03.10.2022 Views

ผลงานกลาโหม

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ผลการดำเนินงานของ

กระทรวงกลาโหม

๒๕๖๔



ผลการดำาเนินงานของกระทรวงกลาโหม

ประจำาปี ๒๕๖๔

1


คำปรารภ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานของรัฐที่ดำรงบทบาทหลักในด้านการรักษาอธิปไตย และความมั่นคงของชาติ

ยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็น

หลักในการบริหารราชการและการปฏิบัติภารกิจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ และ

กฎหมายที ่เกี่ยวข้อง.โดยมีการพัฒนาความพร้อมให้สามารถเผชิญภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ ภัยคุกคามรูปแบบ

ใหม่ สาธารณภัยและภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ควบคู่ไปกับการสนับสนุน

รัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน และความ

สงบสุขของบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง สมดังปณิธานของกระทรวงกลาโหมที่ว่า เทิดราชา รักษ์ราษฎร์ ชาติมั่นคง

ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นปีที่ประเทศต้องเผชิญภัยคุกคามนานัปการ อันเกิดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) จากภัยพิบัติภายในประเทศ และจากปัญหาความมั่นคงของภูมิภาค ที่ส่งผลกระทบต่อการขับ

เคลื่อนประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งกระทรวงกลาโหม ตระหนักถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา

ที่สำคัญของชาติ และยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนให้ดีขึ้น จึงได้นำทรัพยากรทั้งกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และ

สิ่งอำนวยความสะดวดที่มีอยู่เข้าบูรณาการการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาล จนทำให้ประเทศชาติสามารถก้าวเดินไป

ข้างหน้าได้อย่างมีทิศทาง บ้านเมืองมีความสงบสุขและมั่นคง สามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมการ

ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนสร้างเกียรติภูมิของประเทศได้อย่างภาคภูมิในเวทีสากล

รายงานผลการดำเนินงานของ กระทรวงกลาโหม ปี พ.ศ ๒๕๖๔ จึงเป็นการร้อยเรียงและนำเสนอภารกิจทุกด้าน

ที่ส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพได้เพียรพยายามปฏิบัติหน้าที่เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ และ

เพื่อความบริบูรณ์พูนสุขของพี่น้องประชาชน ในยามที่ประเทศต้องเผชิญปัญหานานัปการ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถบรรลุเป้า

หมายสำคัญของชาติในภาพรวม คือ

ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข

2


นโยบายเร่งด่วน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (๑ ต.ค.๖๓ - ๓๐ ก.ย.๖๔)

นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้ทุกส่วนราชการของกระทรวง

กลาโหมให้ความสำคัญเร่งด่วนในการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อสร้างหลักประกันพื้นฐาน ในการรองรับการ

ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและการพัฒนาศักยภาพของกระทรวงกลาโหม มุ่งเน้นการปรับรูปแบบการทำงานของหน่วยตาม

แนวทางการทำงานของรัฐบาลรองรับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ตลอดจนการผนึกทุกภาคส่วนร่วมวางอนาคตประเทศไทย

ภายใต้ภารกิจ “รวมไทยสร้างชาติ” ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ได้แก่

๑. การเสริมสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศ มีนโยบายสำคัญเพิ่มเติม อาทิ การสนับสนุนการดำเนินงาน

ของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทานและโรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน การปรับรูปแบบการปฏิสัมพันธ์กับมิตรประเทศ

ภายใต้สภาวะแวดล้อมฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติแก่

ประเทศสมาชิกอาเซียนและมิตรประเทศ การต่อสู้วิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการแพทย์ทหาร

เพื่อให้บทบาทของกองทัพไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ การเป็นประธานร่วมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทาง

ทะเล (Experts’ Working Group on Maritime Security: EWG on MS) ในกรอบ ADMM - Plus ในห้วง ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๔ -

๒๕๖๖) และการสนับสนุนศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน (ASEAN Center of Military Medicine: ACMM)

๒. การปฏิรูปกองทัพและการส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล มีนโยบายสำคัญเพิ่มเติม อาทิ การบูรณา

การความร่วมมือและการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง การประเมินผลงานของหน่วยจากผู้มี

ส่วนได้ส่วนเสียตัวจริงและการทำงานเชิงรุก การปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติของกระทรวงกลาโหมรองรับฐานวิถีชีวิตใหม่

(New Normal) การจัดทำแผนระดับที่ ๓ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ การปรับปรุงระบบ

บริหารจัดการการฝึกและศึกษา การพัฒนาระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ

ด้านความมั่นคง การขยายผลการนำกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว การเร่งรัดการนำข้าราชการพลเรือน

กลาโหมมาบรรจุรับราชการเพื่อทดแทนการบรรจุกำลังทหารประจำการ และการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนและ

หน่วยงานข่าวกรองเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บัญชาการกระทรวงกลาโหม

๓. การสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติ การพัฒนาประเทศ การบรรเทาภัยพิบัติ

และการช่วยเหลือประชาชน เพื่อให้ประเทศไทยเอาชนะอุปสรรคและความท้าทายต่าง ๆ ก้าวต่อไปอย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง

ด้วยความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนทุกคน มีนโยบายสำคัญเพิ่มเติม อาทิ การแก้ไข

ปัญหาความเดือดร้อนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การสนับสนุนการดำเนินการของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่

ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.)

รวมทั้งสนับสนุนในการอำนวยการจัดเตรียมพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) และพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐทางเลือก

(Alternative State Quarantine) การสนับสนุนรัฐบาลในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่

และโรคติดต่ออุบัติซ้ำ การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย และการช่วยเหลือประชาชน

3


สารบัญ

เทิดราชา

รักษ์ราษฎร์

๒๑

๕๗

ชาติมั่นคง

4


ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นห้วงเวลาที่

ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาสำคัญที่กระทบกระเทือน

ต่อการขับเคลื่อนไปข้างหน้าของประเทศ อันเกิดจาก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(COVID-19) ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็น

อยู่ของประชาชนทั่วประเทศทั้งในเรื่องของการดำเนินชีวิต

ประจำวัน ด้านสาธารณสุข ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมจิตวิทยา

และด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่ได้ก่อให้เกิดผล

กระทบจากการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม การจ้างงาน และ

การท่องเที่ยว ซึ่งแม้ว่าวงการแพทย์จะค้นพบและผลิตวัคซีน

ขึ้นเพื่อป้องกันโรค ควบคู่ไปกับการกำหนดมาตรการในการ

ควบคุมและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของรัฐบาลที่สามารถ

จำกัดวงและคลี่คลายสถานการณ์การแพร่ระบาดได้อย่าง

น่าพอใจ และมีพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นมาโดยลำดับก็ตาม

แต่ปัญหาในด้านเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระยะแรกของการฟื้นตัว

อีกทั ้ง ประเทศไทยยังประสบปัญหาสาธารณภัยและภัยพิบัติ

อันเกิดจาก วาตภัย อุทกภัย ภัยหนาวและภัยแล้งที่รุนแรง

ในหลายพื้นที่ของประเทศที่จะต้องเร่งรีบแก้ไขอย่างทันท่วงที

เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนน้อยที่สุด

ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ทะเลจีนใต้ และช่องแคบ

มะละกา ที่เกิดจากการขยายอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจ

ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งและส่งผลกระทบต่อการดำเนินการ

ด้านความมั่นคงและการดำเนินการทางทหารในภูมิภาคเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ประเทศไทยควรกำหนดบทบาทที่

เหมาะสมในการดำเนินการด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ

และเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุทั้งในเรื่องของ กำลังพล

ยุทโธปกรณ์ หลักนิยม และเทคโนโลยีทางทหารที่มีความ

เหมาะสม นอกจากนี้ ปัญหาทางการเมืองในประเทศเพื่อนบ้าน

ได้ส่งผลต่อความสัมพันธ์และการกำหนดท่าทีของประเทศ

สมาชิกอาเซียน เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่สำคัญคือการดำรงบทบาท

ของประเทศไทยต่อท่าทีที่เหมาะสมบนหลักการไม่แทรกแซง

กิจการภายใน (Principle of Non-interference) ซึ่งเป็น

แนวทางหลักของอาเซียน รวมทั้ง ต้องมีการเตรียมความพร้อม

ทางด้านการทหารเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพด้านความมั่นคง

ในบทบาททางการทหารของประเทศไทยในอาเซียนอีกด้วย

กระทรวงกลาโหม เป็นส่วนราชการที่รับผิดชอบใน

ภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ปฐมบท

พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕๒ รวมทั้ง การปฏิบัติภารกิจตาม

เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวง

กลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ซึ ่ง

รับผิดชอบในภาพรวมของการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบัน

พระมหากษัตริย์ การพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย

บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย

เกียรติภูมิ และผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐและ

ความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งการพัฒนาประเทศ

โดยที่กระทรวงกลาโหมมีการจัดส่วนราชการและมีภารกิจที่

สำคัญของส่วนราชการ กล่าวคือ

๑. สำนักงานรัฐมนตรี มีหน้าที่ เกี่ยวกับราชการทาง

การเมือง เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหมหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และการ

ประสานนโยบายระหว่างกระทรวง

๒. สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่เกี่ยวกับ

งานนโยบายและยุทธศาสตร์ งานราชการประจำทั่วไปของ

กระทรวง และราชการส่วนหนึ่งส่วนใดของกระทรวงซึ่งมิได้

กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการอื่นใด

๓. กองทัพไทย มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพไทย

การป้องกันราชอาณาจักรและดำเนินการเกี่ยวกับการใช้

กำลังทหารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม โดยมีส่วน

ราชการขึ้นตรง คือ

๓.๑ กองบัญชาการกองทัพไทย มีหน้าที่ ควบคุม

อำนวยการ สั่งการและกำกับดูแลการดำเนินงานของ

ส่วนราชการในกองทัพไทยในการเตรียมกำลัง การป้องกัน

ราชอาณาจักร และการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหาร

ตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพ

สูงสุด

๓.๒ กองทัพบก มีหน้าที่ เตรียมกำลังกองทัพบก

การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลัง

กองทัพบกตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม

๓.๓ กองทัพเรือ มีหน้าที่ เตรียมกำลังกองทัพเรือ

การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลัง

กองทัพเรือตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม

๓.๔ กองทัพอากาศ มีหน้าที่ เตรียมกำลังกองทัพ

อากาศ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการ

ใช้กำลังกองทัพอากาศตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม

5


ตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ กระทรวงกลาโหม

ยังคงดำรงความมุ่งหมายที่จะพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบัน

พระมหากษัตริย์ พร้อมทั้ง ยึดมั่น ทั้งยังปฏิบัติตามนโยบาย

รัฐบาลและนโนบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด ตลอดจนตระหนักถึงความสำคัญ

ของการดูแลความปลอดภัยและเสริมสร้างความสุขให้แก่พี่น้อง

ประชาชนชาวไทยเป็นสำคัญ

6

ภารกิจทั้งมวลของกระทรวงกลาโหม ที่จะกล่าวถึง

ต่อไปนี้ จึงเป็นเสมือนเข็มทิศที่บ่งชี้ทิศทางในการก้าวเดินไป

ข้างหน้าในภารกิจทางการทหาร ภารกิจด้านความมั่นคง และ

ภารกิจในการพัฒนาประเทศให้เกิดดุลยภาพที่ดี สร้างความ

มั่นคงให้แก่ประเทศ และอำนวยความสุขให้แก่พี่น้องประชาชน

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของเจตนารมณ์อันส ำคัญคือ

กลาโหมเทิดราชา รักษ์ราษฎร์ ชาติมั่นคง


เทิดราชา

ด้วยดวงใจ จงรัก และภักดี

เทิดบารมี พระทรงชัย ทรงไอศูรย์

ยอพระเกียรติ พราวชัด จรัสจำารูญ

น้อมเทิดทูน ด้วยเศียรเกล้า เหล่าโยธิน


ประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้มีการบันทึกมาตั้งแต่อดีต

มาตราบจนปัจจุบันว่า สถาบันพระมหากษัตริย์คือสถาบันหลัก

ในการก่อร่างสร้างชาติ ทรงเป็นหลักชัยแห่งความภาคภูมิใจใน

ความเป็นราชอาณาจักร ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ

และทรงเป็นผู้นำในการรวบรวมผืนแผ่นดิน โดยทรงนำเหล่า

ทหารและมวลประชาชนเข้าต่อสู้กับอริราชศัตรู เพื่อรักษาไว้

ซึ่งเอกราช อธิปไตยของผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้ มีหลายครั้งที่

ประเทศไทยต้องเผชิญกับมรสุมแห่งภัยคุกคามรอบด้านอันเกิด

จากการใช้กำลังบังคับ หรือการรุกรานของชนชาติพันธุ์อื่น

แต่ในที่สุดแล้วประเทศไทยก็สามารถฟันฝ่านานาอุปสรรค

สร้างชาติ สร้างอาณาเขต และรักษาอธิปไตยจนยืนหยัดมาให้

อนุชนรุ่นปัจจุบันได้มีผืนแผ่นดินที่มีเอกราชผืนนี้ไว้เป็นบ้าน

เป็นเมืองให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงพระราชสถานภาพเป็น

จอมทัพ เป็นศูนย์รวมจิตใจของกำลังพลในการสร้างชาติ

ปกป้องประเทศและรักษาอธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งยังทรง

บำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อบำบัด ฟื้นฟู และทำนุบำรุง

ประเทศในยามที่ว่างจากศึกสงคราม เพื่อยังความเจริญรุ ่งเรือง

ความเป็นปึกแผ่นให้บังเกิดขึ้นในชาติและอำนวยความผาสุก

ให้บังเกิดอย่างอุดมสมบูรณ์ในมวลหมู่มหาชนชาวไทย ตลอด

ระยะเวลาที่ผ่านมาประชาชนชาวไทยต่างสำนึกได้ว่าสถาบัน

พระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของชาติและเป็นที่ยึดเหนี่ยว

ของชาวไทย ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยอย่าง

หาที่สุดมิได้ ทรงทุ่มเทพระวรกายในการปฏิบัติภารกิจ

นานัปการอย่างไม่ทรงย่อท้อ เหน็ดเหนื่อย เพื่อพัฒนาคุณภาพ

ชีวิตของอาณาประชาราษฎร์ จึงเกิดมิติแห่งความจงรักภักดี

ของประชาชนชาวไทยมีต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและ

สถาบันพระมหากษัตริย์ และบังเกิดเป็นความตระหนักในการ

เทิดทูนและเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์อย่าง

มิรู้คลาย

กระทรวงกลาโหมและทหารไทย ต่างดำรงบทบาท

สนองพระเดชพระคุณในราชการสงครามมาโดยตลอด ทั้งยัง

ดำรงภารกิจการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

ให้เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญสูงสุดของกระทรวงกลาโหม จึงได้

ดำเนินภารกิจนี้ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและเป็น

ภารกิจที่ดำรงมั่นในจิตสำนึกของทหารทุกคนว่า จะต้องดำเนิน

ภารกิจในการพิทักษ์ รักษา ปกป้อง และเทิดทูนสถาบัน

พระมหากษัตริย์ ตลอดจนสนับสนุนภารกิจของสถาบัน

พระมหากษัตริย์ให้ดำรงสืบต่อไป โดยมีผลการดำเนินการ

สำคัญในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ กล่าวคือ

๑. การพิทักษ์ รักษา ปกป้อง สถาบัน

พระมหากษัตริย์

การจัดกำาลังสนับสนุนภารกิจถวายความ

ปลอดภัย

กระทรวงกลาโหม โดย กองบัญชาการกองทัพไทย

จัดกำลังหน่วยตอบโต้สถานการณ์ เพื่อสนับสนุนภารกิจถวาย

ความปลอดภัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่ง

เป็นการถวายอารักขา เพื่อให้สมพระเกียรติ ในเส้นทางเสด็จ

พระราชดำเนินศึกษา ตรวจสอบ ความปลอดภัย บนเส้นทาง

เสด็จพระราชดำเนิน เพื่อจัดเตรียมแผนเผชิญเหตุเมื่อเกิด

เหตุการณ์ ด้วยการจัดกำลังเพื่อพิสูจน์ทราบ ระงับเหตุ รวมทั้ง

ตอบโต้สถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อการรักษาความ

ปลอดภัย การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อเหตุร้าย และจัด

ชุดเฝ้าตรวจพื้นที่สูงข่ม รวมทั้งชุดเคลื่อนที่เร็วและชุดสนับสนุน

ทางยุทธวิธี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้จัดกำลัง

สนับสนุนภารกิจถวายความปลอดภัยพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี และ

พระบรมวงศานุวงศ์ จำนวนทั้งสิ้น ๑๗ ครั้ง ผลการปฏิบัติ

เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติ

8


๒. การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม พร้อมใจกันจัดกิจกรรม

เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จ

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ อย่าง

สมพระเกียรติและสง่างาม เพื่อน้อมถวายพระพรชัยมงคล

แสดงพลังแห่งความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหา

กรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ โดยดำเนินการ การจัดกิจกรรม

ถวายพระเกียรติและถวายพระราชกุศลเนื่องในวันเฉลิม

พระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และน้อมรำลึก

พระมหากรุณาธิคุณบูรพกษัตริยาธิราชเจ้า เนื่องในวันสำคัญ

อันเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนการจัดซุ้ม

เฉลิมพระเกียรติเพื่อแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีต่อสถาบัน

ดังนี้

9


๒.๑ สำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

๒.๒ กองบัญชาการกองทัพไทย

10


๒.๓ กองทัพบก

๒.๔ กองทัพเรือ

11


นอกจากนี้ กองทัพเรือ ยังได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูป

บูชากองทัพเรือ “พระพุทธศรีราชนาวี มงคลสามัคคีประสิทธิ์”

ชนิดทองคำขนาดหน้าตักกว้าง ๕ นิ้ว และถวายเงินซึ่งเป็น

รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการแข่งขัน “ไตรกีฬา

เฉลิมพระเกียรติ ซีซัน ๓ : เหลียวหลังแลหน้า รวมพลคนกล้า

ฝ่าสองมหานที” โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย

ทั้งยัง ทูลเกล้าฯ ถวายเงินรายได้จากการร่วมออกร้าน

งานกาชาดออนไลน์ ประจำปี ๒๕๖๓ ถวายแด่ สมเด็จ

พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี เพื่อบำรุงสภากาชาดไทย

อีกทั้ง ยังได้รับพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้า

ลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทรงเป็น

12


อาจารย์พิเศษบรรยายหัวข้อ การฝึกอบรมดำน้ำเพื่อการ

อนุรักษ์ปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยแก่นักเรียนนายเรือ

ชั้นปีที่ ๔ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้นักเรียน

นายเรือซึ่งจะเติบโตเป็นนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพเรือ

ได้ตระหนักรู้ในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและ

เป็นกำลังหลักในการปลูกฝังให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา

ตลอดจนประชาชนทั้งชาวไทยและต่างชาติ เห็นความสำคัญ

และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

ให้มีความยั่งยืนสืบต่อไป

๒.๕ กองทัพอากาศ

นอกจากนี้ กองทัพอากาศ ยังได้เข้าร่วมพิธีวางพาน

พุ่มดอกไม้สด ถวายสักการะน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช

มหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”

ประจำปี ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ณ กรมฝน

หลวงและการบินเกษตร

13


๓. การสนับสนุนภารกิจของสถาบัน

พระมหากษัตริย์

บทบัญญัติของ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ

กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๘ (๒) ได้บัญญัติไว้

อย่างชัดเจนว่า อำนาจหน้าที่สำคัญของกระทรวงกลาโหม

อีกประการหนึ่งคือ สนับสนุนภารกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์

ซึ่งเป็นการดำเนินการในเรื่องของการปฏิบัติภารกิจสำคัญ

เพื่อถวายงานเพื่อการสนองงานและถวายพระเกียรติ

แด่สถาบันพระมหากษัตริย์ อาทิ การดำเนินงานเพื่อสนอง

แนวพระราชดำริ การดำเนินภารกิจตามพระบรมราโชบาย

โดยดำเนินการ ดังนี้

๓.๑ การดำาเนินงานเพื่อสนองแนวพระราชดำาริ

๓.๑.๑ กองบัญชาการกองทัพไทย

๓.๑.๑.๑ ก า ร จั ด วิ ท ย า ก ร บ ร ร ย า ย

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เผยแพร่ให้แก่หน่วยงาน

ทหาร นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้รับทราบ

และเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถ

น้อมนำไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยคำนึงถึงภูมิสังคม

วัฒนธรรมประเพณี สภาพเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่ความมั่นคง

อย่างยั่งยืนในสังคมไทย ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนา

ตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

๓.๑.๑.๒ การจัดการประกวดผลงาน

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการยกย่อง

พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสนับสนุน

หน่วยงานและประชาชนส่งผลงานเข้าประกวดฯ ให้ได้รับการ

ยอมรับมีขวัญและกำลังใจในการน้อมนำหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต และเป็นการ

ขยายผลการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้

แพร่หลายมากขึ้นไปสู่ทุกภาคส่วน

๓.๑.๑.๓ การจัดการประกวดสื่อดิจิทัล

สร้างสรรค์ ประเภทหนังสั้นเรื่อง “พอเพียงที่เพียงพอ” ความยาว

ไม่เกิน ๖ - ๘ นาที โดยแบ่งเป็นประเภทอุดมศึกษา และ

ประเภทประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมเผยแพร่

ประชาสัมพันธ์พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสต่าง ๆ ที่

พระองค์ได้ทรงพระราชทานไว้ ให้แพร่ขยายและถูกนำไปใช้

อย่างเป็นรูปธรรม

14


๓.๑.๑.๔ การจัดทำภาพยนตร์สารคดีชุด

นำเสนอเนื้อหาพระอัจฉริยภาพด้านนวัตกรรมของพระบาท

สมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

บรมนาถบพิตร และการถ่ายทอดเรื่องราวการประกวดผลงาน

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๑๓ ตอน

และเผยแพร่ภาพยนตร์สารคดีทุกตอน ผ่านทางสถานีโทรทัศน์

ในระบบดิจิทัลทีวีที่ได้รับความนิยม

๓.๑.๒ กองทัพบก

๓.๑.๒.๑ การสนับสนุนมูลนิธิภูบดินทร์

ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์

ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว ทรงพระ

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง มูลนิธิภูมิบดินทร์ฯ เพื่อช่วยเหลือ

ส่งเสริม และพัฒนาความเป็นอยู่ให้กับประชาชนที่อยู่อาศัย

ในเขตพื้นที่ที่ดินของรัฐทุกประเภท ซึ่งอนุญาตให้ใช้ประโยชน์

ตามระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม

ขนบธรรมเนียม และประเพณี ตามวิถีชุมชนท้องถิ่น และเข้าถึง

สิทธิขั้นพื้นฐานต่าง ๆ รวมทั้ง เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ

และประสานงานหน่วยงาน องค์กรภาคเอกชน และประชาชน

ที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาและสนับสนุนให้เกิดการ

พัฒนาชุมชน ตลอดจน ร่วมมือกับองค์กรการกุศล และองค์กร

สาธารณประโยชน์ เพื่อสาธารณประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กับการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสมในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้

กองทัพบกยังได้สนับสนุน มูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ฯ เพื่อการ

อนุรักษ์ช้างป่าตามธรรมชาติ และการแก้ไขปัญหาเรื่องช้างป่า

เพื่อให้คนกับช้างป่าอยู่ร่วมกันตามธรรมชาติอย่างยั่งยืน

โดยเฉพาะเป็นการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน

เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต รวมทั้งการสร้างความ

อยู่ดีกินดี ให้แก่ประชาชนในประเทศ

15


๓.๑.๒.๒ การสนับสนุน โครงการทหาร

พันธุ์ดี “ชุมชนเบิกบาน อาหารปลอดภัย”

“...ให้ทหารพันธุ์ดีนำผักที่ปลูกในค่าย ออกไปขาย

ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

จากวิกฤติ COVID – 19 บ้านไหนมีที่ให้สอนปลูกผัก

บ้านไหนไม่มีที่ ให้สอนปลูกในอ่างหรือกระถาง และหากทำได้

ให้ช่วยเหลือเรื่องบ่อน้ำ สระน้ำด้วย...”

พระราชดำรัส สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ณ วังสระปทุม วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔

กองทัพบก จึงน้อมรับพระราชดำริ ของสมเด็จ

พระกษิฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม

บรมราชกุมารี มาดำเนิน โครงการทหารพันธุ์ดี รวมจำนวน

๑๐๗ หน่วย ในพื้นที่ ๓๒ จังหวัดทั่วประเทศไทย พร้อมกับ

นำผลผลิตของโครงการฯ ซึ่งเป็น “ผักปลอดภัย ไร้สารเคมี”

ออกจำหน่ายโดยมีราคาถูกกว่าท้องตลาด และนำไปแจกจ่าย

ให้กับประชาชนรอบค่าย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และ

ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่

ระบาดของ COVID-19

ปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน

ชื่อ โครงการทหารพันธุ์ดี “ชุมชนเบิกบาน อาหารปลอดภัย”

เพื่อให้หน่วยที่ดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดี ได้ขยายผลการ

ดำเนินงานสู ่ชุมชน และโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล

โดยเข้าไปช่วยเหลือให้คำแนะนำเรื่องการเกษตรของโรงเรียนฯ

และเป็นแหล่งเรียนรู้ในสถานที่จริงให้แก่นักเรียน และชุมชน

ต่อไป

๓.๑.๓ กองทัพเรือ

กองทัพเรือ น้อมนำแนวพระราชดำริเกษตร

ทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์

เป็นต้นแบบให้กำลังพลกองทัพเรือและครอบครัว ตลอดจน

ประชาชนทั่วไป ใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตแบบพึ่งพา

ตนเอง สอดคล้องกับพระปฐมบรมราชโองการของ พระบาท

สมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษาและต่อยอด

พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหา

ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยดำเนินโครงการ

ศูนย์การเรียนรู ้เกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา กองทัพเรือ”

ด้วยการจัดทำเป็นฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ อาทิ ฐานการปลูก

ต้นไม้ ฐานการปลูกมะนาวในบ่อวงซีเมนต์ ฐานการเลี้ยง

หมู ไก่ ปลา และกบ ฐานการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

ฐานการทำปุ ๋ยหมัก ฐานการเลี้ยงไก่ และฐานการปลูกอ้อย ทั้งนี้

ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ฯ รวมจำนวน ๗ พื้นที่จาก

๑๐ หน่วยงาน ประกอบด้วย

๓.๑.๓.๑ พื้นที่กรุงเทพมหานครและ

ปริมณฑล จำนวน ๒ หน่วยงาน คือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ และ

กรมยุทธศึกษาทหารเรือ (อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม)

๓.๑.๓.๒ พื้นที่จังหวัดชลบุรี จำนวน ๓

หน่วยงาน คือ กองเรือยุทธการ ฐานทัพเรือสัตหีบ และหน่วย

บัญชาการต่อสู้ อากาศยานและรักษาฝั่ง (อำเภอสัตหีบ)

๓.๑.๓.๓ พื้ น ที่ จั ง ห วั ด ฉ ะ เ ชิ ง เ ท ร า

กรมสวัสดิการทหารเรือ (อำเภอบางนํ้าเปรี้ยว)

๓.๑.๓.๔ พื้นที่จังหวัดตราด ทัพเรือ

ภาคที่ ๑ (อำเภอแหลมงอบ)

๓.๑.๓.๕ พื้นที่จังหวัดสงขลา ทัพเรือ

ภาคที่ ๒ (อำเภอเมืองสงขลา)

16


ในการดูแล รักษา และพัฒนาคูคลองต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเฉพาะคูคลองที่มีความ

เชื่อมโยงกับคลองเปรมประชากร ทั้งนี้เนื่องจากสภาพคลอง

โดยรวมมีขนาดไม่ใหญ่มาก บางช่วงหรือบางคลองมีการ

ก่อสร้างเขื่อนริมคลองทั้งสองฝั ่ง ในขณะที่บางคลองมีการดาด

พื้นคลองด้วยซีเมนต์เป็นที่เรียบร้อย แต่บางคลองยังคงเป็น

คลองดินธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมืองที่มีชุมชนและ

บ้านเรือนพักอาศัยอยู ่เป็นจำนวนมาก จึงส่งผลให้เกิดข้อจำกัด

ในการเข้าไปทำความสะอาด รวมทั้งประชาชนที่อยู่อาศัย

โดยรอบยังขาดความรู ้และขาดความสำนึกในการรักษาคูคลอง

เพราะส่วนใหญ่ยังคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตน แต่เป็นหน้าที่ของ

ภาครัฐในการดูแลรักษา จึงไม่เห็นคุณค่า ประกอบกับความ

ไม่มีวินัยในการรักษาความสะอาด ทิ้งขยะมูลฝอยลงในคูคลอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดอย่างถูกต้อง

ลงในคลอง คุณภาพน้ำส่วนใหญ่จึงเน่าเสีย สกปรก และส่งกลิ่น

เหม็น คลองจึงเปรียบเสมือนแหล่งทิ้งขยะและรองรับน้ำเสีย

หน่วยงานหลักในการ

๓.๑.๓.๖ พื้นที่จังหวัดพังงา ทัพเรือภาคที่ ๓

(อำเภอท้ายเหมือง)

๓.๑.๓.๗ พื้นที่จังหวัดจันทบุรี หน่วยบัญชาการ

นาวิกโยธิน (อำเภอโป่งนํ้าร้อน)

๓.๒ การดำาเนินภารกิจตามพระบรมราโชบาย

ในการพัฒนาคูคลอง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรม

ราโชบายที่จะให้กระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานหลัก

17


สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน ได้มีการมอบ

ให้ส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหมรับผิดชอบการดูแล

รักษาและพัฒนาคูคลอง ดังนี้

๓.๒.๑ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม รับผิดชอบ

คลองคูเมืองเดิม ในเขตพระนครที่มีความยาวประมาณ

๑,๗๐๐ เมตร และคลองหลอดอีก ๒ คลองคือ คลองหลอด

ราชนัดดา และคลองหลอดราชบพิธ

๓.๒.๒ กองบัญชาการกองทัพไทย รับผิดชอบใน

พื้นที่เขตหลักสี่ อำเภอเมือง และอำเภอปากเกร็ด จังหวัด

นนทบุรี โดยมีขอบเขตของพื้นที่ ด้านทิศเหนือจรดแนวคลอง

ตาอูฐ และคลองบางพูด ด้านทิศใต้จรดแนวคลองบางเขน

ด้านทิศตะวันออกจรดคลองลาดพร้าว และด้านทิศตะวันตก

จรดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีคูคลองทั้งสิ้น จำนวน ๘๐ คลอง โดย

ได้คัดเลือกคลองต้นแบบในการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์

คือ คลองตาอูฐ เขตหลักสี่ เป็น มีขนาดความยาวประมาณ

๓,๕๐๐ เมตร กว้าง ๓ เมตร

๓.๒.๓ กองทัพบก รับผิดชอบจำนวน ๘ เขต

ประกอบด้วย เขตดุสิต เขตพระนคร เขตพญาไท เขตราชเทวี

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตปทุมวัน เขตดินแดง และเขต

ห้วยขวาง โดยมีขอบเขตของพื้นที่ด้านทิศเหนือจรดแนวคลอง

บางซื่อ ด้านทิศใต้จรดแนวคลองแสนแสบและคลองมหานาค

ด้านทิศตะวันออกจรดคลองลาดพร้าว และด้านทิศตะวันตก

จรดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีคูคลองทั้งสิ้น จำนวน ๘๒ คลอง โดย

ได้คัดเลือกคลองต้นแบบในการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์

คือ คูน้ำข้างสโมสรนายทหารอากาศ เขตดุสิต มีขนาดความ

ยาวประมาณ ๓๕๐ เมตร กว้าง ๕ เมตร ต้นคลองเชื่อมต่อกับ

คลองเปรมประชากร ส่วนปลายคลองจะเป็นคลองตัน สภาพ

ปัญหาจะทรุดโทรมมาก เนื่องจากเป็นคลองที่รองรับการ

ระบายน้ำเสียจากชุมชนและตลาดสด เป็นประจำทุกวัน จึงได้

ดำเนินการพัฒนาทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แรงงาน

จากกำลังพลและประชาชนจิตอาสาเป็นหลัก ในการตักขยะ

และขุดลอกเลนดินตะกอนออกจากคลอง

18


๓.๒.๔ กองทัพเรือ รับผิดชอบจำนวน ๒ เขต

ได้แก่ เขตบางซื่อและเขตจตุจักร โดยมีขอบเขตของพื้นที่

ด้านทิศเหนือจรดแนวคลองบางเขน ด้านทิศใต้จรดแนวคลอง

บางซื่อ ด้านทิศตะวันออกจรดคลองลาดพร้าว และด้าน

ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีคูคลองทั้งสิ้น จำนวน

๔๙ คลอง โดยได้คัดเลือกคลองต้นแบบในการพัฒนาและ

ปรับปรุงภูมิทัศน์ คือ คูน้ำปลายซอยโชติวัฒน์ เขตบางซื่อ

มีขนาดความยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร กว้าง ๓ เมตร

๓.๒.๕ กองทัพอากาศ รับผิดชอบในพื้นที่เขต

ดอนเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี และอำเภอเมือง จังหวัด

ปทุมธานี โดยมีขอบเขตของพื้นที่ ด้านทิศเหนือจรดแนวคลอง

บ้านใหม่ ด้านทิศใต้จรดแนวคลองตาอูฐ และคลองบางพูด

ด้านทิศตะวันออกจรดคลองลาดพร้าว และด้านทิศตะวันตก

จรดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีคูคลองทั้งสิ้น จำนวน ๓๖ คลอง โดย

ได้คัดเลือกคลองต้นแบบในการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์

คือ คูนายกิมสาย ๑ เขตดอนเมือง เป็นคลองต้นแบบในการ

พัฒนา มีขนาดความยาวประมาณ ๔,๔๕๐ เมตร กว้าง ๓ เมตร

ผลการดำเนินการในห้วงที่ผ่านมา ส่วนราชการ

สังกัดกระทรวงกลาโหมทุกหน่วยได้ดำเนินการประสานความ

ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายภาคประชาชน

ร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์

พัฒนาคูคลองที่รับผิดชอบทุกคลอง พัฒนาคลองอย่างต่อเนื่อง

19


รวมทั้งการบำรุงรักษาสภาพคลองด้วยการพัฒนาคุณภาพน้ำ

และการปรับปรุงภูมิทัศน์สองฝั่งคลอง ประกอบการรณรงค์

สร้างการรับรู้ และปลุกจิตสำนึกให้กับประชาชน ชุมชน และ

โรงเรียนให้สำนึกรักคลอง อีกทั้งได้กำหนดแผนการดำเนินงาน

ร่วมกันอย่างต่อเนื่องในการกำหนดวงรอบการรักษาสภาพ

คูคลองและการพัฒนาคุณภาพน้ำให้มีสภาพที่ดีตลอดไป

๓.๓ การดำาเนินภารกิจตามพระบรม

ราโชบายในเรื่องจิตอาสา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรม

ราโชบายที่จะให้พสกนิกรชาวไทยทุกคน มีความเสียสละและ

ความสมัครสมานสามัคคี ในการสร้างสรรค์ความดี เพื่อ

ประโยชน์แก่ประเทศชาติ ด้วยการจัดกิจกรรมจิตอาสา บำเพ็ญ

สาธารณประโยชน์ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

และแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วม

ในเขตชุมชน ปัญหาความไม่เป็นระเบียบของพื้นที่ ปัญหาการ

จราจร และปัญหาอื่น ๆ ในพื้นที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

พระราชทานชื่อโครงการ ว่า “โครงการจิตอาสาเราทำความดี

ด้วยหัวใจ” ซึ่งส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหมทุกหน่วยงาน

คือ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการ

กองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ได้พร้อมใจ

ดำเนินกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา ทั้งในพื้นที่หน่วย พื้นที่

สาธารณะ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และใน

ภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อสร้างความเป็นระเบียบ สร้างจิตสำนึกของ

ประชาชนในสังคมให้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วย

ความพร้อมใจกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อพื้นที่ของตน

ให้เกิดสุขอนามัยที่ดี มีความความสวยงาม ร่มรื่น และสร้าง

จิตสำนึกในการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ กองทัพอากาศ ยังได้จัดกิจกรรม

“ทัพฟ้า ร่วมใจภักดิ์ รักษ์สามัคคี” พร้อมกันทุกหน่วย

ทั่วประเทศเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันคล้าย

วันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ๕ ธันวาคม

๒๕๖๔ เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศล และน้อมรำลึกใน

พระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระบาทสมเด็จพระบรม

ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ที่ทรงงานเพื่อประชาชนตลอดพระชนมชีพ และพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานโครงการจิตอาสา

พระราชทานตามแนวพระราชดำริ “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ”

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี ส่งเสริม

การทำความดีและเสียสละโดยไม่หวังประโยชน์ เสริมสร้าง

ความรัก ความสามัคคีของกำลังพลกองทัพอากาศในการปฏิบัติ

งานร่วมกัน โดยกิจกรรมจะจัดขึ้นพร้อมกันทุกหน่วยของ

กองทัพอากาศทั่วประเทศ ในห้วงระหว่างวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน

ถึงวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ ประกอบด้วย

20


๑) กิจกรรม “หน้าบ้านน่ามอง” เป็นกิจกรรมทำความ

สะอาด ทาสีบริเวณแนวรั้วด้านนอกของหน่วยงาน และการ

ปรับปรุงภูมิทัศน์ของหน่วยงาน

๔) กิจกรรมการบริจาคโลหิต เพื่ออุทิศถวายเป็น

พระราชกุศล

๒) กิจกรรม “สามัคคีคือพลัง” เป็นกิจกรรมที่กำลังพล

กองทัพอากาศร่วมกันพัฒนาพื้นที่รับผิดชอบและสถานที่ปฏิบัติ

งาน ซึ่งจะทำให้เกิดความรักต่อการปฏิบัติงานและหน่วยงาน

๓) กิจกรรม “พี่ไม่รักหนูนะ” กำหนดให้ทำความ

สะอาดอาคารสถานที่ทำงานไม่ให้เป็นพื้นที่อาศัยของหนูและ

ไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคหรือพาหะนำโรคต่าง ๆ

ทั้งนี้ กิจกรรมทั้งมวลที่ส่วนราชการสังกัดกระทรวง

กลาโหมได้ประกอบมาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของการบำเพ็ญกิจ

เพื่อพิทักษ์รักษา เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และการ

สนับสนุนภารกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อสนอง

พระราชปณิธานอันแน่วแน่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว

ที่จะทรงงานเพื่อความอยู ่ดีมีสุขของประชาชน ด้วยการสืบสาน

รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ในอันที่จะมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนสามารถ

พึ่งพาตนเองอันเป็นหลักสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่าง

ยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมการสร้างสาธารณประโยชน์ผ่าน

โครงการจิตอาสาพระราชทาน เพื่อให้คนในชุมชนร่วมมือกัน

พัฒนาท้องถิ่น และเสริมสร้างความสามัคคี โดยทุกกิจกรรมจึง

เป็นการเฉลิมพระเกียรติอย่างสมพระเกียรติและสง่างาม เพื่อ

น้อมถวายพระพรชัยมงคล แสดงพลังแห่งความจงรักภักดี

และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

21


รักษ์ราษฎร์

ด้วยสองมือ รอยยิ้ม ปริ่มหัวใจ

ขอป้องภัย ที่มาสู ่ มิรู้สิ้น

ฝ่าวิกฤต ให้เหือดหาย ไกลแผ่นดิน

ร่วมชีวิน พัฒนา เพื่อประชาชน


กระทรวงกลาโหม ตระหนักถึงภารกิจสำคัญอีกประการ

ที่ได้บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕๒ และ การปฏิบัติภารกิจตาม

เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวง

กลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๘ (๓) ซึ่งประกอบด้วย การรักษา

ความสงบเรียบร้อยของประชาชน การพัฒนาประเทศเพื ่อ

ความมั่นคง รวมทั้ง การสนับสนุนภารกิจอื่นของรัฐในการ

พัฒนาประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ และ

การช่วยเหลือประชาชน

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กำหนด

นโยบายให้กระทรวงกลาโหมสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไข

ปัญหาที่สำคัญของชาติ การพัฒนาประเทศ การบรรเทาภัย

พิบัติ และการช่วยเหลือประชาชน ด้วยการพัฒนาขีดความ

สามารถของส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม ให้มีความ

พร้อม มียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและเพียงพอ สอดคล้องกับ

สถานการณ์ของประเทศ เพื่อให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุน

ส่วนราชการพลเรือน และภาคเอกชนในการเสริมสร้างความ

มั่นคง รวมทั้งการใช้กำลังทหารเพื่อประโยชน์ในการพัฒนา

ประเทศ การสร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียง การสนับสนุนการป้องกันและบรรเทา

สาธารณภัย ตลอดจนการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาทาง

เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และการแก้ไขปัญหาความ

เดือดร้อนของประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาล

กอปรกับ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ประเทศไทย

ประสบกับปัญหาเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

COVID-19 และต้องประสบกับสาธารณภัยและภัยพิบัติ

หลายครั้ง อันเนื่องจากภัยแล้ง อุทกภัยและวาตภัย จึงทำให้

กระทรวงโดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม และศูนย์

บรรเทาสาธารณภัยของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม

อันประกอบด้วย กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก

กองทัพเรือและกองทัพอากาศ ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อ

ให้พี่น้องประชาชนคลายทุกข์และกลับมามีความสุขได้อีกครั้ง

ภายหลังปัญหาสาธารณภัยและภัยพิบัติได้คลี่คลายไปแล้ว

โดยดำเนินการ ดังนี้

๑. การบรรเทาสาธารณภัยและภัยพิบัติ

๑.๑ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่ฝ่าย

เลขานุการของ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม

ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกัน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองบัญชาการ

กองทัพไทย และศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของเหล่าทัพ

เพื่อติดตามสถานการณ์แจ้งเตือนเหตุสาธารณภัย พร้อมกับ

พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศ เพื่อใช้ในการติดตามและแสดงผล

ในรูปแบบแผนที่สถานการณ์น้ำและจอแสดงผลเชิงสถิติ

(Dashboard) สำหรับใช้ประกอบการตกลงใจของผู้บังคับ

บัญชา ตลอดจนบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานในสังกัด

กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

ให้สามารถประสานการปฏิบัติได้ตลอดเวลา ๒๔ ชั ่วโมง

โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ สามารถติดตามสถานการณ์

สาธารณภัยและระบบการแจ้งเตือนภัยของหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ ดังนี้

๑.๑.๑ การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในภาพรวม

ประกอบด้วย

๑.๑.๑.๑ การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจาก

อิทธิพลพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ในพื้นที่ ๓๓ จังหวัด ระหว่าง

วันที่ ๒๓ กันยายน ถึง วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ ประชาชนได้

รับผลกระทบ ๓๗๖,๖๗๔ ครัวเรือน

๑.๑.๑.๒ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำ

ท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์ และวาตภัย ระหว่างวันที่

๗ ถึง วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ ในพื้นที่ ๑,๘๙๑ หมู่บ้าน ๔๕๒

ตำบล ๑๒๘ อำเภอ ๓๔ จังหวัด ประชาชนได้รับผลกระทบ

๗๓,๐๒๔ ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต ๔ ราย บาดเจ็บ ๓ ราย

๑.๑.๑.๓ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำ

ท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์และวาตภัยในพื้นที่ภาคใต้

ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ถึง วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๓ ใน

พื้นที่ ๔,๑๒๗ หมู่บ้าน ๕๖๐ ตำบล ๑๐๑ อำเภอ ใน ๑๑ จังหวัด

ประชาชนได้รับผลกระทบ ๕๕๔,๙๔๗ ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต

จำนวน ๒๑ ราย

ทั้งนี้ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ได้ติดตาม

สถานการณ์สาธารณภัยอย่างใกล้ชิด และได้นำศักยภาพ

รวมถึงขีดความสามารถของหน่วยพร้อมให้การสนับสนุนส่วน

23


ราชการ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยทันทีอย่างเต็มกำลัง

ความสามารถ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากสาธารณภัย

ที่เกิดขึ้น ตลอดจนบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดย

ได้จัดกำลังพลหมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่ให้การช่วยเหลือ

ประชาชน รวมทั้งยุทโธปกรณ์ที่สำคัญ อาทิ รถยนต์บรรทุก

ขนาดต่าง ๆ รถขุดตัก รถครัวสนาม รถประปาสนาม

สะพานชนิดต่าง ๆ เรือชนิดต่าง ๆ เรือผลักดันน้ำ อากาศยาน

ไร้คนขับ รวมทั้งมีการจัดเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือดูแลและฟื้นฟู

บ้านเรือนประชาชนที่ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้รวมถึงการจัดชุดช่างเข้าไป

ซ่อมแซมบ้านเรือนที่ประสบภัยพิบัติ ตลอดจนแจกจ่ายอาหาร

น้ำดื่ม และจัดชุดแพทย์ดูแลประชาชน

๑.๑.๒ การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอก

ควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จัดเตรียมกำลังพล

ยานพาหนะ อากาศยาน เครื่องมือสื่อสาร และยุทโธปกรณ์ที่

จำเป็นอื่น ๆ พร้อมให้การสนับสนุนและประสานการปฏิบัติ

อย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบจัดชุด

ลาดตระเวนเฝ้าตรวจ และชุดดับไฟป่า โดยสนธิกำลังร่วมกับ

หน่วยงานในพื้นที่

๑.๒ กองบัญชาการกองทัพไทย

กองบัญชาการกองทัพไทย มอบหมายให้ หน่วย

บัญชาการทหารพัฒนา จัดกำลังพลพร้อมยุทโธปกรณ์ให้ความ

ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาสาธารณภัยและภัย

พิบัติ

๑.๒.๑ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย

ในพื้นที่ประสบเหตุ ๒๙ จัดหวัด จำนวน ๑๕๙ ครั้ง ด้วยการ

สนับสนุนการขนย้ายคนและสิ่งของไปยังพื้นที่ปลอดภัย จ ำนวน

๓๒๐ เที่ยว มอบถุงยังชีพ ๕,๓๕๑ ชุด อาหารปรุงสำเร็จรูป

พร้อมรับประทาน ๔,๐๐๐ กล่อง และน้ำดื่ม ๓๑,๕๔๖ ขวด

ตลอดจนการซ่อมแซมเส้นทางที่ชำรุดเสียหายจากอุทกภัย

จำนวน ๑๕ แห่ง วางสะพานเครื่องหนุนมั่นเชื่อมเส้นทางที่ถูก

ตัดขาดจากน้ำท่วมให้ประชาชนใช้สัญจร จำนวน ๓ จุด

24


๑.๒.๓ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง

ในพื้นที่ประสบเหตุ ๒๘ จังหวัด จำนวน ๓๗๒ ครั้ง ด้วยการ

ดำเนินการแจกจ่ายน้ำอุปโภค จำนวน ๒,๒๓๕,๐๐๐ ลิตร

๑.๒.๒ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยหนาว

ในพื้นที่ประสบเหตุ ๒๗ จังหวัด จำนวน ๖๙ ครั้ง ด้วยการมอบ

ผ้าห่มกันหนาว จำนวน ๗,๖๔๕ ผืน เครื่องกันหนาว จำนวน

๒,๐๓๐ ชิ้น เสื้อกันหนาว จำนวน ๒๔๙ ตัว ถุงยังชีพ จำนวน

๓๕๗ ถุง และสิ่งของสำหรับอุปโภคบริโภคตามความเหมาะสม

ของแต่ละพื้นที่

25


๑.๒.๕ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอัคคีภัย

ในพื้นที่ประสบเหตุ ๒๐ จังหวัด จำนวน ๙๓ ครั้ง ด้วยการ

ขนย้ายซากปรักหักพัง มอบถุงยังชีพและน้ำดื่ม เพื่อบรรเทา

ความเดือดร้อนในขั้นต้น

๑.๒.๔ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบไฟป่า

ได้จัดกำลังพล และ รถบรรทุกน้ำ เข้าดับไฟป่าในพื้นที่

ประสบเหตุ ๓ จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี

จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่

26


๑.๒.๖ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบวาตภัย

ในพื้นที่ประสบเหตุ ๒๑ จังหวัด จำนวน ๑๑๓ ครั้ง ด้วยการ

สำรวจและดำเนินการให้ความช่วยเหลือซ่อมแซมบ้านเรือน

ผู้ประสบภัยจากพายุฤดูร้อน จำนวน ๘๗๕ หลังคาเรือน

๑.๒.๗ การช่วยเหลือการลดค่าฝุ่น PM 2.5 ดำเนินการ

ฉีดพ่นละอองน้ำลดปัญหามลพิษที่เกินมาตรฐานฝุ่นละออง

เพื ่อเพิ ่มความชุ่มชื้นในอากาศแก้ปัญหาหมอกควันและ

ฝุ่นละออง ในพื้นที ่กรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล

รวมทั้ง พื้นที่ภาคเหนือ คือ จังหวัดตาก และจังหวัดเชียงราย

๑.๓ กองทัพบก

กองทัพบก ได้จัดตั้ง กองร้อยช่วยเหลือประชาชน

และกองร้อยบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน่วยปฏิบัติงานของ

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก เพื่อให้การช่วยเหลือ

ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อ

เหตุการณ์ ดังนี้

๑.๓.๑ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย

กรณีที่เกิดผลกระทบจากทำให้เกิดเหตุอุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน

น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม เกิดความเสียหายในพื้นที่

ภาคเหนือ ภาคะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ ภาคใต้

รวม ๓๖ จังหวัด ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก โดย

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ ๑, ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย

กองทัพภาคที่ ๒ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ ๓

และ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ ๔ จัดกำลังพล

จำนวน ๑๐,๖๓๔ นาย รถยนต์บรรทุกขนาดต่าง ๆ

จำนวน ๗๕๔ คัน รถขุดตักและรถบรรทุกติดปั้นจั่น

จำนวน ๖ คัน รถยนต์บรรทุกเทท้าย จำนวน ๒ คัน

เรือชนิดต่าง ๆ จำนวน ๓๓๑ ลำ รถครัวสนาม จำนวน ๔๙ คัน

รถบรรทุกน้ำ จำนวน ๑ คัน รถพยาบาล จำนวน ๑ คัน สะพาน

ชนิดต่าง ๆ จำนวน ๖ คัน เข้าให้ความช่วยเหลือประชาชน

ผู้ประสบภัยจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

27


๑.๓.๒ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยหนาว

ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาวในภาคเหนือและ

ภาคตะวันออกฉียงเหนือ ด้วยการแจกจ่ายผ้าห่มกันหนาว

ให้แก่ประชาชน จำนวน ๑๐,๐๐๐ ผืน รวมทั้ง เสื้อกันหนาว

๑.๓.๓ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบไฟป่าและ

หมอกควันพื้นที่ภาคเหนือ จัดกำลังพลร่วมกับส่วนราชการที่

เกี่ยวข้องดำเนินการในพื้นที่ ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ โดย

ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน

ระดับภาค (ศอ.ปกป.ภาค) ด้วยการสนับสนุนนักบินในการ

บังคับเครื่องเฮลิคอปเตอร์ ปภ. KA-32 ปฏิบัติภารกิจดับไฟป่า

ในบริเวณที่เกิดเหตุดังกล่าว จำนวน ๓๐๓ เที่ยวบิน ใช้ปริมาณ

น้ำรวม ๗๗๔,๐๐๐ ลิตร นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการควบคุม

สถานการณ์ไฟป่า พร้อมทั้งได้ทำแนวกันไฟครอบคลุมบริเวณ

พื้นที่เกิดไฟไหม้ ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออก

เฉียงเหนืออีกหลายจังหวัด

๑.๓.๔ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก สนับสนุนอากาศยานแบบ

บล.212 ในการทำฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

เป็นต้นมา สามารถขึ้นบินทำฝนหลวงแล้ว ๑๒๑ เที่ยวบิน ใน

๒๗๔ พื้นที่ของพื้นที่ประสบเหตุ ๑๒ จังหวัด รวมทั้งดำเนินการ

แจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนผู้ประสบภัยแล้ง ตามโครงการ

“ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. ๒๕๖๔ ในพื้นที่ประสบเหตุ ๓๔ จังหวัด แจกจ่ายน้ำไปแล้ว

ทั้งสิ้น ๕,๘๕๒,๕๐๐ ลิตร ประชาชนได้รับประโยชน์กว่า

๑๒,๒๐๙ ครัวเรือน รวมทั้งช่วยจัดทำฝายและแหล่งเก็บกักน้ำ

เพื่อเตรียมเผชิญปัญหาภัยแล้งในปีต่อไป

28


ชั่วโมงต่อวัน เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่ระบายลงมาจากหลาย

จังหวัด ทั้งจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี

จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

จังหวัดลพบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี รวมถึง

กรุงเทพมหานคร ซึ่งภารกิจผลักดันน้ำสามารถเพิ่มการไหล

เวียนของมวลน้ำไปยังประตูระบายน้ำได้เร็วขึ้นในห้วงเดือน

กันยายน ๒๕๖๔ ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่

ได้สนับสนุนน้ำมันดีเซลวันละ ๑ พันลิตร ในภารกิจผลักดันน้ำ

เข้าปฏิบัติภารกิจมวลน้ำ จึงเป็นการดำเนินการในลักษณะของ

การประสานความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เข้ามาช่วยกัน

จนสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย

๑.๔ กองทัพเรือ

๑.๔.๑ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย

กองทัพเรือ โดยชุดเฉพาะกิจผลักดันน้ำของกองทัพเรือ พร้อม

กำลังพลสังกัดอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ

ได้ลำเลียงเรือผลักดันน้ำ จำนวน ๒๖ ลำ เข้าประจำการตาม

คลองต่าง ๆ ของจังหวัดสมุทรปราการซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มและ

มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ โดยการกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงาน

บริเวณจุดระบายน้ำที่สำคัญรวม ๕ จุด ประกอบด้วย ๑) คลอง

๔ ตำบลบางปลา ๒) คลองสุวรรณภูมิ หน้าสนามบินสุวรรณภูมิ

ตำบลบางโฉลง ๓) คลองกิ่งแก้ว ๔) คลองขุด ตำบลบางพลีใหญ่

และ ๕) คลองสำโรง โดยทำการผลักดันน้ำวันละ ๑๖ - ๒๐

29


นอกจากนี้ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยทัพเรือภาคที่ ๒

ยังได้สำรวจความเสียหายของประชาชนในพื้นที่ประสบ

อุทกภัย ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ในช่วง

เดือนธันวาคม ๒๕๖๓ พร้อมกับมอบถุงยังชีพและความ

ช่วยเหลือในเบื้องต้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงมรสุม

หลังจากนั้น ได้จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์เข้าทำการซ่อมแซม

บ้านเรือนที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย

เพื่อเป็นการช่วยเหลือภายหลังน้ำลด

นอกจากนี้ ทัพเรือภาคที่ ๓ ได้มอบหมายเรือที่ปฏิบัติ

ราชการในทะเล ประกอบด้วย เรือหลวงศรีราชา และเรือ

ต.233 นำกล่องยาและเวชภัณฑ์ไปมอบแก่ชาวประมงในทะเล

และประชาชนที่อาศัยอยู่ตามพื้นที่เกาะต่าง ๆ ในทะเล

อันดามัน ของตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ในห้วงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ซึ่งประชาชนดังกล่าวอยู่ในพื้นที่

ห่างไกลจากการสาธารณสุขพื้นฐาน และได้รับผลกระทบจาก

พายุฝนฟ้าคะนองฝนตกหนักและลมกระโชกแรง ทั้งยังเป็นการ

ส่งมอบความห่วงใยให้กันและกันจากหน่วยงานภาครัฐ

สู่ประชาชน

๑.๔.๒ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบวาตภัย

ทัพเรือภาคที่ ๑ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร

เจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่น และกำลังพลจิตอาสา ให้การ

ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์มีพายุฝนฟ้าคะนองฝน

ตกหนักและลมกระโชกแรง ในห้วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔

ในตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ทำให้บ้านเรือน

ประชาชนได้รับความเสียหายหลายหลังคาเรือน โดยมอบ

สิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นให้แก่ประชาชน

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น พร้อมทั้ง จัดกำลังพล

ยุทโธปกรณ์เข้าทำการซ่อมแซมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยให้แก่

ประชาชนอย่างเร่งด่วนให้สามารถเข้าอยู่อาศัยได้ พร้อมทั้ง

มอบเงินช่วยเหลือแก่เจ้าของบ้านเพื่อใช้ดำรงชีพเบื้องต้น

30

๑.๕ กองทัพอากาศ

๑.๕.๑ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย

กองทัพอากาศ ได้สนับสนุนเครื่องบินตรวจการณ์และฝึก

แบบที่ 20ก (DA42 M-NG) บินสำรวจสถานการณ์อุทกภัย

เพื่อสนับสนุนภาพถ่ายทางอากาศในจุดเสี่ยงต่าง ๆ ของจังหวัด

ลพบุรี สำหรับนำไปวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการเกิด

อุทกภัย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนแจ้งเตือน

และช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที


นอกจากนี้ กองทัพอากาศ ยังได้ให้ความช่วยเหลือ

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในหลายพื ้นที่

ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งการติดตามสถานการณ์

ช่วยเหลือ และฟื้นฟูจากอิทธิพลของพายุและร่องมรสุมที่ส่ง

ผลกระทบทำให้หลายพื้นที่มีน้ำท่วมฉับพลันเข้าพื้นที่

การเกษตรและบ้านเรือนประชาชนในหลายจังหวัด โดยศูนย์

บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ และกองบินทั่วประเทศ

ได้ติดตามสถานการณ์และออกให้ความช่วยเหลือประชาชนที่

ได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง โดยจัดก ำลังพล ยุทโธปกรณ์

กรอกกระสอบทรายและทำพนังกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำเข้าท่วม

บ้านเรือนประชาชน ขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง พร้อมรถยนต์

บรรทุกขนาดใหญ่ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือ และให้กำลังใจ

พี่น้องประชาชนในพื้นที่

อีกทั้ง เมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัด

สุพรรณบุรี กองทัพอากาศ โดย กรมแพทย์ทหารอากาศ

จัดกำลังพลเข้าเยี่ยมให้กำลังใจผู้ประสบอุทกภัย ที่ศูนย์พักพิง

ผู้ประสบอุทกภัย พร้อมกับมอบอาหารปรุงสำเร็จรูป

บรรจุกล่อง จำนวน ๖๐๐ กล่อง พร้อมน้ำดื่ม และชุดยา

เวชภัณฑ์ จำนวน ๑๐๐ ชุด ให้แก่ประชาชน ที่ประสบภัย

ในพื้นที่ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

31


๑.๕.๒ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยหนาว

กองทัพอากาศจัดพิธีรับมอบเครื่องห่มกันหนาว จำนวน

๔,๐๐๐ ผืน และกิจกรรมปล่อยขบวนรถยนต์บรรทุกจำนวน

๕ คัน นำผ้าห่มกันหนาว ไปมอบให้แก่พี่น้องประชาชนที่ได้รับ

ความเดือดร้อนจากภัยหนาวในพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพ

อากาศ ผ่านไปยังกองบิน ณ ที่ตั้งต่างจังหวัด และสถานีรายงาน

กองทัพอากาศ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว ในห้วงเดือน

พฤศจิกายน ๒๕๖๓

๑.๖ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

ในพระบรมราชูปถัมภ์

๑.๖.๑ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยหนาว

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกฯ โดย สำนักงานสงเคราะห์

ทหารผ่านศึกเขตในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ ได้จัดหาและมอบผ้าห่มกันหนาวมอบให้แก่

ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และประชาชนที่ประสบ

ความเดือดร้อนจากภัยหนาวในพื้นที่รับผิดชอบ ในห้วงเดือน

มกราคม ๒๕๖๔

๑.๕.๓ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน ๔ สนับสนุนน้ำประปาให้กับ

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพิกุล อำเภอตากฟ้า จังหวัด

นครสวรรค์ และสถานีเรดาร์ฝนหลวงตาคลี อำเภอตาคลี

จังหวัดนครสวรรค์ โดยบรรจุใส่บ่อกักเก็บน้ำของชุมชน จำนวน

๑๒,๐๐๐ ลิตร เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์

และบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ในห้วงเดือน

มกราคม ๒๕๖๔

32


๑.๖.๒ การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบวาตภัย

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกฯ โดย สำนักงานสงเคราะห์

ทหารผ่านศึกเขตนครศรีธรรมราช ได้ความช่วยเหลือแก่

ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และประชาชนที่ประสบ

วาตภัยจนทำให้บ้านพักอาศัยได้รับความเสียหาย ในพื้นที่

จังหวัดนครศรีธรรมราช ในห้วงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๔

๒. การช่วยเหลือรัฐบาลและประชาชน

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

COVID-19

๒.๑ กองบัญชาการกองทัพไทย

กองบัญชาการกองทัพไทย ตระหนักถึงความทุกข์

ร้อนของประชาชนที ่ต้องเผชิญกับนานาปัญหาในสถานการณ์

การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จึงได้มอบหมายให้หน่วย

ขึ้นตรงจัดกำลังพลและยุโธปกรณ์ในการช่วยเหลือประชาชน

ตามที่ได้รับการร้องขอจากส่วนราชการและหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ในการแก้ไขปัญหา COVID-19 และพิจารณาดำเนินการ

ตามความเหมาะสมที่อยู่บนพื้นฐานของความรวดเร็วทันต่อ

สถานการณ์ และความพอเพียงกับภารกิจและศักยภาพของ

หน่วยงาน ด้วยการดำเนินการ ดังนี้

๒.๑.๑ การบริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้

เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ซึ่งเป็นการดำเนินการ

สนับสนุนรัฐบาล และ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

ด้านความมั่นคง (ศปม.) ด้วยการปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ฉีด

วัคซีนและอำนวยความสะดวกผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน

33


COVID-19 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนสถานีกลาง บางซื่อ เขตจตุจักร

กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมต่อเนื่องทุกวันโดยไม่มีวันหยุด

ตลอดสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

กล่าวคือ

๒.๑.๑.๑ จัดบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน

๓๐ นาย ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ฉีดวัคซีนป้องกัน

COVID-19

๒.๑.๑.๒ จัดกำลังพล จำนวน ๔๑ นาย

อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เข้ารับการฉีดวัคซีน

ป้องกัน COVID-19

๒.๑.๑.๓ จัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีน ณ อาคาร

อเนกประสงค์ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาโดยดำเนินการ

ฉีดวัคซีนให้กับกำลังพล ครอบครัวและประชาชนในพื้นที่

กรุงเทพฯ และในพื้นที่ต่างจังหวัด สามารถ ให้บริการฉีดวัคซีน

แล้ว จำนวน ๑๘,๐๕๔ โดส

๒.๑.๒ การสนับสนุนการปฏิบัติงานโรงพยาบาล

สนาม จัดกำลังสนับสนุนการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนาม

บุษราคัม จำนวน ๑๖ นาย ตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ถึง

วันที ่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ณ อาคารชาเลนเจอร์อิมแพ็ค

เมืองทองธานี ด้วยการปฏิบัติงาน การจัดทำเตียงพักให้แก่

ผู้ป่วย การรับส่งผู้ป่วยการบริการเวชภัณฑ์และอาหาร รวมทั้ง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอย่างปลอดภัย

34


๒.๑.๓ การปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการ

ภาวะฉุกเฉิน กองบัญชาการกองทัพไทย ได้มอบหมายให้

หน่วยป้องปรามและตอบโต้สถานการณ์ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไข

สถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (นปต.ศปท.) จัดกำลังพล

สนับสนุน ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency

Operation Center: EOC) กลุ่มเขตของกรุงเทพมหานคร

จำนวน ๖๙ นาย รวมทั้งจัดตั้งจุดบริการประชาชน ทั้งแบบ

ประจำที่และแบบเคลื่อนที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนใน

เขตสะพานสูง ด้วยการปฏิบัติเป็นการรับเรื่องร้องเรียนและ

ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับการรักษา และจัดชุด

บริการเคลื่อนที่เข้าพื้นที่ชุมชน เพื่อมอบถุงยังชีพและ

ประชาสัมพันธ์ถึงมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด

๒.๑.๔ การสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไข

สถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) ด้วยการจัดกำลัง

พลตามโครงสร้างของศูนย์สนับสนุน ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไข

สถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศสน.ศปม.) จำนวนทั้งสิ้น

๑,๕๗๙ นาย เพื่อปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาด

ของ COVID-19 ดังนี้

๒.๑.๔.๑ จัดชุดตรวจตามมาตรการผ่อน

คลายส่วนกลาง จำนวน ๑๔๘ ชุดตรวจ และชุดตรวจร่วม ๗๖

ชุดตรวจ เข้าตรวจในพื้นที่ ๗๔ อำเภอ ของ ๔๘ จังหวัด

๒.๑.๔.๒ จัดกำลังเฝ้าระวังและควบคุม

แคมป์คนงานก่อสร้างในพื้นที่เขตลาดกระบัง จำนวน ๑๕ แคมป์

๒.๑.๔.๓ ฃจัดพลขับรถตรวจชีวนิรภัย

พระราชทาน ตรวจคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่ชุมชน

๒.๑.๔.๔ จัดนายทหารฝ่ายเสนาธิการ

สนับสนุนสำนักงาน เขตลาดกระบัง เพื่อทำหน้าที่วางแผน และ

ประสานการปฏิบัติในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ

COVID-19

๒.๑.๔.๕ จัดตั้งจุดบริการประชาชน

กองทัพไทย ในพื้นที่เขตลาดกระบัง เพื่อรับเรื่องร้องเรียน ให้

คำแนะนำประสานการช่วยเหลือด้านการแพทย์การประสาน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการนำส่งผู้ป่วยไปยังโรง

พยาบาลสนาม ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการฉีดวัคซีน

ณ จุดบริการวัคซีน ในเขตลาดกระบัง

๒.๒ กองทัพบก

ในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๔ มีการแพร่ระบาดของ

COVID-19 สายพันธุ์เดลต้า มีความรุนแรง และเกิดการแพร่

กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ ่มมากขึ้นอย่าง

น่าเป็นห่วง ส่งผลต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ กองทัพบก

จึงได้จัดตั้ง ศูนย์ประสานงานต้านภัยโควิดกองทัพบก ขึ้น เพื่อ

สนับสนุนการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่

วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นมา โดยมีรายละเอียดการ

ปฏิบัติงาน ดังนี้

๒.๒.๑ การสนับสนุนการปฏิบัติงานโรงพยาบาล

สนาม ด้วยการสนับสนุนรัฐบาลจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม

กองทัพบก จำนวน ๑๗ แห่ง รวม ๕,๒๑๐ เตียง รวมทั้งจัดโรง

พยาบาลกองทัพบกและโรงพยาบาลสนามสำหรับกำลังพล

ครอบครัวและประชาชน รวม ๒,๘๙๑ เตียง

๒.๒.๒ การสนับสนุนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อด้วย

การสนับสนุนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ การนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบ

การรักษา การส่งผู้ป่วยกลับไปรักษายังภูมิลำเนา การสนับสนุน

การประกอบพิธีฌาปนกิจให้กับผู้เสียชีวิตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

35


ทันเวลา ทั้งยังช่วยลดความกังวลใจและคลายความทุกข์ให้กับ

พี่น้องประชาชน โดยมีจำนวนผู้ขอความช่วยเหลือ จำนวน

ทั้งสิ้น ๑๗,๒๑๙ ราย และสามารถให้ความช่วยเหลือได้จำนวน

๑๓,๕๑๕ ราย

โดยดำเนินการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตไปแล้ว

๒๐,๓๑๔ ราย

๒.๒.๓ การช่วยเหลือประชาชนที่กักตัวอยู่บ้าน

(Home Isolation) ด้วยการลงพื้นที่ชุมชนไปมอบยาและ

ถุงยังชีพให้กับผู้ป่วยที่กักตัวอยู่บ้านเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ

หน่วยงานด้านสาธารณสุข ไม่ให้เกิดความคับคั่งและผู้ป่วย

ได้รับการรักษาพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้

36


๒.๒.๔ การประสานงานในการให้ความช่วยเหลือ

ประชาชน ด้วยการปฏิบัติภารกิจเป็นสื่อกลางรับเรื่องร้องทุกข์

ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผ่านทาง

โทรศัพท์ จำนวน ๓๐ คู่สาย ตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวมถึงผ่านทาง

Line Official : @CovidTV5HD1 โดยกองทัพบกได้จัดกำลังพล

หน่วยขึ้นตรงกองทัพบกและสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

รวมทั้ง สมาชิกชมรมพัฒนาสัมพันธ์ระดับผู้บริหารกองทัพบก

ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่จิตอาสาประจำศูนย์ประสานงาน

ต้านภัยโควิดกองทัพบก ทำหน้าที่ประสานการช่วยเหลือต่อไป

ยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยมีจำนวนผู้ขอความช่วยเหลือ

จำนวนทั้งสิ้น ๑๗,๒๑๙ ราย และสามารถให้ความช่วยเหลือ

ได้จำนวน ๑๓,๕๑๕ ราย

๒.๒.๕ การจัดตั้งจุดบริการประชาชน ในพื้นที่

เข้มงวดและควบคุมสูงสุด รวมทั้งสิ้น ๖๗ จุด ของ ๒๙ จังหวัด

ให้การบริการรับเรื่องร้องทุกข์ การมอบสิ่งของจำเป็น อาทิ

หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ โดยดำเนินการในพื้นที่

สีแดงเข้มช่วงที่มีการระบาดระลอกที่ ๓ ห้วงเดือนกรกฎาคม

๒๕๖๔

๒.๒.๖ การช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ

ประกอบด้วย

๒.๒.๖.๑ การผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า

แจกจ่ายให้แก่กำลังพล ครอบครัว และประชาชนในพื้นที่

รับผิดชอบ จำนวนทั้งสิ้น ๒,๑๕๔,๖๓๓ ชิ้น

๒.๒.๖.๒ การนำผลผลิตทางการเกษตรจาก

โครงการทหารพันธุ์ดี มาจำหน่ายในราคาถูกให้แก่ประชาชน

เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือน โดยดำเนินการแล้วใน ๑๖๘

พื้นที่ ของ ๓๘ จังหวัด

37


๒.๒.๖.๓ การสนับสนุนรถครัวสนามประกอบ

อาหารแจกจ่ายประชาชน โดยแจกจ่ายอาหารไปแล้วจำนวน

ทั้งสิ้น ๖๙๐,๗๑๑ กล่อง ใน ๖๒๙ พื้นที่ ของ ๔๘ จังหวัด

๒.๒.๖.๕ โครงการ Army Barber Delivery

การบริการตัดผมให้กับประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ มีผู้เข้ารับ

บริการแล้วจำนวนทั้งสิ้น ๔,๐๖๙ คน ใน ๒๐๙ พื้นที่ ของ ๓๙

จังหวัด

๒.๒.๖.๔ โครงการ Army Delivery การแจกจ่าย

อาหารและเครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย

ให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนถึงบ้าน โดยประชาชน

ได้รับประโยชน์จำนวน ๔๐,๘๗๗ ราย ใน ๓๙๗ พื้นที่ ของ

๔๗ จังหวัด

38


๒.๒.๖.๘ การจัดกำลังพลในพื้นทีกรุงเทพมหานคร

เข้าทำความสะอาดโรงเรียนในพื้นที่ รับผิดชอบ ซึ่งอยู่ใน

ระหว่างปิดโรงเรียน และปรับการเรียนเป็นรูปแบบออนไลน์

เพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการเปิดการเรียนการ

สอน ให้มีความสะอาด ปลอดภัย ลดการสะสมของเชื้อ และ

ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

๒.๒.๖.๖ การรับซื้อผลผลิตเพื่อช่วยเหลือ

เกษตรกรและชาวสวนที่ประสบปัญหาในการจำหน่ายพืชผล

ทางการเกษตร โดยดำเนินการแล้วใน ๒๔๓ พื้นที่ ของ ๕๔

จังหวัด

๒.๒.๖.๗ การจัดกำลังพลพร้อมอุปกรณ์

ทางการแพทย์ร่วมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ตรวจ

คัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2๐๑๙ เชิงรุก Active case

finding ให้กับประชาชน ซึ่งได้ใกล้ชิด และสัมผัสกับผู้ป่วย

ยืนยันติดเชื้อไวรัส

๒.๒.๖.๙ การบริการบริการตู้ปันสุข โดย

ในแต่ละสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เข้าใช้บริการเฉลี่ยประมาณ

๒๓,๔๕๘ ราย โดยมีผู้เข้าใช้บริการรวม ๒๐๔,๒๑๙ ราย

๒.๒.๖.๑๐ การบริการวัคซีนให้กับประชาชน

พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และประชาชนที่มารับการฉีดวัคซีน

โดยฉีดที่โรงพยาบาลกองทัพบกทุกแห่งทั่วประเทศ ได้ใช้กำลัง

พลแพทย์ ๙๕๐ นาย สนับสนุนหน่วยงานสาธารณสุขและ

โรงพยาบาลประจำจังหวัด โดยร่วมในการฉีดวัคซีนกับให้

39


ประชาชน และสนับสนุนสถานที่ที่ใช้ในการฉีดวัคซีนจำนวน

๓๘ แห่ง ทั้งที่เป็นโรงพยาบาลค่ายหรืออาคารของหน่วยทหาร

ตามจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งการจัดกำลังพลจิตอาสาช่วยอำนวย

ความสะดวกให้ประชาชนที่มารับวัคซีนด้วย

๒.๒.๖.๑๑ การจัดกำลังพลและจิตอาสา

พระราชทาน ร่วมบริจาคโลหิตในแคมเปญ “Army for Blood

Hero” ตามนโยบายผู้บัญชาการทหารบก เพื่อสำรองโลหิตให้

เพียงพอต่อการรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

COVID-19

๒.๓ กองทัพเรือ

กองทัพเรือ ได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไข

ปัญหาการการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมอบหมายให้

ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง

กองทัพเรือ และ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือ บูรณาการทำงาน

ร่วมกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

(กอ.รมน.) และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทาง

ทะเล (ศรชล.) โดยดำเนินการ ดังนี้

40


๒.๓.๑ การบริการตรวจเชื้อ COVID-19 ด้วยการ

จัดคณะแพทย์สนับสนุนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของ

ชาติทางทะเล ตรวจเชื้อ COVID-19 ให้แก่ลูกเรือประมงใน

จังหวัดสมุทรสาคร ในลักษณะการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก

(Active Case Finding) เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและแก้ปัญหา

การแพร่ระบาดจากกลุ่มแรงงานต่างด้าว ภาคประมงในพื้นที่

จังหวัดสมุทรสาคร ในห้วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ ก่อนส่งตรวจ

หาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ที่ห้องปฏิบัติการโรงพยาบาล

สมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ

๒.๓.๒ การสนับสนุนการปฏิบัติงานโรงพยาบาลสนาม

กองทัพเรือได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามและได้ส่งมอบให้

กระทรวงสาธารณสุข ใช้เป็นโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วย

โรคติดเชื้อ COVID-19 รวมจำนวน ๓ แห่ง ดังนี้

๒.๓.๒.๑ โรงพยาบาลสนามแห่งที่ ๑

ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า จังหวัดชลบุรี หน่วยบัญชาการ

นาวิกโยธิน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีอาคารจำนวน ๔

อาคาร ประกอบด้วย อาคารควบคุม ๑ อาคาร และอาคาร

รับผู้ป่วย ๓ อาคาร สามารถรับผู้ป่วยสูงสุด จำนวน ๑๗๔ คน

41


๒.๓.๒.๒ โรงพยาบาลสนามแห่งที่ ๒

สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข ๑๖ บ้านจันทเขลม อำเภอเขา

คิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี มีอาคารจำนวน ๖ อาคาร ประกอบด้วย

อาคารควบคุม ๑ อาคาร อาคารรับผู้ป่วย จำนวน ๔ อาคาร

และอาคารประกอบเลี้ยง ๑ อาคาร สามารถรองรับผู้ป่วยสูงสุด

จำนวน ๒๓๒ คน

๒.๓.๓ การช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ

ประกอบด้วย

๒.๓.๓.๑ การรับซื้ออาหารทะเลจากธุรกิจ

ภาคประมง จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อช่วยเหลือธุรกิจภาคประมง

ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

COVID-19 จำนวน ๑๐ ตัน จากกลุ่มเรือประมงพาณิชย์

กลุ่มแรงงานเรือประมง จำนวน ๖๐ ลำ และกลุ่มแรงงาน

ท่าเทียบเรือ ๑๖ แห่ง จากท่าเทียบเรือแพปลาพรพีรพัฒน์

ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัด

สมุทรสาคร

๒.๓.๒.๓ โรงพยาบาลสนามแห่งที่ ๓

ศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

พื้นที่เกล็ดแก้ว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีอาคารจำนวน

๕ อาคาร ประกอบด้วย อาคารฝึกที่ ๑๓ - ๑๖ สำหรับเป็น

ที่พักผู้ป่วย และอาคารฝึกที่ ๒ เป็นอาคารอำนวยการสำหรับ

เจ้าหน้าที่ สามารถรองรับผู้ป่วยสูงสุด จำนวน ๓๒๐ เตียง

๒.๓.๓.๒ การรับซื้อหอมแดงจากเกษตรกรจังหวัด

ศรีสะเกษ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรจาก

ราคาหอมแดงตกต่ำ โดยสั่งซื้อผ่านสำนักงานพาณิชย์ และ

สำนักงานสภาเกษตรกร จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๕,๐๐๐

กิโลกรัม แล้วส่งมอบให้หน่วยในพื้นที่สัตหีบนำไปประกอบ

อาหาร

๒.๓.๓.๓ การจัดรถครัวสนามประกอบอาหาร

ปรุงสุก เพื่อแจกจ่ายให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ไม่

สามารถเดินทางไปประกอบอาชีพได้ตามปกติในพื้นที่ชุมชน

ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดำเนินการทุกวันจันทร์

42


พุธ และศุกร์ ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม ๒๕๖๔

ทั้งนี้ สมาคมภริยาทหารเรือ ยังได้ร่วมจัดรถปันสุขแจกจ่าย

เครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนควบคู่ไปด้วยในพื้นที่

หมุนเวียนไปตามพื้นที่ต่าง ๆ และมีหน่วยรับผิดชอบ ดังนี้

๑) พื้นที่นันทอุทยานสโมสร ฐานทัพเรือกรุงเทพ มี

กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็นหน่วยรับผิดชอบ

๒) พื้นที่บางนา มี กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ

กรมสรรพาวุธทหารเรือ และกรมอุทกศาสตร์ เป็นหน่วย

รับผิดชอบ

๓) พื้นที่เลียบคลองทวีวัฒนา มี กรมวิทยาศาสตร์ทหาร

เรือและสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ

เป็นหน่วยรับผิดชอบ

๔) พื้นที่พุทธมณฑล มีกรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น

หน่วยรับผิดชอบ

๕) พื้นที่สมุทรปราการ มีโรงเรียนนายเรือ เป็นหน่วย

รับผิดชอบ

๖) พื้นที่พระสมุทรเจดีย์ มีกองเรือทุ่นระเบิด

กองเรือยุทธการ ป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐานทัพเรือกรุงเทพ

และ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ เป็นหน่วย

รับผิดชอบ

๒.๓.๓.๔ การมอบอาหารกล่องจาก “ครัวเรือรบ”

โดย ทัพเรือภาคที่ ๑ จัดทำโครงการมอบอาหารกล่อง

จาก “ครัวเรือรบ” ให้โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

กรมแพทย์ทหารเรือ ระหว่างวันที่ ๑๑ ถึง วันที่ ๒๕ สิงหาคม

๒๕๖๔ ภายใต้แนวคิด “From The Sea” ต้านภัย COVID-19

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ป่วย COVID-19 และเป็น

กำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องเข้าสู่

ขั้นตอนของการคัดแยก ให้ความรู้ และรับไว้รักษา ซึ่งต้องใช้

ระยะเวลาค่อนข้างนาน จำเป็นที่จะต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด

บริเวณโดยไม่สามารถออกไปรับประทานอาหารได้ จึงได้จัดทำ

อาหารปรุงสำเร็จบรรจุกล่องแจกจ่ายให้ดังกล่าว

43


นอกจากนี้ ทัพเรือภาคที่ ๑ โดยเรือหลวงตากใบ ยังได้

จัดกิจกรรม “ครัวเรือหลวง ห่วงใยบุคลากร ทางการแพทย์”

โดยใช้ศักยภาพของครัวเรือปรุงอาหารสำเร็จรูป โดยสหโภชน์

ประจำเรือ และส่งมอบให้บุคลากรทางการแพทย์ของ

โรงพยาบาลเกาะช้าง เพื่อแบ่งเบาภาระและให้กำลังใจ

เจ้าหน้าที่ด่านหน้าให้ผ่านพ้นสถานการณ์แพร่ระบาดของ

COVID-19 รวมทั้งมอบอาหารและอุปกรณ์ป้องกัน อาทิ

หน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันละอองฝอย เจลแอลกอฮอล์

ล้างมือ และนํ้าดื่ม ให้เจ้าหน้าที่ด่านชุมชนเทศบาล ตำบล

เกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด อีกด้วย

๒.๓.๓.๕ การลำเลียงขนส่งเตียงสนาม

กระดาษ ซึ่ง ทัพเรือภาคที่ ๑ โดย หมวดเรือลาดตระเวน

ชายแดน ได้สนับสนุนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด

โดยจัดเรือหลวงตากใบช่วยลำเลียงขนส่งเตียงสนามกระดาษ

จำนวน ๓๐ เตียง จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราดไปยัง

ศูนย์พักคอย (Community Isolation) โรงพยาบาลส่งเสริม

สุขภาพ ตำบลบ้านสลักเพชร ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง

จังหวัดตราด ระหว่าง วันที่ ๑๕ ถึง วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๔

๒.๔ กองทัพอากาศ

๒.๔.๑ การบริการและอำนวยความสะดวกให้แก่

ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 กองทัพอากาศ

โดย กรมแพทย์ทหารอากาศ จัดกำลังพลให้บริการฉีดวัคซีนให้

แก่เด็กอายุ ๕ - ๑๑ ปี และเด็กนักเรียนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่

ให้นักเรียนมีความปลอดภัยและสามารถเปิดเรียนได้อย่างมั่นใจ

ควบคู่กับมาตรการควบคุมโรคภายใต้การพิจารณาของ

คณะกรรมการโรคติดต่อของรัฐบาล และจัดฉีดวัคซีนเข็ม

กระตุ้นแก่ประชาชนทั่วไป ในพื้นที่ของทางราชการ ตลอดจน

ฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ต้องขัง และผู้เข้ารับการบ ำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ

ผู้ติดยาเสพติดให้ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลและการ

สาธารณสุขอย่างเท่าเทียมกัน ตามหลักมนุษยธรรมอีกด้วย

44


๒.๔.๓ การช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ

ประกอบด้วย

๒.๔.๓.๑ การจัดกำลังพลปฏิบัติงานช่วย

เหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ

COVID-19 โดยการนำสิ่งของบริโภคที่จำเป็น และน้ำดื่มมอบ

ให้กับโรงพยาบาลสนามที่ให้การรักษาผู้ป่วย จังหวัด

นครราชสีมา เพื่อเป็นกำลังใจและสนับสนุนการปฏิบัติงานของ

เจ้าหน้าที่ และบุคลากรทางการ

๒.๔.๒ การสนับสนุนการปฏิบัติงานโรงพยาบาลสนาม

กองทัพอากาศสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา

COVID-19 จึงได้จัดตั ้งโรงพยาบาลสนามในส่วนของกองทัพ

อากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง สามารถรองรับการรักษาผู้ป่วยได้

จำนวน ๑๕๐ เตียง ซึ่งจะอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากร

ทางการแพทย์จาก โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์

ทหารอากาศ

๒.๔.๓.๒ การจัดกำลังพลร่วมการบริจาค

โลหิตเพื่อบรรเทาการขาดแคลนโลหิตการแพร่ระบาดของ

COVID-19

45


๒.๔.๓.๓ การจัดอากาศยานช่วยเหลือ

ผู้ป่วย COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเชียงใหม่

ด้วยการจัดเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) รวมทั้ง กำลังพล

และยุทโธปกรณ์ ลำเลียงอุปกรณ์ทางการแพทย์พร้อมด้วย

เจ้าหน้าที่จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เสริมกำลัง

รักษาผู้ป่วย COVID-19 เพื่อมอบให้แก่ผู้ป่วยใน ๓ จังหวัด

ชายแดนภาคใต้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและยากต่อการเข้าถึงยา

และเวชภัณฑ์และพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่หลังพบการแพร่ระบาด

ในพื้นที่พุ่งสูงขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดให้คลี่คลาย

โดยเร็ว

๓. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

๓.๑ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใย

เกษตรกรที่ประสบปัญหาความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์

ทางการเกษตร และปัญหาการขนส่งเพื่อกระจายสินค้าที ่ไม่

สะดวกและมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

จึงได้หาหนทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับส่วนราชการและ

ภาคเอกชน เพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายตรงให้แก่กำลังพล

ในสังกัดกระทรวงกลาโหม นอกจากนี้ ยังดำเนินกิจกรรม

ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

ในโอกาสต่าง ๆ โดยมีการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

๓.๑.๑ การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

ประกอบด้วย

๓.๑.๑.๑ เรื่องการรับซื้อผลผลิตทางการ

เกษตรและการสนับสนุนพื้นที่จำหน่ายและกระจายผลผลิต

ทางการเกษตรระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับ

กระทรวงกลาโหม โดยมีผู้แทนจากกองบัญชาการกองทัพไทย

กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ องค์การสงเคราะห์

ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันเทคโนโลยี

ป้องกันประเทศ ร่วมลงนามเป็นพยาน

46


๓.๑.๒ การช่วยเหลือเกษตรกรด้วยการรับซื้อ

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย

๓.๑.๒.๑ การช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

ในพื้นที่ตลาดกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของ

อาหารทะเลไทย และส่งผลกระทบต่อธุรกิจอาหารทะเล

รวมถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถ

ขายผลผลิตได้ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ

กองทัพอากาศ และองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับซื้อกุ้งจากเกษตรกร รวมทั้งการใช้

สื่อประชาสัมพันธ์ของหน่วยในทุกช่องทาง ในห้วงเดือนมกราคม

๒๕๖๔ โดยมียอดการรับซื้อกุ้งจากเกษตรกร จำนวนทั้งสิ้น

๙,๓๔๔ กิโลกรัม รวมเป็นเงิน จำนวน ๒,๒๒๘,๔๙๐.- บาท

๓.๑.๑.๒ โครงการบูรณาการเพื่อพัฒนา

คุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนร่วมลงนามบันทึก

ข้อตกลงความร่วมมือฯ กับ ๑๒ ส่วนราชการ และ ๑ หน่วยงาน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการให้ความ

ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ครอบคลุมทุกมิติแบบองค์รวม และ

สามารถเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่ม

เปราะบางให้ครอบครัวมั่นคง มีความสุข และพึ่งตนเองได้อย่าง

ยั่งยืน ตลอดจนมีฐานข้อมูลที่มีการบูรณาการ โดยในส่วนของ

กระทรวงกลาโหม คือ สนับสนุนกำลังพลและยุทโธปกรณ์

ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การปรับปรุง/

ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมดีขึ้น

ตามศักยภาพของหน่วย

๓.๑.๒.๒ การสนับสนุนการรับซื้อผลผลิต

ทางการเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจาก

ราคาตกต่ำปริมาณผลผลิตล้นตลาด เนื่องจากเดือนกรกฎาคม

ถึงเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ ในพื้นที่ภาคใต้ประสบปัญหาราคา

ตกต่ำผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำเนื่องจากปริมาณผลผลิต

ล้นตลาด ดังนั้น สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการ

กองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ องค์การ

สงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบัน

47


เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ได้ดำเนินการสั่งซื้อมังคุด

มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๗๔,๙๑๒ กิโลกรัม รวมเป็นเงินจำนวน

๕,๒๔๗,๓๖๐.- บาท รวมทั้ง ให้การสนับสนุนพื้นที่สำหรับ

จำหน่ายและกระจายสินค้าทางการเกษตร จำนวน ๔๒ พื้นที่

๓.๑.๓ การจัดกิจกรรมช่วยเหลือประชาชน เนื่องใน

โอกาสวันสถาปนากระทรวงกลาโหม ครบรอบ ๑๓๔ ปี

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้จัดกิจกรรมช่วยเหลือ

ประชาชน เนื่องในโอกาสวันสถาปนากระทรวงกลาโหม

ครบรอบ ๑๓๔ ปี (๘ เมษายน ๒๕๖๔) เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม

๒๕๖๔ ณ ลานภูธเรศ ชุมชนแพร่งภูธร เขตพระนคร กรุงเทพฯ

ซึ่งได้กำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมไว้เป็น ๘ กิจกรรมหลัก

ประกอบด้วย ๑) การบริจาคโลหิต ๒) การบริการตัดผม

๓) การมอบยาสามัญประจำบ้าน ๔) การมอบชุดเครื่องมือช่าง

ถังดับเพลิง และดวงไฟส่องสว่าง (สปอร์ตไลท์) ๕) การฉีดวัคซีน

ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมว ๖) การสาธิต

การทำเจลล้างมือ ๗) การมอบถุงยังชีพให้กับผู้ป่วยติดเตียง

และ ๘) การแสดงดนตรี โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น

๔๐๐ คน

48


๓.๒ กองบัญชาการกองทัพไทย

กองบัญชาการกองทัพไทย มอบหมายให้ หน่วย

บัญชาการทหารพัฒนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ

พัฒนาคุณภาพชีวิตและให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่

ประสบปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้มีชีวิตอย่างมีความสุขและมึ

คุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบด้วย

๓.๒.๑ การดำเนินการโครงการก่อสร้างโครงสร้าง

พื้นฐานในพื้นที่เป้าหมาย ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔ ในพื้นที่ ๑๑๑

ตำบล ๖๘ อำเภอ ของ ๓๒ จังหวัด ซึ่งผลการปฏิบัติงานก่อสร้าง

เส้นทางคมนาคม จำนวน ๔๔๔ โครงการ ระยะทาง

๑,๒๐๙.๒๔๙ กิโลเมตร แล้วเสร็จทุกโครงการ สรุปดังนี้

๓.๒.๑.๑ การก่อสร้างเส้นทางลาดยาง

จำนวน ๔๕ โครงการ ระยะทาง ๗๙.๖๔๗ กิโลเมตร

๓.๒.๑.๒ การก่อสร้างเส้นทางคอนกรีต

เสริมเหล็ก จำนวน ๕๒ โครงการ ระยะทาง ๓๐.๑๘๔ กิโลเมตร

๓.๒.๑.๓ การก่อสร้างเส้นทางลูกรัง

จำนวน ๓๔๗ โครงการ ระยะทาง ๑,๐๙๙.๔๑๘ กิโลเมตร

๓.๒.๒ การพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อให้ประชาชนใน

ชนบทที่ประสบความแห้งแล้ง สามารถมีน้ำใช้ประโยชน์ รวม

จำนวน ๑,๑๑๕ โครงการ แบ่งเป็น

๓.๒.๒.๑ แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค

จำนวน ๖๘๗ โครงการ

๓.๒.๒.๒ แหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร

จำนวน ๔๒๘ โครงการ

๓.๒.๓ การพัฒนาช่วยเหลือประชาชน ประกอบด้วย

งานส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม

เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ รวมจำนวน

๑๐๗ โครงการ อาทิ การส่งเสริมปศุสัตว์ การประมง และ

การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

49


๓.๒.๕.๒ โครงการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง

ตามพื้นที่ชายแดน โดยจัดการฝึกอบรมให้กับผู้นำชุมชนและ

ประชาชนในพื้นที่ตำบลเป้าหมายการพัฒนา จำนวน ๒๘ รุ่น

รวม ๑,๖๘๐ คน

๓.๒.๕.๓ จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา

เสพติดสนับสนุน กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม จำนวน

๓ ศูนย์ เพื่อฝึกอบรมและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด รวม ๓๖๐ คน

๓.๒.๔ การพัฒนางานเกษตรผสมผสานตาม

แนวทางพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย งาน

ขุดสระเก็บน้ำในไร่นา พร้อมสนับสนุนโครงการประกอบด้าน

การเกษตร โดยนำผลผลิตที่ได้มาบริโภคในครัวเรือนเพื่อลดราย

จ่าย ส่วนที่เหลือจะนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นต้นทุนในการดำเนิน

กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนให้กับประชาชนในพื้นที่

ต่าง ๆ รวมจำนวน ๔๔ โครงการ

๓.๒.๕ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ด้วยการดำเนินงานเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชนและ

ชุมชน อันประกอบด้วย

๓.๒.๕.๑ โครงการศูนย์เยาวชนต้นกล้า

กองทัพไทย โดยจัดการฝึกอบรมให้กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา

ชั้นปีที่ ๑ ถึงชั้นปีที่ ๔ มีระยะเวลาอบรม ๕ วัน ๔ คืน จำนวน

๔ รุ่น รวม ๔๐๐ คน

๓.๓ กองทัพบก

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นปีที่กิจกรรมทาง

สังคมจำนวนมากต้องชะลอลงไปเนื่องจากสถานการณ์การแพร่

ระบาดของ COVID-19 แต่ปัญหาทางสังคมอีกมากมายก็ไม่ได้

ถดถอยไปและยังคงเป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนต่อการดำรง

ชีวิตและบั่นทอนคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างต่อเนื่อง

อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการละเลยต่อรากเหง้าหรือ

ภูมิหลังของชุมชนและสังคม ปัญหาช่องว่างระหว่างหน่วยงาน

ราชการกับประชาชน และปัญหาเชิงความคิดต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะ

การเช้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความรวดเร็วและเครือข่าย

ที่กว้างไกล เมื่อเป็นเช่นนี้ กองทัพบก จึงได้พิจารณาใช้

ประโยชน์ของเทคโนโลยีผสมผสานกับการนำเสนอข้อมูล

ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งการจัดกิจกรรมอันเหมาะสม

เพื่อสร้างนำและพัฒนาพลังอันดีงามในความคิดของพี่น้อง

ประชาชนให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมแก่การพัฒนา

ประเทศ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และการก้าวเดิน

เคียงคู่กันไปของทหารและพี่น้องประชาชน จนนำมาสู่กิจกรรม

ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ดังนี้

๓.๓.๑ ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองกองทัพบก “สร้างรั้วใจ

ไม่ให้หนี คืนคนดี สู่สังคม” เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไข

ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความ

มั่นคง ไม่ให้เข้าไปในหมู่บ้าน ชุมชน หรือกลุ่มนักเรียนนักศึกษา

และเยาวชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของ

50


ประชาชน รวมทั้งเป็นการให้โอกาสผู้หลงผิดที่เคยเข้าไปเสพ

ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองให้หายจากวงจรที่ทำลายสุขภาพ ชีวิต

และสังคม และกลับไปเป็นคนดีของสังคม กองทัพบก จึงได้

จัดตั้ง “ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง” รับผู้ติดยาเสพติดที่ถูกจับกุมและ

ศาลพิจารณาตัดสินให้เป็นผู้ป่วย เข้ามารับการบำบัดรักษาและ

ฟื้นฟูสมรรถภาพในหน่วยทหาร โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่

ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖ รวมทั้งมีการบำบัดรักษาและฟื้นฟู

สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการ

ใช้หลักสูตรมาตรฐานแกนกลาง (PMK Model) ผสานวินัย

ทหาร เป็นเครื่องมือในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

ร่างกาย พร้อมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในตัวของผู้เข้า

รับการบำบัด ด้วยการดึงครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน

ของการบำบัด ตลอดจนการฝึกการสร้างงานสร้างอาชีพตาม

ความถนัดและตรงกับความต้องการของผู้รับการบำบัด โดยใช้

ทรัพยากรทุกด้านของกองทัพบกเข้ามาช่วยขับเคลื่อนแนวคิด

ดังกล่าว ตลอดจน ประสานงานการดำเนินงานกับทุกภาคส่วน

ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แนวความคิด “การสร้างรั้วใจ ไม่ให้หนี

คืนคนดี สู่สังคม” และแม้ว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

จะเป็นช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็ตาม กองทัพบก

ก็ยังคงดำเนินโครงการศูนย์วิวัฒน์พลเมือง กองทัพบก อย่าง

ต่อเนื่อง ภายใต้มาตรการการป้องกัน COVID-19 ตามแนวทาง

ของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด

๓.๓.๒ การจัดงานวันเด็กออนไลน์กองทัพบก โดย

กรมกิจการพลเรือนทหารบก ได้ปรับการนำเสนองานวันเด็ก

เป็น Facebook LIVE แบบออนไลน์ ผ่านช่องทาง Facebook

เพจกรมกิจการพลเรือนทหารบก Directorate of Civil Affairs

ซึ่งเป็นช่องทางหลักในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และสามารถ

รับชมกิจกรรมผ่านทาง YouTube : We are ๕.๐ และ

Facebook : Army Radio โดยมุ่งเน้นการสร้างรอยยิ้มและ

เสียงหัวเราะให้แก่เด็กและเยาวชน รวมทั้งมอบของขวัญเนื่อง

ในโอกาสวันสำคัญนี ้ ภายใต้แนวคิด “คิดดี Kid’s Day by

ARMY” ประกอบด้วยกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การแสดงดนตรี

ประกอบบทเพลงเทิดพระเกียรติ การรับชมพิพิธภัณฑ์กองทัพ

บกเฉลิมพระเกียรติ การปฏิบัติหน้าที่ของพี่ทหารในภารกิจ

การป้องกันประเทศ การบรรเทาสาธารณภัย และการสนับสนุน

ภาคส่วนต่าง ๆ ในการป้องกัน COVID-19 ประวัติศาสตร์ชาติ

ไทย, การแสดงของชุดขุนศึก อาจารย์สุธีพาเที่ยวชมวัดสำคัญ

ร่วมเล่นเกมส์กับดาราศิลปินของช่อง ๗ HD การแสดงของ

ทีมเต้น KKIBB Cover Liza Black pink ซึ่งเด็กและเยาวชน

สามารถเข้าชมกิจกรรมของงาน และแชทตอบคำถาม เพื่อรับ

มอบของขวัญ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เข้า

มามีส่วนร่วมในการมอบของรางวัลให้น้อง ๆ ผู้โชคดีฟรีทั่ว

ประเทศ

๓.๓.๓ กิจกรรมรักษ์อัตลักษณ์ความเป็นไทย ผ่าน

“สืบสานวัฒนศิลป์ แผ่นดินสยาม” กองทัพบก ตระหนักถึง

ความสำคัญของการรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่

คู่คนไทย จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ

กระทรวงวัฒนธรรม จัดการประกวดการแสดงศิลปวัฒนธรรม

ท้องถิ่นไทย เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เฉลิมพระเกียรติพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

๖๙ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ภายใต้ชื่อ “สืบสานวัฒนศิลป์

แผ่นดินสยาม” เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

และสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ที่ทรงมุ่งมั่น “สืบสาน รักษา ต่อยอด” ในด้านการอนุรักษ์ศิลป

วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู ่กับประเทศไทย และเพื่อเสริมสร้าง

51


ความรัก ความศรัทธา ปลูกจิตสำนึก และกระตุ้นให้ประชาชน

ทุกหมู่เหล่าเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยใช้การแสดง

ศิลปวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการประกวด ซึ่งมีผู้สนใจสมัคร

เข้าร่วมประกวดจากทั่วทุกภูมิภาค จำนวน ๙๔ คณะ และปรับ

รูปแบบการประกวดเป็นระบบออนไลน์ พร้อมให้ทุกคณะส่ง

ผลงานเป็นคลิปวิดีโอความยาวไม่เกิน ๒๐ นาที ซึ่งผลการ

ตัดสินรอบชิงชนะเลิศ คือ

• รางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเงินรางวัล ๓๐๐,๐๐๐.- บาท

ได้แก่ คณะสยามสมัย จังหวัดนนทบุรี

• รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ได้รับถ้วยรางวัล พร้อม

เงินรางวัล ๒๐๐,๐๐๐.- บาท ได้แก่ คณะคิดบวกสิปป์ จังหวัด

นนทบุรี

• รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ได้รับถ้วยรางวัล พร้อม

เงินรางวัล ๑๕๐,๐๐๐.- บาท ได้แก่ คณะโกนเจา มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

• รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๓ ได้รับถ้วยรางวัล

พร้อมเงินรางวัล ๑๐๐,๐๐๐.- บาท ได้แก่ คณะคุ้มดอกเอื้อง

จังหวัดเชียงใหม่

นอกจากนี้ ยังมีรางวัลชมเชยอีก ๖ รางวัล ได้รับโล่

เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล ๕๐,๐๐๐.- บาท ได้แก่ คณะ

คุ้มขันโตก จังหวัดเชียงใหม่, ดิเกร์ฮูลู คณะบุหงาสยาม จังหวัด

ยะลา, คณะหอศิลปวัฒนธรรมล้านนา เฮือนวัชรพล โรงเรียน

ไทยรัฐวิทยา ๑๒ บ้านเอก จังหวัดเชียงใหม่, คณะศิลป์

สร้างสรรค์สงขลา จังหวัดสงขลา, คณะศุภศิลป์ โรงเรียน

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ๑ (เหมืองแบ่งวิทยาคม)

จังหวัดเลย และชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื ้นเมือง (วงแคน)

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

52


๓.๓.๔ กิจกรรม “พลเรือน กับ ทหาร เชื่อม

ประสานผ่านพระพุทธศาสนา” กองทัพบก ได้สอดเชื่อม

ประสานกับพี่น้องประชาชนบนถนนสายวัฒนธรรมประเพณี

ทางพระพุทธศาสนา เพื่อเชื่อมศรัทธาและความเชื่อมั่นต่อ

พระรัตนตรัย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ กองทัพบก

โดย กรมกิจการพลเรือนทหารบก ประกอบพิธีทอดกฐินสามัคคี

และถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน เพื่อเป็นการทำนุบำรุง

พระพุทธศาสนาและเชื่อมโยงศรัทธาของพลเรือน ย้ำเตือน

วิถีประเพณีไทย โดยน้อมผ้าไตรไปทอดถวาย ณ วัดวชิร

ธรรมาราม อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกฐิน

พระราชทาน น้อมถวายแด่พระสงฆ์จำพรรษาถ้วนไตรมาส

ณ วัดปรมัยยิกาวาส อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งวัดทั้ง

สองแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจควรแก่การจารึกไว้

จึงเผยแพร่ประวัติและความสำคัญของพระอารามทั้งเชิง

ประวัติศาสตร์ เชิงศิลปะ เชิงวัฒนธรรมร่วมกับท้องถิ่นให้

สาธารณชนได้รับทราบอีกด้วย

กลุ่มที่ ๑ : บทเพลงความรักของทหารที่มีต่อชาติ

ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน จำนวน ๑๗๒ บทเพลง

รางวัลชนะเลิศ คือ บทเพลง เพื่อแผ่นดินนี้ ผู้ประพันธ์ คือ

นายวรวัฒน์ ศรีจรัส

กลุ่มที่ ๒ : บทเพลงความรักของประชาชนที่มีต่อ

ประเทศชาติ จำนวน ๑๗๑ บทเพลง รางวัลชนะเลิศ คือ

บทเพลง เราอยู่ด้วยกัน ผู้ประพันธ์ คือ นายอุกฤษฏ์ อุไรรัตน์

กลุ่มที่ ๓ : บทเพลงความรัก ความห่วงใย และความ

เห็นอกเห็นใจของประชาชนที่มีต่อทหารในการปฏิบัติหน้าที่

ปกป้องอธิปไตยของชาติ จำนวน ๙๕ บทเพลง รางวัลชนะเลิศ

คือ บทเพลง มองด้วยหัวใจ ผู้ประพันธ์ คือ นายจุฑาคุณ รังสรรค์

ภายหลังการประกวดเสร็จแล้ว กองทัพบก จะนำ

บทเพลงที่ได้รับรางวัล เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุ

เสียงตามสาย และสื่อออนไลน์ในความรับผิดชอบ พร้อมกับ

เชิญชวนเครือข่าย ภาคประชาชนขับร้อง และประพันธ์บทเพลง

เพื่อร่วมส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ตลอดจนปลูกฝัง

อุดมการณ์ความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ในสังคม

ไทยโดยรวม ตามที่กองทัพบกได้ตั้งปณิธานไว้

๓.๓.๕ กิจกรรมการประกวดบทเพลงรักชาติ

ประจำปี๒๕๖๔ กองทัพบก ตระหนักถึงความสำคัญของพี่น้อง

ประชาชนที่มีมุมมองถึงทหารและการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร

จึงมอบหมายให้ กรมกิจการพลเรือนทหารบก ได้จัดการ

ประกวด “บทเพลงรักชาติ ประจำปี ๒๕๖๔” เพื่อเสริมสร้าง

จิตสำนึกความรักในสถาบันหลักของชาติ รวมทั้ง การสร้าง

ความเข้าใจให้กับประชาชนถึงการปฏิบัติหน้าที่ของกองทัพบก

ตลอดจน เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนใน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งได้ดำเนินการ

จัดการประกวดเป็น ๓ กลุ่มบทเพลง มีผู้ร่วมประกวดรวม

จำนวนทั้งสิ้น ๔๓๘ บทเพลง และมีผลการตัดสิน ดังนี้

๓.๔ กองทัพเรือ

เนื่องจาก การดำรงชีวิตของประชาชนในปัจจุบันที่

อยู่ในยุคแห่งการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผล

ให้ประชาชนบางกลุ่มวัยไม่สามารถเข้าถึงระบบเทคโนโลยีได้

อย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจเกิดจากข้อจำกัดในเรื่องต่าง ๆ ดังนั้น

กองทัพเรือ จึงดำริที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนกลุ่ม

ผู้สูงวัย ทั้งที่เป็นข้าราชการกองทัพเรือที่เกษียณอายุราชการ

และประชาชนทั่วไป ได้รับประโยชน์จากการดำเนินงาน

ของกองทัพเรือ ดังนี้

๓.๔.๑ ศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตข้าราชการ

กองทัพเรือ จัดทำเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และ

สนับสนุนให้ข้าราชการกองทัพเรือที่เกษียณอายุราชการ มีทาง

เลือกในการแสวงหาที่พักอาศัย ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

อบอุ่น และปลอดภัย สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี

และเพื่อให้ได้รับบริการด้านสุขภาพและบริการทางสังคม

ที่เชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ ณ บริเวณพื้นที่หาดนางรอง

อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

53


โรงพยาบาลของกองทัพเรือ จำนวน ๒ แห่ง คือ ๑) พื้นที่

กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ เขตบางนา

และ ๒) พื้นที่สัตหีบ โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือ

สัตหีบอำเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรี

๓.๔.๒ การพัฒนาพื้นที่ลานกีฬาม้านํ้า เพื่อส่งเสริม

การท่องเที่ยวในพื้นที่ของกองทัพเรือ ณ สวนสุขภาพแหลมม้านํ้า

ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยพัฒนา

พื้นที่ให้เหมาะสม สำหรับให้ข้าราชการ ครอบครัว และ

ประชาชนในพื้นที่สัตหีบมีพื้นที่ออกกำลังกายและพักผ่อน

ที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น ด้วยการปูพื้นลู่วิ่งยางสังเคราะห์โดยรอบ

ทั้งยังปรับภูมิทัศน์ให้มีความโดดเด่นเพื่อให้เป็นจุดแลนมาร์ค

แห่งใหม่สามารถใช้เป็นลานจัดกิจกรรมของฐานทัพเรือสัตหีบ

รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่ง

ท่องเที่ยวในพื้นที่สัตหีบต่อไป

๓.๔.๔ ฌาปนสถานกองทัพเรือพื้นที่กรุงเทพ

แห่งใหม่ เป็นการจัดหาฌาปนสถานกองทัพเรือเพิ ่มอีก

๑ แห่ง ในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับกำลังพล

กองทัพเรือและครอบครัวในทุกระดับ รวมทั้งประชาชน

ได้ใช้ประโยชน์ในการจัดพิธีกรรมทางศาสนาที่เป็นมาตรฐาน

มีสิ่งอำนวยความสะดวก และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม มีที่ตั้งอยู่ที่

วัดสารอด ซอยสุขสวัสดิ์ ๔๔ ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงราษฎร์บูรณะ

เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร

๓.๔.๓ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง เพื่อ

ประโยชน์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงในอัตราที่

เหมาะสม เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของกำลัง

พลกองทัพเรือที่มีผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องดูแล รวมถึง

ครอบครัวของกำลังพลที ่เป็นประชาชน โดยดำเนินการใน

54


๓.๔.๕ เรือข้ามฟากระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า

เพื่อใช้อำนวยความสะดวกแก่กำลังพลและประชาชนที่

ประสงค์จะสัญจรข้ามฟากแม่น้ ำเจ้าพระยา ด้วยการพัฒนาเรือเวร

ข้ามฟากชื่อว่า เรือแตงโม ที่ใช้งานมาแล้วประมาณ ๕๐ ปี

มาใช้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยความร่วมมือกับภาค

เอกชน ในการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในกองทัพเรือ ซึ่ง

เป็นการดัดแปลงจากระบบเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้

นํ้ามันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงมาปรับปรุงเป็นระบบขับเคลื่อน

พลังงานไฟฟ้าจาก แบตเตอรี่ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อ

ลดฝุ่น PM 2.5 และมลภาวะในอากาศ โดยที่เรือข้ามฟากที่ทำ

ใหม่นี้ สามารถแล่นได้ประมาณ ๕ ชั่วโมงต่อการชาร์จ ๑ ครั้ง

มีความเร็ว ๕ น็อต และความเร็วสูงสุด ๘ น็อต ทั้งยังจะเป็น

จุดกำเนิดเรือไฟฟ้าอื่น ๆ ของกองทัพเรือในอนาคต

๓.๕ กองทัพอากาศ

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอันเกิดจากการ

แพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่

ต่าง ๆ ต้องพลอยได้รับความเดือดร้อนไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

และอาจส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหา

สังคมของประเทศในภาพรวม ดังนั้น กองทัพอากาศจึงใช้

ศักยภาพที่มีอยู่ให้ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนไปพร้อมกับการ

ปฏิบัติภารกิจในการฝึกการปฏิบัติงานของกำลังพลควบคู่กันไป

โดยดำเนินการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้อง

ประชาชน ดังนี้

๓.๕.๑ โครงการ “ทัพฟ้าช่วยชาวนา” กองทัพ

อากาศตระหนักดีว่า ความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรที่ได้

รับผลกระทบจากข้าวและสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ จำเป็นต้อง

ได้รับการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที

กองทัพอากาศจึงปล่อยขบวนรถขนข้าวโครงการ “ทัพฟ้าช่วย

ชาวนา” และเชิญชวนกำลังพลให้ช่วยอุดหนุนเกษตรกร โดย

ใช้รถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ จำนวน ๗ คัน และรถยนต์โดยสาร

ปรับอากาศขนาดใหญ่ จำนวน ๑ คัน เพื่อให้การสนับสนุนการ

รับส่งเกษตรกร พร้อมข้าว จำนวน ๕๐ ตัน ประกอบด้วย

ข้าวเหนียว ข้าวจ้าว ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง และ ข้าวเพื่อสุขภาพ

รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ ขนส่งจากหลายภูมิภาค

ถึงปลายทางสนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) และหน่วย

ทหารในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เป็นสถานที่จ ำหน่ายข้าวและผลผลิต

ทางการเกษตรให้แก่กำลังพลและประชาชน

55


๓.๕.๒ การซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุกองทัพอากาศ

โดย โรงเรียนการบิน ได้จัดกำลังพลพร้อมอุปกรณ์ ออก

ซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุ ที่มีฐานะยากจน โดยการสร้างบ้าน

แทนที่พักอาศัยเดิมที่มีสภาพช ำรุดและไม่ถูกสุขลักษณะอนามัย

ทั้งยังได้ประสานการปฏิบัติร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น

ในพื้นที่เพื่อบูรณาการการทำงาน ทั้งนี้ ได้ดำเนินการแล้ว

ในจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และนครสวรรค์

๓.๕.๓ การสร้างรั้วรอบศาลาอเนกประสงค์ กองทัพ

อากาศ โดย กองบิน ๒๓ ร่วมกับกองทัพ อากาศสิงคโปร์

ได้ร่วมกันสร้างรั้วรอบศาลาอเนกประสงค์ ให้กับชุมชนโพธิ์ทอง

ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เพื่อสร้างคุณภาพ

ชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์

อันดี ระหว่าง กองบิน ๒๓ และกองทัพอากาศสิงคโปร์ ที่จะได้

ทำงานร่วมกันในอนาคต

56


ชาติมั ่นคง

ด้วยศรัทธา กล้าแกร่ง สำาแดงเดช

เพื่อประเทศ เพื่อชาติไทย ให้ส่งผล

อธิปไตย ศักดิ ์ศรี เมทนีดล

ทั ่วสกล ร่วมนิยาม ความมั ่นคง


กระทรวงกลาโหมและทหารไทย มีภารกิจสำคัญคือการ

ดำรงบทบาทในภารกิจตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราช

อาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ คือ การป้องกันและรักษาอธิปไตย

ของประเทศ บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทย

มีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคง

ของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อเป็นเช่นนี้

กระทรวงกลาโหมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องการพัฒนาศักยภาพ

ให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ

พร้อมทั้งยกระดับขีดความสามารถของ ให้มีความพร้อม

ในการดำเนินภารกิจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ ทั้งระบบ

ของประเทศ รวมทั้งสามารถติดตาม แจ้งเตือน ป้องกัน แก้ไข

ปัญหา และรับมือกับภัยคุกคาม ตลอดจนปัญหาที่มีผลกระทบ

ต่อความมั่นคงในทุกมิติ ทุกรูปแบบ และทุกระดับความรุนแรง

ตลอดจน การพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศเพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ สถานการณ์

ความขัดแย้งของประเทศเพื่อนบ้าน สถานการณ์ความขัดแย้ง

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสถานการณ์ความ

ขัดแย้งของประเทศมหาอำนาจ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

และส่งผลกระทบต่อการดำเนินการด้านความมั่นคงและการ

ดำเนินการทางทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้

ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุทั้งใน

เรื่องของกำลังพล ยุทโธปกรณ์ นโยบาย แผน หลักนิยม และ

เทคโนโลยีทางทหาร ที่มีความเหมาะสม โดยดำเนินการ ดังนี้

๑. การดำาเนินการในเรื่องนโยบาย แผน

การควบคุมบังคับบัญชา และหลักนิยม

๑.๑ สำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

๑.๑.๑ การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนา

ศักยภาพของประเทศด้านความมั่นคงกระทรวงกลาโหม

ระยะที่๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) กระทรวงกลาโหม สำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะหน่วยนโยบายและยุทธศาสตร์

ของกระทรวงกลาโหมได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนา

ศักยภาพของประเทศด้านความมั่นคง กระทรวงกลาโหม

ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) รองรับแนวทางการพัฒนา

ศักยภาพของประเทศด้านความมั่นคง ตามความรับผิดชอบ

ของกระทรวงกลาโหมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และ

แผนแม่บทด้านความมั่นคงของรัฐบาล รวมถึงติดตาม

ผลการดำเนินงานของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและ

เหล่าทัพในการขับเคลื่อนงานนโยบายของรัฐบาล

๑.๑.๒ การจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผน

ปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ทำการศึกษา วิเคราะห์

และประเมินภัยคุกคามด้านความมั่นคงในมิติต่าง ๆ แบบ

องค์รวม ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม

ด้านความมั่นคงทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

โดยพิจารณาภัยคุกคามด้านความมั่นคง ที่รวมภัยคุกคาม

ด้านการทหาร และภัยคุกคามที่ไม่ใช่ภัยคุกคามทางทหาร

(ภัยคุกคามรูปแบบใหม่) อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหา

แรงงานต่างด้าว ปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหาอาชญากรรม

ข้ามชาติ สาธารณภัยและภัยพิบัติ ตลอดจนปัญหาผลกระทบ

ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความ

ยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคม จนนำมาสู่การปรับปรุง

โครงสร้างและอัตรากำลังพลให้สอดรับกับภัยคุกคามในมิติต่าง ๆ

และเป็นมาตรฐานเดียวกัน และจัดการประชุมเพื่อจัดทำคำ

รับรองการปฏิบัติราชการ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำกับ

ดูแล ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวง

กลาโหม ให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ

และแผนระดับต่าง ๆ ของประเทศตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย

หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖

ที่ให้ส่วนราชการมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่าง

สม่ำเสมอ ส่งผลให้ส่วนราชการเกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติ

ภารกิจ และความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ตลอดจน

แสดงถึงการทำงานของภาครัฐที่เกิดประโยชน์กับประชาชน

โดยแท้จริง

58


๑.๑.๓ การจัดตั้งศูนย์บัญชาการกระทรวงกลาโหม

จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ประสานการปฏิบัติงานด้านความ

มั่นคงและเป็นที่บัญชาการสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหม ตลอดจนสามารถใช้เป็นที่บัญชาการสำรองของ

รัฐบาลได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง และสามารถรับผิดชอบในการ

เผชิญปัญหาและดำเนินการในภารกิจสำคัญทั้งในเรื่องของการ

บัญชาการ การต่างประเทศ การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน

ภาคใต้ที่เป็นรูปธรรม และพร้อมเผชิญภัยคุกคามในมิติต่าง ๆ

ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อม เพื่อให้

สามารถรองรับภารกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ

๑.๑.๔ การจัดทำแผนการดำเนินการด้านกำลังพล

๑.๑.๔.๑ การทำแผนการดำเนินการปฏิรูป

การบริหารจัดการกำลังพลของกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นการ

ปรับปรุงโครงสร้างการจัดและอัตรากำลังพล เพื่อให้สำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการ กองทัพไทย และเหล่า

ทัพ ยึดถือปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน โดยพิจารณากำหนด

แนวทางในการปรับลดจำนวนกำลังพลไม่ให้กระทบกับ

ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วย และมุ่งเน้นการเพิ่ม

ประสิทธิภาพด้านขีดความสามารถของกำลังพลตลอดจน

การใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามาทดแทน อาทิ

การตรึงยอดกำลังพลไม่ให้เพิ่มขึ้นจากยอดกำลังพลบรรจุจริง

และปรับลดนายทหารชั้นนายพล ในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ

และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ รวมทั้ง นายทหารปฏิบัติการ

อย่างต่อเนื่อง

๑.๑.๔.๒ การนำกำลังพลสำรองเข้าทำ

หน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว (ทหารอาสา) เป็นการนำกำลัง

พลสำรองมาบรรจุเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่

ยามปกติ เพื่อแก้ปัญหากำลังพลสูงอายุในหน่วยกำลังรบและ

หน่วยสนับสนุนการรบ ทำให้มีกำลังพลในระดับปฏิบัติการที่

สดชื่น มีอายุน้อย และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจน

ประหยัดและลดภาระผูกพันงบประมาณด้านบุคลากร โดย

กำหนดอายุนายทหารสัญญาบัตรไม่เกิน ๓๐ ปี นายทหาร

ประทวนและพลทหารประจำการไม่เกิน ๒๕ ปี มีระยะเวลา

ทำงานคราวละไม่เกิน ๔ ปี รวมแล้วไม่เกิน ๘ ปี ทั้งนี้

นายทหารสัญญาบัตรจะมีความก้าวหน้าได้ถึงชั้นยศร้อยเอก

และนายทหารประทวนถึงชั้นยศจ่าสิบเอก พร้อมทั้ง พิจารณา

สิทธิกำลังพลและการปฏิบัติตามแบบทหารประจำการ

โดยอนุโลม โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดอัตรา

บรรจุกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว

ในหน่วยนำร่องของแต่ละส่วนราชการ คือ

หน่วยนำร่อง

นายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน พลอาสาสมัคร

(อัตรา) (อัตรา) (อัตรา)

รวม

กองบัญชาการกองทัพไทย ๓ ๓๐ - ๓๓

กองทัพบก ๖๔ ๑๗๙ - ๒๔๓

กองทัพเรือ ๕ ๒๕ - ๓๐

กองทัพอากาศ ๒ ๕๐ ๙๙ ๑๕๑

59


๑.๑.๔.๓ การจัดทำระบบข้าราชการ

พลเรือนกลาโหม ด้วยการจัดทำแนวทางการบริหารจัดการ

ข้าราชการพลเรือนกลาโหมให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม สอดรับ

กับมติคณะรัฐมนตรี ที่เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) พระราช

กฤษฎีการะเบียบข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. .... โดย

ดำเนินการจัดทำอนุบัญญัติเพื่อรองรับร่างพระราชกฤษฎีกาฯ

จำนวน ๓๑ ฉบับ นำเสนอต่อคณะกรรมการข้าราชการทหาร

เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมกันนี้ ยังได้จัดประชุม

เชิงปฏิบัติการเรื่องเตรียมการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ

เป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหมของหน่วยนำร่อง คือ กรม

เทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม และ ศูนย์การ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (โรงงาน

เภสัชกรรมทหาร) เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการบรรจุบุคคล

เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม

๑.๑.๕ การเสริมสร้างความร่วมมือกับมิตรประเทศ

โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับ

ประเทศรอบบ้าน ประเทศสมาชิกอาเซียน มหาอำนาจ

มิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคี

และพหุภาคี เพื่อมุ่งพัฒนาและส่งเสริมความสัมพันธ์ ตลอดจน

สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ลดเงื่อนไข และลดโอกาส

ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง รวมทั้งป้องกันมิให้ความขัดแย้งขยาย

ขอบเขตออกไปจนอยู่นอกเหนือการควบคุม โดยยึดมั่นใน

หลักการแนวความคิดเชิงป้องกัน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในเชิงรุก

ก่อนที่ความขัดแย้งจะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงหลักการพื้นฐานของ

ความมีเกียรติและศักดิ์ศรีในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

ซึ่งมีการประชุมในระดับสูงของกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วย

๑.๑.๕.๑ การประชุมในระดับอาเซียน

๑) การประชุมในสถานการณ์

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ด้วยระบบการประชุม

ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Teleconference: VTC)

อาทิ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ ๑๔

(14 th ASEAN Defence Ministers’ Meeting: 14 th ADMM)

และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรี

กลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ ๗ (7 th ASEAN Defence

Ministers’Meeting Plus: 7 th ADMM-Plus) รวมทั้งการ

ประชุมที่เกี่ยวข้อง ด้วยระบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

โดยมี กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

๒) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส

กลาโหมอาเซียน (ASEAN-Defence Senior Officials’

Meeting: ADSOM) และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหม

อาเซียนกับเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN

Defence Senior Officials’ Meeting Plus: ADSOM-Plus)

ซึ่งเป็นการประชุมในระดับปลัดกระทรวงกลาโหม หรือเทียบเท่า

ของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหารือความ

ร่วมมือด้านความมั่นคงและพิจารณาร่างเอกสารความร่วมมือ

ริเริ่มใหม่ ในปี ๒๕๖๔ รวมทั้ง เตรียมการด้านธุรการและด้าน

สารัตถะสำหรับการประชุม ADMM ครั้งที่ ๑๕ และพิจารณา

ร่างปฏิญญาของ ADMM Plus ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ รวมทั้งเตรียม

การด้านธุรการและด้านสารัตถะสำหรับประชุม ADMM Plus

ครั้งที่ ๘ โดยมี กระทรวงกลาโหมเนอการาบรูไนดารุซซาลาม

เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

60


๓) การประชุมรัฐมนตรีกลาโหม

อาเซียน ครั้งที่ ๑๕ (ASEAN Defence Ministers’ Meeting

: 15th ADMM) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับ

รัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ ๘ (ASEAN Defence

Ministers’ Meeting Plus: 8th ADMM-Plus) เพื่อหารือความ

ร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค และพิจารณาให้การรับรอง

เอกสารความร่วมมือริเริ่มใหม่ภายใต้กรอบการประชุม ADMM

รวมทั้งปฏิญญาสมัยพิเศษของการประชุม ADMM ครั้งที่ ๑๕

และการประชุม ADMM-Plus ครั้งที่ ๘ โดยมี กระทรวงกลาโหม

เนอการาบรูไนดารุซซาลาม เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

๑.๑.๕.๒ การประชุมระหว่างประเทศตามคำ

เชิญของมิตรประเทศ

๑) การประชุม Seoul Defense

Dialogue (SDD) ครั้งที่ ๑๐ ภายใต้หัวข้อ “ความร่วมมือ

ระดับพหุภาคีในการรับมือกับวิกฤตการณ์ด้านความมั่นคง

ที่ไร้พรมแดน” คู่ขนานกับการประชุม ASEAN-ROK Defense

Vice - Ministerial Meeting ภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาความ

ร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐ

เกาหลี เพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค”

ด้วยระบบการถ่ายทอดสดและและระบบการประชุมผ่าน

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากกรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

๓) การหารือยุทธศาสตร์ด้าน

การป้องกันประเทศ ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวง

กลาโหมสหรัฐฯ ครั้งที่ ๖ ด้วยระบบการประชุมผ่านสื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ (Video Teleconference : VTC)

๑.๑.๕.๓ การลงนามบันทึกความเข้าใจว่า

ด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาล

แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลาม

ปากีสถาน เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่าง

กระทรวงกลาโหมกับกระทรวงกลาโหมปากีสถาน และ

ขยายความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศให้มีความ

หลากหลายและครอบคลุมในหลากหลายมิติเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างทั้ง

สองประเทศให้มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ต่อไป

๒) การประชุมระดับรัฐมนตรีว่า

ด้วยการปฏิบัติการรักษาสันติภาพภายใต้กรอบสหประชาชาติ

(UN Peacekeeping Ministerial) ครั้งที่ ๔ ด้วยระบบการ

ถ่ายทอดสดและและระบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

61


๑.๑.๕.๔ กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์

ทางทหารระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการ

เสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับต่างประเทศ

เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความเป็นมิตร ความเข้าใจ และ

ความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างผู้นำระดับสูงของกระทรวงกลาโหม

กับกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์

อย่างต่อเนื่อง ด้วยการหารือผ่านระบบโทรศัพท์ทางไกล

ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา

กับ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ในเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคงในระดับทวิภาคี และ

พหุภาคี ณ ทำเนียบรัฐบาล

๑.๒ กองบัญชาการกองทัพไทย

การปรับปรุงแผนป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นจัดทำขึ้น

สำหรับเป็นกรอบในการปฏิบัติการทางทหารตามเจตนารมณ์

ของ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม

พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๓ ในภารกิจการเตรียมกำลังและ

ใช้กำลังในการป้องกันประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้อง

ทบทวน พัฒนา และปรับปรุงแผนป้องกันประเทศให้มีความ

สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภัยคุกคาม

และสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งยัง

คาดการณ์ได้ว่าสามารถที่จะขยายผลจนเกิดความรุนแรงขึ้น

ในอนาคต เนื่องจาก มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดหน่วย

และการเพิ่มศักยภาพอำนาจกำลังรบของฝ่ายตรงข้าม

๒. การเตรียมกำาลังและการฝึก

๒.๑ กองบัญชาการกองทัพไทย

๒.๑.๑ การฝึกร่วมกองทัพไทย ซึ่งเป็นการฝึกร่วมที่

ใหญ่ที่สุดของกองทัพไทย โดยใช้กำลังพลของกองบัญชาการ

กองทัพไทย และเหล่าทัพ ในการฝึกวางแผนเผชิญสถานการณ์

วิกฤติ (CAP) ซึ่งจัดให้มีการฝึกตามแผนป้องกันประเทศและ

การฝึกภาคสนาม เพื่อสร้างองค์ความรู้และประสบการณ์ใน

การปฏิบัติการร่วม ที่มีขั้นตอนการฝึก ประกอบด้วย กิจกรรม

ที่สำคัญ กล่าวคือ

๒.๑.๑.๑ การฝึก C2X ได้แบ่งการฝึก

ออกเป็น ๒ วงรอบปี คือ วงรอบปีแรก (Light Year)

จะเป็นการฝึกฝ่ายเสนาธิการร่วม (STAFFEX) ในการ

วางแผนเผชิญสถานการณ์วิกฤติ (CAP) และวงรอบปีที่สอง

(Heavy Year) จะเป็นการนำแผนที่ได้จากวงรอบปีแรก

ไปทำการฝึกปัญหาที่บังคับการ (CTX)

๒.๑.๑.๒ การฝึก FTX เป็นการสร้างความคุ้น

เคยในการปฏิบัติการร่วมทางบก ทางทะเล และทางอากาศ

๒.๑.๑.๓ การฝึกกองหนุน เป็นการเตรียมการ

ในกรณีที่แผนป้องกันประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงให้ใช้หน่วย

กองหนุน เป็นกองหนุน ให้สามารถปฏิบัติได้ทันที และเพื่อให้

เห็นภาพการปฏิบัติกองหนุน โดยไม่ใช้กำลังจริง

62


๒.๑.๒ การฝึกร่วมกับมิตรประเทศ เป็นการฝึก

พัฒนาขีดความสามารถร่วมกับมิตรประเทศ ภายใต้มาตรการ

ควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 อย่างเคร่งครัด โดย

มีการฝึกที่สำคัญ ดังนี้

๒.๑.๒.๑ การฝึกอบรมแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ

ด้านการข่าว (CTN SMEE) ด้วยการเน้นการเรียนรู้ขั้นตอน

การวิเคราะห์ข่าวสารตามวงรอบข่าวกรอง การประยุกต์ใช้

ตารางเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์เป้าหมาย ASCOPE และ

PMESSII รวมทั้งการใช้กระบวนการกำหนดเป้าหมาย

(F3EAD) ในการปฏิบัติงานฝ่ายอำนวยการด้านการข่าวของ

กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย

๒.๑.๒.๓ การฝึกร่วม/ผสม ภายใต้รหัสการ

ฝึกคอบร้าโกลด์ ซึ่งเป็นการฝึกครบรอบปีที่ ๔๐ นับตั้งแต่การ

ฝึกในระดับกองทัพเรือไทยกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา โดย

การฝึกเป็นการฝึกร่วม/ผสมหลายชาติใน ๒ ลักษณะ กล่าว

คือ ๑) การฝึกแบบเต็มรูปแบบ (Full Participating Nation)

มีประเทศเข้าร่วมการฝึก ได้แก่ ไทย สหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น

อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย เป็นต้น และ ๒) การฝึกแบบ

จำกัดกิจกรรม (Limited Participation Nation) มีประเทศ

เข้าร่วมการฝึก ได้แก่ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย เป็นต้น ทั้งนี้

ได้ปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

COVID-19 ซึ่งการฝึกครั้งนี้เป็นการฝึกในลักษณะการฝึกผสม

(HYBRID) ระหว่าง การฝึกแบบปกติ (On Site) และ การฝึก

ผ่านระบบเครือข่าย (Virtual) มีผู้รับการฝึก รวม ๑,๓๗๖ นาย

และปรับจากการฝึกภาคสนาม มาเป็นการฝึกในลักษณะ

การฝึกแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ (Subject Master Expert

Exchange: SMEE) ภายใต้มาตรการการฝึกแบบจำกัดเขต

(Bubble and Seal) มีกิจกรรมคือ

๑) พิธีเปิดและพิธีปิดการฝึก ด ำเนิน

การผ่านระบบ VTC จากอาคารม้าแดง ในที่ตั้งกองบัญชาการ

กองทัพไทย และสถานทูตมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกฯ

โดยมี พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

และ Mr. Michael Heath อุปทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย

เป็นประธานร่วม

๒.๑.๒.๒ การฝึกอบรมร่วม/ผสมหน่วยปฏิบัติ

การพิเศษไทย - สหรัฐฯ ภายใต้รหัสการฝึก Vector Balance

Torch 21 เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของฝ่ายอำนวยการ

ในการวางแผนการต่อต้านการก่อการร้ายโดยใช้กระบวนการ

กำหนดเป้าหมาย และการควบคุมอำนวยการชุดปฏิบัติการ

พิเศษในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายตามสถานการณ์ฝึก

63


๒) การฝึกการควบคุมบังคับบัญชา

(Command and Control Exercise: C2X) ซึ่งประกอบด้วย

๒.๑) การฝึกฝ่ายเสนาธิการ

(Staff Exercise: STAFFEX) อาคารม้าแดง ในที่ตั้งกอง

บัญชาการกองทัพไทยผู้เข้าร่วมการฝึก ๒๓๐ นาย จาก

ไทย สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้

ออสเตรเลีย และอังกฤษ ร่วมกันจัดทำแผนยุทธการ ซึ่งจะนำ

ไปใช้ในการฝึกปัญหาที่บังคับการ (CPX) ในปีถัดไป

๓.๒) การฝึกการแก้ปัญหาบน

โต๊ะการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาสาธารณภัย

(HADR - TTX) ณ โรงแรมสิรินพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัด

ระยอง มีผู้เข้าร่วมการฝึก ๘๙ นาย จากไทย สหรัฐฯ อินเดีย

อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ จีน เป็นการ

ให้ความรู้ด้านวิชาการและการฝึกแก้ปัญหาบนโต๊ะ ปรับ

เป็นการฝึกในลักษณะ Hybrid

๒.๒) การฝึกสงครามไซเบอร์

(Cyber Exercise: Cyber-X) ณ อาคาร JMCC - TOC ท่า

อากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา มี ผู้เข้าร่วมการฝึก ๘๘ นาย จาก

ไทย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่นและสิงคโปร์

๓) การปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน

(Humanitarian/Civic Assistance: HCA) ซึ่งประกอบด้วย

๓.๑) โครงการก่อสร้าง (Engineer

Civic Assistance Program: ENCAP) จำนวน ๑ Site โดย

การก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ โดยหน่วยทหารพัฒนา และ

ทหารช่าง กองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐฯ ณ โรงเรียนบ้านใหม่

ไทยพัฒนา จังหวัดสระแก้ว มีกำลังพลร่วมการก่อสร้าง จำนวน

๔๒ นาย

๔) การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล

(FTX) เป็นการฝึกแบบ SMEE และ การฝึกแลกเปลี่ยน (Cross

Training Exercise: CTX) และการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล

(Field Training Exercise: FTX) มีกำลังพลร่วมการฝึกทั้งหมด

๔๙๐ นาย (ไทย ๔๐๗ นาย สหรัฐฯ ๘๓ นาย) ในพื้นที่จังหวัด

ชลบุรี โดยมีกองกำลังทหารเรือเป็นหลัก ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี

จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกองก ำลังทหารบก

เป็นหลัก และในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีกองกำลัง

ทหารอากาศเป็นหลัก รวมทั้งการฝึกกวาดล้างทุ่นระเบิดและ

การทำลาย (LMD - X) โดยอยู่ในความรับผิดชอบของ

กองบัญชาการกองทัพไทย ทั้งนี้ การฝึกในปีนี้ไม่มีการฝึก

ทำการสนับสนุนการปฏิบัติในห้วงอากาศ

64


แม้ว่าสถานการณ์การฝึกจะยากลำบากเนื่องจาก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ผู้บังคับบัญชา

ทุกระดับชั้น เจ้าหน้าที่วางแผนทั้งฝ่ายไทยและมิตรประเทศ

รวมถึงผู้เข้าร่วมการฝึก ประกอบด้วยทั้งที่เป็นกำลังพลของไทย

และกำลังพลจากมิตรประเทศทุกนาย ต่างมีความมุ่งมั่นและให้

ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด

ส่งผลให้การฝึกฯ ประสบความสำเร็จด้วยความเรียบร้อย

ปลอดภัย และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สามารถพัฒนาความ

สัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ของประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม ส่งผลให้

เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพในด้านความร่วมมือทางทหาร

ระหว่างไทยและมิตรประเทศเพิ่มมากขึ้น

๒.๑.๒.๔ การฝึกผสมแพนเธอร์โกลด์ ๒๑

(Panther Gold 2021) ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านการฝึก

ระหว่างกองทัพไทยและกองทัพสหราชอาณาจักร มีวงรอบ

การจัดการฝึกปีเว้นปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความ

สามารถและเพิ่มพูนทักษะทางทหารในการปฏิบัติงานร่วมกัน

รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ขนบธรรมเนียม

ประเพณีและวัฒนธรรม ระหว่าง ๒ กองทัพ อีกทั้งยังเสริมสร้าง

ความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่าง

กองทัพไทยและกองทัพสหราชอาณาจักร การฝึกในครั้งนี้

ใช้พื้นที่กองทัพภาคที่ ๒ และกองทัพภาคที่ ๓ โดยมี

กิจกรรมการฝึกคือ

๑) การประชุมวางแผนขั้นต้น (IPC)

แบ่งออกเป็น

แผนการฝึก CTX และ FTX

๒) การแบ่งกลุ่มการประชุม โดย

๒.๑) กลุ่มที่ ๑ การจัดทำ

๒.๒) กลุ่มที่ ๒ การจัดทำ

แผนการสนับสนุนการฝึกและข้อตกลงการปฏิบัติการส่ง

กำลังบำรุง

๓) การตรวจพื้นที่ฝึก ในพื้นที่

จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย ค่ายพ่อขุนผาเมือง โรงพยาบาล

ค่ายพ่อขุนผาเมือง และอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง

65


๒.๒ กองทัพบก

๒.๒.๑ การฝึกและตรวจสอบความพร้อมรบ

กองทัพบกได้มอบหมายให้หน่วยกำลังรบดำเนินการตรวจ

สภาพความพร้อมรบ การเคลื่อนย้ายทางธุรการ การปฏิบัติ ณ

ที่รวมพลขั้นต้น และการแสวงข้อตกลงใจของฝ่ายอำนวยการ

เพื่อให้ผู้บังคับบัญชา ฝ่ายอำนวยการ ตลอดจนกำลังพลที่บรรจุ

ในหน่วยตั้งแต่ระดับกองร้อยขึ้นไปได้มีความรู้ความชำนาญ ทั้ง

ในด้านการบังคับบัญชาการปฏิบัติงานในสนาม ตลอดจนสร้าง

ความคุ้นเคยในการปฏิบัติงานร่วมกัน สามารถการปฏิบัติการ

รบในสถานการณ์ทางยุทธวิธีต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒.๒.๒ การอบรมเสริมสร้างความรู้ทหารกอง

ประจำการ ด้วยการอบรมให้ความรู้ทางวิชาการและพัฒนา

สมรรถภาพร่างกาย ให้กับทหารกองประจำการของหน่วย ให้มี

ความรู้พร้อมที่สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก

โดยในปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ นี้ ได้มีการปรับสัดส่วนการ

รับเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก จากเดิมร้อยละ ๕๐ เป็น

ร้อยละ ๘๐

๒.๒.๓ การแนะนำการสมัครเข้าสอบแข่งขัน

เป็นนักเรียนเตรียมทหาร จัดกำลังพลนายทหารที่สำเร็จการ

ศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ให้คำแนะนำกับ

นักเรียนที่สนใจสมัครเข้าสอบแข่งขันเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

ในส่วนของกองทัพบก พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกใน

การสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ให้กับผู้ที่มีความสนใจ ทั้งนี้

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังคง

รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น กองทัพบกจึงเลื่อนกำหนดการ

รับสมัครและการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วน

ของกองทัพบก ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ (แบบเฉพาะกลุ่ม)

ออกไปจากเดิม เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๔

นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีการแนะแนวอาชีพ ภายใต้

โครงการ “โรงเรียนโรงงาน” เพื่อให้ทหารกองประจำการได้มี

อาชีพรองรับภายหลังจากปลดประจำการ ซึ่งเป็นไปตามบันทึก

ข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมการมีงานท ำให้กับทหารกองประจำการ

ระหว่าง กระทรวงกลาโหมกับกระทรวงแรงงาน ตลอดจน

เปิดหลักสูตรอบรมวิชาชีพให้กับทหารกองประจำการ

ได้มีความรู้ทางวิชาชีพ และสามารถน ำไปต่อยอดประกอบอาชีพ

เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้

66


๒.๒.๔ การพัฒนาขีดความสามารถของทหาร

กองประจำการ ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ที่

ถูกต้องในการเดินทางของกำลังพลกองร้อยส่งทางอากาศ ที่

เดินทางไปร่วมการฝึกกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ (Strategic

Airborne Operation) กับ กองทัพบกสหรัฐฯ ณ Fort Bragg

รัฐนอร์ทแคโรไลนา โดยเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับ

การเข้าร่วมกระโดดร่มทางยุทธศาสตร์ภายใต้การฝึกร่วม/

ผสม รหัส Cobra Gold 21 ซึ่งมีการกักตัวก่อนไปฝึกในค่าย

ทหาร และเมื่อไปถึงสหรัฐฯ ก็ปฏิบัติลักษณะเดียวกันตาม

ระบบ Military Training Quarantine ทั้งนี้กำลังพลทุกนาย

ผ่านการ Swab Test ได้ผลเป็นลบ และได้รับการฉีดวัคซีนที่

ประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ ยังได้กำชับทำการจัดเตรียมสถานที่รับ

ทหารใหม่ และซักซ้อมในกระบวนการรับทหารใหม่ และให้

เจ้าหน้าที่ส่วนต่าง ๆ ได้ทราบการปฏิบัติในทุกขั้นตอน ภายใต้

มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมทั้ง

ได้ดำเนินการนำทหารใหม่เข้ารับการฉีดวัคซีน COVID-19

โดยคณะบุคคลากรทางการแพทย์ พร้อมทั้งได้ปฏิบัติตามลำดับ

ขั้นตอนการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการฝึก

และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ สร้างความเชื่อมั่นให้กับ

ครอบครัวของทหารใหม่

๒.๒.๕ การตรวจเลือกทหารกองประจำการ

กองทัพบกได้ให้นโยบายแก่ผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบในการ

ตรวจเลือกทหารกองประจำการให้พบปะพูดคุยกับผู้เข้ารับ

การตรวจเลือกและครอบครัว รวมถึงการเชิญชวนให้สมัคร

เป็นทหาร ทั้งยัง ได้กำชับเรื่องการอำนวยความสะดวกให้

กับทุกภาคส่วนที่เข้ามาร่วมปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยทั้ง

ด้านสถานที ่ และความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของ

COVID-19 ตลอดจนได้เน้นย้ำเจ้าหน้าที่ตรวจเลือกฯ ให้ดำเนิน

การด้วยความโปร่งใส เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรม

อีกทั้ง ยังได้ให้ความสำคัญแก่การคัดเลือกทหารกองเกิน

อายุระหว่าง ๑๘ - ๒๐ ปี และ ๒๒ - ๒๙ ปี ที่สมัครเข้ารับ

ราชการทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอเป็นกรณีพิเศษด้วย

ระบบออนไลน์ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ทั้งนี้มีผู้สนใจสมัครเข้ารับ

ราชการทหารกองประจำการด้วยระบบออนไลน์

๒.๓ กองทัพเรือ

๒.๓.๑ การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๔

กองทัพเรือตระหนักถึงหน้าที่หลักในด้านการเตรียมความ

พร้อมของกำลังรบทางเรือ เพื่อการป้องกันประเทศ โดยการ

พัฒนากำลังพลและระบบยุทโธปกรณ์ให้มีความพร้อมในการ

ปฏิบัติการทางทหาร แผนป้องกันประเทศและการรักษาความ

มั่นคงทางทะเล จึงได้กำหนดให้หน่วยกำลังรบในทุกระดับ

ดำเนินการในระดับหน่วยตามความเชี่ยวชาญเฉพาะของกิจ

ที่ได้รับ จนถึงการบูรณาการกำลังขนาดใหญ่เข้าด้วยกัน โดย

กำหนดแนวคิดหลักอ้างอิงจากสถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้น

มากที่สุดไว้ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี ตลอดจนยังเป็นการ

ทดสอบแผนการปฏิบัติ ระบบการควบคุมการบังคับบัญชา

ระบบการสื่อสาร และระบบการส่งกำลังบำรุงในภาพรวม

ตลอดจนเป็นการทดสอบ การปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพ

อีกด้วย ทั้งนี้ มีการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก ซึ่งจัด

กำลังจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ อาทิ หน่วยบัญชาการ

นาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ

กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ

และกองการบินทหารเรือ โดยทำการฝึกณ สนามฝึกกองทัพเรือ

หมายเลข ๑๕ หาดยาว ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ

จังหวัดชลบุรี

67


นอกจากนี้ ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๔ ยังได้

ทำการฝึกเตรียมความพร้อมที่สำคัญอีก ๒ กิจกรรม กล่าวคือ

๒.๓.๑.๑ การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินนํ้า

สะเทินบก ซึ่งเป็นการฝึกภาคทะเล ในภารกิจการควบคุม

ทะเลและขยายอำนาจจากทะเลสู่ฝั่ง ตามแนวทางการใช้

กำลังของกองทัพเรือและแผนป้องกันประเทศในแต่ละด้าน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบ ๑) การปฏิบัติตามหลักนิยม

ในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินนํ้าสะเทินบก พ.ศ. ๒๕๖๔

๒) แนวทางการใช้กำลังของกองทัพเรือ พ.ศ. ๒๕๖๓ และ

๓) ความพร้อมกำลังทางเรือและกำลังรบยกพลขึ้นบกนาวิกโยธิน

ซึ่งต้องทำการควบคุมทะเลและครองอากาศในการค้นหา

และลิดรอนทำลายกำลังทางเรือของข้าศึก ทั้งเรือผิวนํ้าและ

เรือดำนํ้าไม่ให้เป็นภัยคุกคาม ซึ ่งเป็นอีกภารกิจหนึ่งในการ

ควบคุมทะเลทั้งนี้ มีการจัดตั้ง กองเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการ

ระยะไกล เป็นกำลังเชิงรุก มีกำลังสำคัญ ประกอบด้วย หมวด

เรือเฉพาะกิจโจมตี หมวดเรือสนับสนุน และหมวดเรือเฉพาะกิจ

ปฏิบัติการยุทธ์สะเทินนํ้าสะเทินบก โดยที่หมวดเรือเฉพาะกิจ

ปฏิบัติการยุทธ์สะเทินนํ้าสะเทินบก มีการประกอบกำลังด้วย

๑) หมู่เรือลำเลียง (เรือหลวง อ่างทอง เรือหลวงสีชัง และเรือ

หลวงสุรินทร์) ๒) หมู่บินลาดตระเวนและลำเลียง (เครื่องบิน

ตรวจการณ์ชายฝั่ง เครื่องบินลาดตระเวน เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง

และ เฮลิคอปเตอร์ตรวจการณ์ผิวนํ้า) ๓) กำลังรบยกพลขึ้นบก

(ยานรบสะเทินนํ้าสะเทินบก (AAV) ยานเกราะ ล้อยาง (BTR)

รถฮัมวี่ (HMMWV) ปืนใหญ่ ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตร) ๔) กำลัง

ทหารนาวิกโยธิน จำนวน ๗๐๐ นาย และ ๕) กำลังในส่วนอื่น ๆ

(อาทิ ชุดปฏิบัติการพิเศษ ชุดปฏิบัติการชายหาด และชุดแพทย์

โรงพยาบาลสนาม) โดยทำการฝึก ณ หาดบ้านทอน ค่ายจุฬาภรณ์

อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

๒.๓.๑.๒ การฝึกการสนธิกำลังดำเนินกลยุทธ์

ด้วยกระสุนจริง ซึ่งวัตถุประสงค์คือ ๑) พัฒนาความรู้ความ

สามารถของกำลังพลส่วนต่าง ๆ ทางยุทธวิธีในสงครามตาม

แบบ และ ๒) ทดสอบความพร้อมรบของหน่วยระดับ กรม

กองพัน หน่วยขึ ้นตรงกองพลนาวิกโยธิน ให้เกิดความคุ้นเคย

รวมทั้งเพิ่มประสบการณ์ในเรื่องการจัดทำแผนการฝึกปัญหาที่

บังคับการการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง และการควบคุม

บังคับบัญชา การประสานการยิงสนับสนุนอากาศ - พื้นดิน

การติดต่อสื่อสาร การต่อต้านข่าวกรอง ของข้าศึก และการ

ประสานการปฏิบัติร่วมกัน ให้มีความเข้าใจในหน้าที่ของ

กันและกัน โดยมีหัวข้อการฝึกที่สำคัญ คือ ๑) การฝึกแลก

เปลี่ยน/ปรับมาตรฐาน (ปืนใหญ่) ๒) การฝึกแลกเปลี่ยน/

ปรับมาตรฐาน (ทหารราบ) ๓) การฝึกยิงจรวดนำวิถี TOW

๔) การสนับสนุนทางอากาศ ๕) การส่งกลับสายแพทย์ และ

๖) การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ซึ่งกำลังที่เข้าร่วมฝึก

จัดกำลังจาก กองพลนาวิกโยธิน (กองพันทหารราบที่ ๑ กองพัน

ทหารราบที่ ๖ กองพันรถถังกองพันรถสะเทินนํ้าสะเทินบก

และกองพันลาดตระเวน) หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (กำลัง

ทหารนาวิกโยธินพร้อมยุทโธปกรณ์อาทิปืนใหญ่ขนาด ๑๕๕

มิลลิเมตร ปืนใหญ่ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตร ปืนต่อสู้อากาศยาน

ขนาด ๔๐/๖๐ มิลลิเมตร ยานเกราะล้อยางแบบ BTR

รถสะเทินนํ้าสะเทินบก (AAV) และรถฮัมวี่ติดจรวดนำวิถี TOW)

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (กองพันรักษาฝั่ง

ที่ ๑๒ กรมรักษาฝั่งที่ ๑ พร้อมยุทโธปกรณ์คือ ปืนใหญ่รักษา

ฝั่งขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร) รวมถึง กำลังและยุทโธปกรณ์จาก

กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ และกรมแพทย์ทหารเรือ

นอกจากนี้ ยังมีกำลังของกองทัพบกเข้าร่วมทำการฝึกในครั้งนี้

ซึ่งจัดจาก กองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ ประกอบด้วย

68


รถถังและยานเกราะล้อยาง โดยทำการฝึก ณ สนามฝึก

กองทัพเรือ หมายเลข ๑๖ บ้านจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ

จังหวัดจันทบุรี

๒.๓.๒ การฝึกหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน

และรักษาฝั่งบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ซึ่ง

เป็นทำการฝึกยิงอาวุธประจำหน่วยทางยุทธวิธี เพื่อทดสอบ

การอำนวยการยุทธ์ของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยาน

และรักษาฝั่งประจำพื้นที่ต่อหน่วยรอง ตามสาขาการปฏิบัติ

ต่าง ๆ ด้วยกำลังตามจริง โดยทำการฝึก ณ สนามฝึก

ยิงอาวุธหาดยาวทุ่งโปรง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

๒.๓.๓ การฝึกยิงตอร์ปิโด แบบ MK46 จาก

เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อทดสอบ

การทำงานของระบบควบคุมการยิงและลูกตอร์ปิโด ๒) เพื่อ

ทดสอบความพร้อมของเรือและอากาศยาน และ ๓) เพื่อฝึก

กำลังพลให้มีความรู้ความสามารถและเพิ่มพูนความชำนาญใน

การยิงตอร์ปิโด ซึ่งกำหนดให้เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำนํ้าแบบ

ซีฮอว์คเป็นหน่วยยิง มีเรือหลวงรัตนโกสินทร์เป็นเรือควบคุม

โดยเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำนํ้าแบบ S-70 B (ซีฮอว์ค) ทำการ

ยิงตอร์ปิโดแบบ MK46 ไปยังเป้าหมายที่อยู่ห่างออกไป

๕๐๐ หลา ที่ความลึก ๒๕ เมตร ได้อย่างแม่นยำ

๒.๓.๔ พิธีรับมอบเรือ ต.114 และเรือ ต.115

กองทัพเรือจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งจ ำนวน ๒ ลำ (เรือ ต.114

และ เรือ ต.115) เพื่อใช้ในภารกิจถวายความปลอดภัยแด่

พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ การลาดตระเวน

ตรวจการณ์คุ้มครองเรือประมงและเรือสินค้า ป้องกันและ

ต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ ป้องกันและปราบ

ปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเล การรักษากฎหมายใน

ทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย พร้อมทั้ง

สนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ และการบรรเทา

สาธารณภัยให้แก่ประชาชนทั้งในทะเลและชายฝั่ง โดยดำเนิน

การในลักษณะการส่งเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือภายใน

ประเทศ ทั้งยังประหยัดงบประมาณมากกว่าการจัดหาจาก

ต่างประเทศ โดยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.114 และ

เรือ ต.115 ขีดความสามารถปฏิบัติการรบ (Combat Capabilities)

ระบบตรวจการณ์ของเรือสามารถตรวจจับ ติดตาม และพิสูจน์

ทราบเป้าผิวนํ้า หยุดยั้งขัดขวางเรือผิวนํ้า และป้องกันตนเอง

จากข้าศึกได้ตามสมรรถนะของอาวุธ ประจำเรือ ปฏิบัติการทาง

เรืออย่างต่อเนื่องในทะเลได้ ไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน และปฏิบัติงาน

ได้สภาวะทะเลระดับ ๕ (Sea State 5) เรือมีการทรงตัวและ

ความคงทนทะเลที่ดี และยังสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการ

ทางเรือสาขาต่าง ๆ ได้ คุณลักษณะทั่วไป มีความยาวตลอด

ลำ ๓๖ เมตร ความกว้างของเรือ ๗.๖๐ เมตรความลึกของเรือ

๓.๖๐ เมตร กินนํ้าลึกตัวเรือไม่เกิน ๑.๗๕ เมตร ความเร็วสูงสุด

ที่ระวางขับนํ้าเต็มที่ไม่ตํ่ากว่า ๒๗ นอต ระยะปฏิบัติการ

ไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ ไมล์ทะเล กำลังพลประจำเรือ ๔๔ นาย ทั้งนี้

ได้กระทำพิธี ณ ท่าเรือแหลมเทียน การท่าเรือสัตหีบ

ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

69


๒.๓.๕ พิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งลงนํ้า

(เรือ ต.997 - ต.998) กองทัพเรือ อนุมัติให้จัดสร้างเรือ

ตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.997 - ต.998 จำนวน ๒ ลำ เพื่อ

สนองพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในการพึ่งพา

ตนเองของกองทัพเรือ และรองรับการปฏิบัติภารกิจของ

กองทัพเรือ ตามนโยบายการพัฒนากองทัพและเป็นการส่งเสริม

อุตสาหกรรมการต่อเรือภายในประเทศ ซึ่งเป็นดำเนินการตาม

ยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๗ ที่ได้กำหนดความ

ต้องการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน ๑๖ ลำ เพื่อใช้ในภารกิจ

ต่าง ๆ และทดแทนเรือที่ครบกำหนดปลดระวางประจำการ โดย

กองทัพเรือจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งไว้ใช้ในราชการแล้วรวม

๑๔ ลำ และได้ทำพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งลงนํ้า (เรือ

ต.997 - ต.998) เป็น ๒ ลำสุดท้าย โดยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง

ทั้งสองลำนี้ได้เข้าประจำการในกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ

มีภารกิจในการตรวจการณ์สกัดกั้น ลาดตระเวน ป้องกัน

การแทรกซึมทางทะเลและชายฝั่ง คุ้มครอง เรือประมงและ

เรือพาณิชย์ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากร ธรรมชาติบริเวณ

ชายฝั่งทะเลในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รักษากฎหมาย

ในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย

รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์ โดยที่

คุณลักษณะของเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 - ต.998

มีความยาวตลอดลำ ๔๑.๔๕ เมตร ความกว้างสูงสุดของเรือ

๗.๒ เมตร ความลึกของเรือ ๓.๘ เมตร ระยะกินนํ้าลึกตัวเรือ

๒.๐ เมตร ความเร็ว สูงสุดต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๒๘ นอต

กำลังพลประจำเรือ ๓๓ นาย สามารถปฏิบัติงานในทะเล

ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า ๗ วัน โดยไม่ต้องรับการส่งบำรุง

ระยะปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ ไมล์ทะเลด้วยความเร็ว

เดินทางมัธยัสถ์ที่ระวางขับเต็มที่ ทั้งนี้ ได้กระทำพิธี ณ อู่ต่อเรือ

บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง

สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

๒.๔ กองทัพอากาศ

๒.๔.๑ โครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีแบบเบา

AT-6 ของกองทัพอากาศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงขีด

ความสามารถของกองทัพอากาศ ในการปฏิบัติหน้าที่ปกป้อง

อธิปไตยของชาติตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีสาระสำคัญ

คือ เป็นการจัดหาเครื่องบินโจมตีแบบเบา (AT-6) จำนวน ๘

เครื่อง พร้อมอุปกรณ์อะไหล่ ระบบสนับสนุนการฝึกอบรม

และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อทดแทนเครื่องบินแบบ L-39

ซึ่งมีอายุการใช้งานนานกว่า ๒๕ ปี และได้ปลดประจำการ

แล้ว สำหรับรองรับภารกิจการโจมตีทางอากาศ การค้นหา

และช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ รวมถึงบูรณาการความร่วมมือใน

การสนับสนุนการป้องกันประเทศ และรักษาผลประโยชน์แห่ง

ชาติกับหน่วยงานอื่น

การพิจารณาเลือกเครื่องบินโจมตีแบบเบา AT-6

ของบริษัท Textron Aviation Defense LLC ประเทศ

สหรัฐอเมริกา มีข้อพิจารณาที่สำคัญประกอบด้วย ความ

ประหยัด ในการส่งกำลังและซ่อมบำรุงจากการใช้อะไหล่ร่วม

กันได้กับอากาศยานที่มีอยู่ก่อนแล้ว ระยะเวลาในการฝึกที่ลดลง

เนื่องจากเป็นอากาศยานในตระกูลเดียวกับที่ใช้ฝึก แต่เพิ่ม

ขีดความสามารถให้สูงขึ้น และมีความเหมาะสมกับการปฏิบัติ

ภารกิจบริเวณแนวชายแดนในการลาดตระเวนติดอาวุธ เป็นต้น

ทั้งนี้ โครงการนี้กองทัพอากาศได้รับการคัดเลือก

โครงการจัดซื้อจัดจ้างในการเข้าร่วมจัดทำข้อตกลงคุณธรรม

จากคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต และกรม

บัญชีกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และได้ดำเนินการ

ลงนามข้อตกลงคุณธรรมความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการ

จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ระหว่างกองทัพอากาศ หน่วยงานของรัฐ

เจ้าของโครงการ ผู้ประกอบการ (บริษัท Textron Aviation

Defense LLC สหรัฐอเมริกา) และคณะผู้สังเกตการณ์ จำนวน

๓ ท่าน (คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต) โดยมี

การรายงานผลอย่างต่อเนื่อง พบว่า กองทัพอากาศดำเนินการ

ได้อย่างถูกต้องและโปร่งใส

70


๒.๔.๒ การแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศ

ยุทธวิธี ประจำปี ๒๕๖๔ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยที่

เกี่ยวข้องและประชาชนได้ประจักษ์ถึงคุณลักษณะ และขีด

ความสามารถของกำลังทางอากาศในการปฏิบัติภารกิจเพื่อ

ความมั่นคงของชาติ ตลอดจนการบรรเทาสาธารณภัย

ซึ่งการปฏิบัติการมีการจำลองการปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ อาทิ

การบินเฝ้าตรวจและลาดตระเวน การชี้เป้าทางอากาศ การ

ปฏิบัติการทางไซเบอร์ การบินตอบโต้ทางอากาศเชิงรุกและ

เชิงรับ การกดดันการป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึก การ

ลำเลียงทางอากาศ การบินควบคุมไฟป่า การเฝ้าตรวจและ

ลาดตระเวนทางอวกาศ การค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ

การป้องกันภัยทางอากาศและต่อต้านอากาศยาน และการ

ลำเลียงทางอากาศสายแพทย์ นอกจากนี้ ยังมีเหล่าทัพต่าง ๆ

เข้าร่วมการสาธิตและสังเกตการณ์ ทั้งนี้ กองทัพอากาศมีความ

มุ่งมั่นที่จะยกระดับการเป็นกองทัพอากาศที่มีคุณภาพ โดยให้

ความสำคัญกับการพัฒนาคน ข้อมูลข่าวสาร และกำลังรบทาง

อากาศที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือ

ประชาชน เพื ่อตอบสนองได้ทันเหตุการณ์นอกจากนี้ ยังได้

จัดหน่วยมิตรประชากองทัพอากาศ ให้บริการทางการแพทย์

มอบชุดยาและเวชภัณฑ์ผ้าห่มกันหนาว และอุปกรณ์กีฬาให้

แก่โรงเรียนและประชาชนโดยรอบพื้นที่สนามฝึกใช้อาวุธทาง

อากาศ โดยทำการฝึก ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล

จังหวัดลพบุรี

๓. การป้องกันประเทศและแก้ไขปัญหา

ความมั่นคงของชาติ

๓.๑ กองบัญชาการกองทัพไทย

๓.๑.๑ การป้องกันประเทศ ประสานการปฏิบัติกับ

กองกำลังป้องกันชายแดนอย่างใกล้ชิด

ด้วยการแจ้งเตือนข่าวสารสำคัญ รวมทั้งสนับสนุน

ข้อมูลความเคลื่อนไหวทางทหารประเทศเพื่อนบ้านที่อาจ

ละเมิดบันทึกความเข้าใจระหว่างกันในเรื่องการสำรวจและจัด

ทำหลักเขตแดนทางบก เพื่อใช้ประโยชน์ในการเตรียมกำลัง

และประเมินขีดความสามารถของฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้

ยังสามารถนำข้อมูลดำเนินการพบปะกับผู้นำทางทหารของ

ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ยุติความเคลื่อนไหวดังกล่าว พร้อม

เจรจายุติปัญหาในพื้นที่ได้อย่างสันติ

๓.๑.๒ การแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติ ด้วย

การบูรณาการการใช้ทรัพยากรจากกำลังพลของหน่วยงานใน

สังกัดและยุทโธปกรณ์เข้าแก้ไขปัญหาความมั่นคงของประเทศ

จากภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

๓.๑.๒.๑ การปราบปรามการค้ามนุษย์

ทำการสืบสวน กวาดล้างและทำลายข่ายงานขบวนการค้า

มนุษย์ข้ามชาติ ที่ใช้ประเทศไทยเป็นเส้นทางผ่านหรือใช้เป็น

แหล่งพักรอแล้วนำเหยื่อมากักขัง ทรมาน และเรียกค่าไถ่

โดยให้ทำการตัดวงจรของขบวนการตั้งแต่พื้นที่เคลื่อนไหวทั้ง

วงจรเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมต่อการค้ามนุษย์ อันจะ

นำไปสู่การจัดลำดับของประเทศไทย ที่มีความพยายามปราบ

ปรามขบวนการค้ามนุษย์ หรือ Tier ให้ดีขึ้น โดยทำการจับกุม

นายหน้าค้ามนุษย์นำชาวโรฮีนจา จากรัฐยะไข่ ลักลอบข้าม

พรมแดน มาพักรอการเคลื่อนย้ายในไทยก่อนนำพาเข้าสู่

ประเทศมาเลเซีย พร้อมทั้ง บูรณาการด้านการข่าว นำส่งข้อมูล

อันเป็นประโยชน์ให้กับชุดสืบสวนของตำรวจจนนำไปสู่

การทำลายข่ายงานขบวนการค้ามนุษย์ได้สำเร็จ

71


๓.๑.๒.๒ การปราบปรามยาเสพติด

๑) โครงการสกัดกั้นยาเสพติด

พื้นที่ท่าอากาศยาน (Airport Interdiction Task Force:

AITF) ร่วมกับหน่วยงานในโครงการ AITF ทำการสืบสวน

ขยายผล ตรวจค้นและจับกุม โดยสามารถจับกุมและยึดของ

กลางในการกระทำผิดที่เตรียมส่งไปยังประเทศต่าง ๆ คือ

๑.๑) เตรียมขนส่งไปยังประเทศ

มาเลเซีย ตรวจยึดไอซ์ น้ำหนัก ๖๒ กิโลกรัม

๑.๒) เตรียมส่งไปยังประเทศ

ออสเตรเลีย ตรวจยึดเฮโรอีน รวม ๑๓๔ หีบห่อ น้ำหนัก

๓๑๔.๖๓ กิโลกรัม มูลค่ากว่า ๙๐๐ ล้านบาท

๑.๓) เตรียมขนส่งไปยังฮ่องกง

เตรียมขนส่งไปยังไอซ์ น้ำหนัก ๑๐ กิโลกรัม

๑.๔) รวมทั้ง ขยายผลตรวจยึด

พัสดุจากประเทศ สปป.ลาว เป็นไอซ์ น้ำหนักประมาณ

๕๙.๕ กิโลกรัม

เชียงราย รวม ๑๑ เป้าหมาย สามารถตรวจยึดรถยนต์จำนวน

๑ คัน จักรยานยนต์ จำนวน ๔ คัน และสมุดบัญชีธนาคารรวม

๒๗ เล่ม ไว้ตรวจสอบ

๓) การจับกุมและตรวจยึดยาเสพ

ติด โดยดำเนินการร่วมกับตำรวจกองบัญชาการปราบปรามยา

เสพติด ปฏิบัติการ ดังนี้

๓.๑) จังหวัดสมุทรปราการ

สามารถจับกุมผู้ต้องหา ๑ คน พร้อมของกลาง เป็นยาบ้า

จำนวน ๔,๕๐๐,๐๐๐ เม็ด ยาอีหรือเอ็กตาซี่ จำนวน ๑,๐๐๐

เม็ด และไอซ์ น้ำหนัก ๕๐๐ กรัม

๒) การยึดทรัพย์เครือข่ายค้ายา

เสพติดในพื้นที่ภาคเหนือ ภายใต้ยุทธการ “พาลีปราบยา”

กองบัญชาการกองทัพไทยได้บูรณาการด้านการข่าวร่วมกับ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยา

เสพติดภาค ๕ และ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

ในการปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้นขบวนการค้ายาเสพติด

เพื่อทำลายเครือข่ายค้ายาเสพติดรายสำคัญในพื้นที่ภาคเหนือ

ภายใต้ยุทธการ “พาลีปราบยา” สามารถทำการปิดล้อมตรวจ

ค้นและจับกุมเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัด

๓.๒) จังหวัดพระนคร

ศรีอยุธยา สามารถจับกุมผู้ต้องหา ๖ คน พร้อมของกลาง

เป็นยาบ้า จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ เม็ด และรถยนต์ ๔ คัน เพื่อนำ

ไปส่งมอบให้กับผู้แทนจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดระยอง

72


๓.๓) จังหวัดหนองคาย รวม

๒ ราย ๑) จับกุมผู้ต้องหา ๔ คน พร้อมของกลาง เป็นยาบ้า

จำนวน ๖,๔๐๑,๒๐๐ เม็ด (๑๖ กระสอบ) และ ๒) จับกุม

ผู้ต้องหา ๒ คน พร้อมของกลาง เป็นยาอี จำนวน ๑๘,๒๓๐ เม็ด

ไอซ์ น้ำหนัก ๑๓๓.๘ กรัม คีตามีน น้ำหนัก ๕ กรัม และโคเคนน้ำ

ประมาณ ๓ กรัม เครื่องอัดเม็ดพร้อมหัวตอกยาเสพติด

สารตั้งต้น และสารเคมีในการผลิตยาอี

๓.๔) จังหวัดเชียงราย

จับกุมผู้ต้องหา ๑ คน พร้อมของกลาง เป็นยาบ้า จำนวน

๒๐๐,๐๐๐ เม็ด (๒ กระสอบ) และรถจักรยานยนต์ จำนวน ๑ คัน

นอกจากนี้ ยังได้ทำการรายงานการดำเนินงานผลการ

ดำเนินงานบูรณาการสืบสวนปราบปรามร่วมกับหน่วยงาน

บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด

๓.๑.๒.๓ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน

พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการดำเนินการ ดังนี้

๑) ดำเนินการพิสูจน์ทราบ

เครือข่ายหมู่บ้านสันติสุข รวม ๑๒ หมู่บ้าน ประกอบด้วย

จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๔ หมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี จำนวน

๓ หมู่บ้าน จังหวัดยะลา จำนวน ๔ หมู่บ้าน และ จังหวัดสงขลา

จำนวน ๑ หมู่บ้าน

๒) ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมปฏิบัติ

การเชิงรุกทั้งเป้าหมายผู้ก่อความรุนแรงและภัยแทรกซ้อน

อื่น ๆ รวม ๔๔ ครั้ง สามารถตรวจยึดของกลางเป็นไม้แปรรูป

และไม่แปรรูปจำนวนมาก รวมทั้งควบคุมตัวผู้ต้องหาคดี

ยาเสพติด ตามหมายจับได้ ๑ ราย พร้อมยึดไอซ์ ประมาณ

๖๐๐ กิโลกรัม และเฮโรอีน ประมาณ ๑๙๐ กิโลกรัม

๓.๕) จังหวัดบึงกาฬ จับกุม

ผู้ต้องหา ๑๐ คน พร้อมของกลาง เป็นกัญชาแห้งอัดแท่ง

น้ำหนัก ๑,๘๙๕ กิโลกรัม และ จำนวน ๔๔๐ แท่ง น้ำหนัก

๔๔๐ กิโลกรัม

๓.๖) จังหวัดมหาสารคาม

จับกุมผู้ต้องหา ๒ คน พร้อมของกลาง เป็นยาบ้า จำนวน

๑,๒๑๘,๐๐๐ เม็ด และรถยนต์ จำนวน ๒ คัน

๓) การนำบุคคลที่มีชื่อเป็น

ผู้ก่อความรุนแรงเข้ารายงานตัวกับหน่วยเฉพาะกิจยะลา

เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ จนได้รับหนังสือชมเชยจากการ

ปฏิบัติดังกล่าว

73


นอกจากนี้ ยังได้รับหนังสือชมเชย จากกองบังคับการ

ตำรวจภูธร จังหวัดปัตตานี กรณีการประสานข้อมูลด้านการ

ข่าวจนนำไปสู่การจับกุมผู้ต้องหา ค้ายาเสพติด ๒ ราย พร้อม

ของกลางยาบ้า จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ เม็ด รวมทั้งหนังสือชมเชย/

โล่ประกาศเกียรติคุณ จากการสนับสนุนงานด้านการข่าว

จนสามารถนำไปเป็นข้อมูลการปฏิบัติงานด้านยุทธการที่ส ำคัญ

จาก ๕ หน่วยงาน

๓.๒.๒ การแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติ

ด้วยการจัดกำลังลาดตระเวนเส้นทาง ลาดตระเวนเฝ้าตรวจ

ตามแนวชายแดนบริเวณช่องทางเเละพื้นที่ตามเเนวชายเเดน

เพื่อสกัดกั้นผู้ลักลอบกระทำผิดกฎหมาย พร้อมกับสนธิกำลัง

หน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการ โดยมีการดำเนินการ ดังนี้

๓.๒.๒.๑ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

๑) พื้นที่ภาคเหนือ

๑.๑) จังหวัดเชียงใหม่ จับกุม

ได้รวม ๓ ครั้ง ประกอบด้วย ผู้ต้องหา ๔ คน ยึดยาบ้า รวม

๕,๕๙๐,๐๐๐ เม็ด รถยนต์ ๓ คัน

๑.๒) จังหวัดเชียงราย จับกุม

ได้ ๑ ครั้ง ยึดไอซ์ ๒๐ กิโลกรัม

๓.๒ กองทัพบก

๓.๒.๑ การป้องกันประเทศ

ผู้บัญชาการทหารบกพร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม

การปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค

ใต้ เพื่อมอบนโยบายและติดตามการปฏิบัติงาน การขับเคลื่อน

การดำเนินการตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหมในการป้องกันและดูแลพื้นที่ชายแดน

ให้มีความมั่นคงควบคู่ไปกับมาตรการรองรับสถานการณ์ CO-

VID-19 พร้อมเยี่ยมให้กำลังใจกับเจ้าหน้าที่และในโอกาสนี้ได้

ไปเยี่ยมเจ้าหน้าที่ ๓ นาย ที่บาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ซึ่ง

พักรักษาอาการที่ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

๒) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

๒.๑) จังหวัดหนองคาย จับกุม

ได้รวม ๒ ครั้ง ประกอบด้วย ผู้ต้องหา ๓ คน ยึดยาบ้า รวม

๘,๑๗๑,๐๐๐ เม็ด รถยนต์ ๒ คัน

๒.๒) จังหวัดนครพนม จับกุมได้

รวม ๓ ครั้ง ประกอบด้วย ผู้ต้องหา ๑ คน ยึดยาบ้า รวม

๑,๒๓๖,๐๐๐ เม็ด และไอซ์ จำนวน ๑,๐๐๐ กิโลกรัม

74


๒.๓) จังหวัดบึงกาฬ จับกุมได้

๑ ครั้ง ประกอบด้วย ผู้ต้องหา ๓ คน ยึดยาบ้า ๙๔๗,๐๐๐ เม็ด

และไอซ์ จำนวน ๘ กระสอบ

๒) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จับกุมได้ ๑ ครั้ง ที่จังหวัดสุรินทร์

ผู้ลักลอบ เป็นชาย จำนวน ๒ คน

๒.๔) จังหวัดมุกดาหาร จับกุม

ได้ ๑ ครั้ง ยึดเฮโรอีน จำนวน ๘๐ กิโลกรัม และไอซ์ จำนวน

๒๔๕ กิโลกรัม และเรือหางยาว ๑ ลำ

๓.๒.๒.๒ การจับกุมและตรวจค้นบุคคล

ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย มอบหมายให้กองกำลังและ

หน่วยทหารที่รับผิดชอบบริเวณชายแดน จัดกำลังพลลาด

ตระเวนเฝ้าตรวจในพื้นที่รับผิดชอบ ตลอดแนวชายแดนใน

พื้นรับผิดชอบ เพื่อป้องกันการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดย

ผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นสาเหตุในการกระทำผิดตามเจตนารมณ์

ของกฎหมาย อาทิ กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน กฎหมายเกี่ยว

กับศุลกากร กฎหมายเกี่ยวกับสาธารณสุข ทั้งยัง เป็นการ

ป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่อาจแพร่กระจาย

เข้ามาจากภายนอกประเทศ พร้อมทั้งได้ทำการควบคุมตัว วัด

อุณหภูมิ ตรวจสอบข้อมูล เเละผลักดันออกนอกประเทศเป็น

ที่เรียบร้อย โดยมีการดำเนินการ ดังนี้

๓) พื้นที่ภาคเหนือ

๓.๑) จังหวัดเชียงใหม่ จับกุม

ได้ ๑ ครั้ง ผู้ลักลอบ รวมจำนวน ๑๗ คน เป็นชาย จำนวน ๗

คน และเป็นหญิง จำนวน ๑๐ คน

๓.๒) จังหวัดตาก จับกุมได้

๖ ครั้ง ผู้ลักลอบ รวมจำนวน ๑๕๗ คน เป็นชาย จำนวน

๙๓ คน และเป็นหญิง จำนวน ๖๔ คน ทั้งยังจับชาวไทย

ซึ่งเป็นผู้นำทางได้อีก ๑ คน ยึดรถยนต์ จำนวน ๒ คัน และ

จักรยานยนต์ จำนวน ๘ คัน

๔) พื้นที่ภาคตะวันตก

จับกุมได้ ๔ ครั้ง ที่จังหวัด

กาญจนบุรี ผู้ลักลอบ รวมจำนวน ๑๔๐ คน เป็นชาย จำนวน

๙๗ คน และเป็นหญิง จำนวน ๔๓ คน

๑) พื้นที่ภาคกลาง

จับกุมได้ ๑ ครั้ง ที่จังหวัดสระแก้ว

ผู้ลักลอบ รวมจำนวน ๒๓ คน เป็นชาย จำนวน ๑๙ คน และ

เป็นหญิง จำนวน ๔ คน

๕) พื้นที่ภาคใต้

จับกุมได้ ๒ ครั้ง ที่จังหวัด

ประจวบคีรีขันธ์ ผู้ลักลอบ รวมจำนวน ๗๙ คน เป็นชาย

จำนวน ๕๔ คน และเป็นหญิง จำนวน ๒๕ คน

75


๓.๒.๒.๓ การจับกุมและตรวจค้นบุคคล

ลักลอบขนส่งสิ่งผิดกฎหมาย มอบหมายให้กองกำลังและ

หน่วยทหารที่รับผิดชอบบริเวณชายแดน จัดกำลังพลลาด

ตระเวนและเฝ้าตรวจพื้นที่ สามารถตรวจค้นและจับกุม

ผู้ลักลอบกระทำผิดกฎหมาย ดังนี้

๑) การลักลอบลำเลียงไม้หวงห้าม

ข้ามชาติ ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ สามารถตรวจค้นและยึดจับกุม

ไม้ประดู่แปรรูป จำนวน ๓๕ ท่อน ปริมาตร ๒.๔๔๗ ลูกบาศก์เมตร

โดยไม่พบผู้กระทำผิด พร้อมนำของกลางส่งสถานีตำรวจภูธร

เมืองบึงกาฬ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

๑๘,๖๒๐,๑๔๘ เม็ด กัญชามากกว่า ๓ ตัน ยาไอซ์ ๑,๒๕๑

กิโลกรัม และเฮโรอีน ๒๔๘ กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวมมูลค่า

มากกว่า ๔,๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท.- พร้อมกับสร้างความร่วมมือ

กับภาคประชาชนให้มากที่สุดในการเพิ่มมาตรการสกัดกั้น

ปราบปราม และจับกุมอย่างต่อเนื่อง

๒) การลักลอบนำสินค้าเลี่ยงภาษี

เข้ามาในราชอาณาจักร ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สามารถ

ตรวจค้นและยึดจับกุมผู้ต้องหาลักลอบนำสินค้าเลี่ยงภาษีเข้า

มาในราชอาณาจักร ยึดได้ของกลาง บุหรี่เลี่ยงภาษี จำนวน

๒,๙๓๑ คอตตอน สุราเลี่ยงภาษี จำนวน ๔๕ ขวด เเละไวน์

เลี่ยงภาษี จำนวน ๑๔๙ ขวด พร้อม รถยนต์ จำนวน ๑ คัน

และจึงได้ประสานกับสถานีตำรวจภูธรหนองขาว ดำเนินการ

ต่อไป

๓.๓ กองทัพเรือ

๓.๓.๑ การแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติ

ด้วยการจัดกำลังทางเรือลาดตระเวนเส้นทาง ลาดตระเวน

เฝ้าตรวจตามพื้นที่ตามเเนวชายเเดนทางทะเลและทางบก

เพื่อสกัดกั้นผู้ลักลอบกระทำผิดกฎหมาย พร้อมกับสนธิกำลัง

หน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการ โดยมีการดำเนินการ ดังนี้

๓.๓.๑.๑ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

กองทัพเรือ ได้มอบหมายให้ หน่วยเรือรักษาความสงบ

เรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง ป้องกันและปราบปรามการ

กระทำผิดกฎหมาย ตามลำแม่น้ำโขงโดยเฉพาะด้านยาเสพติด

ตลอดลำแม่น้ำโขง ตั้งแต่พื้นที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

จนถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทาง ๙๒๘

กิโลเมตร ตรวจยึดยาเสพติดรวม ๓๗ ครั้ง ประกอบด้วย ยาบ้า

๓.๓.๑.๒ การป้องกันและสกัดกั้นผู้หลบหนี

เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย กองทัพเรือ โดย ทัพเรือภาคที่ ๓

เข้าร่วมปฏิบัติการป้องกันและสกัดกั้น ผู้หลบหนีเข้าเมือง

โดยผิดกฎหมายพื้นที่จังหวัดระนองซึ่งส่งกำลังชุดปฏิบัติการ

พิเศษ จำนวน ๑ ชุดปฏิบัติการ พร้อมเรือตรวจการณ์ความเร็วสูง

จำนวน ๒ ลำ จากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กอง

เรือยุทธการ เข้าสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยเฉพาะกิจ

สกัดกั้นผู้อพยพ หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จาก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยให้ รายงานตัว

ขอผ่อนผัน ในห้วงระหว่างวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๔ ถึง

วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ นั้น อาจมีการทะลักเข้า

ของแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านตามช่องทางธรรมชาติ

หรือปะปนมากับเรือประมง หรือเรือสินค้าต่าง ๆ ในห้วง

ก่อนถึงวันรายงานตัวที่กำหนด

76


๓.๓.๒ การรักษาผลประโยชน์ของชาติ

๓.๓.๒.๑ การแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่

สาธารณะ กองทัพเรือ โดย ศูนย์อำนวยการรักษาผล

ประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค ๒ และศูนย์อำนวยการ

รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ดำเนินการแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณะ ณ อ่าวบ้านดอน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนสามารถทวงคืนพื้นที่สาธารณะ

ให้ประชาชนใช้ประโยชน์เป็นผลสำเร็จ จากการรื้อขนำ

หอยแครงของนายทุนและผู้มีอิทธิพลไปกว่า ๑,๐๐๐ ขนำ

พร้อมกับสังเกตการณ์และดูแลความสงบเรียบร้อย ให้แก่ชาว

ประมงพื้นบ้านจำนวนประมาณ ๓,๐๐๐ คน เรือ จำนวน

ประมาณ ๓๐๐ ลำ งมลูกหอยแครงอยู่บริเวณซึ่งเป็นพื้นที่

สาธารณะ และประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ใช้อย่างเท่าเทียมกัน

ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านมีพื้นที่สำหรับทำกินมากขึ้นและ

มีรายได้มากขึ้น

ประเมินความเสียหายของปะการังพบว่าพื้นที่อวนจำนวน

ทั้งหมด ๒,๗๕๐ ตารางเมตร พื้นที่ที่อวนปกคลุมปะการัง

๕๕๐ ตารางเมตร พบลักษณะความเสียหายของพื้นที่ปกคลุม

ทั้งหมด คือปะการังมีสีซีดจาง ร้อยละ ๑๐ แตกหักร้อยละ ๕

และรอยถลอกเสียดสีบางส่วนบาดจนปะการัง เคลือบติดกับ

เนื้ออวน ร้อยละ ๕ นอกจากนั้นยังพบดอกไม้ทะเลและสัตว์

หน้าดินเสียหายเล็กน้อย

๓.๔ กองทัพอากาศ

การแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติ กองทัพอากาศ

จัดเครื่องบินไร้คนขับตรวจการณ์และฝึกแบบที่ ๑ (UAV แบบ

RTAF U1) บินสำรวจเส้นทางคมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวก

และความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน ช่วงเทศกาล

ต่าง ๆ บริเวณพื้นที่จังหวัดสระแก้ว โดยเชื่อมสัญญาณ Video

Downlink (VDL) ไปยังกองอำนวยการร่วม สำหรับบัญชาการ

และควบคุม (Command and Control Room) ศูนย์ปฏิบัติ

การตำรวจภูธรจังหวัดสระแก้ว และห้องบัญชาการและควบคุม

ส่วนหน้า สถานีตำรวจภูธรตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัด

สระแก้ว

๓.๓.๒.๒ การปฏิบัติภารกิจแก้ปัญหาอวน

ขนาดใหญ่ปกคลุมปะการัง กองทัพเรือ โดยศูนย์อำนวยการ

รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ได้ปฏิบัติภารกิจ

แก้ปัญหาอวนขนาดใหญ่ปกคลุมปะการัง บริเวณเกาะโลซิน

จังหวัดนราธิวาส โดยการปฏิบัติภารกิจยังคงดำเนินการตาม

แผน สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใสทีมนักดำนํ้าได้ทำการดำน้ำ

เพื่อทำการตัดอวนและเก็บอวนขึ ้นมาได้ทั้งหมด ซึ่งอวนดัง

กล่าวมีนํ้าหนักถึง ๘๐๐ กิโลกรัม ทั้งนี้จากการสำรวจและ

๔. การปฏิบัติการอื่น ๆ

๔.๑ สำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

กระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและ

ต่อยอดการวิจัย พัฒนา และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ

ส่วนราชการกระทรวงกลาโหม และสถาบันเทคโนโลยีป้องกัน

ประเทศ โดยจัดทำแนวทางการบูรณาการในการทำงานร่วม

กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อมุ่งสู่การผลิตใช้ในราชการ การ

สร้างมาตรฐานทางทหาร ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ

77


กระทรวงกลาโหม โดย สำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม ได้กำหนดเป้าหมายระยะยาว ตามแผนปฏิบัติการ

ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๘๐) กระทรวงกลาโหม ไว้ว่า

“กระทรวงกลาโหมผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ เฉพาะรายการ

ที่จำเป็นเพื่อความพร้อมรบ และสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนิน

กิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อผลิตใช้ในราชการ

และเพื่อการพาณิชย์” พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการปฏิบัติ

ทุกระยะ ๕ ปี ดังนี้ ระยะที่ ๑ เป็นการปฏิรูปกรอบงาน

การกำหนดความต้องการและสร้างกลไกการถ่ายทอดองค์

ความรู้และเทคโนโลยี ระยะที่ ๒ เป็นการเสริมสร้างความ

เข้มแข็งในด้านการมาตรฐานทางทหารและการนำต้นแบบงาน

วิจัยไปสู่การผลิตใช้ในราชการและต่อยอดเพื่อการพาณิชย์

ระยะที่ ๓ เป็นการส่งผ่านการผลิตและซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์

ไปสู่ภาคเอกชน และระยะที่ ๔ เป็นการสร้างความยั่งยืน

โดยภาคเอกชนเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก

นอกจากนี้ กิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ

ไทยรัฐบาลได้ผลักดันให้เป็น “อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ ๑๑”

(S - Curve ๑๑) ซึ่งการมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว ต้องดำเนิน

การอย่างเป็นระบบตั้งแต่การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงด้านต่าง ๆ รวมถึง

เทคโนโลยีที่มีประโยชน์ในบริบทด้านความมั่นคงและเชิง

พาณิชย์ สำหรับภาคการผลิตยุทโธปกรณ์และยุทธภัณฑ์

ทางการทหารนั้น ต้องแบ่งปันเทคโนโลยีและก้าวเดินไปพร้อม

กับอุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีสองทาง รวมถึงอุตสาหกรรม

ที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ของประชาชนผ่านความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม

หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ และภาคเอกชน

นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหม ยังได้ร่วมมือกับสำนักงาน

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในการออกประกาศคณะ

กรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ส.๒ /๒๕๖๑ เรื่อง การให้การ

ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (ประกาศ

ณ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๑) เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศของประเทศไทย โดยเน้นการวิจัยและ

พัฒนาให้สามารถขยายผลไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีสองทาง

(Dual Use Technology) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา

ประเทศ ทั้งในด้านความมั่นคงและสามารถต่อยอดไปสู่การ

พัฒนาอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้โดยกำหนดประเภท เงื่อนไข

สิทธิประโยชน์ ในหมวด ๔ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และ

อุปกรณ์ขนส่ง คือ

78


พร้อมกับนำนโยบายของผู้บังคับ

บัญชาระดับสูงที่ต้องการให้ทุกหน่วยงาน

ของกระทรวงกลาโหมส่งเสริมกิจการ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย

ด้วยการมุ่งเน้นเทคโนโลยีเป้าหมาย

ที่สอดคล้องตามกรอบความร่วมมือของ

อาเซียน ขยายผลงานวิจัยพัฒนาและ

นวัตกรรมทางทหารสู่การใช้ประโยชน์

เพื่อผลิตใช้งานในหน่วยทหาร เกิดการ

พึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพิงจากต่างประเทศ

และขยายผลเพื่อการพาณิชย์ ตามขอบเขต

ที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งให้มีการ

ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยโดยมี

แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาศักยภาพ

ของประเทศด้านความมั่นคง ระยะที่ ๑

(พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) เป็นเครื่องมือใน

การขับเคลื่อนและแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยที่เหล่าทัพ

จะร่วมกำหนดความต้องการยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นอย่างน้อย

ปีละ ๑ รายการ เพื่อนำไปสู่การวิจัยและผลิตใช้ในราชการ

แนวทางการพัฒนากิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ทั้งนี้ บริบทของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศไทย มีองค์

ประกอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ๓ ด้าน กล่าวคือ

(๑) ด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นการดำเนิน

งานใน ๓ ส่วน คือโรงงานภาครัฐ เอกชน และการร่วมทุน

(๒) ด้านการทหาร พิจารณาจากระบบงานภายใน

การเสริมสร้างศักยภาพกำลังรบ การดำเนินนโยบายจัดหา

ยุทโธปกรณ์ และการพัฒนาบทบาทของกระทรวงกลาโหม และ

(๓) ด้านภาคประชาสังคม พิจารณาแนวคิดสนับสนุน

การดำเนินงานของกระทรวงกลาโหมและผลกระทบต่อการ

ดำเนินกิจกรรมในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อีกทั้งพิจารณา

ปัจจัยทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก

ถึงแนวโน้มทิศทางของการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

การตลาด และแนวทางการดำเนินการของประเทศอื่น

เพื่อให้ทราบถึงโอกาสและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

พร้อมทั้ง สามารถสร้างความสัมพันธ์ของระบบงาน

กระทรวงกลาโหมกับห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศ ในลักษณะตามแผนภาพ

นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมจะดำเนินการบูรณา

การงานวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกัน

ประเทศ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ดังภาพ

๔.๑.๑ การดำเนินกิจการอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศ

กระทรวงกลาโหม โดย สำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม ได้ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศ รวมทั้ง ให้การสนับสนุนภาคเอกชนดำเนินกิจการ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อผลิตใช้ในราชการและเพื่อ

การพาณิชย์ ด้วยการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

๔.๑.๑.๑ การส่งเสริมการตลาดภายใน

ประเทศ ด้วยการบูรณาการความต้องการในประเทศ

ทั้งความต้องการยุทโธปกรณ์ของเหล่าทัพที่ต้องการตามอัตรา

และความต้องการของหน่วยงานความมั่นคงนอกกระทรวง

กลาโหม หรือหน่วยงานที่มีหน่วยปราบปรามตามกฎหมาย

อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมป่าไม้ กรมอุทยาน

แห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและ

ชายฝั่ง) กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิต)

79


ให้สามารถวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ เพื่อนำสู่สายการผลิตและ

เข้าประจำการในเหล่าทัพ และสร้างแรงจูงใจแก่ภาคเอกชน

ในการลงทุนในประเทศ

ข้อมูลด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ให้แล้วเสร็จภายใน

เดือนกันยายน ๒๕๖๕ โดยกองบัญชาการกองทัพไทย และ

เหล่าทัพ สนับสนุนข้อมูลด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศ และให้เหล่าทัพใช้ประโยชน์ในการเจรจา

ระดับต่าง ๆ รวมถึงสามารถให้ข้อมูลประกอบการดำเนินธุรกิจ

แก่ผู้ประกอบการ

๔.๑.๑.๒ การผลิตเพื่อลดการพึ่งพาจากต่าง

ประเทศ เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง โดยใช้

เงินทุนหมุนเวียน ๕ เงินทุน ในการผลิตเพื่อขายให้กับเหล่า

ทัพ อาทิ การพัฒนาสายการผลิตของผลงานวิจัยที่ได้รับการ

พัฒนาเหล่าทัพละ ๑ โครงการ, การผลิตกระสุน ขนาด ๒๓

มิลลิเมตร ชนิด TP/กระสุน ขนาด ๓๐ x ๑๗๓ มิลลิเมตร

ชนิด TP-T/ลูกปืนกลต่อสู้อากาศยาน ขนาด ๓๗ มิลลิเมตร

ชนิดฝึก และลูกปืน ต่อสู้อากาศยาน ๓๐ x ๑๗๓ มิลลิเมตร

ชนิดฝึก, การผลิตยาและเวชภัณฑ์ขายให้กับกองบัญชาการ

กองทัพไทย เหล่าทัพ องค์การเภสัชกรรม และส่วนราชการอื่น ๆ

การผลิตแบตเตอรี่ขายให้กองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ

การรถไฟแห่งประเทศไทย และส่วนราชการอื่น ๆ การพัฒนา

สายการผลิตปืนเล็กยาว ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร และบรรจุ

ใช้ในราชการรวมถึงการผลิตยุทโธปกรณ์หลัก อาทิ ปืนใหญ่

ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร อัตตาจรล้อยาง (ATMG) และเครื่องยิง

ลูกระเบิด ขนาด ๑๒๐ มิลลิเมตรแบบอัตตาจรล้อยาง (ATMM)

๔.๑.๑.๔ การสร้างโอกาส ด้วยการขึ้นบัญชี

นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ และการจัดงาน Defense and

Security 2022 ในห้วงเดือนปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้

หน่วยงานต่าง ๆ ได้เข้าร่วมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์การ

ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

รวมถึงแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมของประเทศและขีดความ

สามารถในการแข่งขันของไทย

๔.๑.๑.๓ การสนับสนุนผู้ประกอบการ

ด้วยการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการ การ

แก้ไขกฎหมายในส่วนของพระราชบัญญัติกฎกระทรวง และ

ประกาศกระทรวงกลาโหม ในการควบคุมยุทธภัณฑ์ของ

ผู้ประกอบการภาคเอกชน และการสนับสนุนให้สถาบัน

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นผู้แทนคู่เจรจาในการดำเนินการ

ตลาดระหว่างรัฐ ตลอดจนการบริหารโครงการศูนย์บูรณาการ

80


๔.๑.๑.๕ การพัฒนาหน่วยรับผิดชอบ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะหน่วยรับผิดชอบหลัก

ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวง

กลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ผลักดัน พระราชบัญญัติเทคโนโลยี

ป้องกันประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๒ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ เมษายน

๒๕๖๒ ทำให้กระทรวงกลาโหม โดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกัน

ประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการตั้งแต่

ขั้นการผลิตจนถึงจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ตามขั้นตอนของ

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

๔.๑.๑.๗ การกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์

โดยอ้างอิงจากมาตรฐานสากล เพื่อให้หน่วยงานในสังกัด

กระทรวงกลาโหม เหล่าทัพ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ใช้เป็นแนวทางในการวิจัยพัฒนา การผลิต หรือการจัดหา

ไว้ใช้ในราชการ แบ่งเป็นยุทโธปกรณ์ประเภทกระสุน และ

ยุทโธปกรณ์ระบบยานภาคพื้นไร้คนขับ

๔.๑.๑.๖ การพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการ

ได้ดำเนินการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการศึกษา

การพัฒนางานวิจัยและภาคเอกชนภายในประเทศ จำนวน ๔

หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ

นวัตกรรม และบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด

(มหาชน) รวมถึงการแสวงหาความร่วมมือกับมิตรประเทศ

ต่าง ๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น และ

สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

๔.๑.๑.๘ การรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์

ซึ่งจะช่วยให้ผลงานวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางทหาร

และนวัตกรรมที่ผลิตขึ้นเองได้ภายในประเทศ สามารถนำไป

สนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีความ

เจริญก้าวหน้า รวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณการนำ

เข้าอาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ โดยในปีงบประมาณ

พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้รับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์เสร็จสิ้น จำนวน

๗ รายการ แบ่งเป็น (๑) ยุทโธปกรณ์ประเภทรถเกราะล้อยาง

จำนวน ๓ รายการ และ (๒) ยุทโธปกรณ์ประเภทกระสุนปืน

จำนวน ๔ รายการ

๔.๑.๑.๙ การจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือด้าน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ (AI & Robotics)

เพื่อให้เกิดการประสานงานและร่วมมือกันดำเนินงานด้าน

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ รวมทั้งเทคโนโลยีอื่น ๆ

ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม และ

ภาคพลเรือนในการวิจัยและพัฒนาให้ได้ผลงานและนวัตกรรม

สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานด้านความมั่นคง และ

81


หน่วยงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมทั้งประยุกต์ใช้

ในภาคพลเรือนอย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินการเกี่ยวกับการ

ทดสอบและวิจัยหลักการยืนยันตัวตนในลักษณะของการสร้าง

เอกลักษณ์แต่ละบุคคล เพื่อเป็นประโยชน์ด้านการรักษาความ

ปลอดภัยสถานที่ โดยใช้หลักการของการรู้จำใบหน้า (Face

Recognition)

๔.๑.๑.๑๐ การวิจัยและพัฒนาการผลิต

อาวุธปืนเล็กยาวต้นแบบ ทำการวิจัยและพัฒนาการผลิต

อาวุธปืนเล็กยาวต้นแบบ NARAC556 CARBINE ขนาด ๕.๕๖

มิลลิเมตร โดยดำเนินการวิจัยและพัฒนาการผลิตอาวุธปืน

เล็กยาวต้นแบบ NARAC556 CARBINE ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร

ทั้งนี้ ได้นำความรู้ดังกล่าวมาทำการทดสอบและประเมินผล

การใช้งานในการปฏิบัติภารกิจทางยุทธวิธีของหน่วยทหาร

เพื่อเตรียมการขยายผลสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศอย่างมี

ประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ จากมาตรการต่าง ๆ ที่กล่าวมาเชื ่อว่า งานด้าน

วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีป้องกันประเทศและด้านอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม จะสามารถตอบสนอง

นโยบายของรัฐบาลที่ให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็น

อุตสาหกรรม เป้าหมายที่ ๑๑ อย่างเป็นรูปประธรรม อันจะ

นำพาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

๔.๒ กองบัญชาการกองทัพไทย

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และคณะ ได้ตรวจเยี่ยม

พบปะกำลังพล และบำรุงขวัญหน่วยปฏิบัติงานในสนาม เนื่อง

ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ และพิธีส่งมอบยุทโธปกรณ์พิเศษให้แก่

กองกำลังสุรนารี และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

ภาค ๔ ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค ๔ สน.)

๔.๑.๑.๑๑ การผลิตยาและเวชภัณฑ์

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดย โรงงานเภสัชกรรม

ทหาร ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญทั้งด้านความมั่นคง

ทางทหารและทางสาธารณสุข และเป็นหน่วยที่สนับสนุนการ

ผลิตยาและเวชภัณฑ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ อันเป็น

หลักประกันด้านความมั่นคง ซึ่งที่ผ่านมาได้ผลิตและจำหน่าย

ยาและเวชภัณฑ์ให้แก่ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม

ส่วนราชการพลเรือน และรัฐวิสาหกิจอื่น เช่น สำนักงานคณะ

กรรมการอาหารและยา องค์การเภสัชกรรม ภาคเอกชน และ

ประชาชนทั่วไป ทั้งยังดำเนินการวิจัยการผลิตยาจากสมุนไพร

ไทย การพัฒนาการผลิตยาแผนปัจจุบัน และเวชภัณฑ์ให้มี

คุณภาพมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ซึ่งช่วยลดภาระในการจัดหา

ยาและเวชภัณฑ์จากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง

๔.๓ กองทัพบก

๔.๓.๑ การทำข้อตกลงความร่วมมือการศึกษา

ความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก

ผู้บัญชาการทหารบก และผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ร่วมลงนาม

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาความเป็นไปได้ในการ

พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือก ในการผลิตพลังงานจาก

แสงอาทิตย์บนพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมในการดูแลของ

กองทัพบกในภาคต่าง ๆ ของประเทศรวมกว่า ๔.๕ ล้านไร่ อาทิ

บริเวณพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน ๓ แสนไร่ ซึ่งคาดว่า

มีความเหมาะสมในการทำโซลาร์ฟาร์ม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้

82


๔.๓.๒การฝึกด้านการป้องกันและบรรเทา

สาธารณภัยทางน้ำ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพบก

ได้จัดการฝึกด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทางน้ำ

โดยให้ความรู้แก่กำลังพลในเรื่องการผูกเงื่อนเชือก การติดตั้ง

ระบบเชือก และการข้ามลำน้ำด้วยเชือกของชุดกู้ภัยทางน้ำ

และการใช้เรือยางเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำให้กับ

ชุดปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการ

ช่วยเหลือประชาชน

ปฏิบัติงานในทะเลได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๓ วัน ระยะ

ปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ ไมล์ทะเล ด้วยความเร็ว ๘ นอต

ที่ระวางขับนํ้าเต็มที่และมีกำลังดึงไม่น้อยกว่า ๕๕ เมตริกตัน

ทั้งนี้ ได้กระทำพิธี ณ อู่ต่อเรือ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์

จำกัด (มหาชน) อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

๔.๕ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.)

๔.๔ กองทัพเรือ

พิธีวางกระดูกงูเรือลากจูงขนาดกลาง กองทัพเรือ

มีความจำเป็นในการจัดหาเรือลากจูงขนาดกลางเพื่อใช้มา

ทดแทน เพียงพอต่อการสนับสนุนเรือขนาดใหญ่และเรือดำนํ้า

และเป็นการจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้วิธีคัดเลือกจากบริษัทอู่ต่อเรือ

ภายในประเทศ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือภายใน

ประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง ช่วยลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ

อันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนโดยตามยุทธศาสตร์

กองทัพเรือ พ.ศ. ๒๕๕๘ - ๒๕๖๗ โครงสร้างกำลังรบได้กำหนด

ให้มีเรือลากจูง สำหรับใช้ปฏิบัติราชการในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน

๘ ลำ โดยปัจจุบันมีเรือลากจูงใช้ปฏิบัติราชการแล้วจ ำนวน ๖ ลำ

และมีแผนปลดระวางประจำการ ๑ ลำ ซึ่งจะเหลือเรือลากจูงใช้

ในราชการเพียง ๕ ลำ โดยที่เรือลากจูงขนาดกลางมีคุณลักษณะ

เฉพาะคือมีความยาวตลอดลำ ๓๑.๕ เมตร ความกว้างตัวเรือ

๑๒.๖เมตร กินนํ้าลึกเต็มที่ ๔.๕ เมตร ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง

ที่ระวาง ขับนํ้าเต็มที่ ๑๒.๑ นอต ห้องพักส ำหรับกำลังพล ๒๐ นาย

มีพื้นที่จัดเก็บเสบียงอาหารและระบบนํ้าจืดเพียงพอต่อการ

สนับสนุนงานวิจัยเพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศ และพัฒนาด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศอย่างเป็น

ระบบ ตั้งแต่การศึกษาวิจัย การผลิต และการนำมาใช้ประโยชน์

เข้าร่วมทุน ถือหุ้น เป็นหุ้นส่วน หรือร่วมกับบุคคลอื่นในการ

จัดตั้งองค์กรที่เป็นนิติบุคคล เพื่อดำเนินกิจการอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศ ซึ่งและผลงานที่สำคัญ ดังนี้

๔.๕.๑ การวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด

เพื่อสนับสนุนภารกิจตรวจค้น พิสูจน์ทราบ เก็บกู้และทำลาย

วัตถุระเบิด และภารกิจด้านความมั่นคงทั้งทางทหารและ

พลเรือน และสร้างเครือข่ายบูรณาการในการวิจัยและพัฒนา

ต่อยอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดให้สามารถผลิตใน

เชิงอุตสาหกรรม โดยผลิตต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด

ขนาดเล็ก D-EMPIR V.3, D-EMPIR V.4 และเก็บกู้วัตถุระเบิด

ขนาดกลาง D-MIR V.2, หุ่นยนต์ตรวจการณ์ขนาดเล็ก D-

EMPIR V.4 และ หุ่นยนต์ขนาดเล็กแบบพกพา NOONAR

V.4 รวมถึงหุ่นยนต์ให้บริการทางการแพทย์ D-EMPIR CARE

สำหรับรองรับผู้ป่วย COVID-19

83


๔.๕.๒ การวิจัยและพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐาน

ของระบบยานไร้คนขับระยะที่ ๒ ดำรงบทบาทเป็นศูนย์กลาง

การบูรณาการด้านการวิจัย พัฒนา และเป็นศูนย์กลาง

แห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence)ระบบยาน

ไร้คนขับของประเทศเพื่อเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการวิจัย

และพัฒนาของอาเซียน ด้วยการพัฒนากระบวนการสร้าง

ต้นแบบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กไปสู่การผลิต

เชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ โดยจัดสร้างต้นแบบ

ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง ระยะที่ ๓ (ระบบ

Avionics, ระบบ Communication) ศูนย์ฝึกอบรมระบบ

อากาศยานไร้คนขับมาตรฐานแห่งแรกในประเทศและอาเซียน

อบรมครูการบินอากาศยานไร้คนขับให้ผ่านรับรองมาตรฐาน

และสร้างระบบเครื่องช่วยฝึกเสมือนจริงสำหรับปฏิบัติภารกิจ

ระบบ UAV

๔.๕.๔ การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบเครื่อง

ช่วยฝึกใช้อาวุธเสมือนจริงขั้นสูง ตอบสนองความต้องการ

ในการฝึกใช้ยุทโธปกรณ์ โดยผู้ทำการฝึกสามารถเรียนรู้

ทบทวน ทำซ้ำ ประเมินผลการฝึกจากระบบเพื่อให้ประหยัดงบ

ประมาณจากการฝึกจริง ด้วยการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบ

สนามยิงปืนเสมือนจริงของการฝึกยิงปืนสั้นและปืนประจำกาย

ทหารแบบ TARVO และฉากสถานการณ์ฝึกการยิงปืนที่ตาม

หลักนิยมของกองทัพบกให้เป็นต้นแบบเครื่องช่วยฝึกใช้อาวุธ

เสมือนจริง ทั้งยังพัฒนาโปรแกรมและระบบ Sensor ปืนทาง

ยุทธวิธี และพัฒนาระบบเครื่องช่วยฝึกใช้อาวุธเสมือนจริงขั้น

สูง (AVSS) รหัส G-Code ของชิ้นส่วนปืน และพัฒนาระบบ

ลูกเลื่อน และสร้างชุดสาธิตปืน พัฒนาระบบเลเซอร์ระบุผู้ยิง

พร้อมปลอกหุ้มชุดอุปกรณ์ ให้มีความแข็งแรง มีขนาดเล็ก และ

ใช้พลังงานต่ำ เพื่อส่งมอบให้แก่โรงเรียนเตรียมทหาร

๔.๕.๓ การวิจัยและพัฒนาเครื่องช่วยฝึกยานรบ

เสมือนจริง เป็นการพัฒนาเครื่องช่วยฝึกประจำรถถัง

(TACOS) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญในการใช้รถถังหลัก

ของกองทัพบก ให้กำลังพลสามารถทำการฝึกได้โดยไม่มีข้อ

จำกัด วิจัยและพัฒนาฉากสถานการณ์ฝึกรถถังหลักในแต่ละ

กองทัพภาคตามหลักนิยมของกองทัพบก และนำระบบแผ่น

เคลื่อนไหว (Motion Platform) มาประยุกต์ใช้กับเครื่องช่วย

ฝึกยานรบประเภทอื่น ๆ โดยมีการปรับปรุงพัฒนาระบบสาธิต

โปรแกรมหลักเครื่องช่วยฝึกยานรบเสมือนจริง วิจัยและพัฒนา

ชุดอุปกรณ์เชื่อมโยงและระบบไฟฟ้า ได้ระบบสาธิตการแสดง

ผลของเครื่องช่วยฝึกยานรบ

Tank Sim

๔.๕.๕ การประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วม

เพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์

ฉุกเฉิน เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหาร

ในการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกับภาครัฐอื่นในการ

แก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ด้วยการวิจัยและพัฒนาการประยุกต์ใช้

แผนที่สถานการณ์ร่วมสำหรับจำลองภารกิจการช่วยเหลือทาง

ทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน สนับสนุนการฝึกหน่วยงานทหาร

และความมั่นคง ให้มีความรู้ ความชำนาญในการวางแผน

คาดการณ์ ตอบสนองการช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบเหตุ

สามารถปรับแต่งสถานการณ์และนำเสนอผู้บังคับบัญชาให้ทราบ

ข้อมูลรายละเอียดจากส่วนหน้าอย่างรวดเร็ว (Near Real-time)

ในลักษณะเครือข่ายสื่อสารเอกเทศ สามารถรับ ส่ง และสนับสนุน

การเชื่อมโยงข้อมูลได้หลายรูปแบบ (Multi-Platform)

โดยใช้หลักออกแบบเครือข่ายการสื่อสารแบบตาข่าย (Mesh

Topology) ในระดับหน่วยปฏิบัติการให้เป็นต้นแบบระบบ

ควบคุมและสั่งการและทดสอบกระบวนการใช้ระบบสื่อสาร

ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินจำลอง

84


๔.๕.๖ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบ

สารสนเทศแบบรวมศูนย์และโปรแกรมประยุกต์ สำหรับเจ้า

หน้าที่หน่วยงานด้านความมั่นคงเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา

๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ ๓ เพื่อพัฒนาระบบตรวจสอบ

ตรวจจับด้วยอุปกรณ์รวบรวมข้อมูล (Sensor) และระบบจัด

เก็บข้อมูลให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ สร้างองค์ความรู้

พัฒนาระบบวิเคราะห์เชิงความสัมพันธ์ข้อมูลและต้นแบบ

ระบบเฝ้าระวัง (VDO Analytic) พัฒนาระบบวิเคราะห์และ

แสดงผลสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจด้านยุทธการและการข่าว

รวมทั้ง ส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการวิจัยกับหน่วยงาน

ภาครัฐ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ด้วยระบบสนับสนุน

งานด้านการข่าว และการควบคุมบังคับบัญชาระยะไกลโดย

ใช้ภาพจากกล้องวงจรปิดและระบบตรวจสอบป้ายทะเบียน

ยานพาหนะสำหรับใช้งานกับโทรศัพท์มือถือ Smart Phone

ระบบอ่านป้ายทะเบียนยานพาหนะแบบเคลื่อนย้ายได้ที่มี

ประสิทธิภาพสูงขึ้น (Enhanced Mobile License Plate

Recognition system: eMLPR) สำหรับใช้งานกับด่านลอย

และระบบวิเคราะห์และแสดงผลในการปฏิบัติงานด้านการ

ข่าวและยุทธการ

ปฏิบัติภารกิจของนาวิกโยธิน เพื่อเสริมสร้างบุคลากรให้มี

ความรู้ ความสามารถ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายใน

และภายนอกประเทศ ในการพัฒนาศักยภาพทางการวิจัย

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยจัดทำแบบและรายละเอียด

การทดสอบและประเมินผลการใช้งานทางเทคนิคให้ได้

มาตรฐานตามคุณลักษณะขีดความสามารถ พร้อมทั้งติดตั้ง

ลำกล้องปืนและระบบเล็งยิง ระบบกล้องตรวจการณ์ ทดสอบ

ความสามารถในขั้นตอน Ship to Shore Movement

เคลื่อนที่ในทะเลเปิด เพื่อเป็นต้นแบบเชิงอุตสาหกรรม

๔.๕.๘ การวิจัยและพัฒนาร่วมยานเกราะล้อยาง

ระยะที่ ๒ (ต่อยอดองค์ความรู้) เพื่อต่อยอดองค์ความรู้

การออกแบบ การสร้างและประกอบรวม การทดสอบตาม

มาตรฐานการใช้งานจากวิจัยและพัฒนาสร้างต้นแบบยาน

เกราะล้อยางเพื่อสนับสนุนความพร้อมรบของกองทัพบก

โดยปรับปรุงรถต้นแบบยานเกราะล้อยาง ๘x๘ (ที่บังคับการ)

BTR 3CS/ACPC เพื่อทดสอบทดลองให้กับหน่วยผู้ใช้

ได้แบบเกราะเสริมยานเกราะล้อยาง ๘x๘ แบบเชิงคอนเซปท์

(Concept) จำนวน ๕ แบบ ต้นแบบยานเกราะ ล้อยาง ๔x๔

อเนกประสงค์ ต้นแบบยานเกราะล้อยาง ๔x๔ ป้องกันทุ่น

ระเบิดและซุ่มโจมตี ต้นแบบรถยนต์บรรทุกทางทหาร ๔x๔

อเนกประสงค์ ต้นแบบยานรบ ๔x๔ ลาดตระเวน และต้นแบบ

ยานรบ ๔x๒ ลาดตระเวน

๔.๕.๗ การวิจัยและพัฒนาร่วมยานเกราะล้อยาง

สำหรับปฏิบัติภารกิจของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากต้นแบบยานเกราะล้อยางขนาด

๘x๘ ที่ดำเนินการมาแล้ว มาพัฒนาการทดสอบสมรรถนะ

ใช้งาน ปรับปรุงซ่อมบำรุงฟื้นฟูสภาพจากการใช้งาน เพื่อสร้าง

ต้นแบบยานเกราะล้อยางขนาด ๘x๘ สำหรับการสนับสนุน

85


๔.๕.๙ การวิจัยและพัฒนาระบบจรวดหลาย

ลำกล้องนำวิถี แบบ DTI-1G เพื่อสร้างระบบจรวดหลาย

ลำกล้องนำวิถี ระยะยิง ๑๕๐ กิโลเมตร จำนวน ๓ ระบบ ส่งมอบ

ให้แก่กองทัพบกนำเข้าประจำการเป็นอาวุธยิงสนับสนุนที่

สำคัญในระดับยุทธการ รวมทั้งสนับสนุนการส่งกำลังและซ่อม

บำรุงหลังการส่งมอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี ที่มุ่งเน้นการ

สร้างขีดความสามารถร่วมกับภาคเอกชนไทยให้พึ่งพาตนเอง

ได้มากที่สุด โดยการพัฒนาต่อยอดขีดความสามารถเดิมใน ๖

ระบบ ที่มีอยู่แล้วของจรวดไม่นำวิถีแบบ DTI-1 ประกอบด้วย

ระบบวิจัย ระบบผลิต ระบบทดสอบประเมินผล ระบบส่งกำลัง

บำรุง ระบบฝึกศึกษา และ ระบบทำลายยุทธภัณฑ์เมื่อหมดอายุ

พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉพาะส่วนจากมิตรประเทศ

เพื่อให้สามารถส่งมอบระบบจรวด และรถบรรทุกลูกจรวด

DTI-1G ให้แก่กองทัพบก พร้อมการฝึกอบรมการใช้งานให้แก่

หน่วยด้วยระบบเครื่องช่วยฝึก DTI-1G แบบ CBT (Computer

Based Training) พร้อม Software CBT จำนวน ๔ ชุด เพื่อ

การปรนนิบัติบำรุงและซ่อมบำรุงระบบจรวด (รถจรวดและ

ลูกจรวด)

๔.๕.๑๐ การวิจัยและพัฒนาระบบจรวด

สมรรถนะสูง แบบ DTI-2 มุ่งสร้างองค์ความรู้และพัฒนา

เทคโนโลยีของระบบจรวดสมรรถนะสูง DTI-2 โดยศึกษาและ

พัฒนาระบบขับเคลื่อนระบบส่วนหาง ระบบหัวรบ ระบบ

ควบคุมและโปรแกรมอำนวยการยิง รวมถึงระบบรถฐาน

ยิงจรวด โดยสามารถผลิตลูกจรวดขนาด ๑๒๒ มิลลิเมตร

รุ่น DTI-2 ระยะยิง ๔๐ กิโลเมตร ที่ใช้ดินขับจรวดของ สทป.

จำนวน ๘๐ นัด โดยดำเนินการ คือ

๑) ทดสอบภาคพลวัต ด้วยการวิจัย

และพัฒนาสร้างต้นแบบจรวดขนาด ๑๒๒ มิลลิเมตร รุ่น DTI-2

ระยะยิง ๓๐ กิโลเมตร เพื่อเตรียมส่งมอบให้กองทัพบก และ

๒) ทดสอบภาคสถิตผ่านตามขั้นตอนการวิจัย ผลิตต้นแบบ

จรวดขนาด ๑๒๒ มิลลิเมตร ระยะยิง ๑๐ กิโลเมตร รุ่น DTI-2

MkII-10 สำหรับการฝึก รวมทั้งยังได้สร้างต้นแบบท่อจรวด ชิ้น

ส่วนจรวดและหัวรบจรวดขนาด ๑๒๒ กิโลเมตร ระยะยิง ๓๐ -

๔๐ กิโลเมตร โดยปรับปรุงและทดสอบสมรรถนะต้นแบบรถ

ยิงจรวดแบบสายพาน (จลก.๓๑) ติดตั้งเครื่องยิงจรวดขนาด

๑๒๒ กิโลเมตร จำนวน ๑ คัน, สร้างต้นแบบลูกจรวดขนาด

๑๒๒ มิลลิเมตร ระยะยิง ๓๐ กิโลเมตร ที่ใช้ดินขับจรวดของ

สทป., สร้างต้นแบบลูกจรวด ขนาด ๑๒๒ มิลลิเมตร ระยะยิง

๑๐ กิโลเมตร สำหรับการฝึก (product improvement) และ

ทดสอบชิ้นส่วนจรวด ระยะยิงไกลสุด ๓๐ และ ๔๐ กิโลเมตร

๔.๕.๑๑ การวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้อง

นำวิถี (D11A) เป็นการวิจัยพัฒนาที่เกิดจากการใช้การศึกษา

และทำวิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering) โดยใช้

ต้นแบบจากระบบจรวดหลายลำกล้องนำวิถีแบบ DTI-1G มา

ประยุกต์ใช้เพื่อดำเนินการวิจัย และพัฒนาให้ได้ต้นแบบรถ

ฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ (Multi–Purpose

Launcher) พัฒนาฐานยิงจรวดที่มีขีดความสามารถเปลี่ยน

ชนิดหรือประเภทของจรวดได้รองรับการยิงจรวดได้หลาย

ขนาดและหลายระยะยิง ตามความต้องการใช้งานด้านยุทธวิธี

ยุทธการและยุทธศาสตร์ของกองทัพบก โดยรถฐานยิงจรวด

หลายลำกล้องอเนกประสงค์มีแท่นยิงเป็นแบบ Pod ที่สามารถ

ทำการยิงจรวดได้หลายระยะยิงโดยใช้การเปลี่ยนขนาดของ

ลูกจรวดและท่อยิงให้มีความเหมาะสม โดยดำเนินการวิจัย

และพัฒนาต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์

(Multi - Purpose Launcher) ระยะที่ ๑ (ชิ้นส่วนเกี่ยวเนื่อง

Sub - chassis 6x6, Platform, Truck 6x6) และดำเนินการ

ประกอบรวมระบบย่อย

๔.๕.๑๒ การวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพ

อากาศ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สทป. กับกรมฝน

หลวงและการบินเกษตร เพื่อร่วมกันวิจัยและพัฒนาจรวด

ดัดแปรสภาพอากาศที่มีความเหมาะสม ในการใช้งานกับ

สภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เป็น Platform ทางเลือกหนึ่ง

ในการเสริมภารกิจการทำฝนเมฆเย็นหรือสลายลูกเห็บของ

86


กรมฝนหลวงและการบินเกษตรในกรณีที่เครื่องบินไม่สามารถ

เข้าปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมายได้ โดยใช้จรวดดัดแปรสภาพ

อากาศชิ้นส่วนน้ำหนักเบา (Mark-II) ที่ทดสอบทดลองตาม

มาตรฐาน Qualification Phase Test เข้าปฏิบัติการแทน

รวมทั้ง ทดลองเชิงปฏิบัติการทำฝนพร้อมและวิเคราะห์ผล

เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้งานร่วมกับกรมฝนหลวงและ

การบินเกษตร

๔.๕.๑๓ โครงการจัดสร้างต้นแบบเรือเอนกประสงค์

สร้างองค์ความรู้ พัฒนา ออกแบบ และควบคุมกระบวนการ

สร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคง

ทางทะเล โดยดำเนินการร่วมกับกองทัพเรือและบูรณาการ

ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัยในกองทัพ และภาคเอกชน

นำไปสู่การสร้างต้นแบบและทดสอบต้นแบบอุตสาหกรรม

เรืออเนกประสงค์เพื ่อความมั ่นคงทางทะเล จำนวน ๑ ลำ

ที่ใช้ดำเนินกลยุทธ์ การส่งกำลังบำรุง และการจัดเก็บขยะ

ที่อยู่ในทะเล โดยมีหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ

กองเรือยุทธการ เป็นหน่วยนำไปทดลองใช้ประโยชน์ พร้อมทั้ง

ส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรือผลักดันโคลนเพื่อความมั่นคง

ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับศูนย์อุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร

เรืออเนกประสงค์ฯ

๔.๖ บริษัท อู่กรุงเทพ จำากัด

เป็นรัฐวิสาหกิจในความควบคุมของกองทัพเรือ

สังกัดกระทรวงกลาโหม ดำรงบทบาทเป็นกลไกสำคัญใน

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศด้านการซ่อมและสร้างเรือ เพื่อให้

กองทัพเรือมีความพร้อม สร้างงานสร้างรายได้ในประเทศ

ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ตลอดจน ประกอบธุรกิจให้

บริการต่อเรือและซ่อมเรือให้แก่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ

และเอกชน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ดำเนินการ

ซ่อมปรับปรุงเรือให้แก่ กองทัพเรือ และหน่วยงานราชการหรือ

รัฐวิสาหกิจอื่น รวม ๑๑ ลำ แบ่งเป็นเรือของกองทัพเรือ จำนวน

๗ ลำ และเรือของหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจอื่น จำนวน

๔ ลำ ทั้งยัง มีส่วนร่วมในการผลักดันและดำเนินโครงการ

ให้มีการพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวง

กลาโหมไทย กับ กระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์ ว่าด้วยความ

ร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ซึ่งจะเป็นสารตั้งต้นของการดำเนินโครงการต่อเรือตรวจการณ์

ไกลฝั่ง จำนวน ๖ ลำของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ ซึ่งปัจจุบันอยู่

ในระหว่างการพิจารณาของกองทัพเรือและกระทรวงกลาโหม

ฟิลิปปินส์งานต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง หากประเทศไทยได้

รับการคัดเลือก ก็จะสามารถสร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่

ประเทศ สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศของกระทรวงกลาโหมและรัฐบาล

เรือผลักดันโคลน

87


ปัจฉิมบท

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ แม้ว่าจะเกิดความตึงเครียดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกไกลและทะเลจีนใต้ก็ตาม

แต่สถานการณ์การรบและการสงครามก็ไม่ได้เกิดขึ้นจนไม่ส่งผลที่เป็นรูปธรรมต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย

ในขณะที่ความรุนแรงจากการระบาดของ COVID-19 กลับขยายตัวจนเป็นภัยคุกคามต่อสุขอนามัยและระบบสาธารณสุข

ของประเทศ ทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านความมั่นคงและภัยคุกคามจากการลักลอบเข้าเมืองที่ผิดกฎหมายและ

ยาเสพติดตามแนวชายแดน ที่อาจบั่นทอยต่อศักยภาพของประเทศในยากปกติที่ปราศจากปัญหาการสู้รบ

กระทรวงกลาโหม จึงได้นำศักยภาพของหน่วยงานในสังกัดประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวง กองบัญชาการกองทัพไทย

กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และหน่วยงานที่ขึ้นควบคุมของกระทรวงกลาโหมเข้ามาช่วยเสริมสร้างความสามัคคี

ของคนในชาติ การพัฒนาประเทศ และเป็นกลไกหลักในการร่วมบรรเทาสาธารณภัยและภัยพิบัติ การป้องกันและแก้ไขการ

ระบาดของ COVID-19 การแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติในรูปแบบต่าง ๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชนและ

ชุมชนพื้นที่ชายแดน

ภารกิจที่ กระทรวงกลาโหม พากเพียรดำเนินการมาตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ชัดว่าไม่ว่าประเทศชาติ

และประชาชนจะอยู่ในสภาวะใดก็ตาม ทั้งในยามปกติหรือยามไม่ปกติ ขอให้พี่น้องประชาชนชาวไทยทุกท่านได้กรุณารับทราบว่า

“กระทรวงกลาโหมและทหารไทยทุกคนมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติทุกภารกิจและอยู่เคียงข้างพวกท่านตลอดไป”

88


ข้างเคียง เคียงข้าง สร้างความสุข

ปลดเปลื้องทุกข์ วาดรอยยิ้ม ปริ่มสดใส

ปันความสุข ทุกวัน โปรดมั่นใจ

ทหารไทย ฟันฝ่า เพื่อ...ประชาชน

ด้วยความปรารถนาดีจาก

สำนักงานรัฐมนตรี

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

กองบัญชาการกองทัพไทย

กองทัพบก

กองทัพเรือ

กองทัพอากาศ


กลาโหม

เทิดราชา

รักษ์ราษฎร์

ชาติมั่นคง

กระทรวงกลาโหม

ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

http://opsd.mod.go.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!