01.07.2022 Views

E-Book หลักเมืองมิถุนายน 65

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

สังคมไร้เงินสด

จุฬาพิช มณีวงศ์

รองบรรณาธิการ วารสารวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผ่านมากว่า ๒ ปี การทำธุรกรรมผ่านโลกออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยง

การสัมผัสกับธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์ก็เกิดขึ้นอย่างมากมาย

การจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันที่สะดวกสบายสามารถลงลึกเข้าไปถึง

ชุมชนต่าง ๆ ทำให้คาดการณ์กันว่า อนาคตคนไทยจะคุ้นชินและ

เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ธนบัตรหรือเงินสดลดลง

ความสงสัยและใคร่รู้ในเรื่องนี้ ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย

ริเริ่มโครงการสำรวจการบันทึกพฤติกรรมการชำระเงินประจำวัน

ของประชาชน โดยใช้วิธีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ รวมประมาณ

๖,๐๐๐ ตัวอย่าง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ หลากหลายอายุ อาชีพ

และที่พักอาศัย ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ๒๕๖๔ แล้วนำมา

ประยุกต์กับโมเดล เข้าสังคม - จิตวิทยาครั้งแรกในเอเชีย เพื่อ

เจาะลึกและประเมินไปหาตัวแปรที่จะมีอิทธิพลต่อการชำระเงินของ

คนไทย ทั้งในแง่ของการใช้เงินสดและอี-เพย์เมนต์

ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกคนที่สำรวจยังพกเงินสด

ติดกระเป๋า โดยร้อยละ ๕๐ ยังคงใช้เฉพาะเงินสดหรือจับจ่ายใช้สอย

ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ใช้ที่ตลาดสด ตลาดนัด ร้านอาหารริมทาง

42

ร้านรถเข็น มีส่วนน้อยที่ใช้อี-เพย์เมนต์เป็นทางเลือกหลัก จึงอาจ

ตีความได้ว่าการใช้อี-เพย์เมนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องน่าจะกระจุกตัว

อยู่เพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่เคยคิดเอาเองว่า สาเหตุที่คนไทยส่วนใหญ่

ยังคงใช้เงินสดเป็นหลักเพราะขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์ เช่น

สมาร์ทโฟนหรือเพราะไม่เคยใช้อี-เพย์เมนต์มาก่อน อาจจะคลาดเคลื่อน

เพราะผลสำรวจบ่งชี้ให้เห็นว่าคนไทยในกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่

กว่าร้อยละ ๙๐ มีอุปกรณ์ที่รองรับการชำระเงินผ่านอี-เพย์เมนต์

และเคยทดลองใช้มาแล้วใน ๒ ปีที่ผ่านมา จึงถือว่ามีความพร้อม

Cashless_Society_คืออะไร_มีความสำคัญอย่างไรในยุคปัจจุบัน

จุฬาพิช มณีวงศ์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!