04.08.2016 Views

DoiNhok Phayao Perspectives

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

26 วารสารพะเยาปริทัศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1<br />

ธงชาติไทยที่โบกสะบัดพลิ้วไหวอย่างสวยงาม<br />

เหนือเศษซากก้อนอิฐดินเผานับร้อยนับพันก้อนที่กองเป็น<br />

ฐาน กองอิฐที่ผุกร่อนตามกาลเวลา ผ่านแดด ผ่านฝน ร้อน<br />

ลม หนาว มานับร้อย ๆ ปี ตั้งอยู่ท่ามกลางยอดดอยหลวง<br />

ดอยที่สูงที่สุดของแนวเขา ซึ่งแบ่งกั้นพะเยาและลําปางไว้<br />

ดอยหลวง เป็นดอยที่มีสันเขาทอดยาว บริเวณ<br />

ยอดดอยกว้างประมาณ 20 ตารางเมตร ฝั่งซ้ายและขวา<br />

เป็นเหวลึก โดยฝั่งซ้าย เขตลําปาง จะแต่มีพืชตระกูลหญ้า<br />

ต่าง ๆ ขึ้นเพียงอย่างเดียว ไม่มีต้นไม้ใหญ่ แตกต่างกับฝั่ง<br />

พะเยา<br />

บนเนื้อที่ 20 ตารางเมตรนี้ มีโบราณสถาน<br />

สําคัญ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นที่ประมาณ 4 ตาราง<br />

เมตร มีลักษณะเป็นฐานเจดีย์เก่า สร้างด้วยก้อนอิฐดินเผา<br />

กระจัดกระจายเต็มพื้นที่ บ้างฝังในดินแน่น และบ้างวาง<br />

บนพื้นดิน และแม้ว่าจะหมดสภาพดั้งเดิมไปแล้ว แต่ก็ทํา<br />

ให้เกิดความฉงนระคนทึ่งว่า<br />

“ใครกันที่มาสร้างพุทธสถานที่ไกลและสูงถึง<br />

เพียงนี้ ???”<br />

พระครูธีระ เจ้าอาวาสวัดสันกําแพง บ้านปงถ้ํา<br />

ตําบลวังทอง อําเภอวังเหนือ จังหวัดลําปางได้สันนิษฐาน<br />

ว่า ผู้ที่สร้างเจดีย์บนยอดดอยคือชาวลัวะ ในยุคสมัยของ<br />

พระนางจามเทวีหรือหลังจากนั้น เนื่องจากพระนางจาม<br />

เทวีมีบริวารเป็นชาวลัวะ และเมื่อเสด็จไปยังที่ใด ก็มักจะ<br />

สร้างวัด สร้างเจดีย์ไว้เป็นที่สักการะของชุมชนเสมอ 17<br />

ส่วนชาวลัวะเองก็เป็นชาติพันธุ์บนขุนเขาเพียงชาติพันธุ์<br />

เดียวในครั้งโบราณกาลที่นับถือพระพุทธศาสนา และ<br />

มักจะสร้างเจดีย์ไว้บนภูเขา โดยในเวลาต่อมา อาจจะเนื่อง<br />

ด้วยสงคราม โรคระบาด หรือภัยธรรมชาติ จึงทําให้<br />

ชาวลัวะต้องย้ายถิ่นที่อยู่ ทิ้งซากเจดีย์ไว้เป็นหลักฐานการ<br />

ตั้งถิ่นฐานในที่นั้น ๆ 18 ดังปรากฏอยู่หลายแห่งในพื้นที่<br />

อําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่<br />

อีกหนึ่งหลักฐาน ที่ถือเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่า<br />

ชาวลัวะน่าจะเป็นผู้สร้างเจดีย์บนดอยหลวงก็คือ เจดีย์<br />

ของวัดสันกําแพง ณ บ้านปงถ้ํา หมู่บ้านที่อยู่ด้านล่างของ<br />

ดอยหนอก ซึ่งสร้างโดยบุตรของพระนางจามเทวี และ<br />

บริวารที่เป็นชาวลัวะ 19 นอกจากนั้นแล้ว อาจารย์วิมล<br />

ปิงเมืองเหล็ก ปราชญ์แห่งเมืองพะเยา ก็ยังสันนิษฐานไป<br />

ในทางเดียวกันว่า แต่เดิมชาวลัวะน่าจะอาศัยอยู่บริเวณ<br />

ดอยอนาลโย โดยถูกเรียกว่า “ชาวแจ๊ะ” จนดอยลูกนั้นถูก<br />

เรียกว่า “ม่อนแจ๊ะ” กระทั่งปัจจุบัน 20<br />

ส่วนคําถามที่ว่า แล้วปัจจุบันชาวลัวะหายไป<br />

ไหน นอกจากข้อสันนิษฐานว่า ชาวลัวะอพยพไปยังที่อื่น<br />

แล้ว ยังมีข้อสันนิษฐานว่า ชาวลัวะอาจไม่ได้ไปไหนเลยก็<br />

ได้ เพียงแต่กลืนกลายกลายเป็นคนเมืองไป ไม่ว่าจะที่บ้าน<br />

ผาแดง ตําบลบ้านร้อง อําเภองาว จังหวัดลําปาง บ้าน<br />

ผาดิน ตําบลบ้านฮั้ว อําเภอวังเหนือ จังหวัดลําปาง และ<br />

บ้านต๊ํากลาง ตําบลบ้านต๊ํา อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึ่ง<br />

21<br />

มีคนเชื้อสายลัวะอาศัยอยู่<br />

สําหรับบ้านต๊ํากลาง เป็นหมู่บ้านที่ชาวลัวะ<br />

อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในช่วงพุทธศักราช 2470 โดย<br />

เดินทางมาจากบ้านกล้วย ในเขตจังหวัดลําปาง เดินเท้า<br />

เข้ามากว่า 1 เดือน เข้ามาอยู่ร่วมกันไม่ถึง 7-8 หลังคา<br />

เรือน ในอดีต ลักษณะบ้านจะมุงด้วยหลังคาใบตองตึง<br />

ผนังบ้านเป็นไผ่สาน ประกอบอาชีพทํานา ปลูกพืชผัก<br />

ผลไม้เป็นอาชีพหลัก ไม่มีการค้าขาย โดยในปัจจุบัน<br />

นามสกุลที่เป็นคนเชื้อสายลัวะ ได้แก่ นามสกุลหาดไร่และ<br />

หางกะพุง<br />

17<br />

สัมภาษณ์ พระโพธิญาณรังสี (พิศิษฐ์ เมตฺตจิตโต) วัดอนาลโย<br />

ต.สันปุาม่วง อ.เมือง จ. พะเยา, สัมภาษณ์วันที่ 9 มีนาคม 2559.<br />

18<br />

สัมภาษณ์ พระครูธีระ เจ้าอาวาสวัดสันกําแพง บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง<br />

อ.วังเหนือ จ. ลําปาง, สัมภาษณ์วันที่ 9 มีนาคม 2559.<br />

19<br />

สัมภาษณ์ พระครูธีระ เจ้าอาวาสวัดสันกําแพง บ้านปงถ้ํา ต.วังทอง<br />

อ.วังเหนือ จ. ลําปาง, สัมภาษณ์วันที่ 18 กุมพาพันธ์ 2559.<br />

20 สัมภาษณ์อาจารย์วิมล ปิงเมืองเหล็ก, ปี พ.ศ. 2554.<br />

21<br />

สัมภาษณ์ พระโพธิญาณรังสี (พิศิษฐ์ เมตฺตจิตโต) วัดอนาลโย<br />

ต.สันปุาม่วง อ.เมือง จ. พะเยา, สัมภาษณ์วันที่ 9 มีนาคม 2559.

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!