01.07.2022 Views

E-Book หลักเมืองมิถุนายน 65

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สำนักงำนปลัดกระทรวงกลำโหม

หน่วยงำนนโยบำยและยุทธศำสตร์ควำมมั่นคง

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส า นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ปีที่ ๓๑ ฉบับที ่ ๓๗๕ หลักเมือง มิถุนำยน ๒๕๖๕

www.lakmuangonline.com


วันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี

เฉลิมพระชนม์ ราชินี ศรีไผท

ธ ธ เคียงองค์ พระทรงชัย ไอศูรย์

พระเกียรติก้อง ถิ่นไทย อันไพบูลย์

เรืองจารูญ เรืองจารูญ พระมิ่งขวัญ นิรันดร์กาล

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ พนักงานราชการ

และลูกจ้าง สังกัดกระทรวงกลาโหม


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor Consultants

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.วัันชััย เรืืองตรืะกููล

พล.อ.อ.สุุวิิชั จัันทปรืะดิิษฐ์์

พล.อ.ไพบููลย์ เอมพันธุ์ุ์

พล.อ.ยุทธุ์ศัักดิ์์ ศัศัิปรืะภา

พล.อ.ธุ์ีรืเดิชั มีเพียรื

พล.อ.ธุ์วััชั เกูษร์์อังกููรื

พล.อ.สััมพันธุ์์ บุุญญานันต์

พล.อ.อูดิ เบูืองบูน

พล.อ.สิิริิชััย ธุ์ัญญสิิริิ

พล.อ.วิินัย ภัททิยกุุล

พล.อ.อภิชัาต เพ็ญกิิตติ

พล.อ.กิิตติพงษ์ เกูษโกูวัิท

พล.อ.เสุถีียรื เพิมทองอินทร์์

พล.อ.วิิทวััสุ รืชัตะนันทน์

พล.อ.ทนงศัักดิ์์ อภิรัักษ์์โยธุ์ิน

พล.อ.นิพัทธุ์์ ทองเล็กู

พล.อ.สุุรืศัักดิ์์ กูาญจันรััตน์

พล.อ.ศิิริิชััย ดิิษฐ์กูุล

พล.อ.ปรีีชัา จัันทร์์โอชัา

พล.อ.ชััยชัาญ ช้้างมงคล

พล.อ.เทพพงศ์์ ทิพยจัันทร์์

พล.อ.ณััฐ์ อินทรืเจัรืิญ

ที่ปรึกษา

พล.อ.วัรืเกูียรืติ รืัตนานนท์

พล.อ.อ.สุฤษฎ์พงศั์ วััฒนวัรืางกููรื

พล.รื.อ.มนัสุวัี บููรืณัพงศั์ รื.น.

พล.อ.สุรืาวัุธุ์ รืัชัตะนาวัิน

พล.อ.สุนิธุ์ชันกู สุังขจัันทรื์

พล.อ.นุชัิต ศัรืีบูุญสุ่ง

พล.อ.จัิรืวัิทย์ เดิชัจัรืัสุศัรืี

พล.อ.อดิินันท์ ไชัยฤกูษ์

พล.อ.ไพบููลย์ วัรืวัรืรืณัปรืีชัา

พล.อ.ปรืะชัาพัฒน์ วััจันะรืัตน์

พล.ท.กูัมปนาท บูัวัชัุม

พล.ท.สุุรืศัักูดิิ์ วัรืรืณัสุมบููรืณั์

พล.ท.เจัษฎา เปรืมนิรืันดิรื

พล.ท.เรืิงฤทธุ์ิ์ บูัญญัติ

พล.ท.เดิชันิธุ์ิศั เหลืองงามขำา

พล.ท.สุมเกูียรืติ สุัมพันธุ์์

พล.ท.ภัทรืพล ภัทรืพัลลภ

พล.ท.รื่มเกูล้า ปั้นดิี

พล.ท.คมสุัน ศัรืียานนท์

พล.ท.จัิรืศัักูดิิ์ ไกูรืทุกูข์รืาง

พล.ท.ณััฐ์พล เกูิดิชัูชัื่น

พล.ต.ปพน ไชัยเศัรืษฐ์

พล.ต.พจัน์ เอมพันธุ์ุ์

พล.ต.ปรืะจัวับู จัันต๊ะมี

พล.ต.กูานต์นาท นิกูรืยานนท์

พล.ต.หญิง อิษฎา ศัิรืิมนตรืี

ผู้้อำำานวยการ

พล.ต.พัฒนชััย จิินตกูานนท์

รอำงผู้้อำำานวยการ

พ.อ.ชััยวััฒน์ สุวั่างศัรืี

พ.อ.จิิตนาถี ปุณัโณัทกู

กอำงจััดการ

ผู้้จััดการ

น.อ.กูฤษณ์์ ไชัยสุมบััติ

พ.อ.สุุวัเทพ ศิิริิสุรืณั์

พ.อ.สุาโรืจัน์ ธุ์ีรืเนตรื

ประจำำากอำงจััดการ

พ.อ.หญิง สิิริิณีี จังอาสุาชัาติ

พ.ท.ไพบููลย์ รุ่่งโรืจัน์

เหรัญญิก

พ.อ.หญิง พัชัรื์ศัรืัญย์ สุุนทรืาณัฑ์์

ฝ่่ายกฎหมาย

พล.ต.นิติน ออรุ่่งโรืจัน์

พิิสููจน ์อัักษร

พ.อ.หญิง ใจทิิพย์ อุไพพานิชั

กอำงบรรณาธิิการ

บรรณาธิิการ

น.อ.สููงศัักดิ์์ อัครืปรีีดีี รื.น.

รอำงบรรณาธิิการ

น.อ.วััฒนสิิน ปัตพี รื.น.

น.ท.หญิง ฉัันทนี บุุญปักษ์์

ผู้้ช่่วยบรรณาธิิการ

น.ท.หญิง กััญญารััตน์ ชููชัาติ รื.น.

ประจำำากอำงบรรณาธิิการ

พ.ท.หญิง ลลิดิา กล้้าหาญ

พ.ต.วััชัรืเทพย์ ปีตะนีละผลิน

รื.ต.หญิง ภัทชัญา นิตยสุุทธิ์์

พ.จั.อ.สุุพจน์์ นุตโรื

จั.ท.หญิง ศุุภรืเพ็ญ สุุพรืรืณั

กอำงบรรณาธิิการ

กูองผลิตสุือ

สำำนัักูงานเลขานุกูารื

สำำนัักูงานปลัดิกูรืะทรืวังกูลาโหม

โทรื. ๐ ๒๒๒๕ ๘๒๖๒ โทรื.ทหารื ๕๒ ๕๒๐๑๐

สุามารืถีสุ่งขอมูลและแสุดิงควัามคิดิเห็นต่างๆ

ไดิที Email: Printing.opsd@gmail.com

ISSN 0858 - 3803

9 770858 380005


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor’s talk

สุวััสุดิีท่านผูอ่านทีเคารืพ พบูกูันในเดืือนมิถุุนายน เดืือนมหามงคล

ซึ่่งมีวัันเฉลิิมพรืะชันมพรืรืษาสุมเด็็จัพรืะนางเจ้้าฯ พรืะบูรืมรืาชิินี ตรืงกัับู

วัันที ๓ มิถุุนายนของทุกปีี

ตังแต่เรืาเผชิิญสุถีานกูารืณั์กูารืแพร่่รืะบูาดิของเชัือไวัรืัสุโคโรืนา 2019

(COVID-19) ตังแต่ปี พ.ศั.๒๕๖๒ จันมาถึึงปัจัจัุบััน นับูวั่ามีสััญญาณัทีดีีข่น

เป็นลำาดิับู จันเรืาเรืิมกลัับูมาใช้้ชีีวิิตใกล้้เคียงเกืือบูจัะเป็นปกติิกัันแล้้ว

เรืิมมีกูารืเปิดิกูารืเรีียนกูารืสุอนกัันเกืือบูจัะครืบูทุกูโรืงเรีียน ตองขอแสุดิง

ควัามยินดีีกัับน้้อง ๆ นักูเรีียน นักูศั่กูษา ทีจัะได้้กลัับูมาสุู่รืะบูบูสุังคม

กูารืศั่กูษาเต็มรููปแบูบู และเป็นกำำลัังใจัใหกูับูผูปกูครืองในกูารืเป็น ‘กูองหนุน’

ดููแลรัับู-ส่่งบุุตรืหลานของท่าน โดิยเฉัพาะในสัังคมเมือง ซึ่่งตองใช้้ควัามอดิทน

และตรืวัจัสุอบูกูารืจัรืาจัรื ลมฟ้้าอากูาศั ทีจัะตองวัางแผนกูารืเดิินทางมากูกูวั่า

ในพืนทีอืน ๆ และเมือกล่่าวัถี่งกูารืใช้้ชีีวิิตในสัังคมเมือง ในเดืือนทีผ่านมา

ทุกท่่านคงได้้ทรืาบูผลกูารืเลือกูตังผูว่่ารืาชักูารืกูรืุงเทพมหานครท่่านที ๑๗

กัันเรีียบูรือยแล้้ว ซึ่่งฉัายา “ผูแข็งแกูรื่งทีสุุดิในปฐพีี” คงไม่เกิินจัรืิงสำำาหรัับท่่าน

ในฐ์านะทีหลายหน่วัยงานของกูรืะทรืวังกูลาโหมมีทีตังอยู่ในพืนทีกูรืุงเทพฯ

พวักูเรืาในฐ์านะขารืาชักูารืทหารื ยินดีีสนัับูสุนุนกูารทำำางานของ กูทม.

เพือแก้้ไขปัญหา อำานวัยปรืะโยชน์์และควัามสุุขใหกูับูปรืะชัาชันอย่าง

เต็มควัามสุามารืถี รืวัมถึึงพืนทีต่างจัังหวััดิดิวัยเช่่นกััน

กลัับูมาทีสุถีานกูารืณั์กูารืแพร่่รืะบูาดิของเชัือไวัรืัสุ ทีกำำลัังเป็น

กูรืะแสุใหม่แทนเชัือไวัรืัสุโคโรืนา 2019 ทีกำำลัังลดิกูารืรืะบูาดิลงทัวัโลกู

โดิยไดิมีกูารค้้นพบูไวัรืัสุ “ฝีีดิาษลิง” อุบััติใหม่ ติดิจัากูสุัตว์์สู่่มนุษย์ พบูครืังแรืกู

เมือวัันที ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ ในสุหรืาชัอาณัาจัักูรื (ซึ่่งติดิมาจัากูปรืะเทศั

ไนจีีเรีีย) และกำำลัังเรืิมรืะบูาดิในหลายปรืะเทศัซึ่่งสุามารืถีติดิตามอ่านได้้

ในฉับูับูนี

สำำาหรัับูวัารืสุารืหลักูเมืองในฉับูับูนียังคงไว้้ซึ่่งเนือหาสุารืะอย่าง

ครืบูถีวัน ทังด้้านควัามรืูรือบตััวั รืวัมไปถึึงภาคต่อของสุายมู สุายธุ์รืรืมะ

และบูทควัามสุายบู๊๊ทางทหารืจัากูปรืะวััติศัาสุตร์์ไปสู่่แนวัโนมนวััตกูรืรืม

เทคโนโลยีทีจัะเกิิดิข่นในอนาคต หวัังว่่าจัะเป็นเพือนของท่านผูอ่านในยามว่่าง

ยามเดิินทาง หรืือยามพักผ่่อนได้้เป็นอย่างดีี แล้้วพบูกูันฉับูับูหนา พร้้อมเสีียงฟ้้า...

และสุายฝีน สุวััสุดิีครัับู

๑๒

พรืะบูาทสุมเด็็จัพรืะปรืเมนทรืมหาอานันทมหิดิล...

พรืะผูทรืงปรืะกูาศัชััยชันะของไทยในสุงครืามโลกูครืังที ๒

สุมเด็็จัพรืะนางเจ้้าสุุทิดิา พัชัรืสุุธุ์าพิมลลักูษณั พรืะบูรืมรืาชิินี

ตนแบูบูนายทหารืหญิง

เสุรืิมสิิริิมงคล สุะสุมแตมบุุญ รัับูพรืทัวัไทย (ตอนที ๒)

“เหล่าสุายบุุญ สุายมู”

๑๐

๓๐ มิถุุนายน ๒๕๖๕

๘ ปี วัันคลายวัันสุถีาปนาสำำนัักพััฒนารืะบูบูรืาชักูารืกูลาโหม

๑๒

“งานใตรื่มพรืะบูารมีี ๒๔๐ ปี กูรืุงรััตนโกูสุินทร์์ :

กูรืะทรืวังวััฒนธุ์รืรืมร่่วัมกัับูสุำนัักูงานปลัดิกูรืะทรืวังกูลาโหม

เปิดิใหเขาชัมพิพิธุ์ภัณัฑ์์ศัาลาว่่ากูารืกูลาโหม

เมือวัันที ๒๐ - ๒๔ เมษายน ๒๕๖๕”


๑๘

๓๒

๕๐

๒๒

๕๗

๑๔

รััฐ์บูาลมุ่งมันแกูปัญหาบูรืรืเทา

ควัามเดืือดิรือนปรืะชัาชันทุกูรืะดัับู

สุรืางควัามมันคงใหปรืะชัาชัน

มีชีีวิิตควัามเป็นอยู่ที ดีีข่น

๑๖

ภาพถ่่าย กัับู PDPA

๑๘

สมุุดิปกูขาวัของจีีน เรืือง “ควัามร่่วัมมือ

เพือกูารพััฒนารืะหว่่างปรืะเทศัของจีีน

ในยุคใหม่” (ตอนที ๕)

๒๒

“สุงครืามกัับอำำานาจัแหลมคม - War and

Sharp Power” Russia-Ukraine 2022

๒๖

ยุทธุ์กูารืเสืือดำำาสุมรภููมิเขาคอ ตอนที ๔

ทหารืพรืานไม่ทิงใครืไว้้แนวัหลัง

๓๔

๒๘

ขอสัังเกูตและสุิงทาทายสำำาหรัับู

กูองอำานวัยกูารืรืักูษาควัามมันคงภายใน

ภาค ๔ ส่่วันหนา ในกูารืแก้้ไขปัญหา

จัังหวััดิชัายแดินภาคใต (ตอนที ๒)

๓๒

สััญญาณัแรืง

๓๔

เปิดิปรืะตูสู่่เทคโนโลยีป้องกัันปรืะเทศั

กูารพััฒนาขีดิควัามสุามารืถีของเครืืองบิิน

ขับูไล่ยุคถััดิไป (6 th Generation Fighters)

๓๖

ครััวัยังยืนเพือนอง

๔๐

โครืงกูารืวัิจััยและพัฒนา

เครืืองคนหาและตรืวัจัจัับูสุัญญาณั

DTMF (C-IED) : Smart Jammer

๔๒

สัังคมไร้้เงินสุดิ

ขอคิดิเห็นและบูทควัามที นำาลงในวัารืสุารืหลักูเมืองเป็นของผูเขียน มิใช่่ขอคิดิเห็นหรืือนโยบูายของหน่วัยงานของรััฐ์ และมิไดิผูกพััน

ต่อรืาชักูารืแต่อย่างใดิ สำำนัักูงานเลขานุกูารืสุำนัักูงานปลัดิกูรืะทรืวังกูลาโหม ถีนนสุนามไชัย เขตพรืะนครื กูรืุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทรื./โทรืสุารื ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm

พิมพ์ที : บูรืิษัท ธุ์นอรุุณักูารพิิมพ์ จำำากูัดิ ๔๕๗/๖-๗ ถีนนพรืะสุุเมรุุ แขวังบูวัรืนิเวัศั เขตพรืะนครื กูรืุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทรื. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ โทรืสุารื ๐-๒๒๘๐-๒๑๘๗-๘

E-mail : thanaaroon19@gmail.com ออกูแบูบู : บูรืิษัท ธุ์นอรุุณักูารพิิมพ์ จำำากูัดิ

๕๒

๔๖

“3 NEW : สุิงทีคนไทยควัรืรืู เพือควัามอยู่่รอดิ

และควัามสำำาเร็็จัในชีีวิิตยุคหลังโควิิดิ-19

ท่ามกูลางกูารืกูำาเนิดิข่นของโลกูใหม่

บูนดิินแดินแห่ง METAVERSE” ตอนที ๓

๕๐

สุารืะน่ารืูทางกูารืแพทย์“โรืคฝีีดิาษลิง” น่ากลััวัแค่ไหน

๕๒

ภาษาอังกูฤษง่ายๆ สุไตล์ครููวัันดีี

อาเซึ่ียนพารืาเกูมส์์ ครืังที ๑๑

ณั เมืองโซึ่โล สุาธุ์ารืณัรืัฐอิินโดนีีเซึ่ีย

๕๔

แนะนำาอาวุุธุ์เพือนบ้้าน เครืืองบิินขนส่่งทางทหารื

ขนาดิหนักูแบูบูเอ-๔๐๐เอ็ม (A-400M)

๕๗

ปริิศันาอักูษรืไขว้้

๕๔

๕๘

มิติใหม่ในกูารืจััดิกูารืเรืืองรืาวัรืองทุกข์์

๖๐

ภาพกิิจักูรืรืม


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล...

พระผู้ทรงประกาศชัยชนะของไทยในสงครามโลกครั้งที ่ ๒

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ากย้อนอดีตกลับไปในยุคสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ประเทศไทย

ต้องถูกดึงให้เข้าร่วมสงครามอย่างไม่เต็มใจเนื่องจากทหาร

ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในหลายจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย

ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ทำให้รัฐบาลไทยที่มี หลวงพิบูลสงคราม

เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้ทหารไทยหยุดทำการรบต่อสู้กับทหาร

ญี่ปุ่นที่บุกเข้าประเทศไทยเยี่ยงโจร และตกลงใจยอมให้กองทัพญี่ปุ่น

เดินทัพผ่านประเทศไทยเพื่อเป็นเส้นทางเดินทัพไปรบกับฝ่าย

สัมพันธมิตรทางภาคใต้และภาคตะวันตก ซึ่งในเวลาต่อมารัฐบาล

ชุดดังกล่าวก็ได้ทำการลงนามใน “กติกาสัญญาทางทหารระหว่าง

ไทยกับญี่ปุ่น” และ “กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศ”

อันนำไปสู่การประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่ (อังกฤษ) และ

สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ โดยการอ้าง

พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และ

ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จำนวน ๒ ใน ๓ ท่าน ลงนาม

ในประกาศดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทน

พระองค์ และมิได้กราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร

มหาอานันทมหิดลทรงทราบแต่ประการใด ทั้งนี้เพราะอดีตนายก

รัฐมนตรีท่านดังกล่าวเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอิทธิพล และมีอ ำนาจในสมัยนั้น

ได้เข้ารวบอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน จัดสรรตำแหน่งสำคัญให้แก่

พวกพ้องและติดต่อกับผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นผู้รุกรานด้วย

สันถวไมตรีอันดีโดยมิได้สนใจต่อคำคัดค้านของบุคคลในรัฐบาล

และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกท่านหนึ่ง

แต่ก็ยังนับได้ว่าประเทศไทยยังโชคดีที่เอกอัครราชทูตไทย

ประจำสหรัฐอเมริกาสมัยนั้นคือ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

4

ไม่ยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย

และอนุญาตให้ญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นฐานปฏิบัติการในการบุกพม่า

และมลายู และไม่ยอมรับประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่ (อังกฤษ)

และสหรัฐอเมริกาฉบับดังกล่าว เพราะเข้าใจดีว่าการประกาศสงครามนี้

ขัดต่อเจตจำนงของคนไทยที่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการประกาศ

สงคราม จึงมิได้ยื่นต่อรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐอเมริกา

ไม่ได้ประกาศสงครามกับไทย ในขณะที่เอกอัครราชทูตไทยประจำ

อังกฤษกลับเสนอต่อรัฐบาลอังกฤษ และส่งผลให้อังกฤษประกาศ

สงครามกับไทยเป็นการตอบแทน

หลังจากนั้น คนไทยที่มีความเห็นต่างและตระหนักถึงความเสียหาย

ของประเทศ จึงได้ก่อตั้ง ขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement)

ในประเทศขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติกองทัพญี่ปุ่นและการดำเนินการ

ของรัฐบาล และในขณะเดียวกันพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง กลุ่ม

ข้าราชการ และชนชั้นนำของไทยที่พำนักอยู่ในต่างประเทศที่ไม่เห็น

ด้วย ก็ทำการเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน

ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๘๗ รัฐบาลชุดดังกล่าวพ่ายแพ้

การลงมติการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ๒ ฉบับ คือ ร่างพระราช

บัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดระเบียบบริหารราชการบริหารนครบาล

เพชรบูรณ์ ปีพุทธศักราช ๒๔๘๗ และ ร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราช

กำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล พุทธศักราช ๒๔๘๗ ในการประชุม

สภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้นายกรัฐมนตรีและคณะกราบถวายบังคม

ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๘๗ และมีการจัดตั้ง

รัฐบาลใหม่ส่งผลให้การดำเนินงานต่อต้านญี่ปุ่นของขบวนการเสรีไทย

ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นจนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงคราม

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ทั้งนี้ เรื่องที่น่าสนใจมากคือ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง

ประเทศไทยแถลงประกาศพระบรมราชโองการในพระปรมาภิไธย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เมื่อวันที่ ๑๖

สิงหาคม ๒๔๘๘ ว่าการประกาศสงครามของอดีตรัฐบาลในการเข้าร่วม

กับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาให้ถือ

เป็นโมฆะ เป็นการกระทำอันผิดจากเจตจำนงของประชาชนชาวไทย

และฝ่าฝืนขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และกฎหมายบ้านเมือง

ส่งผลทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากสถานะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม

เช่นเดียวกับญี่ปุ่น

ในเดือนกันยายน ๒๔๘๘ กองกำลังทหารอังกฤษ และทหารใน

เครือจักรภพ โดยเฉพาะจากอินเดียประมาณ ๒๐,๐๐๐ นาย ได้เดินทาง

เข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ต่อมา เมื่อวันที่ ๕

ธันวาคม ๒๔๘๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

เสด็จนิวัตพระนคร และในวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๙ ประเทศไทยได้

ทำสนธิสัญญาสันติภาพกับอังกฤษเป็นประเทศแรกโดยมีชื่อเรียกว่า

“ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อยุติภาวะสงคราม ระหว่างไทยกับ

บริเตนใหญ่และอินเดีย” จนนำมาสู่การลงนามในสนธิสัญญา

สันติภาพ “ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อยุติสถานะสงครามระหว่าง

สยามและฝ่ายสัมพันธมิตร (Formal Agreement for The Termination

of The State of War Between Siam and Allies)

เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๘๙ ณ สิงคโปร์ อันเป็นการยุติสถานะ

สงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง

ภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นแล้ว

กองกำลังทหารอังกฤษและอินเดียที่เป็นผู้ปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น ประสงค์

จะทำพิธีสวนสนามที่กรุงเทพฯ เพื่ออำลาประเทศไทย โดยมี พลเรือตรี

ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบทเทน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝ่าย

สัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหากทำเช่นนั้นแสดงว่า

ประเทศไทยเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ซึ่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

หัวหน้าเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา ได้เล่าไว้ในหนังสือ “ชีวลิขิต” ว่า

“...เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมสงบศึกในสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว

อังกฤษแจ้งมาว่าจะส่งทหารเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นประเทศไทย

รัฐบาลไทยได้ตอบไปว่า ไม่ต้องมาเพราะญี่ปุ่นวางอาวุธแล้ว

แต่อังกฤษก็ยังแข็งขืนส่งทหารเข้ามา โดยลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบทเทน

จะจัดสวนสนามทหารสหประชาชาติที่ถนนราชดำเนิน โดยตัวลอร์ด

หลุยส์ฯ จะขึ้นแท่นรับความเคารพ

เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้มีพระราช

กระแสรับสั่งกับนายกเสนีย์ว่า จะยอมให้รับลอร์ด หลุยส์ฯ ทำเช่นนั้น

ไม่ได้ เพราะจะเท่ากับว่าประเทศไทยถูกอังกฤษยึดครองแล้ว พระองค์

จะเสด็จฯ ไปในงานนั ้น และจะทรงขึ้นแท่นรับความเคารพด้วย

พระองค์เอง

ท่านนายกเสนีย์เล่าว่า ตัวลอร์ด หลุยส์ฯ นั้นดูจะไม่ค่อยพอใจ

เท่าใดนัก แต่ก็ยินยอม และให้ขบวนการเสรีไทยเข้าร่วมสวนสนาม

ต่อท้ายแถวทหารอังกฤษด้วย…”

ดังนั้น ในวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จ

พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล จึงเสด็จประทับยืนบนพระแท่น

ในเครื่องแบบจอมทัพไทย ทรงรับความเคารพหน้าเสาธงมหาราช

โดยมี พลเรือตรี ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบทเทน แม่ทัพใหญ่ฝ่าย

สัมพันธมิตรชาวอังกฤษ ยืนข้างพระแท่นที่ประทับ ร่วมรับการเคารพด้วย

ในฐานะผู้ร่วมชนะสงครามโลกครั้งที่สอง ณ ถนนราชดำเนินกลาง

กรุงเทพฯ รวมทั้งพระราชพิธีและรัฐพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์

ดังกล่าว จึงนับว่าเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญในการธำรงเกียรติ

ของประเทศไทย ในพระราชสถานะที่ทรงเป็นพระประมุข

และจอมทัพไทย ให้ชาวโลกได้รับทราบและร่วมถวายพระเกียรติ

ต่อพระมหากษัตริย์แห่งประเทศผู้ร่วมชนะสงครามโลกครั้งที่ ๒

ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคต

ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ผู้เขียน

จึงขอเรียนเชิญทุกท่าน พสกนิกรไทยทุกท่าน ร่วมน้อมเกล้าฯ รำลึก

ในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา

อานันทมหิดล พระผู้ทรงประกาศชัยชนะของไทยในสงครามโลก

ครั้งที่ ๒ และทรงปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติไทยเพื่ออนุชน

รุ่นต่อไปด้วยเทอญ

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

5


สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

ต้นแบบนายทหารหญิง

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

น่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ นับได้ว่า

เป็นหน่วยทหารที่มีภารกิจสำคัญ กล่าวคือ ทำหน้าที่วางแผน

อำนวยการ ประสานงาน บังคับบัญชา ควบคุม และกำกับดูแลการ

ปฏิบัติงานในการถวายอารักขา และถวายพระเกียรติองค์พระมหา

กษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อเป็น

เช่นนี้ ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย

รักษาพระองค์ จึงต้องเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย เป็นผู้

ที่มีภาวะผู้นำ และเป็นผู้ที่มีลักษณะทหารเป็นอย่างดีทั้งร่างกายและ

จิตใจ สามารถเป็นต้นแบบที่ดีของทหารในหน่วยและเป็นต้นแบบของ

ทหารทั่วไปให้บังเกิดศรัทธา และความภาคภูมิใจในการดำรงภารกิจ

ทางการทหาร

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความ

ปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ) ซึ่งนับว่าทรงดำรง

พระอิสริยยศและตำแหน่งที่สำคัญทางทหารรักษาพระองค์เป็นอย่างยิ่ง

ทั้งยังทรงเป็นราชองครักษ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ

ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ ในทุกพระราชกรณียกิจของพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปี่ยมล้นไปด้วยความเป็นทหาร ทั้งใน

ลักษณะทางทหาร ด้วยพระวรกายและพระราชหฤทัย ทรงดำรงพระองค์

ตามระเบียบวินัยทหาร ทั้งนี้เพราะทรงผ่านการศึกษาหลักสูตรสำคัญ

ทางทหาร และทรงดำรงตำแหน่งสำคัญทางทหารเป็นจำนวนมาก

อันประกอบด้วย

๑. หลักสูตรทางทหาร ทรงสำเร็จการศึกษา

- พ.ศ.๒๕๕๓ หลักสูตรวิชาทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

ของโรงเรียนและศูนย์ฝึกหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษา

พระองค์ และหลักสูตรการบินของหน่วยฝึกการบินพลเรือน กองทัพ

อากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna T 41

- พ.ศ.๒๕๕๔ หลักสูตรนายทหารชั้นนายร้อยและ

ชั้นนายพัน หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

ของโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ

- พ.ศ.๒๕๕๕ หลักสูตรการบินของ โรงเรียนการบิน

กองทัพอากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบิน แบบ CT-4E และ PC-9

- พ.ศ.๒๕๕๖ หลักสูตรหลักประจำ โรงเรียนเสนาธิการ

ทหารบก ชุดที่ ๙๑

6

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


- พ.ศ.๒๕๕๗ หลักสูตรหลัก

ประจำ วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ ๕๙

- พ.ศ.๒๕๕๙ หลักสูตรส่งทาง

อากาศ ของโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์

สงครามพิเศษ หลักสูตรส่งทางอากาศนาวิก

โยธิน ของโรงเรียนทหารนาวิกโยธิน ด้วยการ

กระโดดร่มลงทะเลในเวลากลางคืนเป็นรุ่นแรก

โดยทรงเป็นนายทหารและนายทหารหญิง

พระองค์แรกที่ทำการฝึกหลักสูตรนี้ และ

หลักสูตร Combat Qualifying Course

Jungle Warfare ของ หน่วยทหารมหาดเล็ก

ราชวัลลภรักษาพระองค์

ทั้งนี้ ทุกหลักสูตรที่ทรงเข้ารับการศึกษา

ทรงมีความแข็งแรงและแข็งแกร่งทั้งพระวรกาย

และพระราชหฤทัย ทรงตั ้งพระทัยในการฝึก

จนได้รับคำชมเชยจากครูฝึกในทุกหลักสูตร

ด้วยทรงมีความมุ่งมั่น และเอาพระทัยใส่ใน

การฝึกจนสำเร็จ ด้วยผลการศึกษาดีเยี่ยม

๒. ตำแหน่งทางทหารที่ทรงดำรงตำแหน่ง

- พ.ศ.๒๕๕๓ รักษาราชการ นายทหารยุทธการ ฝ่าย

ยุทธการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็ก

ราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

กองกิจการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ สำนักงานฝ่าย

เสนาธิการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ

ราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด

- พ.ศ.๒๕๕๕ รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กราชวัลลภ

รักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ฯ และ

ผู้บังคับกองพันฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยฝึก

ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โรงเรียนทหารมหาดเล็ก

ราชวัลลภรักษาพระองค์ฯ

- พ.ศ.๒๕๕๖ รองผู้บังคับการ และผู้บังคับการโรงเรียน

ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และผู้บังคับการหน่วยฝึก

ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็ก

ราชวัลลภรักษาพระองค์ฯ

- พ.ศ.๒๕๕๗ เสนาธิการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภ

รักษาพระองค์ฯ

- พ.ศ.๒๕๕๘ ราชองครักษ์เวร

- พ.ศ.๒๕๕๙ รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวาย

ความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอก)

- พ.ศ.๒๕๖๐ รองสมุหราชองครักษ์ กรมราชองครักษ์ และ

รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

(อัตรา พลเอกพิเศษ)

ซึ่งจากพระปรีชาสามารถของพระองค์ที่ทรงดำรงตำแหน่ง

สำคัญทางทหาร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในพระราชสถานะ

ที่ทรงเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ทรงเป็นผู้บังคับหน่วยในระดับ

ต่าง ๆ และทรงเป็นนายทหารหญิงราชองครักษ์ที่แข็งแกร่ง

และเปี่ยมล้นด้วยพระปรีชาชาญ ทรงเพียบพร้อมไปด้วยภาวะผู้นำ

ของหน่วยทหาร และทรงเปี่ยมล้นไปด้วยความจงรักภักดีต่อพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งยังทรงเป็นต้นแบบนายทหารหญิงที่ดี

ของไทย ซึ่งพสกนิกรชาวไทยจะได้เคยเห็นกันจนชินตาที่พระองค์

เสด็จพระราชดำเนินเคียงข้างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โดยไม่ห่าง ในแทบทุกพระราชกรณียกิจ เป็นที่ซาบซึ้งของมวลหมู่

พสกนิกรชาวไทยสืบต่อมา

ในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ

ของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

ผู้เขียนจึงขอเรียนเชิญพสกนิกรไทยทุกท่านและทุกหมู่เหล่า ร่วมบ ำเพ็ญ

คุณงามความดีและร่วมจิตใจ น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและ

ถวายพระพรชัยมงคล ขอองค์สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ

พระบรมราชินี ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานด้วยเทอญ

เฉลิมพระชนม์ ราชินี ศรีไผท ธ เคียงองค์ พระทรงชัย ไอศูรย์

พระเกียรติก้อง ถิ่นไทย อันไพบูลย์ เรืองจำรูญ พระมิ่งขวัญ นิรันดร์กาล

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

7


เสริมสิริมงคล

สะสมแต้มบุญ รับพรทั

“เหล่าสายบุญ สายมู”

่วไทย (ตอนที ่ ๒)

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

นเดือนนี้ขอพาผู้อ่านทุกท่านไปกราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ ์สิทธิ์

วัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งน้อยคนนัก

ที่ไม่รู้จัก นั่นคือ วัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐาน

ของหลวงพ่อโสธร พระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพสักการะ

ของประชาชนทั่วทุกสารทิศ อลังการด้วยโบสถ์ริมน้ำบางปะกง

ที่โด่งดัง สวยงาม ขอพรใดก็สมหวังดังใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน

การเงิน เรื่องสุขภาพ การสอบแข่งขัน การประกวด ขอโชคลาภ

ขอให้แคล้วคลาดปลอดภัย ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่สำเร็จดังหวัง เหตุใด

ผู้คนจำนวนมากจึงมาสักการะ วันนี้เราจะพามาเที่ยวชมและ

กราบไหว้ขอพร...

ในอดีตมีประวัติเล่าขานกันมาว่า เมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

มีพระพุทธรูปลอยน ้ำมา ๓ องค์ที่แม่น้ำบางปะกง ซึ่งไม่มีผู้ใด

8

สามารถอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาบนฝั่งได้ ไม่ว่าจะทำวิธีใดก็ตาม

ใช้เชือกเส้นใหญ่ก็ขาด อีกทั้งยังเกิดกระแสน้ำปั่นป่วนเป็นที่น่า

อัศจรรย์ ทำให้พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ จมหายไป ชาวบ้านต่างกราบไหว้

การเกิดปาฏิหาริย์ในครั้งนั้น กระทั่งต่อมาพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์

ได้ผุดขึ้นในบริเวณต่าง ๆ กัน โดย องค์แรก ลอยไปผุดขึ้นที่คลองวัด

บางพลี จึงอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดบางพลีใหญ่ในจังหวัด

สมุทรปราการ นั่นคือ “หลวงพ่อโต วัดบางพลี” องค์ที่สอง ลอยไป

ที่บ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านตีอวนได้จึงอัญเชิญไป

ประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม ซึ่งรู้จักกันในนาม “หลวงพ่อวัด

บ้านแหลม” ส่วนองค์สุดท้าย ผุดขึ้นท่ี่แม่น้ำบางปะกง จึงทำพิธี

อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่วัดเสาธงทอนหรือวัดโสธรในปัจจุบัน และ

ได้ชื่อว่า “หลวงพ่อโสธร” หลวงพ่อโสธรเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


มีส่วนสูง ๖ ฟุต ๗ นิ้ว และหน้าตักกว้าง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว มีรูปทรง

สวยงาม จากข้อมูลของกรมศิลปากร พบว่า หลวงพ่อโสธรสร้างขึ้น

จากหินทรายแปดชิ้น แล้วพอกปูนทับเป็นองค์ และจากวัสดุและ

พุทธศิลป์คาดว่าเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น

ตามประวัตินั้นแต่แรก มีชื่อว่า “วัดหงษ์” เพราะมี “เสาหงส์”

อยู่ในวัด เป็นเสาสูงมียอดเป็นตัวหงส์อยู่บนปลายเสา ต่อมาหงส์บน

ยอดเสาหักตกลงมาเหลือแต่เสา และมีผู้เอาธงขึ้นไปแขวนแทน

จึงได้ชื่อว่า “วัดเสาธง” ครั้นเมื่อเสาธงหักเป็นสองท่อน จึงเรียก

ชื่อใหม่ว่า “วัดเสาธงทอน” ส่วนชื่อ “วัดโสธร” อันมีความหมายว่า

“บริสุทธิ์” และ “ศักดิ์สิทธิ์” นั้น เรียกตามพระนามของ พระพุทธ

โสธร หรือหลวงพ่อโสธร ซึ่งได้มาประดิษฐานในวัดนี้ ในภายหลัง

วัดโสธรฯ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ยกฐานะขึ้นเป็น

พระอารามหลวงชั ้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามว่า “วัดโสธรวราราม

วรวิหาร” เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๐๑

คำเล่าขานเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิปาฏิหาริย์ของ

หลวงพ่อโสธร ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ที่มีความศรัทธา และทำให้มี

ประชาชนจำนวนมากต่างหลั่งไหลเข้ามากราบไหว้และขอบารมีจาก

หลวงพ่อปกป้องคุ้มครอง หรือรักษาโรคให้แคล้วคลาด จนมีการ

เล่าขานกันต่อ ๆ มาว่า ใช้ขี้ธูป ดอกไม้บูชาที่แห้งเหี่ยวแล้ว และอธิษฐาน

หยดเทียน ขอน้ำมนต์จากหลวงพ่อมาทำยา ปรากฏว่าโรคหาย

จนกลายเป็นกิตติศัพท์โด่งดังไปทั่ว ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า

หลวงพ่อโสธรที่วัดแห่งนี้มี ๒ องค์ (องค์จริงและองค์จำลอง)

หลวงพ่อโสธรทั้งสององค์ ประดิษฐานอยู่ที่พระอุโบสถ วัดโสธร

วรารามวรวิหาร ซึ่งมีพระอุโบสถ ๒ หลัง คือ พระอุโบสถหลังใหม่

ประดิษฐานหลวงพ่อโสธรองค์จริง และพระอุโบสถที่อยู่ข้าง ๆ เป็น

ที่ประดิษฐานหลวงพ่อโสธรจำลอง โดยสามารถเข้ากราบไหว้

หลวงพ่อโสธรได้ทั้งสองพระอุโบสถ

สาเหตุที่ต้องสร้างหลวงพ่อโสธรจำลองขึ้นมานั้น เพื่อป้องกัน

ผู้ที่ประสงค์จะทำการไม่ดีกับหลวงพ่อโสธรองค์จริง จึงได้จัดทำ

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

พระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหม่ขึ้นมานั่นเอง

เรื่องที่เหล่าสายมูต้องรู้!!

ห้ามบน ห้ามขอกับหลวงพ่อโสธร

แม้ว่าหลวงพ่อโสธรจะขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ จะขอพร

หรือบนบานในเรื่องอะไรก็สำเร็จทั้งสิ้น แต่ก็มีเรื่องที่ไม่ควรขอกับ

หลวงพ่อโสธร ๒ เรื่อง นั่นคือ

ห้าม ขอให้จับได้ “ใบดำ”

หรือการขอให้ไม่ได้เป็นทหาร เพราะมีความเชื่อกันว่า หลวงพ่อ

โสธรชอบให้คนไปเป็นทหารเพื่อรักษาบ้านเมือง ท่านจึงอยากให้

ทุกคนเป็นทหาร หากใครมาขอเรื่องนี้ ก็อาจจะจับได้ใบแดง

ห้าม ขอลูกกับหลวงพ่อโสธร

จากความเชื่อที่ว่าหลวงพ่อโสธรจะส่งลูกไปเป็นทหาร หรือส่ง

ทหารมาเป็นลูก ทำให้เด็กที่เกิดมาอาจพิการหรือมีอวัยวะไม่ครบ

๓๒ ประการ เนื่องจากเป็นทหารที่ได้ออกรบ

ไข่ต้มแห่งความศรัทธา

เมื่อเรื่องที่บนบานไว้สำเร็จตามปรารถนาแล้ว ให้กลับมา

แก้บนตามสิ่งที่บนไว้ ว่ากันว่าหลวงพ่อโสธรชอบไข่ต้ม จึงเห็นร้าน

ขายไข่ต้มตั้งเรียงรายอยู่รอบบริเวณเต็มไปหมด เพราะคนที่สมหวัง

จากคำบนบานจะนิยมแก้บนด้วยไข่ต้ม ซึ่งเป็นของหาง่ายในยุคแรก ๆ

ของวัดโสธร หลังจากนั้นจึงนิยมใช้ไข่ต้มเป็นเครื่องแก้บนมาตั้งแต่นั้น

ทั้งนี้ เมื่อแก้บนเสร็จ อย่าลืมขอน้ำมนต์จากทางวัดเพื่อนำกลับไป

อาบเป็นสิริมงคลต่อตัวเอง

ฉบับหน้าเราจะพาท่านผู้อ่านไปสะสมแต้มบุญ สักการะ

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ใดต่อไป โปรดติดตามอ่านได้ในฉบับหน้า

อ้างอิง

https://jk-living.com/2021/06/11/praying-luangpho-sothon/

https://travel.kapook.com/view147531.html

https://www.checkinchill.com/content/ที่เที่ยว-ฉะเชิงเทรา/

9


๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๕

๘ ปี วันคล้ายวันสถาปนาสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

ประวัติความเป็นมา

นปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๔๖ - ๒๕๕๑ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ

ในการปฏิรูประบบราชการ โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการการพัฒนา

ระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงาน ก.พ.ร. ขึ้นเป็นองค์กรระดับชาติ

เพื่อผลักดันการพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวง

อื่น ๆ ได้มีการจัดตั้งกลุ่มงานพัฒนาระบบราชการ เพื่อรองรับการ

ดำเนินการดังกล่าวในระดับกระทรวง ตามเหตุผลและความจำเป็น

ดังกล่าวจึงได้กำหนดแนวทางเพื่อขออนุมัติจัดตั้งเป็นอัตราตำแหน่งขึ้น

กับสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ส่วนบังคับบัญชา) ในจำนวน

อัตรากำลังพลที่เหมาะสมมีความคล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพในการ

ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และกำกับดูแล

การพัฒนาระบบราชการในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม และส่วน

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เริ่มต้นโดยการจัดตั้งส่วน

ประสานงานการพัฒนาระบบราชการกลาโหม (กพร.กห.) ขึ้นรองรับ

การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ตามคำสั่ง กห. ที่ ๒๓๘/๕๑ ลง ๑๘ ก.ย.๕๑ และต่อมาได้แปรสภาพ

เป็นสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม (สพร.กห.) ตามคำสั่ง กห.

(เฉพาะ) ที่ ๒๒๓/๕๗ ลง ๓๐ มิ.ย.๕๗ ดังนั้น จึงได้ยึดถือวันที่

๓๐ มิถุนายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาสำนักพัฒนาระบบ

ราชการกลาโหม นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ภารกิจ

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม มีหน้าที่วางแผน ประสานงาน

กำกับดูแล และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการของ

10

พลโท สุรศักดิ์ วรรณสมบูรณ์

ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

กระทรวงกลาโหมและสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และปฏิบัติ

งานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย มีผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบ

ราชการกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

๑. การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการในระดับกระทรวงกลาโหม

การกำกับการปฏิบัติราชการของหน่วยขึ้นตรงกระทรวง

กลาโหม เหล่าทัพ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและสถาบัน

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ มีเป้าหมายให้ได้คำรับรองการปฏิบัติ

ราชการซึ่งมีตัวชี้วัดที่สะท้อนผลการดำเนินการที่สำคัญของหน่วยและ

เชื่อมโยงเกิดเป็นภาพความสำเร็จในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม

รวมทั้งกำกับการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามตัวชี้วัดที่สำคัญ มีกรอบ

การพิจารณา คือ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ นโยบาย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และแผนปฏิบัติราชการกระทรวง

กลาโหม โดยใช้กลไกดำเนินการ คือ คณะกรรมการพัฒนาระบบ

ราชการกระทรวงกลาโหม หรือ ก.พ.ร.กห. ซึ่งมีปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็นประธานกรรมการ การดำเนินการของ ก.พ.ร.กห. จะมี

คณะอนุกรรมการ ๒ คณะ ช่วยกลั่นกรองการจัดทำคำรับรองการ

ปฏิบัติราชการ และติดตามผลการดำเนินการ มีผู้อำนวยการสำนัก

พัฒนาระบบราชการกลาโหม เป็นประธานอนุกรรมการ ทั้ง ๒ คณะ

๒. การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการในระดับสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม

การกำกับการปฏิบัติราชการ ของหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม มีเป้าหมายให้ได้คำรับรองการปฏิบัติราชการซึ่งตัวชี้วัด

ที่สะท้อนผลการดำเนินการที่สำคัญของหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม และกำกับการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามตัวชี้วัด

ที่สำคัญ มีกรอบการพิจารณา คือ นโยบายปลัดกระทรวงกลาโหม และแผน

ปฏิบัติราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมี สำนักพัฒนา

ระบบราชการกลาโหม เป็นหน่วยขับเคลื่อนการดำเนินการ

๓. การพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การ มีแนวทางและเป้าหมาย ๒ ประการหลัก

คือ ๑) การจัดการความรู้ที่สำคัญของหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยมีกลไก

ที่สำคัญคือคณะอนุกรรมการจัดการความรู้ของสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม มีผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


เป็นประธาน และ ๒) การให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาระบบ

ราชการ เพื่อให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม เหล่าทัพ และ หน่วย

ขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีความรู้ที่จำเป็นในการ

พัฒนาระบบราชการ โดยดำเนินการด้วยการจัดการบรรยายพิเศษ

และจัดการอบรมสัมมนา

๔. การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และ

การสร้างความสามัคคีปรองดองกระทรวงกลาโหม

ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ

ยุทธศาสตร์ชาติ และการดำเนินการสร้างความสามัคคีปรองดอง โดย

ในระดับชาติได้ตั้งสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ

และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ขึ้นมาทำหน้าที่

ขับเคลื่อนการดำเนินการ และในส่วนของกระทรวงกลาโหมได้แต่งตั้ง

คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการ

สร้างความสามัคคีปรองดอง กระทรวงกลาโหม เป็นกลไกหลักในการ

ขับเคลื่อน มีรองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกรรมการ และ

มีสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม เป็นฝ่ายเลขานุการ รวมทั้งมี

คณะอนุกรรมการ ๓ คณะ ช่วยขับเคลื่อนเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ

ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง มี สำนักนโยบาย

และแผนกลาโหม เป็นฝ่ายเลขานุการ นอกจากนี้ได้มีการแต่งตั้ง คณะ

กรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้าง

ความสามัคคีปรองดอง กระทรวงกลาโหม (ป.ย.ป.กห.) เพื่อความ

สะดวกในการประสานงานกับสำนักงาน ป.ย.ป. ซึ่งมี รองปลัด

กระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำ ป.ย.ป.กห. และมีคณะทำงานที่ผู้อำนวยการ

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม เป็นหัวหน้าคณะทำงาน โดยมี

ผู้แทนสำนักนโยบายและแผนกลาโหมร่วมในคณะทำงาน

การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการในระดับกระทรวง

กลาโหม (การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กระทรวง

กลาโหม พิจารณาการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วย

ขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม เหล่าทัพ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.

๒๕๖๕)

การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการในระดับสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม (จัดอบรม/สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กรอบ

แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยขึ้นตรงสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ ระหว่าง

๓๐ มีนาคม - ๑ เมษายน ๒๕๖๕ ณ เกาะกอหญ้า รีสอร์ท อำเภอเมือง

กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี)

การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้าง

ความสามัคคีปรองดองกระทรวงกลาโหม (จัดการประชุมติดตามความ

ก้าวหน้า คณะอนุกรรมการ ป.ย.ป.กห. เมื่อ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

ณ ห้องประชุมชั้น ๖ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

(ศรีสมาน))

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

11


“งานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๐ ปี

กรุงรัตนโกสินทร์ :

กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เปิดให้เข้าชม

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม เมื ่อวันที ่ ๒๐ - ๒๔ เมษายน ๒๕๖๕”

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

ภาพบรรยากาศการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม บริเวณปืนใหญ่โบราณด้านหน้าอาคาร

ถ้

าพูดถึงเกาะรัตนโกสินทร์ หลาย ๆ ท่านคงนึกถึงพื้นที่ที่เป็น

ที่ตั้งของสถานที ่สำคัญหลายแห่ง ทั้งพระบรมมหาราชวัง

ศาลหลักเมือง วัดสำคัญต่าง ๆ เช่น วัดพระแก้ว วัดโพธิ์ สถานที่

ราชการสำคัญ รวมถึงย่านชุมชนเก่าแก่ในอดีต ซึ ่งศาลาว่าการ

กลาโหมถือเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บนพื้นที่

ประวัติศาสตร์ดังกล่าวโดยถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทำการของ

กิจการทหารสมัยใหม่ตามแบบอย่างอารยประเทศมาตั้งแต่สมัย

รัชกาลที่ ๕ และถูกใช้งานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบัน

ภายในศาลาว่าการกลาโหมได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการ

กลาโหมขึ้น เพื่อเป็นที่รวบรวม จัดแสดง และนำเสนอประวัติความ

เป็นมาของศาลาว่าการกลาโหมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผ่าน

โบราณวัตถุและเนื้อหาจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์

โดยในปี พ.ศ.๒๕๖๕ กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ ๒๔๐ ปี

กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้กำหนดจัดงาน “ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๐ ปี

กรุงรัตนโกสินทร์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย

12

ทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี ทางกระทรวงวัฒนธรรมกำหนดจัดงาน

เป็นประจำทุกปี โดยมีรูปแบบกิจกรรมแต่ละปีที่แตกต่างกันออกไป

ในปีนี้จัดขึ้นวันที่ ๒๐ - ๒๔ เมษายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ณ บริเวณ

พื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ และได้ขอรับการสนับสนุนการจัดงาน

ดังกล่าวจากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในการเปิดให้

ประชาชนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม พร้อมจัดเจ้าหน้าที่

บรรยาย ซึ่งกรมเสมียนตราได้ให้การสนับสนุนโดยเปิดพิพิธภัณฑ์ให้

เข้าชมวันละ ๔ รอบ รอบละไม่เกิน ๓๐ คน โดยลงทะเบียนเข้าชม

ผ่านระบบลงทะเบียน (QR Code) มีประชาชนให้ความสนใจ

เข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก ทั้งหมด ๕ วัน มีจำนวนทั้งสิ้น

๖๔๗ คน นอกจากนี้ ยังมีหน่วยขึ้นตรงของสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม ที่ร่วมในภารกิจครั้งนี้ เช่น สำนักนโยบาย

และแผนกลาโหม สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม และสำนักโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม


ป้ายประชาสัมพันธ์งานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เปิดให้ประชาชนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อวันที่ ๒๐ - ๒๔ เมษายน ๒๕๖๕

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

จุดลงทะเบียน ก่อนเข้าชมภายในพิพิธภัณฑ์

ภาพบรรยากาศการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

ภายในห้องจัดแสดงด้านในอาคาร

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหมมีแนวความคิดในการนำเสนอ

เรื่องราวให้แก่ผู้เข้าชมได้รับรู้ร่วมกัน ในหัวข้อหลัก “จากโรงทหารหน้า

สู่ศาลาว่าการกลาโหม” โดยผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์จะได้พบกับ

เรื่องราวและสิ่งที่น่าสนใจของศาลาว่าการกลาโหม ประกอบด้วย

สถาปัตยกรรมศิลปะแบบพาลลาเดียนของอาคารโรงทหารหน้า

ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนจะเป็นศาลายุทธนาธิการสู่ศาลา

ว่าการกลาโหม การจัดแสดงนิทรรศการและวัตถุจัดแสดงที่

เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของศาลาว่าการกลาโหมตั้งแต่อดีต

ถึงปัจจุบัน และสัมผัสพร้อมถ่ายรูปกับปืนใหญ่โบราณกระบอก

สำคัญ ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

จากการให้การสนับสนุนการจัดงานร่วมกับกระทรวง

วัฒนธรรมในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหมให้แก่บุคคลภายนอกและประชาชน

ที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ทางการ

ทหารที่สำคัญ อีกทั้งทำให้ประชาชนร่วมกันภาคภูมิใจในความเป็น

เอกลักษณ์ ภูมิปัญญา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งต่าง ๆ ที่ตกทอด

มาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงความเสียสละของบรรพบุรุษ ที่ร่วมกัน

ปกป้องและรักษาเอกราชของชาติไทย

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

13


รัฐบาลมุ่งมั ่นแก้ปัญหา

บรรเทาความเดือดร้อนประชาชนทุกระดับ

สร้างความมั ่นคงให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที

่ดีขึ้น

พันเอกหญิง สมจิตร พวงโต

รองผู้อำนวยการกองเลขานุการ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

นการเริ่มต้นขับเคลื่อนประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจตาม

Roadmap ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

2019 ของประเทศไทยนั้น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก

รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

รัฐบาลได้บูรณาการในการแก้ปัญหาเรื่องปากท้องพี่น้องประชาชน

คนไทย โดยได้เร่งฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว การลงทุน การส่งออก

เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชน รวมทั้งการบริหารจัดการ

งบประมาณอย่างเหมาะสมในทุก ๆ ด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์กับ

พี่น้องประชาชนทุกช่วงวัย ทุกกลุ่ม อย่างครอบคลุมเท่าเทียม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องประชาชนกลุ่มเปราะบาง ซึ่งได้รับผลกระทบ

มากที่สุด รวมทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ โดยรัฐบาลพร้อมจะหางบประมาณ

เพื่อสนับสนุน และบริหารจัดการเพื่อการดูแลพี่น้องประชาชน

นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำหลักการใช้จ่ายงบประมาณกับทุก

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความระมัดระวังอย่างที่สุดในการใช้จ่าย

งบประมาณ เพราะรายได้ของประเทศลดลง แม้ว่าภาคการส่งออก

14

จะดีขึ้นก็ตาม การใช้งบประมาณต้องเป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับ

พี่น้องประชาชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศผ่านอุปสรรคและ

วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งปัญหาจากภายในประเทศและสถานการณ์

ต่างประเทศที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยจะต้องทำให้ประชาชน

“อยู่รอด ปลอดภัย พอเพียง และนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต”

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า

ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงมีระบบการเงินการคลังที่มีเสถียรภาพ

เข้มแข็งเพียงพอ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลใช้งบประมาณในการดูแลกลุ่ม

เปราะบาง กลุ่มผู้มีรายได้น้อยในวงเงินที่ค่อนข้างสูงมาก แต่หลัง

จากนี้จะต้องดูแลผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดใหญ่ควบคู่

กันไปด้วย เพราะผู้ประกอบการเหล่านี้เป็นแหล่งจ้างงาน ซึ่งนับเป็น

ห่วงโซ่ในระบบที่จะก่อให้เกิดการหมุนเวียนการสร้างรายได้ในระบบ

รวมทั้งการพัฒนาฝีมือแรงงานต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การมีรายได้ที่

สูงขึ้นในอนาคต

พันเอกหญิง สมจิตร พวงโต


นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหม ยังแสดงความห่วงใยต่อการใช้จ่ายเงินของพี่น้องประชาชน

เนื่องจากรายได้ที่ลดลงแต่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ราคาพลังงาน

สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จึงจำเป็น

ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันตามความเหมาะสม

ของแต่ละบุคคล พร้อมเน้นย้ำว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจต่อปัญหา

ความเหลื่อมล้ำ ทั้งยังได้มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออก

มาตรการความช่วยเหลือมาเป็นระยะ ๆ สิ่งสำคัญคือการเร่งหา

แหล่งรายได้เพิ่มเติมเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน

ทุกกลุ่มในระยะต่อไป

สำหรับมาตรการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ราคา

พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น รัฐบาลได้ออกมาตรการทั้งระยะเร่งด่วน

และมาตรการระยะยาว เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบและความเดือดร้อน

ทั้งในระดับผู้ประกอบการและภาคการขนส่ง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง

แท็กซี่ ประชาชนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มผู้ถือบัตร

สวัสดิการแห่งรัฐ ผู้ประกันตนตามมาตราต่าง ๆ รวมทั้งเกษตรกรที่

ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้า โดยมาตรการต่าง ๆ ให้เป็นไปเพื่อ

การลดภาระของผู้ใช้บริการเหล่านี้ รวมทั้งต้องช่วยลดค่าครองชีพ

ของประชาชนด้วย แม้ที่ผ่านมารัฐบาลได้จ่ายเงินเข้าบัญชีโดยตรง

เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพ ให้กลุ่มเปราะบาง ๓ กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุ

เงินอุดหนุนเด็ก และเบี้ยผู้พิการ ซึ ่งเป็นมาตรการช่วยเหลือที่ให้

ต่อเนื่อง เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนกับคนกลุ่มนี้ให้อยู่รอด

แต่ในอนาคตรัฐบาลจะเร่งเสริมความเข้มแข็ง สร้างความมั่นคง

ให้กับพี่น้องประชาชนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อให้มีชีวิต

ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้เจรจากับต่างประเทศเพื่อส่งเสริมด้าน

การค้าการลงทุน เร่งรัดการเจรจาการจัดทำ MOU เพื่อส่งเสริมความ

ร่วมมือและเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศ เร่งเดินหน้ามาตรการรองรับ

เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการลงทุนทางธุรกิจจากต่างประเทศ

ส่งเสริมการค้าการลงทุน การท่องเที่ยวและการพัฒนาขีดความ

สามารถของบุคลากร ซึ่งหลาย ๆ ประเทศมีความสนใจในศักยภาพ

และความพร้อม ด้านทรัพยากรของประเทศไทยที่มีจุดแข็ง

ด้านอาหาร ธรรมชาติ และการท่องเที่ยว จึงนับเป็นโอกาสที่ดี

ที่ประเทศไทยจะได้ชู Soft Power เพื่อสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงขอความร่วมมือพี่น้องคนไทยทุกคน

ช่วยกันดูแลรักษาสิ่งเหล่านี้เอาไว้ เพื่อให้ต่างประเทศให้ความสนใจ

และให้ความสำคัญกับประเทศไทย

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

15


ภาพถ่าย กับ PDPA

พลตรี นิติน ออรุ่งโรจน์

หัวหน้าอัยการทหาร กรมพระธรรมนูญ

ป็นที่ยอมรับกันว่า มีการเก็บภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

ของเรา หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน หรือบุคคลทั่วไป

ต่างก็ติดตั้งกล้องวงจรปิด (Closed Circuit Television (CCTV))

ไว้ในหน่วยงานหรือที่พักส่วนตัว เพื่อมาตรการด้านความปลอดภัย

ที่หน่วยงานใช้ในการตรวจตราบุคคลที่เดินไปมา สถานที่ หรือบุคคล

ทั่วไปใช้เพื่อเฝ้ามองเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายในบ้าน เด็ก ผู้หญิง

หรือผู้ไม่สะดวกช่วยเหลือตัวเอง ทำให้คนในครอบครัวมีความอุ่นใจ

หรือมีการถ่ายภาพบรรยากาศต่าง ๆ ในงานสัมมนาของราชการ

หรือการไปท่องเที่ยวกับครอบครัว

ขณะที่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พ.ศ.๒๕๖๒ (Personal Data Protection Act, B.E. 2562 (2019) :

PDPA) ได้เริ่มใช้บังคับเต็มรูปแบบแล้ว ทำให้มีปัญหาที่ต้องมาตีความ

กันว่า การติดตั้งกล้อง CCTV ของหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน

หรือบุคคลทั่วไป รวมทั้งกรณีการถ่ายภาพบรรยากาศต่าง ๆ

สามารถทำได้หรือไม่ กรณีใดทำได้ และกรณีใดที่ทำไม่ได้

PDPA มีขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับ

ดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากสภาพ

สังคมและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้มีการล่วงละเมิดสิทธิ

ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล จนสร้างความเดือดร้อน

16

httpswww.officemate.co.th.jpg

รำคาญหรือความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและระบบ

เศรษฐกิจ โดยมีต้นแบบจาก กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ของพลเมืองของสหภาพยุโรป (The General Data Protection

Regulation : GDPR)

ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร คือข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้

สามารถระบุตัวบุคคลนั้น ตามมาตรา ๖ เช่น ชื่อนามสกุล

บัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลจำลองใบหน้า ม่านตา ลายนิ้วมือ

หรือแม้แต่ข้อมูลของลูกค้าผู้ใช้งานแอปพลิเคชันเรียกแท็กซี่ที่ไม่เก็บ

รวบรวมชื่อนามสกุลของลูกค้า แต่เก็บรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์

วันที่เดินทาง ที่อยู่ เส้นทางการชำระเงิน เชื่อมโยงกับข้อมูล GPS

ก็เป็นข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว

PDPA วางหลักการที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องการติดตั้งกล้อง

CCTV กับการถ่ายภาพไว้ ได้แก่ หลักการไม่ใช้บังคับกับการเก็บ

รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ส่วนตน

หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัว ตามมาตรา ๔ (๑) เปรียบเทียบกับ

GDPR ที่ไม่ใช้กับเรื่องวัตถุประสงค์ส่วนบุคคลโดยแท้หรือกิจกรรม

ในครัวเรือน

ดังนั้น การถ่ายภาพตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวแล้วมี

บุคคลอื่นติดมาในภาพในลักษณะที่ไม่ได้เน้นถ่ายภาพไปที่บุคคลอื่น

พลตรี นิติน ออรุ่งโรจน์


เช่น ติดภาพบุคคลอื่นที่เห็นใบหน้าไม่ชัด หรือในรูปแบบอื่นที่ไม่

สามารถระบุตัวบุคคลได้ เป็นต้น สามารถกระทำได้ เพราะเป็นการ

กระทำที่มีวัตถุประสงค์เน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัว ขณะเดียวกัน ถ้า

ถ่ายภาพตนเองและ/หรือสมาชิกในครอบครัวแล้วมีบุคคลอื่นติดมา

ในภาพในลักษณะที่เน้นถ่ายภาพไปที่บุคคลอื่น เช่น ติดภาพบุคคลอื่น

ที่เห็นใบหน้าชัดเจน เป็นจุดสนใจของภาพ เพราะเป็นการเก็บ

รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่เกินความจำเป็นของการเก็บรวบรวม

เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัว ไม่สามารถทำได้

ติดตั้งกล้อง CCTV ในบ้านพักส่วนตัวแล้วส่องในบริเวณบ้าน

หรือส่องรอบนอกริมรั้ว เพราะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

เพื่อความปลอดภัยอันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน

นอกจากนี้ PDPA ยังได้วางหลักการเก็บรวบรวมข้อมูล

ส่วนบุคคลว่า จะทำได้ก็ต่อเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ของฐานหรือเหตุ

ดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง มีการยินยอม (Consent) หรือประการ

ที่สอง เป็นการปฏิบัติตามสัญญา (Necessary for Performance

httpswww.cctvbangkok.com

of a contract) หรือประการที่สาม เป็นการปฏิบัติ

หน้าที่ตามกฎหมาย (Legal Obligation) หรือ

ประการที่สี่ เป็นการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต

ร่างกาย หรือสุขภาพ ของบุคคล (Vital Interest)

หรือประการที่ห้า ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์

สาธารณะ (Public Task) หรือประการที่หก

ประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูล

ส่วนบุคคล (Legitimate Interest) ซึ่งผู้ควบคุม

ข้อมูลส่วนบุคคลก็คือบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอ ำนาจ

หน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ

เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

กรณีการติดตั้งกล้อง CCTV ของหน่วยงาน

ของรัฐ ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการในการรักษา

ความมั่นคง หรือความปลอดภัยของประชาชน

สามารถทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยไม่ต้องขอความ

ยินยอมหรือเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยปฏิบัติตามฐาน

ประการที่สองถึงหก เพราะ PDPA ไม่สามารถมาบังคับใช้กับหน่วยงาน

ของรัฐที่ดำเนินการดังกล่าว ตามมาตรา ๔ (๒) แต่ต้องจัดให้มีการ

รักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรฐาน

ตามมาตรา ๔ วรรคท้าย

แต่หากเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่มีหน้าที่รักษาความมั่นคง

เช่น ธนาคารทหารไทยธนชาต สามารถติดตั้งกล้อง CCTV เก็บ

รวบรวมภาพด้วยการส่องไปยังพื้นที่ในหรือริมอาคารของธนาคารได้

เพราะเป็นประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายที่จำเป็นต้องดำเนินการ

เพื่อรักษาความปลอดภัย ตามมาตรา ๒๔ (๕) แต่ต้องจัดให้มีการแจ้ง

รายละเอียด ตามมาตรา ๒๓ หน่วยงานเอกชน สามารถติดตั้งกล้อง

CCTV โดยอ้างฐานประโยชน์อันชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุม

ข้อมูลส่วนบุคคล ที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อความปลอดภัย

ของผู้ป่วย พนักงาน หรือในกรณี เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ

ในกระทรวงกลาโหม ถ่ายภาพบุคคลในงานสัมมนาของราชการ

โดยไม่ได้รับความยินยอม เพราะส่วนราชการมีหน้าที่ต้องถ่ายภาพ

บุคคลในงานเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการจัดงาน ประโยชน์ในการ

เบิกจ่าย และนำไปเตรียมงานในครั้งต่อไป อันเป็นการจำเป็น

เพื่อการปฏิบัติหน้าที ่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ

และเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๒๔ (๔) (๕)

PDPA เป็นเรื่องใหม่ที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของคนไทย

ทุกคน เจ้าหน้าที่ ประชาชน องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนจะต้อง

สร้างความตระหนักรู้ และนำหลักการไปปฏิบัติ เคารพความ

เป็นส่วนตัวของผู้อื่นจนเป็นความเคยชินที่เรายึดถือต่อไป

httpswww.chiangmainews.co.th

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

17


สมุดปกขาวของจีน

เรื ่อง “ความร่วมมือเพื ่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

ของจีนในยุคใหม่” (ตอนที ่ ๕)

พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ข้าราชการบำนาญ

สำ

นักงานสารนิเทศคณะรัฐมนตรีจีน ได้เผยแพร่สมุดปกขาว

ของจีน เรื่อง “ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

ของจีนในยุคใหม่” เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๔ โดยสำหรับ

ตอนที่๕ นี้จะกล่าวถึงการผลักดันการปฏิบัติตามข้อตกลงการพัฒนา

ที่ยั่งยืนปี ๒๐๓๐ ของสหประชาชาติ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

๑. การขจัดความยากจน เป็นความปรารถนาร่วมกันของ

ประชาชนในทุกประเทศและเป็นพันธกิจร่วมกันของประชาคม

ระหว่างประเทศ ดังนั้น เป้าหมายหลักของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน

ของสหประชาชาติปี ค.ศ.๒๐๓๐ (พ.ศ.๒๕๗๓) คือการขจัดความ

ยากจนทุกรูปแบบในโลก โดยจีนช่วยประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ใน

การลดความยากจนและปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยการ

ช่วยเหลือในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสวัสดิการ

สาธารณะในชนบท แบ่งปันประสบการณ์ด้านการกำกับดูแล

การเกษตร และดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี อาทิ

๑.๑ ดำเนินการสาธิตการลดความยากจน ช่วยเหลือ

ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ในการพัฒนากระบวนการลดความ

ยากจน เช่น ดำเนินโครงการสาธิตการลดความยากจนในลาว เมียนมา

กัมพูชา และประเทศอื่น ๆ แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์การลด

18

พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


ความยากจน โดย “การส่งเสริมหมู่บ้าน”

(“ ”) ในการเสริมสร้างศักยภาพของ

องค์กรระดับหมู่บ้านและสนับสนุนความ

ร่วมมือด้านการผลิตของเกษตรกร เพื่อช่วย

ให้คนในท้องถิ่นเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนา

และสร้างสรรค์แนวคิดในการบรรเทาความ

ยากจน ผ่านการจัดโครงการวิจัยและ

ฝึกอบรมและการจัดสัมมนาร่วมกับองค์การ

พัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ การ

แบ่งปันแนวคิดการพัฒนาและประสบการณ์

ในการลดความยากจนแก่ประเทศกำลัง

พัฒนา ฯลฯ

๑.๒ ช่วยประเทศที่เกี่ยวข้องอย่าง

แข็งขันในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่

อาศัยในพื้นที่ชนบทและตอบสนองความต้องการด้านการขนส่งการ

ผลิตและการดำรงชีวิตในท้องถิ่น

๑.๓ ปรับปรุงความสามารถในการกำกับดูแลของรัฐบาล

ในการบรรเทาความยากจนกลุ่มพิเศษและการดูแลทางการแพทย์

เช่น การกำหนดนโยบายสำหรับคนพิการและเสริมสร้างบริการฟื้นฟู

สมรรถภาพสำหรับคนพิการ ฯลฯ

๒. ปรับปรุงความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากเกษตรกรรมเป็น

รากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและความมั่นคงทาง

สังคม โดยเฉพาะการปรับมาตรการให้เข้ากับสภาพท้องถิ่นเพื่อช่วย

ให้ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เร่งการพัฒนาการเกษตรให้บรรลุความ

พอเพียงด้านอาหารและประกันความมั่นคงด้านอาหาร กล่าวคือ

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

19


๒.๑ เพิ่มกำลังการผลิตทางการเกษตร โดยสร้างศูนย์สาธิต

เทคโนโลยีการเกษตร การส่งเสริมพืชพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง

แนะนำเกษตรกรในการปรับปรุงกำลังการผลิต และให้ความช่วยเหลือ

ทางด้านผู้เชี่ยวชาญ

๒.๒ ปลูกฝังการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การเกษตรและ

บุคลากรทางเทคนิค เช่น การสร้างโรงเรียนเทคนิคการเกษตร

ในประเทศกัมพูชา ฯลฯ

๒.๓ สนับสนุนการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมการเกษตร

เช่น การสร้างโรงฆ่าสุกรและโคของประเทศคิวบา ฯลฯ

๓. ส่งเสริมพัฒนาการด้านสุขภาพ โดยปฏิบัติแนวคิดเรื่อง

ผู้คนเป็นอันดับแรก และสนับสนุนการสร้างระบบสาธารณสุขใน

ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อย่างจริงจัง ในการปรับปรุงระดับบริการ

ทางการแพทย์และสุขภาพเพื่อปกป้องชีวิตและสุขภาพของ

ประชาชน อาทิ

20

พลโท ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


๓.๑ การสร้างระบบสาธารณสุข เพื่อเสริมสร้างความ

เข้มแข็งในการก่อสร้างระบบสาธารณสุขในแอฟริกา

๓.๒ ปรับปรุงความสามารถทางการแพทย์และสุขภาพ

ขั้นพื้นฐาน โดยการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

๓.๓ เสริมสร้างบริการทางการแพทย์และสุขภาพ โดยการ

ส่งสมาชิกทีมแพทย์ช่วยเหลือ

๔. รับประกันคุณภาพการศึกษา เนื่องจากการศึกษาเป็น

รากฐานของการพัฒนา โดยให้ความช่วยเหลือในการสร้างโรงเรียน

การปลูกฝังครูและขยายขนาดทุนการศึกษาเพื่อให้ประชาชนได้รับ

โอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้นและเป็นธรรมมากขึ้น อาทิ สนับสนุน

การศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา และ

การส่งเสริมอาชีวศึกษา เป็นต้น

๕. ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ซึ่งผู้หญิงเป็นกำลัง

สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการและความก้าวหน้าทางสังคม โดย

จีนช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการพัฒนาอาชีพของสตรี สร้าง

โอกาสในการเติบโตของสตรี สนับสนุนและช่วยให้สตรีมีชีวิตที่สดใส

เช่น เสริมสร้างการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของสตรี และสร้าง

ขีดความสามารถของสตรีโดยการฝึกอบรม ฯลฯ

๖. ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สิ่งอำนวยความสะดวก

ด้านสวัสดิการสาธารณะ และพลังงานในประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ

เพื่อให้คนในท้องถิ่นมีความรู้สึกว่าได้รับประโยชน์และมีความสุข

มากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการสร้างสถานสงเคราะห์ของรัฐ

และปรับปรุงสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัย ตลอดจนการเข้าถึง

พลังงาน ฯลฯ

๗. ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและมีนวัตกรรม

เช่น กระบวนการสร้างอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนา และ

การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ฯลฯ

๘. สนับสนุนการปกป้องระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจีน

สนับสนุนแนวคิดอารยธรรมเชิงนิเวศของการอยู่ร่วมกันอย่าง

กลมกลืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ การดำเนินโครงการด้าน

พลังงานใหม่ การแบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาสีเขียว การปฏิบัติ

ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง การคุ้มครองสัตว์ป่าและ

การป้องกันการกลายเป็นทะเลทราย และด้านอื่น ๆ เพื่อสร้างโลกที่

สวยงาม เช่น การพัฒนาพลังงานสะอาด การปกป้องความหลากหลาย

ทางชีวภาพ การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

รวมทั้งการปกป้องมหาสมุทรและทรัพยากรป่าไม้ ฯลฯ

บทสรุป การผลักดันการปฏิบัติตามข้อตกลงการพัฒนาที่

ยั่งยืนปี ๒๐๓๐ ของสหประชาชาติ โดยการสนับสนุนการลดความ

ยากจนในประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ การปรับปรุงระดับการ

พัฒนาการเกษตร การส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา

การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และความก้าวหน้าของกระบวนการ

ทางอุตสาหกรรม ซึ่งจีนได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการดำเนินการ

ตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ค.ศ.๒๐๓๐

(พ.ศ.๒๕๗๓)

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.gov.cn/xinwen/2021-01/10/content_5578617.htm

ที่มา: 9bf23fca-8e18-4676-8722-c1142ff4388b, liziqiguiness-12, 16215834595663

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

21


“สงครามกับอำนาจแหลมคม - War and Sharp Power”

Russia-Ukraine 2022

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ

รองผู้อำนวยการกองข่าวความมั่นคง สำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร

การพบปะกันระหว่างประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐอเมริกา และ ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ณ กรุงเจนีวา เมื่อ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔

หากกล่าวถึงหนังสือ “Soft Power” เขียนโดยอาจารย์

Joseph Nye นับว่าเป็นตำราเล่มที่สำคัญสำหรับการศึกษา

รัฐศาสตร์สาขาการเมือง/ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International

Relations) โดยเนื้อหาหลักคือเป็นการอธิบายพื้นฐาน

ในเรื่องของพลังอำนาจ (Power) โดยได้อธิบายเกี่ยวกับคำว่าพลัง

อำนาจ ไว้ว่าเป็นความสามารถในการได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่เราต้องการ

“the ability to get the outcomes one wants” ซึ่ง ณ เวลา

เขียนหนังสือนั้น พลังอำนาจสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่

๑) อำนาจบังคับขู่เข็ญ (Hard Power) คือการใช้เครื่องมือทางทหาร

และ/หรือเศรษฐกิจบีบให้ฝ่ายตรงข้ามต้องปฏิบัติตามโดยมิได้สมัครใจ

และต้องยอมปฏิบัติตามที่ต้องการ โดยวิธีการใช้อำนาจทางทหาร

ที่เข้มแข็งบุกเข้ายึดพื้นที่เป้าหมาย อาทิ เมื่อปี ๒๐๑๔ ที่กองทัพ

รัสเซียส่งกองกำลังปฏิบัติการพิเศษ (SSO) เข้ายึดแคว้นไครเมียของ

22

“The subjects of the “Soft power” seek to “win hearts and minds…”

“เป้าหมายของการใช้ “พลังอำนาจละมุน” คือการเอาชนะความคิดและจิตใจ”

Joseph Nye 2005

ยูเครน ส่วนการอำนาจทางเศรษฐกิจ อาทิ สมาชิกองค์การ

สหประชาชาติมีมติใช้มาตรการคว่ำบาตร (sanction) ต่ออิหร่าน

เพื่อสกัดภัยคุกคามจากแผนพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์และขีปนาวุธ

๒) ‘อำนาจอ่อน’ หรือ ‘อำนาจละมุน’ (Soft Power) คือ การขยาย

อิทธิพลการเปลี่ยนแปลงความคิด การทำให้ฝ่ายตรงข้าม/เป้าหมาย

มีส่วนร่วม หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้อื่น โดยไม่ได้ใช้

อำนาจบังคับขู่เข็ญในการดำเนินกลยุทธ์ ประกอบด้วยฟันเฟืองหลัก

๓ ประการ คือ ๑) วัฒนธรรม ๒) ค่านิยมทางการเมือง และ

๓) นโยบายต่างประเทศ ในบางครั้งยังมีการใช้โฆษณาชวนเชื่อ

(Propaganda) ผ่านโทรทัศน์ วิทยุหรือหนังสือต่าง ๆ โดยผลงานฉบับนี้

ได้เน้นย้ำว่าการแก้ไขปัญหาสงครามหรือความขัดแย้งที่ดีที่สุดคือ

การสร้างความผูกพันทางเศรษฐกิจและการสร้างองค์กรความ

ร่วมมือต่าง ๆ ที่เป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ โดยสรุปการดำเนิน

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ


ยุทธศาสตร์ด้านการเมืองระหว่างประเทศนั้นจะต้องเป็นการผสม

ผสานระหว่างอำนาจบังคับขู่เข็ญและอำนาจละมุน ซึ่งอาจารย์ Nye

เรียกอำนาจลักษณะนี้เรียกว่า อำนาจชาญฉลาด (Smart Power)

แต่อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจละมุนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ในการพิชิตชัยชนะในระยะยาวเนื่องจากผู้มีส่วนร่วมทั้งหมดต่าง

ได้รับชัยชนะและได้รับประโยชน์ (Positive Sum Game)

ทันทีเมื่อเสียงเครื่องบินขับไล่ของรัสเซียบินผ่านน่านฟ้าของ

ยูเครน (๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) ซึ่งเป็นสัญญาณว่าสงครามรัสเซีย

- ยูเครน ได้ระอุขึ้นแล้ว ซึ่งในเวลานั้นผู้เขียนกำลังเข้ารับการอบรม

ด้านความมั่นคงที่สถาบัน Asia-Pacific Center for Security

Studies (APCSS) ฮาวาย สหรัฐอเมริกา จึงได้หวนคิดถึงหนังสือ

๒ เล่ม ได้แก่ ๑) หนังสือ “Soft Power” เขียนโดยอาจารย์ Joseph

Nye ในบทที่เกี่ยวกับอำนาจชาญฉลาด โดยต้องการวิเคราะห์ว่าใน

ระยะยาวหรือสงครามสิ้นสุดลง รัสเซียจะสามารถเอาชนะจิตใจ

ชาวยูเครนได้อย่างไร หากดำเนินกลยุทธ์แต่เพียงอำนาจบังคับขู่เข็ญ

และกลยุทธ์ในการใช้อำนาจละมุนจะมีในลักษณะใด ๒) วารสาร

หลักเมือง ฉบับที่ ๓๖๕ ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ ในเรื่องการ

ก่อการร้ายยุคดิจิทัล ซึ่งผู้เขียนได้เขียนวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดการ

ประชุมนัดพิเศษ ณ กรุงเจนีวา เมื่อ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นการ

พบปะกันระหว่างประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐอเมริกา และ

ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย โดยประเด็นหารือที่

สำคัญคือการให้นิยาม/ความหมาย ของการก่อการร้ายทางไซเบอร์

(Cyber terrorism) โดยระบุว่าการโจมตีด้วยเครื่องมือทางไซเบอร์

ต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (Critical infrastructure) ๑๖

ประเภท อาทิ ระบบควบคุมพลังงานไฟฟ้า ระบบการควบคุม

ธุรกรรมภาคเอกชน ระบบโรงพยาบาลและการบริการด้าน

สาธารณสุข ระบบการป้องกันประเทศนั้น นับว่าเป็นการก่อการร้าย

ทางไซเบอร์โดยการโจมตีจะต้องเป็นสิ่งที่ต้องห้ามอย่างเด็ดขาด ส่วน

ในแง่กฎหมาย/ระเบียบสากลผ่านการตีความตามคณะมนตรีความ

มั่นคงแห่งสหประชาชาติ ข้อมติ ๒๓๔๑ พอสรุปได้ว่า กลุ่มก่อการร้าย

ที่ใช้การโจมตีด้วยมัลแวร์บนโลกดิจิทัลจัดว่าเป็นการก่อการร้ายทาง

ไซเบอร์ ทั้งด้วยการกระทำด้วยการระงับขัดขวางการทำงานของ

ระบบควบคุมโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (disrupt) และการเจาะ

ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อจารกรรมข้อมูลสำคัญขององค์กร

ภาพเมื่อ ๒๒ เมษายน ๒๐๒๒ กองทัพรัสเซียบุกถึงเมืองท่ามารีอูปอล (Mariupol) ยูเครน

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

23


ภาพ (อดีต) ประธานาธิบดี วิกเตอร์ ยานูโควิช แห่งยูเครน กับ

ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย

(espionage) และในขณะที่ผู้เขียนรับการอบรมที่ ฮาวาย คำถาม

ก็ได้ผุดขึ้นและยังคงเวียนวนต้องการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับการใช้

พลังอำนาจละมุนและพลังอำนาจบังคับขู่เข็ญบนสมรภูมิรัสเซีย -

ยูเครน ๒๐๒๒ นั้น ผู้เขียนได้เรียนรู้เรื่องพลังอำนาจที่ ๓ ซึ่งได้แก่

พลังอำนาจแหลมคม (Sharp Power) ที่มีลักษณะแอบแฝงและ

ครอบงำโดยประเทศมหาอำนาจ (Superpowers) นิยมใช้ในการ

ดำเนินนโยบายการต่างประเทศ วัตถุประสงค์ : เพื่อควบคุม/สั่งการ

ประเทศเป้าหมาย (Means) เครื่องมือที่ใช้ต้องเป็นไปในลักษณะ

การบังคับ แอบแฝงและการคอร์รัปชัน (Coercively, Covert, Corruption)

ซึ่งเมื่อหยิบแว่นขยายมาส่องเพื่อให้เกิดความกระจ่าง

ความคิดจึงตกผลึกเมื่อพิจารณาในห้วงหลังสงครามเย็น ปรากฏว่า

มีประเทศมหาอำนาจระดับโลกหรือประเทศมหาอำนาจระดับ

ภูมิภาคใช้พลังอำนาจแหลมคม อย่างกว้างขวางโดยต่างให้การ

สนับสนุนพรรคการเมือง องค์กรเคลื่อนไหวสิทธิต่าง ๆ หรือแม้

กระทั่งกลุ่มก่อการร้ายอย่างลับ ๆ เพื่อให้นำไปสู่การเป็นผู้มีอิทธิพล

ในประเทศนั้น ๆ ต่อไป

ในการวิเคราะห์สงครามครั้งนี้ ผู้เขียนพิจารณามุมมองจาก

เหรียญทั้ง ๒ ด้าน จึงได้นำบทความวิชาการจากมหาวิทยาลัยมอสโก

มาตีความเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ และได้พบว่าในมุมมองของ

นักวิชาการด้านความมั่นคงของรัสเซียมีความเห็นพ้องกับนักวิชาการ

สหรัฐฯ ว่า พลังอำนาจแหลมคมคือ เครื่องมือของประเทศ

มหาอำนาจโดยได้เพิ่มเติมว่าเครื่องมือที่ใช้จะเป็นแบบผสมผสาน

ระหว่าง Information Operations และการก่อการร้ายทาง

ไซเบอร์ โดยการปฏิบัติภารกิจ ล้วนอยู่บนโลกเสมือนจริง อาทิ การ

จารกรรมข้อมูลส่วนบุคคล/องค์กร การปล่อยข่าวลวง การบ่อน

ทำลายความน่าเชื่อถือ การทำลาย/ขัดขวางระบบการทำงานของ

คอมพิวเตอร์และเครือข่าย และปรากฏการณ์นี้เป็นเครื่องบ่งชี้แล้ว

ว่า ประเทศมหาอำนาจจากทุกค่ายต่างปรับระดับความเข้มข้นจาก

การใช้พลังเพียงอำนาจชาญฉลาดไปสู่การผนวกใช้อำนาจแหลมคม

เพราะที่ผ่านมาพรรคการเมืองของหลายประเทศ อาทิ อัฟกานิสถาน

ยูเครน ศรีลังกา ต่างเคยถูกจับตามองว่าเป็นเครื่องมือของประเทศ

มหาอำนาจ แต่ทั้งนี้เอกสารฉบับนี้มีความสนใจที่จะศึกษาความ

สัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสงครามรัสเซีย - ยูเครน ๒๐๒๒ กับการ

ใช้อำนาจแหลมคมตามแบบฉบับของรัสเซีย ซึ่งจากการติดตาม

24

ภาพหน่วยยุทธศาสตร์นิวเคลียร์แห่งกองทัพรัสเซีย ขณะสวนสนามแสดงแสนยานุภาพขีปนาวุธข้ามทวีป ชนิด RS-28 Sarmat

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ


หนังสือ Soft Power เขียนโดย Joseph Nye, Jr.

สถานการณ์สงครามฯ มากว่า ๒ เดือน (ตั้งแต่ ๒๔ กุมภาพันธ์ -

ปัจจุบัน) พบว่าตั้งแต่ปี ๒๐๑๕ - ๒๐๑๘ รัสเซียได้ใช้พลังอำนาจ

แหลมคม (Sharp Power) ในยูเครนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ด้านนโยบาย

ต่างประเทศโดยการสนับสนุน (อดีต) ประธานาธิบดี วิกเตอร์

ยานูโควิช (Viktor Yanukovych 2010 - 2018) แห่งยูเครนอย่าง

เปิดเผยเนื่องด้วยมีนโยบายที่ถอยห่างจากสหภาพยุโรป (EU) แต่

เดินหน้ากระชับสัมพันธ์กับรัสเซียซึ่งประชาชนทำการต่อต้านและ

ถูกปลดจากตำแหน่งไปในที่สุด ด้านความมั่นคงพบว่าได้ใช้สงคราม

ไซเบอร์ผ่านการก่อการร้ายทางไซเบอร์ในช่วงแรก มีปรากฏการณ์

ของการปฏิบัติการผ่านมัลแวร์ ที่เรียกว่า CYCLOPS BLINK ซึ่ง

พัฒนาโดยกลุ่ม Sandworm (Proxy) ซึ่งสันนิษฐานว่ารัฐบาลรัสเซีย

หนุนหลังเข้าโจมตีระบบควบคุมโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงานของ

ยูเครน - โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ - โดยได้ทำการโจมตีระบบ

Firewall ของบริษัท Watchguard ต่อมาปี ๒๐๑๗ ได้ใช้มัลแวร์

Sandworm โจมตียูเครนในปฏิบัติการ NotPetya เป็นการโจมตี

ทางไซเบอร์ที่รุนแรงที่สุดที่ส่งผลให้รัฐบาลยูเครนต้องกลับมา

ปรับปรุงระบบป้องกันในสงครามไซเบอร์ที่มีมูลค่าสูงถึง USD 10

ล้านล้าน แต่เมื่อสงครามเกิดขึ้นจริงแผนป้องกันตนเองจากสงคราม

ไซเบอร์ที่ได้ทำการปรับปรุงนั้นไม่สามารถใช้งานได้ตามแผนโดย

มัลแวร์ Wiper สามารถทำลายระบบควบคุมรักษาความปลอดภัย

ของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ระบบธนาคาร การรถไฟและหน่วย

งานรัฐบางส่วนถูกปิดลงในขณะที่ระบบเตือนภัยทางอากาศไม่สามารถ

ใช้งานได้จนส่งผลให้กองทัพอากาศรัสเซียสามารถครองน่านฟ้าได้

ทั้งหมด

ในภาพรวมสงครามรัสเซีย - ยูเครน ๒๐๒๒ หากมอง

ผ่านเลนส์ที่ส่องความกระจ่างในข้อคำถามดังกล่าวโดยจำแนกปัจจัย

ต่าง ๆ ออกจากกันแล้ว พบว่า ๑) หากยกผลการประชุมนัดพิเศษ

ณ กรุงเจนีวา ระหว่างประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ และ

ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ผนวกกับข้อมติ ๒๓๔๑

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ พอสรุปได้ว่าการโจมตี

โครงสร้างพื้นฐานทางพลังงานไฟฟ้าในสงครามครั้งนี้คือการกระทำ

ที่เข้าข่ายลักษณะการก่อการร้ายทางไซเบอร์ ๒) ประเทศมหาอำนาจ

มิได้จำกัดตนเองในการใช้แต่เพียงพลังอำนาจละมุนหรืออำนาจ

บังคับขู่เข็ญหากแต่ยังได้ยกระดับไปสู่การใช้พลังงานอำนาจ

แหลมคมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านนโยบายต่างประเทศ ๓)

สงครามครั้งนี้จะสิ้นสุดเมื่อไรเป็นคำตอบที่ยังต้องรอพิจารณา

จุดผกผันที่ชัดเจนมากกว่านี้หรือไม่เช่นนั้นสงครามนี้จะกลายเป็น

หมากรุกที่จบด้วยการเสมอกัน

Reference

Leonova, O (2022), Sharp Power: the New Technology of Influence

in a Global World, <https://www.imemo.ru/en/publications/

periodical/meimo/archive/2019/2-t-63/security-problems-incontemporary-world/sharp-power-the-new-technology-of-influ

ence-in-a-global-world>.

Mooers, E C (2006), the New Imperialists: Ideologies of Empire, One

world Publications, Oxford

Nye, J (2005), Soft Power, PublicAffairs Books

พิศาล อมรรัตนานุภาพ (2021), การก่อการร้ายยุคดิจิทัล, วารสารหลักเมือง ฉบับ

ที่ 365, Aus., viewed 27 th Apr 2022

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

ภาพกองทัพประชาชนยูเครน

ที่มา : https://www.posttoday.com/, https://edition.cnn.com/europe/

live-news/russia-ukraine-war-news-04-22-22/h_a85512a9152d-

4da8d24e34fcf4fb6ea3, https://www.nbcnews.com/storyline/ukrainecrisis/ukraine-asks-russia-extradite-ousted-president-viktor-yanukovych-n40941,

https://www.reuters.com/world/

ukraine-airborne-troops-hold-drill-amid-growing-border-tensions-2021-11-22/

25


ยุทธการเสือดำสมรภูมิเขาค้อ

ตอนที ่ ๔

ทหารพรานไม่ทิ้งใครไว้แนวหลัง

กรกต เกตุแก้ว

อดีตทหารพรานจู่โจมกองร้อย ๙๑๑ ชค.๕๑๓ ค่ายปักธงชัย

ตะวันลับเหลี่ยมเขาค้อ เทือกเขาค้อยอดสูงคือเขาย่า

เขาค้อถูกความมืดดำของราตรีกาลเข้าปกคลุมไปโดยสิ้นเชิง

ความเหน็บหนาวทวีความเย็นยะเยือกยิ่งขึ้นนักรบจากค่าย

ปักธงชัยทุกนายหนาวสะท้านแต่ในใจของนักรบกล้ากลับร้อนรุ่ม

เพราะอยู่ในสนามรบที่มีความตายอยู่รอบตัว ชุดชิงศพทหารพราน

จู่โจมกองร้อย ๙๔๘ ทุกนายบอกกับตัวเองว่า “คืนนี้ยังไงก็ต้องนำศพ

และเพื่อนออกไปให้ได้”

ตะวันลับฟ้าลงไปแล้วความมืดเข้าปกคลุมพื้นที่ซึ่งเป็นม่าน

กำบังตาทำให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่ทำหน้าที่ตรวจการณ์ไม่ทัน

ได้สังเกตเห็น หัวหน้าชุดกองร้อย ๙๔๘ ที่ไปชิงศพพูดกับเพื่อนและ

บอกกับศพเพื่อนที่พลีชีพไปว่า “ไปเพื่อนรักได้เวลานำศพเพื่อนรัก

ออกไปจากแนวปะทะแล้ว พวกเราจะพาเพื่อนกลับบ้านเรานะ”

เปลผ้าร่มที่ทหารพรานทุกนายมีใช้แขวนนอนถูกนำมาห่อร่าง

ของเพื่อนนักรบที่เสียชีวิต ไม้ขนาดเท่าขาถูกนำมาทำเป็นคานหาม

หวังว่า ความมืดมิดจะเป็นเกราะกำบังไม่ให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

ที่ตรวจการเห็นพวกเราในเวลาที่หามศพเพื่อนกลับฐาน

26

ฐานทหารพรานและฐานทหารหลักบนเขาค้อ ปี ๒๕๒๔

ขณะที่ชุดชิงศพของทหารพรานจู่โจม กองร้อย ๙๔๘ หามศพ

เพื่อนเดินกลับฐานอยู่นั้นเสียงปืน AK-47 ของผู้ก่อการร้าย

คอมมิวนิสต์เริ่มยิงแหย่เพื่อหลอกให้ทหารพรานยิงตอบโต้เพื่อให้เปิด

เผยพิกัดที่อยู่ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์จะได้รู้ที่อยู่ของทหารพราน

แล้วยิงถล่มด้วยปืน ค. แต่นักรบค่ายปักธงชัยรู้ทันเล่ห์กลจึงไม่หลงกล

ศพและคนเจ็บถูกหามออกมาจากแนวปะทะเดินฝ่าความมืดออกไป

เพื่อนำกลับฐานหัวงานก่อนจะส่งกลับแนวหลัง คนเจ็บก็ถูกนำส่ง

โรงพยาบาลคนตายก็ส่งกลับภูมิลำเนาให้ญาติลูกเมียได้ทำบุญ

ตามประเพณี ชีวิตนักรบก็มีเพียงเท่านี้แหละ! ทหารพรานจู่โจม

ค่ายปักธงชัยทุกคนจึงบอกกับตัวเองว่า

“เราอาสามารบเพื่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” ตายก็ไม่

เสียดายชีวิต ถึงตัวจะตายขอให้ชาติยังอยู่ก็ภูมิใจแล้ว ที่ผ่านมาก็เป็น

เช่นนั้นจริง ๆ ที่นักรบค่ายปักธงชัยคนแล้วคนเล่าที่มีมากถึง ๓๒๕

ชีวิตแล้วที่พลีชีพเพื่อแผ่นดิน พวกเขาไม่ได้รบเพื่อเงินเพราะขณะนั้น

เงินเดือนของทหารพรานจู่โจมค่ายปักธงชัยในช่วงสงครามเย็นแค่

เดือนละ ๙๐๐ บาทเท่านั้น

ผู้เขียนก็เป็นคนหนึ่งที่ได้ร่วมรบกับเพื่อนนักรบในค่ายปักธงชัย

รบมาหลายสมรภูมิรบมานับสิบปีเห็นเพื่อนบาดเจ็บเพื่อนตายไป

ต่อหน้ามากมาย แต่พวกเราไม่เคยทิ้งใครไว้ข้างหลังจะเป็นจะตาย

ยังไงก็ต้องนำเพื่อนกลับออกมาให้ได้เพราะเราคือ “เพื่อนตาย”

ในปี ๒๕๔๓ เมื่อไม่มีภารกิจรบหน่วยรบอันเกรียงไกร ๕๑๓ ก็

ถูกยุบกำลังรบไป นักรบของเราเหมือนถูกลอยแพหาเลี้ยงชีพเอาเอง

ไม่มีบำเหน็จบำนาญ สิ่งที่ได้คือความภูมิใจที่ได้รบเพื่อชาติส่วน

ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่รบกับพวกเราได้รับการโอบอุ้มจากรัฐเป็น

อย่างดี รัฐบาลได้ให้เงินสนับสนุนกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

ที่กลับใจเข้ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

รัฐบาลให้เงินกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์กลับใจที่เรียกว่า

“ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” คนละ ๒๒๕,๐๐๐ บาท (สองแสนสองหมื่น

ห้าพันบาท) ให้ที่ดินทำกิน เป็นเรื่องจริงที่นักรบชุดควบคุมและ

ประสานงานโครงการ ๕๑๓ ค่ายปักธงชัยได้รับ

คืนนั้นแม้จะถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ยิงปืนหลอกเพื่อให้เรา

ยิงตอบโต้และเปิดเผยพิกัดแต่ทหารพรานจู่โจม กองร้อย ๙๔๘ ชุดไป

ชิงศพก็ไม่ได้หลงกลจึงทำให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ไม่รู้พิกัด ศพ

เพื่อนและคนเจ็บถูกหามเดินฝ่าความมืดลัดเลาะออกมา ในที่สุด

ชุดชิงศพก็ทำสำเร็จ สามารถนำออกมาถึงฐานหัวงานในเวลา ๒ ทุ่มพอดี

พันตรี พโยม เกตุแก้ว รองหัวหน้าชุดควบคุมและประสานงาน

โครงการ ๕๑๓ ค่ายปักธงชัย ส่วนแยกที่ ๑๓ เขาค้อได้ประสานไปที่

กรกต เกตุแก้ว


เสือใหญ่ (พันเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ ยศในขณะนั้น) ผู้บัญชาการ

กองกำลังผสมเขาค้อขอเฮลิคอปเตอร์มารับคนเจ็บและคนตายนำออก

ไปส่งแนวหลัง ฐานหัวงานก็ถือว่าปลอดภัยในระดับหนึ่งเพราะตาม

เนินต่าง ๆ รอบฐานหัวงานมีทหารพราน ทหารหลักตั้งฐานคุ้มกันอยู่

“เสือใหญ่ จาก เสือดำ เสือใหญ่ จาก เสือดำ”

“ตอบ จากเสือใหญ่ ว่ามาเสือดำ”

“ขณะนี้ลูกบ้านของเสือดำได้นำคนเจ็บคนตายออกมาถึงบ้าน

หัวงานแล้ว ขออินทรีเหล็กสนับสนุนส่งกลับด้วยครับ”

“โอเค เตรียมลูกบ้านรอไว้เลยสักครู่อินทรีเหล็กจะไปรับ”

“เรามีลูกบ้านที่เสียชีวิต ๓ บาดเจ็บ ๕ ขออินทรีเหล็กมารับ

๓ ตัว”

“รับทราบ เสือดำ ขออินทรีเหล็กสามตัว”

พันตรี พโยม เกตุแก้ว หัวหน้าทหารพรานจู่โจมค่ายปักธงชัย

พูดวิทยุสนามกับ พันเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ ผู้บัญชาการกองกำลัง

ผสมเขาค้อ รหัสเสือใหญ่ พันตรี พโยมฯ สั่งทหารพรานจู่โจม กองร้อย

๙๔๘ ให้เตรียมศพและคนเจ็บให้พร้อมส่งกลับทางเฮลิคอปเตอร์อีก

ไม่นานเฮลิคอปตอร์สามเครื่องจะบินเข้ามาลงรับที่ฐานหัวงานภูหลวง

ทุกคนได้แต่หวังว่าจะไม่ถูกผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ยิงต่อต้าน

การเตรียมส่งคนเจ็บและคนตายกลับแนวหลังเริ่มขึ้นท่ามกลาง

ความมืดของคืนเดือนมืด มีเพียงแสงจากดวงดาวบนฟ้าส่องแสง

อันน้อยนิดลงมาให้เห็นพอลาง ๆ แม้จะมีกำลังทหารประจำอยู่ตาม

เนินเขาต่าง ๆ ที่ห่างออกไปแต่ พันตรี พโยมฯ ก็สั่งให้ทหารพรานออก

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

ทหารพรานเมื่อยังไม่เจ็บไม่ตายก็สู้ต่อไป

เพื่อแผ่นดินไทยและสถาบันอันหวงแหน

พันตรี โพยม เกตุแก้ว ที่ฐานหัวงาน บ้านภูหลวง บนเขาค้อ

ไปวางกำลังคุ้มกันเฮลิคอปเตอร์อีกชั้นเพื่อไม่ให้ถูกผู้ก่อการร้าย

คอมมิวนิสต์ยิงขัดขวาง

ทหารพรานหลายกองร้อยออกไปวางเป็นวงกลมรัศมีประมาณ

๑๐๐ เมตร ๒๐ นาทีต่อมาเสียงเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ก็ดังขึ้น

เฮลิคอปเตอร์กันชิพ ๓ ลำบินเข้ามาก่อน แล้วบินวนไปรอบ ๆ ฐานที่

จะลง คนเจ็บคนตายพร้อมจะยกขึ้นเฮลิคอปเตอร์ พันตรี พโยมฯ

สั่งให้ผู้บังคับกองร้อยโชว์ไฟและโชว์สโม้กสีเหลืองให้เฮลิคอปเตอร์

เห็นพิกัดที่จะลง

“อินทรีเหล็ก จาก เสือดำ อินทรีเหล็ก เห็นแสงไฟกับควัน

สีเหลืองหรือไม่”

“จากอินทรีเหล็ก เราเห็นแล้วเสือดำ ขอทราบรัศมีการใช้

อาวุธด้วย”

“โอเล่ อินทรีเหล็ก รัศมี ๑๕๐ ท่านใช้อาวุธได้เลย”

พันตรี พโยมฯ พูดวิทยุกับผู้บัญชาการฝูงเฮลิคอปเตอร์กันชิพ

๓ ลำ บินเข้ามายิงคุ้มกันให้เฮลิคอปเตอร์ลำที่จะลงรับจากนั้นเสียง

ปืนกลอากาศและจรวดฝักของเฮลิคอปเตอร์ ทั้ง ๓ ลำ ก็ยิงลงไปรอบ ๆ

ในรัศมี ๑๕๐ เมตร ลูกปืนกลอากาศพรั่งพรูออกจากลำกล้องพุ่งลง

ไปรอบ ๆ

ปัง! ปัง! ปัง! ปัง! ปัง! แฟ้ด กรึ้ม...แฟ้ด...กรึ้ม…

มองขึ้นไปดูปลายกระบอกปืนกลอากาศที่ยิงออกมาตรงประตู

ของเฮลิคอปเตอร์เห็นแสงไฟสว่าง วาบ! วาบ! จากปากกระบอกปืนกล

เป็นแสงที่ดูสวยงามจริง ๆ ลูกปืนกลอากาศพุ่งไล่กันลงไปถูกกิ่งไม้

ขาดลงเป็นสาย จรวดที่ติดอยู่ตรงขาสกีของเฮลิคอปเตอร์ถูกยิง

ออกไปเสียงดัง แฟ้ด!..พุ่งปะทะเป้าหมายระเบิดดัง กรึ้ม! กรึ้ม!

เกิดประกายไฟสว่าง วาบ!..วาบ!

เฮลิคอปเตอร์กันชิพ ๓ ลำ บินวนยิงอยู่สักพักก็บินสูงขึ้นเพื่อ

เปิดพื้นที่ให้เฮลิคอปเตอร์ลำที่บินเข้ามาทีหลังโฉบลงไปรับคนเจ็บ

คนตาย เมื่อเฮลิคอปเตอร์โฉบลงไปจอดคนเจ็บและคนตายถูกยกขึ้น

เฮลิคอปเตอร์ทันที เรื่องแบบนี้นักรบปักธงชัยเจอมาบ่อยทำบ่อยจน

ชำนาญแล้วครับ ใช้เวลาไม่กี่วินาทีก็บินขึ้นน ำสิ่งที่อยู่บนเฮลิคอปเตอร์

ก็สามารถไปส่ง บก. ส่วนหลัง

พรานจู่โจมค่ายปักธงชัยทุกคนรู้สึกโล่งอกที่ส่งเพื่อนกลับแนวหลัง

ได้สำเร็จ คนเจ็บเมื่อถึงมือหมอแล้วก็มั่นใจว่าพวกเขาจะรอดตาย

ส่วนคนตายก็จะได้ให้ญาติ ๆ นำไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีต่อไป

เพื่อน ๆ ที่ไปกับเฮลิคอปเตอร์วันนี้เขาหมดห่วงแล้วเหลือแต่ผู้ที่อยู่ใน

สนามรบเขาค้อที่ต้องทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะจบภารกิจนานแค่ไหน

ยังไม่รู้ ภารกิจจบ หากไม่ตายพวกเราคงได้กลับบ้านครับ

ซึ่งไม่รู้เลยว่าพรุ่งนี้หรือคืนนี้พวกเราจะถูกผู้ก่อการร้าย

คอมมิวนิสต์เข้าโจมตีแล้วทำให้เขาต้องตายตามเพื่อนไปเหมือนใน

วันนี้หรือไม่ แต่เพราะเป็นนักรบของชาติที่ต้องปกป้องรักษาแผ่นดินไทย

ไว้ให้ลูกหลาน แม้จะต้องตายแต่ทุกคนก็พร้อมที่จะตาย นี่คือปณิธาน

อันแน่วแน่ของนักรบดำทหารพรานจู่โจม ชค.๕๑๓ กูผู้ชนะ

ค่ายปักธงชัย ติดตามตอนต่อไปครับ

27


ข้อสังเกตและสิ ่งท้าทาย

สำหรับ กองอำนวยการรักษาความมั ่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า

ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตอนที ่ ๒)

พลเอก กฤษณะ บวรรัตนารักษ์

ข้าราชการบำนาญ

(ต่อจากฉบับที่แล้ว)

๔. หลักสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย

จะต้องมีความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างดี เพื่อจะได้ไม่ไปปฏิบัติ

หน้าที่ผิดพลาดในการตรวจค้น จับกุม พันธนาการ หรือควบคุมตัว

รวมทั้งการใช้อาวุธปืนซึ่งความหมายของหลักสิทธิมนุษยชนที่เข้าใจ

ง่ายที่ต้องนำไปปฏิบัติคือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ดูถูกเหยียดหยาม

ไม่เลือกปฏิบัติ คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ประการส ำคัญ ต้อง

ไม่มีการข่มขู่ ไม่กระทำให้อับอาย หรือไม่ทารุณกรรมในการทำ

หน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด บทความนี้จะไม่กล่าวถึงใน

รายละเอียดของหลักสิทธิมนุษยชน จะนำเสนอเฉพาะประเด็น

สำคัญที่น่าสนใจ ดังนี้

๔.๑ การละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่จำเป็นว่าผู้ละเมิดต้องเป็น

เจ้าหน้าที่ของรัฐเสมอไป ภาคเอกชนหรือประชาชนบางรายบางกลุ่ม

28

อาจเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนใน

จังหวัดชายแดนภาคใต้แท้จริงแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารหรือ

เจ้าหน้าที่ตำรวจรวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ไม่ได้เป็น

ผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด แต่เป็นผู้คุ้มครองสิทธิมนุษยชน

กล่าวคือ ทำหน้าที่ให้เกิดความสงบสุข ทำให้ประชาชนสามารถใช้

ชีวิตอย่างปกติสุข ทั้งในการเดินทางและการประกอบวิชาชีพ

ทำหน้าที่คุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน นักเรียน และครู

ให้ปลอดภัยรอดพ้นจากการประทุษร้ายหรือการก่อเหตุความรุนแรง

ผู้ที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ก่อเหตุรุนแรงต่อ

ประชาชนและครูกับนักเรียน คือ ผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง

นั่นเอง แต่หากเจ้าหน้าที่ของรัฐละเมิดสิทธิมนุษยชนก็จะถูกดำเนิน

คดีอาญา แพ่ง และวินัย

พลเอก กฤษณะ บวรรัตนารักษ์


๔.๒ สรุปหลักการมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกำหนดการ

บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ กับหลักสิทธิ

มนุษยชน มาตรา ๑๗ ดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงการคุ้มครองการปฏิบัติ

หน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง อาญา หรือ

วินัยเท่านั้น แต่เป็นการนำเอาหลักสิทธิมนุษยชนมากำหนดให้

ประกอบการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด คือ ต้องสุจริต ไม่เลือก

ปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น กล่าวคือ

หากเป็นการกระทำที่สุจริต (ซื่อตรง ตรงไปตรงมาไม่กลั่นแกล้ง)

ไม่เลือกปฏิบัติ (ปฏิบัติเท่าเทียมกัน ไม่สองมาตรฐาน ไม่ว่าจะแตกต่าง

ในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ ความเชื่อทางศาสนา ความ

คิดเห็นทางการเมือง หรือสถานะทางเศรษฐกิจ) และกรณีใช้กำลัง

ต้องไม่เกินสมควรแก่เหตุ (ไม่มีทางเลือกที่จะป้องกันด้วยวิธีการอื่น)

หรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น (ไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้)

เป็นกรอบการปฏิบัติงานมิให้กระทำการตามอำเภอใจ ทุกภารกิจ

ต้องอยู่ภายใต้กรอบหลักสิทธิมนุษยชน หากไม่อยู่ภายใต้กรอบ

ดังกล่าวจะต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง อาญา และวินัย องค์กรเอกชน

พัฒนา (NGO) และองค์การระหว่างประเทศบางแห่งเข้าใจ

คลาดเคลื่อนว่า มาตรา ๑๗ ช่วยเหลือปกป้องพนักงานเจ้าหน้าที่

ไม่ต้องถูกดำเนินคดีหรือไม่ต้องรับผิด (impunity) แต่แท้จริงแล้ว

เป็นการนำเอาหลักสิทธิมนุษยชนมาประกอบการปฏิบัติหน้าที่

อย่างเคร่งครัด หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกดำเนินคดีและรับผิดอย่าง

ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

29


๔.๓ การตรวจ DNA ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงสามารถ

กำหนดให้ตรวจ DNA ได้ ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการ

ในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ มาตรา ๑๑ (๖) บัญญัติสรุปได้ว่า นายก-

รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษา

ความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งควรมีการอธิบายและชี้แจงต่อ

สาธารณะว่า การตรวจ DNA ในพื้นที่นั้นเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการ

ดำเนินคดีอาญาผู้ก่อเหตุรุนแรงที่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งส่งผลกระทบ

ต่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ การตรวจ DNA ไม่ก่อให้

เกิดความเดือดร้อนแก่สุจริตชนแต่อย่างใด เมื่อมีฐานข้อมูล DNA

ครบถ้วนหรือเพิ่มขึ้นจะมีผลต่อการดำเนินคดีอาญาผู้ก่อเหตุรุนแรง

และเป็นการป้องปรามทำให้การก่อเหตุรุนแรงลดลง ส่งผลให้

ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น กอ.รมน.ภาค ๔ ส่วนหน้า

ควรอธิบายและชี้แจงตามข้างต้นแล้วขอความร่วมมือในการตรวจ

DNA ก่อน เมื่อไม่ได้รับความร่วมมือจึงจะใช้บทบัญญัติตามมาตรา

๑๑ (๖) ต่อไป ทั้งนี้ การตรวจ DNA ในพื้นที่ควรดำเนินการ

ในลักษณะทยอยดำเนินการ หลีกเลี่ยงการตรวจ DNA ทั้งหมู่บ้าน

กลุ่มชุมชน หรือประชาชนและเด็กจำนวนมากในคราวเดียวกัน และ

กอ.รมน.ภาค ๔ ส่วนหน้า ควรกำชับกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ตรวจ

DNA ประชาชนให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุภาพและภายใต้พระราช

กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ มาตรา ๑๗

๔.๔ การห้ามใช้ถังแก๊สเหล็กโดยให้ใช้ถังแก๊สคอมโพสิต

แทน ในเขตพื้นที่ที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกและประกาศสถานการณ์

ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงสามารถกำหนดห้ามใช้ถังแก๊สเหล็กโดยให้

ใช้ถังแก๊สคอมโพสิตแทนในพื้นที่ได้ ตามกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗

มาตรา ๑๑ (๘) บัญญัติสรุปได้ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

สามารถห้ามบุคคลกระทำ หรือมีซึ่งกิจการหรือสิ่งอื่นใดได้ และ

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ

30

พลเอก กฤษณะ บวรรัตนารักษ์


มาตรา ๑๑ (๖) (๙) บัญญัติสรุปได้ว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้กระทำการ

ใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความปลอดภัยของประชาชน และ

นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบ

ครองวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบ

หรือก่อการร้ายต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติ

ตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรีกำหนด หาก กอ.รมน.ภาค ๔ ส่วนหน้า

ขอความร่วมมือจากบริษัทผู้ค้าแก๊สและประชาชนห้ามใช้ถังแก๊ส

เหล็กโดยให้ใช้ถังแก๊สคอมโพสิตแทนในพื ้นที่แล้วไม่ได้ผล จึงจะ

สมควรใช้บทบัญญัติข้างต้นต่อไป นอกจากนั้น สมควรหารือกับ

กระทรวงพลังงานเพื่อพิจารณาใช้กฎหมายที่รับผิดชอบกับกรณีนี้

ด้วยเพื่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชนในพื้นที่

๔.๕ การลงทะเบียนซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือด้วยระบบ

ตรวจสอบใบหน้าและอัตลักษณ์ในเขตพื้นที่ประกาศสถานการณ์

ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงสามารถกำหนดให้มีการลงทะเบียนซิมการ์ด

โทรศัพท์มือถือด้วยระบบตรวจสอบใบหน้าและอัตลักษณ์ในพื้นที่ได้

ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ

มาตรา ๑๑ (๖) (๙) บัญญัติสรุปได้ว่า นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้

กระทำการใด ๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความปลอดภัยของ

ประชาชน และนายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้การซื้อ ขาย ใช้

หรือมีไว้ในครอบครองวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งอาจใช้ใน

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

การก่อความไม่สงบหรือก่อการร้ายต้องได้รับ

อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตาม

เงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งควรมีการ

อธิบายและชี้แจงต่อสาธารณะว่า ลงทะเบียน

ซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือด้วยระบบตรวจสอบ

ใบหน้าและอัตลักษณ์ในพื้นที่ไม่ก่อให้เกิด

ความเดือดร้อนแก่สุจริตชนแต่อย่างใด เพื่อ

เป็นการป้องกันมิให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงใช้ซิม

โทรศัพท์ที่ไม่จดทะเบียนในการจุดชนวน

ระเบิด ทำให้การก่อเหตุรุนแรงลดลงส่งผลให้

ประชาชนในพื้นที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

สมควรหารือกับสำนักงานคณะกรรมการ

กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

แห่งชาติ (กสทช.) เพื่อพิจารณาใช้กฎหมายที่รับผิดชอบกับกรณีนี้

ด้วยเพื่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชนในพื้นที่

บทบัญญัติของกฎหมายตามข้อ ๔.๓ - ข้อ ๔.๕ ไม่ละเมิดสิทธิ

มนุษยชนแต่อย่างใด ซึ่งตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ

พลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคี ข้อ ๔ กำหนด

สรุปได้ว่า ในกรณีมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินรัฐภาคีอาจใช้

มาตรการที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

บางประการได้หากจำเป็น ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ

กฎหมายข้างต้นต้องระวางโทษทางอาญาตามพระราชกำหนด

ดังกล่าว ทั้งนี้ กอ.รมน.ภาค ๔ ส่วนหน้า ควรพิจารณาตรวจสอบว่า

ได้ดำเนินการให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

พิจารณาออกคำสั่งตามกฎหมายข้างต้นเรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพียงใด

รวมทั้งประสานหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบตามกฎหมายอื่น

ที่เกี่ยวข้องด้วย

๔.๖ ตามที่กล่าวข้างต้นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถ

เข้าไปได้ในทุกสถานที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือทำหน้าที่

บังคับใช้กฎหมาย เช่น แหล่งชุมชน โรงพยาบาล โรงเรียน หรือสถานที่

สำคัญทางศาสนาหรือศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น ไม่มีข้อจำกัด ดังเช่น

ในกรณีการรบหรือการสงครามนั้น แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการแต่งเครื่อง

แบบทหารเข้าไปในโรงเรียน หรือสถานที่สำคัญทางศาสนาบางแห่ง

ในพื้นที่ หากมีความจำเป็นควรแต่งชุดสุภาพเป็นระเบียบเรียบร้อย

เช่น การแต่งชุดซาฟารีน้ำเงินเข้มคล้ายเครื่องแบบหน่วยพัฒนาการ

เคลื่อนที่ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็นต้น เป็นที่ยอมรับกันว่า

สิทธิมนุษยชนไปด้วยกันกับความสงบเรียบร้อยภายในประเทศและ

ความมั่นคงปลอดภัยของสาธารณะ ถ้าไม่มีความสงบเรียบร้อย

ภายในประเทศและความมั่นคงปลอดภัยของสาธารณะ สิทธิมนุษยชน

ไม่อาจดำรงอยู่ได้

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

31


สัญญาณแรง

พลตรี ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ

รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก

กระบวนการพูดคุยสันติสุขเพื่อดับไฟใต้ของไทยระหว่าง

คณะผู้แทนของรัฐ กับผู้แทนกลุ่มแบ่งแยกการปกครองในนาม

กลุ่ม BRN (Barisan Revolusion Nasional) เพื่อยุติหรืออย่างน้อย

ก็บรรเทาความรุนแรงจากการใช้อาวุธเข้าห้ำหั่นกัน โดยเฉพาะการ

กระทำจากฝ่าย BRN โดยนำปัญหาความขัดแย้งหรือความคับข้องใจ

ของฝ่ายขบวนการแบ่งแยกผู้คนนี้มาสู่การพูดคุยแลกเปลี่ยนบนโต๊ะ

เจรจา อันจะนำไปสู่การตอบสนองความต้องการของพี่น้อง

ประชาชนในพื้นที่โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง และนี่คือเป้าหมาย

ปลายทางของกระบวนการพูดคุยสันติสุขของรัฐที่คาดหวังว่าจะเป็น

หนทางไปสู่การนำสันติสุขกลับคืนมาสู่พื้นที่แห่งนี้ได้อย่างแท้จริง

หากแต่ว่าการดำเนินการตามแนวทางของกระบวนการพูดคุย

สันติสุขของรัฐกับกลุ่มเห็นต่างกับรัฐนั้น หาได้ง่ายดายตามมโนภาพ

ที่สร้างขึ้นไม่ เพราะแท้ที่จริงแล้วกระบวนการพูดคุยเพื่อนำสันติสุข

มาสู่พื้นที่นั้น ต้องได้รับการยอมรับและได้รับการตอบสนอง

ความต้องการของขบวนการแบ่งแยกผู้คนในพื้นที่อย่างทั่วถึง

ทุกกลุ่มทุกฝ่าย ซึ่งในโลกความเป็นจริงนั้น การต่อสู้กับรัฐเพื่อนำ

การปกครองอย่างเป็นอิสระจากรัฐไทยนั้น มีวิวัฒนาการมาช้านาน

ไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี จึงเป็นที่มาของการแบ่งกลุ่มแบ่งพวกของ

32

ขบวนการเห็นต่างจากรัฐเอง เพื่อช่วงชิง

การนำในขบวนการแบ่งแยกการ

ปกครองจากรัฐเอง ซึ่งหากกลุ่มของตน

ได้รับการยอมรับว่ามีตัวตนและมี

บทบาทนำไม่แพ้กลุ่มอื่นในขบวนการ

ย่อมเป็นที่มาของอำนาจและผล

ประโยชน์ที่ผู้นำกลุ่มและพวกพ้อง

จะได้รับ

หากแต่หนทางไปสู่การยอมรับ

เข้าเป็นกลุ่มตัวแทนขบวนการแบ่งแยก

การปกครองนี้ ต้องมีพื้นที่ในเวทีของ

กระบวนการพูดคุยกับรัฐตั้งแต่ต้น ซึ่ง

กลุ่มตนจะต้องเป็นกลุ่มหนึ่งในการพูดคุย

กับรัฐอย่างเป็นทางการเฉกเช่นเดียว

กับกลุ่ม BRN ที่ได้รับการยอมรับจากรัฐ

ทั้งที่ผ่านมาและในห้วงหลัง ๆ มานี้

ปฏิกิริยาของการก่อเหตุร้ายในห้วงนี้

จึงเป็นการส่งสัญญาณให้รัฐเห็นว่า กลุ่ม BRN ไม่ใช่ตัวแทนของ

ขบวนการต่อสู้กับรัฐอย่างเบ็ดเสร็จแต่เพียงผู้เดียว และรัฐต้องรับรู้

ว่า ขบวนการต่อสู้กับรัฐไทยตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมานั้น

กลุ่มคนที่มีความเห็นต่างจากรัฐ มีอุดมการณ์หรือแนวคิดที่ไม่ได้เป็น

เอกภาพหนึ่งเดียว การต่อสู้กับรัฐอันยาวนาน ได้ทำให้คนใน

ขบวนการแตกตัวออกไปตั้งกลุ่มใหม่หลากหลายกลุ่ม และต่างฝ่าย

ต่างมีศักยภาพในการต่อสู้กับรัฐในหลายมิติทั้งการก่อความไม่สงบ

การก่อเหตุรุนแรง การใช้สื่อโซเชียลในการปฏิบัติการข่าวสาร (IO)

เพื่อต่อสู้กับรัฐ หรือการใช้เวทีวิชาการในการสื่อสารแนวคิดและ

ความต้องการไปสู่รัฐอย่างเป็นระบบ เหล่านี้คือความสลับซับซ้อนของ

กระบวนการพูดคุยสันติสุขของรัฐกับกลุ่มเห็นต่างจากรัฐที่ไม่ง่าย

อย่างที่คิด กลุ่มเห็นต่างที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ที่มีทั้งการแสดงตัวตน

และที่ยังไม่แสดงตัวตน แต่ต่างมีศักยภาพในการต่อสู้ตามที่ตนถนัด

และนิยมชมชอบ และเมื่อใดที่การพูดคุยดำเนินไปจนมีแนวโน้ม

ว่าผลการพูดคุยอาจจะไม่เป็นไปตามที่กลุ่มตนคิดหรือคาดหวัง

คนเหล่านี้ก็พร้อมที่จะปลีกตัวออกมาจัดตั้งกลุ่มใหม่ และมีอิสระในการ

แสดงออกซึ่งความมีตัวตนของกลุ่มตนได้ทุกรูปแบบตามแต่โอกาส

และจังหวะจะอำนวย

พลตรี ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ


นายกัสตูรี มาห์โกตา เเกนนำพูโล

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงเกิดปรากฏการณ์ก่อเหตุรุนแรง

ให้เห็นเป็นระยะ ๆ หนักบ้าง เบาบ้าง ตามแต่โอกาสและจังหวะ

จะอำนวย เพื่อต้องการแสดงตัวตนของกลุ่มตนที่กำลังถูกละเลยหรือ

มองข้ามจากรัฐ คนกลุ่มนี้พร้อมก่อเหตุใด ๆ ได้ตลอดเวลา แม้ว่า

ท่าทีของรัฐและกลุ่ม BRN จะมีแนวโน้มของการยุติความรุนแรง

ชั่วคราวระหว่างความพยายามในการพูดคุยที ่กำลังดำเนินไปอย่าง

เข้มข้น ดังที่ เมื่อกลางเดือนเมษายน ๒๕๖๕ ได้มีการก่อเหตุเกิด

บริเวณข้างบ่อน้ำ หมู่ที่ ๘ ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

โดยวางระเบิดซ้อนกันถึง ๓ ลูก เพื่อหมายสังหารเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ที่เข้ามาตรวจสถานที่เกิดเหตุ เมื่อระเบิดลูกแรกทำงานแล้ว และ

แผนการก่อเหตุร้ายครั้งนั้นก็ได้ผล เมื่อมีผู้เสียชีวิต ๑ ราย และ

เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดได้รับบาดเจ็บทันที ๓ นาย ซึ่งเป็นจังหวะ

ที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดเข้าตรวจสอบ ปรากฏว่าได้เกิดระเบิดขึ้น

นอกจากนั้น คนร้ายกลุ่มนี้ยังทิ้งใบปลิวไว้ ๑ แผ่น มีสัญลักษณ์รูป

หัวเสือหรือสิงโต เขียนข้อความเป็นภาษามลายู อักขระรูมีว่า

DAULAT TUANKU G5 ASKAR DI-RAJA PATANI แปลเป็นไทยว่า

ทหารกองทัพหลวงปาตานี หรือทหารของประชาชนปาตานีและ

ยังมีสัญลักษณ์ G5 ที่คาดว่าเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มด้วย

เหตุการณ์ความรุนแรงครั้งนี้ นับเป็นเหตุร้ายขนาดใหญ่ที่มี

การใช้ระเบิดเหตุการณ์แรกของเดือนรอมฎอนในปีนี้ ซึ่งแม้จะมีการ

ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขระหว่างคณะ

ผู้แทนรัฐบาลไทยกับคณะพูดคุยฝ่าย BRN ว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องการ

ลดความรุนแรงในช่วงเดือนถือศีลอดของพี่น้องชาวมุสลิมในพื้นที่

ปลายด้ามขวานแห่งนี้หรือที่เรียกกันว่า เดือนรอมฎอน เพื่อให้เกิด

บรรยากาศการพูดคุยของทั้งสองฝ่ายให้เป็นไปตามแนวทางรอมฎอน

สันติสุขที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน หากแต่ว่ากลุ่มเห็นต่างจาก

รัฐนั้นหาใช่มีเพียงกลุ่ม BRN ไม่ และกลุ่ม BRN ก็ไม่ได้เป็นผู้นำกลุ่ม

เห็นต่างในพื้นที่ รวมทั้งกลุ่มเห็นต่างอื่น ๆ ต่างก็มีศักยภาพในการ

ต่อสู้กับรัฐอย่างเป็นอิสระอย่างเต็มที่

ล่าสุด นายกัสตูรี มาห์โกตา ผู้นำกลุ่มเห็นต่างอีกกลุ่มหนึ่งที่ชื่อ

องค์การปลดปล่อยสหปาตานี (PULO-MKP) กล่าวกับเบนาร์นิวส์

โดยอ้างว่าเหตุวางระเบิดที่สายบุรีที่ทำให้ชาวบ้านเสียชีวิต ๑ ราย

และเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ ๓ นาย เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น

เป็นฝีมือจากการกระทำของกลุ่มพูโล ที่ทำไปเพื่อเรียกร้องให้คณะ

พูดคุยของรัฐไทยนั้น ต้องเจรจากับฝ่ายผู้เห็นต่างทุกกลุ่ม ไม่ใช่กลุ่ม

BRN เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น และนายกัสตูรี ยังกล่าวอีกว่า การระเบิด

ครั้งนี้ ถือเป็นปีกหนึ่งของพูโลที่วางระเบิด โดยกลุ่มพูโล มีเครือข่าย

กองกำลัง ๕ ปีก ในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยแต่ละปีกจะมีอิสระ

ในการต่อสู้ในเขตรับผิดชอบของตน และกลุ่มพูโลนี้ มีศักยภาพอย่าง

เต็มเปี่ยมที่พร้อมจะต่อสู้กับรัฐในทุกรูปแบบหากกลุ่มตนถูกละเลย

หรือถูกมองข้ามจากรัฐ

จากปฏิกิริยาที่ผ่านมานี้ จึงไม่อาจคาดหวังในผลสัมฤทธิ์

อันสวยงามของรัฐได้ว่า เมื่อกระบวนการพูดคุยสันติสุขกับกลุ่ม BRN

สำเร็จลง ก็น่าจะลดศักยภาพการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรงจากผู้เห็นต่าง

ของกลุ่มอื่น ๆ ได้อย่างมากอย่างที่ฝัน ด้วยคนกลุ่มนี้กำลังแสดงตัวตน

ว่ากลุ่มพูโลเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ส่งสัญญาณ

แรง ๆ ให้รัฐเห็นชัดเจนว่า พวกเขามีตัวตน

อยู่จริงในพื้นที่แห่งนี้ ทั้งยังส่งสัญญาณ

แรง ๆ ให้รัฐได้รับรู้ว่าอย่าได้ละเลยพวกเขา

ในเวทีการพูดคุยไม่ว่าจะเป็นหนไหนเป็น

อันขาด ไม่เช่นนั้นปลายทางสุดท้ายที่รัฐ

คาดหวังก็จะไม่มีวันเกิดขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์

เหล่านี้คือการส่งสัญญาณแรง ๆ จากกลุ่มคน

ในขบวนการแบ่งแยกผู้คนที่อาจมีมาเรื่อย ๆ

ซึ่งรัฐควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ที่มาของภาพ : httpswww.southernreports.org,

httpswww.benarnews.org

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

33


เปิดประตูสู่เทคโนโลยี

ป้องกันประเทศ

การพัฒนาขีดความสามารถ

ของเครื ่องบินขับไล่ยุคถัดไป (6 th Generation Fighters)

เครื่องบินขับไล่นับว่าเป็นยุทโธปกรณ์ที่มีขีดความสามารถสูง

และเป็นปัจจัยหลักในการบ่งชี้ความสามารถทางการรบของ

ประเทศต่าง ๆ เนื่องจากในการรบ ฝ่ายที่สามารถเข้าควบคุมการครอง

อากาศ (Air Supremacy) จนมีอิทธิพลทางอากาศเหนือฝ่ายข้าศึก

แบบเบ็ดเสร็จได้ก่อน จะสามารถปฏิบัติภารกิจตามยุทธวิธีทางทหาร

ได้อย่างอิสระ ดังนั้น เทคโนโลยีที่ใช้งานบนเครื่องบินจึงมีส่วนสำคัญ

อย่างยิ่ง และการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้ ทั้งอุปกรณ์เซนเซอร์

อิเล็กทรอนิกส์การบิน (Avionic) ขีปนาวุธทั้งแบบอากาศสู่อากาศ

และอากาศสู่ภาคพื้นจึงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันเครื่องบิน

ขับไล่ที่กองทัพในประเทศต่าง ๆ ใช้งานกันมากที่สุด ถูกจัดอยู่ใน

เทคโนโลยีอากาศยาน (Jet fighter Generation) ยุคที่ ๔

(4 th Generation) และต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยี Datalink เพื่อเพิ่ม

ความสามารถให้กับเครื่องบินในยุคที่ ๔ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้

สะดวกยิ่งขึ้น เกิดเป็นยุคเทคโนโลยีย่อย เช่น ยุคที่ ๔.๕ (4.5 th

Generation) ไปสู่ยุค ๔+ (4 th Plus Generation) หรือ ๔++ (4 th Plus

Plus Generation) ยกตัวอย่างเช่น Sukhoi Su-35 ของสหภาพ

โซเวียต Chengdu J-10 ของประเทศจีน Eurofighter Typhoon

34

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

ของสหภาพยุโรป เป็นต้น

ในส่วนของเครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๕ (5 th Generation)

สหรัฐอเมริกาได้พัฒนาเครื่องบิน F-22 Raptor ที่พัฒนาโดยบริษัท

Lockheed Martin ซึ่งเครื่องบินรุ่นนี้มีจุดเด่นทางด้านความสามารถ

ในการซ่อนตัวจากการออกแบบพื้นผิวของเครื่องบินให้ลดการ

สะท้อนสัญญาณเรดาร์ต่าง ๆ และการใช้งานช่องเก็บอาวุธในลำตัว

ของเครื่องบิน การใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ (Advance

Avionic Computation) ในการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มาเพื่อประมวลผล

และแสดงผลที่แม่นยำให้แก่นักบิน อีกทั้งสามารถปฏิบัติภารกิจได้

หลากหลาย (Multirole) และหลังจากการพัฒนาเครื่องบิน F-22

เสร็จสิ้นลง สหรัฐอเมริกาปฏิเสธการติดต่อขอซื้อเครื่องบิน F-22 จาก

ทุกประเทศ ส่งผลให้หลาย ๆ ประเทศเริ่มต้นโครงการวิจัยและพัฒนา

เครื่องบินขับไล่ของตนเองและวางแผนไปถึงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่

ในยุคที่ ๖ เลยทีเดียว เช่น โครงการ Future Combat Air System

ของสหภาพยุโรป โดยมีประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน เป็นแกนนำ

โครงการ The BAE Systems Tempest จากการร่วมมือกันของ

ประเทศสวีเดน อิตาลี และสหราชอาณาจักร โครงการ Mikoyan PAK DP

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


ของประเทศรัสเซีย โครงการ the F-X program ของประเทศญี่ปุ่น

และโครงการวิจัยเครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๖ (Pre-research on

Sixth-generation Aircraft) โดยบริษัท Chengdu Aircraft

Industry Group ของประเทศจีน โดยในทุกโครงการ มีเป้าหมาย

ในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๖ (6 th Generation Fighters)

คุณสมบัติเด่นของเครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๖ (Predicted feature

Of 6 th Generation Aircraft)

- สามารถทำงานทั้งในขณะที่มีนักบินและไม่มีนักบิน (Optionally

Manned)

- เครื่องบินจะมีความสามารถในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ

ภายนอกเครื่องบินในบริเวณรอบ ๆ ได้ เช่น การปฏิบัติหน้าที่เป็น

ศูนย์ควบคุมอากาศยานไร้คนขับแบบเพดานบินปานกลางและบิน

ได้นาน (Medium-Altitude, Long Endurance: MALE UAV) ฝูงบิน

อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (Swamps of UAVs) ในภารกิจด้าน

ข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ การค้นหาเป้าหมาย และการลาดตระเวน

(Intelligence Surveillance Target Acquisition

Reconnaissance: ISTAR) ควบคุมกระบวนยุทธวิธีของฝูงบิน

ไร้คนขับติดอาวุธต้นทุนต่ำ (เช่น โครงการ Loyal Wingman

โครงการ The Mosquito และโครงการ Manned, Unmanned

Teaming (MUM-T) ผ่านโครงข่าย Datalink

- ออกแบบโดยคำนึงถึงการใช้งานโครงข่ายข้อมูลเป็นศูนย์กลาง

(Network Centric Warfare: NCW)

- ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ (Advanced Artificial

Intelligence) ในการประมวลสภาพสนามรบ คัดกรองและจัดแสดง

ข้อมูลที่สำคัญในเวลาที่จำเป็นต้องใช้งาน และซ่อนข้อมูลที่มีความ

สำคัญน้อย เพื่อลดภาระของผู้ใช้งาน และแสดงภาพรอบตัวเครื่องบิน

ผ่านเทคโนโลยี Augmented Reality โดยหมวก Smart

Helmet

- ใช้วัสดุโครงสร้าง และพื้นผิวแบบใหม่ เพื ่อลดพื้นที ่หน้าตัด

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

เรดาร์ (Radar cross-section: RCS) เพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อนตัว

(Stealth)

- ระบบเรดาร์แบบ Passive AESA ที่สามารถตรวจจับได้ไกล

มากยิ่งขึ้น

- สามารถทำความเร็วในระดับ Hypersonic หรือประมาณ

๕ เท่าของความเร็วเสียง

- สามารถติดตั้งระบบอาวุธสมัยใหม่ เช่น อาวุธพลังงาน

(Direct Energy Weapon) ที่อาจเป็นอาวุธคลื่นไมโครเวฟ

(Microwave) อาวุธคลื่นเสียง (Sonic) อาวุธเลเซอร์ (Laser) อาวุธ

ลำแสงอนุภาค (Particle Beam) หรืออาวุธพลัสม่า (Plasma)

อย่างไรก็ตามรูปแบบโครงการการวิจัยและพัฒนาของเครื่องบิน

ขับไล่ยุคที่ ๖ รวมถึงขีดความสามารถโดยรวมยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้

ตามความต้องการของผู้พัฒนา และจากแผนการพัฒนาเครื่องบิน

ขับไล่ยุคที่๖ ของประเทศมหาอำนาจ คาดว่าจะสามารถใช้งานได้จริง

และเข้าประจำการได้ในปี ค.ศ. ๒๐๓๕ - ๒๐๕๐ หรือในอีกประมาณ

๑๐ กว่าปีข้างหน้า ซึ่งนับว่ายังอีกห่างไกลพอสมควร ดังนั้น ในช่วง

เวลาหลังจากนี้ จะมีข่าวอย่างต่อเนื่องในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี

เหล่านี้ ที่อาจจะประสบความสำเร็จหรือไม่สำเร็จคงจะต้องติดตาม

กันต่อไป ซึ่งการตั้งความหวังที่จะใช้งานเครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๖

เพียงอย่างเดียวคงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก อีกทั้งในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา

ได้ผลิตเครื่องบิน F-35 ออกมาจำหน่ายแก่ประเทศต่าง ๆ ทำให้

หลาย ๆ ประเทศที่ให้ความสนใจที่จะเข้าสนับสนุนโครงการพัฒนา

เครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๖ เปลี่ยนใจมาเจรจากับสหรัฐอเมริกา เพื่อขอ

ซื้อเครื่องบิน F-35 มาใช้งาน ทดแทนความต้องการในการพัฒนา

ขีดความสามารถกองทัพอากาศของตนเอง รวมถึงประเทศไทยของ

เราด้วย ซึ่งเครื่องบินขับไล่ยุคที่๕ นับได้ว่ามีขีดความสามารถที่สูงมาก

และเพียงพอต่อการใช้งานอยู่แล้ว ในการปกป้องผลประโยชน์ของ

ประเทศและรักษาอธิปไตยของชาติ ไปอีกนานเท่านาน

35


ครัวยั ่งยืนเพื ่อน้อง

กรมเสมียนตรา

ามที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมในฐานะหน่วยงานที่มี

พันธกิจสำคัญในการดำเนินงานเพื่อพิทักษ์รักษาและเทิดทูน

สถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนเป็นองค์กรนำในการรวมจิตใจของ

คนในชาติเพื่อสร้างความจงรักภักดี ร่วมส ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

ของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเทิดทูน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสถาบันพระมหากษัตริย์ในโอกาส

ต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง มุ่งหวังการสร้างการรับรู้พระราชกรณียกิจ

ของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะโครงการพระราชดำริที่สร้าง

คุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย รวมทั้ง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ

ประชาชนในทุกระดับให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้ง กิจกรรม

ยังมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนและโรงเรียน และเสริมสร้าง

ความรักสามัคคีในสังคมไทย

36

กรมเสมียนตรา


ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้กรุณา

อนุมัติให้กรมเสมียนตราดำเนินโครงการ “ครัวยั่งยืนเพื่อน้อง” ตาม

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้แก่ โรงเรียนที่

อยู่ห่างไกลสังคมเมืองในพื้นที่ ๖ ภูมิภาคของประเทศไทย จำนวน

๑๒ จังหวัด รวม ๓๖ โรงเรียน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ

ดำเนินงานจากมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนของ บริษัท

ปตท. จำกัด (มหาชน) กำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่าง

เดือนมกราคม - สิงหาคม ๒๕๖๕ ดังนี้

ต.หนองคู อ.บ้านแท่น

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

37


การดำเนินโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนา

โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากสังคมเมือง มุ่งเน้นการพัฒนา

คุณภาพชีวิตด้วยการสร้างแหล่งอาหารที่ยั่งยืนให้แก่นักเรียนอย่าง

ต่อเนื่อง สามารถส่งต่อรุ่นต่อรุ่นได้ ที่สำคัญเพื่อเป็นการสร้างการ

รับรู้และความเข้าใจแนวคิดการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ให้แก่นักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติอีกด้วย การดำเนินโครงการฯ

ประกอบด้วย

๑) สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ขนาด ๓ x ๔ เมตร โรงเรียนละ

๑ โรงเรือน พร้อมแม่ไก่พันธุ์ไข่

๒) สร้างโรงเรือนเพาะเห็ด ขนาด ๓ x ๔ เมตร โรงเรียนละ ๑

โรงเรือน พร้อมก้อนเชื้อเห็ดที่เหมาะสมตามพื้นที่

๓) มอบเครื่องมือการทำแปลงเกษตรครัวเรือน พร้อม

เมล็ดพันธุ์พืชจากศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ (จันกะผัก)

และโครงการทหารพันธุ์ดี ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีการตัดต่อพันธุกรรม

38

กรมเสมียนตรา


สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างต่อเนื่อง

๔) มอบอุปกรณ์การกีฬา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม

บริษัท คิง เพาเวอร์

โดยในห้วงเดือนมกราคม - เมษายน ๒๕๖๕ กรมเสมียนตรา

ในฐานะหน่วยรับผิดชอบดำเนินโครงการฯ ได้เดินทางไปสำรวจ

ความเรียบร้อย และส่งมอบโครงการให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

ครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว

ผลการดำเนินโครงการฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

อย่างเป็นรูปธรรม เกิดความสามัคคีในสังคม ตามหลัก “บวร”

มากยิ่งขึ้น ดังที่เห็นในภาพความร่วมมือระหว่าง วัด โรงเรียน และ

ชุมชน ที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือโรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ

สำหรับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สรุปพอสังเขปดังนี้

โรงเรียน ได้รับโครงการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เพื่อช่วยสนับสนุนอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้

เพื่อเสริมสร้างอาชีพด้านการเกษตรซึ่งเหมาะสมกับสภาพความ

เป็นอยู่และวิถีการดำรงชีวิตของนักเรียน และจากระยะเวลาที่

ดำเนินโครงการในห้วงที่ผ่านมา เพียงไม่กี ่เดือน โรงเรียนยังได้รับ

ผลผลิตในปริมาณที่มากพอนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มในหลายรูปแบบ

เช่น แบ่งให้นักเรียนนำกลับบ้านจัดจำหน่ายให้คุณครู และชุมชนซึ่ง

นับวันมีความต้องการเพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรายได้ที่

ได้รับจะนำไปต่อยอดโครงการต่อไป อีกทั้งยังนำผลผลิตไปช่วยเหลือ

กิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนระดับหมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด รวมทั้ง

ยังได้รับอุปกรณ์กีฬาจากกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ อีกด้วย

นักเรียน ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านอาหารกลางวันที่

ใช้ผลผลิตของโครงการ ได้แหล่งเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะอาชีพ

ด้านการเกษตร ฝึกความรับผิดชอบในการดูแลโครงการ ฝึกอาชีพ

การค้าขายผลผลิตของโครงการ และได้รับอุปกรณ์กีฬาสำหรับการ

เรียนและการฝึกทักษะทางกีฬา ฝึกการบริหารจัดการการใช้เวลา

ในแต่ละวันให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น

ชุมชน ได้รับโอกาสที่เพิ่มมากขึ้นให้แก่บุตรหลาน สร้างเสริม

ความสัมพันธ์เกิดความสามัคคีในสังคม ตามหลัก “บวร” ระหว่าง

บ้าน วัด โรงเรียน

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้รับเครือข่ายในระดับ

ชุมชนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการเพื่อ

สนับสนุนสร้างการรับรู้ให้เกิดความส ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและ

จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านโครงการตามแนวทาง

พระราชดำริที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติชัดเจน

เป็นรูปธรรม และได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหมและมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นองค์กรที่ด ำเนินงาน

เพื่อสังคมโดยไม่แสวงหาผลกำไร รวมทั้ง กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์

ร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน

และสิ่งแวดล้อม สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างข้าราชการทหาร

กับสังคม

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

39


โครงการวิจัยและพัฒนา

เครื ่องค้นหาและตรวจจับสัญญาณ

DTMF (C-IED): Smart Jammer

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

ความเป็นมา

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ได้ดำเนินโครงการวิจัย

และพัฒนาเครื่องค้นหาและตรวจจับสัญญาณ DTMF

(C-IED): Smart Jammer โดยมี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร

กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็นหน่วยเจ้าของโครงการ

และมี พันเอก ดร.กิตติ รัตนดิษฐ์ เป็นนายทหารโครงการ ร่วมกับ

บริษัท อาร์เอฟ แอปพลิเคชัน จำกัด เพื่อสนับสนุนนโยบายการ

ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม ใน

การวิจัยและพัฒนาด้านยุทโธปกรณ์เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา

การก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ความส ำคัญ

กับอุปกรณ์ป้องกันภัยบุคคล และเครื่องมือพิเศษในการสนับสนุน

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อออกแบบ พัฒนา และสร้างเครื่องค้นหาและตรวจจับ

สัญญาณ DTMF (C-IED): Smart Jammer ในย่านความถี่

วีเอชเอฟ ๑๓๖ - ๑๗๔ เมกะเฮิรตซ์ แบบกระเป๋าหิ้ว จำนวน ๑ ชุด

ข้อมูลทางเทคนิค/หลักการทำงานของระบบ

เป็นนวัตกรรมเพื่อใช้ในงานเก็บกู้วัตถุระเบิดแสวงเครื่อง เพื่อ

ป้องกันความสูญเสียด้านกำลังพลจากระเบิดแสวงเครื่องที่ใช้

วิธีการจุดระเบิดด้วยระบบวิทยุสื่อสารผ่านรหัสสัญญาณ DTMF

(Dual Tone Multi Frequency) ของผู้ก่อเหตุรุนแรง โดยเครื่อง

จะค้นหา ประมวลผล และตรวจจับสัญญาณความถี่วิทยุสื่อสาร

แล้วส่งสัญญาณความถี่ที่ตรวจจับได้ออกไปรบกวนในทันที (ภายใน

เวลาไม่เกิน ๐.๒ วินาที) แบบอัตโนมัติ ในย่านความถี่วีเอชเอฟ

๑๓๖ - ๑๗๔ เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งมีโครงสร้างการทำงานของเครื่อง และ

ต้นแบบผลงานวิจัยพร้อมอุปกรณ์ ดังแสดงในภาพ

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ (ระยะเวลา เมษายน ๒๕๖๔

- มีนาคม ๒๕๖๕)

๑) การเตรียมการ : วางแผนการดำเนินงาน ศึกษาคุณสมบัติ

ของอุปกรณ์ ออกแบบ และจัดทำพิมพ์เขียว

๒) การจัดหาอุปกรณ์และติดตั้ง : จัดหาวัสดุครุภัณฑ์ ติดตั้ง

และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์และระบบ รวมทั้ง สร้างต้นแบบ

เครื่องค้นหาและตรวจจับสัญญาณ DTMF (C-IED): Smart

Jammer

๓) การทดสอบและประเมินผลการใช้งาน : ทดสอบทาง

เทคนิคในระดับห้องปฏิบัติการ (Lab Test) ทดสอบการใช้งานทาง

ยุทธวิธี (Field Test) โดยหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (Explosive

Ordnance Disposal: EOD) ของกรมสรรพาวุธทหารบก และ

ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดของศูนย์การทหารราบ

๔) การถ่ายทอดองค์ความรู้ สรุปผลและปิดโครงการ

โครงสร้างการทำงานของเครื่องค้นหาและตรวจจับสัญญาณ DTMF (C-IED): Smart Jammer (Block Diagram)

40

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม


ต้นแบบเครื่องค้นหาและตรวจจับสัญญาณ DTMF (C-IED): Smart Jammer พร้อมอุปกรณ์

ผลการดำเนินโครงการ

๑) ผลการทดสอบทางเทคนิคในระดับห้องปฏิบัติการ (Lab

Test) เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ (ช่วงเช้า) ณ ห้องปฏิบัติการ

อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีกลาโหม โดยผลการทดสอบพบว่าเครื่องมีกำลังส่งสูงกว่า

ที่กำหนดคือ ประมาณ ๖ วัตต์ (ตามที่กำหนดมีกำลังส่ง ๕ วัตต์)

ทำให้สามารถส่งสัญญาณรบกวนวิทยุสื่อสารได้ไกลขึ้น และสามารถ

ตรวจจับได้ครอบคลุมทั้งย่านความถี่ที่กำหนด (ตามที่กำหนดในย่าน

ความถี่วีเอชเอฟ ๑๓๖ - ๑๗๔ เมกะเฮิรตซ์)

๒) ผลการทดสอบการใช้งานทางยุทธวิธี (Field Test) เมื่อวันที่

๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ (ช่วงบ่าย) ณ พื้นที่ของศูนย์วิจัยและ

พัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ด้วยการ

จำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

เพื่อทดสอบการใช้งานตามสถานการณ์ในพื้นที่เสมือนจริง โดยผล

การทดสอบพบว่าเครื่องสามารถใช้งานได้จริง สามารถค้นหาและ

ตรวจจับสัญญาณความถี่วิทยุสื่อสาร แล้วส่งสัญญาณออกไปรบกวน

ได้ภายในเวลาไม่เกิน ๐.๒ วินาที แบบอัตโนมัติ ในทุกย่านความถี่

ของวิทยุสื่อสารตามที่กำหนดไว้ในคุณลักษณะเฉพาะ และมีผลการ

ประเมินความพึงพอใจในการใช้งาน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ

๙๖.๗ อยู่ในเกณฑ์ “ดีเยี่ยม”

ประโยชน์ที่ได้รับและแนวทางการขยายผล

๑) ช่วยลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่และ

ของประชาชน จากเหตุลอบวางระเบิดแสวงเครื่องที่ใช้วิธีการ

จุดระเบิดด้วยระบบวิทยุสื่อสารผ่านรหัสสัญญาณ DTMF ในพื้นที่

จังหวัดชายแดนภาคใต้

๒) สามารถนำไปต่อยอดและขยายผลเครื่องค้นหาและตรวจ

จับสัญญาณ DTMF (C-IED): Smart Jammer ให้ครอบคลุมทั้ง ๓

ย่านความถี่ ได้แก่ วีเอชเอฟ ๑๓๖ - ๑๗๔ เมกะเฮิรตซ์, ซีบี (ความถี่

ประชาชน) ๒๔๐ - ๒๖๐ เมกะเฮิรตซ์ และยูเอชเอฟ ๔๐๐ - ๕๒๐

เมกะเฮิรตซ์ สำหรับวิทยุสื่อสารที่มีใช้งานในพื้นที่จังหวัดชายแดน

ภาคใต้

๓) มีราคาถูกกว่าจัดหาจากต่างประเทศ โดยมีราคาผลิตจาก

การวิจัยและพัฒนา ชุดละ ๓ ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมทั้ง ๓ ย่าน

ความถี่ใช้งานของวิทยุสื่อสาร แต่ราคาจัดหาจากต่างประเทศ ชุดละ

๗.๕ ล้านบาท

การทดสอบและประเมินผลการใช้งาน/การถ่ายทอดองค์ความรู้เครื่องค้นหาและตรวจจับสัญญาณ DTMF (C-IED): Smart Jammer

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

41


สังคมไร้เงินสด

จุฬาพิช มณีวงศ์

รองบรรณาธิการ วารสารวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผ่านมากว่า ๒ ปี การทำธุรกรรมผ่านโลกออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยง

การสัมผัสกับธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ก็เกิดขึ้นอย่างมากมาย

การจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันที่สะดวกสบายสามารถลงลึกเข้าไปถึง

ชุมชนต่าง ๆ ทำให้คาดการณ์กันว่า อนาคตคนไทยจะคุ้นชินและ

เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ธนบัตรหรือเงินสดลดลง

ความสงสัยและใคร่รู้ในเรื่องนี้ ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย

ริเริ่มโครงการสำรวจการบันทึกพฤติกรรมการชำระเงินประจำวัน

ของประชาชน โดยใช้วิธีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ รวมประมาณ

๖,๐๐๐ ตัวอย่าง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ หลากหลายอายุ อาชีพ

และที่พักอาศัย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ๒๕๖๔ แล้วนำมา

ประยุกต์กับโมเดล เข้าสังคม - จิตวิทยาครั้งแรกในเอเชีย เพื่อ

เจาะลึกและประเมินไปหาตัวแปรที่จะมีอิทธิพลต่อการชำระเงินของ

คนไทย ทั้งในแง่ของการใช้เงินสดและอี-เพย์เมนต์

ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกคนที่สำรวจยังพกเงินสด

ติดกระเป๋า โดยร้อยละ ๕๐ ยังคงใช้เฉพาะเงินสดหรือจับจ่ายใช้สอย

ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ใช้ที่ตลาดสด ตลาดนัด ร้านอาหารริมทาง

42

ร้านรถเข็น มีส่วนน้อยที่ใช้อี-เพย์เมนต์เป็นทางเลือกหลัก จึงอาจ

ตีความได้ว่าการใช้อี-เพย์เมนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องน่าจะกระจุกตัว

อยู่เพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่เคยคิดเอาเองว่า สาเหตุที่คนไทยส่วนใหญ่

ยังคงใช้เงินสดเป็นหลักเพราะขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์ เช่น

สมาร์ทโฟนหรือเพราะไม่เคยใช้อี-เพย์เมนต์มาก่อน อาจจะคลาดเคลื่อน

เพราะผลสำรวจบ่งชี้ให้เห็นว่าคนไทยในกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่

กว่าร้อยละ ๙๐ มีอุปกรณ์ที่รองรับการชำระเงินผ่านอี-เพย์เมนต์

และเคยทดลองใช้มาแล้วใน ๒ ปีที่ผ่านมา จึงถือว่ามีความพร้อม

Cashless_Society_คืออะไร_มีความสำคัญอย่างไรในยุคปัจจุบัน

จุฬาพิช มณีวงศ์


httpswww.bltbangkok.comnews4815

httpstonkit360.com83984

การสำรวจโครงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการ

ระบุชัดว่า โครงการช่วยเหลือภาครัฐในสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะ

โครงการคนละครึ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญให้คนไทยทดลองใช้และ

เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาชำระเงินสดด้วยช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่าน

แอปพลิเคชันเป๋าตังมากขึ้น ขณะที่ทำให้ร้านค้าปรับตัวเพื่อรับชำระ

เงินด้วยอี-เพย์เมนต์ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านโชห่วย หาบเร่

แผงลอย ตลาดนัด หรือฟู้ดเดลิเวอรี่ ทำให้สัดส่วนการใช้แอปเป๋าตัง

ในช่วงการสำรวจสูงกว่าการใช้อี-เพย์เมนต์ในช่องทางอื่น

ผลสำรวจยังพบข้อมูลที่น่าแปลกใจว่า หากโครงการกระตุ้น

การใช้จ่ายของภาครัฐสิ้นสุดลง มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ ๒๗ ที่

จะยังใช้แอปเป๋าตังต่อไป และอีกร้อยละ ๓๖ ที่จะใช้ Mobile banking

เพิ่มขึ้น ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ ๖๕ จะกลับไปใช้เงินสด

เพราะได้รับค่าจ้างเป็นเงินสดก็จ่ายด้วยเงินสด คิดว่าใช้เงินสดมัน

เร็วกว่า และจ่ายเงินสดมีส่วนลดร้อยละ ๕ - ๑๐ แนวโน้มที่ธนาคาร

แห่งประเทศไทยอยากจะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมไร้เงินสด

หรือ Cashless Society จึงยังเป็นสังคมที่ใช้เงินสดน้อยลง หรือ

Less-Cash Society ไปก่อน

นอกจากจะคิดถึงคำว่าสังคมไร้เงินสดหรือ Cashless Society

ในช่วง ๑ - ๒ ปีมานี้ สังคมไทยเริ่มคุ้นหูกับคำว่าสกุลเงินดิจิทัล หรือ

Cryptocurrency มากขึ้น และบางคนอาจกำลังมองหาลู่ทางการ

ลงทุนใหม่ในรูปแบบนี้ที่มีการเผยแพร่ผ่านวงการต่าง ๆ โดยบุคคล

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

how-to-e-payment

43


ที่น่าเชื่อถือ ซึ่งถึงแม้จะมีคำเตือนให้มีความระมัดระวังในด้านความ

ไม่แน่นอนและความผันผวน แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากสนใจที่จะ

ทดลองดู

Cryptocurrency มาจากการผสมคำ ๒ คำคือ Crypto แปลว่า

เข้ารหัส และ Currency แปลว่า สกุลเงินปัจจุบันมีสกุลเงินหลายสกุล

cryptocurrency

44

httpsfinstreet.co

CryptoInvesting_GettyImages-1250405669-c29a42e2fe774133ad64e6f3cc17d74a

ที่มีทั้งข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน เพราะทุกสกุลไม่ได้ถูกสร้างขึ้น

หรือควบคุมโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานใด ทำให้เงินดิจิทัลมีอิสระ

มีราคาที่เป็นไปตามกลไกตลาดเป็นเงินที่ต่างไปจากเงินสดตรงที่

จับต้องไม่ได้ ธุรกรรมจะถูกดำเนินการในรูปแบบดิจิทัลทั้งหมด โดยไม่ต้อง

อาศัยตัวกลางอย่างธนาคารมาเป็นผู้ตรวจสอบ บันทึก จ่ายโอน

เงินสดดิจิทัล จะถูกเก็บและเข้ารหัสในรูปแบบของโค้ดคอมพิวเตอร์

ที่มีความซับซ้อน แต่โปร่งใส สามารถตรวจสอบที่มาความเป็นไป

เงินมาจากไหน ใครเป็นเจ้าของ โอนไปให้ใคร หรือรับจากใครได้

จุฬาพิช มณีวงศ์


ทำงานผ่านตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเงินเรียกว่าเทคโนโลยี Blockchain

เสียค่าธรรมเนียมเล็กน้อย และด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล เหล่านี้

เป็นเงินที่ไม่สามารถจับต้องได้ มันจึงสามารถแปลงและประยุกต์

ไปใช้กับสิ่งของมีค่าอย่างอื่นได้มากมาย

ความจริงนวัตกรรมการเงินแบบนี้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๙๘

ในช่วงที่เป็นยุคทองของอินเทอร์เน็ต นักวิศวกรคอมพิวเตอร์

ชื่อ Wei Dai คิดรูปแบบเงินดิจิทัลใช้ชื่อว่า B-Money ต่อมา

นักโปรแกรมเมอร์ชื่อ Nick Szabo คิดรูปแบบคล้าย ๆ กันในชื่อ

BitGold โดยให้เหตุผลข้อดีว่าเงินระบบนี้จะช่วยแก้ไขปัญหา

นโยบายการควบคุมการเงินของหน่วยงานภาครัฐ และการกระจาย

อำนาจควบคุมเงินตราจะลดเงินเฟ้อและเงินด้อยค่าลงได้

บุคคลที่ทำให้เงินดิจิทัล เริ่มมองเห็นความเป็นไปได้ในการใช้จริง

คือ Satoshi Nakanroto ผู้คิดค้นสกุลเงินดิจิทัลที่ชื่อ บิทคอยน์

httpswww.blockdit.composts5f18649a9f76510e4a786bed

(Bitcoin) การมาของบิทคอยน์นี้เอง กลายเป็น

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาคริปโตเคอเรนซี่ จน

ต่อมาเกิดสกุลเงินดิจิทัลมากมายอีกหลาย

สกุลด้วยกัน และกลายเป็นสิ่งที่นักลงทุนหัน

มาให้ความสนใจ และพัฒนาให้สามารถ

แก้ไขจุดอ่อนและความผันผวนสูง และการ

ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย เปิดโอกาสให้

เข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น และสร้าง

ผลตอบแทนการลงทุนสูง

ปัจจุบันการใช้คริปโตเคอเรนซี่ในไทย

เพื่อธุรกรรม การชำระเงินยังมีจำกัดและเริ่ม

มีคนไทยที่ผลิตสกุลเงินดิจิทัลสัญชาติไทยได้

เช่น Zcoin และมีการควบคุมกำกับดูแล

ภายใต้พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจ

สินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.๒๕๖๑ โดยสำนักงาน

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ

ตลาดหลักทรัพย์ หรือ กลต. ได้ออกมาเตือน

ผู้สนใจลงทุนในธุรกิจนี้ว่ามีความเสี่ยงสูง

ต้องมีความรู้และรับความเสี่ยงที่อาจทำให้

สูญเงินลงทุนได้

นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการ

ทดสอบระบบการโอนเงินร่วมกับธนาคารพาณิชย์อีก ๘ แห่ง ในการ

โอนเงินระหว่างกันและบริการสภาพคล่องมาตั้งแต่ระยะแรก เมื่อปี

๒๕๖๑ ถึงปัจจุบันพบว่าเทคโนโลยี Blockchain มีศักยภาพในการ

เพิ่มประสิทธิภาพระบบการชำระเงินของไทย แต่การจะนำระบบนี้

มาใช้งานจริงต้องใช้เวลาทดสอบขีดความสามารถและศึกษา

ผลกระทบเพิ่มเติม แต่ก็เป็นสิ่งบ่งชี้ว่า สกุลเงินดิจิทัล คงต้อง

เสาะแสวงหาความรู้ในเรื่องเหล่านี้ควบคู่กันไป

ในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วหลังสถานการณ์

โควิด-19 ขบวนการ Disruptive ที่ทำให้ต้องก้าวตามการ

เปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึงมากมาย หนึ่งในธุรกิจที่จะได้เห็นอย่าง

ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คือ ธุรกิจการเงินการธนาคาร การขยายพรมแดน

ทางธุรกิจนี้จะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและตลาดการเงิน

อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการปรับตัวของสถาบันการเงิน ธนาคาร และ

อาจหมายรวมถึงหน่วยงานที่ผลิตธนบัตรและเหรียญกษาปณ์

แน่นอนว่านี่จะเป็นภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินของไทยเพื่อตอบโจทย์

เศรษฐกิจดิจิทัล และการเติบโตที่ยั่งยืน ซึ่งคงต้องเริ่มต้นปูพื้นให้กับ

ประชาชนผู้ยังต้องถือเงินสดไว้ในมือเพื่อความอุ่นใจ

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

45


“3 NEW : สิ ่งที ่คนไทยควรรู้

เพื ่อความอยู่รอดและความสำเร็จในชีวิตยุคหลังโควิด-19

ท่ามกลางการกำเนิดขึ้นของโลกใหม่ บนดินแดนแห่ง METAVERSE” ตอนที

่ ๓

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ผู้

เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงหลายท่านมีความเห็นตรงกันว่า

ปัจจุบันโลกของเรากำลังเดินเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่แล้ว

ในช่วงทศวรรษ ๑๙๓๐ คงไม่อาจจะคาดการณ์อนาคตเบื้องหน้า

ได้ว่าจะเป็นอย่างไร สถานการณ์จะเป็นไปตามที่หลายท่านมีความเห็น

หรือไม่ สิ่งที่ทุกคนคงทำได้คือ การเตรียมตัวเองให้พร้อมที่จะ

รับสถานการณ์ในทุกรูปแบบและทำความรู้จักตัวเองให้ถ่องแท้

ค้นหาตัวเองให้พบว่าแท้จริงแล้วต้องการอะไรจริง ๆ ในชีวิต แล้วใช้

สติปัญญาและความคิดนำไปสู่สิ่งที่ต้องการ ท่ามกลางวิกฤตและ

โอกาสที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นมาในอนาคต ด้วย

การเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็น

รวมทั้งเรียนรู้ผู้คนที่ได้พบเจอรอบ ๆ ตัว ด้วยความเข้าใจอย่างมีสติ

เพื่อใช้ประโยชน์ในการบรรลุถึงสิ่งที่ต้องการที่แท้จริงในชีวิตอย่างมี

ความสุขร่วมกันในสังคมไทย

ในบทความสองตอนที่แล้ว ได้กล่าวไว้ว่า สิ่งที่คนไทยควรรู้

เพื่อความอยู่รอดและความสำเร็จในชีวิตยุคหลังโควิด-19 ท่ามกลาง

การกำเนิดขึ้นของโลกใหม่บนดินแดนแห่ง METAVERSE นั้นมีอยู่

มากมายหลายสิ่ง แต่ที่นับว่าเป็นหลักสำคัญและเป็นสิ่งใหม่ (NEW)

ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสังคมไทยนั้น มีอยู่

๓ สิ่งใหม่ หรือ 3 NEW โดยสิ่งแรกได้แก่ NEW NORMAL ทั้งที่เป็น

ผลที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยน

รูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ ซึ่งปัจจุบันประชาชนทั่วไปปรับตัว

จนกลายเป็นความปกติใหม่กันไปแล้ว และ NEW NORMAL

46

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์


ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากผลกระทบของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่

เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วฉับพลัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล

ที่ต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้อยู่รอดและเพื่อความสำเร็จในชีวิต

ด้วยการรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล และฝึกฝนตนเองให้มีทักษะดิจิทัล

พื้นฐานสำคัญ ๓ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ร่วมกับ

คนอื่น ๆ ใน “โลกยุคดิจิทัล” ได้อย่างรู้ทันและปลอดภัย

สำหรับบทความในตอนที่ ๓ นี้ จะกล่าวถึงสิ่งที่สองที่คนไทย

ควรรู้ เพื่อความอยู่รอดและความสำเร็จในชีวิตยุคหลังโควิด-19

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

ท่ามกลางการกำเนิดขึ้นของโลกใหม่บน

ดินแดนแห่ง METAVERSE ซึ่งได้ส่งผลกระทบ

ต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยจำนวนมาก

แล้วในปัจจุบันนี้ ได้แก่ การเกิดขึ้นของ

“สื่อใหม่ หรือ NEW MEDIA”

นับตั้งแต่อดีต คนที่ประสบความ

สำเร็จในชีวิตล้วนแต่เป็นผู้ที่รู้จักตนเอง รู้ว่า

ตนเองต้องการอะไรอย่างแท้จริง รู้จักการ

เรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้มีความรู้ และ

ทักษะในการนำความรู้ไปใช้ให้ได้มา ในสิ่งที่

ตนเองต้องการ และเข้าใจวิธีการที่จะนำ

ตนเองไปอยู่ ณ จุดที่สามารถใช้จุดแข็งของ

ตนได้อย่างเต็มศักยภาพที่สำคัญคนที่

ประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นผู้ที่รู้ว่า

น้อยคนนักที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต

ได้ ด้วยตัวคนเดียวเป็นผู้ที่รู้ว่าการทำงาน

ร่วมกับคนอื่นด้วยความร่วมมือร่วมใจ และ

มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันนั้น เป็นเรื่องสำคัญ

อย่างยิ่งต่อการประสบความสำเร็จในชีวิต

ซึ่งต้องใช้ทักษะในการเข้าใจคนอื่นและการ

ทำให้คนอื่นเข้าใจเรา ทำให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจอันดีต่อกัน

และกันจนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

การที่จะทำให้เราและคนอื่นมีความเข้าใจอันดีต่อกันและกัน

จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันได้นั้นต้องอาศัยทักษะการสื่อสารที่ดี

และรู้จักการใช้ “สื่อ” เหมาะสม ดังนั้น สิ่งที่คนไทยควรรู้เพื่อความ

อยู่รอด และความสำเร็จในชีวิตสิ่งที่สองก็คือ “สื่อ” โดยเฉพาะ

“สื่อใหม่ หรือ NEW MEDIA”

สื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารคือ สิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่ง

กำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพา

สารจากแหล่งกำเนิดสารไปยังผู้รับสาร เพื่อ

ให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ของสารเป็น

ช่องทางของการสื่อสารที่เนื้อหาของสาร

อยู่ในรูปของข่าว ข้อมูลบันเทิงหรือโฆษณา

ถูกนำพาไปสู่ผู้รับสารในฐานะผู้บริโภค

รูปแบบของสื่อมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง

ไปตามกาลเวลา และตามการเปลี่ยนแปลง

ของเทคโนโลยีในยุคต่าง ๆ นับตั้งแต่รูปแบบ

ของสื่อบุคคล เปลี่ยนแปลงพัฒนาไปสู่

สื่อสิ่งพิมพ์ และพัฒนา ต่อมาจนมีรูปแบบ

อิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของสื่อวิทยุและ

47


สื่อโทรทัศน์ จนมาถึงปัจจุบัน เมื่อเกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นทำให้

รูปแบบของสื่อเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาสื่ออินเทอร์เน็ตเกิดเป็น

“สื่อใหม่ หรือ NEW MEDIA” และมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย

ในปัจจุบัน

“สื่อใหม่ หรือ NEW MEDIA” สามารถอำนวยความสะดวก

ให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารทำการสื่อสารแบบสองทาง ทั้งส่งสารและ

รับสารได้พร้อมกัน ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและมีศักยภาพ

เป็นสื่อแบบผสม (Multimedia) ที่สามารถส่งสารได้หลายรูปแบบ

ร่วมกันทั้งที่เป็นข้อความ ภาพและเสียงพร้อมกันได้

ในปัจจุบันสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่

ทำให้ “สื่อใหม่ (NEW MEDIA)” ขึ้นและ

เป็นสื่อที่เนื้อหาอยู่ในรูปดิจิทัล ได้แก่

“การปฏิวัติทางดิจิทัล (Digital Revolution)”

ทำให้สารทั้งที่เป็นข้อความ เสียง รูปภาพ

กราฟิกหรือภาพเคลื่อนไหว สามารถ

ปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของภาษาเดียวกัน

ซึ่งอ่านและส่งผ่านสารได้รวดเร็วด้วย

คอมพิวเตอร์และเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ได้

ตามความต้องการของผู้ใช้งานหรือผู้ส่งสาร

ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน

ได้ดีกว่าสื่อดั้งเดิม โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่

การมีเนื้อหาในรูปดิจิทัลทำให้ข้อจำกัดด้านเวลาหมดไป

ผู้บริโภคหรือผู้รับสารสามารถเลือกรับและส่งสารได้ตามเวลา

ที่ตัวเองต้องการ รวมทั้งไม่จำเป็นที่จะต้องดูเนื้อหาของสารตามเวลา

ที่กำหนด จะดูเนื้อหาเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ นอกจากนั้นเนื้อหา

ดิจิทัลยังสามารถรับสารได้ทั่วโลกในเวลาเดียวกันแบบเวลาจริง

ได้อย่างรวดเร็ว

การนำสื่อใหม่มาใช้งานจะทำให้สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้

มากขึ้น ช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารรูปแบบ

ต่าง ๆ ได้กว้างขวางขึ้น สามารถโต้ตอบและสื่อสารได้แบบเวลาจริง

ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง

48

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์


เนื้อหาในสื่อใหม่อาจสร้างขึ้น

จากผู้บริโภคคนใดก็ได้ และสามารถ

สร้างจากผู้บริโภคต่อผู้บริโภค ในแบบ

ปากต่อปากบนสื่อออนไลน์ที่แพร่

กระจายไปอย่างรวดเร็ว ไม่อาจควบคุม

การแพร่กระจายได้แบบสื่อดั้งเดิม

ในอดีต

ข้อดีของสื่อใหม่มีหลายประการ

ที่เด่นชัดคือ สามารถส่งสารเพื่อ

ประชาสัมพันธ์หรือแจ้งต่อกลุ่ม

ผู้รับสารที่เป็นเป้าหมายได้จำนวนมาก

หลายกลุ่มพร้อม ๆ กัน ในเวลา

เดียวกัน พร้อมกันทั้งประเทศทั่วโลก

และสามารถโต้ตอบแบบ ๒ ทางได้

นอกจากนั้นยังสามารถเปิดประเด็น

หรือหัวข้อที่น่าสนใจให้กลุ่มคนที่มี

ความสนใจในประเด็นนั้น และมี

ความรู้หรือประสบการณ์ได้เข้ามาร่วม

แสดงความคิดเห็นได้อย่างมากมาย

สื่อใหม่ช่วยให้ประชาชน

สามารถส่งสารและรับสารได้อย่าง

สะดวกรวดเร็ว และสามารถเข้าถึง

เนื้อหาได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์

หลายรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ

ส่งสารในรูปของเสียงและภาพผ่าน

อินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า “OTT หรือ

OVER THE TOP”

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยี

ดิจิทัล อินเทอร์เน็ต และสมาร์ทโฟน

ทำให้เกิดการรวมสื่อแบบดั้งเดิมกับ

สื่อใหม่ไว้ในอุปกรณ์เพียงอันเดียวและ

สามารถนำพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก

ทำให้ง่ายต่อการรับและส่งสาร รวมทั้ง

ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ส่งผล

ทำให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคสื่อใหม่

ต้องปรับตัวและพฤติกรรมซึ่งอาจ

ก่อให้เกิดทั้งผลดี และผลเสียตามมา

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

49


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“โรคฝีดาษลิง” น่ากลัวแค่ไหน

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

จากกรณีที่หลายคนผวา “โรคฝีดาษลิง” หลังพบการระบาด

โดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา ระบุว่า โรคฝีดาษในลิง

(monkeypox) ยังไม่น่ากังวล แต่ควรจับตามอง ดังนั้นวารสาร

หลักเมืองในฉบับนี้ สำนักงานแพทย์ฯ จึงขอนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องนี้

ให้ท่านผู้อ่านลองได้ศึกษากันดูสถานการณ์การระบาดของ

“โรคฝีดาษลิง”

อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ระบุว่า เป็นโรคหายาก

เกิดจากไวรัสที่เป็นสายพันธุ์เดียวกับโรคฝีดาษ (smallpox) ทำให้

เป็นไข้ มีฝีหนองคันเกิดขึ้นตามผิวหนัง และอาจทำให้เสียชีวิตได้

โดยปกติ “โรคฝีดาษลิง” จะพบในทวีปแอฟริกาและมักพบในสัตว์

แต่ไม่นานมานี้มีรายงานข่าวการตรวจพบในบางประเทศของ

ทวีปยุโรป ซึ่งมีรายงานยืนยันแล้ว ๕ ราย และต้องสงสัยอีก ๑๕ ราย

โดยพบในกรุงลิสบอน ทุกรายเป็นผู้ชายและส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่ม

พบว่ามีแผลตามผิวหนังแต่อาการยังไม่รุนแรง

ขณะที่ สหราชอาณาจักรรายงานพบทั้งหมด ๗ ราย จากกลุ่ม

ชายที่เป็นเกย์และไบเซ็กชวล พบในกรุงลอนดอน ส่วนที่ประเทศสเปน

มีผู้อยู่ในอาการน่าสงสัย ๘ ราย และรอการพิสูจน์ยืนยันผล

สำหรับจุดเริ่มต้นการระบาดโรคฝีดาษลิง อาจารย์เจษฎาระบุว่า

เริ่มมีรายงานในสหราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕

50

ที่มา httpswww.khaosod.co.th

พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงที่กลับมาจากประเทศไนจีเรีย หลังจากนั้นจึง

พบอีก ๖ รายตามมา ซึ่งพบว่ามี ๔ รายที่น่าจะมีความเชื่อมโยงกัน

จากการที่เป็นเกย์หรือไบเซ็กชวล และกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ทางเพศ

ระหว่างชายและชาย

ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานพบโรคฝีดาษลิงในสหราชอาณาจักร

มาแล้ว ๓ ราย โดย ๒ รายนั้นอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันและอีกราย

เคยเดินทางไปไนจีเรีย

อาการของโรคฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิง เป็นสายพันธุ์เดียวกับโรคฝีดาษในคน แต่แพร่

ระบาดได้ยากกว่า มีอาการรุนแรงน้อยกว่า และทำให้เสียชีวิตได้

น้อยกว่า

มักจะมีอาการป่วยนาน ๒ - ๔ สัปดาห์ และมีระยะฟักตัว

(ตั้งแต่ติดเชื้อจนมีอาการ) ประมาณ ๕ - ๒๑ วัน

มีอาการป่วยปนกันระหว่างเป็นไข้ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ปวดหลัง หนาวสั่น เหนื่อย และต่อมน้ำเหลืองบวม (ซึ่งเป็นจุดแตกต่าง

สำคัญจากโรคฝีดาษในคน)

เมื่อเริ่มเป็นไข้ จะมีตุ่มคันที่ดูน่ากลัวเกิดขึ้นใน ๑ - ๓ วัน

โดยมักเริ่มที่ใบหน้า และกระจายไปตามร่างกาย บางคนอาจขึ้นน้อย

แต่บางคนอาจขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะนูนใหญ่ขึ้น มีหนองข้างใน

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จน “สุก” และแตกเป็นแผล

ที่มาของชื่อโรคฝีดาษลิง อธิบายคือ ไวรัสโรคฝีดาษลิง อยู่ใน

สกุล ออร์โทพ็อกซ์ไวรัส (Orthopoxvirus) ของวงศ์พ็อกซ์วิริดี้

Poxviridae (คำว่า pox หมายถึง ฝีหนอง) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี

ค.ศ.๑๙๕๘ ในการระบาดของโรคที่คล้ายฝีดาษ ซึ่งเกิดในห้องแล็บ

วิจัยที่เลี้ยงลิงไว้ แม้ไม่มีหลักฐานว่าลิงเป็นสาเหตุของการระบาดใน

ครั้งนั้น แต่ก็ไปตั้งชื่อโรคว่า “ฝีดาษลิง” กระทั่งปัจจุบัน องค์การ

อนามัยโลก คาดว่าสัตว์ตามธรรมชาติที่เป็นพาหะของโรคนี้ จริง ๆ

น่าจะเป็นพวกสัตว์ฟันแทะ เช่น หนูและกระรอกในป่าของแอฟริกา

พื้นที่การระบาดโรคฝีดาษลิง การระบาดของ “โรคฝีดาษลิง”

ในคนนั้นมักพบในพื้นที่ป่าเขตร้อนของแอฟริกากลางและแอฟริกา

ตะวันตก โดยมีรายงานครั้งแรกปี ค.ศ.๑๙๗๐ จากสาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยคองโก และต่อมาพบในประเทศอื่น ๆ อีก ๑๑ ประเทศ

พบการระบาดนอกทวีปแอฟริกาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖

นี้เอง ในประเทศสหรัฐอเมริกา จากการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ จากนั้น

ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๖๒ ประเทศสหราชอาณาจักรตรวจพบโรค

ในนักท่องเที่ยว ๒ คน ซึ่งเป็นชาวอิสราเอลและชาวสิงคโปร์ที่เคย

เดินทางไปประเทศไนจีเรีย

การติดต่อของโรคฝีดาษลิง สามารถติด

เชื้อไวรัสโรคนี้จากสัตว์ที่ติดเชื้อได้ ทั้งจากการที่

ถูกสัตว์กัดหรือข่วน ส่วนการติดจากคนที่ติดเชื้อ

เกิดได้โดยการสัมผัสกันโดยตรง หรือจับเสื้อผ้า

ที่นอนที่ปนเปื้อนเชื้อ

ไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายผ่านรอยแผลบน

ผิวหนัง หรือระบบทางเดินหายใจ หรือเนื้อเยื่อ

ที่มีเมือก เช่น ดวงตา จมูก ปาก ส่วนใหญ่การ

แพร่จากคนสู่คนผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่จาก

ทางเดินหายใจ เช่น หยดน้ำลาย ทำให้เชื้อ

มักเดินทางไปไม่ไกลนักจึงต้องเว้นระยะห่าง

ในช่วงใบหน้าต่อใบหน้า (face to face)

แต่จากการระบาดที่พบในระยะหลังนี้

ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่า การมีเพศ

สัมพันธ์ก็มีโอกาสจะแพร่เชื้อได้ เนื่องจากกิจกรรมทางเพศนั้นทำให้

คนทั้งสองมาอยู่ใกล้ชิดกัน

“โรคฝีดาษลิง” น่ากังวลแค่ไหน

โรคฝีดาษลิงมักจะไม่ได้มีอาการป่วยรุนแรง และคนส่วนใหญ่

จะฟื้นตัวได้ในไม่กี่สัปดาห์ และการที่โรคไม่ได้ระบาดแพร่กระจาย

โดยง่าย ก็ทำให้ความเสี่ยงต่อสาธารณะลดต่ำลงไปมากด้วย

ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงในประเทศอังกฤษขณะนี้ พบว่า

เป็นเชื้อสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก ซึ่งมีความรุนแรงต่ ำกว่าสายพันธุ์

แอฟริกากลาง โดยมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ ๑ (ถ้าเป็น

สายพันธุ์แอฟริกากลางจะเป็นร้อยละ ๑๐ และถ้าโรคฝีดาษคน

จะมากถึงประมาณร้อยละ ๓๐)

โอกาสเสียชีวิตจะสูงขึ้นถ้าผู้ป่วยเป็นเด็ก คนหนุ่มสาว และ

คนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

สตรีมีครรภ์ที่ติดโรคฝีดาษลิงอาจจะประสบปัญหาในการ

ตั้งครรภ์ และแท้งบุตรขณะคลอดได้

ปัญหาหนึ่งของโรคนี้คือ ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยอาจจะ

ไม่รู้ตัวว่าติดโรคอยู่ และทำให้แพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นได้

วิธีรักษาและป้องกันโรคฝีดาษลิง “โรคฝีดาษลิง” ไม่มีวิธีรักษา

โดยเฉพาะ และส่วนใหญ่โรคจะหายไปเอง เชื่อกันว่า “วัคซีนป้องกัน

โรคฝีดาษ” นั้นมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคฝีดาษลิงไปด้วย

แต่เนื่องจากโรคฝีดาษได้ถูกกำจัดหมดไปแล้วตั้งแต่เมื่อ ๔๐ ปีก่อน

ทำให้ตอนนี้ ไม่มีวัคซีนโรคฝีดาษสำหรับประชาชนเหลืออยู่อีกต่อไป

แต่มีการพัฒนาวัคซีนใหม่สำเร็จแล้ว โดยบริษัท Bavarian Nordic

สำหรับป้องกันทั้งโรคฝีดาษในคน และโรคฝีดาษลิง โดยได้รับการ

รับรองแล้วจากสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยจะใช้

ชื่อการค้าว่า Imvanex, Jynneos และ Imvamune ตามลำดับ

ส่วนยาต้านไวรัสกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา

ที่มา httpswww.posttoday.com

ที่มา httpswww.bioworld.com

ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม https://www.health-th.com

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

51


ภาษาอังกฤษง่าย ๆ สไตล์ครูวันดี

อาเซียนพาราเกมส์

ครั้งที ่ ๑๑ ณ เมืองโซโล สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ

นักวิจัยพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

ก่

อนอื่นขอแสดงความชื่นชมทัพนักกีฬาไทยกว่า ๘๐๐ คน ที่ได้

ร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งภูมิภาคอาเซียนใน “ซีเกมส์ ๒๐๒๑”

หรือ Seagames HANOI 2021 ครั้งที่ ๓๑ ที่กรุงฮานอย ประเทศ

เวียดนาม ระหว่างวันที่ ๑๒ ถึง ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕ หลังจากการ

แข่งขันได้เลื่อนจากปีที่ผ่านมาด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

และขอแสดงความยินดีกับประเทศไทยที่ได้รับเหรียญในการแข่งขัน

กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ ๓๑ จำนวนถึง ๒๘๑ เหรียญ อยู่อันดับ ๒ รองจาก

เวียดนามที่เป็นเจ้าภาพที่ได้รับเหรียญทั้งสิ้น ๓๘๑ เหรียญ

การแข่งขันกีฬาแห่งภูมิภาคอาเซียนที่สำคัญต่อประชาคม

อาเซียนอีกเกมส์หนึ่งที่นักกีฬากำลังรอคอยมาถึง ๓ ปี คือ

“อาเซียนพาราเกมส์ (ASEAN Para Games)” ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬา

สำหรับนักกีฬาคนพิการที่จัดขึ้นในทุกสองปีต่อเนื่องจากกีฬาซีเกมส์

(SEA Games) โดยมีประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนเข้าร่วมการ

แข่งขันทั้งหมด ๑๑ ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา ลาว

อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม

และติมอร์เลสเต โดยมีสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียน (ASEAN

Para Sports Federation) คำย่อ APSF เป็นองค์การฝ่ายบริหารหลัก

52

เพื่อให้ประเทศสมาชิกที่เป็นเจ้าภาพจากการแข่งขันกีฬาคนพิการ

แห่งอาเซียนอย่างสมเกียรติและสร้างขวัญ กำลังใจ และเวทีให้กับ

นักกีฬาคนพิการจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศได้มีโอกาสเข้า

ร่วมการแข่งขัน เช่น นักกีฬามีความหลากหลายของความพิการตั้งแต่

กระตุก (Spastic) สมองพิการ (Cerebral palsy) พิการเคลื่อนไหว

(Mobility) พิการภาพ (Disabilities) พิการทางปัญญา (Intellectual

disabilities) เป็นต้น

ประวัติการณ์การริเริ่มอาเซียนพาราเกมส์ เริ่มในเดือน

พฤษภาคม ๒๕๔๓ เมื่อผู้แทนจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่เข้าร่วมการแข่งขันพาราลิมปิกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย

ได้มีการประชุมและตกลงที่จะจัดตั้งองค์กรกีฬาคนพิการอาเซียน

พาราเกมส์ ขึ้นซึ่งเป็นแนวความคิดโดยดาโต๊ะไซนัล อาบู ซาริน (Datuk

Zainal Abu Zarin) ประธานผู้ก่อตั้งของคณะกรรมการ

พาราลิมปิกของมาเลเซีย โดยเสนอให้มีการแข่งขันกีฬาระดับภูมิภาค

จะจัดขึ้นหลังการแข่งขันกีฬาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นการ

ส่งเสริมมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างคนพิการใน

ภูมิภาคอาเซียนและการฟื้นฟูและการบูรณาการคนพิการเข้าสู่สังคม

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ


อีกด้วย ซึ่งในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ดาโต๊ะไซนัล ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น

ประธานสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียนคนแรก โดยอยู่ในวาระ

ครั้งละ ๒ สมัย รวมเป็น ๘ ปี

ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๕๘ พลตรี โอสถ ภาวิไล จากคณะ

กรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทยได้รับการเสนอชื่อให้เป็น

ประธานสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียนคนที่สอง (President of

ASEAN Para Sports Federation) และท่านเป็นคนไทยที่ได้ดำรง

ตำแหน่งสำคัญในระดับภูมิภาคอาเซียน ในการกำกับดูแลและบริหาร

จัดการการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งอาเซียนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๘

จนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มจากนำทัพนักกีฬาคนพิการกว่า ๓,๐๐๐ คน

จาก ๑๐ ประเทศ รวมประเทศติมอร์เลสเต เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา

ครั้งที่๙ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย จากนั้นจัดการประชุม

ส่งเสริมบทบาทของคณะกรรมการฝ่ายบริหาร หรือเรียกว่า Executive

Committee เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกเป็นเจ้าภาพในการ

แข่งขันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์การแพร่ระบาด

ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลกส่งผลให้ประเทศฟิลิปปินส์ที่เป็นเจ้าภาพ

ในการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ และประเทศ

เวียดนามที่จะเป็นเจ้าภาพในปีพ.ศ.๒๕๖๔ ไม่สามารถจัดการแข่งขัน

กีฬาคนพิการแห่งอาเซียนได้

ในต้นปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่ง

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้เสนอตัวในการเป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน

กีฬาคนพิการแห่งอาเซียนครั้งที่๑๑ ต่อคณะกรรมการบริหารระดับสูง

(Board of Governor) เพื่อส่งเสริมให้นักกีฬาคนพิการแห่งอาเซียน

ได้กลับมามีโอกาสได้ร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับภูมิภาคอาเซียน

ในยุคชีวิตวิถีใหม่ภายใต้มาตรการการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

อย่างเคร่งครัด

ในการบริหารจัดการกีฬาคนพิการแห่งอาเซียนให้มี

ประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในระดับสากลนั้น จำเป็นจะต้อง

มีผู้นำที่มีภาวะผู้นำและประสบการณ์ในการทำงานด้านการกีฬาโดย

เฉพาะอย่างยิ่งนักกีฬาคนพิการที่มีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน นอกจากนี้

จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อ

ประสานกับมิตรประเทศทั้งในอาเซียนและในระดับโลก ผู้เขียนซึ่ง

ได้รับโอกาสที่ดีจากประธานกีฬาคนพิการแห่งอาเซียน พลตรี โอสถ ภาวิไล

รวมทั้งคณะกรรมการฝ่ายบริหาร ได้กรุณาแต่งตั้งผู้เขียนให้ดำรง

ตำแหน่งสำคัญคือ การเป็นเลขาธิการสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่ง

อาเซียน (Secretary General) ซึ่งรับผิดชอบในภาพรวมการบริหาร

จัดการแข่งขันและประสานงานด้านการกีฬาคนพิการแห่งอาเซียน

รวมทั้งประสานการทำงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าภาพ โดยการแข่งขัน

อาเซียนพาราเกมส์ครั้งนี้จะเป็นการแข่งขันครั้งที่ ๑๑ (11 th ASEAN

Para Sports Federation) ณ เมืองสุราการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ระหว่างวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ถึง ๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ คาดว่าจะมี

นักกีฬาและผู้เข้าชมงานจากภูมิภาคอาเซียนประมาณ ๒,๖๐๐ คน

กีฬาจะแข่งขันมีเพียง ๑๔ กีฬา ประกอบด้วย Athletics (กรีฑา)

Powerlifting (ยกกำลัง) Judo (ยูโด) Chess (หมากรุก) Archery

(ยิงธนู) Cycling (ขี่จักรยาน) Shooting (ยิงเป้า) Wheelchair fencing

(ฟันดาบรถเข็น) Sailing (แล่นเรือใบ) Swimming (ว่ายน้ำ)

Badminton (แบดมินตัน) Boccia (บอคเซีย) Bowling (โบว์ลิ่งสิบพิน)

Football 5-a-side (ฟุตบอลห้าฝ่าย) Football 7-a-side (ฟุตบอล)

Goalball (โกลบอล) Table tennis (เทเบิลเทนนิส) Wheelchair

basketball (วีลแชร์บาสเกตบอล) Wheelchair tennis (วีลแชร์

เทนนิส) Sitting volleyball (วอลเลย์บอลนั่ง)

คำขวัญของกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ครั้งที่๑๑ นี้ใช้วลีว่า “Striving

for Equality” หมายความว่า “สู่ความเท่าเทียม” อย่าลืมส่งขวัญ

และกำลังใจเชียร์นักกีฬาคนพิการของไทย รวมถึง ส่งกำลังใจให้กับ

ประธานสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียน เลขาธิการและ

คณะกรรมการสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียน ในการแข่งขันกีฬา

คนพิการแห่งอาเซียน ให้ลุล่วงไปอย่างดี ท่านสามารถติดตามข่าวสาร

ได้จากเฟซบุ๊ก ASEAN Para Sports Federation

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

53


เครื่องบินขนส่งทางทหารเอ-๔๐๐เอ็ม (A-400M Atlas) เจ้าหน้าที่ประจำเครื่อง ๔ นาย บรรทุกทหาร ๑๑๖ นาย (พร้อมอาวุธ) ยาว ๔๕.๑ เมตร ช่วงปีก ๔๒.๔ เมตร สูง ๑๔.๗ เมตร

และน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด ๑๔๑,๐๐๐ กิโลกรัม (๓๑๐,๘๕๒ ปอนด์) ประจำการ ๘ ประเทศ (ภาพประกอบกองทัพอากาศมาเลเซีย)

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) จัดหาเครื่องบินขนส่ง

ทางทหารขนาดหนักรุ่นใหม่แบบเอ-๔๐๐เอ็ม (A-400M Atlas)

จำนวน ๒ เครื่อง จากบริษัทแอร์บัส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเดือน

พฤศจิกายน ๒๕๖๔ และจะจัดหาเพิ่มเติมอีก ๔ เครื่อง เพื่อเพิ่ม

ขีดความสามารถด้านการขนส่งทหารและสัมภาระในระยะทางไกล

ได้ปริมาณมาก เพิ่มขีดความสามารถของเครื่องบินขนส่งขนาดหนัก

แบบซี-๑๓๐บี/เอช (C-130B/H) ประจำการอยู่ ๓ ฝูงบิน (ฝูงบิน

ที่ ๓๑ ฐานทัพอากาศชวาตะวันออก ฝูงบินที่ ๓๒ ฐานทัพอากาศ

ชวาตะวันออก และฝูงบินที่ ๓๓ ฐานทัพอากาศจังหวัดสุลาเวสีใต้)

รวม ๒๒ เครื่อง อินโดนีเซียมีพื้นที่ขนาด ๑.๙ ล้านตารางกิโลเมตร

ประเทศหมู่เกาะประมาณ ๑๓,๔๖๖ เกาะ ความยาวของประเทศ

ด้านตะวันออก-ตะวันตก ขนาด ๕,๑๒๐ กิโลเมตร และความกว้าง

จากด้านเหนือ-ใต้ ขนาด ๑,๗๖๐ กิโลเมตร ชายฝั่งทะเลยาว

๙๕,๑๘๑ กิโลเมตร นับว่าเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดของประเทศกลุ่ม

อาเซียน อยู่ใกล้กับพื้นที่ขัดแย้งของภูมิภาคคือหมู่เกาะสแปรตลีย์

(Spratly Islands) คือจังหวัดเกาะเรียว (Riau Island) ตั้งอยู่ระหว่าง

54

แนะนำอาวุธเพื ่อนบ้าน

เครื ่องบินขนส่งทางทหาร

ขนาดหนักแบบเอ-๔๐๐เอ็ม (A-400M)

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ข้าราชการบำนาญ

ช่องแคบมะละกากับทะเลจีนใต้ สถานการณ์พัฒนาสู่ความขัดแย้ง

จากระดับภูมิภาคมาสู่ระดับโลก มีผลกระทบต่อความมั่นคงของ

ประเทศอินโดนีเซีย ดังนั้นการเคลื่อนย้ายก ำลังทหารและยุทโธปกรณ์

อินโดนีเซียมีพื้นที่ ๑.๙ ล้านตารางกิโลเมตร ความยาวด้านตะวันออก-ตะวันตก มีขนาด

๕,๑๒๐ กิโลเมตร และความกว้างด้านเหนือ-ใต้ มีขนาด ๑,๗๖๐ กิโลเมตร ชายฝั่งทะเล

ยาว ๙๕,๑๘๑ กิโลเมตร อยู่ใกล้กับพื้นที่ขัดแย้งหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands)

จังหวัดเกาะเรียว (Riau Island) เกาะนาทูนา (Natuna)

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ทางทหารเข้าสู่พื้นที่ขัดแย้งอย่างรวดเร็ว มีผลต่อการคลี่คลาย

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก

เครื่องบินขนส่งทางทหารขนาดใหญ่แบบเอ-๔๐๐เอ็ม

(A-400M Atlas) พัฒนาจากบริษัทแอร์บัสเพื่อจะนำเข้าประจำการ

ทดแทนเครื่องบินขนส่งทางทหารรุ่นเก่าแบบซี-๑๖๐ (C-160) และ

ซี-๑๓๐ (C-130 Hercules) สร้างเครื่องบินต้นแบบทำการขึ้นบิน

ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ข้อมูลที่สำคัญคือ เจ้าหน้าที่

ประจำเครื่อง ๔ นาย บรรทุกทหาร ๑๑๖ นาย (พร้อมอาวุธ) ยาว

๔๕.๑ เมตร ช่วงปีก ๔๒.๔ เมตร สูง ๑๔.๗ เมตร น้ำหนักปกติ

๗๖,๕๐๐ กิโลกรัม (๑๖๘,๖๕๔ ปอนด์) น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด

๑๔๑,๐๐๐ กิโลกรัม (๓๑๐,๘๕๒ ปอนด์) ความจุเชื้อเพลิง ๕๐,๕๐๐

กิโลกรัม (๑๑๑,๓๐๐ ปอนด์) เครื่องยนต์เทอร์โบพร็อพ (TP400-

D6S) ขนาด ๑๑,๐๐๐ แรงม้า (สี่เครื่องยนต์ ใบพัดชนิดแปดกลีบ

(บรรทุกหนัก ๓๐ ตัน) เพดานบินสูง ๑๒,๒๐๐ เมตร (๔๐,๐๐๐ ฟุต)

และทางวิ่งขึ้นยาว ๙๘๐ เมตร (ระยะสั้นที่สุด) ประจำการครั้งแรก

กองทัพอากาศฝรั่งเศส (FAF) วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ความ

ต้องการขั้นต้น ๕๐ เครื่อง เป็นเงิน ๘.๙ พันล้านยูโร (หรือ ๑๑.๗

พันล้านเหรียญสหรัฐ) ประจำการฐานที่ทัพอากาศไบรซี (Bricy Air

Base) ฝูงบินที่ ๑/๖๑ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส

(ประมาณ ๑๐๕ กิโลเมตร) อยู่ระหว่างการรับมอบให้ครบตาม

โครงการ (รับมอบแล้วกว่า ๑๕ เครื่อง) ปัจจุบันประจำการ ๘

ประเทศ สั่งจองแล้ว ๑๖๔ เครื่อง ส่งมอบแล้วจำนวน ๑๐๗ เครื่อง

(เยอรมนีจัดหา ๕๓ เครื่อง ประจำการชุดแรกเดือนธันวาคม พ.ศ.

๒๕๕๗ รับมอบเข้าประจำการแล้ว ๓๗ เครื่อง ประจำการกองบิน

กองทัพอากาศมาเลเซีย ประจำการด้วยเครื่องบินขนส่งทางทหารเอ-๔๐๐เอ็ม (A-400M

Atlas) ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบพร็อพ (TP400-D6S) ขนาด ๑๑,๐๐๐ แรงม้า จำนวน ๔

เครื่องยนต์ (ใบพัดชนิดแปดกลีบ) และความเร็ว ๗๘๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ประจำการฝูงบิน

ขนส่งที่ ๒๒ ฐานทัพอากาศซูบัง (Subang AFB) รัฐสลังงอร์ ทางวิ่งยาว ๓,๗๘๐ เมตร

ภาพกราฟิกที่ตั้งฐานทัพอากาศกองทัพอากาศมาเลเซีย (RMAF) ฝูงบินขนส่งที่ ๒๒ ฐานทัพ

อากาศซูบัง (Subang AFB) รัฐสลังงอร์ ด้านทิศตะวันตกของประเทศ ใกล้กับบริเวณ

ช่องแคบมะละกา จุดยุทธศาสตร์สำคัญทางทหารของโลกด้านคมนาคม

กองทัพอากาศฝรั่งเศส นำเครื ่องบินขนส่งทางทหารขนาดใหญ่เอ-๔๐๐เอ็ม (A-400M Atlas) ขนย้ายกำลังทหารและสัมภาระออกจากสนามบินกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน

กลับสู่ประเทศฝรั่งเศส

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

55


เครื่องบินขนส่งทางทหารขนาดหนักเอ-๔๐๐เอ็ม (A-400M) กองทัพอากาศฝรั่งเศสทำการขนส่งกองกำลังไอซาฟ (ISAF)

พร้อมด้วยส่วนสนับสนุนและประชาชนชาวยุโรป รวม ๒๕ เครื่อง วันที่ ๑๕ - ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๔ จากสนามบินกรุงคาบูล

อัฟกานิสถาน กลับสู่ที่ตั้งปกติในยุโรป

ขนส่งที่ ๖๒ ฐานทัพอากาศวูนสทอร์ท รอรับมอบอีก ๑๖ เครื่อง)

ปัจจุบันเครื่องบินขนส่งทางทหารเอ-๔๐๐เอ็ม ผลิตรวมทั้งสิ้น

๑๑๑ เครื่อง (วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๕)

กองทัพอากาศฝรั่งเศส (FAF) ใช้เครื่องบินขนส่งทางทหาร

ขนาดหนักแบบเอ-๔๐๐เอ็ม จำนวน ๑๔ เครื่อง ขนส่งสัมภาระจาก

ประเทศฝรั่งเศสสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารในทวีปแอฟริกา

ตะวันตก (ประเทศบริเวณทะเลทรายซาฮาร่า ประกอบด้วย

เบอร์คินาฟาโซ มอริตาเนีย มาลี ชาด และไนเจอร์) ทหารฝรั่งเศส

เป็นแกนนำเข้าปฏิบัติการ ๕,๑๐๐ นาย และยานยนต์ ๒๐๐ คัน

พร้อมด้วยเฮลิคอปเตอร์ ๒๐ เครื่อง ทำการบินพร้อมด้วยขนส่ง

สัมภาระในระยะทางบินไกลจำนวนมาก ทำการบินทั้งสิ้นรวม

๑๐,๐๐๐ ชั่วโมงบิน เรียกว่ายุทธการบาร์คาฮ์เน (Operation

Barkhane) เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๑ (ปฏิบัติการทางทหาร

ระหว่างวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๗ - ปัจจุบัน) เพื่อต่อสู้กับ

กองกำลังติดอาวุธอะคิม (AQIM พันธมิตร

กับอัล-กออิดะ) และกลุ่มย่อยอีก ๔ กลุ่ม

มีนักรบรวม ๖,๐๐๐ นาย และสงคราม

อัฟกานิสถานโดยใกล้จะยุติ กองกำลัง

ไอซาฟ (ISAF) ประกอบด้วยกลุ่มพันธมิตร

จากนาโต้ (NATO) ใช้เครื่องบินขนส่งทหาร

เอ-๔๐๐เอ็ม รวม ๒๕ เครื่อง วันที่ ๑๕ - ๓๐

สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ขนย้ายกำลังทหาร

และส่วนสนับสนุน ๑๒๒,๐๐๐ คน และ

สัมภาระจากสนามบินกรุงคาบูลกลับสู่

ที่ตั้งปกติในยุโรป อย่างเร่งด่วนให้ทันเวลา

ที่กำหนดกองกำลังทาลิบัน (Taliban)

กองทัพอากาศมาเลเซีย (RMAF)

จัดหาเครื่องบินขนส่งทางทหาร

เอ-๔๐๐เอ็ม รวม ๔ เครื่อง เป็นเงิน ๑.๑

พันล้านเหรียญสหรัฐ (พร้อมด้วยการฝึก/

ศึกษา และระบบส่งกำลังบำรุง) จากประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๘

ธันวาคม ๒๕๔๘ รับมอบเครื่องบินชุดแรกเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๘

ต่อมาได้รับมอบครบตามโครงการ ๔ เครื่อง เมื่อเดือนมีนาคม

๒๕๖๐ ประจำการฝูงบินขนส่งที่ ๒๒ ฐานทัพอากาศซูบัง (Subang

AFB) รัฐสลังงอร์ ทางวิ่งยาว ๓,๗๘๐ เมตร ด้านทิศตะวันตกของ

ประเทศ (หรือมาเลเซียตะวันตก) ใกล้กับบริเวณช่องแคบมะละกา

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งทางด้านอากาศให้กับฝูงบิน

ขนส่งแบบซี-๑๓๐เอช (C-130H Hercules) ประจำการรวม ๒

ฝูงบิน (ฝูงบินที่ ๑๔ ฐานทัพอากาศลาบวน ทางวิ่งยาว ๒,๗๔๕ เมตร

ใกล้กับเมืองวิคตอเรีย เป็นระยะทาง ๕ กิโลเมตร มาเลเซียตะวันออก

และฝูงบินที่ ๒๐ ฐานทัพอากาศซูบัง) รวมทั้งสิ้น ๑๔ เครื่อง

(รุ่น C-130H รวม ๑๐ เครื่อง และรุ่น KC-130H รวม ๔ เครื่อง

รุ่น C-130H บรรทุกทหารได้ ๙๒ ที่นั่ง) มาเลเซียมีความขัดแย้งกรณี

หมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) กับเพื่อนบ้านอีก ๕ ประเทศ

ประเทศมาเลเซียแบ่งเป็นสองดินแดน คือมาเลเซียตะวันตก (เรียกว่า

เมนแลนด์) และมาเลเซียตะวันออก ชายฝั่งทะเลยาว ๔,๖๗๕

กิโลเมตร มีเกาะรวม ๘๗๘ เกาะ มาเลเซียมีความขัดแย้งกรณี

หมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly Islands) กับเพื่อนบ้านอีก ๕ ประเทศ

ภาพกราฟิกที่ตั้งฝูงบินกองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) เครื่องบินขนส่งประจำการ ๓

ฝูงบิน ประกอบด้วย ฝูงบินที่ ๓๑ ฐานทัพอากาศชวาตะวันออก ฝูงบินที่ ๓๒ ฐานทัพอากาศ

ชวาตะวันออก และฝูงบินที่ ๓๓ ฐานทัพอากาศจังหวัดสุลาเวสีใต้

บรรณานุกรม

๑. en.wikipedia.org/wiki/Airbus_A400M_Atlas

๒. en.wikipedia.org/wiki/Indonesian_Air_Force

๓. en.wikipedia.org/wiki/Royal_Malaysian_Air_Force

๔. en.wikipedia.org/wiki/Malaysia

๕. en.wikipedia.org/wiki/German_Air_Force

๖. en.wikipedia.org/wiki/Franch_Air_Force

๗. en.wikipedia.org/wiki/Operation_Barkhane

56

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ปริศนาอักษรไขว้

ริศนาอักษรไขว้ในวารสารหลักเมืองฉบับนี้

เราจะพาผู้อ่านเดินทางท่องเที่ยว พักผ่อน

หย่อนใจ มีคำศัพท์ที่น่าสนใจทั้งหมด ๒๐ คำ

จงหาคำศัพท์พร้อมกับจับเวลาแข่งขันกับตัวเอง

แล้วดูซิว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่...มาลองกันเลย

เฉลย

1. OFFER 2. CAR 3. EXPENSIVE 4. ABROAD 5. HOSTEL 6. COACH 7. GUESTHOUSE 8. FLIGHT

9. SEASON 10. COST 11. GUIDE 12. CRUISE 13. TRAVELLING 14. HOLIDAYS 15. TOWN HALL

16. INN 17. CLIFF 18. CHURCH 19. PLANE 20. TRAIN

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

57


มิติใหม่

ในการจัดการเรื ่องราวร้องทุกข์

ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงกลาโหม

สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม

การดำเนินการต่อเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียนของกระทรวงกลาโหม

มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นหน่วย

ขึ้นตรงของ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่ในการ

วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับเรื่อง

ร้องเรียนร้องทุกข์ทั้งปวง ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

ส่วนในระดับส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพนั้น มีหน่วยที่ทำหน้าที่

ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของแต่ละส่วนราชการ รวมทั้งหน่วยต่าง ๆ ใน

เครือข่ายการจัดการเรื่องร้องทุกข์กระทรวงกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบ

ดำเนินการ ทั้งนี้กระทรวงกลาโหมได้จัดให้มีช่องทางในการรับ

เรื่องราวร้องทุกข์ในหลายช่องทาง ได้แก่ การยื่นคำร้องด้วยตนเอง

ไปรษณีย์ โทรศัพท์ เว็บไซต์ E-Mail Facebook Messenger และ

โมบายแอปพลิเคชัน (S.M.A.R.T. soldiers)

รวมทั้งการยื่นคำร้องแบบออนไลน์ผ่านระบบการจัดการเรื่องราว

ร้องทุกข์ของ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล ๑๑๑๑ ซึ่ง

สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม ได้จัดนายทหารปฏิบัติงาน

ประจำ ณ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล เพื่อให้การรับเรื่องราว

ร้องทุกข์ของประชาชนมาดำเนินการ เป็นไปอย่างรวดเร็ว

การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนนั้น เป็นภาระ

หน้าที่สำคัญของรัฐบาลที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนด้วย

ความรวดเร็ว ดังนั้น เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔ คณะรัฐมนตรี

จึงได้มีมติบรรจุโครงการขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน

แบบเบ็ดเสร็จ ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ไว้ในรายการ

58

ขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

(e-Service) ที่สำคัญ และกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุง

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕

โดยโครงการดังกล่าว สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะพัฒนา

ระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของ

รัฐบาล ให้มีความพร้อมในการรองรับการเชื่อมโยงฐานข้อมูล

เรื่องร้องทุกข์ รวมทั้งทำการขับเคลื่อนให้เกิดการเชื่อมโยงระบบ

สารสนเทศเรื่องราวร้องทุกข์ของส่วนราชการต่าง ๆ กับฐานข้อมูล

เรื่องร้องทุกข์ของระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ฯ ให้อยู่ในฐาน

ข้อมูล (Big Data) และแพลตฟอร์ม (Platform) เดียวกัน เพื่อทำให้

ประชาชนสามารถยื่นเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียน ติดตามเรื่อง ตรวจสอบ

สถานะ และรับแจ้งผลการร้องทุกข์ร้องเรียน ได้จากทุกที่ทุกเวลา

รวมทั้งบูรณาการการร้องทุกข์ร้องเรียนตามช่องทางการร้องทุกข์

ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทั้งโทรศัพท์ หมายเลข ๑๑๑๑ ตู้ไปรษณีย์ ๑๑๑๑

ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงกลาโหม สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม


เว็บไซต์ www.1111.go.th แอปพลิเคชัน Line และการยื่นเรื่อง

ด้วยตนเอง ณ ทำเนียบรัฐบาล หรือหน่วยงานในเครือข่ายผู้ประสาน

งานเรื่องราวร้องทุกข์ (Contact Point) ของศูนย์รับเรื ่องราว

ร้องทุกข์ของรัฐบาล

ทั้งนี้ Platform ดังกล่าว จะประกอบไปด้วยระบบงานต่าง ๆ

ได้แก่ การยื่นคำร้องทุกข์ผ่านแอปพลิเคชัน Line ที่บัญชี @psc1111

ระบบการติดตามผลและสถานะเรื่องร้องทุกข์ (Tracking System)

ซึ่งจะมีการกำหนดเวลาแล้วเสร็จ และรายงานสถานะของเรื่องร้องทุกข์

ให้ผู้ร้องและเจ้าหน้าที่ทราบว่า หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการดำเนินการ

อะไรไปแล้วบ้างในแต่ละห้วงเวลา

ซึ่งจะทำให้ประชาชนไม่ต้องรอคอยการแก้ไขปัญหา โดยไม่ทราบ

กำหนดเวลาแล้วเสร็จ หรือไม่ทราบความคืบหน้าในการดำเนินการ

รวมทั้งไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาติดตามเรื่อง

และยังมีระบบแบบสำรวจความพึงพอใจ (Satisfaction Survey)

ซึ่งทำให้ประชาชนสามารถประเมินความพึงพอใจในการรับบริการ

แบบออนไลน์ได้

นอกจากนี้ ยังมีระบบการรายงานผล (Dashboard) ให้กับ

ผู้บริหารได้ติดตามและกำกับดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

มีระบบสำรวจความต้องการจากสื่อสังคมออนไลน์ (Social

Monitoring Tool) และมี Web Service สำหรับเชื่อมโยงแลกเปลี่ยน

ข้อมูลเรื่องร้องทุกข์กับระบบสารสนเทศของหน่วยงานอื่น ๆ

เพื่อให้การดำเนินการของกระทรวงกลาโหมสอดคล้องกับ

นโยบายของรัฐบาล สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม จึงได้

ดำเนินการตามแผนงานพัฒนาระบบบริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์

กระทรวงกลาโหม (ปี ๖๖ - ๖๗) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ

สำหรับการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียนภายในกระทรวง

กลาโหม ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์

ของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล รวมทั้งได้เตรียมการขยาย

เครือข่ายการจัดการเรื่องร้องทุกข์ กระทรวงกลาโหม ลงไปยังหน่วยรอง

ของเหล่าทัพ ในส่วนภูมิภาค เพื่อรองรับการขยายเครือข่าย

ผู้ประสาน งานเรื่องราวร้องทุกข์ (Contact Point) ของศูนย์รับเรื่องราว

ร้องทุกข์ของรัฐบาลต่อไป

หลักเมือง มิถุนายน ๒๕๖๕

59


พลเอก วรเกียรติิ รัตินานนท์์ ปลัดกระท์รวงกลาโหม พร้อมด้วยผู้้ ้บััญชาการท์หารสููงสุุด ผู้้ ้บััญชาการเหล่าทััพ และคู่้่สูมรส ร่่วมบัันทึึก

เท์ปโท์รทััศน์ ถวายพระพรชัยมงคู่ลและกล่าวอาเศียรวาท์ ถวายแด่ สูมเด็จพระนางเจ้าสุุทิิดา พัชรสุุธาพิมลลักษณ พระบัรมราชินี

เน่องในโอกาสวัันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ ณ สูถานีวิทยุุโท์รทััศน์กองทััพบัก เม่อ ๒ พฤษภาคู่ม ๒๕๖๕

60


พลเอก วรเกียรติิ รัตินานนท์์ ปลัดกระท์รวงกลาโหม ผู้้้บััญชาการท์หารเร่อ พร้อมด้วยรองปลัดกระท์รวงกลาโหม นำก ำล ังพล

ในส่่วนของสำำน ักงานปลัดกระท์รวงกลาโหม และกำล ังพลของกองทััพเร่อ ร่วมกิจกรรมจิติอาสูาพัฒนา “เราทำำาคู่วาม ดี ด้วยหัวใจ”

เพ่อดำาเนินการทำำาคู่วามสูะอาด ปรับัปรุงภ้มิทััศน์ และช่วยเหล่อประชาชน ในพ่นท์ี วัดพระเชตุุพนวิมลมังคู่ลารามราชวรมหาวิหาร

และชุมชนท่่าเตีียน โดยร้ปแบับักิจกรรมประกอบด ้วย การทำำาคู่วามสูะอาดเก็บัขยะ การปรับัปรุงภ้มิทััศน์ การเก็บัขยะในแม่นำา

เจ้าพระยา การแจกจ่ายถุงปันสุุข การแจกอาหารกล่องให้กับัประชาชนในพ่นท์ี เม่อ ๒๔ พฤษภาคู่ม ๒๕๖๕

หลัักเมืือง มิิถุุนายน ๒๕๖๕

61


สำำนัักงานรัฐมนตรีี กระท์รวงกลาโหม จัดกิจกรรมเพิมพ้นคู่วามร้ด ้านประชาธิปไติยของประเท์ศไท์ย โดยมี พลตรีี คู่ม วิริยเวชกุล

หัวหน้าสำำนัักงานรัฐมนตรีี นำข้้าราชการสำำนัักงานรัฐมนตรีี กระท์รวงกลาโหม เข้าเยียมชมพิพิธภัณฑ์์พระบัาท์สูมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอย้่หัว

และศ้นย์การเรียนร้ประชาธิปไติย โดยมีวัตถุุประสูงคู่์เพ่อข้าราชการสำำนัักงานรัฐมนตรีี กระท์รวงกลาโหม ได้รับัคู่วามร้เกียวกับัการเม่อง

การปกคู่รอง และองคู่์คู่วามร้ที่่ เกี ยวข้องกับัประชาธิปไติยไท์ย ติั งแต่่พัฒนาการประวัติิศาสูติร์การเม่องการปกคู่รองไท์ย รากฐาน

ประชาธิปไติยไท์ย ติลอดจนการสร ้างจิติสูำน ึกในการเป็นพลเม่องท์ีดีติามวิถีประชาธิปไติยไท์ยเพ่อเป็นพ่นฐานให้ข้าราชการ

สำำน ักงานรัฐมนตร ี กระท์รวงกลาโหม สูามารถปฏิิบััติิงาน และติอบัสูนองงานการเม่องให้ รัฐมนตร ีว่าการกระท์รวงกลาโหม

และรัฐมนตรีีช่วยว่าการกระท์รวงกลาโหม ได้อย่างมีประสิิทธิิภาพ เม่อ ๑๙ พฤษภาคู่ม ๒๕๖๕

สำำนัักงานรัฐมนตรีี กระท์รวงกลาโหม จัดฝึึกอบัรมท์บัท์วนระเบีียบวิินัย คูุ่ณลักษณะท์างท์หาร ให้แก่ข้าราชการสำำนัักงานรัฐมนตรีี

กระท์รวงกลาโหม โดยมีวัตถ ุประสูงคู่์เพ่อให้ข้าราชการมีคู่วามร้ คู่วามเข้าใจในแบับัธรรมเนียมท์หาร ข้อบัังคู่ับั ระเบีียบั และคู่ำสั่่ง

ในการปฏิิบััติิราชการได้อย่างถ้กต้้อง เม่อ ๑๙ พฤษภาคู่ม ๒๕๖๕

62


พลเอก วรเกียรติิ รัตินานนท์์ ปลัดกระท์รวงกลาโหม พร้อมด้วยรองปลัดกระท์รวงกลาโหม และนายท์หารชันผู้้ ้ใหญ่ของสำำนัักงาน

ปลัดกระท์รวงกลาโหม พร้อมคู่้่สูมรสร ่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคู่ล พระบัาท์สูมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอย้่หัว เน่องในโอกาสู

วันฉัติรมงคู่ล (๔ พฤษภาคู่ม ๒๕๖๕) เพ่อถวายคู่วามจงรักภักดีและสำำน ึกในพระมหากรุณาธิคูุ่ณ ณ ห้องพินิติประชานาถ

ในศาลาว่าการกลาโหม เม่อ ๓ พฤษภาคู่ม ๒๕๖๕

กิิจกิรรมสมาคมภริยาข้้าราชกิาร

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

หลัักเมืือง มิิถุุนายน ๒๕๖๕

63


พันตำำารวจเอกหญิง อังศุวรรณ รัตินานนท์์ นายกสูมาคู่มภริยาข้าราชการสำำนัักงานปลัดกระท์รวงกลาโหม พร้อมด้วยอุปนายกสูมาคู่มฯ

และคู่ณะกรรมการสูมาคู่มฯ เข้าร่วมงานวันคู่ล้ายวันสูถาปนาสูมาคู่มภริยาท์หารเร่อ คู่รบัรอบปีีท์ี ๔๗ ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุม

กองทััพเร่อ ถนนอรุณอมรินทร์์ เขติบัางกอกใหญ่ กรุงเท์พมหานคู่ร เม่อ ๑๘ พฤษภาคู่ม ๒๕๖๕

พันตำำารวจเอกหญิง อังศุวรรณ รัตินานนท์์ นายกสูมาคู่มภริยาข้าราชการสำำน ักงานปลัดกระท์รวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี

เปิดการอบัรม “การติลาดออนไลน์ (Digital Marketing)” ซึ่่ง นางปาริชาตรััชติะนาวิน อุปนายกสูมาคู่มฯ และประธานโคู่รงการคู่รอบัคู่รัว

พอเพียง ร่วมกับั นางพิมพ์เด่อน เดชจรัสูศรี ประธานโคู่รงการศ้นย์ส่่งเสร ิมการเรียนร้ ได้จัดขึ นเพ่อให้คู่วามร้แก่คู่ณะกรรมการ

สูมาคู่มฯ และกำลัังพลจากหน่วยงานต่่าง ๆ ท์ีมีคู่วามสูนใจ ณ ห้องประชุม ชัน ๖ อาคู่ารสำำนัักงานปลัดกระท์รวงกลาโหม (พ่นท์ีศรีสูมาน)

เม่อ ๑๘ พฤษภาคู่ม ๒๕๖๕

กิิจกิรรมสมาคมภริยาข้้าราชกิาร

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

64


พิพิธภัณฑ์

ศาลาว่าการกลาโหม

สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ใน

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๘๓๐ -- ๑๖๐๐

โดยติดต่อได้ที่

๐๘ ๐๘ ๑๖๑๗ ๓๒๓๓, ๐๘ ๐๘ ๙๘๑๖ ๗๑๘๘

หรือทางเพจพิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม


Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!