04.08.2016 Views

DoiNhok Phayao Perspectives

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

36 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

กลยุทธ์การอนุรักษ์ธรรมชาติบนดอยหนอก<br />

อภิชัจ สุดเฉลียว<br />

ป่าไม้ ต้นน้ํา หิน ดิน แร่ธาตุ ล้วนถูกสร้าง<br />

ขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ธรรมชาติก็ไม่อาจจะรักษาตนเอง<br />

ให้พ้นจากเงื้อมมือมนุษย์ได้ อย่างไรก็ตาม หาก<br />

มนุษย์มีจิตสํานึกและดวงตาละเอียดอ่อนพอ มนุษย์จะ<br />

รักษาธรรมชาติให้คงอยู่ เพราะเอาเข้าจริงแล้ว<br />

ชะตากรรมของมนุษย์ต่างหากที่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ดั่ง<br />

เราจะเห็นได้จากมหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกใน<br />

ปัจจุบัน อันเป็นผลสะท้อนย้อนกลับจากการทําลาย<br />

ธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ก็มิอาจคาดคะเนและต้านทานได้<br />

บนเนื้อที่ 731,250 ไร่ ของอุทยานแห่งชาติดอย<br />

หลวง เจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ ใช้ กฎหมาย เป็นหลักในการ<br />

อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนชมรมคนฮักดอยหนอก<br />

ของหมู่บ้านห้วยหม้อ ก็มีกลยุทธ์การฝากเงิน 50 บาทเป็น<br />

เงินมัดจํา ซึ่งไถ่ถอนได้หากนักท่องเที่ยวนําขยะกลับลงมา<br />

จากดอย<br />

ในส่วนบ้านปงถ้ํา จังหวัดลําปาง ซึ่งบริหาร<br />

จัดการการเดินทางขึ้นดอยหนอกฝั่งตนเองด้วยตนเอง<br />

ภายใต้การนําของผู้ใหญ่บ้านเสน่ห์ ซองดี มีแนวคิดในการ<br />

อนุรักษ์ด้วยการสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวนอนพักแรม<br />

ด้านล่างที่หมู่บ้าน มิให้นอนบนดอยหนอก คล้ายกับที่<br />

ภูชี้ฟูา อําเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เพื่อความสะอาดของ<br />

พื้นที่ และความสะดวกในการทําธุระส่วนตัว เนื่องจาก<br />

ด้านบนดอยหนอก ไม่มีทั้งน้ําประปาและห้องน้ํา<br />

นอกจากนั้นยังมีการออกใบประกาศนียบัตรผู้พิชิตดอย<br />

หนอกโดยองค์การบริหารส่วนตําบลท่าวังทองให้กับ<br />

นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวนําขยะทุกชิ้นลงมาแลก อีก<br />

ทั้งยังสร้างข้อตกลงกับอุทยานแห่งชาติว่าด้วย ต้นไม้ที่<br />

ชาวบ้านปลูก ในเขตพื้นที่ของชาวบ้านแต่เดิม ขอให้<br />

ชาวบ้านเป็นผู้ดูแล และเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า แลก<br />

กับการที่ชาวบ้านจะคืนที่ดินเหล่านี้ให้กับรัฐ ซึ่งจะเห็น<br />

ได้ว่า เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่รอบ<br />

ชุมชนของตนเองผ่านการมีส่วนร่วม การกระจายอํานาจ<br />

และการปกครองตนเอง สอดคล้องกับแนวคิดการมีส่วน<br />

ร่วมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่น<br />

นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 เรื่อยมา<br />

ส่วนเขตพะเยา บ้านห้วยหม้อ บ้านบัว<br />

โดยเฉพาะบ้านต๋อมใน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานปฏิบัติธรรม<br />

บ้านแสงธรรมชาติ แม้จะยกเรื่องปุาไม้ให้ทางอุทยาน<br />

แห่งชาติเป็นผู้ดูแล เพื่อมิให้เกิดการแย่งชิงว่าพื้นที่ไหน<br />

เป็นของใคร แต่ก็เสริมเรื่องเล่าเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์บน<br />

พระธาตุดอยหนอก เพื่อให้คนทั่วไปเกิดแรงศรัทธาและ<br />

ความเชื่อ ตลอดจนความกลัวในสิ่งที่มองไม่เห็นหากทําตัว<br />

ไม่เหมาะสมบนดอยหนอก เช่นการทิ้งขยะเรี่ยราดตาม<br />

รายทาง ซึ่งจะถือว่าเป็นการลบหลู่ เป็นบาป ไม่ได้บุญ<br />

เป็นต้น 39<br />

39 สัมภาษณ์ นายสุวัตร์ เลิศชยันตรี บ้านแสงธรรมชาติ จ.พะเยา วันที่<br />

สัมภาษณ์ 28 กุมภาพันธ์ 2559

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!