04.08.2016 Views

DoiNhok Phayao Perspectives

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

16 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

ตํานานดอยหนอก 10 จารุมน งิ้วทั่ง<br />

ตํานานดอยหนอกได้มีการเล่าขานสืบต่อกัน<br />

มาแบบมุขปาฐะ (ปากต่อปาก) ผ่านผู้คนที่มีความเชื่อ<br />

ความศรัทธา ไปในทางเดียวกัน ตํานานถูกสร้างขึ้น<br />

และเล่าต่อ เพื่อตอบข้อสงสัยในสิ่งที่ผู้คนได้ไปพบเห็น<br />

เช่น รอยพระพุทธบาท<br />

บางครั้ง ตํานานก็คือเรื่องเล่าที่พยายามโยง<br />

ตัวตนและสถานที่ให้เชื่อมกับศาสนาที่ตนนับถือผ่านห้วง<br />

กาลเวลา อดีตสู่ปัจจุบัน<br />

ตํานานดอยหนอก เล่ากันปากต่อปาก ความว่า<br />

ในครั้นพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จธุดงค์<br />

มายังบริเวณยอดดอยหนอก พระองค์ได้เหยียบพระพุทธ<br />

บาทลงบนยอดดอย โดยหัวแม่เท้าหันไปทางหนองเอี้ยง<br />

หรือกว๊านพะเยาในปัจจุบัน 11<br />

ตํานานเล่าว่า หลังจากพระพุทธเจ้าประทับรอย<br />

พระพุทธบาทที่ยอดดอยหนอกแล้ว จึงได้ตรัสให้พระ<br />

อานนท์ไปตักน้ําที่หนองเอี้ยง แต่บริเวณนั้นมีพญานาคตน<br />

หนึ่งเฝูาอยู่ และไม่ยอมให้พระอานนท์ตักน้ําไปถวาย<br />

พระพุทธเจ้า เพราะพญานาคอยากเห็นพระพุทธเจ้าตัว<br />

จริง พระอานนท์จึงนําความมากราบทูล เมื่อพระพุทธเจ้า<br />

ทราบ จึงเสด็จลงจากยอดดอยหนอกไปยังหนองเอี้ยง เมื่อ<br />

พญานาคเห็นก็กล่าวขึ้นมาว่า<br />

“ทําไมพระพุทธเจ้าตัวเล็ก”<br />

ด้วยความทะนงตน พญานาคได้เสกตัวเองให้ตัว<br />

ใหญ่ขึ้น และคิดว่าหากพระพุทธเจ้าที่อยู่ตรงหน้านี้เป็น<br />

พระพุทธเจ้าจริง ก็ขอให้พระพุทธเจ้าแปลงกายให้รูปร่าง<br />

สูงใหญ่กว่าตนเอง มิเช่นนั้นจะไม่ให้น้ํา<br />

พระพุทธเจ้าทราบโดยจิตเช่นนั้นจึงแสดง<br />

อิทธิฤทธิ์โดยการแปลงกายจนขนาดเท่ากับพระเจ้า<br />

ตนหลวง ที่อยู่ ณ วัดศรีโคมคําในปัจจุบัน 12<br />

เรื่องเล่าที่กล่าวมานี้ หากเป็นชาวพะเยาจะคุ้นหู<br />

มาก เนื่องจากคล้ายคลึงกับตํานานพระธาตุจอมทอง พระ<br />

ธาตุริมฝั่งหนองเอี้ยง กว๊านพะเยา จะแตกต่างก็ตรงเรื่อง<br />

พระพุทธเจ้าเหยียบพระพุทธบาทเป็นรอยจารึกบนหิน ซึ่ง<br />

ไม่มีในตํานานพระธาตุจอมทอง และรายละเอียดปลีกย่อย<br />

อาทิเช่น ตัวบุคคลในตํานาน ซึ่งในตํานานพระธาตุ<br />

จอมทองจะมีมากกว่า<br />

๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕<br />

10 ภาพพื้นหลังเป็นภาพเขียนสีน้ํามันว่าด้วยตํานานการสร้างพระเจ้าตน<br />

หลวง จาก สุจิตต์ วงษ์เทศ, เมืองพะเยา : ประวัติศาสตร์ สังคมและ<br />

วัฒนธรรม, (กรุงเทพฯ : มติชน, 2538), หน้า 414.<br />

11 กว๊านพะเยาเกิดจากการสร้างของมนุษย์โดยการสร้างผนังกั้นน้ําในปี<br />

พ.ศ. 2482-2484 ก่อนหน้านั้นมีสภาพเป็นที่ลุ่มแม่น้ําอิง เป็นบวก หนอง<br />

มีน้ําท่วมในฤดูฝน<br />

12 สัมภาษณ์ นายเสน่ห์ ซองดี ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง อ.วังเหนือ จ.<br />

ลําปาง วันที่สัมภาษณ์ 18 กุมภาพันธ์ 2559

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!