดี<br />

หรือจะเป็นดอกกุหลาบพันปี ที่บานในบางช่วง<br />

หรือจะเป็นเนินยอดเขาที่มองเห็นครบ 360<br />

องศา ทั้งแนวระนาบ และในแนวดิ่ง<br />

หรือจะเป็นสมุนไพรให้กระชุ่มกระชวย หมอก<br />

เม็ดใหญ่ที่ช่วยดับกระหาย และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ไกล<br />

กว่าสองเท้าจะก้าวถึง


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

25<br />

เก่ากว่าพระธาตุดอยหนอก และอื่นใดในพะเยา คือ เจดีย์ดอยหลวงโดยชาวลัวะ (?)<br />

ชัยวัฒน์ วงศ์นภาไพศาล


26 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

ธงชาติไทยที่โบกสะบัดพลิ้วไหวอย่างสวยงาม<br />

เหนือเศษซากก้อนอิฐดินเผานับร้อยนับพันก้อนที่กองเป็น<br />

ฐาน กองอิฐที่ผุกร่อนตามกาลเวลา ผ่านแดด ผ่านฝน ร้อน<br />

ลม หนาว มานับร้อย ๆ ปี ตั้งอยู่ท่ามกลางยอดดอยหลวง<br />

ดอยที่สูงที่สุดของแนวเขา ซึ่งแบ่งกั้นพะเยาและลําปางไว้<br />

ดอยหลวง เป็นดอยที่มีสันเขาทอดยาว บริเวณ<br />

ยอดดอยกว้างประมาณ 20 ตารางเมตร ฝั่งซ้ายและขวา<br />

เป็นเหวลึก โดยฝั่งซ้าย เขตลําปาง จะแต่มีพืชตระกูลหญ้า<br />

ต่าง ๆ ขึ้นเพียงอย่างเดียว ไม่มีต้นไม้ใหญ่ แตกต่างกับฝั่ง<br />

พะเยา<br />

บนเนื้อที่ 20 ตารางเมตรนี้ มีโบราณสถาน<br />

สําคัญ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นที่ประมาณ 4 ตาราง<br />

เมตร มีลักษณะเป็นฐานเจดีย์เก่า สร้างด้วยก้อนอิฐดินเผา<br />

กระจัดกระจายเต็มพื้นที่ บ้างฝังในดินแน่น และบ้างวาง<br />

บนพื้นดิน และแม้ว่าจะหมดสภาพดั้งเดิมไปแล้ว แต่ก็ทํา<br />

ให้เกิดความฉงนระคนทึ่งว่า<br />

“ใครกันที่มาสร้างพุทธสถานที่ไกลและสูงถึง<br />

เพียงนี้ ???”<br />

พระครูธีระ เจ้าอาวาสวัดสันกําแพง บ้านปงถ้ํา<br />

ตําบลวังทอง อําเภอวังเหนือ จังหวัดลําปางได้สันนิษฐาน<br />

ว่า ผู้ที่สร้างเจดีย์บนยอดดอยคือชาวลัวะ ในยุคสมัยของ<br />

พระนางจามเทวีหรือหลังจากนั้น เนื่องจากพระนางจาม<br />

เทวีมีบริวารเป็นชาวลัวะ และเมื่อเสด็จไปยังที่ใด ก็มักจะ<br />

สร้างวัด สร้างเจดีย์ไว้เป็นที่สักการะของชุมชนเสมอ 17<br />

ส่วนชาวลัวะเองก็เป็นชาติพันธุ์บนขุนเขาเพียงชาติพันธุ์<br />

เดียวในครั้งโบราณกาลที่นับถือพระพุทธศาสนา และ<br />

มักจะสร้างเจดีย์ไว้บนภูเขา โดยในเวลาต่อมา อาจจะเนื่อง<br />

ด้วยสงคราม โรคระบาด หรือภัยธรรมชาติ จึงทําให้<br />

ชาวลัวะต้องย้ายถิ่นที่อยู่ ทิ้งซากเจดีย์ไว้เป็นหลักฐานการ<br />

ตั้งถิ่นฐานในที่นั้น ๆ 18 ดังปรากฏอยู่หลายแห่งในพื้นที่<br />

อําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่<br />

อีกหนึ่งหลักฐาน ที่ถือเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่า<br />

ชาวลัวะน่าจะเป็นผู้สร้างเจดีย์บนดอยหลวงก็คือ เจดีย์<br />

ของวัดสันกําแพง ณ บ้านปงถ้ํา หมู่บ้านที่อยู่ด้านล่างของ<br />

ดอยหนอก ซึ่งสร้างโดยบุตรของพระนางจามเทวี และ<br />

บริวารที่เป็นชาวลัวะ 19 นอกจากนั้นแล้ว อาจารย์วิมล<br />

ปิงเมืองเหล็ก ปราชญ์แห่งเมืองพะเยา ก็ยังสันนิษฐานไป<br />

ในทางเดียวกันว่า แต่เดิมชาวลัวะน่าจะอาศัยอยู่บริเวณ<br />

ดอยอนาลโย โดยถูกเรียกว่า “ชาวแจ๊ะ” จนดอยลูกนั้นถูก<br />

เรียกว่า “ม่อนแจ๊ะ” กระทั่งปัจจุบัน 20<br />

ส่วนคําถามที่ว่า แล้วปัจจุบันชาวลัวะหายไป<br />

ไหน นอกจากข้อสันนิษฐานว่า ชาวลัวะอพยพไปยังที่อื่น<br />

แล้ว ยังมีข้อสันนิษฐานว่า ชาวลัวะอาจไม่ได้ไปไหนเลยก็<br />

ได้ เพียงแต่กลืนกลายกลายเป็นคนเมืองไป ไม่ว่าจะที่บ้าน<br />

ผาแดง ตําบลบ้านร้อง อําเภองาว จังหวัดลําปาง บ้าน<br />

ผาดิน ตําบลบ้านฮั้ว อําเภอวังเหนือ จังหวัดลําปาง และ<br />

บ้านต๊ํากลาง ตําบลบ้านต๊ํา อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึ่ง<br />

21<br />

มีคนเชื้อสายลัวะอาศัยอยู่<br />

สําหรับบ้านต๊ํากลาง เป็นหมู่บ้านที่ชาวลัวะ<br />

อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในช่วงพุทธศักราช 2470 โดย<br />

เดินทางมาจากบ้านกล้วย ในเขตจังหวัดลําปาง เดินเท้า<br />

เข้ามากว่า 1 เดือน เข้ามาอยู่ร่วมกันไม่ถึง 7-8 หลังคา<br />

เรือน ในอดีต ลักษณะบ้านจะมุงด้วยหลังคาใบตองตึง<br />

ผนังบ้านเป็นไผ่สาน ประกอบอาชีพทํานา ปลูกพืชผัก<br />

ผลไม้เป็นอาชีพหลัก ไม่มีการค้าขาย โดยในปัจจุบัน<br />

นามสกุลที่เป็นคนเชื้อสายลัวะ ได้แก่ นามสกุลหาดไร่และ<br />

หางกะพุง<br />

17<br />

สัมภาษณ์ พระโพธิญาณรังสี (พิศิษฐ์ เมตฺตจิตโต) วัดอนาลโย<br />

ต.สันปุาม่วง อ.เมือง จ. พะเยา, สัมภาษณ์วันที่ 9 มีนาคม 2559.<br />

18<br />

สัมภาษณ์ พระครูธีระ เจ้าอาวาสวัดสันกําแพง บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง<br />

อ.วังเหนือ จ. ลําปาง, สัมภาษณ์วันที่ 9 มีนาคม 2559.<br />

19<br />

สัมภาษณ์ พระครูธีระ เจ้าอาวาสวัดสันกําแพง บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง<br />

อ.วังเหนือ จ. ลําปาง, สัมภาษณ์วันที่ 18 กุมพาพันธ์ 2559.<br />

20 สัมภาษณ์อาจารย์วิมล ปิงเมืองเหล็ก, ปี พ.ศ. 2554.<br />

21<br />

สัมภาษณ์ พระโพธิญาณรังสี (พิศิษฐ์ เมตฺตจิตโต) วัดอนาลโย<br />

ต.สันปุาม่วง อ.เมือง จ. พะเยา, สัมภาษณ์วันที่ 9 มีนาคม 2559.


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

27<br />

คนเชื้อสายลัวะจะพูดด้วยสําเนียงที่แตกต่างไป<br />

จากภาษาเหนือเล็กน้อย เช่นประโยคที่ว่า<br />

“จาไปแยะเด้อ ของอันนั่นมันบ่ดี จาไปแยะแห่ม<br />

ซ่ํา แต่นีไปูหนา อันนีบ่ดี อันนั่นบ่ดี จาไปจกของเปิล<br />

(อย่าไปทํา ของมันไม่ดีอย่าไปทําอีก จากนี้ต่อไป<br />

อันนี้ไม่ดี อันนั้นไม่ดี อย่าไปขโมยของคนอื่น)<br />

“ไค่ได้หยั่งบ่ดีจ๊กบ่ดีลัก หื้อลักจ๊ดลักจ๋ําเอา”<br />

(สิ่งไหนที่ต้องการ อย่าเอามาโดยการลักขโมย<br />

แต่ให้แอบจําวิธีการทํามา)<br />

ทั้งนี้ คําเรียกขานชาติพันธุ์ที่คนเชื้อสายลัวะไม่<br />

ชอบให้เรียกก็คือ “คนแจ๊ะ” และ “คนญอง” 22<br />

ในปัจจุบัน ชาวบ้านต๊ํากลางเชื้อสายลัวะ มีน้อย<br />

คนนักที่รู้ว่าตนมีเชื้อสายลัวะ บางคนก็รู้ แต่เลือกที่จะ<br />

เรียกตนเองว่า “คนพื้นเมือง” (คนภาคเหนือ) มากกว่า<br />

อย่างไรก็ตาม สําหรับผู้ที่รู้ว่าตนเองมีเชื้อ<br />

สายลัวะอย่างคุณยายแก้ว หาดไร่ ผ่านการมีสําเนียงภาษา<br />

ที่แตกต่างจากคําเมือง ยายแก้วกลับคิดว่า<br />

“...มันเป็นภาษาที่พ่อแม่ฝากไว้ ตกทอดมาให้ ก็<br />

ต้องรักษาเอาไว้...” 23<br />

เครื่องใช้โลหะที่ถูกค้นพบบริเวณวัดสันกําแพง คุณยายแก้ว หาดไร่<br />

22 สัมภาษณ์ นางแก้ว หาดไร่ บ้านต๊ํากลาง อ.เมือง จ.พะเยา วันที่สัมภาษณ์ 20<br />

เมษายน 2559<br />

23 สัมภาษณ์ นางแก้ว หาดไร่ บ้านต๊ํากลาง อ.เมือง จ.พะเยา วันที่สัมภาษณ์ 20<br />

เมษายน 2559


28 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

ดอยหนอก : มากกว่าแรงกายคือแรงศรัทธา<br />

บุญวิภา สินธุชัย<br />

กองทรายและถุงพลาสติกบริเวณตาน้ํา<br />

กําลังรอนักแสวงบุญแบกขึ้นยอดดอย<br />

กล่าวได้ว่า ดอยหนอกเป็นสถานที่<br />

เดินป่าที่โหดที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย<br />

เมื่อเทียบกับอุทยานหรือวนอุทยาน<br />

แห่งชาติโดยทั่ว ๆ ไป<br />

ในเส้นทางจากบ้านต๋อมใน ตําบลบ้านต๋อม<br />

อําเภอเมืองพะเยา หรือบ้านห้วยหม้อ ตําบลบ้านตุ่น<br />

อําเภอเมืองพะเยา นักเดินทางทั่วไปต้องใช้เวลาไม่ต่ํากว่า<br />

6-8 ชั่วโมงในการเดินทางกว่า 8-10 กิโลเมตร ส่วนหากมา<br />

จากฝั่งบ้านปงถ้ํา แม้เลขระยะทางจะใกล้ คือ 4-8<br />

กิโลเมตร (ขึ้นอยู่กับว่าจะเริ่มต้นที่จุดใด) แต่ทุกจังหวะการ<br />

ก้าวและไต่ในระยะเวลากว่า 3-4 ชั่วโมงบนความสูงชัน<br />

ต่อเนื่องติด ๆ กันก็พรากเอาเรี่ยวแรงไปอย่างมาก<br />

เช่นเดียวกับเส้นทางจากบ้านปากบอก อําเภองาว จังหวัด<br />

ลําปาง (ถนนพะเยา-เชียงใหม่) แม้จะเป็นทางเดินบนสัน<br />

เขา ไม่ลาดชันเท่ากับเส้นปงถ้ํา แต่ก็กินระยะทางถึงกว่า<br />

12 กิโลเมตร และในระยะเวลากว่า 8 ชั่วโมง<br />

รอยเท้าบนทางนี้ บางคนเดินเพียงครั้งเดียวในชีวิต บาง<br />

คนติดใจในเสน่ห์จนต้องมีครั้งที่ 2 เรื่อยไป และหลายคน<br />

โดยเฉพาะผู้คนในชุมชนเบื้องล่างดอยหนอก และผู้ที่<br />

ผูกพันทางใจ ก็สามารถเก็บจํานวนครั้งมากกว่า 5 เลยก็<br />

ย่อมมี<br />

สําหรับคนกลุ่มหลัง แน่นอนย่อมมิใช่ผู้ที่มี<br />

แรงกายมากมายเท่านั้น แต่ย่อมต้องเป็นผู้ที่มีเรี่ยวแรง<br />

ศรัทธาอันเปี่ยมล้น<br />

เพราะการขึ้นดอยหนอกมิใช่คือการวางเท้า<br />

บนจุดสูงสุด ในนามการพิชิต แต่คือการค้อมคารวะ<br />

ก้มกราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในนามการสักการบูชา<br />

เคารพความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ คารวะความ<br />

ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนสถาน<br />

ทั้งนี้ มีการเดินทางขึ้นดอยหนอกเพื่อสร้าง<br />

สักการะ และการบูรณะครั้งใหญ่มาแล้ว 4 ครั้ง<br />

แม้ระยะทางจะไกล และเรียกร้องพละกําลังกาย<br />

และใจอย่างมาก แต่ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศก็ยังคงเดินตาม


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

29<br />

ครั้งแรก คือ การค้นพบรอยพระพุทธบาทบน<br />

หิน บนดอยหนอก ครั้งที่สอง คือ การสร้างพระธาตุ ครั้งที่<br />

สาม ในปี พ.ศ.2530-พ.ศ.2532 หลังจากเกิดฟูาผ่า ทําให้<br />

ตัวพระธาตุที่ครอบรอยพระพุทธบาทเกิดรอยร้าว อาจารย์<br />

สุวัตร์ เลิศชยันตี จึงร่วมกับชาวบ้านทําการบูรณะ แต่แล้ว<br />

ก็เกิดฟูาผ่ารอบที่สอง อันทําให้ตัวพระธาตุพังทลายลง<br />

หมด เนื่องจากมีการนําสายล่อฟูาติดตั้งไว้บนยอดของพระ<br />

ธาตุ จึงทําให้เกิดการบูรณะครั้งที่สี่ ในครั้งนี้ ได้ย้าย<br />

สายล่อฟูาให้อยู่ห่างจากพระธาตุและทําให้สูงขึ้นกว่าเดิม<br />

ภายใต้การนําของอาจารย์สุวัตร์ เลิศชยันตี และผู้ใหญ่<br />

เสน่ห์ ซองดีในปี พ.ศ. 2532 -พ.ศ. 2533<br />

“การจ้างคน แบกหิน แบกปูน แบกน้ํา แบก<br />

สัมภาระ แบกของใช้ แบกอาหาร และอีกหลาย ๆ อย่าง<br />

จะใช้เงินจ้างในราคาเท่าไหร่ถึงจะคุ้มกับค่าแรงของเขา<br />

ทว่าในการสร้างและบูรณะพระธาตุดอยหนอกนี้ ผมได้นํา<br />

ปูน 20 ลูก ทรายและหินหนึ่งคันรถ (ประมาณ 2 คิว) ลง<br />

ไว้ที่หมู่บ้าน เชื่อไหมมีผู้คนเกือบ 3,000 คน มาไกลสุดคือ<br />

จากจังหวัดกระปี่ มาช่วยกันนําของเหล่านี้ขนขึ้นไป ทีละ<br />

เล็ก ทีละน้อยจนหมด 24<br />

“มากกว่าแรงกาย คือแรงศรัทธา”<br />

ภายหลังการสร้างและบูรณะพระธาตุ จึงก่อเกิด<br />

เป็นประเพณีเดินขึ้นพระธาตุดอยหนอกเรื่อยมา<br />

โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี อันเป็นเดือนเจ็ด<br />

เป็งของพะเยา และเดือนหกเป็งของฝั่งลําปาง ผู้คนที่มีจิต<br />

ศรัทธาจะช่วยกันนําตุงขึ้นไปห่มพระธาตุ เพื่อเป็นสายธาร<br />

การบูชาพระพุทธเจ้า<br />

ระหว่างการบูรณะครั้งใหญ่และภายหลังจากนั้น<br />

เรียกได้ว่าก่อเกิดเป็นแรงมหาศรัทธา มีผู้คนช่วยกันขนปูน<br />

ขนทราย ไปสร้างพระธาตุ และตัวแทนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์<br />

มากมาย มีการขนพระขึ้นไปเก็บไว้ในถ้ํามากกว่า 200<br />

องค์ มีการตัดกระจกเพื่อไปบูรณะพระธาตุกว่า 20,000<br />

ชิ้น มีการนําท่อนไม้ หลังคา บานหน้าต่าง หรือแม้กระทั่ง<br />

ร ะ ฆั ง ข น า ด สู ง 5 0 ซ ม . แ ล ะ ฆ้ อ ง โ ห ม่ ง ข น า ด<br />

เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ขึ้นไปบนดอยหนอก ก็มีมาแล้ว<br />

ผู้ใหญ่เสน่ห์ ซองดี แห่งบ้านปงถ้ําได้เล่าไว้ว่า<br />

24<br />

สัมภาษณ์ นายเสน่ห์ ซองดี ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ<br />

จ. ลําปาง วันที่สัมภาษณ์ 18 กุมภาพันธ์ 2559


30 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

สิ่งลี้ลับบนดอยหนอก<br />

ณรงค์ฤทธิ์ จิตรบรรจง<br />

ตามปกติวิสัยของมนุษย์ ล้วนแล้วแต่จะกลัวในสิ่งที่ตนเองมองไม่เห็น เฉกเช่นบนดอยหนอก พื้นที่ป่าใหญ่รก<br />

ทึบ กับบรรยากาศอันเงียบสงบ หันไปทางไหน ก็มีแต่ป่าเงียบสงัด ได้ยินแม้กระทั่งเสียงใบไม้หล่น โดยเฉพาะเวลา<br />

กลางคืนที่มีอากาศเยือกเย็น เคล้ากับเสียงของแมลงและสัตว์ป่าที่โหยหวน<br />

ในทางหนึ่ง ความเชื่อและความกลัวในสิ่งลี้ลับ<br />

ถือเป็นตัวตอกย้ําความศักดิ์สิทธิ์ของดอยหนอก การเชื่อ<br />

ในสิ่งเหนือธรรมชาติที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายบอก<br />

ได้ มีเรื่องเล่ามากมาย เช่น การเจอผีเปรตของชาวบ้าน ใน<br />

ลักษณะก้อนกลม ๆ คล้ายลูกบอลสีดํากลิ้งอยู่ ชาวบ้านจึง<br />

คว้าไม้มาเคาะ ปรากฏว่าลูกกลม ๆ นั้นค่อย ๆ ขยายใหญ่<br />

ขึ้น จนกลายเป็นเปรต<br />

หรือในยามค่ําคืน ชาวบ้านบางคนก็เห็นดวงไฟ<br />

คล้ายยานอวกาศ บินลอยวกไปวนมารอบดอยหนอก ซึ่ง<br />

เชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุ<br />

ชาวบ้านบางคนเล่าว่า มักจะได้ยินเสียงแห่กลอง<br />

เสียงดังในช่วงเข้าพรรษา<br />

แม้แต่ความเชื่อเรื่องการเดินทางในปุา การหัก<br />

กิ่งไม้ก็ยังมีการถือเคล็ด กล่าวคือ ห้ามหักกิ่งไม้เข้าหา<br />

ตัวเอง ต้องหักไปด้านหน้า ด้านซ้ายหรือด้านขวาแทน มิ<br />

เช่นนั้นผีจะเอาชีวิตไป เป็นต้น 25<br />

ในวันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559 พวกเรา<br />

คณะทํางานวารสารพะเยาปริทัศน์ ฉบับดอยหนอก ได้<br />

เดินทางสู่หมู่บ้านปงถ้ํา หลังจากสัมภาษณ์และสอบถาม<br />

เส้นทางขึ้นดอยหนอกจากผู้ใหญ่บ้านเสน่ห์ ซองดี พวกเรา<br />

ก็ เ ริ่ ม ต้ น ก า ร เ ดิ น ท า ง ขึ้ น สู่ ด อ ย ห น อ ก โ ด ย ใ ช้<br />

รถจักรยานยนต์เดินทางเข้าไปยังตีนดอย เมื่อถึงจุดจอดรถ<br />

พวกเราก็พบเส้นทางที่แสนทรหด ผ่านปุาเขาอันกว้างใหญ่<br />

25 เรื่องความเชื่อในสิ่งลี้ลับต่าง ๆ นี้ เล่าโดยนายเสน่ห์ ซองดี ผู้ใหญ่บ้าน<br />

ปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ จ. ลําปาง วันที่สัมภาษณ์ 18 กุมภาพันธ์ 2559


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

31<br />

และสูงชัน เมื่อถึงสันดอยหนอก(เสียที) พวกเราก็เหนื่อย<br />

ล้ากันไปตาม ๆ กัน<br />

หลังจากการจัดเตรียมที่พัก พวกเราจึงเริ่ม<br />

เดินทางสู่ยอดดอยหนอกทันที และเมื่อกลับลงมาแสง<br />

ตะวันก็เริ่มลับขอบฟูา นกปุาบินกลับรัง หลังจาก<br />

รับประทานอาหารภายใต้แสงเทียน คุณลุงสมยศ<br />

แก้วประภา ชาวบ้านบ้านปงถ้ํา ผู้ขึ้นมาบูรณะพระธาตุอยู่<br />

เพียงลําพัง ก็ชวนพวกเราร่วมสวดมนต์เย็น และสอนการ<br />

ฝึกทําสมาธิให้สงบ หลังจากนั้นจึงร่วมกันสนทนาหน้ากอง<br />

ไฟ<br />

พวกเราได้สอบถามคุณลุงสมยศว่า บนดอย<br />

หนอกมีสิ่งลี้ลับอะไรบ้าง<br />

น่าจะเป็นเทพประสิทธิ์ที่แปลงกายมาคอยช่วยเหลือ<br />

ชาวบ้าน 27 คุณลุงสมยศย้ําในค่ําคืนที่เราอยู่บนดอยหนอก<br />

ว่า “หากได้ยินเสียงในยามกลางคืน ห้ามทัก ให้ทําเป็นไม่รู้<br />

ไม่ชี้” และ “หากฝันเห็นใครมาถามว่ามาทําอะไร ให้ตอบ<br />

ว่ามาทําการศึกษาข้อมูล และได้มีโอกาสขึ้นมาบูรณะพระ<br />

ธาตุ” ด้วยเหตุนี้จึงทําให้พวกเรารู้สึกกลัวมากขึ้นไปอีก จึง<br />

รีบจบการสนทนาและกลับไปนอน<br />

นอกจากเป็นเส้นทางบุญแล้ว ทางเดินบนดอย<br />

หนอกในอดีต ยังเป็นเส้นทางขนฝิ่น ขนยาบ้า และ<br />

ทางเดินปุาเก่าแก่ของคนโบราณอีกด้วย ซึ่งพวกเราก็ไม่รู้<br />

ว่า เคยมีอะไรเกิดขึ้นบ้างบนทางเหล่านี้บ้าง<br />

คุณลุงเล่าว่า ดอยหนอกเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มี<br />

เรื่องเล่าอยู่ว่า สมัยพ่อหลวง (นายเสน่ห์) ยังบวชเป็นเณร<br />

จําพรรษาอยู่บนดอยหนอก เกิดเหตุฝนตก พ่อหลวงจึง<br />

พยามยามจะเข้าไปหลบฝนในพระธาตุ แต่เหมือนมีคนดึง<br />

จีวรไม่ให้เข้าไปข้างใน พ่อหลวงจึงหันหลังมอง ทันใดนั้นก็<br />

เห็นเป็นเท้าขนาดใหญ่ถีบเข้ามาที่กลางหลัง สร้างความตก<br />

ตะลึงให้กับพ่อหลวงเป็นอย่างมาก<br />

ลุงสมยศยังได้เล่าต่ออีกว่า บนดอยหนอกมีเทพ<br />

เทวดาชื่อว่า “เทพประสิทธิ์” คอยปกปักรักษาดอยหนอก<br />

ท่านสามารถแปลงกายได้ ครั้งหนึ่ง เทพประสิทธิ์เคยแปลง<br />

กายเป็นคนแก่ นําอาหารมาถวายพระที่มาจําพรรษาบน<br />

26<br />

ดอยหนอกนี้<br />

เรื่องเล่าข้างต้น ตรงกับเรื่องเล่าของอาจารย์<br />

สุวัตร์ เลิศชยันตรี เมื่อครั้งที่ขึ้นมาบูรณะพระธาตุดอย<br />

หนอกกับคณะศรัทธาบ้านแสงธรรมชาติ<br />

อาจารย์สุวัตร์เคยเล่าให้พวกเราฟังว่า ขณะ<br />

กําลังทําอาหารอยู่ มีชาวบ้านเห็นคนใส่ชุดขาวมานั่งเฝูา<br />

หม้อข้าวให้ ถามใครก็ไม่มีใครรู้จักสักคน ทุกคนจึงเชื่อว่า<br />

26 สัมภาษณ์ นายสมยศ แก้วประเสริฐ บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ จ.<br />

ลําปาง, สัมภาษณ์วันที่ 12 เมษายน 2559<br />

27 สัมภาษณ์ นายสุวัตร์ เลิศชยันตรี บ้านแสงธรรมชาติ จ.พะเยา วันที่<br />

สัมภาษณ์ 28 กุมภาพันธ์ 2559


32 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

อุทยาน ฯ กับชาวบ้าน<br />

อํานาจ ศรสุกอง<br />

ป้ายรณรงค์รักษาป่าไม้บ้านปงถ้ํา<br />

แต่เดิม ชาวบ้านแวดล้อมดอยหนอกและดอย<br />

หลวงมีอาชีพหาของป่า หาพืชสมุนไพร ขุดแร่ธาตุ<br />

28<br />

และล่าสัตว์<br />

ต่อมา เมื่ออุทยานแห่งชาติดอยหลวงได้ถูกจัดตั้ง<br />

ขึ้นในปี พ.ศ.2533 จึงมีการนําพระราชบัญญัติปุาไม้<br />

พ.ศ.2484 พระราชบัญญัติปุาสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507<br />

พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 และ<br />

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ปุา พ.ศ. 2535 มา<br />

ใช้ในพื้นที่<br />

เมื่อกฎหมายเข้ามาทับวิถีชีวิตเดิมของชาวบ้าน<br />

วิธีการจัดการปัญหาในเขตอุทยานฝั่งดอยหนอก พบว่า<br />

แม้จะมีการจับอยู่บ้าง คือปีละประมาณ 5-7 ราย 29<br />

แต่โดยรวมจะมีลักษณะ “ปรึกษาหารือ”<br />

มากกว่า “เชือดไก่ให้ลิงดู” และ “พบกันคนละครึ่งทาง”<br />

มากกว่า “ทําตามกฎหมายอย่างสุดโต่ง”<br />

กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติจะออก<br />

พื้นที่ ให้ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติต่าง ๆ ต่อชาวบ้าน<br />

ก่อน อีกทั้งเป็นตัวกลางประสานความร่วมมือระหว่าง<br />

ชาวบ้านทางปงถ้ํา จังหวัดลําปาง และชาวบ้านทางฝั่ง<br />

พะเยา เพื่อทําข้อตกลงความร่วมมือ ร่วมกันอนุรักษ์ปุา<br />

และสัตว์ ส่วนในฝั่งชาวบ้านเอง อย่างบ้านปงถ้ํา<br />

ผู้ใหญ่บ้านเสน่ห์ ก็เสนอให้ชาวบ้านคืนที่ให้กับแผ่นดิน แต่<br />

ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์จากต้นไม้ในปุาได้ ซึ่งปรากฏ<br />

ว่า ด้วยข้อตกลงนี้ ชาวบ้านเต็มใจคืนพื้นที่ให้อุทยาน ฯ ได้<br />

กว่า 1,850 ไร่ โดยที่ภาครัฐไม่ต้องบังคับอะไรเลย 30<br />

28 สัมภาษณ์ นายสุพล ศรีชัย (รองนายยกองค์การบริหารส่วนตําบลบ้าน<br />

ตุ่น) อ.เมือง จ.พะเยา, สัมภาษณ์เมื่อ 12 มีนาคม 2559<br />

29 สัมภาษณ์ นายสมศักดิ์ นวรัตน์ หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานดอยหลวง<br />

ที่ 6(จําปาทอง) จ.พะเยา, วันที่สัมภาษณ์ 21 เมษายน 2559<br />

30 สัมภาษณ์ นายเสน่ห์ ซองดี ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ<br />

จ. ลําปาง, วันที่สัมภาษณ์ 18 กุมภาพันธ์ 2559


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

33<br />

แร่ธาตุบนดอยหนอก<br />

สุขสอน อักษร<br />

แร่ธาตุ หรือแร่ธรรมชาติ ไม่ว่าจะอยู่ใน<br />

สถานะเป็นเครื่องประดับ หรือ สิ่งที่นํามาใช้ประโยชน์<br />

เพื่อตอบสนองความต้องการของคนล้วนแล้วขึ้นอยู่กับ<br />

การที่คนนั้นให้คุณค่า แร่ธาตุบางชนิดอาจมี<br />

คุณสมบัติพิเศษ เป็นที่ต้องการของคนจํานวนมากหรือ<br />

เป็นแร่ที่หายากจึงทําให้แร่ธาตุนั้นมีค่าและราคาที่<br />

ต่างกันออกไป<br />

ไม่ว่าแร่ธาตุจะอยู่ในสถานะใดก็ล้วนแต่เป็น<br />

ประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น แร่เหล็ก ที่อดีต<br />

ใช้ในการตีมีด ส่วนปัจจุบัน นอกจากจะใช้ตีมีดแล้ว ก็ยัง<br />

31<br />

เป็นสารประกอบอย่างหนึ่งซึ่งใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์<br />

พ่อหนานอ้าย ทองชัย ได้เล่าว่า ในอดีตมี<br />

ชาวต่างชาติขึ้นไปสํารวจแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แร่ดีบุก แต่ก็<br />

ไม่พบแต่อย่างใด สอดคล้องกับคําบอกเล่าของอาจารย์<br />

สุนทร สุขสราญจิตที่ว่า คุณบุญดี สุทธภักติ อดีต<br />

นายกเทศมนตรีพะเยาหลายสมัยก็เคยเดินทางขึ้นดอย<br />

หนอกเพื่อสํารวจแร่ธาตุ เช่นกัน 32<br />

การสํารวจหาแร่ธาตุในอดีต แม้ไม่พบแร่ดีบุก<br />

แต่ก็เจอแร่เหล็ก ซึ่งชาวบ้านสมัยนั้นสามารถนํามาใช้ตีมีด<br />

ได้33 นอกจากนั้น ยังพบแร่โดโลไมต์ ซึ่งมีลักษณะคล้าย<br />

หินปูน ชาวบ้านมักนํามาใช้ในการก่อสร้าง โดยผสมกับน้ํา<br />

ปูนขาว แต่ปัจจุบันไม่สามารถนําลงมาใช้ได้อีกแล้ว<br />

เนื่องจากดอยหนอกอยู่ในเขตการควบคุมของอุทยาน<br />

แห่งชาติดอยหลวง 34<br />

นอกจากนั้นแล้ว ย้อนกลับไปเมื่อ 30-40 ปีก่อน<br />

ชาวบ้านบ้านปงถ้ํา ได้เดินทางไปเก็บของปุาบนดอยหนอก<br />

ตามวิถีชีวิต แล้วก็ได้พบกับบ่อที่มีหินหลากหลายสี<br />

ชาวบ้านเห็นว่ามันสวยงามจึงช่วยกันขนหินลงมาใส่ปี๊บ<br />

ขาย โดยขายในราคาเพียงไม่กี่บาท ซึ่งก็หารู้ไม่ว่า<br />

หลังจากนั้น เมื่อมีการเข้าไปสํารวจบ่อหินสีที่ชาวบ้านพบ<br />

ปรากฏว่าบ่อหินสีนั้นคือบ่อพลอยที่มีค่ามหาศาล 35<br />

31 ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง, “วัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์”, สืบค้น<br />

จาก https://blog.eduzones.com/whet/3383, วันที่สืบค้น 26<br />

เมษายน 2559<br />

32 อาจารย์สุนทร สุขสราญจิต ได้ยินมาจากคุณบุรินทร์ สุทธภักติ ลูกชาย<br />

ของคุณบุญดี สุทธภักติ อีกที<br />

33 สัมภาษณ์นายอ้าย ทองชัย (ปราชญ์ชาวบ้านประจําศูนย์เรียนรู้ชุมชน)<br />

บ้านห้วยหม้อ ต.บ้านสาง จ.พะเยา วันที่สัมภาษณ์ 17 กุมพาพันธ์ 2559<br />

34 สัมภาษณ์ นายสุพล ศรีชัย (รองนายยกองค์การบริหารส่วนตําบลบ้าน<br />

ตุ่น) อ.เมือง จ.พะเยา, สัมภาษณ์เมื่อ 12 มีนาคม 2559<br />

35 สัมภาษณ์ นายเสน่ห์ ซองดี ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ<br />

จ. ลําปาง วันที่สัมภาษณ์ 18 กุมภาพันธ์ 2559.


34 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

ลูกหาบบนดอยหนอก<br />

นนทฤทธิ์ มูลศรี<br />

เส้นทางขึ้นดอยหนอกและดอยหลวงมีอยู่หลาย<br />

เส้น แต่ที่สําคัญมีอยู่ 3 เส้นทางดังที่กล่าวไปแล้ว กระนั้น<br />

ใน 3 เส้นทางก็มีเพียงเส้นทางเดียวที่จะมีเจ้าหน้าที่<br />

อุทยานแห่งชาติดอยหลวงเป็นผู้นําทาง และหาลูกหาบให้<br />

นั่นก็คือเส้นบ้านปากบอก (แต่นักท่องเที่ยวต้องติดต่อกับ<br />

ทางอุทยานแห่งชาติดอยหลวง เพื่อนัดแนะกันก่อน)<br />

นอกจากเส้นทางนี้ นักท่องเที่ยวต้องจ้างชาวบ้านเป็นผู้นํา<br />

ทางและลูกหาบเอง<br />

อาชีพลูกหาบ เป็นอาชีพเสริมจากการทําไร่ ทํา<br />

สวน เมื่อฤดูหนาวมาเยือนและการขึ้นดอยหนอกเป็นที่<br />

รู้จักมากขึ้นจากโซเชียลมีเดีย อาชีพลูกหาบจึงกลายเป็น<br />

วิถีชีวิตของชาวบ้านไป อาชีพลูกหาบมีความสําคัญต่อการ<br />

อนุรักษ์ปุาไม้ในทางอ้อม เนื่องจากพวกเขาจะเป็นหูเป็นตา<br />

ให้กับเจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ เพื่อเฝูาระวังไฟปุา และช่วย<br />

ขจัดปัญหาขยะ<br />

การขึ้นดอยหนอก ผ่านการติดต่อกับเจ้าหน้าที่<br />

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง จะมีเจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ ดูแล<br />

ในอัตราส่วนนักท่องเที่ยว 10 คน ต่อเจ้าหน้าที่ 1 คน มี<br />

ค่าตอบแทนการนําทางวันละ 300 บาท ส่วนลูกหาบ มี<br />

ค่าตอบแทนวันละ 500 บาท 36 นอกจากนั้นจะเป็นค่าเข้า<br />

อุทยานคนละ 20 บาท ค่าพักแรม 30 บาทต่อคนต่อคืน<br />

และค่ารถอีแต๋นรับ-ส่งจากหมู่บ้านถึงจุดเริ่มเดินขึ้นเขา<br />

500 บาท<br />

ค่าใช้จ่ายและการนําทางโดยเจ้าหน้าที่อุทยานนี้<br />

ใช้กับการขึ้นดอยหนอกฝั่งบ้านห้วยหม้อ บ้านบัว และ<br />

บ้านปากบอก ส่วนการขึ้นทางฝั่งบ้านปงถ้ําจะไม่ผ่าน<br />

เจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ เพราะหมู่บ้านปงถ้ํา นําโดย<br />

ผู้ใหญ่บ้านจะเป็นผู้จัดการบริหารและทําข้อตกลงกับ<br />

นักท่องเที่ยวโดยตรง ซึ่งทางอุทยานจะไม่รับผิดชอบ หาก<br />

เกิดเหตุใด ๆ ขึ้น 37<br />

ในส่วนการเดินทางขึ้นทางฝั่งบ้านปงถ้ํา จะมี<br />

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถอีแต๊ก (4 กิโลเมตร 1<br />

ชั่วโมง) ไป-กลับ 1,600 บาท นั่งได้ 10 คน (จะใช้การเดิน<br />

เองก็ได้) ค่าเจ้าหน้าที่นําทาง 400 บาทต่อคนต่อวัน ค่า<br />

ลูกหาบ 400 บาทต่อคนต่อวัน โดยแบกสิ่งของไม่เกิน 15<br />

กิโลกรัม<br />

จุดเริ่มต้นของอาชีพลูกหาบทางฝั่งพะเยา<br />

เริ่มต้นจาก นายเกตุ สืบสาย และชาวบ้านห้วยหม้อ ผู้<br />

บุกเบิกรุ่นแรก ตั้งแต่สมัยที่อุทยาน ฯ ยังไม่เข้ามา<br />

ควบคุมดูแล สมัยนั้น มีนักท่องเที่ยวไม่มากนัก<br />

นักท่องเที่ยวจะมาติดต่อกับลูกหาบของหมู่บ้านหม้อ<br />

โดยตรง แต่หลังจากการเข้ามาของอุทยาน ฯ ในปี พ.ศ.<br />

2533 นักท่องเที่ยวจึงติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ เป็น<br />

ช่องทางแรก หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ ก็จะติดต่อ<br />

มายังกับประธานกลุ่มเฮาฮักดอยหนอก ซึ่งก็คือนายเกตุ<br />

สืบสาย ผู้เป็นประธานกลุ่มลูกหาบนั่นเอง<br />

36 ข้อมูลจาก L.hideki, จากดอยหลวงถึงดอยหนอก .. ขุนเขาเคล้าสาย<br />

ห ม อ ก เ ห นื อ ก ว๊ า น พ ะ เ ย า , จ า ก<br />

http://www.painaidii.com/diary/diary-detail/000616/lang/th/,<br />

วันที่ 4 สิงหาคม 2557, (สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559.<br />

37 สัมภาษณ์ นายสมศักดิ์ นวรัตน์ หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานดอยหลวง<br />

ที่ 6(จําปาทอง) จ.พะเยา, วันที่ 21 เมษายน 2559.


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

35<br />

ทั้งนี้ ลูกหาบจะหาบของไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อ<br />

คน แต่ก็มีนักท้องเที่ยวบางกลุ่มให้ทิปเพิ่มเติม ลุงเกตุ<br />

สืบสาย กล่าวว่า<br />

“ถ้าพูดถึงความคุ้มค่าแล้ว ถ้าหากไม่มีใจรัก<br />

อาชีพนี้จริง เงิน 500 บาท แลกกับการแบกของหนัก และ<br />

อาจทําให้เป็นโรคกระดูกพรุน โรคกล้ามเนื้ออักเสบ ย่อม<br />

ไม่คุ้ม แต่ในฐานะเจ้าบ้านที่ดี ลูกหาบก็ไม่ได้คิดจะ<br />

เรียกร้องอะไร เพียงเห็นนักท่องเที่ยวมีความสุข มีร้อยยิ้ม<br />

ก็ถือว่าคุ้มแล้ว”<br />

ลูกหาบที่บ้านห้วยหม้อ มีอยู่ด้วยกันประมาณ<br />

30 ชีวิต ทํามา 20 กว่าปีแล้ว<br />

กลุ่มเฮาฮักดอยหนอก มีวิธีการบริหาร จัดการ<br />

การท่องเที่ยวและการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มที่สนใจ เช่น<br />

ก่อนขึ้นไปเที่ยวชมปุา พวกเขาจะเก็บเงินจากนักท่องเที่ยว<br />

คนละ 50 บาท เป็นค่ามัดจําการขนขยะลงมา หากขนลง<br />

มาแล้วก็จะคืนให้ หรือลูกหาบทุกคนต้องเตรียมยา ปฐม<br />

พยาบาลขั้นพื้นฐานไปด้วย เพื่อรักษานักท่องเที่ยวหาก<br />

เกิดอุบัติเหตุ<br />

นอกจากนั้น ทางกลุ่ม ฯ จะเก็บเงินจากสมาชิก<br />

ลูกหาบ คนละ 10 บาท และเก็บคนขับรถคนละ 20 บาท<br />

ตามจํานวนการให้บริการนักท่องเที่ยว เพื่อนํามาเป็นเงิน<br />

ส่วนรวม ใช้ในยามที่สมาชิกลูกหาบเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิด<br />

โรคภัย จากการทํางาน<br />

ต่อกรณีการสร้างกระเช้าไฟฟูาขึ้นดอยหนอก ลุง<br />

เกตุ สืบสาย มองว่าย่อมกระทบกับอาชีพลูกหาบแน่นอน<br />

อีกทั้งการให้เอกชนเข้ามาดูแล พวกเขาย่อมใช้คนของ<br />

ตนเอง ซึ่งอาจไม่ใช่คนในพื้นที่ แต่หากมีการตกลงกับ<br />

หมู่บ้านว่าจะกระจายรายได้ให้ และรัฐรับประกันว่าโฮมส<br />

เตย์ ที่พักต่าง ๆ หรือร้านค้าจะเป็นของชาวบ้านในพื้นที่<br />

เท่านั้น จะไม่มีพ่อค้า นายทุน ภายนอกมาแย่งอาชีพ เขาก็<br />

ไม่คัดค้านอะไร 38<br />

38 สัมภาษณ์ นายเกตุ สืบสาย กลุ่มฮักดอยหลวง (หัวหน้ากลุ่มอาชีพ<br />

ลูกหาบ) บ้านห้วยหม้อ ต.บ้านสาง อ.เมือง จ.พะเยา, วันที่สัมภาษณ์ 21<br />

เมษายน 2559.


36 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

กลยุทธ์การอนุรักษ์ธรรมชาติบนดอยหนอก<br />

อภิชัจ สุดเฉลียว<br />

ป่าไม้ ต้นน้ํา หิน ดิน แร่ธาตุ ล้วนถูกสร้าง<br />

ขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ธรรมชาติก็ไม่อาจจะรักษาตนเอง<br />

ให้พ้นจากเงื้อมมือมนุษย์ได้ อย่างไรก็ตาม หาก<br />

มนุษย์มีจิตสํานึกและดวงตาละเอียดอ่อนพอ มนุษย์จะ<br />

รักษาธรรมชาติให้คงอยู่ เพราะเอาเข้าจริงแล้ว<br />

ชะตากรรมของมนุษย์ต่างหากที่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ดั่ง<br />

เราจะเห็นได้จากมหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกใน<br />

ปัจจุบัน อันเป็นผลสะท้อนย้อนกลับจากการทําลาย<br />

ธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ก็มิอาจคาดคะเนและต้านทานได้<br />

บนเนื้อที่ 731,250 ไร่ ของอุทยานแห่งชาติดอย<br />

หลวง เจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ ใช้ กฎหมาย เป็นหลักในการ<br />

อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนชมรมคนฮักดอยหนอก<br />

ของหมู่บ้านห้วยหม้อ ก็มีกลยุทธ์การฝากเงิน 50 บาทเป็น<br />

เงินมัดจํา ซึ่งไถ่ถอนได้หากนักท่องเที่ยวนําขยะกลับลงมา<br />

จากดอย<br />

ในส่วนบ้านปงถ้ํา จังหวัดลําปาง ซึ่งบริหาร<br />

จัดการการเดินทางขึ้นดอยหนอกฝั่งตนเองด้วยตนเอง<br />

ภายใต้การนําของผู้ใหญ่บ้านเสน่ห์ ซองดี มีแนวคิดในการ<br />

อนุรักษ์ด้วยการสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวนอนพักแรม<br />

ด้านล่างที่หมู่บ้าน มิให้นอนบนดอยหนอก คล้ายกับที่<br />

ภูชี้ฟูา อําเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เพื่อความสะอาดของ<br />

พื้นที่ และความสะดวกในการทําธุระส่วนตัว เนื่องจาก<br />

ด้านบนดอยหนอก ไม่มีทั้งน้ําประปาและห้องน้ํา<br />

นอกจากนั้นยังมีการออกใบประกาศนียบัตรผู้พิชิตดอย<br />

หนอกโดยองค์การบริหารส่วนตําบลท่าวังทองให้กับ<br />

นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวนําขยะทุกชิ้นลงมาแลก อีก<br />

ทั้งยังสร้างข้อตกลงกับอุทยานแห่งชาติว่าด้วย ต้นไม้ที่<br />

ชาวบ้านปลูก ในเขตพื้นที่ของชาวบ้านแต่เดิม ขอให้<br />

ชาวบ้านเป็นผู้ดูแล และเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า แลก<br />

กับการที่ชาวบ้านจะคืนที่ดินเหล่านี้ให้กับรัฐ ซึ่งจะเห็น<br />

ได้ว่า เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่รอบ<br />

ชุมชนของตนเองผ่านการมีส่วนร่วม การกระจายอํานาจ<br />

และการปกครองตนเอง สอดคล้องกับแนวคิดการมีส่วน<br />

ร่วมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่น<br />

นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 เรื่อยมา<br />

ส่วนเขตพะเยา บ้านห้วยหม้อ บ้านบัว<br />

โดยเฉพาะบ้านต๋อมใน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานปฏิบัติธรรม<br />

บ้านแสงธรรมชาติ แม้จะยกเรื่องปุาไม้ให้ทางอุทยาน<br />

แห่งชาติเป็นผู้ดูแล เพื่อมิให้เกิดการแย่งชิงว่าพื้นที่ไหน<br />

เป็นของใคร แต่ก็เสริมเรื่องเล่าเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์บน<br />

พระธาตุดอยหนอก เพื่อให้คนทั่วไปเกิดแรงศรัทธาและ<br />

ความเชื่อ ตลอดจนความกลัวในสิ่งที่มองไม่เห็นหากทําตัว<br />

ไม่เหมาะสมบนดอยหนอก เช่นการทิ้งขยะเรี่ยราดตาม<br />

รายทาง ซึ่งจะถือว่าเป็นการลบหลู่ เป็นบาป ไม่ได้บุญ<br />

เป็นต้น 39<br />

39 สัมภาษณ์ นายสุวัตร์ เลิศชยันตรี บ้านแสงธรรมชาติ จ.พะเยา วันที่<br />

สัมภาษณ์ 28 กุมภาพันธ์ 2559


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

37<br />

กระเช้าขึ้นดอยหนอก : ความเห็นกระแสลัก<br />

กมลชนก ด้วงคํา<br />

หนังสือพิมพ์พะเยา PRESS ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559<br />

หน้าที่ 5<br />

เป็นที่ฮือฮาทั่วพะเยา เมื่อมีแนวคิดการสร้าง<br />

กระเช้าไฟฟ้าขึ้นดอยหนอก โดยองค์กรที่มีชื่อว่า<br />

เครือข่ายสภาประชาชนจังหวัดพะเยา นําโดยคุณชุม<br />

พล ลีลานนท์ ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่าย ซึ่งเผย<br />

ว่า โครงการจะใช้งบประมาณสร้างประมาณ 700<br />

ล้านบาท แต่คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้เข้าจังหวัด<br />

ไม่น้อยกว่าปีละ 2,000 ล้านบาท<br />

ภายใต้การได้รับอนุญาตจากกระทรวง<br />

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 13-14<br />

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 คุณชุมพล ลีลานนท์ พร้อมคณะ<br />

สํารวจ 19 คน ได้เดินทางขึ้นดอยหนอกทางฝั่งพะเยา ใน<br />

เขตตําบลบ้านตุ่น เพื่อสํารวจจุดที่ตั้งฐานของกระเช้าลอย<br />

ฟูา บริเวณวนอุทยานแห่งชาติดอยหลวง พร้อมทั้ง<br />

ดําเนินการสํารวจพื้นที่เพื่อนํามาศึกษาผลกระทบที่มีต่อ<br />

สิ่งแวดล้อม (EIA) 40 ตามกฎหมายมาตรา 19 41<br />

คุณชุมพล ให้รายละเอียดว่า งบประมาณในการ<br />

ดําเนินการจํานวนประมาณ 700 ล้านบาท น่าจะมาจาก<br />

ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมมือกัน หากโครงการนี้สําเร็จและ<br />

สร้างรายได้ดังที่คาดไว้ จังหวัดพะเยาก็จะมีรายได้จากการ<br />

ท่องเที่ยวไม่เพียงปีละประมาณ 400 ล้านบาทอีกต่อไป<br />

เมื่อเทียบกับจังหวัดเชียงราย ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยว<br />

ถึงปีละประมาณ 2,900 ล้านบาท<br />

40 หนังสือพิมพ์พะเยา PRESS ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 หน้าที่ 5<br />

, วันที่สืบค้น 16 เมษายน 2559.<br />

41 Natjar2001law, “อํานาจเขตการสอบสวนตามมาตรา ๑๙ วรรค<br />

แรก”,<br />

Website: http://natjar2001law.blogspot.com/2012/02/blogpost_8711.html,<br />

วันที่สืบค้น 26 เมษายน 2559.


38 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

โครงการสร้างกระเช้าไฟฟูาขึ้นดอยหนอกนี้<br />

เริ่มต้นจาก สมาชิกสภาประชาชนจังหวัดพะเยา ได้ทํา<br />

แผนไปปรึกษาประธานสภา ฯ ถึงเศรษฐกิจภายในจังหวัด<br />

พะเยา ที่หากใช้ยุทธศาสตร์การเกษตรนํา ย่อมไม่สามารถ<br />

ช่วยเหลือให้ประชาชนพะเยามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้<br />

เนื่องจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และเกษตรกรส่วน<br />

ใหญ่มีหนี้สินมาก สภาประชาชน ฯ จึงร่วมกันคิดหาแนว<br />

ทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งประเด็นที่เห็นพ้องต้องกันก็คือ<br />

กระเช้าลอยฟูาขึ้นดอยหนอก เนื่องจากหากมีการ<br />

ดําเนินการสร้างกระเช้าลอยฟูา จังหวัดพะเยาจะเป็น<br />

จังหวัดแรกในภาคเหนือตอนบนที่มีการสร้างกระเช้าขึ้น<br />

ดอย และเศรษฐกิจของจังหวัดก็จะเอื้อประโยชน์ต่อทุก<br />

ฝุาย เช่น ร้านอาหาร ร้านค้า โรงแรม สินค้าทาง<br />

การเกษตร รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ทั้งหมดจะได้รับ<br />

ผลประโยชน์ หากมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น<br />

ในการก่อสร้าง สภาประชาชน ฯ วางแผนและ<br />

คํานวณการวางเสาของกระเช้าไว้ทั้งหมด 5 ฐาน เป็น<br />

ระยะทาง 6 กิโลเมตร โดยฐานเสาของกระเช้า 1 ต้น จะมี<br />

ความยาว 4 คูณ 4 เมตร ในขั้นตอนการวางฐานเสาสํารอง<br />

จะใช้เฮลิคอปเตอร์วาง เพื่อใช้ในการลําเลียงพัสดุที่จะใช้<br />

สร้างเสาจริง โดยให้ผู้ชํานาญพื้นที่ใช้เชือกและลวดสลิงผูก<br />

แต่ละเสาเพื่อส่งต่อพัสดุ ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการกระทบต่อ<br />

ต้นไม้และระบบนิเวศต่อไป<br />

มิได้คิดแต่เพียงฝุายเดียว แต่การทํางานทั้งหมด<br />

ของสภาประชาชน ฯ อยู่ในขั้นตอนตามกระบวนการของ<br />

กฎหมาย อีกทั้งยังมีการสํารวจความคิดเห็น เป็นไปตาม<br />

กระบวนการตามขั้นตอน MOU (Memorandum of<br />

Understanding) หรือการทําข้อตกลงร่วมกันระหว่าง<br />

ชาวบ้าน ตลอดจนมีการสํารวจความคิดเห็นของประชาชน<br />

ในพื้นที่ ซึ่งได้ข้อสรุปออกมาว่า ประชาชนทั้งหมด 100%<br />

ในเขตพื้นที่สร้างกระเช้า เห็นด้วยกับการสร้าง 42<br />

นอกจากนั้น การกําหนดพิกัดการก่อสร้างฐาน<br />

เสากระเช้า ทางสภาประชาชน ฯ ก็ยังได้แจ้งไปยัง<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตาม<br />

ขั้นตอนการดําเนินการสํารวจพื้นที่เพื่อนํามาศึกษา<br />

ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามกฎหมายแล้ว ซึ่ง<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็อนุญาตให้<br />

สํารวจพื้นที่เพื่อดําเนินการตามขั้นตอนต่อไป<br />

42 สัมภาษณ์ นายชุมพล ลีลานนท์ (ผู้ประสานงานเครือข่ายสภาประชาชน<br />

จังหวัดพะเยาและผู้อํานวยการมูลนิธิน้อมเกล้าเพื่อแผ่นดินจังหวัดพะเยา),<br />

วันที่สัมภาษณ์ 7 มีนาคม 2559.


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

39<br />

กระเช้าขึ้นดอยหนอก : กระแสความเห็นต่างและวิวาทะ<br />

แพรวพรรณ ทองแจ่ม<br />

แม้จะมีการสํารวจความคิดเห็นจากคนใน<br />

พื้นที่สร้างกระเช้าและได้ผลว่าเห็นด้วย 100% (แต่ก็ยัง<br />

มีข้อกังขาถึงวิธีการได้มาซึ่งผลนี้จากผู้ไม่เห็นด้วย) แต่<br />

นับตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 เมื่อเริ่มมีกระแสการ<br />

สร้างกระเช้าดอยหนอกขึ้น ก็เริ่มมีกระแสคิดต่างจากกลุ่ม<br />

เชิงอนุรักษ์ เช่น เมื่อสร้างกระเช้าจะส่งผลต่อระบบนิเวศน์<br />

ของปุาไม้หรือไม่ เช่นผ่านทางเพจเฟสบุ๊คที่เรียกตนเองว่า<br />

สายด่วน.คนพะเยา 43 และพะเยาโพสต์เพื่อคนพะเยา 44 ทั้ง<br />

สองกลุ่มได้เปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ประชาชน<br />

เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการสร้างกระเช้า<br />

และตั้งประเด็นข้อสงสัยต่อการสร้างกระเช้าขึ้นดอยหนอก<br />

โดยในขั้นแรก ได้เกิดวิวาทะกันในเพจพะเยาโพสต์เพื่อคน<br />

พะเยา โดยเฉพาะเกี่ยวกับการที่แอดมินเพจ ฯ ได้ตัดต่อ<br />

รูปกระเช้าไฟฟูาผ่ากลางสันดอยหนอก จนทําให้นาย<br />

ชุมพล ลีลานนท์ ในฐานะผู้ประสานงานสภาประชาชน<br />

จังหวัดพะเยาเข้าแจ้งความ ณ สภ.เมืองพะเยา ให้แอดมิน<br />

เพจพะเยาโพสต์เพื่อคนพะเยาออกมารับผิดชอบ<br />

เนื่องจากอาจทําให้คนทั่วไปเข้าใจผิดและต่อต้าน<br />

โครงการ 45 ต่อมารูปและกระทู้ดังกล่าวได้ถูกลบออกไป<br />

และเพจเฟสบุ๊ค สายด่วน.คนพะเยา ก็เข้ามาเรียกร้องให้<br />

43 Facebook Page “สายด่วน.พะเยา” Link:<br />

https://www.facebook.com/สายด่วนคนพะเยา/?fref=ts<br />

44 Facebook Page “พะเยาโพสต์ เพื่อคนพะเยา” Link:<br />

https://www.facebook.com/phayaoPost1/?fref=ts<br />

45 ASTVผู้จัดการออนไลน์, “กระเช้าขึ้นดอยหนอก” เป็นเรื่องแล้ว-คน<br />

เสนอแจ้งจับเฟซ “พะเยาโพสต์ฯ” มโนตัดต่อภาพ, จาก<br />

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=958<br />

0000008736, วันที่ 23 มกราคม 2558, (สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน<br />

2559)<br />

มหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะสถานบันการศึกษา<br />

ของพื้นที่ พร้อมตั้งคําถามต่อโครงการกระเช้าไฟฟูาทั้งสิ้น<br />

9 ประเด็น ได้แก่<br />

1. ใครเป็นเจ้าของกระเช้าไฟฟูา หากเอกชน<br />

เป็นเจ้าของ จะเป็นกี่ปี ก่อนจะคืนรัฐ หากระยะเวลาคุ้ม<br />

ทุนคือ 10 ปี<br />

2. ค่าบํารุงรักษากระเช้า ใครจ่าย (ช่วงเอกชน<br />

เป็นเจ้าของ)<br />

ข้างบน<br />

3. ใครจะดูแลความสะอาดวัด หรือดอยหนอก<br />

4. จะมีร้านค้าขายดอกไม้ ธูปเทียน ของชํา ของ<br />

กิน ชา กาแฟ อยู่บนดอยหรือไม่ และใครเป็นเจ้าของ<br />

5. จะมีการสร้างห้องน้ําบนดอยหรือไม่<br />

6. ที่บอกว่า พะเยาจะมีรายได้มากขึ้น ภาค<br />

ประชาชน ชาวบ้านจะได้ หรือนายทุนนอกพื้นที่ หรือนอก<br />

จังหวัดได้<br />

7. เมื่อเป็นเช่นนี้ก็อาจจะมีการสร้างโรงแรมที่<br />

พักต่าง ๆ ริมกว๊านพะเยา โดยนายทุน<br />

8. นายทุนอาจจะเข้าไปกว้านซื้อที่ดินบ้านตุ๋น<br />

บ้านสาง ทําให้บ้านตุ๋น บ้านสางเสียความเป็นชุมชนไป


40 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

9. หากกระเช้าไฟฟูาเกิดมีปัญหาขัดข้อง เช่น<br />

กระเช้าค้างไม่สามารถควบคุมผ่านระบบไฟฟูาได้ การ<br />

ช่วยเหลือจะเป็นเช่นใด เพราะจะไม่มีการตัดไม้ด้านล่าง<br />

จะตัดแค่ช่วงเสาเท่านั้น<br />

ทั้งนี้ มีตัวแทนจากสภาประชาชนจังหวัดพะเยา<br />

มาตอบคําถามและวิวาทะอยู่ 2 คน ได้แก่ นายชุมพล<br />

ลีลานนท์ และนายเทพพนม ข่มอาวุธ<br />

ดังนี้<br />

นายชุมพล ลีลานนท์ ได้ตอบคําถามเป็นข้อ ๆ<br />

1. เจ้าของกระเช้าไฟฟูาตัวจริง คือ หน่วยงาน<br />

ภาครัฐ อบต. และเทศบาล แต่เนื่องจากมีเอกชนมาลงทุน<br />

จึงต้องมีการแบ่งผลประโยชน์ให้คือ 30 ปี หลังจากนั้นก็<br />

จะเป็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง<br />

2 .ในช่วงเวลา 30 ปี การบํารุงรักษาเป็นของผู้<br />

ลงทุน การบริหารจัดการเป็นของสภาประชาชน ร่วมกับ<br />

อบต.<br />

3. ในเรื่องความสะอาด มีคณะทํางาน คือ สภา<br />

ประชาชน ร่วมกับ อบต. แบ่งความรับผิดชอบเป็นเรื่อง ๆ<br />

ไป<br />

4. เช่นเดียวกับความสะอาด เรื่องร้านขายของ<br />

คณะกรรมการ สภาประชาชน และ อบต.ฯลฯ จะร่วมกัน<br />

บริหารจัดการในรูป คณะกรรมการ<br />

5. ย่อมต้องมีการสร้างห้องน้ําอํานวยความ<br />

สะดวกให้นักท่องเที่ยว และจะมีการจัดการที่ดี มีการ<br />

บําบัดและนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป<br />

6. รายได้ของพะเยา หรือคนพะเยา มาจากการ<br />

มีงานทํา สามารถขายสินค้า อาหารการกิน มีการ<br />

ท่องเที่ยวรอบกว๊าน มีโรงแรม มีที่พัก คนพะเยาก็มีงานทํา<br />

มีรายได้มากขึ้น<br />

7. การสร้างโรงแรม รอบกว๊าน น่าจะเป็นรี<br />

สอร์ทชั้นเดียว เหมาะสมกว่า<br />

8. การซื้อที่บ้านตุ่น บ้านสาง เป็นสิทธิส่วนบุคล<br />

คนซื้อคนขาย ตอบไม่ได้ แต่ที่ต้องห้ามคือ อย่าทําราย<br />

ธรรมชาติ ต้องคงเดิมไว้ เพื่อการท่องเที่ยว เป็นข้อตกลง<br />

ของสอง อบต.<br />

9. ปัญหากระเช้าค้าง จะมีไฟฟูาสํารอง มีเครื่อง<br />

ปั่นไฟฟูา สามารถนําผู้โดยสารขึ้นลงได้ ตามปกติ


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

41<br />

นอกจากนั้นนายชุมพล ลีลานนท์ ยังให้ข้อมูล<br />

เพิ่มเติมว่า โครงการกระเช้าไฟฟูา มีการวิเคราะห์การคุ้ม<br />

ทุนแล้ว ไม่มีการตัดไม้ทําลายปุา เพราะกระเช้าสูงกว่า<br />

ยอดไม้ 10 เมตร จะมีโครงการปล่อยสัตว์และปลูกปุาทุก<br />

ปี มีสิ่งอํานวยความสะดวกด้านบนให้กับนักท่องเที่ยว ทั้ง<br />

อาหาร น้ําดื่ม ฯลฯ มีแพทย์ พยาบาล และผู้รักษาความ<br />

ปลอดภัย ส่วนคณะกรรมการก็ดูแลร่วมกับหน่วยงานของ<br />

รัฐ ผลประโยชน์ที่ได้ เอกชนผู้ร่วมลงทุนก็เอาไป 70% ที่<br />

เหลือใช้ในการบริหารจัดการ นอกจากนั้นการสร้าง<br />

กระเช้ายังเอื้ออํานวยให้กับคนแก่ คนพิการ คนมีโรค<br />

ประจําตัว อีกด้วย<br />

ในส่วนนายเทพพนม ข่มอาวุธ นอกจากจะ<br />

เรียกร้องให้แอดมินเพจส่ายด่วน.คนพะเยาแสดงตัวในที่<br />

แจ้ง หรือบอกชื่อเสียงเรียงนามที่แท้จริงแล้ว ยังได้ให้<br />

ข้อมูลเพิ่มเติมว่า<br />

บนดอยหนอกจะมีรั้วตาข่ายรอบด้านบนเพื่อ<br />

ปูองกันนักท่องเที่ยวพลัดตก ตัวเสากระเช้าจะไม่มีการตั้ง<br />

บนดอยหนอก นักท่องเที่ยวอาจต้องเดินขึ้นบันไดหรือ<br />

อาจจะมีระบบรางขนส่ง บนดอยหนอกอาจจะมีการจัด<br />

พระภิกษุไปจําวัด ส่วนของเสียจากการขับถ่ายจะมีการ<br />

เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟูา ซึ่งต่างประเทศต้องมาดูงาน<br />

แน่นอน นอกจากนั้นทุกกระบวนการจะมีการดึงท้องถิ่น<br />

เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการในการตัดสินใจ<br />

ขั้นตอนต่าง ๆ หรือการเปิดโอกาสให้ชุมชนเสนอโครงการ<br />

เข้ามาบูรณาการกับการท่องเที่ยวดอยหนอก เป็นต้น<br />

ข้างฝุายแอดมินเพจส่ายด่วน.คนพะเยา<br />

นอกจากคําถามเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติแล้ว สิ่งที่<br />

แอดมินเพจส่ายด่วน.คนพะเยา ต้องการความชัดเจนก็คือ<br />

เรื่องเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ของเอกชนให้ท้องถิ่น<br />

และความแน่นอนทุกเรื่องก่อนที่โครงการจะอนุมัติ เพราะ<br />

หากโครงการได้รับอนุมัติแล้ว ประชาชนเพิ่งมาทราบ<br />

รายละเอียด พวกเราก็ไม่สามารถยับยั้งโครงการได้ การที่<br />

เอกชนลงทุนถึง 700 ล้านบาท ย่อมต้องประสงค์ต่อกําไร<br />

จึงอยากให้แน่ใจว่า การทําธุรกิจบนแผ่นดินพะเยา<br />

นอกจากทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทําลายแล้ว คน<br />

พะเยายังต้องได้รับผลประโยชน์ด้วย<br />

ทั้งนี้ มีการนัดหมายว่าจะมีการเปิดเวที<br />

สาธารณะเพื่ออภิปรายในประเด็นการสร้างกระเช้าไฟฟูา<br />

ดอยหนอกต่อไป 46<br />

46 โปรดอ่านกระทู้ฉบับเต็มทางเพจสายด่วน.คนพะเยา ใน<br />

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=754131<br />

308010650&id=500307550059695&substory_index=0


42 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

ดอยหนอกและบทบาทของผู้นํา<br />

ณัฐพล องการ<br />

อ.สุวัตร์ เลิศชยันตรี ผู้ใหญ่บ้านเสน่ห์ ซองดี คุณจุมพล ลีลานนท์<br />

ดอยหนอก เป็นพื้นที่อันเป็นส่วนผสมระหว่าง<br />

ธรรมชาติ ศาสนา และการท่องเที่ยวธุรกิจ ดังนั้นจึงมี<br />

กลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานหลายรูปแบบเข้ามามีส่วน<br />

ร่วมในการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นผู้นําทางความเชื่อ<br />

ศาสนาและวัฒนธรรม ผู้นําทางการปกครองในพื้นที่<br />

ผู้นําในการอนุรักษ์ทางราชการ และผู้นําในการ<br />

พัฒนาทางเศรษฐกิจ<br />

สําหรับผู้นําทางด้านความเชื่อ ศาสนา และ<br />

วัฒนธรรม คือ อาจารย์สุวัตร์ เลิศชยันตี แห่งบ้านแสง<br />

ธรรมชาติ<br />

อาจารย์สุวัตร์เป็นผู้นําในการบูรณะพระธาตุ<br />

ดอยหนอกตั้งแต่แรกเริ่มกระทั่งปัจจุบัน ผ่านการใช้แรง<br />

ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพื่อให้ชาวบ้านร่วมกันร่วมแรง<br />

ร่วมใจขึ้นไปบูรณะพระธาตุ เมื่อประกอบกับชาวไทยนับ<br />

ถือศาสนาพุทธมากที่สุด และมีการกระจายข่าวทาง<br />

โซเชียลมีเดีย จึงทําให้การบูรณะพระธาตุดอยหนอก หรือ<br />

การเดินทางขึ้นไปสักการะนําตุงไปห่มพระธาตุ โดยเฉพาะ<br />

ยิ่งในระยะหลัง มีผู้ร่วมสนใจเป็นจํานวนมากขึ้น และไม่<br />

จํากัดเฉพาะผู้คนในจังหวัดพะเยาหรือลําปางอีกต่อไป โดย<br />

การนําตุงไปห่มพระธาตุกลายเป็นประเพณีไปแล้วในช่วง<br />

เดือนหกเป็ง หรือเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ในทางฝั่ง<br />

พะเยา 47 และในช่วงเจ็ดเป็ง ของฝั่งลําปาง<br />

ในส่วนผู้นําทางด้านการปกครองท้องที่อย่าง<br />

ผู้ใหญ่บ้าน เสน่ห์ ซองดี ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา ตําบลท่าวังทอง<br />

อําเภอวังเหนือ จังหวัดลําปาง ก็เป็นคนสําคัญคนหนึ่งใน<br />

การผลักดันให้ชาวบ้านทางฝั่งปงถ้ําได้มีส่วนร่วมในการ<br />

บูรณะดูแลรักษาพระธาตุ ตลอดจนริเริ่ม สานต่อประเพณี<br />

อย่างการสรงน้ําพระธาตุและรอยพระพุทธบาทดอยหนอก<br />

หรือในแง่การอนุรักษ์ธรรมชาติ<br />

ผู้ใหญ่บ้าน เสน่ห์ ซองดี ยังเป็นผู้นําในการทํา<br />

ข้อตกลงกับอุทยานแห่งชาติดอยหลวงว่าด้วยการ<br />

แก้ปัญหาชาวบ้านบุกรุกพื้นที่อุทยาน หรืออุทยานทับที่<br />

ชาวบ้าน ผ่านการทําข้อตกลงว่าชาวบ้านจะปลูกต้นไม้ ขอ<br />

ดูแล และเก็บผลประโยชน์ แลกกับการที่ชาวบ้านมอบ<br />

ที่ดินให้อุทยาน<br />

47 สัมภาษณ์ นายสุวัตร์ เลิศชยันตรี บ้านแสงธรรมชาติ จ.พะเยา วันที่<br />

สัมภาษณ์ 28 กุมภาพันธ์ 2559


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

43<br />

นอกจากนั้นในแง่การท่องเที่ยว ผู้ใหญ่บ้าน<br />

เสน่ห์ ซองดีก็ยังเป็นผู้นําในการสร้างให้หมู่บ้านปงถ้ําเป็น<br />

สถานที่ท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาก่อนขึ้นดอยหนอก<br />

ตลอดจนเป็นผู้บริหารจัดการการนํานักท่องเที่ยวขึ้นดอย<br />

ทั้งการจัดหาผู้นําทาง ลูกหาบ การจัดการขยะ และ<br />

ประกาศนียบัตรผู้พิชิต เป็นต้น 48<br />

ในส่วนผู้นําทางด้านเศรษฐกิจ คือ คุณชุมพล<br />

ลีลานนท์ ประธานสภาประชาชนจังหวัดพะเยา ผู้<br />

เคลื่อนไหวให้มีการสร้างกระเช้าขึ้นดอยหนอก<br />

คุณชุมพลมองว่าการพัฒนาการท่องเที่ยวและ<br />

เศรษฐกิจจะนําไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพะเยา<br />

กล่าวคือ หากรายได้จากการท่องเที่ยวของพะเยาเพิ่มจาก<br />

ปีละ 700 ล้านบาท เป็น 2,000 ล้านบาท ผู้ได้รับ<br />

ผลประโยชน์ก็คือคนจังหวัดพะเยา ทั้งในฐานะเจ้าของ<br />

ธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร ของที่ระลึก ตลอดจนลูกหาบ เป็น<br />

ต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การสร้างกระเช้าไฟฟูาก็ต้องคํานึงถึง<br />

ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม หรือหากมีก็ต้องให้น้อยที่สุด<br />

เท่าที่จะมากได้<br />

ในส่วนผู้นําของหน่วยงานรัฐ นั่นก็คืออุทยาน<br />

แห่งชาติดอยหลวง แม้ว่าจะใช้กฎหมายเป็นหลักในการ<br />

ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ แต่กฎหมายปัจจุบันก็<br />

ยืดหยุ่น และต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชน<br />

เนื่องจากเล็งเห็นถึงข้อจํากัดในแง่จํานวนของพนักงานรัฐ<br />

เมื่อเทียบกับขนาดของพื้นที่อนุรักษ์ ตลอดจนยอมรับว่า<br />

ชาวบ้านมีจารีตประเพณีเป็นของตนเองในการอนุรักษ์<br />

ทรัพยากรธรรมชาติที่พวกเขาอยู่ร่วมด้วย<br />

สุดท้าย ในส่วนผู้นําฝุายอนุรักษ์ปุาไม้ที่ไม่เห็น<br />

ด้วยกับการสร้างกระเช้าไฟฟูา แม้ว่าจะมิได้เป็นตัวบุคคล<br />

แต่ผ่านโซเชียลมีเดียอย่างเพจเฟสบุ๊คสายด่วนคนพะเยา<br />

และเฟสบุ๊คพะเยาโพสต์ แต่ก็ถือว่าเป็นตัวแทนของกลุ่ม<br />

คนที่มองเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติระยะยาวเป็นหลัก อีก<br />

ทั้งยังมีข้อเป็นห่วงถึงเรื่องเศรษฐกิจว่าในที่สุดแล้ว<br />

ผลประโยชน์นี้จะตกอยู่ในมือคนพะเยา ชาวบ้าน หรือ<br />

นายทุนต่างจังหวัดกันแน่<br />

ผู้นําในแต่ละส่วน ต่างมีความคิดหลักในคนละ<br />

แบบ มีบ้างที่ขัดแย้งกัน แต่ทั้งหมดก็อยู่บนฐานของการ<br />

คํานึงถึงส่วนรวม ไม่ว่าจะในนามการอนุรักษ์ ศาสนา หรือ<br />

เศรษฐกิจ จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามยิ่งว่า โครงการสร้าง<br />

กระเช้าไฟฟูาดอยหนอก จะลงท้ายด้วยผลใด กระนั้นสิ่งที่<br />

น่าสนใจยิ่งกว่าก็คือกระบวนการก่อนถึงผลนั้น ทุกฝุาย<br />

ทุกองค์กร ทุกหน่วยงาน และคนพะเยาทั่วไปจะมีส่วนร่วม<br />

อย่างไร จะรับฟัง ร่วมถกเถียง และร่วมยอมรับมากน้อย<br />

แค่ไหน เพราะในแง่หนึ่งมันก็เหมือนการเดินทางขึ้น<br />

ดอยหนอก บางครั้งระหว่างทางก็สําคัญไม่ยิ่งหย่อน<br />

กว่าจุดหมายปลายทาง<br />

48 สัมภาษณ์ นายเสน่ห์ ซองดี ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา ต.ท่าวังทอง อ.วังเหนือ จ.<br />

ลําปาง, วันที่สัมภาษณ์ 18 มีนาคม 2559


44 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

ดอยหนอก : บันทึกการเดินทางขึ้นและเขียน<br />

กฤษณพงศ์ บุญจันทร์<br />

“กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้า<br />

ตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงําเมือง งามลือเลื่องดอย<br />

บุษราคัม”<br />

จากคําขวัญของจังหวัดพะเยา คงไม่มีใครที่ไม่<br />

รู้จักและไม่เคยไปสถานที่ท่องเที่ยวข้างต้น ต่างกับ “ดอย<br />

หนอก” ที่น้อยคนนักจะเดินทางไปถึง จากเส้นทางที่แสน<br />

ไกลและยากลําบาก<br />

ในรายวิชาสัมมนา ของนิสิตรัฐศาสตร์ชั้นปีที่ 4<br />

ปีการศึกษา 2558 ทั้งหมดกว่า 235 คน ได้ตั้งโจทย์ให้<br />

นิสิตศึกษาเรื่องราวอะไรก็ได้เกี่ยวกับพะเยา เพื่อนํามา<br />

จัดทําเป็น “วารสารพะเยาปริทัศน์” อันถือเป็นการทิ้ง<br />

ทวนชีวิตนิสิตตามปณิธาน “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของ<br />

ชุมชน” ของมหาวิทยาลัย<br />

จากเดิมที่กลุ่มเพื่อนของข้าพเจ้าก็มีความสนใจ<br />

และตั้งใจไว้ก่อนแล้วว่า ก่อนจบการศึกษาจะต้องพากันไป<br />

เยือนดอยหนอกให้ได้ เหล่านี้จึงเป็นที่มาของการจัดทํา<br />

วารสารพะเยาปริทัศน์ฉบับดอยหนอกนี้<br />

ยื่นให้จากการสละเวลาให้สัมภาษณ์ก็ทรงคุณค่ากว่าคําพูด<br />

เป็นไหน ๆ<br />

มากกว่า “เรื่อง” จึงมี “ราว” เหล่านี้<br />

ข้าพเจ้าจึงอยากจะขอขอบคุณเพื่อนและผู้ให้<br />

สัมภาษณ์มา ณ โอกาสท้ายของวารสารนี้<br />

การเดินทางขึ้นดอยหนอกของกลุ่มเรา เริ่มต้น<br />

จากการเลือกขึ้นทางฝั่งหมู่บ้านปงถ้ํา เนื่องจากมีเพื่อนใน<br />

กลุ่มเคยขึ้นทางฝั่งบ้านต๋อมใน-ห้วยหม้อมาแล้ว อีกทั้ง<br />

คณะเดินทางยังมีผู้หญิงอยู่หลายคน การเลือกเส้นทางที่<br />

สั้นและกระชับเวลาจึงเหมาะสมกว่า<br />

พวกเราทั้งหมด 13 คนขับรถมอเตอร์ไซค์ออก<br />

จากพะเยาตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึงหมู่บ้านปงถ้ําเวลาประมาณ<br />

8.00 น และเดินทางสู่จุดเดินเท้าแรกด้วยมอเตอร์ไซค์<br />

จุดเริ่มต้นที่ 1 นี้ ห่างจากตัวหมู่บ้านประมาณ 4<br />

กิโลเมตร ระหว่างทางนั้นเต็มไปด้วยทุ่งนาของชาวบ้าน<br />

เมื่อมองย้อนกลับไปจากวันนี้ที่ทุกอย่างลุล่วงไป<br />

แล้ว การศึกษาประเด็นดอยหนอกสําหรับข้าพเจ้า มิได้<br />

เป็นการค้นหาหรือรับรู้แค่ “เรื่อง” หรือใจความสําคัญ<br />

เท่านั้น แต่ยังได้สัมผัสกับผู้คนที่เกี่ยวข้องในหลายมิติ<br />

นับตั้งแต่การตั้งประเด็นคําถาม การค้นหาผู้รู้ การตะลอน<br />

ขึ้น-ลงพื้นที่สัมภาษณ์ ซึ่งบางครั้งก็เป็นการเดินทางที่พึ่ง<br />

โชคชะตามากกว่าการวางแผน พึ่งเพื่อนมากกว่าแผนที่<br />

อีกทั้ง บางครั้งแววตาแห่งความศรัทธาของผู้ให้ข้อมูลก็<br />

สําคัญไม่แพ้ข้อมูลที่พวกเขาให้ และเช่นกัน น้ําใจที่หยิบ


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

45<br />

การเดินทางขึ้นดอยหนอกจากบ้านปงถ้ํากับจาก<br />

บ้านห้วยหม้อนั้นต่างกัน กล่าวคือ ในขณะที่เส้นห้วยหม้อ<br />

มีระยะทางไกลกว่า แต่ก็ชันน้อยกว่าเส้นปงถ้ํา ดังนั้นแค่<br />

เพียงจากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 เพื่อนหลายคนในกลุ่มก็เริ่ม<br />

ถอดใจกับความชันของเส้นทาง ความหนักและ<br />

ความหน่วงของเปูที่ใส่ของมาเสียเต็มพิกัด<br />

แต่ก็ดีที่มีลมคอยช่วยพัดมาทําให้พวกเราคลายร้อน และ<br />

หายเหนื่อยเป็นพัก ๆ นอกจากนั้น รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ<br />

และน้ําใจของเพื่อนร่วมทาง ก็เป็นพลังให้แก่กันได้เป็น<br />

อย่างดีจนดั้นด้นมาถึงจุดพักที่ 3 ในเวลาประมาณ 12.00<br />

น. พวกเราพัก และรับประทานอาหารตรงที่แห่งนี้ซึ่งมีชื่อ<br />

เรียกว่า กิ่วฮางแกง<br />

แต่ก็ด้วยด้วยน้ําใจและกําลังใจจากเพื่อนที่คอย<br />

ให้และช่วยเหลือกัน<br />

“เอาเปูมา เดี๋ยวจะแบกให้”<br />

“สู้ ๆ สิเรามาด้วยกัน ก็ต้องกลับด้วยกัน”<br />

ทําให้ในที่สุด พวกเราก็สามารถประคับประคอง<br />

กันจนถึงจุดพักที่สอง จุดที่ 2 นี้เป็นจุดที่เส้นทางระหว่าง<br />

บ้านห้วยหม้อกับปงถ้ํามาบรรจบกันตรงสันเขา<br />

จากนั้น ความเหนื่อย ความหิว และอากาศที่<br />

ร้อนอบอ้าว บวกกับอาการเจ็บปวดตามร่างกายก็เริ่มเข้า<br />

มาเยือนและคอยตัดกําลังกายในการพิชิตดอยหนอกครั้งนี้<br />

ในระหว่างการเดินทางไปจุดพักที่ 4 ได้มี<br />

เส้นทางที่แยกเป็นสองสาย ทําให้พวกเราสับสน โชคดีที่<br />

ตรงนั้นมีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ พวกเราจึงโทรไป<br />

สอบถามกับผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา แล้วได้คําตอบว่า เส้นทาง<br />

ด้านซ้ายมือจะเป็นทางขึ้นดอยหลวง ส่วนถ้าตรงไป จะไป<br />

ดอยหนอก พวกเราจึงเลือกที่จะตรงไป โดยเส้นทางเดินไป<br />

ดอยหนอกนี้ จะเป็นทางไต่สันเขา มีทางลงและขึ้นสลับกับ<br />

ช่วงใกล้ที่จะถึงจุดพักที่ 4 จะเป็นหินผาชัน และเริ่ม<br />

มองเห็นดอยหนอกแล้ว ดังกล่าวจึงทําให้ทุกคนต่างมีแรง<br />

และกําลังใจในการเดินขึ้นมาอีกครั้ง


46 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

ในที่สุด เมื่อเราพบกับธารน้ําที่ไหลเอื่อย นั่นคือ<br />

สัญญาณว่าถึงจุดพักที่ 4 แล้ว ซึ่งเป็นจุดพักที่มีตาน้ําไหล<br />

ตลอดทั้งปี ตาน้ําแร่ธรรมชาตินี้ รับประกันได้ว่า หากใคร<br />

ได้เดินขึ้นมาและลิ้มลองรส ย่อมรับรู้ได้ถึงความเย็นสดชื่น<br />

รสน้ํา รสธรรมชาติ และรสชาติชีวิตนี้เกินที่จะบรรยายเป็น<br />

ถ้อยคําได้เชียว<br />

พวกเราแต่ละคนนอนพักเอาแรงกันกว่า 1<br />

ชั่วโมง แล้วก็เริ่มต้นขึ้นไปยังพระธาตุดอยหนอกในเวลา<br />

15:30 น.<br />

ในจุดพักนี้ พวกเราได้เติมน้ําใส่ขวดพก และ<br />

ช่วยกันขนทราย เพื่อนําขึ้นไปบูรณะพระธาตุตามกําลัง<br />

ของแต่ละคน จนในที่สุดก็ถึงที่พักบริเวณศาลาในเวลา<br />

ประมาณ 14:00 น.<br />

ในระหว่างการขึ้นพระธาตุนั้น มีข้อควรปฏิบัติ<br />

คือ ใครที่กลัวความสูง ไม่ควรมองลงไปข้างล่างเพราะมีแต่<br />

หน้าผาชันและเหวลึก และในระหว่างการไต่ขึ้นไปนั้น เรา<br />

ต้องถือว่า หญ้าและหินที่เราจับนั่นคือชีวิตของเราเอง ซึ่งก็<br />

ยังดีที่ตรงทางขึ้นที่ชันที่สุด มีผู้ใจบุญนําลวดสลิงเส้นใหญ่<br />

มาผูกหินด้านบนไว้ เพื่อให้พวกเราไต่ขึ้นไปโดยง่ายและ<br />

ปลอดภัยมากขึ้น<br />

และแล้วในที่สุด พวกเราแต่ละคนก็สามารถ<br />

ขึ้นมายังดอยหนอก ได้นําทราย ปูน น้ํา ขึ้นมา เมื่อขึ้น<br />

มาถึงแล้ว เรียกได้ว่า ความเหนื่อยนั้นหายไปอย่างปลิดทิ้ง<br />

เลยก็ว่าได้<br />

นอกจากรอยพระพุทธบาท พระธาตุ พระสังกัจ-<br />

จายน์ พระวิสุทธิเทพ วิว 360 องศา และกว๊านพะเยา<br />

เบื้องล่างแล้ว<br />

บนดอยหนอก ยังมีสมุดเก่า ๆ อยู่เล่มหนึ่ง<br />

บันทึกรายชื่อผู้ที่ขึ้นมาพิชิต พร้อมกับวันเดือนปีที่ขึ้นมา<br />

ตลอดจนความในใจของนักเดินทาง เมื่อพวกเราได้ค่อย ๆ<br />

อ่านไป ก็ต่างอินไปกับความรู้สึกเหล่านั้น


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

47<br />

หลังจากการดื่มด่ํากับบรรยากาศบนยอดดอย<br />

หนอก ที่สดชื่นดั่งกับลมยามเย็นของชายฝั่งทะเลแล้ว<br />

พวกเราก็ประชุมแจกแจง<br />

งานให้แต่ละคน<br />

เมื่อแจกแจงงาน<br />

กันเสร็จ พวกเราก็ทยอย<br />

ลงจากยอดดอย ซึ่งทําให้<br />

เห็นว่า ในบางครั้ง ผู้หญิง<br />

ก็ใจเด็ดกว่าผู้ชายมาก<br />

ตรงที่การลงจากยอดดอย<br />

เพื่อนผู้ชายบางคนถึงกับ<br />

ข า สั่ น มื อ ห นึ่ ง จั บ<br />

ผ้าขาวม้าไว้อย่างแน่นหนา<br />

ถึงแม้ว่ามือข้างนั้นจะบวม<br />

จากอุบัติเหตุในการเล่น<br />

กีฬาก่อนหน้านั้นก็ตาม ในขณะที่<br />

เพื่อนผู้หญิงกลับเดินตัวปลิวลง<br />

มาอย่างหน้าตาเฉย<br />

ห ลั ง จ า ก ที่ ล ง<br />

จากยอดดอย มีทั้งคน<br />

หาฟืนที่ต้องตระเวน<br />

หากิ่งไม้แห้ง ซึ่งหา<br />

ยากมาก เพราะ<br />

ผู้คนขึ้นไปก็ต้อง<br />

ใช้ กั น ทั้ งนั้ น<br />

ซึ่งนับว่าต้อง<br />

พึ่งโชคชะตา<br />

อีกเช่นกัน<br />

คนหาน้ําที่ต้องเดินลงไปที่ตาน้ําเป็น<br />

ระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร คนทํากับข้าวที่ต้องสําลักควัน<br />

ไฟ และบางครั้งต้องน้ําตาไหล<br />

บรรยากาศเหล่านี้ทําให้ชวนนึกถึงตอนเข้าค่าย<br />

ลูกเสือในสมัยมัธยมเสียนี่กะไร<br />

เมื่อยามอาหารเย็น<br />

มาเยือน พวกเราทุกคนต่างพูด<br />

เป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นมื้อที่<br />

อร่อยที่สุดในชีวิต เพราะ<br />

รสชาติอาหารคลุกเคล้าไปกับ<br />

ความหิว ความอ่อนล้าพร้อม<br />

กับบรรยากาศที่แสนจะอบอุ่น<br />

ปนรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ<br />

ล้อมวงกันภายใต้แสงเทียน ก็<br />

ยิ่งทําให้ภาพและรสนั้นตราตรึง<br />

ใจพวกเรายิ่งขึ้นไปอีก<br />

เมื่อพวกเราทานอาหารเย็นเสร็จ จึงพากันไปทํา<br />

วัดเย็นที่ลานพระพุทธรูปที่มีชื่อว่าองค์ปฐม<br />

บรมศาสดา หรือจะเรียกว่าพระ<br />

เ จ้ า ทั น ใ จ เ ห มื อ น ที่<br />

ชาวบ้านเรียกก็ได้<br />

บรรยากาศยาม<br />

ค่ํา มีแสงจันทร์ในคืนข้างขึ้น<br />

มี ดวง ด า ว ร ะ ยิ บ ก ร ะ จ า ย<br />

สุกสว่างเต็มฟากฟูา บรรยากาศที่<br />

แสนเย็นสบายนี้ ทําให้เพื่อนบางคน<br />

นั่งสมาธิไป กรนไปก็มี<br />

หลังจากทําวัดเสร็จ พวกเราก็<br />

แยกย้ายกันเข้านอน<br />

รุ่งเช้าของวันที่ 13 มีนาคม 2559<br />

พวกเราได้วางคนไว้สําหรับขึ้นไปดอยหลวง ตามคําบอก


48 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

เล่าของพระอาจารย์ธีระแห่งวัดสันกําแพง อําเภอวังเหนือ<br />

จังหวัดลําปาง ผู้ซึ่งบอกว่ามีเศษซากเจดีย์เก่าอยู่ และไป<br />

ตามหาว่า ภายในถ้ํานั้นมีรูปวาดฝาผนังดังที่ได้ยินข้อมูล<br />

เบื้องต้นมาหรือเปล่า<br />

จากการปีนปุายไปสู่ยอดดอยหลวง พวกเรา<br />

พบว่า มีเศษซากอิฐบนยอดดอยหลวงจริง<br />

แต่สําหรับภาพวาดฝาผนังถ้ํา เราไม่พบแต่อย่าง<br />

ใด พบแต่พระพุทธรูปขนาดต่าง ๆ เพียงเท่านั้น<br />

หลังจากการสํารวจพื้นที่เสร็จในเวลา 11.00 น.<br />

โดยประมาณ พวกเราก็ได้รับประทานอาหารกลางวันเป็น<br />

มือสุดท้ายที่บนดอยหนอก และก็ได้ออกเดินทางลงไปยัง<br />

หมู่บ้านปงถ้ําเวลา 12.00 น.<br />

เหล่านี้ต้องลงออกเดินทางถึงจะรู้ได้ ยิ่งแรงศรัทธาของการ<br />

แบกหิน แบกปูน ก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะเพียงแค่แบก<br />

ร่างกายตนเองขึ้นไปก็ยากลําบากแล้ว หากไม่ลองเดินขึ้น<br />

เขา ไฉนเลยจะรับรู้น้ําหนักอันมหาศาลของแรงศรัทธา<br />

เหล่านั้นได้<br />

สิ่งที่ทุกคนได้ฝากไว้คือ...รอยเท้า<br />

สิ่งที่ทุกคนเก็บมาคือ...ภาพถ่ายและความทรงจํา<br />

สิ่งที่ทุกคนได้มาคือ...หัวใจที่ดวงใหญ่กว่าเดิม<br />

ระหว่างทางลงนั้น พวกเราบ้างก็ไถลลงตามทาง<br />

ชันของพื้นจนกางเกงขาด บ้างก็เดินจิกดินจนปวดหัวแม้<br />

เท้า พวกเราเดินไป พักไป ประกอบกับเสียงหัวเราะ เสียง<br />

ตะโกนแซวกัน เสียงเพลง และเสียงหอบ ดังลั่นปุา จนใน<br />

ที่สุด พวกเราก็มาถึงที่จอดรถในเวลา 15.00 น. และ<br />

เดินทางไปยังบ้านของผู้ใหญ่บ้านปงถ้ําเพื่อรับเกียรติบัตร<br />

พิชิตดอยหนอกไว้เป็นที่ระลึก แล้วก็เดินทางกลับไปยัง<br />

มหาวิทยาลัยพะเยาโดยสวัสดิภาพในเวลา 17.00 น.<br />

จากการขึ้นพิชิตดอยหนอก ข้าพเจ้าได้เห็นทั้ง<br />

ความงามของธรรมชาติ และมิตรภาพของผู้คน ทุกอย่าง


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

49<br />

เพลงดอยหนอก พะเยาปริทัศน์<br />

เนื้อร้อง นาระดา สนามทอง กฤษณพงษ์ บุญจันทร์<br />

ทํานอง กฤษณพงษ์ บุญจันทร์<br />

ขับร้อง นาระดา สนามทอง กฤษณพงษ์ บุญจันทร์ จารุมน งิ้วทั่ง<br />

Intro : C Am / Dm Am / C G / C G<br />

C Em Am / G<br />

มีตํานานแห่งหนึ่งที่ชื่อดอยหนอก<br />

F G C/C7<br />

คนแซ่ซ้องสรรเสริญด้วยความศรัทธา<br />

F G Em Am<br />

หนทางนั้นยากเย็น สูงชันเสียดฟ้า<br />

Dm D G<br />

พุทธะศรัทธา ดอยหนอกน่าชม<br />

C Em Am / G<br />

แหล่งต้นน้ําเป็นทางหล่อเลี้ยงผู้คน<br />

F G C/C7<br />

สุขใจล้น ตุ่น ต๊ํา ต๋อม ต๋ํา ไหลริน<br />

F G Em Am<br />

ลงสู่กว๊านพะเยาหลั่งรินสู่แม่น้ําอิง<br />

Dm G C/C7<br />

หล่อเลี้ยงชีวินหมู่เฮาชาวพะเยา<br />

F G Em Am<br />

เหนือสิ่งใดแล้วยังมีสิ่งที่หลายคนบูชา<br />

Dm G G<br />

และได้กลับมาฟังนะจะเล่าให้ฟัง...<br />

G<br />

... เอย...<br />

“ฉ่อย”<br />

เออเอิงเอย...ฉะ...เอิงเอย<br />

ปรางแก้วแพรวพร่างกลางเวหน<br />

ทั่วทิศมณฑลรู้จักไง<br />

เพราะด้วยความใหญ่ของดอยหนอก<br />

เป็นจุดที่บอกหลายอย่าง<br />

มองขึ้นด้านบนมีพระธาตุ<br />

ครอบคลุมพระบาทพระพุทธเจ้าไว้<br />

ซ้ายมือคือฝั่งของลําปาง ทางขึ้นสั้นๆแต่ว่าเหนื่อยจับใจ<br />

อีกทางคือฝั่งของพะเยาทางขึ้นยาวๆแต่ว่าพิสูจน์ใจ<br />

ตีนดอยหนอกมีพระตั้ง 4 ศอก<br />

หนักไม่อยากบอกขนขึ้นมาได้ยังไง<br />

ตะปีนเขาเลอะลื่นยังชื่นจิต<br />

เหนื่อยหอบก็ไม่คิดจะเปลี่ยนใจ<br />

ใครได้ขึ้นไปบนดอยหนอก จะบอก จะบอก อย่าไป..<br />

ใครได้ขึ้นไปบนดอยหนอกยิ่งกว่าจบ อ๊อกฟอร์ดที่ยิ่งใหญ่<br />

แต่ถ้าใครได้จบที่ดอยนี้<br />

เหมือนมีบารมีทั้งกายใจ<br />

..เอชา เอชา ชา ช่า ช่า ชา หนอยแม่..


50 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

บรรณานุกรม<br />

หนังสือ<br />

สุจิตต์ วงษ์เทศ. เมืองพะเยา : ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2538.<br />

หนังสือพิมพ์พะเยา PRESS. ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559.<br />

ข้อมูลออนไลน์<br />

ประเพณีทรงน้ํารอยพระพุทธบาทดอยหนอก. จาก https://www.facebook.com/<strong>DoiNhok</strong><strong>Phayao</strong>/ .<br />

วันที่ 1 มิถุนายน 2559. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559]<br />

ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. “วัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์.” จาก https://blog.eduzones.com/whet/3383.<br />

[สืบค้นวันที่ 26 เมษายน 2559]<br />

สํานักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปุา และพันธุ์พืช. ดอยหลวง-ดอยหนอก.<br />

จาก http://park.dnp.go.th/visitor/scenicshow.php?id=215. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2559]<br />

อุทยานแห่งชาติดอยหลวง. อุทยานแห่งชาติดอยหลวง.<br />

จาก http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=143&lg=1.<br />

[สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2559ล<br />

ASTVผู้จัดการออนไลน์. “กระเช้าขึ้นดอยหนอก” เป็นเรื่องแล้ว-คนเสนอแจ้งจับเฟซ “พะเยาโพสต์ฯ” มโนตัดต่อภาพ, จาก<br />

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000008736. วันที่ 23 มกราคม 2558.<br />

[สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2559]<br />

Facebook Page “พะเยาโพสต์ เพื่อคนพะเยา” จาก https://www.facebook.com/phayaoPost1/?fref=ts<br />

Facebook Page “สายด่วน.พะเยา” จาก https://www.facebook.com/สายด่วนคนพะเยา/?fref=ts<br />

L.hideki. “จากดอยหลวงถึงดอยหนอก .. ขุนเขาเคล้าสายหมอกเหนือกว๊านพะเยา” จาก<br />

http://www.painaidii.com/diary/diary-detail/000616/lang/th/. วันที่ 4 สิงหาคม 2557.<br />

[สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559]<br />

Natjar2001law. “อํานาจเขตการสอบสวนตามมาตรา ๑๙ วรรคแรก.” จาก<br />

http://natjar2001law.blogspot.com/2012/02/blog-post_8711.html. [วันที่สืบค้น 26 เมษายน 2559.]


ดอยหนอก : ตํานาน ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้ง<br />

51<br />

สัมภาษณ์<br />

เกตุ สืบสาย. ประธานกลุ่มฮักดอยหลวง (หัวหน้ากลุ่มอาชีพลูกหาบ). บ้านห้วยหม้อ ต.บ้านสาง อ.เมือง จ.พะเยา.<br />

วันที่สัมภาษณ์ 21 เมษายน 2559.<br />

แก้ว หาดไร่. บ้านต๊ํากลาง อ.เมือง จ.พะเยา. วันที่สัมภาษณ์ 20 เมษายน 2559.<br />

แก้วไหลมา รักบุตร (ภรรยาพระขาวแก้ว) อายุ 83 ปี. บ้านแม่เลี้ยบ ต.ทุ่งฮั้ว อ.วังเหนือ จ.ลําปาง.<br />

วันที่สัมภาษณ์ 19 พฤษภาคม 2559<br />

ชุมพล ลีลานนท์. ผู้ประสานงานเครือข่ายสภาประชาชนจังหวัดพะเยาและผู้อํานวยการมูลนิธิน้อมเกล้าเพื่อแผ่นดินจังหวัด<br />

พะเยา. วันที่สัมภาษณ์ 7 มีนาคม 2559.<br />

พระครูวีระ. เจ้าอาวาสวัดสันกําแพง. บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ จ. ลําปาง. วันที่สัมภาษณ์ 9 มีนาคม 2559.<br />

พระโพธิญาณรังสี (พิศิษฐ์ เมตฺตจิตโต). วัดอนาลโย ต.สันปุาม่วง อ.เมือง จ. พะเยา. วันที่สัมภาษณ์ 9 มีนาคม 2559.<br />

วิมล ปิงเมืองเหล็ก. ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา. วันที่สัมภาษณ์ 12 กุมภาพันธ์ 2559.<br />

สมศักดิ์ นวรัตน์. หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานดอยหลวง ที่ 6 (จําปาทอง) จ.พะเยา. วันที่สัมภาษณ์ 21 เมษายน 2559.<br />

สมยศ แก้วประเสริฐ. บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ จ.ลําปาง. วันที่สัมภาษณ์ 12 เมษายน 2559.<br />

สุพล ศรีชัย. รองนายยกองค์การบริหารส่วนตําบลบ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา. วันที่สัมภาษณ์ 12 มีนาคม 2559.<br />

สุวัตร์ เลิศชยันตรี. บ้านแสงธรรมชาติ จ.พะเยา. วันที่สัมภาษณ์ 28 กุมภาพันธ์ 2559.<br />

เสน่ห์ ซองดี. ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ จ. ลําปาง. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559.<br />

อ้าย ทองชัย. ปราชญ์ชาวบ้านประจําศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านห้วยหม้อ ต.บ้านสาง จ.พะเยา.<br />

วันที่สัมภาษณ์ 17 กุมพาพันธ์ 2559.


52 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!