25.08.2022 Views

E-BOOK ผลงาน สป.64

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ผลการดำำาเนิินิงานิของ

สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม

๒๕๖๔


เพลงประจำำสำำนัักงนัปลัดกระทรวงกลโหม

เพลงประจำำสำำนัักงนัปลัดกระทรวงกลโหม

เพลง เพลง : คงอยู่่ค่ฟ้้ดินั : คงอยู่่ค่ฟ้้ดินั (จำังหวะ Waltz)

Intro Intro : Bb : Bb / Bb / Bb / Am / Am / Dm / Dm / Gm / Gm / Cm / Cm / F / Bb F Bb / F/ F

F Gm F Gm Am Am Gm Gm F Am F Am Gm Gm C C

สำำนัักงนัปลััด สำำนัักงนัปลััด กระทรวง กลัโหม กลัโหม ลัันัประโคม ลัันัประโคม นัโยบย นัโยบย ม่งหมยผลั ม่งหมยผลั

Bb Bbm Bbm Am Am Dm Dm Gm Gm G Cm G Cm Cm

ย่ทธศสำตร์ ย่ทธศสำตร์ เพื่่อชติ เพื่่อชติ เพื่่อประชชนั เพื่่อประชชนั เรท่กคนั เรท่กคนั ภคภูมิใจ ภคภูมิใจ ในัควมดี ในัควมดี

F Gm F Gm Am Am Gm Gm F Am F Am Gm Gm C C

สำ่บทอดกิจ บรรพื่ชนั บรรพื่ชนั คนัร่นักอนั คนัร่นักอนั เสำริมองค์กร ตอยอดงนั ตอยอดงนั สำนัศักดิศรี สำนัศักดิศรี

Bb Bbm Bbm Am Am Dm Dm Gm Gm Cm Cm F Cm7 F Cm7 F7 F7

สำร้งค่ณค สำร้งค่ณค นันักิจ นันักิจ พื่ร้อมใจพื่ลัี สำรรค์ไมตรี เคียงคู เคียงคู ธรณินั ธรณินั

Bb C/Bb C/Bb Am Am Dm Dm Gm Gm Cm Cm F Cm7 F Cm7 F7 F7

* ทำเพื่่อตนั * ทำเพื่่อตนั อยูเพื่ียง อยูเพื่ียง แคสำินัลัม แคสำินัลัม เพื่่อสำังคม เพื่่อสำังคม ย่นัยง ย่นัยง มิเสำ่อมสำินั มิเสำ่อมสำินั

Bb Bbm Bbm Am Am Dm Dm Gm Gm Cm Cm F Cm F Cm

ทำเพื่่อชติ ทำเพื่่อชติ คงอยู คงอยู คูฟ้้ดินั คูฟ้้ดินั มิโรยรินั มิโรยรินั ย่นัหยัด ย่นัหยัด วิวัฒนั์ไกลั

F Gm F Gm Am Am Gm Gm F Am F Am Gm Gm C C

** สำมหนัวยงนั ** สำมหนัวยงนั มันัคง มันัคง ธำรงรัฐ ธำรงรัฐ เกียรติประวัติ ศักดิศรี ศักดิศรี ทียิงใหญ่ ทียิงใหญ่

Bb Bbm Bbm Am Am Dm Dm Gm Gm Cm Cm F Cm F Cm F7 F7

เกียรติภูมิ พื่ิทักษ์์ พื่ิทักษ์์ รักษ์ไทย รักษ์ไทย ควมเกรียงไกร ควมเกรียงไกร เลั่องลั่อ เลั่องลั่อ ระบ่อนันั ระบ่อนันั

Instruc Instruc : Bb : Bb / Bbm / Bbm / Am / Am / Dm / Dm / Gm / Gm / Cm / Cm / F // F Cm7 / Cm7 F7 F7

( ซ้ำำ ( ซ้ำำ *, ** *, )** )

Bb Bbm Bbm Am Am Dm Dm Gm Gm Cm Cm Bb Bbm Bbm F Cm F Cm F F

ทำเพื่่อชติ ทำเพื่่อชติ คงอยู คงอยู คูฟ้้ดินั คูฟ้้ดินั มิโรยรินั มิโรยรินั ย่นัหยัด ย่นัหยัด วิวัฒนั์ไทย


คำนำ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหนึ่งในหน่วยขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหม ซึ่งมี

ภารกิจในงานนโยบายและยุทธศาสตร์ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กิจการอวกาศเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่่อสาร

รวมทั้งงานราชการประจำทั่วไปของกระทรวง ซึ่งจะต้องดำำเนินงานตามภารกิจของกระทรวง

กลาโหม ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณำจักรไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึึง

การขับเคล่อนนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชำติ ๒๐ ปี ตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีความมุ่งมั่นที่จะดำำเนินภารกิจเพ่อเสริมสร้างให้เกิดความมั่นคง

ของประเทศชำติ ควบคู่ไปกับการอำำนวยประโยชน์และแบ่งปันความสุขให้แก่พี่น้องประชาชนอย่าง

เต็มกำลังความสามารถึให้พร้อมมูลทุกประการด้วยภารกิจและทรัพยากรที่มีอยู่ อันประกอบด้วย

งาน-งบ-ระบบ-คน

หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการแสดงเจตนาในการสร้างสรรผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. ๒๕๖๔ เพ่อสร้างการรับรู้แก่พี่น้องประชาชนได้รับทราบถึึงการทำำงานของสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม ที่ดำเนินภารกิจอย่างเต็มกำลังความสามารถึ ทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจ โดย

มุ่งหวังให้ประเทศไทยดำรงความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการให้ความสำคัญกับภารกิจการ

เทิดทูนและการพิทักษ์สถึำบันพระมหากษัตริย์ การปฏิบัติตามพระราชประสงค์ การสนับสนุนงาน

ด้านการป้องกันประเทศในมิติต่าง ๆ เช่น การยุทธการ การข่าว การต่างประเทศ การกำลังพล

การระดมสรรพกำลัง การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตลอดจนการดำเนินการด้าน

เทคโนโลยีสารสนเทศและไซเบอร์ รวมถึึงการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งจะทำให้

รัฐบาลสามารถึขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) และนโยบายที่แถึลง

ต่อรัฐสภา ตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติ โดยมุ่งหวังให้พี่น้องประชาชนมีชีวิตความ

เป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีความสุข อันส่งผลให้ประเทศชำติเกิดความมั่นคงในชำติอย่างแท้จริง สมดัง

เจตนารมณ์ที่มุ่งหวังไว้ ค่อ เสริมสร้างความมั่นคงของชำติ และแบ่งปันความสุขแก่ประชาชน

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


สารบัญ

บทนำ ๓

กลุ่มงานด้านพิทักษ์รักษา การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร ิย์ ๖

และการปฏิบัติตามพระราชประสงค์

กลุ่มงานด้านยุทธการ การข่่าว การต่างประเทศ ๑๒

และจังหวัดชายแดนภาคใต้

กลุ่มงานด้านกำลังพล การระดมสรรพกำลัง และสวัสดิการ ๒๓

กลุ่มงานด้านการบร ิหารจัดการ (งบประมาณ) ๓๙

กลุ่มงานด้านท่ดินและสิงก่อสร้าง ๔๔

กลุ่มงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ๕๗

กลุ่มงานด้านเทคโนโลย่สารสนเทศ และไซเบอร์ ๗๓

กลุ่มงานด้านการพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือประชาชน ๗๘

ปัจฉิมบท


บทนำ

การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของโลกตั้งแต่อดีตจนถึึงปัจจุบัน ได้ทำำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหา

ด้านความมั่นคงและความท้าทายรูปแบบใหม่ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบในหลากหลายมิติ

โดยส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนไปข้างหน้าของนานาประเทศทั่วโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม และชีวิตความเป็นอยู่

อีกทั้งยังมีการบ่มเพาะของปัญหาที่รอวันปะทุและอาจกระทบกระเทือนในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และสังคมโลก

อีกด้วย อาทิ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาโรคระบาด ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาความยากจน

ปัญหายาเสพติด และปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ในรูปแบบใหม่

ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ไม่สามารถึหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่ำนี้ไปได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี

การกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบและกำหนดมาตรการเตรียมความพร้อมในการเผชิญปัญหา ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณำจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้บัญญัติให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบในเร่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหำดังกล่าว

เม่อเป็นเช่นนี้ กระทรวงกลาโหมจึงได้ปรับยุทธศาสตร์และเสริมสร้างประสิทธิภาพความพร้อมรบเจตนารมณ์

ของรัฐธรรมนูญฯ และเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม ที่มีหน้ำที่เกี่ยวกับงานนโยบาย

และยุทธศาสตร์ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กิจการอวกาศ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่อสาร รวมทั้งงานราชการประจำทั่วไปของกระทรวง โดยมีโครงสร้างการจัดหน่วย

เป็นไปตามพระราชพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำำหนดหน้ำที่ของส่วนราชการสำนักงานรัฐมนตรีและสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๒ แบ่งออกเป็น ๑๒ ส่วนราชการ ประกอบด้วย

๑) สำนักนโยบายและแผนกลาโหม ๒) กรมเสมียนตรา

๓) สำนักงบประมาณกลาโหม ๔) กรมพระธรรมนูญ

๕) ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ประกอบด้วย กรมการพลังงานทหาร

(ศูนย์พัฒนำปิโตรเลียมภาคเหน่อ) กรมการอุตสาหกรรมทหาร (โรงงานวัตถุุระเบิดทหาร) ศูนย์อำำนวยการสร้างอำวุธ

และโรงงานเภสัชกรรมทหาร)

๖) กรมการเงินกลาโหม ๗) กรมสรรพกำลังกลาโหม

๘) สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม ๙) กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม

๑๐) สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม (ประกอบด้วย สำนักงานเลขำนุการ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

สำนักพัฒนาระบบราชการ และกองพันระวังป้องกัน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม)

๑๑) สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ประกอบด้วย สำนักโยธาธิการ และสำนักงานแพทย์)

๑๒) กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม (ประกอบด้วย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร)


สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

สำำนัักปลััด

กระทรวงกลัโหม

สำำนัักนัโยบาย

แลัะกลัโหม

กรมเสมีียนัตรา

สำำนััก

งบประมาณ

กลัโหม

สำำนัักงนัเลัขานุุการ

สำำนัักพััฒนั

กองพัันัระวังป้องกันั

สำำนัักงนัปลััด ระบบราชการ สำำนัักงนัปลััด

กลัโหม

กระทรวงกลัโหม

ศููนย์์การอุตสำหกรรม กรมการเงินั กรมการสำรรพกำำลััง

กรมพัระธรรมนููญ ป้องกันัประเทศู กลัโหม กลัโหม

แลัะพัลัังงนัทหาร

กรมการพัลัังงนัทหาร

ศููนย์์พััฒนาปิิโตรเลีียมภาคเหนืือ

กรมการอุตสำหกรรมทหาร

โรงงานวััตถุุระเบิดทหาร

โรงงนัเภสััชกรรมทหาร

ศููนย์์อำนัวยการสร้้างอวุธ

กรมวิทยศูสำตร์ กรมเทคโนัโลยีี สำำนัักงนัสำนัับสำนัุนั สำำนัักงนั

แลัะเทคโนัโลยีี สำรสำนัเทศูแลัะ สำำนัักงนัปลััด ตรวจสำอบภายในั

กลัโหม อวกศูกลัโหม กระทรวงกลัโหม กลัโหม

ศููนย์์วิจัยแลัะพััฒนั

การทหาร

สำำนัักโยธธิการ

สำำนัักงนัแพัทย์

4

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


ทั้งนัี้ การปฏิบัติราชการประจำทั่วไปของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ปฏิบัติหน้าที่ใน ๒ ลักษณะ กล่าว

ค่อ ลักษณะแรก การปฏิบัติงานในฐานะฝ่่ายเสนำธิการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการกำำหนดนโยบาย

วินิจฉััย สั่งการ ตลอดจนติดตาม กำกับ ดูแล การปฏิบัติตามนโยบาย และลักษณะที่สอง การปฏิบัติหน้ำที่เป็น

ผู้ประสานการดำำเนินงานของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่ำทัพ กับส่วนราชการอ่น ๆ ภายนอกกระทรวง

กลาโหม ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุผลสมดังเจตนาของทางราชการ

กอปรกับในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ และ พ.ศ. ๒๕๖๔ ประเทศไทยต้องเผชิญปัญหำสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโลก

ค่อ การแพร่ระบาดของโรคติดเช่้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และปัญหำภัยพิบัติ จึงทำำให้กระทรวงกลาโหม

โดย สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ต้องเข้ามำมีบทบาทสำคัญในการขับเคล่อนการดำำเนินการเพ่อระงับ ยับยั้ง แก้ไข

และฟื้้นฟืู้สภาพ เพ่อบรรเทาความทุกข์ร้อน ควบคู่ไปกับการสร้างรอยยิ้มและสร้างความสุขให้เกิดขึ้นแก่พี่น้องประชาชน

ชาวไทย

นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้กำำหนดนโยบายให้ปรับปรุงวิธีการ

งบประมาณขึ้นใหม่ ด้วยการปรับระบบการจัดทำำคำำของบประมาณจากเดิม ๙ แผนงาน มาเป็น ๘ กลุ่มงาน โดยการ

รวมงานที่มีลักษณะคล้ายกันให้อยู่ในกลุ่มงานเดียวกัน มีหน่วยงานหลักทำำหน้ำที่บูรณาการตั้งแต่เริ่มต้นคำำขอ

งบประมาณ เพ่อให้ระบบงบประมาณมีความสมบูรณ์ครบถ้้วน ตรงกับความต้องการของทุกหน่วยอย่างแท้จริง ขจัด

ปัญหาเร่องความซ้ำซ้อนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่งผลให้การใช้จ่ายงบประมาณของแผ่นดินเป็นไปอย่างคุ้มค่า

เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการและประเทศชำติ ซึ่งกลุ่มงานทั้ง ๘ กลุ่มงาน ประกอบด้วย

๑. กลุ่มงานด้านพิทักษ์รักษา การเทิดทูนสถึำบันพระมหากษัตริย์ และการปฏิบัติตามพระราชประสงค์

๒. กลุ่มงานด้านยุทธการ การข่าว การต่างประเทศ และจังหวัดชายแดนภาคใต้

๓. กลุ่มงานด้านกำลังพล การระดมสรรพกำลัง และสวัสดิการ

๔. กลุ่มงานด้านการบริหารจัดการ (งบประมาณ)

๕. กลุ่มงานด้านที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

๖. กลุ่มงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

๗. กลุ่มงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และไซเบอร์

๘. กลุ่มงานด้านการพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือประชาชน

สำำหรับผลการดำำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่ได้ดำำเนินภารกิจ

ตามที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ ฯ และในพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑ มีสาระ

สำคัญบรรจุไว้ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งจะนำเสนอเป็นเนื้อหาสาระของการปฏิบัติภารกิจทั้ง ๘ กลุ่มงาน ดังต่อไปนี้

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

5


กลุ่มงานที่๑

ด้านพิทักษ์รักษา

การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตร ิย์

และการปฏิบัติตามพระราชประสงค์


กระทรวงกลัโหม ได้กำำหนดนโยบายไว้อย่างชัดเจน โดยให้ความสำคัญและความเร่่งด่วนสูงสุด

ในการพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบ ันพระมหากษัตริย์อย่างสมพระเกียรติ ด้วยการมีระบบถึวายความปลอดภัย

ที่มีประสิทธิภาพ ป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ล่วงละเมิดพระบรมเดชำนุภาพในทุกรูปแบบ เพ่อให้สถาบััน

พระมหากษัตริย์คงเป็นศูนย์รวมจิตใจที่มั่นคงและยั่งย่นของประชาชนชาวไทย และเป็นสถาบัันหลักที่สำคัญยิ่งตลอดไป

ตลอดจนส่บสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการอันเน่องมาจากพระราชดำริ

รวมทั้งพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกำธิเบศร มหำภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนำถึบพิตร ที่ได้

พระราชทานไว้ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ ๗๐ ปี โดยการสร้างองค์ความรู้และการฝึึกอำชีพต่าง ๆ ให้กำลังพลและ

ครอบครัวภายในหน่วยทหาร โดยเฉัพาะอย่างยิ่ง การจัดการฝึึกอบรมเรียนรู้การเกษตรแบบครบวงจรภายใต้ศาสตร์

พระราชาให้แก่กำลังพล ครอบครัว และประชาชนทั่วไป โดยใช้พ่้นที่หน่วยทหาร ตลอดจนการประชำสัมพันธ์เผยแพร่

พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ ซึ่งสะท้อนถึึงความผูกพันระหว่างสถาบ ันพระมหากษัตริย์กับประชาชนที่มีมาอย่าง

ยาวนาน

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญเร่งด่วนสูงสุดในการพิทักษ์

และเทิดทูนสถาบ ันพระมหากษัตริย์ ด้วยการถึวายความปลอดภัยและถึวายพระเกียรติ ด้วยความจงรักภักดีอย่าง

เต็มกำลังความสามารถึ โดยในห้วงที่ผ่านมาได้ดำำเนินการตามปณิธาน “เทิดราชา รักษ์ราษฎร์ ชำติมั่นคง” ซึ่งได้มีการ

จัดกิจกรรมเฉล ิมพระเกียรติฯ กิจกรรมพิทักษ์รักษาเทิดทูนสถาบ ันพระมหากษัตริย์ และการปฏิบัติตามพระราชประสงค์

ประกอบด้วย

การจัดกิจกรรมน้อมรำลึกเน่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกำธิเบศร มหำภูมิพลอดุลยเดช

มหาราช บรมนำถึบพิตร

พิธีสวดพระพุทธมนต์และ

พิธีทำบุญตักบาตร ถึวายเป็นพระราชกุศล

แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกำธิเบศร

มหำภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนำถึ

บพิตร เน่องในวันคล้ายวันพระบรม

ราชสมภพ

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

7


การจัดกิจกรรมเฉล ิมพระเกียรติ เน่องในวันเฉล ิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้ำสิริกิติ พระบรมรำชินีนำถึ

พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๘๙ พรรษา

การจัดกิจกรรมเฉล ิมพระเกียรติ เน่องในโอกาส

วันเฉลิิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๖๙ พรรษา

การจัดกิจกรรมเฉล ิมพระเกียรติ เน่องในโอกาส

วันเฉล ิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมรำชินี

๔๓ พรรษา

8

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


การจัดซุ้มเฉล ิมพระเกียรติ เพ่อเป็นการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีต่อสถาบ ันพระมหากษัตริย์

พิธีวางพานประดับพุ่มดอกไม้ถึวายราชสักการะ

พระบรมราชำนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พิธีวางพวงมาลำถึวายราชสักการะพระบาทสมเด็จ

พระบรมราชำนุสาวรีย์ปรเมนทรมหาอำนันทมหิดล พระอัฐม

รามำธิบดินทร

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

9


การจัดกิจกรรมบ้านวัดประสานใจต้านภัยโควิค-19 ถึวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมรำชินี

การจัดกิจกรรมมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ถึวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้ำสิริกิติ พระบรมรำชินีนำถึ

พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เน่องในโอกาสวันเฉล ิมพระชนมพรรษา

10

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

11


กลุ่มงานที่๒

ด้านยุทธการ การข่าว

การต่างประเทศ

และจังหวัดชายแดนภาคใต้


การปฏิิบัติงนัทีสำำคัญทางการทหารที่จะต้องดำำเนินการอย่างต่อเน่อง ค่อ ยุทธการและการข่าว

เพราะเป็นเร่องหลักและเป็นข้อมูลสำำหรับประกอบการพิจารณาตกลงใจของผู้บังคับบัญชาให้เกิดความชัดเจน ทันเวลา

บังเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ริเริ่มบูรณาการข้อมูล

ด้านยุทธการ การข่าว และจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์บัญชาการกระทรวงกลาโหม

ประกอบกับในปีเดียวกันนี้ กระทรวงกลาโหมได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและ

การประชุมที่เกี่ยวข้อง จึงนำำมำสู่การดำำเนินการ ได้แก่

การจัดทำแผนัปฏิิบัติการด้นัการพััฒนัศูักยภพัของประเทศด้้นัความมันัคง ระยะที ๑

(พั.ศู. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) กระทรวงกลัโหม

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะหน่วยนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงกลาโหม ได้จัดทำำ

แผนัปฏิิบัติการด้นัการพััฒนัศูักยภพัของประเทศด้้นัความมันัคง กระทรวงกลัโหม ระยะที ๑ (พั.ศู. ๒๕๖๕ -

๒๕๖๓) รองรับแนวทางการพัฒนำศักยภาพของประเทศด้านความมั่นคง ตามความรับผิดชอบของกระทรวงกลาโหม

ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชำติ และแผนแม่บทด้านความมั่นคงของรัฐบาล รวมถึึงติดตามผลการดำำเนินงานของหน่วย

ขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพในการขับเคลื่อนงานนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้านฯ

ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) อยู่ในระหว่างการจัดทำ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

ประเด็นความมั่นคง แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉับับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)

และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

13


ในการจัดทำำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ ที่เกี่ยวข้องในภาพรวมของกระทรวงกลาโหมและสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม ได้มีการศึกษาและวิเคราะห์ รวมทั้งประเมินภัยคุกคามด้านความมั่นคงในมิติต่าง ๆ แบบองค์รวม ซึ่งเกิดจาก

การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเน่อง ทั้งนี้ ภัยคุกคามด้านความ

มั่นคงในปัจจุบันนั้นมิได้จำกัดความหมายถึึงภัยคุกคามเฉัพาะด้านการทหาร แต่ยังรวมถึึงภัยคุกคามที่ไม่ใช่ภัยคุกคามทางทหาร

หร่อที่เรียกว่า ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ อำทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหำภัยธรรมชำติ ปัญหาอาชญากรรม

ข้ามชำติ สาธารณภัยและภัยพิบัติ ตลอดจนปัญหาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ทำให้พี่น้องประชาชนเกิดความยากจนและ

ความเหล่อมล้ำำในสังคม นอกจากจะใช้ข้อมูลเพ่อประโยชน์ดังกล่าวแล้ว สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมยังได้นำำมาใช้ใน

การปรับปรุงโครงสร้้างแลัะอัตรกำลัังพัลัให้สำอดรับกับภัยคุกคามในมิิติต่าง ๆ แลัะเป็นัมาตรฐนัเดียวกันั

นอกจากนี้ ยังได้จัดการประชุมเพ่อจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ซึ่งเป็นเคร่องม่อสำคัญในการกำกับดูแล ติดตาม และ

ประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวงกลาโหม ให้เป็น

ไปตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชำติ และแผนระดับต่าง ๆ

ของประเทศตามพระราชกฤษฎีกำว่ำด้วยหลักเกณฑ์์และ

วิธีการบริหารกิจการบ้านเม่องที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่ให้ส่วน

ราชการมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำำเสมอ

ส่งผลให้ส่วนราชการเกิดผลสัมฤทธิ ในการปฏิบัติภารกิจ และ

ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ตลอดจนแสดงถึึง

การทำำงานของภาครัฐที่เกิดประโยชน์กับประชาชนโดยแท้จริง

.สำำหรับการเผชิญภัยคุกคามในมิติต่าง ๆ ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเผชิญปัญหาและดำำเนินการในภารกิจ

สำคัญ ทั้งในเร่องของการบัญชาการ การต่างประเทศ และการแก้ไขปัญหำจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นรูปธรรม กล่าวค่อ

14

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


ภารกิจสำำคัญทีหนั่ง ศููนย์์บัญชาการกระทรวงกลัโหม

จัดตั้งขึ้นเพ่อเป็นศูนย์ประสานการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงและเป็นที่บัญชาการสำำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ตลอดจนสามารถึใช้เป็นที่บัญชาการสำำรองของรัฐบาลได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งตัวอย่างข้างต้นเป็นการดำำเนินการตามนโยบาย

ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในด้านการปฏิรูปกองทัพและการส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมำภิบาล โดยการปรับปรุง

โครงสร้างของส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อม เพ่อให้สามารถึรองรับภารกิจ

ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

15


ภารกิจสำำคัญทีสำอง มิติด้นัการต่างประเทศู

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ยังดำรงบทบาทสำคัญในมิติด้านการต่างประเทศอีกด้วย ความร่วมม่อด้านความมั่นคง

โดยเฉัพาะด้านการทหาร เป็นกลไกสำคัญของความร่วมม่อระหว่างประเทศซึ่งมีการดำำเนินการภายใต้แนวคิดในการพิจารณาใช้ทรัพยากร

ทางทหารในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม สนับสนุนนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลและขับเคล่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

ภายใต้กรอบของยุทธศาสตร์ชำติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) โดยเสริมสร้างความร่วมม่อด้านความมั่นคงกับประเทศรอบบ้าน ประเทศ

สมำชิกอาเซียน มหาอำนาจ มิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภำคีและพหุภำคี เพ่อมุ่งพัฒนาและส่งเสริม

ความสัมพันธ์ ตลอดจนสร้างความไว้เน่้อเช่อใจซึ่งกันและกัน ลดเง่อนไข และลดโอกาสที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง รวมทั้งป้องกันมิให้

ความขัดแย้งขยายขอบเขตออกไปจนอยู่นอกเหน่อการควบคุม โดยยึดมั่นในหลักการแนวความคิดเชิงป้องกัน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในเชิงรุก

ก่อนที่ความขัดแย้งจะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึึงหลักการพ่้นฐานของความมีเกียรติและศักดิศรีในเวทีการเม่องระหว่างประเทศ รวมทั้ง

ผลประโยชน์ที่ประเทศพึงจะได้รับ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ มีกิจกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วย

๑. การประชุมต่าง ๆ ในัสำถุนัการณ์การแพร่่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสำโคโรนั 2019 (โควิค-19) ด้วยระบบ

การประชุมผ่านส่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Teleconference: VTC) เช่น การประชุมรัฐมนัตรีกลัโหมอาเซีียนั ครั้งที ๑๔ (14 th

ASEAN Defence Ministers’ Meeting: 14 th ADMM) แลัะการประชุมรัฐมนัตรีกลัโหมอาเซีียนก ับรัฐมนัตรีกลัโหมประเทศู

คู่เจรจา ครั้งที ๗ (7 th ASEAN Defence Ministers’ Meeting-Plus: 7 th ADMM-Plus) รวมทั้งการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่าง

วันที่ ๙ ถึึงวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ ด้วยระบบการประชุมผ่านส่ออิเล็กทรอนิกส์

๒. การประชุมเจ้าหน้้ทีอวุโสำกลัโหมอาเซีียนั (ASEAN Defence-Senior Offiffiicials’ Meeting: ADSOM) ระหว่าง

วันที่ ๒๔ ถึึงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นการประชุมในระดับปลัดกระทรวงกลาโหม หรือเทียบเท่า ของประเทศสมาชิกอาเซียน

โดยมีวัตถึุประสงค์ เพื่อหารือความร่วมมือด้านความมั่นคงและพิจารณาร่างเอกสารความร่วมมือริเริ่มใหม่ ในปี ๒๕๖๔ รวมทั้ง

เตรียมการด้านธุรการและด้านสำรัตถึะสำำหรับการประชุม ADMM ครั้งที่ ๑๕ และการประชุม ADMM Plus ครั้งที่ ๘

16

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


๓. การประชุมเจ้าหน้้ทีอวุโสำกลัโหมอาเซีียนก ับเจ้าหน้้ทีอวุโสำกลัโหมประเทศคู่่เจรจา (ASEAN Defence Senior

Offcials’ Meeting-Plus: ADSOM-Plus) ซึ่งเป็นการประชุมในระดับปลัดกระทรวงกลาโหม หร่อเทียบเท่า ของประเทศสมำชิก

อาเซียนกับประเทศคู่เจรจำทั้ง ๘ ประเทศ ระหว่างวันที่ ๗ ถึึงวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๔ ด้วยระบบการประชุมผ่านส่ออิเล็กทรอนิกส์

(Video Teleconference: VTC) มีวัตถุุประสงค์ เพ่อหำร่อความร่วมม่อด้านความมั่นคงและพิจารณำร่างปฏิญญาของ ADMM

Plus ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ รวมทั้งเตรียมการด้านธุรการและด้านสำรัตถึะสำำหรับประชุม ADMM-Plus ครั้งที่ ๘

๔. การประชุมรัฐมนัตรีกลัโหมอาเซีียนั ครั้งที ๑๕ (ASEAN Defence Ministers’ Meeting: 15 th ADMM) แลัะ

การประชุมรัฐมนัตรีกลัโหมอาเซีียนก ับรัฐมนัตรีกลัโหมประเทศคู่่เจรจา ครั้งที ๘ (ASEAN Defence Ministers’ Meeting

Plus: 8 th ADMM-Plus) ระหว่างวันที่ ๑๕ ถึึงวันที่ ๑๖ มิถุุนายน ๒๕๖๔ ด้วยระบบการประชุมผ่านส่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video

Teleconference: VTC) มีวัตถุุประสงค์ เพ่อหำร่อความร่วมม่อด้านความมั่นคงในภูมิภาค และพิจารณาให้การรับรองเอกสาร

ความร่วมม่อริเริ่มใหม่ภายใต้กรอบการประชุม ADMM รวมทั้งปฏิญญาสมัยพิเศษของการประชุม ADMM ครั้งที่ ๑๕ และ

การประชุม ADMM Plus ครั้งที่ ๘

๕. การประชุมนันัชติ หัวข้อ

“บทบาทของฝ่่ายทหารอาเซีียนัในัการ

สำนัับสำนัุนัการป้องกันัการแพร่่ระบาดของ

โควิด-19 ในพื้้นที ่ชายแดนั” เม่อวันที่ ๔

สิงหาคม ๒๕๖๔ ณ ห้องยุทธนำธิการ

ในศาลำว่าการกลาโหม ด้วยระบบการประชุม

ผ่านส่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Telecon

ference: VTC) โดยมีวัตถุุประสงค์ เพ่อ

ส่งเสริมความร่วมม่อเชิงลึกระหว่างฝ่่ายทหาร

อาเซียนในการรับม่อปัญหาการแพร่ระบาด

ของโควิด-19 และสร้างความแข็งแกร่งให้บทบาทของฝ่่ายทหารอาเซียนในการสนับสนุนการบริหารจัดการชายแดน รวมถึึงการมี

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลไกอาเซียนในการแก้ปัญหำข้ามพรมแดน

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

17


๖. การประชุมเสริิมสร้้างความร่วมมือ

ด้นัความมันัคงกับกระทรวงกลัโหมประเทศู

สำมชิกอาเซีียนั ระหว่างวันที่ ๑๘, ๒๕

สิงหาคม ๒๕๖๔ และวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔

ณ ห้องหลักเม่อง ๑ ชั้น ๓ ในศาลำว่าการ

กลาโหม ด้วยระบบการประชุมผ่านส่อ

อิเล็กทรอนิกส์ (Video Teleconference:

VTC) มีวัตถุุประสงค์ เพ่อปรับปรุงฐานข้อมูล

ความร่วมม่อด้านความมั่นคงกับกระทรวง

กลาโหมประเทศเพ่อนบ้านให้ทันสมัย รวมทั้ง

นำข้อมูลมากำำหนดท่ำทีของกระทรวงกลาโหม

ในการดำำเนินความสัมพันธ์กับกระทรวงกลาโหมประเทศเพ่อนบ้าน และสนับสนุนแนวทางปฏิบัติของกระทรวงกลาโหมในการ

ขับเคล่อนประชาคมอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๗๐

๗. การประชุมระหว่างประเทศูตามคำเชิญของมิตรประเทศู ซึ่งเป็นกิจกรรมก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

โดยมีวัตถุุประสงค์ เพ่อพัฒนาและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน รวมถึึงรับทราบการประเมินภัยคุกคามทั้งในระดับภูมิภาค

และระดับโลก จากนักการทหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย

๗.๑. การประชุม Seoul Defense Dialogue (SDD) ครั้งที่ ๑๐ ภายใต้หัวข้อ “ความร่วมม่อระดับพหุภำคีในการ

รับม่อกับวิกฤตการณ์ด้านความมั่นคงที่ไร้พรมแดน” คู่ขนานกับการประชุม ASEAN-ROK Defense Vice - Ministerial Meeting

ภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาความร่วมม่อด้านการป้องกันประเทศระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี เพ่อสันติภาพและความ

เจริญรุ่งเร่องในภูมิภาค” ด้วยระบบการถ่่ายทอดสดผ่านส่ออิเล็กทรอนิกส์ (Livestream) และระบบการประชุมผ่านส่ออิเล็กทรอนิกส์

(Video Teleconference: VTC) ระหว่างวันที่ ๘ ถึึงวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๔ ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

18

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


๗.๒. การประชุมระดับรัฐมนตรีว่ำด้วยการปฏิบัติการรักษำสันติภาพภายใต้กรอบสหประชาชำติ (UN Peacekeeping

Ministerial) ครั้งที่ ๔ ด้วยระบบการประชุมผ่านส่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Teleconference: VTC) และระบบการถ่่ายทอดสด

ผ่านส่ออิเล็กทรอนิกส์ (Livestream) ระหว่างวันที่ ๗ ถึึงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๔

๗.๓. การหำร่อยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันประเทศระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ครั้งที่ ๖

ด้วยระบบการประชุมผ่านส่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Teleconference: VTC) เม่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๔

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

19


๘. การลังนัมบันทึึกความเข้าใจว่ด้วยความร่วมมือด้นัการป้องกันัประเทศูระหว่างรัฐบลัแห่งราชอาณจักรไทย

กับรัฐบลัแห่งสำธารณรัฐอิสำลัมปกีสำถุนั เม่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๔ เพ่อพัฒนาความร่วมม่อด้านความมั่นคงระหว่างกระทรวง

กลาโหมกับกระทรวงกลาโหมปำกีสถึำน และขยายความร่วมม่อด้านการป้องกันประเทศให้มีความหลากหลายและครอบคลุม

ในหลากหลายมิติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างทั้งสองประเทศให้มีความก้าวหน้าอย่างเป็น

รูปธรรมมากยิ่งขึ้นต่อไป

๙. กิจกรรมเสร ิมสร ้างความสััมพัันธ ์ทางทหารระหว่างประเทศู เป็นกิจกรรมที่สำคัญโดยมีวัตถุุประสงค์ในการ

เสริมสร้างความร่วมม่อด้านความมั่นคงกับต่างประเทศ เพ่อสร้างบรรยากาศแห่งความเป็นมิตร ความเข้าใจ และความไว้เน่้อ

เช่อใจระหว่างผู้นำระดับสูงของกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงกลาโหมมิตรประเทศ ทั้งนี้ ในห้วงของการแพร่ระบาดของ

โรคโควิค–19 นั้น กระทรวงกลาโหมยังคงมีการดำำเนินการในกิจกรรมดังกล่าวเพ่อพัฒนาความสัมพันธ์อย่างต่อเน่อง อำทิ การหำร่อ

ผ่านระบบโทรศัพท์ทางไกลระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกำกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหม เม่อวันที่ ๒๓ กุมภำพันธ์ ๒๕๖๔ เพ่อขับเคล่อนความร่วมม่อตามแถึลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมระหว่างไทย – สหรัฐอเมริกา

ค.ศ. ๒๐๒๐ ว่ำด้วยการเป็นพันธมิตรด้านการป้องกันประเทศ และการหำร่อผ่านส่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหมญี่ปุ่นกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เม่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ในเร่องความร่วมม่อ

ด้านความมั่นคงในระดับทวิภำคีและพหุภำคี ณ ทำำเนียบรัฐบาล

20

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


ภารกิจสำำคัญทีสำม การสำนัับสำนัุนร ัฐบลัในัการแก้ไขปัญหาความไม่สำงบในพื้้นที ่จังหวัดชายแดนั

ภาคใต้

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดย กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ได้ร่วมกับหน่วยวิจัยและพัฒนาของ

เหล่ำทัพ รวมถึึงสถาบ ันการศึกษา ในการดำำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาเพ่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองอำำนวยการรักษาความ

มั่นคงภายในภาค ๔ (ส่วนหน้า) อย่างต่อเน่อง อำทิ โครงการพัฒนาเคร่องรบกวนสัญญาณวิทยุแบบเข้ารหัสสัญญาณ DTMF

จำนวน ๑ ชุด พร้อมทั้งได้ดำเนินการทดสอบแล้วสามารถึใช้งานได้จริง และหน่วยใช้มีความพึงใจในระดับดีเยี่ยม ในการดำเนินการ

ขั้นต่อไป กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหมจะใช้เคร่องต้นแบบนี้เป็นโครงการนำร่องในการผลิตเคร่องรบกวนสัญญาณ

วิทยุแบบเข้ารหัสสัญญาณ DTMF และพัฒนาให้สามารถต ิดตั้งบนรถึยนต์ต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้ดำำเนินโครงการวิจัยระบบรักษาความปลอดภัยจังหวัด

ชายแดนภาคใต้ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)

ซึ่งเป็นการศึกษาแนวทางการบูรณาการเช่อมโยงเคร่อข่ายของระบบกล้องวงจรปิด (Close

Circuit Television: CCTV) และทดสอบทดลองการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

AI ในการทำำงานร่วมกับระบบกล้องวงจรปิด CCTV ที่มีใช้งานในพ่้นที่จังหวัดชายแดน

ภาคใต้ ซึ่งจะได้มีการขยายผลสู่การผลิตเพ่อใช้งานต่อไป อำทิ โครงการวิจัยระบบ

เฝ้้าตรวจแจ้งเต่อนในพ่้นที่เม่องด้วยปัญญาประดิษฐ์แบบเคล่อนที่ ซึ่งเป็นการขยายผล

โครงการวิจัยระบบรักษาความปลอดภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยเทคโนโลยีปัญญา

ประดิษฐ์ AI เพ่อเป็นการขยายการเก็บรวบรวมฐานข้อมูลใบหน้ำบุคคลและ

ป้ายทะเบียนยานพาหนะของบุคคลในพ่้นที่ และจะนำข้อมูลเหล่ำนี้ไปสร้างเป็น

แพลตฟื้อร์มสำำหรับงานเฝ้้าตรวจแจ้งเต่อนและระบบแสดงผลจากส่วนกลางต่อไป

โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการวางแผนดำำเนินงานและติดตั้งอุปกรณ์ในพ่้นที่ที่เหมาะสม

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

21


ซึ่งในขณะนี้ กรมวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีกลาโหม ได้นำอุปกรณ์ทั้งหมดไป

ติดตั้งในพ่้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว จำำนวน

๒ ด่าน ได้แก่ ด่านตรวจคลองทรายใน จังหวัด

ยะลา และด่านตรวจเกาะหม้อแกง จังหวัด

ปัตตำนี ผลการใช้งานมีความแม่นยำำอยู่ในระดับ

พึงพอใจแก่หน่วยที่ใช้งาน

22

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


กลุ่มงานที่๓

ด้านกำลังพล การระดมสรรพกำลัง

และสวัสดิการ


กิจการกำลังพล นับว่ามีความสำคัญในการปฏิบัติการทางทหารเพราะเป็นกลไกขับเคลื่อนภารกิจโดยการใช้

ยุทโธปกรณ์และสิ่งอุปกรณ์มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจะเริ่มต้นจากการคัดเลือกบุคคลเข้าปฏิบัติงาน การให้

การศึกษาและพัฒนาเพื่อการปฏิบัติงาน การดูแลในเรื่องสวัสดิการ และการระดมสรรพกำลังให้พรั่งพร้อม ทั้งนี้ ในห้วงปีงบประมาณ

พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๔ มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังพลที่เป็นมิติใหม่ของกระทรวงกลาโหม และการพัฒนาระบบ

สรรพกำลัง และมีการพัฒนางานสวัสดิการเพื่อให้เกิดความทันสมัย

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดย กรมเสมียนตรา รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายด้านกำลังพล และจัดทำกฎหมาย

ที่เกี่ยวข้อง กฎกระทรวง ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของกระทรวงกลาโหม รวมถึงงานด้านสวัสดิการภายในของสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหมอีกด้วย ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแผนแม่บทการปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุงโครงสร้าง

กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๙ รวมถึงนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อปฏิรูประบบงานกำลังพล

ซึ่งมีเป้าหมายในการลดจำนวนกำลังพล โดยการบรรจุกำลังพลในจำนวนที่เหมาะสมกับภารกิจ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

และงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร มีการบริหารจัดการกำลังพลที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักคุณธรรม กำลังพลมีสมรรถนะสูง

มีความเป็นมืออาชีพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการปรับลดขนาดกำลังพลของกระทรวงกลาโหม

มีการดำเนินการในภารกิจสำคัญ ประกอบด้วย

ภารกิจสำคัญที่หนึ่ง การบริหารจัดการด้านการกำลังพล

๑. การปรับปรุงโครงสร้างการจัดและอัตรากำลังพล จัดทำแผนการดำเนินการปฏิรูปการบริหารจัดการกำลังพลของกระทรวง

กลาโหม เพื่อให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทยและเหล่าทัพยึดถือปฏิบัติ โดยพิจารณากำหนดแนวทาง

ในการปรับลดจำนวนกำลังพลไม่ให้กระทบกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วย และมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ

ด้านขีดความสามารถของกำลังพล ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามาทดแทน อาทิ การตรึงยอดกำลังพล

ไม่ให้เพิ่มขึ้นจากยอดกำลังพลบรรจุจริงและปรับลดนายทหารชั้นนายพล ในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ

รวมทั้งนายทหารปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง

๒. การนำกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวของกระทรวงกลาโหม (ทหารอาสา) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหม มอบนโยบายให้นำกำลังพลสำรองมาบรรจุเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ยามปกติ เพื่อแก้ปัญหากำลังพล

สูงอายุในหน่วยกำลังรบและหน่วยสนับสนุนการรบ ทำให้มีกำลังพลในระดับปฏิบัติการที่สดชื่น มีอายุน้อย และปฏิบัติหน้าที่

ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนประหยัดและลดภาระผูกพันงบประมาณด้านบุคลากร โดยกำหนดอายุนายทหารสัญญาบัตรไม่เกิน ๓๐ ปี

นายทหารประทวนและพลทหารประจำการไม่เกิน ๒๕ ปี มีระยะเวลาทำงานคราวละไม่เกิน ๔ ปี รวมแล้วไม่เกิน ๘ ปี ทั้งนี้

นายทหารสัญญาบัตรจะมีความก้าวหน้าได้ถึงชั้นยศร้อยเอก และนายทหารประทวนถึงชั้นยศจ่าสิบเอก พร้อมทั้งพิจารณา

สิทธิกำลังพลและการปฏิบัติตามแบบทหารประจำการโดยอนุโลม

24

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.

๒๕๖๔ ได้ดำเนินการแก้ไขและ

ออกระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการนำ

ทหารอาสาเข้ารับราชการในกระทรวง

กลาโหม กล่าวคือ ระเบียบกระทรวง

กลาโหมว่าด้วยกำลังพลสำรองเข้าทำ

หน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ ๒)

พ.ศ. ๒๕๖๔ และระเบียบกระทรวง

กลาโหมว่าด้วยหลักเกณฑ์การได้รับ

เงินเดือน ค่าตอบแทนอย่างอื่น และ

สิทธิประโยชน์ของกำลังพลสำรอง

เข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อใช้รองรับการดำเนินการกำหนดกลุ่มบุคคลที่จะรับเข้ามาทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว

นอกเหนือจากกำลังพลสำรองที่มีชื่อในบัญชีบรรจุกำลัง โดยเป็นกลุ่มบุคคลที่ผ่านการฝึกพื้นฐานทางทหารมาแล้ว

พร้อมทั้งดำเนินการขออนุมัติแผนการดำเนินการนำกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว (ทหารอาสา)

เข้ารับราชการในกระทรวงกลาโหมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการ

อาทิ การรับสมัครสอบคัดเลือก ฝึกเตรียมความความพร้อม ฯลฯ ให้เป็นตามแผนการดำเนินการที่กำหนด โดยปฏิบัติ

ตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓

ต่อเนื่องถึง พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดอัตราบรรจุกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวในหน่วยนำร่องของแต่ละ

ส่วนราชการ คือ

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

25


26

เสริมสร้าง และแบ่งปัน

กำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว (ทหารอาสา) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๓ - ๒๕๖๔


โดยระหว่างวันที่ ๑๙ ถึงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กรมเสมียนตรา ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมและสังเกตการณ์การฝึก

เตรียมความพร้อมของทหารอาสา ณ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ

๓. การจัดทำระบบข้าราชการพลเรือนกลาโหม ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา

ระเบียบข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. .... ซึ่งกรมเสมียนตราได้ดำเนินการจัดทำแนวทางการบริหารจัดการข้าราชการพลเรือน

กลาโหมเพื่อให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ กรมเสมียนตราได้ดำเนินการจัดทำอนุบัญญัติ

เพื่อรองรับร่างพระราชกฤษฎีกาฯ จำนวน ๓๑ ฉบับ นำเสนอต่อคณะกรรมการข้าราชการทหารเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

ประกอบด้วย

๓.๑ อนุบัญญัติที่จำเป็นสำหรับในการบรรจุข้าราชการพลเรือนกลาโหม จำนวน ๑๕ ฉบับ ซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว

ทั้งหมด

๓.๒ อนุบัญญัติที่ใช้ในการบริหารจัดการหลังการบรรจุข้าราชการพลเรือนกลาโหม จำนวน ๑๖ ฉบับ ซึ่งตามแผนงาน

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และกำหนดจัดทำอนุบัญญัตินี้ จำนวน ๑๒ ฉบับ ซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว จำนวน ๔ ฉบับ

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

27


พร้อมกันนี้ยังได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ

เรื่องเตรียมการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ

เป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหมของหน่วย

นำร่อง คือ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและ

อวกาศกลาโหม และศูนย์การอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (โรงงาน

เภสัชกรรมทหาร) เพื่อซักซ้อมความเข้าใจ

ในการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ

พลเรือนกลาโหม

ภารกิจสำคัญที่สอง การพัฒนาบุคลากร

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นเฟืองจักรสำคัญในการขับเคลื่อนงานนโยบาย

และยุทธศาสตร์ของกระทรวงกลาโหม มุ่งหวังให้กำลังพลพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อ

ประสิทธิภาพในการทำงาน โดยกรมเสมียนตราได้ดำเนินการพัฒนาบุคลากรแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามสายงาน ในการจัดทำระบบ

มาตรฐานกำหนดตำแหน่งของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยจำแนกตำแหน่ง ประเภท ชื่อสายงาน อัตรา ขอบเขตลักษณะ

หน้าที่รับผิดชอบหลัก คุณสมบัติสำหรับตำแหน่ง ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็น ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญ

ในการบริหารงานบุคคลอย่างมีระเบียบแบบแผน และช่วยขจัดปัญหาเรื่องการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน ตอบสนองความต้องการ

ของหน่วยในการบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณสมบัติเหมาะสมตรงกับตำแหน่งงาน ส่งผลให้การบริหารจัดการ

กำลังพลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีหลักเกณฑ์ปฏิบัติในการบรรจุกำลังพลและจัดทำแผนการกำลังพลที่เหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ กรมเสมียนตราได้กำหนดแผนการจัดทำระบบมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยนำ

รูปแบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมาใช้เพื่อเป็นแนวทางเปรียบเทียบและปรับใช้

ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับระบบการบริหารจัดการกำลังพลของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

28

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


ภารกิจสำคัญที่สาม การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสวัสดิการ ประกอบด้วย

๑. การคัดเลือกข้าราชการดีเด่นของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กรมเสมียนตรา ได้กำหนดแนวทางการคัดเลือก

ข้าราชการดีเด่น โดยคำนึงถึงความเป็นมาตรฐานเดียวกันและความเหมาะสมของหน่วยงานในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

รวมถึงการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัลแก่กำลังพลที่ได้รับการคัดเลือกและเสนอชื่อเป็นข้าราชการดีเด่นของสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม

๒. การพัฒนาสวัสดิการ ด้วยการดูแลกำลังพลของกระทรวงกลาโหมที่เกษียณอายุราชการ รวมถึงการรับเบี้ยหวัด บำเหน็จ

บำนาญของข้าราชการและลูกจ้างของกระทรวงกลาโหมได้อย่างรวดเร็วและดียิ่งขึ้น กรมเสมียนตราจึงได้พัฒนาระบบ

การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ หรือ One Stop Service เพื่อให้บริการแก่ผู้รับเบี้ยหวัดและบำนาญของสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหมผ่านระบบเชื่อมโยงอัตโนมัติ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการขอรับเงินบำเหน็จตกทอด

และการขอรับเงินช่วยพิเศษของข้าราชการบำนาญชั้นนายพลที่รับเงินทางสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมก่อน ต่อมาในปีงบประมาณ

พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้ขยายผล โดยการพัฒนาระบบการขอหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลกรณีเป็นคนไข้ของโรงพยาบาล

รัฐบาล และพัฒนาระบบการขอหนังสือรับรองการมีสิทธิรับเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าการศึกษาบุตร และพัฒนาระบบการพิสูจน์

ตัวตน หลังจากนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จะวางแผนพัฒนาระบบการขอรับเงินบำเหน็จตกทอดและการขอรับเงิน

ช่วยพิเศษของข้าราชการบำนาญนายทหารต่ำกว่าชั้นนายพล และพัฒนาระบบการขอปรับปรุงข้อมูลบุคลากรภาครัฐของผู้รับ

เบี้ยหวัดบำนาญต่อไป

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

29


๓. การพัฒนาปรับปรุงสถานที่เพื่อสวัสดิการ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับระบบ

สวัสดิการของกำลังพลซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่งขององค์กร รวมถึงการดูแลไปจนถึงครอบครัวของกำลังพล ซึ่งเป็นการ

ขับเคลื่อนตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการปรับปรุงและพัฒนาสวัสดิการและคุณภาพชีวิต ตลอดจนดูแล

ขวัญกำลังใจของกำลังพล อาทิ การสนับสนุนอาหารกลางวันให้กับกำลังพล การปรับปรุงห้องอาหาร ร้านขายอาหารและการ

แต่งกายของผู้บริการให้ถูกสุขลักษณะ การปรับปรุงรถยนต์โดยสารปรับอากาศรับ - ส่ง ข้าราชการให้เป็นรูปแบบเดียวกัน

การมอบทุนการศึกษาให้แก่บุตรของกำลังพล การแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยเฉพาะหนี้นอกระบบ การนำกำลังพลและครอบครัว

ไปทัศนศึกษาดูงาน ตลอดจนการจัดงานเลี้ยงให้กับกำลังพลตามโอกาสที่เหมาะสม โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ กล่าวคือ

30

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


๓.๑ การพัฒนาปรับปรุงอาคารไพลินสแควร์ (เมืองทองธานี) สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้บริหารจัดการ

อาคารที่พักอาศัยของกำลังพลชื่อว่า อาคารไพลินสแควร์ ซึ่งมีที่ตั้งในพื้นที่เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

โดยมอบหมายให้กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม รับผิดชอบ ภายใต้คำขวัญ “สงบ สะอาด ปลอดภัย มีคุณภาพ

ชีวิตที่ดี” ซึ่งมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ กล่าวคือ ปรับปรุงช่องทางเข้า-ออกของกำลังพลและครอบครัวโดยใช้ระบบ

คีย์การ์ด ปรับปรุงช่องทางเข้า-ออกสำหรับรถจักรยานยนต์ โดยใช้ระบบไม้กั้นอัตโนมัติ ปรับปรุงพื้นที่ลานจอดรถยนต์

และรถจักรยานยนต์ ปรับปรุงห้องพักระบบ CCTV ระบบไฟฟ้าแสงสว่างพื้นที่ส่วนกลาง สนามเด็กเล่น ห้องออกกำลังกาย

ห้องสันทนาการ ศูนย์การเรียนรู้ ห้องรับแขก จุดทิ้งขยะ ร้านค้าสวัสดิการ และทาสีอาคาร

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

31


๓.๒ ห้องสมุด ปรับปรุงห้องสมุดให้เป็นแหล่งที่ใช้ในการค้นคว้าวิจัยในเรื่องต่าง ๆ สถานที่มีความสะอาด สวยงาม

และสะดวกในการเรียกค้นหนังสือ ตำรา วิชาการต่าง ๆ โดยมีหนังสือที่รวบรวมความสำคัญทางประวัติศาสตร์ทางทหาร เศรษฐกิจ

สังคม การเมือง และหนังสือดี ๆ ที่น่าอ่าน อีกมากมาย พร้อมทั้งจัดทำการสืบค้นด้วยระบบเทคโนโลยสารสนเทศเพื่อความ

สะดวกและรวดเร็ว

มาตรฐาน

๓.๓ ห้องตัดผม ปรับปรุงห้องตัดผมที่มีความสะอาด สวยงาม สะดวกกับผู้ใช้บริการ และการจัดรูปแบบได้อย่างมี

๓.๔ ห้องออกกำลังกาย จัด

ทำห้องออกกำลังกายที่เป็นมาตรฐาน

สากล ขนาดห้องกว้างขวาง พร้อมอุปกรณ์

การออกกำลังกายครบครัน มีความสะดวก

สะอาด และปลอดภัย

32

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


๓.๕ ห้องอาหาร ปรับปรุงห้องอาหารที่ได้รับมาตรฐาน มีความกว้างขวาง สะดวกสบาย และสะอาด เพื่อให้บริการ

กับบุคคลที่มาติดต่อราชการและกำลังพลของสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม รวม ๒ ห้อง คือ ห้องเสนาภิรมย์ และห้องอุดมสุข

ภารกิจสำคัญที่สี่ ศาลทหารและกระบวนการยุติธรรมทางทหาร

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดำรงความยุติธรรมทางทหารจึงได้พัฒนากิจการ

ศาลทหารและกระบวนการยุติธรรมทางทหารให้เกิดความทันสมัยและสามารถเป็นต้นแบบในการดำเนินกิจกรรม ด้วยการ

ดำเนินภารกิจที่สำคัญ กล่าวคือ

๑. โครงการศาลทหารต้นแบบ ระยะที่ ๒ (การพัฒนาบุคลากรในศาลทหาร) กรมพระธรรมนูญ ได้ดำเนินโครงการ

ศาลทหารต้นแบบ ระยะที่ ๒ เพื่อให้ศาลทหารมีการพัฒนาเป็นไปโดยต่อเนื่อง และเป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงกลาโหม ในเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาการอำนวยความยุติธรรมในศาลทหาร ตลอดจนสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศ

ด้านกระบวนการยุติธรรม จึงได้พัฒนากระบวนการยุติธรรมทหารมีการพัฒนาและการบูรณาการร่วมกัน ซึ่งโครงการศาลทหาร

ต้นแบบ ระยะที่ ๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรในศาลทหาร ได้แก่ ตุลาการพระธรรมนูญ อัยการศาลมณฑลทหารบก

และจ่าศาลมณฑลทหารบก ให้มีการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยวัดผลจากการประเมินของผู้บังคับบัญชา

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามหัวข้อที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งได้มีการมอบโล่รางวัลให้แก่บุคลากรในศาลทหารผู้ที่ได้รับรางวัลดีเด่น

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

33


๒. ระบบติดตามข้อมูลคดีในศาลทหาร กรมพระธรรมนูญ ได้จัดทำระบบติดตามข้อมูลคดีในศาลทหาร โดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนภารกิจของศาลทหาร อัยการทหาร และทนายทหาร ในการตรวจสอบข้อมูลของกำลังพลในกระทรวงกลาโหม

ว่าได้เคยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในคดีอาญา หรือเคยถูกดำเนินคดีอาญาในศาลทหารหรือไม่ และการตรวจสอบข้อมูลคดี

ตรวจสอบประวัติการกระทำความผิดอาญาเพื่อเป็นข้อมูลในเรื่องขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ขอพระราชทานยศ

รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการยุติธรรมของพลเรือน

34

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


๓. ความร่วมมือทางวิชาการ กรมพระธรรมนูญ ได้ลงนามร่วมในบันทึกข้อตกลงระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

กับหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

๓.๑ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานศาลยุติธรรม ในเรื่องความร่วมมือ แลกเปลี่ยน สนับสนุน

ข้อมูลทางวิชาการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และช่องทางอื่น ๆ การแลกเปลี่ยนและสนับสนุนการฝึกอบรม การดูงาน

ในหลักสูตรต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม กับตุลาการพระธรรมนูญ

และข้าราชการสำนักตุลาการทหาร

๓.๒ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงานอัยการสูงสุด ในเรื่องการอำนวยความยุติธรรมช่วยเหลือทางกฎหมาย

แก่ประชาชน และพัฒนาบุคลากรทางวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมการช่วยเหลือกฎหมาย

แก่ประชาชน และการพัฒนาบุคลากรทางวิชาการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

๓.๓ บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยมีวัตถุประสงค์

ในการร่วมจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนนักวิชาการในวิชากฎหมายทหาร และรวมถึงส่วนลดค่าใช้จ่าย

ในการศึกษาเล่าเรียน

๓.๔ บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยมีวัตถุประสงค์

ในการขอรับการสนับสนุนบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาต่างประเทศจากมหาวิทยาอัสสัมชัญ เพื่อเป็นผู้แปลภาษา

ในศาลทหาร และข้าราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมจะได้รับส่วนลดค่าลงทะเบียนครึ่งหนึ่งในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต

๓.๕ บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือทางวิชาการกับสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมี

วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือจำเลยซึ่งเป็นบุคคลในอำนาจศาลทหาร ในการดำเนินอรรถคดี และการร่วมมือทางวิชาการให้เกิด

ความสมบูรณ์ในกระบวนการยุติธรรม และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานทางกฎหมาย

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

35


ภารกิจสำคัญที่ห้า การระดมสรรพกำลัง

การเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยคุกคามด้านความมั่นคง โดยการบูรณาการของทุกภาคส่วนในการเตรียมกำลังพล

ยุทโธปกรณ์ และทรัพยากรด้านต่าง ๆ เพื่อผนึกกำลังและทรัพยากรในการป้องกันประเทศให้มีความพร้อมตั้งแต่ในยามปกติ

มีภารกิจหลัก ๓ การ คือ การระดมสรรพกำลัง การกำลังสำรอง และการสัสดี พร้อมมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นระบบ

ฐานข้อมูลที่ทันสมัยสนับสนุนภารกิจดังกล่าว ทั้งนี้ การดำเนินการอยู่ในกรอบแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐)

๑. การระดมสรรพกำลัง ด้วยการประสานงานและดำเนินงานด้านการระดมสรรพกำลังกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มี

ความรู้ความเข้าใจในภารกิจ บทบาทหน้าที่ของการระดมสรรพกำลัง ตามแผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ

โดยมีการจัดเตรียมความพร้อมในการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ ทั้งจากส่วนราชการพลเรือน รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน

ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสำรวจตรวจสอบข้อมูลทรัพยากรจากแหล่งทรัพยากรเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการของฝ่ายทหาร

ตามแผนป้องกันประเทศหรือภารกิจเพื่อความมั่นคงที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลตั้งแต่ภาวะปกติ

36

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


๒. การกำลังสำรอง กระทรวงกลาโหม ได้ดำเนินการตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ. ๒๕๕๘

และแผนแม่บทการพัฒนากิจการกำลังพลสำรองของกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการกิจการ

กำลังพลสำรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และสร้างเครือข่ายกำลังพล

สำรองมุ่งไปสู่กำลังพลสำรองอาสาสมัคร เพื่อให้การจัดเตรียมกำลังและการใช้กำลังพลสำรองเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะ

อย่างยิ่ง ต้องพัฒนากิจการกำลังพลสำรองให้สามารถระดมพลได้ทันเวลา มีขีดความสามารถปฏิบัติภารกิจร่วมกับกำลังประจำการ

ทั้งในการป้องกันประเทศ บรรเทาภัยพิบัติ และภารกิจอื่น ๆ

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

37


๓. การสัสดี การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร

พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อเตรียมกำลังให้พร้อมที่จะเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบได้ตั้งแต่ภาวะปกติ ยังสามารถช่วยเหลือประชาชน

และพัฒนาประเทศ โดยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อเป็นการ

สร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัย ความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการเสริมสร้างกองทัพ

และทัศนคติที่ดีต่อกองทัพ

38

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


กลุ่มงานที่๔

ด้านการบร ิหารจัดการ

(งบประมาณ)


สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดย สำนักงบประมาณกลาโหม ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่

ควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติงานด้านการบริหารงบประมาณ รวมถึงด้านการจัดหาพัสดุ ซึ่งในอดีตได้มีการจัดทำคำของบประมาณ

และการบริหารจัดการงบประมาณในรูปแบบของแผนงาน ที่มีจำนวน ๙ แผนงาน แต่ในการปฏิบัติพบว่าประสบปัญหาในการ

ดำเนินการเพราะมีงบประมาณหลายรายการที่กระจัดกระจายในหลายแผนงาน ทำให้ขาดความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ

และในบางกรณีอาจเกิดความซ้ำซ้อนอีกด้วย

ดังนั้น ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๓ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้กำหนด

นโยบายให้ปรับปรุงวิธีการงบประมาณขึ้นใหม่ ด้วยการปรับระบบการจัดทำคำของบประมาณจากเดิม ๙ แผนงาน มาเป็น ๘ กลุ่มงาน

โดยการรวมงานที่มีลักษณะคล้ายกันให้อยู่ในกลุ่มงานเดียวกัน มีหน่วยงานหลักทำหน้าที่บูรณาการตั้งแต่เริ่มต้นคำของบประมาณ

เพื่อให้ระบบงบประมาณมีความสมบูรณ์ครบถ้วนตรงกับความต้องการของทุกหน่วยอย่างแท้จริง ขจัดปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนและ

เป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่งผลให้การใช้จ่ายงบประมาณของแผ่นดินเป็นไปอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ

และประเทศชาติ

40

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


การบริหารจัดการงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ และ พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นช่วงเวลาที่ประเทศ

ต้องประสบวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ต้องตกลงใจปรับลดวงเงินงบประมาณ เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อเผชิญภัยคุกคามจากโรคโควิด-19

ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา โดยผู้บังคับบัญชาของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้มอบนโยบายไว้

อย่างชัดเจนว่า

“...ปรับลดวงเงินงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาประเทศ แต่ไม่ปรับลดภารกิจ และพร้อมปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย

เพื่อประเทศชาติและพี่น้องประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถของหน่วย...”

จึงจะเห็นได้จากการวางแผนปฏิบัติงานให้สอดรับกับการปรับลดวงเงินงบประมาณในปีงบประมาณ

พ.ศ. ๒๕๖๓ และ พ.ศ. ๒๕๖๔ อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจ

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

41


นอกจากนี้ ยังได้กำกับดูแลให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมดำเนินการตามนโยบายประจำปีด้านงบประมาณ

ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยได้มีการติดตามและตรวจสอบการดำเนินการตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเร่งรัด

การใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยคำนึงถึงความพร้อมและขีดความสามารถของส่วนราชการ

ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรการที่รัฐบาลกำหนด ตลอดจนให้มีการบูรณาการภารกิจ

และงบประมาณของส่วนราชการภายในกระทรวงกลาโหม และระหว่างกระทรวงกลาโหมกับหน่วยงานหรือกระทรวงอื่น ๆ

เพื่อลดความซ้ำซ้อน ประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ

นโยบายด้านการงบประมาณ สำหรับเรื่องนโยบายสำคัญเกี่ยวกับการงบประมาณของกระทรวงกลาโหม ในปีงบประมาณ

พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น ได้มีการจัดทำระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของส่วนราชการ

ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้ส่วนราชการในต่างประเทศ อาทิ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารไทยประจำสถานเอกอัครราชทูต

และส่วนราชการของกระทรวงกลาโหมที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศซึ่งมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น และปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับ

สถานเอกอัครราชทูตหรือสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารไทยประจำสถานเอกอัครราชทูต รวมถึงหน่วยทหารที่ปฏิบัติภารกิจ

ในต่างประเทศได้ถือปฏิบัติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๔

ความสำเร็จอันน่าภาคภูมิใจ ผลการดำเนินการอย่างมุ่งมั่นและขับเคลื่อนการดำเนินการของหน่วยให้เป็นไปตามกฎหมาย

และระเบียบที่เกี่ยวข้องด้านงบประมาณ รวมถึงสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะ

เรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ส่งเสริมให้มีการบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาล โปร่งใส รวมทั้ง

การปฏิบัติภารกิจตามความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมด้านการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ

42

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ส่งผลให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมได้รับรางวัลองค์กรที่มี

ความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล จำนวน ๒ รางวัล กล่าวคือ

๑) รางวัลประกาศเกียรติคุณด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐ ระดับดี

๒) รางวัลประกาศเกียรติคุณด้านปลอดความรับผิดทางละเมิด ระดับดีเด่น

การได้รับรางวัลดังกล่าวเปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ และความเอาใจใส่ของผู้บังคับบัญชา

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่มุ่งเน้นให้มีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นไป

ตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ รวมทั้งมีการส่งเสริมพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรให้มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต

และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงาน ส่งผลให้เป็นที่ยอมรับและเกิดความน่าเชื่อถือศรัทธาแก่หน่วยงานภายนอกกระทรวง

กลาโหมและประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ รางวัลดังกล่าวยังถือเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ปฏิบัติอย่างดียิ่ง และเป็นแรงผลักดัน

ให้กำลังพลในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมมีความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและพัฒนางานให้ดีขึ้น

อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหรือขับเคลื่อนประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ต่อไป

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

43


กลุ่มงานที่๕

ด้านที่ดินและสิ่งก่อสร้าง


สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีพื้นที่ตั้งหน่วย พื้นที่รับผิดชอบ และอาคารที่อยู่อาศัยของกำลังพล กระจาย

อยู่ในพื้นที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค กล่าวคือ

พื้นที่ส่วนกลาง มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย ศาลาว่าการกลาโหม

(เขตพระนคร) กรมการพลังงานทหารฯ (เขตราชเทวี) กรมการอุตสาหกรรมทหารฯ (เขตดุสิต) สำนักงานสนับสนุน

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (เขตบางซื่อ) โรงงานเภสัชกรรมทหารฯ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหารฯ

(เขตคลองเตย) กองพันระวังป้องกัน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (เขตดอนเมือง) และอาคารสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม (พื้นที่ศรีสมาน) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

พื้นที่ส่วนภูมิภาค มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ประกอบด้วย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ (จังหวัดลพบุรี)

โรงงานวัตถุระเบิดทหารฯ (จังหวัดนครสวรรค์) ศูนย์ฝึกศึกษาบุคลากรด้านปิโตรเลียมและพลังงานทหารฯ (จังหวัดระยอง)

และศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือฯ (จังหวัดเชียงใหม่)

ซึ่งแต่ละพื้นที่มีลักษณะอาคารและการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่แตกต่างไปตามภารกิจของแต่ละหน่วยอย่างชัดเจน

และที่สำคัญ กล่าวคือ พื้นที่ศาลาว่าการกลาโหม ก่อสร้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๕ เป็นอาคารอนุรักษ์และมรดกทางวัฒนธรรมทางการทหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศที่มีความสวยงาม

สง่างาม และเข้มขลัง สมเป็นอาคารโบราณที่สื่อให้เห็นถึงความมั่นคงและอลังการในสถานที่เดียวกัน ในปัจจุบัน

ศาลาว่าการกลาโหม เป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหม จึงเป็นสถานที่รับรองผู้นำทางทหารระดับสูงของมิตรประเทศ

และสถานที่ปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตลอดจน

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไป โดยที่ผ่านมา นักศึกษาที่สำเร็จรับปริญญา พี่น้องประชาชนทั่วไป

และชาวต่างประเทศ มักจะถ่ายภาพบริเวณที่ระลึกโดยรอบศาลาว่าการกลาโหม ดังนั้น สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

จึงได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่โดยรอบและภายในศาลาว่าการกลาโหมให้มีทัศนียภาพที่สวยงามอยู่เสมอ โดยคำนึงถึง

ความสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ และสะท้อนถึงภาพลักษณ์ทางทหาร ตลอดจนดำรงไว้ซึ่งเกียรติภูมิของประเทศ

รวมทั้งสามารถใช้งานในการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

45


ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งปลูกสร้างในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ที่มีการเกิดขึ้นของอาคารพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ และความสวยงาม ทั้งในส่วน

ของอาคารสำนักงาน อาคารบริการ อาคารที่พักอาศัย และภูมิทัศน์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในพื้นที่อาคารศาลาว่าการกลาโหม

และอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ถนนศรีสมาน โดยมีการดำเนินการที่สำคัญ กล่าวคือ

ภารกิจสำคัญที่หนึ่ง อาคารสำนักงาน

๑. พื้นที่ศาลาว่าการกลาโหม

๑.๑ ห้องหลักเมือง ๑ และ ๒ เป็นห้องประชุมขนาดกลาง ที่ปรับปรุงเพื่อใช้รองรับผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ

ห้องละ ๕๐ คน ภายในพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการประชุมในทุกระดับ

๑.๒ ห้องสราญรมย์ ประกอบด้วย ห้องอเนกประสงค์ ห้องรับรอง ห้องครัว และห้องน้ำ ซึ่งปรับปรุงเพื่อใช้

เป็นสถานที่ในการรับรองระดับกระทรวง (รับรองแขกระดับประเทศ) มีห้องจัดเลี้ยงขนาดเล็ก และสามารถจัดประชุมย่อยได้

อย่างสะดวกสบาย

46

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


๑.๓ ห้องภาณุรังษี ปรับปรุงห้องประชุมขนาดใหญ่ เพื่อใช้จัดการประชุมสำคัญของกระทรวงกลาโหม อาทิ ประชุม

สภากลาโหม การประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ การประชุมมิตรประเทศ และการประชุมระดับผู้นำประเทศอื่น ๆ โดยภายในประดับ

ด้วยวัสดุตกแต่ง และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับการประชุมอย่างครบครัน ผนังห้องประดับด้วยภาพอดีตรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงกลาโหม จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

๑.๔ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ปรับปรุงห้องอเนกประสงค์ เพื่อใช้ในการจัดประชุม ประกอบพิธี และจัดกิจกรรมต่าง ๆ

ของกระทรวงกลาโหม ผนังห้องประดับตกแต่งด้วยรูปภาพอดีตผู้บังคับบัญชาของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จากอดีต

จนถึงปัจจุบัน

๑.๕ ห้องพระบารมีปกเกล้า ปรับปรุงเพื่อใช้เป็นห้องรับรองสำหรับผู้บังคับบัญชาระดับสูง บุคคลสำคัญในประเทศ

และต่างประเทศ ตกแต่งด้วยวัสดุที่มีความสง่างาม รอบบริเวณห้องประดับรูปภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระมหากษัตริย์

พระราชวงศ์จักรี รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๑๐ พร้อมทั้งเป็นที่ตั้งของธงปลัดทูลฉลอง

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

47


๑.๖ ห้องแถลงข่าว จัดทำเพื่อใช้เป็นห้องแถลงข่าวขนาดเล็ก มีความสวยงาม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

ใช้สำหรับการถ่ายทอดข่าวสารกับสื่อมวลชน

๑.๗ ห้องพุทธศาสนสถาน

ปรับปรุงเพื่อให้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์

ในกระทรวงกลาโหม เพื่อทำพิธีการ

ทางศาสนาระดับกระทรวง รวมทั้งเป็น

ที่ประดิษฐศาลเจ้าพ่อหอกลอง (ดั้งเดิม)

และประดิษฐานองค์พระพุทธนวราราชตรี

โลกนาถศาสดากลาโหมพิทักษ์

๒. พื้นที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ศรีสมาน

๒.๑ อาคารบริการ จัดสร้างเพื่อใช้เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ใช้สอยรวม ประมาณ ๕๐,๓๐๐ ตารางเมตร

มีความสูง ๑๕ ชั้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการกำลังพลและครอบครัวในด้านสวัสดิการต่าง ๆ รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์

ร่วมกับหน่วยงานภายนอกและประชาชน ซึ่งภายในอาคารประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ อาทิ สำนักงานแพทย์ สำนักงาน

สนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ กรมการเงินกลาโหม ชมรมผู้สูงอายุ และห้องประชุม

ขนาดใหญ่

48

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


๒.๒ อาคารอเนกประสงค์ จัดสร้าง

เพื่อใช้เป็นอาคารขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยรวม

ประมาณ ๓๐,๘๐๐ ตารางเมตร มีความสูง ๖ ชั้น

โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์ของอาคาร

ได้แก่ ห้องอเนกประสงค์ความจุ ๑,๕๐๐ คน

และ ๔๐๐ คน สำหรับรองรับการประชุม จัดเลี้ยง

สัมมนา และจัดนิทรรศการต่าง ๆ รวมถึง

สนามกีฬาและห้องออกกำลังกายหลากหลาย

ประเภท อาทิ สนามบาสเกตบอล สนามฟุตซอล

สนามแบดมินตัน สนามเซปักตะกร้อ ทั้งนี้

อยู่ระหว่างการจัดทำแผนในการเปิดให้หน่วยงาน

ภายนอกและประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์

๒.๓ ห้องจงรัก จัดสร้างเพื่อใช้เป็นห้องประชุมขนาดกลาง รองรับคนประมาณ ๔๐ ที่นั่ง มีบรรยากาศที่ภูมิฐาน

และน่าเชื่อถือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้อนรับบุคคลสำคัญหรือคณะทำงานที่สำคัญระดับประเทศ อาทิ เอกอัครราชทูตและทูต

ประจำประเทศต่าง ๆ จัดประชุม หารือในระดับกรม และประกอบพิธีการอันสำคัญ ซึ่งเป็นสถานที่สร้างความสง่างามและ

ความน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

49


๒.๔ ห้องภักดี จัดสร้างเพื่อใช้เป็น

ห้องรับรองขนาดกลาง มีบรรยากาศอันสง่างาม

สมเกียรติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้อนรับบุคคล

สำคัญ อาทิ เอกอัครราชทูตและทูตประเทศต่าง ๆ

ผู้นำประเทศ ผู้นำเหล่าทัพ ทั้งยังสามารถ

ประกอบพิธีการสำคัญต่าง ๆ ได้อีกด้วย อันเป็น

ที่สร้างความสง่างาม และความภาคภูมิใจ

๒.๕ ห้องศรีสมาน ๔ (ห้องประชุมชั้น ๓ อาคารบริการ) จัดสร้างเพื่อใช้เป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ พร้อมอุปกรณ์

อำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การจัดนิทรรศการ การจัดเลี้ยง การจัดสัมมนา การจัดประชุม

ขนาดใหญ่

๒.๖ ห้องศรีสมาน ๑ (ห้อง ๑,๕๐๐ คน) และห้องศรีสมาน ๒, ๓ (ห้อง ๔๐๐ คน) จัดสร้างเพื่อใช้เป็นห้องประชุม

ขนาดใหญ่ พร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การจัดนิทรรศการ การจัดเลี้ยง การจัด

สัมมนา การจัดประชุมขนาดใหญ่

50

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


๒.๗ สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จัดสร้างเพื่อใช้เป็นที่ทำการ

ของสำนักงานแพทย์ฯ และให้บริการทางการแพทย์ให้แก่กำลังพลและครอบครัว

๒.๘ การปรับปรุงอาคารสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ศรีสมาน เป็นการปรับปรุง

ตามห้วงเวลาและซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด เพื่อให้สามารถ

ใช้งานได้ตามปกติ โดยดำเนินการตามโครงการเสริมสร้าง

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ศรีสมาน

เพื่อรองรับการปฏิบัติงานของกำลังพลได้อย่างเหมาะสม

และมีประสิทธิภาพตอบสนองพฤติกรรมการใช้งานอาคาร

ได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

51


๒.๙ งานปรับปรุงห้องแสดงวิวัฒนาการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเฉลิมพระเกียรติ (พื้นที่ศรีสมาน) โดยการ

จัดทำห้องแสดงวิวัฒนาการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเฉลิมพระเกียรติในลักษณะของศูนย์การเรียนรู้ในเรื่องการป้องกันประเทศ

และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย

๒.๑๐ งานปรับปรุงศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ โดยจัดทำขึ้นที่ศูนย์อำนวยการสร้าง

อาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร จังหวัดลพบุรี

ภารกิจสำคัญที่สอง อาคารที่พักอาศัย

ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งปลูกสร้างในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ที่มีการ

เกิดขึ้นของอาคารพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ และความสวยงามของอาคารที่พักอาศัย

และภูมิทัศน์ โดยมีการดำเนินการ กล่าวคือ

๑. พื้นที่ศรีสมาน เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับข้าราชการและครอบครัวได้มีที่พักอาศัยที่เหมาะสม มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางทำให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่กำลังพล โดยมีรายละเอียด

โดยสังเขป คือ ก่อสร้างอาคารพักอาศัยฯ ขนาด ๒๕ x ๑๒๘ เมตร สูง ๒๑ ชั้น ๔๗๖ ครอบครัว จำนวน ๑ หลัง และก่อสร้าง

อาคารพักอาศัยฯ ขนาด ๒๕ x ๑๒๘ เมตร สูง ๑๙ ชั้น ๔๔๘ ครอบครัว จำนวน ๑ หลัง

52

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


๒. พื้นที่เทิดราชัน เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับนายทหารสัญญาบัตรและครอบครัว โดยก่อสร้างอาคารพักอาศัย พร้อม

สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้กำลังพลได้มีที่พักอาศัยที่เหมาะสมในการเดินทางมาทำงาน รวมถึงเป็นขวัญและกำลังใจ ทั้งยัง

ลดค่าใช้จ่ายแก่กำลังพล

ภารกิจสำคัญที่สาม ภูมิทัศน์

๑. ศาลาว่าการกลาโหม

๑.๑ อุโมงค์ทางเดิน ถือเป็นจุดเด่นของภูมิทัศน์ภายในศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม ที่มีความสวยงามสอดคล้องกับ

สถาปัตยกรรมภายใน อีกทั้งเป็นจุดที่ประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่าง ๆ ของกระทรวงกลาโหม

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

53


๑.๒ ภูมิทัศน์ภายใน เป็นการปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลางของอาคารศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งเป็นอาคารอนุรักษ์และเป็น

มรดกทางวัฒนธรรมทางการทหารที่สำคัญแห่งหนึ่ง จึงปรับปรุงให้มีทัศนียภาพที่สวยงาม สะท้อนถึงภาพลักษณ์ทางทหาร

โดยมีพื้นที่ที่ดำเนินการปรับปรุง คือ บริเวณโถงทางเดินโดยรอบผนังอาคารของศาลาว่าการกลาโหม สวนหย่อม

๑.๓ พระบรมฉายาลักษณ์และสีผนังอาคาร ดำเนินการเพื่อรองรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว และสะท้อนถึงความเป็นอาคารอนุรักษ์ตามแบบสถาปัตยกรรมภายในเกาะรัตนโกสินทร์

54

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


๑.๔ ลานปืนใหญ่โบราณ ปรับปรุงทัศนียภาพเพื่อเป็นที่ตั้งปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม จำนวน

๔๐ กระบอก ให้มีความสง่างาม สวยงาม สะท้อนถึงคุณค่าของโบราณสถาน เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้

และเยี่ยมชมถ่ายภาพ

๒. สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ถนนศรีสมาน

๒.๑ ลานพื้นแข็ง เป็นลานอเนกประสงค์ที่มีการอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว ประดิษฐานยังแท่นบริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ศรีสมาน ในห้วงเวลาที่ผ่านมามีการใช้

สถานที่เพื่อประกอบพิธีการและงานกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ พิธีประกาศเกียรติคุณกำลังพลของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ที่เกษียณอายุราชการ พิธีถวายราชสักการะและวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ เนื่องในวันปิยมหาราช

และงานกิจกรรมโครงการจิตอาสา “เราทำความดีเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ทั้งยังเป็นการปรับภูมิทัศน์โดยรอบให้มีทัศนียภาพ

ที่สง่างามเหมาะสมกับหน่วยงานราชการ โดยประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาถวายราชสักการะได้ตามโอกาสอันควร

ผลการดำเนินงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

55


๒.๒ ลานน้ำตกและสวนต้นไม้ จัดสร้างขึ้นที่บริเวณด้านหน้าทางเข้าอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

(พื้นที่ศรีสมาน) เป็นการก่อสร้างปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณทางเข้าด้านหน้าอาคารสำนักงาน ให้เกิดความสวยงาม ร่มรื่น

เป็นจุดหมายตาและเป็นพื้นที่สันทนาการ สำหรับกำลังพลและผู้มาติดต่อราชการ ทั้งยังรวบรวมพืชพันธุ์ต้นไม้ที่มีความสำคัญ

เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของกระทรวงกลาโหม จึงถือว่าเป็นแหล่งให้ความรู้และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่

๒.๓ ป้ายนามหน่วยและรั้วด้านหน้า จัดสร้างเพื่อความสง่างามของหน่วย ซึ่งมองเห็นโดดเด่นจากระยะไกล

มีการออกแบบที่มีเอกลักษณ์ สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม

56

เสริมสร้าง และแบ่งปัน


กลุ่่มงานที่่๖

ด้้านอุุตสาหกรรมป้้อุงกันป้ระเทศ


กระทรวงกลาโหม ให้้ความสำคัญเร่่งด่่วนในการ่ขัับเคลื่่อนนโยบายเร่่งด่่วนขัองรััฐบาลื่ เพื่่อเป็็นการ่สร้้าง

ห้ลื่ักป็ร่ะกันพื้้นฐานในการ่ร่องรัับการ่ขัับเคลื่่อนการ่พื่ัฒนาป็ร่ะเทศ แลื่ะการ่พื่ัฒนาศักยภาพื่ขัองกร่ะทร่วงกลื่าโห้มในร่ะยะยาว โด่ย

รััฐมนตรีีว่าการ่กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม ได้้กำห้นด่นโยบายเร่่งด่่วนให้้หน ่วยเร่่งรััด่ด่ำเนินการ่ โด่ยเฉพื่าะการส ่งเสริิมแลื่ะต่อยอด่การว ิจััย

พื่ัฒนา แลื่ะอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศขัองส่วนร่าชการ่

กร่ะทร่วงกลื่าโห้มแลื่ะสถาบันเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศ จััด่ทำแนวทางการบููร่ณาการ่ในการ่ทำงานร่่วมกับทุกภาคส่วน

ทีเกียวข้้อง เพื่่อมุ่งสู่การ่ผลื่ิตใช้ในร่าชการ่ การ่สร้้างมาตร่ฐานทางทห้าร่ ลื่ด่การ่พื่่งพื่าจัากต่างป็ร่ะเทศ แลื่ะพื่ัฒนาต่อยอด่ไป็

สู่การ่ผลื่ิตในเชิงพื่าณิชย์ ตลื่อด่จันจััด่ตังเขัตส่งเสริิมเศร่ษฐกิจัพื่ิเศษร่องรัับอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ ให้้เกิด่ผลื่อย่างเป็็น

รููป็ธร่ร่ม โด่ยกำห้นด่ให้้มีการ่ด่เนินการ่ ดัังนี

๑. แผนปฏิิบััติิการด้้านการพััฒนาวิทยาศาสตร์์ เทคโนโลยี อุุติสาหกรรมป้อุงกันประเทศ (พั.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๘๐)

กระทรวงกลาโหม กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม โด่ย สำนักงานป็ลื่ัด่กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม ได้้กำห้นด่เป้าหมายระยะยาว ตามแผนปฏิิบััติิการ

ด้้านการพััฒนาวิทยาศาสตร์์ เทคโนโลยี อุุติสาหกรรมป้อุงกันประเทศ (พั.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๘๐) กระทรวงกลาโหม

ไว้ว่า “กร่ะทร่วงกลื่าโห้มผลื่ิตอาวุธยุทโธป็กรณ์์ เฉพื่าะร่ายการ่ทีจัำเป็็นเพื่่อความพื่ร่้อมร่บ แลื่ะสนับสนุนให้้ภาคเอกชนด่ำเนิน

กิจัการอ ุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศเพื่่อผลื่ิตใช้ในร่าชการ่แลื่ะเพื่่อการ่พื่าณิชย์” พื่ร่้อมทังกำห้นด่แนวทางการ่ป็ฏิิบัติทุกร่ะยะ ๕ ปีี

ดัังนี ร่ะยะที ๑ เป็็นการ่ป็ฏิิรููป็กร่อบงานการ่กำห้นด่ความต้องการ่แลื่ะสร้้างกลื่ไกการถ่่ายทอด่องค์ความรู้แลื่ะเทคโนโลื่ยี ร่ะยะที ๒

เป็็นการ่เสริิมสร้้างความเข้้มแข็็งในด้้านการ่มาตร่ฐานทางทห้าร่แลื่ะการ่นำต้นแบบงานวิจััยไปสู่่การ่ผลื่ิตใช้ในร่าชการ่แลื่ะต่อยอด่

เพื่่อการ่พื่าณิชย์ ร่ะยะที ๓ เป็็นการส่่งผ่านการ่ผลื่ิตแลื่ะซ่่อมบำรุุงยุทโธป็กรณ์์ไปสู่่ภาคเอกชน แลื่ะร่ะยะที ๔ เป็็นการ่สร้้าง

ความยังย่นโด่ยภาคเอกชนเป็็นฐานการ่ผลื่ิตเพื่่อการส่่งออก

58

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


โด่ยมีแนวทางการ่ขัับเคลื่่อนผลื่งานวิจััยแลื่ะพื่ัฒนาสู่อุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศขัองกร่ะทร่วงกลื่าโห้ม ๘ ขัันตอน โด่ย

แบ่งเป็็น

ขั้้นติอุนที ๑ – ๔ เป็็นการวิิจััยแลื่ะพื่ัฒนาเพื่่อให้้ได้้ต้นแบบผลื่งานวิจััย มีคณะกร่ร่มการวิิจััยแลื่ะพื่ัฒนาวิทยาศาสตร์์แลื่ะ

เทคโนโลื่ยีการ่ทห้าร่ กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม (กวท.กห้.) รัับผิด่ชอบกำกับดููแลื่

ขั้้นติอุนที ๕ การ่ทด่สอบการ่ป็ร่ะเมินผลื่ค่าสุดท้้าย มีคณะกร่ร่มการ่มาตร่ฐานยุทโธป็กรณ์์ กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม (กมย.กห้.)

รัับผิด่ชอบกำกับดููแลื่

ขั้้นติอุนที ๖ – ๗ การ่พื่ัฒนาเข้้าสู่การ่ผลื่ิตเป็็นอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ มีคณะกร่ร่มการอุุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ

กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม (กอป็.กห้.) รัับผิด่ชอบกำกับดููแลื่

ขั้้นที ๘ เป็็นการ่ด่ำเนินการ่บร่ร่จัุใช้ในร่าชการ่ รัับผิด่ชอบโด่ยเห้ลื่่าทัพื่ต่าง ๆ

นอกจัากนี กิจัการอ ุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศขัองไทย

รััฐบาลื่ได้้ผลื่ักดัันให้้เป็็น “อุตสาห้กร่ร่มเป้้าห้มายที 11” (S–Curve 11)

ซ่่งการมุ่งสู่เป้้าห้มายดัังกลื่่าว ต้องด่ำเนินการ่อย่างเป็็นร่ะบบตังแต่

การส่่งเสริิมการวิิจััยแลื่ะพื่ัฒนาอุตสาห้กร่ร่มทีเกียวข้้องกับ

ความมันคงด้้านต่าง ๆ ร่วมถ่งเทคโนโลื่ยีทีมีป็ร่ะโยชน์ในบริิบท

ด้้านความมันคงแลื่ะเชิงพื่าณิชย์ สำห้ร่ับภาคการ่ผลื่ิตยุทโธป็กรณ์์

แลื่ะยุทธภัณฑ์์ทางการ่ทห้าร่นั น ต้องแบ่งปัันเทคโนโลื่ยีแลื่ะ

ก้าวเดิินไป็พื่ร่้อมกับอุตสาห้กร่ร่มที เป็็นเทคโนโลื่ยีสองทาง ร่วมถ่ง

อุตสาห้กร่ร่มทีเกียวกับความมันคงป็ลื่อดภััยในชีวิตแลื่ะทรััพื่ย์สิน

ขัองป็ร่ะชาชนผ่านความร่่วมม่อร่ะหว่่างกร่ะทร่วงกลื่าโห้ม หน่่วยงาน

ภาครััฐอ่น ๆ แลื่ะภาคเอกชน โด่ยอาจัแบ่งออกได้้เป็็น ๓ ขััน ดัังนี

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

59


บัันได้ขั้้นทีหน่ง เป็็นการ่ด่ำเนินการ่ตามบทบาทขัองกร่ะทร่วงกลื่าโห้มทีปััจัจัุบันกฎห้มายให้้อำนาจัในการ่ด่ำเนินกิจัการ่

อุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ อาทิ การ่จััด่ห้าวัสดุุอุป็กรณ์์การ่จััด่ตังโร่งงานเพื่่อด่ำเนินการ่ผลื่ิตห้ร่่อจัำหน่่ายผลื่ิตภัณฑ์์เห้ลื่่อใช้

บัันได้ขั้้นทีสอุง เม่อได้้ด่ำเนินการ่ในร่ะยะทีห้น่งเรีียบร้้อยแลื่้ว สมควร่ทีจัะมีการ่จััด่ตังนิติบุคคลื่เพื่่อทำหน้้าทีเป็็นตัวแทน

การ่ขัายผลื่ิตภัณฑ์์ขัองอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ เน่องจัากในปััจัจัุบันยังไม่มีหน่่วยงานด้้านการ่ตลื่าด่โด่ยตร่ง โด่ยนิติบุคคลื่

ควรม ีสถานะเป็็นหน่่วยงานขัองรััฐทีมีลื่ักษณะ

เฉพื่าะตามกฎห้มาย แลื่ะมีวัตถุป็ร่ะสงค์เพื่่อ

ซ่่อผลื่ิตภัณฑ์์อุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศไป็ขัาย

ร่วมทังเป็็นตัวแทนการ่ขัายขัองกร่ะทร่วงกลื่าโห้ม

บัันได้ขั้้นทีสาม การ่พื่ัฒนาไปสู่่การ่

เป็็นผู้ป็ร่ะกอบการอุุตสาห้กร่ร่มป้้องกัน

ป็ร่ะเทศภาคเอกชนอย่างเต็มรููป็แบบ โด่ยการ่

ส่งเสริิมให้้ผู้ป็ร่ะกอบการ่ภาคเอกชนเป็็น

ผู้้ดำเนินการ่เพื่่อแข่่งขัันกับคู่แข่่งทางการค้้าอ่น

๒. การติอุบัสนอุงยุทธศาสตร์์ชาติิ การ่พื่ัฒนากิจัการอ ุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศนอกจัากมุ่งตอบสนองยุทธศาสตร์์ชาติ

ด้้านความมันคง เพื่่อให้้ทรััพื่ยากร่ทีสำคัญแลื่ะจัำเป็็นทังป็วงขัองกองทัพื่แลื่ะหน่่วยงานความมั นคงได้้รัับการ่พื่ัฒนา เสริิมสร้้าง

ศักยภาพื่ให้้มีความพื่ร่้อมแลื่ะเพื่ียงพื่อแลื่้ว ยังได้้เช่อมโยงเข้้ากับยุทธศาสตร์์ชาติิด้้านการสร้างความสามารถในการแขั้่งขั้ัน

ทีมุ่งพื่ัฒนาอุตสาห้กร่ร่มความมันคงขัองป็ร่ะเทศทีไทยมีศักยภาพื่ เพื่่อลื่ด่การ่พื่่งพื่าจัากต่างป็ร่ะเทศ แลื่ะพื่ัฒนาต่อยอด่เป็็น

อุตสาห้กร่ร่มส่งออกต่อไป็ในอนาคต

60

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


โด่ยที อุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ จัะเป็็นแร่งหน ุนขัองกร่อบยุทธศาสตร์์ชาติ ๒๐ ปีี แลื่ะสนับสนุนกร่อบแนวคิด่

“ความมันคงแบบองค์ร่วม” เน่องจัากสามาร่ถตอบสนองโด่ยตร่งต่อเป้้าห้มายขัองกองทัพื่ หน่่วยงานด้้านความมันคง ภาคเอกชน

แลื่ะภาคป็ร่ะชาชน ได้้แก่การ่สนับสนุนให้้เกิด่ผลื่สัมฤทธิ กลื่่าวค่อ

(๑) ป็ร่ะชาชนอยู่ด่ี กินดีี แลื่ะมีความสุขั

(๒) บ้านเม่องมีความมันคงในทุกมิติ

(๓) ป็ร่ะเทศไทยมีบทบาทด้้านความมันคงเป็็นทีช่นชม แลื่ะได้้รัับการ่ยอมรัับโด่ยป็ร่ะชาคมร่ะหว่่างป็ร่ะเทศ

(๔) การ่บริิห้าร่จััด่การ่ความมันคงมีผลื่สำเร็็จัเป็็นรููป็ธร่ร่มอย่างมีป็ร่ะสิทธิภาพื่

ทังนี การ่พื่ัฒนาศักยภาพื่ขัองป็ร่ะเทศให้้พื่ร่้อมเผชิญภัยคุกคามทีกร่ะทบต่อความมันคงขัองชาติ พื่ัฒนาขีีด่ความสามาร่ถ

ขัองกองทัพื่แลื่ะหน่่วยงานความมันคงทังร่ะบบขัองป็ร่ะเทศ ให้้มีความพื่ร่้อมในการ่ป็้องกันแลื่ะแก้ไขัป็ัญห้าด้้านความมันคงทีมีอยู่

ในปััจัจัุบันแลื่ะทีจัะเกิดขึ้้นในอนาคต ผ่านการวิิจััย การ่ผลื่ิต แลื่ะการ่พื่ัฒนาเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศ อีกทังส่งเสริิมการบ ูร่ณาการ่

ความร่่วมม่อด้้านความมันคงในเร่่องอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศกับอาเซีียนแลื่ะนานาชาติ ร่วมถ่งองค์กร่ภาครััฐแลื่ะทีมิใช่

ภาครััฐ ซ่่งมีการ่กำห้นด่เป้้าห้มายแลื่ะตัวชีวัด่ กลื่่าวค่อ

เป้าหมาย (ทีเกียวขั้้อุง) ตััวชีวัด้ ขั้้อมููลฐาน

1. ป็ร่ะเทศชาติมีความมันคงในทุกมิติ ดััชนีสันติภาพื่โลื่ก

แลื่ะทุกร่ะดัับ

(อันดัับ)

2. ป็ร่ะชาชนอยู่ด่ี กินดีี แลื่ะมีความสุขัด่ีขั่น ดััชนีวัด่ความสุขัขัอง

ป็ร่ะชากร่ไทย (อันดัับ)

ปีี ๖๐

อันดัับที ๑๒๐

ปีี ๖๐

อันดัับที ๓๒

ค่าเป้าหมาย

ปี ๖๑ - ๖๕ ปี ๖๖ - ๗๐

๑ ใน ๗๕ ๑ ใน ๕๐

ขัองโลื่ก ขัองโลื่ก

๑ ใน ๗๕ ๑ ใน ๕๐

ขัองโลื่ก ขัองโลื่ก

นอกจัากนี การ่พื่ัฒนาแลื่ะยกร่ะดัับอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศจัะเป็็นแร่งขัับเคลื่่อนให้้เกิด่การ่ป็ร่ับโคร่งสร้้างทางเศร่ษฐกิจั

ทีเน้นการ่สร้้างมูลื่ค่าเพิ่่มจัากป็ร่ะสิทธิภาพื่มาเป็็นการ่สร้้างมูลื่ค่าเพิ่่มจัากเทคโนโลื่ยีแลื่ะนวัตกร่ร่ม ซ่่งจัะทำให้้เศร่ษฐกิจัขัองไทย

ขัยายตัวอย่างต่อเน่อง โด่ยในร่ะยะแร่กจัะเน้นการ่สร้้างร่ากฐานขัองอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ แลื่ะสร้้างสภาพื่แวด่ลื่้อมที

เอ่ออำนวยต่อการ่พื่ัฒนาขัองอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ ทังด้้านบุคลื่ากร่ การ่สร้้างนวัตกร่ร่ม การ่ป็ร่ับป็รุ่งแก้ไขักฎร่ะเบียบต่าง ๆ

แลื่ะการ่ลื่งทุนในโคร่งสร้้างพื้้นฐานที จัำเป็็น ร่วมทังพื่ัฒนาต่อยอด่จัากฐานอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศเดิิมทีมีความเข้้มแข็็ง

แลื่ะสร้้างโอกาสให้้ทุกกิจัการอ ุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศป็ร่ับตัวแลื่ะสร้้างศักยภาพื่ใหม่่ในร่ะยะต่อไป็ เพื่่อให้้เป็็นเสาห้ลื่ักขัอง

เศร่ษฐกิจัไทยสร้้างมูลื่ค่าเพิ่่มด้้วยเทคโนโลื่ยีแลื่ะนวัตกร่ร่มขัองตนเอง ลื่ด่การ่พื่่งพื่าเทคโนโลื่ยีแลื่ะนวัตกร่ร่มจัากต่างป็ร่ะเทศ

เป้าหมาย (ทีเกียวขั้้อุง) ตััวชีวัด้ ขั้้อมููลฐาน

ค่าเป้าหมาย

ปี ๖๑ - ๖๕ ปี ๖๖ - ๗๐

1. อุตสาห้กร่ร่มความมันคงขัองป็ร่ะเทศ

มีการ่ขัยายตัวเพิ่่มขั่น

อัตร่าการ่ขัยายตัวขัองอุตสาห้กร่ร่มความมันคงขัองป็ร่ะเทศ

(เฉลี่่ยร้้อยลื่ะ)

- ขัยายตัว

ร้้อยลื่ะ ๕

ขัยายตัว

ร้้อยลื่ะ ๑๐

2. การส่่งออกขัองอุตสาห้กร่ร่ม

ความมันคงขัองป็ร่ะเทศเพิ่่มขั่น

อัตร่าการ่ขัยายตัวขัองมูลื่ค่าการส่่งออกขัองอุตสาห้กร่ร่ม

ความมันคงขัองป็ร่ะเทศ (เฉลี่่ยร้้อยลื่ะ)

- ขัยายตัว

ร้้อยลื่ะ ๕

ขัยายตัว

ร้้อยลื่ะ ๑๐

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

61


เป้้าห้มายห้ลื่ักทังในด้้านความมันคงแลื่ะผลื่ตอบแทนทางด้้านเศร่ษฐกิจัจัะสร้้างแร่งหน ุนให้้กิจัการอ ุตสาห้กร่ร่มป้้องกัน

ป็ร่ะเทศเป็็นภาคการ่ผลื่ิตทีมีความน่าสนใจัแลื่ะมองเห็็นทิศทางในการ่ป็ร่ะกอบกิจัการ่ ด้้วยการ่พื่ัฒนารููป็แบบบริิการ่ภาครััฐ

เพื่่ออำนวยความสะด่วกในการ่ให้้บริิการ่ป็ร่ะชาชนผู้ป็ร่ะกอบการ่ แลื่ะภาคธุรกิิจั ร่วมทังอำนวยความสะด่วกทางการค ้า การ่ลื่งทุน แลื่ะ

การ่ด่ำเนินธุรกิิจั อาทิ การบููร่ณาการขั้้นตอนการ่ออกใบอนุญาต การ่ให้้บริิการ่จัด่ทะเบียนทรััพื่ย์สินทางปััญญา ทีมีป็ร่ะสิทธิภาพื่

สะด่วก ร่วด่เร็็ว แลื่ะสอด่คลื่้องกับมาตร่ฐานสากลื่ ด้้วยการ่นำเทคโนโลื่ยีดิิจิิทัลื่มาป็ร่ะยุกต์ใช้อย่างคร่บวงจัร่ เพื่่อให้้บริิการ่ภาครััฐ

เป็็นไป็อย่างป็ลื่อดภััย สร้้างสร่ร่ค์ โป็ร่่งใส มีธร่ร่มาภิบาลื่ เกิด่ป็ร่ะโยชน์สูงสุด่

เป้าหมาย (ทีเกียวขั้้อุง) ตััวชีวัด้ ขั้้อมููลฐาน

1. งานบริิการ่ภาครััฐทีป็ร่ับเป็ลื่ียน

เป็็นดิิจิิทัลื่เพิ่่มขั่น

สัดส่่วนความสำเร็็จั

ขัองกร่ะบวนงานทีได้้

รัับการ่ป็ร่ับเป็ลื่ียนให้้

เป็็นดิิจิิทัลื่

ค่าเป้าหมาย

ปี ๖๑ - ๖๕ ปี ๖๖ - ๗๐

- ร้้อยลื่ะ ๑๐๐

ร้้อยลื่ะ ๑๐๐

(ทังห้มด่ ๒,๑๘๐ กร่ะบวนงาน แบ่งเป็็น ทุกกร่ะบวนงาน

กร่ะบวนงานในร่ะบบอำนวยความสะด่วก (๕,๓๖๐)

ในการ่ป็ร่ะกอบธุรกิิจัแบบคร่บวงจัร่ ๓๐๐ กร่ะบวนงาน

แลื่ะกร่ะบวนงานอ่น ๑,๘๘๐ กร่ะบวนงาน)

ทังนี กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม จึึงจัำเป็็นจัะต้องสร้้างปััจัจััยเอ่อให้้เกิด่การ่ขัับเคลื่่อนการวิิจััยพื่ัฒนายุทโธป็กรณ์์เพื่่อผลื่ิตใช้

ในร่าชการ่แลื่ะผลื่ิตเชิงพื่าณิชย์โด่ยภาคเอกชน ด้้วยการ่เพิ่่ มอำนาจัให้้ สถาบัันเทคโนโลยีป้อุงกันประเทศ ตามพื่ร่ะร่าชบัญญัติ

เทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศ พื่.ศ. ๒๕๖๒ เพื่่อให้้รััฐสามาร่ถด่ำเนินการ่ใน ขั้้นกลางนำ (วิจััยพื่ัฒนา) ไปขั้้นปลายนำ (การ่ผลื่ิต

เชิงอุตสาห้กร่ร่ม) ได้้อย่างต่อเน่องแลื่ะมีร่ะบบพื่ร่้อมกลื่ไกทีสามาร่ถพื่ัฒนางานวิจััยไปสู่่การ่ผลื่ิตเชิงอุตสาห้กร่ร่มได้้โด่ยสถาบัน

เทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศได้้ออกนโยบายแลื่ะเป้้าห้มายร่ะยะ ๒๐ ปีี เพื่่อส่งเสริิมให้้มีการ่พื่ัฒนาเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศอย่าง

เป็็นร่ะบบ ตังแต่การศึึกษาวิจััย การ่พื่ัฒนา การ่ผลื่ิต แลื่ะการ่นำมาใช้ป็ร่ะโยชน์ แลื่ะเพื่่อป็ร่ับเป็ลื่ียนสถานะขัองป็ร่ะเทศไทย

จัากการ่เป็็นผู้ซ่่อมาเป็็นผู้วิจััย ผู้้พััฒนา แลื่ะผู้ผลื่ิตเพื่่อการ่ใช้งานภายในป็ร่ะเทศแลื่ะการส่่งออกต่อไป็ ซ่่งนโยบายแลื่ะเป้้าห้มายฯ

ป็ร่ะกอบด้้วย ๕ ด้้าน ได้้แก่

(๑) ด้้านการศึึกษา ค้นคว้า วิจััย แลื่ะพื่ัฒนานวัตกร่ร่มแลื่ะเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศ แลื่ะด่ำเนินการ่อ่นทีเกียวข้้องห้ร่่อ

ต่อเน่อง เพื่่อนำไป็สู่อุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ

(๒) ด้้านการส่่งเสริิมแลื่ะสนับสนุนกิจัการอุุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศขัองกร่ะทร่วงกลื่าโห้ม หน่่วยงานอ่นขัองรััฐ

แลื่ะภาคเอกชน

(๓) ด้้านการส่่งเสริิมแลื่ะสนับสนุนการ่ฝึึกอบร่ม การค้้นคว้าวิจััย การ่เผยแพื่ร่่ความรู้้ทางวิชาการ่ แลื่ะการ่พื่ัฒนาบุคลื่ากร่

ด้้านเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศแลื่ะอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ

(๔) ด้้านการ่ป็ร่ะสานความร่่วมม่อด้้านเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศแลื่ะอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ กับหน่่วยงานขัองรััฐ

สถาบันการศึึกษา แลื่ะภาคเอกชน ทังในป็ร่ะเทศแลื่ะต่างป็ร่ะเทศ

(๕) ด้้านการ่เป็็นศูนย์ข้้อมูลื่ความรู้้ด้้านเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศแลื่ะอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ ให้้แก่กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม

แลื่ะหน่่วยงานขัองรััฐเพื่่อใช้ในการ่กำห้นด่นโยบายแลื่ะแผนการ่พื่ัฒนา

กร่ะทร่วงกลื่าโห้มได้้ร่่วมม่อกับสำนักงานคณะกร่ร่มการส่่งเสริิมการ่ลื่งทุนในการ่ออกป็ร่ะกาศคณะกร่ร่มการส่่งเสริิมการ่

ลื่งทุน ที ส.๒ /๒๕๖๑ เร่่อง การ่ให้้การส่่งเสริิมการ่ลื่งทุนอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ (ป็ร่ะกาศ ณ วันที ๘ มิถุนายน ๒๕๖๑)

เพื่่อส่งเสริิมอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศขัองป็ร่ะเทศไทย โด่ยเน้นการวิิจััยแลื่ะพื่ัฒนาให้้สามาร่ถขัยายผลื่ไปสู่่การ่พื่ัฒนาเทคโนโลื่ยี

สองทาง (Dual Use Technology) ซ่่งจัะเป็็นป็ร่ะโยชน์ต่อการ่พื่ัฒนาป็ร่ะเทศ ทังในด้้านความมันคงแลื่ะสามาร่ถต่อยอด่ไปสู่่

การ่พื่ัฒนาอุตสาห้กร่ร่มอ่น ๆ ได้้โด่ยกำห้นด่ป็ร่ะเภท เง่อนไขั สิทธิป็ร่ะโยชน์ ในห้มวด่ ๔ ผลื่ิตภัณฑ์์โลื่ห้ะ เคร่่องจัักร่ แลื่ะอุป็กรณ์์

ขันส่ง ค่อ

62

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


สำห้ร่ับแร่งขัับเคลื่่อนภายในกร่ะทร่วงกลื่าโห้ม ได้้นำนโยบายขัองผู้บังคับบัญชาร่ะดัับสูงทีต้องการ่ให้้ทุกหน่่วยงานขัอง

กร่ะทร่วงกลื่าโห้มส่งเสริิมกิจัการอ ุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศขัองไทย ด้้วยการมุ่่งเน้นเทคโนโลื่ยีเป้้าห้มายทีสอด่คลื่้องตามกร่อบ

ความร่่วมม่อขัองอาเซีียน ขัยายผลื่งานวิจััยพื่ัฒนาแลื่ะนวัตกร่ร่มทางทห้ารสู่่การ่ใช้ป็ร่ะโยชน์ เพื่่อผลื่ิตใช้งานในหน่่วยทห้าร่

เกิด่การ่พื่่งพื่าตนเอง ลื่ด่การ่พื่่งพื่ิงจัากต่างป็ร่ะเทศ แลื่ะขัยายผลื่เพื่่อการ่พื่าณิชย์ ตามขัอบเขัตทีกฎห้มายกำห้นด่ พื่ร่้อมทังให้้มี

การขึ้้นทะเบียนบัญชีนวัตกร่ร่มไทย โด่ยมีแผนป็ฏิิบัติการ่ด่้านการ่พื่ัฒนาศักยภาพื่ขัองป็ร่ะเทศด้้านความมันคง ร่ะยะที ๑ (พื่.ศ.

๒๕๖๓ – ๒๕๖๕) เป็็นเคร่่องม่อในการ่ขัับเคลื่่อนแลื่ะแป็ลื่งนโยบายไปสู่่การ่ป็ฏิิบัติ โด่ยทีเห้ลื่่าทัพื่จัะร่่วมกำห้นด่ความต้องการ่

ยุทโธป็กรณ์์ทีจัำเป็็นอย่างน้อยปีีลื่ะ ๑ ร่ายการ่ เพื่่อนำไปสู่่การวิิจััยแลื่ะผลื่ิตใช้ในร่าชการ่แนวทางการ่พื่ัฒนากิจัการอ ุตสาห้กร่ร่ม

ป้้องกันป็ร่ะเทศ

ทังนี บริิบทขัองอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศไทยมีองค์ป็ร่ะกอบขัองผู้มีส่วนได้้ส่วนเสีย ๓ ด้้าน กลื่่าวค่อ (๑) ด้้าน

อุุติสาหกรรมป้อุงกันประเทศ เป็็นการ่ด่ำเนินงานใน ๓ ส่วน ค่อ โร่งงานภาครััฐ เอกชน แลื่ะการ่ร่่วมทุน (๒) ด้้านการทหาร พื่ิจัาร่ณา

จัากร่ะบบงานภายใน การ่เสริิมสร้้างศักยภาพื่กำลื่ังร่บ การ่ด่ำเนินนโยบายจััด่ห้ายุทโธป็กรณ์์ แลื่ะการ่พื่ัฒนาบทบาทขัองกร่ะทร่วง

กลื่าโห้ม แลื่ะ (๓) ด้้านภาคประชาสังคม

พื่ิจัาร่ณาแนวคิด่สนับสนุนการ่ด่ำเนินงาน

ขัองกร่ะทร่วงกลื่าโห้มแลื่ะผลื่กร่ะทบต่อ

การ่ด่ำเนินกิจักร่ร่มในอุตสาห้กร่ร่มป้้องกัน

ป็ร่ะเทศ อีกทังพื่ิจัาร่ณาปััจัจััยทังในร่ะดัับ

ท้องถิน ร่ะดัับชาติ ร่ะดัับภูมิภาค แลื่ะร่ะดัับ

โลื่กถ่งแนวโน้มทิศทางขัองการอ ุตสาห้กร่ร่ม

ป้้องกันป็ร่ะเทศ การ่ตลื่าด่ แลื่ะแนวทาง

การ่ด่ำเนินการ่ขัองป็ร่ะเทศอ่น เพื่่อให้้

ทร่าบถ่งโอกาสแลื่ะอุป็สร่ร่คทีอาจัเกิดขึ้้น

ในอนาคต ซ่่งความสัมพื่ันธ์ขัององค์กร่

ด้้านอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศดัังภาพื่

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

63


พื่ร่้อมทังสามาร่ถสร้้างความสัมพื่ันธ์ขัองร่ะบบงานกร่ะทร่วงกลื่าโห้มกับห่่วงโซ่่คุณค่าอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศได้้ ดัังนี

ซ่่งจัากห่่วงโซ่่คุณค่าดัังกลื่่าว กร่ะทร่วงกลื่าโห้มจัะมีบทบาทในงานวิทยาศาสตร์์ เทคโนโลื่ยี อุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ ค่อ

(๑) บทบาทผู้ใช้งาน (User) ทีส่งเสริิมแลื่ะใช้ผลื่ิตภัณฑ์์อุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ

(๒) บทบาทผู้ควบคุมกิจักร่ร่มอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ (Controller) ทังด้้านมาตร่ฐานทางทห้าร่ การ่ควบคุมยุทธภัณฑ์์

แลื่ะโร่งงานผลื่ิตอาวุธขัองเอกชน

64

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


(๓) บทบาทผู้้ดำเนินการ่ด่้านการวิิจััยแลื่ะพื่ัฒนา (Operator – Researcher) ห้ร่่อต้นนำ ทีเน้นการ่ด่ำร่งสภาพื่ความพื่ร่้อม

ยุทโธป็กรณ์์ขัองกองทัพื่ไทยแลื่ะการ่ใช้เทคโนโลื่ยีขัันสูงต่อยอด่องค์ความรู่้ทีมีอยู่เพื่่อให้้เกิด่นวัตกร่ร่มใหม่่ทีนำไปสู่่การ่ใช้ป็ร่ะโยชน์

เชิงพื่าณิชย์

(๔) บทบาทผู้้ดำเนินการ่ด่้านการ่ผลื่ิต (Operator – Manufacturer) ห้ร่่อกลื่างนำ ในจัำนวนขัันตำเพื่่อใช้ในป็ร่ะเทศ

ในลื่ักษณะพึ่่งพื่าตนเอง แลื่ะผลื่ิตนวัตกร่ร่มเพื่่อการ่พื่าณิชย์ขันาด่ใหญ่่ (S-Curve 11) ในลื่ักษณะร่่วมงาน/ร่่วมทุนห้ร่่อโด่ย

ภาคเอกชน

(๕) บทบาทผู้ส่งเสริิมผู้ป็ร่ะกอบการ่แลื่ะเสริิมสร้้างความร่่วมม่อ (Promoter) ห้ร่่อป็ลื่ายนำ เป็็นการ่ด่ำเนินงานเพื่่อส่งเสริิม

ผู้ป็ร่ะกอบการ่ให้้มีความเข้้มแข็็งในร่ะบบนิเวศอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ

นอกจัากนี กร่ะทร่วงกลื่าโห้มจัะด่ำเนินการบ ูร่ณาการ่งานวิจััยแลื่ะพื่ัฒนา วิทยาศาสตร์์แลื่ะเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศ แลื่ะ

อุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ ดัังภาพื่

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

65


66

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน

ด้้วยการ่ขัับเคลื่่อนผ่านกลื่ไกขัองคณะกร่ร่มการ่

นโยบายด้้านวิทยาศาสตร์์ เทคโนโลื่ยี อุตสาห้กร่ร่มป้้องกัน

ป็ร่ะเทศ คณะกร่ร่มการว ิจััยแลื่ะพื่ัฒนาวิทยาศาสตร์์แลื่ะ

เทคโนโลื่ยีการ่ทห้าร่กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม คณะกร่ร่มการ่

มาตร่ฐานยุทโธป็กรณ์์กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม คณะกร่ร่มการ่

อุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศกร่ะทร่วงกลื่าโห้ม แลื่ะคณะ

กร่ร่มการ่นโยบายเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศ โด่ยมี

คณะทำงานประสานแผนการวิจััย การผลิติ และการส่งเสริม

เอุกชน โด่ยมีองค์ป็ร่ะกอบห้ลื่ักเป็็นฝ่่ายเลื่ขัาฯ ขัองทัง ๕

คณะกร่ร่มการ่ ผู้แทนสถาบันเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศ

เห้ลื่่าทัพื่ แลื่ะหน่่วยงานทีเกียวข้้อง


๓. การด้ำเนินกิจัการอุุติสาหกรรมป้อุงกันประเทศ กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม โด่ย สำนักงานป็ลื่ัด่กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม ได้้ด่ำเนิน

กิจัการอ ุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ ร่วมทังให้้การ่สนับสนุนภาคเอกชนด่ำเนินกิจัการอ ุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศเพื่่อผลื่ิตใช้ใน

ร่าชการ่แลื่ะเพื่่อการ่พื่าณิชย์ ด้้วยการ่ด่ำเนินกิจักร่ร่ม ดัังนี

3.๑ การส่งเสริมการติลาด้ภายในประเทศ ด้้วยการบ ูร่ณาการ่ความต้องการ่ในป็ร่ะเทศ ทังความต้องการย ุทโธป็กรณ์์

ขัองเห้ลื่่าทัพที่่ต้องการ่ตามอัตร่า แลื่ะความต้องการ่ขัองหน่่วยงานความมันคงนอกกร่ะทร่วงกลื่าโห้ม ห้ร่่อหน่่วยงานทีมีหน่่วยป็ร่าบ

ป็ร่ามตามกฎห้มาย อาทิ สำนักงานตำร่วจัแห่่งชาติ กร่ะทร่วงมห้าด่ไทย กร่ะทร่วงทรััพื่ยากร่ธร่ร่มชาติแลื่ะสิงแวด่ลื่้อม (กร่มป่่าไม้

กร่มอุทยานแห่่งชาติ สัตว์ป่่า แลื่ะพื่ันธุ์์พืืช แลื่ะกร่มทรััพื่ยากร่ทางทะเลื่แลื่ะชายฝึัง) กร่ะทร่วงการ่คลื่ัง (กร่มศุลื่กากร่ แลื่ะ

กร่มสร่ร่พื่สามิต) ให้้สามาร่ถวิจััยแลื่ะพื่ัฒนาอุป็กรณ์์เพื่่อนำสู่สายการ่ผลื่ิตแลื่ะเข้้าป็ร่ะจัำการ่ในเห้ลื่่าทัพื่ แลื่ะสร้้างแร่งจููงใจัแก่

ภาคเอกชนในการ่ลื่งทุนในป็ร่ะเทศ

3.๒ การผลิติเพั่อุลด้การพั่งพัาจัากต่่างประเทศ เพื่่อตอบสนองยุทธศาสตร์์ด้้านความมันคง โด่ยใช้เงินทุนหม ุนเวียน

๕ เงินทุน ในการ่ผลื่ิตเพื่่อขัายให้้กับเห้ลื่่าทัพื่ อาทิ การ่พื่ัฒนาสายการ่ผลื่ิตขัองผลื่งานวิจััยทีได้้รัับการ่พื่ัฒนาเห้ลื่่าทัพื่ลื่ะ ๑ โคร่งการ่,

การ่ผลื่ิตกร่ะสุน ขันาด่ ๒๓ มิลื่ลื่ิเมตร่ ชนิด่ TP/กร่ะสุน ขันาด่ ๓๐ x ๑๗๓ มิลื่ลื่ิเมตร่ ชนิด่ TP-T/ลืู่กปืืนกลื่ต่อสู้อากาศยาน

ขันาด่ ๓๗ มิลื่ลื่ิเมตร่ ชนิด่ฝึึก แลื่ะลืู่กปืืนต่อสู้อากาศยาน ๓๐ x ๑๗๓ มิลื่ลื่ิเมตร่ ชนิด่ฝึึก, การ่ผลื่ิตยาแลื่ะเวชภัณฑ์์ขัายให้้กับ

กองบัญชาการ่กองทัพื่ไทย เห้ลื่่าทัพื่ องค์การ่เภสัชกร่ร่ม แลื่ะส่วนร่าชการ่อ่น ๆ, การ่ผลื่ิตแบตเตอร่ีขัายให้้กองบัญชาการ่กองทัพื่ไทย

เห้ลื่่าทัพื่ การ่ร่ถไฟแห่่งป็ร่ะเทศไทย แลื่ะส่วนร่าชการ่อ่น ๆ, การ่พื่ัฒนาสายการ่ผลื่ิตปืืนเลื่็กยาว ขันาด่ ๕.๕๖ มิลื่ลื่ิเมตร่ แลื่ะ

บร่ร่จัุใช้ในร่าชการ่ ร่วมถ่งการ่ผลื่ิตยุทโธป็กรณ์์ห้ลื่ัก อาทิ ปืืนใหญ่่ ขันาด่ ๑๕๕ มิลื่ลื่ิเมตร่ อัตตาจัร่ลื่้อยาง (ATMG) แลื่ะ

เคร่่องยิงลืู่กร่ะเบิด่ ขันาด่ ๑๒๐ มิลื่ลื่ิเมตร่ แบบอัตตาจัร่ลื่้อยาง (ATMM)

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

67


3.๓ การสนับัสนุนผู้ประกอุบัการ ด้้วยการ่จััด่เวทีรัับฟังความคิด่เห็็นขัองผู้ป็ร่ะกอบการ่การ่แก้ไขักฎห้มายในส่วนขัอง

พื่ร่ะร่าชบัญญัติกฎกร่ะทร่วง แลื่ะป็ร่ะกาศกร่ะทร่วงกลื่าโห้ม ในการ่ควบคุมยุทธภัณฑ์์ขัองผู้ป็ร่ะกอบการ่ภาคเอกชน แลื่ะการ่

สนับสนุนให้้สถาบันเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศ เป็็นผู้แทนคู่เจัร่จัาในการ่ด่ำเนินการ่ตลื่าด่ร่ะหว่่างรััฐ ตลื่อด่จันการ่บริิห้าร่โคร่งการ่

ศูนย์บูร่ณาการ่ขั้อมูลื่ด่้านอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ ให้้แลื่้วเสร็็จัภายในเดืือนกันยายน ๒๕๖๕ โด่ยกองบัญชาการ่กองทัพื่ไทย

แลื่ะเห้ลื่่าทัพื่ สนับสนุนข้้อมูลื่ด่้านอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ เพื่่อเป็็นแห้ลื่่งข้้อมูลื่ในการ่วางแผนการ่พื่ัฒนาอุตสาห้กร่ร่มป้้องกัน

ป็ร่ะเทศ แลื่ะให้้เห้ลื่่าทัพื่ใช้ป็ร่ะโยชน์ในการ่เจัร่จัาร่ะดัับต่าง ๆ ร่วมถ่งสามาร่ถให้้ข้้อมูลื่ป็ร่ะกอบการ่ด่ำเนินธุรกิิจัแก่ผู้ป็ร่ะกอบการ่

68

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


3.๔ การสร้างโอุกาสด้้วยการขึ้้นบััญชีนวัติกรรม

หร่อุสิงประดิิษฐ์ แลื่ะการ่จััด่งาน Defense and

Security 2022 ในห้้วงเดืือนป็ลื่ายปีี พื่.ศ. ๒๕๖๕ เพื่่อ

ให้้หน่่วยงานต่าง ๆ ได้้เข้้าร่่วมกิจักร่ร่มแลื่ะป็ร่ะชาสัมพื่ันธ์

การส่่งเสริิมผู้ป็ร่ะกอบการ่ไทยให้้เป็็นที ยอมรัับในร่ะดัับ

สากลื่ ร่วมถ่งแสด่งศักยภาพื่อุตสาห้กร่ร่มขัองป็ร่ะเทศแลื่ะ

ขีีด่ความสามาร่ถในการ่แข่่งขัันขัองไทย

3.๕ การพััฒนาหน่วยรับผิิด้ชอุบั สำนักงาน

ป็ลื่ัด่กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม ในฐานะหน่่วยรัับผิด่ชอบห้ลื่ัก

ตามทีกำห้นด่ไว้ในพื่ร่ะร่าชบัญญัติจััด่ร่ะเบียบร่าชการ่

กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม พื่.ศ. ๒๕๕๑ ได้้ผลื่ักดัันพื่ร่ะร่าช

บัญญัติเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศ พื่.ศ. ๒๕๖๒ ให้้

มีผลื่ใช้บังคับตังแต่เมษายน ๒๕๖๒ ทำให้้กร่ะทร่วง

กลื่าโห้ม โด่ยสถาบันเทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศแลื่ะ

หน่่วยงานที เกียวข้้อง สามาร่ถด่ำเนินการ่ตังแต่ขััน

การ่ผลื่ิตจันถ่งจัำหน่่ายในเชิงพื่าณิชย์ตามขัันตอนขัอง

กฎห้มายแลื่ะร่ะเบียบทีเกียวข้้องต่อไป็

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

69


3.๖ การพััฒนาเคร่อุขั้่ายทางวิชาการ การวิิจััยแลื่ะพื่ัฒนาเพื่่อไป็สู่อุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศจัะป็ร่ะสบความสำเร็็จัได้้จัำเป็็น

ต้องอาศัยความร่่วมม่อห้ลื่ายภาคส่วน ทังจัากสถาบันการศึึกษา หน่่วยงานขัองรััฐ แลื่ะภาคเอกชน เพื่่อบูร่ณาการ่องค์ความรู้้

จัากการว ิจััยแลื่ะพื่ัฒนาร่่วมกัน ซ่่งจัะนำไปสู่่การ่สร้้างนวัตกร่ร่มเทคโนโลื่ยี ทีสามาร่ถนำไป็ใช้ในการ่พื่ัฒนาป็ร่ะเทศได้้อย่างเป็็น

รููป็ธร่ร่มในอนาคตที สำคัญ ซ่่งจัากความก้าวหน้้าทางวิชาการ่ ทำให้้เกิด่ความรู้้แลื่ะเทคโนโลื่ยีใหม่่ ๆ ขั่นอยู่ตลื่อด่เวลื่า

กร่มวิทยาศาสตร์์แลื่ะเทคโนโลื่ยีกลื่าโห้ม ในฐานะเป็็นหน่่วยงานห้ลื่ักขัองกร่ะทร่วงกลื่าโห้ม ทีด่ำเนินการ่เกียวกับวิทยาศาสตร์์

เทคโนโลื่ยีแลื่ะการว ิจััยในเร่่องทีเกียวข้้องห้ร่่อส่งผลื่ต่อศักยภาพื่ขัองกองทัพื่ ร่วมถ่งพื่ัฒนาคุณภาพื่ชีวิตขัองป็ร่ะชาชนทีเพิ่่มขั่น

จึึงได้้มีการ่ป็ร่ะสานความร่่วมม่อแลื่ะพื่ัฒนาเครืือข่่ายกับ

หน่่วยงานทังภายในป็ร่ะเทศแลื่ะต่างป็ร่ะเทศอย่างต่อเน่อง

เพื่่อเพิ่่มพืู่นขีีด่ความสามาร่ถด้้านการวิิจััยแลื่ะพื่ัฒนา

โด่ยในปีีงบป็ร่ะมาณ พื่.ศ. ๒๕๖๔ ได้้ด่ำเนินการ่

ป็ร่ะสานความร่่วมม่อกับหน่่วยงานด้้านการศึึกษา การ่พื่ัฒนา

งานวิจััยแลื่ะภาคเอกชนภายในป็ร่ะเทศ จัำนวน ๔ หน่่วยงาน

ได้้แก่ มห้าวิทยาลื่ัยเกษตร่ศาสตร์์ จุุฬาลื่งกรณ ์มห้าวิทยาลื่ัย

กร่ะทร่วงการอุุด่มศ่กษา วิทยาศาสตร์์ วิจััยแลื่ะนวัตกร่ร่ม แลื่ะ

บริิษัท การ่ป็ิโตร่เลื่ียมแห่่งป็ร่ะเทศไทย จัำกัด่ (มห้าชน) ร่วมถ่ง

การ่แสวงห้าความร่่วมม่อกับมิตร่ป็ร่ะเทศต่าง ๆ ได้้แก่

สห้ร่ัฐอเมริิกา สาธาร่ณรััฐแอฟริิกาใต้ ญีปุ่่น แลื่ะสาธาร่ณรััฐ

เกาห้ลื่ี (เกาห้ลื่ีใต้)

70

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


3.๗ การกำหนด้มาติรฐานยุทโธปกรณ์ โด่ยอ้างอิง

จัากมาตร่ฐานสากลื่ เพื่่อให้้หน่่วยงานในสังกัด่กร่ะทร่วง

กลื่าโห้ม เห้ลื่่าทัพื่ แลื่ะหน่่วยงานภาครััฐแลื่ะเอกชน ใช้เป็็น

แนวทางในการวิิจััยพื่ัฒนา การ่ผลื่ิต ห้ร่่อการ่จััด่ห้าไว้ใช้

ในร่าชการ่ แบ่งเป็็นยุทโธป็กรณ์์ป็ร่ะเภทกร่ะสุน แลื่ะ

ยุทโธป็กรณ์์ร่ะบบยาน

ภาคพื้้นไร้้คนขัับ

3.๘ การรับัรอุงมาติรฐานยุทโธปกรณ์ ซ่่งจัะช่วยให้้ผลื่งานวิจััยแลื่ะพื่ัฒนา

สิงป็ร่ะดิิษฐ์ทางทห้าร่ แลื่ะนวัตกร่ร่มทีผลื่ิตขั่นเองได้้ภายในป็ร่ะเทศ สามาร่ถนำไป็

สนับสนุนแลื่ะส่งเสริิมอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ ให้้มีความเจัร่ิญก้าวหน้้า

ร่วมทังเป็็นการ่ป็ร่ะหยััด่งบป็ร่ะมาณการ่นำเข้้าอาวุธยุทโธป็กรณ์์จัาก

ต่างป็ร่ะเทศ โด่ยในปีีงบป็ร่ะมาณ พื่.ศ. ๒๕๖๔ ได้้รัับร่องมาตร่ฐานยุทโธป็กรณ์์

เสร็็จัสิน จัำนวน ๗ ร่ายการ่ แบ่งเป็็น (๑) ยุทโธป็กรณ์์ป็ร่ะเภทร่ถเกร่าะ

ลื่้อยาง จัำนวน ๓ ร่ายการ่ แลื่ะ (๒) ยุทโธป็กรณ์์ป็ร่ะเภทกร่ะสุนปืืน

จัำนวน ๔ ร่ายการ่

3.๙ การจััดตั้้งศูนย์ความร่วมมืือด้้านเทคโนโลยีปัญญาประดิิษฐ์และหุ่นยนต์์

(AI & Robotics) เพื่่อให้้เกิด่การ่ป็ร่ะสานงานแลื่ะร่่วมม่อกันด่ำเนินงานด้้าน

เทคโนโลื่ยีปััญญาป็ร่ะดิิษฐ์แลื่ะหุ่่นยนต์ ร่วมทังเทคโนโลื่ยีอ่น ๆ ทีเกียวข้้องร่ะหว่่าง

หน่่วยงานในสังกัด่กร่ะทร่วงกลื่าโห้มแลื่ะภาคพื่ลื่เรืือนในการวิิจััยแลื่ะพื่ัฒนา

ให้้ได้้ผลื่งานแลื่ะนวัตกร่ร่มสำห้ร่ับสนับสนุนการ่ด่ำเนินงานขัองหน่่วยงานด้้าน

ความมันคง แลื่ะหน่่วยงานด้้านอุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศ ร่วมทังป็ร่ะยุกต์

ใช้ในภาคพื่ลื่เรืือนอย่างเป็็นรููป็ธร่ร่ม ซ่่งจัะส่ง

ผลื่ด่ีต่อการ่พื่ัฒนาป็ร่ะเทศโด่ยร่วมส่บต่อไป็

โด่ยขัณะนีได้้ด่ำเนินการ่เกียวกับการ่ทด่สอบ

แลื่ะวิจััยห้ลื่ักการยืืนยันตัวตนในลื่ักษณะขัอง

การ่สร้้างเอกลื่ักษณ์แต่ลื่ะบุคคลื่ เพื่่อเป็็นป็ร่ะโยชน์

ด้้านการ่ร่ักษาความป็ลื่อดภััยสถานที โด่ยใช้

ห้ลื่ักการ่ขัองการ่รู่้จัำใบหน้้า (Face Recognition)

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

71


3.๑๐ การวิจััยและพััฒนาการผลิติอุาวุธปืนเล็กยาวต้้นแบับั ด้้วยการวิิจััยแลื่ะพื่ัฒนาการ่ผลื่ิตอาวุธปืืนเลื่็กยาวต้นแบบ

NARAC556 CARBINE ขันาด่ ๕.๕๖ มิลื่ลื่ิเมตร่ โด่ยด่ำเนินการวิิจััยแลื่ะพื่ัฒนาการ่ผลื่ิตอาวุธปืืนเลื่็กยาวต้นแบบ NARAC556

CARBINE ขันาด่ ๕.๕๖ มิลื่ลื่ิเมตร่ ทังนี ได้้นำความรู้้ดัังกลื่่าวมาทำการ่ทด่สอบแลื่ะป็ร่ะเมินผลื่การ่ใช้งานในการ่ป็ฏิิบัติภารกิิจั

ทางยุทธวิธีขัองหน่่วยทห้าร่ในกร่ะทร่วงกลื่าโห้ม เพื่่อเตรีียมการ่ขัยายผลสู ่อ ุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศอย่างมีป็ร่ะสิทธิภาพื่ต่อไป็

3.๑๑ การผลิติยาและเวชภัณฑ์์ นอกจัากการวิิจััยแลื่ะพื่ัฒนาเคร่่องม่อแลื่ะยุทโธป็กรณ ์ทางทห้าร่ด่ังกลื่่าวแลื่้ว สำนักงานป็ลื่ัด่

กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม โด่ยโร่งงานเภสัชกร่ร่มทห้าร่ ซ่่งถ่อเป็็นหน่่วยงานทีมีความสำคัญทังด้้านความมั นคงทางทห้าร่แลื่ะทางสาธาร่ณสุขั

แลื่ะเป็็นหน่่วยทีสนับสนุนการ่ผลื่ิตยาแลื่ะเวชภัณฑ์์ทีสำคัญแห่่งห้น่งขัองป็ร่ะเทศ

อันเป็็นห้ลื่ักป็ร่ะกันด้้านความมั นคง ซ่่งทีผ่านมาได้้

ผลื่ิตแลื่ะจัำหน่่ายยาแลื่ะเวชภัณฑ์์ให้้แก่ส่วนร่าชการ่

ในสังกัด่กร่ะทร่วงกลื่าโห้ม ส่วนร่าชการ่พื่ลื่เรืือน

แลื่ะรััฐวิสาหก ิจัอ่น เช่น สำนักงานคณะกร่ร่มการ่

อาห้าร่แลื่ะยา องค์การ่เภสัชกร่ร่ม ภาคเอกชน

แลื่ะป็ร่ะชาชนทั วไป็ ร่วมทังได้้ด่ำเนินการว ิจััยยา

Alprazolam Tablets ให้้แก่ สำนักงาน

คณะกร่ร่มการ่อาห้าร่แลื่ะยา เพื่่อป้้องกันการรั่่วไห้ลื่

ขัองวัตถุออกฤทธิต่อจิิตแลื่ะป็ร่ะสาท มีเป้้าห้มาย

ค่อ การ่ได้้สูตร่ตำห้ร่ับทีมีป็ร่ะสิทธิภาพื่ด่ี เพื่่อนำไป็

ศ่กษาความคงสภาพื่ขัองยาต่อไป็ อีกทังยังได้้ด่ำเนิน

การวิิจััยการ่ผลื่ิตยาจัากสมุนไพื่ร่ไทย การ่พื่ัฒนาการ่

ผลื่ิตยาแผนปััจัจัุบัน แลื่ะเวชภัณฑ์์ให้้มีคุณภาพื่

มีมาตร่ฐานเป็็นทียอมรัับซ่่งช่วยลื่ด่ภาร่ะในการ่

จััด่ห้ายาแลื่ะเวชภัณฑ์์จัากต่างป็ร่ะเทศได้้อีกทางห้น่ง

ด้้วย

ทังนี จัากมาตร่การต่่าง ๆ ทีกลื่่าวมาเช่อว่า งานด้้านวิทยาศาสตร์์เทคโนโลื่ยีป้้องกันป็ร่ะเทศ แลื่ะด้้านอุตสาห้กร่ร่มป้้องกัน

ป็ร่ะเทศขัองกร่ะทร่วงกลื่าโห้ม จัะสามาร่ถตอบสนองนโยบายขัองรััฐบาลที่่ ให้้อุตสาห้กร่ร่มป้้องกันป็ร่ะเทศเป็็นอุตสาห้กร่ร่ม

เป้้าห้มายที ๑๑ อย่างเป็็นรููป็ป็ร่ะธร่ร่ม อันจัะนำพื่าป็ร่ะเทศสู่ความมันคง มังคัง แลื่ะยังย่น

72

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


กลุ่่มงานที่่๗

ด้้านเทคโนโลยีีสารสนเทศ และไซเบอร์


สำนัักงานัปลััดกระทรวงกลัาโหม โดย กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ในฐานะ

หน่วยงานระดับนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่อสาร ไซเบอร์ และกิจการอวกาศของกระทรวงกลาโหม ได้ขับเคล่อน

การปฏิิบัติิของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้เป็นไปติามนโยบายของรัฐมนตรีีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะ

การเร่งรัดการพัฒนาขีดความสามารถทังในด้านกำลังพล เคร่องม่อ องค์ความร้้ และระบบบริหารจัดการในการปฏิิบัติิการ

ด้านไซเบอร์ เพ่อรองรับภััยคุกคามด้านไซเบอร์ทีมีผลกระทบต่่อความมันคงของชาติิอย่างต่่อเน่อง ติลอดจนให้การสนับสนุน

การดำเนินการด้านไซเบอร์ระดับประเทศ รวมทังบ้รณาการความร่วมม่อกับทุกภัาคส่วนทังภัายในและต่่างประเทศ

สำหรับงานในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ดำเนินการและพัฒนางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

และไซเบอร์ ดังนี

๑. การจััดทำแผนัปฏิิบััติิการ ได้มีการจัดทำแผนปฏิิบัติิการด้านต่่าง ๆ สนับสนุนแผนงานของกระทรวงกลาโหมสอดคล้องกับ

ยุทธศาสตร์์ด้านความมันคงภัายใต้้กรอบยุทธศาสตร์์ชาติิ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) เพ่อให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวง

กลาโหมนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิิบัติิงาน ได้แก่

๑.๑ แผนการพัฒนาด้านดิจิทัล กระทรวงกลาโหม (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)

๑.๒ แผนการพัฒนาด้านกิจการอวกาศ กระทรวงกลาโหม (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)

๑.๓ แผนการพัฒนาด้านไซเบอร์เพ่อความมันคงกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)

๒. ด้านัความมั นัคงปลัอดภััยสารสนัเทศแลัะไซเบัอร์ ดำเนินการพัฒนาให้สอดรับกับมาติรฐานความปลอดภััยระดับสากล

โดยได้ปรับปรุงการบริหารจัดการด้านความมันคงปลอดภััยสารสนเทศของการปฏิิบัติิงาน การให้บริการศ้นย์ข้อม้ล อินเทอร์เน็ติ

อีเมล เว็บไซต์์ และระบบเคร่อข่าย รวมถึงการรักษาความมันคงปลอดภััยทางไซเบอร์ จนได้รับัการรับัรองมาติรฐานั ISO

27001:2013 ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ซ่งเป็นัมาติรฐานัสำหรับัระบับัการจััดการความปลัอดภััยของข้อมูลั (Information Security

Management Systems หรือ ISMS) ท่ได้รับัการยอมรับัในัระดับัสากลั รวมทังรองรับการปฏิิบัติิงานติามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

ของรัฐบาลและพระราชบัญญัติิการรักษาความมันคงปลอดภััยไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒

74

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


๓. ด้านัสือสังคมออนัไลันั์ ในปัจจุบัน ส่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ถ่อเป็นช่องทางการติิดต่่อส่อสารและ

เผยแพร่ข้อม้ล ทีได้รับความนิยมอย่างมากในหม้่ประชาชน กลุ่มบุคคล หน่วยงานภัาครัฐ และภัาคเอกชน เช่น Facebook,

YouTube, Twitter, Instagram, TikTok และ Clubhouse โดยข้อม้ลทีมีการเผยแพร่ดังกล่าวนัน บ่อยครังทีมีการบิดเบ่อน

ข้อเท็จจริง หร่อนำเสนอข้อม้ลเพียงด้านเดียว สร้างความสับสนและความเข้าใจผิดให้แก่ผ้รัับข้อม้ล โดยเฉพาะข้อม้ลที กระทบต่่อ

สถาบันพระมหากษัตริิย์และความมันคงของประเทศได้ ดังนัน เพ่อเป็นการระงับยับยังการเผยแพร่ข้อม้ลทีไม่ถ้กต้้องในส่อ

สังคมออนไลน์ให้ได้อย่างทันท่วงที สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จึงได้ดำเนิินัการเฝ้้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลัในั

สือสังคมออนัไลันั์ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ สามารถติรวจพบการล่วงละเมิดสถาบันฯ ผ่านส่อสังคมออนไลน์ จำนวน ๔,๘๔๔

รายการ และได้ดำเนินการส่งข้อม้ลให้กระทรวงดิจิทัลเพ่อเศรษฐกิจและสังคม เพ่อดำเนินการในส่วนทีเกียวข้องต่่อไป

๔. ด้านกิิจัการอวกาศเพือความมันัคง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ได้จัดทำร่างแผนัการพัฒนัาด้านกิิจัการอวกาศ กระทรวงกลัาโหม พ.ศ. ๒๕๖๖ –

๒๕๗๐ โดยมุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีอวกาศของกระทรวง

กลาโหม ให้สามารถรองรับต่่อภััยคุกคามในทุกมิติิ และเป็นแนวทางในการแสวงหา

ความร่วมม่อระหว่างหน่วยงานทังภัายในและภัายนอกกระทรวงกลาโหม

ในการพัฒนางานด้านกิจการอวกาศของกระทรวงกลาโหมอย่างยังย่น ซึงมี

ความสอดคล้องติามบริบทด้านความมันคงในการใช้เทคโนโลยีอวกาศเพ่อการป้องกัน

ประเทศ การช่วยเหล่อประชาชน และการพัฒนาประเทศ ทังในด้านการศึกษา

นวัติกรรมเทคโนโลยีอวกาศ และการส่งเสริมอุติสาหกรรมและเศรษฐกิจอวกาศ

(Space Economy) ของไทยในอนาคติ

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

75


นอกจากนี ได้จัดทำร่างแผนับัริหารจััดการระบับัความมันัคง (NSC) ติามโครงการ

ระบับัดาวเท่ยมสำรวจัเพือการพัฒนัา (THEOS-2) โดยมีวัตถ ุประสงค์ เพ่อเป็นแนวทาง

การบริหารจัดการระบบความมันคงทีกระทรวงกลาโหม ได้รับมอบติามโครงการ THEOS-2

ทีมีความครอบคลุม การบริหารจัดการ โครงสร้างพ่นฐาน บุคลากร และงบประมาณให้

สามารถสนับสนุนภัารกิจติลอดอายุการใช้งานทางวิศวกรรมของดาวเทียมหลักได้อย่างมี

ประสิทธิภัาพ อีกทังเป็นแนวทางการปฏิิบัติิร่วมกันระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ เกียวกับการสังดาวเทียมหลักถ่ายพ่นทีในบริเวณ

ทีต้้องการ ซึงโครงการ THEOS-2 จะเป็นเคร่องม่อทีสำคัญของกระทรวงกลาโหม ในการ

สนับสนุนงานด้านการข่าวภั้มิสารสนเทศ การวางแผนทางยุทธการ และการวางแผนสนับสนุน

งานบรรเทาภััยพิบัติิ อาทิ อุทกภััย และไฟป่า

สำหรับการผลักดันการใช้งานดาวเทียมส่อสารโดยไม่มีค่าใช้จ่ายต่่อเน่อง

ติามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมส่อสารภัายในประเทศ ทีจะหมดอายุลงในเด่อน

กันยายน ๒๕๖๔ โดยมติิทีประชุมคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติิ ครังที ๑/๒๕๖๔

เม่อวันที ๑๒ พฤษภัาคม ๒๕๖๔ เห็นชอบให้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติิ จำกัด (มหาชน)

เป็นผ้้บริหารจัดการ โดยกระทรวงดิจิทัลเพ่อเศรษฐกิจและสังคมจะพิจารณาจัดทำข้อติกลง

และกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ รวมถึงการใช้วงจรดาวเทียมโดยไม่เสียค่าติอบแทน

ช่วยประสานความร่วมม่อระหว่างหน่วยในระดับกระทรวง เพ่อให้การเปลียนผ่านจากการ

บริหารจัดการในร้ปแบบเดิมไปส้่การบริหารจัดการการส่อสารผ่านดาวเทียมของหน่วยงานรัฐ

เป็นไปอย่างราบร่น และเป็นการแสวงหาความร่วมม่อ เพ่อพัฒนาขีดความสามารถในการ

ใช้งานดาวเทียมส่อสารในหน่วยงานภัาครัฐให้มีประสิทธิภัาพมากยิงขึน

76

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


ติลอดจนดำเนินการปรับปรุงเคร่อข่ายระบบบริหารราชการทัวไปของกระทรวงกลาโหม โดยใช้เทคโนโลยี SD–WAN

ซึงได้ติิดติังอุปกรณ์ให้กับหน่วยขึนติรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, หน่วยขึนติรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ รวมถึง

หน่วยงานด้านความมั นคงเพ่อรองรับระบบงานที สำคัญ ประกอบด้วย ระบบประชุมทางไกล ได้แก่ การประชุมคณะรัฐมนตร ี,

การประชุมสภัากลาโหม, การประชุมติิดติามสถานการณ์โรคโควิด-19 และการประชุมระหว่างประเทศ เป็นต้้น รวมทังระบบ

งานต่่าง ๆ อาทิ งานกำลังพล, งานระดมสรรพกำลัง, ข้อม้ลภั้มิสารสนเทศกลาโหม, ข้อม้ลเพ่อการบรรเทาสาธารณภััยกลาโหม,

งานบริการผ้รัับเบียหวัดบำนาญ, งานสนับสนุนของกรมพระธรรมน้ญ และการเช่อมโยงข้อม้ลระบบสารสนเทศด้านการส่งกำลัง

บำรุงร่วมของกองทัพไทย ซึงจะมีการเช่อมโยงข้อม้ลเพิมเติิมในอนาคติติ่อไป

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

77


กลุ่่มงานที่่8

ด้้านการพััฒนาประเทศ

ช่่วยเหลืือประช่าช่น


รััฐมนตรีีว่่าการักรัะทรัว่งกลาโหม ได้้มอบนโยบายให้้แก่่ส่่วนราชก่ารในสัังกััด้ก่ระทรวงก่ลาโห้มด้ำเนินก่าร

ด้้านก่ารพััฒนาประเทศและก่ารช่วยเหลืือประชาชน ซึ่่งเป็นหน้้าท่ท่ก่ำห้นด้ไว้ในรัฐธรรมนูญและก่ฎห้มายท่เก่่ยวข้้อง

โด้ยเน้นย้ำก่ารให้้ความส่ำคัญกัับก่ารสน ับสน ุนงานท่เป็นนโยบายข้องรัฐบาล และใช้ศัก่ยภาพัข้องทห้ารในก่ารด้ำเนินก่าร

เพัือประโยชน์ข้องประเทศและประชาชน อาทิ ก่ารส่่งเสร ิมก่ารอนุรัก่ษ์์ทรัพัยาก่รธรรมชาติิ ก่ารสร้้างส่ภาพัแวดล้้อมท่ดีี

เพัือพััฒนาคุณภาพัช่วิติให้้กัับประชาชน ติลอด้จนก่ารบูรณาก่ารร่วมกัับส่่วนราชก่ารหรืือหน่่วยงานท่เก่่ยวข้้องในก่าร

จัด้ก่ารความเส่่ยงจาก่ส่าธารณภัย โด้ยเฉพัาะก่ารป้องกัันและลด้ผลก่ระทบจาก่ส่าธารณภัย รวมทั้งก่ารให้้ความช่วยเหลืือ

ประชาชนได้้อย่างทันท่วงท่ ทั้งน่้ ให้้ส่่วนราชก่ารข้องก่ระทรวงก่ลาโห้มพััฒนาศัก่ยภาพัและข้่ด้ความส่ามารถข้อง

ก่ำลังพัล เครืองมือ และยุทโธปก่รณ์ให้้เป็นมาติรฐานส่าก่ล เพัือให้้ก่ารสนัับสน ุนก่ารป้องกัันและบรรเทาส่าธารณภัย

และก่ารช่วยเหล ือประชาชนเป็นไปอย่างม่ประสิิทธิภาพั ติลอด้จนเสร ิมสร้้างความร่วมมือกัับมิติรประเทศและองค์ก่าร

ระหว่่างประเทศในก่ารช่วยเหล ือด้้านมนุษ์ยธรรม และก่ารบรรเทาภัยพิิบัติิ ทั้งในก่รอบอาเซึ่่ยน และส่ห้ประชาชาติิ

โด้ยม่ภารกิิจก่ารพััฒนาประเทศก่ารช่วยเหลืือประชาชน และก่ารบรรเทาภัยพิิบัติิทั้งในประเทศและระหว่่างประเทศ

ท่ส่ำคัญ กล่่าวคือ

๑. พััฒนาปรัะเทศและการัช่่ว่ยเหลือปรัะช่าช่น

๑.๑ การัจััดทำบัันทึกข้้อตกลงคว่ามร่่ว่มมือ เรัือง การัรัับัซื้้อผลผลิตทางการัเกษตรัและการัสนับัสนุน

พัืนทีจัำหน่ายและกรัะจัายผลผลิตทางการัเกษตรั รัะหว่่างกรัะทรัว่งเกษตรัและสหกรัณ์์กับักรัะทรัว่งกลาโหม รัฐมนตรีี

ว่าก่ารก่ระทรวงก่ลาโห้ม กร ุณาให้้ความเห็็นชอบร่างบันทึึกข้้อติก่ลงฯ พร้้อมกัับมอบห้มายให้้ปลัด้ก่ระทรวงก่ลาโห้ม

เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึึกข้้อติก่ลงฯ ดัังกล่่าว โด้ยม่ผู้แทนจาก่ก่องบัญชาก่ารก่องทัพัไทย ก่องทัพับก่ ก่องทัพัเรือ

ก่องทัพัอาก่าศ องค์ก่ารส่งเคราะห์์

ทห้ารผ่านศึึกในพัระบรมราชูปถัมภ์

และส่ถาบันเทคโนโลย่ป้องกััน

ประเทศ ร่วมลงนามเป็นพัยาน ซึ่่ง

ปลัด้ก่ระทรวงก่ลาโห้มได้้ร่วมพิิธ่

ลงนามในบันทึึกข้้อติก่ลงฯ เมือวันท่

๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น.

นาฬิิก่า ณ ห้้องประชุมก่ระทรวง

เก่ษ์ติรและส่ห้ก่รณ์

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

79


๑.๒ การัจััดทำบัันทึกข้้อตกลงคว่ามร่่ว่มมือโครังการับัูรัณ์าการัเพัื อพััฒนาคุณ์ภาพัช่ีวิิตกลุ่มเปรัาะบัางรัายครััว่เรืือน

ปลัด้ก่ระทรวงก่ลาโห้ม ได้้เข้้าร่วมลงนามบันทึึกข้้อติก่ลงความร่วมมือฯ กัับ ๑๒ ส่่วนราชก่าร และ ๑ หน่่วยงาน โด้ยม่

วัตถุุประส่งค์เพัือบูรณาก่ารความร่วมมือในก่ารให้้ความช่วยเหลืือกลุ่่มเปราะบางให้้ครอบคลุมทุกมิิติิแบบองค์รวม และส่ามารถ

เข้้าถ่งสิิทธิ สวััส่ด้ิก่าร รวมทั้งพััฒนาคุณภาพัช่วิติก่ลุ่มเปราะบางให้้ครอบครัวมันคง ม่ความสุุข้ และพั่งตินเองได้้อย่างยังยืน ติลอด้จน

ม่ฐานข้้อมูลท่มีีการบูรณาก่าร โด้ยในส่่วนข้องก่ระทรวงก่ลาโห้ม คือ สนัับสน ุนก่ำลังพัลและยุทโธปก่รณ์ช่วยเหลืือกลุ่่มเปราะบาง

เพัือพััฒนาคุณภาพัช่วิติ ก่ารปรับปรุง/ซึ่่อมแซึ่มท่อยู่อาศัยและส่ภาพัแวดล้้อมท่เห้มาะส่ม ดีีขึ้้นติามศัก่ยภาพัข้องหน่่วย ทั้งน่้ มีีการ

ลงนามร่วมเมือวันท่ ๓ ม่นาคม ๒๕๖๔

๑.๓ การัช่่ว่ยเหลือเกษตรักรผู้้เลียงกุ้ง รัฐมนติร่ช่วย

ว่าก่ารก่ระทรวงก่ลาโห้ม ม่ความห่่วงใยต่่อส่ถานก่ารณ์ COVID-19

ท่มีีการระบาด้ระลอก่ใหม่่ในพื้้นท่ติลาด้กุ่้ง จังหวััด้ส่มุทรส่าคร

ซึ่่งเป็นติลาด้ใหญ่่ข้องอาห้ารทะเลไทย และส่่งผลก่ระทบ

ต่่อธุรกิิจอาห้ารทะเล รวมถ่งเก่ษ์ติรก่รผู้เล่้ยงกุ้้งท่ได้้รับ

ความเดืือดร้้อนไม่ส่ามารถข้ายผลผลิติได้้ โด้ยได้้กรุุณา

ส่ังก่ารให้้หน่่วยขึ้้นติรงก่ระทรวงก่ลาโห้ม ให้้ความช่วยเหลืือ

เก่ษ์ติรก่รผู้ท่ได้้รับผลก่ระทบ ซึ่่งส่ำนัก่งานปลัด้ก่ระทรวง

ก่ลาโห้ม ก่องบัญชาก่ารก่องทัพัไทย ก่องทัพับก่ ก่องทัพัเรือ

ก่องทัพัอาก่าศ และองค์ก่ารส่งเคราะห์์ทห้ารผ่านศึึกในพัระบรม

ราชูปถัมภ์ ได้้ด้ำเนินก่ารรับซึ่ื้อกุ้้งจาก่เก่ษ์ติรก่ร รวมทั้ง

ก่ารใช้ส่ือประชาสััมพัันธ์ข้องหน่่วยในทุกช่่องทาง ในห้้วงเดืือน

มก่ราคม ๒๕๖๔ โด้ยม่ยอด้ก่ารรับซึ่ื้อกุ้้งจาก่เก่ษ์ติรก่ร

จำนวนทั้งสิ้้น ๙,๓๔๔ กิิโลกรััม (๙.๓๔๔ ตััน) รวมเป็นเงิน

จำนวน ๒,๒๒๘,๔๙๐.- บาท

80

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


๑.๔ การัสนับัสนุนการัรัับัซื้้อผลผลิต

ทางการัเกษตรัเพัื อช่่ว่ยเหลือเกษตรักรัที ได้รัับั

ผลกรัะทบัจัากรัาคาตกตำปริิมาณ์ผลผลิตล้น

ตลาด เนืองจาก่เดืือนก่รก่ฎาคมถ่งเดืือนสิิงห้าคม

๒๕๖๔ ในพื้้นท่ภาคใต้้ประส่บปัญห้าราคาผลผลิติ

ทางก่ารเก่ษ์ติรติก่ติำเนืองจาก่ปริมาณผลผลิติ

ล้นติลาด้ ดัังนั้น หน่่วยขึ้้นติรงก่ระทรวงก่ลาโห้ม

ซึ่่งประก่อบด้้วย ส่ำนัก่งานปลัด้ก่ระทรวงก่ลาโห้ม

ก่องบัญชาก่ารก่องทัพัไทย ก่องทัพับก่ ก่องทัพัเรือ

ก่องทัพัอาก่าศ องค์ก่ารส่งเคราะห์์ทห้ารผ่านศึึก

ในพัระบรมราชูปถัมภ์ และส่ถาบันเทคโนโลย่ป้องกััน

ประเทศ ได้้ด้ำเนินก่ารส่ังซึ่ื้อมังคุด้ ม่จำนวนทั้งสิ้้น

๑๗๔,๙๑๒ กิิโลกรััม (๑๗๔.๙๑๒ ตััน) รวมเป็น

เงินจำนวน ๕,๒๔๗,๓๖๐.- บาท รวมทั้งให้้ก่าร

สนัับสน ุนพื้้นท่ส่ำหร ับจำหน่่ายและก่ระจายสิินค้า

ทางก่ารเก่ษ์ติร จำนวน ๔๒ พื้้นท่

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

81


๑.๕ การัจััดกิจักรัรัมช่่ว่ยเหลือปรัะช่าช่น เนืองใน

โอกาสวัันสถาปนากรัะทรัว่งกลาโหม ครับัรัอบั ๑๓๔ ปี

ส่ำนัก่งานปลัด้ก่ระทรวงก่ลาโห้ม โด้ย ส่ำนัก่นโยบายและ

แผนก่ลาโห้ม ได้้จัด้ก่ิจก่รรมช่วยเหล ือประชาชน เนื องใน

โอก่าสวัันส่ถาปนาก่ระทรวงก่ลาโห้ม ครบรอบ ๑๓๔ ปี

(๘ เมษ์ายน ๒๕๖๔) เมือวันท่ ๓๐ ม่นาคม ๒๕๖๔ ณ ลานภูธเรศ

ชุมชนแพร่่งภูธร เข้ติพัระนคร กรุุงเทพัฯ ซึ่่งได้้ก่ำห้นดรููปแบบ

ก่ารจัด้ก่ิจก่รรมไว้เป็น ๘ กิิจก่รรมหล ัก่ ประก่อบด้้วย

๑) ก่ารบริจาคโลหิิติ ๒) ก่ารบริก่ารตััด้ผม ๓) ก่ารมอบยาส่ามัญ

ประจำบ้าน ๔) ก่ารมอบชุด้เครืองมือช่าง ถังดัับเพลิิง และ

ด้วงไฟส่่องสว่่าง (ส่ปอร์ติไลท์) ๕) ก่ารฉ่ด้วัคซึ่่นป้องกััน

โรคพิิษ์สุ่นัขบ้้าให้้กัับสุุนัข้และแมว ๖) ก่ารส่าธิติก่ารทำ

เจลล้างมือ ๗) ก่ารมอบ

ถุงยังชีีพให้้กัับผู้ป่วยติิด้เตีียง

และ ๘) ก่ารแส่ด้งด้นตรีี โด้ยม่

ผู้เข้้าร่วมกิิจก่รรม จำนวนทั้งสิ้้น

๔๐๐ คน

82

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


๒. การับัรัรัเทาสาธารัณ์ภัยและภัยพิิบััติ

๒.๑ การัดำเนินงานภายในปรัะเทศ ก่ระทรวงก่ลาโห้ม ได้้จัด้ติั้งศูนย์บรรเทาส่าธารณภัยก่ระทรวงก่ลาโห้ม ศูนย์บรรเทา

ส่าธารณภัยก่องบัญชาก่ารก่องทัพัไทย และศูนย์บรรเทาส่าธารณภัยข้องเหล่่าทัพั เพัือติิด้ติามส่ถานก่ารณ์แจ้งเตืือนเห้ติุส่าธารณภัย

ให้้กัับศูนย์บรรเทาส่าธารณภัยก่องบัญชาก่ารก่องทัพัไทย และศูนย์บรรเทาส่าธารณภัยเหล่่าทัพั รวมทั้งได้้พััฒนาระบบภูมิส่ารส่นเทศ

เพัือก่ารบรรเทาส่าธารณภัยข้องก่ระทรวงก่ลาโห้ม (แผนท่ส่ถานก่ารณ์น้ำ) ร่วมกัับก่รมแผนท่ทห้าร เพัือใช้ในก่ารติิด้ติามส่ถานก่ารณ์

น้ำและแส่ด้งผลในรูปแบบแผนท่ส่ถานก่ารณ์น้ำ และจอแส่ด้งผลเชิงสถ ิติิ (Dashboard) โด้ยส่ามารถนำข้้อมูลมาประก่อบ

ก่ารติก่ลงใจข้องผู้บังคับบัญชา ติลอด้จนบูรณาก่ารฐานข้้อมูลหน่่วยขึ้้นติรงก่ระทรวงก่ลาโห้ม และเหล่่าทัพั รวมถ่งหน่่วยงาน

ท่เก่่ยวข้้องอย่างต่่อเนืองเพัือก่ารประส่านก่ารปฏิิบัติิกัับหน่่วยงานภายในและภายนอก่ก่ระทรวงก่ลาโห้ม ส่ำหรัับก่ารด้ำเนินก่ารท่

ส่ำคัญติามห้้วงเวลา ได้้แก่่ ก่ารติิด้ติามส่ถานก่ารณ์และแจ้งเตืือนส่ถานก่ารณ์ภัยพิิบัติิ ก่ารจัด้เจ้าหน้้าท่เวรติิด้ติามส่ถานก่ารณ์

ประจำ ณ ศูนย์บัญชาก่ารก่ระทรวงก่ลาโห้ม ทุกว ันในห้้วงเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. และจัด้เจ้าหน้้าท่รับผิด้ชอบนอก่เวลาราชก่าร

ติลอด้ ๒๔ ชัวโมง เพัือติิด้ติามส่ถานก่ารณ์ส่าธารณภัยและระบบก่ารแจ้งเตืือนภัยข้องหน่่วยงานท่เก่่ยวข้้อง โด้ยมีีการด้ำเนินงาน

ท่ส่ำคัญ ดัังน่้

๒.๑.๑ การัช่่ว่ยเหลือผู้ปรัะสบอุุทกภัย

๒.๑.๑.๑ ก่ารช่วยเหลืือผู้ประส่บอุทกภััยจากอิิทธิพัลพัายุโซึ่นร้อน “เตี้้ยนหมู่่” มีีสถานก่ารณ์ ๓๓ จังหวััด้

ประชาชนได้้รับผลก่ระทบกว่่า ๓๗๖,๖๗๔ ครัวเรือน ระหว่่างวันท่ ๒๓ กัันยายน ถ่งวันท่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๔

๒.๑.๑.๒ ก่ารช่วยเหลืือผู้ประส่บภัยน้ำท่วมฉับพลััน น้ำไห้ลห้ลาก่ ดิินส่ไลด์์ และวาตภััย ระหว่่าง

วันท่ ๗ ถ่งวันท่ ๒๖ ตุุลาคม ๒๕๖๓ ในพื้้นท่ ๑,๘๙๑ ห้มู่บ้าน ๔๕๒ ติำบล ๑๒๘ อำเภอ ๓๔ จังหวััด้ ประชาชนได้้รับผลก่ระทบ

๗๓,๐๒๔ ครัวเรือน ม่ผู้เสีียช่วิติ ๔ ราย บาด้เจ็บ ๓ ราย

๒.๑.๑.๓ ก่ารช่วยเหลืือผู้ประส่บภัยน้ำท่วมฉับพลััน น้ำไห้ลห้ลาก่ ดิินส่ไลด์์ และวาตภััยในพื้้นท่ภาคใต้้

ระหว่่างวันท่ ๒๕ พัฤศจิก่ายน ถ่งวันท่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๓ ในพื้้นท่ ๔,๑๒๗ ห้มู่บ้าน ๕๖๐ ติำบล ๑๐๑ อำเภอ ใน ๑๑ จังหวััด้

ประชาชนได้้รับผลก่ระทบ ๕๕๔,๙๔๗ ครัวเรือน ม่ผู้เสีียช่วิติ จำนวน ๒๑ ราย

โด้ยท่ ศูนย์บรรเทาส่าธารณภัยก่ระทรวงก่ลาโห้ม ได้้ติิด้ติามส่ถานก่ารณ์ส่าธารณภัยอย่างใกล้้ชิด้

และได้้นำศัก่ยภาพัรวมถ่งข้่ด้ความส่ามารถข้องหน่่วยพร้้อมให้้ก่ารสนัับสนุุนส่่วนราชก่าร และช่วยเหลืือผู้ประส่บภัยโด้ยทันท่

อย่างเต็็มก่ำลังความส่ามารถ เพัือป้องกัันและลด้

ผลก่ระทบจาก่ส่าธารณภัยท่เกิิด้ข้่้น ติลอด้จนบรรเทา

ความเดืือดร้้อนข้องประชาชน โด้ยได้้จัด้ก่ำลังพัล

หม ุนเว่ยนปฏิิบัติิหน้้าท่ให้้ก่ารช่วยเหล ือประชาชน

รวมทั้งยุทโธปก่รณ์ท่ส่ำคัญ อาทิ รถยนต์์บรรทุก่ข้นาด้

ต่่าง ๆ รถขุุด้ติัก่ รถครัวส่นาม รถประปาส่นามส่ะพัาน

ชนิด้ติ่าง ๆ เรือชนิด้ติ่าง ๆ เรือผลัก่ด้ันน้ำ อาก่าศยาน

ไร้คนขัับ รวมทั้งมีีการจัด้เจ้าหน้้าท่ช่วยเหลืือดููแลและ

ฟ้นฟูบ้านเรือนประชาชนท่ประส่บอุทกภััย ในพื้้นท่

ภาคติะวันออก่เฉ่ยงเหนืือ ภาคก่ลาง และภาคใต้้

รวมถ่งก่ารจัดชุุดช่่างเข้้าไปซึ่่อมแซึ่มบ้านเรือน

ท่ประส่บภัยพิิบัติิ ติลอด้จนแจกจ่่ายอาห้าร น้ำด้ืม และ

จัดช ุด้แพัทย์ดููแลประชาชน

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

83


๒.๑.๒ การัสนับัสนุนการัแก้ไขปััญหาไฟป่า

หมอกควัันและฝุุ่่นละอองข้นาดเล็ก (PM 2.5) จัด้เตรีียมก่ำลังพัล

ยานพัาห้นะ อาก่าศยาน เครืองมือส่ือส่าร และยุทโธปก่รณ์ท่

จำเป็นอืน ๆ พร้้อมให้้ก่ารสน ับสนุุนและประส่านก่ารปฏิิบัติิ

อย่างใกล้้ชิด้ก่ับหน่่วยงานท่เก่่ยวข้้องในพื้้นท่รับผิด้ชอบ

จัดช ุด้ลาด้ติระเวนเฝ้้าติรวจและชุด้ด้ับไฟป่า โด้ยส่นธิก่ำลังร่วม

กัับหน่่วยงานในพื้้นท่

84

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


ทังนี ส่ำหรัับก่ารด้ำเนินก่ารข้องศูนย์บรรเทาส่าธารณภัยก่ระทรวงก่ลาโห้ม ศูนย์บรรเทาส่าธารณภัย ก่องบัญชาก่ารก่องทัพัไทย

และศูนย์บรรเทาส่าธารณภัยข้องเหล่่าทัพั ซึ่่งส่ำนัก่งานปลัด้ก่ระทรวงก่ลาโห้ม โด้ย ก่รมก่ารเงินก่ลาโห้ม รับผิด้ชอบในก่ารเบิกจ่่าย

เงินทด้รองราชก่าร เพัือช่วยเหลืือผู้ประส่บภัยพิิบัติิก่รณ่ฉุก่เฉิน หรืือสนัับสน ุนก่ารให้้ความช่วยเหลืือผู้ประส่บภัยติามระเบ่ยบ

ก่ระทรวงก่ารคลังฯ ในวงเงิน ๕๐ ล้านบาท ซึ่่งก่รมก่ารเงินก่ลาโห้ม จัด้ส่รรเงินเหล่่าน่้ให้้กัับหน่่วยท่ออก่ไปช่วยเหลืือผู้ประส่บ

ภัยพิิบัติิข้องศูนย์บรรเทาส่าธารณภัยท่รับผิด้ชอบในแต่่ละภารกิิจ ซึ่่งในปีงบประมาณ พั.ศ. ๒๕๖๔ มีีการจัด้ส่รรจำนวนเงินติาม

ก่ารช่วยเหลืือแบ่งเป็นหน่่วยต่่าง ๆ ดัังน่้

๑) เงินทด้รองราชก่ารเพัือช่วยเหลืือผู้ประส่บภัยพิิบัติิก่รณ่ฉุก่เฉิน จำนวน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ยอดค่่าใช้จ่าย

๔๐,๕๘๐,๖๙๐.๒๓ บาท คิด้เป็นร้อยละ ๘๑.๑๖ คงเหลืือ ๙,๔๑๙,๓๐๙.๗๗ บาท คิด้เป็นร้อยละ ๑๘.๘๔

๒) ยอด้ก่ารใช้จ่ายจำแนก่ติามหน่่วยงาน ยอด้เงินทด้รองราชก่าร ๕๐,๐๐๐,๐๐๐.- บาท ก่ารใช้จ่ายรายละเอ่ยด้

ติามติาราง คงเหลืือเงินทด้รองราชก่าร ณ วันท่ ๓๐ กัันยายน ๒๕๖๔ เป็นจำนวนเงิน ๙,๔๑๙,๓๐๙.๗๗ บาท

หน่ว่ย ยอดการัใช่้จั่าย (บัาท) รั้อยละข้องว่งเงิน

บัญชาก่ารก่องทัพัไทย 1,120,497.67 2.24

ก่องทัพับก่ 32,760,843.69 65.52

ก่องทัพัเรือ 5,059,678.87 10.12

ก่องทัพัอาก่าศ 1,639,670.00 3.28

รัว่ม 40,580,690.23 81.16

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

85


๒.๒ คว่ามร่่ว่มมือรัะหว่่างปรัะเทศ

๒.๒.๑ การัดำเนินงานคว่ามร่่ว่มมือด้านคว่ามมันคงในกรัอบัอาเซื้ียน เป็นก่ารประชุม ASEAN Technical

Working Group on Civil–Military Coordination (TWG–CIMIC) ครั้งท่ ๑๒ เมือวันท่ ๑๘ กุุมภาพัันธ์ ๒๕๖๔ ผู้เข้้าร่วม

ก่ารประชุมประก่อบด้้วยผู้เข้้าร่วมก่ารประชุมฯ ประก่อบด้้วย ผู้แทนส่ำนัก่เลข้าธิก่ารอาเซึ่่ยน (ASEAN Secretariat: ASEC)

ศูนย์ประส่านงานอาเซึ่่ยนเพัื อก่ารช่วยเหล ือด้้านมนุษ์ยธรรมและก่ารจัด้ก่ารภัยพิิบัติิ (AHACentre) ผู้แทนประเทศส่มาชิก่

อาเซึ่่ยนทั้งพัลเรือนและทห้ารท่เก่่ยวข้้องกัับก่ารช่วยเหลืือทางมนุษ์ยธรรม บรรเทาส่าธารณภัย (Humanitarian Assistance

& Disaster Relief: HADR) ส่ำหรัับฝ่่ายไทย

ประก่อบด้้วย ผู้แทนส่ำนัก่งานปลัด้ก่ระทรวง

ก่ลาโห้ม (ส่ำนัก่นโยบายและแผนก่ลาโห้ม) และผู้แทน

ก่รมป้องกัันและบรรเทาส่าธารณภัย ก่ระทรวง

มห้าด้ไทย โด้ยม่วัตถ ุประส่งค์ เพัือแลก่เปล่ยน

ความคิด้เห็็นด้้านก่ารให้้ความช่วยเหลืือด้้าน

มนุษ์ยธรรม และก่ารบรรเทาภัยพิิบัติิ (HADR)

ภายใต้้ก่ลไก่ความติก่ลงอาเซึ่่ยนว่าด้้วยก่ารจัด้ก่าร

ภัยพิิบัติิและติอบโต้้ส่ถานก่ารณ์ฉุก่เฉิน (ASEAN

Agreement on Disaster Management and

Emergency Response: AADMER)

ทั้งน่้ ผลก่ารประชุมท่ประชุม

รับทราบความคืบหน้้าพััฒนาก่ารข้องความร่วมมือด้้าน

HADR ภายใต้้ก่ลไก่ AADMER โด้ยประธาน

ร่วมคณะทำงานก่ารเตรีียมความพร้้อมและติอบโต้้

ภัยพิิบัติิข้องคณะก่รรมก่ารอาเซึ่่ยนด้้านก่ารจัด้ก่าร

ภัยพิิบัติิ (ASEAN Committee on Disaster

Management: ACDM)

86

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


๒.๒.๒ การัปรัะชุุม ASEAN Defence Ministers Meeting Plus Experts’ Working Group on

Humanitarian Assistance and Disaster Relief (ADMM-Plus EWG on HADR) ครัังที ๑๖ เป็นก่ารประชุมระหว่่าง

วันท่ ๒๘ ถ่งวันท่ ๒๙ เมษ์ายน ๒๕๖๔ ผู้เข้้าร่วมก่ารประชุมประก่อบด้้วย ผู้แทนประเทศส่มาชิก่อาเซึ่่ยนและประเทศคู่เจรจา รวมทั้ง

องค์ก่รระหว่่างประเทศท่เก่่ยวข้้อง โด้ยในส่่วนข้องก่ระทรวงก่ลาโห้มม่ผู้แทนส่ำนัก่นโยบายและแผนก่ลาโห้ม ก่องบัญชาก่ารก่องทัพัไทย

และก่องทัพัเรือ เข้้าร่วมประชุม โด้ยม่วัตถ ุประส่งค์เพัือแลก่เปล่ยนข้้อมูล และทบทวนผลก่ารด้ำเนินงานติามแผนก่ารปฏิิบัติิงาน

คณะทำงานผู้เช่ยวชาญด้้านก่ารให้้ความช่วยเหล ือด้้านมนุษ์ยธรรมและก่ารบรรเทาภัยพิิบัติิ ในก่รอบความร่วมมือรัฐมนติร่ก่ลาโห้ม

อาเซึ่่ยนกัับรัฐมนติร่ก่ลาโห้มประเทศคู่เจรจา

ทั้งน่้ ผลก่ารประชุมและก่ารแลก่เปล่ยน

ประส่บก่ารณ์ในก่ารบรรเทาภัยพิิบัติิ โด้ยเฉพัาะ

ส่ถานก่ารณ์ก่ารแพร่่ระบาด้ข้องโรคโควิด้-19

ผู้แทนประเทศส่มาชิก่อาเซึ่่ยนได้้ให้้ข้้อเส่นอแนะ

อันเป็นประโยชน์ต่่อก่ารปรับปรุงมาติรฐาน

วิธ่ปฏิิบัติิในก่ารช่วยเหลืือด้้านมนุษ์ยธรรมและ

ก่ารจัด้ก่ารภัยพิิบัติิ

๒.๒.๓ การัปรัะชุุม ASEAN Technical Working Group on Civil – Military Coordination (TWG –

CIMIC) ครัังที ๑๓ เมือวัันที ๑๐ กันยายน ๒๕๖๔ ผู้เข้้าร่วมก่ารประชุม ประก่อบด้้วย ผู้แทนส่ำนัก่เลข้าธิก่ารอาเซึ่่ยน (ASEAN

Secretariat: ASEC) ศูนย์ประส่านงานอาเซึ่่ยนเพัือก่ารช่วยเหลืือด้้านมนุษ์ยธรรมและก่ารจัด้ก่ารภัยพิิบัติิ (ASEAN Coordinating

Centrefor Humanitarian Assistanceon Disaster Management: AHA Centre) ผู้แทนประเทศส่มาชิก่อาเซึ่่ยนทั้งพัลเรือนและ

ทห้ารท่เก่่ยวข้้องกัับ HADR ส่ำหรัับฝ่่ายไทย ประก่อบด้้วย ผู้แทนส่ำนัก่งานปลัด้ก่ระทรวงก่ลาโห้ม (ส่ำนัก่นโยบายและแผนก่ลาโห้ม)

และผู้แทนก่รมป้องกัันและบรรเทาส่าธารณภัย ก่ระทรวงมห้าด้ไทย โด้ยม่

วัตถุุประส่งค์ เพัือแลก่เปล่ยนความคิด้เห็็นด้้านก่ารให้้ความช่วยเหลืือด้้าน

มนุษ์ยธรรมและก่ารบรรเทาภัยพิิบัติิ (Humanitarian Assistance and

Disaster Relief: HADR) ภายใต้้ก่ลไก่ความติก่ลงอาเซึ่่ยนว่าด้้วยก่าร

จัด้ก่ารภัยพิิบัติิและติอบโต้้ส่ถานก่ารณ์ฉุก่เฉิน (ASEAN Agreement

on Disaster Management and Emergency Response: AADMER)

ทั้งน่้ ผลก่ารประชุมท่ประชุมรับทราบความคืบหน้้าก่ารด้ำเนินงาน

ความร่วมมือภายใต้้ความติก่ลงอาเซึ่่ยนว่าด้้วยก่ารบริห้ารจัด้ก่ารภัยพิิบัติิ

และก่ารติอบส่นองต่่อส่ถานก่ารณ์ฉุก่เฉิน (AADMER) และความร่วมมือ

ในก่รอบก่ารประชุมรัฐมนติร่ว่าก่ารก่ระทรวงก่ลาโห้มอาเซึ่่ยน (ADMM)

และรัฐมนติร่ว่าก่ารก่ระทรวงก่ลาโห้มอาเซึ่่ยน กัับรัฐมนติร่ว่าก่ารก่ระทรวง

ก่ลาโห้มอาเซึ่่ยนประเทศคู่เจรจา (ADMM–Plus)

ผลการดำำาเนิินิงานิ สำำานิักงานิปลัดำกระทรวงกลาโหม ๒๕๖๔

87


ปัจัฉิิมบัท

ผลจาก่ก่ารทุ่มเททั้งแรงก่ายและแรงใจข้องหน่่วยงานและก่ำลังพัลในสัังกััด้ส่ำนัก่งานปลัด้ก่ระทรวงก่ลาโห้มติลอดปีี

งบประมาณ พั.ศ. ๒๕๖๔ ท่ผ่านมา ทำให้้เกิิด้ผลเป็นรูปธรรมเชิงประจัก่ษ์์เป็นจำนวนมาก่ และก่ารได้้รับรางวัลและประก่าศ

เกีียรติิคุณในระดัับประเทศ รวมถ่งก่ารพััฒนาความร่วมมือในด้้านต่่าง ๆ กัับทั้งหน่่วยงานข้องรัฐและภาคเอก่ชน จ่งย่อมแส่ด้ง

ให้้เห็็นถ่งก่ารยอมรับข้องสัังคมต่่อข้่ด้ความส่ามารถและศัก่ยภาพัข้องส่ำนัก่งานปลัด้ก่ระทรวงก่ลาโห้มในนานากิิจ และยังเป็น

ก่ำลังส่่วนส่ำคัญในก่ารสนัับสนุุนรัฐบาลในก่ารแก้้ไขปััญห้าส่าธารณภัยและภัยพิิบัติิ จ่งทำให้้ประเทศไทยก้้าวล่วงพ้้นห้ลาก่ห้ลาย

วิก่ฤติก่ารณ์จนเป็นท่ยอมรับข้องนานาชาติิ

ส่ำนัก่งานปลัด้ก่ระทรวงก่ลาโห้ม ม่ความศรัทธาและมุ่งมันอย่างแรงกล้้า พร้้อมท่จะทุ่มเทแรงก่าย แรงใจ แรงส่ติิปัญญา

เพัือด้ำรงภารกิิจติามบทบาทหน้้าท่ และความรับผิด้ชอบ ติลอด้จนก่ารสนัับสน ุนรัฐบาลในก่ารแก้้ไขปััญห้าท่ม่ผลก่ระทบต่่อความ

มันคงข้องชาติิ และยืนยันเป็นท่แน่วแน่ว่าพร้้อมท่จะยืนหยััด้เป็นก่ำลังส่ำคัญข้องก่ระทรวงก่ลาโห้มและรัฐบาลไทยท่จะเดิินก้้าวข้้าม

ผ่านพ้้นวิก่ฤติติ่าง ๆ ไปพร้้อมกัับพั่น้องประชาชน รวมทั้งมุ่งมันในก่ารขัับเคลือนก่ารพััฒนาประเทศในมิติิต่่าง ๆ ภายใต้้วิสััยทัศน์

ข้องชาติิท่ว่า “ประเทศไทยม่ความมันคง มังคัง ยังยืน เป็นประเทศท่พััฒนาแล้ว ด้้วยก่ารยึึดหลััก่ปรัชญาข้องเศรษ์ฐกิิจพัอเพีียง”

เพัือธำรงไว้และเทิดทููนส่ถาบันพัระมห้าก่ษ์ัตริิย์ สร้้างความมันคงข้องชาติิ ด้ำรงความเป็นหลััก่ประกัันความปลอดภััยข้องประเทศ

พร้้อมทั้งพััฒนาประเทศ สร้้างความสุุข้ให้้แก่่สัังคมไทย สร้้างความเชือมันข้องพั่น้องประชาชน และด้ำรงไว้ซึ่่งเกีียรติิและศักดิ์์ศร่

ข้องประเทศในเวท่นานาชาติิสืืบไป ทั้งน่้เพัราะ

สำนักงานปลัดกรัะทรัว่งกลาโหม คือ ทหารัข้องพัรัะรัาช่าและปรัะช่าช่น

88

เสริิมสร้้าง และแบ่่งปััน


มุ่่ง มุ่่ง เสริิมุ่สริ้าง ความุ่มุ่่นคง ความุ่มุ่่นคง ธาริงชาติิ ํ

เอกริาช อธิปไติย ให้้เฉิิดฉิ่นท์์

พั่ฒนา พั่ฒนา กอเกิดส่ข กอเกิดส่ข ท์่กชีว่น

ริวมุ่ ริวมุ่ แบ่งปัน แบ่งปัน เสริิมุ่ค่ณคา เสริิมุ่ค่ณคา ปริะชาชน


สำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง

เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

http://opsd.mod.go.th

กลาโหม

เทิดำราชา

รักษ์์ราษ์ฎร์

ชาติิมันิคง

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!