01.07.2022 Views

E-Book หลักเมืองมิถุนายน 65

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล...

พระผู้ทรงประกาศชัยชนะของไทยในสงครามโลกครั้งที ่ ๒

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ากย้อนอดีตกลับไปในยุคสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ประเทศไทย

ต้องถูกดึงให้เข้าร่วมสงครามอย่างไม่เต็มใจเนื่องจากทหาร

ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในหลายจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย

ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ทำให้รัฐบาลไทยที่มี หลวงพิบูลสงคราม

เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้ทหารไทยหยุดทำการรบต่อสู้กับทหาร

ญี่ปุ่นที่บุกเข้าประเทศไทยเยี่ยงโจร และตกลงใจยอมให้กองทัพญี่ปุ่น

เดินทัพผ่านประเทศไทยเพื่อเป็นเส้นทางเดินทัพไปรบกับฝ่าย

สัมพันธมิตรทางภาคใต้และภาคตะวันตก ซึ่งในเวลาต่อมารัฐบาล

ชุดดังกล่าวก็ได้ทำการลงนามใน “กติกาสัญญาทางทหารระหว่าง

ไทยกับญี่ปุ่น” และ “กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศ”

อันนำไปสู่การประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่ (อังกฤษ) และ

สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ โดยการอ้าง

พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และ

ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จำนวน ๒ ใน ๓ ท่าน ลงนาม

ในประกาศดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทน

พระองค์ และมิได้กราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร

มหาอานันทมหิดลทรงทราบแต่ประการใด ทั้งนี้เพราะอดีตนายก

รัฐมนตรีท่านดังกล่าวเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอิทธิพล และมีอ ำนาจในสมัยนั้น

ได้เข้ารวบอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน จัดสรรตำแหน่งสำคัญให้แก่

พวกพ้องและติดต่อกับผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นผู้รุกรานด้วย

สันถวไมตรีอันดีโดยมิได้สนใจต่อคำคัดค้านของบุคคลในรัฐบาล

และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีกท่านหนึ่ง

แต่ก็ยังนับได้ว่าประเทศไทยยังโชคดีที่เอกอัครราชทูตไทย

ประจำสหรัฐอเมริกาสมัยนั้นคือ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

4

ไม่ยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย

และอนุญาตให้ญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นฐานปฏิบัติการในการบุกพม่า

และมลายู และไม่ยอมรับประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่ (อังกฤษ)

และสหรัฐอเมริกาฉบับดังกล่าว เพราะเข้าใจดีว่าการประกาศสงครามนี้

ขัดต่อเจตจำนงของคนไทยที่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการประกาศ

สงคราม จึงมิได้ยื่นต่อรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐอเมริกา

ไม่ได้ประกาศสงครามกับไทย ในขณะที่เอกอัครราชทูตไทยประจำ

อังกฤษกลับเสนอต่อรัฐบาลอังกฤษ และส่งผลให้อังกฤษประกาศ

สงครามกับไทยเป็นการตอบแทน

หลังจากนั้น คนไทยที่มีความเห็นต่างและตระหนักถึงความเสียหาย

ของประเทศ จึงได้ก่อตั้ง ขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement)

ในประเทศขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติกองทัพญี่ปุ่นและการดำเนินการ

ของรัฐบาล และในขณะเดียวกันพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง กลุ่ม

ข้าราชการ และชนชั้นนำของไทยที่พำนักอยู่ในต่างประเทศที่ไม่เห็น

ด้วย ก็ทำการเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน

ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๘๗ รัฐบาลชุดดังกล่าวพ่ายแพ้

การลงมติการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ๒ ฉบับ คือ ร่างพระราช

บัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดระเบียบบริหารราชการบริหารนครบาล

เพชรบูรณ์ ปีพุทธศักราช ๒๔๘๗ และ ร่างพระราชบัญญัติอนุมัติพระราช

กำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล พุทธศักราช ๒๔๘๗ ในการประชุม

สภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้นายกรัฐมนตรีและคณะกราบถวายบังคม

ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๘๗ และมีการจัดตั้ง

รัฐบาลใหม่ส่งผลให้การดำเนินงานต่อต้านญี่ปุ่นของขบวนการเสรีไทย

ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นจนกระทั่งญี่ปุ่นแพ้สงคราม

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!